0.
Sammodana @ Dining Hall DIMC – Buddhist Symbiosis
Before receiving the blessing,/ please softly close your eyes,/ relax your entire body, /gently rest your attention at the center of the body / or at the middle point of the abdomen. / Then please take a moment to fill your mind / with joy and merit / that you have properly done today.
Since the Buddha time, the monastic community and the lay community will support each other in their livings. Since lay people need to work hard in order to find enough money for their living, then they have less time to study spiritual knowledge for their happy and peaceful life. And with the support of the lay community, monks will have more available time to study spiritual knowledge and give that knowledge in return to the lay community.
Luang Phaw Dhammjayo, the Abbot of Dhammakaya temple in Thailand has explained this “Buddhist Symbiosis” in a very simple way that “The monks give their stomachs for lay people to take care and lay people give their mind to the monks to take care”. So both communities could help each other and live together in peace.
At this time, / the monastic community would like to rejoice in your merits./ On behalf of all the monks assembled here,/ I would humbly like to invite / the Power of every Buddha in Nirvana, / the power of all the Dhamma,/ the power of all the Sangha,/ the power of the Triple Gem /
May all of these power and perfection combine together / accrue utmost merit to all of you, /
may you be happy and healthy,/ successful and wealthy,/ be strong and live long,/ may all your good wishes come true easily,/ and may all good things come to you./ May you attain the inner peace / and happiness of the Dhamma inside quickly and easily, without delay /in this and every lifetime /until reaching Utmost Dhamma./
I would like to ask everyone/ to dedicate the merit energy /earned to your family, / relatives and friends./ Visualize them at the center of your body./ Dedicate the merit energy to them. / You can make your own resolution / or wish afterwards, / when receiving the blessing from the monks. /
From now on, /please be prepared when the the monastic community give the blessing.
1.
ทานเป็นต้นเหตุของความสุข
Generosity (dana) is the basis of happiness.
布施是幸福的源泉
การให้ทาน ปราชญ์กล่าวว่า เป็นต้นเหตุของความสุข เป็นที่ตั้งแห่งบันไดที่นำไปสู่พระนิพพาน เป็นเครื่องป้องกันภัยมนุษย์
Sages say generosity is the source of happiness. It is the foundation for the path leading to Nibbana (liberation), and it safeguards human beings from dangers.
布施不仅是幸福的源泉,通往涅槃的阶梯,也是庇佑人类远离灾难的工具。
การให้ทาน ท่านแสดงว่าเป็นนาวา เพราะเป็นเครื่องช่วยให้ข้ามทุกข์
การให้ทาน ท่านสรรเสริญว่าเป็นนคร เพราะป้องกันภัยในสังสารวัฏ
การให้ทาน ท่านกล่าวว่าเป็นอสรพิษ เพราะความโลภเข้าใกล้ได้ยาก
การให้ทาน เป็นดังดอกปทุมที่น้ำซึมซาบไม่ได้ ประดุจมลทิน คือโลภะฉาบทาไม่ได้
By giving, one is extolled as a fortress that is protected against dangers in the cycle of existence.
By giving, one is likened to a captain, with merit as the ship that helps us overcome suffering.
By giving, one is compared to a venomous snake that prevents greed from coming close.
By giving, one is like a siam tulip that repels water so impurity like greed can’t penetrate.
布施被喻为船只,可以承载众生远离痛苦。
布施被赞叹为城池,可助众生远离轮回危难。
布施被喻为毒蛇,贪念很难靠近。
布施犹如莲花出淤泥而不染,寓意贪欲无法随行。
การให้ทาน เป็นความสุขของผู้เอาชนะความตระหนี่ได้ เพราะคนส่วนใหญ่มักถูกความตระหนี่ครอบงำ แต่เมื่อใดเราได้กำจัดความตระหนี่หวงแหนออกไป ด้วยความหวังว่าสิ่งที่ให้ไปแล้ว จะก่อให้เกิดประโยชน์ ความสุขจะบังเกิดขึ้นกระแสแห่งบุญก็จะเข้ามาแทนที่ความตระหนี่ที่หมักหมมอยู่ในใจ การเสียสละ การดำรงตนอยู่ในสถานะของผู้ให้จึงเป็นสัญลักษณ์ของผู้มีชัยชนะอันประเสริฐ
Giving is the basis of happiness for the person who has conquered his miserliness, because most people are dominated by stinginess. But once we eliminate the stinginess, with the hope that the things we’ve donated will benefit others, happiness and a stream of positive consequences will replace the stinginess rooted in our heart. Making sacrifices and continuing to be a giver are signs of a victor.
布施是战胜吝啬后获取的快乐,因为许多人都被吝啬所束缚。倘若我们能消除内心的吝啬和不舍,满怀善愿地行布施,必然会获得意想不到的益处。不仅会收获幸福,功德的力量也会消除内心的吝啬。因此,常行布施者,必然是永远的胜利者。
ท่านทานบดีทั้งหลาย ได้พร้อมใจกันมาสั่งสมบุญด้วยการถวายภัตตาหารเป็นสังฆทานแก่คณะสงฆ์หมู่ใหญ่ซึ่งเป็นเนื้อนาบุญอันเลิศ ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ย่อมได้บุญมาก เปรียบเหมือนชาวนาผู้ชาญฉลาด หว่านข้าวกล้าลงในผืนนาอันอุดม ย่อมอำนวยผลอันไพบูลย์.
Kind benefactors who have gathered to accumulate merit by offering food (Sanghadana) to the monastic community, an excellent fertile field of merit, will earn tremendous merit. They are comparable to seasoned farmers sowing rice seedlings in a fertile field that will yield a bountiful harvest.
诸位施主,齐心行大布施,供养卓越的福田——僧团。必然会获得无量的功德利益,胜过其他任何的功德。这就好像经验丰富的农民,把禾苗播种在肥沃的土壤上,最终必将五谷丰登。
2.
การให้ทานของสัตบุรุษ
Generosity of a virtuous person
善士施
พระสัมมาสัมพุทธเข้าตรัสว่า การให้ทานของสัตบุรุษ คือ การให้ของคนดี คนมีปัญญา ฉลาดในการดำเนินชีวิตมี ๕ ประการ คือ
The Lord Buddha said that generosity from a virtuous person is the act of giving from a wholesome person who’s endowed with wisdom and is astute in leading his life. It comprises of eight factors as follows:
佛陀如是教诲:善士施指贤者、善者之布施。他们智慧过活,以善巧方式施舍,将具备五种特质:
1.ให้ทานด้วยศรัทธา คือ ให้ด้วยความเชื่อในผลของทานว่า ทานที่ให้แล้วมีผลไม่สูญเปล่า
1.Giving out of faith means to give with the belief that the generosity will yield positive consequences.
一、虔诚施:坚信自己的布施,必然会有善报,不会消失。
2.ให้ทานด้วยความเคารพ คือ เคารพในวัตถุทานที่ถวาย และเคารพในผู้รับทาน
2.Giving with deference means being respectful of the recipient and the gift being offered.
二、恭敬施:恭敬将要供养的物品,以及尊重受供者。
3.ให้ทานตามกาล คือ ให้ในเวลาที่สมควร ให้ตรงตามกาลที่ผู้รับต้องการ
3.Timely gifts means making an offering at the appropriate time, and when the recipient needs it.
三、应时施:在适当的时间行布施。
4.ให้ทานด้วยจิตอนุเคราะห์ คือ จิตประกอบด้วยความกรุณา ปรารถนาให้ผู้รับพ้นจากความทุกข์
4.Giving with the intent to aid means to give with a compassionate mind and the desire to free the recipient of hardships (suffering).
四、摄意施:看见他人生活艰难,出于善意援助对方,希望对方脱离苦难。
5.ให้ทานโดยไม่กระทบตนและผู้อื่น คือ การให้โดยไม่ทำลายคุณความดีของตน ไม่ผิดศีล ไม่ผิดธรรม ไม่ทำให้ตัวเองและผู้อื่นเดือดร้อน
5.Giving without affecting oneself and others is the act of giving that doesn’t damage one’s virtues, violate the Precepts, or cause distress to oneself or others.
五、无破损施:布施时不害人害己,不犯戒、不破坏道德,不使自己和他人陷入困境。
ผู้ให้ของชอบใจ ย่อมได้ของที่ชอบใจ ผู้ให้ของเลิศ ย่อมได้ของเลิศ ผู้ให้ของประเสริฐ ย่อมเข้าถึงฐานะอันประเสริฐ
Benefactor who offers choicest things will receive choicest things in return. He who gives excellent things will achieve a status of excellence.
布施喜爱之物,必得喜爱之物。布施卓绝之物,必得卓绝之物。布施高贵之物,必得高贵之物。
นรชนใด ให้ของเลิศ ให้ของดี และให้ของประเสริฐ นรชนนั้น จะไปเกิด ณ ที่ใดๆ ย่อมมีอายุยืน มียศ
Individuals who offer good, excellent things, whenever they are reborn will enjoy longevity and a great repute.
布施卓绝、精美、高贵之物者,必将具足长寿、富贵与名望。
ท่านทานบดีทั้งหลาย ได้ตั้งใจมาสั่งสมบุญในวันนี้ ชื่อว่า ประกอบเหตุอันจะนำความสุขมาให้แก่ตน.
Kind benefactors who are here to accumulate merit today are said to be bringing happiness into their lives.
诸位施主,今天虔诚累积的功德,必将会给自己带来快乐与幸福。
3.
ปฏิบัติสะดวก บรรลุได้เร็ว
practice easily and attain success quickly
方便修行 易证佛法
พระสัมมาสัมพุทธเข้าตรัสว่า บุคคลที่ปฏิบัติลำบาก บรรลุได้เร็วก็มี บรรลุได้ช้าก็มี บุคคลที่ปฏิบัติสะดวกบรรลุได้เร็วก็มี บรรลุได้ช้าก็มี ในบรรดาบุคคลเหล่านี้ บุคคลที่ปฏิบัติสะดวก บรรลุได้เร็ว เป็นเลิศ
The Lord Buddha once said whether someone has an easy or difficult access to meditation, there will always be people who can attain meditation success rapidly or slowly.
In this group, those who can practice easily and attain success quickly are superior.
佛陀如是教诲:那些不方便修行的人,有的可以快速证法;有的却很慢。那些方便修行的人,同样有的会快速证法;有的却很慢。在这些人中,方便修行的人,快速证法为至上。
พระเดช หลวงพ่อธัมมชโย เคยให้โอวาทไว้ว่า บุคคลที่ปฏิบัติลำบาก เพราะในอดีตสั่งสมทานกุศลและรักษาศีลมาน้อย บรรลุได้ช้าเพราะปฏิบัติสมาธิภาวนามาน้อย
Venerable Dhammajayo said people who find it hard to practice meditation because in their past lives they seldom accumulated generosity or observed the Precepts, and they’re slow to attain meditative success because they hardly practiced meditation.
法胜大师曾教诲:那些不方便修行的人,是因为前世极少布施、持戒和打坐,所以证法较慢。
ส่วนบุคคลที่ปฏิบัติสะดวก เพราะในอดีตสั่งสมทานกุศลและรักษาศีลมามาก บรรลุได้เร็วเพราะปฏิบัติสมาธิภาวนามามาก
Then there are those who can easily practice meditation because in their past lives they practiced generosity and observed the Precepts; and they can quickly attain success in meditation because they’ve practiced a great deal of meditation.
那些方便修行的人,是因为前世勤修布施、持戒和打坐,所以快速证法。
การให้ทานจึงเป็นประโยชน์เกื้อกูลกับชีวิตในทางโลก
Therefore, generosity has great benefits in our lives.
在世俗方面,布施终将利益生命。
แม้ชีวิตในทางธรรม คือผู้ปรารภความเพียรเพื่อความหลุดพ้นจากกองทุกข์ ก็ต้องอาศัย ทานกุศลที่ตนได้เคยสั่งสมเอาไว้
Even in the religious world, those who have dedicated themselves to the path to escape suffering must still rely on the merit from generosity that they accumulated in their past lives.
在佛法方面,为离苦而精进修行者,也得依靠自己曾经累积的布施功德。
ท่านทานบดีทั้งหลาย ทานกุศลที่กระทำไว้ ย่อมแปรเปลี่ยนเป็นบุญ ติดตามไปในภพเบื้องหน้า บุญอยู่เบี้องหลังความสุขความสำเร็จทั้งชีวิตในทางโลก และชีวิตในทางธรรม.
Wise people, the good deed from giving that we’re performing will be transformed into merit that we can take with us to the afterlife. Merit, or positive energy, is the source of all successes in life, in the secular and nonsecular world.
诸位施主,曾经的布施,必然会转变成功德,跟随自己去往来世。功德是成就世俗与佛法,让生命获致快乐与成功的源泉。
4.
เงินสกุลบุญ
Lineage of Merit
货币 —功德
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า ขุมทรัพย์ทั่วไปเป็นอันตราย เพราะอาจถูกพระราชายึดไปบ้าง ถูกโจรปล้นบ้าง ถูกน้ำพัดไปบ้าง ทายาทผู้ไม่เป็นที่รักขโมยไปใช้บ้าง แต่ขุมทรัพย์คือบุญ ปลอดภัยจากอันตรายต่างๆเหล่านั้น
The Lord Buddha once said that wealth in general is dangerous because it can be confiscated by kings, robbed by thieves, washed away by floods, stolen by dishonest heirs. But the wealth derived from merit (boonya), is safe from dangers like these.
佛陀如是教诲:世间的财富会存在风险,因为可能会被国王没收;可能会被强盗抢走;可能会被洪水冲走;也可能会被不孝者偷盗。但是,出世间的财富即是功德,可远离一切危险。
ขุมทรัพย์คือบุญเป็นของติดตามตนไปได้ทุกหนทุกแห่งเป็นของเฉพาะตัว โจรลักไปไม่ได้
Wealth derived from merit can be taken everywhere, because it belongs to us and cannot be stolen by thieves.
出世间的财富即是功德,会一直跟随着自己,强盗也无法盗取。
พระเดชพระคุณ หลวงพ่อธัมมชโย เคยให้โอวาทไว้ว่า สิ่งที่เราทำไปแล้วก็เป็นของเราสมบัติก็จะบังเกิดขึ้น เป็นอุปกรณ์ในการสร้างบารมี โลกมนุษย์เป็นที่สร้างบารมี เทวโลก คือที่เสวยผลบุญ ถ้าไม่ทำก็ไม่ได้ เงินตราสกุลใดๆ ก็เอาไปใช้ในเทวโลกไม่ได้ มีแต่เงินสกุลบุญ แปรเปลี่ยนเป็นทิพยสมบัติ ทำด้วยอะไรก็ได้อย่างนั้น
Venerable Dhammajayo said that the things we’ve done belong to us and will blossom into treasures, which will be our provisions during the pursuit of Perfections. The human realm is for the pursuit of Perfections, and the celestial realm for savoring the fruits from the merits that we accumulated. It doesn’t matter what type of currency we possess, none can be used in the celestial realm. Only the currency known as merit can be converted into celestial treasures. Yhus, whatever we sow we will receive.
法胜大师曾教诲:我们过去累积的善业,将成为自己的财富,可作为修波罗蜜的工具。世间是人类修波罗蜜之地,而天界是消福享乐之地。如果我们不持之以恒的行善,功德波罗蜜很快就会用完。世俗的货币无法在天界中使用,唯有功德才能换成天界的财富,种瓜得瓜种豆得豆。
เราจึงจำเป็นต้องสั่งสมบุญทุกบุญ สร้างบารมีอย่างเต็มที่ อย่าทิ้งการสร้างบุญ อย่าคิดว่าบุญเยอะแล้ว ถ้าบุญพอแล้วก็ไปนิพพานแล้ว เราใช้บุญทุกอนุวินาที…ให้ตั้งใจอย่าวิตกกังวล ต้องทำด้วยตนเอง แล้วก็ไปชวนคนอื่นด้วย
It is crucial that we earnestly accumulate merit and pursue the Perfections. Do not neglect it or think that we have plenty. If we possessed sufficient merit, we would have been able to attain Nibbana. Every second we are expending merit. Persevere and do not fret. We must accumulate merit for ourselves and encourage others to do it as well.
因此,我们需要累积种种善业,修持圆满的功德。不要轻易放弃修功德的机缘,千万不要认为自己的功德足够多了,如果功德圆满,早就趣向涅槃了。我们每时每刻都在消耗功德,因此,自己要积极累积种种功德,然后再邀请他人一起修。
ท่านทานบดีทั้งหลาย ได้ตั้งใจมาสั่งสมบุญในวันนี้ชื่อว่า ดำเนินชีวิตอยู่ด้วยความไม่ประมาท.
Wise people who have gathered to accumulate merit today are considered as individuals who live life prudently.
诸位施主应精进累积功德,如法生活,不要放逸。
5.
สำเร็จได้ด้วยบุญ
Success through merit
成功依靠功德
ท่านทานบดีทั้งหลาย แม่น้ำทุกสายย่อมไหลรวมลงสู่มหาสมุทรอันกว้างใหญ่ ฉันใด ท่อธารแห่งบุญย่อมไหลไปสู่ทานบดี ผู้ให้ข้าว น้ำ เครื่องนุ่งห่ม ที่นอน ที่นั่งแก่ผู้ประพฤติปฏิบัติธรรม ฉันนั้น
Wise people, every river flows into the vast sea. In the same way, stream of merit will flow to kind donors who have offered rice, water, clothing, bedding, and seat to those who practice meditation.
诸位施主,每一条河流都将汇入大海。犹如诸位施主,诚心用精致上好的米饭、布料、卧具、坐垫供养给修行者,必然会获得无量的功德。
วันเวลาที่ผ่านไป ได้นำเอาความแก่ ความเจ็บ และความตาย มาสู่ตัวเรา ชีวิตมีการเกิดขึ้น ตั้งอยู่และเสื่อมสลายไป สรรพสิ่งในโลกไม่ว่าจะเป็น คน สัตว์ สิ่งของ ไม่อาจติดตามตัวเราไปสู่ปรโลกได้ มีแต่ผลบุญที่เราสั่งสมไว้ดีแล้วเท่านั้น ที่จะเป็นประดุจเงาติดตามตัวไป
With the passing of time, aging, sickness, and death become a part of our life. All life involves birth, maturation, and deterioration. None of the things on earth, no matter if we’re humans, animals, and other things, can be taken with us into the afterworld. The only thing that we can take is the merit that we have earnestly accumulated. It will follow us like a shadow everywhere we go.
时光流逝,我们终将要历经生老病死,生命的诞生、存在和消逝是自然规律。世间的一切众生,无论是人类、动物或其他东西,都无法跟随我们去往来世。只有自己累积的功德,才会如影随形地跟随自己。
ดังนั้น ผู้ไม่ประมาท จึงแสวงหาที่พึ่งของชีวิต ด้วยการสั่งสมบุญให้เต็มที่ เพราะเป็นโอกาสที่ดีที่สุด ที่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์ พบพระพุทธศาสนา ได้รู้จักหนทางไปสู่สวรรค์และพระนิพพาน
Therefore, those who are heedful will seek the refuge in life and fully accumulate merit, because it is our greatest opportunity to be born human, be introduced to Buddhism, and know the path leading to the celestial realm and Nibbana.
因此,不放逸者会在有限的生命里,精进累积种种功德资粮。因为能够生而为人实为善缘,有机会遇见和亲近佛教,并了解和修习趣向天界与涅槃之道。
บุญกุศลที่เราทำไว้อย่างดีแล้ว จะเป็นบ่อเกิดความสุขและความสำเร็จในชีวิต การเข้าถึงความเป็นมหาเศรษฐีพระราชา เป็นพระเจ้าจักรพรรดิล้วนต้องอาศัยบุญ แม้กระทั่งเข้าถึงความเป็นพระอรหันต์ พระปัจเจกพุทธเจ้า หรือพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็เพราะบุญเท่านั้น
The merit that we have accumulated will be the reservoir for happiness and success in life. To be a billionaire, a king, or a universal monarch depends solely on our merit. Even becoming an Arahat, a silent Buddha (Pacceka Buddha) or the Buddha is the direct result of merit.
我们全心全意累积的功德,将为我们带来快乐与成功。有缘成为大富翁、转轮圣王、阿罗汉和佛陀,皆由于功德所致。
ท่านทานบดีทั้งหลาย ได้ตั้งใจมาสั่งสมบุญในวันนี้ชื่อว่า ประกอบเหตุอันจะนำตนไปสู่หนทางสวรรค์ และพระนิพพาน.
Wise people who have gathered to accumulate merit today will be led on the path leading to the celestial realm and Nibbana.
诸位施主虔诚累积功德,必然会趣向善道与涅槃。
6.
บุญ…ธาตุดึงดูดสมบัติ
Merit: the element that attracts wealth
功德—招财
ท่านทานบดีทั้งหลาย ธรรมดาของสมบัติทั้งหลายย่อมเกิดขึ้นมาพร้อมกับความตระหนี่ ความตระหนี่ย่อมครอบงำใจอยู่ตลอดเวลา ตราบเท่าที่สมบัตินั้นยังอยู่ และความตระหนี่นี้เอง ที่จะเป็นตัวผลักสมบัติออกไป
Naturally, every valued thing arises with a sense of stinginess. This stinginess covers our mind at all times as long as the precious thing remains. It is also this stinginess that drives away other precious things.
诸位施主,通常财富与吝啬相伴而生起,吝啬会一直控制我们的心,其实也就是吝啬之心,驱赶了财富。
เมื่อใดที่ได้สละทรัพย์ออกทำทาน เมื่อนั้น ความตระหนี่ย่อมหลุดออกจากใจ บุญย่อมเกิดขึ้น ยังจิตให้ผ่องใสเบิกบาน บุญนี้เองจะเป็นตัวดึงดูดทรัพย์สมบัติทั้งหลายมา ดังที่พระเดชพระคุณพระราชภาวนาวิสุทธิ์หลวงพ่อธัมมชโย เคยให้โอวาทไว้ว่า หวงคือไล่ ให้คือเรียก
The moment we relinquish our possession to offer as donation is the moment when stinginess disappears from our minds and merit arises. Keep your mind pure and delightful, and this merit will attract more wealth. As Ven. Dhammajayo once said, “Being possessive drives things away, giving attracts more to us.”
每当布施财富时,吝啬就会消除,从而生起功德,使心透明愉悦,最终招来种种财富。正如法胜大师之教诲:吝惜实为驱赶,施与实为吸引。
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเห็นถึงเหตุนี้ จึงตรัสสอนให้กำจัดความตระหนี่ ด้วยการนำสมบัติออกให้ทาน
The Lord Buddha recognized this and instructed everyone to eliminate their stinginess by giving charity.
佛陀如实得知此真理,从而教导世人消除吝啬最好的方法就是布施。
วันนี้ ท่านทานบดีทั้งหลายได้สละทรัพย์ อันเป็นเครื่องหล่อเลี้ยงชีวิต ถวายเป็นสังฆทานแด่พระภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่บุญกุศลอันเป็นธาตุดึงดูดสมบัติ ย่อมเกิดขึ้นแก่ท่านทานบดีทั้งหลาย เมื่อสั่งสมบุญมากเข้า ย่อมเป็นเหตุให้ได้มนุษยสมบัติ ทิพยสมบัติ และนิพพานสมบัติ.
Today, wise people have gathered to offer donation as Sanghadana to the community of monks. The merit from this wholesome deed will be the element that attracts wealth into their lives. As we continue to accumulate more merit, the fruits will be human, celestial, and Nibbana treasures.
诸位施主将自己的财物布施僧团,续佛慧命,必将获得取之不尽的财富。当功德越积越多时,便将具足世间财、天界财和涅槃财。
7.
อานิสงส์ของการทำทาน 4 ประการ
四種布施的利益
การบำเพ็ญทานกุศล ย่อมมีอานิสงส์อย่างน้อย ๔ ประการคือ
行善布施的功德,至少有四種利益,即是:
ประการแรก ทานกุศลที่เราได้กระทำอย่างต่อเนื่อง ย่อมแปรเปลี่ยนจากทรัพย์หยาบเป็นทรัพย์ละเอียดคือบุญ ติดตามเราไปในภพเบื้องหน้า เป็นหลักประกันว่า ชีวิตของเรา จะไม่รู้จักกับคำว่าลำบากยากจน บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยโภคทรัพย์สมบัติ จะประกอบธุรกิจการงานในทางโลก ย่อมสำเร็จได้โดยง่าย ครั้นจะนำทรัพย์ที่เกิดขึ้นนี้ มาประกอบกิจในทางธรรม บำเพ็ญทานกุศล ก็ย่อมกระทำได้โดยง่าย
第一項,我們累積布施的善行,將粗俗的財富轉為精緻的功德,跟著我們到來世,保證生命絕不遇到貧窮困苦。如果一個人的財寶具足,無論做任何事業,都很容易心想事成。即使要把財富用於弘揚佛法,布施行善,也易如反掌。
ประการที่สอง หมู่ญาติมิตรที่ละโลกไปแล้ว เมื่อได้อนุโมทนาบุญ ก็ย่อมมีส่วนแห่งบุญนี้ไปด้วย ที่ทุกข์มากก็ทุกข์น้อย ที่ทุกข์น้อยก็พ้นทุกข์ ที่สุขน้อยก็สุขมาก ที่สุขมากแล้วก็สุขยิ่งๆ ขึ้นไป
第二項,迴向功德給去世的親朋好友,他們將分享此份功德,從多苦變少苦,少苦變無苦;從少福變多福,多福更多福。
ประการที่สาม กุลบุตรที่ท่านทานบดีทั้งหลายพามา เห็นแบบอย่างความประพฤติอันดีงาม มีการเคารพนอบน้อมต่อพระรัตนตรัย กำจัดความตระหนี่ด้วยการบริจาคทาน เป็นต้น เขาเห็นแล้วย่อมคล้อยตาม ประพฤติปฏิบัติตาม
第三項,善知識的子孫看到美好的典範,對三寶的謙卑與尊敬,以布施對治吝嗇的德行,會興起效法的心理,學著長輩做。
ท่านทั้งหลายจึงได้ชื่อว่า เป็นผู้ให้หนทางอันประเสริฐ คือ ให้หนทางสวรรค์และพระนิพพานแก่กุลบุตรทั้งหลาย
各位大德這樣做,就是在給後代好榜樣、示範升天及涅槃的聖路。
และอานิสงส์ประการสุดท้าย ชีวิตนั้นดำรงอยู่ได้ด้วยอาหาร ขาดอาหารแล้พวชีวิตไม่สามารถดำรงอยู่ได้ พระภิกษุสามเณรก็เช่นเดียวกัน ดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยอาหาร
最後一項,人人靠食物才能生存,沒有食物,無法延續生命。僧團也是如此,靠食物而安住。
ท่านทานบดีทั้งหลายจึงได้ชื่อว่า ให้อายุแก่พระภิกษุสามเณร ให้อายุแก่พระพุทธศาสนา และยังสันติสุขให้คงอยู่คู่โลกสืบไป.
諸位功德主善知識,照著以上四項去做,就是給予僧團生命,延續佛法慧命,讓和平永久住世。
8.
Greeting and Blessing
Greetings to everyone, who have come together here today to practise generosity in unity and joy. Allow your mind to gather at the centre of your body, serenely and gently. Let your mind settle in peace and brightness, as we meditate together for a few moments…
(pronounce a text of anumodanā here)
The monastic community would like to rejoice in your good deeds you have done on this day, and call upon the power of perfected qualities of the Buddha, the Dhamma and the Sangha, the perfected qualities of all the enlightened beings, and the power of the goodness that you have done in the past and present: may you be free from all suffering and misery, ailments and distress. May no danger come to you. May you meet only with prosperity and happiness. May you have long life, a fair complexion, well-being and strength. May all your wholesome wishes be fulfilled swiftly. And when you come to meditate, may you attain a still and bright mind easily, attain true bliss inside forever.
Now the time has come to receive a blessing in the ancient Indian language of Pali, and pour water as a symbol for sharing the merits you have done, with your beloved ones who have passed away.
Yathā…
9.
Knowing the results of giving
The Buddha once said:
“Bhikkhus, if beings knew, as I know, the result of giving and sharing, they would not eat without having given, nor would they allow the stain of meanness to obsess them and take root in their minds. Even if it were their last morsel, their last mouthful, they would not eat without having shared it, if there were someone to share it with.”
When we do good deeds with a joyful heart, we may feel a sense of joy in doing so. This feeling points to a fundamental truth about our mind, which the Buddha discovered: whenever we do something good, energy is stored up in our mind that we call merit. This merit helps to make our mind clear and bright. This is an energy that everyone can learn about, by simply doing good deeds like generosity, helpfulness and meditation on an everyday basis.
Not only does merit create joy and peace in our mind as our mind grows clearer, it also attracts good things in our life such as wise friends, a good health, and even wealth. When we experience success and happiness as the result of merit, it therefore becomes easier for us to do good, because we have more means, and more inspiration to do so. Therefore, there is nothing to fear about doing good deeds: the results of our good deeds on ourselves and others are much stronger than we might at first think.
All of you have come here today to practice good deeds, aware of how important such deeds are to ourselves and others.
10.
Buddhism is sustained through giving
Luang Pu Wat Paknam once gave a teaching: “Buddhism is sustained through giving. If every household in the entire country were to stop giving food for a month or so, Buddhism would cease to exist. Monks and novices would all disrobe without exception. Why? Because of not giving. Giving is very important. Everyone’s life is sustained by giving. In the scriptures, the Buddha therefore said: “a donor who gives food gives the recipients five things. (…) One gives life, beauty, happiness, strength, and discernment.” ”
In our daily lives, when we give something to someone, we often don’t realize that in giving something material, we also give many immaterial things, some of which are difficult to obtain. When we give food to someone, we also give strength – the strength to get up, walk to those in need and help them out; the strength to smile and give encouragement to those who are in despair; but also the physical and mental strength to meditate and teach.
Today you have come to offer food to the Sangha, and in that you have made it possible for the monks to work another day – to teach themselves and to teach others, both of which the world needs more than anything. By that, you are doing a good kamma, and the things you have given, strong health in body and mind to do good, will come back to you naturally. For it is the law of nature, that good always comes to those who do good, without exception.
11.
อานิสงส์ของกฐินทาน
供養嘎緹納功德衣的利益
กฐินทาน คำนี้เกิดขึ้นได้ยากในโลก เพราะจะต้องมีการบังเกิดขึ้นของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งต้องใช้เวลาในการบำเพ็ญบารมีอย่างน้อย ๒๐ อสงไขยเศษแสนมหากัป จะต้องมีคณะสงฆ์บวขอุทิศชีวิตสืบอายุพระพุทธศาสนา และต้องมีทายกผู้มีศรัทธาน้อมนำผ้ากฐินมาทอดถวาย
迦緹納袈裟供養,現世稀罕難遇,需有正等正覺佛陀誕生,至少二十阿僧祇與十萬劫時間,漫長地累積波羅蜜,終身奉獻生命、弘法布教的僧團,需有誠信的善知識,獻供嘎緹那袈裟,因緣千載難逢。
กฐินทานมีข้อจำกัดมากมายหลายประการ เช่น
嘎緹納袈裟供養,有很多限制,例如:
๑. จำกัดด้วยประเภทของทาน คือ ต้องถวายเป็นสังฆทานเท่านั้น
一、獻供對象的限制,一定用來供養僧團。
๒. จำกัดด้วยระยะเวลา คือ ถวายได้ในช่วง ๑ เดือน หลังจากออกพรรษา
二、時間的限制,只能在雨安居結束的一個月內供養。
๓. จำกัดด้วยพิธี คือ จะต้องประกอบพิธีให้เสร็จภายในวันกรานกฐิน
三、儀式的限制,一定在嘎緹那儀式當天內供養。
๔. จำกัดด้วยไทยธรรม คือ ผ้าไตรถูกต้องตามพระวินัย
四、供養品的限制,袈裟需依律經規定製作。
๕. จำกัดด้วยผู้รับ คือ พระภิกษุจำพรรษาครบถ้วนไตรมาส และมีคณะสงฆ์จำพรรษาตั้งแต่ ๕ รูปขึ้นไป
五、應供者的限制,至少有五位以上圓滿雨安居的比丘。
๖. จำกัดจำนวน คือ วัดหนึ่งรับกฐินทานได้ ปีละ ๑ ครั้งเท่านั้น
六、數量的限制,一所寺院一年只能接受一次嘎緹那袈裟供養。
๗. เป็นพุทธประสงค์ คือ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงมีพระประสงค์จะให้ภิกษุมีโอกาสได้ผลัดเปลี่ยนผ้าจีวรที่เก่า ซึ่งแตกต่างจากทานอื่นๆ ที่มีทายกเป็นผู้ทูลขอถวาย
七、是佛陀的聖云,佛陀聖允比丘有更換破舊袈裟的機會,因緣與其他供養不同。大多數供養來自於居士懇求而應供。
กฐินทานนั้นมีอานิสงส์ทั้งผู้รับ ผู้อนุโมทนา และผู้ถวาย
嘎緹納袈裟供養讓應供者、供養者與隨喜者,三方同獲利益。
ผู้รับ คือ ภิกษุผู้ได้กรานกฐินแล้ว จะได้อานิสงส์ ๕ ประการเพื่อสะดวกในการบำเพ็ญสมณธรรม
應供者,即雨安居圓滿的比丘,會得到五項利益,容易修行。
ส่วนผู้ถวายและผู้อนุโมทนามีอานิสงส์ ทำให้เกิดในร่มเงาของพระพุทธศาสนา ได้บังเกิดในตระกูลสูง มีผิวพรรณวรรณะเปล่งปลั่ง มีผ้านุ่ง ผ้าห่มที่ประณีตงดงาม รองรับการสร้างบารมี มีสุขภาพแข็งแรง
供養者與隨喜者所得的利益,來世在佛教的庇護下誕生,家族高貴,身體健康,膚色皓潔,富有精緻美麗的衣著服飾,順利地修波羅蜜。
สำหรับท่านชาย ย่อมได้บวชแบบเอหิภิกขุอุปสัมปทา คือ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประทานการบวชให้
男居士供養,獲得佛陀親自恩賜出家的善果。
สำหรับท่านหญิง ย่อมได้เครื่องประดับมหาลดาปสาธน์ เฉพาะผู้มีมีบุญเท่านั้น จึงจะสวมใส่ได้ เพราะมีน้ำหนักมากเกินกว่าสตรีเท่าไปจะรองรับได้
女居士供養,獲得莊嚴的孔雀珠寶服飾。這套高貴的服飾,唯有修功德到圓滿,才穿得上;平凡女人無法撐起重量。
ผ้าไตรจีวร เป็นบริขารที่ใช้ในวันบวช ทำให้สำเร็จความเป็นพระภิกษุ ใช้ปกป้องความหนาว ความร้อน ลม แดด แมลงมีพิษ และปกปิดคามน่าละอาย เป็นเครื่องเตือนสติให้เกิดสมณสัญญา เป็นสัญลักษณ์ของอายุพระพุทธศาสนา เป็นที่บำเพ็ญบุญของสาธุชน และรองรับการบำเพ็ญศาสนกิจเพื่อความสุขของมหาชนทั้งหลาย
袈裟是出家儀式所需,披袈裟才能圓滿成為比丘。袈裟披在身上,去寒、防熱、抗風、隔開有毒動物、覆蓋羞恥處,提醒僧人身為比丘的正思惟,象徵佛教施命的聖者,推廣佛法以利世間,大眾修功德的福田。
กฐินทาน จึงเป็นมหากุศลอันยิ่งใหญ่ ย่อมอำนวยผลให้ผู้ถวายประสบสุขทั้งโลกนี้ โลกหน้า และสุขอย่างยิ่งคือพระนิพพาน.
供養嘎緹那袈裟,無上至善的功德,供養者在今世與來世均得快樂,證悟極樂的涅槃聖果。