สวัสดี ท่านผู้มีบุญทุกท่าน
Hello and welcome
หลายท่านเริ่มคุ้นหูกับคำว่า สาธุ สาธุ สาธุ คำว่า “สาธุ” เป็นคำดีมีความหมายว่า “อันว่าท่านทำดีแล้ว ข้าพเจ้าทั้งหลายขอสนับสนุน” คือสนับสนุนการทำคุณความดีของพระธรรมยาตราที่ท่านเชิดชูพระคุณ แสดงความกตัญญูกตเวทีบูชาธรรมพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่แนะนำสั่งสอนดีแล้วและบูชาธรรมพระสงฆ์สาวกผู้ที่ทำตามจนกระทั่งค้นพบความสุขบรรลุธรรมตามรอยพระพุทธองค์ ในที่นี้หมายถึง พระเดชพระคุณหลวงปู่ที่ฝึกฝนตนเองเป็นต้นแบบแห่งมหาปูชนียาจารย์นั่นเอง
As many people are getting familiar in rejoicing with the merits with the phrase, “Sathu,” translated means, “we rejoice in your good deeds.” We support the virtues of the Dhammayatra monks who show their gratitude and display the very virtues by which the Great Masters practice accordingly.
วันนี้มีเรื่องเล่าให้ได้รำลึกถึงภาพประวัติชีวิตอันงดงามและคุณธรรมในแง่มุมต่างๆ ในอดีตของพระเดชพระคุณหลวงปู่ พระมงคลเทพมุนี (สด จันทสโร) ผู้ค้นพบวิชชาธรรมกาย ที่น่าประทับใจมากๆ เกี่ยวกับสถานที่ที่ค้นคว้าวิชชาธรรมกาย และเผยแผ่วิชชาธรรมกาย ณ วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ
We have a video that illustrates how Luang Pu Wat Pakam sought and attained the Phra Dhammakaya and taught the Vijja Dhammakaya at Wat Paknam Basicharoen.
เป็นเจ้าอาวาสวัดปากน้ำ Being Appointed the Abbot of Wat Paknam
แม้ว่าหลวงปู่จะรักชีวิตสันโดษ ด้วยการออกธุดงค์หาสถานที่วิเวกเพื่อปฏิบัติธรรม แต่ท่านก็ไม่เคยนิ่งดูดายต่อสวนรวม ไม่ว่าท่านจะไปพักอยู่ที่ใด ท่านมักจะทำประโยชน์ให้เกิดขึ้นในที่แห่งนั้นเสมอ กอปรกับท่านเป็นผู้ที่มีความสามารถในหลายๆ ด้าน จึงเป็นเหตุให้พระเถระผู้ใหญ่ในวงการคณะสงฆ์ คือ ท่านเจ้าคุณพระธรรมปิฎก (เผื่อน ติสสทัตตเถระ) วัดพระเชตุพนฯ พระอาจารย์ของท่าน ซึ่งขณะนั้น ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะอำเภอภาษีเจริญ จังหวัดธนบุรี ได้เล็งเห็นถึงคุณสมบัติที่ดีของหลวงปู่ ท่านเจ้าคุณพระธรรมปิฎกเห็นว่าหลวงปู่สามารถทำประโยชน์ให้กับพระศาสนาได้อีกมาก จึงมอบหมายให้หลวงปู่ย้ายไปจำพรรษาที่วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ’เพื่อเป็นเจ้าอาวาส
Luang Pu was fond of solitude as could be seen by his undertaking of Dhutanga. However, Luang Pu had always made himself useful wherever he was. His concern for other people coupled with his talents and abilities endeared him to the senior monks. One of these was Luang Pu’s teacher, the Most Venerable Phra Dhammapidok (Pueng Tissatattathera) of Wat Phra Chetuphon. At the time, this venerable monk was in charge of governing the monks in Amphoe Bhasicharoen in the province of Thonburi. He saw that Luang Pu could contribute enormously to Buddhism and appointed Luang Pu the acting Abbot of Wat Paknam in Basicharoen province.
เมื่อหลวงปู่มาเป็นเจ้าอาวาสวัดปากน้ำใหม่ ท่านกล่าวว่า “สร้างคนนั้นสร้างยาก เรื่องเสนาสนะไม่ยาก ใครมีเงินก็สร้างได้ แต่สิ่งสำคัญต้องสร้างคนก่อน”
When Luang Pu first became the Abbot of Wat Paknam, he said, “It is much harder to build good people than a building. Anyone can build a building if he has the fund to do it. However, it is more important to build good people first.”
หลวงปู่ท่านเป็นนักบริหารอย่างแท้จริง ท่านได้แบ่งงานให้มีผู้รับผิดชอบเป็นส่วนๆ ได้แก่
- ด้านการศึกษาปริยัติธรรม
- ด้านพระภิกษุ สามเณร และศิษย์วัด
- ด้านแม่ชี
งานที่สำคัญหลวงปู่จะดูแลด้วยตนเอง บางงานสามารถแต่งตั้งผู้เป็นหูเป็นตาแทนได้ ท่านก็ไว้วางใจให้มีผู้ดูแล และให้รายงานให้ท่านทราบ หลวงปู่ปกครองวัดแบบพ่อปกครองลูก ท่านยึดหลัก “พรหมวิหาร 4” เป็นข้อปฏิบัติ เป็นที่ประจักษ์แจ้งแก่ศิษยานุศิษย์ทุกคน
Luang Pu divided the residents and their respective duty into three parts as follows:
- Scriptures study.
- Monks, novice monks, and Upasakas.
- Buddhist nuns.
Luang Pu oversaw the more important activities and assigned able individuals to oversee other activities of less importance. These individuals reported directly to Luang Pu. Luang Pu treated everyone in the temple like his children by practicing the Four Noble Sentiments.
หลวงปู่ท่านเป็นผู้ที่รักและเห็นความสำคัญของการศึกษา สมัยที่ท่านอยู่ที่วัดพระเชตุพนฯ
ท่านเคยจัดตั้งโรงเรียนขึ้นโดยใช้กุฏิของท่านเป็นที่สอนหนังสือแก่พระภิกษุ สามเณร ท่านพูดว่า
“การศึกษานั้นสามารถเปลี่ยนชีวิตผู้ศึกษาให้สูงกว่าพื้นเดิม คนที่มีการศึกษาดี จะได้อะไรก็ดีกว่า
ประณีตกว่าผู้อื่น คนมีวิชาเท่ากับได้สมบัติจักรพรรดิกินใช้ไม่หมด”
Luang Pu had always valued education. During his residency at Wat Phra Chetuphon, Luang Pu set up a Dhamma school right there in his Kuti so that Kutis, novice monks can study the Scriptures. Luang Pu had this to say about education, “Education can change a person’s life by elevating it. A well-educated person is poised to gain better and more elaborate things than other people. Education is like a great and inexhaustible treasure trove.”
ในสมัยที่หลวงปู่มาเป็นเจ้าอาวาสวัดปากน้ำใหม่ๆ มักจะมีเด็กๆ ลูกชาวบ้านเข้ามาก่อ
ความเดือดร้อนในวัดปากน้ำเสมอ ด้วยเหตุที่เด็กเหล่านั้นไม่ได้ศึกษาเล่าเรียน จึงมาเที่ยวเล่นเกเร ยิงนก ตกปลาภายในบริเวณวัด หลวงปู่ท่านเป็นห่วงอนาคตของเด็กๆ มาก เกรงว่าถ้าไม่ได้รับการศึกษาแล้ว จะกลายเป็นเด็กเกเรและเป็นอันธพาลในที่สุด ท่านจึงก่อตั้งโรงเรียนขึ้นในวัด เพื่อให้เด็กๆ ได้ศึกษาเล่าเรียน และเป็นที่อบรมสั่งสอนให้เด็กมีความประพฤติที่ดีขึ้น
When Luang Pu first came to live at Wat Paknam, local children came often to make trouble in the temple grounds. These children did not receive any schooling and came to the temple to shoot birds and fish in the waters. Luang Pu was concerned about these children‟s future. He feared that the lack of education would cause these children to grow up as wayward adults. Therefore, Luang Pu decided to establish a school at the temple to be properly educated and trained.
ท่านพยายามส่งเสริมสนับสนุนให้ทุกคนได้มีโอกาสศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรม เพราะท่านมุ่งที่จะพัฒนาให้พระภิกษุ สามเณรมีความรู้ ท่านไม่ยอมให้พระภิกษุ สามเณรในวัดอยู่ว่างๆ ทุกรูป ต้องศึกษาพระปริยัติธรรม เพื่อรู้หลักธรรมในพระพุทธศาสนาอย่างละเอียด จะได้ปฏิบัติตัวได้ถูกต้อง และสั่งสอนญาติโยมได้ สำหรับหลวงปู่แล้วนอกจากจะศึกษาพระปริยัติธรรม ยังไม่เพียงพอ พระภิกษุ สามเณรทุกรูปต้องปฏิบัติธรรมควบคู่ไปด้วย ดังคำที่ว่า “ปริยัติเป็นยาทา วิปัสสนาเป็นยากิน”
Luang Pu turned his attention to Scriptures study and encouraged everyone to undertake Scriptures study. He wanted the monks and novice monks to be well-educated. He did not allow them to remain idle. He made sure that they study the Scriptures so that they could learn the Dhamma in detail and knew how to conduct themselves properly as well as teach the laity. Luang Pu wanted them to practice meditation as well. He thought that “Scriptures study is like medicated salve whereas meditation practice is like medicine one ingests.”
ในปี พ.ศ. 2490 วัดปากน้ำได้รับการยกฐานะให้เป็นสำนักเรียนด้านปริยัติ มีพระครูพิพัฒน์-ธรรมคณี เป็นอาจารย์ใหญ่ มีการสอนภาษาบาลี นักธรรมศึกษา และสามัญศึกษา แผนกภาษาบาลีนั้นทำการสอนตั้งแต่ชั้นไวยากรณ์ถึงเปรียญธรรม 6 ประโยคที่สูงกว่านี้ยังไม่สามารถเปิดสอนได้ เพราะขาดบุคลากร อาคารเรียนในสมัยนั้นเป็นอาคารเรือนไม้ชั่วคราว และไม่เพียงพอต่อจำนวนพระภิกษุ สามเณรที่เข้าเรียน เพราะขณะนั้นวัดปากน้ำมีพระสงฆ์จำพรรษาถึง 600 รูปเศษ และยังมีพระภิกษุ สามเณรจากวัดใกล้เคียงมาศึกษาด้วย
In the year 1947, Wat Paknam was recognized as an official school for Scriptures study. Its principal was the Venerable Phrakrupipatdhammacani. The school taught Pali and Dhammika and provided elementary education as well. Pali studies included Pali grammar all the way gradePali studies. Higher grades of Pali studies could not be offered at the time because of the lack of qualified teachers. The school was held in a temporary wooden structure and there was not enough room for all the monks and novice monks because at the time there were more than 600 resident monks and novice monks at Wat Paknam. Moreover, monks and novice monks from nearby temples also came to attend school at Wat Paknam.
ต่อมาหลวงปู่มีดำริที่จะสร้างโรงเรียนพระปริยัติธรรม ขึ้นใหม่ ให้หลังใหญ่และทันสมัยขึ้น เพียงพอที่จะรองรับพระภิกษุ สามเณรเข้าศึกษาได้มากๆ โรงเรียนพระปริยัติธรรมที่หลวงปู่ดำริสร้างขึ้นนี้ ท่านตั้งใจจะสร้างให้เป็นอาคารถาวร โดยมีโครงสร้างเป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก สูง 3 ชั้น ชั้น 1และ 2 สำหรับเรียนพระปริยัติ ส่วนชั้น 3 สำหรับนั่งเจริญภาวนา อาคารเรียนหลังนี้สามารถรองรับนักเรียนได้ถึง 1,000 รูป ซึ่งเมื่อสร้างเสร็จสามารถรองรับพระภิก สามเณรที่มาเรียนได้ทั้งหมดอย่างแน่นอน
As a result, Luang Pu thought about building a permanent structure for the school. He wanted to build a large and modern school to accommodate a large number of monks and novice monks. He wanted it to be a concrete building having three stories and strengthened with steel. The first and second floors were for scripture study whereas the third floor was for meditation practice. Luang Pu wanted this building to have enough room to accommodate 1,000 monks and novice monks.
การเผยแผ่ Propagating Buddhism and Vijja Dhammakaya
หลวงปู่วัดปากน้ำท่านมีความคิดที่จะเผยแผ่ธรรมะตั้งแต่เพิ่งจะบรรลุธรรมใหม่ๆ เรื่อยมา
จนท่านได้มาเป็นเจ้าอาวาสที่วัดปากน้ำ ด้วยมหากรุณาที่มีอยู่ในใจของท่าน ที่เห็นชาวโลกยังมีความทุกข์อยู่ แม้ว่าจะต้องพบอุปสรรคนานัปการ ท่านก็ยังเดินหน้าเรื่อยไป ชนิดที่เรียกว่า ถอยหลังเป็นไม่มี จะเห็นได้จากจริยาวัตรของท่าน คือ
- คุมพระภิกษุ สามเณรลงทำวัตรไหว้พระในพระอุโบสถ และให้โอวาทสั่งสอน ทุกวันๆ ละ 2 เวลา คือ เช้าและเย็น
- วันพระและวันอาทิตย์ลงแสดงธรรมในพระอุโบสถเองเป็นนิจ
- ทำกิจภาวนาอยู่ในสถานที่ซึ่งจัดไว้เฉพาะเป็นกิจวัตรประจำวัน และควบคุมพระภิกษุให้ไป
นั่งภาวนารวมอยู่กับท่าน ทั้งกลางวันและกลางคืน ส่วนพวกอุบาสิกาก็ให้ทำกิจภาวนาเช่นกัน
- ทุกวันพฤหัสบดี เวลา 14.00 น. สอนการนั่งสมาธิแก่พระภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา
- จัดให้มีครูสอนพระปริยัติธรรม
Luang Pu wished to propagate Vijja Dhammakaya ever since he first attained Phra Dhammakaya. He possessed a deep compassion for all humanity. Luang Pu was persistent in his effort to teach the Dhamma as can be seen from his monastic routine.
- Luang Pu led the monks and novice monks in doing morning chanting in the Upasatha Hall. He advised them twice a day, in the morning and the evening.
- On every Buddhist Holy Day and Sunday, Luang Pu gave a Dhamma lecture in the Upasatha Hall.
- Luang Pu practiced meditation daily and led the monks to practice meditation with him during the day and at night. The Upasikas (nuns) were required to practice meditation as well.
- Every Thursday at 2 p.m., Luang Pu taught meditation practice to the monks, novice monks, Upasakas, and Upasikas.
- Luang Pu assigned certain monks to teach the Scriptures.
หลวงปู่ท่านปักหลักสอนธรรมะอยู่ในวัด ตั้งแต่หลังจากเริ่มทำวิชชาอย่างจริงจังแล้ว ท่านแทบจะไม่ได้ออกไปไหนเลย ผลแห่งการอบรม เผยแผ่ธรรมปฏิบัติวิชชาธรรมกายตั้งแต่ต้นมา ทำให้มีศิษยานุศิษย์เป็นจำนวนกว่าแสนคน ในจำนวนนี้ ประมาณหมื่นกว่าคนที่ได้บรรลุธรรมกาย และหลวงปู่ท่านยังได้ส่งพระภิกษุและอุบาสิกา ซึ่งได้ธรรมกายแล้วนั้น ไปเผยแผ่เกือบทุกจังหวัดในประเทศไทย
Luang Pu continued to teach meditation practice at Wat Paknam. Having practiced Vijja Dhammakaya so earnestly, Luang Pu rarely begged for alms anywhere outside the temple. As a result of Luang Pu’s effort in propagating Vijja Dhammakaya, more than 100,000 people became his followers, and out of these people more than 10,000 people, were able to attain Phra Dhammakaya. Luang Pu had also sent monks and nuns who had attained Phra Dhammakaya to almost every province of Thailand to teach Vijja Dhammakaya.
อาพาธและมรณภาพ Luang Pu’s Illness and Passing
นับจากวันที่หลวงปู่ได้รับมอบหมายให้มาเป็นเจ้าอาวาสวัดปากน้ำเป็นต้นมา ท่านรับภาระหนักมาโดยตลอด ท่านมีเวลาพักผ่อนน้อย เพราะเวลาส่วนใหญ่อุทิศให้กับเรื่องการทำภาวนาและการบริหารวัดทุกวันไม่ได้ขาด จนล่วงเข้าวัยชรา สุขภาพของท่านก็เริ่มทรุดโทรม ท่านเริ่มอาพาธเป็นโรคความดันโลหิตสูง เมื่อประมาณกลางเดือนมีนาคม พ.ศ. 2499 ในช่วงแรกอาการของหลวงปู่ขึ้นๆ ลงๆ
Ever since Luang Pu took over the responsibility as the Abbot of Wat Paknam, he had had to work extremely hard. Luang Pu had had very little time for sleep because he spent all of his time practicing Vijja Dhammakaya and managing the temple. As Luang Pu advanced in years, his health began to suffer. Luang Pu started to have symptoms of high blood pressure in 1946.
ท่านพูดถึงอาการอาพาธกับสมเด็จป๋า[สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (ปุ่น ปุณณสิริมหาเถระ) สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ ๑๗ หรือที่เรียกกันว่า “สมเด็จป๋า”] ว่า “เจ็บคราวนี้ไม่หาย ไม่มียารักษา เพราะยาที่
ฉันอยู่นั้น มันไม่ถึงโรค” ท่านว่ากรรมมันบังไว้ อุปมาเหมือนมีแผ่นหินมารองรับกั้นไว้ ไม่ให้ยาซึมไปกำจัดโรคได้ โรคของท่านนั้นเป็นไข้เหนือหมอ ไม่มีใครรักษาหาย แต่เมื่อลูกศิษย์พาแพทย์ที่
มีชื่อเสียงมารักษา ท่านก็ไม่ขัด เพราะต้องการเปิดโอกาสให้ลูกศิษย์ได้แสดงกตัญญูกตเวทิตาในระหว่างที่อาพาธอยู่
Luang Pu told Somdej Pa about his illness, “I will not recover from this illness. There‟s no medicine to treat it. The medication I’ve been taking cannot treat it.” He said that his past demerit was preventing his illness from being treated. It was as if a stone slab was blocking the way and preventing the medicine from reaching the target site. His illness was beyond cure, but when his followers brought reputable physicians to treat him, Luang Pu did not object. He wished to allow his followers to show him their gratitude.
เมื่อท่านอาพาธหนัก ท่านได้เรียกหลวงพ่อเล็ก เข้าไปพบ เพื่อสั่งให้ดำเนินการเผยแผ่
วิชชาธรรมกาย และแจกพระของขวัญต่อไป อีกทั้งยังสั่งเรื่องสำคัญไว้ด้วยว่า เมื่อท่านมรณภาพแล้ว
ให้เก็บสรีระของท่านไว้ไม่ต้องเผา
When Luang Pu fell gravely ill, he told Luang Por Lek to continue propagating Vijja Dhammakaya and distributing the sacred gifts. Moreover, Luang Pu told Luang Por Lek to keep his body after he dies and embalm it.
ก่อนที่หลวงปู่ท่านจะมรณภาพ ท่านได้ให้โอวาทกับศิษย์ผู้ใกล้ชิดหลายคนว่า ให้เผยแผ่วิชชาธรรมกายต่อไป ท่านได้สั่งลูกศิษย์ธรรมกายทุกคนของท่าน เสมือนพินัยกรรมอันศักดิ์สิทธิ์ว่า แม้ท่านจะมรณภาพแล้ว ก็ขอให้ทุกคนช่วยกันสั่งสอนวิชชาธรรมกายนี้สืบไป ไม่ย่อท้อจนกว่าจะสิ้นชีวิต ไม่ให้ไปไหนให้อยู่ที่วัดปากน้ำ รอผู้ที่จะมาสืบทอดวิชชาธรรมกายในวันข้างหน้าต่อไป
Before Luang Pu passed away, he told many of his Dhammakaya pupils to continue propagating Vijja Dhammakaya. He told them not to leave Wat Paknam, but to remain there to teach Vijja Dhammakaya and wait for the arrival of the rightful heir of Vijja Dhammakaya.
ในเวลา 13.00 น. เศษ ของวันที่หลวงปู่จะมรณภาพนั้น ท่านมีอาการหอบ จึงได้ตามแพทย์ที่เคยมาดูแลประจำ แต่แพทย์ไม่อยู่ คุณหญิงชลขันธพินิจ ซึ่งมาคอยดูแลหลวงปู่ในที่นั้นด้วย จึงออกไปตามแพทย์ท่านอื่นมา เมื่อมาถึงก็ได้ตรวจอาการของหลวงปู่ สักครู่แพทย์ได้แจ้งให้ทราบว่าหลวงปู่หมดความรู้สึกและเส้นโลหิตในสมองแตกแล้ว หมดทางที่จะรักษา ในเวลานั้นพระภิกษุ สามเณร อยู่กันเต็มห้อง ต่างมองดูหลวงปู่ด้วยใบหน้าสลด
Around 1 p.m. on the day that Luang Pu passed away, he was having difficulty breathing. Luang Pu’s personal physician was not available; therefore Kunying Chonlakantapinit, who was there to tend to Luang Pu, went to fetch another physician for Luang Pu. After examining Luang Pu, the physician told everyone there that Luang Pu could not feel anything anymore because he had had a hemorrhagic stroke. Luang Pu was beyond treatment. All of the monks and novice monks in the room could only watch Luang Pu with deep sadness.
หลวงปู่ท่านมรณภาพอย่างสงบที่วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2502 เวลา15.05 น. สิริรวมอายุได้ 74 ปี 3 เดือน 24 วัน 53 พรรษา ท่ามกลางความโศกสลดและเสียงสะอื้นของศิษยานุศิษย์ทั้งหลายที่มาแวดล้อมและที่ทราบข่าว เมื่อระฆังและกลองในวัดบันลือเสียงขึ้น ทุกคนน้ำตาคลอ บ้างก้มลงกราบ บ้างยืนมองแล้วร้องไห้ บ้างเอามือปิดหน้าสะอึกสะอื้น ไม่มีเสียงพูดใดๆ ทั้งสิ้น
Luang Pu passed away quietly at Wat Paknam on February 3, B.E. 2502 at 3.05 p.m. He had lived for a total of 74 years, 3 months, and 24 days. He had been in the monkhood for 53 years. The temple bell and the temple gong sounded and everyone in the temple shed tears of sorrow.
บทสรุป
Conclusion
พวกเราจะได้ถวายการต้อนรับพระธรรมยาตราด้วยกลีบดอกไม้โปรยปูลาดบนเส้นทางเดินเท้าของท่าน เป็นการแสดงความเคารพ ศรัทธา และยกย่องให้เกียรติแด่หมู่สงฆ์ ท่านเหล่านั้นใช้เวลาอย่างรู้คุณค่า โดยมีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและมหาปูชนียาจารย์เฉกเช่นหลวงปู่วัดปากน้ำ ภาษีเจริญเป็นบุคคลต้นแบบ
We have given our welcome to the Dhammayatra monks with petals paving their way as a gesture of respect and faith. Those who welcome the Dhammayatra monks use their time wisely, with the Buddha and Great Masters are our role models.
ปีใหม่ปีนี้พวกเราได้มีเหตุการณ์ที่น่าจดจำและน่าภาคภูมิใจ ได้พบ ได้ฟังเรื่องราวดีๆ และเห็นสิ่งที่ดีๆ คุณธรรมความดีของมหาปูชนียาจารย์ ร่วมกันรวมใจเป็นส่วนหนึ่งแห่งงานพิธีถวายการต้อนรับพระธรรมทายาท เป็นการต้อนรับปีใหม่ที่แสนวิเศษ จิตใจและอารมณ์ผ่อนคลายไปกับภาพสวยๆ ดอกไม้งามๆ เรื่องราวดีดี ทุกกิจกรรมเอื้ออำนวยต่อการสนับสนุนคนดีที่โลกต้องการ พวกเราต่างก็ปรารถนาเป็นหนึ่งในคนดีที่โลกต้องการจดจำเช่นกัน อยากให้ใครๆโจษขานเล่าแต่เรื่องที่เป็นสิริมงคลแก่ชีวิตเหมือนกัน
This new year we have had a memorable event. We have heard good stories about the virtues of the Great Master and unite to be part of the ceremony to welcome the Dhammayatra monks. It’s a wonderful welcome to the new year. Relax your mind and mood with beautiful pictures, beautiful flowers, good stories. Every activity is conducive to supporting the good people the world needs. We all aspire to be one of the good people the world needs to remember. I want everyone to tell stories about things that are auspicious for life as well.
มาช่วยกันเปลี่ยนแปลงโลกใบนี้ให้มีสันติสุขภายในอย่างแท้จริง โดยเริ่มนับหนึ่งจากตัวเราเองก่อน ทำความดีไว้มากๆ ตั้งแต่วันนี้ แล้วจะพบว่าสิ่งแวดล้อมรอบตัวเราเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นๆ เช่นกัน
Let’s bring true peace to the world by doing good deeds, beginning with ourselves. Starting from today, we will find that the world around us has changed for the better as well.
บทเกริ่นนำ
พระเดชพระคุณหลวงปู่ พระมงคลเทพมุนี (สด จันทสโร) พระผู้ปราบมาร ท่านเป็นต้นแบบแห่งคุณธรรม เจ้าของวลีทรงคุณค่าว่า: “หยุดเป็นตัวสำเร็จ” หยุดจากสิ่งที่ไม่ดีทั้งกาย วาจา ใจ ไม่หวั่นไหวในอุปสรรค เรียนธรรมะเพื่อรู้จักชีวิต มีสติรู้ว่าชีวิตมีทั้งความทุกข์และความสุข ปัญหาต่างๆ ทุกอย่างมีไว้ให้แก้ไข ไม่ใช่มีไว้ให้กลุ้ม หยิบอารมณ์ทุกข์ทิ้งไป หรือปล่อยวางชั่วคราว สละอารมณ์ที่ทำให้ทุกข์ หยุดไว้ก่อน ทุกอย่างที่ผ่านมาหาเราล้วนเป็นธรรมดาของโลก
สงวนเวลาอันมีค่ามาแสวงหาความสุขที่ปลอดภัย และมีชัยชนะต่อความคิด คำพูด การกระทำที่ไม่ดีทั้งหลาย ทั้งจากตัวเราเองและผู้อื่น เป็นกัลยาณมิตรให้กันและกัน ทำความดีกันให้ชื่นใจ เหมือนที่เราประทับใจ ปลาบปลื้มใจในคุณธรรมความดีของพระเดชพระคุณหลวงปู่
ในระหว่างการโปรยกลีบดอกไม้ถวายการต้อนรับพระธรรมยาตรา ถวายเป็นพุทธบูชาและบูชาธรรมพระเดชพระคุณหลวงปู่ พระมงคลเทพมุนี พระผู้ปราบมาร
มาย้อนรำลึกเรื่องราวคุณธรรมบางเสี้ยวบางตอนที่จะได้มองเห็นภาพบรรยากาศ สื่อการบำเพ็ญชีวิตสมณะแท้ของท่าน…
มีความเพียรสม่ำเสมอ
เรื่องความเพียรในการเจริญสมาธิภาวนานั้น หลวงปู่ท่านทำมิได้ขาดเลยจนวันเดียว ท่านกล่าวไว้ว่า ท่านไม่เคยว่างเว้นจากการทำความเพียรทางจิต เจริญสมาธิภาวนาเลยจนวันเดียวตั้งแต่
อุปสมบทมา ท่านถือหลักในการปฏิบัติที่ว่า “ประกอบเหตุ สังเกตผล สนใจเถิด ประเสริฐนัก ประกอบในเหตุ สังเกตในผล สนใจเข้าเถิด ประเสริฐดีนัก ประกอบที่ในเหตุ สังเกตดูในผล สนใจเข้าเถิด ประเสริฐยิ่งนัก“
หลวงปู่ท่านสอนว่า การปฏิบัตินั้นต้องให้ถึงที่สุด ไม่ว่าเราจะเห็นหรือไม่เห็นก็ให้ปฏิบัติเรื่อยไป อย่าปล่อยให้กาลเวลาล่วงเลยไปโดยเปล่าประโยชน์ ท่านจะเน้นเช่นนั้นเสมอ เพราะความเพียรก็ต้องมีที่สุดของความเพียร ความอดทนก็ต้องมีที่สุดของความอดทน ถ้าเรายังปฏิบัติความเพียรไม่ถึงที่สุด เราก็บอกว่าเราเพียรแล้ว ความอดทนเราก็ยังทำไม่ถึงที่สุด เราก็บอกว่าเราอดทนแล้ว เพราะที่สุดของแต่ละคนนั้นไม่เท่ากัน เปรียบเหมือนการอ่านหนังสือ บางคนอ่านเพียงหน้าเดียวก็เข้าใจ มีความรู้ทันทีบางคนต้องเปิดอ่านหลายครั้งหลายคราวจึงจะเข้าใจ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัญญาบารมีของแต่ละคนซึ่งมีไม่เท่ากัน
Being Persistent
Luang Pu was persistent in his meditation practice and never missed a day of it.
Luang Pu said that he had never stopped practicing meditation even for just one day since the day he entered the monkhood. Luang Pu had this to say about meditation practice, “Perform the act, and notice its fruit. Endeavor to do it because it is sublime.”
Luang Pu said that when we practice meditation we must do it all the way. It means that whether or not we have any inner experience we must continue to practice it. We must never allow the time to pass idly by. Persistence has its maximum point. Patience has its maximum point. If we have not reached the maximum point in persistence, we cannot say that we have already persisted. If we have not reached the maximum point in patience, we cannot say that we have already been patient.
ประพฤติตรงต่อหนทางพระนิพพาน
การเจริญสมาธิภาวนาของหลวงปู่วัดปากน้ำเป็นกิจวัตรประจำ ไม่เคยว่างเว้นเลยนั้น ทำให้ท่านได้ชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติตรงต่อหนทางของพระนิพพานโตยแท้ เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า พระภิกษุที่เล่าเรียนศึกษาธรรมแล้ว ปรารภความเพียร เจริญสมาธิภาวนา ชื่อว่าไม่ประมาทในธรรม และอยู่ใกล้พระนิพพาน ดังพุทธพจน์ที่ว่า
“ภิกษุผู้ตั้งอยู่ในศีล สำรวมในอินทรีย์ทั้งหลาย รู้จักประมาณในโภชนะ และหมั่นประกอบความไม่เห็นแก่นอน เป็นผู้มีความเพียร ไม่เกียจคร้านทั้งวันทั้งคืน เจริญกุศลธรรมเพื่อบรรลุคุณอันเกษม จากโยคะอยู่อย่างนี้ ชื่อว่าเป็นภิกษุยินดีในอัปปมาทธรรม หรือเห็นภัยในความประมาทโดยปกติ ย่อมเป็นผู้ไม่พอที่จะเสื่อม เป็นผู้ปฏิบัติใกล้พระนิพพานทีเดียว”1
หลวงปู่ท่านยังกล่าวไว้ด้วยว่า “นั่งภาวนาทำใจให้หยุด ให้หยุดสักกะพริบตาเดียวเท่านั้น
ที่สร้างโบสถ์ สร้างวิหาร ศาลาการเปรียญ สู้ไม่ได้หรอก ให้เราแสวงหาเขตบุญในพระพุทธศาสนา
ให้มั่นเชียวนะ ให้ใจหยุดเป็นตัวสำคัญ หยุดนี้เป็นทางมรรคผลนิพพาน พวกให้ทาน รักษาศีลยังไกล
กว่า หยุดนี้ใกล้นิพพานนัก“
Practicing According to the Path of Nibbana
It can be said that Luang Pu had practiced according to the Path of Nibbana. The Lord Buddha said, “Buddhist monks that have studied the Dhamma and persisted in meditation practice is said to be heedful; hence, close to Nibbana.”
Luang Pu said, “Practice meditation in order to achieve cessation of your mind. If cessation can be achieved even just for the blink of an eye, the merit earned far outweighs that earned from donating money to have an Upasatha Hall, a shrine hall, or a study hall built. We must be determined to seek the merit field inherent in Buddhism by bringing our mind to a complete standstill, for it is through the cessation of our mind that the Path of Nibbana can be found. Alms-giving and keeping the Precepts cannot be compared to the cessation of our mind.”
อธิศีล
หลวงปู่เป็นพระที่รักษาศีลอย่างเคร่งครัด และถูกต้องตามพระธรรมวินัย ท่านมีความปรารถนาดีกับพระภิกษุ สามณร แม่ชี ทุกรูปทุกคน ต้องการให้รักษาศีลได้บริสุทธิ์บริบูรณ์อย่างท่าน เรื่องเงินเรื่องทอง ท่านไม่เคยจับเลย ท่านจะให้ไวยาวัจรคอยดูแลเรื่องนี้แทน มีไวยาวัจกรประจำวัดคนหนึ่ง ชื่อลุงประยูร สุนทารา ทำหน้าที่ดูแลเรื่องการเงิน ทำบัญชีรายรับรายจ่ายทุกประเภทของวัด รวมทั้งดูแลรักษาสิ่งของทุกชนิดที่มีผู้นำมาถวายหลวงปู่และถวายเป็นสมบัติของวัด ลุงประยูรทำหน้าที่นี้จนชรามากจึงลาออก
หลวงปู่ท่านฉันภัตตาหารด้วยอาการสำรวมทุกครั้ง ท่านปฏิบัติตามหลักเสขิยวัตรทุกข้อ
แม้น้ำแกงท่านก็ไม่เคยฉันหกเลย ข้าวในจานท่านตะล่อมไว้ตรงกลางอย่างเรียบร้อย
น้ำปานะที่หลวงปู่ฉันในยามวิกาล ก็ต้องมาจากผลไม้ที่ลูกไม่เกินกำปั้น ท่านบอกว่าผลไม้ถ้าเกินกำปั้นใช้ไม่ได้ น้ำที่ท่านชอบคือน้ำอ้อย มีอยู่วันหนึ่งแม่ครัวทำน้ำปานะเข้าไปถวายท่าน ท่านถามว่าน้ำอะไร น้ำส้มโอเจ้าค่ะ ท่านบอกว่าให้เอากลับไป ฉันไม่ได้ ลูกมันใหญ่ ท่านบอกว่าถ้าเป็นส้ม เป็นมะตูมได้ เคยมีผู้นำนมสดไปถวายท่านในตอนเย็น ท่านไม่ฉัน เนยท่านก็ไม่ฉัน สมัยนั้นท่านห้ามเด็ดขาด
อีกเหตุการณ์หนึ่งที่เป็นเครื่องยืนยันถึงความบริสุทธิ์ในศีลของท่านได้เป็นอย่างดี คือ ในคราวที่ท่านอาพาธหนัก ท่านฉันภัตตาหารได้น้อย เจ้าคุณราชโมลีเกรงว่าหลวงปู่จะไม่มีเรี่ยวแรงต่อสู้กับโรคร้าย จึงได้สั่งให้แม่ชีธัญญาณี สุดเกษ ซึ่งมีหน้าที่ทำอาหารพิเศษถวายหลวงปู่โดยเฉพาะ ต้มข้าวให้เปื่อย บตให้ละเอียด แล้วกรองด้วยผ้าขาว ใส่กระติกน้ำร้อนมาถวายหลวงปู่ในเวลาหลังเพลไปแล้ว หตุที่ต้องใส่กระดิกน้ำร้อน เพื่อให้ท่านเข้าใจว่าเป็นน้ำร้อนธรรมดา เพราะเจ้าคุณท่านเกรงว่าหากหลวงปู่รู้จะไม่ยอมฉัน เมื่อนำมาถวายท่านกลับรู้ได้เองโดยไม่มีใครบอก ท่านก็ไม่ยอมฉัน
ท่านเป็นพระที่เคร่งครัตและอตทนมาก แม้ยามป่วย ท่านก็ยังฉันเอง ไม่ให้คนอื่นช่วย บางวัน
เกินเวลาแล้วมีคนเอาน้ำข้าวไปป้อน ท่านก็ไม่รับ ท่านคายออกหมด
Higher Morality (Adhisila)
Luang Pu observed the monks‟ Precepts immaculately and practiced according to the Dhamma-Discipline. He had nothing but good wishes for the monks, novice monks, and nuns. He wanted every monk and novice monk to be immaculate when it came to their Precepts. Luang Pu never touched money and assigned a lay purser to handle the finances of the temple. One such lay purser was Mr. Prayoon Suntara. He took care of all the finances of the temple and kept a careful record of all the incomes and expenses. He also looked after all the things that people gave to Luang Pu and the temple. Mr. Prayoon did this work until he was very old.
Luang Pu always ate his meals with calm composure in accordance with the Sekhiyavatta. Luang Pu never spilled a drop of broth and always pushed the rice on his plate toward the middle of the plate to form a neat pile.
Any fruit juice that Luang Pu drank after the last meal at 11 a.m. had to come from fruits, which were no bigger than a fist. Luang Pu especially enjoyed cane juice. One day the cook served Luang Pu some juice, but when he found out that it was the juice of a pomelo, he told the cook to take it back to the kitchen. He told her if it was the juice of a tangerine or a bel fruit, it would be alright. Someone once gave Luang Pu some fresh milk in the evening, but he refused to drink it. In those days, Luang Pu forbade the consumption of milk and butter after the last meal at 11 a.m.
There was another incident that showed how immaculately Luang Pu observed the monks‟ Precepts. At the time when Luang Pu fell gravely ill and could consume very little food, the Most Venerable Phrarajmolee was concerned for Luang Pu‟s health and asked the nun Tanyanee Soodgate who was in charge of preparing special food for Luang Pu to cook some soft-boiled ice and mash it before filtering the mixture through a white gauze-like cloth. She was to pour the liquid into a thermos so that Luang Pu would think it was just hot water. But, when the liquid was served to Luang Pu, he refused to drink it.
Luang Pu was a highly disciplined monk. Even when he was very ill, he refused to have
anyone help him with his food. On days that someone tried to feed him rice water after the noon
hour, Luang Pu refused to take any.
เห็นคุณค่าในสิ่งเล็กน้อย
หลวงปู่ท่านเห็นคุณค่าในทุกสิ่งที่ญาติโยมถวายมา แม้สิ่งเล็กๆ น้อยๆ ท่านไม่มองข้ามเลย
อย่างเช่นในเวลาที่หลวงปู่เดินไปฉันภัตตาหารที่โรงครัว ครั้งใดที่ท่านเห็นเมล็ดข้าวสารเมล็ดเล็กๆ ตกอยู่บนพื้น หลวงปู่จะเรียกเด็กมาเก็บทุกที่ เพราะเห็นว่าเมล็ตข้าวสารแม้เพียงเล็กน้อย แต่ถ้าเก็บบ่อยๆ เข้า ก็จะรวมกันเป็นจำนวนมาก สามารถนำมาเลี้ยงคนได้เหมือนกัน เมื่อญาติโยมที่มาทำบุญเห็นก็ยิ่งเกิดความเสื่อมใสท่านมากขึ้น ดังนั้นไม่แปลกเลยที่ในสมัยนั้นจะมีผู้นำข้าวสารบรรทุกเรือมาถวายที่วัดปากน้ำไม่ขาดสาย
หลวงปู่ท่านเป็นคนประหยัด ละเอียดถี่ถ้วน เดินไปตามถนนพบเห็นเศษไม้เป็นท่อน ก็เก็บเอามาบอกว่าเอาไว้ทำฟืนได้ พวกผ้าขี้ริ้วขาดแล้วอย่าเอาไปทิ้ง เผื่อมันจำเป็น อะไรรั่วขึ้นมา เอาน้ำมันยางโปะก็กันได้ชั่วระยะ ไม่ให้ทิ้ง และที่ล้างชามอย่าไปเทพรวดๆ ค่อยๆ รินเอาน้ำออก แล้วเอาส่วนที่เหลือ ไปให้หมูให้หมากิน ท่านสอนละเอียดเลย สอนบ่อยๆ สอนมากๆ เข้าก็ค่อยๆ ซึมเข้าไป
Seeing Value in the Smallest Things
Luang Pu valued everything given to him by the lay devotees. On the way to the refectory, if Luang Pu saw any rice grains on the ground, he would tell a youngster to pick them up. Luang Pu did not overlook even a few rice grains. He was of the opinion that if such a small amount of rice was picked up every time it was dropped to the ground during transportation; soon enough there would be enough to feed someone. Lay devotees were especially moved to witness this particular virtue of Luang Pu. It is not surprising, therefore, how boatloads of rice had continuously found their ways to Wat Paknam.
Luang Pu was frugal and paid attention to details. If he saw pieces of wood during his walk, he would pick them up and used them for firewood. Torn dishcloth was not discarded because it could be used to plug something that sprang a leak. Leftovers on the plates were not discarded, but added together to feed the animals. Luang Pu took the time to teach people these things.
ความประหยัด
มีผู้มีจิตศรัทธามาถวายผ้าไตรจีวรกับหลวงปู่เป็นจำนวนมาก แต่หลวงปู่ก็ไม่ได้เก็บไว้เป็น
ของส่วนตัวเลย จะเอาไว้ก็เฉพาะที่ใช้เท่านั้น นอกนั้นท่านถวายแก่พระภิกษุ สามเณรหมด ท่านใช้จีวรอย่างประหยัดมาก แม้ว่าจีวรจะเก่าแล้วท่านก็ยังไม่เปลี่ยน หากจีวรขาดหรือเป็นรู ท่านก็ให้ซ่อมแชมแล้วนำมาใช้ต่อ ยิ่งในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ช่วงที่ทุกอย่างขาดแคลน เนื่องจากภาวะสงคราม หลวงปู่ท่านประหยัดมากถึงขนาดที่ว่า ท่านให้เอาอังสะหลายๆ ตัวที่ไม่ได้ใช้ ให้มาเย็บต่อกันจนเป็นจีวร แต่เนื่องจากอังสะบางตัวจะมีสีไม่เหมือนกัน ทำให้จีวรผืนนี้มีหลากสี มีทั้งสี่เหลืองเข้ม สีกลัก สีเหลืองแก่ เมื่อเย็บเสร็จแล้ว ท่านนำจีวรผื่นนี้ไปแจกพระภิกษุ สามณรรูปอื่นๆ แต่ก็ไม่มีใครรับ ท่านจึงนำมาใช้เอง ท่านใส่เดินทุกวัน ต่อมามีลูกศิษย์ผู้หนึ่งขอจีวรผืนนี้ไปบูชา ท่านจึงให้ไป
ผู้ที่เห็นถึงความประหยัดของท่านในเวลานั้น ต่างก็ยิ่งเลื่อมใสในหลวงปูมากยิ่งขึ้น เห็นว่าท่านใช้เงินทุกบาททุกสตางค์ที่ญาติโยมถวายอย่างคุ้มค่าจริงๆ บรรดาญาติโยมจึงไม่เสียดายเมื่อได้ทำบุญกับท่าน และยังทำบุญกับท่านอย่างต่อเนื่องตลอดมา
Frugality
Over the years, lay devotees have offered Luang Pu many triple robe sets, but Luang Pu did not keep them for his own use. He used only what was necessary and gave the rest away to the monks and novice monks. Luang Pu chose to have his old robe repaired before he would change into a new one. During WWII, scarcity prevailed and Luang Pu was especially frugal. He would have several one-shouldered singlets sown together to make a robe. Since the different singlets were of varying shades of yellow, no monk or novice monk would take the robe from Luang Pu so Luang Pu wore it himself. Later, one of Luang Pu‟s followers asked Luang Pu for the robe so that he could put it in his altar room at home and Luang Pu gave the robe to him.
Lay devotees knew how careful Luang Pu was with their donated money and they felt pleased to continue making donations to Luang Pu to help support the temple and the Buddhist Cause.
มีความมักน้อย สันโดษ
หลวงปู่ท่านอยู่ง่าย เรือนที่ท่านอยู่เป็นเรือนไม้หรือกุฏิเก่า สังกะสีเก่า โบราณ ไม่มีตู้เย็น
ไม่มีข้าวของเครื่องใช้ที่ทันสมัยในกุฏิของท่าน เตียงของท่านก็เก่า ตัวท่านก็ไม่ฟุ่มเฟือย ท่านมีแต่บริจาค มีแต่ดูแลพระศาสนา
Contentment
Luang Pu lived very simply in an old wooden kuti with an old zinc roof. Inside the kuti, there was an old bed, but there was no refrigerator or other modern conveniences. Luang Pu had given away everything and had spent what he had to the care of Buddhism.
มีวาจาสุภาษิต
บางคนมักเข้าใจว่าหลวงปู่ท่านเป็นคนตุ แต่ความจริงแล้วท่านเป็นพระที่รู้จักใช้คำพูด ท่านพูดด้วยความเมตตา ไม่พูดให้ใครเสียกำลังใจ คราวหนึ่งแม่ครัวนี่งข้าวแล้วเข้าใจว่าข้าวสุกแล้ว ไม่ได้ดูให้ดี แล้วเตรียมไปถวายหลวงปู่ พอไปถึงท่านบอกว่า “แม่ครัวช่วยเปลี่ยนข้าวให้หน่อย ข้าวมันแข็ง” ท่านพูดเพียงเท่านี้ ไม่ได้ตำหนิอะไร พอแม่ครัวเอาข้าวมาดู ปรากฏว่าข้าวทั้งแข็ง ทั้งดิบ
Cultured Speech
Some people were under the impression that Luang Pu was a strict disciplinarian when in fact Luang Pu knew to choose his words carefully in that Luang Pu‟s words were always loving and kind. And he would never say anything to make someone lose heart. For example, on one occasion, the temple cook made a mistake and did not make sure that the rice was fully cooked before preparing a tray for Luang Pu. All Luang Pu said to her was, “Cook, please bring me another dish of rice, this rice is hard.” When the cook took a good look at the rice, she did find that indeed the rice was far from being cooked.
มีมหากรุณา
หลวงปู่ท่านเมตตาต่อทุกคนอย่างเสมอภาค มีอะไรท่านจะแบ่งปันให้กับทุกคน ครั้งหนึ่ง
ท่านเก็บมะม่วงใส่กระจาดแล้วให้แม่ชีจับฉลากกัน ใครอยากได้ก็อธิษฐานเอา หากใครขาดแคลนสิ่งใดท่านก็จะหามาให้ คราวหนึ่งในฤดูหนาว มีเด็กผู้ชายคนหนึ่ง ออกมายืนบริเวณหน้าโรงงานทำวิชชา ดูท่าทางเขาหนาวมาก ป้าจินตนา โอสถ (ขณะนั้นเป็นแม่ชี) เกิดความสงสาร จึงเอาผ้าห่มของตัวเองที่มีอยู่ผืนเดียวให้เขาไป เย็นวันนั้นหลวงปู่ถามว่า “ใครไม่มีผ้าห่มบ้างวะ” แล้วท่านก็ส่งผ้าห่มมาให้ 1 ผืน ผ่านมาทางช่องส่งของเล็กๆ ของโรงงานทำวิชชา
อีกคราวหนึ่ง เป็นเรื่องของสามเณรทวนชัย ซึ่งมีจีวรอยู่ผืนเดียว ใช้มา 7-8 ปี จนเก่ามาก
ตัดสินใจไปขอผื่นใหม่จากหลวงปู่ พอเข้าไปกราบ ท่านก็ถามว่า “เออ..มาอะไรลูก” “ผมไม่มีจีวรครับ จีวรผืนนี้มันเก่า มันจะขาดหมดแล้ว” ท่านก็ให้ลุงประยูรซึ่งเป็นอุปัฏฐากของท่านไปหามาให้ เลือกเอาที่พอดีกับตัวสามเณร
High Level of Love and Kindness
Luang Pu was loving and kind to everyone. He shared what he had with everyone. The number of mangos that a lay devotee offered to Luang Pu at any one time was never enough to go around, so Luang Pu resorted to putting them in a basket and at times let the nuns draw lots to see who would get them. During one cold season, a boy came to stand in front of the Vijja Dhammakaya Workshop. He looked cold and Ms. Jintana Osot (who was a nun at the time) felt so sorry for the boy that she took off the only shawl she had and gave it to the boy to keep him warm. That evening in the workshop, Luang Pu asked, “Who doesn‟t have a shawl?” and he
passed a shawl to Ms. Jintana through the small opening in the partition.
On another occasion, the novice monk Tuanchai had been wearing the same robe for seven or eight years until it became much worn. He decided to go and ask Luang Pu for a new robe. As soon as he went to pay homage to Luang Pu, Luang Pu asked, “What is it, son?” “My only robe is much worn, venerable sir.” Luang Pu immediately asked Mr. Prayoon to bring the novice monk a new robe.
มีความอ่อนน้อมถ่อมตน
คราวหนึ่งพระมหาโชดก ซึ่งเป็นพระผู้หญ่และมีตำแหน่งสูง มีหน้าที่ดูแลวัตปากน้ำในสมัยนั้น ท่านมีความเข้าใจในเรื่องกรรมฐานแตกต่างไปจากหลวงปู่ ท่านเชื่อว่าการปฏิบัติสายวัดปากน้ำไมใช่พุทธศาสนา ไม่ใช่ทางวิปัสสนา ไม่ใช่ทางหลุดพ้น และไม่ใช่ทางที่ถูกต้อง เมื่อท่านมาที่วัดปากน้ำ หลวงปู่ก็แสดงความอ่อนน้อมถ่อมตน ท่านทั้งสองได้สนทนาธรรมกันในโบสถ์อยู่หลายวัน ภายหลังหลวงปู่ได้น้อมถวายรูปภาพชิ้นหนึ่งแก่ท่าน พร้อมกับเขียนข้อความว่า “รูปนี้ให้ไว้เป็นที่ระลึก เนื่องในโอกาสที่พระเดชพระคุณมาสอนวิปัสสนากรรมฐานให้กระผม ซึ่งเห็นว่าถูกต้องทุกอย่าง” ด้วยมารยาท และเป็นพระผู้น้อย หลวงปู่ได้วางตัวให้เกียรติกับพระผู้ใหญ่
ผลจากเหตุการณ์ครั้งนี้ ทำให้มีบางท่านเข้าใจไปว่า หลวงปู่ได้ละทิ้งวิชชาธรรมกาย แล้วหันมา
ปฏิบัติตามแบบของพระมหาโชดก ความจริงหาได้เป็นเช่นนั้นไม่ เป็นด้วยหลวงปู่ท่านแสดงความนอบน้อมต่อพระผู้ใหญ่ อีกทั้งเป็นธรรมเนียมที่ดีงามของผู้เป็นเจ้าของสถานที่พึงกระทำต่อผู้มาเยือน นอกจากนี้ยังไม่มีหลักฐานชิ้นใดที่แสดงให้เห็นว่าท่านปฏิเสธวิชชาธรรมกายเลย
Humility
The Venerable Phramahachodok was a senior monk who had jurisdiction over Wat Paknam. His understanding of meditation practice was different from that of Luang Pu. He was of the understanding that Vijja Dhammakaya was not taught in Buddhism; hence, it was not Vipassana and could not lead to emancipation. He did not believe Vijja Dhammakaya to be the correct practice. When he came to check things out at Wat Paknam, Luang Pu treated him with due respect. The two monks conversed about the Dhamma in the Upasatha Hall for several days.
Before Phramahachodok left, Luang Pu presented a photograph to him with an inscription, “This photograph is a souvenir presented to venerable sir on the occasion that he has kindly come to teach me about meditation practice which is correct in every way.” Being a junior monk, Luang Pu had conducted himself in a most humble manner.
บทสรุป
จากที่เราได้ฟังคุณธรรมในด้านต่างๆของหลวงปู่แล้ว หากเราได้นำคุณธรรมของท่านมาประยุกต์ใช้กับการดำเนินชีวิตของพวกเรา ชีวิตคงจะมีความสงบสุขมากขึ้นไม่น้อย
อย่าลืมทบทวนนึกถึงบุญต้อนรับพระธรรมยาตราที่ผ่านมาบ่อยๆ ภาพแห่งความทรงจำดีๆ นี้จะตอกย้ำเตือนให้เราเสริมพลังใจมั่นคงต่อการทำคุณธรรมความดียิ่งๆ ขึ้นไป สุขเราก็คือสุขของเขา สุขของเขาก็คือสุขของเรา แบ่งปันกันต่อๆ กันไป เป็นวงคลื่นแห่งการทำความดี ให้พลังบวกสว่างไสวไปทั่วทั้งโลก
ช่วงนี้ก็ได้เวลาแห่งการถวายการต้อนรับพระธรรมยาตรากันต่อ ทุกๆ ท่านทั้งผู้มาถวายการต้อนรับและพระธรรมทายาท ล้วนเป็นแรงบันดาลใจให้กันและกัน เป็นการเพิ่มพูนพลังบวก พลังแห่งความดี อันมีอานุภาพที่ก่อให้เกิดสันติสุขภายในจิตใจ ส่งต่อๆ กันให้บรรยากาศโลกสะอาดสดชื่น ที่เรียกว่า บุญ ได้หลั่งไหลเป็นท่อธารน้ำทิพย์ชโลมใจ เพราะเรามีความสุขและอยากเผื่อแผ่ความสุขให้แก่ทุกๆ คน ได้เวลาแห่งการอนุโมทนาบุญ สาธุการแล้ว ขอทุกท่านได้ส่งใจมายังสถานที่แห่งนี้ ทำความรู้สึกเหมือนว่ามาร่วมพิธีกรรมต้อนรับพระธรรมยาตราด้วยตนเองเลยนะคะ