บทพูด วันที่ 12 มกราคม
- ย้อนอดีตไปในเหตุการณ์ เมื่อหลวงปู่บวชเป็นพระภิกษุ
สวัสดี ผู้มีบุญทุกท่าน
ปีใหม่นี้ เราได้ทำบุญใหญ่มาตลอดต่อเนื่องเลย ตั้งแต่สวดมนต์ข้ามปี คืนวันที่ 31 ธันวาคม ปี2564 นับถอยหลังเพื่อสวดมนต์ข้ามปี และเมื่อวันเสาร์ที่1 มกราคม ก็ร่วมพิธีบูชาข้าวพระ
ต่อมาวันที่2 5 8 9 มกราคม ร่วมกันต้อนรับพระธรรมยาตรา และจุดประทีปมาแล้ว
มาในวันนี้ วันเสาร์ที่ 12 มกราคม เราจะได้มาร่วมกันต้อนรับพระธรรมยาตรากัน และในครั้งนี้ พวกเราทุกคนจะน้อมใจไปยังสถานที่สำคัญบนเส้นทางมหาปูชนียาจารย์ ลำดับที่ 3 ของพระเดชพระคุณหลวงปู่ คือ
สถานที่เกิดใหม่ในเพศสมณะ : วัดสองพี่น้อง (พระอารามหลวง) อ.สองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี
Place of Ordination : Wat Songpinong, Suphanburi
วัดสองพี่น้องเป็นวัดเก่าแก่ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา สันนิษฐานว่าสร้างในปี พ.ศ.2212 พระเดชพระคุณพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) หลวงปู่วัดปากน้ำภาษีเจริญ อุปสมบทเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2449 ขณะมีอายุย่างเข้า 22 ปี ณ พัทธสีมา วัดสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี มีฉายาว่า “จนฺทสโร”
Wat Songpinong in Suphanburi Province marks the monastic beginning of the Great Master as a Buddhist monk. He was ordained in July 1906 when he was twenty-two years old and given the monastic name of “Candasaro Bhikkhu”.
Wat Songpinong has a long and rich history. According to historical records, it was first built during the Ayutthaya Dynasty around 1669 (2212 BE).
The Great Master was ordained at Wat Songpinong in Suphanburi in July 1906 (2449 BE) when he was twenty-two years old. His monastic name was “Candasaro Bhikkhu”.
ด้วยความที่ท่านเป็นผู้มีความทรงจำดีจึงสามารถท่องบทสวดมนต์และพระปาฏิโมกข์ได้หมด สำหรับการศึกษาในช่วงพรรษาแรก หลวงปู่ได้เรียนคันถธุระและวิปัสสนาธุระควบคู่กันไป เมื่อเรียนด้านคันถธุระไปได้ระยะหนึ่ง หลวงปู่ก็สงสัยว่า คำว่า “อวิชชาปจจยา” แปลว่าอะไร ด้วยความสงสัยที่ผุดขึ้นมาในใจเหมือนกับปริศนาที่ต้องตอบให้ได้ ท่านมีความรู้สึกว่า คำๆ นี้มีความสำคัญต่อตัวท่าน จึงไปถามพระภิกษุที่อยู่ในวัด เมื่อถามใครก็ไม่มีใครรู้คำแปล มีพระรูปหนึ่งบอกว่า “เขาไม่แปลกันหรอกคุณ อยากรู้ก็ต้องไปเรียนที่บางกอก (กรุงเทพฯ)”เมื่อได้ฟังดังนั้น ทำให้ท่านเกิดแรงบันดาลใจที่จะไปเรียนที่กรุงเทพฯ เพราะต้องการจะรู้คำแปลให้ได้
เมื่อบวชได้ 7 เดือนเศษ จึงไปหาโยมแม่ และขอไปเรียนที่กรุงเทพฯ
Luang Pu had an excellent memory and could easily memorize all of the incantations as well as the Patimokkha. In the first year of his monkhood, Luang Pu carried out the two monastic duties of studying the Scriptures (Ganthadhura) and practicing meditation (Vipassanadhura). Having studied the Scriptures for a while, Luang Pu wanted to know what the term „Avijjapaccaya‟ meant. This question arose from deep within him and it demanded an answer. Luang Pu had the feeling that this word meant something very important to him. No monks in the temple could give him an answer. Finally, one monk said to Luang Pu, “Nobody translates these words here. If you want to know its meaning, you will have to go and study in Bangkok.” Having heard this, Luang Pu felt motivated to go and study in Bangkok because he was determined to know the meaning of the word.
About seven months into the monkhood, Luang Pu went to see his mother to ask her for permission to go to Bangkok.
ขณะเรียนหนังสืออยู่ที่วัดพระเชตุพนฯ หลวงปู่ลำบากในเรื่องอาหารบิณฑบาตมาก บางวันบิณฑบาตได้ไม่พอฉัน บางวันได้เพียงส้มผลเดียว บางวันไม่ได้เลย มีอยู่วันหนึ่ง หลวงปู่ออกบิณฑบาตไม่ได้อะไรเลย วันต่อมาก็ไม่ได้อีก ท่านคิดว่า “เราเป็นผู้มีศีล จะอดตายหรือ ถ้าเป็นจริง ก็ยอมตาย บิณฑบาตไม่ได้ข้าว ก็ไม่ฉันของอื่น ยอมอด เพราะคิดว่า ถ้าเราตายลงไป ภิกษุหมดทั้งนคร ต้องมีอาหารบิณฑบาตพอหมดทุกๆ รูป เพราะคนลือ ก็จะพากันสงสารพระภิกษุไปตามๆ กัน” จึงไม่ยอมดิ้นรนแสวงหาอาหารด้วยวิธีการอื่น
ในวันที่สาม ท่านออกบิณฑบาตอยู่จนสาย ได้ข้าวเพียง 1 ทัพพี กับกล้วยน้ำว้า 1 ผล เมื่อกลับมาถึงกฏิ ท่านรู้สึกอ่อนเพลียมาก เพราะไม่ได้ฉันมา 2 วันแล้ว หลังจากพิจารณาปัจจเวกขณ์เสร็จแล้วจึงเริ่มฉัน เมื่อฉันเข้าไปได้หนึ่งคำ ก็เหลือบไปเห็นสุนัขตัวผอมเดินโซเซมา เพราะอดอาหารมาหลายวัน แม้ท่านกำลังหิวจัด เพราะอดอาหารมาหลายวัน ก็ยังมีความเมตตาสงสารสุนัขตัวนั้น จึงปั้นข้าวที่เหลืออีกคำหนึ่งกับกล้วยอีกครึ่งผลให้สุนัขตัวนั้น พร้อมทั้งอธิษฐานจิตว่า “ขึ้นชื่อว่าความอดอยากเช่นนี้ ขออย่าให้มีอีกเลย” นับจากวันนั้น ด้วยอำนาจบุญที่ได้สร้างมหาทานบารมีในครั้งนั้น เมื่อไปบิณทบาตที่ไหน ท่านก็ได้อาหารมากมายจนฉันไม่หมด และยังได้แบ่งถวายให้กับพระภิกษุรูปอื่นๆ ด้วย
ด้วยใจที่คิดถึงผู้อื่นอยู่เสมอ ประกอบกับความลำบากในเรื่องอาหารขบฉันของหลวงปู่ในครั้งนั้นทำให้ท่านนึกถึงพระภิกษุรูปอื่นๆ กลัวว่าจะมีความลำบากในเรื่องอาหารเช่นเดียวกับท่าน จึงคิดว่า “ถ้าเรามีกำลังพอเมื่อใด จะจัดตั้งโรงครัวประกอบอาหารเลี้ยงพระภิกษุ สามเณร โดยไม่ต้องให้ลำบาก เป็นการเสียเวลาในการศึกษาเล่าเรียน”
Luang Pu went to reside at Wat Phra Chetuphon in Bangkok in order to further his Scriptures study. He also brought along his youngest brother10 to live with him as his assistant and to give him the opportunity to study Pali grammar as well. Initially, Luang Pu had no books 11 so he asked his older sister to buy them for him.
While studying at Wat Phra Chetuphon, Luang Pu had a very difficult time obtaining alms and hardly received enough food to satiate his hunger. Some days all he received was a tangerine and on other days, he received nothing at all. On one occasion, Luang Pu did not receive any food at all for two whole days. He thought, “I am a monk and I observe the monks‟ Precepts. And if I have to starve to death so be it. I would rather go without than to eat another monk‟s food. Should I have to die from not receiving any food then the rest of the monks will have an easier time obtaining food after I die, since the news of my death will inspire compassion in the lay people and motivate them to offer food to all the monks.”
On the third day, Luang Pu went on his alms-round and received only one ladle of cooked rice and a banana. When he returned to his kuti, he felt exhausted because he had not eaten for two whole days already. After he contemplated his food, he began to eat it. But, after just one bite, he saw a scrawny dog walk by and it stopped to look at him. Luang Pu could tell that the dog had not eaten for days and he felt moved to share his food with the dog. He threw half of the rice and half of the banana to the dog while he made a resolute wish, “By the pious act of sharing my food with this dog, let me never know scarcity ever again.” From that day onward and as a result of his act of selflessness on that occasion, Luang Pu‟s alms-bowl was always filled to the brim which made it possible for him to share his food with other monks.
With a heart so generous coupled with the enormous difficulty in obtaining food, Luang Pu was concerned that other monks might be having the same difficulty. He thought, “If and when I am able, I will set up a refectory to feed the monks and the novice monks so that they do not have to be concerned about obtaining food and can spend all of their time studying the Dhamma instead.”
ซึ่งต่อมาเมื่อท่านเป็นเจ้าอาวาสวัดปากน้ำแล้ว ท่านก็จัดการให้วัดปากน้ำตั้งโรงครัวเลี้ยงพระ เณร ซึ่งมีจำนวนมากหลายร้อยรูปเลยทีเดียว ทำให้พระ เณรไม่ต้องลำบาก และเสียเวลาในการศึกษาเล่าเรียนธรรมะ มีเวลาปฏิบัติธรรมได้เต็มที่
ก็ขอเล่าประวัติพระเดชพระคุณหลวงปู่ในช่วงบวชพระไว้เพียงเท่านี้ก่อน ต่อจากนี้ก็ขอทุกท่านร่วมพิธีต้อนรับพระธรรมยาตรากัน และตลอดที่เปล่งเสียงต้อนรับ โดยกล่าวคำว่าสาธุนั้น ขอให้ทุกท่านน้อมใจรำลึกไปถึง สถานที่สำคัญบนเส้นทางมหาปูชนียาจารย์ ลำดับที่ 3 ของพระเดชพระคุณหลวงปู่ รำลึกถึงช่วงเวลาที่ท่านบวชเป็นพระภิกษุ อุทิศตนฝึกฝนตนเอง จนมาเป็นครูผู้นำทางพวกเราทุกคนให้สามารถบรรลุเป้าหมายชีวิตที่แท้จริงได้ กันนะ
ย้อนอดีตไปในเหตุการณ์ เมื่อ เข้ากรุงเทพเพื่อศึกษาธรรมะ
การที่จะมีพระผู้ปฏิบัติดี ตั้งใจฝึกฝนตนเองมารวมกันจำนวนนับพันรูปนั้นไม่ง่ายเลย และที่สำคัญคือ ตัวเรา ได้มีโอกาสมาร่วมอนุโมทนาบุญกับท่านด้วย ถ้าเปรียบเทียบกระแสไฟฟ้าเหมือนบุญ ซึ่งมีพระเดชพระคุณหลวงปู่เป็นต้นแหล่งผลิตกระแสไฟฟ้า ส่งต่อมาสู่ยังพระธรรมยาตรานับพันรูป การที่เรามาร่วมอนุโมทนาบุญนั้น ก็เปรียบเสมือนเราเอาปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้ามาเสียบที่เต้าเสียบ กระแสไฟฟ้าคือบุญ ก็ไหลเข้ามาสู่พวกเราทุกคน ท่านใดที่รักษาใจให้บริสุทธิ์และตั้งใจในการร่วมกิจกรรมงานบุญนี้ ใจของเราก็จะเปรียบเหมือนภาชนะที่สะอาด รองรับบุญใหญ่ได้อย่างไม่หกไม่หล่น และได้รับบุญที่บริบูรณ์เต็มที่
ต่อจากนี้ ก็จะขอเล่าประวัติพระเดชพระคุณหลวงปู่ต่อ ในช่วงที่ท่านไปที่กรุงเทพฯ เพื่อศึกษาปริยัติธรรม และ ปฏิบัติธรรม
การศึกษาด้านปริยัติ (คันถธุระ)
หลวงปู่ทุ่มเทให้กับการศึกษาเล่าเรียนอย่างเต็มที่ เนื่องจากท่านมีความเฉลียวฉลาด มีความจำดีจึงสามารถเรียนมูลกัจจายน์ได้ถึง 3 จบ เรียนพระธรรมบท 8 ภาค มังคลัตถทีปนี และสารสังคหะจนชำนาญ และสามารถสอนผู้อื่นได้
ในสมัยนั้น นักเรียนแต่ละท่านเรียนไม่เหมือนกัน ใครต้องการเรียนอะไรก็สามารถเลือกเรียนได้ตามความต้องการของตัวเอง นักเรียนบางท่านเรียนธรรมบทเบื้องต้น บางท่านเรียนเบื้องปลาย ด้วยความรักในการศึกษาของหลวงปู่ เมื่อท่านไปเรียน ท่านจะนำหนังสือเรียนวิชาที่นักเรียนท่านอื่นเรียนอยู่ไปด้วย เพื่อจะได้ฟังในเวลาที่อาจารย์สอนวิชาอื่นๆ เพราะท่านต้องการมีความรู้มากๆ ดังนั้นหลวงปู่จึงต้องแบกหนังสือไปเรียนครั้งละหลายๆ ผูกจนไหล่ลู่
หลวงปู่เดินทางไปเรียนกับพระอาจารย์ตามวัดต่างด้วยความลำบาก วันหนึ่งต้องเดินทางไปเรียนหลายแห่ง ซึ่งในแต่ละวันมีกิจวัตรดังนี้ ฉันเช้าแล้วข้ามฟากไปเรียนที่วัดอรุณราชวราราม โดยลงเรือที่ท่าประตูนกยูง ไปขึ้นที่ท่าวัดอรุณฯ กลับมาฉันเพลที่วัดพระเชตุพนฯ บ่ายไปเรียนที่วัดมหาธาตุฯ เย็นไปเรียนที่วัดสุทัศน์ฯ บ้าง วัดสามปลื้มบ้าง กลางคืนเรียนที่วัดพระเชตุพนฯ แต่ท่านไม่ได้ไปเรียนต่อเนื่องกันทุกวัน มีเว้นบ้างสลับกันไป
แม้หลวงปู่จะมีความลำบากในเรื่องการเรียนเพียงใดก็ตาม แต่ท่านก็พยายามไม่ขาดเรียน ท่านเรียนด้วยความลำบากอย่างนี้อยู่หลายปี จนมีแม่ค้าชื่อนวม บ้านอยู่ตลาดท่าเตียน เกิดความเลื่อมใสในความเพียรของท่น ได้ปวารณาเรื่องภัตตาหารกับท่าน จัดอาหารปิ่นโตถวายเพลเป็นประจำทุกวัน ต่อมาหลังจากที่หลวงปู่มาเป็นเจ้าอาวาสวัดปากน้ำ ภาษีเจริญแล้ว ได้ทราบข่าวว่า แม่ค้านวมถึงแก่ทุพพลภาพเพราะความชรา ไม่มีใครดูแล หลวงปู่จึงรับอุปการะโดยนำไปอยู่ที่วัดปากน้ำ เมื่อสิ้นชีวิต ท่านได้จัดการฌาปนกิจให้ ท่านพูดว่า “เป็นมหากุศล เมื่อเราอดอยาก อุบาสิกานวมได้อุปการะเรา ครั้นอุบาสิกานวมยากจน เราได้ช่วยอุปถัมภ์ ที่สุดต่อที่สุดมาพบกัน จึงเป็นมหากุศลอันยากที่จะหาได้ง่ายๆ”
Studying the Scriptures (Ganthadhura)
Luang Pu devoted his time to the study of Scriptures. And given his high intellect and an excellent memory, Luang Pu was able to complete the study of the Pali grammar, eight sections of the Dhammapada, the Buddhist texts „Mangalatthadipani‟ and „Sarasangaha‟. He was an expert in these topics and could teach them to others as well.
In those days, there was not a set course of study for a student monk because each monk could pick and choose to study whatever Dhamma topics he wanted. Luang Pu‟s love for Dhamma education caused him to carry different texts with him so that he could sit in on other lessons as well. He wanted to be as well-educated as possible. He had carried so many texts with him all the time that his shoulders began to droop.
Luang Pu had to travel to different temples for his study. His normal routine went something like this: After breakfast, He went by boat across the river to study at Wat Arunrajvararam. He returned to Wat Phra Chetuphon for lunch. In the afternoon, he went to study at Wat Mahadhatu. In the evening, he either went to study at Wat Sutat or Wat Samplerm. At night, he studied at Wat Phra Chetuphon. His routine might alter at times.
Despite the difficulty, Luang Pu was determined to study as much and as hard as possible and for many years. At the time, there was a fast food vendor called Mrs. Nuam who lived near Tatien Market, she had pledged to provide lunch for Luang Pu every day. Years later after Luang Pu became the Abbot of Wat Paknam, he heard that Mrs. Nuam became old and decrepit and she had no one to take care of her. Luang Pu sent for her and she came to live at Wat Paknam until she died. Luang Pu made arrangements for her funeral. Luang Pu said, “What Upasika Nuam had done for me is a great good deed. When I did not have anything to eat, she provided me with food. When she was poor and destitute, I supported her. When I needed her, she was there for me and when she needed me, I was there for her. This is a great and rare thing.”
修习经典(藏经)
祖师既勤学不倦又能过目不忘,本着颖悟绝伦的天资,学习摩揭陀语法三遍,另有八部法句经,吉明论,以及义摄论等,皆研习得融会贯通,足以胜任作为他人的导师。
那个年代里,各个学生的学习目的不一,各人都可按照自己的需求来选择学习内容。有的仅学习法句经的前一部分,有的则学习后一部分。鉴于祖师不仅笃学不倦,又因求知若渴而广集知识,所学习的不仅限于自己所选择的科目,还向别的同学借览其他科目,甚至到那科目老师的课上听讲,因此总得背负着多本书籍去上课。
การศึกษาด้านปฏิบัติ (วิปัสสนาธุระ)
นอกจากการเรียนด้านคันถธุระแล้ว หลวงปู่ยังสนใจการเรียนด้านวิปัสสนาเป็นชีวิตจิตใจอีกด้วยนับจากวันแรกที่บวช หลวงปู่เรียนวิปัสสนากับพระอาจารย์โหน่ง’ ตลอดพรรษาแรก นอกจากนี้ท่านยังหาความรู้ในด้านวิปัสสนาเพิ่มเติมจากตำรา โดยส่วนใหญ่อ่านจากคัมภีร์วิสุทธิมรรค ถ้าวันไหนหยุดเรียนคันถธุระ ท่านมักไปหาพระอาจารย์ต่างๆ ที่มีชื่อเสียงด้านวิปัสสนา เพราะต้องการความรู้เพิ่มเติม
พระอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิในสำนักต่างๆ ที่หลวงปู่ได้ไปศึกษา มีรายชื่อตามลำดับดังนี้
- พระอาจารย์โหน่ง อินทสุวัณโณ พระอนุสาวนาจารย์
- หลวงพ่อเนียม วัตน้อย จังหวัดสุพรรณบุรี
- ท่านเจ้าคุณสังวรานุวงศ์เถร (เอี่ยม) วัดราชสิทธาราม (วัดพลับ) กรุงเทพฯ
- ท่านพระครูญาณวิรัต (โป๊) วัดพระเชตุพนฯ กรุงเทพฯ
- พระอาจารย์สิงห์ วัดละครทำ (หลังวัดระฆังโฆสิตาราม)
Studying Meditation Practice (Vipassanadhura)
Besides Scriptures study, Luang Pu was very interested in learning meditation practice since the first day of his monkhood. His first meditation teacher was the Venerable Phra Noang14. Luang Pu studied with this teacher during the first year of his monkhood. In addition, Luang Pu had also read up on meditation practice in various Buddhist texts, but mostly from the text „Visuddhimagga‟. On days that Luang Pu did not study the Scriptures, he would go to see the different monks who were well-known at the time for their meditation practice in an effort to gain more knowledge about the subject.
The names of these venerable monks include:
- The Venerable Phra Nong Indasuvanno, Luang Pu‟s Religious Instructor.
- The Venerable Luang Por Nium at Wat Noi in the province of Suphanburi.
- The Venerable Phrasanvaranuvong (Eium) at Wat Rajasiddharam in Bangkok.
- The Venerable Phrakruyanavirat (Po) at Wat Phra Chetuphon in Bangkok.
- The Venerable Phra Singh at Wat Lakorntum
นอกจากนี้ยังมีพระอาจารย์องค์อื่นอีก ที่ท่านได้ไปศึกษาด้านวิปัสสนาด้วย ได้แก่ พระมงคลทิพมุนี(มุ้ย) อดีตเจ้าอาวาสวัดจักรวรรดิ พระอาจารย์ดี วัดประตูสาร อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี และพระ-อาจารย์ปลื้ม วัดเขาใหญ่ อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี
เนื่องจากความเป็นผู้ที่ทำอะไรทำจริงของหลวงปู่ครั้งเมื่อไปศึกษากับพระอาจารย์สิงห์วัดละครทำ หลวงปู่ปฏิบัติธรรมจนได้ดวงใสประมาณเท่าฟองไข่แดงของไก่ติดอยู่ที่ศูนย์กลางกาย เป็นที่ถูกใจของพระอาจารย์มาก จนรับรองว่าสามารถปฏิบัติได้ตามแบบของท่าน จึงขอให้อยู่ช่วยสอนคนอื่นต่อไป แต่หลวงปู่มีความรู้สึกว่า ธรรมที่ได้ยังน้อยเกินไป จะสอนเขาได้อย่างไร ยังมีธรรมที่ละเอียดลึกซึ้งกว่านี้ท่านจึงค้นคว้าหาต่อไป โดยยังไม่ยอมสอนใคร
There were other teaching monks as well and these included: The Venerable Phramonkoltipmuni (Mui), 15 the Venerable Phra Dee at Wat Pratusarn in Amphoe Mueang in the province of Suphanburi and the Venerable Phra Plerm at Wat Khaoyai in Amphoe Tamaka, in the province of Kanchanaburi.
Luang Pu‟s earnest and consistent effort had made it possible for him to attain a crystal sphere the size of an egg yolk in the middle of his abdomen when he went to study meditation practice with the Venerable Phra Singh. Luang Pu‟s teacher felt very pleased with Luang Pu‟s meditative achievement and wanted him to remain at Wat Lakorntum as a teacher of meditation. However, Luang Pu was convinced that there was much more to meditation practice than that and he wished to study it at a much deeper level.
นอกจากพระอาจารย์สิงห์ วัดละครทำแล้ว หลวงปู่ยังสามารถเรียนจนได้ผลการปฏิบัติเป็นที่พอใจของพระอาจารย์อีกรูปหนึ่ง คือ พระครูญาณวิรัต (โป๊) วัดพระเชตุพนฯ ซึ่งท่านก็ชวนหลวงปู่อยู่ช่วยเป็นอาจารย์สอนผู้อื่นเช่นกัน แต่หลวงปู่ได้ปฏิเสธด้วยเหตุผลอย่างเดียวกัน
หลังจากที่เรียนรู้วิธีการปฏิบัติจากอาจารย์มาหลายท่าน และสามารถปฏิบัติจนได้ผลดีพอสมควรแล้ว หลวงปู่จึงต้องการออกเดินธุงค์ เพื่อปลีกวิเวกไปหาความสงบตามต่างจังหวัดบ้าง โดยท่านจะใช้เวลาช่วงที่ว่างจากการเรียนคันถธุระ
เมื่อคิดจะออกเดินธุดงค์ ท่านจึงให้โยมพี่สาวของท่านสร้างกลดถวาย แม้มีผู้อื่นจะสร้างถวายท่านก็ไม่รับ น่าจะเป็นเพราะท่านต้องการให้โยมพี่สาวได้บุญจากการเดินธุดงค์ เมื่อโยมพี่สาวถวายกลดแล้วท่านจึงออกเดินธุดงค์ไปตามที่ต่างๆ ตามประวัติที่เคยมีการรวบรวมไว้ พบว่า ท่านออกเดินธุดงค์ 2 ครั้งครั้งแรกไม่มีการบันทึกรายละเอียดไว้ ส่วนครั้งที่สอง ท่านเดินธุดงค์ไปถึงจังหวัดสุพรรณบุรี
Moreover, Luang Pu was able to learn meditation practice from the Venerable Phrakruyanavirat of Wat Phra Chetuphon so much to his teacher‟s satisfaction that he asked Luang Pu to remain at Wat Phra Chetuphon to help teach meditation practice to others, but Luang Pu declined for the same reason as in the case of the Venerable Phra Singh.
Having studied meditation practice from various teaching monks until he could achieve a certain level of meditative attainments, Luang Pu wanted to undertake Dhutanga in order to find a place of solitude in the countryside as soon as he was free from Scriptures study.
When Luang Pu‟s older sister knew of his intention to undertake Dhutanga, she had an umbrella-like tent made for him. Luang Pu would not accept it from other people. It could be that Luang Pu wanted his sister to receive the great merit derived from his Dhutanga practice. It had been recorded that Luang Pu undertook Dhutanga twice. No details were recorded for the first Dhutanga, but the second Dhutanga took place in the province of Suphanburi.
ท่านได้พบเรื่องราวต่างๆ มากมายในระหว่างที่เดินธุดงค์ ได้พบพระภิกษุที่อยู่ในป่าหลายรูปบางท่านมีฤทธิ์ บางท่านมีคุณวิเศษ เมื่อท่านเดินธุงค์ไปถึงป่าในจังหวัดสุโขทัย ได้พบพระรูปหนึ่ง และสนทนากันเรื่องธรรมปฏิบัติ พระธุดงค์รูปนี้เล่าให้หลวงปู่ฟังว่า ท่านปฏิบัติโดยใช้คำภาวนาว่า “สัมมา อะระหัง” ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่ท่านได้ยินคำว่า “สัมมา อะระหัง”
Luang Pu had met with a myriad of incidents during his Dhutanga and had met many monks that had lived in the forest. Some of whom possessed supernatural powers. When Luang Pu trekked to a forest in the province of Sukhotai, he met a monk there and they had a conversation about meditation practice. This monk told Luang Pu that he used the mantra „samma araham‟ during his meditation practice. This was the first time that Luang Pu heard the term „samma araham‟.
ในการเดินธุดงค์ครั้งที่สอง ท่านเดินไปถึงจังหวัดสุพรรณบุรี เมื่อไปถึงวัดพระศรีรัตนมหาธาตุจึงได้ปักกลดที่นั่น เพราะเห็นว่าเป็นที่สงบ และอยู่ไม่ไกลจากหมู่บ้านนัก เป็นวัดกึ่งวัดร้าง บรรยากาศเหมาะแก่การปฏิบัติธรรมมาก วันหนึ่งท่านเห็นเด็กต้อนวัวเข้าไปเลี้ยงในบริเวณนั้น จึงห้ามว่า “อย่าปล่อยให้วัวเดินเหยียบย่ำพระซึ่งอยู่ใต้แผ่นดินจะมีบาปมาก” เด็กเลี้ยงวัวเหล่านั้นไม่เชื่อว่ามีพระพุทธรูปอยู่ใต้ดิน ท่านจึงให้ขุดดู ปรากฏว่าพบพระพุทธรูปหลายองค์ คนในบริเวณนั้นจึงศรัทธาและเลื่อมใสท่าน
In the second Dhutanga, Luang Pu trekked to the province of Suphanburi. He decided to put up his umbrella-like tent at Wat Phrasriratanamahadhatu because it was a quiet place and not too far from the village. The temple was close to being abandoned but the atmosphere was very conducive to meditation practice. One day he saw a child herd some cattle to graze in the temple grounds and he said to the child, “Don‟t let the cattle walk all over this area because there are many Buddha Images buried under this ground or you‟ll incur grave retribution.” The cattle herder did not believe Luang Pu, so Luang Pu had him dig around and sure enough many Buddha Images were found there. This incident made the local people believe in Luang Pu‟s extraordinary virtue.
จากเหตุการณ์ช่วงที่ท่านศึกษาธรรมะ และปฏิบัติธรรมนั้น ทำให้เราเห็นว่า ท่านเป็นผู้ที่ทำอะไร ทำจริง ศึกษาอะไรแล้วก็ศึกษาจริงๆ เข้าหาครูอาจารย์ผู้รู้ทั้งทางด้านปริยัติและปฏิบัติ และปฏิบัติธรรมะได้ดีจนอาจารย์ขวนให้ท่านอยู่ช่วยเป็นอาจารย์สอนผู้อื่นต่อ
ซึ่งต่อมา หลังจากนี้ที่ท่านปฏิบัติธรรมจนเข้าถึงพระธรรมกายภายในแล้ว ท่านก็เมตตาสั่งสอนวิธีการนั่งสมาธิให้แก่พวกเรา ซึ่งวิธีการนั่งสมาธิที่ท่านแนะนำนั้นชัดเจน เป็นขั้นเป็นตอน สามารถเช้าใจได้ง่าย และปฏิบัติตามได้ จนมีผู้ที่สามารถปฏิบัติธรรมจนเข้าถึงพระธรรมกายได้จำนวนมากมายเลยทีเดียว นี้เป็นคุณธรรม และบุญคุณอันยิ่งใหญ่ที่ท่านมีต่อพวกเราทั้งหลาย
ต่อจากนี้ ก็ขอให้พวกเราได้ส่งใจไปยังสถานที่อุปสมบทเป็นพระภิกษุ และน้อมรำลึกถึงคุณธรรมของพระเดชพระคุณหลวงปู่กันนะ พร้อมกันนี้ก็ร่วมกันเปล่งเสียงสาธุการ ต้อนรับและอนุโมทนาบุญกับพระธรรมยาตรา ซึ่งท่านได้ตั้งใจฝึกตน ปฏิบัติธรรม