บทพูด วันที่ 8 มกราคม
- ย้อนอดีตไปในเหตุการณ์ เมื่อหลวงปู่ตั้งมโนปณิธาน ว่าจะบวชตลอดชีวิต
สวัสดีค่ะ ท่านผู้มีบุญทุกท่าน
หลวงพ่อธัมมชโยท่านเคยบอกว่า บุญอะไรที่เกี่ยวเนื่องกับพระเดชพระคุณหลวงปู่นั้นเป็นบุญใหญ่ทั้งสิ้น ให้พวกเราตั้งใจตักตวงบุญใหญ่นี้อย่าให้ขาดเลยแม้แต่ครั้งเดียวเลยนะ ทุกท่านเป็นผู้ที่มีบุญมากๆเลย ที่มีโอกาสได้มาร่วมพิธีงานบุญในครั้งนี้
ในวันนี้ วันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2565 ถือเป็นวันที่ 3 ของกิจกรรมของพระภิกษุนับพันรูป เดินธรรมยาตราครั้งนี้ จะน้อมใจไปสถานที่ตั้งมโนปณิธานบวชตลอดชีวิต: คลองลัดบางนางแท่น จังหวัดนครปฐม ซึ่งเป็นสถานที่สำคัญบนเส้นทางมหาปูชนียาจารย์ ลำดับที่ 2 ของพระเดชพระคุณหลวงปู่
Hello all benefactors
Luang Por Dhammajayo once said that any merit related to Luang Pu are all great merits. Let us focus on making this great merit can fully accumulate the merit for this occasion. All of you are very blessed people for having the opportunity to join the merit ceremony this time.
Today, January 8, 2022, is the third day of the Dhammayatra procession involving more than a thousand monks. We are paying homage to the location where Luang Pu made a lifelong ordination vow, here at Khlong Bang Nang Taen in Nakhon Pathom Province which is an important place on the route of the Great Master, Phra Mongkolthepmuni, Sod Candsaro.
สถานที่ตั้งมโนปณิธานว่าจะบวชตลอดชีวิตนี้ ตั้งอยู่ริมคลองบางนางแท่น อ.สามพราน จ.นครปฐม กล่าวได้ว่าน้อยคนนักที่ใครสักคนหนึ่งจะตัดสินใจอย่างเด็ดเดี่ยวเพื่อออกบวชตลอดชีวิตมิใช่เรื่องง่าย เพราะโดยปกติใจของสรรพสัตว์ทั้งหลายจะถูกห่อหุ้มด้วยกิเลส โดยเฉพาะกามคุณซึ่งเป็นเหยื่อล่อสำคัญที่ทำให้สรรพสัตว์ต้องเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏอยู่ร่ำไป ผู้ที่มีบุญเก่ามาดีจึงจะสามารถเห็นโทษภัยของการอยู่ครองเรือน เห็นความสำคัญของการบำเพ็ญเนกขัมมบารมีและมีแรงบันดาลใจ มากพอที่จะใช้ชีวิตของตนให้หลุดพ้นจากกิเลสกามด้วยการออกบวช
Place of the Lifelong Ordination Vow : Nang Thaen Canal in Sampran, Nakorn Pathom.
It can be said that there are only a few individuals who can resolutely decide to ordain as a monk for the rest of their life, because sentient beings are normally bound by defilements, especially those related to lust and desire, that imprison them to the endless cycle of rebirth. But those who are endowed with enough merit to comprehend the perils of family life will recognize the importance of renouncing the world and possess the willpower to live a monastic life that is free from sense desire.
จะขอเล่าถึงเรื่องราวในอดีต ของหลวงปู่ ในวันที่ตัดสินใจ ตั้งมโนปณิธาน ว่าจะบวชตลอดชีวิตให้ทุกท่านฟังดังนี้
Here I would like to tell the story of Luang Pu’s decision the day he set the goal to be ordained throughout life for everyone to hear as follows:
วันหนึ่งหลังจากค้าข้าวเสร็จ ท่านและลูกน้องได้นำเรือเปล่ากลับบ้าน ในคืนนั้นล่องเรือไปด้วยความยากลำบาก เพราะน้ำในคลองไหลเชี่ยว แต่ก็พยายามถ่อเรือต่อไป จนมาถึงคลองเล็กๆ สายหนึ่ง ซึ่งเป็นเส้นทางลัด ชาวบ้านเรียกคลองนี้ว่า “คลองบางอีแท่น” อยู่เหนือตลาดใหม่ แม่น้ำนครไชยศรี จังหวัดนครปฐม คลองนี้เป็นคลองเปลี่ยว และมีโจรผู้ร้ายชุกชุม
After the thievery incident, Luang Pu continued to support his family through his rice business until an event took place at the age of 19 that changed Luang Pu’s life forever. Luang Pu and his crew were returning home on an empty vessel after having sold all of the rice, the river current on that night was unusually strong and made it hard to maneuver the boat. The boat finally reached a small canal above Taladmai of the Nakornchaisri River in the province of Nakhon Pathom. This canal was called “Bang-e-an” and it could be used as a shortcut. However, the canal was rarely used by people because it was infested by pirates. But that night Luang Pu decided to use the shortcut anyway.
ในขณะนั้นมีเรือเพียงลำเดียวเท่านั้นที่แล่นเข้าไปในคลอง เมื่อเรือแล่นเข้าไปได้เล็กน้อย ท่านก็กลัวว่าจะโดนโจรปล้นและทำร้าย ถ้าโจรปล้นจริงๆ ท่านจะโดนทำร้ายก่อน เพราะยืนอยู่ทางท้ายเรือ จึงเกิดความคิดขึ้นว่า “อ้ายน้ำก็เชี่ยว อ้ายคลองก็เล็ก อ้ายโจรก็ร้าย ท้ายเรือเข้าก็ไล่เลี่ยกับฝั่ง ไม่ต่ำไม่สูงกว่ากันเท่าไรนัก น่าหวาดเสียวอันตราย เมื่อโจรมาก็ต้องยิง หรือทำร้ายคนท้ายก่อน ถ้าเขาทำเราเสียได้ก่อน ก็ไม่มีทางที่จะสู้เขา ถ้าเราเอาอาวุธปืนแปดนัดไว้ทางหัวเรือ แล้วเราไปถือเรือทางลูกจ้างเสีย เมื่อโจรมาทำร้าย เราก็จะมีทางสู้ได้บ้าง” เมื่อคิดดังนั้นแล้ว จึงหยิบปืนยาวบรรจุกระสุน 8 นัดไปอยู่หัวเรือ บอกให้ลูกเรือมาถือท้ายเรือแทน
Luang Pu’s boat was the only boat on the canal at the time. Soon after the boat was traveling along the canal, Luang Pu was suddenly afraid that the boat might be attacked by pirates. Should they attack, Luang Pu would be the first to be hurt because he was standing at the stern of the boat. He thought, “The current is strong. The canal is narrow. The pirates are mean. And the stern of the boat was at the same level as the bank. This is a very dangerous situation because should any shooting occur, the one standing at the stern will be the first to receive the bullet. If we are attacked now we’ll have no way of defending ourselves. I’d better go to station myself at the bow with my gun and let a crew member stay at the stern. This way should we be attacked by pirates, at least we’ll have a chance to defend ourselves.” Luang Pu then carried a gun loaded with eight bullets and went to stand at the bow while telling a crew member to take the rudder for him.
ขณะถ่อเรือแทนลูกจ้างอยู่นั้น พลันเกิดความคิดขึ้นมาว่า “คนพวกนี้ เราจ้างเขาคนหนึ่งๆ เพียง 11-12 บาทเท่านั้น ส่วนตัวเราเป็นเจ้าของทั้งทรัพย์ทั้งเรือ หากจะโยนความตายไปให้ลูกจ้างก่อน ก็ดูจะเอาเปรียบเพื่อนมนุษย์มากเกินไป ทำอย่างนี้ไม่ถูกไม่สมควร”
As Luang Pu punted the boat, a thought occurred to him, “These crew members are paid only 11 – 12 bahts a day but I am the owner of the boat and the business. Were I to allow one of them to die in my place that would be very unethical of me.”
เมื่อเกิดจิตเมตตาและนึกตำหนิตัวเองเช่นนี้ ท่านจึงตัดสินใจเด็ดขาดลงไปว่า “ทรัพย์ก็ของเรา เรือก็ของเรา เราควรตายก่อนดีกว่า ส่วนลูกจ้างนั้น เมื่อมีภัยมาถึง เขาควรจะได้หนีเอาตัวรอด ไปทำมาหาเลี้ยงบุตรภรรยาของเขาได้อีก” เมื่อตกลงใจเช่นนั้น จึงเรียกลูกเรือให้มาถ่อเรือแทน ส่วนตัวเองก็ถือปืนคู่มือ กลับมานั่งถือท้ายเรือตามเดิม
Being moved by love and kindness, Luang Pu made the decision, “I own the boat. I own the business. Therefore, I should be the one to die first and allow the crew members to escape with their lives so that they can continue to work and support their families.” Luang Pu called the crew member to come back and punted the boat at the bow while he went to stand at the stern with his gun.
เรือยังคงแล่นต่อไปเรื่อยๆ แต่ไม่เกิดเหตุการณ์ร้ายแรงอย่างที่คิด เมื่อเรือแล่นมาใกล้จะออกจากคลอง จนเห็นปากทางออก ก็รู้ได้ว่าปลอดภัยแล้ว แต่ในใจของท่านยังคิดถึงความตายอยู่ตลอดเวลา และทันใดนั้น ธรรมสังเวชก็เกิดขึ้นในใจของท่านว่า “การหาเงินหาทองนี้ลำบากจริงๆ เจียวหนา บิดาของเราก็หามาดังนี้ เราก็หาซ้ำรอยบิดา ตามบิดาบ้าง เงินแลทองที่หากันทั้งหมดด้วยกันนี้ ต่างคนก็ต่างหา ไม่มีเวลาหยุดด้วยกันทั้งนั้น ถ้าใครไม่เร่งรีบหาให้มั่งมี ก็เป็นคนต่ำและเลว ไม่มีใครนับถือแลคบหา เข้าหมู่เขาก็อายเขา เพราะเป็นคนจนกว่าเขา ไม่เทียมหน้าเทียมบ่าเทียมไหล่กับเขา ปุรพชนต้นสกุลของเราก็ทำมาดังนี้ เหมือนๆ กันจนถึงบิดาของเรา แลตัวของเรา ก็บัดนี้ปุรพชนแลบิดาของเราไปทางไหนหมด ก็ปรากฏแก่ใจว่าตายหมดแล้ว แล้วตัวของเราเล่า ก็ต้องตายเหมือนกัน”
The boat continued along the canal without any incident until it reached a place of safety. However, Luang Pu’s mind was still dominated by the thought of death. An unusual insight suddenly occurred to him. “This business of earning a living is such a difficult one. My father had to do it. I have to do it. All of us have to earn money in our own way and there is no stopping. Whoever doesn’t hurry to accumulate material wealth is considered a failure. He gets no respect and no one wants to associate with him. The person himself feels ashamed in public because he is poorer than other people. My ancestors worked hard to earn money and so did my father and now so do I. But where are my ancestors and my father now? They have all been dead and in time I too shall die.”
เมื่อคิดถึงความตายขึ้นมาอย่างนี้ก็เริ่มกลัว และนึกถึงความตายที่จะมาถึงตัวเองต่อไปอีกว่า “เราต้องตายแน่ๆ บิดาเราก็มาล่องข้าว ขึ้นจากเรือข้าวก็เจ็บมาจากตามทางแล้ว ขึ้นจากเรือข้าว ไม่ได้กี่วันก็ถึงแก่กรรม เมื่อถึงแก่กรรมแล้ว เราที่ช่วยพยาบาลอยู่ ไม่ได้เห็นเลยที่จะเอาอะไรติดตัวไป ผ้าที่นุ่งแลร่างกายของแก เราก็ดูแลอยู่ ไม่เห็นมีอะไรหายไป ทั้งตัวเราแลพี่น้องของเราที่เนื่องด้วยแก ตลอดถึงมารดาของเราก็อยู่ ไม่เห็นมีอะไรเลยที่ไปด้วยแก แกไปผู้เดียวแท้ๆ ก็ตัวเราเล่าต้องเป็น ดังนี้ เคลื่อนความเป็นอย่างนี้ไปไม่ได้แน่”
The thought of death made Luang Pu quake, “I will surely die. My father had traveled on this boat and fallen ill. And a few days after he arrived home, he passed away. I was there to help nurse him and I couldn‟t see that he could take anything with him. My mother, my siblings and I did not go with him, for all of us are still here. My father had to go alone to the hereafter. And I too will have to do the same.”
เมื่อท่านคิดอย่างนี้แล้ว ท่านก็นอนแผ่ลงไปที่ท้ายเรือ แกล้งทำเป็นตาย ลองดูว่าถ้าตายแล้วจะเป็นอย่างไร ท่านก็นอนคิดว่าตัวเองตายอย่างนั้นจนเผลอสติไปสักครู่หนึ่ง เมื่อได้สติรู้สึกตัวก็รีบลุกขึ้น จุดธูปอธิษฐานจิตว่า “ขออย่าให้เราตายเสียก่อน ขอให้ได้บวชเสียก่อนเถิด ถ้าบวชแล้วไม่สึกตลอดชีวิต”
Luang Pu subsequently lay down on the floor of the boat and pretended to be dead. He wanted to know what death would feel like. He dozed off for a minute and when he came to he got right up and made a resolute wish, “Please don’t let me die before I can enter the monkhood. And once I ordain, I will ordain for life.”
เพราะเหตุดังกล่าวนี้ ลูกศิษย์หลานศิษย์ทั่วโลก จึงปรารภที่จะหล่อรูปเหมือนทองคำพระมงคลเทพมุนีประดิษฐานไว้ ณ สถานที่แห่งนี้ สถานที่ ที่พระเดชพระคุณหลวงปู่ตั้งมโนปณิธานว่าจะบวชตลอดชีวิต เพื่อเป็นอนุสรณ์สถานไว้ระลึกถึงเหตุการณ์สำคัญแห่งจุดเริ่มต้นในปณิธานที่ยิ่งใหญ่ของการเป็นมหาปูชนียาจารย์ผู้มีคุณูปการแก่มวลมนุษยชาติ อันเป็นการแสดงความกตัญญูกตเวทิตา และเชื่อมสายบุญกับท่านไปทุกภพทุกชาติ อีกทั้งยังได้ชื่อว่าเป็นการสร้างมงคลให้เกิดขึ้นแก่ชีวิต ตามภาษิตที่ว่า “ปูชา จ ปูชนียานํ เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ การบูชา บุคคลที่ควรบูชา เป็นมงคลอันสูงสุด”
For this reason, devotees of the Great Master decided to cast a gold statue of the Great Master and enshrine it within the memorial hall to commemorate the place where he made the earnest determination to ordain for life. It is a place where lay people can come to pay respect to an exceptional monk and bring blessing to one’s life. There is a proverb that says “honoring those worthy of respect and honor is one of life’s blessings”.
ต่อจากนี้ไป ก็ขอให้ทุกท่านได้ส่งใจมาร่วมกิจกรรมต้อนรับพระธรรมยาตรา โดยการประนมมือและกล่าวอนุโมทนาบุญด้วยคำว่า สาธุ และให้ทำความรู้สึกเหมือนว่า เราได้มาร่วมงานด้วยตนเองเลยนะ
From now on, I would invite everyone to join the event to welcome Dhammayatra monks by bringing the hands to a lotus position and saying “sadhu,” allowing for u to feel as if we were attending the event in person.
บทพูด วันที่ 8 มกราคม
- พระภิกษุคือใคร
ภาพที่ทุกท่านได้เห็นอยู่ในขณะนี้ เป็นกิจกรรมเดินธรรมยาตราบูชาพระเดชพระคุณหลวงปู่พระผู้ปราบมาร ซึ่งวันนี้เป็นวันที่3ของกิจกรรมการเดินธรรมยาตราของพระภิกษุนับพันรูป เพื่อน้อมใจไปสถานที่ตั้งมโนปณิธานบวชตลอดชีวิต: คลองลัดบางนางแท่น จังหวัดนครปฐม
พระภิกษุจำนวนนับพันรูปนี้ ท่านได้ผ่านการบวชมาจากวัดจากจังหวัดต่างๆ ทั่วทั้งประเทศไทย ตั้งใจฝึกฝนตนเอง และใช้ชีวิตสมณะ พระแท้มาตลอดในช่วงที่ผ่านมานี้ ในครั้งนี้จะขอแนะนำให้ทุกท่านได้เข้าใจถึงคำว่า พระภิกษุ ว่ามีความหมายว่าอะไร เป้าหมายของการบวชเพื่ออะไร และในแต่ละวันท่านมีหน้าที่ต้องทำอะไรบ้าง
พระคือผู้ที่อุปสมบทและศึกษาเล่าเรียนพระศาสนา มีชีวิตความเป็นอยู่บำเพ็ญตบะเป็นนักบวชภายในวัด การพักนั้นอาจจะปลีกวิเวกอยู่รูปเดียวหรืออยู่ร่วมกันหลายๆ รูปในที่พักสงฆ์เดียวกันก็ได้
A Buddhist monk is person who takes a vow to practice religious asceticism by monastic living, either alone or with any number of other monks.
ในภาษาบาลีเรียกพระว่า “ภิกษุ” ซึ่งหมายถึง “ผู้เห็นภัยในวัฏฏสงสาร” ผู้ที่จะเป็นภิกษุได้จะต้องมีคุณสมบัติและผ่านการพิธีอุปสมบทโดยถูกต้องตามพระธรรมวินัยก่อน เช่น ต้องมีอายุ ๒๐ ปี ไม่มีโรคร้ายแรง หรือโรคติดต่อ ต้องมีอุปัชฌาย์รับรอง ต้องทำพิธีในอุโบสถ
A Buddhist monk is called “Bhikkhu” in Pali, which is translated to “a person who sees danger in the cycle of birth and death”. A person who can be ordained as a monk must possess specific attributes and go through an ordination process in accordance to Buddhist disciplines (Vinaiya). For example, that person must be male and at least twenty years of age. He must not have serious or transmittable disease. The ordination must be endorsed by a preceptor monk and must be conducted in an ordination hall (Uposathāgāra).
วัตถุประสงค์ของการบวช
1.เพื่อฝึกฝนอบรมจิตใจของตนเอง
2.ศึกษาและปฏิบัติ ศีล สมาธิ ปัญญา เพื่อทำให้กาย วาจา ใจบริสุทธิ์ สงบ ไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น มุ่งไปสู่เป้าหมายของชีวิตคือ กำจัดกิเลส บรรลุมรรคผลนิพพาน
Objectives of being a Buddhist monk
- To train the mind.
- Study and practice precepts, meditation, and wisdom to purify one’s physical body, speech, and mind so that one does not harm oneself or others. The ultimate goal in monk’s life is to completely rid of all defilements and to attain Nibbana.
วิถีชีวิตของพระภิกษุ
การดำรงชีวิตของพระภิกษุนั้นเป็นไปอย่างเรียบง่าย เช่น นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์เพียงสามผืน ปลงผม เพื่อที่จะตัดอาลัยและภาระผูกพันที่ลุ่มหลงอยู่ในรูปเสียงกลิ่นรสสัมผัสและปลดปล่อยตนเองให้พ้นพันธนาการที่มีแต่ความทุกข์วิตกกังวลต่างๆในการดำเนินชีวิตแบบชาวโลก ถือว่า เป็นชีวิตที่เป็นต้นแบบ เปรียบเสมือน “ต้นไม้ใหญ่ที่กินน้ำน้อย”
Life of a Buddhist Monk
The life of a Buddhist monk is simple. A monk’s cloth is composed of only three pieces of robes. A monk shaves his head to relieve himself from worldly burden and obsession with physical senses, which are touch, sight, hearing, smell, and taste. It also frees a monk from worrying about physical appearance and worldly life. It is a model life that requires less. We can compare the life of a Buddhist monk with a big tree that needs little water.
“ต้นไม้ใหญ่” จะแผ่กิ่งก้านสาขากว้างขวาง ผู้ที่มาอยู่ภายใต้ร่มจะได้รับความร่มเย็นไปด้วย กล่าวคือ พระภิกษุเป็นต้นแบบที่ดี ฝึกตนให้สมบูรณ์พร้อมด้วยศีลธรรมและจริยาวัตรอันดีงาม มีน้ำใจเสียสละอันยิ่งใหญ่ โดยอุทิศชีวิตเป็นครูสอนศีลธรรม แนะนำความรู้วิชชาชีวิตต่อมหาชน ซึ่งผู้ที่นำเอาธรรมะไปปฏิบัติในชีวิตประจำวัน ก็จะได้ประโยชน์ต่อชีวิตมากมาย
Furthermore, “a big tree” having a large network of branches can provide a cooling shade for others who seek refuge. A monk is a role model that trains oneself to be moral with wholesome manners. A monk possesses kindness and devotes himself to be a teacher who teaches morality and life’s wisdom to the people. Anyone who practices what monks teach will certainly see one’s life tremendously improved.
“กินน้ำน้อย” หมายถึง พระภิกษุท่านจะดำรงชีพแค่เพียงปัจจัย ๔ ตามความจำเป็นขั้นพื้นฐาน ด้วยการบิณฑบาต ตามแต่ที่ผู้มีจิตศรัทธาจะถวายหรือสนับสนุน โดยไม่มีความฟุ้งเฟ้อ หรือฟุ่มเฟือย บริโภคเพียงเพื่อให้ดำรงชีวิตอยู่ได้เพื่อปฏิบัติหน้าที่ของตน
“A big tree that needs little water” means a monk can live his life with only four basic needs, which are offered and supported by faithful laypeople. He consumes just enough to live and do his duty and refrains from wastefulness.
ข้อปฏิบัติของพระภิกษุ
การเป็นพระภิกษุนั้นจะต้องถือศีลทั้งหมด 227 ข้อซึ่งเป็นข้อห้ามของพระภิกษุสงฆ์เถรวาทตามที่พระพุทธเจ้าทรงวางข้อกำหนดไม่พึงละเมิดไว้ เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยของคณะสงฆ์ และเพื่อเป็นข้อปฏิบัติพื้นฐานอันเอื้อเฟื้อต่อการประพฤติพรหมจรรย์ของพระภิกษุสงฆ์
เมื่อพระภิกษุล่วงละเมิดศีล เรียกว่า “อาบัติ” จะต้องได้รับโทษตามสถานหนัก-เบาตามข้อกำหนด ถ้ามีโทษหนักก็ให้ขาดจากความเป็นพระสงฆ์ หรือโทษเบาก็ให้แก้ได้โดยกล่าวแสดงความผิดของตนกับพระภิกษุรูปอื่นเพื่อเป็นการแสดงถึงความสำนึกผิดและเพื่อจะตั้งใจประพฤติตนใหม่
Rules of conduct for Buddhist monks
A Theravada Buddhist monk must keep 227 precepts. Precepts are rules that the Lord Buddha asks monks to follow for the peace and order of Sangha, the whole monastic community. They are basic practices that are beneficial to a monk’s celibate life. If a monk breaks a precept (an act of breaking a precept is called âpatti, he receives a different penalty according to the seriousness of the breaking. The most severe penalty is termination from a monkhood. A light penalty entails admitting the deed vocally with oneself or the other monks. The purpose of the act is to repent and resolve to improve one’s action.
หน้าที่ของพระภิกษุ
มี 3 ประการ คือ
- ศึกษาธรรมะ ซึ่งเป็นคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อนำมาฝึกฝน แก้ไขอุปนิสัยที่ไม่ดี และพัฒนาตนเอง เพื่อให้มีความคิด คำพูด และการกระทำที่ดี เป็นต้นแบบให้กับคนในสังคม
- การปฏิบัติธรรม เป็นการปฏิบัติตามทฤษฎีที่ได้ศึกษาเล่าเรียน เพื่อฝึกฝนอบรมจิตให้เป็นสมาธิ ให้มีพลัง เพื่อนำไปใช้ในการข่ม หรือกำจัดกิเลส เช่น โลภ โกรธ หลง ให้เกิดความรู้แจ้งเห็นจริง และสามารถดับทุกข์ได้ในที่สุด
- การสั่งสอนเผยแผ่ธรรมะ เป็นการทำหน้าที่ “ครูสอนศีลธรรม” ให้แก่ชาวโลก โดยห้ามปรามจากการทำความชั่ว ให้หมั่นทำความดี และทำใจให้ผ่องใส เพื่อให้เข้าถึงสันติสุขที่แท้จริง
Three main duties of a Buddhist monk
- Study the Dhamma, which is the teaching of the Lord Buddha. The goal is to fix bad habits and improve oneself in thinking, speaking, and doing and to become a role model for others in the society.
- Practice the Dhamma or practice the knowledge obtained during a study of Dhamma. This encompasses training oneself to be mindful.When focused, a mind has the power to suppress or rid oneself of defilements, which are greed, anger, and ignorance and can be enlightened to ultimately end suffering.
- Spread the Dhamma. A monk is a teacher who teaches morality for the people in the world. A monk dissuades people from performing unwholesome deeds and encourages them to perform wholesome deeds and cleanse their minds to attain true peace.
การศึกษาธรรมะ เปรียบเสมือนการดูแผนที่ เพื่อให้รู้ว่ามีถนนกี่สาย สายไหน นำไปสู่ที่ใดเป็นต้น
การปฏิบัติ เปรียบเสมือนการที่เดินทางตามที่แผนที่บ่งบอกไว้ เพื่อไปสู่จุดหมายปลายทางที่ตนต้องการ
ส่วนการสั่งสอนเผยแผ่ธรรมะนั้น เปรียบเสมือนการแนะนำวิธีการให้กับผู้อื่น เพื่อประโยชน์แก่มหาชน จะได้ไปสู่เป้าหมายปลายทางได้อย่างปลอดภัยและรวดเร็วที่สุด
The study of the Dhamma can be compared to the study of the map. We study the map to see the roads to the destination. The practice of the Dhamma can be compared to following the route in the map to the desired destination. The spreading of the Dhamma can be compared to advising which routes to take so that people can reach their destination safely and speedily.
กล่าวโดยสรุป พระภิกษุ คือ “ผู้เห็นภัยในวัฏฏสงสาร” แล้วตัดสินใจมาบวชในพระพุทธศาสนา โดยใช้ชีวิตอยู่ในศีลธรรม ตามปัจจัย4 จากผู้มีจิตศรัทธาสนับสนุนถวายมา เพื่อศึกษาธรรมะ นำมาปฏิบัติ ฝึกฝน ขัดเกลา พัฒนากาย วาจา ใจ ให้บริสุทธิ์ และทำหน้าที่เป็นครูสอนศีลธรรม ซึ่งผู้ที่รับฟังธรรมะนั้นแล้ว นำมาปฏิบัติในชีวิตประจำวันแล้ว จะดำเนินไปตรงตามเป้าหมายชีวิตที่แท้จริงโดยไม่เบียดเบียนใคร เข้าถึงสันติสุขที่แท้จริง นอกจากนี้ ความดีนี้ยังแผ่ขยายไปยังบุคคลรอบข้าง ครอบครัว สังคม ประเทศ และเป็นผลให้โลกของเราเกิดสันติภาพในที่สุด
In conclusion, a monk is “one who sees danger in the cycle of birth and death” and who makes a life decision to be ordained in Buddhism. His life is guided by morality and supported by 4 basic needs from faithful lay people. His duty is to study the Dhamma, practice it to train and purify one’s action, speech, and mind, and to spread and teach the Dhamma. People who are on the receiving end of the teaching and practice the knowledge in their lives, will follow the righteous path toward the true goal of life and attain true peace. Furthermore, the peace will spread to people in our family, our friends, our neighbors in our community and in our country, and eventually the world.
ในวันนี้ที่ทุกท่านได้มาอนุโมทนาบุญกับพระภิกษุสงฆ์ที่ท่านตั้งใจฝึกฝนตนเอง ทำความดีอย่างยิ่งยวดนี้ ทุกท่านก็ได้บุญไปกับท่านด้วย เปรียบเสมือนท่านเป็นต้นแหล่งไฟฟ้า แล้วเราเอาปลั๊กไฟไปเสียบ ไฟฟ้า คือ บุญ จากท่าน ก็มาสู่เราทุกคนด้วย ก็ขอให้ทุกท่านปลื้มใจนะ ว่าเราแม้ตอนนี้เราไม่ได้มา ณ สถานที่จริง คือวัดพระธรรมกายนี้ แต่พวกเรายังสามารถเข้าร่วมพิธีต่างๆได้ผ่านแอปพลิเคชั่นซูม ได้เห็นภาพของกิจกรรมต่างๆอย่างใกล้ชิด และขอให้ทุกท่านได้ส่งใจมาร่วมกิจกรรมต่างๆได้ โดยให้รู้สึกว่าตนเองได้มาร่วมกิจกรรมด้วยตัวเองเลยนะ
ให้เราอนุโมทนาบุญซึ่งกันและกันด้วยนะ
จากนี้ไปก็ขอให้ทุกท่าน ร่วมพิธีกรรมผ่านซูมกันต่อไปนะ