พุทธศาสนานิกายเถรวาทในประเทศไทย (Th En Ch)

พุทธศาสนานิกายเถรวาทในประเทศไทย (ตอนที่1) Theravada Buddhism in Thailand 泰国佛教(上篇) หลังจากพระโคตมพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานได้สามเดือน  พระสาวกผู้ได้เคยสดับสั่งสอนของพระองค์จำนวนห้าร้อยรูป ก็ประชุมทำปฐมสังคายนา ณ ถ้ำสัตบรรณคูหา ใกล้เมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ  ใช้เวลาสอบทานอยู่เจ็ดเดือน จึงประมวลคำสอนของพระพุทธเจ้าได้สำเร็จเป็นครั้งแรก  นับเป็นบ่อเกิดของคัมภีร์พระไตรปิฎกภาษาบาลี  คำสอนที่ลงมติกันไว้ในครั้งปฐมสังคายนาและได้นับถือกันสืบมา เรียกว่า เถรวาท  แปลว่า  คำสอนที่วางไว้เป็นหลักการโดยพระเถระ   นิกายเถรวาท  หมายถึง  คณะสงฆ์ กลุ่ม  ที่ยึดคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งถ้อยคำและเนื้อความที่ท่านสังคายนาไว้โดยเคร่งครัด Three months after the Lord Gautama Buddha attains complete Nibbana, His 500 perfected disciples who had heard His teachings convene at Sattapanni Cave, located near the city of…

สามเณรในพระพุทธศาสนา (Th En Ch)

สามเณรในพระพุทธศาสนา คือใคร          佛教之沙弥 สามเณร แปลว่า เหล่ากอของสมณะ หน่อเนื้อของสมณะ หมายถึง นักบวชชายในพระพุทธศาสนาที่มีอายุน้อย ยังมิได้รับการอุปสมบทเป็นพระภิกษุ 沙弥是沙门家族的成员之一,亦是沙门的薪传者。指在佛教僧团中,未受具足戒,未满二十岁时出家的男子。   การบรรพชาเป็นสามเณรมีมาแต่สมัยพุทธกาล ซึ่งพระพุทธองค์ทรงตรัสให้พระสารีบุตรพุทธสาวก ทรงบรรพชาให้กับ สามเณร “ราหุล” ผู้เป็นพุทธบุตร นับเป็นสามเณรองค์แรกในพระพุทธศาสนา และถือเป็นประเพณีนิยมในพระพุทธศาสนาที่สำคัญอย่างหนึ่ง ที่มารดา-บิดานำบุตรหลานที่เป็นชายอายุยังไม่ถึง ๒๐ ปีบริบูรณ์ เข้าไปรับการบรรพชาเป็นสามเณร ซึ่งแต่โบราณกาลมานั้น การที่จะได้เล่าเรียนเขียนอ่านตำรับตำรา ต้องอาศัยวัดเป็นสถานที่เล่าเรียนให้กับกุลบุตร และจำเป็นต้อง บรรพชาเป็นสามเณรก่อน จึงจะได้ฝากตัวเป็นศิษย์ของพระเถระ เพื่อที่จะได้เข้าไปอยู่ในวัดตามธรรมเนียม วัดจึงเป็นทั้งบ้าน โรงเรียนศึกษาธรรมะในพระพุทธศาสนาของสามเณร 自佛陀时代起,就有沙弥剃度出家的传统。佛陀曾让罗睺罗拜舍利弗为戒师,受沙弥戒,成为僧团中首位沙弥,也由此成为佛教的一个重要传统。后来,有许多父母慈悲引领未满二十岁的儿子入佛门,剃度出家成为沙弥。自古以来,寺院就是沙弥修行和研习经典的重要场所。同时依照传统,善男子必先受戒为沙弥,成为长老的弟子,才可以常住于寺院。因此,寺院既是沙弥的家,也是沙弥修行的地方。        เรื่องของสามเณรนิโครธ 尼拘律沙弥的故事 ในอดีต ณ ประเทศอินเดีย สมัยพระเจ้าอโศกมหาราช  พระองค์เป็นกษัตรย์ที่ได้เคยผลาญชีวิตผู้คนจากการสู้รบมามาก และศรัทธานักบวชนอกพุทธศาสนามาก่อน จนกระทั่งวันหนึ่ง ขณะพระเจ้าอโศกประทับยืนอยู่ที่หน้าต่าง  ได้ทอดพระเนตรเห็นสามเณรนิโครธ ผู้ฝึกฝนตนเองมาดี มีอินทรีย์สงบ สมบูรณ์ด้วยอิริยาบถ กำลังเดินผ่านไปทางพระลานหลวงทำให้เกิดความเลื่อมใสในสามเณรมาก จึงรับสั่งพวกอำมาตย์ให้ไปนิมนต์สามเณรเข้ามาในพระราชมณเฑียร เมื่อได้ถวายภัตตาหารและไต่ถามธรรม จึงทรงเข้าใจความเป็นจริงของชีวิต…

บุญถวายภัตตาหาร (Th En Ch)

บุญจากการถวายภัตตาหารเป็นสังฆทาน Merit of food offering to the monks   供养斋僧的功德 คนเราทุกคนต่างมีความปรารถอยากจะให้ชีวิตของเรามีความสุข มีครอบครัวที่อบอุ่น ทำธุรกิจการงานอะไรก็ราบรื่น ข้ามพ้นปัญหาหรืออุปสรรคต่างๆได้อย่างง่ายดาย  ผู้มีปัญญาในกาลก่อนทั้งหลาย เมื่อท่านได้เรียนรู้ความจริงของชีวิตแล้ว ต่างก็รู้ว่า เบื้องหลังความสำเร็จ ความล้มเหลวของชีวิตนั้นก็คือ บุญกับบาป  มีบุญพิเศษอยู่อย่างหนึ่งเหมือนกับยาวิเศษที่รักษาโรคต่างๆได้สารพัดชนิดเลยทีเดียว นั่นคือ บุญจากการถวายภัตตาหาร  เพราะเมื่อคนเราหลังจากทานอาหารแล้วจะได้รับฐานะ 5ประการ ดังต่อไปนี้คือ อายุ วรรณะ สุขะ พละ ปฏิภาณ We all have the desire to make our life happy, have a warm family, run business smoothly and easily, overcome any problems or obstacles.…

บิณฑบาต (En Th Ch)

บิณฑบาต บิณฑบาต เป็นกิจวัตรของพระภิกษุสงฆ์และสามเณรในพระพุทธศาสนา โดยพระพุทธองค์ทรงสรรเสริญการบิณฑบาตว่าเป็นกิจอันประเสริฐ เป็นการโปรดสัตว์ เพราะการออกบิณฑบาตนั้นนับว่าเป็นการเผยแผ่พระศาสนาทางหนึ่งด้วย ดังในสมัยพุทธกาลที่พระภิกษุสงฆ์จะเทศนาโปรดแก่บรรดาชาวบ้านซึ่งมาร่วมทำบุญ อันเป็นต้นเหตุแห่งการสวดให้พรหลังภัตตกิจในปัจจุบันนี้  ประเพณีนี้ชาวพุทธถือกันว่าเป็นการสร้างกุศล และยังสามารถการอุทิศส่วนกุศลให้กับญาติผู้ล่วงลับไปแล้วด้วย Going On Alms-Round Going on alms-round is the daily activity of the Buddhist monks and novice monks.  The Lord Buddha regards this activity as being sublime because it is one of the ways to propagate Buddhism.  During the Lord Buddha’s time, laypeople attended the temple…

การอุทิศส่วนกุศล (Th En Ch)

การทำบุญอุทิศส่วนกุศล เรื่องการทำบุญอุทิศส่วนกุศลนี้มีแต่ในพระพุทธศาสนา ซึ่งต้องทำความเข้าใจ2เรื่องนี้ก่อน 1.ชีวิตหลังความตายนั้นไม่มีการทำมาหากิน  ทั้งในสุคติและในทุคติ  ชีวิตจะมีสุขอยู่ได้ก็ด้วยกำลังบุญ 2.บุญ คือ พลังงานอันบริสุทธิ์ เป็นเครื่องนำมาซึ่งความสุขและความสำเร็จในชีวิต คุณสมบัติของบุญ คือ เก็บสะสมเอาไว้ได้ เหมือนกระแสไฟฟ้าที่สามารถชาร์จเก็บสะสมเอาไว้ในแบตเตอรี่ และยังสามารถอุทิศให้แก่ผู้ที่ละโลกไปแล้วได้ ประวัติครั้งแรกของการอุทิศส่วนกุศลนี้ มีเรื่องเล่าว่า  ในครั้งพุทธกาล  พระเจ้าพิมพิสาร  คืนหนึ่งได้ยินเสียงแปลกๆร้องขึ้นมา ก็ทรงตกพระทัย หลังจากที่ถามพระพุทธเจ้าจึงรู้ว่าเป็นเปรตญาติในอดีตนานมาแล้ว มาร้องขอส่วนบุญ จึงบำเพ็ญมหาทาน  ทั้งอาหาร  ทั้งถวายผ้าแด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระสาวก  บุญก็ส่งผลถึงเปรตเหล่านั้น เปลี่ยนจากกายของเปรตเป็นกายของเทวดาทันที  นี่ก็เป็นตัวอย่างของบุญที่สามารถอุทิศได้  จากผู้ที่มีชีวิตอยู่บำเพ็ญบุญกุศลแล้วก็ไปให้หมู่ญาติที่ล่วงลับไปแล้ว เมื่อเราทำความดีแล้ว บุญก็เกิด องค์ประกอบสำคัญที่จะทำให้บุญไปถึงหมู่ญาติได้  คือ ประการที่1  ผู้รับบุญนั้นต้องอยู่ในภาวะที่สามารถรับได้  คือถ้าไปเกิดเป็นเทวดา สามารถรับบุญได้   ถ้าไปเกิดในยมโลก หรือเปรต อสุรกายก็สามารถรับบุญได้  แต่ถ้าเป็นมนุษย์ตายแล้วไปเกิดเป็นมนุษย์ใหม่  อันนี้ยังไม่สามารถที่จะรับบุญได้ ประการที่2  มีผู้ทำบุญสั่งสมบุญ อุทิศบุญไปให้ ประการที่3  ต้องได้เนื้อนาบุญ จึงจะทำให้บุญนั้นสำเร็จประโยชน์กับผู้ที่รับบุญ   วิธีการอุทิศส่วนบุญก็มีอยู่ 2 วิธี คือ 1.กรวดน้ำ …

การอธิษฐานจิต (Th En Ch)

การอธิษฐานจิต เป้าหมายชีวิตนั้นมีความสำคัญมาก หากเรามีเป้าหมาย ความคิด คำพูด และการกระทำทุกอย่างในแต่ละวันจะมุ่งไปสู่เป้าหมายที่เราตั้งไว้   การอธิษฐาน คนโดยทั่วไปเข้าใจว่า คือการบอกเล่าความทุกข์กับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และขอในสิ่งที่เราต้องการ หรือให้ชีวิตเราดำเนินไปให้ถึงเป้าหมายชีวิตได้อย่างราบรื่น ไม่มีอุปสรรค โดยที่ไม่ได้ลงทุนลงแรงทำอะไรเลย ดังนั้นจึงทำให้คนรอบข้างคิดว่า คนที่อธิษฐานจิตนั้นเป็นคนงมงาย ไม่มีเหตุผล  ดังนั้นขอให้ทำความเข้าใจเสียใหม่ก่อนว่า การอธิษฐานจริงๆแล้วไม่ใช่การ “ขอ” แต่อย่างใด การอธิษฐานจิตนั้น เป็นการล็อคเป้าหมายว่าเราจะทำสิ่งใดให้สำเร็จลุล่วงไป ถือเป็นเข็มทิศของจิตและชีวิตของคนๆ นั้นเป็นการสร้างพลังจิตให้เข้มแข็ง  จะมีการเตรียมการและดำเนินชีวิตเพื่อให้ไปถึงเป้าหมาย  โดยอาศัย  “บุญ” ที่สั่งสมมาเป็นงบประมาณ ช่วยส่งเสริมให้เกิดความสำเร็จขึ้นมา   ยกตัวอย่าง เราวางแผนไปให้ถึงสถานที่แห่งหนึ่งซึ่งไกลมาก ดังนั้นจึงต้องเตรียมรถยนต์ น้ำมัน แผนที่ การที่จะได้มาซึ่งสิ่งเหล่านี้ก็ต้องใช้เงินในการซื้อมา  ซึ่งเงินในที่นี้ก็เปรียบเสมือนกับ “บุญ”นั่นเอง   และ“บุญ” นั้น สามารถทำได้ด้วยการทำความดี เช่นทำทาน ด้วยการสงเคราะห์ ด้วยการรักษาศีล หรือนั่งสมาธิ  และอธิษฐานเอาบุญที่เคยสั่งสมมานั้น ทำให้คนเรามีร่างกายที่บริบูรณ์ มีสติปัญญา ไม่ขัดสนเรื่องเงินทองในการดำรงชีวิตอย่างไม่มีปัญหา เพื่อให้สร้างความดีสั่งสมบุญให้มากยิ่งๆขึ้นไป จนสามารถไปสู่เป้าหมายชีวิต คือ การกำจัดกิเลส พบความสุขที่แท้จริงได้…

การแผ่เมตตา (Th En Ch)

การแผ่เมตตา ทุกคนต่างปรารถนาที่อยากจะให้ตัวเองประสบความสุขความสงบทางใจ ไม่มีความกระวนกระวายใจ สามารถปล่อยวางความโกรธความไม่พอใจได้อย่างง่ายๆ  ซึ่งตอนที่เรายังโกรธอยู่ ยังอิจฉาริษยาคนใดคนหนึ่งอยู่นั้น จิตใจจะมีแต่ความร้อนรุ่มกลุ้มอก กระวนกระวายใจ และไม่เป็นอันกินอันนอนอย่างเห็นได้ชัด   การแผ่เมตตา คือ การแผ่กระแสจิตความรัก ความปรารถนาดีของตนไปสู่ผู้อื่น และสรรพสัตว์ทั้งหลาย ให้มีความสุขความเจริญยิ่ง ๆ ขึ้นไปโดยปราศจาก ความอิจฉาริษยา และหมายถึง ความมีไมตรีจิตต่อกันด้วยความจริงใจฐานมิตร  แม้ผู้นั้นจะเป็นผู้ที่ตนไม่ชอบหรือเป็นศัตรูกันก็ตาม เพราะถ้าหากสามารถแผ่เมตตาไปให้แก่ผู้ไม่ถูกกันได้ นั่นแสดงว่าผู้นั้นได้ยกระดับจิตให้พ้นจากอำนาจความโกรธเคืองหรือความอิจฉาริษยาได้แล้วด้วยเมตตา เพราะเมตตานี้เป็นเครื่องกำจัดกิเลสคือ ความโกรธ ความประทุษร้าย ความไม่ชอบใจด้วยอำนาจของความอิจฉาริษยาเสียได้   วิธีการแผ่เมตตา 1.นั่งขัดสมาธิ หลับตาเบาๆพอสบายๆคล้ายกับเราใกล้จะนอนหลับ อย่ากดลูกนัยน์ตา ปรับท่านั่งให้อยู่ในท่าที่สบาย ผ่อนคลายร่างกายทุกส่วน 2.นึกรวมเอากระแสความปรารถนาดีต่อทุกๆคน และสรรพสัตว์ทั้งหลาย รวมเป็นดวงกลมใสๆ บริสุทธ์อยู่ที่ศูนย์กลางกาย บริเวณกลางท้องอย่างเบาๆ สบายๆ 3.ค่อย ๆ ขยายกระแสความเมตตาออกไปท้างด้านซ้าย ขวา หน้า หลัง บน ล่าง ทุกทิศทุกทาง ไปยังคน และสรรพสัตว์ที่อยู่โดยรอบ 4.ค่อยขยายกระแสความเมตตาให้ครอบคลุมบริเวณทุกทิศทุกทาง  ขยายให้ครอบคลุมตำบล อำเภอ จังหวัด…

รักษาใจด้วยสมาธิ (Th En Ch)

รักษาใจด้วยสมาธิ ในชีวิตประจำวันของเรานั้น  มีปัญหาต่างๆนานาเข้ามามากบ้าง น้อยบ้าง ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับสภาพครอบครัว การงาน การศึกษา ภาระหน้าที่เป็นต้น ที่แตกต่างกันไป  บางคนเมื่อชีวิตพบกับปัญหาเข้า บ้างก็ใช้วิธีการแก้ปัญหาที่แตกต่างกันไป ตามแต่ประสบการณ์ หรือความคุ้นเคยที่ตนเองมีอยู่  และจะได้ผลดีหรือไม่ก็ยังไม่แน่นอนอีก  แต่ถ้าบุคคลนั้นได้มีการฝึกที่จะมองปัญหาด้วยใจที่นิ่งๆ  ก็จะสามารถเห็นถึงต้นแหล่งของปัญหานั้นได้อย่างชัดเจน  วิธีการฝึกนั้นก็ง่ายๆโดยการทำสมาธินั่นเอง สมาธิ  เหมาะสำหรับทุกๆคน และสามารถนำมาทำได้ในชีวิตประจำวัน  ไม่ว่าเราจะทำงานอะไร ทำงานในออฟฟิศ  แบบส่วนตัว  อาชีพแม่บ้าน  นักเรียน  หรือนับถือศาสนาอะไรก็ทำสมาธิได้  แล้วก็ไม่ได้จำกัดว่าคนนั้นจะต้องเป็นชายหรือหญิง  ผู้ใหญ่ หรือเด็ก  จะอายุเท่าไหร่ก็สามารถฝึกสมาธิได้ทั้งนั้น การนั่งสมาธินั้น  ก็ไม่ใช่เป็นเรื่องที่ซับซ้อนยุ่งยากอย่างที่ทุกคนคิด  แต่ความจริงแล้ว  เป็นสิ่งที่ทำได้อย่างง่ายๆ  ง่ายจนเราคิดไม่ถึงเลยว่ามันจะง่ายอะไรขนาดนี้  ยิ่งไปกว่านั้นถ้าเราทำเป็นประจำแล้ว ก็ยังเป็นประโยชน์ในการดำรงชีวิตประจำวัน ให้ดำเนินไปอย่างมีความสุข อย่างมีสติ และปัญญาอีกด้วย   ซึ่งวิธีการทำสมาธิอย่างง่ายๆ มีดังนี้คือ ให้เรานั่งอยู่ในท่าที่สบาย  ผ่อนคลายร่างกายทุกส่วน  อาจจะนั่งบนเก้าอี้ หรือบนโซฟาก็ได้  หลับตาลงเบาๆ หลับพอสบายๆ คล้ายๆกับเราใกล้จะนอนหลับ  โดยไม่นำเรื่องราวต่างๆมาคิด  ไม่ว่าจะเป็นเรื่องครอบครัว  การเรียน การทำงาน เพื่อนสนิท…

ศีล ธรรมชาติของคน (Th En Ch)

ศีล ธรรมชาติของคน สรรพสัตว์ทุกชีวิตบนโลก ล้วนแต่รักชีวิตของตนเองทั้งนั้น  การอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข   จากสามัญสำนึกของมนุษย์ที่รู้ว่า  ในเมื่อเรามีความรักตนเอง  ต้องการความสุขและความปลอดภัยในชีวิต  คนอื่นย่อมมีความรู้สึกเช่นเดียวกับเรา  สามารถแบ่งแยกให้เห็นได้ชัดเจน  ดังนี้ งดเว้นจาการฆ่าสัตว์ ตามปกติคนเราทุกคนไม่อยากให้ใครมาทำร้ายตน ไม่อยากให้ใครมาฆ่าตน เมื่อทุกคนมีความรู้สึกเช่นนี้แล้ว  เราก็ไม่ควรที่จะไปทำร้าย หรือฆ่าใคร ————– นี้เป็นการให้ความปลอดภัยแก่ชีวิตของผู้อื่น   งดเว้นจากการลักขโมย ธรรมชาติของมนุษย์ไม่อยากจะให้ใครๆมาขโมยของของเราไป หรือแม้แต่หยิบไปโดยไม่ได้รับอนุญาตนั้น เราก็ไม่ชอบ ด้วยเหตุผลเดียวกัน เราก็ไม่ควรที่จะไปลักขโมยทรัพย์สินของใครเช่นกัน เพราะมนุษย์มีความรู้เรื่องกรรมสิทธิ์ว่า    นี่ของเขา  นี่ของเรา—————————-นี้เป็นการให้ความปลอดภัยในทรัพย์สินของผู้อื่น   3.งดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม   ปกติมนุษย์เราไม่อยากที่จะให้ใครมาแย่งบุคคลอันเป็นที่รักของเรา ไม่ว่าจะเป็น สามีหรือภรรยา บุตร  ดังนั้นเราก็ไม่ควรที่จะไปประพฤติผิดในกามต่อบุคคลอันเป็นที่รักของคนอื่น เช่นกัน ————– นี้เป็นการให้ความปลอดภัยแก่ครอบครัว   4.งดเว้นจากการพูดเท็จ  พูดคำหยาบ  คำส่อเสียด  เพ้อเจ้อ   ปกติคนเราจะไม่ชอบให้ใครมาหลอกหลวงหรือเบียดเบียนเราด้วยคำพูด  ผู้อื่นก็เช่นกัน เขาก็ไม่ชอบให้ใครมาหลอกลวง เบียดเบียนเขาด้วยคำพูด  ดังนั้นเราต้องมีความจริงใจต่อทุกคนด้วยการไม่พูดเท็จ พูดคำหยาบ ส่อเสียดหรือเพ้อเจ้อด้วย —————- นี้เป็นการให้ความจริงใจแก่ผู้อื่น   งดเว้นจากการดื่มสุราเมรัยอันเป็นต้นเหตุแห่งความประมาท…

การทำทาน (Th En Ch)

กาทำทาน (การให้  การแบ่งปัน) Sharing มนุษย์เราดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยการให้   เมื่อเกิดมาเราไม่มีอะไรติดตัวมาเลย  ถ้าเราไม่มีพ่อแม่ หรือผู้มีพระคุณให้ความรัก  ความเมตตา  และการเลี้ยงดู  เราคงไม่สามารถก้าวผ่านวันเวลาในครั้งเป็นทารกมา ยืนหยัดอยู่ได้จนทุกวันนี้  การให้จึงมีคุณค่าอย่างไม่อาจประมาณได้  สำหรับทุกชีวิตทั้งผู้รับและผู้ให้  โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับชีวิตของผู้ให้  เนื่องจากการแบ่งปันอยู่เสมอ ๆ จะเปลี่ยนแปลงชีวิต ของผู้ให้ให้ดีขึ้นเป็นอัศจรรย์ การแบ่งปัน(Sharing)  แบ่งออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้ แบ่งปันสิ่งของ คือ การให้วัตถุสิ่งของต่าง ๆ เป็นทาน เช่น ข้าว  น้ำ  เสื้อผ้า  ยานพาหนะ  ที่นอน  ที่พักอาศัย    เป็นต้น แบ่งปันความรู้สึกดีๆ คือ การรักษาชีวิตสัตว์ รวมทั้งการปล่อยวางความโกรธให้หมดไปจากใจ  เลิกพยาบาท  ให้อภัยกัน แบ่งปันความรู้ คือ  การให้ความรู้เป็นทาน   และให้คำแนะนำสั่งสอนดี ๆ ที่มีประโยชน์ในการดำเนินชีวิต แบ่งปันปัญญา คือ การให้ความรู้เรื่องความจริงของชีวิต เช่น การแนะนำสั่งสอนให้เข้าใจเรื่องความดี ความชั่ว…