การอุทิศส่วนกุศล (Th En Ch)

0
225

การทำบุญอุทิศส่วนกุศล

เรื่องการทำบุญอุทิศส่วนกุศลนี้มีแต่ในพระพุทธศาสนา ซึ่งต้องทำความเข้าใจ2เรื่องนี้ก่อน

1.ชีวิตหลังความตายนั้นไม่มีการทำมาหากิน  ทั้งในสุคติและในทุคติ  ชีวิตจะมีสุขอยู่ได้ก็ด้วยกำลังบุญ

2.บุญ คือ พลังงานอันบริสุทธิ์ เป็นเครื่องนำมาซึ่งความสุขและความสำเร็จในชีวิต คุณสมบัติของบุญ คือ เก็บสะสมเอาไว้ได้ เหมือนกระแสไฟฟ้าที่สามารถชาร์จเก็บสะสมเอาไว้ในแบตเตอรี่ และยังสามารถอุทิศให้แก่ผู้ที่ละโลกไปแล้วได้

ประวัติครั้งแรกของการอุทิศส่วนกุศลนี้ มีเรื่องเล่าว่า  ในครั้งพุทธกาล  พระเจ้าพิมพิสาร  คืนหนึ่งได้ยินเสียงแปลกๆร้องขึ้นมา ก็ทรงตกพระทัย หลังจากที่ถามพระพุทธเจ้าจึงรู้ว่าเป็นเปรตญาติในอดีตนานมาแล้ว มาร้องขอส่วนบุญ จึงบำเพ็ญมหาทาน  ทั้งอาหาร  ทั้งถวายผ้าแด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระสาวก  บุญก็ส่งผลถึงเปรตเหล่านั้น เปลี่ยนจากกายของเปรตเป็นกายของเทวดาทันที  นี่ก็เป็นตัวอย่างของบุญที่สามารถอุทิศได้  จากผู้ที่มีชีวิตอยู่บำเพ็ญบุญกุศลแล้วก็ไปให้หมู่ญาติที่ล่วงลับไปแล้ว

เมื่อเราทำความดีแล้ว บุญก็เกิด องค์ประกอบสำคัญที่จะทำให้บุญไปถึงหมู่ญาติได้  คือ

ประการที่1  ผู้รับบุญนั้นต้องอยู่ในภาวะที่สามารถรับได้  คือถ้าไปเกิดเป็นเทวดา สามารถรับบุญได้   ถ้าไปเกิดในยมโลก หรือเปรต อสุรกายก็สามารถรับบุญได้  แต่ถ้าเป็นมนุษย์ตายแล้วไปเกิดเป็นมนุษย์ใหม่  อันนี้ยังไม่สามารถที่จะรับบุญได้

ประการที่2  มีผู้ทำบุญสั่งสมบุญ อุทิศบุญไปให้

ประการที่3  ต้องได้เนื้อนาบุญ จึงจะทำให้บุญนั้นสำเร็จประโยชน์กับผู้ที่รับบุญ

 

วิธีการอุทิศส่วนบุญก็มีอยู่ 2 วิธี คือ

1.กรวดน้ำ  หลังจากทำบุญเสร็จแล้วเมื่อพระเริ่มสวดให้พร  เราก็ยกคนโทแล้วก็รินน้ำไปไม่ให้ขาดสาย  อันนี้เป็นอุบาย  เพราะการที่จะส่งบุญไปให้หมู่ญาติได้นั้นต้องมีสมาธิ ใจต้องไม่ฟุ้งซ่าน

2.ทำสมาธิระลึกนึกถึงบุญ  แล้วก็นึกถึงชื่อนามสกุล  หรือรูปร่างหน้าตาของหมู่ญาติหรือบุคคลที่เราต้องการแผ่ส่วนบุญชนิดจำเพาะเจาะจงให้   แต่จะอุทิศส่วนกุศลโดยรวม ๆ ก็ได้ โดยกล่าวว่า… อิทํ เม ญาตีนํ โหตุ สุขิตา โหนฺตุ   ญาตโย ขอผลบุญนี้จงสำเร็จแก่ญาติทั้งหลาย  ของข้าพเจ้า ขอให้ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้าจงประสบความสุขด้วยเถิด…

 

บุคคลที่เราจะอุทิศบุญนั้น แบ่งเป็น3กลุ่ม

กลุ่มที่1  บิดามารดา ผู้มีพระคุณ หมู่ญาติ ครูบาอาจารย์ โดยการนึกถึงท่าน  นึกถึงชื่อ นามสกุลท่าน

กลุ่มที่2   คู่กรรมคู่เวรทั้งหลายที่เคยล่วงเกินกันมาแล้วผูกอาฆาตพยาบาทจองเวรกันมาตั้งแต่ในอดีต โดยอธิษฐาว่า กรรมใดที่เราล่วงเกิน ก็ขอให้เป็นอโหสิกรรมซึ่งกันและกัน

กลุ่มที่3   สรรพสัตว์ทั้งหลาย

การอุทิศบุญไปให้กับหมู่ญาติทั้งหลายนั้น  ไม่ได้ทำให้บุญของเราลดลง  เปรียบเหมือนเรามีเทียนติดไฟอยู่  เราเอาเทียนดวงนี้ไปต่อให้เทียนดวงอื่น  ความสว่างของเราไม่ได้ลดลง  แต่ความสว่างโดยรวมกลับเพิ่มมากขึ้น

ในอีกมุมหนึ่ง หลังจากที่เราเสียชีวิตไปแล้ว จะมารอหมู่ญาติอุทิศไปให้ ก็ไม่แน่ว่าเขาจะมีเวลาและโอกาสที่จะไปทำบุญและอุทิศให้กับเราหรือเปล่า ดังนั้นขณะที่เรามีชีวิตอยู่นั้น ควรตั้งใจสั่งสมบุญให้เต็มที่จะดีที่สุด

Dedicating Merit to Others

The practice of dedicating merits only exists in Buddhism,so it’s vital that we first understand the following two concepts.

  1. There is no way to earn a living after death, both in the States of Happiness or the States of Unhappiness. Happiness in life is due to one’s merit.
  2. Merit is a pure energy that leads to happiness and success in life. Merit can be accumulated, similar to the way electricity is recharged and stored in batteries; and it can be dedicated to those who have passed away.

 

The first historic account of merit dedication occurred during the Lord Buddha’s era. One night, King Bimbisara heard a strange sound that startled him. So he asked the Buddha and came to learn that it was a sound made by a deceased relative who had been reborn as a Peta (hungry ghost) and was now seeking merit. The king performed a great offering of food and clothes to the Buddha and His disciples and dedicated the merit. The merit immediately transformed the hungry ghost into a celestial being.

This is an example of how merit can be transferred by those who are  living to relatives who have passed away. When we perform good deeds, merit arises.

Important factors that will allow merit to reach our relatives

  1. The recipient(s) must be in a state that is possible to receive the merit. Those who have been reborn as celestial beings, hell beings, hungry ghosts, or animals are able to receive merit, while those who have been reborn as humans are not be able to do so.
  2. There must be a person to perform the meritorious deeds and to dedicate the merit earned.
  3. A proper fertile field of merit must exist to ensure that the merit provides the most benefit to the recipient(s).

 

Two methods of dedicating merit
1. Pouring ceremonial water:  After performing a wholesome deed, as the monks are giving the blessing, raise the water flask to pour a continuous stream of water into the vessel. This is a ingenious method , because the dedication of merit to our deceased relatives requires us to be concentrated and undistracted.

  1. Meditating and reflecting on the merit as we recall the names or appearance of relatives or individuals whom we wish to dedicate the merits to specifically. We can dedicate merit to others in general as well by declaring:

“I-Tam-Mae-Ya-Ti-Nam-Ho-Tu- Su-Khi-Ta-Hon-Tu-Ya-Tha-Yoh,” which means,  “May this merit be transferred to my relatives. May they all be blessed with happiness.”

 

Recipients of merit dedicated can be categorized into three groups:

  1. Parents, relatives, and teachers. We can do so by recalling their full names.

 

  1. Those we have wronged against in the past. We can make an earnest wish to have all the negative karma resolved.
  2. All other living beings.

 

When we dedicate merit to our relatives, our merit does not become reduced. This is similar to the way a candle is used to light up many other candles. The brightness does not dwindle; however, the overall brightness is amplified.

 

From another perspective, when we pass away, we cannot be certain that our relatives will have the time and opportunity to make merit and dedicate it to us. Therefore, we should accumulate as much merit as we possibly can while we are alive.

 

回向功德

在认识有关佛教的回向功德之前,先了解两个方面的知识。

1.往生后无论转世善道或恶道,都没有生计,幸福快乐的人生取决于自身的功德。

2.功德:乃纯净的能量,是生命收获幸福与成功的源泉。关于功德的特性,其实功德可以累积的,就像电流可以储存在电池中一样。与此同时,也可以将功德回向给往生者。

关于回向功德的典故记载,即在佛陀时代,有一天晚上,频婆娑罗王因听见鬼魂哭泣而受惊。翌日,在请教佛陀后,得知是前世亲戚转世的饿鬼,来向他求取功德。后来,频婆娑罗王决定行大布施,向佛陀和僧团供养膳食与袈裟,并将功德回向给饿鬼,随后他们也从饿鬼身变成了天人身。这是回向功德的经典案例,说明在世者修功德后,可以将功德回向给往生者。

当我们行善时,功德即生起。往生者想获得回向的功德,需满足几个条件:

1.受者应处在可接受的状态,即如果转世为天人,可以接受回向的功德。如果转世于阴间,或者转世为饿鬼、阿修罗,也可以接受回向的功德。但若重新转世为人,就无法接受回向的功德。

2.有人修功德之后,做功德回向。

3.具足福田,才能让这份功德成功利益接受者。

 

回向功德的两种方法,分别是:

1.倒水回向:修功德之后,在僧团开始诵经时,我们可以手持水瓶,不间断的倒水,专注于水流中,因为回向功德给往生者时,回向者的心应静定不乱。

2.修习禅定时意念功德:忆念往生者的姓名或容貌。可以回向给特定的个人,也可以回向给众生。在心里默念:希望此功德成功回向给众亲人,愿他们获得安乐。

 

回向功德的对象,可分为三组:

第一组:已故的父母、有恩者、亲戚、恩师,可以意念他们的姓名。

第二组:曾经冒犯过的人,或前世结下仇恨的人,可以发愿道:自己曾经冒犯过诸位,请大家能给予宽容谅解。

第三组:众生。

向往生者回向功德,自身的功德不会因此而减少。就像我们手中有一支燃烧的蜡烛,点燃另一只蜡烛后,我们手中的蜡烛并不会就此失去光亮,反而会使四周变得更加光亮。

 

此外,当自己往生后,期待亲人回向功德,可是却不知道他们是否有时间和机缘去修功德,然后回向给自己。所以,当我们还在世时,就应该精进累积种种功德。