พุทธศาสนานิกายเถรวาทในประเทศไทย (Th En Ch)

0
147

พุทธศาสนานิกายเถรวาทในประเทศไทย (ตอนที่1)

Theravada Buddhism in Thailand

泰国佛教(上篇)

หลังจากพระโคตมพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานได้สามเดือน  พระสาวกผู้ได้เคยสดับสั่งสอนของพระองค์จำนวนห้าร้อยรูป ก็ประชุมทำปฐมสังคายนา ณ ถ้ำสัตบรรณคูหา ใกล้เมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ  ใช้เวลาสอบทานอยู่เจ็ดเดือน จึงประมวลคำสอนของพระพุทธเจ้าได้สำเร็จเป็นครั้งแรก  นับเป็นบ่อเกิดของคัมภีร์พระไตรปิฎกภาษาบาลี  คำสอนที่ลงมติกันไว้ในครั้งปฐมสังคายนาและได้นับถือกันสืบมา เรียกว่า เถรวาท  แปลว่า  คำสอนที่วางไว้เป็นหลักการโดยพระเถระ   นิกายเถรวาท  หมายถึง  คณะสงฆ์ กลุ่ม  ที่ยึดคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งถ้อยคำและเนื้อความที่ท่านสังคายนาไว้โดยเคร่งครัด

Three months after the Lord Gautama Buddha attains complete Nibbana, His 500 perfected disciples who had heard His teachings convene at Sattapanni Cave, located near the city of Rajagaha in the kingdom of Magadha, for what is now referred to as the First Buddhist Council (Sangayana). The recitation and compilation of the Buddha’s Teachings takes seven months to complete, and it is the first time that they have been thoroughly compiled and categorized. These teachings, approved by the elder monks at the First Buddhist Council, form the basis of the Tipitaka, or Pali Canon. Followers and practitioners of these teachings are called Theravada—meaning the teachings laid down by the Theravada monks. Therefore, the Theravada school of Buddhism means the community of monks that scrupulously adheres to the Teachings of the Buddha that was compiled at the First Buddhist Council.

 

在释迦牟尼佛涅槃后三个月,大迦叶尊者带领五百位阿罗汉在王舍城的毘婆罗山侧七叶窟举行第一次集结活动,经过七个月的时间才汇集了第一部佛陀的经典,堪称为佛教巴利文三藏经的起源。这也是南传佛教最经典的根据,严格遵从佛陀最原始的教法, 一直传承至今。

การเผยแผ่พระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศไทย   ภายหลังการสังคายนาพระธรรมวินัยครั้งที่สาม  พระเจ้าอโศกมหาราชได้ทรงจัดส่งพระโสณะและพระอุตตระเข้ามาเผยแผ่พระพุทธศาสนายังดินแดนสุวรรณภูมิ  ทำให้พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองขึ้นในดินแดนนี้นับแต่นั้นเป็นต้นมา  แบ่งเป็น 4 ยุค ได้แก่

Buddhism didn’t arrive to Thailand until after the Third Buddhist Council when King Ashoka the Great sends Buddhist missionaries, Ven. Sona and Ven. Uttara, to propagate Buddhism in Suvarnabhumi, “Land of Gold”–a name which Southeast Asia is commonly known. Buddhism has flourished in this region ever since. The history of Buddhism in Suvarnabhumi can be divided into four different periods as follows.

在第三次集结戒律后,阿育王就委派须那迦尊者、郁多罗尊者到素攀地弘扬佛法,从此,佛教就在那片土地上兴盛起来。

 

ยุคเถรวาทแบบพระเจ้าอโศกมหาราช  阿育王时代的南传佛教

ยุคมหายาน  北传佛教

ยุคเถรวาทแบบพุกาม 缅甸南传佛教

ยุคเถรวาทแบบลังกาวงศ์ 斯里兰卡南传佛教

–  Theravada Buddhism during the reign of King Ashoka the Great

–  Mahayana Buddhism

–  Burmese Theravada Buddhism

–  Lankavamsa Theravada Buddhism

 

โดยสำหรับการนับถือพระพุทธศาสนาของคนไทย  พระพุทธศาสนานิกายเถรวาทแบบลังกาวงศ์เป็นต้นแบบที่คนไทยได้ยอมรับนับถือกันมาเป็นเวลาหลายสมัย  สรุปได้ดังนี้

Lankavamsa Theravada Buddhism is the form of Buddhism Thai people have practiced for numerous generations.

对于泰国的佛教,主要以斯里兰卡南传佛教为标准,一直持续传承至今。

 

สมัยสุโขทัย  ในช่วงพุทธศักราช 1820  พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ทรงทราบกิตติศัพท์การประพฤติเคร่งครัดพระธรรมวินัยของพระสงฆ์ในเมืองนครศรีธรรมราชที่นับถือลังกาวงศ์ จึงโปรดเกล้าให้นิมนต์พระสังฆราชจากเมืองนครศรีธรรมราช ขึ้นมาเผยแผ่พระพุทธศาสนา  นิกายเถรวาทแบบลังกาวงศ์จึงเป็นที่นับถือกันอย่างแพร่หลายในเมืองสุโขทัย

Sukhothai Period 1277 (1820 B.E.): King Ramkhamhaeng learns of the disciplined lifestyle of a community of Lankavamsa Theravada Buddhist monks residing in the city of Nakon Sri Thammarat that strictly adheres to the Vinaya (monastic discipline). Therefore, he invites the Supreme Patriarch of Nakon Sri Thammarat to come teach Buddhism in the city of Sukhothai. Lankavamsa Theravada Buddhism eventually becomes widely practiced in Sukhothai.

在1820年素可泰王朝期间,兰坎亨大帝知道洛坤府僧团信奉斯里兰卡南传佛教,遵守戒律严明,声名远扬,于是,恭请洛坤府僧团的僧王弘扬佛法,从此,斯里兰卡南传佛教在素可泰迅速传播起来。

 

สมัยล้านนา  พุทธศักราช 1913  พระเจ้ากือนาได้ทรงส่งฑูตมาอาราธนาพระสุมนเถระจากเมืองสุโขทัยขึ้นไปเผยแผ่พระพุทธศาสนายังล้านนา  พระพุทธศาสนานิกายเถรวาทแบบลังกาวงศ์จึงได้ประดิษฐานตั้งมั่นที่ล้านนาตั้งแต่นั้นมา  ดังมีหลักฐานเช่น  พระธาตุดอยสุเทพ  เป็นต้น

Lanna Period 1370 (1913 B.E.): King Kerna sends an envoy to invite Ven. Sumanathera from the city of Sukhothai to teach Buddhism in Lanna. This is how Lankavamsa became established in Lanna, as evident by the construction of Wat Phra That Doi Suthep.

在1913年兰纳王朝,噶纳王朝委派使者恭请帕拉素那长老从素可泰开始弘扬佛法,一直到兰纳。斯里兰卡南传佛教自此在那扎根,比如:素贴寺等。

 

สมัยอยุธยา  พระสงฆ์อยุทธยาได้เดินทางไปศึกษาพระพุทธศาสนาที่ลังกา  จนพุทธศักราช 2296  พระพุทธศาสนาในลังกาถึงจุดเสื่อม  กษัตริย์ลังกาจึงทูลขอพระสงฆ์อยุทธยาไปบวชให้ชาวสิงหล ซึ่งพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศทรงส่งพระอุบาลี และพระอริยมุนี เป็นหัวหน้าคณะสงฆ์ 15 รูป เดินทางไปถวายลังกา  นับจากนั้นพระพุทธศาสนาในลังกาจึงได้เจริญขึ้นเป็นลำดับและทำให้เกิดเป็นนิกายสยามวงศ์ตั้งมั่นอยู่ในลังกาจนถึงทุกวันนี้

Ayutthaya Period: Buddhist monks living in the city of Ayutthaya have traveled abroad to study Buddhism in Sri Lanka. Then around 1753 (2296 B.E.), as Buddhism in Sri Lanka begins to decline, the king of Sri Lanka asks King Barommakot to send monks from Ayutthaya to help ordain the Sinhalese men. As a result, Venerable Upali and Venerable Ariyamuni lead a group of fifteen monks to carry out this mission in Sri Lanka. From that day forward, Siam Nikaya Buddhism becomes established in Sri Lanka and continues to flourish.

在大城时代,大城的僧团曾去斯里兰卡学习佛法,直至佛历2296年,斯里兰卡佛教衰退,斯里兰卡国王请大城的僧团为僧伽罗人梯度。阿育王委派帕拉悟巴里比丘和帕拉阿利亚木尼比丘为15位比丘僧团的组长,前往斯里兰卡弘法,自从那时候起,佛教一直在那里繁荣昌盛,以及暹罗部支派由此弘扬至今。

 

สมัยธนบุรี  สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้ทรงฟื้นฟูพระพุทธศาสนาที่เสื่อมโทรมเพราะภัยสงครามในคราวเสียกรุงศรี  อยุทธยา  เมื่อพุทธศักราช 2310 โดยโปรดเกล้าให้นิมนต์พระสงฆ์ที่หลบหนีภัยสงครามไปยังที่ต่างๆให้กลับเข้ามาจำพรรษาอยู่ที่วัดเหมือนเดิม  พระอาจารย์ดี วัดประดู่ กรุงศรีอยุทธยา  เป็นสมเด็จพระสังฆราชองค์แรกของธนบุรี

Thonburi Period: King Taksin revives Buddhism which has been in decline ever since the war with Burma, resulting in the lost of the city of Ayutthaya in 1767 (2310 B.E.).  King Taksin asks all the monks who have gone into hiding during the war to return to their temples. Venerable Dee of Wat Pradoo becomes the first Supreme Patriarch of Thonburi.

吞武里王朝,达信大帝复兴因大城战乱而衰落的佛教。并且在佛历2310年,恭请那些远离家乡逃难的僧人回到原来的寺院过雨季安居。大城的瓦巴拉度寺的帕拉阿占迪法师成为了吞武里第一位僧王。

 

สมัยรัตนโกสินทร์  เหตุการณ์ทางพระพุทธศาสนาเถรวาทที่สำคัญ  ดังนี้

The Rattanakosin Period: Important events related to Theravada Buddhism during the Rattanakosin Period are as follows.

曼谷王朝,南传佛教发生的重要事件。如下:

 

รัชกาลที่ 1  ทรงสร้างวัดพระศรีศาสดารามและทรงปฏิสังขรณ์วัดสุทัศน์เทพวราราม  โปรดเกล้าให้สังคายนาครั้งที่ 9 มีการแต่งและแปลคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา

King Rama I:  He has Wat Phra Sri Rattana Satsadaram built and Wat Suthat Thepphawararam restored. He calls for the Ninth Buddhist Council to be held and has various Buddhist texts and scriptures translated.

曼谷王朝拉玛一世王在曼谷建立玉佛寺和修复瓦苏泰拉姆皇家寺院,并且推动了第九次集结,编撰和翻译佛教经典。

รัชกาลที่ 2  ทรงฟื้นฟูประเพณีวิสาขบูชา  ทรงส่งพระสงฆ์ไปสืบพระพุทธศาสนายังลังกา  ทรงสร้างพระวิหารหลวงวัดสุทัศน์

King Rama II:  He revives the Buddhist tradition of celebrating Visakha Puja Day and sends monks to study and research Buddhism in Sri Lanka. He also has Wat Suthat built.

曼谷王朝拉玛二世王复兴卫塞节风俗,并且派遣僧人去斯里兰卡学习佛法 ,还建立瓦素塔皇家寺院。

 

รัชกาลที่ 3  โปรดเกล้าให้ราชบัณฑิตแต่งและจารึกสรรพวิทยา มีการแต่งวรรณคดีพระพุทธศาสนา  เช่น  ร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดก  ปฐมโพธิกถา  เป็นต้น

King Rama III:  He asks royal scholars to write books on the various branches of knowledge as well as Buddhist literatures like Vessantara Jataka Poem and Pathamsamabodhikatha (Life of the Buddha).

曼谷王朝拉玛三世王委派皇家学院编撰百科全书,也有记录佛教的文献等。如:佛陀本生故事、佛陀悟道初期等。

 

รัชกาลที่ 4  เมื่อครั้งยังทรงเป็นเจ้ามงกุฎ ทรงผนวชเป็นภิกษุ ทรงมีพระฉายานามว่า  วชิรญาโณ  ทรงเลื่อมใสในวัตรปฏิบัติของพระรามัญวงศ์ จึงทรงอุปสมบทใหม่ ภายหลังมีผู้บวชตามเป็นจำนวนมาก จึงทรงตั้งเป็นนิกายใหม่  เรียกว่า  ธรรมยุตนิกาย·

King Rama IV:  He enters the monkhood as a prince and receives the monastic title of Ven. Vajirayano. He has a strong belief in the strict practice of the Ramanvamsa monks and later re-ordains with this order.  Many followed suit and entered the monkhood, leading to the order’s new name: Thammayut Nikaya.

曼谷王朝拉玛四世王,当还是太子的时候,就曾出家为僧,法号为:瓦七拉那诺。国王对孟族的修行方法很敬仰,所以又再次出家授戒。后来出家的人也越来越多,逐渐形成了法宗派。

 

รัชกาลที่ 5  ทรงวางรูปแบบการศึกษาคณะสงฆ์ใหม่ เป็นแผนกนักธรรมและแผนกบาลี  ทรงสถาปนาสถาบันการศึกษาสงฆ์ขั้นสูง  คือ  มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

King Rama V: He establishes a new monastic education system that includes Dhamma study and Pali study. He helps establish the monastic university, Mahachulalongkornrajavidyalaya University.

曼谷王朝拉玛五世王规划僧团学习模式,分为研习佛法和巴利文,并且还创办了僧团最高学府朱拉隆功僧人大学。

 

รัชกาลที่ 6  ทรงพระราชนิพนธ์วรรณคดีพระพุทธศาสนา  เช่น  พระพุทธเจ้าตรัสรู้อะไร  มงคลสูตรคำฉันท์  เป็นต้น

King Rama VI: He pens Buddhist literatures on topics such as: What Higher Knowledge Did the Buddha Gain from Enlightenment? The Mangala Sutta poem, etc.

曼谷王朝拉玛六世王编撰佛教记录史实,如:佛陀证悟什么;吉祥法则等等。

รัชกาลที่ 7  ทรงผนวชและทรงจำพรรษาที่วัดบวรนิเวศวิหาร  โดยทรงมีพระฉายานามว่า  ปชาธิโป  โปรดเกล้าให้จัดพิมพ์พระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ

King Rama VII:  He enters the monkhood and spends the Rains-Retreat at Wat Bovonniwet Vihara.  He is given the monastic name of Ven. Pajadhipo. He has the Siamrath Tipitaka version printed.

曼谷王朝拉玛七世王出家为僧,并在波稳尼威寺雨季安居,法号为巴查提钵,并支持印刷出版暹罗版三藏经典籍。

 

รัชกาลที่ 8  มีการแปลพระไตรปิฎก เป็นสำนวนธรรมดาและสำนวนเทศนา เรียก  พระไตรปิฎกเทศนาฉบับหลวง

King Rama VIII: He has the Tipitaka translated using common day language and in the form of a Dhamma talk. This version is called the Royal Tipitaka.

曼谷王朝拉玛八世王整理翻译三藏经为简单和日常用词,并被命名为“皇家三藏经”。

 

รัชกาลที่ 9  ทรงออกผนวช โดยมีพระฉายานามว่า  ภูมิพโล  มีการบัญญัติกฏหมายคณะสงฆ์  พุทธศักราช  2505  กำหนดให้พระสังฆราชเป็นประมุขฝ่ายพุทธจักร  มีการสร้างวัดไทยขึ้นในต่างประเทศ

King Rama IX: He enters the monkhood and is given the monastic name Ven. Bhumipalo. He has the Sangha Law decreed.  In 1962 (2505 B.E.), he appoints the Supreme Patriarch of Thailand as the head of the Thai Buddhist order.  He helps establish Buddhist temples abroad.

曼谷王朝拉玛九世王曾出家为僧,法号为:普米洛。并于佛历2505年制定僧团法律,同时任命有僧王管理僧团,可以到全世界各地弘扬佛法和修建寺院。

 

เนื่องจากผู้นำประเทศ และพุทธบริษัท4 ต่างก็ปฏิบัติหน้าที่ชาวพุทธของตนเองอย่างดีเรื่อยมา  จึงทำให้พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองขึ้นเรื่อยๆสืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน

Since the leaders of the country and members of the Four Buddhist Communities have always performed their parts in the Buddhist cause, Buddhism continues to flourish in Thailand.

 

由于全世界佛教四众都各自履行自己的职责,让佛教一直发展兴盛到如今。

 

 

พุทธศาสนานิกายเถรวาทในประเทศไทย (ตอนที่2)

泰国佛教(下篇)

ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน  คนไทยมีความสัมพันธ์กับพระพุทธศาสนามาโดยตลอด  พุทธศาสนิกชนทั้งหลายมีความรู้สึกเคารพและศรัทธาในพุทธศาสนาฝังอยู่ในสายเลือดของคนไทยมา ตั้งแต่เกิดจนตาย   ถึงขนาดแสดงออกมาทางศิลปกรรมต่าง ๆ เช่น จิตรกรรมมักจะเป็นเรื่องราว เกี่ยวกับชาดกต่าง ๆ ในพุทธประวัติด้านสถาปัตยกรรมก็มีการสร้างวัดวาอารามต่าง ๆ โบสถ์ วิหาร เจดีย์ เป็นต้น ส่วนดนตรีไทยก็ให้ความเยือกเย็นตามแนวทางสันติของพุทธศาสนา

从过去到现在,泰国与佛教有非常密切的联系。尊敬和信仰佛教已经深深的注入人民的血液中,从出生到死去,甚至在很多艺术中充分体现。如:在寺院的大雄宝殿、纪念堂、佛塔中,绘画关于佛陀本生故事;泰式音乐也蕴含中佛教和平的气息。

คำสอนในพระพุทธศาสนามีผลทำให้คนไทยทั้งชาติเป็นคนรักสันติ รักอิสระเสรี มีนิสัยโอบอ้อมอารี เยือกเย็น มีความเมตตา กรุณา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ให้การพึ่งพาอาศัยต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน

佛陀的教导让全泰国民族热爱和平、自由,具有温柔、冷静、慈悲、慷慨和热于帮助世人。

สังคมไทยในอดีตเป็นสังคมเกษตรกรรม   从前泰国是农业社会

ผู้คนทำไร่ทำนาจึงอยู่ประจำถิ่น

百姓从事耕种、居住在同一个地方

ในยุคนั้น  在那个时代

วัดคือศูนย์กลางชุมชน  寺院是百姓的活动中心

เป็นทั้งที่ประชุมคน  是集会的地方

โรงเรียน โรงแรม ศาล สถานบังเทิง

也是学校、旅社、法庭及举办庆祝活动的场所

พระไม่ต้องออกไปชวนคนเข้าวัด

出家人不必出去邀请别人来寺院

เพราะเขามาวัดอยู่แล้ว

因为他们平日就常来

แต่ในปัจจุบันเป็นยุคอุตสาหกรรม 但当今是工业时代

และข้อมูลข่าวสาร ผู้คนมีการย้ายถิ่นฐานกันมาก

资讯发达,人们到处迁移

มาเรียนและหางานทำในเมือง

到城市里读书或找工作

ในชนบทเหลือเพียงคนแก่และเด็ก  在乡村只剩下老人及小孩

วัดวาอารามจึงอ่อนกำลังลง

寺院的影响力减弱

ส่วนวัดในเมือง แม้จะมีประชากรรอบวัดเพิ่มมากขึ้น

都市里的寺院,尽管附近的居民多了起来

แต่ก็ไม่คุ้นเคยกับวัด  但是跟寺院不熟悉

บางคนบ้านอยู่ติดกับวัด

有些人即使就住在寺院旁边

มาเป็นสิบปียังไม่เคยเข้าวัดทำบุญเลย

十几年也不曾到寺院里修功德

ยิ่งมีอะไรใหม่ๆเกิดขึ้นมากเท่าไหร่  再加上科技不断地变化

ทั้งโรงแรม สถานบันเทิง แหล่งท่องเที่ยว สถานพักผ่อนหย่อนใจ  学校、娱乐场所、旅游景点、休闲胜地也多了起来。

วัดก็ยิ่งห่างจากชุมชนมากขึ้นเท่านั้น

寺院和百姓的生活便越离越远

หากพระมัวตั้งรับอยู่ในวัด  如果出家众只是待在寺院里

คนก็จะไม่มาวัด

民众不会来寺院

นอกจากตอนมีพิธีกรรมตามประเพณี  只有依照一般风俗习惯的活动

หรือมางานศพ งานเทศกาลต่างๆเท่านั้น

还有丧礼、特殊节日才会来

วัดจำนวนมากจึงพยายามดึงคนเข้าวัด

因此许多寺院努力用各种方法吸引民众

โดยอาศัยมหรสพ ดูหมอ ใบ้หวย พิธีกรรมตามความเชื่อต่างๆ ซึ่งไม่ใช่แนวทางที่ถูกต้อง

举行娱乐、算命、出明牌、

迷信等等不如法的活动

สถานภาพของพระภิกษุจากเดิม ที่เคยเป็นผู้นำทางความคิดของสังคมจึงตกต่ำลง

从前,比丘引领社会思想的地位降低

คนรุ่นใหม่จำนวนไม่น้อยคิดว่า  很多新一辈的人认为

ตนมีความรู้ มีประสบการณ์มากกว่าพระสงฆ์  自己比出家人还要有学问、有经验

ผลคือ ประชาชนค่อยๆเหินห่างจากวัด  结果便是民众渐渐与寺院越离越远

ห่างไกลจากศีลธรรม  也远离了戒律道德

เหลือผู้ที่ยังร่วมกิจกรรมทางพระพุทธศาสนาอยู่บ้าง เพียง 64%  只剩下64%的人参与过佛教活动

อีก 25%เป็นชาวพุทธแต่ชื่อ  25%的民众只是有名无实的佛教徒

อีก 6%เป็นศาสนาอื่น  还有6%的人信奉了其他宗教

ที่ยังตื่นตัวอยู่บ้างเหลือแค่ 5% เท่านั้น

只有5%的人尚有警觉心

วัดใหญ่กลางกรุงบางแห่งมีประชากรรอบวัดนับแสนคน  有些在市中心的大寺院,周边有数十万人口

แต่มีคนมาถือศีลเข้าวัดในวันพระไม่ถึงสิบคน

但是到寺院受戒的人还不到十位

ศาสนาอื่นก็รุกหนัก   加上其他宗教的入侵

หากปล่อยสถานการณ์ให้เป็นอย่างนี้ไปเรื่อยๆ  如果放任情况继续这样下去

พระและชาวพุทธก็จะเหลือน้อยลง  出家众及佛教徒的人数将会再减少

วัดจะร้างมากขึ้น  荒芜废弃的寺院会增多

พระพุทธศาสนาจะเสื่อมลง  佛教会衰败

จนอาจสูญสิ้นไปจากประเทศไทยเหมือนในอินเดียและบางประเทศ

佛教将如同在印度及其他国家那样消失了

 

 

 

ทางแก้  คือ  การเผยแผ่พระพุทธศาสนาเชิงรุก

积极主动弘法这是唯一的解决之道

ในครั้งพุทธกาล หลังตรัสรู้ธรรมได้ราวห้าเดือน  佛陀时代,在佛陀证悟五个月后

พระพุทธเจ้าประชุมพระอรหันต์หกสิบรูปแรกของโลก  佛陀集合六十位世界上第一批的阿罗汉

และทรงประทานโอวาทมีความตอนหนึ่งว่า   并开示了波罗提木叉,其中一段说道

“ภิกษุทั้งหลาย เธอจงเที่ยวจาริกไป  比丘们! 你们到处行脚吧!

เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขแก่มหาชน เพื่อความเอ็นดูแก่โลก”

为了大众的利益安乐,为了慈悲众生

จะเห็นได้ว่า พระพุทธเจ้าทรงให้เผยแผ่พระพุทธศาสนาเชิงรุก  可见,佛陀是积极主动弘扬佛法的

พระองค์ไม่ได้ให้พระนั่งรอคนมาเข้าวัด  佛陀没有让比丘坐着等民众来寺院

แต่ให้รุกออกไปให้ธรรมะกับประชาชน  而是让他们积极主动去向民众弘法

แม้พระองค์เองก็ทรงทำอย่างนั้นเหมือนกัน

虽然已是佛陀,但依然也要如此做

พระพุทธศาสนาจึงขยายไปทั่วทั้งชมพูทวีปด้วยการเผยแผ่เชิงรุกนั่นเอง

佛教之所以能弘扬到全世界

就是因为积极主动弘法的缘故

วัดพระธรรมกายได้เผยแผ่พระพุทธศาสนาเชิงรุกตามคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาโดยตลอด

法身寺始终秉持着佛陀的教法,

向来积极主动弘法

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ตัวอย่างปัญหาและทางแก้

出现的问题及解决之道

 

ชาวพุทธเหินห่างพระพุทธศาสนา

问题: 民众远离佛教

 

การทำงานเชิงรุกเพื่อแก้ปัญหา  解决之道乃是积极主动弘法

โดยการจัดตักบาตรพระ 2 ล้านรูป 77 จังหวัด ทุกวัดทั่วไทย    举办全泰国77府两百万比丘的托钵活动

หากไม่มีกิจกรรม ชาวพุทธก็จะเฉา  如果没有佛教活动,佛教徒会颓废

ต้องมีกิจกรรมจึงจะคึกคัก        必须要有活动,佛教徒才会活跃

กิจกรรมที่ทำได้ง่าย คือการตักบาตร      而最容易举办的活动就是托钵供僧

คราวละ พันรูปบ้าง หมื่นรูปบ้าง  有时千位、有时万位比丘托钵

เพื่อปลุกกระแสชาวพุทธให้ตื่นตัวในการทำบุญทำทาน

为了让佛教徒活动起来,开始布施修功德

ทั้งยังสร้างความสามัคคี ร่วมแรงร่วมใจกันทุกภาคส่วน

并促进各单位部门团结合作起来

 

ปัญหาวัดร้างเพิ่มมากขึ้น

问题:废弃寺院增多

ขณะนี้จำนวนพระภิกษุสามเณรลดลงเรื่อยๆ  现在比丘和沙弥的人数越来越少

วัดร้างจึงเพิ่มมากขึ้น   以致荒芜废弃的寺院增多

วัดที่ไม่มีพระอยู่เลยมีมากถึง 5900 วัด       有将近5900所寺院没有出家人

ที่ยังไม่ร้างแต่ใกล้ร้าง คือ  虽还没有完全废弃,但已接近废弃的寺院

เหลือเพียงพระหลวงตาอายุมาก

只剩下年迈的老比丘

วัดละหนึ่งถึงสองรูป  或只有一两位比丘的寺院

มีอีกเกือบ2หมื่นวัด

这样的寺院将近有两万所

การทำงานเชิงรุกเพื่อแก้ปัญหา

解决之道乃是积极主动弘法

คือการจัดบวชพระคราวละ 1แสนรูป ณ วัดต่างๆ ทั่วประเทศ  即在全泰国各寺院举办十万位人出家的活动

ปีละ2รุ่น  คือ ภาคฤดูร้อน และช่วงเข้าพรรษา   一年两届,也就是夏季和雨季的出家活动

เมื่อจบโครงการพระหลายรูปไม่สึก  活动结束,便会有一些比丘没有还俗

ก็ไปช่วยกันพัฒนาวัดร้างให้เป็นวัดรุ่ง   可以协助复兴荒芜寺院

ปัจจุบันวัดที่เคยร้างได้กลับมาเป็นที่พึ่งทางใจของชุมชนอีกครั้ง     寺院再度成为民众心灵的皈依处

จากการดำเนินงานมา 5ปี  此活动连续进行了五年之后

สามารถพัฒนาวัดร้างให้มีพระสงฆ์อยู่จำพรรษา จำนวน 1900 วัด   1900所寺院经过整顿后开始有僧众常住

วัดที่เคยร้างได้กลับมาเป็นที่พึ่งทางใจของชุมชนอีกครั้ง

曾经荒芜的寺院又再度成为民众的皈依处

 

ปัญหาเยาวชนเหินห่างธรรมะ

问题: 年轻人远离寺院

เยาวชนคืออนาคตของชาติและพระพุทธศาสนา  年轻人是国家及佛教的未来

แต่เด็กรุ่นใหม่เหินห่างพระพุทธศาสนา  但是新一代的孩子远离佛教

ศีลธรรมจึงเสื่อมลง เกิดปัญหาสังคมมากมาย   道德沦丧,给社会带来很多问题

เช่น  ไม่เคารพพ่อแม่   例如:不尊敬父母

มีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร   未成年便有性行为

ติดยาเสพติด   染上毒瘾

ยกพวกตีกัน   结伙打架

ซึ่งเป็นสัญญาณอันตราย

都是危险的讯号

 

 

การทำงานเชิงรุกเพื่อแก้ปัญหา

解决之道乃是积极主动弘法

จัดโครงการเด็กดีวีสตาร์ปีละล้านคน

每年举办百万道德之星活动

เพื่อสร้างเยาวชนให้เป็นคนเก่งและดี  为了使年轻人品学兼优

โดยให้ทำการบ้านสิบข้อ  请他们每天做十项功课

เช่น  ให้กราบเท้าพ่อแม่และสวดมนต์นั่งสมาธิก่อนนอน   例如,顶礼父母的双足,睡前诵经打坐

ตื่นเช้ามาเก็บผ้าห่มเครื่องนอนให้เรียบร้อย   早晨起床后将被子折叠整齐

สมาทานศีล5  ออมทรัพย์ และช่วยงานบ้านทุกวัน เป็นต้น   持五戒,节俭,每天帮忙做家务等等

เยาวชนเหล่านั้นจึงเป็นเด็กดีของครอบครัว ครูอาจารย์  年轻人成为家人和老师心中的好孩子

และเป็นกำลังสำคัญของชาติต่อไป

成为未来国家的栋梁

การเผยแผ่เชิงรุกนำพระพุทธศาสนาไปต่างประเทศ

积极主动弘扬佛法到国外

หากศาสนาพุทธอยู่แต่ในอินเดียก็คงสูญสิ้นจากโลกใบนี้ไปแล้ว

如果佛教只在印度本土弘扬,

恐怕如今早已没有佛教

เราจึงจำเป็นต้องเผยแผ่ไปยังต่างประเทศด้วย  所以我们必须将佛法弘扬到国外

เหมือนในสมัยพุทธกาล   就像佛陀时代那样

ชาวไทยเรามีรากฐานผูกพันกับพระพุทธศาสนามายาวนานกว่า 2000 ปีมาแล้ว

泰国人和佛教所结的因缘已有两千多年了

หากชาวพุทธตื่นตัว ทั้งพระทั้งโยม  如果出家人和在家人都觉醒了

สามัคคีร่วมใจกัน เผยแผ่ศาสนาเชิงรุก 一起团结合作,一同积极主动弘扬佛法

ก็จะทำให้พระพุทธศาสนาพลิกฟื้นกลับมารุ่งเรืองได้อีกครั้ง  将会使佛教再度繁荣兴盛起来

และศีลธรรมความสงบร่มเย็นก็จะกลับคืนมาสู่มวลมนุษยชาติในที่สุด

最后复兴道德,让世界走向真正的和平