การอธิษฐานจิต
เป้าหมายชีวิตนั้นมีความสำคัญมาก หากเรามีเป้าหมาย ความคิด คำพูด และการกระทำทุกอย่างในแต่ละวันจะมุ่งไปสู่เป้าหมายที่เราตั้งไว้
การอธิษฐาน คนโดยทั่วไปเข้าใจว่า คือการบอกเล่าความทุกข์กับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และขอในสิ่งที่เราต้องการ หรือให้ชีวิตเราดำเนินไปให้ถึงเป้าหมายชีวิตได้อย่างราบรื่น ไม่มีอุปสรรค โดยที่ไม่ได้ลงทุนลงแรงทำอะไรเลย ดังนั้นจึงทำให้คนรอบข้างคิดว่า คนที่อธิษฐานจิตนั้นเป็นคนงมงาย ไม่มีเหตุผล ดังนั้นขอให้ทำความเข้าใจเสียใหม่ก่อนว่า การอธิษฐานจริงๆแล้วไม่ใช่การ “ขอ” แต่อย่างใด
การอธิษฐานจิตนั้น เป็นการล็อคเป้าหมายว่าเราจะทำสิ่งใดให้สำเร็จลุล่วงไป ถือเป็นเข็มทิศของจิตและชีวิตของคนๆ นั้นเป็นการสร้างพลังจิตให้เข้มแข็ง จะมีการเตรียมการและดำเนินชีวิตเพื่อให้ไปถึงเป้าหมาย โดยอาศัย “บุญ” ที่สั่งสมมาเป็นงบประมาณ ช่วยส่งเสริมให้เกิดความสำเร็จขึ้นมา
ยกตัวอย่าง เราวางแผนไปให้ถึงสถานที่แห่งหนึ่งซึ่งไกลมาก ดังนั้นจึงต้องเตรียมรถยนต์ น้ำมัน แผนที่ การที่จะได้มาซึ่งสิ่งเหล่านี้ก็ต้องใช้เงินในการซื้อมา ซึ่งเงินในที่นี้ก็เปรียบเสมือนกับ “บุญ”นั่นเอง และ“บุญ” นั้น สามารถทำได้ด้วยการทำความดี เช่นทำทาน ด้วยการสงเคราะห์ ด้วยการรักษาศีล หรือนั่งสมาธิ และอธิษฐานเอาบุญที่เคยสั่งสมมานั้น ทำให้คนเรามีร่างกายที่บริบูรณ์ มีสติปัญญา ไม่ขัดสนเรื่องเงินทองในการดำรงชีวิตอย่างไม่มีปัญหา เพื่อให้สร้างความดีสั่งสมบุญให้มากยิ่งๆขึ้นไป จนสามารถไปสู่เป้าหมายชีวิต คือ การกำจัดกิเลส พบความสุขที่แท้จริงได้
อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าเราจะอธิษฐานตั้งผังขึ้นมาหรือไม่ เมื่อถึงเวลาแล้ว บุญก็จะส่งผลออกมาตามปกติ แต่ถ้าเราไม่ได้อธิษฐานตั้งผังเอาไว้ให้ดี พอบุญส่งผล บางทีบุญที่เกิดขึ้นอาจจะไม่ไปเสริมการทำความดี เช่น ได้ร่างกายที่แข็งแรง ร่ำรวย มีปัญญา แต่กลับใช้ชีวิตไปสร้างความชั่ว ซึ่งเป็นการสวนทางต่อการไปสู่เป้าหมายชีวิตก็ได้
สร้างบุญ(ทาน ศีล สมาธิ)èอธิษฐานจิต ใช้บุญ(รวย แข็งแรง ปัญญา)และตอกย้ำเป้าหมายชีวิต èราบรื่น และสร้างบุญได้มากขึ้นèไปสู่เป้าหมายชีวิต
วิธีการตั้งจิตอธิษฐาน
1.นั่งขัดสมาธิ หลับตาเบาๆพอสบายๆคล้ายกับเราใกล้จะนอนหลับ อย่ากดลูกนัยน์ตา ปรับท่านั่งให้อยู่ในท่าที่สบาย ผ่อนคลายร่างกายทุกส่วน
2.ใจต้องมีความสงบแน่วแน่เป็นสมาธิ โดยน้อมนำใจที่ซัดส่ายอยู่ภายนอก น้อมเข้ามาตั้งอยู่ที่ศูนย์กลางกาย บริเวณกลางท้องอย่างเบาๆ สบายๆ
- นึกถึงบุญ หรือภาพแห่งการทำความดีที่ได้กระทำมา เพื่อให้จิตสงบผ่องใส ชุ่มชื่น
- อธิษฐานจิตนึกเชื่อมบุญกุศลที่เคยสั่งสมมา กับสิ่งที่ปรารถนาเอาไว้ ต้องทำใจนิ่งๆ อย่าท่องในใจโดยใช้กำลัง ซึ่งก็สำเร็จเหมือนกัน แต่ช้า แต่ให้นึกภาพของเรื่องที่จะอธิษฐาน ให้เบาๆ เหมือนเป็นสำนึกลึกๆ ละเอียดๆภายในใจของเรา เหมือนเสียงเพลงที่อยู่ในใจและออกมาในใจโดยที่เราไม่ได้ตั้งใจ เหมือนการกระดิกจิต
- อธิษฐานใช้บุญ ให้เป็นไปเพื่อเป้าหมายได้โดยสะดวก โดยพื้นฐานคือ ให้บริบูรณ์ทั้ง3ด้านคือ สุขภาพร่างกายสมบูรณ์ มีทรัพย์ใช้จ่ายไม่ขัดสน มีสติปัญญาเฉียบแหลม ทั้งหมดนี้ให้เป็นไปเพื่อการดำเนินชีวิตที่ราบรื่น มีความสุข พร้อมทั้งยังสามารถช่วยเหลือบุคคลรอบข้าง ให้มีความสุขดำเนินชีวิตไปสู่เป้าหมายได้โดยง่าย โดยเร็วพลัน
หลังจากที่เราทำบุญ ทำความดีแล้ว ควรตั้งจิตอธิษฐานในใจเน้นย้ำๆ ซ้ำๆ ไปบ่อยๆ เป็นประจำ เพื่อเป็นการตอกย้ำเจตนาทางจิตและจะส่งผลไปสู่การปฏิบัติ ซึ่งจะทำให้เราสามารถดำเนินชีวิตไปสู่เป้าหมาย คือ ความสุขที่ยั่งยืนอย่างราบรื่นและรวดเร็วได้ในที่สุด
Making Resolutions
Having goals in life is very important. If we have goals, our daily actions, speech, and thoughts would go towards achieving those goals.
People in general regard the making of resolutions as a process of lamenting our suffering to something sacred and asking for things we want or for life to proceed smoothly and effortlessly towards our goals without hindrances.
Many tend to view individuals who make resolutions as foolish and illogical. Therefore, we should first clarify that making resolutions is not about ‘asking’ for something.
Making resolution is a way to stay locked in to our goals until they’re achieved. It is a compass for our life and mind and it strengthen our mental fortitude. It’s a way to prepare ourselves and to live life in order to achieve our goals, while using merit that we have accumulated in the past as the driving force.
For example, when we plan to travel to a place far away, we must prepare the car, fuel, map, etc. To obtain these things, money is required. Money in this case can be compared to merit that can be accrued by doing good deeds, for example, giving, helping others, upholding the precepts, or meditating. We then make a resolution using our accumulated merit to help us be healthy, intelligent, and sufficiently wealthy in order to live a carefree life; a virtuous life that allows us to perform more wholesome deeds and accumulate more merit until we achieve life’s ultimate goals—eradicate defilements and attain true happiness.
Merit will give its effects when it’s time, whether we make a resolution or not. However, if we did not make a resolution and carefully design a blueprint, when the merit fruits it may not support our effort to do wholesome deeds. We may be endowed with a strong healthy body, wealth, and intelligence, but if these things are used to commit evil deeds it would go completely against our life’s goals.
Accumulate merit (Dana, Sila, Samadhi) →
Make resolutions using the merit (health, wealth, intelligence)
with an emphasis on life’s goals →
Lead a comfortable life and be able to perform even more merit →
Achieve life’s goals
Steps in making resolutions
- Sit in a half-lotus position or comfortably in a chair. Softly close your eyes as if you are about to fall asleep. Relax every part of your body so that it is free from tension. Adjust your sitting position so that you feel relaxed.
- Allow your mind to come to a standstill by gently letting it rest at the center of your body.
- Reflect on the merit or images of the wholesome deeds that you performed so that your mind is radiant and relaxed.
- Link the merit that we have accumulated in the past with what we aspire. Make sure your mind is still. Do not recite your resolutions or do it forcefully because that brings aboutsuccess slowly. Instead, gently imagine what we wish to achieve like a sense deep within, similar to the way a song pops in your head naturally without effort.
- Make resolutions using the merit as a tool to easily achieve your goals by having these three fundamental qualities: a healthy body, sufficient wealth, and great intelligence. All this so we can lead a smooth and happy life that will allow us to help others to be happy and to easily reach their goals.
After performing wholesome deeds, we should reaffirm our resolutions consistently in order to reinforce our commitment which ultimately affects our actions. This will allow us to proceed happily with our life and towards achieving our goals.
发愿
生命的目标尤为重要,如果我们树立好目标,那么我们每天的身、口、意,都会为实现目标而精进。
关于发愿,有人认为是在向神灵诉苦,然后求取自己所需之物,或者渴望快速实现人生目标,不会遇到任何障碍,也无需任何付出。这样发愿者可能会被身边的人,当作是愚昧迷信,无理无据之人。因此,希望大家能重新认识发愿的定义,事实上发愿并非“索求”。
发愿是为了树立目标,同时为实现目标而精进。将之看作心灵和生命的指南针,让内心不断变得强大的同时,也为实现目标做好准备。用累积的功德去投资,帮助自己成功实现目标。
举一个例子,譬如我们计划前往一个遥远的地方,因此需要准备汽车、汽油和地图。但要获得这些工具,就要付出金钱,而金钱其实就是功德。要想累积功德,就要积极行善,例如布施、持戒和打坐。利用累积的功德发愿,愿自己身体健全,智慧如海,生活富足,以便能继续顺利地行善积德。最终实现生命的目标,即断尽烦恼,获得真正的快乐。
无论如何,不管我们是否发愿构建一个蓝图,只要因缘成熟,功德也同样会回报。但如果我们没有发愿,构建清晰的蓝图,当因缘成熟,功德回报时,有时可能没有成为行善的助缘。例如,不但没有助自己具足健全的身体,生活富足,智慧如海,反而助自己去造作恶业,与生命目标背道而驰。
勤修功德(布施、持戒、打坐)è利用功德发愿(富有、健康、智慧)è对生命目标加深认知è不断增长功德è实现生命目标
发愿的方法
- 盘腿打坐,轻轻地闭上眼睛,就像睡着时一样放松,不要用力挤压眼珠,采用轻松的坐姿,放松全身各个部位。
- 收摄心念入定,即将攀缘于外在的心牵引回来,轻松舒服地安住在身体中央,即腹部的中心。
3.意念功德或者观想善行,让心次第明亮清凉。
4.发愿时要意念所修的功德,此时心应静定无他,不要用力去默念,虽然也可以如愿,但是会比较迟。可以轻轻观想发愿的画面,仿佛内心潜在的知觉。发愿就像是来自内在的声音,不经意的从内心散发出来。
5.利用功德发愿,以便顺利的实现目标。即圆满三个基本方面,分别为:具足健全的身体;生活富足;智慧如海。这些将有助于自己拥有幸福快乐的人生,同时还可以援助他人,最终顺利实现生命目标。
当我们行善积德后,可以经常反复发愿,在加深印象的同时,也会对实修产生积极的影响。使我们能够最终实现目标,即顺利快速地收获永恒之乐。