ปฏิบัติธรรมร่วมกันทุกวันอาทิตย์พร้อมกันทั่วโลก (Th En Ch)

ปฏิบัติธรรมร่วมกันทุกวันอาทิตย์พร้อมกันทั่วโลก Worldwide Meditation Sunday 每周日共修打坐   สมาธิ มีความหมายว่าการตั้งมั่นแห่งจิต  หรือการตั้งมั่นของจิตใจที่ไม่หวั่นไหวต่อสิ่งภายนอกที่เข้ามากระทบ  ดังนั้นผู้ที่ปฏิบัติสมาธิเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ จึงเป็นผู้ที่มีสติ  จิตใจหนักแน่น เมื่อปฏิบัติไปนานๆ จะก่อให้เกิดปัญญา มองเห็นทุกอย่างตามความเป็นจริง แม้เมื่อเกิดปัญหาก็สามารถหาทางแก้ไขได้อย่างตรงจุด ใจหยุดใจนิ่ง เปรียบเสมือนน้ำใสที่ตะกอนนอนก้นแล้ว สิ่งที่อยู่ใต้น้ำมีอะไรบ้าง ก็เห็นได้อย่างชัดเจน Meditation is a natural process of stilling the mind to be peaceful and focused at one point so that it will not be affected or stirred by internal or external matters. One who practices meditation…

บุญคืออะไร (Th En Ch)

“บุญ” “Punna” or “Merit” 功德   คุณเคยสังเกตหรือไม่? เวลาเราทำสิ่งดีๆ ช่วยเหลือผู้อื่น ไม่ว่าจะช่วยด้วยแรงกาย แรงสติปัญญา แบ่งปันสิ่งของ หรือพูดให้กำลังใจ จนทำให้เขามีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น แม้บางครั้งเราจะเหนื่อย แต่กลับรู้สึกอิ่มเอิบเบิกบาน ภาคภูมิใจ มีความสุข จากการที่เราได้เป็นผู้ให้ ความรู้สึกอิ่มเอิบเบิกบาน ความสุขที่เกิดขึ้นในใจนั้น ก็คืออาการของ “บุญ” นั่นเอง Have you ever noticed that whenever you do something to help someone such as sharing what you have with him, giving him encouragement, lending him money in times of need, etc.,…

ธัมมจักกัปปวัตตนสูตรกับความยั่งยืนของพระพุทธศาสนา (Th En Ch)

ธัมมจักกัปปวัตตนสูตรกับความยั่งยืนของพระพุทธศาสนา 《转法轮经》与佛教的长盛不衰 Dhammacakkappavattana Sutta and the Longevity of Buddhism บทสวดธัมมจักกัปปวัตนสูตรเรียกได้ว่าเป็นพระสูตรบทแรกในพระพุทธศาสนา พระสัมมนาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสสอนเป็นครั้งแรกแก่ปัญจวคีย์ทั้ง 5 ทำให้ในครั้งนั้นเกิดพระรัตนตรัยครบองค์ 3 พระอัญญาโกณทัญญะได้ดวงตาเห็นธรรม บรรลุธรรมเป็นพระโสดาบัน ในวันอาสาฬหบูชา ด้วยความสำคัญอย่างนี้ชาวพุทธจึงให้ความสำคัญกับพระสูตรบทนี้มาก แม้เป็นบทสวดที่ค่อนข้างยาวซึ่งใช้เวลาในการสวดราว 20-30 นาที แต่ผู้คนจำนวนมากยังนิยมสวดธัมมจักกัปปวัตนสูตรกันจนเป็นกิจวัตร เนื่องจากในการสวดทุกรอบล้วนเป็นสิริมงคลกับชีวิต ยิ่งไปกว่านั้นการสวดธัมมจักกัปวัตนสูตรยังส่งผลให้สังคมสงบสุขและเป็นความยั่งยืนของพระพุทธศาสนาอีกด้วย 《转法轮经》被称为佛教第一部经典,即佛陀首次向五比丘宣说佛法,也是三宝具足之日。阿若憍陈如当下证得法眼,成就须陀洹果。正是由于它如此的重要,所以佛教徒十分重视这部经典。虽然它是一部相当长的经文,需要约20至30分钟才能诵完,但仍有许多人每天坚持诵《转法轮经》。因为每诵一遍经不仅可以给自己的人生带来吉祥,还有助于促进社会的安宁以及佛教的长盛不衰。 The Dhammacakkappavattana Sutta, also known as the inaugural sutta in Buddhism, was the very first sermon given by the Lord Buddha to the Five Ascetics or Pancavaggiya (the first five…

ขั้นตอนการนั่งสมาธิ The way to meditate (Th En Ch Ge)

วิธีการฝึกสมาธิ 静坐方法 How to Meditate Wie meditiere ich?   สมาธิ คือ ความสำรวมใจให้แน่วแน่ ไม่ฟุ้งซ่าน ยิ่งจิตใจของเรานิ่งได้มากเท่าไหร่ ก็ยิ่งมีพลังมากขึ้นเท่านั้น คล้ายกับวิธีการโฟกัสแสงแดดเพื่อจุดไฟ ต้องรวมแสงไปที่จุดโฟกัสนานระดับหนึ่ง จนสามารถจุดไฟให้ติดได้ การทำสมาธิเป็นเรื่องสากล ทุกคนไม่ว่าจะมีความแตกต่างกันที่สัญชาติ ภาษา เพศ หรืออายุเท่าใด ก็สามารถเรียนรู้และฝึกสมาธิได้ 静坐指令心专注,达到静定不散乱的状态。心越静定,就越有力量,犹如聚集阳光,使之形成焦点,然后点燃柴火一般。静坐是一种国际性的,任何国籍、语言、性别和年龄的人,都可以学习。 Meditation helps us to have more focus and greater clarity. The more our mind is able to be still, the more powerful it becomes. In the same way that a…

คำสอนหลวงปู่ (Th En Ch)

คำสอนหลวงปู่ แปลเป็นภาษาอังกฤษโดย ดร. อนัญญา เมธมนัส มี.ค. ๒๕๖๓   พระธรรมเทศนา พระมงคลเทพมุนี( สด จนฺทสโร) 帕蒙坤贴牟尼祖师   Script 1 “ในโลกมนุษย์ ถ้าเรามีบุญเสียแล้ว จะค้าขายก็ร่ำรวย จะทำงานทำกิจการอะไรก็เจริญ จะหาทรัพย์สมบัติก็ได้คล่องสะดวก สบายไม่ติดขัดแต่ประการใด ถ้าว่าไม่มีบุญแล้วจะทำอะไรก็ติดขัดไปเสียทุกอย่างทุกประการ ดังนั้น จึงได้ชวนพวกเราให้มาทำบุญ ทำกุศลเสีย จะได้เลิกจนเลิกทุกข์ยากลำบากเสียที” “On this earth, if one possesses Punna (merit), one will meet with success and material wealth whatever one chooses to do for a living. Without Punna, one’s path…

กิจวัตร10 ของพระภิกษุ (Th En Ch)

กิจวัตร10 ของพระภิกษุ  ที่จะทำให้ใจเกาะเกี่ยวกับความเป็นพระและใจจะอยู่กับเนื้อกับตัว เป็นการฝึกสติและสบายควบคู่ไปกับกิจวัตรประจำวัน 1 บิณฑบาต 2 กวาดลานวัด 3 ปลงอาบัติ 4 ทำวัตร สวดมนต์ เจริญภาวนา 5 พิจารณาปัจจเวกขณ 6 อุปัชถากอุปัชฌาย์อาจารย์ 7 บริหารขันธ์ สิ่งของและร่างกาย 8 ศึกษาพระธรรมวินัย 9 เอาใจใส่กิจของสงฆ์ 10 ดำรงตนให้น่าไหว้ Ten Duties of A Bhikkhu 1. Do the alms round to serve as a field of puñña for lay people. 2. Look after the cleanliness of the temple.…

ฝึกใจ(Th En Ch)

ฝึกใจ ตั้งใจหลับตาเจริญสมาธิกันนะ หลับตาเบาๆ พอสบายๆ ผ่อนคลายทุกส่วนของร่างกายของเรานะจ๊ะ ตั้งแต่ศีรษะถึงพื้นเท้า ให้ผ่อนคลาย ปรับท่านั่งให้ถูกส่วน ขยับเนื้อขยับตัว ให้เลือดลมของเราเดินได้สะดวก ผ่อนคลาย แล้วก็รวมใจไปหยุดนิ่งๆ นุ่มๆ ที่ศูนย์กลางกายฐานที่ 7 อย่างสบายๆ ทำใจให้หยุดในหยุดๆ นิ่งในนิ่ง นิ่งๆ นุ่มๆ เบาๆ สบายๆ  ไปที่กลางดวงใสๆ ที่ใสเหมือนกับเพชรที่จาระไนแล้ว ไม่มีตำหนิเลย กลมรอบตัวเหมือนดวงแก้วใส บริสุทธิ์ สว่างเหมือนดวงอาทิตย์ยามเที่ยงวัน ใสเย็นเหมือนแสงจันทร์ในคืนวันเพ็ญ ให้ค่อยๆ ตรึกระลึกนึกถึงอย่าง เบาๆ สบายๆ ไม่ชัดเจนก็ไม่เป็นไรเพราะว่าวัตถุประสงค์ต้องการให้เอาใจมาหยุดอยู่ที่ศูนย์กลางกายฐานที่ 7 ซึ่งอยู่ในกลางท้องของเรา ในระดับที่เหนือจากสะดือขึ้นมา 2 นิ้วมือ ซึ่งเป็นต้นทางที่จะไปสู่อายตนนิพพาน ทางบรรลุมรรคผลนิพพาน ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระอรหันต์ทั้งหลายท่านหยุดใจอยู่ที่ตรงนี้ ที่ศูนย์กลางกายฐานที่  7 จนกระทั่งถูกส่วน แล้วก็เข้าถึงสิ่งที่มีอยู่ในตัวจนกระทั่งหลุดพ้นจากกิเลสอาสวะ ไปสู่อายตนนิพพานได้ ดับทุกข์ได้ หลุดพ้นจากทุกข์ได้ เข้าถึงเอกังตบรมสุข สุขอย่างยิ่งอย่างเดียว นี้คือต้นทางที่จะดำเนินรอยตามพระสัมมาสัมพุทธเจ้าดังกล่าวนั้น อย่างน้อย ณ…

ม้าพยศ(Th En Ch)

ม้าพยศ (เมื่อเราได้สวดมนต์บูชาพระรัตนตรัยกันเสร็จเรียบร้อยแล้ว ต่อจากนี้ไปตั้งใจเจริญสมาธิภาวนากันนะ…………) …คราวนี้เราก็มาทบทวนหลักวิชชาที่พระเดชพระคุณหลวงปู่ฯท่านได้อบรมสั่งสอนมา ซึ่งสรุปได้ว่า “หยุดเป็นตัวสำเร็จ” คือใจที่แวบไปแวบมาคิดไปในเรื่องราวต่างๆ เรานำกลับมาหยุดนิ่งๆ ในศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ ซึ่งอยู่ตรงกลางท้อง เหนือสะดือขึ้นมา ๒ นิ้วมือ จะเห็นได้ชัดต่อเมื่อใจหยุดได้สนิท ท่านให้เอาใจมาหยุดนิ่งๆ อยู่ที่ตรงนี้ จะนึกเป็นภาพหรือจะไม่นึกก็ไม่เป็นไร ภาพที่นึกเพื่อเป็นที่ยึดที่เกาะของใจเรา จะเป็นดวงแก้ว องค์พระใสๆ หรือเป็นสิ่งที่เราคุ้นเคย จะเป็นเพชรนิลจินดาผลหมากรากไม้ หรืออะไรก็แล้วแต่ที่เราคุ้นเคย จะต้องเป็นวัตถุที่นำมาซึ่งความบริสุทธิ์ของกายวาจาใจ ทำให้ใจเราสูงส่ง ไม่กำหนัดยินดีในกาม ในความพยาบาท หรือความคิดเบียดเบียน เป็นต้น นึกอย่างสบายที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ พร้อมกับประคองใจของเราด้วยบริกรรมภาวนา สัมมา อะระหัง เรื่อยไปเลย คือให้นิมิตนี้เป็นเหมือนกับหลักของใจ ที่ผูกใจซึ่งซัดส่ายไปในเรื่องราวต่างๆ ให้มันหยุดนิ่งๆ ถ้าเราไม่เผลอจากบริกรรมทั้งสอง ใจก็จะหยุดนิ่งได้ ใจเรามันเหมือนม้าพยศ ม้าพยศไม่ค่อยจะอยู่ในอำนาจของเรา มันก็จะแถกๆ ไถๆ ไปตามอารมณ์ของมัน ใจก็เหมือนกันเราอยากจะให้นิ่งๆ แต่มันก็จะคิดเรื่องโน้น เรื่องนี้ เรื่องคนบ้าง สัตว์บ้าง สิ่งของ ธุรกิจการงาน บ้านช่อง สิ่งที่ผ่านมาแล้วในอดีตบ้างสิ่งที่ยังมาไม่ถึงในอนาคตบ้างเหมือนม้าพยศ…

ฐานที่ ๗ ตำแหน่งของผู้รู้(Th En Ch)

ฐานที่ ๗ ตำแหน่งของผู้รู้ (เมื่อเราได้สวดมนต์บูชาพระรัตนตรัยกันเสร็จเรียบร้อยแล้ว ต่อจากนี้ไปตั้งใจเจริญสมาธิภาวนากันนะ…………) …ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ เป็นตำแหน่งที่สำคัญที่สุดในชีวิตของเราที่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์ เพราะว่าเป็นตำแหน่งเดียวที่จะทำให้เราหลุดพ้นจากกิเลสอาสวะหรือความทุกข์ทั้งปวงได้ อย่างน้อยก็เข้าถึงความสุขภายใน สุขยิ่งใหญ่ที่ไม่มีประมาณอย่างที่เราไม่เคยเจอมาก่อนในชีวิต ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ นี้เป็นตำแหน่งเดียวกันกับที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกพระองค์นับอสงไขยพระองค์ไม่ถ้วน เมื่อท่านทิ้งทุกอย่าง ปล่อยวางทุกสิ่งแล้ว ใจก็มาหยุดนิ่งอยู่ที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ ตรงนี้ หยุดนิ่งอย่างเดียวตั้งแต่เบื้องต้นจนกระทั่งบรรลุอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อพระองค์นำมาอบรมสั่งสอนพระสาวก พระสาวกก็ทำตามโดยนำใจมาหยุดนิ่งอยู่ที่ตรงนี้ เมื่อทิ้งทุกอย่าง ปล่อยวางทุกสิ่งแล้ว ใจจะกลับมาหยุดนิ่งอยู่ที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ แล้วก็ตกศูนย์เข้าไปสู่ภายใน แล้วก็มีดวงธรรมเป็นดวงใสๆ ลอยขึ้นมา อย่างเล็กขนาดดวงดาวในอากาศอย่างกลางขนาดพระจันทร์ในคืนวันเพ็ญอย่างใหญ่ขนาดพระอาทิตย์ยามเที่ยงวันสว่างเหมือนดวงอาทิตย์ยามเที่ยงวันหรือยิ่งกว่านั้น แต่จะใสเหมือนนํ้าบ้าง เหมือนกระจกบ้าง เหมือนเพชรบ้างหรือยิ่งกว่านั้นบ้าง แล้วแต่ตามกำลังบารมีที่ไม่เท่ากัน แล้วในที่สุดก็ได้บรรลุมรรคผลนิพพาน เป็นพยานในการตรัสรู้ธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งมีมากมายนับไม่ถ้วนทีเดียว เพราะฉะนั้นตำแหน่งฐานที่ ๗ จึงสำคัญมาก ซึ่งพญามารบดบังเอาไว้ไม่ให้เราได้มารู้ มาเห็น มาเข้าใจหรือมาหยุดนิ่งตรงนี้ บดบังเอาไว้จนกระทั่งเราไม่รู้จักตำแหน่งนี้เลย ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ทำให้เราดับทุกข์ได้ อีกทั้งพญามารยังดึงใจของเราให้หลุดออกจากฐานที่ ๗ ตรึงไปติดในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมณ์แล้วก็เอากฎแห่งกรรมบังคับเอาไว้ ใจก็จะวนเวียนอยู่กับสิ่งเหล่านั้น ที่เรียกว่าเป็นสิ่งที่ทำให้เนิ่นช้าต่อการบรรลุมรรคผลนิพพาน…

ชีวิตที่ถูกหลอก(Th En Ch)

ชีวิตที่ถูกหลอก (เมื่อเราได้สวดมนต์บูชาพระรัตนตรัยกันเสร็จเรียบร้อยแล้ว ต่อจากนี้ไปตั้งใจเจริญสมาธิภาวนากันนะ…….) …คราวนี้เราก็นึกน้อมเอาภาพองค์พระแก้วขาวใส ที่อยู่ในกลางดวงแก้ว มองจากเศียรพระด้านบนลงล่าง ให้จำภาพองค์พระกลางดวงแก้วนี้ไว้ให้ดี แล้วก็น้อมมาตั้งไว้ที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ ซึ่งอยู่ในกลางท้องของเรา ในระดับที่เหนือจากสะดือขึ้นมา ๒ นิ้วมือหรือจำง่ายๆ ว่า อยู่ในกลางท้อง จำได้แค่ไหนก็เอาแค่นั้น จะใหญ่จะเล็กขนาดไหนก็แล้วแต่ใจเราชอบ ตั้งไว้ในกลางท้องกลางกายของเรา ให้ท่านหันหน้าออกไปทางเดียวกับตัวของเราเพราะฉะนั้นลักษณะที่เรามองเห็นก็เหมือนมองท็อปวิว(Top View) คือ มองจากด้านบนลงไปด้านล่าง ซึ่งจะเป็นลักษณะขององค์พระที่ปรากฏภายใน ในตอนแรกๆ เราจะเห็นอย่างนี้ไปก่อน ของจริงก็จะคล้าย ๆอย่างนี้ แต่ว่าจะเห็นเต็มส่วน แล้วก็จะเห็นได้รอบตัวรอบทิศ แต่ตอนแรกๆ มันจะคล้ายๆ อย่างนี้ เราก็จำภาพอย่างนี้ไปก่อน ทีนี้เราก็เอาใจมาหยุดนิ่งๆ คือ นึกภาพองค์พระไม่ให้คลาดจากใจ แต่ต้องอย่างสบายๆ จะประคองใจด้วยบริกรรมภาวนา สัมมา อะระหัง ไปด้วยก็ได้แต่เวลาภาวนา สัมมา อะระหัง ต้องให้เสียงดังออกมาจากในกลางท้องหรือกลางองค์พระ เป็นจังหวะที่พอดี ไม่ช้าไม่เร็วเกินไป และจะภาวนากี่ครั้งก็ได้ จนกว่าจะไม่อยากภาวนา คือ หมดความจำเป็นเกลี้ยงจากใจ ก็จะเหลือแต่ภาพองค์พระกลางดวงแก้วใสๆ ที่ต้องให้เอาใจมาหยุดนิ่งที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ โดยการกำหนดบริกรรมนิมิตเป็นภาพองค์พระกลางดวงแก้ว แล้วภาวนา…