กิจวัตร10 ของพระภิกษุ (Th En Ch)

กิจวัตร10 ของพระภิกษุ  ที่จะทำให้ใจเกาะเกี่ยวกับความเป็นพระและใจจะอยู่กับเนื้อกับตัว เป็นการฝึกสติและสบายควบคู่ไปกับกิจวัตรประจำวัน 1 บิณฑบาต 2 กวาดลานวัด 3 ปลงอาบัติ 4 ทำวัตร สวดมนต์ เจริญภาวนา 5 พิจารณาปัจจเวกขณ 6 อุปัชถากอุปัชฌาย์อาจารย์ 7 บริหารขันธ์ สิ่งของและร่างกาย 8 ศึกษาพระธรรมวินัย 9 เอาใจใส่กิจของสงฆ์ 10 ดำรงตนให้น่าไหว้ Ten Duties of A Bhikkhu 1. Do the alms round to serve as a field of puñña for lay people. 2. Look after the cleanliness of the temple.…

ฝึกใจ(Th En Ch)

ฝึกใจ ตั้งใจหลับตาเจริญสมาธิกันนะ หลับตาเบาๆ พอสบายๆ ผ่อนคลายทุกส่วนของร่างกายของเรานะจ๊ะ ตั้งแต่ศีรษะถึงพื้นเท้า ให้ผ่อนคลาย ปรับท่านั่งให้ถูกส่วน ขยับเนื้อขยับตัว ให้เลือดลมของเราเดินได้สะดวก ผ่อนคลาย แล้วก็รวมใจไปหยุดนิ่งๆ นุ่มๆ ที่ศูนย์กลางกายฐานที่ 7 อย่างสบายๆ ทำใจให้หยุดในหยุดๆ นิ่งในนิ่ง นิ่งๆ นุ่มๆ เบาๆ สบายๆ  ไปที่กลางดวงใสๆ ที่ใสเหมือนกับเพชรที่จาระไนแล้ว ไม่มีตำหนิเลย กลมรอบตัวเหมือนดวงแก้วใส บริสุทธิ์ สว่างเหมือนดวงอาทิตย์ยามเที่ยงวัน ใสเย็นเหมือนแสงจันทร์ในคืนวันเพ็ญ ให้ค่อยๆ ตรึกระลึกนึกถึงอย่าง เบาๆ สบายๆ ไม่ชัดเจนก็ไม่เป็นไรเพราะว่าวัตถุประสงค์ต้องการให้เอาใจมาหยุดอยู่ที่ศูนย์กลางกายฐานที่ 7 ซึ่งอยู่ในกลางท้องของเรา ในระดับที่เหนือจากสะดือขึ้นมา 2 นิ้วมือ ซึ่งเป็นต้นทางที่จะไปสู่อายตนนิพพาน ทางบรรลุมรรคผลนิพพาน ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระอรหันต์ทั้งหลายท่านหยุดใจอยู่ที่ตรงนี้ ที่ศูนย์กลางกายฐานที่  7 จนกระทั่งถูกส่วน แล้วก็เข้าถึงสิ่งที่มีอยู่ในตัวจนกระทั่งหลุดพ้นจากกิเลสอาสวะ ไปสู่อายตนนิพพานได้ ดับทุกข์ได้ หลุดพ้นจากทุกข์ได้ เข้าถึงเอกังตบรมสุข สุขอย่างยิ่งอย่างเดียว นี้คือต้นทางที่จะดำเนินรอยตามพระสัมมาสัมพุทธเจ้าดังกล่าวนั้น อย่างน้อย ณ…

ม้าพยศ(Th En Ch)

ม้าพยศ (เมื่อเราได้สวดมนต์บูชาพระรัตนตรัยกันเสร็จเรียบร้อยแล้ว ต่อจากนี้ไปตั้งใจเจริญสมาธิภาวนากันนะ…………) …คราวนี้เราก็มาทบทวนหลักวิชชาที่พระเดชพระคุณหลวงปู่ฯท่านได้อบรมสั่งสอนมา ซึ่งสรุปได้ว่า “หยุดเป็นตัวสำเร็จ” คือใจที่แวบไปแวบมาคิดไปในเรื่องราวต่างๆ เรานำกลับมาหยุดนิ่งๆ ในศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ ซึ่งอยู่ตรงกลางท้อง เหนือสะดือขึ้นมา ๒ นิ้วมือ จะเห็นได้ชัดต่อเมื่อใจหยุดได้สนิท ท่านให้เอาใจมาหยุดนิ่งๆ อยู่ที่ตรงนี้ จะนึกเป็นภาพหรือจะไม่นึกก็ไม่เป็นไร ภาพที่นึกเพื่อเป็นที่ยึดที่เกาะของใจเรา จะเป็นดวงแก้ว องค์พระใสๆ หรือเป็นสิ่งที่เราคุ้นเคย จะเป็นเพชรนิลจินดาผลหมากรากไม้ หรืออะไรก็แล้วแต่ที่เราคุ้นเคย จะต้องเป็นวัตถุที่นำมาซึ่งความบริสุทธิ์ของกายวาจาใจ ทำให้ใจเราสูงส่ง ไม่กำหนัดยินดีในกาม ในความพยาบาท หรือความคิดเบียดเบียน เป็นต้น นึกอย่างสบายที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ พร้อมกับประคองใจของเราด้วยบริกรรมภาวนา สัมมา อะระหัง เรื่อยไปเลย คือให้นิมิตนี้เป็นเหมือนกับหลักของใจ ที่ผูกใจซึ่งซัดส่ายไปในเรื่องราวต่างๆ ให้มันหยุดนิ่งๆ ถ้าเราไม่เผลอจากบริกรรมทั้งสอง ใจก็จะหยุดนิ่งได้ ใจเรามันเหมือนม้าพยศ ม้าพยศไม่ค่อยจะอยู่ในอำนาจของเรา มันก็จะแถกๆ ไถๆ ไปตามอารมณ์ของมัน ใจก็เหมือนกันเราอยากจะให้นิ่งๆ แต่มันก็จะคิดเรื่องโน้น เรื่องนี้ เรื่องคนบ้าง สัตว์บ้าง สิ่งของ ธุรกิจการงาน บ้านช่อง สิ่งที่ผ่านมาแล้วในอดีตบ้างสิ่งที่ยังมาไม่ถึงในอนาคตบ้างเหมือนม้าพยศ…

ฐานที่ ๗ ตำแหน่งของผู้รู้(Th En Ch)

ฐานที่ ๗ ตำแหน่งของผู้รู้ (เมื่อเราได้สวดมนต์บูชาพระรัตนตรัยกันเสร็จเรียบร้อยแล้ว ต่อจากนี้ไปตั้งใจเจริญสมาธิภาวนากันนะ…………) …ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ เป็นตำแหน่งที่สำคัญที่สุดในชีวิตของเราที่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์ เพราะว่าเป็นตำแหน่งเดียวที่จะทำให้เราหลุดพ้นจากกิเลสอาสวะหรือความทุกข์ทั้งปวงได้ อย่างน้อยก็เข้าถึงความสุขภายใน สุขยิ่งใหญ่ที่ไม่มีประมาณอย่างที่เราไม่เคยเจอมาก่อนในชีวิต ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ นี้เป็นตำแหน่งเดียวกันกับที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกพระองค์นับอสงไขยพระองค์ไม่ถ้วน เมื่อท่านทิ้งทุกอย่าง ปล่อยวางทุกสิ่งแล้ว ใจก็มาหยุดนิ่งอยู่ที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ ตรงนี้ หยุดนิ่งอย่างเดียวตั้งแต่เบื้องต้นจนกระทั่งบรรลุอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อพระองค์นำมาอบรมสั่งสอนพระสาวก พระสาวกก็ทำตามโดยนำใจมาหยุดนิ่งอยู่ที่ตรงนี้ เมื่อทิ้งทุกอย่าง ปล่อยวางทุกสิ่งแล้ว ใจจะกลับมาหยุดนิ่งอยู่ที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ แล้วก็ตกศูนย์เข้าไปสู่ภายใน แล้วก็มีดวงธรรมเป็นดวงใสๆ ลอยขึ้นมา อย่างเล็กขนาดดวงดาวในอากาศอย่างกลางขนาดพระจันทร์ในคืนวันเพ็ญอย่างใหญ่ขนาดพระอาทิตย์ยามเที่ยงวันสว่างเหมือนดวงอาทิตย์ยามเที่ยงวันหรือยิ่งกว่านั้น แต่จะใสเหมือนนํ้าบ้าง เหมือนกระจกบ้าง เหมือนเพชรบ้างหรือยิ่งกว่านั้นบ้าง แล้วแต่ตามกำลังบารมีที่ไม่เท่ากัน แล้วในที่สุดก็ได้บรรลุมรรคผลนิพพาน เป็นพยานในการตรัสรู้ธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งมีมากมายนับไม่ถ้วนทีเดียว เพราะฉะนั้นตำแหน่งฐานที่ ๗ จึงสำคัญมาก ซึ่งพญามารบดบังเอาไว้ไม่ให้เราได้มารู้ มาเห็น มาเข้าใจหรือมาหยุดนิ่งตรงนี้ บดบังเอาไว้จนกระทั่งเราไม่รู้จักตำแหน่งนี้เลย ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ทำให้เราดับทุกข์ได้ อีกทั้งพญามารยังดึงใจของเราให้หลุดออกจากฐานที่ ๗ ตรึงไปติดในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมณ์แล้วก็เอากฎแห่งกรรมบังคับเอาไว้ ใจก็จะวนเวียนอยู่กับสิ่งเหล่านั้น ที่เรียกว่าเป็นสิ่งที่ทำให้เนิ่นช้าต่อการบรรลุมรรคผลนิพพาน…

ชีวิตที่ถูกหลอก(Th En Ch)

ชีวิตที่ถูกหลอก (เมื่อเราได้สวดมนต์บูชาพระรัตนตรัยกันเสร็จเรียบร้อยแล้ว ต่อจากนี้ไปตั้งใจเจริญสมาธิภาวนากันนะ…….) …คราวนี้เราก็นึกน้อมเอาภาพองค์พระแก้วขาวใส ที่อยู่ในกลางดวงแก้ว มองจากเศียรพระด้านบนลงล่าง ให้จำภาพองค์พระกลางดวงแก้วนี้ไว้ให้ดี แล้วก็น้อมมาตั้งไว้ที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ ซึ่งอยู่ในกลางท้องของเรา ในระดับที่เหนือจากสะดือขึ้นมา ๒ นิ้วมือหรือจำง่ายๆ ว่า อยู่ในกลางท้อง จำได้แค่ไหนก็เอาแค่นั้น จะใหญ่จะเล็กขนาดไหนก็แล้วแต่ใจเราชอบ ตั้งไว้ในกลางท้องกลางกายของเรา ให้ท่านหันหน้าออกไปทางเดียวกับตัวของเราเพราะฉะนั้นลักษณะที่เรามองเห็นก็เหมือนมองท็อปวิว(Top View) คือ มองจากด้านบนลงไปด้านล่าง ซึ่งจะเป็นลักษณะขององค์พระที่ปรากฏภายใน ในตอนแรกๆ เราจะเห็นอย่างนี้ไปก่อน ของจริงก็จะคล้าย ๆอย่างนี้ แต่ว่าจะเห็นเต็มส่วน แล้วก็จะเห็นได้รอบตัวรอบทิศ แต่ตอนแรกๆ มันจะคล้ายๆ อย่างนี้ เราก็จำภาพอย่างนี้ไปก่อน ทีนี้เราก็เอาใจมาหยุดนิ่งๆ คือ นึกภาพองค์พระไม่ให้คลาดจากใจ แต่ต้องอย่างสบายๆ จะประคองใจด้วยบริกรรมภาวนา สัมมา อะระหัง ไปด้วยก็ได้แต่เวลาภาวนา สัมมา อะระหัง ต้องให้เสียงดังออกมาจากในกลางท้องหรือกลางองค์พระ เป็นจังหวะที่พอดี ไม่ช้าไม่เร็วเกินไป และจะภาวนากี่ครั้งก็ได้ จนกว่าจะไม่อยากภาวนา คือ หมดความจำเป็นเกลี้ยงจากใจ ก็จะเหลือแต่ภาพองค์พระกลางดวงแก้วใสๆ ที่ต้องให้เอาใจมาหยุดนิ่งที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ โดยการกำหนดบริกรรมนิมิตเป็นภาพองค์พระกลางดวงแก้ว แล้วภาวนา…

ง่ายจึงจะถูกวิธี(Th En Ch)

ง่ายจึงจะถูกวิธี ต่อจากนี้ไปให้ตั้งใจให้แน่แน่ว มุ่งตรงต่อหนทางพระนิพพานกันทุกๆคน ให้นั่งขัดสมาธิ โดยเอาขาขวาทับขาซ้าย มือขวาทับมือซ้าย ให้นิ้วชี้ของมือข้างขวาจรดนิ้วหัวแม่มือข้างซ้าย วางไว้บนหน้าตักพอสบายๆ   หลับตาของเราเบาๆ    พอสบายๆ  คล้ายกับตอนที่เราใกล้จะหลับ   อย่าไปบีบเปลือกตา  อย่ากดลูกนัยน์ตา  หลับตาพอสบายๆ  แล้วก็ผ่อนคลายทุกส่วนของร่างกายของเรา  ทำใจของเราให้เบิกบาน  ให้แช่มชื่น  ให้สะอาดบริสุทธิ์ผ่องใส  ไร้กังวลในทุกสิ่ง  ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอะไรก็ตาม ให้ปลด  ให้ปล่อย  ให้วาง  ให้คลายความผูกพัน ในสรรพสัตว์สรรพสิ่งทั้งหลาย  ให้ปลด  ให้ปล่อย  ให้วาง  โดยพิจารณาถึงความเป็นจริงของสรรพสัตว์และสรรพสิ่งทั้งหลาย  ไม่ว่าจะเป็นคน สัตว์ สิ่งของ  เมื่อเกิดขึ้นตั้งอยู่  ก็จะไปสู่จุดสลาย  แม้แต่สังขารร่างกายของเราก็เป็นอย่างนี้  ทุกวันทุกคืนทีเดียว  เพราะฉะนั้นให้ปลด ให้ปลดปล่อยวาง ให้คลายความผูกพัน ในช่วงที่เราจะนั่งสมาธิเจริญภาวนา ให้ใจของเราทิ้งทุกอย่าง วางทุกสิ่ง แล้วก็รวมใจไปหยุดนิ่งๆ นุ่มๆ ที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗  ซึ่งอยู่ในกลางท้องของเรา ในระดับที่เหนือจากสะดือขึ้นมา ๒ นิ้วมือโดยสมมุติว่าเราหยิบเส้นด้ายขึ้นมาสองเส้นแล้วนำมาขึงให้ตึง จากสะดือทะลุไปด้านหลังเส้นหนึ่ง จากด้านขวาทะลุไปด้านซ้ายอีกเส้นหนึ่ง ให้เส้นด้ายทั้งสองตัดกันเป็นกากบาท  จุดตัดจะเล็กเท่ากับปลายเข็ม เหนือจุดตัดนี้ขึ้นมาสองนิ้วมือ…

ทางเดินของใจทั้งหมด ๗ ฐาน(Th En Ch)

ทางเดินของใจทั้งหมด ๗ ฐาน ต่อจากนี้ไปให้ตั้งใจให้แน่แน่ว  มุ่งตรงต่อหนทางพระนิพพานกันทุกๆคน   ให้นั่งขัดสมาธิ โดยเอาขาขวาทับขาซ้าย มือขวาทับมือซ้าย ให้นิ้วชี้ของมือข้างขวาจรดนิ้วหัวแม่มือข้างซ้าย วางไว้บนหน้าตักพอสบายๆ  หลับตาของเราเบาๆ  หลับตาเบาๆ พอสบายๆ คล้ายกับตอนที่เราใกล้จะหลับ อย่าไปบีบเปลือกตา อย่ากดลูกนัยน์ตา แล้วก็ทำใจของเราให้เบิกบาน ให้แช่มชื่น ให้สะอาดบริสุทธิ์ผ่องใส ไร้กังวลในทุกสิ่ง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอะไรก็ตาม ให้ปลด ให้ปล่อย ให้วาง ให้ทำใจว่างๆ                                                                                                                        ทีนี้เราก็สมมุติว่าภายในร่างกายของเราปราศจากอวัยวะภายใน ไม่มีมันสมอง ไม่มีปอด ตับ ม้าม ไต หัวใจ เป็นต้น   สมมุติว่าเป็นที่โล่งๆว่างๆ  เป็นปล่อง เป็นช่อง เป็นโพลง กลวงภายใน  คล้ายๆท่อแก้วท่อเพชรใสๆ  สมมุติให้เป็นปล่อง เป็นช่อง เป็นโพลง กลวงภายใน คล้ายท่อแก้ว ท่อเพชรใสๆสติ จะต้องระลึกนึกถึงสิ่งที่ครูบาอาจารย์ท่านแนะนำสั่งสอน  ถ้าของหลวงปู่วัดปากนํ้า ท่านให้กำหนดบริกรรมนิมิตเป็นดวงใสกับบริกรรมภาวนา สัมมา อะระหัง จะต้องไม่เผลอจากบริกรรมทั้งสอง  อย่างนี้เรียกว่า มีสติ แต่วิธีการกำหนดสตินั้นต้องทำอย่างสบายๆ  ตรงนี้สำคัญ…

สติกับสบาย(Th En Ch)

สติกับสบาย ต่อจากนี้ไปตั้งใจเจริญสมาธิภาวนากันนะ ให้น้อมใจตามเสียงของหลวงพ่อไปทุกๆคนนะ  ให้นั่งขัดสมาธิ โดยเอาขาขวาทับขาซ้าย มือขวาทับมือซ้าย ให้นิ้วชี้ของมือข้างขวาจรดนิ้วหัวแม่มือข้างซ้าย วางไว้บนหน้าตักพอสบายๆ หลับตาของเราเบาๆ หลับพอสบายๆ คล้ายๆ กับเรานอนหลับ อย่าไปบีบหัวตาอย่ากดลูกนัยน์ตา ขยับเนื้อขยับตัวของเราให้ดี กะคะเนให้เลือดลมในตัวเดินได้สะดวก เราจะได้ไม่ปวดไม่เมื่อย ความสบายนี้เป็นหัวใจของการปฏิบัติธรรม สติกับสบายจะต้องไปคู่กัน ไม่ว่าเราจะปฏิบัติธรรมด้วยวิธีการอย่างไร จะปฏิบัติแบบไหนก็ตาม หลักมีอยู่ว่าจะต้องให้สติกับสบายไปคู่กัน สติ จะต้องระลึกนึกถึงสิ่งที่ครูบาอาจารย์ท่านแนะนำสั่งสอน  ถ้าของหลวงปู่วัดปากนํ้า ท่านให้กำหนดบริกรรมนิมิตเป็นดวงใสกับบริกรรมภาวนา สัมมา อะระหัง จะต้องไม่เผลอจากบริกรรมทั้งสอง  อย่างนี้เรียกว่า มีสติ แต่วิธีการกำหนดสตินั้นต้องทำอย่างสบายๆ  ตรงนี้สำคัญ อย่าฟังผ่านกันนะ สติกับสบายทั้งสองจะต้องไปคู่กันตลอดเส้นทาง  ตั้งแต่เบื้องต้นจนกระทั่งถึงที่หมายปลายทาง ถ้าไปด้วยกันเมื่อไรจะทำให้ใจเราหยุดนิ่งได้ง่าย และหลังจากใจหยุดแล้วก็จะเข้าถึงดวงธรรมภายใน หลักก็มีอยู่อย่างนี้นะ เพราะฉะนั้น สติกับสบายจะต้องไปคู่กันอย่างสม่ำเสมอ  ทำอารมณ์ของเราให้สม่ำเสมอ  ด้วยใจที่ใส  ใจที่เยือกเย็น อย่านั่งแบบขุ่นมัวเร่าร้อนหรือนั่งแบบฮึดฮัดอย่างนี้ไม่ได้ผล จะต้องทำอารมณ์ให้สบาย ๆ  อารมณ์ที่สบายนั้น ของใครของมันนะ สำหรับท่านที่มาใหม่ ให้ขยับเนื้อขยับตัวกันให้ดี สำหรับท่านั่งที่กล่าวไปเบื้องต้นนั้น เป็นท่านั่งมาตรฐานของการปฏิบัติธรรม ซึ่งหลวงปู่วัดปากนํ้า ภาษีเจริญ ท่านถอดแบบมาจากผู้รู้ภายใน…