ฝึกใจ(Th En Ch)

0
203

ฝึกใจ

ตั้งใจหลับตาเจริญสมาธิกันนะ

หลับตาเบาๆ พอสบายๆ ผ่อนคลายทุกส่วนของร่างกายของเรานะจ๊ะ ตั้งแต่ศีรษะถึงพื้นเท้า ให้ผ่อนคลาย ปรับท่านั่งให้ถูกส่วน ขยับเนื้อขยับตัว ให้เลือดลมของเราเดินได้สะดวก ผ่อนคลาย แล้วก็รวมใจไปหยุดนิ่งๆ นุ่มๆ ที่ศูนย์กลางกายฐานที่ 7 อย่างสบายๆ

ทำใจให้หยุดในหยุดๆ นิ่งในนิ่ง นิ่งๆ นุ่มๆ เบาๆ สบายๆ  ไปที่กลางดวงใสๆ

ที่ใสเหมือนกับเพชรที่จาระไนแล้ว ไม่มีตำหนิเลย กลมรอบตัวเหมือนดวงแก้วใส บริสุทธิ์ สว่างเหมือนดวงอาทิตย์ยามเที่ยงวัน ใสเย็นเหมือนแสงจันทร์ในคืนวันเพ็ญ ให้ค่อยๆ ตรึกระลึกนึกถึงอย่าง เบาๆ สบายๆ ไม่ชัดเจนก็ไม่เป็นไรเพราะว่าวัตถุประสงค์ต้องการให้เอาใจมาหยุดอยู่ที่ศูนย์กลางกายฐานที่ 7 ซึ่งอยู่ในกลางท้องของเรา ในระดับที่เหนือจากสะดือขึ้นมา 2 นิ้วมือ ซึ่งเป็นต้นทางที่จะไปสู่อายตนนิพพาน ทางบรรลุมรรคผลนิพพาน ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระอรหันต์ทั้งหลายท่านหยุดใจอยู่ที่ตรงนี้ ที่ศูนย์กลางกายฐานที่  7

จนกระทั่งถูกส่วน แล้วก็เข้าถึงสิ่งที่มีอยู่ในตัวจนกระทั่งหลุดพ้นจากกิเลสอาสวะ ไปสู่อายตนนิพพานได้ ดับทุกข์ได้ หลุดพ้นจากทุกข์ได้ เข้าถึงเอกังตบรมสุข สุขอย่างยิ่งอย่างเดียว นี้คือต้นทางที่จะดำเนินรอยตามพระสัมมาสัมพุทธเจ้าดังกล่าวนั้น อย่างน้อย ณ ตำแหน่งตรงนี้ก็จะทำให้ เราเข้าถึงความสุขสมหวังในชีวิต ในระดับหนึ่ง ที่พึงพอใจ

แม้จะยังไม่ได้บรรลุมรรคผลนิพพานก็ตาม ก็จะทำให้เรามีที่หยุดใจ ผ่อนคลาย อย่างแท้จริง และสมบูรณ์ ยิ่งกว่าการผ่อนคลายด้วยวิธีการต่างๆ ภายนอก จากการดู การฟัง การดม การดื่ม หรือ การดูอะไรต่างๆ สุขสมบัติอะไรเหล่านั้น สู้สิ่งนี้ไม่ได้เลยแม้แต่เพียงนิดเดียว  เพราะเราแสวงหาความสุขที่แท้จริง เราก็ต้องแสวงหาให้ถูกที่ รู้ว่ามันอยู่ที่ตรงไหน จะทำวิธีการอย่างไร จึงจะเข้าถึงความสุขนั้น เมื่อเราทำถูกหลักวิชา  ถูกสถานที่ ถูกตำแหน่ง เราก็จะเข้าถึงได้ แล้วจะรู้จักความสุขที่แท้จริงที่เราปรารถนานั้นมีลักษณะเป็นอย่างไร มีอารมณ์เป็นอย่างไร แตกต่างจากที่เราเคยคิดว่าสิ่งนั้น สิ่งนี้ คน สัตว์ สิ่งของหรือทิวทัศน์อะไรต่างๆ เป็นต้น จะเป็นสิ่งทำให้ เรามีความสุขสมหวังในชีวิตนั้น มันแตกต่างกันเพียงไร จะรู้ได้เมื่อมีประสบการณ์ภายใน ด้วยการฝึกใจให้หยุดนิ่งๆ นุ่มๆ ที่ศูนย์กลางกายฐานที่ 7 ตรงนี้ ที่เดียวเท่านั้น ทางอื่น ไม่เจอ ไม่พบสมหวัง นอกตัวไม่มีมีแต่ในตัว

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านได้พิสูจน์แล้วและพบแล้ว จึงมายืนยันว่า สุขอื่นนอกจากใจหยุดใจนิ่งนั้น ไม่มี เพราะท่านก็ผ่านชีวิตที่ ใครๆ แสวงหาอยากจะเป็นเช่นท่าน ตอนเป็นเจ้าชายสิทธัตถะ ท่านก็ผ่านชีวิตเหล่านั้นมาอย่างประณีตอย่างสุขุมาลชาติ ที่มนุษย์ใดๆ ในโลกไม่อาจจะมีเทียบท่านได้ ในโลกียสุขอย่างนั้น แต่มันก็ทำให้ความพึงพอใจระดับหนึ่ง ประเดี๋ยวดับไป ความรู้สึกเพลินๆ นั้นก็ดับไป ไม่อาจที่ใช้คำว่าเป็นความสุขได้ ใช้ได้แค่เพียงความเพลิน เพราะว่ายังไม่รู้ว่า ยิ่งกว่านั้นมันเป็นอย่างไร

จนในที่สุดท่านก็แสวงหา และค้นพบด้วยพระองค์เอง จึงมายืนยันอย่างนั้นแหละ เพราะฉะนั้นวัตถุประสงค์เอาใจมาหยุดนิ่งๆ  ที่ศูนย์กลางกายฐานที่ 7 ก็เพื่อให้เดินตามหลักวิชชา ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านบรรลุ ท่านทรงบรรลุธรรมนั้น ดังนั้นเราก็ต้องรวมใจมาหยุดนิ่งๆ นุ่มๆ เบาๆ สบายๆ ผ่อนคลาย แล้วก็ปล่อยวางในสรรพสัตว์และสรรพสิ่งทั้งหลาย หยุดนิ่งอย่างเดียว ไม่ต้องทำอะไรที่นอกเหนืออย่างนี้

ทำเพียงอย่างนี้ แค่นี้ เท่านั้นแหละ เดี๋ยวใจก็จะค่อยๆ นิ่งๆ นุ่มๆ เบาๆ สบายๆ อยู่ที่ศูนย์กลางกายฐานที่ 7 แล้วความรู้สึกที่ของเราก็จะแตกต่าง ไปจากเดิม คือ ตัวที่เคยอึดอัดคับแคบทึบต่าง ๆ ก็จะโล่ง โปร่ง เบา สบาย อย่างไม่เคยเป็น แล้วตัวก็จะขยาย เหมือนพองโตขึ้น ขยายจนหายไป เหมือนกับไร้ตัวตน ไร้ความรู้สึกที่ตัวตน เพราะกลมกลืนกับบรรยากาศ เหลือแต่ใจที่ใสๆ ติดอยู่ตรงที่ศูนย์กลางกายฐานที่ 7 ตรงนั้นแหละ

เมื่อถูกส่วนความสว่างก็จะเกิดขึ้น เป็นความสว่างที่แตกต่างจากภายนอก แสงสว่างภายนอกนั้น ไม่เหมือนแสงสว่างภายใน ที่เป็นแสงแก้ว แสงใสๆ  ไม่แสบตา ไม่จ้าตา แม้สว่างกว่าดวงอาทิตย์ยามเที่ยงวันก็ตาม และ ก็มาพร้อมกับความสุข ความเบิกบานใจ ความบันเทิงใจ มีชีวิตชีวาอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน

แสงสว่างนี้ก็จะทำให้ความลับของชีวิตที่ถูกความมืดปกปิดมานาน ล่มสลายไป เมื่อใจหยุดนิ่งในกลางความสว่าง พอถูกส่วนในกลางความสว่างมองผ่านไปนั้น ก็จะมีดวงธรรมบังเกิดขึ้น มีรูปมีร่าง ธรรมเป็นรูปร่าง กลมๆ ใสๆ เป็นรูปธรรม ที่ใสสว่าง คล้ายๆดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ดวงดาวอย่างนั้นแหละ กลมรอบตัว แต่ว่าใสเย็น เนียนนุ่ม ละมุนละไม เป็นความรู้สึกที่เห็นได้  สัมผัสได้ เข้าถึงได้ มีประสบการณ์ได้ ไม่ใช่แค่เป็นนามธรรมที่จับต้องไม่ได้ ดังที่เคยเข้าใจ แต่ว่ามันเป็นดวงธรรมที่เป็นรูปเป็นร่าง ที่เรียกว่ารูปธรรม เป็นรูปร่างกลมๆ เหมือนดวงแก้ว ใสๆ สว่างๆ

ภายในนั้นบรรจุด้วย ธาตุแห่งความบริสุทธิ์ อยู่ภายในนั้น ความบริสุทธิ์ในดวงธรรม ที่ใสเย็น สว่าง แล้วก็จะดึงดูดเราไปสู่แหล่งที่ดีที่สุด ส่งกันต่อๆ เข้าไป ดวงธรรมนี้จะกลั่นให้ สิ่งที่เป็นมลทินของใจ   มลทินของกาย วาจา ของใจ ให้หลุดร่อนละลายหายสูญไป เหลือแต่ใจที่ใสๆ ยิ่งขึ้น

จนความบริสุทธิ์ ละเอียดเท่ากับดวงธรรม ที่อยู่ถัดไป ซึ่งสะอาดบริสุทธิ์กว่าเดิม ที่เรียกว่าดวงศีล ศีลที่เราสมาทาน เป็นหัวข้อว่า เว้นจากการฆ่า การลักทรัพย์ การประพฤติผิดในกาม พูดปด ดื่มน้ำเมาอะไรอย่างนั้นเป็นต้น เมื่อเราเว้นสิ่งนั้น มันก็จะสั่งสมความบริสุทธิ์และมารวมตัว กลั่นเป็นดวงศีลใสๆ กลมรอบตัว เหมือนธรรมดวงแรก แต่ว่าใส บริสุทธิ์มากกว่า เกิดขึ้นมาภายใน

ดวงศีลนั้นก็จะกลั่นใจให้บริสุทธิ์เพิ่มขึ้น ส่งกันต่อๆ ไปอย่างนี้ บริสุทธิ์เพิ่มขึ้น จนเข้าถึงดวงสมาธิ บริสุทธิ์เพิ่มขึ้น จนเข้าถึงดวงปัญญา บริสุทธิ์เพิ่มขึ้น จนเข้าถึงดวงวิมุติ บริสุทธิ์เพิ่มขึ้น จนเข้าถึงดวงวิมุตติญาณทัสนะ จะเป็นดวงธรรมที่กลมๆ เหมือนกัน ความเหมือนคือกลม ต่างกันที่ความใส ความบริสุทธิ์ และคุณสมบัติ จึงมีชื่อเรียกแตกต่างกันไปตามสภาวะธรรมนั้น

ในแต่ละดวงธรรม  ธรรมธาตุจะใสๆ มีความแตกต่างกันออกไป จะมีความเหมือนหรือ กลมๆ จะใสบริสุทธิ์ และจะส่งต่อไป ไปถึงชีวิตภายในอีกระดับหนึ่ง เป็นกายภายใน ซึ่งเราเห็นได้ตอนเรานอนหลับแล้วเราฝันไป ลักษณะเหมือนตัวเรา แต่ละเอียดกว่า บริสุทธิ์กว่า สดใสกว่า อยู่ในอิริยาบถสมาธิ อยู่ภายใน

จะมีกายในกายอย่างนี้ ซ้อนๆ กันอยู่ภายในตัวของมนุษย์ทุกคนบนโลก โดยไม่จำกัดเชื้อชาติ ศาสนา และเผ่าพันธุ์ มีหมด ต่างแต่ว่าจะรู้หรือไม่รู้เท่านั้น  ไม่รู้ว่ามี หรือรู้ว่ามี แต่ไม่รู้วิธีจะเข้าถึง ไม่รู้วิธีจะเข้า ไม่ได้ทำให้ถูกวิธีจึงเข้าไม่ถึง แต่ว่าเมื่อถูกหลักวิชาถูกวิธี ประกอบกับความเพียรก็เข้าถึงได้ ซึ่งวิธีง่ายที่สุด ก็คือ หยุดใจนิ่งนั้นแหละ อย่างเดียวไม่ต้องทำอะไรที่นอกเหนือจากนี้

มันเป็นสิ่งมหัศจรรย์ทีเดียวที่เรามีอยู่ภายในโดยไม่รู้ตัว ความลับภายในจะถูกเปิดเผยขึ้นเมื่อใจหยุด เพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ เหมือนเรือที่ขับออกจากฝั่งสู่ทะเลลึก ทะเลแห่งความรู้แจ้ง เห็นแจ้งแทงตลอด ในธรรมทั้งปวง ในความจริง เรื่องราวความเป็นจริง สรรพสัตว์ และสรรพสิ่งทั้งหลาย

กายที่เป็นหลักของพระพุทธศาสนา กายธรรม ซึ่งเป็นตัวของพระรัตนตรัย เป็นกายของผู้รู้ผู้ตื่น  ผู้เบิกบานแล้ว เพราะธรรมจักขุดวงตาที่เห็นได้รอบตัว ทุกทิศทุกทางในเวลาเดียวกัน ทั้งอดีต ทั้งปัจจุบัน ทั้งอนาคต พระธรรมกายในตัวของเรานี้แหละที่สามารถเปลี่ยนจากผู้ไม่รู้มาเป็นผู้รู้ได้ อย่างอัศจรรย์ทีเดียว

และตรงนี้แหละคือแหล่งแห่งความสุข ความบริสุทธิ์ เป็นที่พึ่งที่แท้จริงของเราที่จะทำให้เราปลอดจากภัยทั้งหลาย ในอบาย ในสังสารวัฏ พระรัตนตรัยที่อยู่ในตัวนี้แหละเป็นแก่นของชีวิต ทุกๆชีวิต เมื่อเข้าถึงก็จะได้เข้าถึงไตรสรณะคม เหมือนสมัยพุทธกาล พระสัมมาสัมพุทธเจ้าแสดงธรรม หัวข้อธรรมบทต่างๆ เมื่อขยายความไปเรื่อยๆ ก็จะทำให้ใจของผู้มีบุญค่อยๆ สะอาดบริสุทธิ์

เมื่อปล่อยใจตาม ตรองตามคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็เกิดปีติ สุข แล้วก็ใจเอกัคคตาเป็นหนึ่ง บริสุทธิ์ก็หยุดนิ่งสนิท กระทั่งเข้าถึงพระธรรมกายในตัวนี้แหละ จึงได้ชื่อว่าบรรลุธรรมาพิสมัยในระดับที่เข้าถึงไตรสรณะคม มีพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งที่ระลึก เพราะเข้าถึงเห็นชัดใสแจ่มอยู่ตลอดเวลาเลย

จากกายธรรมนี้เรื่อยไป จนกระทั่งก้าวเข้าสู่ความเป็นพระอริยะเจ้า พระโสดาบัน พระสกิทาคามี พระอนาคามี พระอรหันต์ ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ต้องเริ่มจากกายธรรมตรงนี้  ซึ่งเริ่มด้วยใจหยุดนิ่งอย่างเดียวเท่านั้น ไม่ได้ทำอะไรที่นอกเหนือไปจากนี้

หยุดเป็นตัวสำเร็จ เป็นสิ่งที่จริงแท้ ตามคำสอนของ พระเดชพระคุณหลวงปู่ ผู้ค้นพบวิชชาธรรมกาย ที่ท่านได้กล่าวเอาไว้ ให้เราได้ปฏิบัติได้ง่าย สะดวก เข้าถึงได้อย่างรวดเร็ว ให้ทันกับเวลาของชีวิตที่มีอย่างจำกัด อีกทั้งความตายก็ไม่มีนิมิตหมาย

เพราะฉะนั้น วันนี้เป็นวันที่ใกล้ต่อวันสำคัญของชาวพุทธ คือ วันประสูติ  ตรัสรู้ ปรินิพพาน ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเรา เราก็ต้องเตรียมตัว เตรียมใจของเราให้ใสๆ บริสุทธิ์ ตรึกระลึกนึกถึง พระรัตนตรัยเป็นอารมณ์ โดยจะเริ่มต้นจากฝึกใจให้หยุดนิ่ง   นั่นละ ให้เข้าถึงให้ได้ เพื่อตัวของเราเองเราก็มีที่พึ่งดังกล่าว และ สิ่งนี้เท่านั้นละ ที่ควรระลึกนึกถึง เพราะนึกถึงแล้ว เกิดประโยชน์สุข มีความสุข มีดวงปัญญา มีกำลังใจ ในการทำความดี ละชั่วทำดี ทำใจให้ใส จะได้ก้าว   ไปสู่การดับทุกข์ได้ หลุดพ้นจากทุกข์ได้

เพราะฉะนั้น ในช่วงนี้ให้ลูกทุกคน ฝึกหยุดฝึกนิ่งอย่างเบาๆ สบายๆ ใจเย็น  วางใจหยุดนิ่งอย่างเบาๆ สบายๆ ใจเย็นๆ ตรึกนึกถึงดวงใส ให้ใจหยุดอยู่ในกลาง    ดวงใสๆ พร้อมกับประคองใจให้หยุดนิ่งด้วย บริกรรมภาวนา “สัมมา อะระหัง ..  สัมมา อะระหัง ..สัมมา อะระหัง ”

ต่างคนต่างนั่งกันไปเงียบๆ นะจ๊ะ

 

Mind Training

Let’s make a firm intention to meditate to the best of your ability.

Close your eyes softly and gently, relaxing every part of your body from head to toes so that your body is completely relaxed. Adjust your body so that it is in a comfortable position and your blood circulation can properly flow. Relax and unite your mind softly at the center of your body comfortably at the 7th base of the mind.

Still your mind in the stillness, softly and gently. Be comfortable at the center of the crystal sphere. It is as clear as a flawless diamond; rounded like a crystal sphere; pure and bright like the midday sun; clear and cool like a full moon. Simply visualize it in a gentle and comfortable manner. Do not worry if it’s not clear, as our aim is to still the mind at the center of the body, on the 7th base which is in the middle of our stomach, two finger breadths above the navel. This is the way towards Nirvana, the enlighten path that the Buddhas and Arahats placed their minds, at the 7th base in the center of the body.

Until the mind is placed at the right position and enter into the true existence within, which helps eliminate all defilements and finally reach upon Nibanna. This is the utmost state of happiness, all sufferings diminish, all defilements eradicate, only blissfulness exists. And this is the beginning of the path following the Lord Buddha. At least it is the place where we can attain happiness in this life cycle at a reasonable level.

Even though we could not yet attain the path to Nibanna, we can have a place to truly rest and relax our mind, which is better than relaxing it by other methods such as to watch, to listen, to smell or to drink. Those pleasures cannot be compared with the happiness within. To search for true happiness we must search at the right place and know where to find it. Thus, we will realize what is true happiness? What it looks like? How it feels? And that it is different from what we used to think, that the happiness are from things, people, pets, possession or scenery, etc. How much different it is from worldly happiness? We will understand once we find the happiness within, by training the mind to be still softly and gently at the center of the body, at the 7th base. Not any other place, not outside the body but inside; otherwise, we cannot find it.

Lord Buddha had proves and found it thus. He confirmed that no other happiness surpasses the stillness of the mind.  He had a life that many people yearn for. When He was Prince Siddhartha, He lived a delicate life that no other living beings can compare, but it can only be satisfied for a certain level at a short time before it disappeared. It cannot be called happiness but rather enjoyment, because the ultimate happiness hadn’t been unfold.

Finally, the Lord Buddha discovers it by Himself and confirms what He had found.  Therefore, the purpose of stopping the mind at the center of the body, at the 7th base, is to follow the path of the Buddha in which He had attained the Dhamma. Hence, we must unite the mind softly, gently and comfortably, then let go of all things. Do nothing else apart from stilling the mind.

Only do what is advised and soon the mind will become still, soft, gentle and comfortable at the center of the body at the 7th base. Our feeling will differ from the previous. For example, the feeling of cramping and tightness will become loose, light, spacious and comfortable like you have never experienced before. One may experience the feeling of enlarging and expansion where one don’t feel one’s body anymore–that it has melted into atmosphere. The only thing left is the clear mind at the center of the body.

When the mind rests at the right place, the brightness will appear which is different from external brightness. It is crystal clear and does not hurt the eyes even though it is brighter than the midday sun. The brightness also comes with bliss, joy and liveliness that you have never experience before.

This brightness will uncover a long hidden truth of life that has been obscured by darkness. As the mind is placed in the midst of brightness and properly rested, through that brightness lies the Dhamma sphere. Its characteristic is round, clear, bright like the sun, the moon or the stars but its brightness is clear, cool and soft.

Within the sphere, there are pure elements, the purity that lies within the Dhamma Sphere is cool and bright to which it will bring us to the best sources. We will continually pass through Dhamma Spheres within, which help purify our mind from defilements. The defilements of body, speech and mind will be eradicated, and one is only left with a mind that is purer.

The purity is as pure as the next Dhamma sphere that is purer than the previous one and called Sila Sphere. Sila or moral conducts that we vow to abstain from killing, stealing, committing misconduct, lying and consuming intoxicate drinks etc.  As we abstain from misdeeds, the purity will unite and form the Sila Sphere which is similar to the previous one but purer.

This Sila Sphere will purify the mind and pass it through consecutively to the Samadhi Sphere. And gets purer then enters Panna Sphere; further it gets purer then enters Vimutti Sphere; further it gets purer then enters Vimuttiyannadassana. They are all rounded. Their similarity is roundedness but the difference is clearness, purity and characteristic how they are called in accordance of their nature of Dhamma.

The purity in each Dhamma sphere is different but similar in term of roundness. Each has its purity and the purity will be transferred into life within that is the Inner Body. We can see the Inner Body when we sleep in our dream. The Inner Body looks like us but finer, purer and more vivacious, in the meditative position within.

Every human being has the Inner Bodies within themselves, regardless of nationality, religious and race. Whether they know or not that Inner Body exists or how to reach the Inner Body is the only different. The improper method will not lead to success, but once we know the know-how and practice diligently we will eventually reach the Inner Body. The simplest method is to still the mind and nothing else.

It is the most significant things that belong within us unconsciously. Somehow, the secret will be unfold once the mind becomes still even more. Similar to a ship sailing off the shore heading to deep sea, but this is the sea of wisdom. The wisdom of all knowledge, Dhamma, the truth, all living beings and all things.

The Dhammakaya Body is the main body of Buddhism which is the body of the Triple Gem, the body of enlightenment. Because the Dhamma eyes can see in all directions simultaneously, in the same period whether it be the past, present and future. The Dhammakaya Body within will astonishingly transform an ignorant person to be a wise.

And this is called the source of happiness and purity. This is our true refuge which will save us from all sufferings, from unwholesome realm and from cycle of rebirth. The Triple Gem within is the core of life. Everyone that attains the inner sphere will reach the Triple Gem. In the Buddha’s time, the Lord Buddha gives sermon in various subjects and clarifies them further that makes listeners’ minds gradually become purer.

As we allow the mind to follow the Lord Buddha’s teaching, we will feel contentment and the mind will unite. As it becomes pure, it will be still until attaining the Dhammakaya Body within. This is called Enlighten Dhamma in the level of reaching the Triple Gem. We will have Triple Gem as our refuge because we can see it clearly all the time.

From this body onwards until reaching the state of being the Noble One, Sotapanna, Sakadagami, Anagami and Arahat. To attain Buddhahood one must start by stilling the mind and nothing else.

Stilling the mind is the key to success. This is the true statement according to the Great Master’s teaching, the re-discoverer of Dhammakaya tradition. His teaching makes practice easier and convenient for us, so we can attain the Dhamma within in time limit of this life where death comew without warning.

Therefore, as we get closer to the important day for Buddhists, that is the day the Lord Buddha was born, became enlightened, and entered upon Nibanna. Thus, we must prepare our mind to be pure and recollect the virtue of the Triple Gem by stilling the mind. Let us attain the Dhamma within as it is our only refuge that we should recall. By recalling it, we receive benefits– happiness, wisdom and willpower to accumulate good deeds, abstention from bad deeds, and purification of the mind. Hence, we can pursue further to eradicate sufferings and be free from them.

From this point on, may everyone practice stilling the mind gently, comfortably and calmly. Visualize the crystal sphere and let the mind come to a standstill in the center while repeating the mantra samma arahang. Let’s continue our practice meditation in silence.

 

调伏心

请大家一起专心打坐。

轻轻闭上眼睛,全身放松,从头到脚都要放轻松。调整身体的各个部位,保持正确的坐姿,让血液流通顺畅,然后让心轻松静定在身体中央第七处。

让心静静定定、轻轻柔柔、舒舒服服的安放在透明球中。

透明如经打磨的钻石,没有任何瑕疵,像晶莹剔透的水晶球一样圆滑,像正午的太阳一样明亮,亦像圆月一样清凉。轻松的观想,不清晰也没关系,目的是让心静定在身体中央第七处,即肚脐往上提升两指宽的高度处。身体中央第七处是趣向涅槃的起始点,是诸佛与诸阿罗汉成就道果涅槃之路。

只有正确的入定,证得本来就存在体内的法身,才能解脱烦恼,证得涅槃,离苦得乐,那是一种永恒之乐。随佛陀的脚步,让心安住在第七处,至少能让我们的生命收获幸福。

尽管还没有证得涅槃,但至少有一个能让心宁静与放松的地方,这将胜过以外在的方法,例如色、声、香、味、触、法,而得到的宁静。因为我们寻找的是真正的快乐,所以要利用正确的方法,知道它在何处,以什么方法得到。当我们以正确方法,到达正确的地方或位置,我们必将得偿所愿。明白我们所渴望的真正快乐是怎样?有什么特性?与之前认为的那些能让自己感到快乐的人、物、事或财富有何不同?只有心静定在身体中央第七处,并获得相应的经验时,才会有真正的领悟。其实,只有内在才会有我们所期望的东西,外在不会有。

佛陀亲自体证发现,内在的静定是至上之乐。世尊也曾在世俗中生活,在身为悉达多太子时,过着很多人可望不可即的富贵人生。这般世俗之乐,最终也只是为他带来了一定的满足感而已,不久还是会消逝,无法与真正的快乐相提并论。那只是一种短暂的满足感,因为当时他还不知道,比满足感更让人快乐的东西是什么。

后来,世尊亲自体证更加验证了这一点。因此,将心静定在身体中央第七处,是为了遵循世尊之法门,证得世尊所证悟之法。我们应轻松舒服的收摄心念,放下所有,静定无他,除此之外,什么都不要做。

这样做即可,不久心会慢慢静定在身体中央第七处,然后产生不同于此前的体验。此前紧绷的身体,会变得松弛、轻安、舒服,那是一种不曾有过的感觉。之后身体会自然地扩大,随即身体和感受会一同消失不见,融化在空气中,最终只剩下透明的心,静止在身体中央第七处。

如果方法正确,光亮会自然显现,那是一种有别于外在的光亮,两种光亮有着天壤之别。内在的光亮柔和透明,比正午太阳还要明亮,但它却不刺眼。伴随而来的是快乐、法喜、愉悦,是一种未曾有过的感受。

这种光亮将会驱赶被黑暗掩盖的生命真相。当心正确静定在光亮中,向内观望会看见有一颗法球呈现上来。它的外形圆滑而透明,有如太阳、月亮、星星一般光亮,但更为清凉柔和,这些都是能感受得到的。法球并非无形,而是有形状,是具体的东西,圆滑如透明光亮的水晶球。

法球中是纯净的元素,它清凉明亮,吸引我们趣向最美好的境界。一层接一层的深入,法球会不断净化,身口意的污迹也会被清除干净,只剩下越来越透明的心。

当心的纯净度与细腻度比旧的法球更清净时,会有另一颗球浮现上来,这颗球称为戒球。戒即是我们平常持守不杀生、不偷盗、不邪淫、不饮酒、不说谎等戒行,当我们清净持守时,内在就会形成一颗像之前一样圆滑透明的法球,但是比之前更加纯净。

这颗戒球将会净化心,使之更加纯净。当纯净次第增长,就会相续出现定球、慧球、解脱球、解脱知见球。它们都是圆形的法球,不同的只是它们的透明度、纯净度与质量,因此也就有不同的名称。

每颗法球所含法元素的清净度各不相同,但形状都是圆形。若继续次第深入,我们将会看见内在身,仿佛曾在睡梦中见过一样,外形如人体,但更加细腻、纯净和透明,它在体内呈现的姿势是盘腿入定。

每个人的体内都有各种身层层相叠,不分国籍、信仰与种族,区别在于是否知道而已,有的人知道,有的人不知道,有的人不了解修习的方法,若方法错误便无法证入。如果方法正确,加上精进修习,就会具足证入的因缘。其实方法很简单,就是修习心,除此之外,什么都不用做。

这真的很神奇,它们存在我们的体内,可是我们却不知道。当心静定时,这些内在的秘密都会被逐一揭开,就好像船离开码头,驶向深海,终将有缘如实知见诸法,了知一切众生万物之真相。

佛教的法身指三宝,乃智者、觉醒者、喜悦者之身。可以通过内在的法眼全面观照,包括前世、今生与未来。正是内在的法身,让我们神奇的从非智者转变为智者。

这就是快乐与纯净的源泉,是我们真正的皈依,让我们远离恶道或轮回的危险。内在的三宝,成为每个生命的核心,当证入时,就有了皈依处。在佛陀时代,每当佛陀次第详细宣说佛法时,具福报者的心也会变得越来越纯净。

心跟随佛陀的教诲,会次第生起喜、乐、一心,最终证入法身,即证得皈依处。因为一直清晰可见,所以内在的三宝可以作为自己的依靠。

从此法身开始,次第证入须陀洹法身、斯陀含法身、阿那含法身与阿罗汉法身。要想觉悟成佛,也是始于此法身,需修心静定,除此之外,什么都不用做。

今天是临近佛教重要日子——佛陀诞生、觉悟与涅槃的吉祥日。我们要努力保持身心清净。时刻意念三宝,修心静定,为了利益自己,要努力修行,证得内在三宝,使自己拥有依靠。这些都是我们应该常意念的,每当意念时,就会生起利益与智慧,在行善中树立信心,精进消除诸恶,使心保持透明,最终灭尽烦恼,脱离苦海。

遵循法身法门发掘者——帕蒙坤帖牟尼祖师的教诲:静止是成功之本。祖师曾教导我们要方便修行,在有限的生命里快速证悟,因为死亡毫无征兆。

因此,这时候希望每位弟子,轻松舒服的调伏自己的心,使之轻安、愉悦、宁静的入定,静定在透明球中,同时默念三玛阿罗汉。

各自继续安静的打坐吧。