ม้าพยศ
(เมื่อเราได้สวดมนต์บูชาพระรัตนตรัยกันเสร็จเรียบร้อยแล้ว ต่อจากนี้ไปตั้งใจเจริญสมาธิภาวนากันนะ…………)
…คราวนี้เราก็มาทบทวนหลักวิชชาที่พระเดชพระคุณหลวงปู่ฯท่านได้อบรมสั่งสอนมา ซึ่งสรุปได้ว่า “หยุดเป็นตัวสำเร็จ”
คือใจที่แวบไปแวบมาคิดไปในเรื่องราวต่างๆ เรานำกลับมาหยุดนิ่งๆ ในศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ ซึ่งอยู่ตรงกลางท้อง เหนือสะดือขึ้นมา ๒ นิ้วมือ จะเห็นได้ชัดต่อเมื่อใจหยุดได้สนิท
ท่านให้เอาใจมาหยุดนิ่งๆ อยู่ที่ตรงนี้ จะนึกเป็นภาพหรือจะไม่นึกก็ไม่เป็นไร ภาพที่นึกเพื่อเป็นที่ยึดที่เกาะของใจเรา จะเป็นดวงแก้ว องค์พระใสๆ หรือเป็นสิ่งที่เราคุ้นเคย จะเป็นเพชรนิลจินดาผลหมากรากไม้ หรืออะไรก็แล้วแต่ที่เราคุ้นเคย จะต้องเป็นวัตถุที่นำมาซึ่งความบริสุทธิ์ของกายวาจาใจ ทำให้ใจเราสูงส่ง ไม่กำหนัดยินดีในกาม ในความพยาบาท หรือความคิดเบียดเบียน เป็นต้น
นึกอย่างสบายที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ พร้อมกับประคองใจของเราด้วยบริกรรมภาวนา สัมมา อะระหัง เรื่อยไปเลย คือให้นิมิตนี้เป็นเหมือนกับหลักของใจ ที่ผูกใจซึ่งซัดส่ายไปในเรื่องราวต่างๆ ให้มันหยุดนิ่งๆ ถ้าเราไม่เผลอจากบริกรรมทั้งสอง ใจก็จะหยุดนิ่งได้
ใจเรามันเหมือนม้าพยศ ม้าพยศไม่ค่อยจะอยู่ในอำนาจของเรา มันก็จะแถกๆ ไถๆ ไปตามอารมณ์ของมัน ใจก็เหมือนกันเราอยากจะให้นิ่งๆ แต่มันก็จะคิดเรื่องโน้น เรื่องนี้ เรื่องคนบ้าง สัตว์บ้าง สิ่งของ ธุรกิจการงาน บ้านช่อง สิ่งที่ผ่านมาแล้วในอดีตบ้างสิ่งที่ยังมาไม่ถึงในอนาคตบ้างเหมือนม้าพยศ
เพราะฉะนั้นเราต้องจับมาผูกเอาไว้กับหลัก เหมือนเราเอาเชือกคล้องคอม้าแล้วผูกเอาไว้กับหลัก ใหม่ๆ มันก็ดิ้นรนอยากจะหลุดจากหลัก วิ่งไปทางเหนือบ้าง ใต้บ้าง ตะวันออก ตะวันตก วิ่งไปจนสุดสายเชือก แต่มันก็ไม่หลุดจากหลัก วิ่งไปวิ่งมาในที่สุดมันก็หมดแรง หมดพยศ ก็จะหมอบอยู่กับที่ไม่ไปไหน
การนึกถึงนิมิตดวงใสๆ หรือองค์พระใสๆ หรือวัสดุอะไรที่เราคุ้นเคยก็ตาม นั่นก็คือหลักของใจ คำภาวนาเหมือนเชือกที่จะประคองใจเอาไว้ให้มาอยู่กับหลัก ใหม่ๆ มันก็แวบไปคิดเรื่องโน้นเรื่องนี้ เราก็นึกถึงดวงใสๆ องค์พระใสๆ หรืออะไรก็ได้ที่ใสๆ แล้วก็ภาวนา สัมมา อะระหัง เรื่อยไป จะกี่สิบ กี่ร้อย กี่พัน กี่หมื่น กี่แสนครั้งก็ได้มันก็จะมีสักครั้งหนึ่งที่ใจมันหยุดนิ่ง
เวลาใจหยุดนิ่ง มันจะทิ้งคำภาวนาไปเอง มีอาการคล้าย ๆกับว่าเราลืมคำภาวนา แต่ใจไม่ฟุ้ง หรือเกิดความรู้สึกว่า อยากอยู่เฉยๆ ไม่อยากจะภาวนา สัมมา อะระหัง ต่อไป ถ้าเป็นอย่างนี้ แสดงว่าใจหยุดแล้ว เราก็ไม่ต้องย้อนกลับมาภาวนา สัมมา อะระหัง ใหม่ ตอนนี้ใจมันยอมแล้ว มันหยุดแล้ว หมดพยศแล้ว ก็จะตรึกอยู่กับดวงใสๆ หรือพระแก้วใสๆ หรือถ้าเรานึกถึงเพชรนิลจินดา ภาพเพชรนิลจินดาก็จะมาปรากฏเกิดขึ้น สิ่งที่เราจะต้องทำต่อไปคือหยุดนิ่งเฉยอย่างนั้นมีสติกับสบายและสมํ่าเสมอ ไม่ช้ามันก็จะถูกส่วนไปเอง
การถูกส่วน เราจะไปบังคับให้ถูกส่วนไม่ได้ มันจะเป็นของมันเอง เมื่อเรามีสติ มีความสบาย แล้วก็สมํ่าเสมอ พอถูกส่วนมันก็จะหล่นวูบไปเลย เหมือนตกจากที่สูง วูบไปฐานที่ ๖ แล้วจะไปยกเอาดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์หยาบ ใสบริสุทธิ์โตเท่ากับฟองไข่แดงของไก่ขึ้นมาเอง หลังจากนี้ก็ง่ายแล้ว ไม่ยากแล้วมันยากตรงหยุดแรกที่ใจยังพยศอยู่
หรือเราจะไม่นึกภาพนิมิต แต่จะวางใจให้หยุดนิ่งเฉยๆ ก็ได้จะภาวนา สัมมา อะระหัง ด้วยก็ได้ ไม่ภาวนาก็ไม่เป็นไร แล้วก็วางใจนิ่งๆ ให้มีสติสบายสมํ่าเสมอ เดี๋ยวใจก็จะค่อยๆ โล่ง ค่อยๆ ว่างไปทีละน้อยๆ จนกระทั่งมันจะนิ่งไปเอง พอนิ่งแล้วมันก็จะค่อยๆ ใสขึ้น ความใสในกลางความมืด เหมือนดาวประกายพฤกษ์ที่เจิดจ้าในคืนเดือนมืด แล้วหลังจากนั้นมันก็จะละเอียดลุ่มลึกลงไปเรื่อยๆ ต้องอาศัยการฝึกฝน ค่อยๆ สั่งสมบ่อยๆ เราจะใจร้อนใจเร็วทำแบบทางโลกไม่ได้ ต้องค่อยๆ เป็น ค่อยๆ ไป สะสมความละเอียดไปเรื่อยๆ
แล้วก็หมั่นสังเกตว่า วันนี้เราทำได้ดีเพราะอะไร ค่อยๆ นึกทบทวนว่า เออ เราค่อยๆ วางใจเบาๆ อย่างนี้ นิ่งๆ นุ่มๆ ละมุนละไมอย่างนี้ ถ้าจำได้แล้วต่อไปเราก็ทำอย่างนั้นอีก เดี๋ยวมันก็จะละเอียดลงไป
สมมติว่า วันนี้เราได้แค่ ๑ นาที ก็ให้ดีใจไว้เถอะ เออ เราสมหวังแล้ว หยุดนิ่งได้แล้ว ๑ นาที หรือหยุดนิ่งยังไม่สมบูรณ์ก็ไม่เป็นไรแค่รู้สึกตัวโล่งๆ ว่างๆ โปร่ง เบา สบาย ก็ถือว่าเราสมหวังแล้ว
บางคนเกิดมาในโลกนี้อายุตั้งร้อยปี ยังไม่รู้จักเลยว่าโล่งใจโปร่งใจเป็นอย่างไร ใจใสๆ ใจหยุดใจนิ่งเป็นอย่างไร ยังไม่รู้จักเลยเพราะฉะนั้นเราได้แค่ ๑ หรือ ๒ นาที ดีใจเถอะ แล้วต่อไปมันก็จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
จำวิธีการที่จะไปถึง ณ จุดตรงนี้ให้ได้ แล้วก็หมั่นไปถึงตรงนี้บ่อยๆ ซํ้าแล้วซํ้าเล่า เหมือนเราตอกตะปูที่ยํ้าๆ เดี๋ยวมันก็มิดจนได้
ใจก็เช่นเดียวกัน หมั่นตรึก หมั่นหยุด หมั่นนิ่ง ค่อยๆ ประคองไปเรื่อยๆ เดี๋ยวจากฟุ้งมากก็จะฟุ้งน้อย จากฟุ้งน้อยก็จะไม่ฟุ้งจากไม่ฟุ้งก็จะโล่งๆ โปร่ง เบา สบาย ใจเบิกบาน เดี๋ยวแสงสว่างก็จะค่อยๆ เกิดขึ้น เป็นแสงแก้วที่เนียนตาละมุนใจ แล้วมันก็จะละเอียดลงไป จนกระทั่งค่อยๆ เจิดจ้าขึ้น นานขึ้น มีความสุขไปทุกขั้นตอนเลย เดี๋ยวดวงใสๆ ก็จะปรากฏเกิดขึ้นเอง เพราะดวงธรรมมีอยู่แล้ว พอถูกส่วนก็มาเอง
ใหม่ๆ ดวงใสก็ยังไม่ค่อยชัด เราก็หมั่นฝึกฝนไป ฝึกทำกันไปทั้งวัน ควบคู่กับการทำมาหากิน หรือภารกิจที่เรามีอยู่ในชีวิตประจำวัน แล้วก็พยายามตรวจตราให้กายวาจาใจเราสะอาดบริสุทธิ์เท่าที่เราจะทำได้ ดวงธรรมก็จะค่อยๆ ชัดขึ้นๆ กระทั่งสุกใสสว่าง
พระเดชพระคุณหลวงปู่วัดปากน้ำบอกว่า ใจหยุดประเดี๋ยวเดียวได้บุญมากกว่าสร้างโบสถ์วิหาร ศาลาการเปรียญ สร้างวัดวาอารามเสียอีก เพราะอย่างนั้นยังเป็นแค่กามาวจร ทำแล้วบางทียังไม่มีความปลื้มยังไม่มีความสุขเท่ากับใจที่หยุดนิ่งเลย แต่ใจหยุดประเดี๋ยวเดียว เรามีความปลื้มปีติมีความสุขแผ่ซ่านไปทุกอณูเนื้อทุกขุมทุกขนเลย มีความเบิกบานแช่มชื่นใจใส ความบริสุทธิ์ของใจก็เกิดขึ้น เพราะฉะนั้นตรงนี้ได้อานิสงส์มากกว่าสร้างโบสถ์สร้างวิหาร ได้ไปเกิดในภพภูมิที่ประณีตกว่า ละเอียดกว่า
สิ่งเหล่านี้ลูกทุกคนทำได้ บารมีก็มีมากพอ เหลืออย่างเดียวคือความเพียรกับทำให้ถูกหลักวิชชาเท่านั้น เดี๋ยวก็สมหวังส่วนใครที่ทำได้แล้ว เห็นดวง เห็นกาย เห็นองค์พระ ก็แตะใจเบาๆแตะไปเรื่อยๆ ใช้ระบบสัมผัส แตะดวงใสๆ แตะกายภายในใสๆ
แตะองค์พระใสๆ เดี๋ยวท่านก็จะดูดวูบเข้าไปข้างใน องค์พระในองค์พระก็ผุดผ่านขึ้นมามากมายก่ายกองทีเดียว ความสุขสดชื่นเบิกบานก็ยิ่งเพิ่มพูนขึ้น จากองค์หนึ่งไปสู่อีกองค์หนึ่งก็เพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ ไปเลย ทำให้ได้นะ
ใครเหนื่อย ใครเพลีย ใครง่วง ใครตึง ใครเครียด ปล่อยให้มันหลับไปเลยในกลางกาย ใครเมื่อยก็ขยับเบาๆ ใครฟุ้ง ถ้าฟุ้งหยาบคือฟุ้งที่ควบคุมไม่ได้ก็ลืมตา แต่ถ้าฟุ้งละเอียดที่ควบคุมได้ เราก็ทำเฉยๆ ไม่ต้องลืมตา ทำเฉยๆ ไม่รู้ไม่ชี้เหมือนแขกมาเยือนบ้านเราไม่ต้อนรับเดี๋ยวเขาก็เก้อเขินกลับไป
ความฟุ้งที่รู้ตัวแล้วคุมได้ ไม่ต้องลืมตา ทำหยุดทำนิ่งเฉยๆ เดี๋ยวฟุ้งนั้นก็จะหายไป แต่ถ้าฟุ้งหยาบ ควบคุมไม่ได้ สู้ไม่ไหว ให้ลืมตามาดูดวงแก้ว ดูองค์พระ เป็นต้น ให้ใจใสๆ พอใจสบายดีแล้ว เราก็ค่อยๆ หลับตาเบาๆ ต้องฝึกซ้อมกันอย่างนี้นะลูกนะ
ให้ลูกทุกคนสมหวังดังใจในการเข้าถึงพระรัตนตรัยทุกๆ คนต่างคนต่างทำกันไปเงียบๆ
อังคารที่ ๑๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๕
An Unruly Horse
(Having paid homage to the Triple Gem with our chanting, it is now time to practice meditation.)
Let us now review the Great Master Phramongkolthepmuni’s teachings that can be summarized simply as “Cessation Is the Key to Success.”
It means bringing one’s mind, which is constantly darting here and there, to come to a standstill at the Seventh Base in the center of one’s body–the position two fingers’ width above one’s navel.
He teaches us to keep our mind quiet and still here. You can visualize an image to help anchor your mind if you want to. The image can be a crystal sphere, a clear Buddha Image, or anything that you are familiar with. It can be a gemstone, a fruit or whatever else which helps your mind to be pure and devoid of sense-desire, vindictiveness, etc.
Visualize the object easily at the Seventh Base in the center of your body. You may also wish to recite the mantra…Samma Arahang…Use both the visualized image and the mantra to anchor your mind and keep it from wandering. If you can keep your mind on both the visualized image and the mantra continuously, your mind, in time, will come to a standstill.
One’s mind is like an unruly, disobedient horse that acts up whenever it wants to. One’s mind is like that. We want it to keep still, but it wants to think different things like people, pets, things, work, home, the past or the future. Therefore, we must keep it anchored in the same way that we tether a horse to a pole. Initially, it will buck and struggle. It will run in this direction or that direction as far as the rope allows, but it can’t escape. Soon it will get tired and settle down.
Visualizing a clear sphere or a clear Buddha Image, or an object of one’s choice, is like the pole used to anchor one’s mind whereas the mantra is like the rope. Initially, one’s mind will still want to think of different things, but one should just keep bringing it back to the visualized image and mantra however as many times one has to. At some point, one’s mind will come to a standstill.
When it does, one will no longer have to repeat the mantra. It is as if one has forgotten to recite it. One feels like being quiet and still. At this point, there is no more need to continue repeating the mantra, for one’s mind has already come to a standstill as it stays with the visualized image. All one has to do now is to be mindful, relaxed and consistent. Soon it will arrive at just the right state.
One’s mind will arrive at the right state on its own; it cannot be forced. As long as one remains mindful, relaxed and consistent, at some point, one’s mind will fall precipitously toward the Sixth Base in the center of one’s body. And the Dhamma Sphere will raise upward. The Dhamma Sphere gave rise to the Crude Human Body. It is a pure sphere the size of an egg-yolk. After this, progress will no longer be difficult. What is difficult is the first time that one’s unruly mind can be brought to a standstill.
One may not wish to visualize anything at all but would rather keep one’s mind quiet and still. That is fine. One may want to repeat the mantra or one may not. That is alright, too. Just keep one’s mind calm and still while remaining mindful, relaxed and consistent. Soon, one’s mind will gradually become more and more expansive and spacious, and then it will come to a standstill. At which point, it will become clear and bright amidst the darkness, just like the bright morning star against the dark sky. One’s mind will become increasingly refined. It takes a lot of practice to arrive at this point. Therefore, do not be hasty but be patient and continue to practice and practice.
With each session that went well, one should review it. For example, one should review the method by which one succeeded in resting one’s mind quietly, softly and gently. This way, one will remember to repeat the same method in the next session.
Suppose that during the session, one succeeded in keeping one’s mind quiet and still for a minute. Be glad that one could. Just feeling expansive, spacious, light and relaxed is already considered a success.
Some people have lived a hundred years without knowing what it is like to feel expansive and spacious, or what it is like to keep one’s mind quiet and still. Therefore, just one or two minutes of stillness are already something to be glad about. Your experience will improve with practice.
Remember how you arrive at the stillness and keep repeating the process. It is like hitting the nail over and over again until it goes all the way in.
It is the same way with our mind. Keep practicing the way you keep your mind quiet and still. Soon, your mind will not wander as much. Soon, it will not wander. Soon, it will be expansive, spacious, light, relaxed and full of joy. Soon, there will be light, and its brightness will grow gradually. But it will be a soothing light. The bright light will stay longer and longer. Happiness occurs at each and every step. The clear Dhamma Sphere will appear once your mind comes to a standstill in just the right way.
Initially, the clear sphere may be blurry. One must continue to practice seeing it all day long as one goes about one’s life. At the same time, one must make sure that one is keeping one’s body, speech and mind as clean and pure as possible. In time, the Dhamma Sphere will become more and more distinct. In time, it will be very clear and very bright.
The Great Master Phramongkolthepmuni said that when one’s mind can be brought to a standstill just for a brief moment, the merit earned is more than donating money to build an Uposatha Hall or other Buddhist structures. The joy experienced by making donations toward such a worthy cause cannot be compared to the joy of the quiet and still mind. For the moment one’s mind comes to a standstill, one can feel joy and happiness spreading through every atom of one’s body. It is the sign that an incomparable amount of merit is being accumulated.
All of you can know such joy and happiness if only you will endeavor to practice meditation accordingly. For those who can already see the Dhamma Sphere or the Dhammakaya, just rest your mind softly on what you can see.
As you rest your mind softly on the Dhammakaya, soon He will pull you inward. And you will see the arising of more and more Dhammakayas. Each arisen Dhammakaya will bring for you a greater and greater amount of happiness and joy.
If you feel tired, sleepy, tense or stressed, just let yourself go to sleep in the center of your body. If you feel achy, simply shift your body. If your mind wanders out of control, just open your eyes. If your mind wanders in a way that can be controlled, just pay no attention to whatever appears. Treat it like an unwelcome guest, soon it will leave.
If your mind is wandering in such a way that you can control it, just keep your mind quiet and still. Soon, it will stop wandering. If the wandering cannot be controlled, you need to open your eyes and look at the crystal sphere or the Buddha Image in the room. Once your mind feels relaxed, gently close your eyes. Just keep practicing!
May all of you be able to attain the Triple Gem. Let’s continue to sit quietly.
Tuesday, 10 September 2002 (2545 B.E.)
野性未驯之马
诵念供养三宝经后,接下来请大家一起专心打坐。
这次我们来复习北榄寺祖师的修行方法,祖师曾教导说:“静止乃成功之本”。
心总是攀缘各种事情,我们应将它吸引回体内,静定于身体中央第七处,即肚脐往上两手指宽高的腹部中央。如果心能稳固静定,就能如实知见。
祖师让我们将心静定于此定点,可以观想所缘,也可以不观想,观想所缘就是为了让心有依附。所缘可以是水晶球、透明佛像或自己熟悉的东西,如珍珠宝石、各种水果或其他东西。但所缘应是能让身口意清净之物,让心变得高尚,不沉迷于情欲,不记仇,没有相互伤害的想法等。
在身体中央第七处轻松舒服的观想,同时通过默念“三玛阿罗汉”来护持心。将所缘看作心的依靠,将胡思乱想的心吸引回中心点。如果我们不疏忽以上两种方式,心就可以静定下来。
我们的心如同野性未驯之马。这种马很难控制,因为它总会随着自己的情绪蹦蹦跳跳。我们的心也是如此,想让它静止下来,但它总会胡思乱想,有时想人、物或事,有时想生意、家庭、往事或未来的事。
因此,我们应让心依靠所缘,就好像用缰绳套住马脖子,然后拴在木桩上,即便它还会挣扎乱蹦,却无法离开木桩,最后只能乏力而站立原地,那里也去不了。
无论以透明球、佛像,还是以其他熟悉的东西为所缘,这些都如同是心的“木桩”,诵念佛圣号如同“缰绳”,将心拴在木桩上。起初可能会有杂念,但我们可以通过观想透明球或佛像,同时默念三玛阿罗汉来护持心,如此总会有机会让心静定下来。
当心静定时,默念会自然停止,好像在不知不觉中忘记了一样,但心不会再胡思乱想。或者会有一种自然随他的感觉,不想再继续默念三玛阿罗汉,此状态表明心已经静止,无需再默念佛圣号,心静定于透明球或佛像中。如果此前我们观想的所缘为钻石珠宝,那么显现的画面也是钻石珠宝。接下去我们需要做的就是保持静定状态,同时维持正念与舒适感,不久会到达正确的位置。
我们不能去指定正确位置,它是自然存在的。当我们持续维持正念与舒适的状态,到达正确位置后会自然坠落到第六定点,就如同从高处往下落。然后将在第六点透明光亮如鸡蛋黄的法球,往上再提升一点,此后就非常容易了,难就难在起初心还没有静定的时候。
如果我们不观想所缘,也可以让心自然静定的话,可以选择默念三玛阿罗汉,也可以选择不默念。只需让心保持正念与舒适感,不久它会逐渐变得空旷,直至自然静定下来。当心静定之后,会慢慢变得光亮,这种黑暗中的光亮,如同黑夜空中闪烁的星星。随后它会逐渐变得细腻,通过练习不断积累经验,不能操之过急,要一边慢慢实践,一边默念佛圣号。
要经常总结经验,了解今天打坐收获好经验的原因。慢慢回忆,明白原来是因为在安放心时轻柔温和。总结后我们应在今后继续实践,不久它会逐渐变得细腻起来。
假设今天我们入定一分钟,可以为此而高兴,因为入定一分钟已经算是如愿以偿。即便静定得不是很久,也没关系,只需感觉到空旷、轻松与舒服就好,这也算是一种好的经验。
有些人长命百岁,但却不知道心空旷、透明、静定是怎样的。因此,如果我们能静定一到两分钟,足以为此而高兴,今后静定的时间会逐渐地增加。
要记得到达定点的方法,然后精进反复地修习,就如同钉钉子,它会慢慢变得严紧。
心也是一样,要精进使其静定,不断地护持,由多杂念转成少杂念,由少杂念转成无杂念,再由无杂念转成空旷、轻柔、舒服与愉悦。不久光亮会慢慢出现,那是一种让心感到柔和的光,在不断细腻之后,会发出长久耀眼的光芒。每个阶段都会感到非常快乐,不久透明球会自然生起,因为法球本身就存在我们的体内,只要方法正确,它会自己呈现上来。
刚开始修习时,透明球不是很清晰,但我们可以一边精进,一边处理日常事务或谋生。同时努力省思,保持身口意的清净,法球会慢慢变得清晰,直至发光发亮。
北榄寺祖师曾说:心静止一会儿所得的功德比建一座佛塔、禅堂的功德还要大,因为那些只是欲界之物而已。这些所获得的快乐无法与心静定相比,因为心静定一会儿,那种喜悦与快乐就会散发至全身各个部位,心感觉无比舒畅、愉快与纯净。所以,此处所获得的功德果报,比建一座佛塔、禅堂的还要大,并得以转世出生在精致细腻的境界。
每个人都有足够的功德做到这些,剩下的只是按照正确的方法精进修习,不久就会如愿以偿。如果修习过程中,看见球、身与佛像,就轻触心,轻触透明球,轻触内在身。
轻触透明佛像,不一会儿佛像会自然进入里面。佛像中的佛像会一尊接一尊的涌现上来,愉悦感也会随佛像的涌现而增加。
谁要是劳累、疲倦、犯困、紧绷、紧张,就在内在入睡,要是感觉酸痛,就轻轻调整身体。如果心散乱,是那种无法控制的杂念,就睁开眼睛,如果是那种可以控制的杂念,就置之不理,不用睁开眼睛,将其忽视,就如同有客人来访,我们没有主动迎接,随后客人会不请自走。
可控制的细腻杂念不必睁开眼睛,只需保持静定,不久它会自己消失。如果是不可控制的粗糙杂念,可睁开眼睛来看水晶球或佛像,当心平静之后,再轻轻闭上眼睛打坐。要如此不断地多加练习。
希望大家能如愿寻找到内在的三宝,每个人各自继续安静的打坐。
2002年9月10日星期二