ง่ายจึงจะถูกวิธี(Th En Ch)

0
213

ง่ายจึงจะถูกวิธี

ต่อจากนี้ไปให้ตั้งใจให้แน่แน่ว มุ่งตรงต่อหนทางพระนิพพานกันทุกๆคน ให้นั่งขัดสมาธิ โดยเอาขาขวาทับขาซ้าย มือขวาทับมือซ้าย ให้นิ้วชี้ของมือข้างขวาจรดนิ้วหัวแม่มือข้างซ้าย วางไว้บนหน้าตักพอสบายๆ   หลับตาของเราเบาๆ    พอสบายๆ  คล้ายกับตอนที่เราใกล้จะหลับ   อย่าไปบีบเปลือกตา  อย่ากดลูกนัยน์ตา  หลับตาพอสบายๆ  แล้วก็ผ่อนคลายทุกส่วนของร่างกายของเรา  ทำใจของเราให้เบิกบาน  ให้แช่มชื่น  ให้สะอาดบริสุทธิ์ผ่องใส  ไร้กังวลในทุกสิ่ง  ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอะไรก็ตาม

ให้ปลด  ให้ปล่อย  ให้วาง  ให้คลายความผูกพัน ในสรรพสัตว์สรรพสิ่งทั้งหลาย  ให้ปลด  ให้ปล่อย  ให้วาง  โดยพิจารณาถึงความเป็นจริงของสรรพสัตว์และสรรพสิ่งทั้งหลาย  ไม่ว่าจะเป็นคน สัตว์ สิ่งของ  เมื่อเกิดขึ้นตั้งอยู่  ก็จะไปสู่จุดสลาย  แม้แต่สังขารร่างกายของเราก็เป็นอย่างนี้  ทุกวันทุกคืนทีเดียว  เพราะฉะนั้นให้ปลด ให้ปลดปล่อยวาง ให้คลายความผูกพัน

ในช่วงที่เราจะนั่งสมาธิเจริญภาวนา ให้ใจของเราทิ้งทุกอย่าง วางทุกสิ่ง แล้วก็รวมใจไปหยุดนิ่งๆ นุ่มๆ ที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗  ซึ่งอยู่ในกลางท้องของเรา ในระดับที่เหนือจากสะดือขึ้นมา ๒ นิ้วมือโดยสมมุติว่าเราหยิบเส้นด้ายขึ้นมาสองเส้นแล้วนำมาขึงให้ตึง จากสะดือทะลุไปด้านหลังเส้นหนึ่ง จากด้านขวาทะลุไปด้านซ้ายอีกเส้นหนึ่ง ให้เส้นด้ายทั้งสองตัดกันเป็นกากบาท  จุดตัดจะเล็กเท่ากับปลายเข็ม เหนือจุดตัดนี้ขึ้นมาสองนิ้วมือ

เรียกว่าศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ เป็นที่เกิด ที่ดับ ที่หลับ ที่ตื่นของเรา มาเกิดกระทั่งไปเกิดหรือตาย ทั้งหลับทั้งตื่นก็ต้องเริ่มต้นอยู่ที่ตรงนี้ ที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗  อีกทั้งที่สำคัญคือเป็นต้นทางไปสู่อายตนนิพพาน จะต้องเริ่มต้นที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ ตรงนี้นะ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายพระอรหันต์ทุกพระองค์เริ่มต้นหยุดใจตรงนี้เรื่อยไปเลย หยุดอย่างเดียว ไม่ได้ทำอะไรที่นอกเหนือจากนี้ ตั้งแต่เบื้องต้นจนกระทั่งได้บรรลุมรรคผลนิพพานเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า

เพราะฉะนั้นศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ เราต้องทำความรู้จักเอาไว้ เพราะเป็นตำแหน่ง สำคัญที่เราจะต้องเอาใจมาหยุดนิ่งๆ อยู่ที่ตรงนี้ ไม่ว่าเราจะทำภารกิจอะไรก็ตามทั้งทางโลกและทางธรรม

โดยเฉพาะทางธรรมจะทำทาน ก็ต้องเอาใจมาหยุดนิ่งอยู่ตรงนี้ทำน้อยก็จะได้บุญมาก จะรักษาศีลให้บริสุทธิ์ผุดผ่อง ก็ต้องเอาใจมาอยู่ที่ตรงนี้ เพราะศีลนั้นบังเกิดขึ้นที่ตรงนี้ รักษาคือทำให้อยู่ ใจของเราก็ต้องอยู่ตรงนี้ จะเจริญภาวนาซึ่งเป็นต้นทางแห่งมรรคผลนิพพานก็ต้องเอาใจมาอยู่ที่ตรงนี้

ฐานที่ ๗ จึงเป็นที่ตั้งของใจเรา เป็นตำแหน่งที่สำคัญ ที่ลูกทุกคนจะต้องเอาใจใส่ เอาใจมาหยุดนิ่งอยู่ที่ตรงนี้ให้ได้ทุกวันทุกคืนทั้งวันทั้งคืน แล้วความบริสุทธิ์ก็จะบังเกิดขึ้นกับเรา

คราวนี้เราก็นึกถึงพระธรรมกายประจำตัวเป็นบริกรรมนิมิตให้นึกอย่างเบาๆ สบายๆ นึกง่ายๆ เหมือนเรานึกถึงสิ่งที่เราคุ้นเคย  นึกถึงองค์พระธรรมกายอย่างง่ายๆ  ธรรมกายประจำตัวที่หล่อเป็นโลหะสีทอง  นึกเบาๆ  สบายๆ  ใจเย็นๆ  ค่อยๆนึก  เบาๆ  สบายๆ  ใจเย็นๆ

นึกอย่างง่ายๆ แล้วเราก็จะได้อย่างง่ายๆ นึกธรรมดา เพื่อให้เป็นที่ยึดที่เกาะของใจของเราเอาไว้ที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ นึกถึงองค์พระธรรมกายประจำตัวเป็นสีทองอย่างเบาๆ  สบายๆ  ใจเย็นๆ  พร้อมกับประคองใจให้หยุดนิ่งๆ นุ่มๆ ด้วยบริกรรมภาวนา สัมมา อะระหังในใจเบาๆ สมํ่าเสมอ ไม่เร็วไม่ช้านัก

ทุกครั้งที่ภาวนา สัมมา อะระหัง เราจะต้องไม่ลืมตรึกระลึกนึกถึงองค์พระธรรมกายประจำตัวของเราอย่างเบาๆ สบายๆ ง่ายๆ ใจเย็นๆ ประคองใจกันไปอย่างนี้ จนกว่าใจจะหยุดนิ่ง

พอใจหยุดนิ่ง มันก็จะทิ้งคำภาวนาไปเอง ใจของเรา ก็จะเหลือแค่การตรึกระลึกนึกถึงพระธรรมกายประจำตัว โดยไม่คิดเรื่องอื่นเลย เราก็จะนึกเห็นองค์พระได้ชัดเจนอยู่ในกลางกาย ให้นึกง่ายๆ เบาๆ สบายๆ ใจเย็นๆ

สำคัญที่หลับตาให้เป็นด้วย ถ้าหลับตาเป็น การนึกถึงภาพองค์พระธรรมกายประจำตัวจะง่าย อย่าปิดตาแบบใช้กำลัง เหมือนเราปรือๆ ตาเบาๆ จะทำให้เรานึกได้ง่าย

เราต้องจำไว้อย่างหนึ่งว่า ตลอดเส้นทางสายกลางภายใน ตั้งแต่เบื้องต้นจนกระทั่งเป็นพระอรหันต์ เป็นเส้นทางที่ไม่ทุรกันดาร เป็นเส้นทางของผู้มีบุญ เพราะฉะนั้นมันจะง่าย คำว่ายากไม่มีเลย ง่าย –> ง่ายมาก จนกระทั่งไปถึง –> ง่ายแสนง่าย ถ้าเริ่มยาก เริ่มตื้อๆ ตันๆ เกร็งหรือตึง ก็แปลว่า เราทำไม่ถูกหลักวิชชาแล้ว

เรื่องยากมีเฉพาะตอนเราลืมตาทำกิจกรรม ทำมาหากินทำมาค้าขาย นั่นแหละเรื่องยาก มีปัญหา มีแรงกดดัน แต่เมื่อเราหลับตาทำภาวนานี้มันมีแต่เรื่องง่ายๆ ซึ่งกลับตาลปัตรกันอย่างนี้ระหว่างโลกภายนอกกับโลกภายใน เหมือนเส้นผมบังภูเขา เราต้องศึกษาให้เข้าใจว่า ความจริงมันเป็นอย่างนี้

ถ้าเราหลับตาแล้วเริ่มยาก เริ่มทุรกันดาร เริ่มยากเข็ญ เริ่มควานหาองค์พระ แปลว่าเราทำไม่ถูกหลักวิชชาแล้ว ไม่ใช่เส้นทางผู้มีบุญ

หลวงพ่อขอยืนยันว่ามันง่าย และก็ไม่เชื่อว่าใครจะทำไม่ได้นอกจากคนขาดสติ คนบ้า คนเมา คนตายแล้ว เป็นต้น เพราะฉะนั้นลูกทุกคนสามารถทำได้อย่างง่ายๆ แต่ต้องเอาใจใส่ ต้องขวนขวาย ต้องมีฉันทะสมัครใจที่จะเข้าถึง ปรารถนาที่จะได้ เรื่องราวความเป็นจริงของชีวิต อยากหลุดพ้นจากทุกข์อย่างแท้จริงนั่นแหละมันจึงจะได้

อุปสรรคช่วงแรกๆ ก็จะมีแต่เรื่องฟุ้งเป็นหลักกับตั้งใจมากเกินไป ส่วนเรื่องหลับ เรื่องอะไรต่างๆ ยังเป็นเรื่องรองลงมา ถ้าใจเราไม่ฟุ้งไปคิดในเรื่องคน สัตว์ สิ่งของก็ง่าย ซึ่งทั้งหมดนี้ขึ้นอยู่กับการฝึกฝน ค่อยๆ ฝึกฝนไป พึงจำไว้ว่าตลอดเส้นทางสายกลางภายใน เส้นทางไปสู่ความเป็นพระอริยเจ้า ที่จะทำให้เกิดความพึงพอใจอันสูงสุดอย่างที่เราไม่เคยเจอ ต้องง่าย

เราก็ทำใจให้เลื่อมใสในพระสัมมาสัมพุทธเจ้าซึ่งมีองค์พระธรรมกายประจำตัวที่เราสร้างเอาไว้เป็นตัวแทน นึกอย่างง่ายๆ นะลูกนะ ถ้าเริ่มยาก แปลว่าเราเริ่มบีบเปลือกตาแล้ว กดลูกนัยน์ตาแล้วแต่ถ้าหลับตาเบาๆ ผ่อนคลายสบาย อย่างที่เคยบอกบ่อยๆ ซํ้าๆนั่นแหละ ถ้าทำอย่างนั้นได้ เดี๋ยวก็จะได้อย่างง่ายๆ

เช้านี้อากาศแจ่มใสเย็นสบาย เหมาะสมที่ลูกผู้มีบุญทุกคนจะได้ประกอบความเพียร จะได้เข้าถึงพระธรรมกายประจำตัว ขอให้ลูกทุกคนสมหวังดังใจในการเข้าถึงพระรัตนตรัยในตัวทุกๆ คนนะ

อาทิตย์ที่ ๑๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๒

 

It Must Be Easy for It to Be Correct

Now is the perfect time for everyone to set his mind on the path to Nibbana. First, sit in a half-lotus position by placing your right leg over your left leg, your right hand over your left hand, with your right index finger touching your left thumb. Rest your hands comfortably on your lap. Gently close your eyes as if you were about to fall asleep. Do not squeeze your eyes shut.  Relax every part of your body so that you are sitting comfortably. Now, keep your mind cheerful, refreshed, clean, pure, bright and clear.  Free your mind of all worries, all attachments and all obligations.  Let go of everything and realize that every living being and everything come into being, exist for a time, and come to an end.  Free your mind of all thoughts about people and things.

During the meditation practice, let go of everyone and everything. Rest your mind quietly and softly at the Seventh Base in the middle of your abdomen, at two finger’s width above your navel. Suppose you have two strings, pull one string tightly from the navel straight through to the back of your body. Then pull the other string across from your right side straight through to your left side such that both strings intersect in the middle of your body. The point of intersection is the size of the tip of a pin. This is then the location of the Sixth Base. Now suppose you place two fingers, one on top of the other at the intersection; this is then the location of the Seventh Base. The Seventh Base is very important since it is where the mind is located at birth, at death, when one falls asleep, and when one wakes up.  It is also the entrance to Nibbana.  The Lord Buddha and all the Arahats attained the Path and Fruit of Nibbana by bringing their minds to a complete standstill at the Seventh Base of their body.  It was all that they had to do. That is why it is important for us to always keep our mind quiet and still at the center of our body in whatever we may be doing.  When we give alms, observe the Precepts, or practice meditation, it is important to rest our mind quietly at the Seventh Base.  The Seventh Base in the center of our body is the source of every good thing. It is the source of merit.  It is the entrance to the Path and Fruit of Nibbana. We must be very attentive to it. It means that we must endeavor to rest our mind quietly at the Seventh Base at all times so that we can achieve purity of mind.

Now try to visualize your personal Dhammakaya Image and let it be your meditation object. Visualize it easily, the way you visualize objects that are familiar to you. Gently visualize the golden Dhammakaya Image, with a mind that is relaxed, calm and soft so that you have something to anchor your mind.  Imagine that the Dhammakaya Image is at the Seventh Base in the center of your body. Visualize it easily, gently and unhurriedly. Keep your mind quiet and still by repeating the mantra softly and evenly…Samma Arahang…Samma Arahang…Samma Arahang.

Every time you repeat the mantra Samma Arahang, do not forget to visualize your personal Dhammakaya Image as lightly, comfortably, easily and calmly. Always nurture the mind in this manner until it becomes still.

When the mind is still, the mantra will disappear. Your mind will be left with only the Dhammakaya Image without any other thoughts. You will be able to visualize the Dhammakaya Image clearly at the center of your body. Do it easily, lightly, comfortably and calmly.

It is important to know how to close your eyes correctly. If you do it right, visualizing the Dhammakaya Image will be easy. Do not close your eyes forcibly, just do it lightly so that your eyelids are loosely closed. This will enable you to visualize the image easily.

One thing you should bear in mind is that the middle way within, from the beginning until becoming an Arahat, is not an arduous way. It’s a way of meritorious beings; therefore, it’s easy. The word ‘difficult’ does not exist. There are only easy, →easier, and →easiest. If it gets difficult, blocked, tense or tight, that means you are doing it incorrectly.

The only difficulty is when we open our eyes to perform life activities like earning a living, which is difficult because there are various problems and stress. But when we close our eyes to meditate, there are only the simplicities of things. The world from without and within are opposite of each other, and this could be explained as ‘some people cannot see the wood for the trees’. We must study it to realize that this is the reality of things.

If you close your eyes and it is difficult, becomes an arduous process or you begin searching for the Dhammakaya Image, it means you are doing it incorrectly. It’s not the way of meritorious beings.

I can assure you that it’s easy, and I don’t believe that someone cannot do it. Exceptions are an unconscious person, an insane person, a drunkard or a dead person etc. Hence, everyone can do it easily, but one must be vigilant, persevering, dedicated, and willing to become enlightened. Having the desire to know the truth of life, to be free from ultimate sufferings; thus, one will accomplish.

The initial challenges would be a distracted mind and over-exertion. Sleepiness or other things are secondary. If the mind doesn’t get distracted by people, pets or things, it will be easy. Above all, it also depends on how much one practices. Earnestly put in the effort and remind yourself that throughout the journey within, the way to become a Noble One, must be easy and simple.

Extol the virtues of the Lord Buddha, which we have casted replicas in the form of the Dhammakaya Images. Visualize it easily. If it gets difficult, it means you may have started to squeeze your eyelids or eyes. But if you gently close your eyes in a relaxing manner as I’ve mentioned before, you will accomplish it easily.

This morning the weather is refreshing and cool. It’s suited for you to practice meditation in order to be able to attain the Dhammakaya within. May all of you accomplish your wish in attaining the Triple Gem within.

Sunday, 12 April 2009 (2552 B.E.)

 

容易才是正确的方法

请大家专心一志,以趣向涅槃之道为目标。可采用单盘的坐姿,将右脚盘放在左脚上,将右手叠放在左手上,右手食指轻触左手拇指尖,然后舒服地放在内足踝上。轻轻地闭上眼睛,就像睡着时一样放松。不要用力挤眼皮,也不要用力压眼珠。让心保持舒畅、开朗、清净、明亮,不担忧外在之事,心无挂碍。

舍弃一切,放下所有,无论什么事情,都先不要管它,不去攀缘。我们通过省思众生万物,如实了知无论是人、物或事,有生亦有灭,我们的身体也是如此,每天都在不断地衰退,因此,应该学会放下一切。

我们打坐时,应释放一切,放下眷恋,不要攀缘,不要有杂念。让心轻柔地静定在身体中央第七点,该定点就处在与肚脐同一水平线的腹部中央,往上提升两指宽的高度处。

假设腹部中有两条棉线,一条从肚脐拉直延伸至后背,另一条从左腰拉直延伸至右腰。在这两条线细如针头的交叉点,往上提升两指宽的高度处。

称为身体中央第七点,是关乎生、死、睡、醒的定点。无论是出生或死亡,亦无论是睡觉还是醒来,皆初始身体中央第七点。重要的是,该定点也是通往涅槃的起始点,是到达究竟涅槃的必经之路。诸佛与诸阿罗汉都是在将心静定于此定点,从初始到证入究竟涅槃,都要持续静定,除此别无他事。

因此,我们应认真了解身体中央第七点,因为这是非常重要的定点。无论在处理世俗或佛教事务时,都应将心持续静定于此处。

特别在布施时,如果将心静定于身体中央第七点,那么少量布施也会获得大功德。持戒也要将心静定于身体中央第七点,因为戒生于此处,应护持心持续安住于此定点中。为证得涅槃而修行,也要将心静定于此。

第七点是心的安住处,是非常重要的定点。我们应该让清净之心持之以恒的静定于此,之后纯净便会自然生起。

这一次,我们以法身佛为所缘,轻轻、舒服、简单的观想,就好像在观想自己熟悉的东西。譬如可以轻松的将金色的自身佛像作为所缘,然后轻松、自在、宁静的观想。

简单的观想才会有简单的收获,以平常心对待,让心在身体中央第七点有所依附,以金色的自身佛像为所缘,轻轻松松的观想。一边默念“三玛阿罗汉”,一边让心保持静定柔和,不要过快也不要过慢。

每一次默念“三玛阿罗汉”时,也要记得轻松、舒服、简单的意念内在的法身佛。一直如此的护持,直到心静定为止。

当心静定时,默念就会自动消失,心就只会观想内在的法身佛,不去想其他的事情。只要我们简单、轻柔、舒服的持续观想,就会在身体中央观见清晰的佛像。

重要的是要懂得如何闭眼,如果方法正确,就会轻松观想到内在的法身佛像。不要用力闭眼,只需让眼皮轻触,如此会让我们更加轻易地观想到佛像。

我们要记得内在中道之路,从开始到成为阿罗汉,不是一条贫瘠之路,而是具功德者之路。因此,没有困难,只有容易,从容易到非常容易,再到无比容易。如果从开始便是困难,然后再到紧绷与僵硬,那么方法就不正确了。

在世俗谋生才会遇到困难,当闭上眼睛打坐时,只会容易。如此相互交替,就好像拨开遮住眼睛的头发,使我们清楚认识事实的真相。

如果我们闭上眼睛,便开始感到困难与拮据,想去观想佛像,那不是正确的方法,不是具功德者之道。

师父确定打坐很容易,除了精神病、疯子、醉人或死人做不到以外,所有人都可以做得到。我们可以简单的修习,要精进,要探索,有满足感,愿意投入,想了解生命的真谛,想远离真正的痛苦,如此一定可以做到。

初始的障碍一般以杂念与过于专注为主,而睡觉或其他方面的障碍则比较少。如果心不去攀缘人、物或事,打坐就会变得很容易。这一切取决于练习,慢慢的练习下去,记得内在的中道就是通往究竟之路,会让我们拥有不曾有过的满足感。

我们以观想法身佛来表达对佛陀的信仰,要轻松简单的观想。如果觉得困难,很可能是我们在挤眼皮与压眼球。如果能如上述所说,轻轻地闭眼,放松全身,那么就会变得很容易。

今天的天气清爽宜人,非常适合精进打坐,希望每个人都能如愿证得内在的法身。

2009年4月12日星期天