สติกับสบาย(Th En Ch)

0
220

สติกับสบาย

ต่อจากนี้ไปตั้งใจเจริญสมาธิภาวนากันนะ ให้น้อมใจตามเสียงของหลวงพ่อไปทุกๆคนนะ  ให้นั่งขัดสมาธิ โดยเอาขาขวาทับขาซ้าย มือขวาทับมือซ้าย ให้นิ้วชี้ของมือข้างขวาจรดนิ้วหัวแม่มือข้างซ้าย วางไว้บนหน้าตักพอสบายๆ หลับตาของเราเบาๆ หลับพอสบายๆ คล้ายๆ กับเรานอนหลับ อย่าไปบีบหัวตาอย่ากดลูกนัยน์ตา ขยับเนื้อขยับตัวของเราให้ดี กะคะเนให้เลือดลมในตัวเดินได้สะดวก เราจะได้ไม่ปวดไม่เมื่อย

ความสบายนี้เป็นหัวใจของการปฏิบัติธรรม สติกับสบายจะต้องไปคู่กัน ไม่ว่าเราจะปฏิบัติธรรมด้วยวิธีการอย่างไร จะปฏิบัติแบบไหนก็ตาม หลักมีอยู่ว่าจะต้องให้สติกับสบายไปคู่กัน

สติ จะต้องระลึกนึกถึงสิ่งที่ครูบาอาจารย์ท่านแนะนำสั่งสอน  ถ้าของหลวงปู่วัดปากนํ้า ท่านให้กำหนดบริกรรมนิมิตเป็นดวงใสกับบริกรรมภาวนา สัมมา อะระหัง จะต้องไม่เผลอจากบริกรรมทั้งสอง  อย่างนี้เรียกว่า มีสติ แต่วิธีการกำหนดสตินั้นต้องทำอย่างสบายๆ  ตรงนี้สำคัญ อย่าฟังผ่านกันนะ

สติกับสบายทั้งสองจะต้องไปคู่กันตลอดเส้นทาง  ตั้งแต่เบื้องต้นจนกระทั่งถึงที่หมายปลายทาง ถ้าไปด้วยกันเมื่อไรจะทำให้ใจเราหยุดนิ่งได้ง่าย และหลังจากใจหยุดแล้วก็จะเข้าถึงดวงธรรมภายใน หลักก็มีอยู่อย่างนี้นะ

เพราะฉะนั้น สติกับสบายจะต้องไปคู่กันอย่างสม่ำเสมอ  ทำอารมณ์ของเราให้สม่ำเสมอ  ด้วยใจที่ใส  ใจที่เยือกเย็น อย่านั่งแบบขุ่นมัวเร่าร้อนหรือนั่งแบบฮึดฮัดอย่างนี้ไม่ได้ผล จะต้องทำอารมณ์ให้สบาย ๆ  อารมณ์ที่สบายนั้น ของใครของมันนะ

สำหรับท่านที่มาใหม่ ให้ขยับเนื้อขยับตัวกันให้ดี

สำหรับท่านั่งที่กล่าวไปเบื้องต้นนั้น เป็นท่านั่งมาตรฐานของการปฏิบัติธรรม ซึ่งหลวงปู่วัดปากนํ้า ภาษีเจริญ ท่านถอดแบบมาจากผู้รู้ภายใน คือ พระธรรมกายภายในนั่นเอง

พระธรรมกายภายในเป็นผู้รู้แจ้งเห็นแจ้งแทงตลอดในธรรมทั้งหลาย  ท่านมีปกตินั่งอย่างนี้ คือ นั่งขัดสมาธิ เอาขาขวาทับขาซ้าย  มือขวาทับมือซ้าย โดยเฉพาะนิ้วชี้ของมือข้างขวาจรดนิ้วหัวแม่มือข้างซ้าย   ตรงนี้สำคัญนะ   แล้วถ้าเราดึงฝ่ามือทั้งสองให้ชิดติดลำตัวได้กายจะตั้งตรงทีเดียว นี่คือท่านั่งมาตรฐาน เป็นท่านั่งที่สมบูรณ์  หลวงปู่วัดปากน้ำภาษีเจริญถอดแบบออกมาจากพระธรรมกายในตัว เมื่อวันที่ท่านได้บรรลุธรรม  แล้วก็แนะนำสั่งสอนสืบทอดกันมาจนกระทั่งบัดนี้ เป็นท่านั่งที่เราควรจะศึกษาเอาไว้ให้ดี

แต่ในแง่การปฏิบัติจริงๆ ที่บ้าน  เราจะนั่งท่าไหนก็ได้ให้อยู่ในอิริยาบถที่สบาย จะนั่งพิงข้างฝา นั่งห้อยเท้า หรือนั่งพับเพียบก็ได้  ให้มีความรู้สึกว่าร่างกายสบาย แล้วก็กำหนดสติกับสบายไปคู่กัน   แต่ว่าท่านั่งมาตรฐานนี้ต้องศึกษาไว้ให้ดีนะ  ขาขวาทับขาซ้าย  มือขวาทับมือซ้าย  นิ้วหัวแม่มือข้างขวาจรดนิ้วหัวแม่มือข้างซ้าย  วางชิดติดลำตัว  กายจะตรงขึ้นมาเอง  แล้วก็สำรวจตรวจตราดูว่า มีส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายเราเกร็งมั้ย  สังเกตดู ตรวจตราดูให้ดี

เมื่อร่างกายอยู่ในท่าที่ถูกส่วนแล้ว ต่อจากนี้ก็ปรับใจของเราให้สบายๆ   ใจจะสบายได้มีวิธีคิดในเรื่องสบายอยู่หลายวิธี   พระพุทธเจ้าท่านแนะนำสั่งสอนมีอยู่ถึง ๑๐ วิธี เขาเรียกว่า อนุสติ ๑๐ ตั้งแต่ พุทธานุสสติ ธัมมานุสสติ สังฆานุสสติ เป็นต้น คือถ้าใจคิดอย่างนั้น คือถ้าใจคิดอย่างนั้นแล้ว  จะรู้สึกว่ามันสบาย  อารมณ์สบายปลอดโปร่ง นั่นเป็นวิธีการหนึ่ง

บางท่านอาจจะนึกถึงธรรมชาติ  ทำให้อารมณ์รู้สึกสบาย ปลอดโปร่ง  มีอารมณ์อยากจะนั่งทำภาวนา อยากจะทำใจให้หยุดนิ่ง อย่างนี้ก็มี

แต่วิธีลัดที่สุดก็คือ ทำใจให้ว่างๆ นิ่งเฉยๆ ทำตัวประหนึ่งว่า เราอยู่คนเดียวในโลก ไม่มีพันธะผูกพันกับเรื่องใดๆ ทั้งสิ้น  ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการศึกษาเล่าเรียน  เรื่องครอบครัว เรื่องธุรกิจการงาน หรือเรื่องอะไรที่นอกเหนือจากนี้  ทำเป็นเหมือนกับว่าเราอยู่คนเดียว

ในโลกจริงๆ  หรือสมมติตัวเราอยู่กลางอวกาศโล่งๆ  ไม่มีสรรพสัตว์สรรพสิ่ง คน สัตว์ สิ่งของไม่มี อย่างนี้เป็นทางลัดที่จะทำให้ใจเราปลอดโปร่งสบาย

คำว่า “สบาย” ของหลวงพ่อในที่นี้ สบายเบื้องต้นก็คือ รู้สึกเฉยๆ ภาษาธรรมะเขาเรียกว่า อทุกขมสุข(อะ-ทุก-ขะ-มะ-สุก-ขะ) คือ จะเรียกว่าสุขก็ไม่เชิง ทุกข์ก็ไม่ใช่ ในเบื้องต้นมันอยู่ในสภาพที่เฉยๆ แล้วเราก็ทำใจว่างๆ   ว่างเหมือนอย่างที่พระพุทธเจ้าสอนว่า ให้มองโลกนี้ให้ว่างเปล่า ไม่มีคน ไม่มีสัตว์ ไม่มีสิ่งของ  ใจว่างๆ  นิ่งๆ

นิ่งๆ นี่คือความหมายของคำว่า สบาย ของหลวงพ่อในเบื้องต้น

แล้วเราก็อาศัยจุดนี้แหละ จุดที่เรารักษาใจที่เป็นกลางๆ  ว่างๆ โล่งๆ นิ่งๆ เฉยๆ ถ้าเรารักษาอารมณ์นี้ให้สมํ่าเสมอ ด้วยใจที่เยือกเย็น ไม่เร่งร้อน เร่งรีบ ประคองอารมณ์นี้ต่อไปเรื่อยๆ ในตำแหน่งที่ใจเราตั้งมั่นแล้วรู้สึกว่า สบาย ปลอดโปร่ง มีความรู้สึกพึงพอใจกับอารมณ์ชนิดนี้ ความรู้สึกชนิดนี้ ไม่ช้าเราจะเข้าถึงจุดแห่งความสบายที่แท้จริง ซึ่งจะมีความรู้สึกที่แตกต่างจากคำว่าสบาย ในเบื้องต้นของหลวงพ่อ

เพราะฉะนั้นคำว่า “สบาย” คำเดียวกัน แต่ปริมาณแห่งความสบายนั้นมันจะไม่เท่ากัน ตั้งแต่สบายในระดับมีปริมาณน้อย จนกระทั่งมีปริมาณเพิ่มพูนขึ้น  ดังนั้นตอนนี้เราแสวงหาอารมณ์สบายกันเสียก่อน

โดยการทำใจให้ว่างๆ นิ่งๆ โล่งๆ เฉยๆ เหมือนอยู่กลางอวกาศ เมื่ออารมณ์เราสบายและมีสติ เดี๋ยวเราคอยดูนะ สิ่งที่เราเคยคิดว่ามันยาก มันจะกลายเป็นของง่ายสำหรับเรา

ธรรมะเราเคยได้ยินได้ฟังว่าเป็นเรื่องลึกซึ้ง ยากต่อการเข้าถึง จะต้องใช้ความเพียรกันอย่างอุกฤษฏ์ ต้องไปอยู่ในสถานที่ที่แตกต่างจากบ้านเรือนของเราจึงจะเข้าถึง นั่นคือสิ่งที่เราได้ยินได้ฟังกันมา แต่เดี๋ยวนี้เราจับหลักได้แล้ว เราจะได้ยินสิ่งที่แปลกออกไป นั่นคือธรรมะแม้เป็นของลึกซึ้งแต่ก็เข้าถึงได้อย่างง่ายๆ ด้วยวิธีการง่ายๆ โดยการกำหนดสติกับสบาย

เพราะฉะนั้นเดี๋ยวดูอานิสงส์ของความสบาย  ที่เรารักษาความสบายกันทั้งวัน  โดยเฉพาะตอนนี้  เดี๋ยวจะมีอานิสงส์ใหญ่

คำว่าธรรมะ คือ ความสะอาด ความบริสุทธิ์    คำว่า “ธรรมะ” แปลได้หลายอย่าง ในตำราพระพุทธศาสนามีผู้รวบรวมความหมายได้กว่า ๕๐ ความหมาย แต่ส่วนใหญ่มักจะมาลงว่า  คำว่าธรรมะ คือ ความสะอาด ความบริสุทธิ์ ความถูกต้องดีงาม

บางแห่งกล่าวถึงลักษณะทีเดียวว่า ธรรมะนั้นมีลักษณะเป็นดวงกลมๆ ใสๆ บางท่านได้กล่าวถึงธรรมะก็คือธรรมกาย เป็นองค์พระใสๆ ใสเหมือนเพชร ตั้งอยู่ภายในกายของเรา เมื่อใจเราสบาย ใจเราก็จะหยุดนิ่งได้อย่างง่ายๆ พอหยุดนิ่งแล้วเราก็จะเข้าถึงธรรมอย่างนี้

หลวงปู่วัดปากนํ้าท่านค้นพบไปเจอ “ดวงธรรมภายใน”  ซึ่งตรงกับคำสอนของพระพุทธเจ้า ธรรมเบื้องต้นนั้นจะเป็นดวงใสบริสุทธิ์ กลมรอบตัว อย่างเล็กขนาดดวงดาวในอากาศ อย่างกลางก็ขนาดพระจันทร์ในคืนวันเพ็ญ อย่างใหญ่ขนาดพระอาทิตย์ตอนเที่ยงวัน

และท่านก็ค้นพบว่า เมื่อใจหยุดนิ่งอย่างสบายๆ ที่กลางดวงธรรมนั้น ไม่ช้าก็จะเขาถึงกายภายในต่างๆ ที่ซ้อนกัน เป็นชั้นๆ เข้าไป กายมนุษย์ละเอียดซ้อนอยู่ในกายมนุษย์หยาบ กายทิพย์ซ้อนอยู่ ในกลางกายมนุษย์ละเอียด กายรูปพรหมซ้อนอยู่ในกลางกายทิพย์ กายอรูปพรหมซ้อนอยู่ในกลางกายรูปพรหม  กายธรรมซ้อนในกลางกายอรูปพรหม ซ้อนกันเป็นชั้นๆ อย่างนี้เข้าไปตามลำดับ

กายทั้งหมดเหล่านี้มีอยู่แล้วภายใน ซ้อนกันอยู่เป็นชั้นๆ เข้าไป   ไม่ใช่เป็นสิ่งที่เราสร้างหรือสมมติกันขึ้นมา  ธรรมทั้งหลายเหล่านี้ มีมาแต่เดิมแล้ว  ไม่ใช่เป็นสิ่งที่เราสมมุติให้เกิดขึ้น  เมื่อไรเราทำใจให้หยุดนิ่งเฉยๆ อย่างสบายๆ และต่อเนื่อง   เราก็จะเห็นอย่างนี้ เป็นชั้นๆ ซ้อนๆ กันไป  ไม่ว่าจะเป็นใครก็ตามในโลก จะเป็นชาติไหน ภาษาไหน แม้มีความเป็นอยู่แตกต่างกันแต่ภายในนั้นเหมือนกัน

ธรรมะทั้งหมดนี้มีอยู่แล้ว ไม่ใช่เป็นสิ่งที่เราไปทำให้มันเกิดขึ้นมา เมื่อใจของเราหยุดไปถึงไหน มีความละเอียดเท่าเทียมกับสิ่งที่มีอยู่ในภายในนั้นแล้ว เราก็จะเห็นสิ่งนั้นปรากฏขึ้น

ทำใจให้หยุดนิ่งเฉยๆ อย่างสบายๆ  ไม่เร่งรีบ ไม่เร่งร้อน  เหมือนเราอยู่คนเดียวในโลก  สมบัติของเรานั้นมีเพียงศูนย์กลางกายฐานที่ 7 กับใจของเราที่อยู่ตรงนั้นเท่านั้น  เพราะฉะนั้นเราก็ไม่มีห่วง ไม่มีพันธะอะไรทั้งสิ้น  ให้ทำใจอย่างนี้นะ  ต่างคนต่างทำใจขอเราให้หยุดนิ่งๆ  เฉยๆ อย่างสบายๆ ด้วยใจที่ใสเยือกเย็น ให้อารมณ์สมํ่าเสมอต่อเนื่องกันไปนะ

อาทิตย์ที่ ๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๓๖

 

Mindfulness and Relaxation

Now is the perfect time for everyone to practice meditation. I would like for you to focus your attention on my voice as you sit in a half-lotus position by placing your right leg over your left leg, your right hand over your left hand, with your right index finger touching your left thumb. Rest your hands comfortably on your lap. Now, close your eyes gently as if you were about to fall asleep. Do not squeeze your eyes shut.  And make sure that you are sitting comfortably to allow for good circulation so you won’t feel achy or tense.

Bear in mind that relaxation is the foundation to meditation practice, and mindfulness must go hand-in-hand with relaxation in whichever meditation method you choose to follow.

Mindfulness here means being mindful of the teaching of your meditation master. The Great Master Phramongkolthempuni (Luangpu Wat Paknam) teaches us to visualize a clear sphere while repeating the mantra ‘Samma Arahang’. He teaches us to keep our mind on both the clear sphere and the mantra at all times but to do so in a relaxed manner.

If mindfulness and relaxation can be maintained from the beginning to the end, your mind will easily come to a standstill. Once this happens, you will be able to attain the Dhamma Sphere within you.

Therefore, mindfulness and relaxation must always go hand-in-hand.  You will want to keep your mind clear and calm. Do not be hasty, gloomy or anxious. It is important that you feel relaxed in both body and mind.

For beginners, first make sure that you are sitting comfortably. The half-lotus position is the standard sitting position during meditation practice. The Great Master tells us that it is the sitting position assumed by the Dhammakaya within each of us. The Dhammakaya within us possesses penetrating knowledge about reality. He can be seen sitting in a half-lotus position in the center of our body.

If you can also pull both hands close to your body, it will help you to straighten your back. This is the standard sitting position that the Dhammakaya within us appears as witnessed by the Great Master on the day that he attained the Dhamma.

In practice especially at home, you can sit any way you like just so that you can be both mindful and relaxed, but you should know this standard half-lotus position. In this position, if your hands are pulled close to your body, it will help you to straighten your back. Now check to make sure that every part of your body feels relaxed.

Once your body is in a comfortable position, it is now time to adjust your mind. There are several ways to relax your mind. The Lord Buddha has given us ten different methods, starting with Anusati from Buddhanussati, Dhammanussati, Sanghanussati, etc. These methods enable one’s mind to feel relaxed and expansive.

Some people may prefer visualizing scenes of nature because it makes them feel relaxed and expansive. But the best way is to keep your mind vacant and still, to feel as though you are the only person here on earth, and you have absolutely no other concerns. You have no study concerns, no family concerns, no work concerns–none at all whatsoever.

The quickest way to keep your mind vacant and expansive is to imagine that you are sitting completely alone in space.

The Thai word “Sabai” at the basic level means that one feels neither happiness nor unhappiness. One feels neutral, and one’s mind is vacant.  The Lord Buddha teaches us to look at this world as though it is empty of all living beings and things.  At this stage, Sabai means feeling calm and still.

Maintain the quietude and stillness within your mind calmly and unhurriedly and soon you will arrive at the point where you feel truly relaxed or truly Sabai.  This will be a different feeling than the one felt at the beginning of the session.

Therefore, the same word “Sabai” can denote different levels of relaxation from the basic level to the deep level. Initially, it is important to feel sabai or relaxed at the basic level.  By keeping your mind vacant, still, expansive and neutral as if you were sitting in space, soon what you used to think of as being difficult will be made easy for you.

You may have heard before that the Dhamma is profound, therefore, difficult to attain. And to attain the Dhamma, it requires a supreme effort and an environment separate from your home environment. But actually, the Dhamma, albeit being profound, can be attained when mindfulness and relaxation are applied together.

It is important that one maintains the feeling of relaxation or sabai all day long for this meditation method to work properly.

The word Dhamma means cleanliness or purity. According to the Buddhist Scriptures, Dhamma has more than fifty different meanings, but it is used mainly to mean cleanliness, purity or righteousness.

In certain places, Dhamma is described as a clear sphere.  Some sages use the word Dhamma to refer to the Dhammakaya or the clear Buddha that is as brilliant as a diamond located inside our body. Once one’s mind can be kept continuously relaxed, quiet and still, one will be able to attain the Dhamma.

The Great Master discovers the Inner Dhamma Sphere which corresponds with the Lord Buddha’s Teachings which say that the Dhamma at the initial stage appears as a clear, pure sphere. It can be as small as the star in the sky, or it can reach the intermediate size of the full-moon, or it can be as large as the midday sun.

The Great Master also discovers that when he could continuously keep his mind quiet, still and relaxed in the center of the Dhamma Sphere, he is soon able to attain the different Inner Bodies, one dwelling inside another in the following manner.

The Refined Human Body dwells inside the Crude Human Body. The Celestial Body dwells inside the Refined Human Body.  The Form Brahma Body dwells inside the Celestial Body. The Non-Form Brahma Body dwells inside the Form Brahma Body.  The Dhammakaya dwells inside the Non-Form Brahma Body, so on and so forth.

These Inner Bodies exist within each of us, one inside another. They are not something created or dreamt up. They exist as part of us from the very beginning. When we can bring our mind to a complete standstill in a relaxed and continuous manner, we will be able to see these Inner Bodies.  Whatever our race or creed, however different we may be from each other on the outside, we are all the same on the inside.

These Inner Bodies exist inside each of us.  We will see them when our mind can arrive at the same level of refinement as each of the Inner Bodies.

Keep your mind quiet, still, neutral, relaxed and unhurried. Feel as though you are the only person here on earth. Remember that the only things that really belong to you are the center of your body and your mind.  Therefore, keep all the concerns and obligations out of your mind for now.  Just continue to keep your mind quiet, still, neutral, relaxed and unhurried.

Sunday, 7 November 1993 (2536 B.E.)

 

正念与舒服

诵念供养三宝经后,接下来请大家跟随师父的声音,一起专心打坐。可采用单盘坐姿,将右脚盘放在左脚上,将右手叠放在左手上,右手食指轻碰左手拇指尖,然后舒服地放置在内足踝上。轻轻地闭上眼睛,就像睡着时一样放松。不要用力挤眼皮,也不要用力压眼珠,让全身的血液流通顺畅,如此才不会感到疼痛与酸累。

舒服是打坐的首要目标,正念与舒服是并行的。无论我们采用哪种方法或姿势打坐,重要的还是得维持正念与舒服。

要维持正念,就应意念导师的教诲,如北榄寺祖师推荐以观想透明球为所缘,同时默念“三玛阿罗汉”,只有不忽略这两项,才能称得上是具足正念。维持正念的方式一定要放松舒服,这非常重要。

正念与舒服要一起时刻保持,从开始到结束都是如此。如果两者能够并行不悖,心就会很容易静定下来,并证入内在的法球。以此为基础,继续维持正念与舒服,保持平常心,不要以压抑或愤怒的情绪打坐,不然将一无所获。要以轻松舒服的情绪去打坐,每个人都应该继续保持下去。

对于初学者,首先要调整好坐姿。

上述讲的坐姿,是打坐的标准姿势,即祖师模仿内在法身佛的坐姿。

内在法身佛是明了一切法的智者,他的坐姿为单盘坐姿,即右脚盘放在左脚上,右手叠放在左手上,右手食指应轻触左手的拇指尖,这点非常重要。如果手掌能紧贴身体,放置在内足踝上,身体也会自然的垂直。这就是标准的坐姿,庄严而圆满,是北榄寺祖师证悟时,根据内在法身领悟得来,并一直传承至今,非常值得我们借鉴与学习。

如果是在家里打坐,可以采用不同的坐姿,只要感觉舒服即可。可以坐靠墙边或盘腿侧坐,只要保持舒服,同时维持正念就好。对于标准坐姿,还是非常值得去学习,即右脚盘放在左脚上,右手叠放在左手上,右手食指轻触左手拇指尖,然后舒服地放在内足踝上,身体自然挺直。最后查看全身是否感觉有哪里紧绷,要仔细观察。

调整完身体后,接下来就是调整心,让心舒服的方法有许多种。佛陀教导的方法就有十种,称为“十念”,如念佛、念法、念僧等。如果心观想一个所缘,并感觉到舒服,随之具足轻松明朗的情绪,那便是一种方法。

有的人在观想自然时,就会生起舒服明朗的情绪,产生想打坐的念头,想让心静定下来。

最基本的方法就是让心空旷宁静,感觉自己独处于世界中。无论是学业、家庭、工作或其他事务,都不再牵挂,如同世界上只有自己一个人。或者假设自己身处于无垠的宇宙,没有人、动物、或其他东西,如此便是一条能让心空旷宁静的捷径。

这里讲的“舒服”是指初级的舒服,即静定无他,佛法称为“非苦非乐”,也就是不是乐,也不是苦。初级的状态就是静定无他,我们只需让心维持空旷的状态,有如佛陀的教诲:将这个世界看成空无一物,不存在人、动物或其他东西,心静定无他。这种就是所谓的初级舒服。

我们以此为基础,即是维持空旷、无他、宁静的心。如果我们能一直保持这种状态,心就会凉爽,不急不躁,继续维持这种舒服爽朗的感觉,并对此感到满意。当拥有这种感觉时,不久就会到达真正舒服的点,这与上述的初级舒服又有所不同。

同样是“舒服”,但程度不一样。从少量的舒服到持续不断地增加。而开始我们应先寻找到舒服的情绪。

就是让心空旷 、 无他 、 宁静,就好像处在宇宙中央。当我们的情绪舒服并具足正念,我们曾认为困难的事情就会变得容易起来。

我们曾听闻的法深奥难证,需要精进不止,并去到适合修行的场所方能证得,这就是我们曾经听来的。但现在我们找到原理了,这与我们之前听来的有所不同,即纵然法深奥难证,但也可以通过维持正念与舒服的简单方法证得。

因此,当我们学习如何维持舒服,了解舒服的益处后,会对我们接下来的打坐,产生不可思议的作用。

“法”这个字蕴含多种意思,在佛教经典中,总结出五十多种。但合起来则有干净、纯洁、美好 、 正确之意。

有些地方讲法的性质为透明光滑的圆形物,有的人则说法是法身,透明如钻石的佛像,安住在人体内。当我们的心舒服,就会容易静定,当心静定之后,就有机会证入法。

北榄寺祖师发现“内在之法球”,这与佛陀教诲的初级之法,即纯净、圆滑之圆形物一致。小如星星,中如圆月,大如太阳。

同时,祖师还发现当心舒服的静定在法球中央时,不久就会证入内在重叠的种种身,进入重叠在粗人身中的细人身,细人身中的天人身,天人身中的梵天人身,梵天人身中的无色梵天人身,无色梵天人身中的法身,如此层层重叠,循序渐进的证入。

这些身本就存在人的体内,层层重叠在一起,这不是我们自己创造或假设出来的。这些法也早已存在,不是我们假设出来的。当心舒服的持续静定时,就会观见种种身,一层接一层,反复重叠。无论是谁,属于什么国籍,用什么语言,或处在什么生活状况,每个人的内在之身都是一样的。

法是自然存在的,不是我们创造出来的。当心静止到一定程度,精细度与内在之物相应时,我们就会自然的看见有东西呈现上来。

让心自然轻松的静定,不急不躁,宛如一人独处世间,随身的财富只有身体中央第七点和安稳的心。因此,我们没有期望,亦没有挂碍,让心继续保持静定轻松的状态,让这种情绪持续维持下去。

1993年11月7日星期天