ทางเดินของใจทั้งหมด ๗ ฐาน(Th En Ch)

0
216

ทางเดินของใจทั้งหมด ๗ ฐาน

ต่อจากนี้ไปให้ตั้งใจให้แน่แน่ว  มุ่งตรงต่อหนทางพระนิพพานกันทุกๆคน   ให้นั่งขัดสมาธิ โดยเอาขาขวาทับขาซ้าย มือขวาทับมือซ้าย ให้นิ้วชี้ของมือข้างขวาจรดนิ้วหัวแม่มือข้างซ้าย วางไว้บนหน้าตักพอสบายๆ  หลับตาของเราเบาๆ  หลับตาเบาๆ พอสบายๆ คล้ายกับตอนที่เราใกล้จะหลับ อย่าไปบีบเปลือกตา อย่ากดลูกนัยน์ตา แล้วก็ทำใจของเราให้เบิกบาน ให้แช่มชื่น ให้สะอาดบริสุทธิ์ผ่องใส ไร้กังวลในทุกสิ่ง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอะไรก็ตาม ให้ปลด ให้ปล่อย ให้วาง ให้ทำใจว่างๆ                                                                                                                        ทีนี้เราก็สมมุติว่าภายในร่างกายของเราปราศจากอวัยวะภายใน ไม่มีมันสมอง ไม่มีปอด ตับ ม้าม ไต หัวใจ เป็นต้น   สมมุติว่าเป็นที่โล่งๆว่างๆ  เป็นปล่อง เป็นช่อง เป็นโพลง กลวงภายใน  คล้ายๆท่อแก้วท่อเพชรใสๆ  สมมุติให้เป็นปล่อง เป็นช่อง เป็นโพลง กลวงภายใน คล้ายท่อแก้ว ท่อเพชรใสๆสติ จะต้องระลึกนึกถึงสิ่งที่ครูบาอาจารย์ท่านแนะนำสั่งสอน  ถ้าของหลวงปู่วัดปากนํ้า ท่านให้กำหนดบริกรรมนิมิตเป็นดวงใสกับบริกรรมภาวนา สัมมา อะระหัง จะต้องไม่เผลอจากบริกรรมทั้งสอง  อย่างนี้เรียกว่า มีสติ แต่วิธีการกำหนดสตินั้นต้องทำอย่างสบายๆ  ตรงนี้สำคัญ อย่าฟังผ่านกันนะ

…คราวนี้เรามาทบทวนหลักวิชชาที่พระเดชพระคุณหลวงปู่วัดปากนํ้า ภาษีเจริญ ท่านได้อบรมสั่งสอนมาว่า ทางเดินของใจนั้น มีทั้งหมด ๗ ฐาน

ฐานที่ ๑ อยู่ที่ปากช่องจมูก หญิงข้างซ้าย ชายข้างขวา

ฐานที่ ๒ อยู่ที่เพลาตา ตรงตำแหน่งที่นํ้าตาไหล ท่านหญิงอยู่ข้างซ้าย ท่านชายอยู่ข้างขวา

ฐานที่ ๓ อยู่ที่กลางกั๊กศรีษะ ในระดับ เดียวกับหัวตาของเรา

ฐานที่ ๔ อยู่ที่เพดานปาก ช่องปากที่อาหารสำลัก

ฐานที่ ๕ อยู่ที่ปากช่องคอ เหนือลูกกระเดือก

ฐานที่ ๖ อยู่ในกลางท้อง ระดับเดียวกับสะดือของเรา

สมมติว่าเราหยิบเส้นด้ายขึ้นมา ๒ เส้น นำมาขึงให้ตึง จากสะดือทะลุไปด้านหลังเส้นหนึ่ง จากด้านขวาทะลุไปด้านซ้ายอีกเส้นหนึ่ง ให้เส้นด้ายทั้งสองตัดกันเป็นกากบาท ตรงจุดตัดที่เล็กเท่ากับปลายเข็มนั่นคือ ฐานที่ ๖ แล้วสมมุติเอานิ้วชี้กับนิ้วกลางมาวางซ้อนกัน  แล้วก็นำไปทาบตรงจุดตัดของเส้นด้ายทั้งสอง  สูงขึ้นมาสองนิ้วมือ  ตรงนี้เรียกว่า  ฐานที่ 7  เป็นที่เกิด ที่ดับ ที่หลับ ที่ตื่น

ฐานที่ ๗ จะอยู่เหนือฐานที่ ๖ ขึ้นมา ๒ นิ้วมือ โดยสมมติเอานิ้วชี้กับนิ้วกลางมาวางซ้อนกัน และนำไปทาบตรงจุดตัดของเส้นด้ายทั้งสอง สูงขึ้นมา ๒ นิ้วมือ ตรงนี้เรียกว่า ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ เป็นที่ตั้งใจของเราอย่างแท้จริง

จากฐานที่ ๑ ถึง ฐานที่ ๖ เป็นทางเดินของใจ แต่ฐานที่ตั้งของใจที่แท้จริง คือ ฐานที่ ๗ เราจะต้องเอาใจมาหยุดนิ่งที่ฐานที่ ๗ ให้ได้ตลอดเวลาเลย

เราจะเห็นฐานที่ ๗ ได้ชัดเจนก็ต่อเมื่อใจหยุดสนิทถูกส่วนสมบูรณ์ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์แล้ว แต่ตอนนี้เรายังเป็นผู้ฝึกใหม่ ใจยังไม่หยุดนิ่ง ก็ให้สมมติเอาว่าอยู่ในกลางท้อง ในระดับที่เหนือจากสะดือขึ้นมา ๒ นิ้วมือ หรือจำง่ายๆ ว่า อยู่ตรงกลางท้องของเราฐานที่ ๗ ต้องการแค่ให้รู้จักว่าอยู่ตรงนี้ ไม่ใช่เอาไว้สำหรับไปควานหาว่าอยู่ตรงไหน ไม่ต้องนะ สมมติว่าอยู่กลางท้องในตำแหน่งที่เรารู้สึกว่าสบาย แล้วเราพึงพอใจที่จะเอาใจเรามาวางไว้ตรงนี้

คราวนี้การปฏิบัติตามหลักวิชชาพระเดชพระคุณหลวงพ่อวัดปากน้ำภาษีเจริญ ท่านให้นึกถึงดวงใส ประดุจเพชรลูกที่เจียระไนแล้ว ไม่มีตำหนิ ไม่มีขีดข่วนคล้ายขนแมว  โตเท่ากับแก้วตา  อันนี้เป็นบริกรรมนิมิต  แล้วท่านก็สอนให้เอาใจมาหยุดนิ่งๆ ที่กลางดวงใสๆตรงตำแหน่งที่เรามั่นใจว่าเป็นฐานที่ 7  แล้วก็ประกอบบริกรรมภาวนา  สัมมาอะระหัง…สัมมาอะระหัง…สัมมาอะระหัง     ทุกครั้งที่ภาวนา สัมมาอะระหัง ก็ต้องไม่ลืมนึกถึงดวงใสๆ  ประคองใจกันไปอย่างนี้  นี่คือหลักวิชชาที่ท่านสอนเอาไว้

ทีนี้บางท่านทำอย่างนี้แล้วมันตึง  มันตึง มันเกร็ง  ก็มีอีกวิธีหนึ่ง ซึ่งท่านก็สอนเอาไว้เหมือนกัน  ให้นึกถึงสิ่งที่คุ้นเคย จะเป็นอะไรก็ได้ ขายทุเรียนก็นึกทุเรียน ขายเงาะ ขายมังคุด ขายลองกอง มะกูด มะนาว มะพร้าว ส้มโอ ก็นึกถึงสิ่งนั้น ขายปาท่องโก๋ก็นึกปาท่องโก๋ก็ได้เพราะเราคุ้นเคย ขายซาลาเปาก็นึกได้ ไส้หวานไส้เค็ม  มีคนเขาไปนึกถึงซาลาเปาเพราะเขาขายซาลาเปา  มองไปมองมากลายเป็นซาลาเปาแก้ว ใส แจ่ม ปรากฏอยู่ในกลางกายฐานที่ 7 ทีเดียว ตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมา ขายดิบขายดีทีเดียว ถ้าเรามองต่อไปเดี๋ยวซาลาเปาแก้วก็จะเป็นปฐมมรรค ทำอย่างนี้ก็ได้ ถ้าขายเพชร ขายพลอย ขายไข่มุกเราก็นึกเอา คุ้นเคยอย่างไรเราก็เอาอย่างนั้น นึกอย่างสบายๆ ดูไปเรื่อยๆ    จะประคองใจด้วยสัมมาอะระหังด้วยก็ได้ หรือจะไม่ภาวนาก็ไม่เป็นไร

การนึกนิมิตนี้เหมาะสำหรับผู้ที่นึกเป็น คือ นึกแล้วไม่ตึง ไม่เกร็ง นึกแล้วสบาย ก็ให้นึกนิมิตไป แต่ผู้ที่นึกแล้วไม่สบาย มันตึง อดที่จะไปลุ้น ไปเร่ง ไปเพ่งไปจ้องไม่ได้ ก็ให้เปลี่ยนวิธีการ เปลี่ยนมาเป็นแบบที่ไม่ต้องนึกถึงนิมิต คือ เอาใจของเรามาหยุดนิ่งๆ อยู่ในฐานที่ ๗ หรือกลางท้องตำแหน่งที่เรามั่นใจว่านี่คือฐานที่ ๗ เอาใจมาหยุดนิ่งๆ ตรงนี้ก็ได้ หยุดเบาๆ อย่างสบายๆ อยู่กับความมืดไปก่อน เหมือนเรานั่งอยู่ในยามราตรที่มืดมิดด้วยใจที่เป็นสุข ใจที่สบาย จะภาวนา สัมมา อะระหัง เป็นเพื่อนด้วยก็ได้ หรือจะอยู่เฉยๆ อย่างนั้นก็ได้ หยุดอย่างสบายๆ นิ่งๆ วางเบาๆ ค่อยๆ คลี่คลายระบบประสาทและกล้ามเนื้อ เดี๋ยวมันก็จะค่อยๆ โล่ง โปร่ง เบา สบายไปเรื่อยๆ

ความมืดเป็นมิตร ไม่ได้เป็นศัตรูกับการเข้าถึงธรรม เป็นความมืดที่น่ารัก ถ้าเรารู้จักที่จะอยู่กับความมืด ความมืดก็จะเป็นเกลอเป็นสหายของเรา อย่ากังวลกับการเห็นภาพ หรือว่าต้องเห็นอะไรอย่างนั้น อยู่กับความมืดอย่างสบายๆ อย่างนี้ไปเรื่อยๆ

ยิ่งมืดก็ยิ่งดึก  ยิ่งดึกก็ยิ่งใกล้สว่าง  ไม่ช้าความสว่างมันก็จะมาเอง  อยู่กับความมืดเป็นเกลอเป็นสหายกับความมืดด้วยใจที่สบายๆ เบิกบาน  และก็อย่าให้มีความคิดว่า  มืดอย่างนี้แล้วเมื่อไหร่ดวงสว่างจะมาปรากฏ  อย่านึกอย่าคิดอย่างนี้นะ  อยู่กับความมืดด้วยใจที่นิ่งสงบ  ให้เราคุ้นกับความมืดอย่างนั้นไปก่อน  อย่าไปตีโพยตีพาย  ว่าไม่เห็นจะได้อะไรเลย ความสว่างไม่เห็นมาเลย  ต้องนึกเหมือนเรานั่งเงียบๆในยามรัตติกาลในคืนที่มืดมิด  สมมุติมันเป็นเวลาตีหนึ่ง  เราก็ต้องยอมรับว่านี่คือตีหนึ่ง  ถึงจะตีโพยตีพายอย่างไรดวงอาทิตย์ก็ไม่มาปรากฏให้เราเห็นหรอก  แม้ตีสองก็เช่นเดียวกัน  ตีสามก็เช่นเดียวกัน  ตีสี่ ตีห้า  จนกว่าจะถึงเวลาอันเหมาะสม ใกล้รุ่งแสงเงินแสงทองจึงจะมาปรากฏให้เราได้เห็น  แล้วแหล่งกำเนิดของแสงเงินแสงทองนั้นจึงจะมาภายหลัง  เป็นดวงสีแดงๆ ยามอรุโณทัย ถ้าเรานั่งนิ่งๆ โดยไม่กังวลอะไรเหมือนนั่งในยามรัตติกาลในคืนเดือนมืดอย่างนี้   ไม่ช้าเราจะสมหวัง  คือใจมันจะสงบ  มันจะไม่ทุรนทุราย  มันจะหยุดมันจะนิ่ง  แล้วมันก็จะสว่างไปเอง

เมื่อสว่างแล้วก็อย่าไปตื่นเต้น อย่าไปสงสัยด้วย บางทีพอสว่าง อ้าว สงสัยอีกแล้ว เอ๊ะ เราเปิดไฟไว้หรือเปล่า แสงมันแทงทะลุเปลือกตาเข้ามาในท้องหรือเปล่า

ไม่ต้องไปสงสัยว่าแสงมันมาจากทางไหน เราเปิดไฟหรือเปล่าไม่ต้องไปคิดเลย ให้ทำเฉยๆ มีแสงสว่างมาก็ดีแล้ว อย่าสงสัย อย่าตื่นเต้น มันก็เป็นเหมือนกับแสงเงินแสงทองที่ปรากฏตอนรุ่งอรุณนั่นแหละ แต่นั่นมันแสงภายนอก นี่เป็นแสงภายใน เกิดขึ้นเมื่อใจบริสุทธิ์ เป็นแสงแห่งความบริสุทธิ์ เป็นรางวัลสำหรับผู้ที่ใคร่ในธรรม ฝึกใจให้หยุดนิ่งๆ แล้วเดี๋ยวแสงเงินแสงทองภายในก็จะมาปรากฏเป็นเรื่องปกติธรรมดา

ถ้าเราคิดว่าเป็นเรื่องปกติธรรมดา มันก็จะไม่ตื่นเต้นเหมือนเราเห็นดวงอาทิตย์ในยามเช้าของทุกเช้าอย่างนั้น และความไม่ตื่นเต้นตรงนี้จะทำให้ใจนิ่งลงไปอีก หยุดนิ่งไปเรื่อยๆ เดี๋ยวก็เห็นดวงใสๆ ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดของแสงภายใน แล้วเดี๋ยวก็เห็นกายในกาย เห็นองค์พระ เห็นไปตามลำดับอย่างนี้

เมื่อเข้าใจดีแล้ว ต่อจากนี้ไปวางใจเบาๆ หยุดนิ่งๆ ใจใสๆ เรื่อยไปเลย จนกว่าจะเข้าถึงธรรมะภายใน ต่างคนต่างนั่งกันไปเงียบๆ นะ

พฤหัสบดีที่ ๑๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๕

 

The Seven Bases of Our Mind

Now is a great time for everyone here to set his or her mind on the path of Nibbana.  Sit in a half-lotus position by placing your right leg over your left leg, your right hand over your left hand, with your right index finger touching your left thumb. Place your hands comfortably on your lap. Then close your eyes gently as if you were about to fall asleep. Do not squeeze your eyes shut.  Now, keep your mind cheerful, refreshed, clean, pure, bright and clear.  Empty your mind of all worries and all concerns. Keep it vacant and free.

Now, pretend that your body has no brain, no lungs, no liver, no spleen, no kidneys, no heart, etc. Pretend that your body is an empty space like a tunnel or a cave.  Pretend that it is like a crystal clear vessel.

Now, let us review the seven bases of our mind as taught by the Great Master (Most Venerable Luangpu Wat Paknam).

The First Base is located at the nostril, left for ladies and right for gentlemen.

The Second Base is located in the corner of the eye at the end of the tear duct, left for ladies and right for gentlemen.

The Third Base is located in the middle of our head at the eye level.

The Fourth Base is located at the roof of the mouth where the choking on food occurs.

The Fifth Base is located inside the throat above the Adam’s apple.

The Sixth Base is located in the middle of the abdomen at the same level as the navel. Suppose you have two strings, pull one string tightly from the navel straight through to the back of your body. Now pull the other string across from your right side straight through to your left side such that both strings intersect at the middle of your body. The point of intersection is the size of the tip of a pin.

This is then the location of the Sixth Base.  Now suppose you place two fingers, one on top of the other at the point of intersection, this then is the location of the Seventh Base.

The Great Master teaches us to visualize a crystal clear sphere as brilliant and flawless as a first-rate diamond about the size of our pupil. This is to be our meditation object. He also teaches us to keep our mind quiet and still in the middle of the sphere in the area where we feel confident that it is the Seventh Base.  At the same time, we are to recite the mantra…Samma Arahang…Samma Arahang…Samma Arahang… Each time that you recite the mantra, do not forget to visualize the crystal sphere too.  Remember that you are using the meditation object and the mantra to help keep your mind quiet and still.

But some people feel uncomfortable using this method.  If so, the Great Master suggests that one may visualize any object that one is familiar with.  For example, if one sells durian, one is to visualize it. Or one can visualize whatever fruit that one sells such as rambutan, mangosteen, wollongong, kaffir lime, lime, coconut, pomelo, etc.  One can visualize any object that one is familiar with such as Chinese fried dough, a steamed bun, etc.  It was told that one person kept visualizing a steam bun until it turned into a crystal clear bun at the Seventh Base of his body. From that point onward, his steamed bun business flourished.  If he were to continue to keep his mind on the crystal clear steamed bun, soon it would turn into the Pathama Magga Sphere. If one is in the jewelry business, one can visualize a diamond, a precious gem or a pearl.  The trick is to visualize something you are familiar with and fond of.  Visualize it easily. You may also recite the mantra…Samma Arahang… if you wish.

This visualizing technique works for those who can visualize something easily, comfortably and continuously. For some people, when they visualize something, they have a tendency to hasten the process and try to focus too intently on the image until they feel uncomfortable.  In that case, it is better for them to just keep their mind quiet and still at the Seventh Base or in the middle of their abdomen.  The trick is to do it gently, softly and comfortably. Be content with the darkness and feel as if you are sitting happily in the middle of the night. With your mind relaxed, you can either recite the mantra…Samma Arahang or you can simply keep your mind quiet and still, gentle and soft until you feel that your entire body is completely relaxed. Soon you will experience the feeling of spaciousness, lightness and expansiveness.

Darkness is not an enemy of meditation, not at all.  You should befriend it and embrace it instead. If you can learn to feel comfortable with the darkness, it will become your mental companion. Do not be concerned with seeing mental images just yet but continue to feel relaxed in the midst of darkness.

Remember that the darker it is, the nearer you are to light. Stay with the darkness with a relaxed and cheerful mind. Do not entertain the thought that perhaps all you will ever experience is darkness.  Just continue to keep your mind quiet and still. Be content with the darkness you are experiencing without worrying that you may never be able to experience any brightness at all. Just think of yourself as sitting quietly and comfortably in the middle of the night.  Do not hasten the sun to rise whether it is one, two, three, four or five o’clock in the morning.  When everything is just right, you will be able to experience the sun rising in the middle of your abdomen. If you can sit quietly and contentedly, soon you will experience the brightness.

And when the brightness does come, do not get excited or question where the light is coming from, or whether someone has just turned on the light.

Question nothing. The brightness you are experiencing occurs when your mind has achieved a certain level of purity.  It is a reward earned by an earnest practitioner of meditation. This is a natural process.

When you can accept it as such and continue to keep your mind quiet and still, you will be able to achieve a deeper level of stillness. Soon, you will be able to see a crystal sphere which is the source of the brightness inside your mind. Later, you will be able to see the respective Inner Bodies, all the way to the Dhammakaya.

Now that you understand the process, continue to keep your mind quiet and still until you can attain the Dhamma within you.

Thursday, 13 June 2002 (2545 B.E.)

 

七个定心处

接下来请大家专心一志,以趣向涅槃之道为目标。可采用单盘坐姿,将右脚盘放在左脚上,将右手叠放在左手上,右手食指轻触左手拇指尖,然后舒服地放在内足踝上。轻轻地闭上眼睛,就像睡着时一样放松。不要用力挤眼皮,也不要用力压眼珠。让心保持舒畅、开朗、清净、明亮的状态,不为外在的事物担忧。无论什么事情都先放下,不去攀缘,心无挂碍。

我们试想自己的体内无任何器官,没有脑髓、心、肺、肝、脾、肾等。内在空无一物,犹如一个空筒或空洞,或近似于一个透明的管道。

这次我们来复习北榄寺祖师的修行方法,祖师曾教导说:通向心之路共有七个定点。

第一处:鼻孔(男右女左)

第二处:内眼角(男右女左)

第三处:脑部中心点

第四处:口腔上颚区

第五处:喉口(喉结的上方)

第六处:腹部中央,与肚脐同一水平线。假设腹部中有两条棉线,一条从肚脐拉直延伸至后背,另一条棉线从左腰拉直延伸至右腰,这两条线细如针头的交叉点,就是第六定点。

第七处:第六点正上方提升两指宽的高度处。假设将食指与中指重叠放在两线的交叉点上,垂直提升的高度处就是第七定点,即心真正的安住处。

从第一定点到第六定点是通往心的路线,而心真正的安住处是第七定点,所以我们应让心持续静定在第七处。

我们的心在百分之百的静止后,就能清晰地看到第七处。现在我们作为初学者,心还没有完全静止,就只能先假设第七处,在肚脐往上提升两指宽的高度处,或腹部的中央。只需懂得有第七定点的存在便可,无需专门去寻找。就假设肚子中央,有一处让我们感到舒服的定点,使我们愿意将心安放在此定点中。

这次将按照北榄寺祖师所教导的修行方法进行打坐。祖师让我们观想透明球为所缘,此球如同经过切割打磨的钻石,没有瑕疵,没有痕迹,大小如眼珠一般。让心静定于透明球中,而此球就安放在身体中央第七处,同时默念“三玛阿罗汉”。每一次默念都不要忘记观想透明球,如此持续的护持心,这就是祖师所教导的修行方法。

有的人依照此修习后,会感觉僵硬与紧绷,于是就观想不出所缘,那么也可以选择观想自己熟悉的东西为所缘,如以卖榴莲为生,就观想榴莲,以卖油条为生,就观想油条,卖什么就观想什么。

有的人观想包子是因为自己卖包子,随后在第七处变成了透明光亮的包子。自从那天起,自家的包子也卖得越来越好。如此持续观想,不久水晶包子就会转变成初道光球。我们可以采取这种方式去观想,如果是卖钻石珠宝,就观想钻石珠宝。对什么熟悉,就观想什么,舒服的观想,一边看一边护持心,同时可以选择是否要默念三玛阿罗汉的佛圣号。

观想所缘是针对于懂得观想的人,即是观想之后不紧绷,不僵硬,感觉舒服,就可以持续地观想。但是有的人观想之后,感觉不舒服,非常紧绷,然后就推进、加速、凝视、注视,如此就不行了。应该改变方法,不用再去观想所缘,换成直接将心静定于身体中央的第七定点。

舒服轻松的静止,处在黑暗中也没关系,就仿佛自己坐在漆黑的夜晚,但心却很快乐。同时默念三玛阿罗汉,也可以自然的什么都不做。让心舒服、宁静、轻轻、缓慢地静止,神经系统与全身肌肉不久就会自然慢慢地变得轻松与舒服。

黑暗是修行路上的朋友,而并非敌人。那是一种可爱的黑暗,如果我们懂得与黑暗共处,它就是我们的好友与知己。不要为可能会看到的画面或东西担心,只需持续舒服的静定于黑暗中。

越黑暗则夜越深,也越接近光亮。让心舒服的处在黑暗中,不久光亮就会自然出现。不要去想一直如此黑暗,光亮之球何时才会显现?请不要这样去想,要让心持续宁静于黑暗中,让自己习惯于面对黑暗,而不是抱怨:什么都看不到,光亮总是不显现。

假设自己正身处于漆黑的夜晚,静静地打坐。时间是凌晨一点钟,既然做如此假设,那么总抱怨太阳不升起来,也是无济于事,即便是凌晨两、三、四、五点钟也是一样。只有等到合适的时间,即黎明霞光显现时,通红的太阳才会缓慢升起。如果我们静静地坐,没有任何担忧,好像处在漆黑的夜晚,那么不久心就会宁静下来,不会焦急不安,而是静定无他,最终必然迎来光亮。

当光亮出现时不要紧张,也不要怀疑。有时光亮显现,就猜疑自己是否在开着灯,灯光是否穿越了眼皮,进入腹部中?

不要去在意光亮来自哪里,也不要去想我们是否有开灯,只需静定无他。有光亮出现很好,不要去猜疑和紧张,它其实就像黎明时分的晨光,区别在于一种是内在之光,一种是外在之光。此光亮产生于心宁静之时,是一种纯净之光,是给予精进修行者的礼物。我们只需要让心静定,内在的光亮就会自然出现。

如果我们将它看做是平常之事,就不会紧张了,就好像在看每天清晨的太阳一样。如果不紧张,让心进一步静定,不久就能看见透明球,此球正是内在光亮的发源地。之后还会陆续观见身内身与佛像。

解了这些之后,我们应轻轻地安放心,使之持续静定与透明,如此才能证得内在之法。

2002年6月13日星期四