ชีวิตที่ถูกหลอก(Th En Ch)

0
210

ชีวิตที่ถูกหลอก

(เมื่อเราได้สวดมนต์บูชาพระรัตนตรัยกันเสร็จเรียบร้อยแล้ว ต่อจากนี้ไปตั้งใจเจริญสมาธิภาวนากันนะ…….)

…คราวนี้เราก็นึกน้อมเอาภาพองค์พระแก้วขาวใส ที่อยู่ในกลางดวงแก้ว มองจากเศียรพระด้านบนลงล่าง ให้จำภาพองค์พระกลางดวงแก้วนี้ไว้ให้ดี แล้วก็น้อมมาตั้งไว้ที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ ซึ่งอยู่ในกลางท้องของเรา ในระดับที่เหนือจากสะดือขึ้นมา ๒ นิ้วมือหรือจำง่ายๆ ว่า อยู่ในกลางท้อง จำได้แค่ไหนก็เอาแค่นั้น จะใหญ่จะเล็กขนาดไหนก็แล้วแต่ใจเราชอบ ตั้งไว้ในกลางท้องกลางกายของเรา ให้ท่านหันหน้าออกไปทางเดียวกับตัวของเราเพราะฉะนั้นลักษณะที่เรามองเห็นก็เหมือนมองท็อปวิว(Top View) คือ มองจากด้านบนลงไปด้านล่าง ซึ่งจะเป็นลักษณะขององค์พระที่ปรากฏภายใน

ในตอนแรกๆ เราจะเห็นอย่างนี้ไปก่อน ของจริงก็จะคล้าย ๆอย่างนี้ แต่ว่าจะเห็นเต็มส่วน แล้วก็จะเห็นได้รอบตัวรอบทิศ แต่ตอนแรกๆ มันจะคล้ายๆ อย่างนี้ เราก็จำภาพอย่างนี้ไปก่อน ทีนี้เราก็เอาใจมาหยุดนิ่งๆ คือ นึกภาพองค์พระไม่ให้คลาดจากใจ แต่ต้องอย่างสบายๆ

จะประคองใจด้วยบริกรรมภาวนา สัมมา อะระหัง ไปด้วยก็ได้แต่เวลาภาวนา สัมมา อะระหัง ต้องให้เสียงดังออกมาจากในกลางท้องหรือกลางองค์พระ เป็นจังหวะที่พอดี ไม่ช้าไม่เร็วเกินไป และจะภาวนากี่ครั้งก็ได้ จนกว่าจะไม่อยากภาวนา คือ หมดความจำเป็นเกลี้ยงจากใจ ก็จะเหลือแต่ภาพองค์พระกลางดวงแก้วใสๆ

ที่ต้องให้เอาใจมาหยุดนิ่งที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ โดยการกำหนดบริกรรมนิมิตเป็นภาพองค์พระกลางดวงแก้ว แล้วภาวนา สัมมา อะระหัง นั้นก็เพราะว่าต้องการให้ใจกลับมาสู่ฐานที่ตั้งดั้งเดิมซึ่งอยู่ภายในตัวของเรา คือ ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ ณ ตรงนี้จะเป็นทางไปสู่อายตนนิพพาน คือ จะทำพระนิพพานให้แจ้งจะต้องอาศัยจุดเริ่มต้นที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗

เมื่อเรารู้ว่าเราเกิดมาเพื่อทำพระนิพพานให้แจ้ง ก็จะต้องเริ่มให้ถูกต้องเสียก่อน ถ้าเริ่มถูกต้องแล้ว เดี๋ยวจะคล่องตลอดเส้นทางเลยเอาใจกลับมาหยุดนิ่งที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ เพราะปกติของใจเราจะถูกดึงออกไปข้างนอกตลอดเวลาเลย ทั้งตื่นทั้งหลับทั้งฝัน ออกไปทางตาบ้าง ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ ไปในเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับผู้คน สัตว์ สิ่งของ การทำมาหากิน การครองเรือนการศึกษาเล่าเรียน การสนุกสนานเพลิดเพลินไปในทางโลก จากการได้เห็น ได้ยิน ได้ดมกลิ่น ลิ้มรส ถูกต้องสัมผัสต่างๆ เหล่านั้นใจมันถูกดึงไปตลอดเวลาเลย

หลับก็ถูกดึงไปฝัน ตื่นก็ถูกดึงเอาไปใช้ในกิจกรรมในชีวิตประจำวัน พอดึงไปเท่าไร มันก็ออกห่างจากต้นทางที่จะไปสู่อายตนนิพพาน เพราะฉะนั้นชีวิตจึงปราศจากความสุขที่แท้จริง ไม่เคยเจอะเจอเลย ไม่รู้จักด้วยซํ้าว่าความสุขที่แท้จริงมีลักษณะอย่างไรมีอาการอย่างไร ทำอย่างไรถึงจะถึงตรงนี้ได้ เราไม่รู้จักเลย

แล้วแถมถูกโฆษณาชวนเชื่อว่า สิ่งนี้ สิ่งนั้น สิ่งโน้นคือความสุข เราถูกหลอมอย่างนั้นจากผู้ไม่รู้ หลอมด้วยสื่อต่างๆ ทุกสื่อ ที่ผ่านเข้ามาทางตาหูจมูกลิ้นกายใจ ถูกหลอมว่าสิ่งที่เราได้เห็น ได้ยินดมกลิ่น ลิ้มรส ถูกต้องสัมผัสเหล่านั้นคือความสุข สุขที่ดื่มได้บ้างที่เห็นได้บ้าง ที่ฟังได้บ้าง ที่ถูกต้องสัมผัสได้บ้าง ที่ฟุ้งฝันบ้าง ก็เหมาเอาว่านั่นแหละคือความสุข ได้ดูทิวทัศน์ ดูหนัง ดูละคร ดูเพชรนิลจินดา ดูของสวยๆ งามๆ เราถูกสอนให้เชื่อว่าถ้าได้ดูอย่างนี้แล้วจะเป็นสุข แล้วเราก็เลยเข้าใจว่า คงใช่ จึงไปแสวงหา

หรือได้ยินเสียงเพราะๆ เสียงเพลงบ้าง เสียงธรรมชาติ เสียงทะเล เสียงคลื่นซัดฝั่ง เสียงนํ้าตก เสียงเยินยอสรรเสริญอะไรพวกนั้นเราก็ถูกทำให้เข้าใจผิดว่า นั่นคือความสุข จริงๆ แล้วมันไม่ใช่

หรือได้ดมกลิ่นหอมๆ หลากกลิ่น ไม่ซํ้ากันเลย ไม่ว่ากลิ่นนั้นจะมาจากคน จากสัตว์ จากสิ่งของ หรือจากวัสดุอะไรก็แล้วแต่ได้ดมแล้วชื่นอกชื่นใจก็เข้าใจว่านี่คือความสุข

ได้ลิ้มรสเหมือนกัน เข้าใจว่าการได้รับประทาน หรือได้ดื่มกินอะไรที่หลากรสหลากลีลาต่างๆ เหล่านั้น รสเปรี้ยวหวานมันเค็มไม่ซํ้ากันเลย เปรี้ยวอย่างเดียวก็ไม่ซํ้าเปรี้ยว หวานก็ไม่ซํ้าหวานอย่างนั้น เป็นต้น หรือได้ดื่มเครื่องดองของเมาไม่ซํ้าแบบว่านั่นก็คือความสุข เราถูกหลอมถูกสอนให้เชื่ออย่างนั้น

หรือการถูกต้องสัมผัส ตั้งแต่สัมผัส คน สัตว์ สิ่งของ ว่านั่นแหละคือความสุข หรือความฟุ้งฝันคิดอะไรไปเรื่อยเปื่อยอย่างนั้น

ในชีวิตประจำวันโลกสอนเราหล่อหลอมเราอย่างนี้เราจึงเข้าใจไปอย่างนั้น แล้วก็แสวงหากันไปจนหมดเวลาในโลกซึ่งมีอยู่อย่างจำกัด หมดไปชาติหนึ่งฟรีๆ แถมขาดทุนชีวิตเสียอีกเพราะชีวิตมีกฎแห่งกรรมคอยควบคุมอยู่ มันก็พัดพาเราไปท่องเที่ยวในสังสารวัฏแต่เที่ยวอย่างนี้มันไม่ได้เที่ยวเหมือนไปเที่ยวทัวร์ต่างประเทศนะ มันไปท่องเที่ยวในอบายซึ่งเป็นความทุกข์ทรมาน

เราไม่รู้จักหรอก ความสุขที่แท้จริงเป็นอย่างไร จนกว่าจะมาเจอผู้รู้ หรือคำสอนของผู้รู้ที่ท่านได้ผ่านชีวิตมาทุกระดับแล้ว จากสูงมาตํ่า จากตํ่าไปสูง เคยเป็นตั้งแต่พระเจ้าจักรพรรดิ พระราชามหากษัตริย์ เศรษฐี มหาเศรษฐี ถึงยาจก วณิพก ผ่านนรกสวรรค์ผ่านมาหมดแล้ว แล้วท่านก็แสวงหาทางพ้นทุกข์จนไปพบความสุขที่แท้จริง แล้วสรุปได้ว่า

นตฺถิ สนฺติปรํ สุขํ   สุขอื่นนอกจากใจหยุดนิ่งไม่มี

คือ จะหาความสุขจากใจที่วิ่งไปอย่างนั้นมันไม่เจอ มันต้องเจอจากใจหยุดใจนิ่ง หยุดเมื่อไรเราถึงจะรู้จักความสุข ถ้าหยุดเดี๋ยวนี้ก็จะได้รู้จักเดี๋ยวนี้ และก็จะเห็นความแตกต่างจากสิ่งที่เราเคยเข้าใจว่า ใช่เลย ปรากฏว่ามัน ไม่ใช่เลย และก็มาเจอใหม่ สุขที่เกิดจากใจหยุดนิ่ง นี่แหละถึงจะยอมรับว่า อย่างนี้ใช่เลย ต้องอย่างนี้ ผิดจากนี้ไม่ใช่

ชีวิตใครผ่านร้อนผ่านหนาวยิ่งผ่านมาหลายฤดูแล้วจะพบจะเข้าใจเลยว่า ตลอดเวลาที่ผ่านมา กระทั่งจะปลดเกษียณแล้ว หรือเกษียณแล้วยังไม่พอ จะปลดประจำการจากโลกไปแล้วถึงรู้ว่า เออ มันไม่ใช่จริงๆ แต่มันก็หมดเวลาแล้ว หมดเรี่ยวหมดแรงไปแล้ว เพราะฉะนั้นผู้รู้คือพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระอรหันต์ทั้งหลาย

สรุปรวมกันว่า ต้องหยุดนิ่ง นตฺถิ สนฺติปรํ สุขํ สุขอื่นนอกจากใจหยุดนิ่งไม่มีแล้วสุขที่เที่ยงแท้ถาวรเป็นบรมสุขท่านก็ยกมาอีกว่า นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ พระนิพพานเป็นบรมสุข คือ มันมีสุขธรรมดา สุขปานกลาง และสุขอย่างยิ่งคือ บรมสุข

สุขธรรมดา คือ ผู้ที่มีความสมบูรณ์พร้อมในโลกมนุษย์อย่างเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ นั่นเขาเรียกว่าสุขธรรมดา เดี๋ยวมันก็เปลี่ยนไปเปลี่ยนมา

สุขปานกลาง คือ สุขในสวรรค์ หรือสุขในฌานสมาบัติ แต่ก็ยังไม่มั่นคง เพราะมันยังหยุดไม่สนิท ยังมีกิเลสอาสวะเหนี่ยวรั้งออกมา เดี๋ยวก็หลุดจากสวรรค์ เดี๋ยวก็หลุดจากฌาน พอหลุดออกมายังไม่มั่นคงก็เจอทุกข์อีกแล้ว

ต้อง บรมสุข คือ นิพพาน ไม่มีอะไรเหนี่ยวรั้งออกมาแล้ว เพราะหมดจากโลภะ โทสะ โมหะ กิเลสอาสวะมันหมดสิ้นไป ผู้รู้ท่านก็จะบอกอย่างนี้แหละ นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ พระนิพพานเป็นบรมสุข ท่านยืนยันอย่างนั้น

เพราะฉะนั้นเราเกิดมาเพื่อทำพระนิพพานให้แจ้ง หมายถึงนิพพานมีอยู่แล้ว แต่ถูกกิเลสอาสวะมาบดบังดวงปัญญาของเราไม่ให้ไปรู้ไปเห็น หลับตาแล้วมันมืด มืดก็มองไม่เห็น ไม่เห็นก็ไม่รู้ ไม่รู้ก็ไม่เชื่อ มันเป็นอย่างนั้น

เพราะฉะนั้นเบื้องต้น เราจึงต้องฝึกให้ใจหยุดนิ่งที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ ให้มันถูกต้นทางเสียก่อน โดยจะมีนิมิตหมายเกิดขึ้นมาว่าถูกแล้ว คือ เวลาใจหยุดนิ่งได้ถูกส่วน มันจะตกศูนย์วูบลงไป เหมือนหล่นลงไปแล้วก็จะมีดวงธรรมลอยขึ้นมาเป็นดวงใสๆ กลมรอบตัวเหมือนดวงแก้ว ไม่ใช่กลมเป็นวงเวียนเป็นแผ่นๆ ไม่ใช่

เป็นดวงกลมใสยิ่งกว่าความใสใดๆ ในโลก ขึ้นอยู่กับใจหยาบหรือละเอียด ถ้าหยาบก็เห็น ใสเหมือนน้าเหมือนกระจกคันฉ่องที่ส่องเงาหน้าได้ ถ้าดีกว่านั้นก็ใสเหมือนกับเพชร ถ้าละเอียดมากก็ใสเกินใสคือ เกินความใสใดๆ ในโลก มันจะสุกใส เปล่งประกาย สว่าง

ธรรมดวงนี้พระเดชพระคุณหลวงปู่ พระมงคลเทพมุนี(สด จนฺทสโร) ผู้ค้นพบวิชชาธรรมกาย ท่านเรียกว่าดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน หรือ ดวงปฐมมรรค นี่คือต้นทางเบื้องต้น หรือ หนทางไปสู่มรรคผลนิพพานปรากฏเกิดขึ้นที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ เป๊ะเลย

เมื่อธรรมดวงนี้เกิดขึ้น นั่นแหละต้นทางพระนิพพานอยู่ตรงนั้น ยืนยันได้เลยว่าต้องไปถูกทาง ต้องไปสู่อายตนนิพพานหรือทำพระนิพพานให้แจ้งได้

เมื่อธรรมดวงนี้ปรากฏ จะใสแจ่มทีเดียว อยู่ในกลางฐานที่ ๗ เลย แล้วก็จะเห็นทางไปสู่นิพพาน อยู่ในกลางดวงนั้น มันจะมีจุดศูนย์กลางซึ่งเป็นจุดที่ใสๆ ใสกว่าดวงธรรมนั่นแหละ เราต้องเข้าไปตรงกลางตรงนั้น ซึ่งจะเข้าไปเองเมื่อใจหยุดนิ่ง จะมาพร้อมกับความสุขมากๆ แล้วก็จะถูกกระแสธรรมจากอายตนนิพพานดูดเข้าไปข้างใน เราก็จะเห็นไปตามลำดับ เห็นดวงธรรมในดวงธรรม เห็นกายในกายเข้าไปเรื่อยๆ

กายเป้าหมาย คือ กายธรรมอรหัต หน้าตัก ๒๐ วา สูง ๒๐ วา

เป็นกายที่บริสุทธิ์ที่สุด สว่างกว่าทุกๆ กาย เป็นเป้าหมายของการเกิดมาเป็นมนุษย์ พอถึงกายธรรมอรหัตจะหลุดพ้นจากกิเลสอาสวะจากกฎแห่งกรรม จากภพทั้ง ๓ จากกฎของไตรลักษณ์ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เมื่อเข้าถึงกายธรรมอรหัตจะหลุดหมดเลย

กายทั้งหมดนี้มีอยู่แล้วในกายมนุษย์ทุกๆ คนในโลก แต่ไม่รู้ว่ามี และไม่เฉลียวใจว่ามี เพราะไม่เคยได้ยินได้ฟังเรื่องราวของกายในกาย

ที่ไม่ได้ยินได้ฟังก็มีหลายแบบ คือ พวกที่ห่างไกลพระพุทธศาสนา พวกที่อยู่ในร่มเงาพระพุทธศาสนาแต่มัวไปทำมาหากินไม่เอาใจใส่ก็ไม่ได้ยินเหมือนกัน หรืออีกประเภทพวกปิดตาตัวเองพอไปเกิดในครอบครัวที่มีความเชื่อที่แตกต่างจากคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วก็หมกมุ่นกับความเชื่อนั้น ปิดหูปิดตาตัวเองไม่เปิดโอกาสให้ได้เรียนรู้ความจริงของชีวิตเพิ่มเติม พวกนี้ก็จะไม่รู้ไม่เฉลียวใจเหมือนกัน

หลาย ๆ สิ่ง หลาย ๆ อย่างมันบดบังเอาไว้ แต่ว่าเมื่อไรเราข้ามสิ่งเหล่านี้ไป ลืมไปก่อนชั่วคราวว่า เราเกิดมาในเชื้อชาติศาสนาและเผ่าพันธุ์ใด มีความเชื่อหลากหลายแค่ไหน และก็เปิดโอกาสให้ตัวเองก้าวเข้ามาศึกษาความรู้เพิ่มเติม ซึ่งเป็นความจริงของชีวิตเราก็จะรู้ได้ว่า ในตัวของเรามีสิ่งเหล่านี้ทั้งหมดที่ได้กล่าวมาแล้วตั้งแต่เบื้องต้น ตั้งแต่กายมนุษย์ ทิพย์ พรหม อรูปพรม กระทั่งกายธรรมแล้วชีวิตของเราก็จะสมบูรณ์ขึ้น

การเรียนรู้เรื่องพระพุทธศาสนาหรือเรื่องราวความจริงของชีวิตเป็นเรื่อง สากล เหมือนเรามีความเชื่ออะไรก็ตาม ก็เป็นส่วนของความเชื่อ แต่เมื่อเราออกจากบ้านไปเข้าโรงเรียน จะประถม มัธยม เตรียมอุดม อุดมศึกษา มันก็มีความรู้ใหม่ที่เราจะต้องเรียนรู้ อย่างนั้นเรายังเปิดโอกาสให้ตัวเองเรียนรู้ได้ โดยไม่มีข้อขัดแย้งในใจเลย แล้วก็ได้รับความรู้เพิ่มเติม

ถ้าหากทุกคนในโลกทำอย่างนี้ คือ เปิดโอกาสให้ตัวเองได้มาเรียนรู้ได้กว้างขวางขึ้น ความรู้ของเราก็จะสมบูรณ์ขึ้นการศึกษาหรือการแสวงหาความรู้ มันเป็นสิทธิเสรีภาพของมวลมนุษยชาติ แล้วมันเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ เหมือนอากาศขาดไปเราก็ตายจากกายมนุษย์ ความจริงของชีวิต หรือความรู้ภายในขาดไปก็ตายจากความดี จากความรู้ที่แท้จริง เพราะฉะนั้นมันเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับทุกๆ ชีวิตที่จะต้องศึกษา ไม่ว่าจะมีอาชีพใด เชื้อชาติ ศาสนาเผ่าพันธุ์ใด จะเพศไหน วัยไหน ก็จำเป็นจะต้องศึกษา แล้วต้องปฏิบัติให้เข้าถึงให้ได้ เพราะสิ่งเหล่านี้มีอยู่แล้วในตัว

ถ้าเราไม่ศึกษามันก็ผ่านไป เสียชาติที่เราเกิดมาเป็นมนุษย์ไปอีกชาติหนึ่ง แต่ถ้าเราให้โอกาสตัวเราได้มาศึกษา ก็จะพบว่า

นตฺถิ สนฺติปรํ สุขํ    สุขอื่นนอกจากใจหยุดนิ่งไม่มี

นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ    นิพพานเป็นบรมสุข

นิพฺพานํ ปรมํ วทนฺติ พุทฺธา  พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ตรัสว่า พระนิพพานเป็นเยี่ยม

เวลาเรามาอยู่ในโลกนี้ จะศึกษาอะไร ต้องเอาผู้รู้แจ้งเป็นหลัก อย่าไปเอาผู้ไม่รู้จริงหรือผู้ไม่รู้อะไรเลยเป็นหลัก มนุษย์ในโลกนี้มักจะไปเชื่อผู้ไม่รู้จริง แต่กลับไม่เชื่อผู้ที่รู้แจ้ง ชีวิตของเราจึงมีแต่ความทุกข์ทรมานไม่พบกับความสุขที่แท้จริง

ไม่ว่าจะเป็นเศรษฐี ชนชั้นกลาง หรือชนชั้นล่าง ต่างก็มีความทุกข์เป็นของตัวเอง ไม่ใช่ว่าทรัพย์สินเงินทองจะให้เราได้ในทุกสิ่งทุกอย่าง ก็ให้ได้บางอย่าง แต่บางอย่างก็ให้ไม่ได้

เพราะฉะนั้น หยุดกับนิ่งเราสามารถเข้าถึงได้ด้วยกำลังแห่งความเพียร และกำลังแห่งดวงปัญญาของเรา ที่จะทำให้ถูกหลักวิชชาเราเกิดมาเพื่อการนี้นะ เพื่อที่จะมาแสวงหาพระรัตนตรัยในตัว ที่จะนำไปสู่การทำพระนิพพานให้แจ้ง

ต่อจากนี้ไป เวลาที่เหลืออยู่นี้ อากาศกำลังสดชื่นเย็นสบายกำลังบุญของลูกก็พร้อมที่จะเข้าถึงธรรมแล้ว หลักวิชชาเราก็เข้าใจกันอย่างดี เหลือแต่กำลังแห่งความเพียร ให้ใช้เวลาที่เหลืออยู่มาแสวงหาพระรัตนตรัยในตัวให้ได้ ให้ลูกทุกคนสมหวังดังใจในการเข้าถึงพระรัตนตรัยในตัวทุกๆ คนนะลูกนะ ต่างคนต่างนั่งกันไปเงียบๆ

อาทิตย์ที่ ๒๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖

 

Life Deceived

(Having paid respect to the Triple Gem with our chanting, it is now time to practice meditation together.)

Try to visualize the image of the crystal clear Buddha inside the crystal sphere as if you are viewing Him from above, that is, from His crown to His body.  Visualize Him to be at the Seventh Base of your body or in the middle of your abdomen at two fingers’ width above your navel, or simply in the middle of your abdomen. Be content with whatever you can visualize. The Buddha Image can be any size. He should be facing the same direction as you. In other words, you have a top view of the Buddha Image facing forward.

Just visualize the Buddha Image in this manner initially.  When the time comes, this is how you will see the Dhammakaya, but you will see Him in His entirety. Moreover, you will be able to see things in every direction all at the same time. Keep your mind calm and still as you focus your attention on the Buddha Image continuously and easily.

You can also recite the mantra ‘Samma Arahang’ if you wish, but allow  the sound to emerge from the middle of your abdomen or the middle of the Buddha Image. You should recite it with a comfortable tempo–not too fast and not too slow. Continue repeating the mantra until you no longer feel like doing it.  When this happens, it just means that your mind is now in the right place, and what remains is the image of the Buddha in the middle of the crystal sphere.

The reason you are doing all of this is to bring your mind back to its original dwelling point, which is inside you at the Seventh Base in the center of your body. The Seventh Base is the entrance to Nibbana. To penetrate the Path and Fruit of Nibbana, one must start at the Seventh Base in the center of one’s body.

Once you know that you were born to attain the Path and Fruit of Nibbana, you must know exactly where to start.  If the starting point is correct, the rest will be easy. Keep your mind calm and still at the Seventh Base in the center of your body. Normally, one’s mind is being constantly pulled outward through one’s eyes, ears, nose, tongue, body and thought toward the external world whether one is awake, sleeping or dreaming. It gravitates to people, family, work, pets, study or the different forms of entertainment.  It is constantly being pulled externally as a result of seeing, hearing, smelling, tasting, or touching something.

One’s mind ventures outward when one dreams during sleep, to perform different activities during waking hours.  The more it is drawn outward, the further it will be from the entrance to the Path and Fruit of Nibbana.  As a result, one is unable to experience true happiness.  One also neither knows what true happiness is like or feels like and how to go about experiencing it.

Moreover, one is convinced by ads that this or that thing is happiness.  One is bombarded by the media aimed to attract the attention of one’s eyes, ears, nose, tongue, body and mind. One is told that a particular sight, sound, smell, taste or touch is happiness. One is told that happiness comes in the forms of drinking, seeing, hearing, touching or daydreaming. Therefore, one goes sightseeing. One goes to the movie, to the play, to the jewelry store, to the museum in order to feel happy.  One is told over and over again that these things can bring one happiness.

Or it is the sound of a certain music, the sound of nature, the sound of the sea, the sound of crashing waves, the sound of a waterfall, the sound of praises. But in actuality, none of these things can really bring one happiness.

Or it is a certain smell or different smells produced by people, animals, things or other objects.

Or happiness is in tasting of different kinds of foods and differing kinds of beverages which may be exquisitiely savory. Or it is the different kinds of alcoholic beverages. This is what one has been told repeatedly again and again.

Or happiness is in physical contact with people, animals and things or in having daydreams.

By the time one has sought out all the things that are believed to bring happiness, one has wasted one’s entire life. Often times, one ends up not profiting but losing, since every life is governed by the Law of Kamma. The Law of Kamma causes living beings to undergo the round of rebirth such that most of them end up in the States of Unhappiness where horrific pain and suffering await.

None of us has any idea what true happiness is like until we came across the teachings of the Lord Buddha, who through countless lifetimes,  had been reborn on earth at various levels from a Universal Monarch to a poor man, and in every realm of existence from Hell Realm to the Celestial Realm. He had been through it all before He went in search of the way to end suffering.  Having found it, He concluded that…

Natthi santiparan sukhan:  There is no happiness greater than that of a quiet and still mind. It means no happiness can be gained by the mind that is constantly running. Happiness can be gained only when the mind is at a standstill. If one can bring one’s mind to a standstill right now, one will immediately realize that this is it and nothing else will do.  And one will realize that whatever one once thought as happiness is not at all.  One will realize once one’s mind comes to a standstill–that, this is true happiness.

A person can go through his entire life and only to come realize during the last moments of his life that he has never truly known true happiness.  But by then, it is too late. The personages who know about true happiness are the Lord Buddha and the Arahats.

Once again, Natthi santiparan sukhan: There is no happiness aside from the quiet and still mind.

The Lord Buddha also said, Nibbanan paraman sukhan: Nibbana is perfect happiness.

There are ordinary happiness, intermediate happiness and perfect happiness. Ordinary happiness can be gained by a person on earth who is blessed with every good thing like a Universal Monarch. But ordinary happiness does not last.

Intermediate happiness refers to the happiness found in the Celestial Realm or in Jhana attainments. Still, intermediate happiness is not permanent. The mind is still tainted with defilements. A celestial being can cease to be. Jhana attainments can become unstable. When that happens, one will experience unhappiness once again.

Perfect happiness is Nibbana. One’s mind can never be perturbed again since it is completely devoid of greed, anger and ignorance. All defilements have been extinguished. Therefore, every Buddha says that Nibbana is perfect happiness.

Remember that all of us are here to attain the Path and Fruit of Nibbana. It means that Nibbana is real. But since one’s Insight Sphere has been completely obscured by one’s defilements, it cannot penetrate the truth about reality. Therefore, when one closes one’s eyes, what one experiences is darkness. Since darkness prevents the truth from being revealed, one sees nothing and one knows nothing about reality.

Therefore, the first thing one must do is to learn to train one’s mind to come to a standstill at the Seventh Base in the center of one’s body.  When one’s mind is quiet and still in just the right way, it will plunge precipitously down into the center.  And the next thing to appear is the Dhamma Sphere.  It looks like a crystal sphere.

Its clarity is beyond the clarity of anything on earth. It all depends on the state of one’s mind. If the mind is still coarse, the Dhamma Sphere will be only as clear as water or a mirror.  If it is refined, it will be as clear as a diamond.  If it is very refined, its clarity exceeds anything on earth. It will be radiant and bright.

This Dhamma Sphere is called the Dhammanupassanasatipatthana Sphere or the Pathama Sphere by the Great Master Phramonkolthepmuni (Sodh Candasaro), the Re-Discoverer of Vijja Dhammakaya. The Dhamma Sphere is the entrance to the Path and Fruit of Nibbana. It appears exactly at the Seventh Base in the center of one’s body. This Dhamma Sphere is the entrance to Nibbana. The appearance of this Dhamma Sphere ensures that one is on the right path.

This Dhamma Sphere appears as a clear and bright sphere in the middle of the Seventh Base. The path of Nibbana resides in the center of the sphere which appears as a pinpoint brighter than the Dhamma Sphere itself. Once one’s mind is at a standstill, it will enter the pinpoint and the Dhamma current from Nibbana will pull one’s mind inward continuously until one experiences additional Dhamma Spheres, one inside another as well as the respective Inner Bodies. One will experience untold happiness.

The ultimate Inner Body to attain is the Arahat Dhammakaya, measured 40 meters across and 40 meters high. This Inner Body is the purest and brightest of all the Inner Bodies. The purpose of being born a human being is to attain the Arahat Dhammakaya. This is the Inner Body that is free from  defilements, the Law of Kamma, the three realms, and the Three Universal Characteristics–which includes impermanence (anicca), unsatisfactoriness or suffering (dukkha), and non-self (anatta).

All of these Inner Bodies can be found inside the body of every human being, but most people have no idea of their existence because they have never heard about them.

It may be due to the fact that they are not Buddhists. Those who are Buddhists may be too busy earning a living.  And there are people who simply do not want to know.  People of other religious beliefs are deeply devout and have no wish to learn about the truth of reality from Buddhism.

Many truths about reality have been concealed from human beings, but if one can temporarily set aside one’s beliefs and gives one the opportunity to study further about the reality of life, one will find that all the things that have been mentioned so far exist.  Knowledge about reality will make one’s life more complete. One will come to know all the bodies starting from the Human Body, the Celestial Body, the Brahma Body, the Non-Brahma Body and the Dhammakaya.

Knowledge about reality as taught in Buddhism is universal knowledge.  One’s belief is just that, a belief.  It is like leaving one’s home to go to school from elementary school, secondary school, to the university to learn new things so that one can have opportunities to acquire new knowledge.

If everyone on earth would be open to learning new things, everyone’s knowledge would be more complete. Seeking new knowledge is a human right that is as crucial as the very air one breathes. Without the knowledge about life’s reality, one shuts oneself from goodness and true knowledge.  It is necessary for every human being, regardless of race, creed, gender or age to learn about Vijja Dhammakaya and to practice meditation earnestly in order to experience all that one has within one’s body.

If one does not do it, it would have been a waste of a lifetime.  But if one is open to it, one will discover that:

Natthi santi paran sukhan

There is no happiness aside from the quiet and still mind.

Nibbanan paraman sukhan

Nibbana is perfect happiness.

Nibbanan paraman fadanti Buddha

Every Buddha says that Nibbana is sublime.

When a person decides to study something, it is vital that the knowledge comes from a person who truly knows the subject and not from someone who does not.  Unfortunately, most humans tend to believe those who do not possess true knowledge.  Is it any wonder then that most people still cannot find true happiness?

It does not matter whether one is wealthy, middle-class, or poor.  Each has his own kind of unhappiness.  Material wealth cannot afford us everything especially the things that truly matter.  But the quiet and still mind can be attained by one’s own endeavor and intelligence if one practices meditation accordingly.  All of us are here on earth to discover the Triple Gem inside of us so that we can penetrate the Path of Nibbana.

This morning is the air is fresh and cool, and everyone here has sufficient merit power to attain the Dhamma.  Everyone already knows how to do it; all that is needed is right endeavor.  Spend the rest of the period to find the Triple Gem within.  May all of you attain the Triple Gem within you. Continue with your meditation practice.

Sunday, 24 August 2003 (2546 B.E.)

 

受骗的人生

诵念供养三宝经后,接下来请大家一起专心打坐。

这一次,我们以观想水晶球中的透明水晶佛像为所缘,从佛像头部往下观想,认真记住佛像的外形。将佛像安放在身体中央第七处,即与肚脐同一水平线的腹部中央,往上提升两指宽的高度处。或简单的记住就在我们的肚子中央,怎样好记就按照那样去记。佛像可大可小,尺寸可随自己喜好,让佛像面向自己。

我们观想的画面特征如同俯视图,从上往下,这就是内在呈现的佛像特征。

刚开始先如此观想,真正的佛像也是如此,只是可以看见每一个部分,但起初先这样去观想,我们就先记住这个画面。接下来就是让心静定,即观想佛像的外形,不要让佛像远离心,一定要保持轻松舒服的状态。

同时可以默念“三玛阿罗汉”,但默念声应从肚子或佛像中央散发出来。节奏适中,不快不慢,想默念多少次都可以,直到不想再默念为止。那时已经没有这个必要了,因为只会剩下透明水晶球中的佛像。

让心静定于身体中央,以观想佛像为所缘,同时默念三玛阿罗汉,是为了让心回归原始定点。该定点就在体内,即身体中央第七处。此定点是证入涅槃的必经之路,即想证得涅槃就要始于身体中央第七处。

当我们知道生来是为了证得涅槃,就应该采取正确的方法,如果方法正确,就可以畅通无阻,让心回归身体中央第七处。因为通常我们的心会被外界吸引,无论是睡、醒、梦都是如此。通过眼、耳、鼻、舌、身、意,牵挂人、动物、物品、生计、家庭与学业,由色、声、香、味、触享受世俗的乐趣,心会一直如此被吸引。

睡觉时被吸引而做梦,醒后又被吸引去处理日常事务,越来越远离心原始定点。生命失去了真正的快乐,不曾遇见过,也不曾了解快乐的特征,以及如何才能获得,这些全都不了解。

我们被宣传广告鼓动后,相信这或那是快乐。由于无知而被欺骗,被各种媒体通过眼、耳、鼻、舌、身、意所蛊惑,从而认为色、声、香、味、触是快乐。我们被教导说观景、看电影、看电视、看钻石玛瑙,看漂亮的东西是快乐,我们也认为应该是如此,所以就拼命的去寻找。

听到音乐、自然声、海浪声、瀑布声或阿谀奉承的赞美,我们就会错误的认为这是真正的快乐,但事实上并不是。

闻到不同的气味,无论这种气味是来自人、动物、物品或是其他东西,然后感觉身心舒畅而认为这就是快乐。

味也是一样,当吃喝各种各样的东西时,会尝到酸甜苦辣,酸是不同程度的酸,甜也是不同曾度的甜,或者喝到各式各样的酒,就认为这是快乐,被如此教导而信以为真。

或者是触,当接触人、事、物时,认为那就是快乐。

世俗生活不断如此影响我们,让我们养成了固有的认识,然后每个人都在有限的时间里不遗余力的寻找,让一生白白的流逝,让生命得不偿失。因为生命受业果法则控制,使我们一直流转轮回,这样的轮回并不像出国旅游,而是在恶道中流转,会非常痛苦。

我们不了解真正的快乐是怎么样,直到遇见智者或听闻智者教诲为止。因为他们历经了各种人生经历,从高到低,从低到高,从转轮圣王到超级大富翁,再到大富翁,最后成为乞丐。也历经了天界与地狱,一切都经历过了。于是他们要寻找离苦得乐之道,并得出结论:

乐,唯有心止,别无他样。即是在心散乱不定时,无法遇见快乐,只有在心静止时,才会遇见快乐。

何时静止就何时遇见快乐,如果现在静止,就会当下遇见快乐。然后发现与我们曾经认为的快乐有所不同,从而认定静止生起的快乐,才是真正的快乐,其他的则不是。

无数人历经多个春秋,待到岁月流逝而老去,甚至到即将往生时才真正明白,这不是真正的快乐,但已经没有时间,也力不从心了。因此,智者即为佛陀或阿罗汉。

归根到底就是要静止,Natthi santiparan sukhan 乐,唯有心止,别无他样。对于永恒之乐,即无尽之乐,智者又说:Nibbanan paraman sukhan 涅槃为无尽之乐,而快乐又可分为一般乐、中间乐与无尽乐。

一般乐指具足世界上的一切,就像转轮圣王一样。这称为一般乐,但不久就会改变。

中间乐是指天界乐或禅定乐,但还不够稳固,因为还没有达到深入的静定,还会被烦恼牵制,不久也会脱离天界或禅定,再次遭遇烦恼。

无尽乐即是涅槃。那里不受任何东西牵制,因为贪嗔痴已灭尽,远离一切烦恼。所以智者才会证实说:涅槃为无尽之乐。

因此,我们生来是为了证得涅槃。虽然涅槃已经存在,但我们的慧球被烦恼覆盖,让我们无法清楚认知。闭上眼后是黑暗,黑暗就会看不见,看不见就不了解,最后就无法认知,其实就是如此。

因此初始阶段,我们应该练习将心静定于身体中央第七处。只要方法正确,就会自然意识到,当正确的静定时,所缘就会落入中心点,随后如水晶球般透明的法球会呈现上来。

法球的透明度,取决于心是粗糙或细腻。如果心粗糙,透明度如镜子一般,如果好一点就会如钻石般。如果心细腻,就会比钻石还透明,比世上的任何东西都透明 、 闪耀、光亮。

对于这个法球,北榄寺帕蒙昆贴牟尼祖师称为初道光球。这是初级之路或证入涅槃之道,它产生于身体中央第七处。

当此法球生起时,就是证入涅槃之道的起点,如果方法正确,便可以到达涅槃或证得涅槃。

当这个法球出现在身体中央第七处时,会非常透明光亮,之后会在此法球的中心看见通往涅盘之道。法球里会出现一个比法球更为透明的中心点,我们一定要进入其中。而当心静定时会自然进入,感觉非常的快乐。之后会受涅槃处的吸引而继续深入,我们也会逐渐观见法中法,身内身。

我们要到达的目标是阿罗汉法身,宽四十米,高四十米,是最纯净之身,比任何身都光亮,也是我们生而为人的目标。当证得阿罗汉法身之后,就可以远离一切烦恼,脱离业果法则,超越三界,摆脱三性,即无常性、苦性与无尽性,这一切都会全部远离。

这些身已存在每个人的体内,只是有的人不知道而已,因为不曾听过关于身内身之事。

不曾听过的人有许多种,分别为:一、远离佛教之人;二、信仰佛教却忙于生计,毫不关心之人;三、出生在外道家庭,信仰其他宗教,不给自己认识生命真谛的机会。

有很多东西被遮掩住了,如果我们先越过去,暂时忘记自己的信仰与种族。然后给自己机会,去学习更多关于生命真谛的知识,明白我们每个人的体内,都存在人身、天人身、梵天人身、无色梵天人身与法身,最后,我们的生命也会变得更加圆满。

了解佛教或生命的真谛其实极为普遍,无论我们有什么信仰,也只是信仰的一部分。当我们离开家去学习,从小学、中学到大学,都会有新的知识需要去了解,而我们也会选择去学习,没有任何不情愿。

如果每个人都愿意接受更多的知识,其实也是给自己机会,不断的增长知识。学习或探索知识是人类的权利与自由,也是不可或缺的,就如同没有空气,我们就会死去。如果缺少生命的真谛或内在的知识,我们就会缺少真正的知识。因此内在的知识,是每个人都必须去学习与了解的,没有职业、种族与宗教的分别,无论是什么性别或年龄,都有必要去学习。可以通过实践而得到经验,因为它本身就存在我们的体内。

如果我们不去学习就会错过,白白浪费生而为人的良缘,但如果我们给自己机会,那么就会遇到:

乐,唯有心止,别无他样。

涅槃为无尽之乐。

诸佛言:涅槃最卓越。

我们生而为人,学习什么都应以智者为榜样,不要以愚者为楷模。但有的人却常相信愚者,反而不相信智者,如此生命就只会遇见痛苦,无法遇见真正的快乐。

无论是什么等级的富翁,都一样会有自己的烦恼,不是有了金钱,就能够得到想要的一切,有的可以得到,有的则不可以。

因此,我们应运用正确的方法,通过细腻的力量与智慧球,去获得静与定。我们生来就是为了寻找内在的三宝,并证得涅槃。

现在天气凉爽宜人,正是证入佛法的好时机,正确的方法已了解,剩下的就是精进修习。希望大家利用剩余的时间,去寻找内在的三宝,也祝愿大家如愿以偿。

2003年8月24日星期天