ง่ายจึงจะถูกวิธี(Th En Ch)

ง่ายจึงจะถูกวิธี ต่อจากนี้ไปให้ตั้งใจให้แน่แน่ว มุ่งตรงต่อหนทางพระนิพพานกันทุกๆคน ให้นั่งขัดสมาธิ โดยเอาขาขวาทับขาซ้าย มือขวาทับมือซ้าย ให้นิ้วชี้ของมือข้างขวาจรดนิ้วหัวแม่มือข้างซ้าย วางไว้บนหน้าตักพอสบายๆ   หลับตาของเราเบาๆ    พอสบายๆ  คล้ายกับตอนที่เราใกล้จะหลับ   อย่าไปบีบเปลือกตา  อย่ากดลูกนัยน์ตา  หลับตาพอสบายๆ  แล้วก็ผ่อนคลายทุกส่วนของร่างกายของเรา  ทำใจของเราให้เบิกบาน  ให้แช่มชื่น  ให้สะอาดบริสุทธิ์ผ่องใส  ไร้กังวลในทุกสิ่ง  ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอะไรก็ตาม ให้ปลด  ให้ปล่อย  ให้วาง  ให้คลายความผูกพัน ในสรรพสัตว์สรรพสิ่งทั้งหลาย  ให้ปลด  ให้ปล่อย  ให้วาง  โดยพิจารณาถึงความเป็นจริงของสรรพสัตว์และสรรพสิ่งทั้งหลาย  ไม่ว่าจะเป็นคน สัตว์ สิ่งของ  เมื่อเกิดขึ้นตั้งอยู่  ก็จะไปสู่จุดสลาย  แม้แต่สังขารร่างกายของเราก็เป็นอย่างนี้  ทุกวันทุกคืนทีเดียว  เพราะฉะนั้นให้ปลด ให้ปลดปล่อยวาง ให้คลายความผูกพัน ในช่วงที่เราจะนั่งสมาธิเจริญภาวนา ให้ใจของเราทิ้งทุกอย่าง วางทุกสิ่ง แล้วก็รวมใจไปหยุดนิ่งๆ นุ่มๆ ที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗  ซึ่งอยู่ในกลางท้องของเรา ในระดับที่เหนือจากสะดือขึ้นมา ๒ นิ้วมือโดยสมมุติว่าเราหยิบเส้นด้ายขึ้นมาสองเส้นแล้วนำมาขึงให้ตึง จากสะดือทะลุไปด้านหลังเส้นหนึ่ง จากด้านขวาทะลุไปด้านซ้ายอีกเส้นหนึ่ง ให้เส้นด้ายทั้งสองตัดกันเป็นกากบาท  จุดตัดจะเล็กเท่ากับปลายเข็ม เหนือจุดตัดนี้ขึ้นมาสองนิ้วมือ…

ทางเดินของใจทั้งหมด ๗ ฐาน(Th En Ch)

ทางเดินของใจทั้งหมด ๗ ฐาน ต่อจากนี้ไปให้ตั้งใจให้แน่แน่ว  มุ่งตรงต่อหนทางพระนิพพานกันทุกๆคน   ให้นั่งขัดสมาธิ โดยเอาขาขวาทับขาซ้าย มือขวาทับมือซ้าย ให้นิ้วชี้ของมือข้างขวาจรดนิ้วหัวแม่มือข้างซ้าย วางไว้บนหน้าตักพอสบายๆ  หลับตาของเราเบาๆ  หลับตาเบาๆ พอสบายๆ คล้ายกับตอนที่เราใกล้จะหลับ อย่าไปบีบเปลือกตา อย่ากดลูกนัยน์ตา แล้วก็ทำใจของเราให้เบิกบาน ให้แช่มชื่น ให้สะอาดบริสุทธิ์ผ่องใส ไร้กังวลในทุกสิ่ง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอะไรก็ตาม ให้ปลด ให้ปล่อย ให้วาง ให้ทำใจว่างๆ                                                                                                                        ทีนี้เราก็สมมุติว่าภายในร่างกายของเราปราศจากอวัยวะภายใน ไม่มีมันสมอง ไม่มีปอด ตับ ม้าม ไต หัวใจ เป็นต้น   สมมุติว่าเป็นที่โล่งๆว่างๆ  เป็นปล่อง เป็นช่อง เป็นโพลง กลวงภายใน  คล้ายๆท่อแก้วท่อเพชรใสๆ  สมมุติให้เป็นปล่อง เป็นช่อง เป็นโพลง กลวงภายใน คล้ายท่อแก้ว ท่อเพชรใสๆสติ จะต้องระลึกนึกถึงสิ่งที่ครูบาอาจารย์ท่านแนะนำสั่งสอน  ถ้าของหลวงปู่วัดปากนํ้า ท่านให้กำหนดบริกรรมนิมิตเป็นดวงใสกับบริกรรมภาวนา สัมมา อะระหัง จะต้องไม่เผลอจากบริกรรมทั้งสอง  อย่างนี้เรียกว่า มีสติ แต่วิธีการกำหนดสตินั้นต้องทำอย่างสบายๆ  ตรงนี้สำคัญ…

สติกับสบาย(Th En Ch)

สติกับสบาย ต่อจากนี้ไปตั้งใจเจริญสมาธิภาวนากันนะ ให้น้อมใจตามเสียงของหลวงพ่อไปทุกๆคนนะ  ให้นั่งขัดสมาธิ โดยเอาขาขวาทับขาซ้าย มือขวาทับมือซ้าย ให้นิ้วชี้ของมือข้างขวาจรดนิ้วหัวแม่มือข้างซ้าย วางไว้บนหน้าตักพอสบายๆ หลับตาของเราเบาๆ หลับพอสบายๆ คล้ายๆ กับเรานอนหลับ อย่าไปบีบหัวตาอย่ากดลูกนัยน์ตา ขยับเนื้อขยับตัวของเราให้ดี กะคะเนให้เลือดลมในตัวเดินได้สะดวก เราจะได้ไม่ปวดไม่เมื่อย ความสบายนี้เป็นหัวใจของการปฏิบัติธรรม สติกับสบายจะต้องไปคู่กัน ไม่ว่าเราจะปฏิบัติธรรมด้วยวิธีการอย่างไร จะปฏิบัติแบบไหนก็ตาม หลักมีอยู่ว่าจะต้องให้สติกับสบายไปคู่กัน สติ จะต้องระลึกนึกถึงสิ่งที่ครูบาอาจารย์ท่านแนะนำสั่งสอน  ถ้าของหลวงปู่วัดปากนํ้า ท่านให้กำหนดบริกรรมนิมิตเป็นดวงใสกับบริกรรมภาวนา สัมมา อะระหัง จะต้องไม่เผลอจากบริกรรมทั้งสอง  อย่างนี้เรียกว่า มีสติ แต่วิธีการกำหนดสตินั้นต้องทำอย่างสบายๆ  ตรงนี้สำคัญ อย่าฟังผ่านกันนะ สติกับสบายทั้งสองจะต้องไปคู่กันตลอดเส้นทาง  ตั้งแต่เบื้องต้นจนกระทั่งถึงที่หมายปลายทาง ถ้าไปด้วยกันเมื่อไรจะทำให้ใจเราหยุดนิ่งได้ง่าย และหลังจากใจหยุดแล้วก็จะเข้าถึงดวงธรรมภายใน หลักก็มีอยู่อย่างนี้นะ เพราะฉะนั้น สติกับสบายจะต้องไปคู่กันอย่างสม่ำเสมอ  ทำอารมณ์ของเราให้สม่ำเสมอ  ด้วยใจที่ใส  ใจที่เยือกเย็น อย่านั่งแบบขุ่นมัวเร่าร้อนหรือนั่งแบบฮึดฮัดอย่างนี้ไม่ได้ผล จะต้องทำอารมณ์ให้สบาย ๆ  อารมณ์ที่สบายนั้น ของใครของมันนะ สำหรับท่านที่มาใหม่ ให้ขยับเนื้อขยับตัวกันให้ดี สำหรับท่านั่งที่กล่าวไปเบื้องต้นนั้น เป็นท่านั่งมาตรฐานของการปฏิบัติธรรม ซึ่งหลวงปู่วัดปากนํ้า ภาษีเจริญ ท่านถอดแบบมาจากผู้รู้ภายใน…

ประวัติหลวงปู่วัดปากน้ำ (Th En Ch)

ชีวประวัติพระเดชพระคุณหลวงปู่ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) พระผู้ปราบมาร Biography of Luangpu The Great Master Phramongkolthepmuni (Sodh Candasaro) The Vanquisher of Mara 降魔尊者—帕蒙昆贴牟尼祖师(术.湛塔萨罗)传记     ชาติกำเนิดและชีวิตวัยเยาว์ Birth and Early Life 出生和家世   พระมงคลเทพมุนีท่านมีนามเดิมว่า สด มีแก้วน้อย เป็นบุตรของ นายเงิน มีแก้วน้อย และนางสุดใจ มีแก้วน้อย  เกิดเมื่อวันศุกร์ ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2427 ในครอบครัวค้าขายข้าวสาร ณ หมู่บ้านเหนือ อยู่ฝั่งตรงข้ามวัดสองพี่น้อง อ.สองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี The Great Master Phramongkolthepmuni was born as Sodh Mikaewnoi on…

การสร้างสันติภาพ เริ่มต้นที่ตัวเรา (Th En Ch)

เส้นทางสันติภาพ เริ่มจากสันติสุขที่ใจคุณ WORLD PEACE BEGINS WITH INNER PEACE       世界和平 源自个人的内在和平   ความสุข  คือสิ่งที่มนุษยชาติทุกคนต่างแสวงหาแม้จะมีนักปรัชญาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน   ให้นิยามของความสุขไว้หลายแนวคิดหรือหลายทฤษฎี      แต่ก็ยังไม่สามารถตอบสนองความสงสัยใคร่รู้   ใคร่สัมผัส   หรือได้พบกับสิ่งที่เรียกว่าเป็นความสุขที่แท้จริงของมนุษย์   หากเราลองมองย้อนมาที่ตัวของแต่ละบุคคลลแล้วจะพบว่า   เราทั้งหลายล้วนประกอบขึ้นด้วยส่วนที่เรียกว่า   “ร่างกาย”  และ “จิตใจ”  แม้กายจะเราได้รับการสนองให้ได้ดื่ม  ได้กิน  ได้สัมผัส ในสิ่งที่ดีที่สุด  แต่หากจิตใจยังวุ่นวายรุ่มร้อน   ก็ยากว่าเป็นความสุขที่แท้จริง   หรือแม้จิตใจจะได้รับความสนุกสนาน    เพลิดเพลินกับเรื่องราวหรือสิ่งอันเป็นเครื่องบันเทิงใจ   แต่หากร่างกายยังเจ็บยังคุกคามด้วยโรคภัย   ก็ยากจะเรียกว่าความสุขที่แท้จริงเช่นกัน แต่เมื่อใดที่เราได้เรียนรู้และปฏิบัติให้เกิดความสมดุลระหว่างกายและจิตใจ   มนุษย์จะสามารถค้นพบความสุขในตัวเองได้  และสามารถบอกกับตนเองว่าสิ่งนี้เองคือความสุขที่แท้จริง  และการที่มนุษยชาติทั้ง หลายได้พบกับความสุขที่แท้จริง  ได้พบกับความหมายของชีวิตที่สูงส่ง   สามารถประพฤติปฏิบัติตนให้ดำเนินไปในสิ่งที่ถูกต้องและดีงาม  ตลอดจนการได้พบกับสันติสุขภายในตนเองอย่างถาวรของประชาชนทั่วโลก  คือรากฐานแห่งสันติภาพอันป็นเป้าหมายที่หลวงพ่อธัมมชโยกำลังมุ่งมั่นสร้างสรรค์ให้ปรากฎเป็นจริง Happiness is what all human beings seek. A philosopher can consider history up to the…

การบ้าน 10 ข้อ (Th En Ch)

การบ้าน 10 ข้อ (The 10 Homework for Meditation Practitioners) 十项功课     (ข้อ 1) เมื่อกลับไปถึงบ้าน เอาบุญไปฝากคนที่บ้าน (1). When you go home from the temple, bring the merit earned to all in the family. 回到家后,将所修的功德善行分享与家人。   (ข้อ 2) จดบันทึกผลของการปฏิบัติธรรม (2). Write down the result of your meditation practice. 记录每天的静坐经验结果。   (ข้อ 3) ก่อนนอน ให้นึกถึงบุญที่ได้สั่งสมมาทั้งหมด (3). Before…

ชีวประวัติหลวงพ่อทัตตชีโว (Th En Ch)

ชีวประวัติหลวงพ่อทัตตชีโว Short Biography of the Most Venerable Luang Por Dattajeevo 施命法师简介   หลวงพ่อทัตตชีโว มีนามเดิมว่า เผด็จ ผ่องสวัสดิ์ ถือกำเนิดในครอบครัวชาวไร่ในจังหวัดกาญจนบุรี เมื่อวันเสาร์ที่ ๒๑ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๔๘๓ เวลา ๐ นาฬิกา ๓๐ นาที แต่ทางบ้านไปแจ้งเกิดเมื่อวันที่ ๑ มกราคม พุทธศักราช ๒๔๘๔ โยมบิดาชื่อ นายสุน ผ่องสวัสดิ์ โยมมารดาชื่อ นางฮวย ผ่องสวัสดิ์ The Most Venerable Phrabhavanaviriyakhun (Luang Por Dattajeevo), formerly Mr. Padej Pongsawat, was born at half past midnight on Saturday,…

ประวัติหลวงพ่อธัมมชโย (Th En Ch)

ประวัติหลวงพ่อธัมมชโย ชาติภูมิ หลวงพ่อธัมมชโย มีนามเดิมว่า ไชยบูลย์ สุทธิผล ถือกำเนิดเมื่อวันเสาร์ที่ 22 เมษายน พ.ศ.2487 ตรงกับวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 6 ปีวอก เวลา 18.๐๐ น. ณ บ้านริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ต.บ้านแป้ง อ.พรหมบุรี จ.สิงห์บุรี ท่านเป็นบุตรของนายช่างใหญ่ กรมโรงงานอุตสาหกรรม นามว่าจรรยงค์ สุทธิผล กับคุณแม่จุรี สุทธิผล เมื่อตั้งครรภ์ในขณะที่ครอบครัวพำนักอยู่ที่จังหวัดพิจิตร คุณแม่จุรีฝันว่า หลวงพ่อเพชร ซึ่งเป็นพระพุทธรูปองค์ศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวเมืองพิจิตรกราบไหว้บูชา ได้นำเด็กที่มีลักษณะสวยงามมามอบให้ พร้อมกับกล่าวว่า “เด็กคนนี้เป็นลูกแก้วมาเกิด ขอให้เลี้ยงดูให้ดี จะเป็นที่พึ่งได้ในกาลต่อไปภายหน้า” และต่อมายังฝันอีกว่า ได้พบพระพุทธรูปเก่าแก่องค์หนึ่งในกองทราย ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา เมื่อนำมาขัด พระพุทธรูปองค์นั้นก็เปล่งรัศมีส่องสว่างไปทั่วทั้งเมือง ความฝันของคุณแม่จุรีในครั้งนั้น ได้นำความปีติยินดีมาสู่สมาชิกทุกคนในครอบครัวเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะคุณพ่อจรรยงค์ผู้มีความตั้งใจว่า จะส่งเสริมทายาทคนแรกของท่านนี้ ให้มีความเจริญก้าวหน้าในชีวิตให้ถึงที่สุด เพื่อให้เป็นที่พึ่งแก่ผู้คนทั้งหลายได้ และในวันที่ท่านเกิด ญาติพี่น้องที่เคยโกรธเคืองกัน ไม่ไปมาหาสู่กันเป็นเวลานาน ได้หันหน้ามาคืนดีกัน ด้วยมีความชื่นชมยินดีในวันเกิดของหลานชายคนแรก การเกิดของท่าน จึงเป็นดั่งศุภนิมิตแห่งความสมานสามัคคี…

ข้อเตือนใจสำหรับกัลยาณมิตร ๑๐ ประการ (Th En Ch)

ข้อเตือนใจสำหรับกัลยาณมิตร ๑๐ ประการ ๑. กัลยาณมิตรควรพิจารณาเนืองๆว่า, เราเป็นกัลยาณมิตรแล้ว,อาการกิริยาใดๆของกัลยาณมิตร,เราต้องทำอาการกิริยานั้นๆ ๒. กัลยาณมิตรควรพิจารณาเนืองๆว่า,อาการกายวาจาอย่างอื่น,ที่เราจะต้องทำให้ดีขึ้นไปกว่านี้,ยังมีอยู่อีก,ไม่ใช่เพียงเท่านี้ ๓. กัลยาณมิตรควรพิจารณาเนืองๆว่า,เป้าหมายชีวิตของเรา,ที่จะเป็นกัลยาณมิตร,ให้กับตัวเองและผู้อื่น,สมบูรณ์เพียงไร ๔. กัลยาณมิตรควรพิจารณาเนืองๆ,ว่าเรามีหน้าที่อันสูงส่ง,แม้ว่าจะเกิดอุปสรรค,มากน้อยเพียงใด,เรจะอดทน,ปรับปรุงแก้ไข,ฟันฝ่าอุปสรรคนั้นๆ ๕. กัลยาณมิตรควรพิจารณาเนืองๆ,ว่าตัวของเราเอง,ติเตียนตัวของเราเอง,โดยศีลได้หรือไม่ ๖. กัลยาณมิตรควรพิจารณาเนืองๆ,ว่าผู้รู้ใคร่ครวญแล้ว,ติเตียนเรา,โดยศีลได้หรือไม่ ๗. กัลยาณมิตรควรพิจารณาเนืองๆ,ว่าเราจะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งนั้น ๘. กัลยาณมิตรควรพิจารณาเนืองๆ,ว่าเรามีกรรมเป็นของตัว,เราทำดี จักได้ดี,ทำชั่ว จักได้ชั่ว ๙. กัลยาณมิตรควรพิจารณาเนืองๆ,ว่าวันคืนล่วงไปๆ,บัดนี้เราทำอะไรอยู่ ๑๐. กัลยาณมิตรควรพิจารณาเนืองๆ,ว่าคุณวิเศษของเรา,มีอยู่หรือไม่,ที่จะทำให้เราเป็นผู้ไม่เก้อเขิน,ในเวลาเพื่อนกัลยาณมิตรถาม,ในกาลภายหลัง   Ten Reflections for the Good Friend We good friends should often reflect that being a good friend, we should adopt the manner and conduct expected of a good…

ประโยชน์ ๑๐ ประการในการกำหนดพระวินัย (Th En Ch)

ประโยชน์ ๑๐ ประการในการกำหนดพระวินัย 1.เพื่อการรับว่าดีแห่งสงฆ์ 2.เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ 3.เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก 4.เพื่ออยู่สำราญแห่งภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก 5.เพื่อป้องกันอาสวะอันจักบังเกิดในปัจจุบัน 6.เพื่อกำจัดอาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต 7.เพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส 8.เพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว 9.เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม 10.เพื่อถือตามพระวินัย   Why Did the Lord Buddha Decree the Monastic Discipline? He did it in order to keep the monks on the path of righteousness. He did it in order to intimidate monks who are not easily shamed. He did it in order…