ประวัติหลวงพ่อธัมมชโย
ชาติภูมิ
หลวงพ่อธัมมชโย มีนามเดิมว่า ไชยบูลย์ สุทธิผล ถือกำเนิดเมื่อวันเสาร์ที่ 22 เมษายน พ.ศ.2487 ตรงกับวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 6 ปีวอก เวลา 18.๐๐ น. ณ บ้านริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ต.บ้านแป้ง อ.พรหมบุรี จ.สิงห์บุรี ท่านเป็นบุตรของนายช่างใหญ่ กรมโรงงานอุตสาหกรรม นามว่าจรรยงค์ สุทธิผล กับคุณแม่จุรี สุทธิผล เมื่อตั้งครรภ์ในขณะที่ครอบครัวพำนักอยู่ที่จังหวัดพิจิตร คุณแม่จุรีฝันว่า หลวงพ่อเพชร ซึ่งเป็นพระพุทธรูปองค์ศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวเมืองพิจิตรกราบไหว้บูชา ได้นำเด็กที่มีลักษณะสวยงามมามอบให้ พร้อมกับกล่าวว่า “เด็กคนนี้เป็นลูกแก้วมาเกิด ขอให้เลี้ยงดูให้ดี จะเป็นที่พึ่งได้ในกาลต่อไปภายหน้า” และต่อมายังฝันอีกว่า ได้พบพระพุทธรูปเก่าแก่องค์หนึ่งในกองทราย ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา เมื่อนำมาขัด พระพุทธรูปองค์นั้นก็เปล่งรัศมีส่องสว่างไปทั่วทั้งเมือง
ความฝันของคุณแม่จุรีในครั้งนั้น ได้นำความปีติยินดีมาสู่สมาชิกทุกคนในครอบครัวเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะคุณพ่อจรรยงค์ผู้มีความตั้งใจว่า จะส่งเสริมทายาทคนแรกของท่านนี้ ให้มีความเจริญก้าวหน้าในชีวิตให้ถึงที่สุด เพื่อให้เป็นที่พึ่งแก่ผู้คนทั้งหลายได้ และในวันที่ท่านเกิด ญาติพี่น้องที่เคยโกรธเคืองกัน ไม่ไปมาหาสู่กันเป็นเวลานาน ได้หันหน้ามาคืนดีกัน ด้วยมีความชื่นชมยินดีในวันเกิดของหลานชายคนแรก
การเกิดของท่าน จึงเป็นดั่งศุภนิมิตแห่งความสมานสามัคคี ประดุจน้ำฝนตกลงบนพื้นดินเหนียวที่แตกระแหง แล้วประสานรอยร้าวของเนื้อดินนั้นให้เรียบสนิทเป็นผืนแผ่นดินเดียว
Luangpor Dhammajayo was born Chaiboon Suthipol on Saturday, the 22nd of April 1944, the first night of the waxing moon in the 6th month of the Lunar Calendar at 6 p.m.. He grew up in a small house located on the banks of the Chao Phraya River a sub-district of Ban Paeng, in the district of Promburi, within the Province of Singhburi. His father, Janyong Suthipol, worked as an engineer at the Industrial Factory Department for the Ministry of Industry, and his mother was Juree Suthipol.
This led to the recollection of a dream his mother once had that took place at Phichit Province, where they lived before moving to Singburi. While pregnant, she dreamt of a holy Buddha image of Pichit, called ‘Luangpor Petch’ that the people revered. He presented to her a beautiful child and said, “This boy is a very special child. Please take very good care of him. He will be a refuge for the people in the future.” Later, she dreamt that she received a very beautiful Buddha image, and she cleaned and polished it until it was even shinier. While polishing the statue, it became a bright glow that radiated across the whole city, making it bright with boundless radiance.
Her dreams brought happiness to everyone in the family, especially her husband Janyong, who had the intention of supporting his first child to attain maximum progress and prosperity, so that he could be a role model to everyone.
The day Chaiyaboon was born, an auspicious event occurred. All of his relatives, who were angry and had never visited each other for a long time, were restored to family harmony by the birth of their first nephew.
The birth of baby boy was an auspicious event for harmony, like rain falling on dry and cracked ground, restoring it back to a smooth surface.
法胜师父,俗名叫作差雅朴•苏惕婆(音译),出 生于1944年4月22日星期日。当时是农历盈月第六天的傍晚六点。他在杏 埠里府之区里彭埠历的分区-辨(音译)的朝帕亚河边的一栋小屋里长 大。他的父亲-叫詹勇•苏惕婆(音译),是工业部门里的一名工程师; 他的母亲名字叫朱利•苏惕婆(音译)。
他的母亲在匹吉府时,回忆起曾做过的一个梦。当她还在怀孕时, 一家人都还未搬到杏埠里府。她梦到在匹吉府里,受到当地居民所尊敬 而称之为“翩师父”(音译)的一尊佛像(主佛)将一个很漂亮的孩子 交给她,说:“这是个非常特别的孩子,你要好好照顾他,他将成为人 们未来的依靠。”过后,她再次梦到她得到了一尊非常美丽的佛像,她 就将它清洁干净,擦得闪闪发亮;当她在擦那尊佛像时,它所发出的光 芒照耀了整座城市,使整个城市发出了无量光芒。
她的梦给全家人带来了幸福快乐,特别是她的丈夫-詹勇,立愿 要好好抚育他的第一个孩子,使他获得最大的发展和成就、成为众 人的楷模。
在差雅朴•苏惕婆出生的当天,吉祥的征兆也出现了——他之前所有 那些曾对他们家庭感到生气或许久没拜访过的亲戚们,都因为他们家中 的第一位外甥的出生而恢复了家族之间的和谐。
差雅朴•苏惕婆的诞生,便是吉祥的象征,犹如雨水浇灌了龟裂已久 的土地,使其舒展滋润如初。
ชีวิตในปฐมวัย เคลื่อนไปดุจสายน้ำ
เนื่องจากคุณพ่อมีอาชีพรับราชการ ซึ่งต้องเดินทางไปปฏิบัติราชการในต่างจังหวัดบ่อยครั้ง ชีวิตวัยเยาว์ของท่านจึงได้รับการดูแลทั้งจากมารดาและญาติพี่น้อง รวมถึงต้องย้ายที่อยู่เสมอๆ ต่อมาคุณพ่อได้คำนึงถึงอนาคตด้านการศึกษาจึงได้ฝากบุตรชายไว้กับครูบาอาจารย์ในโรงเรียนประจำชื่อโรงเรียนตะละภัฎศึกษา แถวเสาชิงช้า ในชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
และนับเป็นความโชคดีของท่าน เพราะเมื่อครั้งอยู่โรงเรียนประจำนั้น เจ้าของโรงเรียนซึ่งเป็นเชื้อพระวงศ์และไม่มีบุตร รู้สึกรักและเอ็นดูถึงกับจะเอ่ยปากขอเป็นบุตรบุญธรรมเพื่อให้สืบทอดมรดก เนื่องจากขณะนั้นคุณพ่อมีบุตรชายเพียงคนเดียวซึ่งเป็นที่รักและหวงแหนจึงไม่ยอมยกให้ แต่ถึงกระนั้นท่านเจ้าของโรงเรียนก็ยังคงรักใคร่เอ็นดู และพาติดสอยห้อยตามเข้าออกวังสระปทุมอยู่เสมอๆ จนทำให้ได้เรียนรู้ขนบธรรมเนียมของชาววังตั้งแต่นั้นมา และขณะเดียวกันก็ได้มีโอกาสติดตามไปร่วมทำบุญไหว้พระด้วยเสมอ จึงมีความใกล้ชิดกับพระสงฆ์องคเจ้าทำให้จิตใจใฝ่ธรรมะมาตั้งแต่เยาว์วัย
ในปี พ.ศ.2493 คุณพ่อได้รับคำสั่งให้ย้ายไปรับราชการที่จังหวัดเพชรบุรี ท่านจึงจำเป็นต้องลาจากเจ้าของโรงเรียนผู้มีพระคุณ เพราะคุณพ่อได้มารับไปอยู่ด้วย และได้เข้าเรียนในโรงเรียนอรุณประดิษฐ์ ในชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 อยู่กับคุณพ่อได้ปีเศษ ก็ย้ายไปอยู่ที่โรงเรียนสารสิทธิพิทยาลัย ในอำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี เป็นโรงเรียนที่มีชื่อเสียง โดยคุณพ่อพาไปฝากไว้กับคุณครูสมาน แสงอรุณ ซึ่งเป็นครูที่ใจดีและมีจิตใจโอบอ้อมอารี ท่านเรียนอยู่ ณ ที่แห่งนี้จนจบชั้นมัธยมปีที่ 3
ขณะที่มีอายุได้ 13 ขวบ ท่านสามารถสอบแข่งขันเข้าเรียนในชั้นมัธยมปีที่ 4 ของโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร ได้เป็นผลสำเร็จ โดยสอบติด 1 ใน 150 คน จากผู้สมัครกว่า 500 คน วิถีชีวิตที่ต้องดูแลตัวเองตามลำพัง ต้องรู้จักประหยัด อดออม เช่นนี้ จึงหล่อหลอมให้ท่านมีความเข้มแข็งอดทน มีความเชื่อมั่นและรับผิดชอบตนเองสูง แตกต่างจากเด็กชายที่เติบโตจากครอบครัวที่พร้อมด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกสบายทั่วไป
ชีวิตในช่วงปฐมวัยจึงเปรียบประดุจการเตรียมความพร้อม และหล่อหลอมให้ท่านพร้อมที่จะเติบโตขึ้นมารับภารกิจอันยิ่งใหญ่ ซึ่งเป็นความใฝ่ฝันที่มีมาตั้งแต่เยาว์วัย และได้กลายเป็นจริงในปัจจุบัน
A Childhood Life Moving forward like the Current of Water
Since his father was a government employee who had to regularly relocate to different provinces, Chaiyaboon was raised by his mother and cousins. Because he had to move on a regular basis, his father, concerned about the boy’s education and future, registered his son in the first grade of Talapatsuksa School, a boarding school at Sao-Shingsha in Bangkok.
This was a good fortune for this young student. The owner of the boarding school that he was attending, who was of royal blood, had no children of his own. He loved they boy very much and asked the boy’s father if he could adopt him to be his heir. Since Chaiyaboon was the only and beloved son of the family, his father declined the offer. However, the owner still loved him and would always bring him to the Sra Pratum Palace. This allowed him the opportunity to learn the customs of royalty from that time forward. It also gave him the chance to join the school owner in making merit with monks regularly. This was the start of the boy’s interest in Dhamma.
In 1950, his father received an order to relocate to Phetchaburi. Chaiyaboon had to be separated from the school owner since he was transferring to Aroonpradit School for the fourth grade. After living with his father for a little over a year, he moved to Sarasit Pithayalai School where a famous school stood in Banpong District, Rajchaburi Province. His father allowed him to stay with a kindhearted and generous teacher, Samarn Sang-Aroon, until he completed the ninth grade.
When he was thirteen, Chaiyaboon passed the competitive entrance examination to enroll in the tenth grade at Suankularb Wittayalai School in Bangkok. He was one of one hundred fifty students who passed the test from a pool of five hundred candidates. Since he was on his own most of the time, he learned how to economize and save. Therefore, this experience trained him to be vigorous, confident and responsible in this he differed from other boys who grew up in wealthy families.
His childhood experiences prepared him for his important future tasks, and after long hard work he finally reached his dream.
如流水般的童年
由于父亲是一位政府公务员,因此经常被调派到各府去。差雅朴• 苏惕婆就由他的母亲和表兄妹们抚养。因为他常常搬家,父亲对差雅朴• 苏惕婆的教育和前途非常关心,就 为 儿 子 报 读 一 流 的 邵兴杉(音译) 的塔拉帕•苏卡萨(音译)寄宿学校念书。 这是年轻时他的福气,他所就读的这所寄宿学校的主席,不但具 有皇族血统,而且自己又没有生养,他非常喜欢差雅朴•苏惕婆就请求 他的父亲收养他为继承人。因为差雅朴•苏惕婆是家中最疼爱的独子, 所以父亲就拒绝了那位主席的请求。但那位主席还是很喜欢差雅朴•苏 惕婆,就经常带他到萨帕图(音译)皇宫去,这使他从那时起,就 开始有机会学习皇家的礼仪,而这也让他有机会接触到皇宫里的法 师,并开始对佛法产生了兴趣。 1950年他收到被调派到篇埠历(音译)的指令,差雅朴•苏惕婆就 得跟那位主席分别了,因为他需要转校到阿仑帕蒂(音译)学校继续修读第四级。他跟父亲住了一年多,还搬到了拉加埠历府班翩(音译)区 的萨拉斯提批沓亚莱(音译),父亲让他跟一位善良大方的萨玛桑阿仑 (音译)老师同住,直到他中学三年级毕业。
十三岁时,差雅朴•苏惕婆报考了曼谷的舜库辣•委沓亚莱(音译) 学校,就读高中一年级的课程。这次的录取是从五百名考生中挑选出一 百五十名,他正是其中一位,平日里他都是个懂得节俭自律的人,这些 良好的经验和生活习惯,锻炼他成为一个精力充沛、自信、有责任感、 有别于其他在富裕家庭里长大的孩子 。
童年的经历,让他为未来所要肩负的重要使命做好准备,而日后所 付出的漫长努力,终于让他达成他的梦想。
ความฝันอันยิ่งใหญ่ในวัยเยาว์
แม้จะมีชีวิตอิสระในขณะที่เป็นวัยรุ่น แต่ท่านก็มีความประพฤติดีงาม และตั้งใจศึกษาเล่าเรียน ในระยะนี้เองที่ท่านเริ่มสนใจศึกษาพระพุทธศาสนา
ท่านเป็นผู้ขวนขวายในการศึกษาหาความรู้ต่างๆ อยู่เสมอ และมีความสุขกับการใช้เวลาว่างไปแสวงหาความรู้ตามแผงหนังสือ หรือตลาดนัดหนังสือนานาประเภท เช่น ตามริมคลองหลอดบ้าง ท้องสนามหลวงบ้าง ผิดกับเด็กวัยเดียวกันที่มักจะเอาแต่เที่ยวเล่นสนุกสนานไปวันๆ หากวันใดเจอหนังสือที่เกี่ยวกับการปฏิบัติกรรมฐาน เป็นต้องหยิบอ่านซ้ำแล้ว ซ้ำอีก อย่างไม่รู้สึกเบื่อหน่าย ยิ่งอ่านก็ยิ่งขัดเกลาความคิดให้มองเห็นความทุกข์ในทางโลกยิ่งขึ้น แม้กระทั่งหนังสือประเภทประวัติบุคคลสำคัญของโลก ก็อ่านแล้วอ่านอีกจนจำชื่อและผลงานของแต่ละท่านได้แม่นยำ และได้จุดประกายความคิดในใจว่า เราเกิดมาทำไม อะไรคือเป้าหมายของชีวิต ซึ่งความคิดเกินวัยนี้ ท่านได้เขียนไว้ในสมุดบันทึกในวัย 13 ปี ตอนหนึ่งว่า
“ถ้าเรามาทางโลก ก็อยากไปให้สูงสุดในทางโลก ถ้าหากว่าอยู่ในทางธรรม ก็อยากจะไปให้สูงที่สุดในทางธรรม และก็จะนำพระพุทธศาสนาไปเผยแผ่ทั่วโลก”
ใครเลยจะคิดว่า ความฝันในวัยเยาว์ของเด็กชายเล็กๆ คนหนึ่ง จะกลับกลายเป็นจริงขึ้นมา เพราะในปัจจุบัน บุคคลท่านนี้คือพระมหาเถระของพระพุทธศาสนา ผู้นำแสงสว่างจากดวงตะวันแห่งสันติภาพภายใน ที่เกิดจากการทำสมาธิ แผ่ขยายไปสู่ดวงใจของผู้ใฝ่สันติภาพทั่วโลก
His Big Childhood Dreams
Chaiboon’s Utmost Dedication to Attaining Knowledge of the World and the Start of Attaining Knowledge of Buddhism.
Young Chaiboon was eager when it came to acquiring knowledge, and was happy spending his free time gaining more knowledge at bookstands or at the markets where a variety of books could be found. He liked to spend time in and around Khlong Lod and Sanam Luang, unlike other teenagers his age who only wanted to have fun all day long. He could always be found wearing a t-shirt with his favourite shorts, reading books from various bookstands. If he found books on Dhamma, he would find himself reading them over and over again. The more he read, the more he refined his thoughts so that he could better understand the suffering of the world. Even biographies of important people were read repeatedly, so that he was able to accurately memorize all their names and contributions. These prompted questions in his mind: Why were we born? What is the goal of life? These questions were too advanced for someone his age. He wrote down his thoughts in a journal at the age of thirteen:
“If I were to pursue secular interests, I would want to attain the highest objective. If I were to pursue religious interests, I would like to reach the utmost Dhamma and disseminate Buddhism to the whole world.”
Who could have imagined that a young man’s dream was going to come true? Because, in the present day, this person has become a revered Abbot who has brought radiance from the sun of peace through meditation, and shone it across the world to peace-lovers everywhere.
童年的大梦想
差雅朴•苏惕婆积极地学习世间的知识并开始学习有关佛教的知识。
差雅朴•苏惕婆具有强烈的求知欲,他很喜欢把时间花在逛书店或市 场上,就是为了寻找更多课外书籍,充实自己,他喜欢待在孔咯(音译) 和萨南阮(音译)曼谷的皇宫广场。他不同于一般同龄人,只喜欢整天享 乐,他经常穿着汗衫和他最喜欢的短裤,在不同的书店里翻阅书籍。如果 他找到有关佛法的书籍,就会爱不释手地反复阅读。越是阅读,就越能净 化他的心灵,使他更了解这个世界充满了苦。除此之外,就连名人的自传 也未曾遗漏,饱览无数,直到能够正确地记得那些人的名字和贡献。这些 问题常出现在他的脑海里:“我们出生为了什么?生命的目标是什么?” 这些问题对他这个年龄的小孩来说实在太深奥了。差雅朴•苏惕婆,在他十 三岁时, 就将这些想法写在他的日记里:
“如果我要追求世俗兴趣,我要达到最高的目标;如果我要寻求宗 教兴趣,我想要达到最究竟之法和把佛教弘扬到全世界。”
谁会想到这位年轻人的梦想竟会成真?而今他已成为一所令人敬仰 的佛教寺院的住持,并通过静坐,将和平之日般的光芒普照到全世界的 和平爱好者。
แสวงหาคำตอบของชีวิต
ขณะเรียนอยู่ที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ได้มีโอกาสฟังการบรรยายธรรมจากวิทยากรท่านต่างๆ จึงคนเกิดแรงบันดาลใจร่วมกับเพื่อนๆตั้งชุมนุมยุวพุทธขึ้น มีการศึกษาธรรมะอย่างจริงจัง ไม่ว่าที่ใดมีการปาฐกถาธรรม ทั้งลานอโศก วัดมหาธาตุและที่อื่นๆ จะต้องมีเด็กชายไชยบูลย์อยู่ร่วมกิจกรรมด้วยเสมอ
จนเข้าสู่วัยรุ่นความกระหายในธรรมก็ยิ่งมีมากขึ้น หากมีเวลาว่างก็จะหาโอกาสปลีกตัวไปอยู่ในที่เงียบๆ เพื่อขบคิดถึงปัญหาที่ยังค้างคาใจอยู่เสมอว่า “คนเราเกิดมาทำไม ตายแล้วจะไปไหน กรรมหรือบุญบาปมีจริงหรือไม่” เพราะได้อ่านได้ศึกษาจากตำราถึงพระพุทธดำรัสว่า ถ้ารู้ธรรมะเพียงอย่างเดียวยังใช้ไม่ได้ เพราะจะเป็นเหมือนคนตาบอดคลำช้างหรือใบลานเปล่า จะเป็นเพียงธรรมกถึกเชี่ยวชาญการเทศน์สอน แต่ประโยชน์จริงๆนั้นเป็นอย่างไรก็ยังไม่เคยปฏิบัติ แล้วก็จะกลับมาคลางแคลงย้อนถามตนเองเสียอีก
The Search for the Answers of Life
While he was attending Suankularb Wittayalai School, he had a chance to listen to Dhamma lectures, from many scholars, and that inspired him and his friends to establish a Buddhist Youth Society. Wherever there were Dhamma lectures, as far away as Lan Asoke at Mahathat Temple or other places, he always attended.
As he became a teenager, his appetite to learn more Dhamma increased. Whenever he had free time, he would always steal away to tranquil places to contemplate the questions that lingered in his mind. Why were we born? Where do we go after we die? Do merit and demerit exist? He read and studied Buddhist texts that said: Knowing only the Dhamma of the Lord Buddha is not enough. It is like having only one eye. One will be only an expert in the area of Dhamma knowledge, but whatever benefits may be gained by that is never known because it is never put into practise. Then, more questions will remain.
He regularly gazed at the vast sky as if he was trying to find the answers to the questions that resided deep in his mind. He differed from other people of his age who were only interested in having fun, thoughts of the future and wealth, having a life partner, or other distractions. But in the determined eyes of young boy, behind those dark glasses, he was resolute and continued his pursuit of finding answers. He continuously researched various books, and sought after the knowledge of many well known scholars.
找寻生命的答案
在舜库辣•委沓亚莱高中念书时,差雅朴•苏惕婆获得了向诸位学 士们那儿听闻佛法讲课的机会,这激励了他和他的朋友们要成立佛教青 年的计划。每当有关佛法的讲座,远至在韩兰阿搜可(音译)的玛哈塔寺 院或其他的地方,他都会设法去听课。
到了青年时期,他对佛法的兴趣更是有增无减。每当一有空闲时 间,他就躲到宁静的地方,深思着那些时常俳徊在心里的问题——我们 生来为了什么?我们死后会到哪里?功德和恶业真的有吗?他所阅读和 学习的佛教课本里说道:只知道佛陀的教导,是不够的。这有如只有一 只眼睛。一个人若只精通于佛法知识方面上,所获得的利益是不确定 的,因为如果还未能加以实践,许多问题还是依然存在的。
他常常仰望这天空,仿佛想要寻找那些存在于他心灵深处问题的 答案。他的想法有别于一般和他同年龄、只关心是否好玩的年轻人,他们只专注于对未来和财富的想法、找寻终身伴侣,或花时间在其它会 令人分心的事物上。但差雅朴•苏惕婆那副墨镜后的那双眼眸始终闪耀着 坚定的光芒。他斩钉截铁坚持不懈地寻找着那些问题的答案,并继续搜 寻着其它的书籍与许多著名学者的知识。
ประกายแห่งคำตอบ
และแล้ววันหนึ่งท่านได้พบหนังสือชื่อ “ธรรมกาย” ซึ่งเขียนตามแนวเทศนาของพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) หลวงพ่อวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ มีข้อความว่า “ถ้าจะเดินให้ถูกต้องร่องรอยของพระศาสนา ต้องปฏิบัติให้ได้ทั้งรู้ทั้งเห็น”
คำว่า “ธรรมกาย” อ่านแล้วสะดุดใจยิ่งนัก ในหนังสือเล่มนี้พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ท่านได้บอกไว้ว่า “ธรรมกาย” นั่นแหละ คือ “ตถาคต” พร้อมทั้งได้ยกคำบาลีที่มีอยู่ในพระไตรปิฎกมายืนยันว่า “ธมฺมกาโย อหํ อิติปิ แปลว่า ตถาคตคือธรรมกาย” และตอนท้ายเรื่องมีคำยืนยันว่า “วัดปากน้ำนี้เรียนได้ ทั้งรู้ทั้งเห็น” ข้อความดังกล่าว ยิ่งทำให้ท่านเกิดความปีติยินดี ราวกับว่า เดินมาถูกทางแล้ว
และเมื่อท่านได้อ่านหนังสือ “วิปัสสนาบันเทิงสาร” กล่าวถึงความเชี่ยวชาญในการปฏิบัติธรรมวิชชาธรรมกายของคุณแม่อาจารย์ลูกจันทร์ แม่ชีผู้เป็นศิษย์ของพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) หลวงพ่อวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ ก็ยิ่งทำให้ท่านมีความปรารถนาอย่างแรงกล้า ที่จะไปศึกษาธรรมปฏิบัติที่วัดปากน้ำ แล้วความคิดหนึ่งก็พลันบังเกิดขึ้นว่า “วัดปากน้ำอยู่ ณ แห่งหนใด”
บ่อยครั้งที่มองไปบนท้องฟ้าอันกว้างใหญ่ ราวกับพยายามค้นหาคำตอบที่ค้างคาใจ ซึ่งมีผลให้ความคิดนี้ยิ่งตกผลึกอยู่ในใจตลอดเวลา ผิดจากเด็กวัยเดียวกันที่ควรจะสนุกสนานเพลิดเพลิน หรือใฝ่ฝันถึงอนาคตอันรุ่งโรจน์ที่จะมีทรัพย์ มีคู่ครอง แต่ท่านกลับเสาะแสวงหาคำตอบ ทั้งจากใครที่ได้ชื่อว่าเป็นผู้รู้และจากตำราต่างๆ ตลอดจนครูบาอาจารย์ที่มีชื่อเสียงในยุคนั้น
Sparks of Answers
Then one day, he came across a book titled, “Dhammakaya.” This book was written in the format of a sermon by The Great Master Phramongkolthepmuni (Sodh Candasaro) or Luang Pu Wat Paknam. There was one particular quote: “If one wants to follow in the right path of Buddhism, one has to practise until one gains complete comprehension and understanding.”
The word “Dhammakaya” appealed to him. The Great Master said, “Dhammakaya is the Buddha.” He even referenced a Pali term from the Tripitika: “Dhammakayo – (ahamฺ itipi,” (Pali) to confirm that the Buddha is the Dhammakaya. At the end of this book, it showed a confirmation that Wat Paknam was able to teach until attaining complete comprehension and understanding.” This statement delighted him because he knew he had found the right path.
Later, he read an article in “Vipassana Bantuengsarn” that spoke about the advances in meditation of Khun Mae Acariya Chandra, an expert in the Dhammakaya Meditation. She was a nun who was a disciple of Phramongkolthepmuni (Sodh Candasaro), Luang Pu Wat Paknam. This propelled Chaiboon to want to learn meditation at the temple. From that point on, he planned to go to Wat Paknam to study the Dhammakaya Meditation.
答案的火花
有一天,差雅朴•苏惕婆翻阅到一本名为《法身》的书籍。这是一 本收集怕司乍刃(音译)县北揽寺的蒙昆贴牟尼祖师(法号:湛塔萨罗)的 开示所编成的书籍,其中有一句特别的格言:“如果有人要遵循佛教正 确的道路,就要修行直到他获得完全地理解和明了。
“法身”引起了他的兴趣。蒙昆贴牟尼祖师说:“法身就是佛陀。” 他还参考南传三藏里的一个巴利文的说法:“我即是法身”,确认了佛 陀就是法身。在这本书的结尾,它明确地肯定说:“北揽寺能教导人证 到完全的理解和了解”。这段陈述使他倍感兴奋,因为他知道已经找到 了他所要寻找的正确道路了。
不久之后,他又读到一本杂志《毗婆奢那办凳萨》(音译), 里头讲述有关一位法身法门深修者“詹妈妈”的事迹。她是一位八戒 女,也是北揽寺祖师蒙昆贴牟尼祖师的弟子。这更促使差雅朴要到这所 寺院去学习静坐。从此开始,他就打算到北揽寺学习法身法门静坐法。 然后在心里立刻升起了一个念头就是“北揽寺在哪里”。
ตามหาครูบาอาจารย์
จนกระทั่งในปี พ.ศ.2506 ขณะที่มีอายุได้ 19 ปี อยู่ในช่วงเตรียมตัวสอบเข้ามหาวิทยาลัย ท่านก็ตัดสินใจไปวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ เพื่อตามหาคุณแม่อาจารย์ลูกจันทร์ มุ่งหวังว่าหากพบท่านจะขอศึกษาวิชชาธรรมกายให้จงได้ เมื่อไปถึงวัดก็เที่ยวถามใครว่า “รู้จักคุณแม่อาจารย์ลูกจันทร์ไหม ?” คำตอบคือ ไม่มีใครรู้จักแม้แต่คนเดียว มีแต่บอกว่า “ไม่มีคุณแม่อาจารย์ลูกจันทร์ มีแต่ครูจันทร์” ทำให้ท่านเข้าใจไปว่าเป็นคนละคนกัน เมื่อตามหาไม่พบจึงหันกลับไปทุ่มเทให้กับการเตรียมตัวสอบ จนกระทั่งสามารถสอบเข้ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้ในที่สุด
เมื่อการเรียนเทอมแรกในมหาวิทยาลัยผ่านไป ความคิดที่จะไปตามหาคุณแม่อาจารย์ลูกจันทร์ก็หวนกลับคืนมาอีกครั้ง ดังนั้นในช่วงปิดเทอมราวเดือนตุลาคม พ.ศ.2506 ท่านจึงตัดสินใจกลับไปที่วัดปากน้ำฯ อีกครั้ง แต่ก็ยังไม่ได้พบกันอีกเช่นเคย จึงมีผู้แนะนำว่า ถ้าอยากนั่งสมาธิจริงๆ ก็ให้ไปเรียนกับพระเถระผู้ใหญ่รูปหนึ่ง ซึ่งท่านยินดีสอนการเจริญภาวนาวิชชาธรรมกายให้ และเมื่อนั่งปฏิบัติไปได้ระยะหนึ่ง จึงลองสอบถามจากเด็กหนุ่มรุ่นราวเดียวกันดูอีกครั้ง ซึ่งก็ได้รับคำตอบว่า “คงจะเป็นครูจันทร์ละมัง” จึงได้อาสาพาไปพบ แล้วในที่สุดท่านก็ได้พบคุณแม่อาจารย์ลูกจันทร์ สมดังที่ปรารถนา
The Search for a Teacher
In 1963, at the age of nineteen, he was preparing to take the entrance examination for university-level studies. The young man made a decision to go to Wat Paknam Bhasicharoen to meet Khun Mae Acariya Chandra to study the Dhammakaya Meditation. When he arrived at the temple, he asked different people, “Does anyone know Khun Mae Acariya Chandra?” but no one knew. They told him: “There is no Khun Mae Acariya Chandra. There is only a Teacher Chandra.” This made him think that these were two different persons. Since he couldn’t find her, he concentrated his efforts on the entrance exam. He passed the exam and was accepted at Kasetsart University.
In the first semester, he was very focused in his studies. Later, at the end of the first semester, his thoughts of meeting Khun Mae Acariya Chandra resurfaced. So, he decided to go back to Wat Paknam again in October 1963, but was still unsuccessful in locating her. Later, someone suggested that, if he wanted to learn how to meditate seriously, he should learn from a senior monk who would be glad to teach the Dhammakaya Meditation Technique. After practising meditation for a period of time, he discovered, from a fellow meditator of the same age, that Khun Mae Acariya Chandra was Teacher Chandra. So, he was taken to meet Teacher Chandra. Finally, they both had the opportunity to meet one another.
寻访名师
1963年,差雅朴正好十九岁,正要准备报考大学的入学考试;与此 同时,差雅朴还决定到帕司乍刃县北揽寺寻找“詹妈妈”学习法身法门 静坐法。他来到寺院,向许多人打听“有人认识詹妈妈吗?”但没有人 认识。他们告诉他说:“这里没有詹妈妈只有詹师父。”这答案使他误 以为这是两个不同的人,使他无法找到她。他只好回去专心应付入学考 试,之后就顺利地考进了卡瑟萨(音译)大学。
第一个学期,新生差雅朴非常专心于他的学业。过后,第一个学 期结束时,想寻找詹妈妈的念头又再次浮现。这一年的十月,他决定再 次前往北揽寺,但仍然没有结果。后来有人建议他,如果想认真学习静 坐,应该向位年迈的法师学习,他会很乐意教导法身法门静坐法。学习 了一段时间后,他从一位同龄的同修那发现原来詹师父就是詹妈妈,然 后他便去拜见詹师父。他们俩相遇的机会终于到来了。
พบครูผู้ชี้หนทางสู่สันติภาพ
เมื่อพบกับคุณยายครั้งแรก ขณะนั้นคุณยายอาจารย์อายุได้ 53 ปี มองภายนอกเป็นเพียงแม่ชีธรรมดาๆ คนหนึ่ง ที่มีรูปร่างผอมบาง เนื้อตัวสะพรั่งไปด้วยเส้นเอ็น หากแต่แววตาท่านนั้นสุกใส ฉายแววของความเป็นผู้ทรงภูมิธรรมอันสูงยิ่ง บุคลิกของท่านมีความหนักแน่น เข้มแข็ง มีพลัง และเปี่ยมด้วยความเมตตากรุณา แม้ว่าท่านจะไม่เคยเรียนหนังสือ ทั้งยังอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ แต่กลับสามารถตอบปัญหาธรรมะอันลึกซึ้งได้อย่างกระจ่างแจ้ง ทำให้ผู้ที่มาถามไถ่รู้สึกว่า คำตอบนั้นได้ทำความสว่างให้เกิดขึ้นในจิตใจ หยุดให้ได้คิด ฉุดใจให้หลุดออกมาจากแรงดึงดูดของกระแสโลกที่เชี่ยวกราก ในคราวแรกพบนั้นเอง ท่านรู้สึกได้ทันทีว่า ได้พบครูบาอาจารย์ที่แสวงหามาแสนนาน จึงขอฝากตัวเป็นศิษย์ของท่านด้วยความมั่นใจอย่างเต็มเปี่ยม ซึ่งคุณยายอาจารย์ ได้ทักท่านราวกับรู้เหตุการณ์ล่วงหน้าว่า “คุณน่ะ หลวงพ่อวัดปากน้ำให้ยายไปตามมาเกิดในสมัยสงครามโลก” ท่านฟังประโยคนี้แล้วก็ไม่เข้าใจ แต่สิ่งที่คุณยายพูดตรงก็คือ ท่านเกิดในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 จริงๆ คุณยายอาจารย์ท่านสามารถตอบทุกคำถามที่เคยสงสัยได้อย่างแจ่มแจ้งชัดเจน และยังก่อให้เกิดแรงบันดาลใจ ที่จะนำสันติสุขอันเกิดจากคำสอนในพระพุทธศาสนาไปเผยแผ่ทั่วโลก ทำให้ความใฝ่ฝันอันยิ่งใหญ่ในวัยเยาว์ กลับกลายเป็นความจริงได้ในที่สุด
Discovering a Teacher who showed Him the Way to Peace
When he first met Khun Yay (Khun Mae Acariya Chandra), she was fifty-three years old. She looked like an ordinary nun, who was very thin, but whose eyes were brilliant and bright; a sign of someone with extreme knowledge. She was firm, strong, powerful, and brimming with kindness. Although she was not educated or literate, she could provide clear profound answers to deep Dhamma questions. Her profound answers brightened people’s minds, made them stop and think and removed them from the strong influences of the ways of the world.
On their first meeting, the young man believed that he had found the teacher who he had been searching for, for such a long time. Therefore, he requested, with confidence in her, to be her student. Later, Khun Yay said to him, “You are the one whose birth Luangpu Wat Paknam asked me to request during the World War period.” This statement was unclear to him, but the words that Khun Yay said were accurate since he was born during World War II.
From that point on, Chaiboon felt confident that he had chosen the right teacher because the knowledge he received from Khun Yay enabled him to address and settle everything he once questioned. This also inspired him to spread the peace found in Buddhism, to the whole world. This helped make the big dream that he had, when he was a child, come to fruition.
Any doubts or questions that the young man had in his mind, he would ask Khun Yay and she would be able to answer everything, above and beyond his expectations, which raised his spirits even higher. This encouraged him to spread Buddhist teachings and bring peace and harmony to the whole world.
得遇指引通往和平之路的明师
第一次见到詹老奶奶(詹妈妈)时,她已经五十三岁了。她看上 去像位普通的八戒女,长得非常消瘦,一双眼睛炯炯有神——那是智慧 者的象征;她稳重,充满力量与慈悲。虽然她目不识丁,却能为深奥问 题做出有深度的回答,而她所给予的答案,总能让人的心明亮,使人们 杂念止歇,能使他们离苦;她的话语,为这世间带来了强而有力的良好 影响。
初次见面,差雅朴就相信他已找到所寻找已久的明师了,所以他 决意要成为她的学生。后来詹老奶奶对差雅朴说:“你是北揽寺祖师, 在第二次世界大战时期,请下来降生的人。”当时他对这句话不太了 解。但詹老奶奶所说的这些话,却很明确,因为差雅朴的确是在第二次 世界大战时期出生的。
从那时候开始,差雅朴确信自己他已找到了明师,因为他从詹老奶 奶那所获得的知识,能解答他所提出的所有问题。这也激发他要将从佛 教中所能找到的和平,弘扬到全世界。这能协助他实现自小就拥有的伟 大梦想。
如差雅朴心里有任何疑问或问题,他都会去问詹老奶奶,而且她 也能回答他提出的所有问题,并且超越了他的期盼。这更能激发他的斗 志,鼓励他想要把佛教的和平与和谐,传播到全世界。
รู้เป้าหมายชีวิต
ในวันแรกของการฝึกสมาธิกับคุณยายอาจารย์ ศิษย์คนใหม่ก็ได้ถามคำถามว่า นรกสวรรค์มีจริงมั๊ย คุณยายก็ตอบเรียบ ๆว่า มีจริงคุณ นรกสวรรค์มีจริง ยายไปมาแล้ว ยายไปช่วยพ่อยาย พ่อยายตกนรกเพราะว่าดื่มเหล้า วันละ 10 สตางค์ ยายก็เข้าองค์พระไปช่วยท่านขึ้นมาได้ไปอยู่บนสวรรค์แล้วคุณอยากจะไปมั๊ยล่ะ ยายจะสอนให้ แล้วไปด้วยกัน คำตอบของคุณยาย แตกต่างจากทุกคำตอบที่เคยได้ฟัง แสดงให้เห็นว่าท่านต้องไปรู้ไปเห็นด้วยตนเอง จึงสามารถตอบเช่นนี้ได้ แต่เรื่องการไปนรกสวรรค์มิใช่เรื่องยากอะไรเลยสำหรับคุณยาย เพราะในสมัยที่หลวงพ่อวัดปากน้ำยังมีชีวิตอยู่ คุณยายได้เข้าไปนั่งสมาธิในโรงงานทำวิชชาร่วมกับแม่ชี และพระภิกษุ ที่หลวงพ่อวัดปากน้ำคัดเลือกแล้วว่า เป็นผู้มีความเชี่ยวชาญในสมาธิ
ในยุคนั้น คุณยายอาจารย์นั่งสมาธิวันละ 12 ชั่วโมง กลางวัน 6 ชั่วโมง กลางคืนอีก 6 ชั่วโมง และเป็นผู้ที่มีผลการปฏิบัติธรรมดีเยี่ยม จนหลวงพ่อวัดปากน้ำเอ่ยปากชมท่านท่ามกลางเหล่านักปฏิบัติธรรมชั้นยอดว่า “ลูกจันทร์นี้ เป็นหนึ่งไม่มีสอง” หลังจากนั่งสมาธิกับคุณยายได้ไม่นาน ท่านก็พบคำตอบที่เฝ้าค้นหามาตลอด ว่า “คนเราเกิดมาทำไม อะไรคือเป้าหมายที่แท้จริงของชีวิต” ซึ่งการปฏิบัติธรรมกับคุณยายทำให้ท่านพบคำตอบแล้วว่า “คนเราเกิดมาเพื่อสร้างบารมี และพระนิพพานคือเป้าหมายชีวิตอันสูงสุดของทุกชีวิต” นั่นเอง
Understanding Life’s Goal
On the first day of meditation practice with Khun Yay, the first question the new student asked was: “Khun Yay, does heaven and hell exist?” Khun Yay simply answered, “Yes, they both exist. Heaven and hell are real. I’ve been there when I went to help my father. My father went to hell because he drank alcohol daily and would get drunk. I requested the help of the Dhammakaya to help bring my father into heaven. Would you like to go there? I will teach you and we can go there together.”
It was a clear and direct answer that was completely different from any answers he had heard before. This indicated the confidence she had in her experience, and what she knew and saw on her own. This is because Khun Yay had meditated in the Meditation Workshop with other nuns and monks when the Great Master, Luang Pu Wat Paknam, was still alive. These monks and nuns were selected by Luang Pu Wat Paknam because they had remarkable concentration in meditation. At that time, Khun Yay meditated with determination for six hours during the day and six hours at night. She had such superb results from her meditation experiences that Luang Pu Wat Paknam extolled her among other meditators with: “Daughter Chandra is the best. She is second to none.”
After meditating with Khun Yay for only a short amount of time, young student Chaiboon discovered the answers to the questions he had sought for so long: “Why were we born, and what is the true goal of life?” The results from meditation provided the answers that, “we were born to pursue perfections, and Nibbana is the highest goal of everyone’s life.”
明确生命的目标
第一天跟詹老奶奶学习静坐时,新学生的第一个问题就是:“天堂与地狱真的有吗?”詹老奶奶轻松地回答说:“有,它们都存在,天 界与地狱是真的有。我曾去过那,帮助我的父亲。我的父亲堕入地狱, 因为他每天都喝醉酒,我就恭请法身帮忙将父亲救到天界。你想去吗? 我会教你并跟你一起去。”
这是非常清楚、直接的答案,这是有别于其他所听过的答案。这显 示出她很自信,因为这是她自己的所知与所见。詹老奶奶曾在深修工厂 里与其他八戒女和比丘一起深修,那时祖师还健在。能进入深修工厂的 八戒女与比丘都是祖师亲自精选的,他们都有很好的禅定力。
那时候, 詹老奶奶一直都坚持着早晚各静坐六小时。她拥有超凡的禅修经验,直 到祖师向众弟子宣布:“詹女儿是最行的,她是独一无二的。”
跟詹老奶奶静坐了短短一段时间后,这位新学生差雅朴就已找到了 他长久以来寻找的答案:“我们生来为了什么?生命的目标是什么?” 静坐为他解答了这些答案,“我们生来是为了修波罗蜜,证得涅盘是每 个人生命的最高目标。”
เพียรปฏิบัติธรรมจนเข้าถึงสันติสุขที่แท้จริง
แต่กว่าที่จะเข้าใจลึกซึ้งถึงคำตอบของชีวิตที่ค้นหามานาน ท่านต้องทุ่มเทชีวิตจิตใจศึกษาธรรมะอย่างจริงจัง กิจวัตรส่วนใหญ่เป็นไปเพื่อการทำสมาธิทั้งสิ้น ทุกวันเวลาประมาณ 6 โมงเช้า ออกเดินทางจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ไปวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ สมัยนั้นต้องขึ้นรถเมล์ถึง 3 ต่อ ขณะที่อยู่บนรถไม่ว่านั่งหรือยืนก็ตาม ท่านจะหลับตาทำสมาธิอยู่ตลอดเวลา ประมาณ 8 โมงเช้าจึงมาถึงวัดปากน้ำ และรีบตรงดิ่งไปนั่งสมาธิต่อกับคุณยายทันที จนกระทั่งถึง 2 ทุ่มจึงเลิก และกลับถึงมหาวิทยาลัยราว 4 ทุ่ม
หรือแม้แต่ในช่วงดึกสงัด ประมาณตี 3 อันเป็นเวลาหลับสนิทของเพื่อน ๆ ท่านก็จะลุกขึ้นมานั่งสมาธิ เพราะเป็นเวลาที่เงียบสงบ และร่างกายได้พักผ่อนจนหายเหน็ดเหนื่อยแล้ว และเพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงไม่ให้เพื่อน ๆ พบเห็น แต่กระนั้นก็ยังมีบางครั้งที่เพื่อนบางคนตื่นมาเข้าห้องน้ำตอนดึก เมื่อเห็นคนนั่งเอาผ้าห่มคลุมโปงอยู่ก็ตกใจ แต่เมื่อทราบว่าท่านกำลังนั่งสมาธิอยู่ ก็มิได้ล้อเลียนแต่ประการใด เมื่อเห็นว่าเพื่อนๆ เริ่มคุ้นเคย จึงได้เริ่มชวนเพื่อนๆ ในกลุ่มที่สนิท ไปนั่งสมาธิกับคุณยายอาจารย์ที่วัดปากน้ำ ในเวลาต่อมาก็มีเริ่มมี รุ่นพี่ รุ่นน้อง ติดตามไปด้วยอีกหลายคน แม้จะเอาจริงเอาจังกับการทำสมาธิเพียงใด แต่เรื่องการเรียนก็สามารถสอบผ่านไปได้ด้วยดีทุกภาคการศึกษา เพราะเป็นธรรมดาของบัณฑิตผู้มีปัญญาที่ตระหนักว่า การศึกษาที่สมบูรณ์จำเป็นต้องควบคู่กันไปทั้งทางโลกและทางธรรม ความรู้ทางโลก มีความจำเป็นต้องเรียนเพื่อหาเลี้ยงชีพ ส่วนความรู้ทางธรรม เรียนไปเพื่อกล่อมเกลาจิตใจให้ดีงาม และที่สำคัญทำให้ท่านคลายความสงสัยในเรื่องที่เป็นความลับของชีวิต ที่ว่า คนเราตายแล้วไปไหน ? นรก สวรรค์ มีจริงหรือไม่ ? จะพิสูจน์ได้อย่างไร ความรู้ที่ลึกซึ้งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ไม่มีสอนในมหาวิทยาลัยใดๆ นอกจากความรู้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงเป็นเหตุให้จิตใจของท่านเอนเอียงมาในการศึกษาทางธรรมมากกว่า เพราะแม้กระทั่งในเวลาสอบ ถ้าสอบเช้า ตอนบ่ายก็จะนั่งรถเมล์ไปปฏิบัติธรรมที่วัดปากน้ำ และทำอยู่เช่นนี้อย่างสม่ำเสมอมิได้ขาด จนกระทั่งเรียนจบ ด้วยความตั้งใจจริงในการปฏิบัติธรรม ประกอบกับความเคารพอ่อนน้อม อยู่ในโอวาทของครูบาอาจารย์ ทำให้ผลการปฏิบัติธรรมของท่านมีความก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว เป็นที่พอใจของคุณยายอาจารย์ยิ่งนัก กล่าวกันว่า แม้แต่คนเก่าแก่ที่เคยมาปฏิบัติธรรมกับคุณยายก่อนหน้านี้ ก็ยังยอมรับในความเชี่ยวชาญแห่งผลการปฏิบัติธรรมของท่าน ทำให้ท่านได้รับความไว้วางใจจากคุณยายให้เป็นพี่เลี้ยง ช่วยแนะนำธรรมปฏิบัติแก่ผู้ที่มาปฏิบัติธรรมร่วมกันเสมอ ๆ ความสุขภายในที่ได้รับจากการนั่งสมาธิ ทำให้ท่านยิ่งมีความเชื่อมั่นในวิชาความรู้ที่มีอยู่ในพระพุทธศาสนา และเห็นคุณค่าของการปฏิบัติธรรมว่า สามารถช่วยมนุษย์ให้พ้นทุกข์ได้ อีกทั้งยังตอบคำถามต่าง ๆ ที่เคยค้างคาใจ ได้อย่างแจ่มแจ้ง
Perseverance in Meditation Practice until True Peace is Obtained
In order to fully grasp and understand the answers, he had to seriously dedicate his life to the study of Dhamma. His daily life revolved completely around meditation. Everyday at 6 a.m., he would make his daily trek from Kasetsart University to Wat Paknam, which required him to take three different buses. Whether he sat or stood in the bus, he would always close his eyes and meditate until he reached Wat Paknam at around 8 a.m. He would then go straight to see Khun Yay in order to continue the next lesson on meditation practice, until 8 p.m. He returned to Kasetsart University at around 10 p.m.
Even during the early hours of the morning, at 3 a.m. when most of his friends slept, Chaiboon would wake up to meditate because of favourable silence, and his body had just enough rest. He would meditate in an area where none of his friends would see him. But, sometimes his friends would wake up in the middle of the night to use the restroom. When they saw him covered under a blanket, they would be startled. As they knew that he was meditating, they did not make fun of him or tell anyone. Once his friends became more familiar with this, he started inviting the ones he was closest to, to go meditate with Khun Yay at the Wat Paknam. Later, as his group of friends grew larger, his friends who were seniors and juniors followed him to the temple.
When it came to studying at the university, an educated graduate tends to believe that well rounded study needs to combine both worldly knowledge and Dhamma knowledge. Worldly knowledge is necessary to help one earn a living, and Dhamma knowledge is to instruct the mind to be virtuous and to ease any doubt about the secrets of life such as, “Where do we go after we die? Do heaven and hell exist? How do we prove it?” This profound knowledge was not taught at any university, but it was derived from the Lord Buddha’s wisdom. This caused Chaiyaboon to lean towards the study of Dhamma more than studies in the classroom. Even on the day he had an examination in the morning, he would take the bus to go to meditate in the afternoon. He did this regularly until he graduated.
With a determined attitude towards meditation, along with his respect for the teachings of his teacher, young Chaiboon excelled in his progression when it came to meditation. This pleased Khun Yay greatly. Even people, who practised meditation with Khun Yay before, acknowledged his proficiency. Hence, Khun Yay was comfortable in allowing him to lead the meditation for patrons and supporters.
Once he meditated deeply and attained inner peace, his confidence in the knowledge found in Buddhism continued to increase. He saw that the fruits of meditation could release human beings from their suffering, and had indisputably answered the many unresolved questions he had in his mind.
坚持不懈地静坐直到获得真正的和平
为了能完全地领悟和了解所有的答案,差雅朴需要认真奉献生命 地学习佛法。他每天的生活都围绕着静坐。早晨六点,要开始艰辛的长 途旅程,从卡瑟萨大学到在怕司乍刃(音译)县的北揽寺,需要转搭三 趟的巴士,不管是站着或是坐着,他都会闭上眼睛进入宁静的状态,直到大约早上八点到达北揽寺。他会直接去找詹老奶奶,继续下一堂静坐 课直到晚上八点,然后在晚上十点回到卡瑟萨大学。
就连在凌晨三点,当他的朋友同学们仍在酣睡时,差雅朴都会起 来静坐,因为那时候四周都很宁静,身体也刚获得了足够的休息。他会 在一个朋友都看不到的地方静坐。但有时候,他的朋友会在午夜时分上 厕所。当他们看到他用被子盖着自己感到很惊讶,但当他们知道他是在 静坐,他们也没有作弄他或告诉他人。当朋友们已习以为常,他就开始 邀请比较要好的同学,一起到在帕司乍刃县的北揽寺,跟随詹老奶奶学 习静坐。后来,一起来参加静坐的朋友也逐渐增多起来,都是些跟随他 到北揽寺的学长与后辈。
谈到在大学里的学习,一个大学生会趋向于相信究竟的学习应该 结合了世俗知识和佛法知识。世俗知识是为了协助个人维持生计,而佛 法知识是为了使人的心灵具有德行和解除对生命中的任何疑虑,例如“我们死后回到哪里?天界与地狱真的有吗?我们怎么证明?”这种特 殊的知识任何大学都没得教的,但能从佛陀的教诲中获得。这就使差雅 朴更乐于学习佛法,多过了课堂上的知识。甚至早上一考完试,下午就 搭巴士去静坐,他长期如此直至毕业。
坚定地学习静坐、忠实地遵循导师的教导,年轻的差雅朴,静坐经 验突飞猛进。这使詹老奶奶非常欣慰,就连之前跟随詹老奶奶学习静坐 的人,都佩服他的精通程度。他如此的学习直到老奶奶能放心地让他带 领她的弟子和护持者们。
当静定到很深的程度,证得内在的和平时,差雅朴对佛法的信心也 随着增强。他看到了静坐的益处,能让人类解脱他们的痛苦,且毫无犹 疑、无懈可击地回答了许多他自己心里尚未解决的问题。
เข้าสู่ร่มผ้ากาสาวพัสตร์
เมื่อความสุขที่แท้จริงและความจริงของชีวิตถูกเปิดเผยขึ้น ทำให้ท่านรู้ว่าคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า คือวิชชาที่แท้จริงที่มนุษย์ทุกคนต้องศึกษา ท่านจึงอยากจะทุ่มเทเวลาทั้งหมดของชีวิต ศึกษาคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงตัดสินใจขออนุญาตคุณยายเพื่ออุปสมบทเป็นพระภิกษุ แต่นอกจากคุณยายจะไม่อนุญาตแล้ว ยังกำชับให้เรียนจนจบปริญญาเสียก่อน โดยให้เหตุผลว่า “ต้องเป็นบัณฑิตในทางโลก และเป็นนักปราชญ์ในทางธรรม เพื่อว่าเมื่อบวชแล้วจะได้เป็นประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา มิใช่พึ่งพระศาสนาเพียงฝ่ายเดียว” กระทั่งในวันคล้ายวันเกิดของคุณยายในปี พ.ศ.2511 ท่านจึงแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อคุณยาย ด้วยการตั้งสัจจะอธิษฐานขอประพฤติพรหมจรรย์ไปตลอดชีวิต เป็นของขวัญวันเกิดแด่คุณยายอาจารย์ซึ่งถือเป็นของขวัญอันล้ำค่ายิ่ง จนกระทั่งปี พ.ศ.2512 ท่านก็ได้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี จากคณะเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์เกษตร หลังจากรับปริญญาแล้ว ก็แจ้งความจำนงต่อโยมพ่อทันทีว่า จะขอบวชไม่สึกตลอดชีวิต โยมพ่อก็อนุญาตและอนุโมทนาด้วย เพราะลูกชายได้ปฏิบัติตามคำมั่นสัญญาที่ว่าจะเรียนให้ได้ปริญญาเสียก่อนจึงจะบวช ส่วนโยมแม่ก็อนุโมทนาด้วยความปลื้มปีติและเต็มใจ ในทันทีที่ลูกชายมาขออนุญาตลาบวช เพื่อสืบอายุพระพุทธศาสนาต่อไป
วันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ.2512 ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 9 เป็นวันมหามงคลยิ่ง เพราะเป็นวันที่ท่าน ได้ก้าวเข้าสู่ร่มผ้ากาสาวพัสตร์เป็นพระภิกษุสงฆ์สมดังความปรารถนา ที่พระอุโบสถวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ โดยมีพระเทพวรเวที (สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ เจ้าอาวาสวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ ในปัจจุบัน) เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายาว่า “ธัมมชโย” แปลว่า “ผู้ชนะโดยธรรม” หลังจากบวชแล้วท่านได้กล่าวถึงอุดมการณ์ในการออกบวช ไว้ตอนหนึ่งว่า…
“การบวชเป็นพระไม่ใช่ของง่าย หาใช่ครองผ้ากาสาวพัสตร์แล้วจะเป็นพระได้ จะต้องปฏิบัติกิจวัตรของสงฆ์ซึ่งมีศีล 227 ข้อ ให้ถูกต้องตามพระธรรมวินัย… การบวชนั้นถ้าจะให้ได้บุญกุศล ควรจะเป็นที่พึ่งของพระศาสนาได้ด้วย ไม่ใช่บวชมาเพื่อพึ่งพระศาสนาอย่างเดียว”
อุดมการณ์อันมั่นคงเช่นนี้ มิใช่สิ่งที่เกิดขึ้นได้โดยง่าย หากจะเกิดได้ต้องอาศัยการศึกษาและปฏิบัติ จนรู้ซึ้งถึงคุณค่าของพุทธธรรมด้วยตนเองอย่างถ่องแท้เท่านั้น ดังที่ท่านเคยกล่าวไว้ว่า อำนาจพุทธธรรมนั้นยิ่งใหญ่ลึกซึ้ง จนทำให้เกิดความตั้งใจอันมั่นคงว่า จะสละชีวิตนี้แก่พระพุทธศาสนา ครองผ้ากาสาวพัสตร์ไปตราบสิ้นอายุขัย การบวชของท่าน จึงเป็นการบวชอุทิศชีวิตแก่พระพุทธศาสนา ด้วยมโนปณิธานที่จะเผยแผ่พุทธธรรมให้กว้างไกลไปสู่ชาวโลก และการบวชอุทิศชีวิตของท่านก็ได้เป็นแบบอย่าง ให้หมู่คณะที่ปฏิบัติธรรมร่วมกัน ได้ติดตามเข้ามาสู่เส้นทางแห่งร่มผ้ากาสาวพัตร์อย่างต่อเนื่อง
Moving Towards the Saffron Robe
Later, young Chaiboon came to a clear realisation that the knowledge of the world could not truly keep humankind from suffering, or be able to attain true happiness; only the wisdom derived from meditation could help. He then decided to ask Khun Yay for permission to become ordained as a monk. Khun Yay not only refused his request for the ordination, but also urged him to finish his degree first. She reasoned that, “You have to be knowledgeable in the world, and be a scholar in Dhamma, too, so that you will be beneficial to Buddhism once you have ordained. You can’t be dependent only on Buddhism.” He respectfully followed her recommendation.
Through his recollection of Khun Yay’s benevolence for the kindness she bestowed with the teachings of Dhamma, along with an act to demonstrate his gratitude, on Khun Yay’s birthday in 1968, Chaiboon wanted to present a gift to her by making a vow of truthfulness and to remain celibate for the remainder of his life. This was considered the most precious gift because, for the person who wishes to advance consistently in his meditation, it is essential to have the highest degree of purity, pertaining to chastity, and remove all the burdens of the life of a householder. Khun Yay was very pleased and happy with his great determination. She felt that she hadn’t wasted her efforts in devoting herself to teaching and mentoring him.
In the April of 1969, Chaiboon graduated with a Bachelor’s degree, with a major in Agricultural Economics. After receiving his degree, he immediately informed his father of his desire to ordain for life in the Buddhist monkhood.
It took a considerable amount of time before his father accepted and rejoiced in his son’s desire to ordain, since he kept his promise of completing his college education before becoming ordained. His mother also rejoiced in his ordination with great joy and elation the moment he asked for her permission to ordain, so that he could extend the livelihood of Buddhism.
27 August 1969, a full moon day on the ninth month of the lunar calendar, was an auspicious day as Mr. Chaiboon Suthipol donned the saffron robe and became a monk, as he had wished, at the chapel of Wat Paknam Bhasicharoen. The Most Venerable Phrathepwarawaetee (currently, Somdejphramaharatchamangkalajahn, Abbot of Wat Paknam Bhasicharoen, Thailand), was his preceptor, Venerable Phrakrupipatdhammakanee was his senior examining monk (Kamavacacariya) at the ordination, and Venerable Phravicheankawee was his junior examining monk (Anusavanacariya). He received the monastic title “Dhammajayo”, which means “The victor through Dhamma”.
Later on, Luangpor Dhammajayo reflected his thoughts on ordination that: “Ordaining as a Buddhist monk is not an easy task, just simply donning a saffron robe is not enough. One must train oneself to take 227 precepts as well as the daily routine of a monk’s life, in accordance with monastic disciplines. If one wishes to attain full fruition from the merit accrued from ordaining one must be able to be a refuge for Buddhism, not just taking refuge in Buddhism”.
Such solid principles are not so easily come by, one must study and train for oneself to realize the significance of the Lord Buddha’s teachings. Based on the aforementioned quotation, if one truly grasps the concept of Luangpor Dhammajayo’s words one will have the willpower to dedicate one’s life to Buddhism. His sole purpose in becoming a monk was to spread teaching of Lord Buddha all over the world. His ordination was a great example that allowed many followers to come and ordain as he did and this tradition still continues to the present day.
迈向披橙黄色袈裟之路
再后来,年轻的差雅朴了解到世俗的知识并不能让人类摆脱痛苦 或证得真正的快乐;而只有静坐产生的智慧能帮助我们。差雅朴于是决 定向詹老奶奶请求准许出家为比丘,詹老奶奶不止拒绝他的出家请求, 还要求他要完成他的大学学业。她的理由是:“你必要精通世俗的知识 和佛法上的知识。这样你出家后,才能对佛教有所贡献。你不能只依靠 佛教。” 差雅朴听从了她的建议。
为了报答詹老奶奶教导他法身门静坐法的恩德,在1968年詹老奶奶 生日时,差雅朴要立下终身修梵行的誓言,作为献给她的礼物。这是最 珍贵的礼物,因为以一个想在静坐上有所成就的人来说,保持最终层次 的纯净度、修梵行和消除成了家的负担是很重要的。詹老奶奶对他坚强 的毅力感到非常高兴,感到没有白费功夫,尽力地教导和引导他。
1969年的四月,差雅朴终于大学毕业了,主修经济与行政,以及副 修农业。当毕业后,他就马上告诉他父亲,他要在佛教里终身出家。
父亲接受和随喜儿子出家的心愿。因他也承诺过,儿子完成了大学 教育便可出家;母亲亦是十分喜悦与欢欣,随喜他请求出家的决定,使 他能续佛教之慧命。
1969年8月27日,农历九月的圆月之日,差雅朴•苏惕婆披上袈裟成 为了一位比丘。就如他所愿的,在帕司乍刃县北揽寺的大雄宝殿里,由 帕帖瓦拉瓦提(Phrathepwarawaetee-僧衔音译,现任泰国帕司乍刃县北 揽寺的住持)当他的戒师,他的法号是“法胜”意思指“佛法的胜利者”。
出家后,他就开示有关他对出家为比丘的想法:“出家为一位佛 教比丘不是一件容易的事,只是披上袈裟还是不够的。一定要训练自己 持好227条的比丘戒和出家人的日常生活作息;如谁愿获得圆满的出家为 比丘的功德,就要成为佛教的依靠,不是只依靠佛教。”
如此坚定的理论得来不易,这需要通过学习和训练自己,直到能 明了佛陀精髓所在。正如上面的格言所说,若谁能真正领悟法胜师父的 教诲,就能将生命奉献于佛教。师父真正出家为比丘的目的,就是把佛 法弘扬到全世界,他的出家也成为许多人的典范,让众多追随者都能遵 循他的步伐而出家,这个传统一直延续至今。
พลิกทุ่งนาฟ้าโล่งสู่บุญสถานอันศักดิ์สิทธิ์
ชีวิตใหม่ในเพศบรรพชิต พระธัมมชโย เป็นพระภิกษุผู้เคร่งครัดในศีลาจารวัตร มุ่งศึกษาธรรมะทั้งภาคปริยัติและปฏิบัติ พร้อมกันนั้นท่านยังทำหน้าที่สอนธรรมปฏิบัติแก่สาธุชน ณ บ้านธรรมประสิทธิ์แทนคุณยายเป็นประจำ จนกระทั่งมีสาธุชนมาปฏิบัติธรรมเพิ่มขึ้นมากมายจนเต็มพื้นที่บ้านธรรมประสิทธิ์ทั้งในบ้าน ชานบ้าน และล้นออกไปถึงสนามหญ้าหน้าบ้าน โดยเฉพาะในวันอาทิตย์นั้นต้องเปิดประตูรั้วทิ้งไว้เพราะมีคนส่วนหนึ่งต้องนั่งอยู่นอกรั้ว หมู่คณะทุกคน จึงเห็นพ้องต้องกันว่า ถึงเวลาแล้ว ที่จะต้องสร้างวัด เพราะขณะนี้ท่านมีคณะทำงานที่เข้มแข็ง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นบัณฑิตหนุ่มสาวผู้มีความรู้ความสามารถ และผ่านการฝึกอบรมคุณธรรมต่าง ๆ จากท่านอย่างใกล้ชิด เมื่อทุกคนมีความพร้อมทั้งกายและใจ การสร้างวัดพระธรรมกายจึงได้เริ่มต้นขึ้น เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ ปี พ.ศ.2513 ซึ่ง ตรงกับวันมาฆบูชา เงินทุนเริ่มต้นของการสร้างวัดมีอยู่เพียง 3,200 บาท กับที่นา 196 ไร่ ที่ได้รับบริจาคมาจากคุณหญิงประหยัด แพทยพงศาวิสุทธาธิบดี หมู่คณะทุกคน จึงต้องตรากตรำทำงานหนักและดำรงชีวิตอย่างเรียบง่ายยิ่ง มีเพียงน้ำพริกผักจิ้มเป็นอาหารหลัก โดยอาศัยเก็บผักที่ขึ้นอยู่ตามท้องนาบริเวณนั้น แต่ทุกคนก็เต็มเปี่ยมด้วยขวัญและกำลังใจ ทั้งเชื่อมั่นในสิ่งที่ทำว่าจะต้องสำเร็จ แม้ว่าขณะนั้นจะยังมองไม่เห็นทางเลยก็ตาม ปัญหาหนักเรื่องหนึ่ง ก็คือ การจัดหาทุน ในเรื่องนี้ หลวงพ่อธัมมชโยจะให้โอวาทแก่คณะทำงานเสมอว่า “ปัจจัยทุกอย่างที่สาธุชนทำบุญมานั้น เป็นปัจจัยที่ผู้ทำบุญได้อธิษฐานจบท่วมหัวถวายพระศาสนา จะต้องช่วยกันดูแลรักษาให้เกิดประโยชน์สูงสุด”
ด้วยเหตุนี้ถาวรวัตถุทุกอย่างของวัดพระธรรมกาย จึงสร้างอย่างแข็งแรงเพื่อใช้ประโยชน์ได้ยาวนานที่สุด ขณะเดียวกันก็มีรูปทรงที่เรียบง่าย ไม่สิ้นเปลืองในการดูแลรักษา แต่ทว่าก็ต้องประณีต สง่างาม บ่งบอกถึงความเคารพในพระพุทธศาสนา ดังเช่นอุโบสถ ทุกขั้นตอนการก่อสร้างเป็นไปอย่างละเอียด ประณีต ทุกอย่างต้องผ่านการคัดเลือก อย่างชนิดที่เรียกว่า ดีที่สุด แต่ก็ต้องประหยัดสุดประโยชน์สูงสุดด้วย
แม้แต่การผสมคอนกรีต มิใช่ว่าจะเอาหินเอาทรายมาผสมกันได้เลย หากต้องนำหินมาร่อนในน้ำ เพื่อทำความสะอาดแล้วคัดเอาเฉพาะหินเนื้อดีมาใช้ ส่วนทรายที่จะนำมาผสมก็ต้องไปสั่งจองไว้ที่ท่าทรายล่วงหน้า ว่าต้องการทรายที่คุณภาพดีจริงๆ เมื่อเขานำทรายมาส่งก็ทดสอบคุณภาพด้วยการเอามือล้วงลงไปในกองทราย แล้วดึงขึ้นมา ถ้าพบว่ามีคราบดินติดผิวหนังมาก ก็เป็นอันว่าทรายนั้นใช้ไม่ได้ เพราะมีการปนเปื้อนมาก หากนำมาผสมปูนความแข็งแรงจะลดลงไป
หรือในการฉาบผนังอุโบสถภายนอก ซึ่งจะใช้หินเกร็ดเม็ดโตกว่าเมล็ดข่าวสารเล็กน้อยมาฉาบที่ผนัง แล้วเอาน้ำราดปูนที่ผิวออก ให้หินเกร็ดโผล่ออกมาครึ่งหนึ่ง ซึ่งหินเกร็ดโดยทั่วไปนั้น จะมีหลากหลายสีคละกัน แต่หินเกร็ดที่จะใช้ฉาบผนังอุโลสถนั้นต้องการเฉพาะสีขาวล้วน จึงต้องคัดเลือกกันอย่างละเอียดถี่ถ้วน โดยอาศัยแรงศรัทธาของชาวบ้านย่านใกล้เคียงและสาธุชนที่มาวัด ช่วยกันคัดเลือกทีละเม็ดๆ ช่วยกันคนละไม้คนละมือ จนได้หินเกร็ดสีขาวบริสุทธิ์ประดับผนังอุโบสถทั้งหลังอย่างงดงาม
Transforming the Paddy Field into a Sacred Land
In his new life as a monk, Luangpor Dhammajayo was very disciplined in the monastic codes of conduct and studied very hard in the Lord Buddha’s Teachings. During all of this, he also gave sermons to laypeople at ‘Ban Dhammaprasit’ (Meditation Centre in Wat Paknam) instead of Khun Yay on a regular basis. Until ‘Ban Dhammaprasit’ became so overcrowded that people had to sit in the street to be able to listen to his sermons, it was now time for the community to relocate to a bigger area. It was up to Luangpor Dhammajayo’s team which consisted of special young men and women who had a comprehensive knowledge of the world and the perseverance to complete any tasks given.
On Magha Puja Day the 23rd February 1970 (2513 B.E.) was the ground breaking day in the construction of Wat Phra Dhammakaya. The construction budget was only 3,200 baht along with 80 acres of land which was donated by Khun Ying Prayad Phaetayapongsa-Visudhadhibodi. The team helped each other to build the temple giving all their effort, working hard to their utmost capability, willing to devote their life for the benefit of Buddhism. They even economized their daily expenses by consuming simple food, only what was necessary for energy and not for pleasure. Nevertheless, their hearts were still fulfilled with encouragement that they would achieve the goal despite not being able to see any solutions at that time. One of the main problems throughout the construction was raising the necessary funds.
In reference to the construction of Wat Phra Dhammakaya, Luangpor Dhammajayo stated, “With all the necessities that have been donated to the temple, laypeople have paid homage to the Triple Gems and then made a resolution prayer powered by the merit of having made these donations, therefore we must make full use of all necessities that have been given”. For this reason, all the construction of Wat Phra Dhammakaya has been done to withstand the test of time.
Its simplicity in design was to ensure low-cost maintenance and yet is still able to keep its refined elegance. These buildings are symbols of Buddhism for people to come and pay homage to. The chapel is an example of this simple economical elegance as well as being one of the most used buildings at Wat Phra Dhammakaya.
For instance, the concrete that was used in the construction of the chapel was not any ordinary concrete. The best sand had to be selected from the sand dunes on the coastline and transported up the Chao Phraya River via barges. The concrete itself also had to be of the best quality. Once the mix was available, it then had to undergo rigorous testing to ensure long-lasting quality and only when the specialist team had given its approval would the construction continue. Even with the outer wall of the chapel, the gravel that was used had to be selected by hand. It had to be the whitest and purest and similar in size to a grain of rice. At that time, the supporters and locals were so impressed with the attention to detail that they chipped in and helped select the gravel with their own hands.
将稻田变成圣地
出家为比丘后,法胜师父非常严谨地守持佛教的戒律并努力地学习着佛陀 的教诲。在训练自己的当儿,他也在“佛法实践之家”(‘Ban Dhammaprasit’-义译,就是当时在北揽寺里的修行中心)时常代替詹老奶奶 向在家众开示。直至到佛法实践之家来的人,已挤满到在家人要坐到大 街上来听他的开示的地步,这就意味着团体要移到更大的地方了。于是 由法胜师父的团体,包括一群特别的、拥有完整的世俗知识和坚韧的性 格的年轻男生和女生来完成这项任务。 佛历2513(1970)年2月23日的万佛节,就是建造法身寺的动土仪式 日。最初的建筑经费,只有泰铢3,200块和一片196泰亩(313,600平方米), 由巴雅女士(Prayad Phaetayapongsa-Visudhadhibodi的简称)所捐赠的荒废田 地。团队成员们也各尽所能地帮助修建寺院,为了佛教的利益,愿意奉 献自己的生命;他们吃最简单的食物,节约每天的生活开销,只是保持必须的体力,而不是为了享受。不论情况怎样,他们的心中都充满了勇 气与乐观,相信他们一定能成就,虽然当时还无法看到任何的解决问题 的方法,其中最主要的一个问题,就是筹集所需的建筑经费。
依据建筑法身寺的情况,法胜师父说:“寺院的一切需求,都是来自在 家众为了供养三宝并许愿发心捐助的,所以我们一定要物尽其用。”
因此所有法身寺的建筑物,一定要能坚固耐用。它简朴大方的建筑设 计,是为了确保较为低廉的维修费并能体现它的典雅气质。这些建筑物是 佛教的象征,是为了让人们礼敬的,例如法身寺的大雄宝殿,就是属于这 种经济典雅的建筑物,并且也是法身寺里最常使用的建筑物。
例如,建筑大雄宝殿所用的混泥土,不是普通的混泥土。所用的沙是 挑选来自海岸线的沙丘并用驳船运到朝帕雅河来的,而且是精选最好的品 质。当沙与混泥土被混合在一起,须经过十分严格的测试,就是为了能确 保它持久耐用;另外还要由专门小组给予批准,建筑工程才能继续。这就 连大雄宝殿的外墙,所用的砂砾都是特别以手挑选的,不但纯白无杂质且 统一如一粒米般的体积。当时此事令本地人和护持者们都甚为惊叹,他们 能做到这般细心的程度,还能参与和协助亲手挑选砂砾的工作。
ขยายสันติภาพด้วยพลังศรัทธาของมหาชน
วัดพระธรรมกายเติบโตจากน้ำใจและศรัทธาของมหาชนมาโดยตลอด จึงสามารถเป็นศูนย์รวมใจของผู้คนจำนวนมาก ซึ่งชักชวนกันมาปากต่อปาก และเป็นเหตุให้ต้องช่วยกันขยับขยายสถานที่ครั้งแล้วครั้งเล่า จากพื้นที่วัด 196 ไร่ จึงกลายมาเป็นพื้นที่ 2,500 ไร่ เพื่อเป็นศูนย์กลางการปฏิบัติธรรมของชาวโลก
จากศาลาหลังแรกซึ่งจุคนได้ 500 คน ใช้ได้เพียงไม่ถึง 5 ปี ก็เกิดเหตุการณ์เช่นเดียวกับบ้านธรรมประสิทธิ์ คือ มีสาธุชนมากันอย่างล้นหลาม จนต้องไปนั่งตามสนามหญ้า ตามโคนต้นไม้ คราใดฝนตกก็เปียกปอนไปตามๆ กัน ครั้นต่อมาสร้างศาลาหลังคามุงจาก ซึ่งจุคนได้ถึงหนึ่งหมื่นคน ก็ปรากฏว่าเพียงไม่นาน เหตุการณ์ก็เป็นเช่นเดิม
ในที่สุด สาธุชนจึงร่วมใจกันสร้างศาลาสภาธรรมกายสากลซึ่งมีพื้นที่โดยรวมถึง 500,000 ตารางเมตร สามารถรองรับคนได้ถึง 300,000 คน และทั้งที่การก่อสร้างในรายละเอียดยังไม่เสร็จสมบูรณ์ ก็ต้องเปิดใช้งานอย่างเต็มพื้นที่แล้ว ตั้งแต่ปี พ.ศ.2539
เมื่อได้เห็นแนวโน้มการเติบโตของงานเป็นเช่นนี้มาโดยตลอด หลวงพ่อธัมมชโยจึงต้องเตรียมพร้อมสำหรับงานก้าวต่อไปด้วยการสถาปนามหาธรรมกายเจดีย์ เจดีย์แห่งพระรัตนตรัย ซึ่งจะคงทนถาวรไปกว่า 1,000 ปี และมหารัตนวิหารคด โดยรอบมหาธรรมกายเจดีย์ คือสถานที่ที่สามารถรองรับผู้มาปฏิบัติธรรมได้พร้อมกันถึง 1 ล้านคน
เมื่อใดก็ตามที่การปฏิบัติธรรมของคน 1 ล้านคนบังเกิดขึ้น กระแสใจอันบริสุทธิ์ของทุกคน จะรวมพลังกันปรับเปลี่ยนบรรยากาศของโลก ให้สงบร่มเย็นได้ และภาพการปฏิบัติธรรมนี้ จะได้รับการถ่ายทอดสู่สายตาชาวโลก ด้วยระบบการสื่อสารแห่งยุคโลกไร้พรมแดน เมื่อนั้นชาวโลกก็จะพากันค้นหาคำตอบว่า เหตุใดคนนับล้าน ผู้มีความพร้อมเพรียงงดงามเหล่านั้น จึงพร้อมใจกันหลับตา สงบนิ่ง สิ่งนี้ย่อมจะเป็นแรงบันดาลใจให้เกิดการปฏิบัติธรรมไปอย่างกว้างขวาง ทั่วทุกภูมิภาคของโลก
นอกจากนี้ ยังได้สร้างปูชนียสถานที่สำคัญ เพื่อเป็นศูนย์รวมใจเหล่าศิษยานุศิษย์ และเป็นการแสดงความกตัญญูแด่มหาปูชนียาจารย์ คือ มหาวิหารพระมงคลเทพมุนี มหาวิหารคุณยายอาจารย์มหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง รวมทั้งได้สร้างหอฉันขึ้นเพื่อเลี้ยงภัตตาหารแด่พระภิกษุสามเณรนับพันรูป
Spreading Peace with the Great Faith of Humankind
Wat Phra Dhammakaya rapidly grew, along with the hearts and minds of its supporters which had grown in great numbers throughout the years. So much that the original 80 acres were not large enough to accommodate the community and therefore its size was increased to 1000 acres for the purpose of serving as a World Meditation Centre.
The very first meditation hall, accommodating only 500 people (named ‘Catummaharajika’), was filled to its capacity in only 5 years. The number of people who attended the sermon grew at a very fast pace similar to ‘Ban Dhammaprasit’. People ended up sitting outside on the grass lawn in order to be able to participate in any religious ceremony led by Luangpor Dhammajayo. Even when it rained, people would sit outside to listen to him, obviously this could not go on for too long and it was decided that a new meditation hall would need to be built. Therefore, the 12,000 capacity thatch roofed Meditation Hall was built, but in only a short period of time, the same thing happened, over-filling with people. Then, it was decided that the community would need a much larger staging area for meditation and ceremonies. Therefore, the ‘Dhammakaya Assembly Hall’, with the help of all of its supporters, was built within an area of 500,000 square meters and able to host 300,000 people. Even to this day, the building is still being expanded further. However, it has been utilized as the main staging area for all religious ceremonies since 1996.
Having seen the number of supporters regularly increase, Luangpor Dhammajayo decided to build the next phase, which consisted of the ‘Maha Dhammakaya Cetiya’, (The Golden Pagoda) and The Grand Meditation Stadium both designed to last for a thousand years and have an area of 1,000,000 square meters in order to serve 1,000,000 monks and laypeople from around the world who will regularly come to practise meditation in the future.
The day 1,000,000 people from over the world come to meditate at Maha Dhammakaya Cetiya will be the day that the people of the world will stop, think and ask themselves why so many people have gathered in one place to meditate. The images that they see will embody themselves into their hearts and they will strive to find the answer for themselves.
Beside the Maha Dhammakaya Cetiya structure, in order to pay our highest gratitude to the Great Teacher, the Memorial Hall of Phramongkolthepmuni and the Memorial Hall of Khun Yay Acariya Maharattana Upasika Chandra Khonnokyoong are used as a gathering place for meditation and for all people to come and pay homage. Around the same time, Khun Yay Acariya Maharattana Upasika Chandra Khonnokyoong’s dining hall was built in order to allow supporters to offer food to the community of monks.
Currently, Wat Phra Dhammakaya is a centre for Buddhists all over Thailand and it is also one of the main staging areas for major Buddhist ceremonies worldwide. Success was possible because of the great devotion and dedication of Luangpor Dhammajayo and his team.
因对人类的信任而传播和平
这些年来,法身寺也与其护持者的身心共同快速成长起来,它原 有的196泰亩(313,600平方米)土地早已不够容纳整个团体。为了建设 国际法身中心,要将它面积扩充到 2,000 泰亩(3,200,000平方米)。
最先只能容纳500人的禅堂(并称为四天王天法堂)在五年内就 已经不够用了。参与法会者的增长程度有如佛法实践之家一样,人们来 参与任何法胜师父所主持的法会都需要坐到草地上;这就连下着雨,人 们也愿意站在外面聆听法身师父的开示。很明显的,这不是长久之计, 所以就决定兴建新了一座能容纳12,000人的茅草法堂;但很快地,同样 的情形又出现了。后来,团体就决定需要更宽大的场地来主办法会和仪 式。经由护持者的支持,在一块500,000平方米的土地上,兴建了“大法身禅堂”。此禅堂能容纳300,000人;直到今天,这座建筑物还在继续扩 建,且自1996年起,它就已经被用来主办各种主要的宗教仪式了。
看到了护持者的日益增多,法胜师父再次决定建设另一阶段的土 地,包括大法身舍利塔和大僧座宝墙,其设计都是能耐千年之久的建筑 物。为了未来能接待来自全世界1,000,000位僧众和在家居士常到此地来 参访与研习佛法,这次的工程动用了1,000,000平方米的土地。
当有1,000,000人来到大法身舍利塔静坐的那天,人心纯净的善意会 结合而改善世界的气氛。全世界的人们都几乎难以想象,为什么会有那 么多人聚集在一起静坐?而此画面就会深深地烙印在他们的心里,并被 它所激发,进而自己去寻找答案。
除了建筑大法身舍利塔之外,为了向我们的祖师致以最崇高的敬 意,特别建造了帕蒙昆贴牟尼祖师纪念堂和詹老奶奶纪念堂。这两个地 方都是为了让大众能聚集修行静坐和礼敬。同时,也建设了詹老奶奶大 膳堂,为了让护持者来供养僧团。
现在法身寺已成为全泰国佛教徒的中心,并且也是全球举办大型佛教 法会的重要地点。成就此举,是因为法胜师父伟大的献身精神。
ที่สุดของความกตัญญูต่อครูบาอาจารย์
ความสำเร็จทุกประการของวัดพระธรรมกาย ไม่ว่าจะเป็นการก่อสร้างศาสนสถาน การสร้างศาสนทายาท และการเผยแผ่พระพุทธศาสนา เพื่อนำสันติสุขไปสู่ใจชาวโลก ทุกอย่างล้วนสำเร็จได้เพราะมีบุคคลสำคัญ คือคุณยายอาจารย์เป็นผู้อยู่เบื้องหลัง ท่านเป็นทั้งครูผู้ให้แสงสว่างในทางธรรมและเป็นผู้นำที่คอยประคับประคองคอยให้กำลังใจแก่เหล่าศิษยานุศิษย์ในการสั่งสมความดี ตราบกระทั่งลมหายใจสุดท้ายของท่าน
พระคุณของคุณยายนั้นยิ่งใหญ่ไม่มีประมาณ หลวงพ่อ (พระราชภาวนาวิสุทธิ์)จึงได้ยกย่องเทิดชูนามของท่านว่า “คุณยายอาจารย์ มหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง ผู้ให้กำเนิดวัดพระธรรมกาย”
คุณยายอาจารย์ละสังขารไปเมื่อวันอาทิตย์ที่ ๑๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๓ ด้วยความกตัญญูและความเคารพรักอย่างสูงที่หลวงพ่อธัมมชโยมีต่อคุณยายท่านจึงได้นำพระภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา วัดพระธรรมกาย รวมทั้งสาธุชนลูกหลานคุณยายทั่วโลก ทุ่มเทแรงกายแรงใจเป็นเวลาแรมปี เพื่อจัดพิธีจุดไฟแก้วสลายร่างคุณยายในวันที่ ๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๔๕ อย่างยิ่งใหญ่และสมบูรณ์แบบที่สุด เพื่อตอบแทนพระคุณอันจะนับจะประมาณมิได้ และเพื่อประกาศพระคุณของคุณยายให้ชาวโลกได้รับรู้
พิธีจุดไฟแก้วครั้งนี้เป็นงานบุญครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งของวัดพระธรรมกาย เป็นครั้งแรกที่เจ้าอาวาสพระเถรานุเถระในระดับต่างๆพร้อมทั้งพระผู้ติดตามกว่า ๓๐,๐๐๐ วัดทั่วประเทศ รวมแล้วไม่ต่ำกว่า ๑๐๐,๐๐๐ รูปเดินทางมาร่วมพิธีสลายร่างคุณยายอาจารย์ แม้พระภิกษุจากต่างประเทศก็ให้ความเมตตาเดินทางมาร่วมงานสลายร่างคุณยายกันเป็นจำนวนมากการรวมตัวกับของคณะสงฆ์จำนวนมากขนาดนี้ นับเป็นปรากฎการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนเลยในสังฆมณฑล
วันนั้นเป็นวันประเสริฐ เป็นวันที่ลูกหลานคุณยายได้แสดงความกตัญญูกตเวทีต่อท่านและได้มีโอกาสเห็นพระทัสสนานุตตริยะ คือการเห็นอันประเสริฐ ได้มีโอกาสถวายมหาสังฆทานกับพระภิกษุสงฆ์นับแสนรูป ซึ่งถือเป็นลาภานุตตริยะ คือการได้อันประเสริฐคือได้โอกาสแห่งการสร้างบุญครั้งยิ่งใหญ่ และได้รับพระจากพระภิกษุสงฆ์จำนวนแสน ซึ่งถือเป็นสวนานุตตริยะ คือการฟังอันประเสริฐ
แม้คุณยายจะละสังขารไปแล้วหลวงพ่อธัมมชโยก็ยังคงทุ่มเททำงานอย่างหนักตลอดมาและหนักมากยิ่งๆขึ้นไป เพื่อให้การปฏิบัติธรรมวิชชาธรรมกาย ที่คุณยายอาจารย์สืบสานมากจากหลวงปู่วัดปากน้ำภาษีเจริญ และถ่ายทอดมายังท่านได้เผยแผ่ไปสร้างสันติสุขภายใน จนขยายไปสู่สันติภาพของชาวโลก
ทุกสิ่งที่สร้าง…..ทุกอย่างที่หลวงพ่อธัมมชโยดำริและสร้างขึ้นล้วนเป็นไปเพื่อเป้าหมายเพียงหนึ่งเดียว นั่นคือ..สันติภาพและสันติสุขของทุกๆชีวิตในโลก
The Utmost Gratitude towards the Teacher
Every success and achievement of the Wat Phra Dhammakaya, whether it was the completion of the temple site, creating a religious community, or the dissemination of Buddhism for the purpose of instilling peace in the minds of humankind, was possible because there was a significant and important figure behind it all. This was Khun Yay, the teacher who provided Luangpor Dhammajayo with the wisdom and illumination in Dhamma, and the support and encouragement to perform meritorious deeds until her very last breath. Khun Yay’s tremendous significance is immeasurable. Therefore, it was only fitting that Luangpor Dhammajayo extolled her magnificence with this title: “Our Great Teacher Khun Yay Maharattana Upasika Chandra Khonnokyoong, the Founder of Wat Phra Dhammakaya”.
Khun Yay departed from this world on Sunday the 10th of September 2000. With the utmost gratitude and respect that Luangpor Dhammajayo had for Khun Yay, he requested all the monks, novice monks, and upasaka and upasika of Wat Phra Dhammakaya, along with all devotees of Khun Yay worldwide, to join in body and mind in the most perfect and majestic crystal lighting ceremony and cremation held on 3rd February 2002. This was a gesture intended to demonstrate his immense gratitude and to declare Khun Yay’s significance for the whole world to appreciate. The crystal lighting ceremony was the biggest and grandest event ever held at Wat Phra Dhammakaya with an estimated 500,000 participants. It was also the first time that over 100,000 monks and senior monks, from over 30,000 temples throughout Thailand, had ever congregated together, when they attended the cremation ceremony for Khun Yay. As a way to demonstrate their kindness, monks from many other countries travelled across many miles in order to participate in the ceremony. The congregation of this great a number of monks had never happened before in the history of Thailand.
That day is considered the most wonderful of days. It was the day that all the devotees of Khun Yay demonstrated their enormous gratitude to her, and also had the opportunity to witness the presence of over 100,000 monks. It was an auspicious occasion to have the opportunity to make offerings to a monastic order of over 100,000 monks. It was also a unique and special occasion to have had the chance to contribute to all the merits and receive blessings from over 100,000 monks, which is considered to be an auspicious sound.
Even though Khun Yay is no longer with us today, Phrarajbhavanavisudh or Luangpor Dhammajayo, continues to devote and dedicate all his time and effort into his ever increasing amount of work, and to preserve and carry on the wisdom of Dhammakaya meditation that Khun Yay received from Luang Pu Wat Paknam, and transferred to Luangpor Dhammajayo, in order to create an inner happiness that can develop to a lasting peace on earth. Everything that has been done, and everything that Luangpor Dhammajayo proceeded forward with, derived from one primary goal: Peace on Earth.
对导师的感恩之情
法身寺的每项成就,不管是完成寺院建设、 建立宗教团体或是为了让人类能得到心灵上的和平 弘扬佛教,皆因背后这位重要人物——詹老奶奶, 正是她启迪了法胜师父在佛法上的光明智慧;直到 她生命的最后一秒钟,都在时刻守护与鼓励着人们 来行善。
詹老奶奶的贡献是无可衡量,法胜师父尊称她 为“我们伟大的导师,法身寺创办人,大宝优婆夷 詹孔诺雍老奶奶。”
詹老奶奶于2000年9月10日圆寂的,法胜师父出 于对詹老奶奶至高的感恩与崇敬,邀请法身寺所有 的比丘、沙弥、优婆塞、优婆夷,以及老奶奶全世 界的拥护者,通过身心合一的方式,在2002年2月3日,共同来参加最圆满和庄严的点灯与荼毗法会,谨以此举表达他对詹老 奶奶的深切感恩之情,并向全世界表彰了詹老奶奶的卓越贡献。
点灯法会是法身寺有史以来最大型、最隆重的活动,参与者大约有 500,000人,这也是第一次超过100,000位比丘和全泰国30,000所寺院的 资深比丘聚集一起,来参与詹老奶奶的荼毗法会。为了表示他们的追 念与敬意,来自许多国家的比丘们飘洋过海,来参与此次盛会,这样 的僧众大聚会在泰国历史上是史无前例的。
那天也可称作是最神奇的一天,能让所有詹老奶奶的护持者们表 达他们的无限感恩;同时更是能目睹100,000位比丘聚集盛况的机会。 这是个吉祥的时机,有机会供养100,000位僧众;这是个殊胜的时刻, 有机会向100,000位僧众修功德和接受祝福——那是多么吉祥的声音啊!
虽然现在詹老奶奶已离开了我们,帕拉帕哇那威素——法胜师父 尚仍在奉献他所有的时间与精力处理日益增多的法务,并保留与延续着 詹老奶奶在怕司乍刃县北揽寺祖师传下的法身传统。为了创造内在的快 乐、缔造长久的世界和平,帕拉帕哇那威素法师所尽的一切努力,都源 自他最初的目标:让世界拥有和平。