หมวด 2 อยากรวยเชิญทางนี้
Chapter 2 If you want to be rich, come this way.
想要富有请看这里
- ทำไมสอนให้รวย (เมื่อไม่รู้จะอ่านอะไร 3)
เราจำเป็นจะต้องรวย บางคนกลัวคำว่า “รวย” เคยเจอคำถาม “ทำไมต้องสอนให้รวย แปลว่า สอนให้โลภใช่ไหม” “ไม่ใช่” รวยกับโลภมันคนละคำกัน ไม่เหมือนกัน สะกดยังไม่เหมือนกันเลย ให้รวย ไม่ใช่ ให้โลภ แต่ถ้ารังเกียจคำว่า “รวย”
- ไปลองจนดู หรือ
- เปลี่ยนคำใหม่ว่า “มีกิน มีใช้”
เอาไว้สำหรับเป็นอุปกรณ์ในการสร้างบารมี เพราะอยู่ดี ๆ จะให้บุญหล่นทับ มันไม่มี เราจะต้องสร้างด้วยตัวของเราเอง เราจำเป็นจะต้อง รวย หรือ มีกิน มีใช้ เพื่อเป็นอุปกรณ์ในการสร้างบารมีของเรา สำหรับ มีกิน เรากินไม่เท่าไร เพราะยุ้งในตัวมีนิดเดียว แต่ มีใช้ นี่สำคัญ จะใช้ซื้อที่ ซื้อบ้าน ซื้ออุปกรณ์ในบ้าน ซื้อรถ ซื้อโน่น ซื้อนี่ ไล่เรื่อยไปกระทั่งซื้อเครื่องบิน และที่สำคัญคือใช้สร้างบารมี เพราะฉะนั้น มีใช้ จึงสำคัญ มหาเศรษฐีของโลก ตั้งแต่จุลเศรษฐี มหาเศรษฐี บรมเศรษฐี ทุกคนไม่มีเว้นแม้แต่คนเดียว ต้องเคยสร้างทานบารมี เพราะว่าเราเป็นผู้ออกแบบชีวิต อยากจะเป็นอะไรก็แล้วแต่ใจของเรา ให้เราสังเกตดูว่า ภพชาตินี้เรามีอะไรที่บกพร่อง ไม่สมบูรณ์บ้าง จะสร้างบารมีแต่มันไม่มีอุปกรณ์ ใจถึงแต่ทุนไม่ถึง หรือทีมถึงแต่ทุนไม่ถึง ที่เป็นอย่างนี้ก็เพราะว่า เราทำบุญมาไม่ถึง
๑๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๐
- Why teach people to be rich? (When you don’t know what to read 3)
We need to be rich. Some people are afraid of the word “rich”. We have come across the question “Why do you have to teach people to be rich? Does this mean we teach others to be greedy?” “No.” Rich and greedy are different words, not the same, spelling is not the same. To be rich, not to be greedy. But if you dislike the word “rich”,
- Go and try to be poor or
- Change the word to “have food to eat, have things to use”.
Wealth is like a tool to pursue perfection. The merit will not suddenly fall onto us. We have to make merit by ourselves. We need to be wealthy or have food to eat and have things to use. These are tools for our pursuit of perfection. For having to eat, we don’t eat much considering the size of our stomach. “Having things to use” is important. We can use our wealth to buy land, house, furnitures inside the house, a car, buy this, buy that, and even buy an airplane. And most importantly, it is used to pursue perfection. Therefore, “having things to use” is important. Billionaires of the world and all the billionaires from the past. Every single one of them must have pursued perfection of charity. Because we are the designers of our own life. We can be whatever our hearts desire. Let us notice, what is missing or incomplete in this life? We want to pursue perfection, but we do not have enough tools. Our determination is strong, but our capital is not enough. Our team may be ready, but the capital is not. This is because we haven’t made enough merit.
July 13, 2007
- 为什么教导人要富有
我们一定要富有,但是有些人害怕“富有”这个词。
曾经有人问道:“为什么教导人要富有?是教导人要贪婪吗?”不是的。富有和贪婪不能混为一谈,字面已经看出不同了,要富有不代表要贪婪。如果排斥“富有”这个词,那么难道要贫穷吗?当然,“富有” 改成“不愁吃穿”也可以。
富有是为了具足修波罗蜜的资粮。功德不会平白无故地拥有,要亲自去修才能得到,一定要富有或是不愁吃穿,为的是要有足够的资粮修波罗蜜。不愁吃不是大问题,因为再怎么吃就这么多,但是有得用才重要。要买土地、买房、买家具、买车、买东买西的,甚至是买飞机,最重要的是要用来修波罗蜜,所以有得用最重要。世界上的富翁,从百万富翁、千万富翁至亿万富翁,没有一位例外,都必须是曾经修过布施波罗蜜的人,因为我们是自己生命的设计师,要成为什么人都在于自心。
来反思一下,今生有什么不足或不完美的地方:想要修波罗蜜但是缺乏资粮,心想却事不成,或周遭的人都准备好了而自己却还没准备好……这些现象就是,自己的功德修得不够所导致的。
2007年7月13日
- เหตุแห่งความตระหนี่ (เมื่อไม่รู้จะอ่านอะไร 3)
กิเลสอาสวะสอนให้เราตระหนี่ เขาพยายามกันสมบัติเรา ด้วยการทำให้เราเกิดความรู้สึกหวงแหนทรัพย์ ทำให้เราวิตกกังวลไปต่าง ๆ นานาเกี่ยวกับเรื่องความปลอดภัยในชีวิตบ้าง หรือทำให้เราเกิดความรู้สึกว่า ถ้าเรามีน้อยกว่าเขาก็จะไม่ปลื้มใจ จะทำให้ฐานะทางสังคมนั้นเปลี่ยนแปลงไป ถ้าหากเราเชื่อตามกิเลสที่คอยบังคับอยู่ในใจ ก็เท่ากับเรายอมให้เขาเอาผังจนถาวรที่ดำมืดยาวเหยียด มาใส่ติดไว้ในกลางกาย เหมือนไฟฟ้าที่ส่องสว่างข้างทาง เวลาเขาดับสวิตช์ไฟทีเดียวก็จะดับเป็นร้อยเป็นพันเสา ความมืดก็ปกคลุมตลอดเส้นทาง นั่นหมายถึงว่า ชีวิตเราจะอยู่กับความมืดเป็นร้อยชาติ พันชาติ หรือเกินกว่านั้น ชีวิตที่อยู่ในความมืด อยู่ในความยากจน เป็นชีวิตที่เสี่ยงต่ออบายภูมิ เพราะสิ่งแวดล้อมจะอำนวยให้เราสร้างแต่บาปอกุศล ที่จะนำไปสู่มหานรกได้ง่าย ซึ่งมันอันตราย
๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๕
- Cause of stinginess (When you don’t know what to read 3)
Defilement teaches us to be stingy. It tries to avert us from wealth by making us feel attached to our money and causing us to worry a lot about financial safety. It can also make us feel that we would not be pleased, or our social standing will decline if we have less than others. If we believe and act accordingly to the defilement that is forced in our hearts, we allow defilement to put a plan of a dark and poor life into the center of our body. Imagine a long row of a thousand streetlights along a long road. Defilement turns off all those lights. We would be in complete darkness and would navigate that road in the dark. If we put defilement in the middle of the body, our lives will be in darkness for hundreds, thousands or more lifetimes. Life in the dark or in poverty has a high risk of leading us to Hell because the environment will pressure us to commit only sin, which is dangerous.
November 3, 2002
- 吝啬的原因
烦恼教导我们要吝啬,它要我们尽力地保护财产,让我们有锱铢必较的心态,让我们对财产感到焦虑,让我们担心生命安全,或是让我们去攀比钱财,当比他人少就感到不满意,导致社会风气改变。
如果相信了心中干扰自己的烦恼,就像是任由它主宰,直到我们的人生堕落到漫长的黑暗中。心放在身体的中心点,像是照亮道路的路灯。当任由烦恼关上电源,路灯将成千上万地熄灭,黑暗将笼罩整条道路,意味着人生将被黑暗笼罩百世、千世甚至更多。黑暗或穷困的人生,是很危险的,是很容易堕落恶趣的。因为不好的环境导致人们去造恶业,如此一来,就很容易堕落地狱道,所以非常危险。
2002年11月3日
- การให้ธรรมทานชนะการให้ทั้งปวง (เมื่อไม่รู้จะอ่านอะไร 3)
การที่เราให้วัตถุทาน ให้ข้าว ให้น้ำ ให้เสื้อผ้า แก่เพื่อนมนุษย์ที่ตกยาก มันก็ไม่ได้ช่วยให้เขาพ้นทุกข์หรือรวยขึ้น หรือมีชีวิตที่สุขสมบูรณ์ตลอดไป การช่วยอย่างนี้ไม่ได้เรียกว่า “รื้อสัตว์ขนสัตว์” เรียกว่า “สงเคราะห์กันชั่วคราว” ให้ได้มีกิน มีใช้ กินอิ่มเป็นมื้อ ๆ เท่านั้น วัตถุทานที่ให้ไปนั้น ใช้ได้ไม่นาน แต่ถ้าเราให้ธรรมทานซึ่งใช้ได้ตลอดชีวิต เราบอกเขาครั้งเดียว ให้เขาได้เข้าใจธรรมะ เข้าใจเรื่องราวความเป็นจริงของชีวิต หรือได้ปฏิบัติธรรม ได้เรียนรู้ตามประสบการณ์ที่เราเข้าถึง แค่เพียงครั้งหนึ่งในชีวิตที่ได้พบกัน แล้วได้ฟังเรื่องราวความรู้ที่ทำให้เอาตัวรอดได้ การพบกันครั้งนั้นก็เกิดประโยชน์อันยิ่งใหญ่แล้ว แม้ต่อไปจะไม่ได้พบกันอีกก็ตาม เพราะได้ให้ธรรมทาน ความรู้ที่จะทำชีวิตให้รอด และปลอดภัยจากอบาย จากสังสารวัฏ การให้ธรรมทานนี้จึงเป็นเลิศกว่าการให้ทั้งปวง และอย่างนี้ถึงจะเรียกว่า “รื้อสัตว์ขนสัตว์” ให้พ้นจากวัฏสงสาร เหมือนอย่างที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าบำเพ็ญมา
๑๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๗
- A gift of teaching triumphs over all giving (When you don’t know what to read 3)
The way we give food, rice, water, clothing to our fellow human beings who are in need, does not save them from suffering. Nor does becoming rich and having a happy life. This does not help them “escape the cycle of suffering”. It is called “temporary assistance” so that they can have food and other necessities. These are temporary. But if we give them a gift of teaching, they can apply the knowledge for the rest of their lives. We tell them once. Let them understand the Dharma, understand the reality of life or practice the Dharma. Learn from the experiences we have access to. Only once or one meeting. That meeting will be greatly beneficial to the receiving party. Even if we never meet again. Because we give Dharma knowledge for them to survive and to be safe from evil, from the cycle of suffering. Hence, the giving of this Dharma is superior to all giving. This is called “escaping” from the cycle of suffering just as the Lord Buddha had done in the past.
January 11, 2004
- 法布施胜于一切施
布施食物、米饭、水或衣服以帮助困苦的人们,无法让他们离苦或富有,或是从此以后拥有美好的人生,所以这样不能称之为“度尽一切众生”,只不过是暂时的帮助,供他们有得吃穿,仅此而已。
布施的食物,吃完就没了,而若传授佛法予人,则一生受用。他们可以了解佛法,了知生命的真理,或是按照我们的修行经验次第修行。若一次的相遇,能够听闻到提升生命的知识,可以说是很有意义的相遇,哪怕此生仅仅相遇一次。
分享佛法予他人,能让他人生命光明,远离恶趣、安全地在轮回中流转,所以说法布施胜于一切施,如此才能称为“度尽一切众生”,助其超脱轮回,如同世尊慈悲度众生一般。
2004年1月11日
- การถวายวิหารทานได้บุญอสงไขยอัปปมาณัง (เมื่อไม่รู้จะอ่านอะไร)
การถวายสังฆทานแด่ทักขิไณยบุคคล จะได้อานิสงส์ ๕ ประการ คือ อายุ วรรณะ สุขะ พละ ปฏิภาณและได้บุญมากเป็นอสงไขยอัปปมาณัง คือ จะนับจะประมาณไม่ได้ ส่วนผู้สร้างวิหารทานชื่อว่า “เป็นผู้ให้ทุกสิ่งทุกอย่าง” ได้บุญเป็นอสงไขยอัปปมาณังเหมือนกัน แต่ปริมาณมากกว่า การก่อสร้างถาวรวัตถุเป็นศาสนสมบัติ เราจะได้บุญกันไปตลอดชาติ เพราะถาวรวัตถุอยู่ได้ยาวนานกว่าจะเสื่อมสลายไป แม้เราละโลกไปแล้ว ถ้าถาวรวัตถุนั้นยังอยู่ บุญอันใดที่เกิดขึ้นจากผู้มีบุญทั้งหลายที่ได้มาใช้สถานที่ มาระลึกนึกถึงพระรัตนตรัย มาปฏิบัติธรรม ทำความเห็นให้ตรงต่อหนทางพระนิพพาน ถ้ามาใช้เป็นร้อย เป็นพัน เป็นหมื่น เป็นแสน เป็นล้านคน บุญที่เกิดขึ้นกับทุก ๆ คน เราก็จะมีส่วนแห่งบุญนั้นด้วย
๑๙ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๖
- Merit from building temples is uncountable. (When you don’t know what to read)
Offering alms to monks results in longevity, good health, happiness, strength, wisdom and uncountably large merit. Builder of the temple can be called a “giver of everything” and receives innumerable merits, which is larger than offering alms. Construction of permanent objects such as temple buildings, chapels, temple halls and giving them to temples will give us merit as long as we live. Because permanent objects last very long before they will decay. Even when we depart this world and if the objects still exist, we will continue to receive any merit that arises from the people who have come to use the place. They may come to remember the Triple Gems, come to practice meditation, or come to find enlightenment. The number of people may be in the hundreds, thousands, tens of thousands, hundreds of thousands, or millions. We will have a share of that merit from everyone who comes to use the places.
January 19, 2003
- 供养佛教建筑将得到无量功德
供养应该被供养者,有五项果报:寿命长久、肤色皓洁、身心快乐、充满力量、拥有辩才急智;也将得到无量功德,此功德是无法估量的。供养佛教建筑,如同供养一切,功德亦是无量,甚有过之。
修建佛教建筑,功德将随着我们到生生世世。因为此建筑将长存,很久以后才会毁损,就算我们已经离世,若是建筑仍在,无论是哪一位大德使用此建筑来修功德,来意念三宝或是静坐禅修 ,来修行以达到究竟涅槃,便是来了成千上万的人,每个人所修的功德,我们也都将拥有一份。
2003年1月19日
- บุญทุกอย่างที่เราทำตอนเป็นมนุษย์ (เมื่อไม่รู้จะอ่านอะไร 3)
ไม่ว่าจะให้อาหารกับสัตว์เลี้ยง คนทุศีล คนมีศีล คนมีฌานสมาบัติ มีรู้ มีญาณ เป็นโคตรภูบุคคล พระอรหันต์ จนกระทั่งถึงพระอริยเจ้า รวมทั้งการถวายข้าวพระเป็นพุทธบูชาแด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่มีพระธรรมกายปรากฏอยู่ในอายตนนิพพานนับไม่ถ้วน บุญทั้งหมดเหล่านี้ จะไปเป็นสมบัติ เป็นเสบียงในการเดินทางไกลในสังสารวัฏของเรา เรามีเป้าหมายที่จะไปสู่ที่สุดแห่งธรรม ดังนั้นจำเป็นต้องมีเสบียงมาก มีบุญบารมีมาก ๆ สิ่งที่สำคัญในเบื้องต้นก็คือ จะต้องมีมหาทานบารมีเป็นเสบียงที่จะอำนวยความสะดวก ในการสร้างบารมีกันไปทุกภพทุกชาติ ตราบกระทั่งถึงที่สุดแห่งธรรม
๑๙ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๖
- All the merits we do as human beings (When you don’t know what to read 3)
Whether feeding pets, giving food to sinful people, virtuous people, people with divine insights, arahants, or the Lord Buddha himself including offering food to Dhammakaya of the Lord Buddha appearing in countless nirvana. All these merits will be our provision for long journeys in the cycle of suffering. We have a goal, and that goal is to reach the utmost of Dharma. So a lot of supplies are needed. What is important in the beginning is to pursue perfection of giving. The fruit of those wholesome actions will bear us a provision to facilitate in pursuing perfection in all our future lives until the end of the Dharma.
January 19, 2003
- 轮回中的资粮
生而为人时所修的一切功德,无论是给食物予动物、未持戒者、持戒者、修行者、智者、贤者、圣者、阿罗汉或是辟支佛,包括供养在涅槃的无数佛陀法身,这些功德都是我们轮回中的资粮。
我们的目标是到达法的究竟,所以必须要拥有许多资粮和具足的波罗蜜。首先最重要的是必须要具足布施波罗蜜,才能使生生世世方便地修功德波罗蜜,直到法的究竟。
2003年1月19日
- ที่สุดแห่งสมบัติ ๓ (เมื่อไม่รู้จะอ่านอะไร 3)
มหาทานบารมีที่เรานำปัจจัย ๔ มาฝากฝังไว้ในพระพุทธศาสนานี้ จะไปเป็นสมบัติใหญ่ติดตัวเราไปทุกภพทุกชาติ ทำให้เราสร้างบารมีได้สะดวกสบายง่ายดายกว่าชาตินี้ พอลงมาเกิดก็เป็นอุปกรณ์ในการสร้างบารมีของเรายิ่ง ๆ ขึ้นไป ถ้ามีบารมีมาก ที่สุดแห่งรูปสมบัติ คือ ได้กายมหาบุรุษ ที่สุดแห่งทรัพย์สมบัติ คือ ได้สมบัติจักรพรรดิ ที่สุดแห่งคุณสมบัติ ทำให้ได้วิชชา คือ วิชชา ๓ วิชชา ๘ อภิญญา ๖ วิโมกข์ ๘ ปฏิสัมภิทาญาณ ๔ ที่สุดจะไปรวมประชุมกันอยู่ตรงนั้น แต่ถ้าหากบารมียังอ่อน ๆ อยู่ ก็ได้ลดหย่อนกันลงมา
๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๕
- The best of treasure 3 (When you don’t know what to read 3)
All charity that we make in Buddhism will be a great treasure for us in every life. It will make us pursue perfection more easily than this life. When we descend to being born, the treasure will be our tool for pursuing perfection even more. The best physical treasure is to achieve the body of a great human. The best wealth is to earn the great emperor’s treasure. The best wealth of attributes is to attain Vijja 3, Wijja 8, Apinya 6, Vimokkha 8, Patisamphitanya 4. Those are the ultimate wealths. However, if our merit is not at that level, the wealth will be lesser.
October 6, 2002
- 三种财的究竟
布施波罗蜜在佛教中所衍生的四资具,将转换成财富随着我们到生生世世,使我们在未来世能更方便地修波罗蜜,当生而为人时,就有具足的资粮来修波罗蜜。若波罗蜜多时,色财的究竟是三十二大人像,钱财的究竟是拥有如转轮圣王一般的财富,德行财的究竟是具足三明、八明、六通、八解脱、四无碍解,各项德行将聚集在那里。然而若波罗蜜不足时,就会次第减少。
2002年10月6日
- พุทธวิธีแก้จน (เมื่อไม่รู้จะอ่านอะไร 3)
ความฝืดเคืองในภพชาติต่อไปจะหมดสิ้นไป ด้วยมหาทานบารมีที่เราสั่งสมกันอย่างสม่ำเสมอ แต่ถ้าหากใครทำไม่สม่ำเสมอ สมบัติก็จะมาเป็นช่วง ๆ เป็นตอน ๆ เราประกอบเหตุอย่างไร ผลก็เป็นอย่างนั้น เพราะในชีวิตของสังสารวัฏมีแต่เรื่องเหตุกับผล ประกอบเหตุอย่างนี้ ผลก็ต้องเป็นอย่างนั้น ที่มีผลอย่างนี้เพราะประกอบเหตุจากสิ่งโน้น มีแต่เรื่องเหตุเรื่องผลทั้งนั้น ไม่ใช่เรื่องงมงายเลย
๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๕
- Buddhist way to solve poverty (When you don’t know what to read. 3)
The selfishness in the next life will be gone with great charity and giving that we have consistently performed. But if someone does not do it regularly, wealth will come from time to time. It depends on how we behave and act. The corresponding reaction will follow. Because the cycle of suffering is all about cause and effect. The effect depends on the cause. There is only about cause and effect. These are not superstitious.
October 6, 2002
7.佛教徒脱离贫穷的方法
以持续地修布施波罗蜜的方法,使未来世不再穷苦。但若是谁修得不持续,财富也会来得断断续续,因为种瓜得瓜,种豆得豆。在轮回的过程中只有因和果,种下什么因,就得什么果;得到什么果,就是因为过去种下的因导致的。只是因果循环而已,而因果是不容忽视的事。
2002年10月6日
- รื้อผังจน อย่ารื้อผังรวย (เมื่อไม่รู้จะอ่านอะไร 3)
เราจะ รื้อผังจน ได้ ด้วยการสร้างมหาทานบารมี แต่บางคนอยาก รื้อผังรวย ด้วยการตระหนี่ ทั้งนี้เพราะยังขาดความเข้าใจ เมื่อเราเกิดมาสร้างบารมี เราก็ต้องสร้างบารมี สร้างก็ต้องให้ถูกหลักวิชชา คือต้องทำให้เต็มที่ เต็มกำลัง ให้สุดใจไปเลย ต้องใจใส ๆ ทั้งก่อนทำ กำลังทำ และหลังจากทำแล้ว โดยไม่คิดเสียดายเลย และอย่าทำตามลำพัง ต้องไปชวนคนอื่นมาทำด้วย อย่างนี้จึงจะเรียกว่าสร้างบารมีอย่างถูกหลักวิชชา
๘ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๙
- Dismantling a poverty program and keeping a wealth program within you. (When you don’t know what to read 3)
We can dismantle a poverty program from within us by pursuing perfection of great charity. But some people dismantle a wealth program from within them by being stingy. Because there is still a lack of understanding. Since we are born to pursue perfection, we must pursue perfection. We have to do it in the right way. That is doing it with our full strength, with all our heart, and with a clear mind. The mind must be clear before giving, while giving, and after we’ve given it. Give without any regrets and don’t give alone. We have to invite other people to give as well. Thus, this is pursuing perfection of giving in the right way.
April 8, 2006
8.要摆脱贫穷,不要远离富裕
我们可以修布施波罗蜜来摆脱贫穷,但是有些人正以吝啬的方式远离富裕,因为还不理解生而为人的目的是要修波罗蜜。
同时要以正确的方法修波罗蜜,必须尽力而为,在施前、施中、施后都让心感到法喜、清净,且不要感到可惜;不要独自修功德,要邀请别人一起来修。这样才是所谓的“以正确的方法修波罗蜜”。
2006年4月8日
- ทานบารมีทำให้สร้างบารมีอื่นได้ง่าย (เมื่อไม่รู้จะอ่านอะไร 3)
เกิดมาสร้างบารมี เราก็ต้องสร้างบารมี ซึ่งมีทั้งหมด ๑๐ ทัศ ข้อที่ ๑ คือ ทานบารมี เป็นเรื่องที่สำคัญ ทำไว้เถิดประเสริฐนัก เราจะได้มีโภคทรัพย์สมบัติ ด้วยอานุภาพแห่งมหาทานบารมีของเรา ซึ่งจะทำให้การสร้างบารมีข้ออื่น ๆ ทำได้อย่างสะดวกสบาย ง่ายดาย จะรักษาศีลก็สะดวก จะเจริญภาวนาก็ง่าย เพราะเรามีทรัพย์เป็นอุปกรณ์ในการสร้างบารมี เมื่อเรามีทรัพย์ ก็จะลดปัญหาและแรงกดดันในชีวิตที่ต้องทำมาหากิน ต้องทำมาค้าขาย เราแค่ทำมาสร้างบารมีอย่างเดียวเท่านั้น และเราจะได้ใช้ทรัพย์นั้นสร้างทานบารมีต่อด้วย
๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๐
- Perfection of giving facilitates the pursuit of other perfections (When you don’t know what to read 3)
We were born to pursue perfection. Hence, we must pursue perfection. There are a total of 10 perfections. The first is the perfection of giving, which is important. Performing it will improve our lives. We will have wealth because of the power of the perfection of giving. This will make the pursuit of other perfections to be done comfortably and easily. Whether keeping the precepts or meditating. These wholesome acts will be facilitated by the perfection of giving. Because we have wealth as a tool to pursue perfection. When we have wealth, the problems and pressures in life to make a living are reduced. There is no worry about making money for the living. We just focus on pursuing perfection. And we will use that wealth to pursue perfection further as well.
July 3, 2007
- 布施波罗蜜让我们可以方便地修其他波罗蜜
生而为人的目的是修十项波罗蜜,第一项是布施波罗蜜,这是非常重要的波罗蜜,修了将得到善好的果报。布施波罗蜜的威力将使我们有取之不尽用之不竭的财富,让我们轻松、方便地修其他波罗蜜,要持戒也方便,要修行也容易,因为我们具足修波罗蜜的资粮。
若有财富,将减少关于赚钱的压力和问题,所以我们经商致富,只是为了要修波罗蜜而已。同时,也要使用这些财富来继续修布施波罗蜜。
2007年7月3日
- บุญหนุนถึงสุดธรรม (เมื่อไม่รู้จะอ่านอะไร 3)
ชาตินี้เป็นชาติที่เราต้องปรับปรุงผังชีวิตของตัวเราเอง เพราะเราคือผู้ออกแบบชีวิต เราลิขิตชีวิตเราเองใครอยากจะให้ชีวิตในอนาคตเป็นอย่างไร ก็ออกแบบด้วยตัวเอง อยากจะเป็นจุลเศรษฐี มหาเศรษฐีหรือว่าเป็นบรมเศรษฐี ก็แล้วแต่ใจของเรา การที่เราจะออกแบบชีวิตให้ภพชาติต่อไปเป็นเศรษฐีในระดับไหนนั้น ก็ขึ้นอยู่กับการประกอบเหตุในปัจจุบันนี้เป็นหลัก เพราะฉะนั้นให้ทุ่มทำไปเถิด บุญใหญ่จะได้บังเกิดขึ้นกับเรา และถ้าจะให้ดีที่สุด ก็ต้องทุ่มเทชีวิตจิตใจสั่งสมบุญกันให้เต็มที่ ทั้งแรงกาย แรงใจ กำลังทรัพย์ กำลังสติปัญญา กำลังพวกพ้องบริวาร ทำกันไปให้สุดหัวใจ แล้วบุญใหญ่จะได้ก่อเกิดเป็นผลานิสงส์ที่ไม่มีประมาณกับเรา ที่จะทำให้เราประสบความสุขและความสำเร็จในชีวิตเป็นอัศจรรย์ เหมือนกับท่านผู้มีบุญในกาลก่อนที่มีสมบัติจักรพรรดิตักไม่พร่องและสมบัติอจินไตยบังเกิดขึ้น บุญจะบันดาลให้เราได้ที่สุดของทุกสิ่ง กระทั่งหนุนนำพาเราให้ไปถึงที่สุดแห่งธรรมได้ เพราะฉะนั้นลูกทุกคนจะต้องสร้างบารมีให้กลั่นกล้ากว่าที่ผ่านมา นี่เป็นเรื่องเร่งด่วนที่สำคัญที่สุด
๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๐
- Merit helps us to the utmost of Dhamma (When you don’t know what to read 3)
This is the life in which we must improve our own plan. Because we are the designers of life. We define our own lives. Which future we want for us can be designed by us. We can be a millionaire or a billionaire. It is all up to our hearts. At what level of wealth we possess for the next life depends mainly on the present cause. So let’s perform charitable acts. So, great merit will happen to us. It is best if we devote our lives and minds to performing merit to the fullest, physically, mentally, financially, and intellectually with all family and friends. Do it with all your heart. Then, we will receive great merit resulting in incomparable fortunes that will astonishingly make us experience happiness and success. Just like virtuous people with great merit in the past. They possessed unimaginable wealth that does not get depleted ever. Merit will give us the best of everything and even support us to reach the utmost of the Dharma. Therefore, my sons and daughters, you must make merit and pursue perfection to the fullest with stronger determination than ever before. This is the most important matter of urgency.
February 4, 2007
- 功德将协助我们到达法的究竟
今生要调整未来的生命蓝图。我们是自己生命的设计师,自己描绘未来的生命蓝图,想要什么样的生命,就自己去设计,想要成为百万富翁、千万富翁或是亿万富翁,都在于自己的心。在设计未来世生命蓝图过程中,想要成为哪种程度的富翁,都在于现在如何种下善因。
所以尽快地修功德吧,大功德才能够来回报。若要所修功德圆满,就要以毕生之力去累积功德,要全心全力,以所有财力与智能集结组织的力量去做。大功德将产生无尽的善果,将有助于我们追求成功与幸福,就像帝王一般有取之不尽的财宝,也会得到意想不到的宝物。
功德将让我们拥有最好的一切事物,直至协助我们到达法的究竟。所以,大家要较以往更有信心地修波罗蜜,修波罗蜜是最重要且最紧急的事情。
2007年2月4日
- ไม่เชื่อก็เผื่อเหนียวเอาไว้ (เมื่อไม่รู้จะอ่านอะไร 3)
ทานบารมีต้องทำไว้ ถ้าตายแล้วสูญก็เจ๊ากันไป แต่ถ้าเกิดตายแล้วไม่สูญ เราจะมีความสุขในสุคติโลกสวรรค์ ไม่ว่าใครจะเชื่อเรื่องการเวียนว่ายตายเกิดหรือไม่เชื่อว่ามีการเวียนว่ายตายเกิดก็ตาม พึงสร้างทานบารมีเผื่อเหนียวไว้เถิด สมมติว่า ไม่มีการเวียนว่ายตายเกิด ชีวิตไปสิ้นสุดอยู่ที่เชิงตะกอนก็เจ๊ากันไป แต่ถ้าเกิดมีขึ้นมา ยุ่งทีเดียว มันอันตราย เพราะเราไม่ได้สร้างทานบารมีเอาไว้ ถ้าใครเชื่อว่า ฝากชีวิตทุกสิ่งไว้กับเทพเจ้าที่ตนเคารพนับถือก็ตาม ก็ต้องสร้างบารมีเผื่อเหนียวเอาไว้ เผื่อไปแล้วไม่เจอเทพเจ้าที่เคารพนับถือ ทานนี้จะได้ส่งผล ถ้าเจอก็เจ๊ากันไป เมื่อเกิดมาใหม่ เราจะได้มีผังแห่งโภคทรัพย์สมบัติ ที่เกิดจากการสร้างมหาทานบารมี เป็นอุปกรณ์ในการสร้างบารมีในภพชาติต่อไป เพราะฉะนั้นทานบารมีจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง
๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๐
- If you don’t believe in the cycle of rebirth, you must still do good deeds just in case. (When you don’t know what to read 3)
You must pursue perfection of giving. If we die and never come back, then there is no harm. But if we die and are born again, we will reap the fruit of our giving and will be happy in the celestial world. Whether one believes in the cycle of birth and death, or does not believe that there is a cycle of birth and death. They must make merits by giving charitably in case the afterlife does exist. If there was no cycle of birth and death and life did end at the foot of a crematorium, there would be no harm. But if the cycle of rebirth does exist and we do not make merit or give charitably, our life after death will be in danger. If anyone believes in any God and entrusts one’s life to the gods, it is recommended that the person must make merit and give during one’s life. In case, when the person dies and does not meet the God one expects, the merit that was accumulated will help and lead to a better life. But, if the person meets God, there is no harm done. When we are born again, our life will be destined for wealth resulting from the pursuit of perfection of the great giving. The wealth that we receive will be our tool for pursuing perfection in the next life. Therefore, perfection of giving is extremely necessary.
July 4, 2007
- 不相信就当作是保险
布施波罗蜜必须修好,如果死后灰飞烟灭就算了,但是如果死亡并不是终点,我们将能投生天界享乐。无论相信不相信生死轮回,都应该修布施波罗蜜,当作是保险。假设生死轮回不存在,人生的终点是葬礼也就算了,但是如果死亡并不是终点,那就很危险了,因为我们没有修好布施波罗蜜。
谁就算想要把生命寄托于受人尊崇的神明身上,也要修波罗蜜当作保险,以防死后遇不到这尊神明。如果遇得到当然好了,可假设我们没遇到,至少也有来自于布施波罗蜜所产生的外在财富,是未来世修波罗蜜的资粮,所以布施波罗蜜才会如此地重要。
2007年7月4日
- ใช้ทรัพย์ให้เป็น (เมื่อไม่รู้จะอ่านอะไร 3)
ทรัพย์ในโลกมนุษย์ นอกจากมีไว้เพื่อความปลอดภัยของชีวิตแล้ว เขามีเอาไว้สำหรับสร้างบารมี ไม่ใช่มีเอาไว้อวด เอาไว้ข่มกัน หรือเอาไว้เพื่อความอุ่นใจว่า เรามีเท่าเขา หรือมีมากกว่าเขา ไม่ใช่เป็นเครื่องปลื้มใจเท่านั้น แต่ว่าทรัพย์มีไว้สำหรับการสร้างบารมี
๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๕
- Use your wealth wisely (When you don’t know what to read 3)
Wealth in the human world is used for the safety of life. It is used to pursue perfection. It’s not for boasting, suppressing each other, nor for peace of mind that we are equal to others or better than others. It’s not just a gratification. But wealth is for pursuing perfection.
November 3, 2002
- 懂得运用资产
拥有人世间的财富,除了保障生命安全之外,也要用来修波罗蜜,而不是拿来挥霍、炫耀的,也不是拿来比较说:我拥有的和他人一样多甚至是比他人多。拥有财富并不是为了享受而已,而是用来修波罗蜜的。
2002年11月3日
- อย่ารอให้หมดโอกาส (เมื่อไม่รู้จะอ่านอะไร 3)
ตอนนี้เรายังแข็งแรง เรามีทุกอย่างพร้อม เราคงยังไม่ซาบซึ้งในการสร้างบารมีเท่าไรนัก คือ อยู่ในระดับที่ทราบแต่ยังไม่ซึ้งตรึงใจ จะซาบซึ้งตอนเราป่วย ตอนนั้นทรัพย์แม้มีอยู่ แม้เป็นของเรา เราอยากจะทำบุญ แต่ก็ทำไม่ได้ มีผู้มีบุญท่านหนึ่ง หลวงพ่อรู้จักมานานร่วม ๒๐ ปี ตอนนั้นท่านป่วยเป็นมะเร็ง คุณหมอพยากรณ์แล้วว่า เหลือเวลาเท่านั้นเท่านี้ ท่านก็ได้ขึ้นไปปฏิบัติธรรมบนดอยสุเทพ จ.เชียงใหม่ ตอนขึ้นไปก็ยังดีอยู่ แต่พอกลับลงมาท่านก็ล้มป่วย มีกัลยาณมิตรไปเยี่ยม แล้วชวนท่านสร้างมหาทานบารมี ท่านก็เต็มใจนะ ยินดีเซ็นเช็คให้ แต่ภรรยาไม่เต็มใจ ท่านก็รำพึงว่า ผมซึ้งแล้วละ ที่หลวงพ่อพูดว่า ตอนแข็งแรงมีทรัพย์ให้ทำบุญ ตอนนี้ผมป่วย ผมไปไหนไม่ได้ ผมเซ็นเช็คก็จริง แต่ถ้าเขาไม่ร่วมมือสนับสนุน ผมก็ทำไม่ได้ ตอนนี้ผมซึ้งแล้ว รู้อย่างนี้ทำตอนแข็งแรงก็ดี เพราะฉะนั้น ใครยังแข็งแรงอยู่พึงศึกษาเอาไว้ให้ดี มีหลายท่านมารำพึงกับหลวงพ่อว่า ตอนนี้ซาบซึ้งแล้ว ตอนแข็งแรงเราก็ไม่ค่อยได้ทำ ตอนเราไม่แข็งแรง เดินก็ไม่ค่อยไหว มือไม้จับอะไรก็ไม่ถนัด ตอนนี้แม้อยากทำก็ทำได้ไม่เต็มที่ แล้วบางท่านก็ฝากมาบอกว่า ให้ช่วยไปบอกคนที่ยังแข็งแรง มีทรัพย์ และมีทุกสิ่งอยู่ว่า“ตอนนี้โอกาสของเรายังดีอยู่ ให้รีบสร้างบารมีกันเสียเถิด มีอะไร ๆ ก็รีบทำกันไปซะ”
๒๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๐
- Don’t wait for the opportunity to run out. (When you don’t know what to read 3)
Now we are still strong. We have everything ready. But, we still don’t appreciate the pursuit of perfection very much. It is at a level that we know but are not impressed. We will appreciate it when we are sick. At that time, even with wealth, we would like to make merit but we can’t. There is a virtuous person that Luang Por has known for 20 years. At that time, he was ill with cancer. The doctor predicted that there was only a short period left for him. He has gone up to practice Dharma in Doi Suthep, Chiang Mai Province. He was still good when going up. But when he returned, he fell ill. His good friends made a visit and invited him to pursue the perfection of giving. He was willing to make a donation and was happy to sign the check but his wife was reluctant. He pondered that he was deeply moved by what Luang Por had said. When we are healthy and have money, we must make merit. Now he was sick, and he could not go anywhere. Even he signed the check. But if his wife did not agree nor support him, he could not make a donation. At that moment he appreciated the teaching. Knowing this, it’s good to make merit when you are healthy. Therefore, anyone who is still healthy should consider this case carefully. Many people came to tell Luang Por that they appreciate the teaching now. When we are strong, we rarely make merit. When we are not strong or so sick that we can’t walk, our hands are so weak that they are unable to hold anything. Now, even if we want to make merit, we can’t do it to the fullest. Some people have come to Luang Por and asked Luang Por to go and tell someone who is healthy, wealthy, and has everything: “Now our opportunity is still good. Let’s hurry and pursue perfection. If there is merit that you want to perform, let’s do it quickly.”
July 26, 2007
- 不要等到机会流逝
现在身体健康、各种条件具足,我们可能还不重视修波罗蜜,虽然知道可还未重视。但等当重病时才来重视,就算当时有财产,财产仍属于自己,想修功德也无法修了。
曾有一位大德,法胜师父已经认识他二十年了。当时他得了癌症,医生已经预告了生命的期限,这位大德有机会到清迈的素帖山静坐修行。当修行时还好,下山之后就卧病不起。有一位善知识去探病,并邀请大德修布施波罗蜜,大德很虔诚地要供养,老婆却不愿意。大德回忆并说到:“我相信了,法胜师父曾说‘当身体健康有财富时要修功德’。现在我哪儿也去不了,虽然我签了支票,但是也无法到现场参加法会。现在我相信了,修功德要在身体健康时就去修。”
所以,谁还有健康的身体,请想清楚该怎么做。有许多大德来向法胜师父反省道:“现在相信了,当年轻力壮时不曾修功德。当身体衰弱走也走不动时,要手持拐杖,拿什么也不方便,现在就算想要修功德也修不圆满。”有些大德寄言道:“告诉那些还健康且现在各种条件具足的人,现在的时机还很好,请尽快地去修波罗蜜吧!有什么修功德的机会就尽快把握住吧!”
2007年7月26日
- ผลแห่งการให้ทานโดยไม่เคารพ (เมื่อไม่รู้จะอ่านอะไร 3)
พระบรมศาสดาทรงตรัสเล่าเรื่อง เวลามพราหมณ์ ว่าด้วยการให้ทานที่มีผลมาก แก่ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี บุคคลผู้ให้ทานที่ประณีตหรือไม่ก็ตาม หากให้โดยไม่เคารพในทาน ไม่ทำความนอบน้อมในทาน ไม่ได้ให้ด้วยมือของตนเอง ให้ของที่เหลือเดน แล้วให้ทานโดยไม่เชื่อเรื่องกรรมและผลของกรรมทานนั้นจะส่งผลให้เขา …เมื่อไปเกิดในที่ใดก็ตาม แม้มีทรัพย์มาก จิตของผู้นั้นย่อมไม่ยินดีที่จะรับประทานอาหารอย่างดี จะรับประทานแต่ของเก่าค้างคืน แม้มีทรัพย์มาก ย่อมไม่ยินดีที่จะใช้ผ้าเนื้อดี ชอบแต่ผ้าเนื้อหยาบ แม้มีทรัพย์มาก ย่อมไม่ยินดีที่จะใช้พาหนะดี ๆ ชอบแต่ของเก่า ๆ แม้มีทรัพย์มาก ย่อมไม่ยินดีที่จะนำทรัพย์นั้นมาบำรุงบำเรอด้วยสิ่งที่ตนปรารถนา แม้บริวารของผู้ให้ทาน คือ บุตร ภรรยา คนรับใช้ เป็นต้น ก็ไม่เชื่อฟัง เหล่านี้เป็นผลแห่งกรรมที่ทำทานโดยไม่เคารพ ไม่ตระหนักเห็นคุณค่าในการทำทาน ส่วนบุคคลผู้ให้ทานที่ประณีตหรือไม่ก็ตาม ถ้าให้ทานโดยเคารพ ทำความนอบน้อมในทาน ให้ทานด้วยมือของตนเอง ให้ของที่ไม่เหลือเดน และให้ทานโดยเชื่อกรรมและผลของกรรม ทานนั้นจะส่งผลให้เขา…เมื่อไปเกิดที่ใดก็ตาม จิตของเขาย่อมน้อมไปเพื่อรับประทานอาหารอย่างดี ย่อมยินดีในการใช้ผ้าเนื้อดี ย่อมยินดีในการใช้ยานพาหนะดี ๆ จิตของเขาย่อมยินดีในการบำรุงบำเรอด้วยสิ่งที่น่าปรารถนา แม้บริวารของผู้ให้ทาน คือ บุตร ภรรยา ทาส คนรับใช้ เป็นต้นย่อมเชื่อฟัง ข้อนี้ก็เป็นผลแห่งกรรมที่ทำทานโดยเคารพ
๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๗
- Consequences of giving without respect (When you I don’t know what to read 3)
The Lord Buddha told a story about Velama Brahmin. The story is about giving alms that are very fruitful and was told to Anathapindika. Whether a person gives elaborate alms or not. If giving alms without respect, not giving with their own hands, giving their leftovers, or giving alms without believing in karma. These actions will result in the next life that the person would not be willing eat well although he is wealthy. The person will eat only old things overnight even having a lot of wealth. He would not be willing to use fine cloth and only likes rough fabrics even having a lot of wealth. He would not be willing to use good vehicles and only likes old things, even with a lot of wealth. He would not be willing to bring that wealth to nourish with what he desires. His family, children, wife, servants, etc does not listen to him. These are the fruits of karma that comes from giving without respect and not realizing the value of giving. For a person that gives with respect, it does not matter if the alms are elaborate or not. If the person gives with respect, gives with his own hands, does not give leftovers, and gives with a belief in karma and the result of karma, his alms will bear a wholesome fruit. Wherever he is reborn, his mind bows to good food, fine fabrics, good vehicles. His mind rejoices in what the mind desires. The family of the giver, children, wife, servants, etc., will obey him. This is the result of karma that comes from giving with respect.
January 16, 2004
- 以不恭敬的态度布施的果报
佛陀曾经为给孤独长者开示威拉麻婆罗门的事,有关“以不恭敬心布施的果报”:
无论供养者所供养的饭食精致与否,若不以恭敬心来供养、不亲手供养、供养剩饭,也不相信因果之律或善恶果报,当功德回报时,无论是生在何处,就算有许多财富,也不愿意接受善好的食物,而喜爱吃过夜的食物;就算很富有,也不喜欢细致的布料,反而喜欢粗糙的布料;就算很富裕,也不喜欢乘坐精致的车辆,反而喜欢旧的车辆;就算大富大贵,身边的人也都不得己心,如手下、妻儿、仆人等都不听话。这就是不以恭敬心供养的果报,如此一来就无法体现供养的价值了。
无论供养者所供养的饭食精致与否,若以恭敬心供养、亲手供养、供养不是剩下的食物,具备相信因果之律的正见,无论生于何处,当功德回报时他将接受善好的食物、收受细致的布料、使用精致的车辆,他将有得力的助手,无论是手下、妻儿、仆人等都忠心耿耿。这就是以恭敬心供养的果报。
2004年1月16日