อุปกิเลส16 (Th En Ch)

อุปกิเลส 16:  เงาที่ซ่อนในใจ หากไม่รู้ทัน…ชีวิตพัง อุปกิเลส คือ สิ่งสกปรกที่ทำให้จิตใจเศร้าหมอง เป็นเหมือน เงาที่ซ่อนอยู่ในใจ ค่อยๆ กัดกินชีวิต ดึงให้ตกต่ำลงทีละน้อยอย่างแนบเนียน โดยที่เราอาจไม่รู้ตัวเลย… อุปกิเลสไม่ได้มาพร้อมเสียงดัง แต่มาในรูปของความคิดเล็กๆ อารมณ์น้อยๆ หรือความเคยชินที่ดูไม่มีพิษภัย1 เปรียบเหมือนหมึกหยดเดียวในน้ำใส ที่ค่อยๆ ทำให้น้ำเปลี่ยนสีจนดื่มไม่ได้ ความน่ากลัวของมันคือ มันไม่ได้ทำลายเราทันที แต่ทำให้เราคิดว่าเรายังโอเคอยู่ ทั้งที่กำลังจมลงเรื่อยๆ บางครั้งมันซ่อนอยู่หลังหน้ากากของความดีหรือความรัก ธรรมะสอนให้รู้จักอุปกิเลสอย่างลึกซึ้ง ไม่ใช่เพื่อกลัว แต่เพื่อไม่ให้ตกเป็นเหยื่อ7 จุดเริ่มต้นของการแก้คือ การมองเห็นมันให้ชัดเจน อุปกิเลสมี 16 อย่าง แต่ละอย่างมีลักษณะและวิธีการที่แตกต่างกันไป: 1) อภิชฌาวิสมโลภะ (ความอยากที่ไม่รู้จักพอ): ◦ ไม่ใช่แค่อยากธรรมดา แต่เป็นความอยากเกินขอบเขต อยากได้ของที่ไม่ใช่ของเรา หรืออยากได้มากกว่าที่ควร ◦ ทำให้ใจวุ่นวาย ไม่มีความสงบ ยอมแลกศีลธรรมเพื่อสิ่งของ ◦ เปลี่ยนวิธีคิดของเรา ให้ประเมินคุณค่าตัวเองจากสิ่งที่มีแทนที่จะดูจากสิ่งที่เป็น • ทางออกคือการฝึกสันโดษ (รู้จักพอ) เข้าใจว่าความสุขที่แท้จริงไม่ได้อยู่ที่การได้ แต่อยู่ที่การหยุดอยากอย่างมีสติ ———–…

สิงคาลกสูตร (Th En Ch)

สิงคาลกสูตร《尸伽罗越经》 The Sigalovada Sutta: The Buddha’s Teachings on the Six Directions พระโคตมพุทธเจ้าทรงแสดงพระสูตรนี้ ณ พระนครราชคฤห์ คราวที่ทรงประทับ ณ วัดเวฬุวันมหาวิหาร ในวันหนึ่ง “เวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสกแล้วทรงถือบาตรและจีวรเสด็จเข้าไปบิณฑบาตยังกรุงราชคฤห์ ได้ทอดพระเนตรเห็นสิงคาลกคฤหบดีบุตร ซึ่งลุกขึ้นแต่เช้า ออกจากกรุงราชคฤห์ มีผ้าชุ่ม มีผมเปียกประคองอัญชลี นอบน้อมทิศทั้งหลาย คือ ทิศเบื้องหน้า ทิศเบื้องขวา ทิศเบื้องหลัง ทิศเบื้องซ้าย ทิศเบื้องล่าง ทิศเบื้องบน พระผู้เป็นเจ้าจึงทรงถามว่า สิงคาลกคฤหบดีบุตรกำลังทำอะไร สิงคาลกคฤหบดีบุตรตอบว่ากำลังไหว้ทิศทั้ง ๖ คามคำสั่งเสียของบิดา 《尸伽罗越经》是佛陀安住在王舍城的迦兰陀竹林园时所开示的。有一天早晨,佛陀着衣持钵,准备入王舍城托钵化缘,遇到了一个叫做尸伽罗越的男子。这位男子一大清早起床,走出王舍城,湿衣、湿发,合掌礼拜各方:东方、南方、西方、北方、下方和上方。佛陀问这位男子在做什么?他回答说自己正在按照父亲的遗嘱礼敬六方。 On one occasion, while the Blessed One was staying at the Veluvana Monastery in Rajagaha, he…

สามเณรนิโครธ (Th En Ch)

สามเณรในตำนาน สามเณรนิโครธ ตอนที่ ๑                The Legendary Novice Nigrodha, Part 1 《传奇沙弥 – 尼拘律沙弥》第一节 สามเณรนิโครธผู้เป็นสมณะน้อย แต่เป็นผู้จุดชนวนให้พระเจ้าอโศกผู้มีฝ่ามือชุ่มด้วยโลหิตเปลี่ยนมานับถือพระพุทธศาสนาและช่วยยอยกพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองอย่างไม่เคยปรากฏที่ไหนมาก่อน Although Nigrodha Samanera was a young novice monk, he ignited the transformation that led the blood-stained King Ashoka to embrace and promote Buddhism to an unprecedented level of prosperity. 尼拘律沙弥虽年幼,却是促使手染鲜血的阿育王皈依佛教的关键人物,并帮助弘扬佛法,使佛教达到前所未有的兴盛。   หลังพุทธปรินิพพานประมาณ ๓๐๐ ปีหลังจากที่พระเจ้าอโศกทรงเลิกทำสงคราม ก็คิดจะหาความสงบพระทัย Approximately 300 years after the…

ยุคพระศรีอริยเมตไตรย์ 弥勒佛 (Th Ch)

弥勒佛    “神奇的文明时代”     ในยุคสมัยของพระสมณโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือในยุคของพวกเรานั้น พระพุทธศาสนาจะยืนยาว และยังประโยชน์อันไพบูลย์ให้เกิดแก่โลกและจักรวาล ได้ยาวนานอย่างน้อย 5,000-ปี หลังจากนั้น พระพุทธศาสนาซึ่งเป็นศาสนาแห่งปัญญาและเหตุผล ก็จะค่อยๆเลือนหายไปจากโลก เพราะคนจะเริ่มเสื่อมจากศีลธรรมลงไปเรื่อยๆ 在释迦牟尼佛时代或者在我们这个时代,佛教非常的繁荣昌盛,寿龄长达至少5000年之久。在这之后,因为人们的道德开始慢慢下降,充满智慧的佛教就慢慢在世间消失了。     เมื่อใดก็ตามที่มนุษย์ถูกกิเลสครอบงำอย่างแรงกล้า จนทำให้มีปัญญาหยาบและไม่ตั้งอยู่ในกรอบแห่งศีลธรรม เมื่อนั้นพระพุทธศาสนาและคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็จะสูญสิ้นไปจากโลกใบนี้ในที่สุด และด้วยเหตุที่คนเสื่อมจากศีลธรรมนี้เอง จึงส่งผลทำให้อายุขัยของมนุษย์ในช่วงนั้น สั้นลงไปเรื่อยๆ จนอายุขัยเฉลี่ยของมนุษย์ลดเหลือเพียงแค่ 10-ปี (ปัจจุบันอายุขัยเฉลี่ยของมนุษย์อยู่ที่ 75 ปี) 人类都将被烦恼所强烈的控制着,使得他们没有道德心,智慧减少,到那时,佛教和佛陀的教诲便最终会在这个世间中销声匿迹。因为道德退化的缘故,人类的寿命也会逐渐的减少,让人类的平均寿命变的只有十年而已。(现今人类的平均寿命为75年)     เมื่อใดที่อายุขัยเฉลี่ยของมนุษย์ลดลงจนเหลือเพียงแค่ 10-ปี เมื่อนั้นโลกของเราก็จะเข้าสู่ช่วงกลียุค ซึ่งเป็นช่วงที่คนส่วนใหญ่บนโลกจะถูกอกุศลกรรมครอบงำจิตใจ และในช่วงนี้เอง คนที่ถูกอกุศลกรรมครอบงำจิตใจ หรือพูดสั้นๆง่ายๆว่า “คนชั่ว” ก็จะออกมาฆ่าฟันกันเอง ส่วนคนดีหรือคนที่ประกอบแต่กุศลกรรม ซึ่งถือเป็นชนกลุ่มน้อยในยุคนั้น ก็จะพากันหลบหนีเข้าไปอยู่ในป่า เมื่อคนชั่วได้เข่นฆ่ากันเองจนตายเกือบหมดสิ้น คนดีก็จะกลับออกมา ครั้นกลับออกมาแล้ว เห็นคนชั่วนอนตายกันเกลื่อนเมือง คนดีก็จะเกิดอาการสลดใจว่า ทำไม…มนุษย์ต้องมาเข่นฆ่ากันเช่นนี้ 当人类的寿命只剩下10年之时,我们人类的世界就会处于混乱之中,那时世间的人类将会被恶业控制内心,被恶业控制内心的人类或简单的称为“罪恶之人”,他们将相互的残杀。而对于那些好人或行善之人,将在那个时代成为仅有的一小股力量,这些少数的善人将一起逃进森林中。当那些罪恶的人结束相互的残杀后,善人才会返回,当他们回来后,看见罪恶的人相互残杀后的满城尸体,他们就会悲痛的感觉到:为什么人类会如此的相互残杀呢?     หลังจากนั้น ผู้ที่เหลือรอดจากสงคราม…

พระวังคีสเถระ (Th Ch En)

พระวังคีสเถระ เอตทัคคะในทางผู้มีปฏิภาณ คือ ความสามารถในการผูกบทกวีคาถา พระวังคีสะ เกิดในตระกูลพราหมณ์ นครสาวัตถี ได้รับการศึกษาจบไตรเพท จนมี ความชำนาญเป็นที่พอใจของอาจารย์ จึงให้เรียนมนต์พิเศษอีกอย่างหนึ่งชื่อว่า “ฉวสีสมนต์” ซึ่งเป็นมนต์ เครื่องพิสูจน์ศีรษะซากศพมนุษย์ แม้จะตายไปแล้วถึง ๓๐ ปี โดยใช้นิ้วเคาะ หรือดีดที่หัวของศพหรือกะโหลก ก็จะรู้ว่าเจ้าของศีรษะ หรือกะโหลกนั้น ตายแล้วไปเกิดเป็นอะไร เกิดที่ ไหน ท่านมีความเชี่ยวชาญในมนต์นี้มาก จึงได้อาศัยมนต์นี้เป็นเครื่องเลี้ยงชีวิต และเริ่มมีชื่อ เสียงเลื่องลือมากขึ้น ต่อมา เขาได้ตั้งเป็นคณะมีผู้ร่วมงานทำกันเป็นระบบ มีการโฆษณาชักชวนให้คนมาใช้บริการ และตระเวนทั่วไปตามเมืองต่าง ๆ ด้วยวิธีการอย่างนี้ ประชาชนได้นำหัวกะโหลก ของญาติที่ตายไปแล้ว มาให้พิสูจน์กันมากมาย ชาวคณะของวังคีสะ ได้รับสิ่งตอบแทนมากขึ้น ซึ่งมีทั้งสิ่งของ อาหาร และเงินจำนวนมาก ทำให้มีฐานะร่ำรวยขึ้น พวกเขาได้ท่องเที่ยวไปตามเมืองต่าง ๆ แล้ว ย้อนกลับมายังเมืองสาวัตถี พักอยู่ในที่ไม่ไกล จากประตูพระเชตะวันมหาวิหารมากนัก ได้เห็นประชาชนถือดอกไม้ และ เครื่องสักการะ ไปยังวัดพระเชตวัน จึงถามว่า “ท่านทั้งหลายจะไปไหนกัน?”…

มหาทุคตะ (Th Ch En)

มหาทุคตะ ในยุคพระกัสสปพุทธเจ้า มีบัณฑิตผู้หนึ่งนิมนต์พระกัสสปพุทธเจ้าและพระภิกษุ 20,000 รูป เพื่อให้ไปฉันภัตตาหารในวันรุ่งขึ้น เมื่อพระพุทธองค์รับนิมนต์แล้วเขาได้เข้าไปในหมู่บ้านแล้วเดินบอกบุญให้ชาวบ้านช่วยกันรับเลี้ยงพระตามกำลังของตน “บางคนก็รับ 10 รูป, บางคนรับ 20 รูป, บางคนรับ 100 รูป, บางคนรับ 500 รูป ฯลฯ” เขาจดไว้ในบัญชีทั้งหมด ในสมัยนั้นมีชายคนหนึ่งชื่อว่า “มหาทุคตะ” เป็นคนยากจนที่สุดในเมืองนั้น บัณฑิตนั้นบอกเขาว่า “เพื่อนมหาทุคตะ ข้าพเจ้าได้นิมนต์ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธานเพื่อฉันในวันพรุ่งนี้ ชาวเมืองจักถวายทานกัน ท่านจักเลี้ยงภิกษุสักกี่รูป” มหาทุคตะกล่าวว่า “แม้ข้าวสารเพื่อทำข้าวต้มพรุ่งนี้ของผมยังไม่มี แล้วผมจะเลี้ยงพระได้อย่างไร”  บัณฑิตนั้นกล่าวว่า “เพื่อนมหาทุคตะ คนจำนวนมากในเมืองนี้บริโภคอาหารอย่างดี นุ่งผ้าอย่างดี ส่วนท่านทำงานรับจ้างตลอดวันยังไม่ได้อาหารแม้พออิ่มท้อง ท่านยังไม่รู้สึกหรือว่า ‘เพราะตนไม่ได้ทำบุญอะไรๆ ไว้ในอดีต” มหาทุคตะตอบว่า ผมทราบ. บัณฑิตนั้นกล่าวต่อว่า เมื่อเช่นนั้น ทำไมบัดนี้ท่านจึงไม่ทำบุญเล่า ท่านยังเป็นหนุ่ม มีเรี่ยวแรง ทำงานจ้างแล้วให้ทานตามกำลังจะไม่ควรหรือ ? มหาทุคตะสลดใจแล้วพูดว่า “คุณ จงลงบัญชีภิกษุให้ผมสัก 1 รูป, ผมจะทำงานจ้างสักอย่างแล้วจักถวายภัตตาหารแก่ภิกษุรูปหนึ่ง”…

กุมารกัสสปะ (Th Ch En)

กุมารกัสสปะ  เอตทัคคะในด้าน ผู้กล่าวธรรมได้อย่างวิจิตร บุรพกรรมในสมัยพระปทุมุตตระพุทธเจ้า ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ปทุมุตตระ ท่านเกิดเป็นบุตรเศรษฐี ในพระนครหงสาวดี วันหนึ่งท่านได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าเพื่อฟังพระธรรมเทศนา ได้ยืนฟังธรรมอยู่ท้ายหมู่พุทธบริษัท ได้แลเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสถาปนาภิกษุรูปหนึ่ง ไว้ในตำแหน่งภิกษุผู้เลิศ แห่งภิกษุผู้กล่าวธรรมได้ วิจิตร ท่านก็ปรารถนาจะได้อยู่ในตำแหน่งเช่นนั้นบ้างในสมัยพระพุทธเจ้าองค์ใดองค์หนึ่งในอนาคต จึงได้นิมนต์พระตถาคตแล้ว ประดับประดามณฑปให้สว่างไสวด้วยรัตนะนานาชนิด ด้วยผ้าอันย้อมด้วยสีต่าง ๆ ถึง ๗ วัน แล้วเอาดอกไม้ที่สวยงามต่าง ๆ ชนิดบูชา แล้วแสดงความปรารถนาในตำแหน่งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพิจารณาแล้วเห็นว่าความปรารถนาของเขาหาอันตรายมิได้ จึงได้ทรงพยากรณ์ดังนี้ “ในกัปที่แสนแต่ภัทรกัปนี้ พระศาสดามีนามว่าโคดม ซึ่งสมภพในวงศ์พระเจ้าโอกากราช จักเสด็จอุบัติขึ้นในโลก ผู้มีจักเป็นธรรมทายาทของพระศาสดาพระองค์นั้น จักได้เป็นสาวกของพระศาสดามีนามว่า กุมารกัสสปะ เพราะอำนาจดอกไม้ และผ้าอันวิจิตรกับรัตนะ เขาจักถึงความเป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย ผู้กล่าวธรรมกถาอันวิจิตร” จากนั้นเขากระทำกรรมอันเป็นกุศลอยู่เป็นนิจ ครั้นสิ้นชีวิตแล้วก็ท่องเที่ยวอยู่ในภูมิเทวดาและภูมิมนุษย์ทั้งหลาย บุรพกรรมในสมัยพระกัสสปพุทธเจ้า ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่ากัสสปะ เขาได้บังเกิดในตระกูลแห่งหนึ่ง ได้ออกบวชหลังจากที่พระผู้มีพระภาคเจ้าปรินิพพานแล้ว ในเวลาต่อมาเมื่อพระศาสนาใกล้จะเสื่อมสิ้นลง เขาและภิกษุอีก ๖ รูป มองเห็นความเสื่อมในการประพฤติของบริษัท ๔ ก็พากันสังเวชสลดใจ คิดว่า ตราบใดที่พระศาสนายังไม่เสื่อมสิ้นไป พวกเราจงเป็นที่พึ่งแก่ตนเองเถิด…

เรื่องชน 3 กลุ่ม (Th Ch En)

เรื่องชน 3 กลุ่ม ทำกรรมไม่ดีไว้แต่อดีตชาติ และมาเสวยผลกรรมในปัจจุบัน เรื่องนี้เป็น กฎแห่งกรรม ที่ใครไม่สามารถหลบหลีกได้ ในมิติ อปราปริยเวทนียกรรม(กรรมให้ผลในภพต่อมา) เป็นเรื่องเกิดขึ้นเมื่อคราวที่พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตะวัน ทรงปรารภชน 3 คน ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า อนฺตลิกฺเข น สมุทฺทมชฺเฌ เป็นต้น เรื่องมีอยู่ว่า มีภิกษุ 3 กลุ่มมีประสบการณ์ไปพบเห็นที่แตกต่างกัน คือ ภิกษุกลุ่มที่หนึ่งจะเดินทางมาเข้าเฝ้าพระศาสดา ในระหว่างทางได้ไปแวะพักอยู่ที่หมู่บ้านแห่งหนึ่ง ขณะที่พวกชาวบ้านกำลังตระเตรียมปรุงอาหารบิณฑบาตถวายพระสงฆ์อยู่นั้น มีบ้านหลังหนึ่งเกิดไฟไหม้ และมีเสวียนไฟ (ลักษณะเป็นวงกลม) ปลิวขึ้นสู่ท้องฟ้า และมีอีกาตัวหนึ่งบินสอดคอเข้าไปในวงเสวียนไฟตกลงมาตายที่กลางหมู่บ้าน ภิกษุทั้งหลายเห็นอีกาบินสอดคอเข้าไปในเสวียนตกลงมาตายเช่นนั้น ก็กล่าวว่า จะมีก็แต่พระศาสดาเท่านั้นที่จะทรงทราบกรรมชั่วที่ส่งผลให้อีกาตัวนี้ต้องมาประสบชะตากรรมเสียชีวิตอย่างสยดสยองครั้งนี้ ภิกษุกลุ่มที่สอง โดยสารเรือจะไปเฝ้าพระศาสดา เมื่อเรือลำนั้นเดินทางมาถึงกลางมหาสมุทร เกิดการหยุดนิ่งอยู่กับที่ พวกผู้โดยสารมากับเรือต่างปรึกษาหารือกันถึงสาเหตุที่ทำให้เรือหยุด เห็นว่าในเรือน่าจะมีคนกาลกัณณี จึงได้ทำสลากแจกให้แต่ละคนจับเพื่อค้นหาคนกัณณีคนนั้น ปรากฏว่าสลากคนกาลกัณณีนั้น ภรรยาของนายเรือจับได้ถึงสามครั้ง นายเรือจึงกล่าวขึ้นว่า คนทั้งหลายจะมาตายเพราะหญิงกาลกัญณีคนนี้ไม่ได้ จึงจับภรรยาของนายเรือ ใช้กระสอบทรายมัดที่คอแล้วผลักตัวลงไปในน้ำทะเล เมื่อหญิงภรรยาของนายเรือถูกจับถ่วงน้ำไปแล้ว เรือก็สามารถเคลื่อนตัวได้อย่างปาฏิหาริย์ เมื่อภิกษุเหล่านั้นเดินทางถึงจุดหมายปลายทางแล้ว ก็ขึ้นฝั่งจะเดินทางต่อไปเฝ้าพระศาสดา พระกลุ่มนี้ตั้งใจว่าจะทูลถามว่า หญิงผู้นี้ทำกรรมชั่วอะไรไว้…

มหาทุคตะ (Th Ch En)

มหาทุคตะ ในยุคพระกัสสปพุทธเจ้า มีบัณฑิตผู้หนึ่งนิมนต์พระกัสสปพุทธเจ้าและพระภิกษุ 20,000 รูป เพื่อให้ไปฉันภัตตาหารในวันรุ่งขึ้น เมื่อพระพุทธองค์รับนิมนต์แล้วเขาได้เข้าไปในหมู่บ้านแล้วเดินบอกบุญให้ชาวบ้านช่วยกันรับเลี้ยงพระตามกำลังของตน “บางคนก็รับ 10 รูป, บางคนรับ 20 รูป, บางคนรับ 100 รูป, บางคนรับ 500 รูป ฯลฯ” เขาจดไว้ในบัญชีทั้งหมด ในสมัยนั้นมีชายคนหนึ่งชื่อว่า “มหาทุคตะ” เป็นคนยากจนที่สุดในเมืองนั้น บัณฑิตนั้นบอกเขาว่า “เพื่อนมหาทุคตะ ข้าพเจ้าได้นิมนต์ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธานเพื่อฉันในวันพรุ่งนี้ ชาวเมืองจักถวายทานกัน ท่านจักเลี้ยงภิกษุสักกี่รูป” มหาทุคตะกล่าวว่า “แม้ข้าวสารเพื่อทำข้าวต้มพรุ่งนี้ของผมยังไม่มี แล้วผมจะเลี้ยงพระได้อย่างไร”  บัณฑิตนั้นกล่าวว่า “เพื่อนมหาทุคตะ คนจำนวนมากในเมืองนี้บริโภคอาหารอย่างดี นุ่งผ้าอย่างดี ส่วนท่านทำงานรับจ้างตลอดวันยังไม่ได้อาหารแม้พออิ่มท้อง ท่านยังไม่รู้สึกหรือว่า ‘เพราะตนไม่ได้ทำบุญอะไรๆ ไว้ในอดีต” มหาทุคตะตอบว่า ผมทราบ. บัณฑิตนั้นกล่าวต่อว่า เมื่อเช่นนั้น ทำไมบัดนี้ท่านจึงไม่ทำบุญเล่า ท่านยังเป็นหนุ่ม มีเรี่ยวแรง ทำงานจ้างแล้วให้ทานตามกำลังจะไม่ควรหรือ ? มหาทุคตะสลดใจแล้วพูดว่า “คุณ จงลงบัญชีภิกษุให้ผมสัก 1 รูป, ผมจะทำงานจ้างสักอย่างแล้วจักถวายภัตตาหารแก่ภิกษุรูปหนึ่ง”…