ชัยชนะครั้งที่ 3 พระพุทธเจ้ามีชัยชนะต่อช้างนาฬาคีรี (Th Ch)

ชัยชนะอันยิ่งใหญ่ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า…ตอนที่ 3 พระพุทธเจ้ามีชัยชนะต่อช้างนาฬาคีรี 佛陀战胜醉象那拉其陵的伟大胜利(第三次) พระผู้มีพระภาคเจ้าจอมมุนี ได้ชัยชนะต่อช้างตัวประเสริฐ ชื่อนาฬาคีรี ซึ่งเป็นช้างตกมัน สุดแสนที่จะทารุณร้ายกาจ ด้วยนํ้าพระเมตตา ด้วยเดชแห่งชัยชนะของพระพุทธเจ้านั้น ขอชัยมงคลทั้งหลายจงบังเกิดมีแก่ท่าน 面对醉狂的、凶残的御象那拉其陵,世尊以慈悲的甘露调伏了他;以此威德力,愿您获得胜利吉祥。 สมัยหนึ่ง พระเทวทัตมีความปรารถนาที่จะปกครองสงฆ์เอง ขาดความเคารพในพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงคบหากับพระเจ้าอชาตศัตรูและทำสัญญากันว่า “ถ้ามหาบพิตรปลงพระชนม์พระบิดาแล้วเป็นพระราชา อาตมภาพจะปลงพระชนม์พระพุทธเจ้าแล้ว จักเป็นพระพุทธเจ้า” 那时,提婆达多比丘缺乏对佛陀的尊敬,想要自己统摄僧团,于是找到阿阇世王子,并约定:“您杀死父亲,成为国王;我杀死世尊,成为佛陀。”  พระเทวทัตเข้าไปในโรงช้าง สั่งคนเลี้ยงช้าง ให้ช้างนาฬาคิรีดื่มเหล้าถึง ๑๖ หม้อ แล้วให้ปล่อยไปในเวลาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จไปบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์ เมื่อช้างถูกมอมเหล้า เกิดอาการเมาอย่างหนัก เป็นช้างตกมัน ดุร้ายเกรี้ยวกราด ไม่มีใครจะห้ามได้ ทันทีที่ถูกปล่อยออกจากโรงช้าง มันรีบวิ่งตรงไปตามถนน ขณะนั้น พระบรมศาสดาเสด็จเข้าไปในกรุงราชคฤห์พร้อมภิกษุ ๕๐๐ รูป ทรงพระดำเนินมาถึงตรอกนั้น ช้างได้ชูงวง วิ่งรี่ตรงไปทางที่พระพุทธองค์เสด็จดำเนินทันที 提婆达多比丘进入大象舍,命令象师给那拉其陵大象喝了16罐酒,然后在佛陀前往王舍城托钵的时候释放它。当大象喝醉后,表现得非常狂暴、凶恶,没有人能够阻止它。一旦醉象被释放出来,它立即沿着道路奔跑。与此同时,佛陀和500位比丘进入王舍城的街道。醉象举起鼻子,朝着佛陀行进的方向奔跑。 ภิกษุสงฆ์ที่ตามเสด็จเห็นดังนั้น พากันกราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า “พระพุทธเจ้าข้า ช้างนาฬาคิรีตัวนี้ดุร้าย หยาบช้า ฆ่ามนุษย์ กำลังวิ่งเข้ามาในตรอกนี้ ขอพระสุคตเจ้าจงเสด็จกลับเถิด” พระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้เสด็จกลับ ทรงตรัสว่า “มาเถิดภิกษุ เธออย่ากลัวเลย ภพชาตินี้ไม่ใช่โอกาส…

ชัยชนะครั้งที่ 2 พระพุทธองค์ทรงเอาชนะยักษ์ (Th Ch)

ชัยชนะครั้งที่ 2 พระพุทธองค์ทรงเอาชนะยักษ์ 佛陀战胜夜叉的伟大胜利(第二次) บทสรรเสริญพุทธคุณใน พุทธชัยมงคลคาถา บทที่2 หมายความว่า “พระจอมมุนีได้ชัยชนะต่ออาฬวกยักษ์ ผู้มีจิตสันดานหยาบกระด้าง มีฤทธิ์มาก ได้เข้ามาต่อสู้จนตลอดทั้งคืน ด้วยวิธีทรมานอย่างดี คือขันติธรรมด้วยเดชแห่งชัยชนะนั้น ขอจงมีแก่ท่านเถิด” 在赞颂佛陀伟大胜利经文的第二段,意思是:“佛陀以忍辱的高尚德行,整夜持续的与具多种神通且嗔心重的阿拉哇嘎夜叉战斗,并最终降服了夜叉;以此威德力,愿您获得胜利吉祥。” เรื่องก็มีอยู่ว่า ในสมัยพุทธกาล พระราชาเมืองอาฬวี ถูกยักษ์จับ แต่พระองค์ทรงให้สัญญากับยักษ์ว่า ถ้าปล่อยตัวไป จะส่งคนมาให้ยักษ์กินเป็นอาหารทุกวัน หลังจากนั้น พระองค์ก็ทรงรับสั่งให้ส่งนักโทษ ไปให้ยักษ์กินทุกวัน จนเรือนจำหมดนักโทษ พระราชาให้ส่งเด็กทารกเกิดใหม่ส่งไปให้ยักษ์กิน ทำให้หญิงที่ใกล้จะคลอดลูก ต้องหลบหนีไปคลอดที่อื่น เหลือแต่อาฬวกุมารเพียงพระองค์เดียว ถึงกระนั้น พระองค์ก็ตัดสินพระทัยให้นำพระกุมารลูกของพระองค์ไปให้ยักษ์กิน 在佛陀时代,有一个名叫阿罗毗的国王被夜叉囚禁。国王与夜叉达成协议:如果释放国王,国王每天会送来一个人,作为夜叉的食物。国王回去后,下令将罪犯送给夜叉作为食物,直到监狱里的罪犯全部被夜叉吃完了。国王下令将新生婴儿送给夜叉,以至于那些即将分娩的妇女不得不逃到其它地方生孩子,最后只剩下国王的儿子。即便如此,国王决定将自己的孩子送给夜叉。 พระบรมศาสดาซึ่งประทับอยู่ที่วัดพระเชตวันวิหาร ตรวจดูสัตว์โลกในเวลาใกล้รุ่งด้วยพุทธจักขุ พระพุทธองค์ก็รู้ว่ายักษ์จะได้บรรลุพระโสดาบัน พระองค์จึงเสด็จออกไปยังที่อยู่ของยักษ์ เป็นระยะทางไกลถึง 300 โยชน์ พระองค์เสด็จเข้าไปประทับยืนอยู่ประตูวิมานของยักษ์ เพราะว่ายักษ์ไปประชุมที่สมาคมยักษ์ 当时佛陀在祇园精舍,晨曦时以法眼观众生,知道夜叉将会证入须陀洹果。因此,佛陀前往距离300由旬,夜叉所在的地方。因为夜叉去参加集会,佛陀就站在夜叉宫殿的门口。 เมื่อยักษ์กลับมาเห็นพระพุทธเจ้าก็โกรธมาก ลุกขึ้นยืนบนพื้นมโนศิลาด้วยเท้าซ้าย เท้าขวาเหยียบยอดเขาไกรลาส โดยตั้งใจใช้ลมพายุทำลายพระพุทธเจ้า แต่ก็ทำไม่ได้แม้ลมจะแรงมากปานใดก็ตาม 当夜叉回来看到佛陀时,非常的愤怒。高大的夜叉站起来,左脚踩在地板上,右脚踩在山顶上,故意用龙卷风伤害佛陀。但即使风暴非常强烈,也无法伤害佛陀。 ต่อมายักษ์ก็ใช้ห่าฝนเพื่อทำลายพระพุทธเจ้าอีก เพื่อให้น้ำท่วมพระพุทธองค์ให้ตาย แม้ฝนจะแรงมากขนาดทำให้แผ่นดินแตกเป็นช่อง แต่ก็ไม่ทำให้จีวรพระองค์เปียกได้ 夜叉试图用倾盆大雨淹没佛陀,以此杀害佛陀。即使雨势非常强烈,大地被猛烈的洪水冲断,也无法弄湿佛陀的袈裟。…

เสขิยวัตร โภชนปฏิสังยุต (Th Ch)

เสขิยวัตร  หมวดโภชนปฏิสังยุต  ตอนที่  ๑ 应学法之用餐礼仪 พระครูวินัยธรไพบูลย์  ธมฺมวิปุโล เสขิยวัตร คือ มารยาทอันงดงามของพระภิกษุ เรื่องมารยาทนี้ มีประโยชน์อยู่  ๒ ข้อ 应学法是关于比丘稳重得体的行为举止,此礼仪有两个益处: ๑. ปกปิดความไม่งามของตัวเอง เพราะว่าสิ่งใด ๆ ก็ตามที่เป็นธาตุหยาบที่ออกจากร่างกายของเรา จะเป็นของแข็ง ของเหลว หรือ ก๊าซ  ออกทางทวารทุกทวาร ตั้งแต่ตาของเรา หู จมูก ปาก  ทวารหนัก ทวารเบา หรือผิวหนัง ทั้งของแข็ง  ของเหลว ก๊าซ ออกมาแล้ว ไม่มีอะไรงาม น่ารังเกียจทั้งนั้น มารยาทนั้นมีหน้าที่ปกปิดความไม่งามเหล่านี้ 一、遮蔽我们身体肮脏的一面。因为从我们身体排出的各种物质,如从眼睛、耳朵、鼻子、嘴巴、肛门、皮肤所排出的各种固态、液态、气态的废弃物,都是让人厌恶的。得体的礼仪就能遮蔽肮脏的这一面。 ๒. มารยาทนั้นเป็นเหมือนลมในยาง ป้องกันการกระทบกระทั่งในการอยู่ร่วมกันของคนหมู่มาก และการฝึกมารยาทเหล่านี้ เสขิยวัตรเหล่านี้ เนื่องจากว่าเป็นของใกล้ตัว มันเป็นเรื่องที่เราต้องใช้ทุกวัน การนุ่งห่ม การแต่งกายใช้ทุกวัน การขบฉันภัตตาหารใช้ทุกวัน การแสดงธรรมใช้เป็นประจำ การขับถ่ายใช้เป็นประจำ เนื่องจากเราใช้เป็นประจำ ถ้าเราฝึกอยู่เป็นประจำ นั้นก็คือ…

เสขิยวัตร หมวดสารูป (Th Ch)

เสขิยวัตร หมวดสารูป ข้อ ๑-๒ 应学法之举止端庄 1-2 พระครูวินัยธรไพบูลย์  ธมฺมวิปุโล หมวดสารูปนี่จะครอบคลุมเรื่องการแต่งกายของพระภิกษุ รวมถึงมารยาท บุคลิกภาพ และการวางตัว เมื่อเข้าไปสู่ที่ประชุมชน เข้าไปสู่บ้านญาติโยม 应学法之举止端庄包含了比丘着装礼仪,以及进入村庄、集会时应有的言行举止。 ข้อที่ ๑-๒ เราจะนุ่งห่มให้เรียบร้อย 1-2. 我要圆整的穿袈裟、下衣; พระภิกษุมีผ้าหลัก ๆ อยู่ ๓ ผืน เรียกว่า ไตรครอง คือ ผ้าพาดบ่าเป็นสังฆาฏิ ผ้าห่มคลุมกายเรียกว่าผ้าจีวร  ส่วนผ้านุ่งคล้าย ๆ ผ้าถุงของสตรี เรียกว่าสบงไว้ใช้นุ่ง นี้คือผ้าสามผืน 比丘的主要衣物有三件,称为“三衣”:披在肩上的僧伽利;包裹身体的称为袈裟;至于和女性裙子类似的、包裹下身的,称为下衣。 การนุ่ง เวลาจะนุ่งสบงให้เรียบร้อย 圆整的穿下衣: ประการแรก ขอบผ้าด้านบนต้องปิดสะดือ ไม่ต่ำกว่าสะดือ 第一点,下衣的上缘必须盖住肚脐,不低于肚脐; ประการที่ ๒ ขอบผ้าด้านล่างต้องได้กึ่งกลางของหน้าแข้ง 第二点,下衣的下缘必须遮盖到小腿的一半; ประการที่ ๓ ชายผ้าสบงต้องสม่ำเสมอเป็นปริมณฑล เหมือนแก้วน้ำที่คว่ำลง เวลาแก้วน้ำคว่ำลงขอบจะเรียบเสมอกัน ไม่ย้วยหน้าหรือย้วยหลัง อันนี้คือความหมายของคำว่าเรียบร้อยในการนุ่งสบง 第三点,下衣的下摆要圆整齐平,如同倒置的水杯,边缘是平齐一致的,没有前后参差不齐。这就是圆整的穿下衣。…

ศิลปะการอยู่ร่วมกัน (Th Ch)

ศิลปะการอยู่ร่วมกัน 共住的艺术 วัตถุประสงค์ 目的 ๑. เพื่อให้เป็นแนวทางในการประพฤติปฏิบัติ และเป็นวัฒนธรรมอันดีงามของพระภิกษุ อันจะนำมาซึ่งความเสื่อมใสศรัทธาแห่งมหาชน 1.规范行为准则,建立如法的出家人文化,否则会影响信众的信仰。 ๒. เพื่อให้เกิดความผาสุกในการอยู่ร่วมกัน การประพฤติพรหมจรรย์ และการสร้างบารมีเป็นหมู่คณะ 2.有助于大家和谐相处,勤修梵行,作为一个团体共修波罗蜜。 ๓. เพื่อเป็นที่ตั้งแห่งความเสื่อมใสศรัทธาของสมาชิกและสาธุชน 3.有助于增长僧信的信仰。 ๔. เพื่อเป็นต้นแบบทางด้านวัฒนธรรมของพุทธบริษัทสืบไป 4.成为后辈佛弟子的文化典范。 ๕. เพื่อธำรงรักษาไว้ซึ่งวิชชาธรรมกาย 5.有助于护持与传承法身法门。 บทนำ 导言 มนุษย์เป็นสัตว์สังคม อยู่กันเป็นกลุ่ม ต้องเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันอยู่ตลอดเวลา  ทั้งกาย วาจา และใจ ถ้าหากไม่สามารถจะบริหารความสัมพันธ์ได้ ความสงบสุขในในการอยู่ร่วมกันก็ไม่สามารถบังเกิดขึ้นถึงแม้ว่าทุกคนต่างก็มีข้อบกพร่องในตน แต่ถ้าหากรู้จักหลักการ  หรือศิลปะในการอยู่ร่วมกัน และได้ปฏิบัติตามหลักการนั้นแล้ว ก็จะสามารถอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข รักใคร่ปรองดอง สามัคคีพร้อมเพรียงกัน ยังผลให้จิตใจสงบสบายไม่ขุ่นมัว  สามารถรักษาใจให้หยุดนิ่งที่ศูนย์กลางกายได้อย่างต่อเนื่องตลอดทั้งวัน 人是社会性动物,作为群体共同居住生活,彼此在身体、语言和思想上始终紧密相连。如果处理不好彼此关系,就无法实现和谐共处。虽然每个人都有缺点,但如果了解共同居住的原则并严格遵守就能和谐共处。此外,还有助于净化心灵,让心清净不浑浊,持续安住在身体中央。 ๑.หลักแห่งการอยู่ร่วมกับ (สาราณียธรรม) 1.共住原则(六和敬) พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงหลักแห่งการอยู่ร่วมกันไว้ในสาราณียธรรม คือ ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งการระลึกกันไว้ดังนี้ 佛陀在六和敬中阐述了共住的原则,内容如下: ๑.๑ เมตตากายกรรม ช่วยเหลือกิจธุระของผู้ร่วมหมู่คณะด้วยความเต็มใจ เคารพนับถือกัน 1.1慈身业(身和同住):乐于相互帮忙处理事务,相互尊重与包容。 ๑.๒…

สังคมพระภิกษุสงฆ์ (Th Ch)

สังคมแห่งความสุข (สังคมพระภิกษุสงฆ์) 和合之乐 การอยู่ร่วมกันเป็นหมู่คณะ ถ้าขาดระเบียบวินัย ต่างคนต่างทำตามอำเภอใจ ความขัดแย้งก็จะเกิดขึ้น ยิ่งมากคนก็ยิ่งมากเรื่อง ไม่มีความสงบสุข  การงานที่ทำก็จะเสียผล 一个团体共处,若缺少纪律,随心随欲地生活,就很容易发生冲突,所谓人多事杂,很难和合相处,工作也会受到影响。 ดอกไม้จำนวนมากที่วางรวมกัน หากวางอยู่ระเกะระกะกระจัดกระจาย ก็จะด้อยค่าลง  ทั้งยังทำให้รกรุงรังอีกด้วย แต่เมื่อเรานำดอกไม้เหล่านี้มาร้อยรวมเข้าด้วยกันด้วยเส้นด้าย ดอกไม้เหล่านี้ก็จะกลายเป็นพวงมาลัยอันงดงาม เหมาะที่จะนำไปประดับตกแต่งให้เจริญตาเจริญใจ ถ้าคนแต่ละคนเปรียบเสมือนดอกไม้แต่ละดอก เส้นด้ายที่ใช้ร้อยดอกไม้ให้รวมกันอย่างมีระเบียบงดงามนั้นก็เปรียบเสมือนวินัย 假设有许多鲜花,可是却随意乱放,很难体现其价值,而且还会因凌乱而碍眼。倘若将这些鲜花用线串联起来,就会变成一串美丽的花环,成为赏心悦目的装饰品。如果一朵鲜花代表一个人,那么将鲜花整齐串联的线,则等同于纪律。 วินัย หมายถึง ระเบียบ กฎเกณฑ์ ข้อบังคับ สำหรับควบคุมความประพฤติทางกาย วาจา ของคนในสังคมให้เรียบร้อยดีงาม  เป็นแบบแผน อันหนึ่งอันเดียวกัน จะได้อยู่ร่วมกันด้วยความสุขสบาย ไม่กระทบกระทั่งซึ่งกันและกัน  วินัยช่วยให้คนในสังคมห่างไกลจากความชั่วทั้งหลาย 纪律指应遵循的规范准则或规章制度,约束个人的身口意,使每个人具备良好的行为,在和谐的社会里和合共处,没有冲突,远离诸恶。 สังคมแห่งความสุขที่สืบทอดมา 2500 กว่าปีจนถึงปัจจุบันนี้ ก็คือสังคมของพระภิกษุในพระพุทธศาสนา  จุดมุ่งหมายสูงสุดชีวิต คือความหมดกิเลส  ซึ่งผู้ที่จะหมดกิเลสได้ต้องมีปัญญาอย่างยิ่ง ผู้จะมีปัญญาอย่างยิ่งได้จะต้องมีสมาธิอย่างยิ่ง ผู้จะมีสมาธิอย่างยิ่งได้  จะต้องตั้งอยู่บนฐานของศีลอย่างยิ่ง  คือ วินัย ๔ ประการอันเป็นพื้นฐานของความบริสุทธิ์ ได้แก่ 佛教僧团组织历经2500多年薪火相传至今,一直秉承同一个目标,即断尽一切烦恼。断尽烦恼者,应具足大智慧;具足大智慧者,应具足正定;具足正定者,应具足戒律。持戒者应清净持守四种清净戒,分别为: ๑. สำรวมอยู่ในศีล ๒๒๗ ข้อ …