ศีล…เป็นที่ตั้งแห่งความดีงาม
Sila, the Basis of Goodness
戒——善美的基础
ศีล คือ อะไร
คำว่า ศีล นั้น มาจากคำศัพท์อันไพเราะ และลึกซึ้งอย่างที่เราคาดไม่ถึงเลยทีเดียว กล่าวคือ
ศีล มาจากคำว่า สิระ ซึ่งแปลว่า ศีรษะ หรือ ยอด เพราะผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็นยอดคนนั้น แท้จริงหาใช่อยู่ที่การมีทรัพย์สิน อำนาจ หรือความรู้ความสามารถเหนือกว่าผู้อื่นไม่ หากแต่อยู่ที่ความบริสุทธิ์แห่งศีล อันเป็นที่ยอมรับยกย่องของบัณฑิตว่า ผู้มีศีลย่อมประเสริฐที่สุด
ศีล มาจากคำว่า สีละ ซึ่งแปลว่า ปกติ เพราะปกติของคนเรานั้นย่อมรักชีวิตของตน และเห็นคุณค่าชีวิตของคนอื่น เมื่อมีความรู้สึกเช่นนี้ จึงยินดีในการรักษาศีล เพราะไม่ปรารถนาจะเบียดเบียนซึ่งกันและกัน การรักษาศีลจึงเป็นการนำไปสู่ความเป็นคนที่ปกติสมบูรณ์
ศีล มาจากคำว่า สีตะละ ซึ่งแปลว่า เย็น เพราะผู้ที่รักษาศีล จะมีความเย็นกาย เย็นใจ ดุจดังบุคคลผู้อาบน้ำชำระกายหมดจดดีแล้ว นั่งพักอยู่ ณ ร่มไม้ใหญ่ ความสงบเยือกเย็นนี้ แม้ผู้ที่อยู่ใกล้ก็จะรู้สึกปลอดภัย เย็นใจไปด้วย
ศีล มาจากคำว่า สีวะ ซึ่งแปลว่า ปลอดโปร่ง เพราะผู้ที่รักษาศีลย่อมเป็นผู้บริสุทธิ์ ไม่ว่าจะนึกถึงการกระทำของตนเรื่องใด ก็ไม่มีสิ่งใดเป็นโทษ ไม่มีสิ่งใดเดือดร้อนกังวลใจ จึงมีชีวิตที่ปลอดโปร่งโล่งใจ และปลอดจากเวรภัยทั้งหลาย
ดังนั้น ศีล จึงเป็นคุณธรรมที่ทำให้เข้าถึงความเป็นยอดคน เป็นบุคคลผู้สมบูรณ์แบบ มีความเป็นปกติ เป็นผู้ที่เย็นกายเย็นใจ และมีชีวิตที่ปลอดโปร่ง ทปลอดภัยอยู่เสมอ
What Is Sila?
“Sila” is a Pali word and it has several lovely and deep meanings.
The word “Sila” is derived from the word “Sira” which means the head or the top. A top person is not defined by his material wealth, his power, his knowledge or his ability but he is defined by the purity derived from his Sila practice. It is said by the sages that a person who practices Sila is the most sublime person.
The word “Sila” also means normalcy. For example, it is normal for a person to cherish his life and see the value in the life of another person. This feeling makes him glad to be practicing Sila because he has no wish to harm any living being. Therefore, Sila practice makes one a normal human being.
The word “Sila” is derived from the word “Sitala” which means “coolness”. The reason is that a person who practices Sila experiences coolness physically and mentally like a person who has just taken a bath and is resting under a shady tree. This coolness can be sensed by those around him making them feel safe and cool as well.
The word “Sila” is derived from the word “Siva” which means free. A person who practices Sila is pure in action because none of his actions brings about harm or trouble. Therefore, he lives a safe and free life.
Sila practice makes one a top person, a whole person, a normal person whose body and mind are marked by coolness and whose life is safe and free.
戒的定义
“戒”源自于既美妙又深刻的词汇,让人感觉有些不可思议。
“戒”衍生自“顶端”,蕴含“头”或“首”之义。被公认为众人之首者,不是指其在财富、权利或能力位于众人之上,而是因其持戒清净所故。智者认为持戒者,乃最为高尚卓绝之人。
“戒”衍生自“戒行”,蕴含“正常”之义。我们若既珍爱自己的生命,也重视他人的生命。有此感受,即会乐于持戒,因为不希望彼此受侵扰。因此,持戒会让人趋向于正常。
“戒”衍生自“寒冷”,蕴含“清凉”之义。持戒者会身心清凉,犹如人沐浴后,坐在大树下乘凉歇息。这种清凉安宁的状态,不仅会让亲近者感觉安全,心境也会随着神清气爽。
“戒”衍生自“安泰”,蕴含“舒畅”之义。持戒者实为清净者,每当忆念自身行为,毫无罪恶感。也没有任何事情让心生忧愁,具舒畅安泰的生命,远离一切危难。
因此,戒是培育人,使其成为众人之首,趋向于完美、正常、清净,以及生命安泰之品德。
นี่คือความหมายตามนัยแห่งศัพท์ อันเป็นที่มาของคำว่า ศีล
ส่วนความหมาย ที่ปรากฏอยู่ในคัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรค นั้น พระสารีบุตรได้กล่าวว่า
“ศีล คือ เจตนา ความตั้งใจที่จะงดเว้นจากกายทุจริต ๓ (ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ประพฤติผิดในกาม) และวจีทุจริต ๔ (ไม่พูดเท็จ ไม่พูดคำหยาบ ไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดเพ้อเจ้อ)
ศีล คือ เจตสิก หมายถึงการงดเว้นจากมโนทุจริต ๓ (ไม่อยากได้ของผู้อื่น ไม่พยาบาท มีความเห็นชอบ)
ศีล คือ ความสำรวมระวัง ปิดกั้นความชั่ว
ศีล คือ การไม่ล่งละเมิดข้อห้าม”
แม้ศีลจะมีหลายความหมาย แต่ที่สำคัญที่สุด คือ เจตนา ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่า
“ศีล คือ ความตั้งใจที่จะงดเว้นจากความชั่ว ความทุจริต สิ่งที่ไม่ดีทุกประการ”
การรักษาศีล จึงเป็นบุญกิริยาวัตถุ คือวิธีการทำบุญอย่างหนึ่ง เพราะทุกครั้งที่เราตั้งใจงดเว้นจากความชั่ว ตั้งใจที่จะไม่เบียดเบียนใคร ย่อมจะเกิดกระแสแห่งความดี เกิดความเมตตาขึ้นมาในใจ ที่เราเรียกว่า กระแสบุญ อันเป็นเครื่องชำระจิตใจของเราให้สะอาดบริสุทธิ์ การรักษาศีลจึงเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิต และจิตใจให้บริสุทธิ์ดีงามยิ่งขึ้น
นอกจากนี้ ศีลยังเป็นคุณธรรมอันงามด้วยคุณลักษณะ ๒ ประการ คือ เป็นคุณธรรมที่รักษา กาย วาจา ให้เป็นระเบียบเรียบร้อย และเป็นคุณธรรมอันจะนำไปสู่กุศลธรรมเบื้องสูง คือ สมาธิ และปัญญาต่อไป
These are the different meanings of the word “Sila”.
The meaning of “Sila” as appeared in the Patisambhidamagga is derived from Venerable Sariputra’s comment. He said that Sila means intention, that is, the intention to abstain from the three forms of physical dishonesty (no killing, no stealing, no sexual misconduct) and the four forms of verbal dishonesty (no lying, no offensive speech, no divisive speech, and no nonsensical speech).
Sila means mental factors. It means abstaining from the three forms of mental dishonesty (no covetousness, no ill-will, and having Right View).
Sila means being restrained and watchful; it means being removed from unwholesomeness.
Sila means not transgressing the disciplinary rules.
Although the word “Sila” may have different meanings but its most important meaning is “intention”. Therefore, it can be said that “Sila is the intention to abstain from all evil, all dishonesty, and all unwholesomeness.”
Sila practice is one of the ways of making merit because each time one intends to abstain from evil and from harming others; it means that one is feeling love and kindness in his mind. Such a feeling gives rise to the current of goodness or the current of merit. The current of merit, in turn, cleanses one’s mind. Therefore, Sila practice works to improve the quality of one’s life and enables one’s mind to become increasingly pure.
In addition, Sila has two characteristics. Firstly, it is the virtue that safeguards one’s body and speech. Secondly, it is the virtue that leads to higher virtues, namely, Samadhi (one-pointedness of the mind) and Panna (supernormal insight as a result of elevated meditative attainments).
这就是“戒”的来源与定义。
对于戒在《无碍解道》中的定义,舍利弗尊者解释道:戒意为“动机”,指有意远离三身恶行(杀生、偷盗与邪淫)与四语恶行(妄语、两舌、恶口与绮语)。
戒意为“心所”,指远离三种意恶行(贪、嗔、邪见)
戒意为“自制警醒”,指封锁罪恶之源头。
戒意为“不违背禁忌”。
虽然戒有多层定义,但最重要的是“动机”。综上所述,戒指有意远离一切罪恶、非正当及不善行。
持戒算是戒类福业事,是一种修功德的方式。当我们戒除罪恶,决心不侵扰他人,必将会在内心生起善意与慈悲,此称为功德的力量。它是一种净化心灵,使之清净无染的工具。因此,持戒有升华生命与净化心灵的作用。
除此之外,戒也含有两种高尚的品德属性,一、防护身口意,使之清净。二、有助于迈向更高境界的善法,即定与慧。
วัตถุประสงค์ของศีล
การรักษาศีลนั้น มีวัตถุประสงค์ ดังนี้
๑. เพื่อเป็นการป้องกันชีวิตของเราในภพชาติปัจจุบันนี้ ไม่ให้พบกับความทุกข์ ความเดือดร้อนและความเสื่อมเสีย อันเนื่องมาจากการเบียดเบียนผู้อื่น
๒. เพื่อเป็นการป้องกันชีวิตของเราในภพชาติต่อไป ไม่ให้พบกับความทุกข์ ความเดือดร้อนและความเสื่อมเสีย อันเนื่องมาจากการเบียดเบียนผู้อื่น
๓. เพื่อให้เกิดความสุข ความดีงาม ในการดำเนินชีวิต
๔. เพื่อให้เกิดความสงบร่มเย็น และความดีงามแก่ครอบครัวและสังคม
๕. เพื่อที่จะนำไปสู่คุณธรรมที่สูงขึ้นไป ได้แก่ สมาธิ และปัญญา อันจะทำให้บรรลุมรรคผลนิพพานได้
Why Must One Practice Sila?
We practice Sila in order …
- To safeguard our life in the current existence, to protect it from the suffering, trouble, and harm that result from other people’s misdeeds.
- To safeguard our life in the next existence, to protect it from the suffering, trouble, and harm that result from other people’s misdeeds.
- To bless us with happiness.
- To bless us, our family, and our society with peace and happiness.
- To enable us to cultivate higher virtues, namely, Samadhi (one-pointedness of the mind) and Panna (supernormal insight as a result of elevated meditative attainments), which will lead us to attain the Path and Fruit of Nibbana.
戒的宗旨
持戒的宗旨:
1.庇护今生的生命,不受他人的侵扰而生痛苦、焦虑与堕落。
2.庇护来世的生命,不受他人的侵扰而生痛苦、焦虑与堕落。
- 拥有快乐及美好的生活。
- 在家庭及社会中,营造和谐美好的氛围。
5.迈向更高境界的善法,即定与慧,最终趣向道果涅槃。
ประเภทของศีล
ศีล กล่าวโดยสรุปมี ๓ ประเภท คือ
๑. ศีล ๕ (เบญจศีล, นิจศีล, จุลศีล)
เป็นศีลพื้นฐานอันสำคัญยิ่ง เพราะการที่เราจะรักษาความเป็นปกติของมนุษย์เอาไว้ได้นั้น จะต้องรักษาศีล ๕ เป็นอย่างน้อย
๒. ศีล ๘ (อุโบสถศีล, มัชฌิมศีล)
เป็นศีลที่รักษาในวันอุโบสถ (วันพระ) หรือในโอกาสพิเศษตามที่ต้องการ เพื่อเป็นการยกระดับจิตใจให้ประณีตยิ่งขึ้น
๓. ปาริสุทธิศีล (มหาศีล)
เป็นศีลสำหรับผู้ที่มุ่งสู่ความบริสุทธิ์ และความสงบสุขของชีวิต เช่นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา เพราะเป็นการเกื้อกูลต่อการทำภูมิจิตให้สูงยิ่งขึ้นไป มี ๔ ประการ คือ
๓.๑ ปาฏิโมกขสังวรศีล
คือ การสำรวมในพระปาฏิโมกข์ (ศีล ๒๒๗ ข้อ) ที่พระพุทธองค์ทรงบัญญัติไว้ ศีลข้อนี้สำเร็จได้ด้วยศรัทธา
๓.๒ อินทรียสังวรศีล
คือ การสำรวมในอินทรีย์ ๖ อันประกอบด้วย ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ กล่าวคือ ไม่ให้ยินดียินร้ายในการเห็นรูป ฟังเสียง ได้กลิ่น ลิ้มรส การถูกต้องสัมผัส หรือในการรับรู้อารมณ์ต่างๆ ด้วยใจ หมายความว่า สำรวมระวังไม่ให้บาปอกุศลครอบงำ ศีลข้อนี้สำเร็จได้ด้วยสติ
๓.๓ อาชีวปาริสุทธิศีล
คือ การเลี้ยงชีพโดยทางที่ชอบธรรม บริสุทธิ์ ไม่หลอกลวงผู้อื่น ศีลข้อนี้สำเร็จได้ด้วยวิริยะ
๓.๔ ปัจจยสันนิสิตศีล
คือ การพิจารณาปัจจัยสี่ อันได้แก่ อาหาร ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค ก่อนที่จะบริโภคเพื่อใช้สอยปัจจัยสี่ ด้วยการพิจารณาให้เกิดประโยชน์และมีคุณค่าอย่างแท้จริง ศีลข้อนี้สำเร็จได้ด้วยปัญญา
ปาริสุทธิศีลทั้ง ๔ ประการนี้ เป็นคุณธรรมที่จะช่วยประคับประคองชีวิตของบรรพชิตให้มีความหมดจดผ่องใส และร่มเย็นเป็นสุขในทุกเวลา
The Types of Sila
There are three types of Sila as follows.
- Sila-5 or the Five Precepts
These are the basic precepts that make one a normal human being. Therefore, every human being must observe at least these five precepts.
- Sila-8 or the Eight Precepts
These are the precepts that are observed on the Buddhist Holy Day or on special occasions in order to further elevate the quality of one’s mind.
- Parisuddhisila
These are the precepts that are observed by the Buddhist monk and they consist of four parts as follows.
3.1 Patimokkhasamvarasila
It includes the Buddhist monk’s 227 Precepts. These precepts are successfully observed by the power of Saddha (or faith).
3.2 Indriyasamvarasila
It means the restraint of the senses which include the eyes, ears, nose, tongue, body, and mind. It means taking neither pleasure nor displeasure in seeing a physical form, listening to a sound, smelling something, tasting something, touching something or feeling something. It means being restraint and watchful so as not to be dominated by unwholesomeness. This part of the Parisuddhisila is successfully practiced by the power of Sati (or mindfulness).
3.3 Ajivaparisuddhisila
It means earning right livelihood. This part of the Parisuddhisila is successfully practiced by the power of Viriya (or effort).
3.4 Paccayasannisitasila
It means considering the four requisites, namely, food, shelter, clothing, and medicine before consuming them. This part of the Parisuddhisila is successfully practiced by the power of Panna (or insight).
These four parts of the Parisuddhisila enable the Buddhist monk to live a life of clarity, purity, peace, and happiness at all times.
戒的种类
戒有三种类型:
1.五戒(常规戒、小小戒、细小戒):是戒律的重要基础,作为正常状态的人,至少要持五戒。
2.八戒(布萨戒、中戒):在布萨日(佛日)或特殊斋戒日所受持之戒,有助于提升心灵的细腻程度。
3.清净戒(大戒):是渴望生命安宁与趣向清净者所持之戒,如出家佛门的比丘。有四种清净戒,可作为提升心灵境界的助缘,分别为:
3.1波罗提木叉律仪戒(别解脱律仪戒):以佛陀在《律藏》中,制定的比丘戒(227条比丘戒)而自制。此戒依止净信而成就。
3.2根律仪戒:以防护眼、耳、鼻、舌、身、意之六根而自制。心对色、声、香、味、触、法无动于衷,不令烦恼在与根尘接触时生起。此戒依止正念而成就。
3.3活命遍净戒:以清净正当的言行过活,不欺骗他人。此戒依止精进而成就。
3.4资具依止戒:如理思惟使用衣食住药四种资具之正确目的,使用时要省察其真正的价值与意义。此戒依止智慧而成就。
这四种清净戒是援助出家人的善法,使他们的生命时刻保持清净、明亮、清凉与快乐。
ศีล ๕
๑. ปาณาติปาตา เวรมณีสิกฺขาปทํ สมาทิยามิ.
ตั้งใจงดเว้นจากการฆ่าสัตว์
๒. อทินฺนาทานา เวรมณีสิกฺขาปทํ สมาทิยามิ.
ตั้งใจงดเว้นจากการลักทรัพย์
๓. กาเมสุ มิจฺฉาจารา เวรมณีสิกฺขาปทํ สมาทิยามิ.
ตั้งใจงดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม
๔. มุสาวาทา เวรมณีสิกฺขาปทํ สมาทิยามิ.
ตั้งใจงดเว้นจากการพูดเท็จ
๕. สุราเมรยมชฺชปมาทฏฺานา เวรมณีสิกฺขาปทํ สมาทิยามิ.
ตั้งใจงดเว้นจากการดื่มสุราเมรัย อันเป็นเหตุแห่งความประมาท
Sila-5 or the Five Precepts
- The intention to abstain from killing.
- The intention to abstain from stealing
- The intention to abstain from sexual misconduct.
- The intention to abstain from lying.
- The intention to abstain from the consumption of alcohol and other addictive substances.
五戒
1.不杀生戒
2.不偷盗戒
3.不邪淫戒
4.不妄语戒
5.不饮酒戒
ศีล ๕
ด้วยเหตุที่มนุษย์มิได้ดำรงชีวิตอยู่อย่างโดดเดี่ยวเพียงลำพัง หากแต่อยู่ร่วมกันเป็นสังคม มนุษย์จึงมีข้อตกลงระหว่างกัน ในการที่จะใช้ชีวิตร่วมกันอย่างสันติสุข ซึ่งข้อตกลงดังกล่าวนั้นก็คือ มนุษยธรรม หรือ ศีล ๕ นั่นเอง
เริ่มจากสิ่งแรกที่ทุกชีวิตได้มา นับแต่ลืมตาดูโลก สิ่งนั้นคือ ชีวิต ดังนั้นทุกชีวิตไม่ว่าจะยากดีมีจน จะเป็นคนหรือสัตว์ ต่างก็รักและหวงแหนชีวิตตนไม่น้อยไปกว่ากันเลย ในเมื่อเรารักชีวิต ปรารถนาจะมีชีวิตอยู่อย่างมีความสุข ไม่ต้องการให้ใครมาทำร้ายเบียดเบียนชีวิตเรา ผู้อื่นก็ย่อมจะรู้สึกเช่นเดียวกัน
ดังนั้น จึงเกิดมนุษยธรรมข้อแรกว่า เราจะไม่ฆ่า ไม่เบียดเบียนชีวิตผู้อื่น
ความรักชีวิตได้สอนให้ทุกชีวิตแสวงหาทรัพย์อันเป็นเครื่องหล่อเลี้ยงชีพ แม้จะเหนื่อยยากเพียงใด ทุกชีวิตต่างดิ้นรนหาทรัพย์มาเลี้ยงชีวิตตน ทรัพย์ที่ได้มานั้น ไม่ว่าจะต่ำต้อยน้อยค่าหรือมีราคาแค่ไหน ต่างก็เป็นของรักของหวงทั้งสิ้น เราย่อมไม่ต้องการให้ใครมาฉกฉวยแย่งชิงไปจากเรา ผู้อื่นก็ย่อมไม่ต้องการให้ใครมาแย่งชิงไปจากเขาเช่นกัน
ดังนั้น จึงเกิดมนุษยธรรมข้อที่ ๒ ว่า เราจะไม่ลัก ไม่แย่งชิงทรัพย์สินของผู้อื่น
ทุกชีวิตมีความรักใคร่ ห่วงใยในคู่ครอง ครอบครัวของตน ต่างปรารถนาจะร่วมชีวิตอย่างอบอุ่น สืบวงศ์สกุลอย่างภาคภูมิใจ ถ้าใครมาประพฤติผิดประทุษร้ายในสามี ภรรยา บุตร ธิดาของเรา ก็จะเป็นเรื่องที่ทำให้เรามีความทุกข์ เศร้าโศกเสียใจ ในทำนองเดียวกัน ผู้อื่นก็ไม่ต้องการให้ใครมาประพฤติผิดประทุษร้ายในสามี ภรรยา บุตร ธิดาของเขาเช่นเดียวกัน
ดังนั้น จึงเกิดมนุษยธรรมข้อที่ ๓ ว่า เราจะไม่ประพฤติผิดในกาม
นอกจากนี้ ความสัตย์ ความจริง ก็เป็นสิ่งที่ทุกชีวิตต้องการ เพราะการตัดสินใจในชีวิต จะทำได้ดีต้องมีข้อมูลที่ถูกต้อง อีกทั้งความมั่นใจในการดำเนินชีวิต จะมีได้ต้องมาจากความจริงใจ ซื่อตรงต่อกัน การโกหกหลอกลวงนั้น ไม่เพียงแต่สร้างความเจ็บช้ำน้ำใจ แต่ยังสร้างความเสียหายในทรัพย์สิน แม้แต่ชีวิตทั้งชีวิต ก็ถูกทำลายได้ด้วยการหลอกลวง เมื่อเราไม่ต้องการถูกหลอกลวง ผู้อื่นก็ย่อมไม่ต้องการเช่นกัน
ดังนั้น จึงเกิดมนุษยธรรมข้อที่ ๔ ว่า เราจะไม่พูดเท็จ
ความสงบ ปลอดภัยในชีวิตก็เป็นสิทธิที่ทุกคนต้องการ แต่จะเป็นไปได้เมื่อทุกชีวิตตั้งอยู่ในความไม่ประมาท เพราะคนประมาท ขาดสติ อาจทำความชั่วได้ทุกอย่าง สร้างความเสียหายได้อย่างใหญ่หลวง จัดเป็นบุคคลอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สิน ทั้งต่อตนเองและสังคม จึงควรที่จะป้องกันมิให้ตกอยู่ในฐานะแห่งความประมาท
ดังนั้น จึงเกิดมนุษยธรรมข้อที่ ๕ ว่า เราจะไม่ดื่มสุราเมรัย อันเป็นเหตุแห่งความประมาท
ศีล ๕ จึงมาจากสามัญสำนึกของมนุษย์ ที่รู้ว่าเมื่อเรามีความรักตนเอง ปรารถนาความสุข ความปลอดภัยให้กับตนเอง ชีวิตของผู้อื่นย่อมมีความรู้สึกเช่นเดียวกันกับเรา
การนึกถึง ใจเขาใจเรา เช่นนี้ เป็นวิธีการที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าใช้ในการสั่งสอนชนทั้งหลายให้รักษาศีล
พระพุทธองค์ทรงสอนให้คิดพิจารณา โดยเริ่มต้นที่ความรู้สึกของเราว่า การเบียดเบียนใดๆ อันเป็นสิ่งที่เราไม่ปรารถนาจะให้ผู้อื่นกระทำต่อเรา สิ่งนั้นผู้อื่นก็ย่อมไม่ปรารถนาให้เรากระทำต่อเขาเช่นกัน
ส่วนในยุคสมัยที่ไม่มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาบังเกิดขึ้นนั้น ศีล ๕ ก็เป็นมนุษยธรรมที่มีอยู่ตามธรรมชาติของมนุษย์ ดังปรากฏในอัคคัญญสูตร และจักรวรรดิสูตร มีความโดยสรุปว่า
“ปัญหาสังคมของมนุษย์มีอยู่ตลอดกาล แม้ในยุคสมัยที่โลกพรั่งพร้อมด้วยพืชพันธุ์ธัญญาหารอันประณีตสมบูรณ์ มนุษย์ได้ดำรงชีวิตอย่างสุขสบาย แต่ด้วยเหตุที่มนุษย์มีความแตกต่างกัน เริ่มจากเรื่องของผิวพรรณวรรณะ บางพวกมีผิวพรรณงาม บางพวกผิวพรรณไม่งาม จึงทำให้เกิดการแบ่งชนชั้น เกิดความหยิ่งทะนง และดูหมิ่นกัน ความเสื่อมทรามของสภาพจิตใจที่เกิดขึ้น จึงส่งผลให้สิ่งแวดล้อมและบรรยากาศเสื่อมโทรมลง
เมื่อบรรยากาศของโลกไม่น่ารื่นรมย์เช่นนี้ ทรัพยากรที่เคยมีอยู่อย่างบริบูรณ์ จึงลดลงทั้งปริมาณและคุณภาพ อาหารที่ประณีตกลับเสื่อมสูญไป กลายเป็นสารหยาบมาแทนที่ ยิ่งเกิดการจับจองครอบครองทรัพยากรอันมีจำกัดนั้นอย่างเห็นแก่ตัว เกิดการลักขโมย การลงโทษ การทำร้ายเบียดเบียนซึ่งกันและกันในทุกวิธีทาง ในที่สุดความเดือนร้อนที่เกิดขึ้นทำให้มนุษย์ได้รู้สึกตัว และสึกได้ว่าการที่ทุกสิ่งทุกอย่างเสื่อมลงเช่นนี้ เป็นผลมาจากความเสื่อมของศีลธรรม ความประพฤติของมนุษย์นั่นเอง
ดังนั้น มนุษย์จึงช่วยกันบัญญัติมนุษยธรรม คือ ศีล ๕ ขึ้นมาให้ทุกคนยึดถือปฏิบัติ พร้อมทั้งยกย่องบุคคลผู้มีคุณธรรมความสามารถขึ้นมาเป็นหัวหน้า เพื่อดูแลรักษามนุษยธรรมนั้น อันเป็นที่มาของ มหาสมมติ กษัตริย์ ขัตติยะ ราชา และเมื่อถึงยุคสมัยของพระราชาจักรพรรดิ พระองค์จะทรงสั่งสอนมนุษยธรรมนั้นไปทั่วทุกสารทิศ”
ดังนั้น ไม่ว่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะทรงบังเกิดขึ้นหรือไม่ ศีล ๕ ย่อมมีอยู่แล้วทุกยุคทุกสมัย เพราะ มนุษย์เป็นผู้รู้จักใช้เหตุผล รู้จักยับยั้งชั่งใจ และสิ่งนี้เองคือศักดิ์ศรีที่แท้จริงแห่งความเป็นมนุษย์
Sila-5 or the Five Precepts
It is because human beings live together as a community that they must have an agreement with each other in order to live together in peace and harmony. That agreement is called human virtues or Sila-5.
Every living being on earth, be it human or animal, cherishes its life. Every living being wishes to live happily and safely.
Therefore, the first human virtue states that one must not do away with the life of another living being.
The love of life teaches every human being to earn a living and accumulate material wealth. The level of success and the amount of material wealth vary greatly from one person to another. It can be said, however, that every human being cherishes his possessions and does not want anyone else to take them away from him.
Therefore, the second human virtue states that one must not steal.
Every human being loves and cherishes his spouse and his family members. Every human being wishes to have a loving and warm family. Should his spouse or child be molested, he would become very troubled and sad.
Therefore, the third human virtue states that one must not commit sexual misconduct.
Honesty is what every human being needs because any decision-making process needs accurate information. Human relationship is based on trust. Human cooperation is based on trust. Every transaction is based on trust. Dishonesty brings about untold suffering and loss.
Therefore, the fourth human virtue states that one must not lie.
Peace and security are required by every human being. Peace and security are in turn based on heedfulness. A reckless person is capable of all kinds of unwholesomeness. A reckless person can do much harm not only to himself but to other people as well.
Therefore, the fifth human virtue states that one must not consume alcohol and other addictive substances, for such consumption is the source of recklessness.
Sila-5 (or the Five Precepts) is derived from human commonsense and mutual love and understanding.
“To put oneself in another’s shoes” is the method used by the Lord Buddha to encourage people to practice Sila. The following Dhamma lecture appears in the Sanyuttanikaya Mahavagga 19/1458.
The Lord Buddha teaches us to consider the fact that we do not want anyone to injure or kill us. Therefore, other people also do not want us to injure or kill them.
Sila-5 has been practiced by human beings even during the time periods that the world is devoid of the Lord Buddha’s Teachings as attested by the Agganna Sutta and the Cakkavati Sutta as summarized below.
“Societal problems have always been with us even during the time periods that food is abundant and people can live comfortably and happily. These societal problems stem from the differences in skin color. Some people have very fine complexion while others do not. These differences give rise to the caste system.
The caste system breeds arrogance and contempt. Arrogance and contempt bring about moral decline. Moral decline, in turn, bring about deterioration in the environment and the atmosphere.
As a result, natural resources begin to suffer in both quantity and quality. There is fierce competition for the limited resources and some resort to stealing or some other ways of taking advantage of other people. Havoc is wrought and human beings begin to realize that their life conditions and their environment suffer as a result of their collective immoral conduct.
To remedy the situation, human beings come together to decree the Sila-5 (or the Five Precepts) which is to be practiced by every human being. At the same time, they also appoint a virtuous person to become their leader in order to ensure that everyone observes the Five Precepts. This is the origin of monarchy. During the reign of the Universal Monarch, it is he who ensures that every human being observes the Five Precepts.
Sila-5 has been with us since the beginning of time because human beings know the importance of cause and effect as well as self-control. Sila-5 makes us true human beings.
五戒
人类非独居,而是形成社会,过着群居的生活。为了彼此间的和谐共处,制定出了种种协议条约,即称为“人间法”或“五戒”。
每个生命体自从诞生于世,获得的第一件礼物便是生命。无论贫富贵贱,亦不管生而为人或动物,都同样珍爱自己的生命。每个人会渴望拥有幸福快乐的一生,不希望被伤害,而其他人亦然。
因此,有了第一条人间法:不杀害、不侵犯他人的生命。
出于对生命的珍爱,每个生命都在努力的谋生过活。无论多么辛苦,都得付出才能赚取金钱来维持生计。自己辛勤获取的财富,无论多少,都不希望被别人夺取,而其他人亦然。
因此,有了第二条人间法:不偷盗、不抢劫他人的财物。
每个生命都珍爱身边的伴侣和家庭,都渴望和睦温馨与家族兴旺。若有人过失伤害了我们的丈夫、妻子或儿女,自己则会痛苦、忧愁和悲伤。同样的道理,其他人也不希望自己的家人被别人伤害。
因此,有了第三条人间法:禁止在情欲中有过失行为。
除此之外,诚信和真相也是每个生命的需要。因为要想做出正确的决定,须有真实可靠的信息。在日常生活中,也需要彼此诚心诚意以及相互信任。欺骗不仅伤害感情,还可能会损失财富。就算是宝贵的生命,有时也会因为欺骗而失去。我们不希望自己被欺骗,其他人亦然。
因此,有了第四条人间法:人不应虚伪说谎。
每个人都渴望和谐安全的生活,但实现的前提是不放逸。若人心放逸,肆意破戒,可能会因种种恶行,而造成无法想象的破坏,这对于生命和财产,自身和社会来说都是一种威胁。因此,要力保自己不堕入放逸的深渊。
因此,有了第五条人间法:酒是放逸之因,人不应饮酒。
五戒是基本常识,我们会珍爱自己,渴望快乐与安全,(那么,)其他人也会有同样的想法(会有同样的感受)。
将心比心是佛陀教导众生持戒的方法之一。在《相应部——大品》中,佛陀告诫居士当如是思择:己所不欲,勿施他人,即自己不愿被伤害,他人则亦然。
在无佛时代,五戒也是自然存在的人间法。在《起世因本经》和《皇帝经》中,有如下简要阐述:
人类社会的问题恒常存在,就算在财富充足,物产丰富的年代,人类生活舒适快乐。但出于彼此间的差异,譬如不同的相貌肤色,有的肤色皓洁,有的肤色暗淡,于是产生了阶级分化,以及傲慢与蔑视的心态。这种心态的退化,也将对环境和气候的恶化产生影响。
当地球的环境不再令人心旷神怡,曾经丰富的资源,在质与量上不断地减少。食物开始由精致变得粗糙,自私的人把有限的资源占为己有,从而导致偷盗与惩罚频繁发生,彼此间会以种种方式伤害对方。最后,这些灾难终究会让迷失的人类醒悟,意识到种种衰落,皆因人类自身道德的退化所导致。
因此,每个人都理应受持与实践人间法——五戒。同时,推举具道德和能力的人作首领,维护王侯将相诞生之本——人间法。在转轮圣王统治的时代,他会把人间法传授至每一个角落。
无论佛陀是否降世,五戒都恒常住世。因为人类是善用因缘者,懂得三思而行,这也正是生而为人的光荣。
วิรัติ
แม้ว่าศีลจะเป็นสิ่งที่มีอยู่แล้วโดยธรรมชาติของมนุษย์ก็ตาม แต่การจะได้ชื่อว่าเป็นผู้รักษาศีลนั้น ย่อมมิใช่เพียงแค่การที่ไม่ทำความชั่วเท่านั้น เพราะบางคนที่ยังไม่ทำความชั่ว อาจเป็นเพราะยังไม่มีโอกาสที่จะทำ เช่น นักโทษที่ถูกกักขังไว้ ไม่มีโอกาสไปเบียดเบียนใคร ย่อมไม่อาจบอกได้ว่าเขาเป็นผู้รักษาศีล
เพราะศีลนั้นสำคัญที่เจตนา การจะได้ชื่อว่าเป็นผู้รักษาศีล จึงต้องเริ่มต้นที่ความตั้งใจ และ “ความตั้งใจงดเว้นจากความชั่ว” นี่เองคือความหมายของคำว่า เวรมณี หรือ วิรัติ
วิรัติ จึงเป็นสิ่งที่บ่งชี้ถึงการมีศีล บุคคลใดก็ตามจะได้ชื่อว่าเป็นผู้มีศีล รักษาศีล ก็ต่อเมื่อมีวิรัติ อย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้
๑. สมาทานวิรัติ
๒. สัมปัตตะวิรัติ
๓. สมุจเฉทวิรัติ
๑. สมาทานวิรัติ คือ ความตั้งใจงดเว้นจากบาป เพราะได้สมาทานศีลไว้แล้ว หมายความว่าเราได้ตั้งใจไว้ก่อนว่าจะรักษาศีล ครั้นไปพบเหตุการณ์ที่ชวนให้ล่วงละเมิดศีลก็ไม่ยอมให้ศีลขาด ดังสมาทานวิรัติของอุบาสกผู้หนึ่ง
๒. สัมปัตตะวิรัติ คือ ความตั้งใจงดเว้นจากบาป เมื่อเกิดเรื่องขึ้นเฉพาะหน้า แม้ว่าเดิมทีนั้นไม่ได้สมาทานศีลไว้ แต่เมื่อไปพบเหตุการณ์ที่ชวนให้ล่วงละเมิดศีล ก็คำนึงถึง ชาติ ตระกูล การศึกษา หรือความดีต่าง ๆ เป็นต้น จึงทำให้เกิดความตั้งใจที่จะงดเว้นจากบาปเวรขึ้นในขณะนั้นนั่นเอง
๓. สมัจเฉทวิรัติ คือ การงดเว้นจากบาปได้อย่างเด็ดขาด เป็นวิรัติของพระอริยเจ้า ซึ่งละกิเลส คือความโลภ โกรธ หลง ได้แล้ว เมื่อใจท่านปราศจากกิเลสที่เป็นเหตุให้ทำความชั่ว จึงไม่มีการผิดศีลอย่างแน่นอน
จะเห็นว่าวิรัตินั้นเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง เพราะการกระทำใดๆ ก็ตาม หากปราศจากความตั้งใจมุ่งมั่นแล้ว การกระทำนั้นๆ ย่อมไม่หนักแน่นมั่นคง พร้อมจะแปรเปลี่ยนอยู่เรื่อยไป ดังนั้น แม้จะยังไม่ได้ทำความชั่วขึ้นก็ตาม แต่ถ้าหากไม่มีวิรัติ ก็ไม่จัดว่าเป็นการรักษาศีล
Virati (The Three Abstinences)
Not committing a misdeed is not the same thing as observing the Five Precepts. For example, a prisoner, who is in prison, hence, prevented from committing a misdeed cannot be said to be observing the Five Precepts.
It takes commitment to observe the Five Precepts. Therefore, to observe the Five Precepts, one begins by having the intention to abstain from evil. The Pali word for “abstinence” is “Veramani” or “Virati”.
A person can be said to be observing the Five Precepts only when he has practiced one of the three following abstinences.
- Samadanavirati
- Sampattavirati
- Samucchedavirati
- Samadanavirati means the intention to abstain from an unwholesome deed because one has already pledged the Five Precepts.
- Sampattavirati means the intention to abstain from an unwholesome deed when confronted with a particular situation: A person may not have pledged the Five Precepts when he comes upon a challenging circumstance that may cause him to transgress them. But he is able to resist the temptation once he reminds himself of his family, education, goodness, etc.
- Samucchedavirati means abstaining completely from all unwholesomeness: It is the form of abstinence practiced by the Ariya personages who have been able to extinguish all defilements.
离
尽管戒恒常存在,但持戒者并非只指不作恶者。有的人不作恶是因没有机会,例如:因被囚禁而没有机会伤害人的犯人,并非指其就是持戒者。
动机对于戒异常重要。作为持戒者,应始于决心,也就是决心远离罪恶,而这就是“离”的定义。
离乃守戒者的标志。任何人只要得名守戒者或持戒者,都应具备以下任何一种“离”之特征。
- 受离
- 得离
- 断离
1.受离:因受持戒行而决心远离罪恶。即是在持戒之前下定决心,就算被引诱也决不破戒。
- 得离:因眼前发生的事情,而决心远离罪恶。虽起初没有持戒,但遇见导致破戒之事时,会省思自身的国籍、种族、学历或种种善行等。
- 断离:断然远离罪恶,为圣者之离,即已舍离贪嗔痴之烦恼。远离罪恶之源——烦恼,就不会再破戒,又称为:离杀之桥。
综上所述,“离”显得尤为重要。无论是什么行为,若远离意志决心,就无法平稳而行,而会不断的发生变化。因此,虽未作恶,但若无离,亦不能称为持戒。
ศีล เป็นมหาทาน
ในขณะที่ใครคนหนึ่งรักษาศีล ทุกชีวิตจะได้รับประโยชน์อันมหาศาลทันที เช่น
เมื่อเรารักษาศีลข้อที่ ๑ คือ ไม่ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต ย่อมได้ชื่อว่าให้ชีวิต ให้ความปลอดภัยแก่ชีวิตของสรรพสัตว์ทั้งหลาย เป็นการให้สิ่งที่สูงค่ายิ่งกว่าทรัพย์ใด ๆ
เมื่อเรารักษาศีลข้อที่ ๒ คือ ไม่ลักทรัพย์ ย่อมได้ชื่อว่าให้ความปลอดภัยแก่ทรัพย์สินของผู้อื่น เป็นการให้ฐานะความเป็นอยู่อันมั่นคง
เมื่อเรารักษาศีลข้อที่ ๓ คือ ไม่ประพฤติผิดในกาม ย่อมได้ชื่อว่าให้ความสุข ให้ความปลอดภัยแก่บุตร ธิดา ภรรยา สามีของผู้อื่น เป็นการให้ความคุ้มครองแก่สถาบันครอบครัวอย่างดีที่สุด
เมื่อเรารักษาศีลข้อที่ ๔ คือ ไม่กล่าวคำเท็จ ย่อมได้ชื่อว่าให้ความจริงแก่ผู้อื่น ทำให้เกิดความสบายใจในการดำเนินชีวิต โดยไม่ต้องหวาดระแวงซึ่งกันและกัน
เมื่อเรารักษาศีลข้อที่ ๕ คือ ไม่ดื่มสุราเมรัย ย่อมได้ชื่อว่าให้ความปลอดภัยแก่ทุกสิ่ง เพราะคนที่ประมาทขาดสตินั้น สามารถทำความชั่วได้ทุกอย่าง จะฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม หรือพูดเท็จก็ทำได้ทั้งสิ้น
การรักษาศีล ๕ จึงเป็นทานอันประเสริฐ ที่หล่อเลี้ยงโลกนี้ให้ร่มเย็นเป็นสุขมาช้านาน ซึ่งทานอันประเสริฐนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกว่า มหาทาน พร้อมทั้งทรงกล่าวว่าผู้บำเพ็ญมหาทาน ย่อมได้รับผลบุญอันมหาศาลเช่นเดียวกัน
จะเห็นว่าการรักษาศีลนั้น เป็นการให้ที่ยิ่งใหญ่ ด้วยน้ำใจที่กว้างขวาง เพราะเป็นน้ำใจที่มีต่อชีวิตทั้งหลายอันไม่มีประมาณ และไม่มีการเจาะจง
การรักษาศีล จึงเป็นบุญอันพิเศษอย่างยิ่ง เพราะได้ทั้งบุญจากการบำเพ็ญมหาทาน และบุญจากการรักษาศีล และนี่เป็นเพียงศีล ๕ อันเป็นเบื้องต้นเท่านั้น หากรักษาศีลในข้อที่สูงยิ่งขึ้นไปย่อมเป็นมหาทานอันยิ่งใหญ่ เป็นบุญอันยิ่งใหญ่ ที่สามารถชำระจิตใจให้สะอาดบริสุทธิ์ อย่างสุดที่จะประมาณ
จึงนับว่า การรักษาศีล เป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตในระดับที่สูงยิ่งขึ้นไป เมื่อเทียบกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยการให้ทาน
Sila Is a Sublime Gift
As soon as a person observes the Five Precepts, every living being stands to benefit instantly. For example,
When a person observes the First Precept, it means that he intentionally abstains from killing. By observing this precept, he is safeguarding the life of every living being. He is giving them safety where their lives are concerned.
When a person observes the Second Precept, it means that he intentionally abstains from stealing. By observing this precept, he is safeguarding the possessions of other people. He is giving them safety where their possessions are concerned.
When a person observes the Third Precept, it means that he intentionally abstains from sexual misconduct. By observing this precept, he is safeguarding the safety of other people’s spouses and children. He is giving them safety where their families are concerned.
When a person observes the Fourth Precept, it means that he intentionally abstains from lying. By observing this precept, he is giving the gift of honesty to other people.
When a person observes the Fifth Precept, it means that he intentionally abstains from consuming alcohol and other addictive substances. By observing this precept, he is keeping everyone safe. A person whose awareness is impaired is capable of every form of unwholesomeness. He can kill. He can steal. He can commit sexual misconduct. And he can lie.
The observation of the Five Precepts is a sublime gift that helps preserve the earth and its environment. It is for this reason that the Lord Buddha calls it “a great gift”.
When a person observes the Five Precepts, he is doing so out of a generous heart. It is the generosity that is shown to every living being alike.
Sila practice is the source of a special form of merit. The higher the number of Precepts observed by a person, the greater the amount of merit is earned. The merit earned by Sila practice works to cleanse the mind of defilements.
Sila practice further improves the quality of one’s life above and beyond the practice of Dana (or alms-giving).
戒为大布施
受持戒行者,会让亲近者获益无穷。
当我们受持不杀生戒,实为给予一切众生生命之安全,意义远胜于施与金钱。
当我们受持不偷盗戒,实为给予他人财物的安全,使之拥有稳定的生活。
当我们受持不邪淫戒,实为给予他人儿女、丈夫、妻子之安全,是赋予一个家庭最好的保护。
当我们受持不妄语戒,实为给予他人真相,过舒心的生活,不会彼此惶恐不安。
当我们受持不饮酒戒,实为给予众生万物安全感。因为失去正念的人,可能会行种种恶,无论是杀生、偷盗、邪淫或妄语。
综上所述,持戒可谓是一种伟大的给予,因为那是一份对众生心怀平等无碍的善意。
持戒是特别殊胜的功德,不仅获得行大布施的功德,还会获得持戒的功德。持五戒仅仅是基础,若增长持戒,功德会越多,最终形成可净化心灵的不可思议之力量。
因此,相对于以布施提升生命质量而言,持戒是一种更好的方式。
ศีล ๘
วิถีชีวิตของมนุษย์นั้น เปลี่ยนแปลงไปตามวิทยาการที่เกิดขึ้นใหม่ตลอดเวลา ซึ่งการเปลี่ยนแปลงของทฤษฎี ความรู้อันมากมายหลากหลายเหล่านั้น ล้วนเป็นไปเพื่อยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์ให้สะดวกสบายยิ่งขึ้น
ส่วนในเรื่อง การยกระดับจิตใจ นั้น ต้องยกให้เป็นเรื่องของศีล โดยเฉพาะ ศีล ๘ หรือ อุโบสถศีล ซึ่งเป็นที่รู้กันมาแต่ครั้งโบราณ ทั้งผ่านบทพิสูจน์ของกาลเวลามาอย่างยาวนานว่า เป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพจริงในการยกใจให้สูงขึ้น กรรักษาศีล ๘ จึงยังคงทันสมัยและใช้ได้ผลเสมอ ไม่ว่าโลกจะมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรก็ตาม
โดยทั่วไป เราจะใช้คำว่า ศีล๘ เมื่อสมาทานรักษาในวาระพิเศษหรือรักษาอยู่เป็นประจำ และใช้คำว่า อุโบสถศีล เมื่อสมาทานรักษาในวันพระ อย่างไรก็ตามทั้งศีล ๘ และอุโบสถศีลนั้น ต่างมีข้อที่ต้องรักษาเหมือนกัน กล่าวคือ
๑. ปาณาติปาตา เวรมณี ตั้งใจงดเว้นจากการฆ่าสัตว์
๒. อทินฺนาทานา เวรมณี ตั้งใจงดเว้นจากการลักทรัพย์
๓. อพฺรหฺมจริยา เวรมณี ตั้งใจงดเว้นจากกรรมอันเป็นข้าศึกต่อพรหมจรรย์
๔. มุสาวาทา เวรมณี ตั้งใจงดเว้นจากการพูดเท็จ
๕. สุราเมรยมชฺชปมาทฏฺานา เวรมณี ตั้งใจงดเว้นจากการดื่มสุราเมรัย อันเป็นเหตุแห่งความประมาท
๖. วิกาลโภชนา เวรมณี ตั้งใจงดเว้นจากการบริโภคโภชนะ ในเวลาวิกาล คือตั้งแต่เที่ยงแล้วจนอรุณขึ้นมาใหม่
๗. นจฺจคีตวาทิตวิสูกทสฺสนมาลาคนฺธวิเลปน ตั้งใจงดเว้นจากการฟ้อนรำ ขับร้อง
ธารณมณฺฑน วิภูสนฏฺานา เวรมณี ประโคมดนตรี ดูการละเล่นต่างๆ อัน เป็นข้าศึกแก่กุศล ตลอดจนลูบไล้ทัดทรงเครื่องประดับตกแต่งร่างกายด้วยดอกไม้ ของหอม เครื่องย้อม เครื่องทา
๘. อุจฺจาสยนมหาสยนา เวรมณี ตั้งใจงดเว้นจากการนอนที่นอนอันสูงใหญ่ ภายในยัดด้วยนุ่นและสำลี
เมื่อเปรียบเทียบระหว่าง ศีล ๘ กับ ศีล ๕ จะเห็นว่า
- ข้อที่ ๓ ในศีล ๘ นั้น จะเป็นการยกใจให้ประเสริฐยิ่งขึ้น ด้วยการประพฤติพรหมจรรย์ คือ เว้นจากการเสพเมถุน
- ส่วนข้อที่ ๖, ๗, และ ๘ ที่เพิ่มขึ้นมานั้น เป็นการสนับสนุนให้การประพฤติพรหมจรรย์มีความบริสุทธิ์บริบูรณ์ยิ่งขึ้น
แม้วิธีการนี้จะมีเพียง ๘ ข้อ แต่กลับมีประสิทธิภาพเป็นเยี่ยม ในการขจัดสิ่งที่ไม่ดีออกจากใจ ดังนั้นไม่ว่าในช่วงเวลาใด ชีวิตจะเป็นอย่างไร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยามที่เกิดทุกข์ภัย หรือปัญหาต่าง ๆ ศีล ๘ ย่อมเป็นที่พึ่งพาได้เสมอ
Sila-8 or the Eight Precepts
Advanced technology works to help improve the quality of one’s daily life in that it makes life easier in many ways.
But nothing can improve the quality of one’s mind like Sila practice, especially Sila-8 or the observation of the Eight Precepts. It has been proven over and over again all throughout the ages how the observation of the Eight Precepts is a truly effective means to improve the quality of one’s mind. This practice is always effective, for it is timeless.
Generally, the term Sila-8 refers to the observation of the Eight Precepts on special days or on special occasions; and the term Uposathasila refers to the observation of the Eight Precepts on the Buddhist Holy Day. But both have similar meaning and include:
- Patatipata Veramani The intention to abstain from killing
- Adinnadana Veramani The intention to abstain from stealing
- Abrahmacariya Veramami The intention to abstain from any action that threatens chastity practice
- Musavada Veramani The intention to abstain from lying
- Suramerayamajjapamadatthana Veramani The intention to abstain from the consumption of alcohol and other addictive substances
- Vikalabhojana Veramani The intention to abstain from food consumption from noon to dawn
- Naccagitavaditavisukadassana Malaganthavilepana Dharanamandana
Vibhusanatthana Veramani The intention to abstain from
dancing, singing, playing musical instruments, watching different forms of
entertainment, decorating the body with flowers, scented items, and color cosmetics.
- Uccasayanamahasayana Veramani The intention to abstain from
sleeping on a soft and thick mattress stuffed with kapok and cotton-wool.
Sila-8 differ from Sila-5 in the following ways.
- The Third Precept in Sila-8 elevates the quality of one’s mind through chastity practice.
- The Sixth, Seventh, and Eighth Precepts promote chastity practice.
The Eight Precepts work very effectively in removing unwholesomeness from the mind. They can be observed at any time
八戒
人类的生活方式随科技的发展日新月异,且多样性的理论和知识,也使人类的生活变得越来越舒适方便。
提高心灵品质,属于戒的范畴,特别是八戒,亦称中戒。自古便有,且经得起时间的考验,是提升心灵品质的有效方法。受持八戒符合时代的要求,无论世界如何变化,它恒常与时俱进,适用于各个时代。
一般情况下,在日常或特殊日子所持之戒,称为八戒,在佛日(布萨日)所持之戒,称为布萨戒。但无论是八戒或布萨戒,皆持守相同的戒行。
- 离杀生
- 离偷盗
- 离淫(梵行)
4.离妄语
- 离饮酒
6.离非时食(凡日中以后至翌日明相(天空露白之状)未出之间所受之食,皆称非时食,也译为过午不食)
- 离歌舞观听(即不观戏听歌)与涂饰香鬘(即身不涂香油或装饰)
- 离眠坐高广严丽床座(即不坐高座、不卧好床)
八戒与五戒相比,区别如下:
- 八戒中的第三戒为离淫,即修梵行。
- 增加第六、七、八条戒,是为了援助修梵行,使之更为清净圆满。
虽然只有八条戒行,但却蕴含不可思议的威力,可(去)祛除内心的不善法。因此,无论何时何地,当生命遇到障碍,特别是遭遇痛苦或种种问题时,八戒可以作为自身的依靠。
รักษาศีลแล้วดีอย่างไร
หากจะมีแก้วสารพัดนึก ซึ่งสามารถบันดาลความสมปรารถนาให้เราได้ทุกประการ แก้วสารพัดนึกดวงนั้น ก็คือการรักษาศีลนั่นเอง
เพราะการรักษาศีล เป็นการชำระใจให้สะอาดบริสุทธิ์ ใจที่บริสุทธิ์เป็นใจที่มีพลัง ยิ่งบริสุทธิ์มาก ยิ่งมีพลังมาก เป็นพลังที่จะนำชีวิตให้รุ่งเรืองก้าวหน้า ให้ประสบความสำเร็จ สมปรารถนาอย่างชนิดที่ว่าอุปสรรคใดๆ ก็มิอาจขัดขวางได้เลย
Why should one practice Sila?
If there was such a thing as a wishing tree, its reality could be realized by Sila practice.
Sila practice cleanses the mind of impurity. A pure mind is the source of incomparable power. The purer the mind, the more powerful it is. It is the kind of power that brings about success, prosperity, and wish fulfillment as exemplified in the following story.
持戒的益处
如意宝
若有可实现一切愿望的如意宝,那么此珍宝定是持戒。
因为持戒可以使心清净无染,而清净之心会拥有不可思议的力量,越清净则力量越大。这种力量将引领我们勇往直前、穿越一切障碍,最终马到成功。
อานิสงส์ของการรักษาศีลแต่ละข้อ
ไม่แปลกเลยที่การรักษาศีลอย่างสมบูรณ์ จะนำมาซึ่งอานิสงส์อันเพียบพร้อมไพศาลปานแก้วสารพัดนึก เพราะแม้การรักษาศีลแต่ละข้อนั้นยังนำมาซึ่งคุณประโยชน์อันมากมายมหาศาลจนมิอาจกล่าวได้หมด ตัวอย่างเช่น
อานิสงส์ของการไม่ฆ่าสัตว์
๑. เป็นผู้มีอวัยวะน้อยใหญ่ครบถ้วน
๒. มีร่างกายสูงใหญ่สมส่วน
๓. มีความแคล่วคล่องว่องไว
๔. มีฝ่าเท้าเต็ม
๕. มีความแช่มช้อย
๖. มีความอ่อนโยน
๗. มีความสะอาด
๘. มีความแกล้วกล้า
๙. มีกำลังมาก
๑๐ มีวาจาสละสลวย
๑๑. เป็นที่รักของชาวโลก
๑๒. พวกพ้องบริวารไม่แตกแยกกัน
๑๓. ไม่เป็นคนขี้กลัว
๑๔. ไม่ถูกทำลาย
๑๕. ไม่ตายเพราะถูกผู้อื่นทำร้าย
๑๖. มีพวกพ้องบริวารมาก
๑๗. มีรูปงาม (มีผิวพรรณงาม)
๑๘. มีทรวดทรงงาม
๑๙. มีโรคน้อย
๒๐. ไม่เป็นคนเศร้าโศก
๒๑. ไม่พลัดพรากจากคนและของรัก
๒๒. มีอายุยืน ดังนี้เป็นต้น
อานิสงส์ของการไม่ลักทรัพย์
๑. มีความมั่งคั่ง
๒. มีทรัพย์และข้าวเปลือกมาก
๓. มีโภคะมากมาย
๔. โภคะที่ยังไม่เกิดก็เกิดขึ้น
๕. โภคะที่เกิดขึ้นแล้วก็มั่นคงถาวร
๖. ได้โภคะที่ตนปรารถนารวดเร็วทันใจ
๗. โภคะไม่สลายไปด้วยภัยต่างๆ.
๘. ได้ทรัพย์ที่คนทั่วไปไม่มี
๙. เป็นคนเยี่ยมยอดของโลก
๑๐. ไม่รู้จักความไม่มีทรัพย์
๑๑. มีความเป็นอยู่สุขสบาย ดังนี้เป็นต้น
อานิสงส์ของการไม่ประพฤติผิดในกาม
๑. ไม่มีศัตรู คู่อาฆาต
๒. เป็นที่รักของคนทั้งปวง
๓. ได้ลาภสิ่งของ เช่น ข้าว น้ำ เป็นต้น
๔. หลับเป็นสุข
๕. ตื่นเป็นสุข
๖. พ้นจากภัยในอบายภูมิ
๗. ไม่เกิดเป็นหญิง หรือเป็นกะเทย
๘. ไม่มักโกรธ
๙. เป็นคนเปิดเผย
๑๐. ไม่เป็นคนผิดหวัง หรือเสียใจ
๑๑. ไม่ต้องหลบหน้า
๑๒. ทั้งสตรีและบุรุษต่างเป็นที่รักของกันและกัน
๑๓. มีร่างกายสมบูรณ์
๑๔. สมบูรณ์ด้วยลักษณะ
๑๕. ไม่ต้องหวาดระแวง
๑๖. มีความขวนขวายน้อย (ไม่มีเรื่องรบกวน)
๑๗. มีความเป็นอยู่สุขสบาย
๑๘. เป็นคนไม่มีภัย
๑๙. ไม่พลัดพรากจากคน และของรัก ดังนี้เป็นต้น
อานิสงส์ของการไม่พูดมุสา
๑. มีอินทรีย์ผ่องใส
๒. เป็นคนพูดจาไพเราะ ศักดิ์สิทธิ์
๓. มีฟันขาวสะอาดเรียบเสมอกัน
๔. ไม่อ้วนเกินไป
๕. ไม่ผอมเกินไป
๖. ไม่เตี้ยเกินไป
๗. ไม่สูงเกินไป
๘. มีสัมผัสเป็นสุข
๙. มีกลิ่นปากหอมเหมือนกลิ่นดอกอุบล
๑๐. มีบริวารชนเป็นผู้ว่าง่าย
๑๑. มีคำพูดที่คนเชื่อถือ
๑๒. มีลิ้นบางสีแดงเหมือนกลีบดอกอุบล
๑๓. จิตใจไม่ฟุ้งซ่าน
๑๔. มีความมั่นคง ไม่หวั่นไหว ดังนี้เป็นต้น
อานิสงส์ของการไม่ดื่มสุราเมรัย
๑. มีปฏิภาณในกิจที่ควรทำ ทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต
๒. มีสติมั่นคงอยู่เสมอ
๓. ไม่เป็นบ้า
๔. เป็นคนมีความรู้
๕. ไม่เป็นคนเกียจคร้าน
๖. ไม่โง่เง่า
๗. ไม่เป็นคนหนวกและใบ้
๘. ไม่เป็นคนขี้เมา
๙. เป็นคนไม่ประมาท
๑๐. ไม่ขี้หลงขี้ลืม
๑๑. ไม่เป็นคนขี้กลัว
๑๒. ไม่เป็นคนแข่งดี
๑๓. ไม่เป็นคนขี้ริษยา
๑๔. เป็นคนพูดคำสัตย์
๑๕. ไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดคำหยาบ และไม่พูดเพ้อเจ้อ
๑๖. เป็นคนกตัญญู
๑๗. เป็นคนกตเวที
๑๘. ไม่เป็นคนตระหนี่
๑๙.. เป็นคนเสียสละ
๒๐. เป็นคนมีศีล
๒๑. เป็นคนเที่ยงตรง
๒๒. ไม่เป็นคนมักโกรธ
๒๓. เป็นคนมีหิริ
๒๔. เป็นคนมีโอตตัปปะ
๒๕. เป็นคนมีความเห็นเที่ยงตรง
๒๖. เป็นคนมีปัญญามาก
๒๗. เป็นคนมีปัญญาแตกฉาน
๒๘. เป็นบัณฑิต
๒๙. เป็นผู้ฉลาดรู้ในสิ่งที่เป็นประโยชน์ ไม่เป็นประโยชน์
The Fruits of Each Precept
It is no wonder that Sila practice should be the source of so many good things, since the observation of just one Precept bears incalculable fruits. For example,
The Fruits of Not Killing include:
- Being born complete with all of the body parts.
- Having a tall and well-proportioned body.
- Agility
- The soles of the feet being full.
- Litheness
- Gentleness
- Cleanliness
- Boldness
- Great physical strength.
- Being articulate.
- Being endearing.
- No divisiveness among the retinue of attendants.
- Fearlessness
- Indestructibility
- Death not being caused by assault.
- Having a large retinue of attendants.
- Having a lovely complexion.
- Having a fine physique.
- Having few illnesses.
- Not being plagued by depression.
- Not being parted from the things and the people that one loves.
- Longevity
Etc.
The Fruits of Not Stealing include:
- Prosperity.
- Plenty of money and food.
- Great material wealth.
- Attracting more and more material wealth.
- Financial stability
- Getting the material wealth one wants quickly.
- Material wealth not being threatened by any form of disaster.
- Receiving unique material wealth.
- Being a world-class person.
- Not knowing poverty.
- Having a comfortable lifestyle.
Etc.
The Fruits of Not Committing Sexual Misconduct include:
- Having no enemy.
- Being endearing to everyone.
- Receiving food and things.
- Restful sleep.
- Waking up feeling joyful.
- Being far removed from the state of loss and woe.
- Not being born a female or a hermaphrodite.
- Not being quick to anger.
- Having nothing to hide.
- No disappointment or sadness.
- Not having to hide from anyone.
- Having a faithful spouse.
- Having a good body.
- Having good physical attributes.
- Fearlessness
- Not encountering disturbances of any kind.
- Having a comfortable lifestyle.
- Being a harmless person.
- Not being parted from the things and the people that one loves.
Etc.
The Fruits of Not Lying include:
- A bright and clear physique.
- Words which are endearing yet sacred.
- White, smooth teeth.
- Not being too fat.
- Not being too thin.
- Not being too short.
- Not being too tall.
- A joyful sense of touch.
- Breath as sweet as the lotus flower.
- Having obedient attendants.
- Having credible words.
- Having a thin and red tongue the shape of a lotus petal.
- The mind being composed and not wandering.
- Imperturbability.
Etc.
The Fruits of Not Consuming Alcohol and Other Addictive Substances include:
- Knowing what one should do in the past, present, and future.
- Possessing full awareness.
- Not suffering from insanity.
- Being knowledgeable.
- Not being lazy.
- Not being stupid.
- No deafness or muteness.
- No drunkenness.
- No recklessness.
- No forgetfulness.
- No fearfulness.
- No need to compete with others.
- No jealousy.
- Having truthful words.
- No divisive speech, no offensive speech, and no nonsensical speech.
- Being a grateful person.
- A person who knows to repay those who have been good to him.
- No miserliness.
- Being self-sacrificing.
- Morality.
- Impartiality.
- Not being quick to anger.
- Being ashamed of unwholesomeness.
- Being fearful of the ill consequences of unwholesome deeds.
- Good judgement.
- Great wisdom.
- Sagacity.
- Scholarliness
- Knowing what is useful and what is useless.
Etc.
依止种种戒的功德利益
根据《经藏.小部.小诵经》的注释《阐明胜义》
清净持戒将带来不可思议的功德,以及可实现诸愿的如意宝。受持种种戒行,皆有其无穷的功德利益。
不杀生的功德利益
- 手足健全
2.身材高大
3.灵活敏捷
- 步履稳健
5.优美迷人
6.温文尔雅
7.洁净清秀
8.勇敢顽强
9.力大无穷
10.口齿清楚
11.众人爱戴
12.友谊不破
13.胆大无畏
14.不受侵害
15.不受攻击而死
16.随从众多
17.容貌端庄
- 外表俊美
- 健康少病
- 快乐无忧
21.不与珍爱之物分离
22.长寿等
不偷盗的功德利益
1.富贵安稳
- 丰衣足食
3.富甲天下
4.获得未有之财富
5.已有之财富安全
6.易获所需之财富
7.财产不因种种灾难而失去
8..获致奇珍异宝
9.为世间最上者
10.无所不知
11.生活快乐等
不邪淫的功德利益
1.没有仇敌
2.受人爱戴
3.食物具足,例如饭和水等
4.睡眠安乐
5.醒来快乐
6.远离恶道之怖畏
7.不会生为女性或人妖
8.不易愤怒
- 光明磊落
- 无惭颜或忧伤
11.无有愧色
- 男女互相喜爱
- 诸根圆满
- 五官端正
15.无有惶恐
- 清闲自在
17.生活幸福舒适
- 无飞来横祸
19.不会与喜爱的事物分离等
不妄语的功德利益
- 诸根明净
- 言语清晰甜美
- 牙齿整齐洁白
- 不会太胖
- 不会太瘦
6.不会太矮
7.不会太高
- 所触舒适
- 口有莲香
- 随从恭顺
- 言语受欢迎
- 舌头红薄如莲花瓣
13.心不散乱
14.安稳不轻躁等
不饮酒的功德利益
- 明了过去、现在、未来应做之事
- 正念常驻
3.不疯癫
4.知识渊博
5.不懒惰
- 不愚钝
- 不懦弱
- 不迷醉
- 不放逸
- 不愚痴
- 无恐怖
- 不激愤
13.无嫉妒
- 言语真实
- 不两舌、不恶口、不说杂秽语
16.知恩
17.感恩
18.不吝啬
19.乐于施舍
20.安住戒行
21.刚正不阿
22.不易愤怒
23.有惭
24.有愧
25.思想正直
26.智慧如海
27.智慧高深
28.为贤者
- 明辨是非等
ศีล เป็นเกราะป้องกันภัยอย่างอัศจรรย์
The Amazing Protective Power of Sila Practice
戒如盔甲助消灾
ศีล ย่อมรักษา ผู้รักษาศีล
ธรรมปาลกุมาร ผู้มีการรักษาศีลอย่างสม่ำเสมอ เขาย่อมไม่เบียดเบียนใคร และปราศจากเวรภัยใด ๆ มาเบียดเบียน นี่คือชีวิตที่เป็นสุข ภายใต้ความคุ้มครองแห่งศีล อันเป็นการปกป้องรักษาอย่างแน่นหนา และแข็งแกร่งเกินกว่าที่ทุกข์ภัยอันตราย หรือโรคร้ายใด ๆ จะมารุกราน ทุกคนจึงมั่นใจได้ว่าธรรมปาลกุมารจะมีอายุยืนยาว และมีความสุขสบายดี
Sila Protects Those Who Practice It
Dhammapalakumara practiced Sila all throughout his life. Sila practice prevented him from harming anyone and from incurring the retribution of harming someone. Sila practice protects and safeguards its practitioner such that one can live a happy and long life.
The members of the Dhammapala Village were confident that Sila practice provided them with the best longevity insurance.
戒护佑修持者
护法童子为恒常持戒者,不扰他人,亦不被伤害,必定过着快乐的生活。戒之护佑固若金汤,犹如铜墙铁壁,可战胜任何危险与重疾。因此,众人皆坚信护法童子必长命百岁、幸福快乐。
护法婆罗门的家人同样会拥有幸福快乐的一生,因为他们坚信持戒可以为生命保驾护航。
ภัยทางเศรษฐกิจแก้ไขได้ด้วยพลังแห่งศีล
เชื่อหรือไม่ว่า สูตรสำเร็จในการแก้วิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจนั้นมีอยู่พร้อมแล้ว ทั้งมิได้เป็นเพียงแนวคิดทางทฤษฎีอันเพ้อฝัน หรือยังต้องรอวันพิสูจน์ใด ๆ ทั้งสิ้น หากแต่เป็นวิธีการอันชัดเจนแน่นอน ได้ผ่านการพิสูจน์และทดสอบมาแล้ว
เพราะมนุษยชาตินั้น ได้ผ่านพ้นภาวะผันผวนทางเศรษฐกิจมาอย่างโชกโชน ไม่ว่าจะเป็นภาวะเศรษฐกิจตกต่ำในรูปแบบใด จะเรียกว่าข้าวยากหมากแพง หรือจะเรียกอย่างไร ก็ล้วนแล้วแต่เป็นพิษภัยที่เคยเกิดขึ้นในโลกนี้มาซ้ำแล้วซ้ำเล่า
ปัญหาเหล่านี้ผ่านการศึกษาหาวิธีแก้ไข ผ่านการระดมความคิด ลองผิดลองถูกของมนุษย์ผู้มีปัญญามาอย่างยาวนาน จนในที่สุดมนุษย์ก็ค้นพบสูตรสำเร็จที่สามารถรับมือกับปัญหาเหล่านี้ได้ และสูตรสำเร็จนั้นก็คือ “ศีล” นั่นเอง
วิกฤตการณ์บางอย่าง อาจต้องการวีรบุรุษมากอบกู้ แต่วิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจนั้นเป็นปัญหาใหญ่ ที่เกิดพิษภัยแผ่กว้างไปทุกซอกทุกมุมของแผ่นดิน จะกอบกู้พลิกฟื้นได้ต้องอาศัยพลังแห่งมวลชน ผู้มีกาย วาจา ใจ บริสุทธิ์สะอาดปราศจากการเบียดเบียน เอารัดเอาเปรียบซึ่งกันและกันด้วยการพร้อมใจกันรักษาศีลให้บริสุทธิ์อย่างแท้จริง
พลังแห่งศีลของมวลชนนี้ จึงเป็นพลังที่ใสสะอาด สามารถกวาดล้างพิษภัยต่าง ๆ ให้หมดสิ้นไปได้ เป็นการสร้างบรรยากาศอันอบอุ่น ปลอดภัย ทั้งสร้างความมั่นคงในชีวิตและทรัพย์สินให้กับทุกคนในสังคม เพราะความซื่อตรงจริงใจต่อกัน และที่สำคัญ เมื่ออานิสงส์ผลบุญอันมหาศาลจากการรักษาศีลของมวลชน มาระดมรวมกันเมื่อใด เมื่อนั้นย่อมสามารถพลิกฟื้นเศรษฐกิจให้ดีขึ้นได้อย่างแน่นอน
ศีล จึงเป็นสูตรสำเร็จอันล้ำค่า เป็นภูมิปัญญาที่ไม่มีวันล้าสมัยในการพิชิตปัญหาเศรษฐกิจของมนุษยชาติได้อย่างแท้จริง
An Economic Crisis Solved by the Power of Sila Practice
The solution to an economic crisis exists and not in theory only. It has been proven to work over and over again all throughout the ages.
Humanity has experienced economic crises all throughout the ages as a result of natural disasters in the forms of drought, flood, etc., or man-made disasters in the forms of corruption, embezzlement, market manipulation, etc.
However, it has been proven over and over again all throughout the ages that Sila practice has the power to solve every economic crisis.
The clean energy generated by the people’s Sila practice has the power to remove every calamitous situation and solve the worst economic crisis. It has the power to create a good and safe environment and ensure economic stability for everyone concerned.
Sila practice is the very instrument needed to solve every economic crisis.
以戒之力量解决经济危机
大家是否相信存在有解决经济危机的方法?那不是一个概念式的幻想,需付诸实践才会得到证明。
全世界经历过无数的经济动荡,无论出现何种形式的经济衰退,或称为什么,都是在反复的呈现灾难。
这些问题通过博学者长时间或对或错的尝试,以及学习调研和集思广益后,才发现了解决此类问题的方法,那就是“戒”。
อย่างไรที่เรียกว่าศีลขาด
องค์วินิจฉัยศีล
การฆ่าสัตว์ต้องประกอบด้วยองค์ ๕ คือ
๑. สัตว์นั้นมีชีวิต
๒. รู้อยู่ว่าสัตว์นั้นมีชีวิต
๓. มีจิตคิดจะฆ่าสัตว์นั้น
๔. มีความพยายามฆ่าสัตว์นั้น
๕. สัตว์ตายด้วยความพยายามนั้น
การลักทรัพย์ต้องประกอบด้วยองค์ ๕ คือ
๑. ทรัพย์หรือสิ่งของนั้นมีเจ้าของหวงแหน
๒. รู้อยู่ว่าทรัพย์นั้นมีเจ้าของหวงแหน
๓. มีจิตคิดจะลักทรัพย์นั้น
๔. มีความพยายามลักทรัพย์นั้น
๕. ลักทรัพย์ได้ด้วยความพยายามนั้น
การประพฤติผิดในกามต้องประกอบด้วยองค์ ๔ คือ
๑. หญิงหรือชายที่ไม่ควรละเมิด
๒. มีจิตคิดจะเสพเมถุน
๓. ประกอบกิจในการเสพเมถุน
๔. ยังอวัยวะเพศให้ถึงกัน
การพูดเท็จต้องประกอบด้วยองค์ ๔ คือ
๑. เรื่องไม่จริง
๒. มีจิตคิดจะพูดให้ผิดไปจากความจริง
๓. พยายามที่จะพูดให้ผิดไปจากความจริง
๔. คนฟังเข้าใจความหมายตามที่พูดนั้น
การดื่มน้ำเมาต้องประกอบด้วยองค์ ๔ คือ
๑. น้ำที่ดื่มเป็นน้ำเมา
๒. มีจิตคิดจะดื่ม
๓. พยายามดื่ม
๔. น้ำเมานั้นล่วงพ้นลำคอลงไป
จากความรู้ในเรื่อง องค์วินิจฉัยศีล เราจะสามารถตอบข้อสงสัยได้ว่า การกระทำใดเป็นการกระทำที่ผิดศีล ทำให้ศีลขาด
ตัวอย่างเช่น การที่เราไล่ยุง แล้วบังเอิญทำให้ยุงตายโดยที่เรามิได้มีจิตคิดจะฆ่ายุงเลย อย่างนี้เรียกว่ายังไม่ผิดศีล ศีลยังไม่ขาด เพราะเป็นการกระทำที่ไม่ครบองค์ ๕ ของการฆ่าสัตว์
ส่วนการกระทำใด ๆ ที่แม้จะไม่ครบองค์วินิจฉัยศีล เช่น การฆ่ามีองค์ ๕ แต่ทำไปแค่องค์ ๔ อย่างนี้เรียกว่าศีลทะลุ และถ้าลดหลั่นลงมาอีก ก็จะเรียกว่า ศีลด่าง ศีลพร้อย ตามลำดับ
นอกจากนี้ พระอรรถกถาจารย์ ยังได้แสดงหลักสำหรับวินิจฉัยว่า การละเมิดศีลแต่ละข้อจะมีโทษมากหรือน้อยนั้น ขึ้นอยู่กับสิ่งต่อไปนี้
การฆ่าสัตว์ มีโทษมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับ
๑. คุณ การฆ่าสัตว์ที่มีคุณมาก จะมีโทษมากกว่าการฆ่าสัตว์ที่มีคุณน้อยหรือไม่มีคุณ เช่น ฆ่าพระอรหันต์ มีโทษมากกว่าฆ่าปุถุชน ฆ่าสัตว์ที่ช่วยงานมีโทษมากกว่าฆ่าสัตว์ดุร้าย เป็นต้น
๒. ขนาดกาย สำหรับสัตว์ดิรัจฉานจำพวกที่ไม่มีคุณเหมือนกัน การฆ่าสัตว์ใหญ่มีโทษมากกว่าการฆ่าสัตว์เล็ก
๓. ความพยายาม มีความพยายามในการฆ่ามาก มีโทษมาก มีความพยายามน้อย มีโทษน้อย
๔. กิเลสหรือเจตนา กิเลสหรือเจตนาแรง มีโทษมาก กิเลสหรือเจตนาอ่อน มีโทษน้อย เช่น การฆ่าด้วยโทสะหรือความเกลียดชัง มีโทษมากกว่าการฆ่าเพื่อป้องกันตัว
การลักทรัพย์ มีโทษมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับ
๑. คุณค่าของทรัพย์สินสิ่งของนั้น
๒. คุณความดีของผู้เป็นเจ้าของทรัพย์นั้น
๓. ความพยายามในการลักทรัพย์นั้น
การประพฤติผิดในกาม มีโทษมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับ
๑. คุณความดีของผู้ที่ถูกละเมิด
๒. ความแรงของกิเลส
๓. ความเพียรพยายามในการประพฤติผิดในกามนั้น
การพูดเท็จ มีโทษมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับ
๑. ความเสียหายที่เกิดขึ้นว่ามากน้อยเพียงใด
๒. คุณความดีของผู้ที่ถูกละเมิด
๓. ผู้พูดนั้นเป็นใคร เช่น
– คฤหัสถ์ที่โกหกว่า “ไม่มี” เพราะไม่อยากให้ของ ๆ ตนอย่างนี้มีโทษน้อย แต่การเป็นพยานเท็จมีโทษมาก
– บรรพชิต พูดเล่นมีโทษน้อย แต่การพูดว่าตน “รู้เห็น” ในสิ่งที่ตนไม่รู้ไม่เห็น มีโทษมาก
การดื่มน้ำเมา มีโทษมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับ
๑. อกุศลจิต หรือกิเลสในการดื่ม
๒. ปริมาณที่ดื่ม
๓. ผลที่เกิดจากการกระทำผิดพลาด ชั่วร้าย ที่ตามมาจากการดื่มน้ำเมา
อย่างไรก็ตาม การละเมิดศีลในทุกระดับ ไม่ว่าจะเป็นศีลขาด ศีลทะลุ ศีลด่าง หรือศีลพร้อย ก็ล้วนแต่เป็นการทำลายคุณภาพใจให้เสื่อมลง หรือที่เราเรียกว่า บาป นั่นเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากละเมิดศีลในกรณีที่เกิดโทษมาก เป็นบาปมาก คุณภาพใจจะยิ่งถูกทำลายให้เศร้าหมองมืดมนมากขึ้นด้วย
เราจึงควรศึกษาในเรื่องเหล่านี้ เพื่อให้การรักษาศีลของเราเป็นไปด้วยความรู้ความเข้าใจ อันจะนำมาซึ่งการรักษาคุณภาพใจได้อย่างบริสุทธิ์ สะอาด สุขสบาย ไม่เดือดเนื้อร้อนใจในภายหลัง
The Components of Sila
The act of killing consists of the following five components.
- The animal is alive.
- One knows that the animal is alive.
- One thinks about killing the animal.
- One tries to kill the animal.
- The animal is dead as a result of one’s effort.
The act of stealing consists of the following five components.
- The object belongs to a possessive owner.
- One knows that the object belongs to a possessive owner.
- One thinks about stealing the object.
- One has tried to steal the object.
- One has succeeded in stealing the object.
Sexual misconduct consists of the following four components.
- The person involved has already been spoken for.
- One thinks about having sexual intercourse with the person.
- Sexual activities have taken place.
- Sexual intercourse has occurred.
The act of lying consists of the following four components.
- The story is not true.
- One has the intention to mislead others.
- One tries to mislead others.
- One has succeeded in misleading others.
Alcohol consumption consists of the following four components.
- It is an alcoholic drink.
- One thinks about drinking it.
- One tries to drink it.
- One has succeeded in drinking it.
The information above allows us to evaluate whether or not our action has caused us to transgress any of the Five Precepts.
For example, in chasing a mosquito, one inadvertently causes it to die. In this case, one has not transgressed the First Precept because all five components have not been met.
However, if four of the five components are met, it means that one’s Sila practice has been pierced. If three components or less are met, it means that one’s Sila practice has been discolored or tainted.
In the Commentary, it is said that the level of retribution for the transgression of each Precept depends on the following factors.
Killing: The level of the retribution for killing depends on…
- Virtue: Killing a living being that possesses a greater level of virtue incurs a higher level of retribution than killing a living being that possesses a lower level of virtue. For example, killing an Arahat incurs a higher level of retribution than killing an ordinary person. Killing a working animal incurs a higher level of retribution than killing a ferocious animal. Etc.
- Size: For all the animals which are devoid of virtue, killing a large animal incurs a higher level of retribution than killing a small animal.
- Effort: The greater the effort spent in killing an animal, the higher the level of retribution is incurred.
- Intention: A strong intention incurs a higher level of retribution than a weak intention. For example, killing a living being out of anger or hatred incurs a higher level of retribution than killing for self-defense.
- The value of the object.
- The virtue of its owner.
- The effort spent in stealing the object.
Sexual Misconduct: The level of the retribution for sexual misconduct depends on…
- The virtue of the person being transgressed against.
- The level of defilements involved.
- The effort spent in committing sexual misconduct.
Lying: The severity of the retribution for lying depends on…
- The level of the damage caused.
- The virtue of the person being transgressed against.
- The person who does the lying, for example,
– A householder that lies by saying, “No”, because he does not want to share what he has incurs a low level of retribution. But bearing false witness incurs a high level of retribution.
– A Buddhist monk speaking in jest incurs a low level of retribution. But a Buddhist monk who boasts about supernormal insight when he does not actually possess it incurs a high level of retribution.
Alcohol Consumption: The level of the retribution for alcohol consumption depends on…
- The desire to drink.
- The amount consumed.
- The misdeeds committed as a result of having consumed alcohol.
At whatever level of Sila transgression, be it broken, pierced, discolored or tainted, the retribution incurred works to destroy the quality of our mind. When Sila transgression gives rise to grave misdeeds, it causes the mind to become gloomy.
Therefore, it behooves every one of us to understand Sila practice and to practice it in such a way as to keep our mind pure, clean, and happy.
何谓破戒
戒的判定
具五缘破杀生戒:
- 活的生命
- 知此是生命
- 存有杀心
- 付出努力
- 由此而死
具五缘破偷盗戒:
- 属于他人之物
- 明知为他人所有
- 存有盗心
- 付出努力
- 盗取成功
具四缘破邪淫戒:
- 不应侵犯的对象
- 起性交的想法
- 发生性交行为
- 性器官相接触
具四缘破妄语戒:
- 不真的事态
- 起欺骗的想法
- 努力使人相信
- 闻者信以为真
具四缘破饮酒戒:
- 食品为酒类
- 起迷醉之心
- 付出努力
- 酒类入喉
上述内容清晰地说明,怎样的行为属于破戒。
譬如,我们驱赶蚊子时,凑巧致其死亡,但因乃无心之举,所以不算破戒,因为未具足破戒之五缘。
对于没有完全达到各项条件的行为,例如:需圆满五项条件才算破杀生戒,但若只是达到其中四项,则称为穿戒,若少于此则称为染戒或缺戒。
除此之外,先师还进一步说明破戒的轻重,取决于以下条件。
杀生罪业之轻重,取决于:
1.恩德:杀害具大恩德之动物的罪业,重于杀害具小恩德或无恩德之动物的罪业。例如:杀阿罗汉的罪业,重于杀凡夫俗子;杀劳作之动物的罪业,重于杀毒蛇猛兽等。
2.体型:对于同样无恩德的畜生,杀害大体型畜生的罪业,重于杀害小体型畜生的罪业。
3.努力程度:在杀害过程中,付出的努力多,则罪业重,反之则少。
4.烦恼或动机:若烦恼和动机强,则罪业重,烦恼和动机弱,则罪业轻。例如:因愤怒和仇恨而杀害的罪业,重于因自卫而杀害的罪业。
偷盗罪业之轻重,取决于:
1.财物的价值程度
2.财物主人的德行
3.盗取的努力程度
邪淫罪业之轻重,取决于:
1.被侵犯者的德行
2.烦恼的深重程度
3.邪淫的努力程度
妄语罪业之轻重,取决于:
1.导致损失的程度
2.被欺骗者的德行
3.欺骗者为何许人
3.1居士因不想施与而欺骗说“没有”,这样的人罪业轻,但作伪证者的罪业重。
3.2出家人开玩笑罪业轻,但谎称自己已觉悟真理,有悖于事实,这样则罪业重。
饮酒罪业之轻重,取决于:
1.饮酒时的邪念或烦恼
2.饮酒的数量
3.酒后过失所产生的影响
不管如何,每一种犯戒,无论是破戒、穿戒、染戒或缺戒,对于心灵都是有害而无益,也就是所谓的“罪恶”。特别是因破戒所生之大罪恶,会导致心灵品质受到严重的伤害。
对于上述的知识,我们应学以致用,有理有据的持戒,使心灵趋向于纯洁、清净和愉悦,不生急躁的情绪。
ไม่รักษาศีลแล้วเกิดโทษอย่างไร
ในขณะที่อานิสงส์แห่งศีลนั้น พรั่งพร้อมด้วยความดีมากมายจนมิอาจบรรยายได้หมดสิ้น ทำนองเดียวกัน โทษทัณฑ์แห่งการผิดศีล ก็ส่งผลทำลายล้างทุกสิ่งทุกอย่างได้มากมายเช่นกัน และในโลกนี้คงจะไม่มีใครกล้าผิดศีล หากได้รู้ซึ้งถึงความหายนะที่จะตามมา เพราะผู้ที่ผิดศีลนั้นย่อมมิใช่เพียงแค่เบียดเบียนรังแกผู้อื่นเท่านั้น หากแต่ยังได้ชื่อว่า เป็นผู้ที่ทำร้ายตนเองอย่างรุนแรงที่สุดด้วย
เมื่อผิดศีล ความผิดปกติย่อมจะเกิดขึ้นทันที ใจที่เคยใสสะอาด จะเศร้าหมองขุ่นมัว ยิ่งผิดศีลมากเท่าใด ใจจะยิ่งเสื่อมคุณภาพลงไปมากเท่านั้น ทุกข์ภัยทั้งหลายก็จะเข้ามาในชีวิต และติดจามล้างผลาญอย่างไม่ยอมเลิกรา ไม่ว่าชาตินี้ ชาติหน้า หรือชาติไหนๆ ก็ตาม
เรื่องสำคัญต่อชีวิตเช่นนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสั่งสอนเราด้วยความเมตตา ทรงชี้ให้เห็นว่าคนทุศีลนั้น ไม่มีวันรอดพ้นจากความเสื่อมได้เลย
ผู้ที่ผิดศีล ๕ ย่อมมีโทษหนักและเบาตามลำดับ คือทำให้เกิดเป็นสัตว์นรก เปรต และสัตว์ดิรัจฉาน
โดยที่โทษอย่างเบาที่สุดของการฆ่าสัตว์ คือ ทำให้เกิดเป็นมนุษย์ผู้มีอายุสั้น ต้องพบกับโรคภัย ทำให้เสียชีวิตก่อนวัยอันควร
โทษอย่างเบาที่สุดของการลักขโมย คือ ทำให้เกิดเป็นมนุษย์ผู้ยากจนขัดสน หากเคยทำทานมามาก เกิดมามั่งมีเงินทอง แต่ในที่สุดทรัพย์เหล่านั้นก็จะต้องพินาศไปด้วยภัยต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นภัยจากน้ำ จากไฟ จากโจรผู้ร้าย หรือคนคดโกง
โทษอย่างเบาที่สุดของการประพฤติผิดในกาม คือ ทำให้เกิดเป็นมนุษย์ผู้มีศัตรูคู่เวรมาก ยากจะหาความสงบสุขในชีวิต
โทษอย่างเบาที่สุดของการพูดโกหก คือ ทำให้เกิดเป็นมนุษย์ผู้ถูกกล่าวหาด้วยเรื่องไม่จริง บางคนถูกใส่ร้ายป้ายสีจนเสียผู้เสียคน บางคนก็อาจถึงขั้นฆ่าตัวตาย
โทษอย่างเบาที่สุดของการพูดส่อเสียด คือ ทำให้เกิดเป็นมนุษย์ผู้ที่มักจะมีเรื่องแตกร้าวกับมิตรสหาย ต้องทะเลาะเบาะแว้งกับผู้อื่นอยู่เสมอ
โทษอย่างเบาที่สุดของการพูดคำหยาบ คือ ทำให้เกิดเป็นมนุษย์ผู้ที่มักจะได้ยินเสียงอันไม่น่าพอใจ ไม่น่าฟัง แม้ต่อมาตนเองจะเป็นคนอ่อนน้อม ไม่ด่าว่าใคร แต่ด้วยผลกรรมนั้นทำให้ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน ก็จะได้ยินแต่เสียงด่าทอ ทะเลาะวิวาทให้ร้อนหูอยู่เสมอ
โทษอย่างเบาที่สุดของหารพูดเพ้อเจ้อ คือ ทำให้เกิดเป็นมนุษย์ผู้ที่ไม่มีใครเชื่อถือ ทำอะไรก็มักจะไม่ประสบความสำเร็จ
โทษอย่างเบาที่สุดของการดื่มสุราเมรัย คือ ทำให้เกิดเป็นมนุษย์ผู้มีจิตใจเลื่อนลอย ขาดสติ หรือเป็นบ้า เพราะได้สั่งสมความประมาทขาดสติให้แก่ตนเองด้วยการดื่มน้ำเมาเสมอมา
The Harm Wrought By Not Practicing Sila
The fruits of Sila practice are too numerous to enumerate. Likewise, the ill consequences wrought by Sila transgression are also too numerous to enumerate. If only everyone on earth could truly know the calamitous results of Sila transgression, no one would dare transgress it. A person who transgresses the Sila not only harms others but also commits the worst offence against himself.
When one transgresses the Sila, normalcy is destroyed. Sila transgression turns a clear and clean mind into a sad and gloomy mind. The more one transgresses the Sila, the more precipitously the quality of one’s mind deteriorates. A sad and gloomy mind attracts every bad and undesirable thing into one’s life. Moreover, the ill consequences of Sila transgression go on to wreak havoc in one’s future existences.
Sila transgression causes one to incur grave and light retribution respectively, namely, rebirth in the Hell Realm, the Peta Realm, and the Animal Realm.
The lightest retribution for killing when reborn in the Human Realm is a short lifespan and many illnesses.
The lightest retribution for stealing when reborn in the Human Realm is poverty and destitution. If one had accumulated merit by giving alms in one’s previous existence(s), one will be reborn in a wealthy family. But eventually, one’s material wealth will be destroyed as a result of water, fire, robbery or embezzlement.
The lightest retribution for sexual misconduct when reborn in the Human Realm is encountering many vindictive enemies.
The lightest retribution for lying when reborn in the Human Realm is encountering false accusation or defamation to the point of committing suicide in some cases.
The lightest retribution for divisive speech when reborn in the Human Realm is falling out with friends, being involved in frequent arguments and fights.
The lightest retribution for offensive speech when reborn in the Human Realm is hearing what is displeasing and disturbing on a regular basis wherever one is.
The lightest retribution for nonsensical speech is having one’s words doubted by others and having difficulty in meeting with success in life.
The lightest retribution for the consumption of alcohol and/or other addictive substances when reborn in the Human Realm is absentmindedness or insanity.
不持戒所生之罪恶
戒的功德利益无穷无尽,一时难以道尽。同样的道理,破戒之罪恶,也会造成不可估量的恶果。若世人了解破戒所生的严重后果,可能无人会愿意破戒。因为破戒者不仅会伤害他人,也会对自己造成无可挽回的后果。
每当破戒,过失就已经产生,清净之心也会变得浑浊。破戒越重,心越浑浊不净,种种苦难也随之而来,对今生和来世造成难以想象的恶果。
戒对生命如此之重要,佛陀也曾慈悲给予教诲,阐述破戒者将永无脱离堕落之日。
由此可知,破五戒者会有轻重不同的恶报,即转世为地狱众生、饿鬼或畜生。
杀生最轻的果报是虽投生为人,但会短命、多病、英年早逝。
偷盗最轻的业报是虽投生为人,但贫穷困苦。前世曾常行布施,生来家财万贯,最后却因种种灾难而丧失殆尽,有的是因为水灾或火灾,有的是因为强盗或欺诈。
邪淫最轻的业报是虽投生为人,但树敌太多,无缘拥有宁静的生活。
说谎最轻的业报是虽投生为人,但被虚假指控,有的被污蔑而名声尽毁,甚至自杀身亡。
离间语最轻的业报是虽投生为人,但与朋友决裂,常与他人争吵。
恶语最轻的业报是虽投生为人,但常听到不合心意、不动听的话。即便为人谦逊,但因此业报的缘故,依然无论身处何地,都常有人在耳边争吵对骂。
绮语最轻的业报是虽投生为人,但无人听从管教,做任何事都难取得成功。
饮酒最轻的业报是虽投生为人,但心不安定,无正念或疯癫。因为前世常饮酒,导致失去正念而放逸之缘故。
尽管已是最轻之业报,但生命还是如此艰难。不难想象,若转世为地狱众生、饿鬼、畜生,又将是何等的艰辛?
วิธีการรักษาศีล
วันคืนที่ผ่านมา แม้ว่าหลายสิ่งหลายอย่างในชีวิตที่เราเคยคิด เคยพูด เคยทำ อาจเป็นความทรงจำที่ไม่น่าภาคภูมิใจก็ไม่เป็นไร
เพราะในวันนี้ เราได้รู้ถึงคุณค่าของการรักษาศีล เราจึงมีความหวังอันสดใสที่จะมีชีวิตดีงาม น่าภาคภูมิใจ และที่วิเศษที่สุดก็คือ เราสามารถเริ่มต้นรักษาศีลได้ ณ วินาทีนี้เลยทีเดียว
เมื่อศีลเกิดขึ้นด้วยเจตนาที่จะละเว้นความชั่ว การรักษาศีลจึงเริ่มต้นที่ความตั้งใจ ให้เราตั้งใจนึกถึงศีลไปทีละข้อ ด้วยความรู้สึกว่า จะพยายามรักษาศีลแต่ละข้อนั้นให้ดี เพียงเท่านี้เราก็พร้อมแล้วที่จะรักษาศีล
นอกจากนี้ ยังมีกลวิธีที่จะช่วยให้เรารักษาศีลอย่างเพลิดเพลินและสม่ำเสมอได้ในชีวิตประจำวัน ด้วยการหมั่นนึกทบทวนศีลแต่ละข้อของเราอย่างสบายๆ ในยามว่าง ดูว่าศีลข้อไหนเรารักษาได้ดี ก็นึกชื่นชม และตั้งใจรักษาให้ดีต่อไป ข้อไหนด่างพร้อย ขาดไป ก็ตั้งใจรักษาใหม่อย่างไม่เคร่งเครียด ด้วยวิธีการง่ายๆ เข่นนี้ การรักษาศีลของเราก็จะเป็นไปอย่างต่อเนื่อง สบายๆ และเป็นธรรมชาติ
เพราะการสมาทานศีล เป็นการแสดงออกซึ่งความสมัครใจอย่างเต็มที่ที่จะรักษาศีล โดยขอให้พระภิกษุสงฆ์เป็นสักขีพยานในการทำความดีอันยิ่งใหญ่นี้
เราจึงอาราธนาและสมาทานศีล ด้วยการเปล่งวาจาอย่างอาจหาญให้พระภิกษุสงฆ์ได้ยินอย่างชัดเจน
เมื่อกาย วาจา ใจของเราได้แสดงความมุ่งมั่น ยืนยันที่จะรักษาศีลต่อหน้าพระภิกษุสงฆ์ผู้เป็นสักขีพยาน เราย่อมมีความรักและความเคารพในศีลของเราอย่างเต็มเปี่ยม
เมื่อเรารักษาศีล ด้วยความรู้สึกอันงดงามเช่นนี้ ศีลของเราก็ย่อมจะบริสุทธิ์หมดจดงดงามอย่างไม่ต้องสงสัย
Pledging the Precepts
In the past, one may have thought, said, or done things that one may not feel too proud of. But let bygone be bygone.
Today and at this very minute, one can start anew by making up one’s mind to practice Sila.
Sila practice begins with the intention to abstain from unwholesomeness. One can go over each Precept with the intention to observe it as earnestly as possible. That is all it takes to begin Sila practice.
Whenever one has time, one can then go over each Precept leisurely to see how well one is observing it. The Precept that one has observed immaculately should be a source of one’s pride and joy as one continues to observe it immaculately in the future. For the Precept that one has not been able to observe immaculately, one should begin anew and endeavor to observe it as immaculately as possible.
One pledges the Precepts with the intention to observe them immaculately. Often times one is better inspired if one pledges the Precepts in the presence of the Buddhist monks.
One can pledge the Precepts out loud in front of the Buddhist monks
as one prepares one’s body, speech, and mind to observe the Precepts immaculately.
Sila practice begins with an intention and it is supported by a commitment.
持戒的方法
往日的岁月,我们可能没有引以为豪的想法、言辞或行为,但也无妨。
我们可以从现在开始,循序渐进地认知持戒的价值,让生命迈向美好的未来。最难能可贵的是,我们可以由此伊始清净持戒。
弃恶的意愿使人乐于持戒,而持戒的第一要点就是专注。要心无旁骛的忆念戒行,发心精进持守每条戒行,如此方可伊始受持。
除此之外,空闲时常复习戒律,有助于在日常生活中温故而知新。对持守清净的戒行生欢喜,对持守不够清净的戒行,给予重视并重新受持。这种简易的方法,将有助于我们持之以恒的受持戒行,形成一种自然的习惯。
因为持戒所表现的是对戒行的坚定和热爱,因此,会期望比丘长者能成为我们持戒的见证人。
我们应发心持戒,并大胆讲出来,让比丘长者清楚明了。
当我们身心坚定,决心在比丘长者面前受持戒行,让其成为见证人,我们对持戒的信仰,也会愈加坚毅。
当我们以美好的身心持守戒行,最终必定能够清净持守种种戒。
ทำอย่างไรจึงจะรักษาศีลได้บริสุทธิ์
เป็นไปได้หรือที่ปุถุชนคนธรรมดา จะสามารถรักษาศีลให้บริสุทธิ์ได้ เมื่อยังต้องอยู่ท่ามกลางสิ่งล่อลวงใจ หรือตกอยู่ในภาวะขัดสน หรือแม้แต่อยู่ในที่ลับตาปราศจากการรู้เห็นของผู้คน เป็นไปได้หรือที่มนุษย์ปุถุชนจะหักห้ามใจไม่ล่วงละเมิดศีลได้
คำตอบคือ เป็นไปได้ เพราะการรักษาศีลนั้นสามารถทำได้อย่างสะดวกสบาย ง่ายดาย หากว่ามีหิริและโอตตัปปะ เป็นธรรมะประจำใจ
เพราะ หิริ คือ ความละอายใจต่อการทำชั่ว สิ่งใดก็ตามหากเป็นความชั่วเลวทราม จะไม่กล้าคิด ไม่กล้าพูด ไม่กล้าทำ ด้วยความที่รังเกียจและขยะแขยง เห็นเป็นสิ่งสกปรก
ส่วน โอตตัปปะ คือ ความเกรงกลัวต่อผลของความชั่ว เมื่อรู้ว่าการทำความชั่วจะมีผลร้ายตามมา จึงเกรงกลัวอันตรายของความชั่วราวกับกลัวงูพิษ
เมื่อหิริและโอตตัปปะ เป็นคุณธรรมที่ทำให้เกลียดกลัวความชั่วเช่นนี้ ผู้มีหิริโอตตัปปะ เป็นธรรมประจำใจ ย่อมมีศีลบริสุทธิ์เสมอ ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน อย่างไร จะต่อหน้าหรือลับหลังใคร ก็จะไม่ยอมให้ความชั่วใดๆ มาแปดเปื้อนเลย
ผู้รักษาศีลด้วยหิริ โอตตัปปะ จึงรักษาได้อย่างมั่นคง และรักษาด้วยความจริงใจโดยไม่ต้องให้ใครมาดูแลกำกับ
ตรงข้ามกับผู้ที่ปราศจากหิริโอตตัปปะ นอกจากจะเป็นผู้ไม่ขวนขวายในการสมาทานศีลแล้ว ยังเป็นผู้ที่ล่วงละเมิดศีลได้ง่าย ไม่ว่าเวลาใดหรือในที่แห่งใด ไม่ล่วงในที่แจ้งก็ล่วงในที่ลับ เพราะไม่มีหิริโอตตัปปะคอยดูแลกำกับนั่นเอง
ดังคำกล่าวที่ว่า
“เมื่อมีหิริโอตตัปปะอยู่ ศีลก็เกิดขึ้นและตั้งอยู่ได้ เมื่อไม่มีหิริและโอตตัปปะ ศีลก็ไม่เกิดขึ้นและตั้งอยู่ไม่ได้”
หิริ โอตตัปปะ จึงเป็นธรรมะที่สร้างสรรค์สังคมให้ร่มเย็นเป็นสุข ให้ทุกชีวิตปลอดภัย ได้พบแต่สิ่งที่ดีงาม มีความก้าวหน้ายิ่งๆขึ้นไป ทั้งในชาติปัจจุบันและสัมปรายภพ
แม้ว่า หิริ โอตตัปปะ จะเป็นธรรมะที่สูงส่งถึงเพียงนี้ แต่กลับเป็นธรรมะที่สร้างสมขึ้นได้ ด้วยวิธีง่าย ๆ กล่าวคือ
หิริ ความละอายต่อบาป เกิดขึ้นด้วยการพิจารณาถึงฐานะของตนเอง ๔ ประการ คือ
๑. พิจารณาถึงชาติกำเนิดของตนเอง ว่า ตัวเราเกิดในตระกูลที่ประกอบอาชีพสุจริต เราจึงไม่ควรผิดศีล เลี้ยงชีพในทางที่ผิด ให้เป็นที่เสื่อมเสียแก่วงศ์ตระกูล
๒. พิจารณาถึงอายุของตนเอง ว่า คนมีอายุเช่นเราได้รับการสั่งสอนอบรมมาแล้ว ทั้งยังได้เรียนรู้จากประสบการณ์ชีวิตว่า อะไรดี อะไรชั่ว ถ้าเรายังผิดศีล ก็เสียทีที่มีอายุมากเสียเปล่า แต่ไม่มีสติปัญญาตักเตือนตนเองเสียเลย
๓. พิจารณาถึงความกล้าหาญของตนเอง ว่า ตัวเราต้องมีความกล้าหาญ ตั้งมั่นอยู่ในคุณความดี บำเพ็ญประโยชน์เพื่อตนเองและผู้อื่น ต่างจากผู้ที่ทำผิดศีล เบียดเบียนตนเองและผู้อื่นให้เดือดร้อน เพราะมีจิตใจอ่อนแอ ตกอยู่ในอำนาจของกิเลส
๔. พิจารณาถึงความเป็นพหูสูตของตนเอง ว่า ตัวเรานั้นเป็นผู้ศึกษาธรรมะมามาก มีหลักธรรมเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ เราจึงควรเป็นผู้มีศีล มีการกระทำอันงาม ต่างจากคนพาลซึ่งทำบาปอกุศล เพราะไม่มีหลักธรรมใดๆ เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ
โอตตัปปะ ความเกรงกลัวต่อบาป เกิดขึ้นได้เพราะกลัวว่าตนเองจะเดือดร้อนในภายหลัง จากภัย ๔ ประการ คือ
๑. ภัยเพราะติเตียนตนเอง เมื่อทำผิดศีล เราย่อมรู้สึกเดือดร้อน กระวนกระวายใจในภายหลัง เพราะนึกติเตียนตนเองที่ทำในสิ่งที่ไม่สมควร
๒. ภัยจากการที่ผู้อื่นติเตียน เมื่อบัณฑิตได้รู้ถึงการกระทำที่ผิดศีลของเรา เขาย่อมติเตียน ว่าเราเป็นคนพาล เป็นผู้กระทำบาปกรรม เบียดเบียนตนเองและผู้อื่นให้เดือดร้อน
๓. ภัยจากอาชญา เมื่อเราผิดศีล จนเป็นผลให้ผู้อื่นเดือดร้อน ย่อมต้องถูกลงโทษจากกฎหมายบ้านเมือง ได้รับความเดือดร้อนตอบแทนกลับมา
๔. ภัยในทุคติ การผิดศีล ย่อมจะนำเราไปสู่อบายภูมิ มีนรก สัตว์เดรัจฉาน เปรต อสุรกาย ทำให้ต้องประสบทุกข์ภัยเป็นอันมากในภพชาติเบื้องหน้า เมื่อละจากโลกไปแล้ว
ด้วยวิธีการหมั่นฝึกคิดพิจารณาเช่นนี้ ในที่สุดหิริโอตตัปปะจะเกิดขึ้นในใจของเราอย่างแน่นอน และเมื่อนั้นการรักษาศีลให้บริสุทธิ์ ย่อมไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป
How to Observe the Precepts Immaculately
One may wonder how it is possible for an ordinary person to observe the Precepts immaculately amidst temptations or scarcity or when no one else is watching.
The answer is, it is possible. Sila practice can be aided by cultivating the two virtues called Hiri and Ottappa.
Hiri means feeling ashamed of unwholesomeness. Whatever is unwholesome or evil, one dares not think, say, or do it because one is repulsed by unwholesomeness the way one is repulsed by filth.
Ottappa means feeling fearful of the ill consequences of unwholesomeness the way one is fearful of a poisonous snake.
A person who has cultivated Hiri and Ottappa can observe the Precepts immaculately wherever he may be and whether or not anyone is watching.
Hiri and Ottappa are the two virtues that enable one to practice Sila earnestly.
Without Hiri and Ottappa, it is not possible for one to practice Sila earnestly.
It is said that …
“With Hiri and Ottappa, Sila practice is made possible. Without Hiri and Ottappa, Sila practice is made impossible.”
Therefore, Hiri and Ottappa are the virtues that make possible a society where its members can live together in peace and harmony. The persons who possess Hiri and Ottappa will meet with good things now and in the hereafter.
As noble as Hiri and Ottappa may be, they can be easily cultivated.
Hiri means feeling ashamed of unwholesomeness. It can be cultivated by contemplating the following four factors.
- By contemplating one’s birth in that one was born in a family that earns right livelihood. Therefore, to earn wrong livelihood will damage the family’s reputation.
- By contemplating one’s age in that one is old enough to know better. Therefore, one would not transgress the Sila because one has the ability to remind oneself.
- By contemplating one’s courage in that one should have the courage to be virtuous and altruistic. One should not transgress the Sila by falling prey to one’s defilements and causing problems for others.
- By contemplating one’s scholarliness in that one is learnt in the Lord Buddha’s Teachings. Therefore, one should practice the Lord Buddha’s Teachings by practicing Sila.
Ottappa means feeling fearful of the ill consequences of an unwholesome deed. It can be cultivated by contemplating the following four factors.
- By contemplating the harm wrought by self-blame in that when one transgresses the Sila, one will feel anxious and worried. And one will incur self-blame for having done what is shameful.
- By contemplating the harm wrought by criticism in that when others learn about one’s transgression of the Sila, one will be called a fool, an evil-doer who brings harm to one’s self and others.
- By contemplating the harm wrought by punishment in that Sila transgression will cause one to receive punishment according to the rule of law.
- By contemplating the harm wrought by the States of Unhappiness in that when one is reborn in the Hell Realm, the Animal Realm, the Peta Realm, or the Asurakaya Realm, one will meet with untold suffering and for an unimaginably long time.
Such earnest contemplation will enable one to successfully cultivate Hiri and Ottappa. And then Sila practice will no longer be such a difficult feat.
如何清净持戒
当人类处在充满诱惑和复杂的社会,虽说可以两耳不闻窗外事,但是否就能控制自己不破戒呢?
答案是可以。若有惭愧法安住于心,便可轻而易举的受持戒行。
惭:指对所造之罪恶生羞耻心。对于一切罪恶卑劣之事,生厌恶与嫌恶,不想、不说、不做,视其为肮脏之物。
愧:指对罪恶的报应生畏惧心。当明白恶有恶报后,犹如害怕毒蛇一样畏惧罪恶。
惭愧是一种美德,使人对罪恶生恐惧。有惭愧安住于心者,无论身处何方或处境如何,亦无论当面或背后,皆可清净持戒,不让任何罪恶玷污自身。
人若以惭愧心持戒,必然可以安稳持戒,且专心致志而无需他人监督。
对于无惭愧心者,非但无法持戒,还会在任何时间和地点,在明处或暗处轻易犯戒,这是因为无惭愧心辅助之缘故。
常言道:
“具足惭愧,德行将生起并常驻,不具足惭愧,德行无法生起亦无法常驻。”
惭愧是创建和谐社会之法,让每个生命,无论是今生或来世,皆安全无恙,迈向美好繁荣。
虽然惭愧乃高尚之法,但也可以用简单地方法修习。
惭,指对罪恶生羞耻心,以省察四个自身条件而产生。
1.省察自身的种族,了解自己出生在清廉的家族,不应破戒,不以非正当的方式谋生,而应光耀门楣。
2.省察自身的年龄,了解自己受过良好的教育,有丰富的人生阅历,了解善与恶。若还破戒,就妄为长者,无自我警醒的意识。
3.省察自身的胆识,了解自己勇于行善,自利利他,同破戒及自害害他者相背离,因为这种人的心态优柔寡断,被烦恼所控制。
4.省察自身渊博的学识,了解自己已学习诸多佛法,可借此挺高心境,使自己成为具德行者,行为仪表庄严。同作恶之愚者截然不同,因为他们没有以佛法提高自身的心境。
愧,指对罪恶生畏惧心。因担心自身将来会痛苦而产生,有如下四项:
1.自我责备之苦。当破戒时,会生痛苦。因为忆念自己做了不该做的事而焦虑不安。
2.他人责备之苦。当贤者得知我们破戒,会给予责备,说我们是作恶之愚者,既伤害自己也伤害他人。
3.判刑之苦。当我们破戒,给他人造成伤害,自然会受到国家法律的制裁,反而也会给自身带来祸害。
4.恶道之苦。破戒会导致我们命终堕入恶道,投生地狱、畜生、饿鬼和阿修罗,遭受无穷的痛苦。
常修习这些省察的方法,将有助于我们生惭愧心,至此想要持戒清净也绝非难事。
ศีล จัดเป็นบารมี
แม้เราจะเป็นเพียงชีวิตเล็กๆ ในจักรวาลอันกว้างใหญ่ไพศาล เป็นชีวิตที่เต็มไปด้วยข้อบกพร่องนานัปการ แต่เราก็โชคดีที่สุด ที่ได้เป็นศิษย์ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าศาสดาผู้ยิ่งใหญ่ ผู้ได้ชื่อว่าเป็นยอดคน เพราะไม่อาจหาใครที่จะมีคุณสมบัติล้ำเลิศยิ่งไปกว่าพระองค์ได้เลย
การเข้าถึงฐานะอันเลิศของพระองค์ ย่อมมิใช่เรื่องบังเอิญอย่างแน่นอน หากแต่เป็นสิ่งที่มีเหตุและผลอย่างครบถ้วนทุกประการ ฐานะอันเลิศของพระองค์ได้มาจากการสั่งสมบุญบารมีอย่างยิ่งยวดและยาวนาน จนบารมีของพระองค์เต็มเปี่ยมบริบูรณ์ และการสร้างบารมีด้วยการรักษาศีล ก็เป็นพื้นฐานอันสำคัญยิ่ง ในการก้าวไปสู่ความเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
การรักษาศีล เกิดเป็นบารมีได้ เนื่องจากทุกครั้งที่รักษาศีลจะเกิดกระแสแห่งความดีขึ้นในใจ ที่เราเรียกว่า กระแสบุญ รู้สึกได้จากใจที่สบายและปลอดโปร่ง เมื่อรักษาศีลได้ดีขึ้น บุญที่เกิดขึ้นนี้จะฟอกใจให้ใสสะอาด จนกระทั่งปรากฏเป็นดวงกลมใส ที่เรียกว่า ดวงศีล เมื่อสั่งสมความบริสุทธิ์แห่งศีลให้ยิ่งๆ ขึ้นไป ในที่สุดดวงศีลจะกลั่นเป็นบารมี ซึ่งบารมีนี้ก็คือ วิถีทางเข้าถึงความเป็นเลิศนั่นเอง
สำหรับพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อครั้งที่พระองค์ยังทรงเป็นพระโพธิสัตว์นั้น การรักษาศีลของพระองค์ต้องใช้ความอดทน อดกลั้น บางครั้งต้องแลกด้วยชีวิต กว่าที่บารมีของพระองค์จะเต็มเปี่ยม พระองค์จึงผ่านการรักษาศีลมาอย่างเข้มข้นที่สุด จนเกิดบารมีถึง ๓ ขั้น คือ
๑. ศีลบารมี คือการรักษาศีล ด้วยความรักศีลยิ่งกว่าสมบัติภายนอก เมื่อถึงคราวคับขัน ก็ยอมเสียสละสมบัติภายนอกออกไป เพื่อรักษาศีลของตนให้บริสุทธิ์ ชื่อว่าบำเพ็ญศีลบารมี
๒. ศีลอุปบารมี คือการรักษาศีล ด้วยความรักศีลยิ่งกว่าอวัยวะในร่างกายของตน เมื่อถึงคราวคับขัน ก็ยอมเสียสละอวัยวะ เลือดเนื้อ เพื่อรักษาศีลให้บริสุทธิ์ ชื่อว่าบำเพ็ญศีลอุปบารมี
๓. ศีลปรมัตถบารมี คือการรักษาศีล ด้วยความรักศีลยิ่งกว่าชีวิตของตน เมื่อถึงคราวคับขัน ก็ยอมเสียสละชีวิตเพื่อรักษาศีลของตนให้บริสุทธิ์ ชื่อว่าบำเพ็ญศีลปรมัตถบารมี
หากได้ศึกษาถึงการสร้างบารมีแต่ละประการดังกล่าว เราจะไม่แปลกใจเลยว่า เหตุใดพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงได้ตรัสรู้ธรรม และทรงเป็นอัจฉริยบุคคลผู้เลิศในที่สุด
Sila Parami
One may be just a living being in the vast universe and still fraught with flaws. But one can count oneself most fortunate to be a follower of the Lord Buddha, the Perfect Man, for no living beings can be compared to the Lord Buddha.
Our Lord Buddha’s attainment of Buddhahood is most definitely not a coincidence but it happens as a matter of course. It happens because He had spent countless existences accumulating merit and pursuing Perfections to the fullest extent. It can be said that His pursuit of Sila Parami (or Morality Perfection) forms the foundation for the attainment of Buddhahood.
Sila practice can give rise to Parami (or Perfection). Each time that one practices Sila, it gives rise to the current of wholesomeness called the Current of Merit. This shows up as a joyful feeling. The merit accumulated from Sila practice works to cleanse one’s mind. It has the appearance of a clear and bright sphere called “the Sila Sphere”. When more and more merit is accumulated through Sila practice, the Sila Sphere will eventually be condensed into Parami. Parami is the path toward excellence.
As a Bodhisatta, our Lord Buddha had spent countless existences pursuing Sila Parami (or Morality Perfection). The pursuit requires the utmost patience and perseverance and at times at the cost of His life. There are three levels of Sila Parami as follows.
- Sila Parami: It is the pursuit of Sila Parami at the basic level. It requires that our Bodhisatta be willing to sacrifice all of his material wealth for the sake of his Sila practice.
- Sila Upaparami: It is the pursuit of Sila Parami at the intermediate level. It requires that our Bodhisatta be willing to donate his flesh, organ, and blood for the sake of his Sila practice.
- Sila Paramatthaparami: It is the pursuit of Sila Parami at the ultimate level. It requires that our Bodhisatta be willing to give up his life for the sake of his Sila practice.
If one studies how our Bodhisatta had pursued Sila Parami at all three levels, one will not be at all surprised how our Bodhisatta could attain Self-Enlightenment and became the most perfect living being as the Lord Buddha in His final existence.
持戒波罗蜜
虽然我们只是万千世界中一个平凡的生命,会遭遇种种不幸,但幸运的是有缘成为伟大觉者——佛陀之弟子,而佛陀具足了无人能企及的高尚德行。
佛陀拥有卓越的成就绝非偶然,而是有着必然的因果关系。佛陀不但要历经累世勤修波罗蜜,以圆满菩提资粮,同时也要清净持守种种戒行,方可最终觉悟成佛。
持戒可以生起波罗蜜。我们在持戒时,会自然地生起功德资粮,俗称功德能量,当下的心会感觉到轻松愉悦。当我们持戒越清净,心会逐渐被净化,从而形成透明圆滑的戒球。若持之以恒地持戒,达到更深层次的清净,戒球会转化为波罗蜜,而这些波罗蜜就是成就道果的必备条件。
在佛陀仍是菩萨时,在修习持戒波罗蜜的过程中,不但要付出忍辱,有时还要牺牲生命。在成就圆满波罗蜜时,佛陀持戒的境界也达至最高层,而在这之前,波罗蜜可分为三种。
1.普通持戒波罗蜜:对于戒的热爱胜过外在的财物。当遇到危机,宁愿舍弃身外之物来保全戒的清净,此称为普通持戒波罗蜜。
2.中等持戒波罗蜜:对于戒的热爱胜过自身的血肉器官。当遇到危机,宁愿舍弃血肉器官来保全戒的清净,此称为中等持戒波罗蜜。
3.究竟持戒波罗蜜:对于戒的热爱胜过自身的生命。当遇到危机,宁愿舍弃生命来保全戒的清净,此称为上等持戒波罗蜜。
若我们有缘学习佛陀修波罗蜜的故事,就不会对佛陀成道以及作为伟大觉者感到诧异。
บทสรุป
ศีล คือ มนุษยธรรมอันมีอยู่ตลอดกาล เพื่อให้ทุกชีวิตอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข
การรักษาศีล นำมาซึ่งความปรารถนาในสิ่งที่ดีงามทุกประการ เป็นความดีงามที่ยั่งยืน และเผื่อแผ่กว้างขวางสร้างสันติสุขให้กับโลกได้
นอกจากนี้ ศีลยังช่วยแก้ปัญหาต่างๆในชีวิต ทั้งปัญหาเศรษฐกิจและสังคม ทั้งปัญหาส่วนตัวและส่วนรวม จนอาจกล่าวได้ว่า ไม่มีปัญหาใดๆ ในโลก ที่ศีลไม่อาจแก้ไขได้
แต่เป็นที่น่าเสียดายที่มนุษย์ทั้งหลายจะรู้ว่า ศีลนั้นมีคุณค่า ต่างคนต่างปรารถนาจะคบหากับผู้ที่รักษาศีล แต่มนุษย์กลับละเลยที่จะรักษาศีลของตนเอง จึงเป็นเหตุให้ความเดือดร้อน วุ่นวาย ไม่เคยจางหายไปจากโลกนี้เลย
ทั้งที่การรักษาศีลนั้น สามารถทำได้อย่างง่ายดายโดยไม่ต้องลงทุนลงแรง ไม่ต้องใช้ทรัพย์สินเงินทอง ไม่ต้องใช้วิชาความรู้ใดๆ ขอเพียงแต่มีใจที่ดีงามเท่านั้น
เพราะการรักษาศีลเป็นการทำบุญด้วยใจ อาศัยใจที่เข้มแข็ง อดทน มั่นคงในความปรารถนาดีต่อตนเองและผู้อื่น ใจที่สะอาดมั่นคงเช่นนี้ จึงสามารถเป็นฐานที่ตั้งแห่งความดีงามทั้งหลายได้ ผู้ที่รักษาศีลจึงได้บุญได้อานิสงส์อย่างมหาศาล
เมื่อเราได้ทำความรู้จักกับศีลมาจนถึงบรรทัดนี้ เราคงมีความเห็นพ้องต้องกันว่า ต่อให้เรามีความรู้ในเรื่องศีลอย่างลึกซึ้งเชี่ยวชาญเพียงใด ก็คงจะไม่มีความหมาย หากว่าเรายังมิได้ลงมือปฏิบัติจริง เราจะไม่รอคอย ให้ใครเริ่มต้นก่อนอีกต่อไป เพราะเรานั้นพร้อมแล้วที่จะเริ่มต้นเป็นคนแรก
เมื่อเราทำจริง เกิดประโยชน์ในชีวิตจริง เราย่อมจะเป็นตัวอย่างชักชวนคนรอบข้างได้ เราชวนเขา เขาชวนคนอื่น ชวนกันไปเรื่อยๆ ในไม่ช้า…วันที่สังคมร่มเย็นเป็นสุข ย่อมจะเกิดขึ้นอย่างแน่นอน
อย่าปล่อยให้วันเวลาอันมีค่า ล่วงเลยผ่านไปอีกเลย เพราะไม่มีสิ่งใดจะน่าเสียดายยิ่งไปกว่า วันเวลาที่มิได้รักษาศีลอย่างแท้จริง
Conclusion
Sila (or morality) is synonymous with human virtues. Sila practice allows human beings to live together in peace and happiness.
Sila practice is the lasting source of wish fulfilment and goodness. It is the kind of goodness that can spread to create peace on earth.
Sila practice enables one to solve every problem in life whether it is economic or social, individual or collective. It may be said that there is no problem on earth that cannot be solved by Sila practice.
But it is truly unfortunate that the majority of human beings do not know about Sila and do not realize the value of Sila practice. This is the reason for the ever present mayhem and confusion on earth.
Sila practice does not require any investment in terms of money or knowledge. All it requires is a good and willing heart.
Sila practice allows one to earn merit with one’s mind. It is the mind that is resolute, patient and considerate. It is the mind that has a high regard for one’s self and other living beings. Such a mind is the basis of wholesomeness. Therefore, whoever practices Sila stands to earn enormous merit.
Up to this point, it is hoped that the reader has come to appreciate that no matter how much knowledge one may have about Sila, it is pointless unless one makes up one’s mind to practice it. Therefore, let the reader make up his mind now to practice Sila.
Once we find out for our self how beneficial Sila practice is, we will be able to encourage others around us to practice Sila as well. And the people around us can in turn encourage the people around them to practice Sila. When the number of people who practice Sila reaches a critical mass, there will be peace and happiness for all.
When it comes to Sila practice, now is the time to get started. No one can afford to let more days go by without practicing Sila.
持戒波罗蜜
虽然我们只是万千世界中一个平凡的生命,会遭遇种种不幸,但幸运的是有缘成为伟大觉者——佛陀之弟子,而佛陀具足了无人能企及的高尚德行。
佛陀拥有卓越的成就绝非偶然,而是有着必然的因果关系。佛陀不但要历经累世勤修波罗蜜,以圆满菩提资粮,同时也要清净持守种种戒行,方可最终觉悟成佛。
持戒可以生起波罗蜜。我们在持戒时,会自然地生起功德资粮,俗称功德能量,当下的心会感觉到轻松愉悦。当我们持戒越清净,心会逐渐被净化,从而形成透明圆滑的戒球。若持之以恒地持戒,达到更深层次的清净,戒球会转化为波罗蜜,而这些波罗蜜就是成就道果的必备条件。
在佛陀仍是菩萨时,在修习持戒波罗蜜的过程中,不但要付出忍辱,有时还要牺牲生命。在成就圆满波罗蜜时,佛陀持戒的境界也达至最高层,而在这之前,波罗蜜可分为三种。
1.普通持戒波罗蜜:对于戒的热爱胜过外在的财物。当遇到危机,宁愿舍弃身外之物来保全戒的清净,此称为普通持戒波罗蜜。
2.中等持戒波罗蜜:对于戒的热爱胜过自身的血肉器官。当遇到危机,宁愿舍弃血肉器官来保全戒的清净,此称为中等持戒波罗蜜。
3.究竟持戒波罗蜜:对于戒的热爱胜过自身的生命。当遇到危机,宁愿舍弃生命来保全戒的清净,此称为上等持戒波罗蜜。
若我们有缘学习佛陀修波罗蜜的故事,就不会对佛陀成道以及作为伟大觉者感到诧异。
เรื่องที่น่าสนใจเกี่ยวกับการรักษาศีล
หากจะกล่าวโดยละเอียดยิ่งขึ้น การรักษาศีล ๕ คงมิใช่เพียงแค่การไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ประพฤติผิดในกาม ไม่พูดเท็จ และไม่ดื่มน้ำเมา แต่เพียงเท่านั้น หากยังรวมถึงการงดเว้นจากการเบียดเบียนต่างๆ ที่คล้ายคลึงกัน กล่าวคือ
๑. ปาณาติปาตา เวรมณี
ประกอบด้วยการตั้งใจงดเว้นจากการกระทำต่างๆ ดังต่อไปนี้
ก. การฆ่าสัตว์ตัดชีวิต
คำว่าสัตว์นี้ หมายถึง ทั้งมนุษย์ และสัตว์เดรัจฉาน รวมทั้งชีวิตที่ยังอยู่ในครรภ์ด้วย
ข. การทำร้ายร่างกาย
ในที่นี้หมายถึงการกระทำต่อมนุษย์ด้วยกัน อันได้แก่
– ทำให้พิการ
– ทำให้เสียโฉม
– ทำให้บาดเจ็บ
ค. การทรกรรม
ในที่นี้หมายถึงการกระทำต่อสัตว์เดรัจฉาน อันได้แก่
– การใช้ เช่น การใช้งานเกินกำลังของสัตว์ ไม่ให้สัตว์ได้พักผ่อนหรือไม่บำรุงเลี้ยงดูตามควร
– กักขัง เช่น การผูกมัด หรือขังไว้ โดยที่สัตว์นั้นไม่สามารถที่จะเปลี่ยนอิริยาบถได้ หรือไม่มีความสุข
– นำไป เช่น การผูกมัดสัตว์แล้วนำไป โดยผิดอิริยาบถของสัตว์ ทำให้สัตว์ได้รับความทุกข์ทรมาน
– เล่นสนุก ได้แก่ การรังแกสัตว์ต่างๆ เพื่อความสนุก
– ผจญสัตว์ ได้แก่ การจับสัตว์มาต่อสู้กัน เช่นการชนโค
๒. อทินนาทานา เวรมณี
ประกอบด้วยการตั้งใจงดเว้นจากการกระทำต่างๆ ดังต่อไปนี้
ก. โจรกรรม
– ลัก ได้แก่ การขโมยทรัพย์ผู้อื่น เมื่อเขาไม่รู้ไม่เห็น
– ฉก ได้แก่ การแย่งเอาทรัพย์ผู้อื่นซึ่งๆ หน้า
– กรรโชก ได้แก่ การทำให้เจ้าของทรัพย์เกิดความกลัว แล้วยอมให้ทรัพย์
– ปล้น ได้แก่ การยกพวกถืออาวุธเข้าปล้นทรัพย์ผู้อื่นมาเป็นของตน
– ตู่ ได้แก่ การกล่าวตู่เอาทรัพย์ผู้อื่นมาเป็นของตน
– ฉ้อ ได้แก่ การโกงทรัพย์ผู้อื่นมาเป็นของตน
– หลอก ได้แก่ การพูดปด เพื่อหลอกเอาทรัพย์ผู้อื่นมาเป็นของตน
– ลวง ได้แก่ การใช้เล่ห์เหลี่ยม ลวงเอาทรัพย์ผู้อื่น ด้วยกลวิธีต่างๆ เช่น การโกงตาชั่ง
– ปลอม ได้แก่ การทำของไม่แท้ ให้เห็นว่าเป็นของแท้
– ตระบัด ได้แก่ การยืมของผู้อื่น แล้วยึดเป็นของตน
– เบียดบัง ได้แก่ การกินเศษกินเลย เบียดบังผลประโยชน์ของส่วนรวม มาเป็นของตน
– สับเปลี่ยน ได้แก่ การแอบเอาของๆตน ไปเปลี่ยนกับของๆ ผู้อื่น ซึ่งดีกว่า
– ลักลอบ ได้แก่ การหลบภาษี การค้าขายสิ่งของผิดกฎหมาย
– ยักยอก ได้แก่ การที่ทรัพย์ของตนจะต้องถูกยึด จึงยักยอกเอาไปไว้เสียที่อื่น เพื่อหลบเลี่ยงการถูกยึดทรัพย์
ข. อนุโลมโจรกรรม
– การสมโจร เป็นการสนับสนุนให้เกิดการโจรกรรม เช่น การรับซื้อของโจร การให้ที่พักอาศัย ให้ข้าวให้น้ำแก่โจร
– ปอกลอก เป็นการคบหาผู้อื่นด้วยหวังทรัพย์ พอเขาสิ้นทรัพย์ก็เลิกคบ เป็นการทำให้คนสิ้นเนื้อประดาตัว
– รับสินบน เช่น การที่ข้าราชการยอมทำผิดหน้าที่ เพื่อรับสินบน
ค. ฉายาโจรกรรม
– ผลาญ คือ การสร้างความเสียหายแก่ทรัพย์สินของผู้อื่น โดยมิได้มุ่งหวังจะนำทรัพย์นั้นมาเป็นของตน เช่น การลอบวางเพลิง
– หยิบฉวย คือ การถือเอาทรัพย์ผู้อื่นมาด้วยความมักง่าย ถือวิสาสะ
๓.กาเมสุมิจฉาจารา เวรมณี
ตั้งใจงดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม โดยไม่ล่วงละเมิดทางกามกับบุคคลต้องห้าม ต่อไปนี้
หญิงต้องห้าม ได้แก่
– หญิงมีสามี
– หญิงมีญาติปกครอง
– หญิงที่จารีตห้าม
ชายต้องห้าม ได้แก่
– ชายอื่นนอกจากสามีตน
– ชายที่จารีตห้าม
นอกจากนี้ การรักษาศีลข้อที่ ๓ มีการหวงห้ามในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย เพราะได้มีการคำนึงถึงว่า การประพฤติผิดในกามนั้นนำความเสียหายมาสู่เพศหญิงมากกว่าเพศชาย
๔. มุสาวาทา เวรมณี
ประกอบด้วยการตั้งใจงดเว้นจากการกระทำต่างๆ ดังต่อไปนี้
ก. มุสา
– ปด ได้แก่ การโกหก
– ทนสาบาน ได้แก่ การทำให้ผู้อื่นหลงเชื่อ ด้วยการสาบาน
– ทำเล่ห์กระเท่ห์ ได้แก่ การอวดอ้างความศักดิ์สิทธิ์ อันไม่เป็นจริง
– มารยา ได้แก่ การแสดงอาการให้เขาเห็นผิดจากที่เป็นจริง
– ทำเลศ ได้แก่ การพูดเล่นสำนวน คลุมเครือ ให้คนฟังเข้าใจผิด
– เสริมความ ได้แก่ การเสริมความให้มากกว่าที่เป็นจริง
– อำความ ได้แก่ การตัดข้อความที่ไม่ประสงค์จะให้รู้ออกเสีย เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนไป
ข. อนุโลมมุสา คือ การกล่าวเรื่องไม่จริง แต่ผู้พูดมิได้มุ่งหวังจะให้ผู้ฟังหลงเชื่อ ได้แก่
– เสียดแทง เป็นการกล่าวว่าให้ผู้อื่นเจ็บใจ เช่น การประชด การด่า
– สับปลับ เป็นการพูดปด ด้วยความคะนองปาก
ค. ปฏิสสวะ คือ การรับคำผู้อื่น ด้วยเจตนาที่บริสุทธิ์ แต่ภายหลังเกิดกลับใจ ไม่ทำตามที่รับนั้น ได้แก่
– ผิดสัญญา คือ การที่สองฝ่ายทำสัญญาต่อกัน แต่ภายหลังฝ่ายหนึ่งได้บิดพลิ้ว ไม่ทำตามที่สัญญาไว้
– เสียสัตย์ คือ การที่ฝ่ายหนึ่งได้ให้คำสัตย์ไว้ แต่ภายหลังได้บิดพลิ้วไม่ทำตามนั้น
– คืนคำ คือ การรับคำว่าจะทำสิ่งนั้นๆ โดยไม่มีข้อแม้ แต่ภายหลังหาได้ทำตามนั้นไม่
หมายเหตุ ยังมีกรณีของ ยถาสัญญา ซึ่งถือเป็นมุสาวาทที่ไม่มีโทษ ได้แก่
– โวหาร ได้แก่ ถ้อยคำที่ใช้กันตามธรรมเนียม เช่น การเขียนจดหมายที่แสดงความอ่อนน้อมด้วยการลงท้ายว่า “ด้วยความเคารพอย่างสูง” ทั้งที่ความเป็นจริงอาจไม่เป็นเช่นนั้น
– นวนิยาย ได้แก่ การแต่งเรื่องเปรียบเทียบ หรือจินตกวีต่างๆ
– สำคัญผิด ได้แก่ การที่ผู้พูดเข้าใจผิด แล้วพูดไปตามความเข้าใจของตน
– พลั้ง ได้แก่ การที่ผู้พูดตกใจ แล้วพูดพลั้งไปโดยไม่เจตนา
๕. สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานา เวรมณี
ตั้งใจงดเว้นจากการดื่มสุราเมรัย อันเป็นเหตุแห่งความประมาท
– สุรา ได้แก่ น้ำเมาที่ถูกกลั่นให้มาสชาดเข้มข้น เช่น เหล้าต่างๆ
– เมรัย ได้แก่ น้ำเมาที่ไม่ได้กลั่น เช่น เหล้าดิบ กระแช่ น้ำตาลเมา ฯลฯ
นอกจากนี้ การงดเว้นจากการเสพสิ่งเสพติดต่างๆ เช่น ฝิ่น กัญชา ยาบ้า เฮโรอีน รวมถึงวัตถุทุกชนิดที่มีฤทธิ์ต่อระบบประสาท ก่อให้เกิดความมึนเมา ไม่สามารถควบคุมพฤติกรรมของตนเองได้ ก็รวมอยู่ในศีลข้อนี้เช่นกัน
More Interesting Facts about Sila Practice
Sila practice is not only about not killing, not stealing, not committing sexual misconduct, not lying, and not consuming alcohol and other addictive substances, but it is also about not harming or exploiting other living beings.
- The Intention to Abstain from Killing
It means the intention to abstain from the following forms of unwholesomeness.
- Killing
This pertains to all living beings which include human beings, animals, and fetuses.
- Inflicting Injury
Here, it means not causing another human being
– To become physically impaired.
– To become physically marred.
– To become wounded.
- Torture
Here, it means the different forms of animal mistreatment and include:
- Overworking an animal, not allowing it to get enough rest or food.
- Confining an animal to a small area such that it cannot move around.
- Delivering an animal by tying it and causing it to suffer hardship.
- Abusing an animal for one’s entertainment.
- Bringing animals together for the specific purpose of having them fight each other as in cockfighting, etc.
- The Intention to Abstain from Stealing
It means the intention to abstain from the following forms of unwholesomeness.
- Thievery: It includes:
– Burglary
– Snatching
– Extortion
– Robbery
– Making a false claim of ownership.
– Embezzlement
– Swindling
– Cheating
– Counterfeit goods
– Claiming ownership of a borrowed item.
– Pilferage
– Exchanging one’s inferior item for another person’s superior item.
– Skimming, selling illegal goods
– Hiding the possessions about to be confiscated.
- Indirect Thievery: It includes:
– Lending support to theft such as buying stolen goods, giving shelter, food, and water to a thief, etc.
– Fleecing someone.
– Acts of corruption.
- Other Forms of Indirect Thievery: They include:
– Vandalism such as setting someone’s house on fire, etc.
– Taking liberty with other people’s things.
- The Intention to Abstain from Sexual Misconduct
The following persons are considered to be forbidden and must never be transgressed against sexually.
Forbidden women include:
- A married woman
- An underage female
- A female ascetic
Forbidden men include:
- Other men besides one’s husband
- A male ascetic
Sexual misconduct is considered to be more damaging to a woman than a man.
- The Intention to Abstain from Lying
It means the intention to abstain from the following forms of unwholesomeness.
- False Speech: It includes
– Telling a lie.
– Swearing to tell the truth despite the fact that one is lying.
– Boasting about one’s supernormal powers when one does not really possess them.
– Being deliberately misleading.
– Using words that can be misleading.
– Embellishing the facts.
– Cutting out certain parts of a document or a story with the intention to mislead.
- Telling an Untrue Story but without the intention to mislead others. It includes:
– Using words to make someone feel hurt or embarrassed.
– Using false speech for fun.
- Not Honoring One’s Word: It includes:
– Not honoring one’s part in an agreement.
– Not honoring one’s promise.
– Not doing what one has agreed to do.
Note: There are other forms of lying that incur no retribution and they include:
- The use of salutation as when writing a letter, words like “respectfully yours”, etc.
- Fictional writing.
- Misunderstanding what one has heard and telling others about it without realizing one’s misunderstanding.
- The words exclaimed out loud when startled.
- The Intention to Abstain from the Consumption of Alcohol and Other Addictive Substances
Alcohol and addictive substances are the sources of recklessness and they include:
- Alcohol: It includes hard liquor, beer and other alcoholic beverages.
- Addictive Substances: They include non-distilled alcoholic preparations, opium, marijuana, heroin, amphetamine, and every substance that causes one to lose control of one’s behavior.
后记
戒是一种永恒的人道主义,让每个生命过快乐的生活。
持戒会带来美好的善愿,是一种长久而深远的善举,是构建和谐社会的重要力量。
除此之外,戒有助于解决生命中遇到的障碍,包括经济或社会问题;个人或集体的问题。甚至可以说,世间没有任何问题,是戒所不能化解的。
可惜人人皆知戒价值连城,也渴望结交持戒者,但却忽略了自身的修持,而这也是导致社会出现苦难与混乱的原因。
其实,持戒非常简单,无需投资物力与财力,亦无需任何技能学识,只需一颗向善之心。
因为持戒实为用心行善,需要依靠一颗坚强、容忍、安稳,以及渴望自利利他之心。只有具备坚毅的心,方可为他人谋福利,让自己带来无穷的功德利益。
当我们学习戒之后,可能会产生一个共识:就算自己对戒有深刻的认知,但若还未历经实践,也是毫无意义。我们无需再等待他人作为先行者,因为自己本就已准备就绪,就让我们(先)作为先行者吧!
当我们如法实践,真正的利益自己,才会成为身边人的榜样。你邀请他,他邀请别人,一传十十传百,不久和谐安康的社会必将实现。
勿让时间白白流逝,勿让自己碌碌无为,因为没有任何事情,比不持戒度日,更让人感到惋惜。
持戒知识分享
倘若细说,受持五戒不仅仅指不杀生、不偷盗、不邪淫、不妄语与不饮酒。如果将意思相近的归类在一起,可细分如下:
一、不杀生戒
决意远离以下种种行为:
1.杀害动物
动物指人类、畜生,以及腹中的胎儿。
2.伤害身体
此处指人类之间的伤害行为,有如:
2.1致使伤残
2.2致使毁容
2.3致使受伤
3.虐待
此处指对待动物的行为,有如:
3.1使用:过度劳役动物,不让其休息或不给予应有的照顾。
3.2囚禁:动物被束缚或捆绑,使之无法改变体位或痛苦。
3.3牵赶:牵赶被拴住的动物,使之不自在,备受煎熬。
3.4逗玩:为了玩乐而欺负动物。
3.5争斗:让动物相互争斗,例如:斗牛。
二、不偷盗戒
决意远离以下种种行为:
1.偷盗
1.1偷窃:在对方不知觉的情况下,偷走对方的钱财。
1.2抢劫: 当面夺取他人钱财。
1.3恐吓:使对方心生恐惧,而被迫支付金钱。
1.4掠夺:利用武器将他人钱财占为己有。
1.5冒领:冒充他人领取钱财。
1.6中饱:欺诈他人钱财占为己有。
1.7欺骗:以哄骗方式将他人钱财占为己有。
1.8诱骗:利用计谋骗取他人钱财,例如:作弊秤。
1.9假冒:东西以假乱真。
1.10侵吞:借他人之物占为己有。
1.11私吞:将集体利益占为己有。
1.12调换:将自己劣质的东西,偷偷跟别人调换。
1.13私下:偷逃税收、非法贸易。
1.14舞弊:挪用公款去填补即将被没收的私人财产。
2.纵容偷盗
2.1纵容盗贼:援助偷盗,例如:收买赃物、向盗贼提供住宿与饭食。
2.2诈骗(财物):为钱财与人结交,如愿后抛弃对方,导致对方身无分文。
2.3收受贿赂:公务员为收受贿赂而滥用职权。
3.似盗非盗
3.1致使破产:破坏他人财物,却不期望为自己带来财富。例如,偷偷纵火。
3.2强取:因熟悉而轻易的将他人财物占为己有。
三、不邪淫戒
决意远离以下种种不正当的性行为,不与合法配偶之外的人发生关系。
禁止同以下女性发生关系:
1.有夫之妇
2.有监护人的女性
3.传统女性
禁止同以下男性发生关系:
1.丈夫以外的男性
- 传统男性
除此之外,受持第三条戒时,女性受禁止的方面多于男性,因为考虑到邪淫给女性造成的伤害多于男性。
四、不妄语戒
决意远离以下种种行为:
1.妄语
1.1虚诳语:撒谎
1.2虚假誓言:以誓言使人误信。
1.3利用诡计:吹嘘自己具足神力。
1.4假装:展示不为人知的虚假一面。
1.5使花招:以开玩笑或含糊的话,使听者产生误解。
1.6夸大事实:过分夸大事实真相。
1.7隐瞒事实:掩盖不想让他人了解的实情,让对方产生错误的理解。
2.随顺妄语:说非真实之事,但无意让对方相信。
2.1刺激:讲让对方心痛的话,例如:讽刺、责骂。
2.2出尔反尔:反复无常,说后反悔。
3.反悔:慈悲答应他人,过后却反悔,不遵守诺言。
3.1违约:双方签订合约,事后有一方反悔,没有遵照合约而行。
3.2背叛:一方对另一方许下诺言,但过后却没有履行。
3.3食言:无条件答应对方,但后来却没有做到。
备注:有些个案属于没有罪恶的妄语,例如:
(1)行文:根据文字传统所使用的修辞。例如,书信常以‘致以最崇高的敬意’作结尾,但可能并非属实。
(2)小说:虚构的故事或诗歌。
(3)误解:例如,陈述者理解错误,然后根据自身的理解脱口而出。
(4)失误:例如陈述者因受惊吓,无意说出的言词。
五、不饮酒戒
决意远离导致放逸的饮酒行为:
- 发酵酒:经酿制而成的酒。例如,谷酒和花果酒。
2.非发酵酒:未经酿制而成的酒。例如,原料酒、棕榈酒等。
除此之外,还包括远离各种麻醉物和毒品,例如,罂粟、大麻、苯丙胺、海洛因。以及各种对中枢神经起到麻醉作用,无法控制自身行为的东西。
กุศลกรรมบถ ๑๐
กุศลกรรมบถ คือ ทางแห่งความดี มี ๑๐ ประการ คือ
๑. ปาณาติปาตา เวรมณี ตั้งใจงดเว้นจากการฆ่าสัตว์
๒. อทินฺนาทานา เวรมณี ตั้งใจงดเว้นจากการลักทรัพย์
๓. กาเมสุ มิจฺฉาจารา เวรมณี ตั้งใจงดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม
๔. มุสาวาทา เวรมณี ตั้งใจงดเว้นจากการพูดเท็จ
๕. ปิสุณาย วาจาย เวรมณี ตั้งใจงดเว้นจากการพูดส่อเสียด
๖. ผรุสาย วาจาย เวรมณี ตั้งใจงดเว้นจากการพูดคำหยาบ
๗. สมฺผปฺปลาปา เวรมณี ตั้งใจงดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ
๘. อนภิชฺฌา การไม่โลภอยากได้ทรัพย์ของผู้อื่น
๙. อพฺยาปาท การไม่คิดพยาบาทปองร้ายผู้อื่น
๑๐. สมฺมาทิฏฐิ การมีความเห็นชอบ
ทั้ง ๑๐ ข้อนี้ จัดเป็นกายสุจริต ๓ (ข้อ๑-๓) วจีสุจริต ๔ (๔-๗) และมโนสุจริต ๓ (๘-๑๐) ส่วนเนื้อความที่ตรงกันข้ามเรียกว่า อกุศลกรรมบถ คือทางแห่งความชั่วมี ๑๐ ข้อเช่นกัน และแบ่งเป็น การทุจริต ๓ วจีทุจริต ๔ และมโนทุจริต ๓
จะเห็นว่ากุศลกรรมบถข้อที่ ๑-๗ มีเนื้อความตรงกับศีลข้อที่ ๑-๔ ส่วนข้อที่ว่าตั้งใจงดเว้นจากการดื่มสุรานั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ในหมวดธรรมว่าด้วยอบายมุข
ทั้งกุศลกรรมบถ ๑๐ และ ศีล ๕ ต่างก็เป็นมนุษยธรรมที่มีอยู่ตามธรรมชาติของมนุษย์ จึงเป็นเรื่องที่พระพุทธองค์ทรงส่งเสริม และรับเข้าเป็นคำสอนในพระพุทธศาสนา
The Tenfold Wholesome Course of Action
The Tenfold Wholesome Course of Action includes:
- ……… The intention to abstain from killing
- ……………… The intention to abstain from stealing
- …………….. The intention to abstain from sexual misconduct
- …………….. The intention to abstain from false speech
- …………… The intention to abstain from divisive speech
- ………. The intention to abstain from offensive speech
- ………….. The intention to abstain from nonsensical speech
- …………. Non-covetousness
- ………… Non-ill will
- …………. Having Right View
The first three parts concern physical honesty. The fourth to the seventh parts concern verbal honesty. And the eighth to the tenth parts concern mental honesty. On the contrary, the Tenfold Unwholesome Course of Action includes three forms of physical dishonesty, four forms of verbal dishonesty, and three forms of mental dishonesty.
It can be seen that the first to the seventh parts of the Tenfold Wholesome Course of Action correspond to the first four Precepts. As for the fifth Precept, the Lord Buddha categorizes it as part of the Six Causes of Ruin.
Both the Tenfold Wholesome Course of Action and the Five Precepts are the human virtues that have always been the mark of humanity. For this reason, the Lord Buddha has incorporated them into His teachings.
十善业道
十善业道即十种善行为,分别有:
(1) 不杀生:决心离杀害有情的生命。
(2) 不偷盗:决心离不与而取。
(3) 不邪淫:决心离欲邪行。
(4) 不妄语:决心离虚诳语。
(5) 不恶口:决心离粗恶语。
(6) 不两舌:决心离粗口。
(7) 不绮语:决心离阿谀奉承。
(8) 不贪欲:决心离贪婪。
(9) 不嗔恚:决心离嗔恨。
(10) 不邪见:决心离不正之执见。
十善业道可归类为身三善业、口四善业、意三善业。相反的十不善业道,则归类为身三不善业、口四不善业、意三不善业。
由此可见,十善业道的第一至第七项,与五戒的第一至第四戒相符。而佛陀将第五戒归类在六损道中。
十善业道或五戒,皆属于人间的自然法则,为佛陀所倡导之法,归纳在佛教的教法中。
ศีลกับปัญญาเป็นยอดในโลก ศีลดี จึงเจริญวิปัสสนา
คุณของศีล
(ในสีลนิเทศ วิสุทธิมรรค)
ภิกษุผู้มีศีลบริสุทธิ์งดงาม กิริยาที่เธอทรงบาตร จีวร ย่อมเป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใส การบวชของเธอก็มีผล
ใจของภิกษุผู้มีศีลบริสุทธิ์ ย่อมไม่หยั่งลงสู่ภัย อันมีการติเตียนตนเอง เป็นต้น ดุจดวงอาทิตย์ไม่หยั่งลงสู่ความมืดฉะนั้น
ภิกษุเมื่องามในป่า คือ ตบะ ย่อมงามเพราะมีศีลบริสุทธิ์ ดุจดวงจันทร์เมื่องามในท้องฟ้า ย่อมงามด้วยรัศมีทรงกลดฉะนั้น
ภิกษุผู้มีศีล ย่อมมีกลิ่นหอมขจรไปไกล ยังความชื่นบานให้แก่เทพยดาทั้งหลาย ไม่ต้องกล่าวถึงกลิ่นหอมอื่น เพราะกลิ่นศีลย่อมครอบงำสมบัติแห่งคันธชาติทั้งปวงเสียสิ้น ทั้งฟุ้งไปทั่วทุกทิศ ไม่ติดขัดทั้งตามลมและทวนลม
สักการะแม้น้อย ที่ทายกถวายในท่านผู้มีศีล ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก เพราะฉะนั้น ผู้มีศีลจึงเป็นดุจภาชนะรองรับเครื่องบูชาสักการะ
อาสวะทั้งหลายอันเป็นไปในทิฏฐธรรม ย่อมไม่เบียดเบียนท่านผู้มีศีล
ผู้มีศีลย่อมขุดรากแห่งทุกข์ อันเป็นไปในสัมปรายภพเสียได้
สมบัติใดในมนุษย์ และสมบัติใดในสวรรค์ สมบัติทั้งสองนั้นหากผู้มีศีลปรารถนา ก็มิใช่สิ่งที่จะพึงได้โดยยากเลย อนึ่ง ใจของผู้มีศีลบริสุทธิ์ย่อมแล่นไปสู่นิพพานสมบัติ อันเป็นสมบัติที่สงบระงับสุดยอดโดยแท้
ภาษิตอันงดงามเหล่านี้ เป็นเพียงส่วนหนึ่งของศีลภาษิต ที่มีในพระไตรปิฎก ซึ่งถึงแม้ว่าจะเป็นเพียงส่วนน้อยที่ได้นำมาแสดงไว้ แต่ก็ล้วนเป็นถ้อยคำที่ให้กำลังใจให้ความเชื่อมั่น ในคุณค่าอันสุดประมาณของการรักษาศีล
Sila Practice Leads to Supernormal Insight
The Benefits of Sila Practice
A Buddhist monk, who has observed the Precepts immaculately together with the manner in which he holds his alms-bowl and puts on his robe, is an image of inspiration.
The mind of a Buddhist monk who has observed the Precepts immaculately will not wander into a dangerous zone. He is like the sun that does not wander into darkness.
A Buddhist monk practicing religious austerity in the forest is beautiful because of his earnest Sila practice. He is like the moon that shines gloriously in the night sky.
The scent of a Buddhist monk who observes the Precepts immaculately spreads far and wide giving joy to the celestial beings. The scent of Sila overpowers the scent of all the flowers. It pervades everywhere with and against the wind.
The small number of alms offered to a person who practices Sila bears many fruits. The person who practices Sila is like a vessel used to contain articles of worship.
The corruption of this world cannot taint a person who practices Sila.
A person who practices Sila removes the root of suffering inherent in the hereafter.
Whatever wealth in the Human Realm and the Celestial Realm can be obtained by the person who practices Sila if he so desires. The mind of a person who practices Sila is pure and is attracted by the wealth of Nibbana which is lasting bliss.
These are but a few sayings about Sila practice mentioned in the Tipitaka. Nonetheless, they should serve to inspire the reader to have confidence in the incomparable value of Sila practice.
戒清净将增长观
戒的功德
(清净道论——戒)
净戒无垢者,彼为人信乐,受持衣与钵,出家而有果。
净戒比丘心,如暗不侵日,自责等怖畏,无从而潜入。
比丘戒成就,苦行林光耀,犹如盛满月,高悬虚空照。
具戒之比丘,身香亦可喜,甚至诸天悦;戒香何须说?一切诸香中,戒香最为胜,此香熏十方,而无有障碍。
奉侍具戒者,作少而果大,故以彼为器,供养与恭敬。
具戒于今世,不为诸漏害。
他世诸苦根,因缘亦断绝。
不论人间福,以及诸天福,具戒者有愿,实非难得事。诸戒成就者,彼心常追逐,无上涅槃德,究竟寂静乐。
这些殊胜的偈语,只是《三藏经》中有关戒偈语的一小部分,但即便如此,也是充满励志以及价值连城的言辞。