หมวด 11 ปฏิบัติธรรมตามหลักวิชชา
Chapter 11 The Right Practice
以正法而修行
- พอดี (เมื่อไม่รู้จะอ่านอะไร 1)
การปรับกาย ปรับใจ ต้องทำทุกรอบ โดยเอาตัวเราเป็นเกณฑ์ เป็นครู เราแสวงหาความพอดี ว่า แค่ไหนพอเหมาะพอดี
ลองปรับดู ทั้งร่างกายและจิตใจ แล้วเราจะพบความพอดี ความพอดีนั้นมีลักษณะ คือ รู้สึกโปร่ง เบา ไม่เครียด
แล้วเราพอใจ ชอบใจอารมณ์นั้นแหละ รักษาอารมณ์นั้นให้ต่อเนื่องไปเรื่อย ๆ
โดยไม่ต้องกังวลเรื่องอะไร ไม่ช้า ความพอดีนั้น จะนำใจของเรากลับเข้าไปหยุดนิ่ง อยู่ภายในแล้วแสงสว่างจะเกิดขึ้นเอง
31 มีนาคม พ.ศ. 2535
- The Right Balance (When You Don’t Know What to Read 1)
You have to adjust both the body and mind every time you meditate by observing what is best for you, i.e., try adjusting the body and the mind to find the right balance, which is the feeling of spacious, lightness, no stress, and satisfaction. Keep that feeling with you without worrying about anything. Soon, that right balance will bring your mind to become still and brightness will naturally appear.
March 31, 1992
- 刚刚好
每次都要调整身体与心理;要以自我为中心,我们要寻找“刚刚好”。试着调整身体与心理就可以感受到所谓的“刚刚好”:刚好的特性是开朗、轻松、没有压力的感觉,感到满足,欢喜的感觉。一直保持这样的感觉,不用担忧任何事情。经过一点时间“刚刚好”会使我们内心宁静,光明就自然涌现上来。
1992年3月31日 ( 佛历2535年3月31日 )
- ไม่ยินดียินร้าย (เมื่อไม่รู้จะอ่านอะไร 1)
เส้นทางสายกลาง ใจต้องเป็นกลาง ๆ ไม่ยินดียินร้ายกับสิ่งที่เกิดขึ้น ยินดีก็ไม่ได้… ยินร้ายก็ไม่ได้… นิ่งเฉย ๆ ให้ใจเป็นกลาง ๆ ทำเหมือนไม่ได้ทำ ทำอย่างนี้ แล้วธรรมะจะก้าวหน้า
27 มีนาคม พ.ศ. 2539
- Neutral Feeling (When You Don’t Know What to Read 1)
Based on the Middle Way principle, you must keep the mind neutral, paying no attention to what you experience. Just keep the mind still and neutral as if you were not doing anything. Then, your practice of meditation will progress.
March 27, 1996
- 宁静不起涟漪
中道,心要静静地,对任何事情不起涟漪。不是高兴,也不是不满意,要的是宁静。做如未做般轻松自然,依此修行,自然就会进步。
1996年3月27日 ( 佛历2539年3月27日 )
- ตัวสบาย ใจสงบ (เมื่อไม่รู้จะอ่านอะไร 1)
เวลาที่เรานั่งธรรมะ ให้นั่งทำตัวสบาย ๆ ทำใจให้สงบ ให้หยุด ให้นิ่ง
แล้วก็ให้นึกถึงศูนย์กลางกายเป็นชีวิตจิตใจตลอดเวลาเลย อะไรในโลกนี้ ไม่สำคัญเท่าศูนย์กลางกาย
นึกเบา ๆ สบาย ๆ แค่ไหนสบาย ให้ดูตัวเราเป็นเกณฑ์ ดูตอนที่เราพอใจอารมณ์ไหน อยากจะอยู่กับอารมณ์นี้นาน ๆ
ตรงนั้นแหละ อารมณ์สบาย แล้วจะไม่รู้สึกตึงเลย แต่ถ้าร่างกายประท้วงบอกว่า นี่ตึงไป แสดงว่า ผิดวิธี
13 เมษายน พ.ศ. 2535
- Relaxed Body and Calm Mind (When You Don’t Know What to Read 1)
While meditating, just sit comfortably and keep your mind calm and still. Then, think of the center of the body attentively at all times. Nothing in this world is as important as the center of the body. Think about it gently and relaxingly. When you feel satisfied and feel like keeping a certain state of the mind for a long time, such state is the relaxed state. At this point, there is no tension at all. If your body becomes tense, then it is the wrong way. This is the check point.
April 13, 1992
- 身轻松,心宁静
打坐时,身体要轻松舒服地坐 ,使心宁静、止、定,将心思集中到身体的中心点。世间上的任何东西,都比不上身体的中心点重要。轻轻松松,舒舒服服地想,舒适的程度以自己的感受为主。看自己满足于哪种感觉,想要拥有哪种感觉,那样就是舒服的感觉,不会有绷紧的感觉。如果太过紧绷,就表示方法有错误。
1992年4月13日 ( 佛历2535年4月13日 )
- อารมณ์สบาย (เมื่อไม่รู้จะอ่านอะไร 1)
ไม่ต้องไปควานหาความสบาย ขนาดไหนถึงจะสบาย อย่างนี้สบายไหม ไม่ต้องไปควานหา
แค่ทำใจนิ่ง ๆ เฉย ๆ เดี๋ยวความสบาย ความสว่าง ดวงธรรม กายภายใน องค์พระธรรมกายจะมาเอง
แค่หยุดกับนิ่งเฉย ๆ จะเป็นตัวสำเร็จ เป็นทางด่วนพิเศษ ที่ทำให้เราเข้าถึงพระรัตนตรัยในตัว เพราะฉะนั้น อย่ามัวควานหาความสบายว่า แค่ไหนถึงจะสบาย ไม่ต้องหา แค่นั่งนิ่ง ๆ เฉย ๆ เดี๋ยวก็มาเองนะลูกนะ
23 กรกฎาคม พ.ศ. 2545
- Relaxed State of the Mind (When You Don’t Know What to Read 1)
You don’t have to search for the relaxed state of the mind. You may have asked yourself whether your mind is already relaxed or not? There is no need to do that. Just keep your mind still. Soon, the relaxation, brightness, Dhamma Sphere, Inner Bodies, and the Dhammakaya will appear by themselves. Just stop the mind to a standstill. Stop your mind from wandering will lead to success. This is an expressway that allows us to attain the Triple Gem within. Therefore, do not ask yourself which feeling is relaxation. Just keep your mind still. Relaxed state of the mind will happen by itself.
July 23, 2002
- 舒服的心情
不必寻求舒适的感受。多少才舒服?这样舒服吗?不用寻找,只要让心轻松,宁静,静止就好。一旦舒服,光明、法球、内体、法身都会自己来。只是静止与宁静,这就是成功之本,这就是特别的方法,会使我们证入内在的三宝。所以不要寻找舒服的感觉。多少才舒服呢?不用寻找,只要安安静静地坐。过一会儿,它会自己来。
2002年7月23日 ( 佛历2545年7月23日 )
- พ่อครัวชั้นดี (เมื่อไม่รู้จะอ่านอะไร 1)
วางใจให้นิ่ง ๆ นุ่ม ๆ ละมุนละไม ให้ได้ต่อเนื่องกันไป ทำอย่างนี้ แค่นี้เท่านั้น อย่าทำอะไรที่นอกเหนือจากนี้
แล้วใจของเราก็จะถูกปรับปรุง ปรับใจ ปรุงใจของเราให้ถูกส่วนเอง ใจก็จะค่อย ๆ ละเอียดลงไป ๆ เหมือนพ่อครัวชั้นดีที่มีฝีมือปรุงอาหารให้มีโอชารส เราก็ต้องทำประดุจพ่อครัวชั้นดีอย่างนั้น ปรุงใจของเราด้วยวิธีการดังกล่าว คือ หยุดนิ่งเฉย ๆ นิ่ง ๆ นุ่ม ๆ ละมุนละไม อย่างสบาย ๆ
22 เมษายน พ.ศ. 2545
- Fine Chef (When You Don’t Know What to Read 1)
Keep your mind still, soft and gentle continually. Just that. Don’t do anything else. Then, your mind will evolve and become more refined, like a fine chef delicately adjusting the tastes to create delicious dishes. For the mind to be adjusted and refined, just keep it still softly, gently, and relaxingly.
April 22, 2002
- 高级厨师
轻轻地让心柔软,定下来。继续这样做,只这样做而已;除此之外,什么都不用做。我们的心会自然合适调整,心会慢慢变细腻。如很会烹调美味食物的高级厨师,我们也要如高级厨师一样,以轻轻松松的、柔软的方法,来调自己的心。
2002年4月22日 ( 佛历2545年4月22日 )
- ดอกเตอร์ทางธรรม (เมื่อไม่รู้จะอ่านอะไร 1)
การดูไปเรื่อย ๆ คือ การทำใจให้หยุดนั่นเอง ถ้าเห็นดวงได้ชัดเจน ทำใจให้หยุดนิ่งกลางดวงได้ เดี๋ยวเราจะเข้าถึงที่พึ่งที่ระลึกภายใน จะได้ปริญญาทางธรรม จบดอกเตอร์ทางธรรม ต่างจากดอกเตอร์ทางโลก ซึ่งต้องใช้เวลายาวนานหลายปี
ต้องดูหนังสือ ต้องอ่าน ต้องเขียน ต้องทำวิจัย ต้องคิด ต้องพูด สารพัดอย่าง แต่นี่ไม่ต้องทำอะไร แค่ทำเฉย ๆ หยุดนิ่งให้ถูกวิธี
26 มกราคม พ.ศ. 2545
- Doctoral Level of Dhamma Attainment (When You Don’t Know What to Read 1)
To keep observing is to keep the mind still. If you can clearly see the Sphere and keep the mind still at its center, soon you will attain the inner refuge and regard and achieve the doctoral level of Dhamma attainment. Before earning a doctoral degree from an academic institute, one has to complete several tasks such as conducting research, making analysis, making presentation, writing articles, and so on for several years. In contrast, to achieve a doctoral level of Dhamma attainment, one does not have to do anything else besides keeping the mind still correctly.
January 26, 2002
- 佛法之博士
不断地练习将注意力集中在中心点,就会使心宁静。如果清楚地看到光球,可以让心止定在光球中央点;一下子,我们会证入内在的依靠,达到法的博士。 这个博士跟世俗的博士不同:因为世俗的博士需要花费许多的时间去看书、说、读、写、研究等等。但这儿什么都不需要做,只是正确的静静的止定。
2002年 1月 26日 ( 佛历2545年1月26日 )
- ทำใจหลวม ๆ (เมื่อไม่รู้จะอ่านอะไร 1)
จะมืดหรือสว่าง ไม่ต้องไปกังวล ทำใจหลวม ๆ เหมือนสวมเสื้อที่ไม่คับ สวมใส่แล้วสบาย เราก็ต้องทำใจหลวม ๆ นิ่ง ๆ นุ่ม ๆ ละมุนละไม ให้ใจใส เยือกเย็น บริสุทธิ์ ผ่องใส ทำอย่างนี้ แค่นี้เท่านั้น เดี๋ยวใจจะปรับปรุงให้ถูกส่วน ไปสู่จุดแห่งความพอดีเอง
22 เมษายน พ.ศ. 2545
- Loosen up Your Mind (When You Don’t Know What to Read 1)
Do not worry whether it is dark or bright inside. Just keep your mind loosen up, similar to the feeling of wearing a loose outfit that makes you feel comfortable. You have to keep our mind loose, still, soft, delicate, calm, pure, and bright. That’s it. Gradually, the mind will evolve to the right balance.
April 22, 2002
- 让心宽松
黑暗或光明,不用担心。让心宽松,就如穿宽松的衣服,穿了会有舒服的感觉。我们要让心轻松、宁静、柔软,使心透明、平心静气、纯洁、明亮,只是这样做而已。心会自然调整到适合、达到“刚好”的那一点。
2002年4月22日 ( 佛历2545年4月22日 )
- บริกรรมภาวนา (เมื่อไม่รู้จะอ่านอะไร 1)
เวลาประกอบบริกรรมภาวนา สัมมาอรหัง ไม่ใช่ท่องแบบนกแก้วนกขุนทอง การท่อง คือ การใช้กำลัง อย่างนี้ไม่ถูกวิธี
เราจะนึกถึงคำภาวนาอย่างเบา ๆ ละเอียดอ่อน คือ นึกนิดเดียว อย่างสบาย ๆ คล้าย ๆ เสียงเพลง หรือเสียงสวดมนต์ที่เราคุ้นเคย ดังออกมาจากในใจของเรา โดยที่เราไม่ได้นึกถึงเลย
1 มกราคม พ.ศ. 2545
- Reciting the Mantra (When You Don’t Know What to Read 1)
When reciting the mantra “Samma Arahang” during your meditation, do not recite it with effort. You should think of the mantra softly and delicately with ease, similar to the way your favorite music or chanting echoing in your mind without thinking about it at all.
January 1, 2002
- 默念
当默念“三玛阿罗汉”时,不是像鹦鹉一样,只是重复诵出声音,这是不正确的方法。而是要轻松、柔软的默念,是轻轻松松舒舒服服地想;如歌曲一般,如很熟悉的诵经的声音一样,不需要刻意营造,它会自然从心底涌上来。
2002年1月1日 ( 佛历2545年1月1日 )
- เมื่อใจหยุดนิ่ง… จะทิ้งคำภาวนา (เมื่อไม่รู้จะอ่านอะไร 1)
เวลาใจหยุดนิ่ง จะทิ้งคำภาวนาไป คล้าย ๆ กับเราลืมภาวนา แต่ว่าใจไม่ฟุ้งไปคิดเรื่องอื่น
อยากอยู่เฉย ๆ นิ่ง ๆ กลางดวงใส ๆ กลางท้อง ที่เหนือสะดือขึ้นมา 2 นิ้วมือ ถ้าเกิดความรู้สึกอย่างนี้ ก็ไม่ต้องย้อนกลับมาภาวนาใหม่ ให้รักษาใจที่หยุดนิ่ง ๆ นุ่ม ๆ ละมุนละไม อย่างสบาย ๆ ให้ต่อเนื่องกันไป
22 เมษายน พ.ศ. 2545
- When the Mind Becomes Still, Recitation of the Mantra Goes Away (When You Don’t Know What to Read 1)
While keeping your mind still, your recitation of the Mantra may drop and go away as if you forgot to do it. As long as your mind does not wander around and wants to stay still at the center of a bright sphere in your stomach at the width of two fingers above the navel, there is no need to recite the Mantra. Just continue keeping the mind still, soft, and gentle relaxingly.
April 22, 2002
当心止定…会自然舍了默念
当心止定自然会舍了默念,好像忘记了默念,但不是乱想其他的事。只想要静静地定在光球之中心点,在腹部中心点,从肚脐往上提高两指。如果有这种感觉,就不用再默念,只保持心柔软的止定,一直不断地轻松柔软的做。
2002年4月22日 ( 佛历2545年4月22日 )
- ต้องสบาย… (เมื่อไม่รู้จะอ่านอะไร 1)
การจะเข้าถึงพระธรรมกายได้ ต้อง “หยุด” อย่างเดียว การฝึกให้หยุดใช้หลัก คือ ต้องสบาย ฝึกใจให้สบาย ๆ
ให้บริสุทธิ์ ผ่องใส ถ้าใจทิ้งทุกสิ่ง ก็จะหยุดนิ่งอยู่ตรงกลาง กลับเข้าสู่ที่ตั้งดั้งเดิมของใจ คือฐานที่ 7 ถ้าเมื่อไร นำใจเข้าสู่ที่ตั้งดั้งเดิมได้ จะเข้าถึงพระธรรมกาย
10 มกราคม พ.ศ. 2542
- Relaxation Is a Must (When You Don’t Know What to Read 1)
In order to attain the Dhammakaya, the mind must become “still”. To reach stillness, you must keep your mind relaxed, pure, bright and clear. By letting go of everything, the mind will become still at the center, returning to its original position, which is the seventh base. Whenever you can bring your mind back to the original position, you will attain the Dhammakaya.
January 10, 1999
要舒服
要证入法身,只要心静止而已。主要是训练使心静止,就会得幸福,训练使心舒服、纯净、明亮。如果心舍弃所有的事情,就会止定在中心点,回归到心原本的位置,就会证入法身。
1999年1月10日 (佛历2542年1月10日)
- อย่ากังวล (เมื่อไม่รู้จะอ่านอะไร 1)
เมื่อย ก็ให้เปลี่ยนอิริยาบถ เปลี่ยนท่านั่ง เรื่องร่างกายอย่าไปกังวล เราสนใจที่ใจหยุดใจนิ่งเท่านั้น เราไม่ได้มาแข่งกับอะไร หรือจะเอาแพ้ชนะ แล้วเราก็ไม่ได้มาฝึกความอดทนด้วย แต่เรามาฝึกหยุดนิ่ง มันคนละเรื่องกัน ต้องมุ่งการหยุดนิ่งภายในเป็นสำคัญ ส่วนเรื่องข้างนอกจะเคลื่อนไหวอย่างไร อย่าไปสนใจ
31 มีนาคม พ.ศ. 2535
- Don’t Worry (When You Don’t Know What to Read 1)
When you have body pain, you may change your meditation posture. Don’t worry about your body. You should focus on keeping the mind still. You are not in a competition nor to train for endurance. You are in the process of training the mind to reach stillness. Don’t pay attention to the movement of your physical body.
March 31, 1992
别担心
酸痛时就换动作,改变坐姿。身体的事,不要担心,只要把心止定。我们不是跟谁比赛,或论输赢;也不是训练忍耐,而是训练止定,不要理会外在的事物。
1992年3月31日 ( 佛历2535年3月31日 )
- คลาย …เดี๋ยวก็หาย (เมื่อไม่รู้จะอ่านอะไร 1)
การฟุ้งซ่าน ไม่ได้หมายความว่า เราจะไม่สมหวัง เราจะต้องอนุญาตให้ตัวเรา ปล่อยความคิดที่สะสมไว้ในใจให้ผ่านไปบ้าง อย่าไปต้าน อย่าไปรำคาญ และอย่าไปกังวล ให้มันคลาย เดี๋ยวก็หาย เหมือนน้ำกำลังเชี่ยว อย่าเอาเรือไปขวาง เดี๋ยวจะตึงเครียด
31 มีนาคม พ.ศ. 2535
- Just Unwind. Wandering Thoughts Will Be Gone (When You Don’t Know What to Read 1)
It does not mean that you are hopeless if your mind still wanders around with different thoughts. Just let it pass. Don’t go against it. There is no point in trying to stop a rushing river with a boat. Otherwise, you may be stressful. Don’t be annoyed and don’t worry. Just unwind. Wandering thoughts will finally go away.
March 31, 1992
放松…就会好
胡思乱想,不表示我们不能证入。我们要放松自己的心,让念头自然涌现,让已累积的思想浮出水面。不用抵抗,不要不耐烦或担忧,让心放松一下就会好。如水流湍急,别用船身去抵挡。那样的话,会紧张的。
1992年3月31日 ( 佛历2535年3月31日 )
- อย่าตั้งใจมากไป (เมื่อไม่รู้จะอ่านอะไร 1)
ตั้งใจมากไปทำไม อย่างไรเราก็ได้อยู่แล้ว เพราะเรามีพระธรรมกายในตัวทุกคน ศูนย์กลางของเราก็มี
ใจของเราที่จะไปถึงศูนย์กลางกายก็มี เหลือเพียงอย่างเดียว ปฏิบัติให้ถูกวิธี คือ ทำตัวให้สบาย ทำใจให้หยุด ให้นิ่ง แล้วก็เฉย ๆ ที่ศูนย์กลางกาย อย่าไปนั่งแข่งกับวันเวลา ให้กำหนดใจที่ศูนย์กลางกาย ถ้าตึงหรือเครียดอย่าไปฝืน ให้ลืมตาขึ้นมา นึกถึงสิ่งที่ทำให้ใจเราสดชื่น อาจจะเป็นเรื่องของธรรมชาติ ความงามของดอกไม้ หรือเรื่องของความดี เรื่องบุญกุศล ความอินโนเซ้นท์ของเด็ก ๆ หรือสิ่งที่ทำให้ใจสบาย เมื่อสบายแล้ว เราค่อยกลับมาที่ศูนย์กลางกายใหม่
13 เมษายน พ.ศ. 2535
- Don’t Be Overdetermined (When You Don’t Know What to Read 1)
There is no need to be overdetermined on meditation practice. Everyone has the center of body and the Dhammakaya within. Everyone has a mind to reach the center of the body. The only thing left is to do it right, i.e., to relax your body and keep your mind still at the center of the body. Don’t worry about how long it will take to calm the mind. Just keep your mind at the center of your body. If you feel tense or stressful, you may open your eyes, think of something refreshing such as nature, flower, wholesomeness, virtue, children’s innocence or comforting matters. When the mind becomes relaxed, you can then gradually return to the center of the body.
April 13, 1992
不要太专注
为何那么专注呢?无论如何,我们一定会得到的,因为每一个人都有内在的法身。我们也都有身体中心点,要做的仅有一件事而已,就是正确的修行方法。那就是使身体放轻松,感觉舒服,宁静定下来,然后静止在身体中心点。
坐时,不要跟时间比赛,要把心定在身体中心点。如果绷紧,或紧张的话,不要反抗,稍微张开眼睛,联想到可让心情舒适的事情,譬如:大自然、漂亮的花、善事、功德、小朋友的天真,任何可使心舒服的事项。当轻松舒服以后,会自然回归到身体中心点。
1992年4月13日 ( 佛历2535年4月13日 )
- นึกไม่ออก…ไม่เป็นไร (เมื่อไม่รู้จะอ่านอะไร 1)
นึกไม่ออกก็ไม่เป็นไร เอาใจนิ่งเฉย ๆ เพราะการนึกออกนี่ บางคนก็นึกได้น้อย บางคนก็นึกได้ปานกลาง
นาน ๆ จึงจะเห็นสักคน นึกได้มากถึง 80 – 90%คล้าย ๆ กับซีร็อก (Xerox)หรือก็อปปี้ (Copy)
ภาพดวงแก้ว เข้าไปไว้ข้างในเลยนาน ๆ จะเจอสักคนหนึ่ง นั่นก็เป็นเพราะว่า เขาได้เจริญสมาธิภาวนา
สั่งสมบุญมาหลายภพหลายชาติ บุญเก่าเขาตามมา พอมาตรึกระลึกนึกถึงดวงใส เขาก็นึกได้ง่าย เห็นได้ชัดเจน นั่นถือว่า เป็นอสธารณะ เฉพาะบุคคลนะลูกนะ
22 เมษายน พ.ศ. 2545
- It Is Fine If You Cannot Visualize a Meditation Object (When You Don’t Know What to Read 1)
It is fine if you cannot visualize a meditation object. Just keep the mind still. Some people can hardly visualize the object while some can moderately do it. There are only a few that can visualize the object for 80-90% clarity, like bringing a photocopy of a crystal sphere into their minds. They are those who practiced meditation and accumulated merits in many previous lives. With the power of accumulated merits, it is easy for them to clearly visualize the meditation object. It’s individual capability.
April 22, 2002
观想不到,无所谓
观想不到水晶球,无所谓,只要把心定下来。因为有人只观想出一点点,
有的人则观想出多一点点,长久时间才能见到一位可观想出百分之八、九十的人,好像把水晶的影像影印放在心里。这样的人很长时间才见得到一位,是因为他累劫世,有修行功德的累积。累积的功德成熟时,当他观想到明亮的光球,就很容易、清楚地观想到。那是不普通的人,是过去世有修行的人。
2002年4月22日 ( 佛历2545年4月22日 )
- งานที่แท้จริง (เมื่อไม่รู้จะอ่านอะไร 2)
การฝึกใจให้หยุดนิ่งเป็นหน้าที่อันยิ่งใหญ่สำหรับทุกๆชีวิตและเป็นงานที่แท้จริงของมวลมนุษยชาติ
ตลอดจนสรรพสัตว์ทั้งหลาย เพราะเป็นวิธีเดียวเท่านั้นที่จะขจัดความสงสัย เกี่ยวกับเรื่องราวความเป็นจริงของสรรพชีวิตให้หมดสิ้นไปได้ และเป็นวิธีเดียวที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ ทรงปฏิบัติเพื่อให้เกิดความรู้แจ้งเห็นจริง
ในสรรพสิ่งและสรรพสัตว์ทั้งหลาย
5 กรกฎาคม พ.ศ. 2541
- The Real Task (When You Don’t Know What to Read 2)
Training the mind to become still is the duty of everyone and the real task of all mankind because it’s the only way to dispel doubts and discover the truths. Every Buddha did the same thing in order to attain enlightenment, insight and wisdom on all matters and beings.
July 5, 1998
真正的事务
我们的生命,诞生来是为了做真正的事务,称之为:任务。所谓,真正的事务,即是:修止定,要克服烦恼,除尽烦恼,即是止息所有的烦恼。当心光明,无明会消失,真正的知识、真正的幸福会显现。我们诞生是为了进行这个任务。
1998年8月11日 ( 佛历2545年8月11日 )
- เมื่อใจเริ่มละเอียด (เมื่อไม่รู้จะอ่านอะไร 2)
เมื่อเราปฏิบัติธรรม จนใจเราละเอียดถูกส่วนนิ่งแน่นมากขึ้นเรื่อยๆ เราจะอัศจรรย์ใจเพิ่มขึ้นทุกครั้ง
เพราะใจจะเปลี่ยนสภาวะจากหยาบไปสู่สภาวะที่ละเอียดกว่า จากไม่บริสุทธิ์… ไปสู่ความบริสุทธิ์
จากบริสุทธิ์น้อย… ไปสู่บริสุทธิ์มาก เราจะเห็นเส้นทางแผนผังชีวิตของเราซึ่งมีมาแต่ดั้งเดิม คือ เห็นกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต ธรรมในธรรม ของชีวิตภายในซึ่งรวมอยู่ในกลางกาย เราจะเห็นไปตามลำดับ โดยมีดวงธรรมเป็นจุดเริ่มต้น อยู่รวมกันในที่เดียว แต่ว่าเป็นคนละอย่าง เหมือนตา หู จมูก ปาก รวมอยู่บนใบหน้า แต่เรียกคนละอย่าง เพราะมีคุณสมบัติที่ไม่เหมือนกัน จากดวงธรรมภายใน ก็เห็นกายภายในไปตามลำดับ ไม่ช้าก็จะเห็นพระตถาคต ดังพุทธดำรัสว่า “ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นชื่อว่า เห็นเราตถาคต “
1 เมษายน พ.ศ. 2544
- When the Mind Becomes Refined (When You Don’t Know What to Read 2)
After you meditate until the mind becomes refined and still, you will be more astonished because the mind is transformed from a coarse to subtle state, from an impure to purer state. You will see the original path of life, i.e., sequentially seeing the Dhamma Sphere, Body in Body, Sensation (Vedana) in Sensation, Mind in Mind, and Dhamma in Dhamma of the inner life, assembled at the middle of the body at the same point like the way eyes, ears, nose, and mouth are together on the face. Starting from the Dhamma Sphere and sequentially Body in Body, you will see the Tathagata. As the Buddha said, “Whoever sees the Dhamma, that person sees me, the Tathagata.”
April 1, 2001
当心开始细腻
我们在打坐中,当心到达正确的位置,且越来越细腻时,我们将会有神奇的发现:因为心会由粗糙的状态向细腻的状态转变,由不纯净转变为纯净,再由少量的纯净转变为非常的纯净。
我们将看见自己过去的生命蓝图,即见身内身、行内行、心内心、法内法,凝聚在内在生命的中央。
然后会次第地看见:先是看见法球聚集在同一处,但是每个人都各不相同;就好像眼、耳、鼻、口聚集在脸部一样,之所以每个人各有不同,是因为拥有的福报各不相等。
看见内在法球之后,就会次第地看见内在身;不久便会得见如来,就如佛言:“得见法者,如同得见如来。”
2001年4月1日
- มัชฌิมาปฏิปทา (เมื่อไม่รู้จะอ่านอะไร 2)
จุดเริ่มต้นของการเดินทางไปสู่จุดหมายปลายทางของชีวิต ที่จะทำให้เราหลุดพ้น จากการเป็นบ่าวเป็นทาสของพญามารได้นั้น คือ เราจะต้องตั้งใจปฏิบัติธรรม ให้ใจเราหยุดนิ่ง กระทั่งเข้าถึงแหล่งแห่งความบริสุทธิ์ภายใน ใจหยุดจะเป็นตัวสำเร็จ และเป็นสิ่งที่ทำให้ใจเราบริสุทธิ์ เราจะเข้าถึงความบริสุทธิ์ตามที่ปรารถนาได้ ต่อเมื่อใจหยุดใจนิ่ง ตรงศูนย์กลางกาย ฐานที่ 7 แล้วจะเห็นความบริสุทธิ์เกิดขึ้นตรงนั้น ดวงใจของเราจะใสเกินใส ไม่มีความใสใดๆ ในโลกมาเทียบได้
และก็สว่างที่สุด ไม่มีความสว่างใดๆ ในโลกจะเทียบได้
แม้ความสว่างของดวงอาทิตย์ยามเที่ยงวัน ความใสสว่างภายใน เป็นความสว่างที่มาพร้อมกับความสุข และเป็นแสงสว่างแห่งความบริสุทธิ์ในใจเรา ตอนนั้นจิตของเราจะมีคุณภาพ เป็นอิสระ เป็นตัวของตัวเอง ไม่ถูกใครบังคับบัญชา แล้วก็เป็นแหล่งกำเนิดแห่งความสุขที่แท้จริงที่ไม่มีวันสิ้นสุด และเป็นสิ่งคงที่ไม่มีวันเปลี่ยนแปลง ณ ตำแหน่งศูนย์กลางกาย ฐานที่ 7 ตรงนี้ ความบริสุทธิ์ผุดผ่องของใจจะบังเกิดขึ้น เป็นจุดเริ่มต้นที่จะเดินทางไปสู่พระนิพพาน ไปสู่ที่สุดแห่งธรรมที่อยู่ภายในตัวของเรา เป็นจุดที่พระพุทธเจ้าทุกพระองค์และพระอรหันต์ทั้งหลาย ท่านเริ่มต้นทางแห่งความบริสุทธิ์ตรงนี้ แล้วก็ทำใจให้หยุดให้นิ่งเรื่อยไป พอถูกส่วนเข้าก็จะพบเส้นทางสายกลางภายใน จะเห็นทางแห่งความบริสุทธิ์ ที่เรียกว่า “วิสุทธิมรรค” และเป็นทางไปของพระอริยเจ้าทั้งหลาย ที่เรียกว่า “อริยมรรค” อันเป็นทางสายกลางภายใน ที่เรียกว่า “มัชฌิมาปฏิปทา” อยู่ภายในกลางตัว ตรงนี้แหละ
คือ จุดเริ่มต้นแห่งความบริสุทธิ์
- เมษายน พ.ศ. 2544
- Majjhima Patipada (When You Don’t Know What to Read 2)
The journey to the ultimate goal of life that will lead one to be free from defilements starts with meditation. Meditation will help you still the mind and hence reaches the source of inner purity. Stillness brings success. Stillness purifies the mind. You can attain purity when the mind becomes still at the seventh base located at the center of the body. You will see purity occurring there. Your mind will be so bright and clear that nothing in the entire world can be matched, not even the brightness of the midday sun. The inner brightness of the mind comes with happiness. It is the brightness of purity. At that point, your mind will be effective, independent, and yourself, not being controlled by anyone or anything. Furthermore, it is the source of true happiness that never ends nor changes. At the seventh base located at the center of the body, the purification of the mind occurs. It is the starting point for the journey to Nibbana and the Ultimate Dhamma within. It is the point where all the Buddhas and Arhats began their journey to attain purity. By keeping the mind there, they found the Middle Way within, which is the Path of Purity (Visuddhimagga), the path of the noble ones called the “Noble Eightfold Path”, and the inner middle path known as “Majjhima Patipada” in the middle of the body. This is the starting point for purity.
April 1, 2001
中道
要想从生命的起点一直到终点,都不成为魔王的奴隶,我们应打坐修行让心静定,直至到达内在纯净之处。静止是成功之本,也能让我们的心纯净。我们要想如愿获得内在的纯净,应将心持续地静止于身体中央第七点。如此,纯净才会在那儿生起,我们的心将会非常的透明,没有任何东西能比得上;同时也会非常的光亮,没有任何东西能与之相提并论,就算是正午的阳光亦然!
内在的光亮是伴随快乐的光亮,也是我们心中纯净之光。那时我们的心灵会得到提升,独立而且属于自我,不受任何人的控制,是真正快乐的源泉,没有期限也不会改变。在身体中央的第七点,心的纯净无暇将会生起,此乃通往涅槃以及内在法的究竟之起点,诸佛与诸阿罗汉也是从此快乐的源泉开始。
让心持续地静定,当到达正确的位置,就会得见内在清净之道,称为“清净道”;是成就圣者之道,称为“圣道”;也是内在中正之道,称为“中道”;内在的中央便是快乐的源泉。
2001年4月1日
- ทำไมต้องศูนย์กลางกาย ฐานที่ 7(เมื่อไม่รู้จะอ่านอะไร2)
หากต้องการพ้นทุกข์จริงๆ จะต้องปฏิบัติมรรคมีองค์ 8 ตั้งแต่สัมมาทิฏฐิ เรื่อยไปตามลำดับ 7 ประการแรก ไม่อาจดับทุกข์ได้ แต่จะเป็นพลังผลักดัน ให้มาถึงข้อที่ 8 คือ สัมมาสมาธิ จะพ้นทุกข์ได้ต้องสัมมาสมาธิ
หรือพูดภาษาชาวบ้าน คือ ต้องทำสมาธินั่นเอง ใจต้องกลับมาอยู่กับเนื้อกับตัว ไม่ข้องกับสิ่งใด เมื่อใดใจและกายเป็นหนึ่งเดียวกัน ในตำแหน่งที่ถูกต้อง ก็จะขับเคลื่อนเข้าไปสู่ภายใน แล้วหลุดพ้นจากความทุกข์ทรมานของชีวิตไปได้ เหมือนสารถีฝีมือดี นั่งอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้องของพวงมาลัย ก็สามารถขับเคลื่อนรถไปถึงจุดหมายปลายทางได้ ใจที่มาตั้งมั่นในศูนย์กลางกาย ฐานที่ 7 ซึ่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงค้นพบ ในคืนวันเพ็ญ เดือน 6 นั้น ก็เป็นประดุจสารถีผู้ฉลาด ที่นั่งอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง หลังตำแหน่งของพวงมาลัย ที่จะขับเคลื่อนใจไปสู่จุดหมายปลายทางได้ ตำแหน่งที่ถูกต้องในตัวนั้น
อยู่ที่ศูนย์กลางกาย ฐานที่ 7 เหนือสะดือขึ้นมา 2 นิ้วมือ นี่คือคำตอบว่า ทำไมต้องศูนย์กลางกาย ฐานที่ 7 เพราะฐานอื่นๆ นั้นขับเคลื่อนไปไม่ถึง เหมือนเรานั่งไม่ถูกตำแหน่งของสารถี ที่จะขับเคลื่อนใจไปสู่จุดหมายปลายทางได้ เมื่อในยานพาหนะมีตำแหน่งอยู่เพียงตำแหน่งเดียว ที่พวงมาลัยตั้งอยู่ ตำแหน่งที่ถูกต้องก็มีเพียงที่เดียว คือ ที่ศูนย์กลางกาย ฐานที่ 7 นี่แหละคือคำตอบว่า ทำไมต้อง ฐานที่ 7 และก็เป็นเช่นนี้กันทุก ๆ พระองค์ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานแล้ว ต่างก็ขับเคลื่อนสรีรยนต์ ในตำแหน่งที่ถูกต้องตรงนี้ แล้วก็เคลื่อนเข้าไปสู่ภายใน เห็นไปตามลำดับ จนกระทั่งเข้าถึงพระรัตนตรัยในตัว
6 เมษายน พ.ศ. 2551
- Why the center of body seven ? You Really Want to End Suffering (When You Don’t Know What to Read 2)
If you really want to end suffering, you must practice the Eightfold Path starting from Right View. The first seven practice cannot end suffering but will be a driving force for one to reach the eighth practice, which is Right Concentration. Right concentration can help one end suffering. In simple words, you have to meditate in order to achieve Right Concentration. The mind must return to the body and become detached from all matters. When the mind and body are united at the right position, you start your inner journey and will be able to end suffering, like a skilled driver, sitting at the right position behind the steering wheel, drives the car to destination. The right position for the mind, discovered by the Lord Buddha in the full-moon night of the sixth lunar month, is the seventh base which is at the width of two fingers above the navel in the center of the body. If the mind is kept at a wrong position, you will not be able to achieve the final goal, in the same way that a driver sitting at a wrong position in the car cannot bring the vehicle to destination. All the Knowledgeable, the Awakened, or the Blessed ones took the same inner path at the right position until attaining the Triple Gem within.
April 6, 2008
为什么必须是身体中央第七点
如果想真正脱离苦海,必须精进修习八正道,从正见开始次第实践。前七项可能无法灭苦,但却可以成为一种推动力,促使我们到达第八项的正定。
要脱离苦海必须修习正定,或简单的说就是修习打坐。心要回归体内,不执着于任何东西。当心与身在正确的定点合二为一时,就会证入内在,然后远离生命的痛苦。就好像驾驶技术非常熟练的司机,坐在正确的驾驶位上操作方向盘,便能够到达目的地。心静定于佛陀所发掘的身体中央第七点,就如同技术娴熟的司机,坐在正确的驾驶座上,然后带领心到达目的地。
而体内的正确位置,即是肚脐正上方提升两指宽高度的第七定点。这就是为什么是身体中央第七点的答案,因为其他的定点无法带领心到达目的地,就如同我们没有坐在正确的驾驶位上。要带领心到达目的地,每辆车只有一个正确的驾驶位,即坐在方向盘的正前方。体内的正确位置也只有一处,即身体中央第七点。这就是为什么是第七定点的原因所在,且每一尊身为智者、觉醒者、喜悦者的佛陀也都是如此。
坐在正确的驾驶座上,驾驶着车辆到达内在,次第地证入直至成就内在的三宝。
2008年4月6日
- ความลับของชีวิต (เมื่อไม่รู้จะอ่านอะไร 2)
เมื่อเข้าถึงพระรัตนตรัยภายในแล้ว บุญที่เกิดขึ้นก็จะไปตัดรอนวิบากกรรมวิบากมาร ที่ติดตามตัวเรามาข้ามชาติเป็นอัตโนมัติ จากหนักก็เป็นเบา เบาก็หาย ร้ายก็กลายเป็นดี วิบากกรรมที่เราทำผ่านมานั้นมีมากมาย เพราะเราเกิดมาหลายภพหลายชาตินับกันไม่ถ้วน และส่วนใหญ่ก็จะดำเนินชีวิตผิดพลาดกันทุกชาติ บางชาติมาก บางชาติน้อย ทำให้เป็นอุปสรรคของชีวิต แต่ว่าเราไม่รู้ เพราะว่ามีอวิชชาเข้ามาบดบัง ซึ่งเป็นธรรมธาตุอย่างหนึ่งที่มาบดบังเอาไว้
มาหุ้ม เคลือบ เอิบอาบ ซึมซาบ ปนเป็น สวมซ้อน ร้อยไส้ บังคับธาตุธรรมเห็นจำคิดรู้ของเรา กระทั่งเราไม่รู้เรื่องเลย
เหมือนตกอยู่ในความมืด ไม่รู้เรื่องราวความเป็นจริงของชีวิต ว่ามาจากไหน มาทำไม อะไรคือเป้าหมายชีวิต
หรือจะไปสู่เป้าหมายของชีวิตนั้นได้อย่างไร ไม่รู้ว่า มีพระรัตนตรัยในตัว ไม่รู้จักที่พึ่งที่ระลึก
มิหนำซ้ำยังไปตรึกไปนึกในสิ่งที่ไม่ใช่ที่พึ่งที่ระลึกที่แท้จริง เขาก็บังคับบัญชากันอยู่เป็นชั้นๆ อย่างนี้ หยุดใจได้เมื่อไร สิ่งที่เป็นความลับของชีวิตก็จะถูกเปิดเผย เมื่อเราหลับตาแล้วมันไม่มืด ความสว่างเกิดขึ้นภายใน มองผ่านแสงสว่างภายในไป เดี๋ยวก็จะพบสิ่งที่มีอยู่แล้วในตัวของเรา เราก็จะเปลี่ยนจากผู้ไม่รู้มาเป็นผู้รู้ ทำให้เราดำเนินชีวิตได้ถูกต้อง ปลอดภัย และมีชัยชนะ
26 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2549
- 19. Life Secret (When You Don’t Know What to Read 2)
After attaining the Triple Gem within, merit that arises from the attainment will reduce the consequences of bad karmas that have followed us from previous lives, from strong to weak, from weak to none, or from bad to good. There are many kammas that we had done in past lives as we all had been born countless times. Most people had committed bad deeds, small or big, to a certain extent in past lives, resulting in hardship in the present life. This is because of Ignorance (Avijja) inside the mind that prevented us from knowing the truth of life, where we were from, why we are here, what the purpose of life is, how to achieve such purpose, and the Triple Gem inside, which is the supreme refuge and regard. On the other hand, Ignorance caused us to regard and take refuge in things that are not true refuge and regard. Whenever you can still your mind, the secrets of life will be revealed. As darkness disappears, you will be able to see things via the brightness inside and will find what is already inside us. You will become the one who knows and be able to live your life, right and safe, as a winner.
February 26, 2006
生命的秘密
当证得内在的三宝后,生起的功德就会自动地断除,那些跟随自己生生世世的业果。使它们由重变轻,由轻变无,由恶转善。
我们造下的业数不胜数,因为我们转世了无数次。基本上每一世都会造就恶业,有时多有时少,从而形成了生命的障碍,只是我们被无明遮蔽不了解而已。它是一种起到遮挡作用的法界,在我们不知道的情况下,包裹、笼罩、遮掩、渗透与强迫我们的受、想、行、识。就如同处在黑暗之中,不了解生命的真谛,不知道自己来自哪里,生来为了什么,什么是生命的目标,如何实现这个目标;同时也不知道有内在三宝的存在,不了解真正的皈依,而且还去思考或想那些不是真正皈依的东西,它会如此一层层地强迫与遮掩着。
心何时能静定下来,生命的秘密就会被揭开。当我们闭上眼睛时,不是黑暗而是有内在光亮生起,望着这内在的光亮,就会看见本已存在于体内之物。我们也会由不知者转变为已知者,以正确和安全的方式过着美好的生活。
2006年2月26日
- ปกติของใจ (เมื่อไม่รู้จะอ่านอะไร 2)
ปกติใจเรานึกคิดเรื่องราวต่างๆอยู่แล้ว เพราะฉะนั้น ให้เปลี่ยนจากการนึกถึงสิ่งที่ไม่เป็นสาระแก่นสาร มานึกถึงองค์พระภายใน ดวงธรรมภายในดีกว่า เพื่อที่จะเป็นจุดเชื่อมโยงใจให้หยุดนิ่ง เข้าถึงความสุขที่แท้จริงภายใน
27 พฤษภาคม พ.ศ.2550
- 20. Natural State of the Mind (When You Don’t Know What to Read 2)
Our minds usually think about things all the times. Hence, let’s move away from thinking about meaningless things to thinking of the Lord Buddha or the Dhamma in order to link the mind to the point of stillness and consequently attain the true happiness within.
May 27, 2007
心的自然性
通常我们的心总会去想各种各样的事情。因此,我们应做出转变:由想无意义的事情转变成想有意义的事情。即转为意念内在的佛像或法球,使之成为心静定的连接点,然后趣向内在真正的快乐。
2007年5月27日
- เมื่อใจถูกส่วน (เมื่อไม่รู้จะอ่านอะไร 2)
เมื่อใจถูกส่วน ใจก็จะเคลื่อนเข้าไปสู่ภายใน มันจะเคลื่อนไปเอง แล้วจะมีความรู้สึกว่า ร่างกายขยาย ใจขยาย
จนร่างกายกลมกลืนไปกับบรรยากาศ รู้สึกเหมือนเราไม่มีตัวตน มีแต่ใจที่หยุดนิ่งๆ ตั้งมั่นอยู่ภายใน สงัดจากกามและอกุศลธรรม เป็นเอกัคตา ใจเป็นหนึ่ง มีอารมณ์เดียว ความบริสุทธิ์ และความสุขจะเกิดขึ้นพร้อมๆกัน ใจตั้งมั่นมีอารมณ์เดียว ใจจะเป็นกลางๆ
12 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2549
- When the Mind Is in Its Balanced State (When You Don’t Know What to Read 2)
When the mind is in its balanced state, the mind moves inward by itself. There will be a feeling that the body and the mind keep expanding until the body blends in with the atmosphere as if there were only a still mind with no physical body. The mind will be secluded from sensual pleasures and unwholesome matters, becoming focused and pure. Happiness will arise at the same time. The mind will become concentrated and neutral.
February 12, 2006
当心到达正确的位置
当心到达正确的位置,心就会自然地移动进入内在,并感觉身与心都在扩大,直至全身与周围的环境融合在一起,感觉自己已经不存在了,只剩下心稳固地静定于内在,远离情欲与恶业,专注而合二为一,纯净与快乐会同时升起,稳固的心会有同一种心情,心此时处于中道。
2006年2月12日
- ถูกส่วนจึงเห็น (เมื่อไม่รู้จะอ่านอะไร 2)
ให้ฝึกหยุดใจไปเรื่อยๆ ให้ติดเป็นนิสัย เมื่อถูกส่วนก็จะเห็นเอง แต่ถ้าไม่ถูกส่วน มันก็ยังไม่สว่าง
เมื่อไม่สว่างเราก็มองไม่เห็น ทั้งๆ ที่สภาวธรรมภายในมีอยู่ มีแต่เหมือนไม่มี เพราะความสว่างยังไม่บังเกิดขึ้น
ใจต้องหยุดนิ่ง ความสว่างจึงจะบังเกิด ซึ่งประสบการณ์เหล่านี้จะเป็นไปเองโดยอัตโนมัติ ถูกส่วนโดยอัตโนมัติ ก็อยู่ที่การฝึกฝนอบรมใจทุกวัน ให้มีฉันทะ มีใจรักที่จะฝึกใจให้หยุดนิ่ง เพราะเห็นประโยชน์ในการฝึก ตั้งแต่ให้ความสุขในปัจจุบันทำให้เราเข้าไปถึงกายในกาย แล้วก็บรรลุธรรมไปตามลำดับ เราเห็นประโยชน์ในการปฏิบัติธรรมอย่างนี้ฉันทะก็จะเกิดแล้ววิริยะ จิตตะ วิมังสา ก็จะตามมาเอง คือ มีความเพียร ทำต่อเนื่อง ใจจะจดจ่อ แล้วก็ปรับปรุงใจให้หยุดนิ่ง เมื่อทำได้ถูกต้อง เดี๋ยวก็จะถูกส่วนเอง
12 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2549
- When the Mind is in the Right Balance, You’ll See for Yourself (When You Don’t Know What to Read 2)
Keep practicing to still your mind as a habit. When the mind is in the right balance, you’ll see for yourself. When it is not in the right balance, there is no brightness. Thus, you cannot see even though the Dhamma already exists within. When the mind comes to a standstill, brightness occurs. This experience is automatic. Attainment of the Dhamma relies on practice. You should train your mind every day. You should have willingness and love to train the mind to stand still by reminding yourself the benefits of mind training such as happiness, attainment of transcendental inner bodies, and attainment of the Dhamma. After seeing the benefits of meditation, then you will have passion in meditation, followed by putting effort into it, staying focused with it, and self-examination to find the right balance. When you do it right, the mind will be in the right balance.
February 12, 2006
正确即可得见
不断地修习让心静定,直至形成习惯。当心到达正确的位置时,就会自然得见。但如果还没有到达正确的位置,就不会有光亮;当没有光亮生起时,我们就无法得见。即便法身已存在于体内,但存在也等于不存在。因为光亮还没有出现,心静定时光亮才会生起。
这种经验能自动地产生,但要自动地到达正确的位置,就要每天精进地修习。要热衷于修习让心静定,看到修习所产生的益处。它不仅能为当前带来快乐,让我们证得内在的法身,还能次第地证入佛法。
当看到打坐的益处之后,欲、心、精勤与思惟,就会自然地次第生起,也就是勤勉精进、坚持不懈、投入精力地修习心静定。只要方法正确,不久就会到达正确的位置。
2006年2月12日
- หยุดนิ่งอย่างเดียว (เมื่อไม่รู้จะอ่านอะไร 2)
ทิ้งทุกอย่าง ปล่อยวางทุกสิ่ง หยุดนิ่งอย่างเดียว ที่ศูนย์กลางกาย ฐานที่ 7 พร้อมกับบริกรรมภาวนา “สัมมา อะระหัง”
เรื่อยไป
- สิงหาคม พ.ศ.2552
- 23. Just Keep the Mind Still (When You Don’t Know What to Read 2)
Let go of everything and keep the mind still at the seventh base of the mind located at the center of the body and keep on repeating the Mantra “Samma Arahang”.
August 2, 2009
只需静止
放下一切,只需将心静止于身体中央第七点,同时持续地默念“三玛阿罗汉”。
2001年8月2日
- เพิ่มชั่วโมงกลางให้มากขึ้น (เมื่อไม่รู้จะอ่านอะไร 2)
เมื่อเราให้ชั่วโมงหยุด ชั่วโมงนิ่ง ชั่วโมงกลางเพิ่มขึ้น ให้ความสำคัญกับตรงนี้มากเข้า ก็จะรู้จักและเข้าใจไปเรื่อยๆ
เพราะฉะนั้น ตอนนี้แม้ไม่ชัดก็ไม่เป็นไร ทำความรู้สึกไปก่อน แล้วมันจะค่อยเป็นค่อยไป จะค่อยๆ หนาแน่นขึ้น เหมือนจากก๊าซเป็นของเหลว จากของเหลวก็เป็นของแข็ง จากของที่ดูเหมือนไม่มีรูปร่าง ก็จะเป็นรูปเป็นร่าง เป็นดวงใสๆ
กระทั่งเราหลุดจากความรู้สึกภายนอก ไปสู่อีกมิติหนึ่งที่ละเอียดเพิ่มขึ้น จะเป็นดวงใสๆ ติดอยู่ในศูนย์กลางกาย ใจจะเกลี้ยงเกลา จะมีปีติว่า เราสามารถทำได้ เอาชนะความฟุ้ง ความเคลิ้ม หรืออุปสรรคต่างๆได้ ปีติก็จะเกิด สุขก็จะเกิด กายเบา ใจเบา สบาย ใจจะตั้งมั่น นิ่ง และก็แน่นไปเรื่อยๆ แล้วในที่สุดก็จะเคลื่อนเข้าไปสู่ภายใน เหมือนรถที่เคลื่อนที่เป็นการเคลื่อนเข้าไปสู่ภายในในแนวดิ่ง ขยายไปรอบตัวทุกทิศทุกทาง เป็นประสบการณ์มหัศจรรย์ที่เราไม่คุ้นเคย และไม่มีอยู่ในโลก แล้วก็เกิดการเห็นแจ้ง เหมือนดึงของที่อยู่ในที่มืด ออกมาไว้กลางแจ้ง แล้วแสงสว่างจะเกิดขึ้นไปพร้อมๆกันทำให้ความมืดภายในหมดไป
13 มกราคม พ.ศ.2551
- 24. Spending More Time for Meditation (When You Don’t Know What to Read 2)
As you give priority to meditation and spend more time meditating, you will recognize and understand more. If you cannot clearly visualize a meditation object, it is ok. Just feel that there is something at the seventh base. It will gradually be better. Similar to the way gas is transformed to liquid and then to solid, the feeling that there is something shapeless inside will transform to a sphere that is bright and clear. Then, the mind will break free from external feelings to another dimension that is more refined. There will be a bright and clear sphere at the center of the body. The mind will be clean and clear. You will be delighted that you can do it and that you can overcome distraction, sleepiness, or any other obstacles. Delight and happiness will arise. You will feel that the body becomes lighter and that the mind is softer, at ease, and calm. Eventually, the mind will move inwards in a vertical direction, extending all around in every direction. It is a wonderful experience that leads to clear sight like seeing an object that is brought of the dark. At the same time, brightness will arise, eliminating the inner darkness.
January 13, 2008
增加修行的时间
当我们增加修行打坐的时间,给予这方面足够的重视,我们就会不断地加深认识。即便现在还没有清晰也没关系,先树立感觉,之后就会慢慢地进入状态,会越来越紧密。就好像从气体转变成液体,再由液体转变成固体。从看似无形的东西,转变成有形的透明球。我们会脱离外在的感知,进入更为细腻的境界。
此时透明球会定在身体的中央,心也会光滑,并为到达此境界而感到喜悦。法喜与快乐会即刻生起,身与心都感觉非常的轻柔舒服。心又稳固又静定,且会不断地紧密,最后会到达内在。如同行驶的汽车,正直线前往内在,然后扩散至全身。这是一种陌生又神奇的经验,是在世俗中所找不到的。
之后会生起智见 :就好像将黑暗中的东西拉出来,放置在明亮的地方;而且光亮也会同时生起,让内在的黑暗完全地消失。
2008年1月13日
- อย่าทำเยอะ (เมื่อไม่รู้จะอ่านอะไร 2)
การปฏิบัติธรรม เราทำแค่สองเวลา คือ หลับตากับลืมตา อย่าทำเยอะ หลับตาเราก็ทำ ลืมตาเราก็ทำ เอาแค่นี้พอ
21 พฤษภาคม พ.ศ.2551
- 25. Two Times a Day (When You Don’t Know What to Read 2)
You only need to meditate two times a day: while your eyes are closed and while your eyes are open. That’s enough.
May 21, 2008
不要做太多
我们只在两个时间中打坐修行,即睁眼与闭眼。不要做太多,睁眼时我们在做,闭眼时我们也在做,如此便足够了。
2008年5月21日
- ฝึกเป็นคนช่างสังเกต (เมื่อไม่รู้จะอ่านอะไร 2)
วันไหนที่เราปฏิบัติธรรมได้ผลก็ให้สังเกตว่า วันนี้เราวางใจอย่างไร รักษาอารมณ์ดี อารมณ์เดียวทั้งวันอย่างไร และจำวิธีการเอาไว้ จับทางให้ได้ พอจับจุดได้แล้ว คราวต่อไปก็ไม่ยาก มันยากตรงหยุดแรกสักนิดหนึ่ง แต่ยากไม่มาก ยากพอสู้
หยุดแรกจะต้องฝึกฝนทั้งวันทั้งคืน ไม่ว่าจะทำมาหากิน ทำมาค้าขาย ศึกษาเล่าเรียน หรือทำอะไรก็แล้วแต่ ต้องตรึกนึกไปเรื่อยๆ ในทุกหนทุกแห่ง
24 ธันวาคม พ.ศ.2549
- 26. Be Observant (When You Don’t Know What to Read 2)
When you have a good meditation session, you should observe how you keep your mind during the session and your mood throughout the day. Once you find your way, the next step is not difficult. It’s a bit hard for the first stillness but is achievable. The first stillness of the mind requires practice, day and night. Whether you are working, studying, or doing anything, you have to continually think of the seventh base of the mind all the times.
December 24, 2006
培养自己成为细心之人
如果哪天我们打坐收获经验,我们要观察那天是如何安放心的,并记住所运用的方法。当摸索到规律,下一次就不会难了。它只会在开始的时候有点难,但不会很难,完全可以战胜。
第一次的静止要经过夜以继日地修习,无论是谋生、做生意、学习或做什么,以及在何时何地都要不断精进地修习。
2006年12月24日
- ยิ่งเรียนยิ่งง่าย (เมื่อไม่รู้จะอ่านอะไร 2)
วิชาทางโลก หรือการเรียนรู้ทางโลก เริ่มต้นจากสิ่งที่ง่าย ไปสู่สิ่งที่ยาก ยากมากๆ และก็ได้นิดเดียว แต่วิชชาธรรมกาย จะเริ่มต้นในสิ่งที่ยากก่อน แต่ยากไม่มาก นั่นคือ หยุดแรก แล้วไปสู่สิ่งที่ง่าย / ง่ายๆ / ง่ายแสนง่าย ง่ายที่สุด และ ง่ายกว่าง่ายที่สุด เรื่อยไปตามลำดับ
31 พฤษภาคม พ.ศ.2551
- 27. The More You Learn, the Easier It Is (When You Don’t Know What to Read 2)
Learning worldly knowledge starts from simple subjects and moves towards more and most difficult ones, but still limited. Oppositely, Vijja Dhammakaya starts with the difficult, but not that difficult, that is, the first stillness and sequentially moves to the easier and easiest parts.
May 31, 2008
越学习越容易
世俗的学科或学识,会先从易到难,但终究会很难,且学到的并不多。而法身法门会从难开始,但也不是非常难,难就难在初次的静止。然后从容易向更容易转变,循序渐进地变得越来越容易。
2008年5月31日
- ฝึกให้เป็นวสี (เมื่อไม่รู้จะอ่านอะไร 2)
หมั่นฝึกใจให้หยุดนิ่ง มีชั่วโมงหยุด ชั่วโมงนิ่ง ชั่วโมงกลางให้ได้เยอะๆ แล้วความชำนาญก็จะเกิดขึ้น ที่เรียกว่า วสี พอเรานึกน้อมให้หยุดนิ่ง ใจก็ไปอยู่ตรงนั้นแล้ว จะยากก็ตรงหยุดแรก เพราะเราไม่เคยหยุดมาก่อน ถ้าหยุดแรกได้ หยุดที่ 2, 3, 4 ก็จะง่ายขึ้น แต่ถึงง่ายขึ้นก็ไม่ควรประมาท ชะล่าใจ จะต้องทำบ่อยๆ ในทุกอิริยาบถ ทั้งนั่ง นอน ยืน เดิน ให้สอดคล้องกับการดำเนินชีวิตประจำวัน คือ ข้างนอกเคลื่อนไหว ข้างในหยุดนิ่ง เห็นดวงธรรม เห็นกายภายใน หรือเห็นองค์พระชัดใสแจ่มได้ตลอดเวลา ถ้าเราทำจนชำนาญ ความชำนาญจะเกิดขึ้นได้ ต่อเมื่อเรามีความเพียร
ต้องฝึกฝนทำให้ได้ในทุกอิริยาบถ แล้วหมั่นสังเกตว่า ที่เราทำถูกหลักวิชชาไหม ตึงไปไหม หย่อนไปไหม แล้วปรับให้อยู่ในระดับที่พอดี
29 มกราคม พ.ศ.2549
- 28. Train Yourself until Skillful (When You Don’t Know What to Read 2)
Train your mind to a standstill on a regular basis for as many hours as possible. Then, you will become skillful such that when you bring the mind back to the center of the body, it will automatically become still. It may be difficult to achieve the first stillness because the mind has never stayed still before. After the first stillness, it will be easier. Nevertheless, you shouldn’t be careless. You have to do it often in every movement whether while you are sitting, lying, standing, or walking, in accordance with daily life. While the physical body moves on the outside, the mind is kept to a standstill inside with the Dhamma sphere, inner transcendental body, or the Dhammakaya that is bright and clear at all times. You can do this when you are skillful. Skill comes from perseverance. You have to practice doing it in every movement. Then, keep noticing that you are doing it right or not by checking whether you become too tense or too relaxed. Then, adjust it to the right level.
29 January 2006
训练自己成为精通之人
应该利用更多的时间去精进修习心静定,之后熟练才会生起,此即称为精通。然后当我们专注于让心静定,心就会即刻静止在那里。要是出现困难,也是出在第一次的静止,因为我们此前不曾体验过这种静止。
如果有了第一次的静止,第二、三、四次的静止就会越来越容易。但即便容易也不应该自满或疏忽大意,应继续在行、住、坐、卧中,更加精进地修习;与日常生活协调并进,即是外在移动而内在静止,能常见法球、内在身或透明佛像。
我们要想达至精通,在任何时候都必须精进修习;且经常省察自己的方法是否正确,是否过于紧绷或松弛,然后做出相应且恰当的调整。
2006年1月29日
- ที่ไว้วางใจ (เมื่อไม่รู้จะอ่านอะไร 2)
อย่าเอาใจไปวางไว้ที่ใคร วางใจไว้ที่ คน สัตว์ สิ่งของ ไม่ได้ เพราะนั่นไม่ใช่ที่วางใจ เพราะยังเปลี่ยนแปลงได้ คนก็เปลี่ยนแปลง สัตว์ก็เปลี่ยนแปลง สิ่งของก็เปลี่ยนแปลง ล้วนไปสู่จุดสลายทั้งสิ้น และจะทำให้เราทุกข์ใจด้วย เราจะเอาใจไปไว้ตรงนั้นทำไม เพราะที่ตรงนั้น ไม่ใช่ที่ไว้วางใจ ที่ไว้วางใจมีที่เดียวในโลก คือ ศูนย์กลางกาย ฐานที่ 7
31 ตุลาคม พ.ศ.2551
- 29. The Place to Keep the Mind at (When You Don’t Know What to Read 2)
Don’t cling your mind to other people, animals, or other objects because these things keep changing and progressing towards their ending. If you are attached to them, you will suffer. Why would you cling your mind to them? The only place you should keep your mind at is the seventh base of the mind at the center of the body.
October 31, 2008
心的安放处
不要将心安放在他人那里,安放在人、动物或物品上都不行。因为这些都不是心的安放处,因为这些都会有变化。人会变,动物会变,物品也会变,全部都会发生退化,并让我们感到心痛。所以,我们为什么要将心安放在那里呢?那里并不是心的安放处。世界上唯一的心之安放处,就是身体中央第七点。
2008年10月31日
- นึกไปเอง ไม่มีในโลก (เมื่อไม่รู้จะอ่านอะไร 2)
เมื่อไรคำว่า “นึกไปเอง” จะหมดไปจากโลก คำว่า “นึกไปเอง” คำนี้จริงๆ ไม่มีในโลก แต่เราบัญญัติขึ้นมาให้เป็นอุปสรรคต่อการเลื่อนระดับของใจ เห็นหรือนึกไปเอง ถ้าใจไม่นิ่ง นึกไม่ได้ เห็นกลับกลายเป็นปัญหา
แต่พอไม่เห็น เอ๊ะ! ทำไมเรานึกไม่ได้ แต่พอเห็น เอ๊ะ! นึกไปเองมั๊ง เราต้องทำความเข้าใจก่อนว่า ถ้าเริ่มนึกใหม่ๆ จะเป็นบริกรรมนิมิต เพราะใครนึกแทนเราไม่ได้ นี่คือเรานึกของเราเอง ต่างจากคำว่า “นึกไปเองมั๊ง” เพราะคิดว่า นึกไปเอง เลยเป็นอุปสรรค ทำให้ขาดความมั่นใจ เราไปสร้างคำนี้ขึ้นมา เพื่อเป็นอุปสรรคของเรา คนอื่นได้ยิน นั่นคือ เรากำลังขยายสิ่งที่ไม่ถูกต้องให้กับคนหมู่มากแล้วความเครียดก็ขยายไปทั่ว เพราะฉะนั้น นึกไปเอง ไม่มี ถ้าใจไม่นิ่ง นึกไม่ได้
27 ธันวาคม พ.ศ.2550
- 30. Visualization Is Not Imagination (When You Don’t Know What to Read 2)
Some people think what they see during meditation sessions is from “imagination”. The word “imagination” is as an obstacle to the elevation of the mind. You have to understand that when you think of a meditation object, it is visualization not imagination. If you think that it is imagination, you will lack of confidence and it will hinder your progress. Therefore, there is no imagination. If the mind is not still, you cannot visualize.
December 27, 2007
自行意念 ,世上并没有
何时“自行意念”才会从世界上消失?事实上“自行意念”这个词并不存在,是我们自己规定出来的,并成为了提升心的障碍。对于看见或自行意念,其实如果心不能静止,就无法意念得到,看见也反而会变成一个问题。
当看不见时,就会想为什么我们意念不得;但是当看见时,就会想可能是自行意念的而已。我们要先弄明白,在刚开始意念的时候其实是观想所缘,与“自行意念”是有区别的。因为认为是自行意念,于是就会成为障碍,使得自己会失去信心。我们创建这个词来成为自己的阻碍。
如果别人听到了,就会认为我们正在向团体扩散不好的事情,紧张感也会四处蔓延,因此没有自行意念。如果心不能静止,就无法意念。
2007年12月27日
- ใจละเอียดจึงเห็น (เมื่อไม่รู้จะอ่านอะไร 2)
อย่าคาดหวังว่า เราจะต้องเห็นโน่น เห็นนี่ หรือเห็นอะไรอย่างที่เราเคยได้ฟังมา ตอนนี้ในเบื้องต้นแค่ว่า ให้ใจคุ้นกับศูนย์กลางกาย ฐานที่ 7 แล้วก็ทำหยุดทำนิ่งให้เป็นเสียก่อน ให้ได้ปีติสุขที่เกิดจากสมาธิ ให้ได้ตรงนี้เสียก่อน แล้วสิ่งที่เราจะเห็นภายในก็จะเป็นขึ้นมาเอง เพราะว่าสิ่งทั้งหลายมีอยู่แล้วในตัวเรา ไม่ต้องไปแสวงหาหรือไปควานหาอะไร เพียงแต่สิ่งเหล่านั้นเป็นของละเอียด ใจเราต้องละเอียดเท่ากับสิ่งนั้น จึงจะเห็นกันได้
- 31. Only a Refined Mind Can See (When You Don’t Know What to Read 2)
Don’t expect to see this and that or something you’ve heard about. Basically, just keep your mind familiar with the seventh base at the center of the body and let it become still. After attaining happiness as a result of meditation, what you will see inside will come by itself because they are inside us. There is no need to search for anything. Since these things are subtle, your mind can see them only when it is refined to the same level.
心细腻才会得见
不要期望我们会看见这个或那个,或者看见自己曾听说过的东西。在开始的时候,只需要让心熟悉身体中央第七点,并让心静止于其中,体验到禅定所产生的法喜,之后我们想要看见的东西就会自然地生起。因为这些东西本身就存在于我们的体内,无需去外面寻找或探索。只是这些都属于细腻之物,我们的心要同等的细腻,才会看得见它们。
- นั่งธรรมะเหมือนปลูกต้นไม้ (เมื่อไม่รู้จะอ่านอะไร 2)
ทุกครั้งที่เรานั่งหลับตาฝึกใจให้หยุดนิ่ง ความบริสุทธิ์จะถูกสั่งสมไปทีละเล็กทีละน้อย ใจจะถูกขัดเกลา กรอง แล้วก็กลั่นให้ใสขึ้น สมาธิก็จะค่อย ๆ ก่อตัวขึ้นทีละเล็กทีละน้อย เหมือนปลวกที่ขนดินเข้ามาก่อเป็นจอมปลวก เหมือนเรารดน้ำที่โคนต้นไม้ ต้นไม้เจริญเติบโตขึ้นทุกวัน แต่เราสังเกตไม่ออกว่า มันโตขึ้นวันละเซ็นต์หรือสองเซ็นต์ แต่เผลอประเดี๋ยวเดียว มันก็มีผลให้เราได้ชื่นใจ ได้ลิ้มรส
28 พฤษภาคม พ.ศ.2549
- 32. Meditation Practice is Like a Growing Tree (When You Don’t Know What to Read 2)
Every time you meditate, purity grows little by little as the mind is polished, filtered, and more refined. Concentration will gradually build up little by little, like a termite mound gradually grows as termites bring in more clay or like a tree gradually but unnoticeably grows and finally bears fruits as it receives water.
May 28, 2006
打坐如同种树
每次当我们闭上眼睛修习心静定时,纯净就会一点一滴地积累。心会被雕琢与过滤,然后变得更加的透明,入定也会逐渐地进入深层次。就好像白蚁搬运一点一滴的泥土来筑巢,也好像我们给树浇水,每天它都在成长一般,可我们却观察不出它每天长大多少。但随着时间的流逝,不久之后它就会结出果实,让我们品尝及感到欣喜。
2006年5月28日
- ทำแทนไม่ได้(เมื่อไม่รู้จะอ่านอะไร 2)
การฝึกใจให้หยุดนิ่ง ทำแทนกันไม่ได้ ต้องทำด้วยตัวเอง เป็นปัจจัตตัง * เพราะฉะนั้น ต้องให้ความสำคัญกับการปฏิบัติธรรมให้มาก ๆ ควบคู่กับภารกิจ บริหารเวลาของเราให้เป็น เพราะนี่คืองานที่แท้จริงของเรา นอกนั้นก็เป็นงานที่คอยประคับประคองให้ชีวิตดำรงอยู่ได้ เพื่อแสวงหาหนทางพ้นทุกข์
29 มกราคม พ.ศ.2549
- 33. No One Can Do It for You (When You Don’t Know What to Read 2)
You have to train the mind to become still by yourself. No one can do it for you. It is an individual task. Thus, you must manage your time and give priority to meditation because this is your real task. Any other tasks are just carried out with the aim to support your living to find a way out of suffering.
January 29, 2006
无法代替
在修习心静定方面,不能相互代替,要自己去实践。因此,要给予打坐足够的重视,与日常事务齐头并进,且合理地的安排时间。因为这是我们真正的工作,其他的都只是为谋生而做的工作。我们应该为离苦之道而奋斗。
2006年1月29日
- อย่าประมาทในวัย (เมื่อไม่รู้จะอ่านอะไร 2)
ในช่วงวัยยังแข็งแรงอยู่ อย่าให้หมดเปลืองไปในเรื่องราวที่ไร้สาระ ทางกายเราได้พรากจากทางโลกมาในระดับหนึ่งแล้ว คือ ปลอดพันธนาการของชีวิต ไม่ต้องมีภารกิจแบบทางโลก เหลือแต่ทางด้านจิตใจ เราต้องพรากจากทางโลกให้ได้ ใจมันถึงจะกลับเข้าไปสู่ภายใน แล้วก็จะไปศึกษาเรียนรู้วิชชาธรรมกายได้ เราไม่ควรจะให้ความแข็งแรงนี้ผ่านไปเฉย ๆ พอถึงช่วงที่ร่างกายอ่อนแอแล้ว จะไปมีอารมณ์ตอนนั้น สังขารมันก็ไม่อำนวย นี่เป็นสิ่งที่ลูกทุกคนจะต้องรับทราบ และให้ความสำคัญตรงนี้
- พฤศจิกายน พ.ศ.2551
- 34. Do not Take it for Granted that You are Still Young (When You Don’t Know What to Read 2)
While you are still young and healthy, don’t waste your time on meaningless matters. Physically, you have been detached from the world to a certain extent, that is, free from many worldly tasks and activities. Mentally, you have to become detached from the world in order to let the mind return to the inside. Then, you can learn Vijja Dhammakaya. At present, you should take advantage of your strong health. In the future, when you get weak or have health problems, you will not be in the mood to meditate. Everyone must be aware of this and give priority to practicing meditation.
November 2, 2008
年轻时不要放逸
在自己还年轻的时候,不要总是去做一些毫无意义的事,其实我们的年纪并不算小了。要脱离生命的轮回,无需世俗的杂事,只需通过内心。只有内心才能让我们远离世俗,心要真正地回归内在,才能修习法身法门。
我们不应该让年轻的岁月白白流逝。到了身体虚弱的时候,我们就不再有这样的心情 了,因为身体已经衰老了。这些是每个人都要了解的,且要给予足够的重视。
2008年11月2日
- แก่นสารของชีวิตอยู่ที่ไหน? (เมื่อไม่รู้จะอ่านอะไร 5)
อะไรคือแก่นสารของชีวิต ความจริงในโลกนี้ ไม่มีอะไรเป็นแก่นสารเลย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องคน สัตว์ สิ่งของ เรื่องธุรกิจการงาน บ้านช่อง เรื่องอะไรก็ไม่เป็นแก่นสารของชีวิตทั้งนั้น สิ่งที่สำคัญ คือ การฝึกจิตให้หยุดนิ่ง ให้บริสุทธิ์ ให้เข้าถึงธรรมภายใน ดูชีวิตของชาวโลกทั่วไป ตายแล้วก็เอาอะไรไปไม่ได้ นอกจากบุญและบาปเท่านั้น ทั้งโลกก็เป็นอย่างนี้ เพราะฉะนั้น แก่นสารของชีวิตอยู่ที่ใจหยุด ใจนิ่ง ใจที่ดิ่งเข้าไปสู่ภายใน ไปพบสรณะภายใน ที่พึ่งที่ระลึกที่แท้จริง
๑๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๙
- 35. What is the Essence of Life? (When You Don’t Know What to Read 5)
In fact, this is nothing quintessential in the entire world whether it is about living and nonliving objects such as people, animals, belongings or any subjects such as business or job. Nothing is the essence of life. The important thing is to train the mind to stay still and to be pure in order to attain the Dhammakaya. After we die, we cannot take anything with us except merit and demerit. The whole world is like this. Therefore, the essence of life is keeping the mind still and let the mind take the inner journey to meet the true refuge and regard inside.
February 15, 2016
何谓生命的本质?
何谓世间的真相?世间万物无实质,宇宙人生及事物,亲朋好友与事业,皆非世间本来相。
觉察万法本唯心,解脱终得证法身,试看凡夫之俗命,死后只得业紧随,荣辱毁誉如旧梦,世间真相便如此。超脱真相在净心,无明驱散须深修,终得光明自在心。
2016年2月15日
- สำคัญยิ่งกว่าสิ่งอื่นใดทั้งหมด (เมื่อไม่รู้จะอ่านอะไร 5)
ในระหว่างที่เรายังมีชีวิตอยู่… เราจะดำเนินชีวิตอย่างไร ให้ได้ประโยชน์สูงสุดของการมาเกิดเป็นมนุษย์ ประโยชน์สูงสุดของชีวิต…คืออะไร ก็ต้องดูจากผู้ที่บรรลุประโยชน์อันสูงสุด คือ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า และพระอรหันต์ทั้งหลาย ที่ท่านได้บรรลุประโยชน์อันสูงสุดของชีวิตในสังสารวัฏแล้ว คือ สามารถดับทุกข์และหลุดพ้นจากกิเลสอาสวะได้ นั่นคือประโยชน์อันสูงสุดของชีวิต… ส่วนการทำมาหากินเพื่อให้ได้ทรัพย์มาหล่อเลี้ยงสังขาร และนำมาสร้างบารมีนั้น ยังเป็นเรื่องรองลงมา แม้จะมีความจำเป็นก็ตาม แต่เรามีสิ่งเหล่านั้นก็เพื่อ…แสวงหาสิ่งที่ประเสริฐที่สุดในชีวิต
๑๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๒
- More Important Than Anything Else (When You Don’t Know What to Read 5)
How do we live for the maximum benefit of being born as a human being? What is the ultimate goal of life? To answer these questions, one must look at the person who achieved the ultimate goal of life, namely, the Lord Buddha and all Arahants. They have achieved the ultimate goal of life in the Cycle of Rebirths (Samsara), i.e., being able to end suffering and be freed from defilements. Earning money for a living and for merit making through donation is less important, although important, since we are all born to seek the noble matter in life.
January 18, 2009
比任何事情都重要
活着如何实现人生意义。
欲得人生终极义,效仿诸佛阿罗汉,圣者已证得解脱,断尽烦恼永离苦,正是人生终极义。
钱来有方修功德,功德乃是正要事,人间钱财须必要,
更当累积道资粮,为得终极无上乐。
2009年1月18日
- เราเกิดมาเพื่อการนี้ (เมื่อไม่รู้จะอ่านอะไร 5)
การปฏิบัติธรรมเพื่อให้เข้าถึงพระธรรมกาย เป็นสิ่งสำคัญที่สุดในชีวิต ต้องจับหลักให้ได้ว่า เราเกิดมาเพื่อการนี้
ตราบใดเรายังไม่เจอพระรัตนตรัยในตัว เราจะไม่มีวันรู้จักความสุขที่แท้จริง เราจะไม่มีวันอบอุ่น และมีความรู้สึกว่าไม่ปลอดภัยในชีวิต
เราจะมีแต่ความสะดุ้งกลัวต่อมรณภัยและภัยทั้งปวงอยู่ตลอดเวลา แต่เราจะหมดความรู้สึกอย่างนี้ แปรมาเป็นความสุขที่ไม่มีขอบเขต มีความปลอดภัยและอบอุ่นในชีวิต ต่อเมื่อเราปฏิบัติธรรมจนกระทั่งเข้าถึงพระรัตนตรัยในตัว ซึ่งมีอยู่แล้วในตัวของเรา ด้วยวิธีการง่าย ๆ แค่หลับตาเบา ๆ ทำตัวให้สบาย ทำใจให้สงบ ง่วงก็ปล่อยให้หลับ เมื่อยก็ขยับ ฟุ้งก็ลืมตา แล้วก็ว่ากันใหม่ ทำความเพียรเรื่อยไป ด้วยสูตรสำเร็จ คือ “หยุดเป็นตัวสำเร็จ” ใจหยุดนี่แหละเป็นตัวสำเร็จ หยุดใจได้…ก็เข้าถึงได้
๒๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๗
- We Were Born for This (When You Don’t Know What to Read 5)
Practicing meditation in order to attain the Dhammakaya is the most important thing in life. We have to realize that we were born for this. As long as we haven’t found the Triple Gem inside us, we will never know true happiness nor feel secure but rather be terrified of death and all kinds of danger. All these feelings will be gone and replaced by boundless happiness only after we attain the Triple Gem which is already in us. This can be done in a simple manner by closing your eyes gently, making yourself comfortable, and calming your mind. You may let yourself drift away if you are sleepy or open your eyes when you have wandering thoughts and restart your meditation again. The formula is “stillness brings success”. When the mind stops from wandering, you will be able to attain the Dhammakaya.
August 22, 2004
这是生而为人的目的
修行证法是人生最重要的事,要明白这是生而为人的目的。
如果我们未证入内在的法身,就无从得知何谓真正的快乐,人生感觉不到温暖和安全感,一直对死亡和危险充满恐惧。
我们要想消除这种感觉,转化成无穷无尽的快乐,人生充满温馨和安全感,应修行证入内在的法身,而法身就存在人的体内。
只需要轻阖双眼,身心应清净放松,如果发困就入睡,酸痛时可以调整,散乱时就睁开眼,然后再重新开始。
持续精进地修习,静止乃成功之本,心定即成功之本,心若定即可证入。
2004年8月22日
- ปฏิบัติธรรมเพื่ออะไร? (เมื่อไม่รู้จะอ่านอะไร 5)
เราปฏิบัติธรรมเพื่อความบริสุทธิ์บริบูรณ์แห่งชีวิต ไม่ใช่เพื่ออยากเด่นอยากดัง หรือต้องการให้ใครมายกย่องสรรเสริญ หรือปรารถนาลาภสักการะ แต่เรามุ่งปฏิบัติธรรมเพื่อทำความบริสุทธิ์ให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป
จิตยิ่งสะอาด ยิ่งบริสุทธิ์ ก็ยิ่งมีความสุขมาก มีปัญญาบริสุทธิ์เพิ่มขึ้นรู้เห็นอะไรไปตามความเป็นจริง ซึ่งจะทำให้เราดำเนินชีวิตได้ถูกต้องสมบูรณ์ มีความสุขตลอดเส้นทางในระหว่างที่มีชีวิตอยู่
แม้จะอยู่บนเตียงผู้ป่วย ก็ป่วยแต่เพียงร่างกายเท่านั้น แต่จิตใจองอาจ สูงส่ง มีความสุข อยู่ในบุญกุศล อยู่ในธรรม อยู่ในพระรัตนตรัยภายในที่สุกใส สว่าง
จนกระทั่งถึงวันสุดท้ายของชีวิตก็ยังมีความสุข เมื่อละโลกไปแล้วก็ยิ่งมีความสุขในสัมปรายภพ ไปสู่สุคติโลกสวรรค์ เข้าไปเป็นสหายแห่งเทวดาทั้งปวง
๑๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๕
- Goal of Meditation (When You Don’t Know What to Read 5)
We practice meditation to purity the mind, not for fame, praise, nor any other kinds of return. The more we do it, the more our mind is purified, clean, and joyful, leading to attainment of pure wisdom which let us see things as they really are and live our life happily in the right way. When you get sick, you should keep the mind valiant, noble, happy, and clung to merit, Dhamma, and Inner Triple Gem that is bright and clear. If you can do this, you will still be happy until the last moment of your life. After passing away, you will be even happier in heaven.
May 15, 2002
修行为了什么
我们修行是为了成就圆满的生命,并非为了名利、财富或受人赞叹。我们应通过修行使生命越来越清净圆满。
心越清净越快乐,不断增长智慧,如实知见一切,如法的生活,人生道路从始至终充满了幸福。
即便躺在病床上,也只是身体患病,但心态依然平静,快乐安住于功德、佛法和三宝中。
临终前心生欢喜,往生后趣向善道天界,转世为天人。
2002年5月15月
- เข้าถึงธรรม..ไม่ยาก (เมื่อไม่รู้จะอ่านอะไร 5)
การปฏิบัติธรรม…เป็นสิ่งที่ง่ายที่สุดในโลก
ไม่มีอะไรที่ง่ายไปกว่านี้อีกแล้ว
แค่เราหลับตาเบา ๆ ผ่อนคลายสบาย ไม่ต้องคิดเรื่องอะไรทั้งสิ้นทำใจหยุดนิ่งที่กลางกายเท่านั้น เดี๋ยวเราก็จะเข้าถึงสิ่งที่มีอยู่ในตัวเช่นเดียวกับที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระอรหันต์ท่านได้เข้าถึง
เหลือแต่เพียงเราประกอบความเพียรให้สม่ำเสมอ อย่าให้มีสิ่งใดมาเป็นข้ออ้าง ข้อแม้ เงื่อนไข ไม่ว่าเราจะเจ็บป่วยไข้ จะง่วงนอน หรือมีภารกิจอันใดก็ตาม เศรษฐกิจจะขึ้นจะลง สิ่งแวดล้อมจะเป็นอย่างไร ไมใช่อุปสรรคในการที่เราจะปฏิบัติธรรมเพื่อให้เข้าถึงพระธรรมกายในตัว
๑๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๐
- Attaining the Dhammakaya Is Not Difficult (When You Don’t Know What to Read 5)
Meditation is the easiest thing in the world. There is nothing easier than this. You just close our eyes and relax comfortably without thinking about anything at all. Soon, you will attain what is already within you, just like the Lord Buddha and all the Arahants. The only thing left is that you have to do it consistently. Let nothing be an excuse whether it is sickness, sleepiness, responsibility, economic condition, or the surrounding. Nothing is an obstacle for meditation practice to attain the Dhammakaya within.
August 19, 2007
证法不难
打坐是世上最容易的事,没有什么比这更加容易了。
只要轻轻阖眼,全身放松,心无杂念,让心止定在身体中央,就有机会证得佛陀和诸阿罗汉所证之法身。
我们要持之以恒打坐,不要找各种借口或条件。无论是生病、发烧、困倦或其他事情,经济是增长或衰退,化境如何变化,这些都不应成为我们修行证法的障碍。
2007年8月19日
- ความสุขแท้จริง..อยู่ในตัว (เมื่อไม่รู้จะอ่านอะไร 5)
ใจของเราเตลิดเปิดเปิง จากฐานที่ ๗ มายาวนานแล้ว ที่เราเคยได้ยินคำว่า “ใจแตก” มันแตกจากตรงนี้แหละ ใจแตกไปติดในเรื่องราวต่าง ๆ มากมาย ตั้งแต่เราเติบโตเจริญวัยเรื่อยมากระทั่งถึงวันนี้ เราจึงไม่เคยพบความสุขที่แท้จริงสักที เพราะความสุขมีที่เดียว อยู่ที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ ตรงนี้ ดังนั้น เราจึงต้องนำใจกลับมาสู่ที่ตั้งดั้งเดิม เป็นตำแหน่งที่ถูกต้องและดีงาม ที่จะทำให้เรามีความสุขมาก ๆ และสมหวังในชีวิต
๒๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕
- True Happiness Is Inside Us (When You Don’t Know What to Read 5)
Our mind have been unsettled from the 7th base for a long time. The word “Scattered Mind” refers to the mind that has been attached to many different matters since birth. Throughout our lives, we have never found true happiness since true happiness is at the seventh base of the mind at the center of the body. Therefore, we must bring the mind back to its original location, the position that will make us happy and feel fulfilled.
January 24, 2010
真正的快乐于内在
我们的心离开第七点很久了,我们听说过心猿意马这个词,它充分说明了心当下的状态。
心总是攀缘执着于各种事物,从小到大皆如此,所以未曾寻找到真正的快乐,快乐只存在身体中央第七点。
让心回归莫散乱,专注安住一缘中,无限快乐由此起,成就美好的人生。
2010年1月24日
- ใจหยุด ใจนิ่ง..เข้าถึงบรมสุข (เมื่อไม่รู้จะอ่านอะไร 5)
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ทรงค้นพบว่า ความสุขที่แท้จริงนั้นอยู่ในตัวเรา ไม่ต้องไปแสวงหาที่ไหน ถ้าแสวงหาผิดที่ก็ไม่พบ ถ้าแสวงหาถูกที่จึงจะพบ เมื่อพบแล้วพระองค์ก็สรุปให้ฟังว่า นตฺถิ สนฺติปรํ สุขํ ใจหยุด ใจนิ่ง เป็นบรมสุข
คือ ใจที่ปลด ปล่อย วาง จากอารมณ์ต่าง ๆ ภายนอก จากความยินดียินร้าย ในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมณ์ต่าง ๆ เหล่านั้นให้หันกลับมาหยุดนิ่งอยู่ภายใน
สิ่งต่าง ๆ เหล่านั้นไม่ใช่ของจริง ไม่ว่าจะเป็นคน เป็นสัตว์ เป็นสิ่งของเป็นเพียงแค่เครื่องอาศัยชั่วคราวเท่านั้น ไม่ช้าก็จะแตกดับไป เกิดขึ้นตั้งอยู่ แล้วก็เสื่อมสลายไป เนื่องจากไม่ใช่ของจริง มันจึงมีสภาพอย่างนั้น
พระองค์สอนให้เราได้รู้จักว่า เมื่อมันไม่ใช่ของจริง มันมีอาการเปลี่ยนแปลงอย่างนั้น จึงไม่ควรไปยึดมั่นถือมั่นว่า นั่นเป็นของเรา นั่นเป็นตัวเรา ถ้ายึดแล้วก็ไม่ได้อะไร พลอยแต่ทำให้เกิดความทุกข์ใจ
แต่สิ่งที่เป็นของจริงนั้น อยู่ในกลางใจเรา ในกลางของกลางตัวเรา… ตรงที่ใจหยุดใจนิ่งนั่นแหละ
๒๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๓๑
- Ultimate Happiness Can Be Attained with a Still Mind (When You Don’t Know What to Read 5)
The Lord Buddha discovered that true happiness lies within us. There is no need to search anywhere. He concluded that “Natthi Santiparam Sukham”, meaning still mind is the ultimate happiness, that is, the mind that is free from external emotion and pleasure derived from visual objects, sound, odor, taste, touch, and mental objects. Everything around us is not real. They are temporary and will soon come to an end. Thus, we should not be attached to them or think that they belong to us or that this is us. Such attachment does not do anything except causes suffering. The real thing is in the middle of our mind, the place where we should keep the mind still.
August 28, 1988
心止定乃至上之乐
佛陀发现真正的快乐就在体内,无需四处寻找。找错地方就看不见,找对地方才会看见。佛陀有言:心止定乃至上之乐。心要舍离各种情绪,远离色、声、香、味、触、法,不以物喜,不以己悲,静定于内在。
万物皆无我,无论是人、动物或物品都只是暂时存在,不久就会消逝。由于它们并非真实恒常之物,所以会经历生、住、坏、灭的现象。
佛陀教导我们,万物皆无我,会经历各种变化,所以不要执着,说它属于我,它就是我。执着最终也会一无所获,反而生起痛苦。常乐我净乃真相,只在汝心莫外求,止定方得见真颜,趣入内心寂静处。
1988年8月28日
- ใจหยุดนิ่งได้อานิสงส์ไพศาล (เมื่อไม่รู้จะอ่านอะไร 5)
ฝึกใจให้หยุดนิ่งให้ได้ สิ่งอื่นจะเป็นเรื่องคน สัตว์ สิ่งของ เรื่องธุรกิจการงาน เรื่องทำมาหากิน เรื่องอะไรที่นอกเหนือจากนี้ เป็นสิ่งไม่เป็นสาระไม่เป็นแก่นสาร หยุดกับนิ่งนี่แหละเป็นสาระ เป็นแก่นสารของชีวิต ที่จะทำให้เราได้เข้าถึงพระรัตนตรัยในตัว เราเกิดมาเพื่อการนี้
ต้องใช้ทุกอนุวินาที ฝึกฝนใจให้หยุดนิ่งให้ได้ หยุดแค่กะพริบตาเดียวได้อานิสงส์ยิ่งใหญ่ไพศาลมากกว่าสร้างโบสถ์ สร้างวิหารมากมายนักเพราะว่าเป็นทางมรรคผลนิพพาน ทางหลุดทางพ้นจากกิเลสอาสวะ หยุดประเดี๋ยวเดียว ความสุขก็พรั่งพรูออกมา เพราะฉะนั้นหยุดกับนิ่งนี่แหละเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในชีวิต
๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๕
- A Still Mind Gives Rise to Great Merit (When You Don’t Know What to Read 5)
You have to train your mind to become still. Other things like people, animals, objects, work and business are not the essence of life. Stopping the mind from wandering is the quintessence of life that will allow you to attain the Triple Gem within. We all were born for this. You have to take every second to train your mind to stay still. Stopping the mind for the duration of an eye blink gives rise to greater merit than building temple facilities because it is the path to Nibbana, the way to be free from defilements. When you stop the mind for a moment, happiness will pour out. So, stopping the mind from wandering and keeping it still is the most important thing in life.
March 5, 2002
修心止定功德无量
精进修心止定,外在的人、动物、物品、工作或生计都不是生命的本质。唯有止和定才是生命的本质,它能使我们证入内在三宝,而我们生来就是为了实现这个目标。
要利用时间修心止定,止定片刻也是功德无量,比建造大雄宝殿或禅堂的功德还大。因为这是趣向道果涅槃之道,是导向解脱烦恼之道。止定瞬间,快乐生起。因此,止和定是人生最重要的事情。
2002年3月5日
- จิตที่ฝึกดีแล้ว ย่อมนำสุขมาให้ (เมื่อไม่รู้จะอ่านอะไร 5)
ใจต้องฝึกฝน และทำให้เจริญให้มาก ๆ ฝึกมากแล้วจะทำประโยชน์ให้ตนเองได้เป็นอย่างยิ่ง จะเปลี่ยนจากปุถุชนให้เป็นอารยชนได้ ยกตัวอย่าง คนเหมือนกัน คนหนึ่งไม่โกรธ ใจดี มีเมตตาย่อมเป็นที่อยากเข้าใกล้ของคนทั่วไป และถ้าใจรักษาคุณธรรมนี้ไว้มาก ๆ อาจทำให้น่ากราบไหว้ เป็นที่เคารพบูชา เพียงไม่โกรธอย่างเดียวยังได้คุณวิเศษถึงเพียงนี้ ถ้าไม่โลภด้วยจะยิ่งดีมากกว่านี้หลายเท่า สมดังภาษิตที่ว่า ความสุขความเจริญทั้งมวล ย่อมเกิดขึ้นจากใจก่อนทั้งสิ้น
เมื่อเปลี่ยนแปลงใจให้ดีแล้ว สิ่งดี ๆ หลายอย่าง เช่น ทรัพย์สมบัติ คุณสมบัติลาภ ยศ สิ่งดี ๆ ทั้งหลาย ย่อมเป็นผลพลอยได้ตามมาด้วย ฉะนั้น ใจเป็นต้นเหตุของความสุขความเจริญทั้งมวล ในชีวิตนี้ควรฝึกฝนใจ และให้เป็นสิ่งสำคัญที่สุดในชีวิต เพราะนอกจากเป็นแหล่งที่มาของบุญแล้ว ยังนำมงคลทั้งหลายมาสู่ตนด้วย
๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๒๕
- A Well-trained Mind Brings Happiness (When You Don’t Know What to Read 5)
The mind must be trained and mentally developed. A trained mind will greatly benefit yourself as it can transform an ordinary person to an enlightened one. A person who is not easily angry and kind to others is a kind of person people want to be with. If one does not get angry at all, he deserves respect from others. A lot of wonderful things can happen when one can get rid of anger. If one can eliminate greed, it will be many times better. As the proverb says, “Happiness and prosperity originates from the mind”. When you train your mind for the better, many good things such as wealth and recognition will come as byproducts. Since the mind is the source of all happiness and prosperity, it should be trained. Training the mind is the most important thing in life because besides being a source of merit, it also brings auspiciousness to us as well.
August 26, 1982
修心导向快乐
持之以恒地训练心,使之不断提升,最终利益自己,由凡夫变为圣人。举一个例子,有的人没有瞋恨,慈悲善良,人人都喜欢亲近他。如果能继续发扬此美德,将倍受众人敬仰和爱戴。只是没有瞋恨就能有如此殊胜的功德,倘若心中也无贪,那功德必将更加殊胜。
常言道:一切快乐与繁荣,都是源自于内心。心改变之后,必然好事连连,例如:财富、德行、运气和地位等会随之而来。因此,心是一切快乐的源泉。人生要修心,这是最重要的事情,因为它不仅是功德的源泉,也会带来种种吉祥。
1982年8月26日
- คือ..ความเรียบง่ายภายใน (เมื่อไม่รู้จะอ่านอะไร 5)
ครูสอนภาษาท่านหนึ่งกล่าวว่า การเรียนภาษามันต้องง่าย ๆตรงไปตรงมา เพราะภาษาหรือประโยคคำพูด ไม่ได้เริ่มต้นมาจากนักปราชญ์ บัณฑิต หรือบัญญัติสวรรค์ แต่เริ่มต้นจากชาวบ้านธรรมดา คือมีประธาน มีกริยา แล้วก็มีกรรม ท่านก็ยกตัวอย่างว่า เช่น ฉันกินข้าว และหลังจากนั้นก็มีผูกประโยคกันให้ซับซ้อน ให้ดูเลิศหรูสละสลวยกันขึ้นมาแต่จริง ๆ ก็มีความหมายแค่ ฉันกินข้าว การปฏิบัติธรรมก็เช่นเดียวกัน จริง ๆ แล้วมันเรียบง่าย สบาย ๆ เข้าถึงได้โดยไม่ยาก ทำใจให้อินโนเซนท์เหมือนเด็ก ๆ ง่าย ๆ เดี๋ยวก็เข้าถึงได้ แล้วสิ่งที่เป็นความลับ เหลือเชื่อ เช่น เรื่องนรก สวรรค์ นิพพานก็จะถูกเปิดเผยออกมา สว่าง กระจ่าง เหมือนเราชักม่านแห่งความมืดในยามรัตติกาล ให้แสงสว่างแห่งดวงอาทิตย์ ได้โคจรทำความสว่างแก่โลกมันก็ง่าย ๆ แค่นั้นเอง
๓๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๒
- It’s That Simple (When You Don’t Know What to Read 5)
A language teacher once said, “Learning a language must be simple and straightforward because language or sentences originated from ordinary villagers, not from educated people. Each sentence consists of subject, verb, and object. Later on, words and phrases have been complexly arranged to make sentences sound elegant but still have the same meanings. It is the same as meditation practice. In fact, it is simple, relaxing, and easily achievable. Just pretend that you have the mind of an innocent child. Then, you can attain the Dhammakaya with ease. Unbelievable matters and other secrets such as Hell, Heaven, and Nibbana will be revealed, similar to the way the sunlight brightens the room after the window curtain is open. It’s that simple.
May 30, 1999
单纯的内在
有一位教语言的老师说:学习语言应简单通俗,因为语言或文字并非由哲人或学者所创,而是源于平民百姓。句子中有主语、谓语和宾语,例如:“我吃饭”这句话,可以加各种定语修饰,使之读起来更有韵味,但实际的意思就是我吃饭。
修行也是同样的道理,事实上既单纯又舒服,证入的方法并不困难,心如天真无邪的孩子,自然而然就可以证入。
修行也与世间理,简单易学也易懂,证入法身本不难,心若清净如孩童,自然趣入一瞬间。有关地狱、天界和涅槃的秘密终将被揭开,一目了然,就像在黑暗中拉开窗帘,让阳光照射进来。
1999年5月30日
- อย่าประมาทในชีวิต (เมื่อไม่รู้จะอ่านอะไร 5)
เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้อีกไม่นาน เดี๋ยววัน เดี๋ยวคืน เดี๋ยวก็จะหมดเวลาแล้ว เราแก่ลงไปทุก ๆ วันจริง ๆ แม้ใครจะมาชื่นชมเราว่า ดูแล้วยังไม่แก่ ไม่จริงหรอก จริง ๆ แล้วเรานอนกับคนแก่ทุกวันอยู่บนเตียงของเรา คือ นอนกับตัวของเราเอง ที่แก่ลงไปทุกวัน สภาพร่างกายที่เสื่อมลงไปเรื่อย ๆ ทุกวัน แล้วไม่ช้าเราก็จะไปสู่เชิงตะกอน เพราะฉะนั้น เวลาที่เหลืออยู่ มีไม่มากเลย อย่าคิดว่า เรามีเวลาเหลือเฟือ เราจะนั่งธรรมะเมื่อไรก็ได้ เพราะเราได้ทราบสูตรสำเร็จในการเข้าถึงธรรมกายแล้วว่า ให้หยุด ให้นิ่ง ให้เฉยอย่างสบาย ๆ เราจะทำเมื่อไรก็ได้ คิดอย่างนี้เรียกว่า ยังประมาทอยู่ ! เราจะต้องคิดว่า เราจะตายวินาทีนี้ ก่อนตาย…เราจะเอาอะไรเป็นสรณะ เป็นที่พึ่งที่ระลึก หรือยึดเอาไปในภพเบื้องหน้า คิดอย่างนี้แล้วเราจะได้ไม่ประมาท ผู้ที่เข้าถึงพระธรรมกายไม่ได้ มีเพียงประการเดียว คือ ผู้ที่ไม่ทำเท่านั้น
ไม่เกี่ยวกับว่า บุญมากหรือบุญน้อย มันขึ้นอยู่กับว่า จะทำ หรือไม่ทำ อยากได้ หรือไม่อยากได้ เท่านั้นเอง
๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๓๖
- Do Not Be Reckless (When You Don’t Know What to Read 5)
We all have limited time in our life and will not be living for much longer time. Time flies. As day goes by, we get older. In fact, we sleep with old people every day in our beds, i.e., we sleep with our aging selves having deteriorating health. Soon, our bodies will be cremated or buried. There is not much time left. Don’t think that you have plenty of time remained. Don’t procrastinate practice of meditation. If you behave like this, you are reckless. Instead, you must consider what you should take as a refuge if you die this second and what you should take with you to life after death. Thinking this way, you will not be reckless. Those who cannot attain the Dhammakaya are those who have not done it. It is not about having great merit or little merit. It depends on whether you do it or not.
September 6, 1993
人生勿放逸
人生短暂,光阴易逝,如白驹过隙,转眼一生。
我们在慢慢地变老,有人赞美我们年轻,可事实上并非如此,每天都与老人共眠,这个老人就是自己,身体状况每况愈下,死亡迟早都会降临。
因此所剩时间不多,不要以为时间充裕,任何时候修行都行,因为明了证法之道,即是让心止歇静定,任何时候都可以修,如果有此想法的人,说明他依然在放逸。
倘若我们即将往生,什么是我们的皈依,或者能够带走什么,想后就不应该放逸。
无法证入法身的人,只因为他没有去做,与功德的多寡无关,应取决于做与不做,或想不想得到而已。
1993年9月6日
- ความแข็งแรงมีไว้สร้างความดี (เมื่อไม่รู้จะอ่านอะไร 5)
ยังแข็งแรงอยู่ ต้องรีบขวนขวายลุยนั่งธรรมะกันให้เต็มที่ อย่าเอาความแข็งแรงไปทำอย่างอื่น ที่ไม่เป็นบุญกุศล เพราะไม่เกิดประโยชน์อะไร ถ้าเอาความแข็งแรงไปทำบาป ก็จะมีวิบากตามมาอีก เสียดายความแข็งแรง
สิ่งสำคัญในการปฏิบัติธรรม คือ ความแข็งแรงและความปลอดกังวล ทั้งสองอย่างเป็นหัวใจสำคัญ ไม่เช่นนั้นพญามารเอาไปทำอย่างอื่นจนหมดแรง จิตเดิมแท้ของเราจะใสสะอาด แต่พญามารเอากิเลสเข้ามาสอดบังคับให้เราไปสร้างกรรมอีก ดังนั้นในช่วงที่ยังแข็งแรงอยู่ ต้องตั้งใจนั่งธรรมะ และสร้างบุญกันให้เต็มที่
- Strong Health is For Doing Wholesome Deeds (When You Don’t Know What to Read 5)
While you are still healthy, you must spend time practicing meditation to the fullest. Don’t use your strength for anything else that is not wholesome because there is no benefit in doing it. If you use your strength to commit unwholesome deeds, there will be negative consequences. You will regret for not utilizing your strength the right way. The important thing in meditation practice is strength and no worry. Both are significant. If you do other things until becoming exhausted, you will not have enough strength to do good deeds. Therefore, while still being strong and healthy, you must practice meditation and do wholesome deeds with the fullest effort.
ขาดวันที่
健康时多行善
身强力壮时要精进修行,不要利用健康累积非善业,因为这毫无意义。若用健康去造作恶业,不但会受恶报,而且白白浪费青春。
在修行中,健康和安全尤为重要,它们是修行的基础。要防止被魔罗利用做其他的事情,最终白白浪费一生。
原本我们的心清净无染,只是魔罗利用烦恼迫使我们造作种种业。因此,身体健康时要精进修行,多行善业。
- ยกใจให้สูง (เมื่อไม่รู้จะอ่านอะไร 5)
ยกใจของเราให้สูง ยิ่งยกใจให้สูงมากเท่าไร ก็จะยิ่งมองเห็นอะไรได้กว้างขวางขึ้น ความรู้สึกแบ่งเขา แบ่งเรา ก็จะหมดสิ้นไป เพราะใจไม่ค่อยสูง ถึงได้แบ่งเป็นนั่นพวกเรา…นั่นไม่ใช่พวกเรา ก็เลยทำให้เกิด… ความคิด เบียดเบียนกัน คำพูด เบียดเบียนกันการกระทำ เบียดเบียนกัน รบราฆ่าฟันกัน เพราะฉะนั้น จำเป็นอย่างเร่งด่วน ที่จะต้องยกใจให้สูงขึ้น
๒๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๗
- Lifting the Mind up (When You Don’t Know What to Read 5)
The more you lift your mind up, the broader you will to see. The feeling of differentiation will be gone. If the mind is not elevated, people may hurt each other via thoughts, spoken words, and actions, leading to fighting and killing. Hence, it is urgently needed to lift the mind up.
January 26, 2004
提升心境
勤观自心阔心境,心胸宽广方纳川,世事本无你我他,
万苦皆有我而起,有我便有你和他。
导致在思想、言语和行为上相互侵扰和斗争。因此,要抓紧提升自身的心境。
2004年1月26日
- ฝึกใจให้คิดแต่เรื่องดี ๆ กันดีกว่า (เมื่อไม่รู้จะอ่านอะไร 5)
ต้องฝึกใจให้คิดแต่เรื่องบุญกุศล สิ่งเหล่านี้ คือสิ่งที่ควรคิด คิดแล้วใจเป็นบุญกุศล ถ้าใจคิดเรื่องไม่ดี แล้วเรามีสติยั้งคิดได้ ก็นิ่งเสีย ให้ใช้สติพิจารณาว่า เราคิดไม่ดีในเรื่องอะไรบ้าง แล้วใช้ปัญญาสอนตัวเองว่า จะไม่คิดอย่างนี้อีก
ตอนแรก ๆ ทั้ง ๆ ที่รู้ แต่ใจก็ยังเศร้าหมองตาม เหมือนขับรถ เมื่อเบรกแล้วจะยังไม่หยุดทันที ความเฉื่อยยังมีอยู่ ใจก็เช่นกัน ยังมีความเฉื่อยหลงค้างอยู่ในใจ ทำให้ใจเศร้าหมอง “รู้ทันเสียเพียงครึ่ง รู้ไม่ถึงเสียทั้งหมด”ตอนแรก ๆ ก็ต้องฝึก ซึ่งอาจจะมีใจไปตามมันบ้าง แต่ต่อไปจะสามารถตัดใจไม่คิดได้เลยทั้งหมด พอรู้ว่าสิ่งนี้ไม่ดี ก็ไม่คิด ตัดฉับได้ทันที ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับการฝึกฝน
๒๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๒๓
- Practice Thinking about Good Things (When You Don’t Know What to Read 5)
You must train yourself to think about good things only as they brought wholesomeness to the mind. When you have bad thoughts and are aware of them, just let go and teach yourself that you will try not to think like that again. At first, the mind may still become clouded due to bad thoughts even though you already stop thinking about them. This is similar to the way you control a car. The car does not stop right away after you hit the brake due to inertia. Inside the mind, the inertia left from bad thoughts may still cause the mind to be clouded. “Aware of it, you lose half. Unaware of it, you lose all.” At first, it may be difficult to stop thinking about bad things. There may be times that you just lose control and continue thinking negative. If you keep on practicing, it will get better. Ultimately, you will be able to stop it once you are aware that bad thought is forming. Practice makes perfect.
March 27, 1980
修心思善
让心专于常行善,正是此生正要事,让心安住于功德。若心系于非善中,觉察警醒迷乱心,审思忏悔少不得,
让心回归系正念。
起初可能知道,但由于心浑浊而做不到。犹如开车,虽然踩刹车,可车依然缓缓前行,没有立刻停下来。心也是一样,要慢慢清除内心的浑浊。及时领悟只损失一半,不及时领悟会失去全部。必须要不断练习,起初可能很难,可是久而久之,心就不会再去想非善业之事。只要知道此非善业,就当下决断不去想,这些都取决于平常的练习。
1980年3月27日
- ทุกภารกิจ ฝึกจิตได้ (เมื่อไม่รู้จะอ่านอะไร 5)
การทำสมาธิ เราสามารถทำได้ทุกอิริยาบถ ทุกภารกิจเราสามารถฝึกใจได้
ให้สังเกตดูใจตัวเราเอง สังเกตดูการกระทำ การพูด การคิดทุกอย่างที่เราทำว่า “พอดี” แล้วหรือยัง ไม่ว่าจะกวาดบ้าน จะล้างถ้วยล้างชาม จะหั่นผัก งานต่าง ๆ เหล่านี้ เป็นกิจกรรมส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันซึ่งเราต้องทำ ถ้าเราสามารถทำงานเหล่านี้ให้พอดีได้แล้ว เราก็สามารถฝึกใจให้พอดีได้
นั่นคือ เราจะรู้จักคำว่า “วางใจให้ถูกส่วน” แล้วธรรมะก็จะเกิดเป็นความสว่างขึ้นในใจ ดูคุณยายอาจารย์ฯ เป็นตัวอย่าง ท่านทำงานหยาบ*ได้พอดีทุกอย่าง งานละเอียด* ท่านจึงสามารถทำได้ดี
๒๓ เมษายน พ.ศ. ๒๕๒๔
- Training the Mind during the Day (When You Don’t Know What to Read 5)
Meditation can be done in any posture during daily activities. You should observe your own actions, speech, and thoughts whether you do everything neatly enough. If you can do daily activities such as sweeping the floor, washing dishes, chopping vegetables, and any other chores neatly, you can train the mind to the right balance. Then, the Dhamma will emerge as brightness in the mind. Take Khun Yai as an example. She did all her works neatly. When it’s time to meditate, she did it very well.
April 23, 1981
通过日常事务训练心
我们可以通过各种姿势修习禅定,也可以通过各种事务训练心。
要时常省思心,观察自身的思想、语言和行为是否做到刚刚好。在处理日常事务时,无论是扫地、洗碗、切菜或其他事情,只要能做到刚刚好,同样也可以练习让心做到刚刚好。
最后,我们会明白“将心安放在正确位置”的含义,心会被佛法点亮。以老奶奶为典范,她处理日常事务井井有条,所以她的禅修经验非常殊胜。
1981年4月23日
- ภารกิจกับจิตใจไปด้วยกัน (เมื่อไม่รู้จะอ่านอะไร 5)
ต้องบริหารเวลาให้เป็น จัดสรรเวลาของเราให้ลงตัว ให้มีเวลาว่างสำหรับแสวงหา หนทางพระนิพพานของตนเองให้ได้ อย่างน้อยวันละชั่วโมง หรือสองชั่วโมงก็ยังดี ส่วนเวลาอื่นที่เรามีภารกิจประจำวันที่ต้องทำ ก็พยายามฝึกฝนทำควบคู่กับภารกิจนั้นไป เพราะภารกิจกับจิตใจต้องไปด้วยกัน ใครทำสองอย่างนี้ไปพร้อม ๆ กันได้ ถึงจะเรียกว่า บริหารเวลาเป็น มีความตั้งใจที่จะทำความปรารถนาของเราให้สมหวัง ย่อมได้ชื่อว่า เป็นผู้ไม่ประมาทในชีวิต ภารกิจกับจิตใจควรจะไปด้วยกัน ไม่ควรเป็นสิ่งที่แย้งกัน หรือเป็นข้ออ้างว่า เราต้องทำธุรกิจการงาน จะต้องเรียนหนังสือ เลยทำให้ไม่มีเวลา หรือบางคนอ้างว่า สุขภาพไม่แข็งแรง ยังเจ็บป่วยไข้ คอยให้หายป่วยแล้วค่อยแสวงหาหนทางพระนิพพานทำอย่างนี้ไม่ถูกนะ เพราะเรามีเวลาของชีวิตที่จำกัดเหลือเกิน และความตายก็ไม่มีนิมิตหมาย
๑๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๓
- Physical and Mental Tasks Must Go Together (When You Don’t Know What to Read 5)
We have to manage time to search for the path to Nibbana at least one or two hours a day. For the remaining hours, we should try to keep our mind focused at the center of the body while doing daily tasks. Physical and mental tasks must go together. One who can do these tasks at the same time is considered an excellent time manager, a thoughtful person who is determined to achieve the goal. Physical and mental tasks should not contradict one another. Physical tasks such as doing business or studying should not be an excuse for the lack of time to practice meditation. Weak health and illness should not be, either. We all have very limited time in our life and may die any second without prior notice.
July 17, 2000
静心和做事并行不悖
要合理安排时间,落实日常的工作,留出禅修的时间,
每天一两个小时。
在处理日常事务时,可以一边静心,一边处理事务,因为静心和做事并行不悖。同时进行才算是懂得安排时间,努力实现理想的人,可以称为不放逸者。
静心和做事可以并行不悖,不应区别对待,或找借口说自己要工作或学习,所以没有时间。有的人借口说生病,等病好了再寻找涅槃之道,这是不对的。因为人生有限,生死无常。
2000年7月17日
- “สัมมาอะระหัง” กลั่นใจได้ (เมื่อไม่รู้จะอ่านอะไร 5)
ให้มีคำภาวนา สัมมาอะระหัง ในใจ ควบคู่กันไปกับภารกิจ ภาวนาไปเรื่อย ๆ ในทุกอิริยาบถ ทุกกิจกรรม ภาวนาอย่างเป็นสุขใจ สบายใจเพราะเรากำลังทำความดี การภาวนา สัมมาอะระหัง สามารถทำได้ตลอดเวลา
แม้ยามโกรธ เราก็ภาวนา สัมมาอะระหัง ในใจได้ ความโกรธนั้นก็จะมลายหายไป ความทุกข์อะไรเกิดขึ้น
เราก็ภาวนาได้ ความทุกข์นั้นก็จะหายไป แม้มีความสุขเกิดขึ้นมา เราภาวนา ก็จะเพิ่มเติมความสุขให้มากขึ้น
จะเห็นได้ว่า การภาวนา สัมมาอะระหัง ไม่ได้ขัดกับการทำมาหากินเลย เหมือนเราขับรถไปด้วย คุยไปด้วย ใช้ทั้งมือ ทั้งขา ทั้งตา ทั้งหู ทั้งปากพูดไปด้วย เรายังทำได้ การภาวนาก็เช่นเดียวกัน เป็นงานทางใจ
เพราะฉะนั้น จะทำมาหากินหรือจะทำอะไร ก็ทำไปเถอะ แต่ในขณะเดียวกัน เราก็ภาวนา สัมมาอะระหัง ไปด้วย ทำด้วยใจที่เบิกบานมีความสุข
๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๓๑
- “Samma Arahang” Can Refine Your Mind (When You Don’t Know What to Read 5)
You should repeat the Mantra “Samma Arahang” in the mind along with other daily activities. Do it continually and joyfully in every gesture and every task. Enjoy yourself in doing it because you are doing good deeds. Reciting the Mantra “Samma Arahang” in the mind can be done at any times. If you do it when you get angry, the anger will go away. If you do it when you suffer, the suffering will go away. If you do it when you are happy, more happiness will arise. Repeating “Samma Arahang” in the mind does not contradict with our livelihood at all. You can do it along with other activities, similar to the way people talk, listen, or do other tasks while driving. Therefore, you should recite “Samma Arahang” in the mind joyfully during daily activities.
November 6, 1988
“三玛阿罗汉”可以净心
可以一边做事,一边默念三玛阿罗汉。在任何行为或工作中都可以快乐地默念,因为这是一种善行。
任何时候都可以默念三玛阿罗汉,生气时也可以在心里默念,不久怒气就会消失。当痛苦生起时,也同样可以通过默念减轻痛苦。当快乐生起时,也可以通过默念使快乐增长。
由此可见,默念三玛阿罗汉不会妨碍我们。好像我们一边开车,一边聊天,手、脚、眼、嘴并用都不碍事。默念三玛阿罗汉也一样,这是一种内在的工作。
因此,无论是谋生或做事,都可以一边处理,一边欢喜默念三玛阿罗汉。
1988年11月6日
- ทางรอดของมนุษย์ (เมื่อไม่รู้จะอ่านอะไร 5)
ตอนนี้ทั่วโลกต่างก็มีสุขมีทุกข์กันไปบางประเทศก็สุขมาก ทุกข์น้อยบางประเทศก็ทุกข์น้อย สุขมากหรือทุกข์มากสุขน้อยสลับกันไปซึ่งเป็นเรื่องปกติธรรมดา…ทางรอดของมวลมนุษยชาติ มีทางเดียวเท่านั้นคือ ต้องมองกลับเข้าไปสู่ภายในหยุดใจให้ได้ แล้วให้เข้าไปถึงพระรัตนตรัยในตัวอย่ามัวทะเลาะ หรือขัดแย้งกันมองผ่านความแตกต่างเข้าไปถึงความเหมือนกันภายในนั่นแหละ เป็นทางรอดของมวลมนุษยชาติถ้าทุกคนทำอย่างนี้…โลกก็จะเกิดสันติสุขที่แท้จริงเพราะฉะนั้น…ถึงเวลาแล้ว ที่เราควรจะเลิกทะเลาะกัน แล้วก็หยุดใจเข้าสู่ภายใน
๑๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๐
- Salvation for Mankind (When You Don’t Know What to Read 5)
All over the world, some people are happy while others are suffering. Happiness and suffering is everywhere. There is only one way to be relieved from suffering which is to look back into ourselves to stop the mind to a standstill until attaining the Triple Gem inside. It’s time not to quarrel nor contradict with others. It’s time to overlook the differences to realize the similarity inside. This is the salvation for all mankind. If everyone does this, the world will experience true peace. It’s time to stop arguing and bring the mind inside to a standstill.
August 15, 2007
人类脱险之道
世界各地有苦有乐,有的国家乐多苦少,有的国家乐少苦多,或者苦乐参半,这是普遍之事。
人类只有一条脱离险境之道,那就是深入内在,证得内在的三宝。
不要有矛盾或冲突,远离各种等级观念,并深入相同的内在,这是人类脱险之道,若人人都能够做到,世界必将实现和平。
因此,现在我们应该停止争吵,然后静心深入内在。
2007年8月15日