หมวด 8 วิชชาธรรมกาย วิชชาพระพุทธเจ้า ของเก่านำมาเป่าฝุ่นใหม่
Chapter 8 Vijja Dhammakaya, Knowledge of the Lord Buddha Rediscovered
佛陀的法门:法身法门 ——复旧如新的法门
- วิชชาธรรมกาย (เมื่อไม่รู้จะอ่านอะไร 3)
“วิชชาธรรมกาย” แปลว่า ความรู้แจ้งที่เกิดจากการเห็นแจ้งด้วย พระธรรมกาย
ต้องเรียนรู้ด้วย พระธรรมกาย จะเรียนรู้ด้วยกายอื่นไม่ได้ เพราะว่าเป็นเรื่องลึกซึ้งนัก
วิชชาธรรมกาย เรียนเพื่อขจัดกิเลสอาสวะ ตั้งแต่ระดับภาคโปรด…กระทั่งถึงภาคปราบ
ถ้าภาคโปรดก็ขจัดแค่กิเลสในตัวของเรา…เหมือนดับไฟทีละดวง ถ้าภาคปราบก็ไปขจัดต้นตอของผู้ส่งกิเลส
จะไปให้ถึงต้นตอของแหล่งโรงงานผลิตกิเลสกันเลย อย่างนี้เขาเรียกว่า “วิชชาธรรมกาย”
๑๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕
- “Vijja Dhammakaya” (When You Don’t Know What to Read 3)
“Vijja Dhammakaya”” is the knowledge that arises from Dhammakaya enlightenment. It can be learned through the Dhammakaya. Such knowledge cannot be learned through another body because it is very profound. The objective of learning Dhammakaya Knowledge is to eliminate defilements in ourselves and the entire cycle of rebirths. Eliminating defilements in ourselves is like putting out the lights one by one. Eliminating the entire cycle of rebirths is to eradicate the source of all defilements. This is called “Vijja Dhammakaya”.
February 15, 2012
- 法身法门
法身法门,是指通过证入法身而升起的如实知见;必须通过法身学习,无法通过其他身学习,因为是非常深奥的法。学习法身法门是为了断除烦恼,也是为了度众和降魔。度众是战胜内心的烦恼,就像将一盏盏的灯熄灭;降魔是战胜制造烦恼的源头,直捣制造烦恼的工厂。这就是所谓的“法身法门”。
2012年2月15日
- มาร (เมื่อไม่รู้จะอ่านอะไร 3)
มาร คือ ผู้ที่ขัดขวางในการทำความดี แต่สนับสนุนในการทำความชั่ว ทั้งสอน ทั้งบังคับ ให้คิดชั่ว พูดชั่ว ทำชั่วและเก็บผลทั้งหมดที่บังคับได้ เซ็ตเป็นโปรแกรมวิบากกรรม จะทำความดีก็ขวาง แต่ถ้าทำความชั่วสนับสนุน นี่เขาเรียกว่า “มาร”
๕ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๔
- Mara(When You Don’t Know What to Read 3)
“Mara” is one who hinders in doing good deeds but advocating for evil, instilling and compelling evil thoughts, evil speaking, and evil deeds, and setting consequences from committing karma that can be later enforced. One who hinders in doing good deeds but advocating for evil action is called “Mara”.
September 5, 2011
- 魔罗
魔罗是阻挠众生行善的一方,也是鼓励众生造恶的一方;教导或迫使众生的身口意去造恶,搜集所有的恶业来制造出恶果,藉这样的恶性循环来阻碍众生行善,同时鼓励众生造恶。这就是所谓的“魔罗”。
2011年9月5日
3.คู่ต่อสู้ที่แท้จริง (เมื่อไม่รู้จะอ่านอะไร 3)
มนุษย์กับมนุษย์ไม่ใช่คู่ต่อสู้ที่แท้จริง มนุษย์เป็นเหมือนหุ่นให้บุญและบาปเชิด บุญกับบาปเท่านั้นเป็นคู่ต่อสู้ที่แท้จริงในสมรภูมิศูนย์กลางกายในตัวเรา วันใดที่ใจของเราตั้งมั่นอยู่ที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ เราจะเห็นคู่ต่อสู้ของเรา
พระกับมารสู้กันอยู่ แต่ต้องเห็นพระก่อนถึงจะเห็นมาร มารที่หน้าตาน่ากลัว ไม่น่ากลัว แต่มารที่หน้าตาไม่น่ากลัว น่ากลัว
๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๔
- The Real Opponent (When You Don’t Know What to Read 3)
Humans are not real opponents to one another. Humans are like puppets for merit and demerit. Only merit and demerit are the real opponents in the battlefield at the center of our body. When our mind is in a full meditative state at the seventh base of the mind, we can see our opponents. Good and evil are fighting. One must be able to attain the Dhammakaya before seeing the Mara. A Mara with a scary appearance is not scary, but a Mara with a nonscary appearance is scary.
July 20, 2011
- 真正的敌人
人与人之间并不是真正的敌人。人类只是功德和恶业控制的木偶。功德与恶业才是真正的敌人,在我们身体的中心点战斗。当我们将心静定在身体中心第七点,我们将会看到战斗的双方——佛和魔的战斗现场。但是会先见到佛之后才会见到魔,长相可怕的魔并不可怕,长相不可怕的魔才可怕。
2011年7月20日
- สงครามที่แท้จริง (เมื่อไม่รู้จะอ่านอะไร 3)
สงครามภายในเป็นสงครามที่แท้จริง ภารกิจที่แท้จริงของมวลมนุษยชาติก็คือ…การขจัดกิเลสอาสวะภายในใจของเรา
ที่พญามารเอาความโลภ ความโกรธ ความหลง เข้ามาบังคับบัญชา ซึ่งเป็นสาเหตุแห่งความทุกข์ทรมานของชีวิตของตัวเราเอง
๕ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๕
- The Real War (When You Don’t Know What to Read 3)
The war within is the real war. The true mission of all mankind is to eradicate defilements within our minds which are greed, anger, and delusion that cause all kinds of suffering in our lives.
January 5, 2012
- 真正的战争
内在的战争才是真正的战争,全人类真正的任务是战胜内心的烦恼。魔罗创造贪瞋痴来控制众生,是众生苦的来源。
2012年1月5日
- ธรรมกายไม่ใช่ลัทธิใหม่ (เมื่อไม่รู้จะอ่านอะไร 3)
พระเดชพระคุณหลวงปู่วัดปากน้ำฯ ท่านมีพระคุณอันยิ่งใหญ่ต่อเราและชาวโลกอย่างมากมายมหาศาล
แต่เราคงเข้าใจได้เพียงย่อ ๆ สั้น ๆ จะไปอธิบายให้ลึกซึ้งในสิ่งที่ท่านเป็นนั้น มันยากต่อที่เราจะเข้าใจ
เหมือนจะเอาสายบัวไปวัดความลึกของท้องทะเลมหาสมุทร แล้วยกขึ้นมาว่า ลึกเท่าสายบัวแค่นี้ หาควรไม่
แต่เมื่อเราพอที่จะเข้าใจอย่างนี้ ก็จะต้องอธิบายเท่าที่เราพอจะเข้าใจ แค่ว่า ท่านค้นพบ พระธรรมกาย ขึ้นมา
ซึ่งจริง ๆ คำนี้มีอยู่ในพระไตรปิฎกในทุก ๆ นิกายด้วย ก็ยังถูกกล่าวหาว่าเป็นนิกายใหม่ แล้วผู้ที่กล่าวหาก็สร้างข่าว ใส่ไข่ จะด้วยวัตถุประสงค์อะไรก็แล้วแต่ ล้วนไม่เคยปฏิบัติเลย
ถ้าปฏิบัติแล้วก็คงไม่พูดอย่างนี้ แสดงว่าแหล่งที่มาของความคิดนั้นไม่บริสุทธิ์ เพราะตอนเขียนข่าวก็ดี หรือคุยเรื่องข่าวก็ดีนั้นกำลังมึนเมา นอกจากเมาเพราะเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แล้ว ยังเมาวัย เมาชีวิต เมาลาภ ยศ สรรเสริญด้วย เพราะมีความเมาอยู่ในตัว จึงไม่รู้ว่า สิ่งที่เขาเอามาพูดนั้นเป็นไปเพื่อประโยชน์ของตนทั้งนั้น ผู้มีบุญพอได้ยินได้ฟังแล้วจะเกิดปีติภาคภูมิใจ ดีใจว่าเป็นบุญของเราที่ได้มาเกิดในยุคนี้ ที่วิชชาธรรมกายหวนคืนกลับมาอีกครั้ง เป็นพยานตรัสรู้ธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จะทำให้เราดำเนินชีวิตได้ถูกต้องและเข้าใจเรื่องกฎแห่งกรรมได้อย่างดี อย่างน้อยก็รู้ว่าพระธรรมกาย คือ ที่พึ่งที่ระลึกที่แท้จริง คือ เนื้อหนังหรือตัวจริงของพระรัตนตรัย ที่มีอยู่ในตัวของมนุษย์ทุกคนในโลก รวมทั้งตัวเราด้วย และเราสามารถเข้าถึงได้ ถ้าเรายังเป็นปกติดี มีความเพียร แล้วก็ทำถูกหลักวิชชา
เพราะฉะนั้น เราควรจะมานึกว่า เป็นบุญลาภของเราที่มาเกิดในยุคนี้ แทนที่จะไปกุข่าว สร้างข่าว แล้วก็ปล่อยข่าวว่า ธรรมกาย คือ นิกายใหม่ ลัทธิใหม่ ที่ว่านิกายใหม่คือ ในเมืองไทยมีมหานิกาย และธรรมยุติกนิกาย
พอมีคำว่า กาย อยู่ข้างหลังคำว่า ธรรมะ ก็เลยกลายเป็นนิกายใหม่ เพราะฉะนั้น ธรรมกาย ไม่ใช่นิกายใหม่
แล้วก็ไม่มีนิกายอันใด เพราะเกี่ยวกับเรื่องกายภายในที่มีอยู่ในตัวของมนุษย์ทุกคนในโลกขึ้นชื่อว่า มีมนุษย์ที่ไหน ที่ตรงนั้นมีพระธรรมกาย เป็นที่พึ่งที่ระลึกที่แท้จริงของทุกคน สิ่งอื่นไม่ใช่ แล้วจะรู้ได้อย่างไร รู้ได้เมื่อเข้าถึงจะเข้าถึงได้อย่างไร เข้าถึงเมื่อปฏิบัติอย่างถูกหลักวิชชา แล้วท่านอยู่ตรงไหน อยู่ที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ ด้วยวิธีการทำใจหยุดใจนิ่ง แล้วทำอย่างไรถึงจะหยุดนิ่ง ก็เลิกอยาก ลาหยอก ทำใจหยุดนิ่งเฉย ๆ อย่างสบาย ๆ เดี๋ยวก็เข้าถึงได้ นี่ Know-how บอกหมดเลย บอกให้ฟรี ๆ แล้วอย่าเพิ่งไปสรุปว่า พิสูจน์ไม่ได้ เมื่อเรายังไม่ได้พิสูจน์ ถ้าได้พิสูจน์ก็พิสูจน์ได้
๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๗
- Dhammakaya Is Not a New Sect (When You Don’t Know What to Read 3)
Luangpu Wat Paknam had done a lot for us and the whole world. It may be difficult to understand things in details. It’s like taking a short piece of robe to measure the depth of the ocean, which is an inappropriate method. For basic understanding, I would like to explain that Luangpu rediscovered the method to attain the Dhammakaya. The word “Dhammakaya” actually appears in the Tipitaka of several sects. After Luangpu had taught the method of attaining the Dhammakaya to the public, he was accused of establishing a new sect and bombarded with fake news for whatever purpose from those who had never practiced the method. If they had tried it, they would not have said this. Their thoughts came from impure sources, i.e., minds that are filled with delusions. These persons did not know that the Dhammakaya can improve people’s lives. There are those that would be joyful in hearing about the return of Vijja Dhammakaya and those that would be able to attain the Dhammakaya, allowing them to live righteously, understand truly the law of karma, or at least know that the Dhammakaya is the true refuge and regard and the real Triple Gem, exists in every human being, and can be attained with the right practice.
Therefore, we should think that we are fortunate to hear about the Dhammakaya instead of thinking that the Dhammakaya is a new sect. In Thailand, there are two main sects: “Maha-nikaya” and “Dhammayuttika-nikaya”. Although the “Dhammakaya” contains the word “kaya”, similar to the names of the two sects, the Dhammakaya is not new sect. In every human being, there exists the Dhammakaya, which is the supreme refuge and regard. Nothing else is. You will understand this when you attain the Dhammakaya. The Dhammakaya exists at the center of body which is the seventh base of the mind and can be attained by keeping the mind still. By letting go of desire and pleasure and keeping the mind relaxingly still, you will be able to attain it. This is the know-how given for free. Do not prematurely conclude that it is unprovable if you have not done it. If you do it, it can be proven.
October 2, 2004
- 法身法门不是新的宗教学说
北榄寺帕蒙昆贴牟尼祖师对我们和全世界有大慈悲,但我们只能明白一点点。如果要解释说明祖师真实达到的境界,我们是非常难理解的。就像是拿着莲花的茎去海洋的中央测量深度一样,然后举起莲花茎说只有这么深,这样的答案一定是错误的。
当我们的领悟只有这些,就只解释到我们领悟的范围就好,只要说祖师是法身法门的发掘者即可。其实在三藏中或是各个宗派都有提到此法门,即使如此,还是有人认为是新的宗教学说,并加油添醋地写成新闻。不管是为了什么目的,都是因为没有如法实修所致。
若如法实修将不会这么认为,也反映出这样做的动机不纯。不管是写新闻也好,谈论新闻也罢,都是一种执着。除了喝酒的醉之外,人也会执着于年轻、生命、财富、名声、地位等等,因为执着于外在的事物,所以不知道他所做的批评只是为了个人利益。而有功德的人一听到法身法门就会感到开心和自豪,开心地觉得是因为过去的功德让自己可以生在这个法身法门再现的时代。
法身法门是佛陀断除烦恼的法门,可以让我们以正确的方法面对人生,正确地理解因果之律。至少知道法身是深层且真实的依靠,是真实的三宝,是全人类都拥有的,包括我们自己。如果身体健康、勤奋且正确地修习,每个人都能够证入法身。所以我们应该要思维,能生在这个时代是很殊胜的,不要去假造新闻,不要去造谣说法身法门是新的宗派、新的宗教学说。
泰国有大宗派和法宗派,刚好“法身”和“法宗”有一字之差,所以有的人才会误解。但法身法门不是新的宗教学说,也不是新的宗派,而是全人类都有的内在法身。可以说是哪里有人哪里就有法身,是每个人深层且真实的依靠,其他的依靠不是真正的依靠。
那该如何知道呢?当证悟时就知道了。
要如何证悟呢?要正确地如法实修。
法身在哪里呢?在身体中心第七点,要将心静止且宁静。
要如何做到呢?要抛弃欲望、放下所有,让心平静,保持舒舒服服的状态,就能够证悟。
这些方法已经免费地传授给大家了,别因为我们还无法证实就急着说不是真的,当证悟时就能够证实了。
2004年10月2日
6. วิชชาพระพุทธเจ้า (เมื่อไม่รู้จะอ่านอะไร 3)
ลูกทุกคนมีบุญมากที่มาเกิดในยุคนี้ ที่วิชชาธรรมกายได้หวนคืนกลับมาอีกครั้ง แม้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าดับขันธปรินิพพานไปแล้วก็ตาม แต่ก็คล้ายกับพระองค์ยังมีพระชนม์ชีพอยู่ เพราะวิชชานี้ยังอยู่ ยังมีผู้ปฏิบัติได้เข้าถึง
มีวิธีการที่พระเดชพระคุณหลวงปู่ฯ ท่านค้นพบฟื้นฟูขึ้นมาใหม่ ทำให้ง่ายต่อการปฏิบัติ ในสมัยพุทธกาล เมื่อออกพรรษาแล้ว พระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็จะประทานโอวาทแล้วก็บอกขั้นตอนการปฏิบัติธรรม ถ้าหมดกิเลสตรงนี้เรียกว่า พระโสดาบัน หมดกิเลสตรงนั้น สังโยชน์ตรงนั้น เรียกว่า พระสกิทาคามี
หมดเท่านี้เรียก พระอนาคามี หรือหมดเกลี้ยงเลยเรียก พระอรหันต์ เมื่อรับฟังโอวาทแล้ว ต่างก็แยกย้ายไปแสวงหาที่วิเวกปฏิบัติธรรม ไปทำให้ได้ ต่างก็แยกย้ายไปแสวงหาที่วิเวกปฏิบัติธรรม ไปทำให้ได้ ในยุคนี้สิ่งเหล่านี้ก็หวนคืนมาอีกครั้งหนึ่ง เราจะรู้ว่าเราไปถึงไหน มันมีขั้นตอนของการปฏิบัติ ที่เราได้ยินได้ฟังกันอยู่บ่อย ๆ เมื่อมีขั้นมีตอนก็ง่ายต่อการปฏิบัติ เราเข้าใจแล้วจะปฏิบัติตรงไหนก็ได้ ทำให้มันเป็น ทำให้มันได้แค่นั้นเอง
๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๖
- Wisdom of the Lord Buddha (When You Don’t Know What to Read 3)
All of you are fortunate to be born during the return of Vijja Dhammakaya. Even though the Lord Buddha already passed away but it is like he is still alive because this knowledge still exists and there are practitioners who can attain the Dhammakaya through the method that Luangpu rediscovered.
During the Buddha’s lifetime, the Lord Buddha gave a sermon to explain the steps of Dhamma practice at the end of Buddhist Lent. If one can eradicate defilements to specific levels, one accordingly becomes Sotapanna (stream enterer), Sakadagami (once-returner), Anagami (non-returner), or Arahant (worthy one). After listening to the sermon, monks went on their separate ways to secluded places to practice the Dhamma in order to attain enlightenment. At present, this is happening again. We are able to know which level we achieve. There are steps in the practice. Thus, it is easy to follow. After understanding the technique, we can do it anywhere. Make it happen. Just that.
October 12, 2003
- 佛陀的法门
弟子们很有功德,所以能生在这个法身法门重现的时代,尽管佛陀已经究竟涅槃了,但好像佛陀仍在世一样。因为北榄寺祖师发现并复兴法身法门,至今佛陀的法仍有人修行证悟,祖师的教导也使信徒可以容易地修行。
在佛陀时代,当出雨季安居后,佛陀将开示关于修行的步骤。若断三缚结就是证得须陀洹果,若已断三缚结又薄贪嗔即是证得斯陀含果,若已断五下分结就是证得阿那含果,若完全断除烦恼则是证得阿罗汉果。听完佛陀开示后,弟子们就各自去找适合自己修行的地方如法实修。
在这个时代,这样的风气也将再度复兴。我们必须知道自己的修行程度,再配合我们经常听闻到的修行方法。当我们知道修行的步骤之后,在哪里修行都可以,只要如法实修就好了。
2003年10月12日
7. ชื่อวัดพระธรรมกาย (เมื่อไม่รู้จะอ่านอะไร 3)
คำว่า “พระธรรมกาย”เป็นกายตรัสรู้ธรรมภายใน หมายถึง พระพุทธเจ้าภายในตัวของเรา ที่ใช้คำนี้นำมาประดิษฐานเป็นชื่อของวัด เป็นชื่อของมูลนิธิ เพราะคำว่า “ธรรมกาย” แม้มีอยู่ในตัว แต่คนรู้ได้ยาก แล้วก็เกิดขึ้นได้ยากในโลก จึงอยากจะคงคำนี้เอาไว้ป้าย “วัดพระธรรมกาย” หลวงพ่อจึงให้ตอกเสาเข็มลึกลงไป ๒๑ เมตร ความจริงแล้วป้ายไม่ได้หนักอะไร แต่วัตถุประสงค์เพื่อให้คำนี้อยู่นาน ๆเผื่อโบสถ์ วิหาร ศาลาการเปรียญพังไปแล้ว แต่ป้ายยังอยู่
ใครผ่านไปผ่านมา เห็นป้าย “วัดพระธรรมกาย” จะได้เฉลียวใจว่า คำนี้มีความสำคัญอย่างไร จะได้เกิดการศึกษาเรียนรู้ที่มาที่ไปว่าเป็นอย่างไร
๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๗
- Name of Wat Phra Dhammakaya (When You Don’t Know What to Read 3)
The word “Phra Dhammakaya” is the inner body of enlightenment, referring to the Lord Buddha within us. The reason that the temple and the foundation were named after this word is because the “Dhammakaya”, although exists in everyone, is unknown to most. So, I want to keep this word on the temple sign “Wat Phra Dhammakaya”. The foundation piles for the temple sign are 21 meters deep. In fact, the temple sign is not heavy. But the purpose is to keep this word for a long time. In the future, the chapel, assembly hall, and other facilities in the temple may deteriorate but the sign will still be there. People who see the sign “Wat Phra Dhammakaya” may be interested in finding more about this word and searching for its significance and origin.
March 25, 2004
- 法身寺的寺名
所谓的“法身”,是内在解脱之身,意思即自身佛。以这个名字来为寺院命名,是因为法身虽然每个人都有,但是却很难发现,也很难得能够再现于世,所以要将“法身”这两个字保存好。
法胜师父将法身寺山门的桩打到二十一米之深,其实匾额并不重,此举真正的用意是要让“法身”这两个字长存。就算大雄宝殿、纪念堂或是国际法堂都毁坏了,山门仍将继续矗立着。当有人经过,看到法身寺的匾额,可能会好奇,“法身”这两个字有什么重要性?进而更深入地研究何谓法身。
2004年3月25日
- สมถวิปัสสนา (เมื่อไม่รู้จะอ่านอะไร 3)
มีคำถามว่า การปฏิบัติเพื่อให้เข้าถึงพระธรรมกายนี้เป็นสมถะหรือวิปัสสนา ที่จริงแล้วสมถะกับวิปัสสนานี่ ขาดอันใดอันหนึ่งไม่ได้เลย เหมือนบันได มันต้องมีขั้น มีตอนของมันไป ต้องอาศัยซึ่งกันและกัน
สมถะ แปลว่า หยุด นิ่ง สงบ ระงับ หมายถึง ใจที่แวบไปแวบมา คิดไปในเรื่องราวต่าง ๆเราดึงมาหยุดให้เป็นหนึ่ง เป็นเอกัคตา มีอารมณ์เดียว หยุดนิ่ง ๆ อย่างนี้เรียกว่า สมถะ วิธีที่จะฝึกใจให้หยุดนิ่ง เพื่อให้เข้าถึงคำว่า สมถะ มีเยอะแยะ ที่รวบรวมไว้ในวิสุทธิมรรคก็ ๔๐ วิธี กสิณ ๑๐ อสุภะ ๑๐ อาหาเรปฏิกูลสัญญา ๑๐ อนุสสติ ๑๐ อย่างนี้เป็นต้น แต่จริง ๆ มีนอกเหนือจากนี้
เยอะมาก คือ ทำอย่างไรก็ได้ให้ใจหยุด พอใจหยุดนั่นแหละ เรียกว่า สมถะ ถ้าใจยังไม่หยุด เรียกว่า อนาถะ คือ ใจยังอนาถาอยู่ ยังยากจนอยู่ ยังไม่มีอริยทรัพย์ ถ้าหยุดแล้วรวย สมถะ แปลว่า หยุด แปลว่านิ่ง ไม่เขยื้อนแล้ว จะทำวิธีใดก็ได้ที่กล่าวมาแล้ว จะเริ่มต้นจากอะไรก็ได้ จะภาวนาอะไรก็ได้ หรือจะไม่ภาวนาก็ได้ ถ้ามั่นใจว่าไม่ฟุ้งทีนี้พอหยุดนิ่งแล้วจะเข้าถึงดวงปฐมมรรค นั่นแหละ สมถะ
วิปัสสนา วิ แปลว่า วิเศษ แจ้ง ต่าง ปัสสนา แปลว่า เห็น วิปัสสนา คือ การเห็นที่วิเศษ ที่แจ่มแจ้ง ที่แตกต่าง แจ่มแจ้งเหมือนดึงของจากที่มืดออกมากลางแจ้ง แล้วก็แตกต่างจากการเห็นด้วยดวงตาสัตวโลกที่อยู่ในภพ ๓ คือ แตกต่างจากตามนุษย์ ตาทิพย์ของเทวดา ตารูปพรหม หรือตาอรูปพรหม เพราะฉะนั้น วิปัสสนา คือ การเห็นด้วยกายธรรมโคตรภูเป็นต้นไป จึงจะเป็นผู้ที่เห็นอย่างวิเศษ แจ่มแจ้ง และแตกต่างจากการเห็นด้วยตาสัตวโลกที่อยู่ในภพ ๓ ต้องกายธรรมนั่นแหละ ถึงจะเป็นวิปัสสนา เห็นด้วยธรรมจักขุ คือ ดวงตาธรรมของท่าน ซึ่งเห็นได้ทุกทิศทุกทางในเวลาเดียวกัน ซึ่งมันอัศจรรย์อยู่ที่เดียวที่เดิม แต่เห็นทั้งซ้าย ขวา หน้า หลัง ล่าง บน พร้อมกันได้ในเวลาเดียวกัน เห็นถึงไหนก็รู้ไปถึงตรงนั่น เห็นอดีตก็รู้อดีต เห็นปัจจุบันก็รู้ปัจจุบัน เห็นอนาคตก็รู้อนาคต มีภูมิ ๖ คือ เห็นขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ อินทรีย์ ๒๒ อริยสัจ ๔ ปฏิจจสมุปบาท ซึ่งตาอื่นไม่เห็น ตามนุษย์ ทิพย์ พรหม อรูปพรหมไม่เห็น ไปนั่งคิดฟุ้งซ่านก็ไม่เห็น ต้องเห็นด้วยธรรมกาย
ต้องเข้าถึงพระธรรมกายจึงจะไปเห็นขันธ์ ๕ รูปเป็นอย่างไร เวทนาเป็นอย่างไร สัญญาเป็นอย่างไร สังขารเป็นอย่างไร วิญญาณเป็นอย่างไร เวทนา ความรู้สึกสุข ทุกข์ ไม่สุข ไม่ทุกข์เป็นอย่างไร สัญญาความจำได้หมายรู้ สังขาร ความคิด วิญญาณ ความรู้แจ้ง อายตนะ ๑๒ เห็นได้ทั้งนั้น ซึ่งดวงตาอื่นไม่เห็น จะเห็นเป็นภาพขึ้นมา เห็นแล้วก็รู้เรื่องด้วย มันมีเรื่องราวเยอะ เอาว่าย่อ ๆ อย่างนี้ก็แล้วกัน เพราะฉะนั้น สมถะกับวิปัสสนาจะต้องไปด้วยกัน แยกออกจากกันไม่ได้เลย ต้องคู่กันไปตลอด จึงจะถึงจุดหมายปลายทางเหมือนเท้า ๒ เท้าก้าวเดินกันไปนั่นแหละ แต่สมถะเป็นเบื้องต้น วิปัสสนามันท่อนต่อไป
- Samatha Vipassana (When You Don’t Know What to Read 3)
There is a question of whether the practice for attaining the Dhammakaya is Samatha or Vipassana. In fact, Samatha and Vipassana cannot be practiced without one another like a ladder consisting of steps relying on one another.
Samatha means stillness, calm, peace, and relief, referring to the process of bringing the mind that wanders around with different thoughts to become still and focused. There are numerous ways to train the mind to reach stillness (Samatha). The Book of Visuddhimagga (Path of Purity) mentions 40 subjects of meditation such as ten meditation devices (Kasina 10), ten corpses at different stages of decay (Asupa 10), ten kinds of constant mindfulness (Anussati 10), and perception of the loathsomeness of food (Aharepatikulasanna). In fact, there are many more methods that can be used to still the mind. When the mind becomes still, it is in the state of Samatha. If the mind is not still, it is called “Anatha”, meaning that the mind is poor, having no noble treasures. When the mind becomes still, you then attain noble treasures. Samatha means stopping, still, not moving. You may use any of the methods previously mentioned and may recite a mantra in your mind or may not recite anything at all if you are sure that your mind will not wander around. When the mind becomes still, you will attain the “Sphere of the Primary Path”. This is Samatha.
For Vipassana, “Vi” means wonderful, clear, distinctive, and “Passana” means seeing. Thus, “Vipassana” means wonderful, clear, distinctive seeing, like seeing an object that is brought out of darkness to bright light. It is different from seeing with eyes of any beings in the Three Realms, that is, eyes of human, celestial, Form Brahma, and Non-Form Brahma beings. Vipassana is the seeing via the Gotrabhu Dhammakaya onwards. It is the seeing via the Dhamma Eye which can view in all directions at the same time. It is amazing to stay in one place but can see in the left, right, front, back, bottom, and top directions at the same time. The further one sees, the further one knows. Seeing the past, knowing the past. Seeing the present, knowing the present. Seeing the future, knowing the future. The Dhamma Eye can see six planes: the Five Aggregates (Khandha 5), the Twelve Sense Bases (Ayatana 12), the Eighteen Elements (Dhatu 18), the Twenty-two Faculties (Indriya 22), the Four Noble Truths, and the Dependent Origination (Panicca-samuppada), which other eyes, i.e., human, celestial, Form Brahma, or Non-Form Brahma eyes cannot see. No matter how much you think or imagine, you will not be able to see since it can be only seen through the Dhammakaya.
You must attain the Dhammakaya first in order to truly see the Five Aggregates which are Form (Rupa), Sensation (Vedana), Perception (Samjna), Mental Formations (Samskara), and Consciousness (Vijnana) as well as the Twelve Sense Bases, appearing as images. Understanding comes with seeing. There are a lot of details. Let’s just keep it short. Samatha and Vipassana must go hand in hand, inseparable. To reach the final destination, they must always be together, like two feet walking together. Samatha is the first step, and Vipassana is the next.
July 8, 2003
- 止观
曾经有人问,法身法门的修行是属于止,还是观?其实止和观都不能缺少,就像阶梯,必须要一阶阶接续着。止和观是相辅相成的。
止的意思是静止、平静、宁静、停止,要将喜欢攀缘、来去不定的心静定下来,平静下来。当心中只有平静自在一种感觉,这个状态称之为止。到达止的状态,有很多方法,《清净道论》中就记载了四十种,包括十遍、十不净、十随念、四无量心、一食厌想、一界差别和四无色,其实还有更多的方法。无论是什么方法,目的都是要让心静止下来,当心静止了,就是所谓的止。若心未静止,代表心还很困苦,缺乏内在的圣财。若能静定,生命将更加光明。止的意思是静止、平静、不动,用师父教过的任何一种方法都可以,以什么方法开始或念什么圣号都可以。若心不散乱,不念圣号也行。
静定下来之后会先证得初道光球,这就是止观。观有“神奇、明白、不同以往”的含义,观也有“看见”的意思。观是神奇地、明白无误地、不同以往地看见,“明白无误地看见”就是像将物品从黑暗移至光明一般清楚地看见。观所看见的,不同于三种境界的肉眼,即人眼、天人眼、梵天人眼和无色界梵天人眼所见。所以,观是从粗人身开始细腻下去的如实知见,直到神奇且明白地看见,且不同于三种境界的肉眼所见。必须是法身,才能观,以法眼得见。法眼可以在同时观察四面八方,非常殊胜,在原处就能够同时看见左、右、前、后、上、下。
所谓的如实知见,是见到过去就了知过去,见到现在就了知现在,看见未来就了知未来。有六种境界,包含看透五蕴、六入六尘、十八界、二十二根和四圣谛,是人眼、天人眼、梵天人眼和无色界梵天人眼所不能见的,是散乱的心所不能见的,要透过法身才得见,要证入法身才能看透五蕴。
色是如何?受是如何?想是如何?行是如何?识是如何?受是感受苦、不苦、乐、不乐;想是纪录感受;行是判断感受;识是明白地知道六入六尘,能够如实知见,是其他眼所不能见。将看到画面,看到就知道。
师父简单地介绍到这里。总之,止和观要同时并进,且保持平衡,直到达成目标,就像双脚一步一步向前走一般。止是一切的开始,观是止后的下个阶段。
2003年7月8日
- วิธีเข้าถึงสมถวิปัสสนา (เมื่อไม่รู้จะอ่านอะไร 3)
ทำอย่างไรจะเข้าไปถึงสมถะ ถึงวิปัสสนา ก็ฝึกใจให้หยุดนิ่ง ซึ่งทุกคนทำได้ทั้งนั้น เราได้ฟังกันบ่อย ๆ ว่า มรรคผลนิพพานอยู่ในตัว ไม่ได้อยู่ที่ไหน มรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑ ไม่ว่าคุณสมบัติที่จะเป็นพระโสดาบัน พระสกิทาคามี พระอนาคามี พระอรหัต ล้วนอยู่ในตัวเรา เข้าถึงพระโสดาบัน ก็เป็นพระโสดาบัน เข้าถึงพระสกิทาคามี ก็เป็นพระสกิทาคามี เข้าถึงพระอนาคามี ก็เป็นพระอนาคามี เข้าถึงพระอรหัต ก็เป็นพระอรหันต์ ซึ่งมีอยู่ในตัวเรา โดยเริ่มต้นที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ ตรงนั้น ด้วยวิธีหยุดนิ่งอย่างเดียว
๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖
- How to Attain Samatha Vipassana (When You Don’t Know What to Read 3)
How to attain Samatha Vipassana? By training the mind to stop thinking and become still. Everyone can do this. The path to Nibbana is within us. Qualifications to be Sotapanna (stream enterer), Sakadagami (once-returner), Anagami (non-returner), or Arahant (worthy one) are all within us. If you attain the Sotapanna state, you become a Sotapanna. If you attain the Sakadagami state, you become a Sakadagami. If you attain the Anagami state, you become an Anagami. If you attain the Arahat state, you become an Arahat. All exist within us. These attainments can be achieved by keeping the mind still at the seventh base of the mind.
July 8, 2003
- 修止观的方法
如何修止观?要练习让心静止,师父相信每个人都能做到。常常听到关于究竟涅槃的方法,其实不在哪里,就在体内,通过证得四向四果后究竟涅槃。
无论是须陀洹果、斯陀含果、阿那含果或是阿罗汉果,都在自身体内。证得须陀洹果就是须陀洹圣者,证得斯陀含果就是斯陀含圣者,证得阿那含果就是阿那含圣者,证得阿罗汉果就是阿罗汉圣者,都在于身体的中心第七点,将心静止于此点,就能够证悟。
2003年7月8日
- ความรู้จากการเข้าถึง (เมื่อไม่รู้จะอ่านอะไร 3)
ครั้งหนึ่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสสอนเรื่องปฏิจจสมุปบาท พระอานนท์ได้ยินได้ฟังก็รำพึงว่า ก็ไม่เห็นยากนี่ อวิชชาทำให้เกิดสังขาร สังขารทำให้เกิดวิญญาณ วิญญาณทำให้เกิดนามรูป ไล่เรื่อยไปเลย
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ตรัสบอกพระอานนท์ว่า “อานนท์ ไม่ง่ายอย่างนั้นหรอก มันเป็นวิสัยของการเข้าถึง ไม่ใช่จะมาทรงจำ มาท่องคล่องปากขึ้นใจ พิจารณาตามอย่างนั้นไม่ได้ มันต้องเข้าถึงกันจริง ๆ”
เพราะฉะนั้น เมื่อได้ศึกษาปริยัติอย่างคล่องแคล่วเชี่ยวชาญแล้ว ก็ต้องปฏิบัติด้วย ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ และเทศนาจะต้องฝึกไปด้วยกันหมด เรียน ปริยัติ เพื่อให้รู้เรื่องเกี่ยวกับโลก เรื่องราวความจริงของชีวิตเป็นอย่างไร การเวียนว่ายตายเกิดเป็นอย่างไร จนกระทั่งเบื่อหน่ายในการเวียนว่ายตายเกิด หรือเห็นว่าวัฏฏะมีภัยมาก อันตราย ล้วนแต่มีทุกข์ทั้งสิ้น
เพราะฉะนั้น จะต้องไปทำกิเลสอาสวะให้หมดสิ้น ก็จะน้อมไปสู่การ ปฏิบัติ ทำกรรมฐาน ทำใจหยุดใจนิ่ง พอใจหยุดนิ่งได้ก็จะเห็นไปตามขั้นตอนตามที่ได้ศึกษามา มีเครื่องยืนยัน เมื่อเข้าถึงแล้วเป็น ปฏิเวธ มีประสบการณ์ภายใน เมื่อโปรดตัวเองให้พ้นแล้วจึงนำมา เทศนา แนะนำสั่งสอนกันต่อไป ซึ่งมันมีหลักสูตรอยู่แล้วในสมัยพุทธกาลปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ เทศนา เป็นหน้าที่พระภิกษุในพระพุทธศาสนาเลย ไม่ใช่เอาอย่างใดอย่างหนึ่ง
๑๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๗
- Attainment Insight (When You Don’t Know What to Read 3)
Once, the Lord Buddha preached about the Dependent Origination (Panicca-samuppada), venerable Ananda said it was not difficult to see that Ignorance arises Kamma-Formations, Kamma-Farmations arises Consciousness, Consciousness arises Mind and Matter, so on and so forth. The Lord Buddha then said, “Ananda, it is not that easy. One has to attain the Dhamma for oneself in order to fully comprehend, not by memorizing”. Therefore, after you study the Scriptures, you must bring it to practice. Studying the Dhamma (Pariyatti), practicing the Dhamma (Patipatti), attaining the Dhamma (Pativedha), and preaching the Dhamma must go together. Studying the Dhamma allows you to know the truth of life and cycle of rebirths, enabling you to see that the cycle is very dangerous and full of suffering and making you weary of such things. In order to eradicate defilements, you must practice the Dhamma, that is, to meditate in order to still the mind. Once the mind becomes still, you will attain different meditative states that you learn in theory, leading you to attain the Dhamma. After attaining the Dhamma for yourself, you should then teach the Dhamma to others. These steps were already practiced during the Buddha’s lifetime. Studying, practicing, attaining, and preaching the Dhamma are the duties of Buddhism monks.
February 10, 2004
- 证悟的相关知识
佛陀曾开示有关十二因缘法,阿难尊者听完之后说到:“这一点都不难啊。无明生行,行生识,识生名色,依此类推。”
佛陀对阿难尊者开示道:“这并不容易,是证悟后才能够参透的。不是记住或背诵就能理解的,一定是证悟了之后才能真正地参透。”
所以,当熟读佛经之后,要如法实修、融会贯通,接着宣讲佛法,一项都不能少。研读经文是为了要了解生命的真相是怎样的,六道轮回是怎样的,直到产生厌倦轮回的想法,或是认为轮回很危险且充斥着苦,所以要完全断除烦恼。接着就要如法实修,精进修行,让心静定。若心静定了,就能够一步一步实践学习过的知识。当证悟之后,就有了内观和内在经验为证。当自我脱离了烦恼,就能够传授佛法予他人。
这是从佛陀时代就传承至今的方法,研读佛经、如法实修、融会贯通和宣讲佛法,都是僧人的任务,不能只做其中一项而已。
2004年2月10日
- คุณค่าแห่งวิชชาธรรมกาย (เมื่อไม่รู้จะอ่านอะไร 4)
วิชชาธรรมกายเป็นเรื่องลึกซึ้ง ถ้าเข้าถึงธรรมกายแล้วอย่างน้อยก็ไปนรก ไปสวรรค์ ไปนิพพานได้
จับมือถือแขนสัตว์นรกได้ จับมือถือแขนเทวดาได้ ไปนิพพาน ภพ ๓ โลกันตร์ ไปได้ตลอด บรรพบุรุษ บิดามารดา ญาติพี่น้องละโลกแล้วไปอยู่ที่ไหน เข้าถึงวิชชาธรรมกายไปพบหาได้ ถ้ามีทุกข์ก็ไปช่วยได้ มีสุขแล้วก็เอาบุญไปเพิ่มเติมความสุขยิ่ง ๆ ขึ้นไปได้ นี่วิชชาธรรมกายลึกซึ้งอย่างนี้ทีเดียว
๕ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๑
- Value of Vijja Dhammakaya (When You Don’t Know What to Read 4)
Vijja Dhammakaya is a profound matter. After attaining the Dhammakaya, you can at least visit hell, heaven, Nibbana, or any realm. Through Vijja Dhammakaya, you can meet your ancestors, parents, and relatives who passed into other realms. If they are suffering, you can help them. If they are already happy, you can dedicate merit to them, bringing them more happiness. Vijja Dhammakaya is this profound.
September 5, 1998
- 法身法门的价值
法身法门高深莫测,证得法身后,可以去往地狱、天界和涅槃,可以接触地狱众生或天人,自由自在地往返涅槃和三界。去世的祖先或亲人身在何方?若证得法身便可去探望,若他们身处恶道则可以施以援手,若他们身处善道则可以为其添福,法身法门就是如此高深莫测。
1998年9月5日
- งานของผู้รู้… (เมื่อไม่รู้จะอ่านอะไร 4)
ที่ดูเหมือนไม่ได้ทำอะไร การปฏิบัติธรรม…เพื่อให้เข้าถึงพระรัตนตรัยภายใน คืองานที่แท้จริงของเรา และชาวโลกทั้งหลาย // ดูท่านั่งของเราเหมือนคนไม่ได้ทำการงานอะไรเลย แต่จริง ๆ แล้วกำลังทำงานที่แท้จริง งานที่ยิ่งใหญ่ คืองานขจัดกิเลสอาสวะ ขจัดศัตรูที่แท้จริงที่อยู่ภายใน เป็นสงครามภายในที่รบกับศัตรูที่แท้จริง เป็นสงครามภายในเพื่อสันติภาพภายนอก // ทุกขั้นตอนของสงครามภายใน ไม่มีการพลัดพราก ไม่มีเลือด ไม่มีน้ำตา ไม่มีความโศกเศร้าเสียใจ คับแค้นใจร่ำพิไรรำพัน มีแต่ความสุข สดชื่น เบิกบาน ความรู้แจ้งเห็นจริง กำลังใจในการสร้างความดี ความรักปรารถนาดีต่อเพื่อนมนุษย์และสรรพสัตว์ทั้งหลายจะเกิดขึ้น // ดูเหมือนไม่ได้ทำอะไร คล้ายคนเกียจคร้าน แต่ชาวโลกเขาเคลื่อนไหว เขาคิด เขาพูด เขาทำ เขายืน เขาเดิน เขาวิ่ง ติดต่อคนโน้น คนนี้ ดูภายนอกเหมือนเขาขยันนะ ดูเขาทำอะไรตั้งเยอะแยะ แต่สรุปสุดท้ายไม่ได้อะไร ตายไปจะเอาตัวรอดจากอบายภูมิได้หรือเปล่าก็ยังไม่รู้ สุขที่แท้จริงก็ไม่เคยเจอ ความจริงของชีวิตก็ไม่รู้จัก //งานของผู้รู้อย่างหนึ่ง งานของผู้ไม่รู้อีกอย่างหนึ่ง งานของผู้รู้มีความสุข ความสำเร็จ ความพ้นจากทุกข์เป็นผล แต่งานของผู้ไม่รู้อาจจะได้ทรัพย์มาบ้าง แต่ได้มาเดี๋ยวก็ใช้ไป มีขึ้น มีลง มีได้ มีเสีย มีแรงกดดัน มีปัญหา มีหายนะ มีมรณะ มีวัฒนะบ้าง สลับวนเวียนกันไป // ลูกทุกคนต้องหมั่นฝึกฝนอบรมใจ จะต้องหยุดใจให้ได้ หยุดไม่ได้อันตราย หยุดไม่ได้เราจะเข้าไปไม่ถึงพระรัตนตรัย แล้วเราจะไม่ได้ลิ้มรสความสุขที่แท้จริงเลย แม้เราจะเพรียกหา แสวงหา หรือโหยหาแค่ไหนก็ตาม ไม่มีวันรู้จัก เพราะว่าสุขที่แท้จริงที่ผู้รู้ทั้งหลายได้ไปสัมผัสมา ยืนยันเหมือนกันหมดว่า ต้องหยุดกับนิ่งอย่างเดียว ที่ดูเหมือนไม่ได้ทำอะไร
๖ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๖
- Work of the Knowledgeable (When You Don’t Know What to Read 4)
While meditating, it seems like one is not doing anything. In fact, meditating to attain the Triple Gem within is the real work of everyone. Our sitting position looks like we are doing nothing but we actually are doing the real work which is to eliminate defilements, the real enemy inside us. It is an internal war against the real enemy and it is an internal war for outer peace. In every step of the internal war, there is no separation, no bloodshed, no tear, no sorrow, no revenge, no mourning but it is full of joy, freshness, exhilaration, enlightenment, aspiration to do good deeds and extend love and goodwill towards other human and all beings. It seems like we do nothing like lazy person.
It seems like people who are busy doing this and that, do a lot of stuff. However, they get nothing at the end. When they die, it is questionable whether they would be safe from being reborn in an unfortunate realm. They never find true happiness or the truth of life.
The work of the knowledgeable is different from the work of the unknowledgeable. The work of the knowledgeable results in happiness, success, and liberation from suffering. On the other hand, the work of the unknowledgeable may result in wealth but there are typically ups and downs in their lives. There are gains. There are losses. There are pressure, problems, disasters, death, and prosperity, mixed in cycles.
You must constantly train your mind to become still. You are still in danger if you cannot keep your mind still. If your mind is not still, you cannot attain the Triple Gem within and you will not be able to experience true happiness no matter how much you long for. The true happiness that the knowledgeable experiences can be attained by keeping the mind still, seeming like doing nothing at all.
April 6, 2003
12.智者的工作——看似什么也没做
修行证入内在三宝,是世人真正的工作。单看我们的坐姿,好像什么都没做。但事实上,我们却在做一项伟大的工作,即断尽烦恼,战胜内在的敌人。这是一场没有硝烟的斗争,这场内在的斗争,正是为了外在的和平。
每个阶段的内在斗争,既没有离别和忧愁,也不用流血流泪,只有快乐、舒畅、愉悦、如实知见、行善的信心,以及对众生的善意。
看似什么都没做,像懒人一样。可是有的人总是在不停的活动、思考、说话、做事、站立、行走、跑动,联系这个人或那个人,看起来好像很勤奋,做了许多事情,可最终却什么也带不走。往生后是否能远离恶道,也无从得知。没有体验过真正的快乐,也不了解生命的真相。
智者的工作与非智者的工作大相径庭。智者的工作既快乐,又以离苦为结果。非智者的工作可能会获得财富,得来后又用尽,有进有退,有得有失,有压力,有动力,有衰落,有繁荣,如此反复循环。
弟子们要善于调伏心,让心静下来。无法静心,就无法证入内在三宝,也体验不到真正的快乐。就算我们上天入地去寻找,也寻找不到。因为智者都是通过静心,来体验真正的快乐。
2003年4月6日
- คำภาวนา “สัมมาอะระหัง”
สัมมา ย่อมาจาก มรรคมีองค์ ๘ ตั้งแต่ สัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ คือ มีความเห็นถูก คิดถูก พูดถูก ทำถูก ประกอบสัมมาอาชีวะถูก ทำความเพียรถูก ตั้งสติถูก สมาธิถูก
อะระหัง แปลว่า ห่างไกลจากกิเลส หมายถึง เมื่อเราปฏิบัติตามมรรคมีองค์ ๘ ซึ่งเป็นเส้นทางไปสู่ความเป็นพระอริยเจ้า มีข้อวัตรปฏิบัติเรียงไปตามลำดับ ๘ ข้อ ตั้งแต่ เห็นถูก คิดถูก พูดถูก ทำถูก ประกอบสัมมาอาชีวะถูก ทำความเพียรถูก ตั้งสติถูก คือเอาใจเชื่อมโยงกับกระแสแห่งความบริสุทธิ์ภายในถูก กระทั่งเกิดสัมมาสมาธิ
เพราะฉะนั้น สัมมาอะระหัง คือ คิดพูดทำทุกสิ่งให้ถูกต้อง ตามมรรคมีองค์ ๘ แล้วเราจะห่างไกลจากกิเลส ห่างไกลจากความทุกข์ทรมานของชีวิต จะบริสุทธิ์หลุดพ้นจากกิเลสอาสวะได้
เหมือนปลาหลุดจากข้องที่ขัง ไม่ต้องกลับมาสู่ข้องนั้นอีก เหมือนลูกไก่หลุดพ้นจากกระเปาะไข่ออกมาเป็นตัวของตัวเองอย่างสมบูรณ์ เราก็จะหลุดพ้นจากภพ ๓ ไปสู่ความอิสระ เป็นอยู่ได้ด้วยตัวของตัวเอง ไม่ต้องพึ่งพิงพึ่งพาสิ่งใด บริสุทธิ์ บริบูรณ์ มีความสุขตลอดเวลา เป็นบรมสุข สุขอย่างยิ่ง เหมือนดวงอาทิตย์ที่มีแสงสว่างด้วยตัวของตัวเอง มีพลังอยู่ในตัวเอง
๒๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๑
- “Samma Arahang” Recitation
The word “Samma” refers to the Eightfold Path consisting of the Right View (Samma-Ditthi), Right Intension (Samma-Sankappa), Right Speech (Samma-Vaca), Right Action (Samma-Kammanta), Right Livelihood (Samma-Ajiva), Right Effort (Samma-Vayama), Right Mindfulness (Samma-Sati), and Right Concentration (Samma-Samadhi). “Arahang” means far from defilements. As one follows the Eightfold Path, starting from Right View to Right Intension, Right Speech, Right Action, Right Livelihood, Right Effort, Right Mindfulness, which is a way to let the mind connect with inner purity until attaining the Right Concentration, one will be far from defilements and sufferings and become pure and free of defilements. Like fish escaping from a trap or a chick cracking the eggshell, one will be freed from the Three Realms of Rebirth, being independent, pure, complete, and blissful, like the powerful sun shining by itself.
June 22, 2008
13.佛号“三玛阿罗汉”
三玛是八正道的缩写,包括正见、正思惟、正语、正业、正命、正精进、正念、正定。即正确的知见,正确的思考,正当的语言,正当的行为,正当的职业,正当的努力,正确的观念,正确的禅定。
阿罗汉意指远离烦恼。意思是如法修习八种趣向圣者之正道,依次为:正见、正思惟、正语、正业、正命、正精进、正念,即让心连接内在纯净的力量,最终成就正定。
因此,三玛阿罗汉的定义是:遵循八正道如法的想、说和做事情,这样将会远离烦恼和诸苦,最终解脱烦恼,离苦得乐。犹如鱼儿脱离鱼篓,不受鱼篓的束缚;亦犹如小鸡仔破壳而出,不受蛋壳的束缚。我们脱离三界,获得完全属于自己的自由,不再受任何束缚,清净圆满,永恒幸福,无上快乐。就好像光芒万丈的太阳,内在充满了无限的能量。
2008年6月22日
- อย่าประมาทว่ามีเวลาในโลกนี้อีกยาวนาน (เมื่อไม่รู้จอ่านอะไร 4)
ถ้าอยากเข้าถึงธรรมกันจริง ๆ ต้องใช้ทุกอนุวินาทีให้เป็นประโยชน์ โดยการประคับประคองใจของเรา ให้อยู่ภายในให้ได้
เรามีเวลาอีกเล็กน้อยเท่านั้นในโลก อย่านึกว่ามันยาว เพราะเรามาเกิดในยุคอายุมนุษย์เฉลี่ยแค่ ๗๕ ปี ไม่ใช่มนุษย์ในยุค ๒๐,๐๐๐ ปี ถ้าหากอายุ ๒๐,๐๐๐ ปี เราก็ยังพอมีเวลา relax ไปเที่ยวเตร่อะไรต่าง ๆ ได้ ยิ่งเวลาที่เหลืออยู่ต่อจากนี้ไปยิ่งเร็วขึ้นไปเรื่อย ๆ นี่ขนาดหลวงพ่อไม่ได้ขี้เกียจเลยนะ ไม่ได้อู้ด้วย แล้วก็ไม่ได้ไปเที่ยวไหน สร้างบุญยังเพิ่งได้นิดเดียว สมัยก่อนคุณยายท่านพูด ก็ไม่ค่อยจะเข้าใจเท่าไร เพราะตอนนั้นเรายังมาไม่ถึงตรงนี้ ตอนที่สร้างวัดท่านก็อายุ ๖๑ ปี พอมาถึงตอนนี้ โอ้ เข้าใจอะไรตั้งเยอะแยะ แล้วเวลาต่อจากนี้ไปมันเร็วนะ
๑๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๕
- Do Not Misjudge That There Is Plenty of Time (When You Don’t Know What to Read 4)
If you really want to attain the Dhamma, you must utilize every single second by keeping the mind at the center of the body. We have a short period of time left. Do not misjudge that you have plenty of time. At present, the average age for humans is only 75 years, not 20,000. If we could live for 20,000 years, we would have the extra time to relax and wander around. As the day goes by, the remaining time for each person becomes shorter and shorter. I myself, not being lazy at all and not having been anywhere, have accumulated just a little amount of merit. When Khun Yai warned me on this matter, I did not quite understand it because I was still young at that time. Khun Yai was 61 years old when she founded the temple. By this time, I understand it quite well. The remaining time is depleted fast.
July 19, 2002
14.不要认为人生漫长
如果真想证悟佛法,就必须要分秒必争,调伏心安住于内在。
我们在人间的时间如白驹过隙,不要以为很漫长。因为我们所处人均寿命只有七十五岁的时代,而不是处在平均寿命为两万岁的时代。如果我们处在两万岁的时代,还可以放松一下,到各地去云游。可惜现在所剩的时间,却越来越少了。
师父自己既没有怠惰因循,也没有虚度光阴,更没有云游各地,但累积的功德还是很少。以前奶奶说过,可师父不太理解,因为当时还没有达到这个境界。创建寺院时,奶奶已经六十一岁。现在师父明白了,但所剩的时间却越来越少了。
2002年7月19日
- ความรักการปฏิบัติธรรม คือแก่นวัฒนธรรมองค์กร (เมื่อไมรู้จะอ่านอะไร 4)
วัฒนธรรมขององค์กรเรา ต้องเริ่มต้นที่การรักการปฏิบัติธรรม หลวงพ่อเริ่มต้นด้วยการปฏิบัติธรรม เมื่อนั่งสมาธิจนใจละเอียดแล้ว คุณยายก็บอกเรื่องเป้าหมายชีวิต เมื่อรู้เป้าหมายชีวิตก็จะรักการฝึกตัว เรื่องความเคารพ เรื่องการทำงานเป็นทีม คุณธรรมอื่นๆ ก็จะตามมาเอง
สมัยนั้นหลวงพ่อสนใจการปฏิบัติธรรม จึงแสวงหาครูบาอาจารย์ กระทั่งมาเจอคุณยายอาจารย์ ก็ปฏิบัติธรรมมาตลอด ต้องนั่งรถเมล์ ๓ ต่อ กว่าจะถึงวัดปากน้ำ ไปวัดบ่อยจนคนนึกว่าหลวงพ่อเป็นเด็กวัด
ตลอด ๔ ปีที่มหาวิทยาลัย หลวงพ่อไม่ค่อยได้เรียน แต่เพื่อนชวนร่วมกิจกรรมอะไรก็ไปร่วมกับเขาเพราะเราต้องมีสังคม บางครั้งเพื่อนก็แนะนำผู้หญิงให้รู้จัก เราก็คุยกับเขา แต่แค่หันหลังก็ลืมแล้ว มันไม่ติดอยู่ในใจ คุณยายบอกว่า ผู้หญิงไม่มีอะไร เดี๋ยวก็แก่ ลองคิดดูว่าตอนนั้นหลวงพ่อยังหนุ่มอยู่ ทำไมไม่สนใจเรื่องผู้หญิง ก็เพราะปฏิบัติธรรมมีความสุขในสมาธิ และรู้เป้าหมายของชีวิต
ตอนอยู่ที่มหาวิทยาลัย เพื่อนเคยถามหลวงพ่อว่า เคยโกรธบ้างไหม เพราะเขาไม่เคยเห็นหลวงพ่อโกรธ เขาทดสอบโดยการเอาน้ำปลามาราดมือ บางทีเขาขับรถอยู่ข้างหน้า หลวงพ่อปั่นจักรยานอยู่ข้างหลัง เขาแกล้งเบรกให้หลวงพ่อชนรถเขา หลวงพ่อก็ไม่โกรธ เพราะเวลาใจมีความสุขอยู่กับสมาธิก็จะไม่มีอารมณ์พวกนั้น แต่ไม่ได้หมายความว่าหมดกิเลสนะ เมื่อปฏิบัติธรรมแล้ว เรื่องใหญ่ก็จะเป็นเรื่องเล็ก เรื่องเล็กก็จะเป็นเรื่องนิดเดียว หรือไม่มีเรื่องเลย
หลวงพ่อทัตตชีโวก็เหมือนกัน ท่านรักการปฏิบัติธรรม ท่านเริ่มปฏิบัติธรรมตั้งแต่อายุ ๑๖ ปี เมื่อมาเจอหลวงพ่อครั้งแรกในงานวันลอยกระทง หลวงพ่อเล่นปาหี่จนคนวงสุนทราภรณ์ยังต้องมาดู หลวงพ่อทัตตชีโวก็มาดูด้วย ท่านชวนหลวงพ่อดื่มเหล้า เพื่อน ๆ ก็พยายามออกตัวให้ว่า ไม่สบายบ้าง ปวดท้องบ้าง แต่หลวงพ่อบอกว่า หลวงพ่อถือศีล ๕
รุ่นแรกที่สร้างวัดมา ก็เน้นเรื่องการปฏิบัติธรรม ทุกคนรักการปฏิบัติธรรม เมื่อรู้เป้าหมายแล้วก็ลุยกันไปเลย คิดถึงแต่ว่าทำอย่างไรงานจะสำเร็จ ไม่ได้คิดถึงอุปสรรคเลย คุณยายก็สอนให้ทำงานด้วยกัน ทะเลาะกันได้แต่ห้ามโกรธกัน
ใจของหลวงพ่อมีแต่การปฏิบัติธรรม
สร้างวัดก็เพื่อให้คนมาปฏิบัติธรรม
ทำ DMC ก็เพื่อให้คนทั้งโลกได้มาปฏิบัติธรรม
๑๒ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙
- Passion for Meditation Is the Core Organizational Culture (When You Don’t Know What to Read 4)
Our organizational culture begins with the passion for meditation practice. My starting point was meditation. I was interested in meditation and in search for a master. Finally, I met Khun Yai. I had to take three different buses in order to travel to Wat Paknam to learn meditation from her. I went to the temple so often that people there thought that I was living at the temple as a temple boy. After meditating until my mind was refined, Khun Yai told me about the goal of life. Realizing such goal, passion for self-development, respect, teamwork, and other virtues came naturally.
Throughout my four years at the university, I rarely studied but still joined many extracurricular activities for social life. Sometimes, my friend introduced women to me. I greeted and talked to them but nothing was in my mind. Khun Yai said that women would soon get old. At that time, I was still young but not interested in relationship because meditation made me happy and I wanted to focus on life goal.
When I was a student at the university, a friend once asked me whether I had ever been angry because he had never seen me angry. He wanted to test how much I could withstand anger. On one occasion, he poured smelly fish sauce on my hand. On another occasion, he suddenly braked his bicycle while I was cycling behind, causing my bicycle to run into his. I was not angry. When my mind focused on happiness obtained from meditation, there was no such kind of emotion. But that does not mean that all defilements were eradicated. After training yourself through meditation, a big issue becomes no big deal and a small matter becomes no matter at all.
Luangpor Dattajeewo was the same. He loved to meditate. He began practicing meditation at the age of 16. We first met at Loy Krathong festival. While I was giving a street show, staff from a famous music band and Luangpor Dattajeewo came to watch. Later, he asked me to drink alcohol. Knowing that I did not drink and trying to be protective, my friends told him that I was sick and had a stomachache. But I simply told him that I practiced the Five Precepts.
All pioneers in building the temple loved to meditate. Once realizing the goal, everyone moved forth, thinking only about the way to accomplish it, never paying attention to obstacles at all. Khun Yai taught us to work together and not get angry with each other when there were conflicts.
In my mind, there has been only Dhamma practice. The temple was built for people to practice the Dhamma. DMC is for the whole world to learn and practice the Dhamma.
January 12, 2006
- 精进修行打坐是团体文化的核心
法身寺作为一个团体,要以修行打坐为核心。师父最初也是始于打坐,当心静定之后,奶奶才开始讲述有关生命目标的知识。当如实了知生命目标后,就积极训练自己,培养尊敬心,学习团队工作,以及培养种种美德。
以前师父非常热衷打坐,所以寻遍名师,最终遇到奶奶。当时去北榄寺要转三次公车,因常去而被人误以为是寺院的弟子。
四年的大学生涯,师父对学习兴趣一般,有时同学邀请去参加活动,因为是必要的社交,只好勉强参加。同学也常给师父介绍女孩,可是也仅限于普通交流,过后师父就忘了,没有放在心上。奶奶也常说,女人总有衰老的一天。当时师父年轻有为、风华正茂,却对男女之事毫无兴趣,这是因为师父一直热衷于修行打坐,以及了解生命的目标。
在大学期间,有同学问师父是否会愤怒,因为他从来没有看见师父生气。他为了测试,有时用鱼露泼洒师父;有时他在前面开车,师父在后面骑自行车,他就故意刹车,让师父撞他的车。师父都没有生气,因为修行让师父心生欢喜,没有负面的情绪,但也并非是断尽烦恼。用心精进修行时,大事可以化作小事,小事可以化作无事。
施命法师也是如此,非常热衷修行,从十六岁开始学习打坐。我们在参加水灯节庆典活动中首次相遇,期间施命法师邀大家喝酒,有的同学说身体不适,有的说肚子疼,师父则说自己持守五戒。
最初创建寺院的团队也强调修行,每个人都热衷修行打坐。在了解生命的目标后,就一直精进不懈,只想着如何实现目标,对障碍毫无畏惧。奶奶总是教导,在工作中团结一致,可以发生争吵,但是不能结怨。
师父一心向往修行打坐,建寺也是为了让更多的人来修行,做
2006年1月12日
- การค้นพบที่ยิ่งใหญ่ (เมื่อไม่รู้จะอ่านอะไร 4)
ใครเป็นผู้ค้นพบว่า การวางใจไว้ที่ศูนย์กลางกาย จะนำความสงบสุขมาสู่มนุษยชาติ ทำไมศูนย์กลางกาย จึงมีความสำคัญขนาดนั้น
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ทรงค้นพบทางสายกลางด้วยพระองค์เอง และสืบทอดกันต่อมา แต่มาเลือนหายในภายหลัง จนกระทั่งพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) พระผู้ปราบมาร ท่านได้สละชีวิตปฏิบัติธรรม แล้วก็ค้นพบวิธีที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้บรรลุธรรม ที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ นี้กลับคืนมาใหม่ แล้วนำมาสอนตัวท่านและสอนผู้อื่นจนกระทั่งถ่ายทอดมาถึงพวกเราในปัจจุบัน
ศูนย์กลางกายมีความสำคัญมาก เพราะเป็นศูนย์กลาง ยกตัวอย่าง การบริหารการงานทุกอย่าง ล้วนมีศูนย์กลางที่คอยจัดการระบบระเบียบต่าง ๆ ทั้งสิ้น หรือเราวางของบนโต๊ะ วางของหมิ่น ๆ มันก็ไม่มั่นคง ถ้าวางกลางโต๊ะ ก็มั่นคง ทุกอย่างล้วนสำคัญที่ตรงกลางทั้งนั้น
ดังนั้น หากเราอยากจะรู้ว่าสำคัญขนาดนั้นจริงหรือ เราลองหยุดนิ่งเข้าไปตรงนั้น ประสบการณ์ภายในจะทำให้เข้าใจดีกว่าครูไม่ใหญ่ตอบ ณ ตอนนี้ ตอบตอนนี้แค่พอเป็นแนวทางให้พอเข้าใจ
๑๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๒
- Great Discovery (When You Don’t Know What to Read 4)
Who discovered that keeping the mind at the center of the body can bring peace to mankind? Why the center of the body is so important? The Lord Buddha discovered the middle path by himself. This knowledge has been passed on from generation to generation but later faded away until Phra Mongkolthepmuni (Sod Candasaro) devoted his life to practice the Dhamma and then discovered the way the Lord Buddha had attained enlightenment at the center of the body. He then taught himself and others, passing on the knowledge to us.
The center of the body is very important because it is the center. For example, to carry whatever task smoothly, there must be a center that manages the system. As another example, placing an object in the middle of a table is more stable than placing it near the edges. The center is important for everything.
If you really want to know how important it is, try to still the mind there. Your personal inner experience will allow you to understand better than my explanation. My answer to the question is just a guideline for basic understanding.
February 17, 2009
- 伟大的发掘
谁发现了将心安住在身体中心,能为世界带来和平?为什么身体中心如此重要?
他就是伟大的佛陀。佛陀精进不懈发掘中道,并且慈悲传授世人,只可惜后来失传了。直至帕蒙坤贴牟尼祖师以舍身求法的决心精进修行,重新发掘身体中心第七点,即佛陀觉悟之道。
身体中心的重要性不言而喻,举一个例子,我们在做各种事情时,身体中心都会进行统一规划。或者我们将东西放在桌子边缘,它就不够稳固,如果放在桌子中央,将相对稳固。中心位置对所有事物来说,都非常的重要。
因此,如果我们想了解它的重要性,就将心静定在身体中心。实践会比理论更加真实,也更加容易理解。
2009年2月17日
- วิชชาธรรมกาย (เมื่อไม่รู้จะอ่านอะไร 5)
คำว่า “วิชชาธรรมกาย” ประกอบด้วย ๒ คำ คือ คำว่า “วิชชา”กับคำว่า “ธรรมกาย”
คำว่า “วิชชา” แตกต่างจากคำว่า “วิชา” ในทางโลกที่เราได้เคยศึกษาเล่าเรียนกัน
วิชาทางโลกนั้นเป็นความรู้ที่เกิดขึ้นใน ๒ ระดับ คือระดับสุตมยปัญญา กับ จินตามยปัญญา
สุตมยปัญญา คือ ความรอบรู้ที่เกิดจากการได้ยิน ได้ฟัง ได้อ่านได้ศึกษาเล่าเรียนมา เป็นการรู้จำ คือ จำในสิ่งที่ผู้รู้ ไม่ว่าจะมีความรู้สมบูรณ์หรือไม่สมบูรณ์ก็ตาม ได้บันทึกเรื่องราวสิ่งที่รู้เห็นเอาไว้เป็นวิทยาทานให้ได้ศึกษากันสืบต่อมา
จินตามยปัญญา คือ ความรู้ที่เกิดจากการนำมาคิดพิจารณาหาเหตุผลแบบนักคิดทั่วไป ความคิดบางครั้งถูกบ้าง ผิดบ้าง
นี่เป็นปัญญาใน ๒ ระดับ แต่ปัญญาในพระพุทธศาสนามี ๓ ระดับ
ระดับที่ ๓ คือ ภาวนามยปัญญา เป็นปัญญาที่เกิดจากการฝึกฝนลงมือปฏิบัติแล้ว ในระดับที่อยู่นอกเหนือเหตุผลธรรมดา เราจะอาศัยเหตุผลธรรมดามาใช้ไม่ได้เลย เพราะภาวนามยปัญญาเป็นความรู้ที่เกิดจากการเห็นแจ้ง คือ จิตต้องเกิดดวงสว่างขึ้นมา และความสว่างนั้นนำไปสู่จักษุธรรมจักษุเกิดขึ้น หรือญาณทัสนะเกิดขึ้น สว่างแล้วจึงเห็น เห็นแล้วจึงรู้
เพราะฉะนั้น “วิชชา” จึงหมายถึง ความรู้แจ้งที่เกิดจากการเห็นแจ้ง ความเห็นที่เกิดจากจิตที่บริสุทธิ์จากกิเลสทั้งหลายแล้ว เกิดปัญญาบริสุทธิ์ รู้เห็นไปตามความเป็นจริง รู้ทั่วถึง รู้พร้อม แล้วก็รู้ไปสู่เป้าหมาย เหมือนของที่อยู่ในที่มืดดึงมาอยู่กลางแจ้งเราก็จะเห็นชัดเจนเช่น เชือกเปียกน้ำ ถ้าอยู่ในที่มืด ๆ บางทีเราอาจจะคิดว่าเป็นงู หรือเป็นตัวอะไรที่มันยาว ๆ หรืออาจจะเป็นเชือก ต้องใช้สมมติฐานด้นเดาถูกบ้างผิดบ้าง แต่ว่าเมื่อลากมาอยู่กลางแจ้ง ก็รู้ชัดว่านี่แค่เชือกเปียกน้ำเท่านั้น
คำว่า “ธรรมกาย” ในพจนานุกรม แปลว่า หมวดหมู่แห่งธรรมเขาแปลได้แค่นั้น คือ ธรรม ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ รวมประชุมกันเรียกว่า หมวดหมู่แห่งธรรม
มีนักศึกษาชาวตะวันตกสองสามีภรรยาเขาได้ค้นคว้ารวบรวมความหมายของคำว่า “ธรรม” ที่มีอยู่ในพระไตรปิฎกได้ ๕๐ กว่าความหมายมีความหมายหนึ่งที่น่าสนใจ เขาบอกว่า ธรรม มีลักษณะเป็นดวงกลม ๆใส ๆ สว่าง ๆ และมีตัวตน เพราะฉะนั้น “ธรรมกาย” คือ กายที่ประกอบไปด้วยธรรม ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ รวมประชุมเกิดเป็นก้อนกายเป็นกายที่มีลักษณะมหาบุรุษครบถ้วนทุกประการ
เพราะฉะนั้น “วิชชาธรรมกาย” ก็คือความรู้แจ้งที่เกิดจากการเห็นแจ้งด้วยธรรมจักษุ แล้วก็รู้ได้ด้วยญาณทัสนะของธรรมกายนั่นเองนี่เป็นเรื่องสำคัญ
วิชชาธรรมกายเกิดขึ้นได้ด้วยธรรมกาย เป็นที่ประชุมรวมอยู่ตรงนั้นมีอยู่ในกลางกายของมนุษย์ทุกคน มีมาดั้งเดิมตั้งแต่ดึกดำบรรพ์โน้นเริ่มต้นเมื่อไร ไม่มีใครทราบ
การที่เราเคารพกราบไหว้บูชาพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะพระองค์ทรงบรรลุวิชชาธรรมกายก่อน แล้วได้ทรงนำมาเปิดเผยกระทั่งมีผู้รู้แจ้งตามพระองค์ เป็นพยานในการตรัสรู้ธรรมมากมาย แต่หลังจากพระพุทธเจ้าปรินิพพานไปแล้ว ๕๐๐ ปี ความรู้ยิ่งนี้ก็หายไปคงเหลือไว้แต่ชื่อ คือ คำว่า “ธรรมกาย”ปรากฏอยู่ในคัมภีร์ในทางพระพุทธศาสนาในนิกายต่าง ๆ ทั้งวัชรยาน มหายาน และเถรวาท แต่ไม่มีใครรู้เลยว่าธรรมกายนั้นมีลักษณะเป็นอย่างไร เข้าถึงได้อย่างไร
จนกระทั่งเมื่อพระเดชพระคุณหลวงปู่วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ ท่านได้สละชีวิตปฏิบัติธรรมกระทั่งเข้าถึงพระธรรมกาย ณ วัดโบสถ์บน บางคูเวียงจังหวัดนนทบุรี ความลับนี้จึงได้เปิดเผยออกมาสู่ชาวโลกอีกครั้งหนึ่ง
หลวงปู่วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ ท่านบวชเมื่ออายุ ๒๒ ปี บวชได้หนึ่งวัน รุ่งขึ้นอีกวันหนึ่งก็ปฏิบัติธรรมแล้วก็ศึกษาทางด้านปริยัติ ศึกษาหมดทุกสำนัก แต่ไม่ได้สอบเป็นมหาเปรียญ รู้ว่าสำนักไหนมีครูดี ชำนาญในพระไตรปิฎก ท่านก็จะไปศึกษาทุกหนทุกแห่ง ทั้งศึกษาด้วยตัวเองด้วยจากครูบาอาจารย์ตามสำนักต่าง ๆ ด้วย
แล้วในที่สุดท่านก็สรุปว่า ความรู้จะสมบูรณ์ได้จะต้องประกอบไปด้วย ๓ ป. คือ ปริยัติ ปฏิบัติ และปฏิเวธ ปริยัติก็คือการศึกษาด้านทฤษฎีต้องอ่าน ต้องศึกษา ท่านอ่านหมดในพระไตรปิฎก แล้วก็ปฏิบัติด้วยตนเองเรื่อยมา ไม่ว่างเว้นในการปฏิบัติเลยแม้แต่วันเดียว รู้ข่าวคราวว่า ครูไหนสำนักไหนมีการปฏิบัติ ก็ยอมตนเข้าไปเป็นศิษย์ไปศึกษา ได้เข้าถึงที่สุดแห่งความรู้ของครูบาอาจารย์ ซึ่งได้แค่ดวงสว่างปรากฏอยู่ แล้วครูก็ชวนท่านช่วยกันสั่งสอนศิษย์เช่นเดียวกับครูบาอาจารย์ของท่าน
แต่พระเดชพระคุณหลวงปู่วัดปากน้ำ มีความคิดว่า ความรู้แค่นี้เหมือนหางอึ่งนิดเดียว จะไปเป็นครูเขาได้อย่างไร ท่านจึงกราบลามาด้วยความเคารพ แล้วก็ไปศึกษาวิธีการต่าง ๆ ที่มีปรากฏอยู่ในวิสุทธิมรรค ๔๐ วิธีก็ศึกษากันมาทั่วหมดทุกสำนัก
แต่ก็ยังไม่จุใจ เพราะท่านมีความรู้สึกว่า ยังไม่ถึงจุดของความรู้ตามที่ได้ศึกษาภาคปริยัติมา ในที่สุดหลังจากที่ศึกษาทั้งทฤษฎีและปฏิบัติตามสำนักต่าง ๆ มาจนย่างเข้าพรรษาที่ ๑๒ ของการบวช ในกลางพรรษาขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐ ท่านก็ได้ตัดสินใจอย่างเด็ดขาดว่า
“วันนี้เป็นไงเป็นกัน ถ้าหากว่าไม่ได้บรรลุธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงบรรลุ จะไม่ลุกจากที่ จะนั่งปล่อยชีวิตอย่างนี้เรื่อยไปแม้เนื้อเลือดจะแห้งเหือดหายไป เหลือแต่กระดูกหนังช่างมัน ถ้าไม่รู้ไม่เห็นธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่ได้ตายเถอะ”
นี่เป็นความอัศจรรย์ของภิกษุหนุ่มวัย ๓๓ ปี ซึ่งยังไม่ได้รู้เรื่องราวอะไรเลยเกี่ยวกับหนทางไปนิพพาน ได้ศึกษาแต่พระปริยัติ แล้วในที่สุดวันนั้น ตามประวัติที่ท่านบันทึกเอาไว้ ท่านได้ทำความเพียรที่วัดโบสถ์บน บางคูเวียง ปัจจุบันนี้ในโบสถ์นั้นก็ยังมีพระพุทธรูปองค์ดั้งเดิมอยู่ ที่นั่งก็ลุ่ม ๆ ดอน ๆ ไม่ราบเรียบ ท่านก็เลือกเอามุมหนึ่งเป็นสถานที่นั่งสมาธิ ตัดสินใจยอมสละแม้ชีวิต เอานิ้วจุ่มน้ำมันก๊าดเพื่อจะขีดวงกันมดที่ไต่ตามช่องแตกของพื้นหินไม่ให้มารบกวน แต่ขีดไปได้ครึ่งหนึ่งท่านก็นึกละอายใจว่า สละชีวิตแล้วยังมากลัวมดอีก จึงตัดสินใจหลับตาปล่อยชีวิตไปเลย
ท่านบอกว่า ค่อนคืนทีเดียวจึงได้บรรลุถึงธรรมกาย บรรลุถึงธรรมกาย แล้วท่านก็บอก โอ! มันยากอย่างนี้นี่เอง มันต้องดับก่อนแล้วจึงเกิด คือ ใจต้องหยุดต้องนิ่งเสียก่อน ถูกส่วนถึงจะเห็นไปตามลำดับ เห็นไปได้ ๕ กายจนกระทั่งถึงกายธรรม พอถึงกายธรรมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันเข้าก็รู้ว่านี่แหละ คือ กายธรรม เป็นกายตรัสรู้ธรรมอยู่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗
ท่านตรวจตราทบทวนดูอย่างดีทีเดียว จนกระทั่งมั่นใจว่า นี่ถูกทางพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว ท่านก็ทบทวนทำความเพียรไปทั้งคืนจนกระทั่งติดอยู่ในกลางท่าน แล้วต่อมาท่านก็เห็นในญาณทัสนะว่า จะมีผู้บรรลุธรรมกายตามท่านอยู่ที่วัดบางปลา อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม
ภายในพรรษานั้น ท่านก็ทบทวนแล้วก็ศึกษาวิชชาธรรมกายด้วยธรรมกายภายในกลางกายเรื่อยไป ในที่สุดออกพรรษาแล้วก็ได้ไปที่วัดบางปลา มีผู้บรรลุธรรมตามท่าน เป็นพระภิกษุ ๓ รูป ฆราวาส ๔ ท่าน ตรงตามที่ท่านได้เห็นในญาณทัสนะ แล้วก็เริ่มเผยแผ่ธรรมเรื่อยมาจนกระทั่งได้มาเป็นเจ้าอาวาสวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ
เพราะฉะนั้น การที่หลวงปู่วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ ได้ค้นพบ “วิชชาธรรมกาย” ทำให้พวกเราทั้งหลายรู้จัก “ธรรมกาย” ว่ามีอยู่ในกลางกายของมนุษย์ทุกคน เป็นที่พึ่งที่ระลึกอันสูงสุด และเป็นเป้าหมายของการเกิดมาเป็นมนุษย์ ที่ต่างเกิดมาก็เพื่อแสวงหาธรรมกาย พระเดชพระคุณหลวงปู่วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ จึงเป็นบุคคลสำคัญที่มีพระคุณต่อชาวโลกและเป็นบุคคลที่ควรแก่การเคารพบูชาเป็นอย่างยิ่ง
๒ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๔
- Vijja Dhammakaya (When You Don’t Know What to Read 5)
The term “Vijja Dhammakaya” consists of two words, “Vijja” and “Dhammakaya”. The word “Vijja” (knowledge) is different from the common worldly knowledge which can be categorized into two levels, namely, Suta-maya-panna and Cinta-maya-panna. Suta-maya-panna is the knowledge based on listening, reading, and learning. It is the knowledge obtained from memorizing what have been told, written, or taught by people who may have complete or incomplete knowledge. Cinta-maya-panna is knowledge based on thinking and rationalizing, which are sometimes right and sometimes wrong.
However, there are three levels of knowledge in Buddhism. The third level is Bhavana-maya-panna, which is the knowledge based on a practice at a level that is beyond the ordinary. It cannot be explained based on simple reasons. Bhavana-maya-panna is knowledge that arises from enlightenment, that is, brightness must appear in the mind and such brightness leads to attainment of the Dhamma Eye (Dhammacakkhu) or realization of the truth (Nanadassana). Brightness leads to seeing. Seeing then leads to knowing.
Therefore, “Vijja” means clear knowledge arising from clear sight. Seeing through a pure mind, free from defilements, leads to pure wisdom, allowing one to see the truth. It is like bringing an object out of the dark to see what it really is. As an analogy, a wet rope may appear like a snake or some other slender animals when it is in the dark. One will clearly know what it is after taking it out of the dark.
The word “Dhammakaya” in the dictionary means the category of Dhamma. A total of 84,000 Dhamma-Khandas all together are called category of Dhamma.
Two western students, husband and wife, researched and compiled more than 50 meanings of the word “Dhamma” in the Tipitaka. One interesting meaning says that the Dhamma exists as a bright and clear sphere.
The “Dhammakaya” is a body that consists of 84,000 Dhamma-Khandas and has the characteristics of the Great Man. “Vijja Dhammakaya” is the clear knowledge obtained from clear sight through the Dhamma Eye (Dhammacakkhu) and realization of the truth (Nanadassana) of the Dhammakaya. This is important. Vijja Dhammakaya arises from the Dhammakaya that exists in all human beings. It has existed since ancient times. No one knows when it started.
We respect and worship the Lord Buddha because he attained Vijja Dhammakaya and revealed it to the public, enabling disciples to attain enlightenment, being attesters to the Buddha’s enlightenment. Five hundred years after the Buddha’s death, this great knowledge disappeared. Nevertheless, the word “Dhammakaya” still appears in Buddhist Scriptures of various sects including Vajrayana, Mahayana, and Theravada. Since then, nobody had known what the Dhammakaya looks like or how to attain the Dhammakaya. This secret was revealed to the world once again after Luangpu Wat Paknam devoted his life to practice the Dhamma until he attained the Dhammakaya at Wat Bote-bon, Bangkuvieng, Nonthaburi Province.
Luangpu Wat Paknam was ordained at the age of 22. The next day after the ordination, he started learning and practicing the Dhamma. He went to many schools to learn from famous masters as well as to study by himself. Finally, he concluded that, in order to be have complete knowledge, there must be three elements, namely, studying the Dhamma (Pariyatti), practicing the Dhamma (Patipatti), and attaining the Dhamma (Pativedha). Pariyatti refers to study of the Tipitaka. Luangpu read all the Dhamma in the Tipitaka and practiced it as well. No single day was gone by without meditation. Upon hearing the news of any school offering meditation instruction, he would apply to be a disciple. At one place, he attained the highest level of meditation of his master, which is a bright sphere. Then, the master asked him to be a meditation teacher at the school. However, Luangpu Wat Paknam thought that he had so little knowledge to teach. He then bid farewell to his master and went to learn different methods out of the 40 methods mentioned in the Book of Visuddhimagga (Path of Purity) with several masters. He was still not satisfied because he felt that he had not yet reached the knowledge he had studied from the Scriptures. After studying the Scriptures and learning meditation from various masters for 11 years, on the full-moon day of the tenth lunar month amidst the middle of the Buddhist Lent period, he decided:
“Even if my flesh and blood would dry up, being left with skin, tendons and bones, I would not stop meditating in this sitting position until I attain Dhamma of the Lord Buddha.”
This was a strong determination of a 33-year-old monk who had not yet known the path to Nibbana. The only knowledge he had was from the Scriptures. According to records, he started meditating in front of a Buddha image inside the chapel of Wat Bote-bon, Bangkuvieng. The same image is still there nowadays. At first, he thought of the ants that were crawling between the rock slabs. So, he picked up a bottle of kerosene, dipped his finger in it, and began drawing a circle on the floor around his body to prevent the ants from disturbing. After his finger touched the stone floor for less than half of a circle, then he wondered, why he would be afraid of the ants when he was willing to sacrifice his life. Feeling ashamed, he put the kerosene bottle down and let go of everything.
It took three quarters of the night before he attained Dhammakaya. He then whispered to himself,
“Ah, it is so hard like this. Once perception, memory, thought, and cognition cease to be, attainment can be realized.”
That is the mind must become still before attainment occurs. That night, he attained the fifth inner body which is the Dhammakaya. After attaining and becoming united with the Dhammakaya, he realized that the Dhammakaya is the body of enlightenment at the center of the seventh base of the mind.
Luangpu reviewed what happened several times until he was confident that it was the right way. He continued meditating through the night until the Dhammakaya appeared at the middle of his body at all times. He then had a meditative vision that there would be other people who could attain the Dhammakaya at Wat Bangpla located at Banglane district, Nakon Pathom province.
During the remaining period of the Buddhist Lent, Luangpu continued to review and learn Vijja Dhammakaya through the Dhammakaya at the center of the body. After the Buddhist Lent, he went to Wat Bangpla. Three monks and four laypeople were able to attain the Dhammakaya, exactly the same occurrence as he saw in his meditation vision. He then continued teaching meditation and the Dhamma until he became the abbot of Wat Paknam Bhasicharoen.
As Luangpu rediscovered “Vijja Dhammakaya”, allowing us to know that the “Dhammakaya” exists in the middle of every human body and is the supreme refuge and regard and that attainment of the Dhammakaya is the goal of life for every human being, he is an important person for the whole world, deserving great respect.
September 2, 2001
- 法身法门
“法身法门”由“法身”和“法门”组成。
“法门”有别于世俗的“专业”。
世俗的专业主要修习两种智慧,分别是闻所成慧和思所成慧。
闻所成慧:通过听闻、阅读和学习产生的智慧。这是一种记忆过程,即牢记智者传授的学识,无论是完整或不完整。然后将所见所闻的学识以布施的方式,再传授给其他人。
思所成慧:通过思维和省察产生的智慧,这种思维时对时错。
这是世俗中两种智慧,但佛教中还有第三种智慧。
第三种是修所成慧,即通过实修产生的智慧。这超出一般的理解,很难依照常理解释,因为修所成慧是如实知见生起的智慧,即内在生起光明球,光明导向法眼,法眼或知见随而生起,由光明导向知见,由知见导向通达。
因此,法门指由知见生起通达。脱离烦恼的清净心生起知见后,随之生起清净的智慧,如实明了一切真相,知道如何实现目标。犹如将黑暗中的东西搬到露天,最终一目了然。例如在黑暗中看见湿绳子,我们可能以为是蛇,或其他细长的东西,当下只能靠猜测,可能对也可能错。如果将它拉至露天处,就清楚的知道只是一条湿绳子。
“法身”在字典里解释为法的种类,此前翻译为八万四千法蕴,经过开会讨论后,称为法的种类。
西方有两个学生,一起从《三藏经》中收集了五十多种关于“法”的含义。其中有一种含义很有趣,阐明法的特征是透明光亮的圆球,而且有实体。所以,“法身”指包含八万四千法门,又有圆满大人相之身的含义。
因此,“法身法门”指以法眼的知见生起通达,再由法身的知见而明了。
通过法身可修习法身法门,而法身就在每个人的体内。从原始时期就有这种说法,只是具体时间不详。
我们敬奉佛陀,是因为佛陀证悟了法身法门,并传授给世人,最终世人也随佛陀一同觉悟。佛陀是证悟法身的证人,只是在入灭五百年后,法门也随之消失,只剩下“法身”这个名词。它出现在各宗派,如金刚乘、大众部和上座部的经典里,可没人知道法身的特征,以及如何证入。
后来,北榄寺祖师在暖武里府的芒库威寺舍命精进禅坐,最终揭开了这个秘密。
北榄寺祖师二十二岁入佛门,出家第二天就精进修习禅定和教理。祖师一度行脚各地修学,只是没有参加佛学等级考试。如果得知何处有精通三藏的名师,便会独自前往拜访参学。
最后,祖师悟出必须具足教理、行道和通达,才能完全掌握佛陀的教法。教理即是应当学习的教法义理,为此祖师研习了整部《三藏经》,同时持之以恒地修习禅定,期间从未间断过。若得知有精通禅定的名师,就会前去拜师学艺,直至完全掌握名师的禅法。后来,名师还邀请祖师留下来,指导其他禅修者修习禅法。
可是祖师婉言谢绝,他认为自身修行尚浅,不足以为人师。辞别之后,祖师又前往各地参学,继续研习《清净道论》中的四十种禅法。
可惜结果依然不尽人意,祖师认为自己当时尚未达到教理中阐述的修行程度。后来,他继续云游四方参学行道和通达。出家第十二年,正值雨安居十月的月圆日,祖师当下发心立愿:
“今天无论如何,假如我不能证悟佛陀所证悟之法,绝不起身离座。继续舍身精进,就算血肉枯尽,只剩皮骨也罢。若无法证得佛陀的正法,弟子宁愿奉献生命,以报佛恩。”
对年仅三十三岁的祖师而言,在只修习教理,还未通达涅槃之道的情况下,有此领悟真的不可思议。
据历史记载,那一天,祖师就在芒库威寺的大雄宝殿精进禅定。如今,该大雄宝殿内依旧供奉原先的佛像,可地面早已凹凸不平,不再如先前平坦。当时,祖师选好位置坐下,立愿舍命精进。原先想用手指沾煤油画圈,防止蚂蚁从裂缝中爬上来咬,可转念一想,自己都立愿舍命精进了,还怕什么蚂蚁呢?于是闭上眼睛修习禅定。
当天半夜祖师证入法身,并感叹道:嗯,原来难就难在这里,必先熄灭才会生起,即心若止歇,妄想即熄灭,次第观五身,直至法身。若见法身,即知此为法身,也就是安住在身体中心第七点的证法之身。
祖师经反复验证后,坚信这就是佛陀的正道。他继续禅坐一会儿后,在定境中知见佛统府挽铃县的邦巴寺有能证悟此法门的人存在。
在雨安居期间,祖师持续精进深修法身法门。雨安居结束后,他立刻前往邦巴寺教导禅定,有三位比丘和四位居士证悟了法身。后来,他继续弘法法身法门,直至就任北榄寺住持。
因此,北榄寺祖师发掘“法身法门”,让世人认识了法身,明白法身就在每个人的体内,是人类的皈依,也是生而为人的目标。我们出生就是为了证入法身。北榄寺祖师对我们恩重如山,我们应该对祖师致以最崇高的敬意。
2001年9月2日
- พระธรรมกาย.. (เมื่อไม่รู้จะอ่านอะไร 5)
พุทธดั้งเดิม ไม่ใช่นิกายใหม่ ในสมัยพุทธกาลไม่มีนิกายนะ มีแต่ “ธรรมกาย”
เพราะสมัยนั้นเขาปฏิบัติ จนกระทั่งเข้าถึงธรรมกายกันเป็นเรื่องปกติ แค่ได้ยินได้ฟังธรรมก็บรรลุธรรมาภิสมัย บรรลุธรรมกันแล้ว
แต่ต่อมาก็ย่อหย่อนในการปฏิบัติ ไม่ให้ความสำคัญกับการปฏิบัติธรรม พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ การศึกษาอะไรเหล่านี้ เป็นต้น เพราะฉะนั้นคำสอนก็เลยเลอะเลือนเลือนรางไป มีแต่คำว่า ธรรมกาย ยังปรากฏอยู่ในคัมภีร์ต่าง ๆ ในพระพุทธศาสนาซึ่งกระจัดกระจายไปตามนิกายต่าง ๆ
แล้วก็มีนักคิดเกิดขึ้น ก็คิดกันไปตามเรื่องตามราวเท่าที่ตัวเองจะเข้าใจ โดยใช้จินตามยปัญญา มีบางพวกเจริญภาวนาเหมือนกัน แต่ปฏิบัติไปไม่ถึงจุดตรงนั้น เพราะฉะนั้นความเห็นจึงแตกต่างกันไป นิกายก็เลยเกิดขึ้นในภายหลัง
เมื่อพระเดชพระคุณหลวงปู่บังเกิดขึ้น แล้วก็ได้มีการค้นพบวิชชาธรรมกายเกิดขึ้นมา เราจึงปฏิบัติได้ถูกต้อง แต่ว่าผู้ที่มาภายหลังนั้นไม่เคยได้ยินได้ฟังมาก่อน ไม่ได้ปฏิบัติ หรือได้ปฏิบัติแต่ปฏิบัติไม่ได้ ก็เลยเข้าใจว่าธรรมกายคือนิกายใหม่ เพราะมีคำว่า “กาย”
เพราะฉะนั้น ดั้งเดิมมีแต่ธรรมกาย ไม่มีนิกายอะไรต่าง ๆ นิกายเพิ่งมาเปลี่ยนแปลงภายหลัง และมาเหมาเข้าใจว่า ธรรมกายคือนิกายใหม่ไม่ใช่นิกายใหม่ และก็ไม่ใช่นิกายเก่า แต่ว่าเป็นของดั้งเดิมในสมัยพุทธกาลในยุคที่ไม่มีนิกาย
เพราะฉะนั้น เราจึงเป็นหนี้พระคุณของพระเดชพระคุณหลวงปู่มากนอกจากการปฏิบัติบูชาหรืออามิสบูชาแล้ว ก็คิดที่จะตอบแทนพระคุณท่าน จึงได้สร้างรูปหล่อทองคำ รูปเหมือนท่านขึ้นมา แล้วก็ชักชวนผู้มีบุญทั้งหลายมาหล่อรูปบุคคลสำคัญของโลกและจักรวาล ที่ทำให้เราเข้าใจเรื่องราวความเป็นจริงของชีวิต และมีความมั่นใจว่า
เดี๋ยวนี้เขาไม่ค่อยจะเข้าใจกันนะ ยิ่งเรียนทางโลกมาก ๆ ยิ่งไม่ค่อยจะเชื่อว่ามีพระพุทธเจ้าจริง เขาบอกว่า พระไตรปิฎกนี่ผู้เขียนต้องเป็นนักคิดที่ยิ่งใหญ่ โอ ! ถ้าใครคิดได้ขนาดนี้ โดยไม่ได้ค้น ไม่ได้ปฏิบัติให้เข้าถึงกะโหลกจะบาน สติจะเฟื่องเสียก่อน
เพราะฉะนั้น ความรู้ที่มีอยู่ในพระไตรปิฎก ไม่ได้เกิดจากความคิดแต่เกิดจากการเห็นแจ้ง แล้วจึงรู้แจ้งแทงตลอด แล้วนำมาบันทึกถ่ายทอดกันมา ให้มวลมนุษยชาติได้ดำเนินชีวิตได้ถูกต้อง พอดำเนินชีวิตถูกต้องก็ปิดประตูอบาย แล้วก็เปิดประตูสวรรค์กัน นี่เป็นเรื่องที่สำคัญ
๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๘
- Dhammakaya (When You Don’t Know What to Read 5)
Dhammakaya is the original Buddhism, not a new sect. During the Buddha lifetime, there was no sect, only Dhammakaya, because at that time it was common for people to attain the Dhammakaya. There were people who could attain enlightenment after listening to the Dhamma. Since Buddhists in later generations paid less attention to Dhamma practice, the Buddha, the Dhamma, the Sangha, and Dhamma study, the original Buddha’s teachings had gradually become unclear over time. However, the word “Dhammakaya” still appears in the Buddhist Scriptures, which are scattered among different sects. And then there came thinkers whose thoughts were based on their own understanding obtained through Cinta-maya-panna. Some thinkers may have attained certain knowledge from meditation as well, but not to the ultimate level. Consequently, there were different opinions, giving rise to different sects. After Luangpu rediscovered “Vijja Dhammakaya”, we now know the right practice. For those who are unaware of what happened and have never practiced meditation or have not attained good results from meditation, they may think that Dhammakaya is a new sect.
Therefore, we owe much to Luangpu. In order to pay gratitude to him, we casted gold images of Luangpu, who is very important for the world and the entire universe. Luangpu let us understand the truth of life. Nowadays, many people do not believe in the teachings of the Buddha. In fact, the knowledge contained in the Tipitaka are from enlightenment, not thoughts. Such knowledge has been recorded and passed on from generation to generation for all mankind to live properly. When people live their lives the right way, they shut the door to hell and open the gate to heaven. This is important.
October 5, 2005
18.法身为原始佛教
佛陀时代无宗派,只识法身在自心,经师指导勤修习,皆得证入妙法身,本是稀松平常事,上者闻法便得证。
后来,人们逐渐放松修行,对禅定、佛、法、僧和教育等也不够重视,所以教义越来越被淡化。之后,法身这个词,只出现在佛教各宗派的经典里。
然后有思想家根据自己的理解,以思生慧,有的也实践修行,只是程度不高。从而产生不同的意见,最终形成了不同的宗派。
直至祖师发掘法身法门,使之重现人间,我们才有缘修行此法门。可惜有些人,不曾听闻或实践,又或者没有如法实践,误认为法身是新宗派,因为有“身”这个词存在。
因此,原始佛教只有法身,没有各种宗派,只在后来才演变形成,并误认为法身是新宗派。其实它并非新宗派或旧宗派,而原本就存在于不分宗派的佛陀时代。
因此,祖师对我们恩重如山,我们除了通过打坐或香烛作供养外,还想邀请全世界的善信一起发心塑造祖师金像,以报答祖师对世人的洪恩。祖师让我们认识了生命的真相,并坚信佛法僧三宝真实不虚。
现在有些人虽然知识渊博,却不相信佛陀的真实存在。有的人还说撰写《三藏经》者,一定是伟大的思想家。若谁能通过想象,而非通过修行证悟,那么身体早已承受不住,意识也崩溃了。
基于此因,《三藏经》里的佛法,并非来自于想象,而是源于如实知见。当知见一切后,将之传授给世人,让世人如法生活,进而关闭恶道之门,打开善道之门,这一点非常重要。
2005年10月5日