บางสิ่งที่แสวงหา
一直在寻找的东西
Something You’ve Been Searching For
ลองฝึกด้วยตัวเอง
เคยไหม…บางครั้งที่เราอยู่คนเดียวเงียบๆ แล้วเกิดคำถามขึ้นมาในใจว่า เรากำลังแสวงหาอะไรสักอย่างหนึ่งที่จะทำให้ชีวิตสมบูรณ์ แต่เราก็ตอบไม่ได้ว่าสิ่งนั้นคืออะไร จะว่าเป็นคนหรือ ก็พยายามหาคนในอุดมคติแต่ก็ไม่ค่อยเจอ เจอแต่ในอะไรไม่รู้ ก็ไม่ใช่อีก ก็เปลี่ยนกันไปเรื่อยๆ หาแมวบ้าง ม้าบ้าง ในอุดมคติ สัตว์ทั้งหลายก็ไม่ใช่ บางครั้งคิดว่า เจอแล้ว ใช่แล้ว แต่พักเดียว
ก็หายเห่อ อยากได้ใหม่อีกแล้ว อยากเปลี่ยนอีกแล้ว หรือจะเป็นสิ่งของ เพชรนิลจินดา ทรัพย์สินเงินทอง ลาภยศสรรเสริญต่างๆ เหล่านั้นก็ยังไม่ใช่ มันทำให้ใจไม่อิ่มเลย ไม่รู้สึกเพียงพอ รู้สึกว่าได้แล้วก็อยากเปลี่ยนหรืออยากได้อีกไปเรื่อยๆ บางช่วงของอารมณ์เราจะเป็นอย่างนี้นะ
จนกระทั่งเมื่อไรที่เราเข้าถึงพระธรรมกายในตัว พอถึงตรงนั้นแล้วอ๋อ! รู้แล้วว่า สิ่งที่เราต้องการแสวงหาอยู่ตรงนี้เอง อยู่ที่พระธรรมกายนี่แหละ ไม่ใช่ที่ไหนเลย เป็นที่ประชุมรวมความปรารถนาของเราอยู่ตรงนั้น ทำให้เรารู้สึกอิ่ม รู้สึกพอแล้ว จะเชื่อได้อย่างไร ก็ต้องลองดู เอหิปัสสิโก มาลองดูนะ
Practice it yourself
Sometimes when you are alone, has it ever occurred to you that there is something else you need in order to make your life complete? But you have no idea what that something is. Is it a person? But you have yet to meet anyone who meets with your ideal. Is it a thing? Perhaps a cat or a horse, but that’s not it either. Sometimes you may think that you have found that ideal person or that ideal thing only to find yourself wanting someone else or something else after a time. Is it money, precious gems, title and position, etc.? But these things cannot help anyone to feel truly fulfilled. They only drive one to want more of the same thing or something totally new. And yet, one hardly ever feels truly fulfilled or content. This is an experience common to everyone.
The reason is that it will not be until one can attain the Dhammakaya Who dwells in the center of one’s being that one suddenly realizes the very thing that one has been searching for can be found in the Dhammakaya and nowhere else. The Dhammakaya is the meeting place of all of our wish fulfillment because the attainment of the Dhammakaya makes us feel truly fulfilled and content. But how can one believe that this is true? Well, one must try to find the answer one’s self. Ehipassiko!
尝试自己修习
大家有过这种感觉吗?我们有时候独处,会突然冒出一个问题:我们需要去寻找生命中所欠缺的东西?但又不知道是什么。感觉是某个人,便努力去找,却找不到;即使找到了,却又感觉不是自己期望的。于是又不断地改变目标,例如一只猫,或一条狗,可惜到头来也不是。
有时觉得,自己已经找到了。可过一段时间,变了;有了新的需求,变成追求金银珠宝或升官发财等等,可后来又觉得不是。如此贪得无厌,不知足。得到后又变,或者一直想得到更多,有时就是如此。
直到证入内在法身的那一天,才突然明白,自己苦苦追寻的,不是别的东西,就是内在法身。法身才是我们最终渴望的。因此,我们感到满意和知足。要怎么相信呢?就要亲自去体验,是可以验证的,来试一试吧!
บางสิ่งที่คุณกำลังแสวงหา
คุณคงคล้ายอีกหลายๆ คนที่กำลังแสวงหาบางสิ่ง ที่จะเชื่อมต่อกับความสุขที่แท้จริง แต่คุณก็ไม่รู้ว่ามันคืออะไร คุณผ่านวิธีการต่างๆ มามากมาย แล้วมันก็ไม่ใช่…ไม่ใช่สิ่งที่คุณต้องการ คุณลองหลับตาเบาๆ … นึกถึงดวงตะวันที่สว่างอยู่กลางกาย นึกอย่างสบายๆ … แล้วคุณจะพบว่า บางสิ่งที่คุณแสวงหาอยู่ตรงนี้…ตรงนี้เอง
Something You’ve Been Searching For
You are like many others. Who have been searching for something. Which will bring you true happiness.
But you have no idea what it is. You’ve tried many things. But these are not what you really want.
Try closing your eyes softly… Visualize the sun in the middle of your body. Visualize it easily… And you will find That what you’ve been searching for…is right there.
你正在寻找的东西
可能和很多人一样,正在追寻,与快乐相关的东西,但又不知道具体是什么,通过许多方式去寻找,可惜都不是自己想要的,那不如试着轻轻闭上眼睛,意念身体中央,有一颗光亮的太阳,舒舒服服地意念,不久,可能会发现,苦苦追寻的东西,就在此处。
พระธรรมกายอยู่ภายในตัวเรา
การจะเห็นพระภายในก็ไม่ยาก แต่ก็ไม่ง่าย กำลังพอดี ๆ พอสู้กัน ที่ว่าไม่ยากก็เพราะเรามีพระธรรมกายอยู่แล้วในตัว อยู่กับเนื้อกับตัวของเราตลอดเวลา ไม่ได้อยู่ในป่า ในเขา ในห้วย ในหนอง ในคลอง ในบึง หรือตามดวงดาวต่าง ๆ ก็ไม่ใช่ แต่อยู่ในตัวของเรา ถ้าเราตั้งใจทำความเพียร และทำให้ถูกหลักวิชชา เราต้องเข้าถึงอย่างแน่นอน นี่ไม่ยากตรงนี้
แต่ที่ไม่ง่ายก็คือ ไม่ง่ายสำหรับคนขี้เกียจ ถ้าขี้เกียจเสียแล้วอะไรก็ไม่ง่ายทั้งนั้น ดังนั้นถ้าเราขยัน ทำให้ถูกหลักวิชชา รับรองพรรษานี้เราต้องสมปรารถนากันอย่างแน่นอน
Dhammakaya dwells inside us
Seeing the Dhammakaya is not difficult. But it is not easy, either. It is however doable. Seeing the Dhammakaya is not difficult because the Dhammakaya exists inside each of us. He can be found inside our person. He cannot be found in the forest, in the mountain, in a pond, in a canal or in a star. He dwells inside us. If we practice meditation earnestly and correctly according to Vijja Dhammakaya, we will definitely be able to attain the Dhammakaya. That is the reason why seeing the Dhammakaya is not difficult.
Seeing the Dhammakaya is not easy for a lazy person because nothing is easy when a person is lazy. Therefore, if one is diligent and practices meditation earnestly and correctly, one will be able to meet with success within this Rains-Retreat.
法身就在我们体内
想证悟内在的法身,不难也不易。若恰到好处,一定能够做到。不难是因为,法身不是在丛林、高山、溪涧、沼泽、河流、湖泊或星星上,而是与我们相伴相随,就在我们体内。如果我们精进如法修习,就一定能够如愿。至于不易,主要针对的是懒惰的人。如果心生懒惰,做任何事都不容易。因此,若我们精进如法修习,担保这个雨安居就能如愿以偿。
โชคดีที่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์
เราเกิดมาเป็นมนุษย์ ต้องถือว่าโชคดีมาก ๆ เพราะเป็นกายที่เหมาะสมที่จะได้ศึกษาความรู้อันยิ่งใหญ่ของชีวิต และทำตัวของเราให้บรรลุเป้าหมายอันสูงสุดได้
สำหรับผู้รู้เมื่อท่านบังเกิดขึ้นแล้ว ท่านเข้าใจแจ่มแจ้งในชีวิตของสังสารวัฏเลยว่า ชีวิตในสังสารวัฏนี้เป็นชีวิตที่มีทุกข์มีภัยมาก เพราะท่านเห็นตลอดหมดเลยใน ๓๑ ภูมิ เห็นด้วยธรรมจักษุและญาณทัสนะอันบริสุทธิ์ของท่าน
Lucky to be a human being
One must count one’s self lucky for having been born a human being because the human body is the best vehicle to learn the greatest knowledge in life and to attain one’s ultimate life-goal.
In the process of attaining Self-Enlightenment, the Lord Buddha penetrated the fact that life in the round of rebirth was fraught with danger and suffering. He saw and knew all of the thirty-one realms of existence with His Dhammakaya-Eye and His pure Supernormal Insight.
生而为人是幸运的
生而为人是非常难得的,因为这个色身适合探究生命的无上真理,并最终实现最高的生命目标。其实,对于智者来说,当他应现世间后,会如实了知轮回中的生命皆苦,并充满艰险。因为他可以通过清净的法眼和知见如实看清三十一境界的一切。
คำสัญญาที่ถูกลืม
ชีวิตในปรโลก มีคติ ๒ ทาง คือ สุคติ (โลกสวรรค์) และทุคติ (อบายภูมิ) ตอนก่อนจะมาเกิดเป็นมนุษย์ก็มาจาก ๒ คติ คือ สุคติกับทุคติ ที่มาจากทุคติ ก่อนมาก็จะได้รับฟังโอวาทจากท่านพญายมราชว่า “เจ้าจะไปเกิดเป็นมนุษย์แล้วต่อไปจะต้องละชั่ว ทำความดี ทำใจให้ใส ถ้าทำตรงกันข้าม ละดี ทำชั่ว ทำใจให้หมอง เดี๋ยวเจ้าก็จะกลับลงมาตรงนี้อีก ซึ่งเจ้าก็รู้แล้วว่ามันทุกข์ทรมานขนาดไหน ตอนนั้นต่างก็รับปากรับคำกันเป็นอย่างดี “ครับผม” “เจ้าค่ะ” สารพัด แต่พอเข้าสู่ครรภ์มารดาเท่านั้น ลืมหมดเลย เพราะถูกเขาบังคับเอาไว้ เกิดมาใหม่ก็มาทำตาม ๆ กันอีก ก็กลับ วนลงไปใหม่อีกแล้ว หรือแม้แต่ผู้ที่ลงมาจากสวรรค์ก็เช่นเดียวกัน ก็จะได้รับฟังโอวาทจากผู้ปกครองภพ ในทำนองว่า “ท่านเทพบุตร ท่านเทพธิดา ลงมาแล้วก็ให้ดำเนินชีวิตอยู่ด้วยความไม่ประมาทนะ เธอก็เห็นแล้วว่า ชีวิตในสุคติโลกสวรรค์มีความสุข สนุกสนาน น่าบันเทิงเริงรมย์แค่ไหน มีทิพยสมบัติ มีวิมานสวยสดงดงาม มีบริวารคอยบำรุงบำเรอ มีสุธาโภชน์ (อาหารทิพย์) มีการละเล่นให้ความบันเทิงใจ จะไปไหนมาไหนก็มียวดยานอันเป็นทิพย์สะดวกสบาย ได้เห็นแต่สิ่งที่เจริญหู เจริญตา เจริญใจทั้งนั้น ไม่มีซากอสุภะเลย คนแก่ก็ไม่มีให้ดู มีแต่หนุ่ม ๆ สาว ๆ ดูแล้วบันเทิง ลงไปแล้วนี่ ให้ละชั่ว ทำดี ทำใจให้ใส จะได้กลับขึ้นมาอีก”
ซึ่งต่างก็รับปากรับคำกันอย่างดี แต่พอลงเข้ามาสู่ครรภ์มารดาเท่านั้น พอตกศูนย์วูบตรงฐานที่ ๗ ของมารดา ถูกธาตุหยาบของมารดาห่อหุ้ม พอคลอดออกมาก็ลืมหมดเลย ยกเว้นแต่บรมโพธิสัตว์ที่ท่านสั่งสมบุญบารมีมามาก เกิดมาระลึกชาติได้ คือ จำได้ไม่ลืม ก็จะมีสิ่งที่แตกต่างจากมนุษย์ทั่วไป เพราะได้สั่งสมบุญมามาก เพราะฉะนั้นจะเห็นได้ว่า ชีวิตในสังสารวัฏมันอันตราย
The Forgotten Promise
Life in the hereafter has two main destinations, namely, the States of Happiness and the States of Unhappiness. Before one is reborn a human being, one has to come either from the States of Happiness or the States of Unhappiness.
Before being reborn in the Human Realm, if one came from the States of Unhappiness, one would be told by Phya Yamaraja, “You are about to be reborn a human being. From now on, you must abstain from all unwholesomeness. You must perform wholesome deeds and keep your mind clear. However, if you commit unwholesome deeds which will cause your mind to be gloomy, you will end up here again. You should know very well by now what horrific suffering you have had to endure in this place.” The individual told Phya Yamaraja that he understood everything. But as soon as he entered his mother’s womb, everything was forgotten and he is forced to undergo the round of rebirth endlessly in the States of Unhappiness.
If one came from the States of Happiness such as the Celestial Realm, one would be told by the sovereign of the realm, “Deva, once you descend to the Human Realm, you must take care not to be reckless. You should know by now how life in the Celestial Realm is filled with fun and joy in the forms of great celestial wealth, magnificent celestial castle, retinue of attendants, celestial food, entertainments, celestial vehicles, being surrounded by things that please the ears, the eyes and the mind. There are no corpses to be seen here. There are no old celestial beings because every celestial being is youthful-looking. Be sure to abstain from all unwholesomeness. Be sure to perform wholesome deeds and keep your mind clear so that you can come back up here again.”
The individual said that he understood everything. At the moment of conception, he falls into the seventh base of his mother’s body and is subsequently covered and nourished by the coarse elements in her body until it is time for him to be born. At birth, everything is forgotten except for a Bodhisatta who possesses a vast amount of merit. Unlike ordinary human beings, he does not forget his previous existences. As a result, he knows only too well how dangerous life in the round of rebirth really is.
被遗忘的承诺
来世的生命有两个趣向,分别是善趣(善道众生)和恶趣(恶道众生)。从恶趣重新投生人道之前,阎魔王会告诫说:“你们即将生而为人,未来切记诸恶莫作,众善奉行,自净其意。但倘若背道而驰,弃善从恶,令心浑浊,就会再次回到这里,而你知道这有多痛苦。”那时,都会认真的回答:“好的”“是的”。天意弄人,因被魔王逼迫和障碍,一进入娘胎,又全忘光了。出生之后,又重蹈覆辙,最终再次投生恶趣。
此外,从天界重新投生之前,所在天界的统治者也会告诫说:“男天人或女天人,投生人间后,不要放逸。你们也知道生活在善道天界是多么快乐、舒适和享受:有各种天界财富,有富丽堂皇的天宫,有侍奉左右的随从,有精美的天界食物,有赏心悦目的娱乐活动,来去皆有舒适的天车乘坐,所见的、所听的,都是令人心旷神怡的,见不到老态龙钟的人,只有年轻美貌的天人。因此,投生人间之后,要诸恶莫作,众善奉行,自净其意,如此才会再次投生这里。”
当时,大家一般都会信誓旦旦的承诺。可当进入娘胎,安住在母亲体内中心第七点,慢慢形成世俗的肉身(被母亲的粗元素包裹)。当出生后,所有的承诺又忘光了。只有累积无量功德波罗蜜的菩萨,和普通人不同。菩萨在出生后,因无量功德波罗蜜,而具足宿命通,就没有忘记。由此可见,轮回中的生命是如此危险。
คนเราเกิดมาทำไม
เรามาบวชเป็นพระภิกษุสามเณร เพราะเราเห็นภัยในวัฏสงสาร ซึ่งน้อยคนในโลกที่จะเห็น แต่ผู้รู้ท่านเห็น เมื่อเห็นแล้วด้วยมหากรุณาจึงได้นำมาสั่งสอนว่า มาเกิดเป็นมนุษย์แล้ว ต้องมาสร้างบารมีนะ โดยเฉพาะที่สำคัญที่สุดคือต้องทำพระนิพพานให้แจ้ง
ตรงนี้เป็นหลักสำคัญเลย
Why Are We here?
All of us are here in the monkhood or the novicehood because we are well aware of the dangers which exist in the round of rebirth. Very few people on earth are aware of this fact. But the Lord Buddha saw the Truth and kindly taught us that as a human being, one must pursue Perfections. Most importantly, one must make clear the Path and Fruit of Nibbana.
为何生而为人
我们出家为比丘或沙弥,是因为我们明白轮回的危险,可惜却少有人明白这个道理。但智者他如实知见一切,并在知见后慈悲教导众生:生而为人应勤修波罗蜜,特别是要证得涅槃,这个最为重要。
เส้นทางที่รอดปลอดภัยจริง
ในวัฏสงสารซึ่งมีภัยมากสารพัดภัยเลย ทั้งภัยพาล ภัยจากสัตว์ร้าย ของร้าย คนร้าย ภัยธรรมชาติ ภัยจากโรคภัยไข้เจ็บ ภัยจากกิเลสบังคับ และ ยังมีภัยในอบายอีกเยอะแยะไปหมดเลย มีทางเดียวที่จะรอดได้คือต้องขจัด กิเลสอาสวะให้หมดสิ้น แล้วไปพระนิพพาน จึงจะหลุดพ้นจากที่เขาบังคับได้ เพราะฉะนั้น การทำพระนิพพานให้แจ้ง จึงเป็นวัตถุประสงค์ของการเกิดมาเป็นมนุษย์ของทุก ๆ คน จะรู้หรือไม่รู้ จะเชื่อหรือไม่เชื่อก็ตาม แต่ว่ามนุษย์ทุกคนในโลกเกิดมาเพื่อการนี้ นอกนั้นเป็นวัตถุประสงค์รองลงมา คือ การสร้างบารมี หรือคือการทำความดีนั่นเอง ต้องละชั่ว ทำดี ทำใจให้ใส นี่เป็นหลักของการเกิดมาเป็นมนุษย์ จับหลักตรงนี้ให้ได้ ดังนั้น เรามีทางเลือกทางเดียวที่จะเป็นทางรอด คือ ต้องฝึกใจให้ หยุดนิ่ง ให้เข้าถึงพระธรรมกายในตัวให้ได้
The true safe way
There are myriad forms of danger in the round of rebirth. There are the forms of danger caused by wrong-viewed persons, wild beasts, natural disasters, sickness, Kilesa (defilements), not to mention the forms of danger in the States of Unhappiness. There is only one way to escape these myriad forms of danger. And that is to make clear the Path and Fruit of Nibbana. This is the most important task in the human life.
Therefore, making clear the Path and Fruit of Nibbana is the real objective of rebirth in the Human Realm whether or not one knows it; whether or not one believes it. Everything else in life is secondary. Human beings must pursue Perfections. In other words, every person must perform wholesome deeds, abstain from misdeeds, and keep his mind clear.
Every person’s only option if he wants to escape from the round of rebirth is to train his mind to be still and quiet so that he can attain the Dhammakaya that exists inside him.
真正安全之路
轮回中有各种各样的危险,包括愚昧的危险;毒物、猛兽、恶人的危险;自然灾害的危险;疾病的危险;烦恼逼迫的危险以及其它各种歪门邪道的危险。唯一的出路是断尽烦恼,证入涅槃,才能摆脱一切束缚。因此,证得涅槃是我们生而为人主要的目的,无论知道与否,相信与否,每个人生来都是为了这个目的,除此之外都是次要的。换言之,勤修波罗蜜,诸恶莫作,众善奉行,自净其意是生而为人的目标,必须要成就这个目标。因此,我们脱离险境的唯一出路是打坐修行,证得内在法身。
เราต้องฝึกฝนตัวเอง
พรรษานี้ จึงเป็นพรรษาที่ถึงเวลาแล้วที่เราจะต้องเห็นพระ เข้าถึงพระธรรมกายในตัว เราจะต้องขวนขวาย ทำให้เต็มที่เต็มกำลัง ไม่มีใครช่วยเราได้ นอกจากเราต้องช่วยตัวของเราเอง จะรักกันปานจะกลืนกินแค่ไหน ถึงเวลาต่างก็แยกย้ายกันไป ช่วยกันไม่ได้เลย ไม่ว่าจะเป็นใครก็ตาม
Everyone must endeavor to practice oneself
This Rains-Retreat must be the season that eve
ryone attains the Dhammakaya. Therefore, everyone must endeavor to practice meditation in earnest.
No one else can help one except one’s self. However much in love people may be, in the end, everyone has to go his separate way. Even the Lord Buddha can only teach us what to do, but the doing is up to us. We must work for our emancipation. No one can redeem us from the fruits of our misdeeds. Nothing can wash away our misdeeds. We alone can help ourselves.
我们要努力训练自己
这个雨安居是证入内在法身的好时机,我们应竭尽全力精进修行。没人能帮助我们,除了我们自己。无论多么相爱难舍,终究还是独自离开这个世界,谁也改变不了。
ตนแลเป็นที่พึ่งแห่งตน
แม้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ก็ได้แค่เพียงแนะนำ ส่วนการกระทำ เราต้องทำเอง จึงจะหลุดพ้นได้ จะมาไถ่บาปแทน ล้างบาปแทน หรือเอาบาปไปขว้างทิ้งน้ำไม่ได้ ต้องทำเอง ลุยเอง อยากมีชีวิตอยู่ ต้องหายใจเอง อยากจะเห็น ต้องดูเอง
อยากจะได้ยิน ต้องฟังเอง อยากจะรู้อะไรอร่อย หรือไม่อร่อย ก็ต้องกินเอง เพราะฉะนั้นไม่มีอะไรที่ไม่เองเลย มันต้องเองทั้งนั้นเองก็คือ อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ ต้องช่วยตัวของเราเอง มันถึงจะพ้นได้
One is one’s own refuge.
Even the Lord Buddha can only teach us what to do, but the doing is up to us. We must work for our emancipation. No one can redeem us from the fruits of our misdeeds. Nothing can wash away our misdeeds. We alone can help ourselves.
If one wants to live, one must do the breathing one’s self.
If one wants to see something, one must look at it one’s self.
If one wants to hear something,
one must do the listening one’s self.
If one wants to know if something is delicious or not,
one must taste it for one’s self.
In all things, one must do them one’s self.
Atta hi attano natho: One is one’s own refuge.
做自己的依靠
佛陀也只是慈悲给予指引,最终还得靠自己去修行,才能脱离险境。没有代人赎罪,也没有代人洗去罪业,更不能将过往造作的罪业扔进水里一了百了。一定要靠自己的努力。犹如要活着,就要自己呼吸;想要看到,要自己看;想要听见,要自己听;想要知道好不好吃,要自己尝。因此,万事要靠自己,也只能靠自己,只有自助者才能脱离险境。
เรามีสิทธิ์เข้าถึงธรรมได้
เรามีชีวิตอยู่ไปวันต่อวัน เรามีสิทธิ์ตายได้ทุกวัน คือ ถ้าหายใจเข้าแล้ว ไม่ออกก็ตาย หายใจออกแล้วไม่เข้าก็ตาย หายใจแล้วไม่เข้าไม่ออกก็ตาย เราตายได้ตลอดเวลานะ อย่าไปกลัว กลัวก็ตาย ไม่กลัวก็ตาย ฉะนั้นยอมรับ เถิดว่า เรามีชีวิตอยู่ไปวัน ๆ ฟังแล้วไม่ใช่ทำให้เฉาชีวิตนะ มันควรจะฉ่ำชีวิต ด้วยซ้ำไป เพราะเราก็มีสิทธิ์เข้าถึงธรรมได้ทุกวันเช่นเดียวกัน เรามีสิทธิ์เข้าถึงธรรมได้ทุกวัน ถ้าเราทำก็เข้าถึง ถ้าเราไม่ทำก็ไม่เข้าถึง ขึ้นอยู่กับ ทำ หรือ ไม่ทำ ขยันหรือขี้เกียจแค่นั้น
We can attain Dhamma anytime
All of us live from one day to the next because death can come to us anytime. If one inhales but does not exhale, one dies. If one exhales but does not inhale, one dies. If one can neither inhale nor exhale, one dies. Death can come to us anytime. However, there is no need to fear death, for the fear of death cannot stop death from happening. Therefore, it is better to accept the fact that one lives only from one day to the next. This is not meant to depress anyone. Since it is a fact that one can die anytime, it is also a fact that each day presents one with the opportunity to attain the Dhamma or the Dhammakaya.
It all depends on one’s self. It all depends on whether or not one practices meditation earnestly. It all depends on whether one is diligent or lazy.
我们有机会证悟佛法
我们一天一天的过生活,但是每天也有死亡的可能。如只有吸气,而没有呼气,会死;或只有呼气,没有吸气,也会死;或不呼气,也不吸气,同样会死。我们随时可能会死,但不用心生畏惧。因为无论畏惧与否,都会死。如此说来,似乎人生正在渐渐的干枯凋零。但不是这样的,我们更应让人生丰厚润泽。因为,我们每天都有机会证法。如果我们做了,就有机会;不做,就没有机会。只取决于做或不做,精进或懒惰,仅此而已。
กำลังใจ
เราไม่จำเป็นต้องไปเที่ยวขอกำลังใจจากใครเลย กำลังใจมากมาย มหาศาลอยู่ในตัวเรา ไปเบิกกันมาใช้บ้าง ไม่ต้องเขียมๆใช้ กำลังใจนี่แปลก ยิ่งใช้ ยิ่งมี ยิ่งเยอะ
Willpower
There is no need to ask anyone for willpower. One has it within one’s self and lots of it too. One needs to begin using one’s willpower often because the more willpower one uses, the more willpower one will have.
信心
我们不必去寻求别人的鼓励,我们内在就蕴含无穷的信心。只管尽量取用,不必节俭。信心这东西很有趣,越用反而越多。
ให้แต่ละวันผ่านไปด้วยความปลื้มปีติใจ
นอนอยู่เฉย ๆ จะให้มีเรี่ยวแรงกำลัง มันไม่มี อยากจะมีกำลังกายต้องออกกำลังกายจึงจะได้กำลังกลับมา กำลังใจก็เช่นเดียวกัน ยิ่งใช้ ยิ่งมี ยิ่งเยอะ ใช้มันเข้าไป ฟรีด้วย ไม่ต้องเสียเงิน ขึ้นอยู่กับเราจะใช้ไหม ใช้แค่ไหน เราก็ได้แค่นั้น เยอะหรือน้อยมันขึ้นอยู่กับเราเอง ไม่ได้ขึ้นอยู่กับใคร เวลาขี้เกียจก็ขี้เกียจเอง ไม่มีใครขี้เกียจแทน เวลาขยันก็ขยันเอง
ต้องขยันนั่งทำความเพียร ให้แต่ละวันผ่านไปด้วยความปลื้มปีติใจ
Let each day pass with joy
If all one does is to lie in bed, one cannot hope to have any stamina. If one wants stamina, one must perform physical exercise. Likewise, the more one uses one’s willpower, the more willpower one will gain. If one does not use it, it just lies dormant. One is responsible for everything in one’s life, not someone else. When one is lazy, it is one who is lazy and not someone else. When one is diligent, it is one who is diligent and not someone else.
法喜充满地度过每一天
静静的躺着,却想有强壮的体魄,是不可能的!想有强壮的体魄就要锻炼身体。信心也一样,越训练反而越多。这是免费的,不需要花钱。取决于我们是否有训练自己,训练得多,信心就越多。多或少皆取决于自己,而非取决于别人。懒惰是自己养成的,而不是别人强加的;精进也是自己养成的。我们应该精进修行,法喜充满的度过每一天。
นอนหลับพร้อมไปกับความปลื้มปีติ
ก่อนนอนก็ต้องให้ปลื้มว่า วันนี้ตั้งแต่ตื่นนอนเราทำความดีอะไรบ้าง
เรานั่งธรรมะเป็นอย่างไร นั่งให้กายเบาใจเบา แม้ไม่เห็นอะไรก็ให้มันเบา ๆ ไว้ก่อน จนกระทั่งใจปลื้มปีติจึงค่อยนอน อย่างนี้เรียกว่า นอนอย่างอริยะ แบบบัณฑิตนักปราชญ์
Blissful sleep
Everyone must endeavor to practice meditation earnestly. Each day must be filled with the realization that one has performed wholesome deeds from the time one wakes up to the time one goes to sleep. It does not matter whether one sees any. One makes the time and effort to practice meditation and one is mindful of how one’s practice is inner images just yet. What matters is whether one feels comfortable in body and mind when one practices meditation. It is important that one keeps one’s mind light and soft until one is filled with joy before one falls asleep at night. Such is the practice of Ariya Personages and wise sages.
法喜充满地入睡
睡觉前意念:从早晨起床后,所修的所有功德;如有精进打坐,令身心轻安,即便没有禅相生起,但可以维持轻安的感觉。如此便感觉法喜充满,再慢慢地入睡。这就是智者的睡眠方式。
วันแห่งการแสวงหาพระในตัว
พรรษานี้เริ่มต้นชีวิตใหม่แบบวันต่อวัน ให้เป็นวันแห่งการแสวงหาพระในตัว ซึ่งองค์พระธรรมกายภายในเป็นที่รวมประชุมแห่งบุญทั้งหลายทั้งปวง เป็นเสมือนท้องทะเลแห่งบุญ เหมือนท้องฟ้าเป็นที่รวมของดวงดาว ท้องทะเลเป็นที่รวมของแหล่งน้ำจากห้วยหนองคลองบึง องค์พระภายในก็เป็นที่รวมแห่งบุญ แห่งสิ่งที่ดีงาม และสิ่งที่เราปรารถนาทั้งหมดไปรวมประชุมกันอยู่ตรงนั้น ไม่ต้องไปแสวงหาที่ไหน ท่านอยู่ในตัวของเรา
Day of searching the Dhammakaya within
In this Rains-Retreat, let each person begin life anew daily. Let each day be the day of searching for the Dhammakaya. The Dhammakaya is the source of merit. He is like the sea of merit. He is like the sky which is filled with the stars. All rivers run to the sea. Likewise, the Dhammakaya is the source of merit, the source of wholesomeness and the source of everything one wishes for. There is no need to look elsewhere for the Dhammakaya, for He is inside each of us.
寻找内在法身之日
将这个雨安居作为生命的全新开始:每天都在追寻内在的法身佛。内在的法身佛是功德的聚集处,好像功德的海洋,亦犹如夜空是繁星的聚集地,海洋是河流的聚集地。内在的法身佛是功德、善美之物和所有愿望的聚集处。无需去别处寻找,就在我们体内。
ภาคภูมิใจที่ได้พัฒนาตนเอง
ชีวิตเราผ่านไปแต่ละวันนั้นได้สร้างสิ่งที่ดีได้แค่ไหน ทำให้เราปลื้มปีติภาคภูมิใจไหม ถ้ารู้สึกปลื้มปีติภาคภูมิใจก็
ใช้ได้ การแก้ไขข้อบกพร่องในแต่ละวัน จะมีผลต่อไปในอนาคตไกล ๆ โน้น ถ้าเราแก้ไขให้ดีขึ้นทุกวัน ก็จะดีขึ้นไปเรื่อย ๆ แต่ถ้าหากไม่แก้ไข มันก็จะค่อย ๆ ตกต่ำกันลงมา
Feel proud of self–improvement
Another day has already gone past. Is the day full of wholesome activities? Does one feel proud of one’s day? If so, then it is good. Let everyone wait to check and see at the end of the Rains-Retreat what improvement has been made.
Let everyone wait to check and see what improvement has been made. Working to address one’s shortcomings daily will send its effect far into the future. If one works on one’s shortcomings every day, continuous self-improvement can be made. If not, things can only go downhill.
为自我提升感到自豪
生命一天天流逝,我们累积了多少善行?对此,是否感到法喜和自豪?如果感到法喜和自豪,那就可以了。
ความมืดเป็นมิตร
ความมืดภายใน ภายหลังจากที่เราหลับตา นั่นเป็นเรื่องปกติของผู้ที่ ใจยังไม่หยุดนิ่ง อย่าไปคิดว่าเป็นอุปสรรค ต้องคิดว่าความมืดเป็นเรื่องธรรมดา เวลาเราหลับตาแล้วพบความมืดก็ต้องทำใจให้เป็นมิตรกับความมืด ให้คิดว่า ความมืดเป็นเกลอเป็นสหายของเรา แล้วเราจะอยู่กับความมืดได้อย่างสบายใจ โดยไม่หงุดหงิดฮึดฮัดว่า เรานั่งมาตั้งนานแล้วทำไมไม่สว่างสักที
Let Darkness Be Your Friend
When one closes one’s eyes and all one sees is darkness, this is natural for those whose mind cannot yet be kept still and quiet. Do not think of darkness as an obstacle. But think of it as being natural. Therefore, when you close your eyes and all you can see is darkness, learn to befriend it.
Let the darkness be your friend and let it keep you company. There is no need to feel frustrated that you cannot yet see any light despite the fact that you have been practicing meditation for a long time.
将黑暗当作朋友
我们闭上眼睛后,内在黑暗现前。如果心没有静定下来,这是常常遇到的现象。不要认为黑暗是打坐的障碍,因为遇到黑暗是正常的现象。当闭上眼睛遇到黑暗,应和它做朋友,把它当作自己的好友、知己。这样,我们才能与黑暗舒适地共处,而不是心浮气躁地想:我打坐这么久了,为什么光亮还未现前?
ทำใจให้เย็นๆ และผ่อนคลาย
เมื่อเราเป็นมิตรกับความมืด ความมืดก็จะเป็นมิตรกับเรา แต่ถ้าเราฮึดฮัด หงุดหงิด พยายามจะเพ่งขับไล่ความมืดให้ออกไป
หรือพยายามจะนึกถึงความสว่าง ทำให้ยิ่งตึงเครียด เพราะทำไม่ถูกหลักวิชชา วิธีที่ถูกต้องคือให้ทำเฉย ๆ นิ่ง ๆ นุ่ม ๆ ละมุนละไม ทำใจสบาย ๆ อยู่กับความมืดสักพักหนึ่ง เดี๋ยวตัวเราก็จะค่อย ๆ โล่ง โปร่ง เบา สบาย ขยาย แสงสว่างก็จะเกิดขึ้น มันก็เป็นขั้นเป็นตอนไป
Keep your mind calm and relaxed
When you befriend the darkness that you see inside you, it will in turn befriend you. But if you feel frustrated and struggle to chase away the darkness or try too hard to visualize a light, you will end up feeling stressed and uptight. This is not the right way to practice meditation. The right way is to keep your mind calm, quiet, soft, supple and relaxed amidst the darkness. If you can do this, in time you will begin to feel spacious, airy, light, relaxed and expansive. And before you know it, you will see a light. Bear in mind that everything must proceed in a stepwise fashion.
让心保持宁静放松
当我们和黑暗交朋友,黑暗也会与我们为友。但若我们心浮气躁,试图把黑暗赶走,或努力去意念光亮,反而会让自己更加紧绷紧张——这样是不对的。正确的做法是:让心自然的保持静静的、柔柔的状态,舒舒服服的与黑暗相处一段时间,不久我们会逐渐体验到心空旷、通透、轻柔、舒服的感觉,然后光亮随之生起。这些经验是循序渐进的。
ทำถูกหลักวิชชาแล้วจะพบความสำเร็จ
ให้เริ่มต้นทำให้ถูกหลักวิชชา เดี๋ยวเราก็จะกำความสำเร็จล้านเปอร์เซ็นต์ เพราะยังไงเราก็ต้องเข้าถึงอย่างแน่นอน ที่เข้าไม่ถึงเป็นไปไม่ได้ ถ้าเราขยัน และทำถูกหลักวิชชา หมั่นตรึก หมั่นนึก หมั่นคิด หมั่นฝึกฝน หมั่นสังเกตไป เรื่อย ๆ มันจะไปสู้เราได้อย่างไร เดี๋ยวก็แพ้เรา ฝึกไปเรื่อย ๆ อย่างสบาย ๆ แล้วก็ไม่ต้องไปควานหาอะไรในที่มืดเผื่อว่าจะเจอดวงหรือองค์พระ ก็ไม่
ต้องถึง ขนาดนั้นนะ
Do the right way and you will find success
Begin your meditation accordingly and success will be yours one million percent. You will be able to attain the Dhamma. It is impossible for you not to attain the Dhamma if you are diligent and if you practice accordingly. It helps if you can continue to keep your mind focused and aware even when you are not practicing meditation. Keep practicing in a relaxed and comfortable manner and nothing will be able to stand in the way of your success.
如法修行必将取得成功
开始修行方法正确,一百万个包票,一定会证法的。因为无论如何都会证法,不证法是不可能的。若我们精进修行,并且方法正确,不断的反思、不断的省思、不断的练习、不断的观察。我们必定战胜困难,取得成功。只需舒舒服服地持续修习,不用特意在黑暗中寻找光球或佛像,没有必要那样做。
ไม่จำเป็นต้องลุ้น แค่ทำเฉยๆ ใจเย็นๆ
ให้ดูเฉย ๆ เพราะดวงกับองค์พระมีอยู่แล้วในตัว เหมือนเรา
อยู่ห้องมืด ๆ ในห้องเต็มไปด้วยโต๊ะ เตียง ตั่ง ตู้ เก้าอี้ ข้าวของบนโต๊ะมากมาย
เราเข้าไปในห้องมืด ใหม่ ๆ ยังไม่คุ้น มองอะไรไม่เห็น ทั้ง ๆ ที่โต๊ะ เตียง ตั่ง ตู้ ก็มีอยู่ แต่พอเรายืนนิ่ง ๆ ทำเฉย ๆ สักพัก สายตาเราก็จะค่อย ๆ คุ้นกับความมืด จากมืดมิดก็มามืดมาก จากมืดมากมามืดมัว มาสลัวสาง ๆ พอที่เรา
จะเห็น ตู้ โต๊ะ เตียง ตั่งได้ พอที่จะค่อย ๆ เดินไปข้างฝาค้นหาสวิตช์ไฟได้
ความมืดภายในตัวก็คล้าย ๆ อย่างนั้น ทำใจเราให้คุ้น กับความมืดภายในด้วยใจที่สบาย
No need to try hard…Just be calm.
There is no need to try to look for things in the darkness thinking that perhaps you will find the Dhamma Sphere or the Dhammakaya there. It does not work that way. Remember that the Dhamma Sphere or the Dhammakaya is already there inside you. Just be calm. It is like stepping into a dark room which is filled with all kinds of furniture and things. When you first enter the room, you cannot see anything yet. But when you allow your eyesight to gradually adjust to the darkness, you will begin to see the forms and shapes of the furniture and things. Initially, the room appears very dark, but the level of darkness will decrease until you can make out the furniture and things well enough to look for the light switch.
The darkness inside us is similar to the darkness in the room. The thing to do is to become familiar and comfortable with the darkness in your mind.
不要着急,要冷静
静静地看,因为光球和佛像就在体内。就好像我们进入一间漆黑的房间,里面有桌子、床、凳子、柜子、椅子,桌子上还摆着许多东西。我们刚刚进入房间,还不适应,看不见屋内的桌椅板凳。可若我们平心静气地站一会儿,眼睛会逐渐适应漆黑的环境,从漆黑一片到黑暗,从黑暗到模糊,能微微看见桌椅板凳,然后勉强走到电灯开关旁。内在的黑暗也是如此,只要我们慢慢适应,以轻松舒服的心慢慢熟悉内在的黑暗。
ความสบายจึงจะทำให้เข้าถึงธรรมได้
ความสบายเท่านั้นจึงจะทำให้เข้าถึงธรรมได้ ความลำบากไม่เคยทำให้ใครเข้าถึงธรรมเลย ต้องอารมณ์สบายอย่างเดียว แม้พระธุดงค์ท่านเข้าป่า เข้าเขา ห้วย หนอง คลอง บึง ต้องเจอกับความทุรกันดารในทุก ๆ ด้าน
แต่เวลาจะเข้าถึงธรรม เวลาใจจะหยุดนิ่งก็ต้องอารมณ์สบาย ต้องอารมณ์สบายอย่างเดียว ไม่สบายเป็นไม่เห็น
Feeling comfortable is the way to attain the Dhamma
Feeling comfortable is the only way to attain the Dhamma. Stress and discomfort have never helped anyone to attain the Dhamma. Therefore, it is important to feel comfortable and relaxed. The monks who undertake Dhutanga by trekking in the forest has to encounter all manner of hardship. And yet, when it is time for them to attain the Dhamma, they feel comfortable and relaxed. It is only by feeling comfortable and relaxed that they can keep their mind still and quiet. If they do not feel comfortable and relaxed, they will never be able to see any inner images at all.
心舒服才能证法
只有感觉愉悦、舒服,才可能证法;感觉苦闷、困苦,不可能证法。心情愉悦、舒服是不可或缺的。即便头陀僧进入深山老林或湖沼洞穴中修行,会遭遇各种艰难困苦;可要证法、入定,就必须心情舒畅,这是唯一的路径。倘若心情苦闷,就难以证法。
วิธีง่ายๆ ที่จะหาอารมณ์สบาย
แม้เราจะรู้ว่าอารมณ์สบายจะทำให้ใจหยุดนิ่งเข้าถึงธรรมได้ แต่บางคนไม่รู้วิธีการ พยายามไปควานหาอารมณ์สบาย เลยไม่สบาย เพราะมัวไปหาว่าทำอย่างไรถึงจะสบาย มัวแต่ตั้งท่าอยู่ บางทีตั้งเป็นชั่วโมงเลย นั่งท่านั้น ท่านี้
นึกอย่างนั้น อย่างนี้ ที่จริงอารมณ์สบายมีอยู่แล้วนะ แค่เราทำใจนิ่ง ๆ เฉย ๆ เดี๋ยวอารมณ์สบายมาเอง ที่ช้ากันอยู่เพราะมัวไปหาอารมณ์สบาย แล้วมันไม่สบาย อย่าไปควานหาอารมณ์สบาย ให้ทำนิ่ง ๆ เฉย ๆ เดี๋ยวก็มีมาเอง
ทั้งอารมณ์สบาย ทั้งแสงสว่าง ทั้งดวงใส ๆ องค์พระใส ๆ ต้องจับหลักตรงนี้ให้ดี
Easy way to find comfortable feeling
Although we know that feeling comfortable will help us to keep our mind still and quiet, but the problem is some people try too hard to find that . Therefore, they end up feeling uncomfortable. They are too busy looking for it. Sometimes, an entire hour passes by with them trying to sit this way or that way or trying to imagine this or that. Actually, the comfortable feeling is already available to us if we can just keep quiet and calm. But some people are wasting their time struggling to find that comfortable feeling and they end up feeling uncomfortable. Do not spend time looking for that comfortable feeling. Just sit down and keep your mind quiet and calm and soon enough that comfortable feeling will come to you. And then there will be light, a crystal sphere and a crystal Buddha Image. This is something to bear in mind.
找到心情舒畅的简单方法
我们知道舒畅的心情有助于证法。于是,有的人努力去寻找舒畅的心情,反而适得其反。为了找到舒服的感觉,不断调整坐姿,不知不觉一个小时就过去了。事实上,舒适的心情就在我们身体里。只要我们让心静定下来,心情自然会舒畅。之前去找舒适的感觉,还找不到,根本就不需要去找。只要心静静定定,舒畅的心情自然来。不仅有舒畅的心情,就连光亮、透明的光球或佛像也随之生起。要明白这个重要的方法。
ระดับของความมืด
เวลาเรานั่งหลับตาแล้วมืด เหมือนมองไม่เห็นอะไรเลย เราก็จะมีความรู้สึกว่า ความมืดเป็นอุปสรรคและเป็นปรปักษ์กับใจของเรา แต่จริง ๆ แล้วไม่ใช่ เพราะความมืดก็เป็นเพียงปรากฏการณ์ธรรมดาของโลก เหมือนโลกภายนอกก็ต้องมีความมืด มีห้องมืด
ความมืด คือ สหายของเรา เป็นความมืดที่น่ารัก คิดอย่างนี้แล้วใจเราจะสบาย ไม่ต้องไปนั่งฮึดฮัด เพ่งขับไล่ความมืด เหมือนเราอยู่ห้องมืด ๆ พอเรายืนเฉย ๆ ไม่ช้าสายตาก็จะคุ้นกับความมืด จากมืดมาก มามืดมิด มืดมัว มืดสลัว ๆ กระทั่งพอจะมองเห็นวัตถุสิ่งของ โต๊ะ ตู้ เตียง ตั่ง ที่อยู่ในห้องมืด ๆ นั้นได้ แล้วก็มองเห็นว่าสวิตช์อยู่ตรงไหน ไปกดสวิตช์ขับไล่ความมืดไปได้ ความมืดภายใน แค่เราทำนิ่ง ๆ เฉย ๆ สบาย ๆ แล้วเราก็จะค้นพบว่า ความมืดจริง ๆ แล้วไม่มีเลย จากมืดมาก มามืดมั่ง แล้วก็ไม่ค่อยจะมืด แล้วก็ฟ้าสาง ๆ เดี๋ยวก็สว่างไปเลย
Level of Darkness
When one sits down and closes one’s eyes to practice meditation and all one can see is darkness, one may regard the darkness as a hindrance or an enemy. But actually, it is not, for darkness is a natural phenomenon.
Think of darkness as your friend or your pal. Think of it as being endearing and then you will feel comfortable with it. Do not try to chase away the darkness. Remember that when you first enter a room at night, all you can see is darkness. But when you stand still and allow sometime for your eyesight to adjust itself, you will begin to make out the shapes and forms of the furniture and things inside the room. Then you can locate the light switch and turn the light on to chase away the darkness.
It is the same with the darkness you see inside you. All you have to do is to sit quietly, calmly and comfortably and then you will discover how there is no such thing as absolute darkness. From a high level of darkness to a moderate level of darkness to a low level of darkness, and before you know it, you will experience a low level of light the way it is at dawn. A low level of light will gradually turn into a moderate level of light, so on and so forth until it is as bright as the midday sun.
黑暗的等级
我们闭上眼睛打坐,黑漆漆的一片。于是,自觉将黑暗看作阻碍或对手,可事实并非如此。黑暗存在于外部的自然世界;同时,黑暗也普遍存在于内在的世界。
黑暗是如此可爱,我们应将它当作朋友。如果这样认为,会感觉轻松舒服,不会闷闷不乐,也不会总想赶走黑暗。就像我们在漆黑的房间静静地站一会儿,眼睛就会逐渐适应:由漆黑到黑暗,从黑暗到模糊的感觉到,然后依稀看见房间里的桌、椅、板、凳。然后,看到开关在哪里;最后,打开灯,黑暗不见了。
对于内在的黑暗,我们只要持续轻轻松松、舒舒服服、宁静、静定的感觉,就会明白,并没有所谓“顽固的黑暗”。而是,由漆黑到黑暗,一些黑暗,不怎么黑暗,再到一点点光亮,再就亮了。
ถ้าเมื่อยก็ขยับตัว
ความเมื่อย บางคนเมื่อยนิดเดียวก็เลิกนั่งแล้ว อย่าลืมว่าเราเป็นมนุษย์ธรรมดาไม่ใช่เทวดา ก็มีเมื่อยเป็นธรรมดา ควา
เมื่อยนี่แก้ไม่ยาก ไม่เป็นอุปสรรค เมื่อยก็ขยับก็แค่นั้นเอง
If you feel achy,adjust your posture
Achiness. Some people stop practicing meditation as soon as they experience a low level of achiness. Remember that one is only human. One is not a celestial being. Therefore, achiness is natural and it should not be thought of as a hindrance. If you feel achy, all you have to do is adjust your posture.
酸痛就调整坐姿
有的人感觉一点点的酸痛,就不想打坐了。我们是普通人,而非天人。所以,身体酸痛很正常。酸痛不是打坐的阻碍,很容易解决——酸痛就调整坐姿,仅此而已。
ความฟุ้งไม่ได้เป็นอุปสรรคอะไรเลย
ความฟุ้ง คือ ขบวนการของความคิดที่ถูกเก็บสะสมเอาไว้ในใจของเรา จากประสบการณ์ตั้งแต่ตื่นนอนจนกระทั่งเข้านอน ไม่ว่าเราจะทำภารกิจการงานอะไรก็ตาม รวมทั้งเรื่องราวในอดีตที่ผ่านมาแล้ว สิ่งเหล่านี้ถูกเก็บสะสมเอาไว้ในใจ พอถึงเวลาที่เรามานั่งสมาธิ มันจะค่อย ๆ คลี่คลายออกมา เป็นภาพบ้าง เป็นเสียงบ้าง เป็นทั้งภาพทั้งเสียงบ้าง จนกระทั่งเกิดความรู้สึกเบื่อหน่าย คิดว่ามันเป็นอุปสรรค
ความจริงแล้ว ความคิดกับดวงจิตเป็นของคู่กันตลอดนะ อยู่ในน้ำก็คิดได้ ฟุ้งได้ ไปอยู่ในอวกาศโล่ง ๆ ก็คิดได้ อยู่ตรงไหนก็คิดได้ทั้งนั้น ที่ใดมีความคิด ที่นั่นก็ฝึกจิตได้ ไม่ได้เป็นอุปสรรคอะไรเลย
Restlessness is not at all a hindrance
Restlessness occurs as a result of the accumulation of thoughts inside your mind. These include the experiences you have from the time you wake up until the time you go to bed. Everything that one has ever done including all of one’s past experiences has all been stored inside one’s mind. Therefore, when one sits down to practice meditation, these experiences will show up as images or sounds or as both images and sounds and to the extent that one may feel bored and discouraged. And one begins to think of one’s restless mind as a hindrance to one’s meditation practice.
Actually, thought and mind belong together. When one is in the water, one’s mind can also be restless. When one is in space, one’s mind can also be restless. Wherever one may be, one is always thinking things. The good news is that the presence of thoughts means that the mind can be trained. Therefore, restlessness is not at all a hindrance to meditation practice.
杂念不是障碍
杂念是累积、存储在心中的种种想法。例如,从早晨起床到晚上睡前所经历的大小事情,以及过往的各种经历。当我们打坐时,就自然的浮现出来——有的是画面,有的是声音,有的既有画面又有声音。不断的出现,会感觉厌烦,认为杂念是打坐的障碍。
事实上,我们的心一直在习惯性的思考:我们在水里,可以思考;在开阔的陆地上,也可以思考;在哪里都可以思考。但是,哪里有杂念,那里就可以修心,杂念不是障碍。
ความยากอยู่ที่ขี้เกียจตัวเดียวเท่านั้น
เราต้องเข้าใจว่าเราหนี ความมืด เมื่อย ฟุ้ง ๓ อย่างนี้ไม่พ้น แต่เราก็มีวิธีแก้ คือ ง่วงก็ปล่อยให้หลับ เมื่อยก็ขยับ ฟุ้งก็ให้ลืมตาแล้วก็ว่ากันใหม่ ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงยุทธวิธี ไม่ช้าเดี๋ยวมันก็หมดไปเอง ใจก็จะค่อย ๆ ใส ค่อย ๆ
ละเอียด เดี๋ยวก็หยุดนิ่งดิ่งเข้าไปสู่ภายในได้ ความสว่างก็แจ้งขึ้นมา ในกลางความสว่างเราก็เห็นที่มาของแสงสว่างภายใน แล้วก็จะเห็นไปตามลำดับในสิ่งที่มีอยู่แล้วในตัวของเรา ซึ่งเป็นแผนผังของชีวิต
เพราะฉะนั้น ไม่ได้ยากอะไรเลย ความยากอยู่ที่ขี้เกียจตัวเดียวเท่านั้น
ต้องขยันและทำให้ถูกวิธี ถ้าทำอย่างนี้ได้เดี๋ยวเราจะสมความปรารถนา
คนที่เขาทำได้ เขาก็มีมือ ๒ มือ เราก็มี ๒ มือ เมื่อเขาทำได้ เราก็ต้องทำได้
What makes it difficult is laziness
One must bear in mind that one cannot escape three things, namely, sleepiness, achiness, and restlessness when one practices meditation. But there are ways to deal with them. If you feel sleepy, go ahead and drop off to sleep. If you feel achy, adjust your posture. If your mind is restless, open your eyes and begin again. Continue to make improvement and adjustment gradually until these three things are no longer present. And then your mind will gradually become clearer and more refined. In time, your mind will be brought to a standstill and it will be ready to journey inward. And you will be able to see all the things that are already there inside you.
Meditation practice is not difficult. What makes it difficult is laziness. If one is diligent and practices meditation correctly and earnestly, in time one will meet with success.
The persons who have attained the Dhamma have two hands, so do you. If they can do it, so can you.
只有懒惰的人才觉得难
我们要明白:黑暗、酸痛和杂念是无法逃避的。但我们是有方法解决的:犯困就睡觉,酸痛就调整坐姿,杂念多就睁开眼睛,重新开始。运用各种方法,调整解决。不久之后,它们会自然消失。心逐渐透明清净,深入静定,光亮也随之生起,并次第看见原本就存在的法。那就是生命的蓝图。因此,一点都不难,只有懒惰的人才觉得难。只要方法正确并勤勉精进,我们一定会得偿所愿。做得到的人有两只手,我们也有两只手;既然他能做到,我们也能做到。
อย่าขังความโกรธ
บางคนตอนออกจากบ้านไปก็อารมณ์ดี แต่ในระหว่างทางเกิดความ ขุ่นมัว เพราะไปเจอข้อผิดพลาดของเพื่อนมนุษย์ในระหว่างทางบ้าง ในที่ทำงานบ้าง การทำงานทุกอย่างก็ต้องมีทั้งปัญหา มีแรงกดดัน บวกกับ ความไม่สมบูรณ์ของเพื่อนมนุษย์ เพื่อนร่วมงาน บางครั้งก็ทำให้เรา หงุดหงิดโมโห แล้วเราก็ขังอารมณ์โกรธเอาไว้ทำให้เกิดผลเสียตอนที่มาปฏิบัติธรรม อย่างนี้หาควรไม่ เพราะเราไปขังความขุ่นมัวเอาไว้ ทางที่ดีเราอย่าไปเก็บความโกรธเอาไว้ ลืมมันไปเสียเถิด ไม่มีอะไรผิด นอกจากความเข้าใจเท่านั้น สิ่งที่เราเห็นกับสิ่งที่เขาเป็นมันอาจไม่ตรงกัน เราเห็นอย่าง แต่สิ่งที่เขาเป็นอีกอย่าง ชีวิตมันเป็นอย่างนี้ เพราะฉะนั้นปล่อย ๆ ไป ใจจะได้สบาย เวลามานั่งธรรมะใจจะได้ใสแจ๋ว เห็นองค์พระผุดขึ้นมาทีละองค์ ๆ อย่างง่าย ๆ
Do Not Store Your Anger
Some persons leave their house in a good mood but later they feel frustrated as they encounter the mistakes made by their fellowmen during their commute or at work. Every kind of work has its own problems; problems from work pressure and one’s fellowmen’s imperfection. Precious time has to be spent and wasted on clearing one’s mind of anger. And by the time one is ready to practice meditation, the session is already nearing its end. Such is the negative effect of storing one’s anger.
It is much better for one to just forget about the offences. Misunderstanding lies at the root of offences. What one sees and what others see may be different. One sees one thing. Another person sees another thing. That’s life! Therefore, it is better to let go of anger and keep one’s mind relaxed and comfortable instead. Then when it is time to practice meditation, one’s mind will be clear and before one knows it, one can see the arising of one Dhammakaya after another.
不要存储愤怒
有些人早晨离开家时心情很好。但在上班的路上,或者在工作的地方,总会遇到一些不顺心的事情,如工作遇到的困难,工作的压力,同事的失误等等,会让我们不舒服、生气。我们会不自觉的将愤怒的情绪积累在心里。这些负面情绪将在我们打坐的时候显现出来。这样不好。如果多些换位思考,就没有那么多的对错了。我们所见的是一种情况,事实完全可能是另外一种情况,生活就是如此。因此,尝试放下愤怒的情绪,或者,忘掉,不积累愤怒的情绪,心才会舒服。修行时,心清净明亮,轻轻松松看见佛像一尊接一尊的涌现上来。
ความเป็นจริงของชีวิต
การเกิดมาเป็นมนุษย์มีวัตถุประสงค์เพื่อทำพระนิพพานให้แจ้ง ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับทุกคนในโลกไม่ว่าเชื้อชาติศาสนาและเผ่าพันธุ์ใดก็ตาม ถ้ายังทำพระนิพพานให้แจ้งไม่ได้ ชีวิตของเราก็จะต้องตกอยู่ภายใต้กฎแห่งกรรมเรื่อยไป ไม่ว่าจะรู้หรือไม่รู้ก็ตาม ผู้รู้ท่านไปรู้ไปเห็นมาด้วยธรรมจักษุและญาณทัสนะ เห็นว่าในวัฏสงสารมีภัยมาก มีอันตรายมาก แต่ผู้ไม่รู้นี่ ไม่ค่อยจะกลัวกัน หรือผู้ที่สั่งสมอกุศลธรรมล้วน ๆ ก็ไม่ค่อยกลัว ที่ไม่กลัวเพราะไม่รู้ อย่างนี้อันตราย เพราะฉะนั้นถ้าหากว่าไม่ทำพระนิพพานให้แจ้ง ชีวิตก็ยังตกอยู่ในอันตรายมาก ทั้งในปัจจุบันและในอบาย
ภัยในอบาย เรามองไม่เห็น เพราะอวิชชาเข้ามาบังคับครอบงำ แล้วตรึงให้ไปติดกับกะโหลกกะลาสารพัด ทั้งรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมณ์ ใจก็ยิ่งหมกมุ่นอยู่กับสิ่งเหล่านั้น จึงไม่มีเวลาและอารมณ์ที่จะมาศึกษาความรู้เรื่องราวความเป็นจริงของชีวิต ตรงนี้อันตราย การทำพระนิพพานให้แจ้งจึงมีความสำคัญมากๆ
The reality of life
Rebirth in the Human Realm is for the purpose of making clear the Path and Fruit of Nibbana. This applies to every human in the world regardless of his race or creed.
For as long as one cannot make clear the Path and Fruit of Nibbana, one will continue to be dictated by the Law of Kamma whether or not one knows about its existence. The Lord Buddha saw and knew the Law of Kamma with His Dhammacakkhu (Dhammakaya-Eye) and Nanadassana (Supernormal Insight). He saw how the round of rebirth was fraught with all forms of great danger. For those who do not know the Truth, they tend not to be afraid. Those who have committed all forms of unwholesomeness are not afraid. They are not afraid because they do not know the Truth.
If one does not make clear the Path and Fruit of Nibbana, one’s life will still be full of great danger here and now as well as in the States of Unhappiness.
One cannot appreciate great danger in the States of Unhappiness because one is still dominated by Avijja (ignorance) which drives one to cling to every nonsensical thing having to do with the physical forms, sounds, smells, tastes, contacts and emotions. One’s mind is immersed in these things. Therefore, one cannot find the time or make the effort to learn about the reality of life. This situation is gravely dangerous. Making clear the Path and Fruit of Nibbana is a highly important and neccesary undertaking.
生命的真理
生而为人的目的是证得涅槃,没有国籍、宗教或血统的限制,这是每个人都要实现的目标。无论知道或不知道:如果还没有证得涅槃,我们的生活将永远受业果法则的束缚。智者已经透过法眼和知见,看清轮回的危险与困苦。只有不知道的人或恶贯满盈的人不畏惧而已,不畏惧是因为他们不知道其中的危险。所以,倘若还没有证得涅槃,今世和来世的生命仍将深陷险境。我们看不见是因为被无明蒙蔽双眼,心识散乱于色声香味触法等六尘,最终没有时间和心情学习生命的真理。这样很危险,所以证入涅槃非常重要。
คุณค่าของการเป็นพระภิกษุ
เราต้องปฏิบัติธรรมทุกวัน ให้ได้สุขจากสมาธิ ซึ่งเป็นสุขที่แตกต่างจากความสุขทางโลกที่เราเคยเจอ ต้องนั่งแล้วมีความสุข แม้เพียงเล็กน้อยก็จะทำให้เรามีกำลังใจอยากจะนั่งต่อไป และจะเริ่มเห็นคุณค่าของการเป็นนักบวชจากการที่ได้สุขจากสมาธิ
The value of being in the monkhood
One must practice meditation every day. Derive happiness from one’s meditation practice and one will realize how it is different from secular happiness. One must be able to derive happiness from one’s meditation practice. Even a small amount of it can motivate one to continue practicing meditation. And then one will begin to realize the value of being in the monkhood and the happiness which can be derived from meditation practice.
出家的意义
我们每天坚持打坐,就会收获有别于世俗方面的快乐,即是源自心静定的快乐。打坐时感到快乐很重要。即便只有一点点也好,会让我们想要持续打坐,并开始感受到打坐的价值。
ความสุขที่ประเสริฐสุด
สุขที่เกิดจากสมาธิ เป็นสุขที่ไม่ซ้ำกันเลย เป็นสุขที่ยิ่งใหญ่ เป็นอิสระกว้างขวางใหญ่โตขึ้นไปเรื่อย ๆ ที่ชาวโลกยากจะเข้าใจ แต่ถ้าหากใครยังเข้าไม่ถึงตรงนี้ก็ยากที่จะเข้าใจ สุขเหล่านี้มีอยู่แล้วในตัวของเราทุกระดับทั้ง
ปริมาณและคุณภาพของความสุข มีอยู่ในตัวเรานี่แหละ ไม่ได้อยู่นอกตัว ขึ้นอยู่กับว่าเราจะไปถึงตรงไหน ระดับไหน
The sublime happiness
The happiness derived from meditation practice is the kind of happiness that continues to evolve. It is sublime happiness. It makes one feel free and expansive. Such happiness is difficult for anyone who has not yet arrived at this point to understand. Such happiness already exists inside us at every level in terms of quantity and quality. It exists inside us and not outside of us. And it depends on where one has arrived and at what level.
殊胜的快乐
禅定之乐是一种独特的、不是简单重复的、宽广的、可以不断增长的、无限制的快乐。普通人没有体验到心的静定,就很难理解这种感受。这种快乐是我们与生俱来的,就在我们体内,而不是在体外。只是我们能达到哪个层次而已。
ความสุขที่มาพร้อมกับสมาธิ
สุขที่เกิดจากใจหยุดนิ่งในระดับหนึ่ง ก็ลิ้มรสความสุขความเอร็ดอร่อยระดับนั้น ยิ่งหยุดในหยุดหนักเข้าไปอีก สุขในระดับที่ลึกละเอียดและกว้างขวางกว่าที่ไม่ซ้ำกัน รสชาติก็เอร็ดอร่อยเพิ่มขึ้น มันมีวิตามินเพิ่มขึ้นไปเรื่อย ๆ มีโอชารสในการนั่ง อร่อยจริง ๆ ยิ่งนั่งแล้วมันสว่างไสว หลับตาแล้วไม่มืด
Happiness comes with meditation practice
The happiness which is gained when one’s mind can be kept still and quiet at a certain level comes with a certain level of deliciousness. When one’s mind becomes more and more still, the happiness gained will be more and more profound and refined. And the feeling of expansiveness will increase further and further and so will its deliciousness. One will be able to taste the deliciousness of happiness which comes with meditation practice. It is truly delicious. If one can see brightness instead of darkness when one closes one’s eyes.
来自禅定的快乐
心静定到一定程度,就能感受到相应的快乐。随着心越来越静定,快乐就越细腻、深邃、豁达,不是简单的重叠,而是感觉越来越美妙。快乐的打坐,真的妙不可言!不断的积累静定,内在的光亮就会生起,闭上眼睛也不会感觉黑暗。
เพียงแค่ดูเฉย ๆ
ง่วงก็ปล่อยให้หลับเมื่อยก็ขยับ ฟุ้งก็ลืมตา แล้วก็ว่ากันใหม่ ทำอย่างนี้ไปเรื่อย ๆ ไม่ช้าใจก็จะค่อย ๆ ถูกปรับให้เข้าไปอยู่ภายใน จะค่อย ๆ คุ้นกับศูนย์กลางกายไปเรื่อยๆ บางช่วงอาจจะมีแสงสว่างหรือนิมิตเกิดขึ้น คือมีภาพเกิดขึ้นมา ทางซ้ายบ้าง ทางหน้า ทางหลัง ทางล่าง ทางบน จะมาทางไหนก็แล้วแต่
ถ้าไม่มาที่ศูนย์กลางกาย ไม่สน เรารักษาใจตรงกลาง พอนิ่งมาใหม่อีกแล้ว ซ้าย ขวา หน้า หลัง ล่าง บน เป็นดวงดาวเล็ก ๆ บ้าง เป็นภาพโน่นภาพนี่ ภาพอะไรก็แล้วแต่ อย่าไปชำเลืองดู แม้อยากจะดูใจแทบขาด ให้เฉย ๆ นิ่ง ๆ ไว้
ถ้าเราเหล่ตาเหลือบไปดู พอไปดูปั๊บ อ้าว หายอีกแล้ว เพราะฉะนั้นให้เล่นตัว ทำเฉย ๆ นิ่ง ๆ ตรงกลาง แม้ตรงกลางมืด ไม่มีอะไรให้ดูก็ตาม เราก็ดูความมืดเอาไว้ ดูเฉย ๆ
Just Keep On Looking
During meditation practice, if you feel sleepy, you should go ahead and sleep. If you feel achy, you should adjust your posture. If your mind is restless, you should open your eyes. And then begin again. You should do this over and over again and in time your mind will be able to remain inside your body and it will become more and more familiar with the center of your body.
At times, you may experience a light or an image. It may appear to your left, to your right, at the front, at the back, below or above you. Wherever it appears, pay no attention to it. If it does not appear in the center of your body, pay no attention to it. Keep your mind centered. When your mind becomes quiet, the light or image may reappear to your left, to your right, at the front, at the back, below or above you. It may be a small star or an image of this or that.
Pay no attention to it even if you want so badly to look at it. You should just continue to keep your mind calm and quiet.
If you try to look at it, it will disappear right away. Therefore, keep your mind calm and quiet in the center of your body. It may be dark there and there is nothing to look at, just look at the darkness. Look at it quietly.
静静地看
犯困就睡觉,酸痛就调整坐姿,杂念多就睁开眼睛重新开始。只要持之以恒地练习,心会慢慢自己调整并深入内在,然后逐步适应身体中央。有的阶段可能会出现光或禅相,即是有画面出现,无论是从左边、右边、前面、后面,还是从下面或上面出现都无所谓,若不是来自身体中央,就不用管它。我们只需继续保护心安住在身体中央,当心静定之后,可能相会再次从上下左右前后的方向出现,有时是小小的光球,有时是其他画面,无论是什么画面,尽管自己很想看,轻轻松松的忍耐一下,继续保持静静定定的感觉。
如果我们想要用眼睛去看,刚刚注视,它就消失了。因此,不屑于生起的画面,继续安住在身体中央,静静定定的。即便黑暗一片,什么都没有;那就看着黑暗就好,静静地看。
ให้ดูเฉย ๆ นิ่ง ๆ
บางทีภาพมันมากลางท้อง แต่ไม่ใช่ภาพที่เราต้องการ เพราะเราต้องการดวงใส ๆ องค์พระใส ๆ แต่ภาพที่เกิดขึ้นสมมติเป็นภาพต้นไม้ ภูเขาเลากา เป็นมด เป็นแมว หรือภาพอะไรเกิดขึ้นก็แล้วแต่ ให้ดูเฉย ๆ นิ่ง ๆ
ดูไปงั้น ๆ สักแต่ว่าดู ไม่ต้องไปเพ่ง ไปไล่
Simply look at it quietly and calmly
An image may appear in the center of your body, but it is not what you want to see because you want to see a crystal sphere or a crystal Buddha Image. Suppose the image is that of a tree, a mountain, an ant, a cat or whatever. You need to simply look at it quietly and calmly. There is no need to stare at it or chaste it away.
静静自然地看
有时画面来自肚子中央,但不是我们需要的画面,我们想要的是透明的光球或佛像。但如果生起的画面是树木、高山、蚂蚁、猫或其它东西,那么我们继续静静、自然、轻松地看,无需留意或排斥。
ดูเฉย ๆ ดูไปงั้น ๆ ไม่ต้องไปคิดอะไร
เดี๋ยวภาพนั้นก็เปลี่ยนไปเรื่อย ๆ แม้เปลี่ยนไปเป็นองค์พระ จะทำด้วยอิฐ ด้วยหิน ด้วยปูน ด้วยทราย ด้วยโลหะอย่างนั้นอย่างนี้ เดี๋ยวเล็ก เดี๋ยวใหญ่ เดี๋ยวหันหน้ามาทางเราบ้าง เอียงข้างบ้าง บางทีหกคะเมนตีลังกาบ้าง ก็ให้
ดูเฉย ๆ ดูไปงั้น ๆ ไม่ต้องไปคิดอะไร เหมือนนกบินมาในอากาศ เมฆลอยบนท้องฟ้า เราก็ดูไปเรื่อยๆ
Just look at it quietly without thinking anything at all.
Soon the image will change to something else or to a Buddha Image. The Image may be made of bricks or stone or cement or sand or metal. It may be small. It may be large. It may be facing you. It may tilt. It may turn upside down. However the Buddha Image appears to you, just look at it quietly without thinking anything at all. Look at it the way you look at a bird flying in the air or at the clouds in the sky. Just continue to look at the image.
静静地看,无需多想
这些画面会不断变化,如变成各种佛像,由石头、或水泥、或沙子、或金属、或其它材料做成的佛像;时而变大,时而变小;时而与我们面对面,时而倾斜。我们只需静静地、轻松地看,无需多想,就像小鸟在空中飞过,白云在天空飘过,我们只需静静地看就好了。
การแบ่งปันความสุขจะเกิดขึ้นเอง
ให้ดีใจไว้เถิดว่า การที่ภาพเกิดแสดงว่าสมาธิเราดีขึ้นไปในระดับหนึ่งแล้ว ใจเราละเอียดขึ้นแล้ว แต่ยังไม่สมบูรณ์ เพราะฉะนั้นจึงยังไม่ได้ภาพที่ต้องการ สิ่งที่จะต้องทำต่อไปคือ ดูไปเรื่อย ๆ อย่างสบาย ๆ โดยไม่ต้องคิดอะไรทั้งสิ้น
เดี๋ยวภาพนั้นก็จะเปลี่ยนไป จนกระทั่งใจเราหยุดนิ่งได้สมบูรณ์ เห็นดวง เห็นกาย เห็นองค์พระผุดขึ้นมาทีละองค์ ตอนนี้จะมีความสุขมากเลย แล้วความรู้สึกที่อยากจะแบ่งปันความสุขจะเกิดขึ้นเองเลย
Sharing happiness was spontaneous happening
Be glad that images appear to you because it means that your concentration has already improved to a certain extent. Your mind is becoming more refined but not to the fullest extent just yet. It is the reason that you cannot yet see the images you want. What you need to do is to continue looking at whatever image appears to you in a relaxed manner and without thinking anything.
In time, the image will change and when your mind has come to a complete standstill, you will see a crystal sphere. You will see the Dhammakaya arising from the center of your body one after another. Then you will be flooded with happiness and you will feel like sharing the happiness gained with others.
自然想分享快乐
我们应该感到高兴,因为有画面生起,表明我们已经入定到一定程度。我们的心变得细腻了,但还不够圆满,所以没见到完全正确的画面。接下来,继续舒舒服服地看,什么都不想。
那些画面还会不断变化,直至心圆满入定,看见光球或佛像,一尊接一尊地涌现上来。那时会无比快乐,自然的很想将这种快乐与人分享。
ที่พึ่งของเรา
ใครที่มาถึง ณ จุดตรงนี้ ที่องค์พระผุดขึ้นมาทีละองค์ หรือยังไม่ผุดขึ้นมาก็แล้วแต่ จงหวงแหนสิ่งที่มีคุณค่านี้ให้ยิ่งกว่าชีวิตของเรา เพราะสิ่งนี้จะเป็นที่พึ่งของเรา จะปิดประตูอบาย เปิดประตูสวรรค์ อบายไม่ต้องไปเลย มีแต่สุคติเป็นที่ไป และก็จะมีสุขในปัจจุบันที่ได้เข้าถึง
Our own refuge
If you arrive at the point where you see the Dhammakaya arising from the center of your body one after another or perhaps just one Dhammakaya, you must guard it more jealously than life itself. What you have attained will be your own refuge. It has the power to close the gate to the States of Unhappiness and open the gate to the Celestial Realm for you. It means that you will not have to be reborn in the States of Unhappiness. But you will be reborn in the Celestial Realm not to mention being flooded with true happiness here and now.
我们的依靠
谁达到佛像一尊接一尊涌现上来这个境界,或还未涌现上来也罢,都要珍惜这个比生命还宝贵的经验。因为它能关闭地狱之门,打开天界之门,是我们的依靠。这一世会无比快乐;往生后不趣向恶道,只趣向善道。
ความทุกข์ของผู้ชะล่าใจ
มีหลาย ๆ ท่าน บุญเก่านำมาให้ถึงจุดที่หยุดนิ่งในระดับที่ผุดขึ้นมาทีละองค์ ก็เลยนึกว่ามันง่าย เกิดความชะล่า
ใจว่าจะทำเมื่อไรก็ได้ ส่วนมากมักจะเกิดขึ้นกับผู้มาใหม่ ที่ยังไม่เคยปฏิบัติธรรมเลย ใจยังอินโนเซ้นท์อยู่ เรื่องไม่มากเหมือนผู้มาก่อนที่รู้มากก็เลยยากนาน
แต่ทีนี้ผู้มาใหม่พอได้ถึงตอนนี้ มักจะชะล่าใจว่าจะทำเมื่อไรก็ได้ แล้วก็ทอดธุระไม่ฝึกต่อ ไม่รักษา ไม่หวงแหนเอาไว้ ในที่สุดองค์พระที่เห็นก็เลือนหายไปจากใจ แต่จริงๆ ท่านไม่ได้หายไปไหน ยังอยู่ในกลางกายเหมือนเดิม
เป็นแต่เพียงใจของบุคคลนั้นถอยหยาบออกมา เพราะในชีวิตประจำวันมีเรื่อง
ที่ทำให้ใจหยาบอยู่ตลอด ๒๔ ชั่วโมง ทั้งตื่น ทั้งหลับ ทั้งฝัน มันก็พร้อมที่จะ
ดึงใจเราออกมาตลอดเวลา
Suffering Brought About by Recklessness
Some of you were able to arrive at the point in their meditation practice where they saw the arising of one Dhammakaya after another as a result of their accumulated merit. Unfortunately, they made the mistake of thinking that the whole process was easy and that they could practice meditation whenever they wanted. This often happens to new practitioners. They do not know anything yet and their minds are still more or less innocent. They do not fuss the way long-time practitioners seem to do. The result of too much fussing is very slow progress in their meditation practice.
When new practitioners are able to easily arrive at this point, they often become reckless thinking that they can practice meditation whenever they want. As a result, the image of the Dhammakaya simply fades away and disappears from their mind. Actually, the Dhammakaya is still there in the center of their body. But their mind has become less and less refined because there are so many things in life that cause one’s mind to be coarse whether one is awake, sleeping or dreaming. Things in life are always ready to pull one’s mind out of one’s center.
麻痹大意的痛苦
许多人前世的功德回报,很容易就看到佛像接连涌现出来。因此,他们觉得修行很容易,就掉以轻心的认为,什么时候打坐都可以。可是这种情况,大多数会发生在刚刚开始学习打坐的人身上, 他们的心比较简单纯真。而知道了很多理论的、有打坐经验的人,就会感觉难。
刚刚开始学习打坐的人取得好的修行经验后,会麻痹大意的认为,什么时候打坐都可以。于是,没有坚持修行,不珍惜,不维持。最终,曾经看见的佛像也消失了。事实上,佛像并没有消失,还是在体内。只是心变得粗糙,心退转了。因为,日常生活中,清醒的时候、睡着的时候、或做梦的时候,心总被各种琐事拉扯攀缘着,变得越来越粗糙。
รักษาใจที่ละเอียดไว้
พอดึงใจออกมาก็หลุดเลย เพราะมัวแต่ไปเพลินทำอย่างอื่น ซึ่งก็ไม่ได้มีความสุขหรอก แต่พอบุญเก่าสะกิดเตือนใจหรือเมื่อเจอกัลยาณมิตรพูดถึงเรื่องที่ตัวเคยได้ หรือไปสะกิดใจ เออ นี่เธอยังเห็นองค์พระอยู่ไหม ให้รักษาไว้นะ เอาล่ะสิ ตอนนี้พยายามจะมองให้เห็น มันก็ไม่เห็นแล้ว เพราะว่าใจไม่ละเอียดเหมือนเดิม มันปนความหยาบความตั้งใจไปโดยไม่รู้ตัว นี่คือความทุกข์สำหรับผู้ที่ชะล่าใจ แล้วก็จะพร่ำเพ้อรำพึงรำพันว่า
ตอนโน้นเคยได้อย่างนั้นอย่างนี้ เวลานั่งทุกทีก็อยากได้ถึงตรงนั้น อยากมาก ๆ เข้าก็เลยไม่สมอยาก ก็เข้าไม่ถึง
Take care of our refined mind
When one is busily doing everything which scarcely brings about happiness, one’s mind is pulled out of one’s center. But when one’s accumulated merit reminds one or one meets with a virtuous friend who asks if one is still seeing the Dhammakaya and how one must take great care to guard the image, one then tries to see the Dhammakaya. But one cannot see Him again because one’s mind is no longer as refined as it once was.
Such is the painful experience of a reckless practitioner. And all one can do is to keep talking about what one once was able to see. As a result, whenever one practices meditation, one ends up wanting so badly to arrive at the same point again. It is because one wants it so badly that one cannot arrive at the same point again.
保护细腻的心
当心系着外在的事物,便会从细腻的状态中脱离出来;因为沉迷于生活中各种享受,但这并不是真正的快乐。当过去的功德回报,或遇见善知识提及,回想起过去自己曾经看到佛像,并让自己好好维持。如今想努力找回来,却怎么也找不回来。因为心不再像之前那样细腻,在不知不觉中越来越粗糙,这就是掉以轻心的苦。他们还总抱怨说,曾经的禅修经验如何好。现在每次打坐还非常想达到之前的境界。即使有一些禅修经验,也不满足,就无法再达到之前的禅修经验。
สิ่งที่มีคุณค่ามากที่สุดในชีวิต
ใครได้เห็นองค์พระใส ๆ ขึ้นมาแล้ว จงรู้ไว้เถิดว่า เราเป็นผู้มีบุญ ได้เห็นสิ่งที่มีคุณค่ามากที่สุดในชีวิต ให้รักษาและหวงแหนเอาไว้ยิ่งกว่าชีวิต สิ่งนี้จะเป็นที่พึ่งที่ระลึกของเราอย่างแท้จริง นอกจากให้ความสุขและความบริสุทธิ์แล้ว ต่อไปเมื่อเราทำให้คล่อง ให้ชำนาญ ให้ผุดขึ้นมาทีละองค์ จนกระทั่งทำได้ตลอดเวลาเลย เราก็มีสิทธิ์ที่จะไปศึกษาวิชชาธรรมกายในขั้นละเอียด ตั้งแต่ขั้นประถม มัธยม อุดม เตรียมอุดม และอุดมศึกษาเรื่อยไปเลย ซึ่งจะทำให้เราได้เรียนรู้เรื่องราวความจริงของชีวิตที่ยังเป็นความลับสำหรับตัวเราจะถูกเปิดเผย
The most valuable thing in our life.
Anyone being able to reach the point where he can see the arising of the crystal clear Dhammakaya should know that one possesses enough accumulated merit to see the most valuable thing in his life. Take great care in keeping the image and guarding it more jealously than life itself. Such meditative attainments will become your true refuge. Besides giving you happiness and purity, once you become skilled at it, you will be able to see the arising of the Dhammakaya one after another all the time. And then you will be able to learn Vijja Dhammakaya at a more profound level starting from primary level to secondary, tertiary and quaternary levels. You will be able to learn the truth about life which remains concealed for others but will be revealed to you.
生命中的无价之宝
谁得见透明的佛像涌上来,实为具足福报者。因为看见了生命中的无价之宝,甚至比我们的生命还重要,要好好的珍惜和维持。他是我们真正的依靠,给我们带来快乐和清净。当我们因修习而更加精通,佛像一尊接一尊地涌现上来,直到随时都可以达到此境界,那么我们还有机会修习更为深奥的法身法门。犹如从小学升至初中、高中或大学,我们对生命的真谛有更深的认知,而生命的秘密将会被一层层揭开。
รักษาอารมณ์ดีอารมณ์สบายตลอดเวลา
สิ่งนี้มีอยู่แล้วในตัวของมนุษย์ทุกคน แต่มนุษย์ไม่ค่อยเฉลียวใจเลยว่า เรามีสิ่งที่ดี ๆ ที่น่าอัศจรรย์ใจอยู่ในตัวของเรา เพราะฉะนั้นถึงตรงนี้แล้ว ต้องหวงแหนรักษาไว้ให้ดี รักษาอารมณ์ดีอารมณ์เดียวอารมณ์สบายให้ได้เรื่อย ๆ หมั่นปฏิบัติบ่อย ๆ แล้วความชำนาญก็จะเกิดขึ้นเอง
Keep your good mood and even at all times
These phenomena exist inside every human being but most have scarce idea that they have these amazing things inside their mind. Therefore, having arrived at this point, you must endeavor to sustain your meditative attainments. Keep your mood good and even at all times and endeavor to practice meditation often so that you can continue to make progress.
时刻保持好心情
法身原本就在每个人的体内,只是我们不知道体内有如此神圣的法身。因此,当达到这个境界后,要好好维护,保持良好的情绪,继续精进修行,最终将越来越精通。
เราต้องตอกย้ำซ้ำเดิมเป้าหมายชีวิต
แต่ละวันที่ผ่านมานั้น เราได้ตั้งใจทำอย่างที่ตั้งใจไว้หรือเปล่า ทำจนถึงระดับที่เรามีความปลื้มปีติภาคภูมิใจแล้วหรือยัง แล้วก็ต้องตอกย้ำซ้ำเดิมเป้าหมายชีวิตว่า เราเกิดมาทำไม ก็ต้องฟังบ่อย ๆ ฝนยังตกบ่อย ๆ ชาวนา ก็ต้องปลูกข้าวบ่อย ๆ เราก็ยังต้องกินข้าวบ่อย ๆ หายใจบ่อย ๆ เพื่อจะได้ตอกย้ำซ้ำเดิมเป้าหมายชีวิตให้ตรึงแน่นอยู่ในใจเรา จนกระทั่งอะไร ๆ ก็มาสั่นคลอนเราไม่ได้ เหมือนตอกตะปูทีเดียวมันไม่ค่อยมิด ต้องตอกย้ำ ๆ หลาย ๆครั้งถึงจะแน่น
We needs to remind our life–goal
You know how many days have gone past and you must ask yourself whether or not you have endeavored to practice meditation to the point where you feel joyful and proud. You must remind yourself of why you are here. You need to be reminded often. Farmers need rain to fall frequently for their rice to grow. We eat frequently. We breathe frequently. Therefore, we must remind our self often the real reason for being here until it is firmly planted in our mind and nothing can ever come between us and . It is like hitting a nail. One needs to hit it over and over again until it disappears into the wood and hold it firmly in place.
我们要牢记生命目标
已经过去的日子里,我们是否努力的朝自己的目标奋斗?是否为自己付出感到自豪?我们要牢记生命目标,要经常问自己,生而为人的目标是什么。农民的职责是耕地,因此每天要下地干活;为了不饿肚子,我们必须每天吃饭;为了吸入氧气,我们需要时刻呼吸;为了将人生目标牢记在心,就要反复提醒自己,直至任何事情能不能动摇此目标。就像钉钉子,敲打一次钉不紧,反复敲打才钉得紧。
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว
เราเกิดมาทำพระนิพพานให้แจ้ง และมาสร้างบารมีเพื่อทำพระนิพพานให้แจ้ง เพราะว่าชีวิตในสังสารวัฏนั้นอันตราย ไม่ว่าจะเกิดเป็นอะไรก็แล้วแต่ เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ พระราชามหาราช พระราชาธรรมดา พระราชา ประเทศราช มหาเศรษฐีของโลก มหาเศรษฐีธรรมดา ชนชั้นกลาง ชั้นล่างทุกระดับเลยล้วนตกอยู่ภายใต้กฎแห่งกรรมทั้งสิ้น คือ ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว หว่านพืชเช่นไรได้ผลเช่นนั้น ปลูกถั่วก็เป็นถั่ว ปลูกงาเป็นงา ปลูกถั่วจะไป เป็นงาไม่ได้ ปลูกงาก็เป็นถั่วไม่ได้
Good deeds beget good consequences. Evil deeds beget evil consequences
We are here to make clear the Path and Fruit of Nibbana because life in the round of rebirth is very dangerous. Rebirth as a Universal Monarch, a great king, an ordinary king, a world-class millionaire, an ordinary millionaire, a middle class person, or a low class person does not keep one from the dictate of the Law of Kamma. Good deeds beget good consequences. Evil deeds beget evil consequences. One reaps whatever one sows.
善有善报,恶有恶报
我们生来是为了修波罗蜜并证得涅槃。轮回的生命非常危险,无论转世为转轮圣王、王侯将相、富翁,还是中产阶级或底层民众,全部受制于业果法则。善有善报,恶有恶报;种什么因得什么果,种瓜得瓜,种豆得豆;不可能种瓜得豆,或种豆得瓜。
เครื่องมือของพระกับมาร
เมื่อเราตกอยู่ภายใต้กฎแห่งกรรม อะไรนิดอะไรหน่อยก็มีผลทั้งสิ้น ซึ่งมันอันตรายมาก กิเลสบังคับให้เราสร้างกรรม กิเลสเป็นกระแสชนิดหนึ่ง เป็นเครื่องมือของพญามารบังคับให้เราสร้างกรรมด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจน้อยบ้าง ปานกลางบ้าง มากบ้าง เมื่อสร้างกรรมแล้วก็มีวิบาก มีผลของการกระทำบาป ซึ่งมีแต่ความทุกข์ทรมานในสังสารวัฏ ทำทีเดียวต้องใช้กันหลายที ใช้ในมนุษยโลก ใช้ในอบายภูมิ ไปเกิดในมหานรกขุมใหญ่ ขุมบริวาร ยมโลก เป็นเปรต อสุรกาย เป็นสัตว์เดรัจฉานแล้วก็วนไปเป็นมนุษย์ ที่มีแต่ความทุกข์ทรมานมาก ของเก่ายังใช้ไม่ทันหมด บังคับให้ทำของใหม่อีกแล้ว และเวลามาเกิด ก็ทำให้ลืมว่า เคยทุกข์ยากลำบากเพราะได้กระทำกรรมอย่างนั้นอย่างนี้เอาไว้ แล้วมาเจอของใหม่เข้าไปอีก แถมบดบังไม่ให้เราไปรู้ไปเห็น ให้ลืมของเก่า ไม่ให้รู้เรื่องราวของชีวิต เป้าหมายของชีวิตก็ไม่ให้รู้ กลัวจะรู้ ก็เลยทำให้ไม่รู้
The Buddha–Weapon and the Mara–Weapon
It is because all of us are under the Law of Kamma that every single deed has its consequences. This is a highly dangerous situation. The Kilesa or defilements in one’s mind drive one to commit misdeeds. Kilesa is a form of current. It is the weapon that Phya Mara use to drive humans to commit misdeeds physically, verbally, and mentally. Once a misdeed has been committed, it incurs ill consequences which will continue to plague one over and over again in the Human Realm and in the States of Unhappiness. It causes one to be reborn in the Hell Realm of Mahanaraka followed by rebirth in its satellite sites and then rebirth in the Peta Realm, the Asurakaya Realm, the Animal Realm and then back to the Human Realm. Pain and suffering follow one wherever one is reborn.
When the ill consequences of one’s misdeed have not yet run their courses, one is driven to commit new misdeeds. Rebirth in the Human Realm causes amnesia in that one forgets how one had suffered in one’s previous rebirths and why. One is prevented from knowing the Truth and remembering the past. One is prevented from knowing the reality of life and the purpose of life. One is kept in ignorance of the Truth.
魔王的工具
当我们受制于业果法则,无论造作什么业都有果报。这是非常可怕的。烦恼是魔王的工具,如同激流一样,逼迫我们通过身、口、意,造作或轻、或重的业;造作了恶业,就必须承受相应的恶报。造作一次恶业,却要在恶道或人间长久的承受恶报。有的转世到大地狱或阴间,成为地狱众生;恶业减轻了一些,再转世为饿鬼、阿修罗或畜生;然后再投生为人,在轮回中受尽各种各样的苦难。
旧业还没有消完,又被逼迫造作了新业。投胎为人后,便又忘记了,曾经遭受的苦难,以及遭受苦难的原因——自己造作的业。魔王害怕我们知道,便如此遮掩真相,让我们忘记过去世的种种,不让我们如实明了生命的真相和目标。
ทำใจให้หยุดนิ่งอยู่ในศูนย์กลางกาย
วิธีที่จะทำให้เรารู้ความจริงของชีวิต มีประการเดียว คือ ทำใจให้หยุดนิ่ง ให้ใจอยู่กับเนื้อกับตัวพญามารกลัวมนุษย์ใจอยู่กับเนื้อกับตัว กลัวใจหยุดใจนิ่ง เพราะหยุดนิ่งแล้วมันสว่างไสว แล้วจะเห็นด้วยธรรมจักษุและญาณทัสนะเกิดขึ้น จึงตรึงมนุษย์ให้ไปติดความอยาก อยากได้ อยากมี อยากเป็น ให้ติดในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมณ์ ที่เรียกว่า ธรรมที่ทำให้เนิ่นช้า ช้า คือจะไปพระนิพพานช้าเพราะใจไปติดอยู่ตรงนั้น
Keep one’s mind still and quiet in the center of one’s body.
There is only one way to discover the Truth and that is to keep one’s mind still and quiet in the center of one’s body. Phya Mara fear humans that can keep their mind still and quiet in the center of their body. They fear it because the still and quiet mind can lead to brightness and the attainment of the Dhammakaya. The attainment of the Dhammakaya, in turn, brings about the Dhammakaya-Eye and Supernormal Insight. And so Phya Mara make sure that human beings stay immersed in desire, desiring to be this or that, desiring to have this or that, desiring physical forms, sounds, smells, tastes, contacts and mind-objects. Desire keeps one trapped inside the round of rebirth and thwarts one’s attainment of Nibbana.
让心静止于身体中心
让我们如实明了生命真相的唯一方法是:让心回归体内,修行静心。魔王害怕我们让心回归体内,并静定下来;因为心静定后,法眼和知见也随之生起,就会如实明了生命的真相。所以,魔王才引诱我们沉迷于各种欲望,执着于色、声、香、味、触、法。因为心总是攀缘外物,导致我们很难证入涅槃。
วิธีการรอดพ้นจากกฎแห่งกรรม
เพราะเหตุนี้เราจึงจำเป็นต้องทำพระนิพพานให้แจ้ง หรือพูดง่าย ๆ ว่าต้องไปพระนิพพาน ไปพระนิพพานอย่างเดียวจึงจะพ้นจากกฎแห่งกรรม พ้นจากกฎของไตรลักษณ์ได้ ถ้าไม่ไปพระนิพพานยังอยู่ในวัฏสงสาร ล้วนแต่ตกอยู่ภายใต้กฎแห่งกรรม นี่คือสิ่งที่เราจะต้องตอกย้ำซ้ำเดิมกันบ่อยๆ
How to escape from the Law of Kamma
Therefore, it is necessary that one makes clear the Path and Fruit of Nibbana. In other words, one must endeavor to attain Nibbana so that one can escape from the Law of Kamma, the Three Characteristics, and other laws. As long as one is still trapped inside the round of rebirth, one is still under the dictate of the Law of Kamma. This fact is something that must be reiterated often.
如何摆脱业果法则
因此,我们必须要证得涅槃,简单的说就是入涅槃,只有这样才能摆脱业果法则和三相(无常、苦、无我)。若还未证入涅槃,仍然在轮回中流转,必然受制于业果法则,这是需要反复强调的事情。
เป้าหมายรองลงมาก็คือเกิดมาสร้างบารมี
เป้าหมายรองลงมาก็คือเกิดมาสร้างบารมี เพราะจะทำพระนิพพานให้แจ้งได้ ต้องมีบุญมีบารมีที่จะกลั่นธาตุธรรมเห็นจำคิดรู้ของเราให้สะอาดบริสุทธิ์ ต้องมีความบริสุทธิ์ถึงจะหลุดพ้นจากกิเลสอาสวะได้
The secondary goal of being here on earth is to pursue Perfections.
The secondary goal of being here on earth is to pursue Perfections. In order to make clear the Path and Fruit of Nibbana, one must possess merit and Perfections. Merit and Perfections have the power to refine one’s Dhamma elements such that one’s sight, memory, thought and cognizance can be made clean and pure. Purity enables one to extinguish one’s defilements.
人生的次要目标是修波罗蜜
因此,我们必须要证得涅槃,简单的说就是入涅槃,只有这样才能摆脱业果法则和三相(无常、苦、无我)。若还未证入涅槃,仍然在轮回中流转,必然受制于业果法则,这是需要反复强调的事情。
บุญกับบาป สุคติกับทุคติ
กระแสแห่งบุญเป็นเครื่องมือของพระที่จะเอาชนะพญามาร ชนะบาปได้บาปเป็นเครื่องมือของมาร ดังนั้นก็มีแต่พระกับมาร บุญกับบาป สุคติกับทุคติฝ่ายบาปขยายมาเป็นความโลภ ความโกรธ ความหลง แตกดอกออกลูกออกผลไป ฝ่ายบุญก็เป็นทาน ศีล ภาวนาเป็นคู่ต่อสู้กัน บาปมีสาม บุญก็มีสาม บาปมีละเอียด บุญก็มีละเอียด สู้เป็นชั้น ๆ กันไป ตอนนี้เราปล่อยปละละเลยกัน มัวสนใจแต่เรื่องทำมาหากิน เรื่องสนุกสนานเพลิดเพลิน หลงใหลได้ปลื้มกันไปกับเทคโนโลยีใหม่ๆ กับอบายมุข ไปสนใจในเรื่องราวต่าง ๆ เหล่านี้ เลยไม่ให้โอกาสตัวเองได้ไปศึกษาความรู้ที่แท้จริง
Merit and demerit,the States of Happiness and the States of Unhappiness
The Merit Current is the weapon used by the Dhammakaya to quell Phya Mara and demerit. Demerit is the weapon used by Phya Mara. Therefore, there are only Dhammakaya and Phya Mara, merit and demerit, the States of Happiness and the States of Unhappiness. This is what the round of rebirth is all about.
Demerit branches out as greed, anger, and delusion together with their flowers and fruits. Merit has to do with alms-giving, Precepts observation and meditation practice. Phya Mara have three weapons and so do the Dhammakaya. They have their refined realms of existence and so do we. Battles between the Dhammakaya and Phya Mara are waged in different realms having different levels of refinement. It appears to be overlooked because people are too busily earning a living, enjoying themselves, being lured by new technologies and the Causes of Ruin. These things distract them and prevent them from learning about the real Truth.
善与恶,苦与乐
其次,我们生来是为了修波罗蜜,这样才有缘证得涅槃。必须具足圆满的功德波罗蜜,净化自身的受想行识等法元素,使之纯净无染,也只有这样才能脱离轮回。
功德流是降魔的工具,恶业则是魔王的工具,所以佛与魔,功德与恶业,善道与恶道,是对立的。
恶为贪、嗔、痴,迫使人造作诸多恶业;善为布施、持戒和打坐,它们相互对立,善恶各有三项,也都有细腻的层面,在各个层面不断斗争。现在我们忽视了这些,只想着谋生和玩乐、享受,沉迷于各种新技术和邪门歪道,心执着于这些事情,也就没有机会去学习生命的真相。
วัดกันที่หมองกับใส
บทสรุปของชีวิตไปวัดกันตอนใกล้จะละโลก วัดกันที่ความหมองกับความใส นี่เป็นคำเก่า ๆ แต่ต้องจำ ไม่จำไม่ได้
จิตฺเต สงฺกิลิฏฺเฐ ทุคฺคติ ปาฏิกงฺขา
จิตเศร้าหมองไม่ผ่องใส ทุคติเป็นที่ไป
จิตฺเต อสงฺกิลิฏฺเฐ สุคติ ปาฏิกงฺขา
จิตผ่องใสไม่เศร้าหมอง สุคติเป็นที่ไป
จำง่าย ๆ คือ วัดกันที่หมองกับใส ไม่ได้วัดกันที่ฐานะ ไม่ได้วัดว่าใครรวย ใครจน ฉันรวยนะมีเงินเป็นแสนล้านเป็นมหาเศรษฐีของโลก เพราะฉะนั้นฉันต้องไปสุคติโลกสวรรค์ เธอจนเธอต้องไปอบายก็ไม่ใช่ หรือวัดว่าใครสวย ใครหล่อใครขี้เหร่ก็ไม่ใช่ แต่วัดกันที่บุญกับบาป ความดีกับความชั่วเท่านั้น
Gloominess or Clarity
The outcome of each human life is measured near the time of death. It is measured by gloominess vs. clarity. This is a very important fact and it must be borne in mind.
Citte sankilitthe dugati patikankha When one’s mind is gloomy, not bright and clear, rebirth will take place in the States of Unhappiness.
Citte Asankilitthe sugati patikankha When one’s mind is bright and clear, not gloomy, rebirth will take place in the States of Happiness.
Simply put, one’s life is measured by gloominess and clarity. It is not measured by one’s economic status, one’s poverty or one’s wealth. One cannot say that one is a world-class billionaire; therefore, one must be reborn in the States of Happiness. Or one is poor; therefore, one must be reborn in the States of Unhappiness. One is not measured by one’s beauty or ugliness. But one is measured by one’s merit and demerit, by one’s wholesome and unwholesome deeds.
清净或浑浊
往生后生命的去向,主要由临终时心的清净或浑浊决定的,这是一句老话,但还是要记住。因为若心浑浊不清净,将趣向恶道;若心清净,将趣向善道。
简单的说,通过心的清净或浑浊来衡量,而不是通过地位或贫、富来衡量。不是说我家财万贯就必定往生善道,你家徒四壁就往生恶道;也不是取决于容貌是否俊美,而只是取决于功德与恶业。
奇怪的是,自从佛入灭后,此真理就消失了一段时间,人们也渐渐遗忘了。同时,随着新科技的兴起,人们沉迷其中无法自拔,直至命终往生。临终前,心清净或浑浊将直接决定转世善道或恶道。来世的生命将无比漫长,而一旦堕落恶道,身处恶道的时间会比转世善道的时间长很多,这是不公平的。
เกิดใหม่ในอบายภูมิหรือสุคติภูมิ
เป็นเรื่องแปลกที่ความรู้ตรงนี้ขาดหายไปช่วงหนึ่ง หลังจากพุทธปรินิพพานไปแล้ว ในระยะหลัง ๆ ชักลืมเลือน มีอะไรใหม่ ๆ มาที่เป็นไฮเทคแล้วก็หวือหวาตามกันไป จนกระทั่งหมดเวลาของชีวิต แล้วก็ไปเจอหมองกับใส แล้วก็มีอบายภูมิกับสุคติภูมิเป็นที่รองรับ ซึ่งชีวิตตรงนั้นยาวนานมาก แต่อบายภูมิยาวนานกว่าสุคติภูมิมาก ซึ่งมันไม่ยุติธรรมเลย
Rebirth in the States of Unhappiness or Happiness.
Such knowledge had disappeared from the surface of the earth for a time after the Lord Buddha’s attainment of Complete Nibbana. In recent times, it has been largely forgotten. Now, there is hi-tech this and hi-tech that until one’s time on earth has been frittered away. Then one has to face either gloominess or clarity, rebirth in the States of Unhappiness or in the States of Happiness. Life in the hereafter lasts a very long time. But life in the States of Unhappiness lasts a great deal longer than life in the States of Unhappiness. Yes, it is unfair.
转世恶道或善道
奇怪的是,自从佛入灭后,此真理就消失了一段时间,人们也渐渐遗忘了。同时,随着新科技的兴起,人们沉迷其中无法自拔,直至命终往生。临终前,心清净或浑浊将直接决定转世善道或恶道。来世的生命将无比漫长,而一旦堕落恶道,身处恶道的时间会比转世善道的时间长很多,这是不公平的。
บุญบาปปรุงแต่ง
ทำบุญครั้งหนึ่งก็ใช้ได้หลายครั้ง ทำบาปครั้งหนึ่งก็เจอกันหลายครั้งเหมือนกัน จะมีอบายภูมิรองรับ มียูนิฟอร์ม มีรูปร่างรองรับ
ภพอบาย รูปร่างที่รองรับก็ตั้งแต่สัตว์เดรัจฉาน เปรต อสุรกาย แล้วก็สัตว์นรก จะมีรูปร่างต่าง ๆ พิลึกกึกกือทีเดียว เยอะแยะไปหมด แล้วแต่บาปที่ปรุงแต่งผสมผสานระหว่างความโลภ ความโกรธ ความหลง เหมือนแม่สีสามสี มาผสมกันอย่างละนิดละหน่อยก็ออกมาเป็นสีต่าง ๆ เยอะแยะ บาปอกุศลที่มาผสมผสานกันระหว่าง โลภะ โทสะ โมหะ อย่างละนิดละหน่อยก็
ออกมาเป็นรูปร่างของสัตว์นรก รูปร่างของเปรต อสุรกาย และสัตว์เดรัจฉานสัตว์เดรัจฉานก็มีมากมาย ตั้งแต่สัตว์ใหญ่ สัตว์ปานกลาง กระทั่งสัตว์เล็ก ๆน้อย ๆ มีรูปร่างมารองรับสุคติภพ ก็มีกายทิพย์มารองรับ กายทิพย์ก็ยังแบ่งออกไปตั้งเยอะแยะ
นาค ยักษ์ คนธรรพ์ ภุมเทวา รุกขเทวา อากาศเทวา ชาวสวรรค์ พรหม รูปพรหมรองรับ
Merit and Demerit
Merit is earned each time a wholesome deed is performed. Merit can send its blessings over and over again. Demerit is earned each time an unwholesome deed is performed. Demerit can send its ill consequences over and over again as well.
The States of Unhappiness: These include the Animal Realm, the Peta Realm, the Asurakaya Realm and the Hell Realm. Rebirth in these realms can assume a myriad of physical forms. Some are downright bizarre. It all depends on each entity’s demerit which is made up of a mixture of greed, anger, and delusion. They work like three primary colors but mixed together in different proportions to produce a profusion of different colors. The mixing of greed, anger, and delusion in different proportions produce a myriad of beings differing in forms and sizes. In the Animal Realm alone, there are so many different kinds, shapes and sizes that it boggles the mind. This is the same with beings in the Peta Realm and the Asurakaya Realm.
The States of Happiness: In the Celestial Realm, beings assume a myriad of physical forms as Phya Nagas, Gandhabas, Earth Sprites, Air Sylphs, Celestial Beings, Form Brahma Beings, and Non-Form Brahma Beings.
善报与恶报
行善一次,功德将回报很久;造恶一次,也将长久受苦。趣向不同境界,会投生为不同的身形。趣向恶道者可能投生为畜生、饿鬼、阿修罗,也可能投生为地狱众生。他们的身形各式各样、奇形怪状,主要取决于生前因贪嗔痴而造作种种恶业的果报,就像三原色可以混合出许多不同的颜色。
生前因贪嗔痴而造作种种恶业的果报,令往生者转世为地狱众生、饿鬼、阿修罗或畜生;他们有各式各样千奇百怪的身形特征,单是畜生就可分为大体型动物、中等体型动物、和微小型昆虫。转世善道者则为天人身,身形特征也是各式各样,有海龙、夜叉、乾闼婆、地居天人、树居天人、空居天人、天界天人、色界梵天人。
พระกับมารเป็นผู้กำหนดอยู่ฉากหลัง
ใครเป็นผู้กำหนดยูนิฟอร์มของกายสรรพสัตว์ต่างๆและขั้นตอนนี้ ก็บุญกับบาปนั่นแหละ พระกับมารเป็นผู้กำหนดอยู่ฉากหลัง พระก็อยู่เบื้องหลังบุญ มารก็อยู่เบื้องหลังบาปแล้วเวลาที่เขาประกอบรูปร่างขึ้นมาก็เอาบุญกับบาปประกอบนั่นแหละ บุญก็ปรุงในฝ่ายสุคติ บาปก็ปรุงในฝ่ายทุคติ พอมีรูปร่างเขาก็เอาภพมารองรับ เหมือนเอาโลกมารองรับมนุษย์อย่างนี้แหละ
โลกของเทวดาที่เราเรียกว่า สวรรค์ โลกของผู้ที่ทำบาปเขาเรียกว่า นรก
Behind the scene of The Dhammakaya and Phya Mara
What determines an entity being reborn with a particular physical form in a particular realm is nothing but merit and demerit. The Dhammakaya and Phya Mara are both working behind the scene in that the Dhammakaya are behind the scene where merit is concerned; and Phya Mara are behind the scene where demerit is concerned. An entity’s physical form is determined by its overall merit and demerit. Merit is responsible for creating the myriad physical forms of beings in the States of Happiness whereas demerit is responsible for creating the myriad physical forms of beings in the States of Unhappiness.
The different Realms of Existence come into being in order to accommodate the myriad beings just as our earth came into being in order to accommodate human beings. The Hell Realm came into being in order to accommodate hell beings, etc. Celestial Beings live in the Celestial Realm and hell beings live in the Hell Realm.
善业与恶业是幕后的主使
谁主宰了众生的命运,其实就是功德与恶业。佛代表着善业,魔则是恶业的幕后主使;因果业报就用功德和恶业塑造了众生的命运。
功德是趣向善道的助缘,恶业是趣向恶道的原因;按照各自的业力,趣向不同的境界。天人转世的境界称为天界,造恶者转世的境界称为地狱。
บุญบาปปรุงแต่ง
สวรรค์เขาก็มีกิจกรรมของสวรรค์ อบายก็มีกิจกรรมของอบาย แต่พอมาเมืองมนุษย์ซึ่งเป็นชุมทางของสุคติและทุคติมารวมตรงนี้ บุญบาปมันผสมกันปรุงกันในเมืองมนุษย์ ถ้าสุคติภพนั่นคือบุญปรุง ถ้าอบายภูมินั่นคือบาปปรุง ถ้าเป็นมนุษย์ คือบุญกับบาปผสมกันปรุง เพราะฉะนั้นมนุษย์จึงแตกต่างหลากหลายไปตามกำลังบุญบาปเยอะแยะไปหมดเลย ทำให้คนเราแตกต่างกันทั้งเชื้อชาติ ศาสนา เผ่าพันธุ์ ขนบธรรมเนียม วัฒนธรรม ประเพณี ความเชื่อ ภาษาต่าง ๆ หลากหลายกันไปหมดเลย เพื่อจะให้มนุษย์สื่อสารกันไม่ได้
The mixture of merit and demerit
The Celestial Realm has its own activities. The Hell Realm also has its own activities. The Human Realm is the junction where the States of Happiness and the States of Unhappiness meet. The Human Realm is formed by a mixture of merit and demerit. The States of Happiness are formed by merit whereas the States of Unhappiness are formed by demerit. Human beings are formed by a mixture of merit and demerit. And the vast physical and mental differences found in human beings are the result of each human’s particular mixture of merit and demerit. Diversity shows up as differences in race, creed, customs, traditions, language, etc. Differences in language hinder the communication among human beings.
善与恶的交汇
善道有善道的活法,恶道有恶道的活法,人间是善道和恶道的交汇处,善与恶在人间显现和交错。若善道只享受功德,恶道则只消除恶业,那么人间则掺杂着善与恶。所以,人类依照自身的善恶果报在各个方面参差不齐,有不同的国籍、宗教、血统、风俗、文化、传统、信仰和语言等等,导致人类彼此很难沟通。
ในตัวมนุษย์มีทั้งบุญทั้งบาป
ในตัวมนุษย์มีทั้งบุญทั้งบาป ดูตัวเราเป็นเกณฑ์ มีทั้งบุญทั้งบาปอยู่ในตัว ตาสวย แต่จมูกขี้เหร่ ปากสวยแต่ฟันคุด ฟันเกเหห่าง นี่แหละความหลากหลายเกิด พอความหลากหลายเกิดขึ้น ความเห็นมนุษย์ก็แตกต่างกันไป และเพราะความแตกต่างจึงทำให้แตกแยก พอแตกแยกทำให้รวมกันไม่ติด อย่างนี้ก็ง่ายสิ แบ่งแยกและปกครอง มารก็จะได้ปกครองง่าย คือ แบ่งแยกมนุษย์ไม่ให้รู้ว่าเป็นพี่น้องท้องเดียวกัน ให้มีความเชื่อที่แตกต่างกัน แม้แต่สามีภรรยาที่รักกันอยู่ บางทีทำให้ความคิดแตกต่าง แม้แต่ตัวเราเองยังแตกต่าง เช้าคิดอย่าง สายอย่าง เที่ยงอย่าง บ่ายอีกอย่าง กลางคืนอีกอย่าง ก่อนนอนไม่รู้จะเอาอะไร ที่จริงเป็นคนคิดน้อยไม่ได้คิดมากเลย ทั้งคืนนอนไม่หลับเพราะคิดน้อย คิดอยู่เรื่องเดียววน ๆ อยู่ว่า จะเอาอย่างไร เอากับใคร เอาที่ไหน คิดวน ๆอยู่แค่นี้จนสว่างคาตา นี่ชีวิตมนุษย์เป็นอย่างนี้ เพราะฉะนั้น จึงต้องทำพระนิพพานให้แจ้ง ไม่แจ้งไม่ได้ และมรรคผล
นิพพานอยู่ในตัว เราก็ต้องให้โอกาสตัวของเราแสวงหามรรคผลนิพพานโดยวิธีหยุดนิ่งเฉย
Human being exists both merit and demerit
In each human being, there exist both merit and demerit. Just look at yourself, for example. You may have lovely eyes but an ugly nose or you may have a lovely mouth but your teeth are crooked. The merit and demerit residing in each human being give rise to diversity in human beings. Diversity, in turn, causes division. Division drives human beings apart. Divide and rule. Division makes it easy for Phya Mara to control us and to make us ignorant of the fact that we belong together. Siblings have different beliefs. Husband and wife differ in the way they think. Even the same person can be different at different times. He thinks one thing in the morning. Late morning he thinks another thing. Noon and nighttime, he has yet a different thought. Before bedtime, he feels confused about all his different thoughts. He thinks the same thoughts over and over again until he finds it hard to fall asleep. He thinks about what to do, who to get it from, where to get it, in a cycle over and over again until morning comes. This is what humans do.
Therefore, it is imperative that one makes clear the Path and Fruit of Nibbana. This is not an option. The Path and Fruit of Nibbana can be found inside one’s self. All one has to do is to make the time and effort to learn to keep one’s mind still and quiet.
人既有善也有恶
我们每个人身上既有善业,也有恶业,善业与恶业掺杂在一起。譬如一个人眼睛很美,但鼻子却很丑,嘴巴非常漂亮,牙齿却凹凸不平。当人和人之间外貌、行为不一样时,人类就会有美丑、对错等不同的见解,并因不同的见解而分裂为不同的族群,进而难以和谐共处,就需要按照各自的族群来管理。这样魔王就更容易操作了,把人类分裂为不同的族群,不认为彼此是手足相连的同胞,有着不同的信仰。就算是相濡以沫的夫妻,也会有不同的想法。我们自己也是如此,有时早上这样想,中午那样想,晚上又是另一个想法,临睡前还不知道该如何解决。一整夜思来想去无法入眠,一直围绕着同一件事情在想,该如何做,找谁做,在哪里做,一转眼天就亮了,这就是真实的人生。
因此,要精进证得涅槃,而趣向涅槃之道就在体内,我们要重视这件事情,通过静心的方式寻找涅槃之道。
ไม่ต้องคิดไม่ต้องคาดหวัง
บางคนปฏิบัติธรรมได้ง่าย พอหลับตาไม่ได้คิดอะไรเลย ใจมันนิ่ง ๆ เฉย ๆ บุญเก่าได้ช่องสอดละเอียดก็เข้าถึงสิ่งที่มีอยู่แล้วในตัว ดวงใส องค์พระผุดขึ้นมา ชักสงสัย เพราะเคยได้ยินได้ฟังว่าธรรมะเป็นของลึกซึ้งยากต่อการ
เข้าถึง เข้าถึงได้เฉพาะพระธุดงค์ที่ท่านแบกกลดเข้าป่า ต้องผ่านปากเสือปากเหว ต้องเจอความทุกข์ยากลำบากจึงจะเห็น เราเป็นมนุษย์ธรรมดายังต้องทำมาหากิน มีกิเลสหนา ปัญญาหยาบ เราก็แค่นั่งเฉย ๆ นิ่ง ๆ ไม่ได้
ทำอะไรเลย เราคิดไปเองหรือเปล่านะ แต่เขาลืมนึกไปว่า แต่ก่อนนี้เขาก็ไม่ได้คิด หรือเขาคิดเขาก็คิดไม่ออก แต่ตอนที่เขาเห็น เขาเฉย ๆ เขาไม่ได้คิดว่าตัวไม่ได้คิด จึงเห็น
Only think nothing and expect nothing
Some persons have an easier time practicing meditation. They close their eyes and their mind comes to a standstill. This allows their accumulated merit to send its blessings and enable them to see what is already there inside them. They see the crystals spheres and the Dhammakaya arising from the center of their body one after another. And then they begin to have doubt about their inner experiences. After all, they have always heard that the Dhamma is too profound to be attained easily. After all, many Buddhist monks have had to undertake Dhutanga by trekking in the forest. They had had to encounter very difficult and very dangerous situations before they could attain or see the Dhamma. But here they are an ordinary human being still laden with defilements and ignorance, how can it be that they can see things inside their center just by being still and quiet? They do not have to encounter anything difficult or dangerous. Perhaps they are just imagining things. They simply forget the fact that it is because they think nothing and expect nothing that they can see what they see.
既不想也不期待
有人觉得修行很容易,是因为他闭上眼睛后,心无杂念,静定无他;当心越来越细腻,再加上之前修的功德送力量,就看见原本就在体内的透明光球,或佛像一尊接一尊地涌现上来。因为曾经听别人说佛法深奥无比,无法证悟。只有在深山丛林中苦行的头陀僧,要逃避野兽侵袭,历尽千辛万苦,才有机会了悟。我们只是普通人,要谋求生计,烦恼重,心粗糙,只是静静地打坐,什么也没有做。是我们自己幻想出来的吗?其实他忘了,打坐之前他是没有想什么,或者想了,也想不出所以然。当他看到水晶球或者佛像的时候,他也静静的;因为他也不知道自己会不去想,看到的是什么,所以才能看到。
อย่าประมาท ชะล่าใจ
ถ้าใครได้ตรงนี้แล้วอย่าประมาทชะล่าใจ ต้องรักษาเอาไว้ หวงแหนเอาไว้ให้ยิ่งกว่าชีวิต สิ่งนี้จะช่วยให้ชีวิตเราสมบูรณ์ มีความสุขในปัจจุบันทันทีที่เข้าถึง สุขไปถึงปรโลก แล้วจะจากโลกนี้ไปอย่างผู้มีชัยชนะ รอยยิ้มของเราจะเป็นยิ้มที่สดใส เมื่อเปลือกตาเราปิดสนิท หมดเรี่ยวหมดแรงแล้ว นอนทอดร่างเหมือนไม้ที่เขาทิ้งไว้ในป่าแล้ว แต่ว่ารอยยิ้มของเราจะสดใส จากโลกนี้ไปอย่างผู้มีชัยชนะ เพราะฉะนั้นต้องหวงแหนและรักษาเอาไว้ให้ดี
Recklessness
If you are one of these people, you must never take any inner experiences gained for granted. But you must endeavor to keep these inner experiences. Guard them more than life itself. These inner experiences will help you to make your life complete. You will experience happiness as soon as you arrive at this point and the happiness will continue into the hereafter. You will be able to depart from this world a victor. Your last smiles will be bright and cheerful as you close your eyes and lie still like a dead tree on the forest floor. But your smiles will be bright and cheerful as you depart from this world a victor. Therefore, take great care to keep your inner experiences intact.
不要疏忽放逸
如果有谁看见透明光球或佛像后,千万不要疏忽放逸,要保护好,珍惜它胜过我们的生命。它能够让我们的人生圆满,今生和来世皆幸福快乐。当我们往生时,双眼紧闭,身体犹如丛林中废弃的木材,但胜利的微笑依然挂在脸上,宁静而安详的离开人间。在临终前,就算有万贯家财也毫无意义。因此,更要懂得保护和珍惜它。
ปลื้มใจแบบหลอกๆ
ตอนใกล้ละโลก แม้มีเงินสักแสนล้าน หรือมากมายกว่านี้ก็ตาม ตอนนั้นช่วยอะไรไม่ได้ ถึงจะมีเงินมากแค่ไหน แต่ไม่ปฏิบัติธรรม ก็ไม่พบความสุข พบแต่ความปลื้มหลอก ๆ ว่า เรามีมากกว่าคนอื่น หรือเรามีเหมือนคนอื่นก็เท่านั้นเอง แล้วมานั่งนับเงินก็กลุ้มใจ กลัวคนจะมายืมเงิน กลัวคนจะรู้ว่ามี กลัวไปสารพัด แล้วอย่างนี้จะมีความสุขได้อย่างไร
Temporary pleasure
When it is close to the time to depart from this world, no amount of money can matter. A person possessing a huge amount of money cannot find true happiness if he does not endeavor to practice meditation earnestly. All he can experience is temporary pleasure or fleeting moments of superficial happiness the same way others possessing much less money can. But chances are that he is busily counting his money, afraid that someone may borrow it. He is afraid that people will know how wealthy he is. He is plagued by all sorts of anxiety and fear. How then can he be happy?
暂时的快乐
在临终前,就算有万贯家财也毫无意义。因此,更要懂得保护和珍惜它。即便富可敌国,但不修行打坐,也难获得真正的快乐。只会一时兴奋地觉得自己拥有的比别人多,或者和别人一样富有。可是当坐下来数钱时又心有余悸,因为害怕别人来借钱,或者害怕别人知道自己有钱,如此,快乐又从何而来呢?
ทรัพย์ภายใน
ถ้าปฏิบัติธรรม มีทรัพย์ภายในจะปลื้มจะชื่นอกชื่นใจ เพราะฉะนั้นใครได้แล้ว เข้าถึงแล้ว ต้องหวงแหนเอาไว้ ไปทำบ่อย ๆ ทำหยุด ทำนิ่ง ทำให้ใส มองไปเรื่อย ๆ มองไปจนกว่าองค์พระจะผุดขึ้นมาทีละองค์ ๆ เรื่อยไป อยู่กับองค์พระทุก ๆ องค์ ใจก็จะยิ่งถูกกลั่นให้บริสุทธิ์ สะอาด ผ่องใส มีความสุขเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ
Inner wealth
A person who endeavors to practice meditation earnestly possesses inner wealth that fills him with joy and delight. Therefore, whoever can attain whatever level of the Dhamma must take great care to keep it intact and to guard his inner experiences very carefully. He does this by practicing keeping his mind still, quiet, and clear as often as possible. As he continues to see more inner images until he can see the Dhammakaya arising one after another, he is to keep his mind on each of the arising Dhammakaya. And then his mind will become increasingly refined, pure, clean, bright and clear. And the level of his happiness will also increase.
内在财富
修行打坐生起的内在财富,是一种不依赖物质,自然的愉悦、欢喜。因此,谁证得透明光球或佛像后要懂得珍惜,经常打坐静心,观照不断涌现上来的佛像,安住在佛像中。这样心会越来越纯洁、清净和明亮,我们也会越来越快乐。
ให้วันเวลาผ่านไปพร้อมใจบริสุทธิ์
ขาดลมหายใจแค่ไม่กี่นาทีก็ตายแล้ว การปฏิบัติธรรมก็ เช่นเดียวกัน ถ้าขาดเหมือนขาดลมหายใจ ระยะเวลาสั้นอย่างนั้นเหมือนกัน ต้องทำการบ้านที่ให้ไว้ แล้วเดี๋ยวจะอัศจรรย์ใจเลย หรืออย่างน้อยเราก็ จะมีความสุข จิตใจของเราก็บริสุทธิ์เพิ่มขึ้นทุกวัน ทุกคืน ทุกเวลา ทุกวินาที อย่าลืมนะ
Each passing day with pure mind
Thinking that without air, a person can die in minutes. This is the same with meditation practice. The lack of meditation practice in just a short time can kill one’s inner experiences. Make sure to complete your ten daily assignments and the result will amaze you. At the very least, you will become happier. Your mind will become purer with each passing day, each passing night, and each passing second.
每天保持清净心
几分钟不呼吸,就会死去;修行打坐也应当如呼吸一样不可或缺。只要经常修习打坐,必定有不可思议的收获,至少会收获快乐,心也越来越清净。
ฉลาดคิด
ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ เป็นที่เสด็จไปสู่อายตนนิพพานของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระอรหันต์ทั้งหลาย เพราะฉะนั้นเราก็จะต้องเดินตามรอยของ ท่านไป ด้วยวิธีหยุดกับนิ่ง ฝึกเข้าไปเรื่อย ๆ เลยใจของเรา ความคิดเข้ามาได้ทีละอย่าง ถ้าคิดดี ชั่วกับไม่ดีไม่ชั่วก็ไม่เข้า ถ้าคิดชั่ว ดีกับไม่ดีไม่ชั่วก็ไม่เข้า ถ้าหากเป็นกลาง ๆ (ไม่ดีไม่ชั่ว) ชั่วกับดีก็ไม่เข้าแล้วทั้งหมดนั้นก็แล้วแต่เรา เราเลือกได้จะเอาสิ่งไหนเข้ามาไว้ในใจเรา จะเอาความคิดที่ดีเป็นกุศลธรรมก็ได้ จะเป็นอกุศลก็ได้ หรือจะเป็นอัพยากตาธรรม (ธรรมที่ไม่ดีไม่ชั่ว) แล้วแต่ใจเราจะปรารถนาอย่างไร
Knowing What to Think
The seventh base in the center of one’s body is the place where the Lord Buddha and all the Arahats attain Nibbana. Therefore, we must follow in their footsteps by keeping our mind still and quiet and we must keep on practicing.
Thought can come to one’s mind only one at a time.
If one has a good thought, then a bad thought or a thought which is neither good nor bad can ever appear.
If one has a bad thought, then a good thought or a thought which is neither good nor bad can ever appear.
If the thought is neither good nor bad, neither a bad thought nor a good thought can ever appear.
Everything depends on the person. It is up to each person to choose what thought to come to his mind. Whatever thought it may be, a good thought, a bad thought, a thought which is neither good nor bad, it is all up to each person.
智慧的思考
身体中心第七点是佛陀和诸阿罗汉趣向涅槃之道,所以我们应该追随他们的脚步,不断通过静定的方式修心。其实,每次只能有一种念头进入心里,若思善,则恶与非善进不来;若思恶,则善与非恶进不来;若思非善非恶,则善与恶进不来。这些都取决于自己,看自己想让哪种念头进入心里。让善念进来也行,让恶念进来也行,让不善不恶之念进来也行,这些都取决于我们自己。
ชีวิตที่คุ้มค่า
ถ้าเรามีเป้าหมายที่จะทำพระนิพพานให้แจ้ง ในใจจะต้องให้มีแต่กุศลธรรมอย่างเดียวเท่านั้น ถ้าหากเราคิดแต่เรื่องดี ๆ ก็ไม่มีเวลาว่างที่จะไปคิดถึงเรื่องที่ไม่ดี เพราะฉะนั้นเรามาแสวงหาความดีเข้าตัวดีกว่า ต้องคิดพูดทำเรื่องดี ๆ เข้าไว้ ชีวิตจึงจะมีกำไร
Worthwhile life
If one’s goal is to make clear the Path and Fruit of Nibbana, then one must allow only good thoughts to come into one’s mind. If one allows only good thoughts to come to one’s mind, one will not have the time to think a bad thought. Therefore, bring only good things to one’s self by thinking and saying only good things. Then life will be made worthwhile.
有价值的生命
若我们以证得涅槃为目标,必须心存善法。若我们一直心想善事,就没有时间想不善之事。因此,我们要心存善念,说善言,做善事,这样生命才会更有价值。
เลือกขยันดีกว่า
นั่งไปเรื่อย ๆ เดี๋ยวก็เห็นเอง เพราะสิ่งนี้มีอยู่แล้วในตัว หลักวิชชา ก็มีอยู่ เหลือแต่ว่าเราจะขวนขวายแค่ไหน ขยันหรือขี้เกียจ ถ้าขยันก็ถึงได้เร็วหน่อย ถ้าขี้เกียจก็ถึงช้า บางทีช้าข้ามภพข้ามชาติกันทีเดียว ความขี้เกียจอันตรายถึงขนาดข้ามภพข้ามชาติ เพราะฉะนั้นต้องขยันนะ
Choose to be diligent
Keep practicing and in time, you will see inner images because these are already there inside you. That is all there is to it. You can choose to be diligent or lazy. If you are diligent, then you will be able to see inner images faster. But if you are lazy, there is no telling when you will ever see an inner image. Laziness slows one down lifetime after lifetime. Laziness is dangerous. Therefore, everyone must be diligent.
选择精进
坚持坐下去就一定能看见,因为佛法就在我们体内。打坐的方法已经有了,剩下就是我们精进到什么程度,精进还是懒惰?若精进则快一些;若懒惰则会很慢,有时候,需要好几世的时间。懒惰的习性很危险,甚至会影响来世,所以,一定要努力啊!
มีสิทธิ์เข้าถึงทุกครั้งที่นึก
เรามีสิทธิ์เข้าถึงองค์พระ เห็นองค์พระได้ทุกวัน วันหนึ่งมีสิทธิ์เข้าถึงได้หลายครั้ง ทุกครั้งที่เรานึกถึงพระ เรามีสิทธิ์เห็นพระ เรามีสิทธิ์ทุกครั้ง…ที่เรานึกถึง
Attaining the Dhamma
Every day, one has the opportunity to attain the Dhammakaya and see the Dhammakaya. One has the opportunity to see the Dhammakaya several times a day. Each time that one visualizes the Dhammakaya, one has the opportunity to see Him. One has the opportunity to see the Dhammakaya whenever one thinks of Him.
意念就要机会证悟佛法
我们每天都有机会证得内在的佛法,看见内在的佛。每当我们忆念佛,便有机会证入内在佛法;只要意念就有机会。
การนึกภาพในใจ
เราลองนึกถึงมหาธรรมกายเจดีย์ในกลางท้องสิ เราเห็นนะ แต่จะชัดหรือไม่ชัดอีกเรื่องหนึ่ง
แต่เราเห็น เพราะฉะนั้นเรามีสิทธิ์นึกถึงพระ แล้วก็เห็นพระได้วันหนึ่งหลายครั้งและได้ทุกวันเลย แต่ชัดหรือไม่ชัดอีกเรื่องหนึ่ง ขึ้นอยู่กับว่าใจเราละเอียดแค่ไหน ถ้าใจเราหยาบภาพก็จะไม่ค่อยชัด ใจละเอียดมันก็ชัดขึ้น
ความชัดก็มีหลายระดับ ตั้งแต่ชัดน้อยกว่าลืมตาเห็น ชัดเท่าลืมตาเห็นหรือชัดยิ่งกว่าลืมตาเห็นเพิ่มขึ้นไปเรื่อย ๆ ขึ้นอยู่กับหยุดกับ ถ้านึกได้ก็เห็นได้ เห็นไม่ได้เพราะเราไม่ได้นึก ถ้าเราได้กินข้าวก็อิ่มได้ ถ้าเราไม่ได้กินก็ไม่อิ่ม ก็ง่าย ๆ แค่นั้น แต่เราก็นึกกันไม่ค่อยจะถึง
Visualizes
If one visualizes the Great Dhammakaya Cetiya in the middle of one’s abdomen, one will be able to see it. But whether or not one can see it clearly, that is a different matter altogether but one does see it. In the same manner, if one visualizes the Dhammakaya, one will be able to see Him. And one can see Him several times a day and every day. But whether or not one can see Him clearly, that is a different matter. It all depends on how refined one’s mind has become. If one’s mind is coarse, one will not be able to see Him clearly. But as one’s mind becomes more and more refined, one will be able to see Him more and more clearly.
There are many levels to the clarity and sharpness of an inner image from seeing an image less clearly and less sharply than when one looks at something with one’s eyes to seeing it as clearly and as sharply as one sees things with one’s eyes. The clarity and sharpness of one’s inner images will continue to increase as one’s mind becomes more and more still and quiet.
If you can visualize the Dhammakaya, then you can see Him. You cannot see Him because you do not visualize Him. If you eat, you will feel full. If you do not eat, you will not feel full. It is really as simple as that.
在心中观想画面
我们可以尝试在肚子中央忆念大法身塔,但清晰或不清晰是另外一回事。同样的道理,我们可以忆念佛,也有机会每天或一天内多次见佛,但清不清晰取决于心的细腻程度。若心粗糙,观想的画面就模糊;若心细腻,观想的画面就清晰。清晰度有不同的程度,从眯眼所见的清晰程度,到睁眼所见的清晰程度,再到比睁眼所见还要更清晰的程度,这主要取决于心静定的境界。如果可以忆念就可以看见,看不见是因为我们没有忆念。吃饭会饱,不吃就不会饱。就是这么简单,只是我们没想到而已。
เป้าหมายชีวิตที่แท้จริง
ชาวโลกเขาไม่รู้เป้าหมายของชีวิต เพราะฉะนั้นจึงดำเนินชีวิตผิดพลาดบ้าง ไม่สมบูรณ์บ้าง และก็เสียเวลากันไปมากมาย ห่างไกลจากเป้าหมายชีวิตที่แท้จริง ถ้ามนุษย์ทั่วโลกเข้าใจว่า เกิดมาเพื่อทำพระนิพพานให้แจ้ง หรืออย่างน้อยก็มาสร้างบารมี โลกจะหมุนไปในทางบวกเลย เสียดายว่าชาวโลกแสวงหาความรู้ที่ไม่ค่อยจะเกิดประโยชน์อย่างแท้จริงสักเท่าไร แล้วก็ทุ่มเททรัพยากรไปเพื่อสิ่งที่ไม่ค่อยจะเป็นประโยชน์ ถ้าหากเขาทุ่มเททรัพยากรมาเพื่อให้มวลมนุษยชาติค้นคว้าความรู้ที่แท้จริง เพื่อไปสู่จุดหมายปลายทางของชีวิตได้ ถ้าคิดอย่างนี้พร้อมกันเมื่อไร โลกก็เกิดสันติสุขในตอนนั้นเลย
True life–goal
It is truly unfortunate that humans on earth do not know their true life-goal. Therefore, they make mistakes in their lives and so much of their precious time is frittered away. They continue to remain distant from their true life-goal.
If everyone on earth knows that he is here to make clear the Path and Fruit of Nibbana or at least to pursue Perfections, things on earth will move in a positive direction. It is truly unfortunate that people spend so much time and effort to search for knowledge which is not truly beneficial. But if they devote their resources to finding true knowledge which can lead them to the realization of their life-goal, peace on earth will happen.
真正的人生目标
世人不明了人生的目标,所以有时会去追求错误的人生目标,或者追求不够圆满的人生目标,浪费了很多时间,也越来越远离真正的人生目标。
如果世人明白,生来是为了证得涅槃;或至少知道是来修波罗蜜,世界将是另一番景象。可惜世人寻找的东西不但没有太大意义,还为此耗费不计其数的资源。若他们将资源用于修波罗蜜,将有助于人生顺利到达最终目的地——证得涅槃。倘若人人都这样思维,世界和平终将会实现。
ทุ่มเททรัพยากรเพื่อความรู้ที่แท้จริง
เอาทรัพยากรทุกอย่างมาทุ่มเทเพื่อที่จะให้มวลมนุษยชาติได้แสวงหาความรู้ที่แท้จริง ที่จะเป็นประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่น ต่อเราและโลก ตอนนี้ก็ทุ่มเททรัพยากรเพื่ออย่างอื่น การค้นคว้าเทคโนโลยีแม้สูงขึ้นไปเรื่อย ๆ มันก็ได้แค่ให้ความความสะดวกสบายแก่การทำมาหากิน สะดวกขึ้น สบายขึ้น แต่ถึงจะสะดวกสบายแค่ไหนก็ยังเมื่อย ยังแก่ ยังเจ็บ และก็ยังตาย
Devote Your Resources to Finding True Knowledge
But instead of devoting all resources to enable humanity to search for true knowledge which will benefit the self, one’s fellowmen and the world, resources are being devoted to discovering newer and newer technologies. Such technologies may provide certain conveniences in that it may make life and earning a living a little easier. But they cannot take away achiness, pain, aging, sickness and death.
倾尽所有寻找真理
应该将资源用在让世人明了真理,并对自己、他人或世界都有意义的方面。可现在却将资源投入其他方面,就算科学技术越来越发达,却也只是让生活变得更加便捷和舒适。可无论多么便捷、多么舒适,我们依然会累、会老、会病、会死。
มนุษย์พลาสติก
เดี๋ยวนี้มีมนุษย์พลาสติกเกิดขึ้นมาก เขาไปทำศัลยกรรมทุกส่วนของร่างกายด้วยไฮเทค แต่มันก็ปกปิดความจริงไม่ได้ ถึงจะทำอย่างไรก็แล้วแต่ ในที่สุดก็ต้องแก่ ต้องเจ็บ แล้วก็ต้องตาย เทคโนโลยีที่เกิดขึ้นมาก็เพื่อทำมาหากินใครมีอะไรมาใหม่ ๆ คนก็สนใจ ก็ขายดี คนที่สู้เขาไม่ได้ก็ต้องพัฒนาตัวเองค้นเทคโนโลยีให้เท่าเขาหรือเหนือกว่าเขาเพื่อทำมาหากิน เรียกว่าก็ต้องแข่งขันกันเรื่องเทคโนโลยี
Plastic humans
Nowadays, more and more plastic humans are appearing as a result of plastic surgery which is being performed on different parts of the body. But it cannot hide the fact that aging, sickness and death are still with them. New technology creates many new ways of making money. Innovative products attract the interest of many and they become hot selling items. Those with inferior technology must try to upgrade their technology in order to survive and competition is fierce.
塑料人
如今,有许多人利用高科技做整形手术,但依然无法摆脱自然规律。无论他们怎么做,终究还是要面对老、病、死。各种科技的诞生其实是人们谋生的工具。每当出现新的技术,就会有人追捧。那些技术落后的,为了生计,也只能被迫提升自己,努力赶上或超越对方,这就是科技竞争。
ความมั่งคั่งไม่ได้ทำให้พ้นทุกข์
สมมติว่ารวย มีบ้านร้อยหลังก็ใช้ได้ทีละหลัง มีรถพันคันก็ใช้ได้ทีละคัน มีสร้อยหมื่นเส้น อาจจะใช้ทีละหลายเส้นได้ แต่ถ้าใส่หมดเขาเรียกว่าโซ่อาหารอร่อยก็ได้ทีละคำเท่านั้น เตียงทองมีร้อยเตียงก็ใช้ได้ทีละเตียง จะรวยแค่ไหนก็ได้แค่นี้แหละ ยุ้งข้าวเราก็แค่นี้ อร่อยแค่ไหนมันก็ได้แค่นี้ เพราะฉะนั้นทรัพยากรที่มีอยู่ ถ้าเอามารวมกันและทุ่มไปให้มนุษย์ได้ศึกษาความรู้ที่แท้จริง คือความรู้ที่จะทำพระนิพพานให้แจ้ง มวลมนุษยชาติก็จะเข้าถึงสันติสุขภายในพ้นทุกข์เลย
Wealthy can not be free from suffering
Suppose one is very wealthy and owns a hundred houses, the fact is he can be in only one house at a time. Suppose one owns 1,000 cars, one can still use only one car at a time. One may own 10,000 gold necklaces, but one can only wear a few of them at a time. If one wears them all at the same time, one will be wearing something very heavy indeed. Delicious food can be eaten one bite at a time. One may own a hundred beds made of gold, but one can only sleep in one bed at a time. It does not matter how much material wealth one possesses, it is just material wealth and nothing more. Would it not be better to put all of the earth’s resources together so that humans can learn true knowledge or the knowledge which enables them to make clear the Path and Fruit of Nibbana? Then, every human being will be able to attain inner peace and be free from suffering.
富贵无法离苦
假设一个人很富有,有一百栋房子,每次也只能住一栋;有一千辆车,每次也只能开一辆;有一万条项链,可能一次可以戴好几条;如果一次戴一万条项链,那就是锁链了。食物很美味,但只能一口一口吃;有上百张金床,也只能睡一张。不管多么的富有,能够消费和享受的也就这么多。因此,应将现有的资源集中起来,投入于学习生命的真相,让人明白证入涅槃的意义,收获内心的安宁,远离世间诸苦。
ความโลภ ความโกรธ ความหลง
สิ่งที่อยู่ฉากหลังบังคับอยู่ บังคับว่าอย่าไปเชื่ออย่างนั้น อย่าไปทำอย่างนั้น อย่าไปคิดอย่างนั้น ฉากหลังก็คือกิเลส ความโลภ ความโกรธ ความหลง ซึ่งเป็นกระแสเป็นพลังงานชนิดหนึ่งบังคับมนุษย์ให้คิด ให้พูด ให้ทำ เรื่องโลภ โกรธ หลง แล้วก็วน ๆ กันอยู่อย่างนี้ จนหมดเวลาในโลกมนุษย์ แล้วก็ไปไหน ๆ กันเยอะแยะเลย กว่าจะกลับมาเกิดเป็นมนุษย์อีกก็ยาก พอมาใหม่ก็คิดเหมือนเดิม พูดเหมือนเดิม ทำเหมือนเดิม วนกันไปอยู่อย่างนี้ตลอดเวลาเลย
Greed, anger, and delusion
A force to be reckoned with is working behind the scene to dissuade humans from believing the Truth, from practicing meditation, from thinking correctly. This most powerful force is called Kilesa (defilements). And it appears as greed, anger, and delusion. Kilesa is a form of energy current force human beings to think, say and do things as driven by their greed, anger, and delusion over and over again in a vicious cycle until their time on earth is up. And they have to undergo the round of rebirth in different realms of existence. Naturally, it will be very difficult for them to be reborn in the Human Realm again. But when the opportunity does arise, they return to the Human Realm thinking, saying, and doing the same things all over again and again. Things are happening this way.
贪嗔痴
有一股无形的力量,迫使我们不相信,不去做或不去想世间的真相。这股无形的力量就是我们的烦恼——贪、嗔、痴。它们控制着我们去想、说和做种种贪嗔痴之事。如此反复循环,直至耗尽一生时光。来世很漫长,想再投生为人很难。即使出生后可能依然如故,在想、说和做方面一如既往,如此周而复始的循环。
สิ่งที่ถูกปกปิดจะเปิดเผย
บุญ ก็เป็นกระแสหรือพลังงานแห่งความดี ที่บังคับมนุษย์ให้คิดพูดทำแต่สิ่งที่ดี ๆ แล้วก็มีวิบาก คือมีผลที่ดี ๆ เกิดขึ้น มรรคผลนิพพานอยู่ในตัวเรา เริ่มต้นที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ ด้วยวิธีการหยุดนิ่งเฉยที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ ซึ่งเป็นปากทางที่จะเข้าไปถึงพระในตัว พอถึงพระในตัวแล้ว เดี๋ยวเราก็จะเปลี่ยนแปลงจากผู้ไม่รู้ก็มาเป็นผู้รู้คนโง่กลายเป็นคนฉลาด สิ่งที่ปกปิดก็จะเปิดเผยเมื่อไปถึงพระในตัว
The secrets of life will be revealed
Merit is a form of energy current which arises from wholesomeness. Merit motivates human beings to think, say, and do wholesome things. Merit is the source of blessings and all things good.
The Path and Fruit of Nibbana is inside each person beginning at the seventh base in the center of his body. All one has to do is to keep one’s mind still and quiet at the seventh base which is the entrance to the Dhammakaya. Once the Dhammakaya can be attained, one will be transformed from not knowing anything to being all-knowing, from being stupid to being clever. The secrets of life will be revealed when the Dhammakaya can be attained.
生命的秘密将被揭开
功德是一股善行力量,促使人类想、说和做善美之事,最终收获善报。
道果涅槃就在我们体内中心第七点,可通过静心的方式,次第进入身体中心,证入内在的佛。当证入内在的佛后,我们将由无知者变成知者,由愚者变成智者,原本被遮蔽的东西将显露无遗。
ต้องหนีกฎแห่งกรรมให้พ้น
ต้องทำพระนิพพานให้แจ้ง เพราะในวัฏสงสารนั้นมีภัยมาก ที่สำคัญ คือภัยในอบาย หากเราทำบาปก็จะไปเกิดเป็นสัตว์นรก เปรต อสุรกาย สัตว์เดรัจฉาน เป็นต้น แม้ในมนุษย์ก็มีภัยสารพัดภัยเลย จะเกิดเป็นอะไรก็ไม่แน่นอน เดี๋ยวขึ้น เดี๋ยวลง เดี๋ยวไปสวรรค์ เดี๋ยวไปอบาย เดี๋ยวเป็นคนสวย คนหล่อ เดี๋ยวก็ขี้เหร่ เดี๋ยวรวย เดี๋ยวจน เดี๋ยวเป็นพระราชา เดี๋ยวเป็นยาจก วณิพกผลัดเปลี่ยนกันอย่างนั้นอยู่เรื่อย ๆ และที่สำคัญทุกคนที่เกิดในสังสารวัฏล้วนตกอยู่ในกฎแห่งกรรมทั้งสิ้น
กฎแห่งกรรม พระสัมมาสัมพุทธไม่ได้ตั้งขึ้น แต่พระองค์ไปรู้ไปเห็นมาแล้วมีมหากรุณาจึงนำมาสอนสัตวโลกเพราะความสงสาร
กฎหมายเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา ในทุกภูมิภาคทั่วโลกก็ยังมีแตกต่างกันไปแล้วแต่ความจำเป็นแต่กฎแห่งกรรมนั้นคงที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลง บางอย่างถูกกฎหมายแต่ผิดกฎแห่งกรรม ถึงแม้ไม่ติดคุกแต่ก็ไปอบายจะมีทางหนีกฎแห่งกรรมได้ก็ต้องหลุดจากภพสามไปสู่อายตนนิพพาน
Escaping from the Law of Kamma
It is imperative that one makes clear the Path and Fruit of Nibbana because the round of rebirth is filled with great dangers. Most importantly, there are the dangers of the States of Unhappiness. If one commits unwholesome deeds, one will be reborn in the Hell Realm, the Peta Realm, the Asurakaya Realm or the Animal Realm. The Human Realm is also filled with all kind of danger. A human being is faced with many ups and downs in life. And it is not certain where one will be reborn after one dies.
At times, one is reborn in the Celestial Realm. At other times, one is reborn in the Hell Realm. At times, one is reborn beautiful or handsome. At other times, one is born ugly. At times, one is wealthy; but at other times, one is poor. One may be a king in one lifetime and a pauper in another. Over and over again, life in the round of rebirth is constantly changing. But one thing for certain, wherever rebirth takes place, one is still under the dictate of the Law of Kamma.
The Law of Kamma was not created by the Lord Buddha because it has always existed. But the Lord Buddha saw it and knew it. And out of His limitless compassion, He has made it known to everyone.
It is completely different from the law written by human beings which can be changed or rewritten depending on the circumstances. Certain things are not unlawful but they are wrong according to the Law of Kamma. One does not go to jail, but one has to go to the States of Unhappiness after one dies.
To escape from the Law of Kamma, one must leave the Three Spheres of Existence and attain Nibbana.
避免受制于业果法则
我们必须要证得涅槃,因为轮回很危险,特别是恶道之险。如果我们造恶,将转世为地狱众生、饿鬼、阿修罗或畜生。即便生而为人也很危险,来世转世成什么还不确定,时而转世善道,时而转世恶道,成为英俊的人,美丽的人,富有的人,贫穷的人,或者成为国王或乞丐,总是如此周而复始的交替。因为,轮回中的每个生命都受制于业果法则。
业果法则非由佛陀设立,而是佛陀如实知见业果法则的实相后,慈悲教导众生。法律会不断变化,不同地方的法律根据需要也会各不相同。但业果法则却恒常不变。有时虽然不犯法,但触犯业果法则,即便不用坐牢,但往生后会投生地狱。只有脱离三界趣向道果涅槃才能避免受制于业果法则。
มีโอกาสทุกวัน
มรรคผลนิพพานอยู่ในตัวของเรา เริ่มต้นที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ ด้วยการนำใจมาหยุดนิ่งเฉย ๆ เพราะฉะนั้นพรรษานี้เราก็ต้องมาฝึกหยุดฝึกนิ่ง ให้โอกาสกับตัวเราได้ทำหยุดทำนิ่ง มีชั่วโมงหยุด ชั่วโมงนิ่ง ชั่วโมงกลางบ่อย ๆ เราก็จะเข้าถึงพระในตัวได้ ซึ่งทุกคนมีสิทธิ์เข้าถึงได้ทั้งนั้น และก็สามารถเข้าถึงได้ทุกวันตลอดเวลาเลย
the opportunity
The Path and Fruit of Nibbana can be found inside each person at the seventh base in the center of his body. He begins by keeping his mind still and quiet at the seventh base. Let everyone make this Rains- Retreat the season for training his mind to be still and quiet. Let everyone give himself the opportunity to keep his mind still and quiet. Let everyone accumulate as many hours as possible of stillness and quietness at the seventh base in the center of his body and then everyone will be able to attain the Dhammakaya. Everyone has the opportunity to attain the Dhammakaya every day and all the time.
每天都有机会
只有脱离三界趣向道果涅槃才能避免受制于业果法则。而道果涅槃就在我们体内,可以通过将心静止在身体中心第七点开始。所以,这个雨安居我们必须精进修行打坐。给自己机会,每天抽出时间努力修习。打坐一个小时,心静定一个小时。常常这样修习,就有机会证得内在的佛法。其实,每个人都有机会证入内在的佛法,而且每天都可能做到。
ออกแบบชีวิตเอง
หยุดตอนไหน ถึงตอนนั้น เป็น อกาลิโก ไม่กำหนดกาลเวลา แล้วหยุดกับนิ่งขึ้นอยู่กับความขยันหรือขี้เกียจ ความสมัครใจของเรา ถ้าเราเต็มใจ สมัครใจอยากจะเข้าถึงก็ถึง ถ้าไม่สมัครใจที่จะเข้าถึงก็ไม่ถึง แล้วแต่เราจะปรารถนาอย่างไรก็ไขว่คว้าเอา ชีวิตเรา เราก็ต้องดีไซน์ของเราเอง
Designing one’s life
The instant one’s mind can be brought to a complete standstill, that is the instant that one will attain the Dhammakaya. This is the timeless truth. Stillness and quietness of one’s mind depend on whether one is diligent or lazy and whether or not one is committed to attaining the Dhammakaya. It all depends on what one wants and how one goes about designing one’s life.
自己设计人生
心何时静定,就何时证入,不受时间限制。静与定取决于我们自己,我们勤奋,还是懒惰。如果我们渴望证入,并努力修行,就一定可以证入。如果不想证入,就无法证入。我们的生命需要我们自己去设计,有什么期望,就努力去实现。
ระดับของการเห็นพระ
พระที่เห็นจะมีอยู่ ๒ ระดับ ระดับแรกคือองค์พระที่เห็นก่อนที่ใจจะหยุดนิ่งได้อย่างสมบูรณ์ อีกระดับคือเมื่อใจหยุดนิ่งได้สมบูรณ์แล้ว เห็นดวงธรรมใน ดวงธรรม เห็นกายในกาย ถอดออกเป็นชั้น ๆ กระทั่งถึงกายธรรม เห็นในระดับแรกองค์พระยังหลากหลาย ทั้งรูปร่างหน้าตาวัสดุ มักจะเป็นองค์พระที่เราคุ้นตา เคยเห็นกันตามยุคตามสมัย สืบสานวัฒนธรรม
กันมาตามภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วโลกในประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนา หรือเคยนับถือพระพุทธศาสนามาก่อน ก็จะหลากหลายเยอะแยะกันไปหมดนี่คือภาพพระที่เราเห็นในระดับแรก ตั้งแต่เริ่มต้นนึกเป็นบริกรรมนิมิต จนกระทั่งจิตหยุดเกือบสมบูรณ์แล้ว พระที่เห็นตอนนี้จะยังกระด้าง ลักษณะมหาบุรุษยังไม่ครบถ้วนบริบูรณ์ เราจะรู้จักลักษณะมหาบุรุษครบถ้วนบริบูรณ์ ต้องเข้าถึงพระธรรมกายภายในซึ่งเป็นอีกระดับหนึ่ง พระธรรมกายของทุกคนในโลก ท่านจะเหมือนกันหมดเลย ถ้าใครไปถึงตรงนี้แล้วความหลากหลายก็หมดไป แล้วจะหายสงสัย แถมปลื้มปีติใจ มีความสุขใจ นี่องค์นี้อยู่ในระดับลึกที่ละเอียด เป็น
พระรัตนตรัยภายในที่แท้จริง
The Different Levels of Elevated Meditative Attainments
There are two levels to seeing the Dhammakaya. The first level is when one sees the Dhammakaya before one’s mind comes to a complete standstill. The second level is when one’s mind has come to a complete standstill before one sees the Dhammakaya. This is the level where one can see one Dhamma Sphere inside another. One can see the different Inner Bodies, layer by layer until one sees the different Dhammakaya.
At the first level, one sees the Dhammakaya in a variety of shapes and sizes made of different materials. Usually, He looks like the Buddha Image that one is familiar with, which is different depending on the time period, the country, and the region where Buddhism used to flourish. The Dhammakaya at this level looks like the visualized Buddha Image which varies depending on the region and the time period. The Image appears to one from the time that one visualizes the Buddha Image to the time when one’s mind is almost at a standstill. The Buddha Image that one sees at of this point still appears inanimate and lacks all of the thirty-two physical attributes of the Perfect Man.
To know and see all of the thirty-two physical attributes of the Perfect Man, one must first be able to attain the Dhammakaya. Everyone’s Dhammakaya looks exactly the same. Whoever attains the Dhammakaya will see the same Dhammakaya. And then any doubts that one may have had about the Dhammakaya will disappear. One will be filled with joy and happiness instead. The Dhammakaya exists at the most profound and the most refined level. He represents the true Triple Gem inside us.
不同层次的禅修经验
看见内在的佛有两个境界:一个境界是心完全静定前看见的佛像;另一个境界是心完全静定后,将会看见法球中的法球,身中身,层层次第深入,直达法身。
在第一个境界中所见的佛像在材质和外观上各式各样,一般都是自己熟悉的。自己此前所见的佛像可能来自不同的年代或不同地区的文化传承,也可能来自信仰佛教的国家或曾经信仰佛教的国家。总之,外形特征多种多样,是我们在第一个境界所见的佛像。从最初观想所缘到心完全静定前,这个阶段所见的佛还不够圆满,还未圆满佛的大人相。
我们若想看见圆满大人相的佛,就要证得内在的法身佛其实,每个人内在的法身佛都一样。若达到此境界,取相和似相的多样性会消失,我们的疑惑也自然消除,并心生欢喜,身心安乐。法身佛是深邃而细腻的,是真正的内在三宝。
ในพรรษานี้ เราตั้งใจจะเข้าไปถึงพระแท้คือพระธรรมกายภายใน
ในพรรษานี้ เราตั้งใจจะเข้าไปถึงพระแท้คือพระธรรมกายภายใน ในระดับนั้น แต่บางท่านเข้าถึงพระในระดับแรก อย่างนี้ก็ถือว่าใช้ได้ ถือว่าหลับตาแล้วยังเห็นพระ ก็พยายามทำตรงนี้ให้คล่อง ทั้งหลับตา ลืมตา นั่ง นอน ยืน เดิน ในทุกอิริยาบถทุกกิจกรรมพยายามทำให้คล่อง บางทีสงสัยไปถามกันเองว่า พระของเธอเหมือนของฉันไหม และได้รับคำตอบว่า เป็นอย่างนี้ ๆ แล้วเราก็มาเทียบกับของเรา ไม่เหมือนกันก็อย่าไปสงสัยว่า นี่เราคิดไปเองไหม เอาเป็นว่าเห็นพระแบบไหนก็เป็นทางมาแห่งบุญและสิริมงคลทั้งสิ้น เป็นที่ตั้งแห่งกุศลธรรม ก็ยังได้ชื่อว่าเห็นพระ และจากจุดแรกที่พระยังหลากหลายนี้แหละ จะนำเราเข้าไปถึงพระ ในระดับที่เหมือนกัน ที่มีลักษณะมหาบุรุษครบถ้วนทุกประการ เกตุดอกบัวตูมใสเป็นแก้ว บริสุทธิ์ เป็นพระที่มีชีวิตที่แตกต่างจากระดับแรก เพราะฉะนั้น พรรษานี้ทำให้ได้ ถ้าเราเข้าไปถึงพระในระดับพระธรรมกาย แล้วนั่นแหละจึงจะเป็นที่พึ่งที่ระลึกได้อย่างแท้จริง
The goal of this Rains–Retreat, to attain the Dhammakaya
This is the goal of this Rains-Retreat, to attain the Dhammakaya at this profound and refined level. Some practitioners have already been able to see the Dhammakaya or the Buddha Image at the first level and that is fine as long as you can see the Buddha Image whenever you close your eyes to practice meditation. Keep on practicing until you become very good at it. Keep on practicing all the time whatever you may be doing.
One may ask another practitioner if his Buddha Image looks like the Buddha Image that one can see. When the answer comes, one may begin to doubt if what one sees is a product of one’s imagination. What one should do instead is to be happy with whatever Buddha Image appears at the center of one’s body because seeing the Buddha Image earns one merit, wholesomeness and blessings. At least, one can see it. At this first level, the Buddha Image will appear different from one practitioner to another. But the experience can eventually lead one to attain the Dhammakaya who possesses all the thirty-two physical attributes of the Perfect Man. The Dhammakaya will have an additional feature, however. And that is the lotus bud on top of His raised crown. The Dhammakaya is crystal clear, pure, and alive. Therefore, let everyone endeavor to attain the Dhammakaya during this Rains-Retreat so that he can have his own true refuge.
这次雨安居的目标是证入法身
这个雨安居,我们应该精进修行达到证入内在法身。有的弟子看到了不圆满的佛像,如此也不错。至少闭上眼睛后能见佛,那就努力练习直至熟练。无论是睁眼、闭眼,还是行、立、坐、卧都努力练习。
自己有时会去问别人:你所见的佛和我一样吗?当别人回答后,拿来同自己的比较。就算不一样,也不要怀疑自己的方法。
其实看见哪种佛像都可以看作是吉祥的、是功德或善法,难能可贵的是还能看见佛。从能看见不同的取相和似相的佛开始,进入到能看见相同的圆满的佛。此境界的佛圆满三十二大人相,肉髻顶上呈晶莹剔透的莲花花苞,这和最初取相的佛有诸多不同。因此,这个雨安居要精进修行。若我们证得内在的法身佛,它将成为我们真正的依靠。
พระรัตนตรัยภายใน
เราเกิดมาทำพระนิพพานให้แจ้งและสร้างบารมี พระนิพพานอยู่ในตัวเรา มีคำหนึ่งที่เราสวดมนต์เจอกันบ่อย ๆ ในธรรมคุณ คือ โอปนยิโก น้อมเข้ามาในตน น้อมเพื่อจะได้พบพระรัตนตรัยภายใน ไม่ได้บอกเลยว่าน้อมออกไปข้างนอก เราสวดกันมายาวนาน เพราะฉะนั้นการน้อมใจ ออกไปข้างนอก อยู่ป่า อยู่เขา ต้นไม้ จอมปลวกหรืออะไรต่าง ๆ เหล่านั้น ไม่มี แต่อยากจะเจอพระธรรมที่แท้จริงต้องน้อมเข้ามาในตัว ที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ ดูเข้าไปเรื่อย ๆ เดี๋ยวก็จะได้พบพระแท้ที่แท้จริงภายในตัว
The Inner Triple Gem
Everyone is here on earth to make clear the Path and Fruit of Nibbana and to pursue Perfections. Nibbana can be found inside each person. A word in an incantation which has to do with the Dhamma-Virtues is Opanayiko. It means keeping one’s mind inside one’s self for the purpose of meeting the Inner Triple Gem. One’s mind is not supposed to be outside of one’s self at all. If one wishes to meet the real Dhammakaya, one must keep one’s mind inside one’s self at the seventh base in the center of one’s body at all times. Keep practicing and in time one will be able to meet the real Dhammakaya.
内在三宝
我们生来是为了修波罗蜜和证得涅槃,而涅槃就在我们体内。我们诵经赞颂诸法的时候,常常诵念到的一句“Opanayiko”,它的意思时将心返观内照,以证入内在的三宝,而不是让心攀缘外在。所以,我们不应该让心执着于外在,让心流连于伟岸的丛林、俊秀的高山、挺拔的树木等各种各样的事物。要想证入内在的法,就要返观内照,持续静定在身体中心第七点,不久就会看见内在的佛。
ไม่จำกัดกาลเวลา
ฝึกใจให้หยุดนิ่งที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ ให้โอกาสกับตนเองทุกวัน เราก็จะเข้าถึงได้อย่างแน่นอน เพราะว่าพระท่านมีอยู่แล้วในตัว ศูนย์กลางกายของเราก็มี ใจเราเป็นธาตุสำเร็จ วิธีการก็คือ หยุดกับนิ่ง ใครหยุดใจได้ตอนไหน ก็เข้าถึงตอนนั้น เป็นอกาลิโก ไม่จำกัด กาลเวลา เอาจริงกันทุกวันเลย เห็นวันไหนมันก็ดีวันนั้น และก็มีสิทธิ์
เห็นได้ทั้งวันและก็ทุกวันตลอดเวลาเลย
Timeless
Make the time and effort to practice keeping your mind still and quiet at the seventh base in the center of your body every day, and you will definitely be able to attain the Dhammakaya. He has always existed inside you in the center of your body. Our mind is our success element. All one has to do is to practice keeping one’s mind still and quiet.
Whenever you can bring your mind to a standstill, you will be able to attain the Dhammakaya. This is called Akaliko, which means timeless. If you endeavor to practice keeping your mind still and quiet, you will have the opportunity to attain the Dhammakaya all day long and every day.
不受时间限定
每天练习让心静定在身体中心第七点,我们就可以证入内在佛法,因为佛法就在我们的身体中央。心是成功的重要元素,修习的方法是静和定。什么时候静定下来,就在那个时候证入。每天努力修习,每时每刻都有证入的可能,不受时间限定。
อย่าส่งใจกระเจิดกระเจิง
ใครที่ฝึกสมาธิมานานแล้ว ที่ท้อใจอยู่ก็ต้องเลิกท้อ วันนี้เรายังมืดอยู่แต่พรุ่งนี้ไม่แน่ ขึ้นอยู่กับว่าเราขยันหรือขี้เกียจ ถ้าขยันและทำถูกหลักวิชชา ถูกวิธีก็ต้องเห็นกันอย่างแน่นอน เพราะสิ่งเหล่านี้มีอยู่ในตัวของเรา ไม่ได้อยู่นอกตัวเลย องค์พระในตัว พระรัตนตรัยในตัว แม้แต่มรรคผลนิพพานก็อยู่ในตัวทั้งสิ้น เพราะฉะนั้นต้องน้อมใจเข้ามาไว้ในตัวจึงจะเข้าถึงสิ่งที่มีอยู่แล้วในตัวของเราได้ อย่าส่งใจไปข้างนอก ส่งไปข้างนอกมันก็ไม่เจอ เพราะของที่เราอยากเจอมันอยู่ข้างในที่เดียว
Prevent our mind from scattering.
There is no need for anyone to feel discouraged. Today, one may see only darkness, but who knows what one will be able to see tomorrow. It all depends on whether one is diligent or lazy and whether or not one is practicing accordingly. If one is diligent, one will definitely be able to see the Dhammakaya because He is there inside one’s self. The Dhammakaya, the Inner Triple Gem, the Path and Fruit of Nibbana are all inside us. All we have to do is to practice keeping our mind still and quiet in the center of our body. We need to prevent our mind from scattering. Nothing truly worthwhile can be found outside of our self. Everything that we wish to see and meet is already there inside us.
不要让心散乱
打坐久了的人,如果感到灰心、气馁,就应该鼓励自己:即便今天仍一片黑暗,但可能明天就光亮起来了,这取决于我们是勤奋还是懒惰;若我们勤奋,加上正确的方法,就一定能够看见;因为他们就在我们的体内,而非体外。内在的佛像、三宝或涅槃之道都在体内,我们应该引导心回归内在,证入原本就在体内的东西。不要让心攀缘外在,因为我们想证入的佛法就在体内。
การเกิดเป็นมนุษย์ยาก
เป้าหมายของการมาเกิดเป็นมนุษย์ในแต่ละชาติคือ ทำพระนิพพานให้แจ้ง และสร้างบารมี ถ้าเราเข้าใจตรงนี้ถูก เราจะดำเนินชีวิตได้ถูกต้องและมีความสุข สนุกกับการดำเนินชีวิตที่แสวงหาพระนิพพาน สั่งสมบุญกุศล เพราะทำแล้วมีเป้าหมายที่ชัดเจน ทำให้เราไม่ขี้เกียจ เพราะเรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้จำกัดกว่าจะมาเกิดเป็นมนุษย์ได้นั้นยากมาก ๆ เราจะมองว่า ก็เห็นมนุษย์ เกิดในโรงพยาบาลหรือที่ต่าง ๆ ตั้งเยอะแยะ ก็เห็นเขาเกิดกันง่าย ๆ จนกระทั่ง ปริมาณของมนุษย์มีเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เราจะมองเพียงแค่นั้นไม่ได้ ความจริงแล้วแต่ละชีวิตรวมทั้งตัวเราด้วยกว่าจะมาเกิดเป็นมนุษย์ได้นั้นยากมาก ไม่ใช่แค่ ว่าพ่อแม่ประกอบธาตุธรรมส่วนหยาบถูกส่วนแล้วก็เกิดขึ้นมาก็ไม่ใช่ จะต้องมีกายละเอียดของผู้ที่จะมาเกิดด้วยกายละเอียดนั่นแหละ
Rebirth in the Human Realm Is Rare.
Each time that one is reborn in the Human Realm, one’s sole purpose is to make clear the Path and Fruit of Nibbana. At the very least, one is here to pursue Perfections. If one understands the true objective of a human life, one will be able to live one’s life accordingly and happily. One will enjoy living one’s life which is for the purpose of seeking Nibbana and accumulating merit. One will not be lazy because one will realize how one’s time on earth is truly limited.
Rebirth in the Human Realm is extremely rare. Most people find that difficult to believe because babies are being born every day to continue populating the earth. But the reality is so much more than that. Human birth does not occur simply because sexual intercourse has taken place at the right time. It also needs the presence of a Refined Human Body.
人身难得
每一世生而为人的目标是修波罗蜜和证得涅槃。如果我们明确这个目标,我们将过着如法且幸福的生活,累积功德和寻找涅槃而感到快乐。在有限的一生中,我们积极的朝着明确的目标而努力奋斗。
人身难得。但是我们每天都看见,有很多人在医院或其它地方出生,而且人口的数量还在不断增长。似乎生而为人是很容易的事情。我们不应该只看到表面的现象。事实上,每个生命,包括我们自己,具足因缘生而为人是非常难得的。这不仅仅需要粗糙的肉身,还需细人身前来投生。就是这个细人身,投生为人非常难。
ใช้ช่วงเวลาในโลกมนุษย์อย่างฉลาด
กว่าจะมาเกิดได้ยากมาก ๆ ไม่ว่าจะมาจากสุคติหรือทุคติก็ตาม ถ้ามาจากในอบาย ต้องผ่านขั้นตอนเยอะแยะ ตั้งแต่เป็นสัตว์
นรก เป็นเปรต อสุรกาย สัตว์เดรัจฉาน แล้วจึงมาเป็นมนุษย์ แล้วแต่ละภูมิก็ยาวนานมาก ๆ ๖,๐๐๐ ล้านล้านปีอย่างนี้ หรือเป็นกัป เป็นมหากัป ซึ่งในอบายจะนานกว่าในสุคติภพ เพราะฉะนั้นเมื่อเกิดมาแล้วต้องใช้เวลาให้เป็นประโยชน์ต่อการสร้างบารมี อย่าเอาสังขารไปถล่มทลาย หรือไปทำในสิ่งที่ไม่เกิดประโยชน์ นี่ก็เป็นเรื่องที่เราจะต้องตอกย้ำซ้ำเดิมกันอยู่เรื่อย ๆ
Spend one’s time wisely
But even the presence of a Refined Human Body is rare whether it is coming from the States of Happiness or the States of Unhappiness. If it is coming from the States of Unhappiness, it means that it has already gone through many existences as a hell being, a Peta, an Asurakaya, and an animal. Existence in each of these realms lasts a very long time. It can be as long as 6,000 trillion (million million) years or even an entire Kappa (or an Earth Age).
Existence in the States of Unhappiness lasts very much longer than that in the States of Happiness. Therefore, now that one is living in the Human Realm, it would behoove one to spend one’s time wisely. One should not use one’s body to do things that are useless and harmful. This is something which must be reiterated often.
善用人生时光
人身难得。但是我们每天都看见,有很多人在医院或其它地方出生,而且人口的数量还在不断增长。似乎生而为人是很容易的事情。我们不应该只看到表面的现象。事实上,每个生命,包括我们自己,具足因缘生而为人是非常难得的。这不仅仅需要粗糙的肉身,还需细人身前来投生。
就是这个细人身,投生为人非常难。无论是来自善趣或恶趣的细人身,投生为人都是非常难的。若来自恶趣,需经过多重步骤:从地狱众生开始投生为饿鬼、阿修罗或畜生,每个境界的时间都无比漫长,如六千万亿年、劫、大劫等等。恶趣的时间比善趣的长很多,所以生而为人后要懂得利用时间勤修波罗蜜。
มนุษย์ทุกคนล้วนต้องตกอยู่ภายใต้กฎแห่งกรรม
เมื่อมาเกิดเป็นมนุษย์แล้วต้องตกอยู่ภายใต้กฎแห่งกรรม ไม่มีใครหนีพ้นเลยแม้แต่เพียงคนเดียว เมื่อยังอยู่ในภพสามนี้ล้วนแต่ตกอยู่ในกฎแห่งกรรมทั้งสิ้นมันก็น่าแปลกนะ ทำไมกายมนุษย์ถึงได้เป็นที่สนอกสนใจของผู้ที่ออกกฎแห่งกรรมนัก? ทั้งนี้เป็นเพราะเวลากายมนุษย์ทำ ใจหยุดนิ่งได้จนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับผู้รู้ภายใน เมื่อนั้นจะเร็วแรงมากในการที่จะเรียนรู้แล้วก็ไปสู่จุดหมายปลายทาง เนื่องจากกายมนุษย์มีเปลือก แต่กายอื่นไม่มีเปลือก เพราะฉะนั้นกายมนุษย์จึงถูกทำให้เสื่อมคุณภาพโดยปกติ ทั้งความคิด คำพูด และการกระทำนอกจากนี้ยังโดนถลุงเข้าไปอีกในหลาย ๆ เรื่อง เช่น ทำให้มีเวลาอยู่ในโลก
มนุษย์ไม่นาน แป๊บเดียวก็หมดเวลาไปแล้ว นี่เป็นเรื่องที่ซับซ้อน
Every human being is under the dictate of the Law of Kamma
Every human being is under the dictate of the Law of Kamma. As long as one is still living inside the Three Spheres of Existence, one must still be under the dictate of the Law of Kamma. It is uncanny how the maker of the Law of Kamma should be so interested in the human body.
It is that way because when a human being can bring his mind to a complete standstill until it merges as one with the Dhammakaya, the speed with which Vijja Dhammakaya can be learnt is tremendous. The reason is that the human body has a shell whereas the Inner Bodies do not. One’s human body, one’s thoughts, words, and deeds are purposely caused to deteriorate with time. There are many other areas where the human body is compromised. One example is a short lifetime. But these matters are extremely complex.
每个人都受制于业果法则
生而为人后会受制于业果法则,没有一个人能够摆脱;只要还在三界中轮回流转,就依然受制于业果法则。
会不会感到奇怪?制定业果法则的人为何特别在意人身?这是因为当人让心静定,到与内在的佛合一时,那时将会快速的知晓一切,并到达终点。通常人身会不断的衰退,包括思想、言语和行为。此外,在其它许多方面也被限制,例如人生在世的时间有限,如电光石火,稍纵即逝。
การต่อสู้ของบุญบาป
เราเคยเรียนรู้เรื่องบุญกับบาปว่าเป็นคู่ต่อสู้ที่แท้จริง ไม่ใช่มนุษย์กับมนุษย์ บุญเป็นเครื่องมือของพระ บาปเป็นเครื่องมือของพญามารที่กำลังปะทะกันอยู่ ถ้าพูดให้เข้าใจง่าย ๆ ก็คือ บุญบาปเป็นพลังงานหรือเป็นกระแสชนิดหนึ่ง แต่ถ้าพูดให้ละเอียดลงไปอีกก็คือ เป็นธาตุสำเร็จที่มีธรรมรองรับอยู่เป็นธาตุสำเร็จที่ทำให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ เช่น ความโลภ ก็มีบาปธาตุที่เป็นธาตุสำเร็จของความโลภได้ส่งพลังงานและกระแสนี้เข้ามาบังคับในเห็นจำคิดรู้ในจิตใจของมนุษย์แล้วมนุษย์ต้อง
โลภ เหมือนเอาแตงกวาไปแช่อิ่มในน้ำปลา เดี๋ยวแตงกวานั้นก็เค็ม ไปแช่ในน้ำมะนาวเดี๋ยวแตงกวานั้นก็เปรี้ยว ไปแช่ในน้ำตาลแตงกวานั้นก็หวาน แต่นี่ไปแช่ในความโลภมันก็โลภ ไปแช่ในความโกรธมันก็โกรธ แช่ในความหลงมันก็หลง เขาบังคับเช็ตโปรแกรมกันอยู่ภายในอย่างนี้ เอาไปแช่อิ่มอยู่อย่างนี้แล้วก็ตั้งภพ ตั้งกาย มียูนิฟอร์มมารองรับ เอาไปขังอยู่ในแต่ละกายของสัตว์นรกบ้าง เปรตบ้าง อสุรกายบ้าง สัตว์เดรัจฉานบ้าง พอเข้าไปอยู่ในยูนิฟอร์มนั้นก็ลืมความเป็นมนุษย์ จะมีชีวิตจิตใจเป็นไปอย่างที่เขาอยากจะให้เป็น ไปเป็นไก่ก็คิดแบบไก่ เป็นแมวก็คิดแบบแมว ร้องแบบแมว กินอาหารแบบแมว นี่เขาบังคับกันอยู่อย่างนี้ เพราะฉะนั้นจะล้างบาปได้ต้องใช้พลังแห่งบุญ กระแสแห่งบุญเท่านั้น ถึงจะเป็นคู่ต่อสู้ที่แท้จริงได้
The Battle between Merit and Demerit
You may have heard before that merit and demerit are arch enemies and that they are constantly waging battle with each other. This is true. But human beings should never see each other as enemies.
Merit is the Dhammakaya’s weaponry whereas demerit is Phya Mara’s weaponry. And they are still waging battle with each other. Simply put, merit or demerit is a form of energy current. To describe it in more detail, merit or demerit is the success element which causes things to happen according to its design.
For example, greed has the demerit element as its success element. It sends its energy and current into the sight, the memory, the thought and the cognizance that make up the human mind and forces human beings to be greedy. It is sort of like immersing cucumber in fish sauce. Soon enough, it turns salty. Or it is sort of like immersing cucumber in lemon juice. Soon enough, it turns sour. Or it is sort of like immersing cucumber in syrup. Soon enough, it turns sweet. But here the mind is immersed in greed, and it becomes greedy. When it is immersed in anger, it becomes angry. When it is immersed in delusion, it becomes deluded. This is how the inner program of the human mind has been set. It is caused to immerse in these three defilements.
The respective realms of existence and the respective physical forms together with their respective uniforms were formed to accommodate an entity as a hell being, a Peta, an Asurakaya or an animal. When in these uniforms, the entity forgets its humanity and assumes the life and mind of a hell being, a Peta, an Asurakaya or an animal. A chicken lives and thinks like a chicken. A cat thinks like a cat, meows like a cat, eats like a cat. This is how beings are controlled by Phya Mara. To cleanse one’s demerit, merit is required. Only the merit current can fight with the demerit current.
善与恶的较量
人与人之间并非对手,善业与恶业才是真正在对抗的。善业是佛的工具,恶业是魔的工具,他们无时无刻不在交手。简单地说功德与恶业是一种无形的力量或能量,深入地说它们就是一种促成实现目标的元素。
譬如贪,有为了促成贪的黑元素,输送力量或能量来控制人的受想行识,使人心生贪念。就像将黄瓜浸泡在鱼露中,黄瓜会变咸;将黄瓜浸泡在柠檬酸中,黄瓜会变酸;将黄瓜浸泡在糖水中,黄瓜会变糖。将心浸泡在贪欲中,心自然会生出贪念;将心浸泡在嗔恨中,心自然会生出嗔恨;将心浸泡在无明中,心自然会生出无明。魔王一方面制定了因果业报法则,另一方面将人类的心浸泡在贪嗔痴中,创建种种境界,将细人身束缚在各种境界里,如地狱众生、饿鬼、阿修罗或畜生。一旦转世为其它的众生,就忘记曾经生而为人,思想被牢牢地控制。转世为鸡就有鸡的习性,转世为猫就有猫的习性,叫声的是猫的声音,吃的是猫食,被他如此牢牢地控制。因此,只有善业的力量才能消除恶业,它们才是真正在斗争的对手。
ธรรม ๓ ประการ
คำ ว่า “ธรรมชาติ” ถ้าพูดถึงคำนี้ เราก็จะนึกไปถึงทะเล น้ำตก ป่าเขา หรือสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ อีกทัศนะหนึ่ง ธรรมชาติ ก็คือ เกิดโดยธรรม ซึ่งมีอยู่ ๓ ประการ ผสมผสานกันอยู่คือ กุสลาธัมมา ธรรมที่เป็นกุศล อกุสลาธัมมา ธรรมที่เป็นอกุศล อัพยากตาธัมมา ธรรมที่ไม่เป็นบุญไม่เป็นบาป สามอย่างนี้ปรุงกัน ผสมกัน ไม่ว่าจะเป็นคน เป็นสัตว์ เป็นสิ่งของ จะปนกันอยู่อย่างนี้ กุศลก็เป็นเรื่องดี คิดดี พูดดี ทำดี ถ้าอกุศลก็คิดไม่ดี พูดไม่ดี ทำไม่ดี พังทลาย ความเสื่อมอะไรต่าง ๆ เหล่านี้ เป็นต้น ถ้าอัพยากตาธรรม ไม่ดี ไม่ชั่ว เป็นกลาง ๆ เช่น กินข้าว อาบน้ำ ล้างหน้า แปรงฟัน เป็นต้น ธรรม ๓ อย่างนี้อยู่ในตัวเรา อยู่ในสรรพสิ่งทั้งหลาย แต่ที่อยู่ในตัวเราจะเห็นง่าย บางทีเราก็คิดดี นั่งธรรมะดีกว่า นั่นธรรมที่เป็นกุศลปรุงแต่ง บางทีก็คิดไม่ดี ไม่นั่งดีกว่าไปเล่นไพ่ อย่างนี้แสดงว่าธรรมที่เป็นอกุศลปรุงแต่ง บางทีก็ง่วงแล้วนอนดีกว่า อย่างนี้ก็ไม่เป็นบุญเป็นบาป ธรรม ๓ อย่างนี้ ผสม ๆ กันอยู่ในตัวเรา ในคนสัตว์สิ่งของก็คล้าย ๆ กันอย่างนี้ ล้วนแต่เกิด โดยธรรม ๓ ประการ ธรรมเป็นบุญ ธรรมเป็นบาป แล้วก็ธรรมที่เป็นกลาง ๆ ที่เป็นบุญธรรมนั้นก็ขาวใส ที่เป็นบาปธรรมนั้นก็ดำมืด ที่ไม่บุญไม่บาปก็เป็นสีเทาๆ
The Three Categories of Dhamma
The term “Dhammajati” is a term that most people’s idea of Dhammajati includes things that appear in nature such as a sea, a waterfall, a forest, a mountain, so on and so forth.
Dhammajati is a mixture of the three categories of Dhamma, namely, Kusaladhamma or wholesome Dhamma; Akusaladhamma or unwholesome Dhamma and Abyakatadhamma or the Dhamma which is neither wholesome nor unwholesome. Everything in nature is made up of these three categories of Dhamma.
Kusaladhamma includes wholesome thoughts, wholesome words, and wholesome deeds. Akusaladhamma includes unwholesome thoughts, unwholesome words, and unwholesome deeds. It also brings about decay, deterioration, and destruction. Abyakatadhamma includes neutral thoughts, neutral words, and neutral deeds such as eating, showering, bathing one’s face, brushing one’s teeth, etc. These three categories of Dhamma are present in everything as well as in our body.
One can see them more clearly in one’s self. Sometimes, one thinks about practicing meditation. One has such a thought because one is motivated by Kusaladhamma. Sometimes, one thinks about going to a gambling den. One has such a thought because one is driven by Akusaladhamma. Sometimes, one is sleepy and thinks about going to bed. Such a thought is neither wholesome nor unwholesome and is motivated by Abyakatadhamma. The human body and the body of all the animals possess a mixture of these three categories of Dhamma, namely, the Dhamma which belongs to Kusala or merit; the Dhamma which belongs to Akusala or demerit; and the Dhamma which is neutral. The merit Dhamma is crystal clear. The demerit Dhamma is black and dark. The neutral Dhamma is grey.
三种法
说到“自然”这个词,我们一般会想到大海、瀑布、森林,或其它自然景色。从佛法的角度,“自然”是指三种德行的混合,分别为:善法,即种种善的德行;恶法,即种种恶的德行;无记法,即不善不恶的德行。这三种法相互掺杂混合,无论是人、动物或其它事物,皆掺杂着这三种德行。
善法指善美的德行,即是心存善念,口说善言,身行善事;恶法即是心存恶念,口说恶言,身行恶事,从而导致人的堕落、衰败;不善不恶法是中性的德行,例如:吃饭、洗澡、洗脸、刷牙等。这三种法蕴含在众生体内。我们自己也很容易觉察得到:有时我们心存善念,就会想要打坐,这是善法的助缘;有时我们心存恶念,就不想打坐,而想去赌博,这说明是恶法在障碍;有时觉得困了就睡觉,这是不善不恶的。这三种法都存在于我们体内,其他众生万物也是如此,一出生体内就蕴含这三种法。而白色代表着善法,黑色代表着恶法,灰色代表着不善不恶法。
พระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งที่ระลึกที่แท้จริงของมวลมนุษยชาติทั้งหลาย
เมื่อเราตั้งใจมั่นกันอย่างนี้แล้วก็จะต้องทำให้ได้ พยายามหมั่นฝึกฝนอบรมใจกันไปเรื่อย ๆ เดี๋ยวเราก็จะสมหวังกันอย่างแน่นอน เพราะพระก็มีอยู่แล้วในตัวของเรา พุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ ๓ อย่างนี้เป็นที่พึ่งที่ระลึกที่แท้จริงของเราและมวลมนุษยชาติทั้งหลาย การเข้าถึงก็ไม่ได้ยากอะไร อยู่ที่การฝึกใจให้หยุดนิ่งอยู่ที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ ซึ่งอยู่ในกลางท้องของเราในระดับเหนือจากสะดือขึ้นมา ๒ นิ้วมือ แล้วก็ทำใจให้หยุดนิ่ง ไม่ต้องมีวิธีการพิเศษอะไรเลย แค่ไม่ต้องคิด ไม่ต้องพูด แล้วก็ไม่ต้องทำอะไรทั้งสิ้น ให้ใจว่าง ๆ เดี๋ยวใจก็จะหยุดนิ่งไปเองพอถูกส่วนเดี๋ยวก็เห็นไปตามลำดับ
Three Gems are humanity’s true refuge
Everyone must endeavor to practice meditation. Everyone must continue to train his mind to be still and quiet and in time, he will meet with success. Every person has inside himself the Buddha Gem, the Dhamma Gem and the Sangha Gem. These Three Gems are humanity’s true refuge.
All you have to do is to keep your mind still and quiet at the seventh base in the center of your body. This position can be found inside you in the middle of your abdomen two fingers’ width above your navel. Just practice keeping your mind still and quiet at this position. There is absolutely nothing else that you have to do. Do not think. Do not speak. Do absolutely nothing. Keep your mind empty and soon enough it will become still and quiet. And when your mind has come to a standstill in just the right way, you will be able to see inner images.
三宝是全人类的归依处
只要我们努力去做,一定可以做得到。我们只要精进不懈的修习,总有一天会得偿所愿,因为佛法僧三宝就在我们体内。三宝是所有人真正的依靠与归依处,而且证入也不难,只要将心静止在体内第七中心点,即与肚脐同一水平线的腹部中央往上提升两指宽的高度处。只需将心静止在那里,无需任何特殊的修习方法,也不用想,不用说,不用做其他事情。只要让心静止下来,处在正确的位置上,之后便会次第看见种种内在的画面。
พระนิพพานต้องทำให้แจ้ง
เราเกิดมาเพื่อทำพระนิพพานให้แจ้งและสร้างบารมี เราจะตอกย้ำซ้ำเดิมกันทุกวัน เพราะมีสมาชิกใหม่อยู่เรื่อย ๆ เขาจะได้เข้าใจ แล้วก็แม้พวกเราได้ยินได้ฟังบ่อย ๆ ก็จะตอกย้ำซ้ำเดิมให้มันหนาแน่นขึ้นไปเรื่อยๆเกิดมาทำพระนิพพานให้แจ้ง ก็แสดงว่าพระนิพพานมีอยู่แล้ว แต่คงจะถูกความมืดอะไรมาบดบังจึงทำให้ไม่เห็นพระนิพพาน แล้วก็ไม่รู้จักว่าพระนิพพานเป็นอย่างไร จึงไม่อยากจะไปกัน กลัวว่าจะไม่สนุก แต่ความสนุกก็ไม่ได้ให้ประโยชน์อะไรกับชีวิต แค่ให้รู้สึกเพลิน ๆ ไปวัน ๆ แล้วก็หมดเวลาของชีวิต เมื่อหมดเวลาของชีวิต เอาละสิ ตอนนี้เริ่มยุ่งแล้ว เพราะว่าชีวิตไม่ใช่ตื้น ๆ อย่างที่เราคิดเราเข้าใจ ยังมีอะไรที่สลับซับซ้อนที่เรายังไม่รู้อีกมากมายโดยเฉพาะชีวิตหลังความตาย ซึ่งโลกขาดแคลนความรู้ตรงนี้ จึงทำให้ชีวิตไม่สมบูรณ์ การดำเนินชีวิตผิดพลาด ตรงนี้เป็นอันตรายอย่างยิ่ง เพราะฉะนั้นการทำพระนิพพานให้แจ้งจึงเป็นทางเดียวเท่านั้นที่จะทำให้เราเข้าถึงความสุขที่เป็นอมตะที่แท้จริงได้
Making Clear the Path and Fruit of Nibbana
Everyone is here on earth to make clear the Path and Fruit of Nibbana and to pursue Perfections. This needs to be reiterated daily for the benefit of the new members. Even older members who have often heard this truthful statement must continue to bear it in mind.
To make clear the Path and Fruit of Nibbana implies that Nibbana is inside us. However, it is concealed by darkness such that one cannot see it and does not know what it is like. One may feel that one does not really want to go to Nibbana, fearing that it will not be as much fun. The truth is all that one thinks of as being fun is of no real use at all to one’s life. It gives one only momentary pleasure and before one knows it, one’s time on earth is already up.
When one dies, that is when real trouble begins. Life is not as simple as one likes to think. There are a myriad of highly complex matters about life in the hereafter which one has no knowledge of. Such knowledge is lacking on earth and so human beings continue to make many mistakes in life. This is highly dangerous. Therefore, making clear the Path and Fruit of Nibbana is the only way that one will be able to obtain true and everlasting happiness.
证入涅槃
我们生来是为了修波罗蜜并证入涅槃。每天反复强调,是为了让初学者也明白这个目标,也让老学员对此目标更加坚定。生来是为了证入涅槃,说明涅槃之道已存在;只是被内在的烦恼蒙蔽,所以看不见,不了解涅槃之道,进而不想趣向涅槃,担心毫无乐趣。但享乐其实并没有给生命带来益处,只会让自己每天沉迷于此,浪费一生的时光。
当生命走向尽头时,问题来了!不知道该怎么办,因为生命没有想的睡睡醒醒那么简单,还有许多复杂的东西是自己所不知道的。特别是对来世缺乏认知,使得今世的生活不够周全,无知的做了很多错误的行为,这样是非常危险的。因此,证入涅槃是真正能让我们实现永恒之乐的唯一途径。
วิธีเดียวที่จะขจัดความมืด คือทำใจให้หยุดกับนิ่ง
พระนิพพานมีอยู่แล้วในตัวเรา แต่เหมือนอยู่ในที่มืด ทั้ง ๆ ที่ท่านสว่างเหมือนมีเมฆมาบังดวงอาทิตย์ แม้ดวงอาทิตย์มีอยู่แต่ก็ไม่เห็นดวงอาทิตย์ต้องมีอะไรมาทำให้เมฆเคลื่อนที่ แล้วเราก็จะเห็นความกระจ่างนั้นเกิดขึ้น ความมืดมนอนธการในใจของเรานี่แหละ เป็นสิ่งที่บดบังอยู่ เราจะต้องทำความมืดนี้ให้หายไป ซึ่งมีวิธีเดียวคือหยุดกับนิ่ง ใจที่วิ่งอยู่เอามาหยุดนิ่งเสีย เดี๋ยวความมืดในตัวก็จะค่อยๆ ล่มสลายหายไปเลย เดี๋ยวเราก็จะเห็นเส้นทางที่จะไปสู่อายตนนนิพพานได้ ตอนนี้เราทราบแล้วว่ามรรคผลนิพพานอยู่ในตัวของเรา เพราะฉะนั้นถ้าจะหาก็ต้องหาในตัว อย่าไปหานอกตัว
The only way to achieve darkness is to keep one’s mind still and quiet.
Nibbana is inside each person. But it is hidden by darkness despite the fact that it is incomparably glorious and bright. This situation is akin to dark clouds hiding the sun. The sun is there, but one cannot see it until the clouds have moved on.
The darkness in one’s mind is hiding the Path and Fruit of Nibbana. One must endeavor to remove the darkness in one’s mind and the only way to achieve this is to keep one’s mind still and quiet. One must bring one’s mind which is constantly running here and there to a standstill. And in time, the darkness in one’s mind will gradually disappear. And then one will be able to see the Path leading towards Nibbana. Now that you know the Path and Fruit of Nibbana is inside you, it remains for you to endeavor to find it.
驱除黑暗的唯一方法是静和定
涅槃之道就在我们体内。尽管它很光亮,可惜却被内在的黑暗(烦恼)遮蔽,就像乌云遮住了太阳。虽然太阳是存在的,可是却看不见,只有将乌云移开,才能看见太阳的光芒。内在的烦恼遮蔽了我们的智慧,我们需要去除我们的烦恼,而唯一的方法是静和定。让漂浮不定的心静定下来,内在的黑暗将会慢慢消失,最终得见涅槃之道。我们知道涅槃之道就在体内,所以要向内寻找,而不是向外寻找。
พระนิพพานเป็นบรมสุข
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกพระองค์ตรัสเหมือนกันหมดว่า นิพฺพานํ ปรมํ วทนฺติ พุทฺธา พระนิพพานเป็นเยี่ยม แล้วยังตรัสอีกว่า นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ พระนิพพานเป็นบรมสุข หมายความว่า สุขทั้งหลายมี สุขเล็ก สุขน้อย สุขปานกลาง สุขมาก จนกระทั่งถึงบรมสุข พระนิพพานเป็นบรมสุข เป็นสุขที่ไม่มีวันเปลี่ยนแปลง เป็นนิรันดร ในภพสามไม่มีอะไรเป็นบรมสุข มีแต่สุกเกรียม สุกไหม้ตราบใดที่ยังอยู่ในวัฏสงสาร คือ ในกามภพ รูปภพ อรูปภพ ชีวิตยังตกอยู่ในอันตราย สุขก็ชั่วคราว ไม่จีรังยั่งยืน เขาเรียกว่าสุขกำมะลอ หรือสุขปลอม ๆ คือ สุขประเดี๋ยวประด๋าวเท่านั้น อยู่ในสภาพที่สบายกายสบายใจ ประเดี๋ยวประด๋าว เพราะฉะนั้น พระนิพพานจึงต้องทำให้แจ้ง
Nibbana is supreme happiness
Every Buddha says the same thing, “Nibbanan paraman vadanti”: Nibbana is sublime; and “Nibbanan paraman sukhan”: Nibbana is supreme happiness. It means that happiness has many levels and sizes from small happiness, moderate happiness, big happiness to supreme happiness. The happiness in Nibbana is supreme happiness. The happiness in Nibbana does not change. It is eternal. Nothing in the Three Spheres of Existence can give one supreme happiness. For as long as one is still trapped inside the round of rebirth, that is, in the Sense Sphere, the Form Sphere, and the Non-Form Sphere, one’s life is still in great danger. And what happiness one experiences is fleeting and momentary.Therefore, one must make clear the Path and Fruit of Nibbana.
涅槃第一乐
诸佛说:“涅槃为最胜”,亦说“涅槃第一乐”。快乐可分为微小的快乐、一般的快乐、中等的快乐和最大的快乐(至乐)。涅槃之乐是至乐,是不退转之乐,是永恒之乐。在三界之中没有至乐,只有缓解痛苦的微小之乐。只要还在欲界、色界和无色界中轮回流转,生命就依然深陷险境,快乐也是短暂的,无法持久,是虚假的快乐。那只是暂时的快乐,让身心短暂的感觉愉悦而已。因此,我们要努力证得涅槃。
พญามารกลัวกายมนุษย์
การเกิดมาในภพสามนี้ ไม่ว่าจะเกิดไปเป็นอะไรก็แล้วแต่ล้วนชั่วคราวทั้งสิ้น และเราก็เกิดกันมานับภพนับชาติไม่ถ้วน หมุนเวียนเกิดกันมาเกือบครบทุกอย่างแล้วนะ การเกิดมาเป็นมนุษย์นี้ยากมาก ๆ พญามารเขากันนักกันหนาไม่อยาก
ให้มนุษย์มาเกิด เขากลัวกายมนุษย์ เพราะกายมนุษย์แข็งแรง สามารถไปเชื่อมโยงกับผู้รู้ภายในและทำงานไปพร้อม ๆ กันได้ กลัวมนุษย์จะขจัดกิเลสอาสวะให้หมดสิ้น แล้วจะไปเห็นสิ่งที่เขาบังคับสรรพสัตว์และสรรพสิ่งเอาไว้กลัวมนุษย์จะไปรู้ไปเห็นตรงนี้มาก ๆ เลย
Phya Mara Fear the Human Body
Each rebirth inside the Three Spheres of Existence lasts only for a time. And each one of us has been reborn countless times and in just about every realm of existence.
Rebirth in the Human Realm is extremely rare. Phya Mara do their utmost to prevent rebirth in the Human Realm because they fear the human body. The reason is that the human body is sturdy and it has the ability to connect with countless Dhammakaya and to work alongside them. Phya Mara fear that human beings will be able to extinguish all defilements and see the things they send to control them as well as other living beings. They fear humans discovering the truth about them.
魔罗畏惧人身
在三界中,相对于漫长的轮回,无论转世成什么,都只是很短暂的。而且,我们经历了无数次出生,曾轮回转世为六道内的种种有情众生。
生而为人是非常难的。魔罗想尽办法不让众有情生而为人,他畏惧人身。因为人身健康强壮,可以证入内在的法身,并用法身断除烦恼。魔罗害怕人类断除烦恼,知见束缚众有情的业报法则,非常害怕人类觉悟。
พญามารทำร้ายทั้งกายและใจ
เพราะฉะนั้น จึงพยายามทำทุกวิถีทางให้กายมนุษย์เสื่อมคุณภาพลงไปเรื่อย ๆ เอาตายได้เอาตาย เอาตายไม่ได้ก็เอาพิการ เอาพิการไม่ได้ก็เอาให้ลำบาก ให้วน ๆ เวียน ๆ กันลำบาก หรือให้เพลิน ๆ ตรึงให้ไปติดในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมณ์ จะได้ไม่มีเวลาและอารมณ์มาทำหยุดทำนิ่งเพราะถ้าขืนให้ทำหยุดทำนิ่ง ไม่ได้ เดี๋ยวสว่าง พอสว่างก็เห็น พอเห็นก็รู้ พอรู้เดี๋ยวรวมกันลุย
Phya Mara try to harm the human body and mind
Therefore, Phya Mara try every possible way to harm the human body. If they can kill anyone, they do. If not, they try to injure a person so that he becomes physically impaired. Or they try to make one suffer problems and hardship. Or they drive one to be addicted to physical forms, sounds, smells, tastes, contacts, and mind-objects so that one will have neither the time nor the mood to keep one’s mind still and quiet. If they allow one to keep one’s mind still and quiet, one may see the brightness and know the Truth. And then humans will come together as one and be in the position to retaliate and fight against them together.
魔罗试图伤害人的身心
因此,魔罗会想尽一切办法使人身日渐退化、衰弱:如果有机会致死便致死,不能致死便致残,不能致残便设置重重困难;让人在苦难中循环,或沉迷于色、声、香、味、触、法,使人没有时间和机会来打坐修行。如果我们积极的打坐修行,内在的光亮就会生起,就会生起清晰的知见,之后大家就会一起对抗魔罗。
พญามารใช้กฎแห่งกรรมบังคับ
พญามารกลัวตรงนี้แหละ ดังนั้นทำให้เสื่อมด้วย และเอากฎแห่งกรรมมาบังคับอีก มาบังคับทางกาย ทางวาจา ทางใจ กระดิกกระเดี้ยกันไม่ได้เลยเพื่อให้ใจหมอง พอหมองแล้วเขาก็เซ็ตโปรแกรมดึงดูดไปสู่ภพภูมิของอบายในมหานรก อุสสทนรก ยมโลก เปรต อสุรกาย สัตว์เดรัจฉาน เป็นไปตามขั้นตอน กว่าจะหลุดพ้นมาได้ก็หืดขึ้นคอเลย ยาวนานมากแม้มาเป็นมนุษย์ก็ลำบาก ลำบากกันตั้งแต่เกิดเลย แต่ตอนนี้เราลืมกันไปแล้ว ต้องกิน ต้องนอน ต้องขับถ่าย ยิ่งโตขึ้นความลำบากก็ยิ่งมากขึ้นเรื่อย ๆ
ลำบากเรื่องการศึกษาเล่าเรียน ความเป็นอยู่ การทำมาหากิน การครองเรือน ความแก่ ความชรา ความเจ็บไข้ได้ป่วย สารพัดเลย
Phya Mara use the Law of Kamma to control
This is what Phya Mara fear. They not only try to harm one’s body and mind but they also use the Law of Kamma to control one’s body, speech, and mind. They try to make one’s mind gloomy and then the program is set to pull one to be reborn in the States of Unhappiness, namely, the Hell Realm of Mahanaraka, the Hell Realm of Ussadanaraka, the Hell Realm of Yamaloka, the Peta Realm, the Asurakaya Realm and the Animal Realm. By the time one can leave the States of Unhappiness, a very long time has already been wasted.
When one is finally reborn in the Human Realm, one’s life will be plagued with hardship from the moment that one was born which is now a forgotten memory. One must eat, sleep, defecate, etc. Hardship grows with one’s physical growth. One must encounter hardship in school, in earning a living, in having a family, in the forms of aging and sickness. You name it!
魔罗用业果法则控制众生
魔罗就担心这一点,所以不仅让人身日渐退化衰弱,还用业果法则紧紧的束缚着人的身、口、意,使心灰暗浑浊。设置各种程序使心浑浊的人趣向恶道,转世大地狱、小地狱、阴间、饿鬼道、阿修罗道或畜生道。按照魔罗设定的程序,想要脱离恶道,需要历经极其漫长的时间。
即使生而为人也苦,从出生开始便如此,只是我们现在忘记了。每天忙于生计和琐事,年纪越大越苦:要努力的学习,辛苦的谋生,全力的照顾家庭,还有,我们还在一天天的衰老,并遭受病痛的折磨等等。
ชีวิตเราล้วนต้องเผชิญกับความทุกข์และความเจ็บปวด
เราลองนึกดูให้ดี ชีวิตของเราล้วนแต่อุดมไปด้วยความทุกข์ทรมาน รวยความทุกข์ทรมาน ถ้าความทุกข์นั้นหนักหนาตอนนั้นเราก็สาหัส แต่พอผ่านไปได้หน่อยเดียวเราก็ลืม จนชักจะเคยชิน แต่เดี๋ยวมันก็มาใหม่อีกแล้ว กลุ้มอีกแล้ว ชีวิตก็เป็นอย่างนี้ มีแต่หงุดหงิดกับเลิกหงุดหงิด ความสุขไม่ค่อยจะเจอ เพราะเหตุนี้เราจึงต้องทำพระนิพพานให้แจ้ง
Life is filled mostly with pain and suffering.
If one really thinks about it, one will find that life is filled mostly with pain and suffering. Some problems may be critical but the less serious ones, one tends to get used to them. It seems that if it is not one thing, then it is another over and over, again and again. But that’s life, one says.
There seems to be only frustration or the absence of frustration. Happiness very rarely comes one’s way. It is for these reasons that one must make clear the Path and Fruit of Nibbana.
人生充满了痛苦与磨难
我们可以想一想,其实我们的生活充满了各种苦,可以说是苦不堪言。痛苦不堪的时候,我们会感觉身心俱疲;但挺过去后,我们又好了伤疤忘了疼,然后慢慢习惯。可不久苦还会卷土重来,我们会再次痛苦不堪。人生就是如此,只有受苦受难和忍辱负重,很少得到快乐,所以我们要精进证得涅槃。
กฎแห่งไตรลักษณ์ และโลกธรรม ๘
แต่ถ้าจะอยู่ในวัฏสงสารต้องศึกษาให้เข้าใจว่า ในวัฏสงสารนี้มีกฎเกณฑ์อะไรบ้าง เช่น กฎแห่งไตรลักษณ์ คือ ทุกสิ่งในโลกไม่ว่าจะเป็นคน สัตว์ สิ่งของต้องเจอสภาพความไม่แน่นอน เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มีเกิดขึ้น ตั้งอยู่ เสื่อมสลายไป เปลี่ยนแปลงจากเด็กไปวัยรุ่น ไปหนุ่มสาว เข้าสู่วัยกลางคน จนกระทั่งวัยชรา แล้วก็ตายในที่สุด ตกอยู่ในโลกธรรม ๘ คือ มีลาภ เสื่อมลาภ มียศ เสื่อมยศ มีคนสรรเสริญ มีนินทา มีสุข มีทุกข์
Law of the Three Characteristics states and the Eight Worldly Conditions
But if one must continue to undergo the round of rebirth, it would behoove one to understand what laws are operating in one’s life. For example, the Law of the Three Characteristics states that everything on earth, be it a human being, an animal or a thing, is characterized by impermanence, the inability to remain the same, and the absence of true selfhood. Everything comes into being, exists for a time, and comes to an end. A person changes from a child to a teenager, from a teenager to a young adult, from a young adult to a middle-age adult, and from a middle-age adult to an old adult, and ultimately, one dies. Life on earth is governed by the Eight Worldly Conditions. There is gain and there is loss; there is title and position and there is the loss of title and position; there is praise and there is blame; there is happiness and there is unhappiness.
三相法则与世间八法
如果仍在轮回中流转,就要明白轮回的准则,例如三相法则,即世间的人、事、物皆无常,一直在不断变化,具备生、住、灭的特征。譬如人的年龄,由童年到青年,再到中年和年老,最后往生。亦受制于世间八法,即有得利、有衰损、有赞誉、有诋毁、有称赞、有讥讽、有乐、有苦。
ต้องละชั่ว ทำความดี และทำใจให้ผ่องใส
เพราะฉะนั้นเราต้องยอมรับว่า ถ้ามาอยู่ในวัฏฏะต้องเจออย่างนี้แล้วก็เจอกฎแห่งกรรมที่เขาทำเอาไว้ บังคับด้วยความโลภ ความโกรธความหลง ให้ฆ่า ให้ลักทรัพย์ ให้ประพฤติผิดในกาม ให้พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ พูดส่อเสียด ให้ดื่มสุราเมรัย ยาเสพติดต่าง ๆ เหล่านี้ เป็นต้น และยังมีการพนัน มีอะไรอีกสารพัด ซึ่งมีภัยทั้งสิ้น แล้วก็มีภพมารองรับ และเราต้องเจออย่างนี้บ่อยๆ
เพราะฉะนั้น ถ้าจะอยู่ในวัฏสงสาร เพราะกลัวว่าไปพระนิพพานแล้วไม่มัน ไม่ม่วน ซึ่งเราคิดไปเอง เพราะเราไม่รู้จักพระนิพพาน ที่จริงถ้าไปถึงตรงนั้นแล้ว เราจะรักพระนิพพานมาก ๆ เลย แต่จะไปถึงตรงนั้นต้องเบื่อในภพสามก่อน และถ้าจะอยู่ต้องอยู่ให้เป็น คือ ต้องละชั่ว ทำความดี และทำใจให้ใส ๆในระดับที่อยู่ในภพสามและสร้างบารมีเรื่อยไป มีมโนปณิธานที่ยิ่งใหญ่ คือจะ
ไปสู่ที่สุดแห่งธรรม
Abstaining from all things unwholesome,performing only wholesome deeds, and keeping one’s mind clear and bright
Every being is governed by the Law of Kamma. Human beings are driven by greed, anger, and delusion. They are driven to kill, steal, commit sexual misconduct, use offensive language, say nonsensical things, use divisive speech, consume alcohol and other addictive substances, engage in gambling activities, etc. In other words, human beings are driven to commit every form of unwholesome deeds and have to pay for their ill consequences in the States of Unhappiness.
Some people think that it is no fun going to Nibbana. They think that way because they have no idea what Nibbana is really like. However, if they are fortunate enough to be able to attain Nibbana, they will fall in love with it. But to attain Nibbana, one must first grow tired of life in the Three Spheres of Existence. And while one still has to undergo the round of rebirth, one must know how to live in it by abstaining from all things unwholesome, performing only wholesome deeds, and keeping one’s mind clear and bright to the extent that one can continue to pursue Perfections lifetime after lifetime. And one must have the greatest aspiration which is the attainment of the Uttermost of Dhamma.
诸恶莫作,众善奉行,自净其意
所以,当我们仍在轮回中,就会遇到这些。与此同时,我们还受制于魔罗的业果法则,即受贪、嗔、痴的控制,从而造作杀生、偷盗、邪淫、恶口、两舌、绮语、饮酒、吸毒、赌博等恶业。往生之后就转世于对应的恶道,如此循环不息。
一直还在轮回中,可能是担心涅槃不好。这是我们自己想的,而没有真正了解涅槃。若真到达涅槃彼岸,我们一定会乐不思蜀。但到达那里前,必须对三界的生活感到厌倦。若仍在三界中,就必须如法生活:诸恶莫作,众善奉行,自净其意。更近一步,就是一直勤修波罗蜜,立下宏愿——到达法的究竟。
ใจติดแล้วจะติดใจ
ในฤดูกาลเข้าพรรษา ต้องตั้งใจทำความเพียรกันให้ดี เพราะจะหาช่วงจังหวะอากาศดี ๆ อย่างนี้ไม่ใช่ง่าย ถึงแม้ฝนฟ้าจะตก เจอละอองฝนอาจทำให้เป็นหวัดบ้าง แต่ก็ยังดีที่ว่ามันไม่หนาวไม่ร้อนเกินไป คุณยายอาจารย์มหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง ท่านชอบฤดูนี้มาก ท่านบอกว่ามันหนาวก็ไม่หนาว ร้อนก็ไม่ร้อน นั่งดีจังเลย เหมาะสำหรับผู้ที่ฝึกฝนใหม่ที่ยังมีความจำเป็นเกี่ยวกับเรื่องดินอากาศฟ้า แต่สำหรับคนที่ทำเป็นแล้วไม่ขึ้นอยู่กับดินอากาศฟ้า เพราะใจติดตรงกลางแล้ว จะหกคะเมนตีลังกาอย่างไรก็ไม่หลุด เหมือนเสื้อที่สวมใส่จะขยับตัวแค่ไหน หกคะเมนตีลังกาเสื้อก็ยังอยู่กับตัวเรา ติดเหมือนเป็นอวัยวะส่วนหนึ่ง เหมือนเราหกคะเมนตีลังกาอย่างไรจมูกก็ยังติดอยู่บนใบหน้า หูก็ยังติดอยู่ข้าง ๆ ไม่ใช่พอหกคะเมนตีลังกาแล้วจมูกร่วง
เพราะฉะนั้น คนที่ใจเขาติดแล้วจะไม่ขึ้นอยู่กับกาลเวลา ภูมิอากาศภูมิประเทศ แต่สำหรับผู้ฝึกใหม่ก็ยังมีความจำเป็น ที่ใจยังไม่ติด เดี๋ยวหลุด เดี๋ยวติด บางทียังไม่เคยติดเลย เมื่อไม่เคยติด มันก็ไม่เคยหลุด แต่ว่ามายังไงก็ไม่รู้เดี๋ยวก็อยู่ในตัว เดี๋ยวก็อยู่นอกตัว ลองให้ใจติดสักครั้งเถิด แล้วจะติดใจ ติดอะไรก็ไม่สู้ติดศูนย์กลางกาย มันสว่าง มีความสุข มีปีติ มีความเบิกบาน
Once You Can Keep Your Mind Still, You Will Be Hooked.
It is the Rains-Retreat season for performing wholesome deeds because the weather is rather good. The rain may cause some people to catch a cold. But it is better than being too hot or too cool.
Our Master Nun, Khun Yai Chandra Khonnokyoong, was really partial to the rainy season. She said that it was not too hot or too cool, therefore, suitable for beginning practitioners who are still affected by the weather. But for the accomplished practitioners, the weather plays no role at all because their mind is permanently fixed to the center of their body. No physical movements, not even a somersault can cause their mind to move from the center of their body. It is like a shirt that one has on, it stays on one’s person whether one is jumping or doing a somersault. It is like one’s nose which stays in place whether one is jumping around or doing a somersault.
For an accomplished practitioner of Vijja Dhammakaya, the weather, the time, the topography mean nothing. But these things still matter for beginning practitioners whose mind is not yet fixed to the center of their body. It is still going every which way. However, if one can keep one’s mind still just once, one will be hooked. Nothing can be better than fixing one’s mind to the center of one’s body at all times. There, one will experience brightness, happiness, joy and cheerfulness.
心安生欢喜
雨安居期间,大家要精进修行,因为有如此适宜的天气并不容易。即使下雨天可能会感冒,但天气不冷不热正适宜,詹老奶奶就很喜欢这个季节。
奶奶说这个季节不冷不热,非常适合修行打坐,特别是对于初学者,他们容易受天气和环境的影响。但对于那些修行经验丰富的人来说,则不容易受到影响。因为他们的心稳固安住在身体中心,即使是电闪雷鸣、倾盆大雨,心都不为所动;也如同身上穿的衣服,无论我们怎样摇晃,衣服都不会脱落;也如同身体的一部分,或者无论我们怎样摇晃,鼻子、耳朵依然在;而不是用力摇晃,鼻子就掉了。
因此,心稳固安住者,不会受时间、天气和环境的影响。但对于初学者来说,就有这个原因。因为他们的心还未安住,时而飘离,时而稳定。有的甚至从来都没有安住过。若没有安住,也就不会觉察到飘离。心有时在体内,有时在体外。如果能够让心安住一次,就会喜欢这种状态。安住在哪里,都比不上安住在身体中心。会看到内在的光亮,感觉快乐、欢喜和轻安。
สั่งสมบุญให้มากและหมั่นฝึกสมาธิ
ต้องใช้วันเวลาในพรรษานี้ให้คุ้มค่า ซึ่งอากาศดีมาก ๆ ไม่ร้อน ไม่หนาว ไม่อ้าว เหมาะในการปฏิบัติธรรม ทำความเพียรเรื่อยไป อย่าท้อ อย่าขี้เกียจ ไม่ใช่พอนั่งแล้วมืด เมื่อย ฟุ้ง ก็เลยคิดไปเองว่าเราบุญน้อยมั้งจึงไม่ได้เห็นพระกับเขาบ้าง ที่จริงไม่ใช่บุญน้อย แต่นั่งน้อย แล้วนอนเยอะ ต้องนั่งเยอะ ๆ แล้วจะได้อย่างแน่นอนเชื่อเถอะ คนอื่นเขาทำได้ทำไมเราจะทำไม่ได้ ทำไม่ได้มีอยู่ประการเดียว คือ ไม่ได้ทำ ฝึกไปเรื่อย ๆสักวันหนึ่งใจก็หยุดนิ่งเอง ไม่จำกัดกาลเวลา หยุดเช้าเห็นเช้า หยุดสายเห็น สาย บ่าย เย็น ค่ำ กลางคืน ดึก แจ้ง รุ่งสาง หยุดตอนไหนก็เห็นตอนนั้นเป็นอกาลิโก
มนุษย์เราเหมือนหุ่นให้บุญและบาปเชิด เหมือนหุ่นกระบอกตามโรงละครที่เขาเชิดเป็นตัวนั่น ตัวนี่ ตัวโน่น มีบทบาทต่าง ๆ นานานั่นแหละ เพราะฉะนั้นเราก็ต้องสั่งสมบุญให้มาก ๆ ถ้าหากเรามีบุญมาก อุปสรรคก็น้อยลงไปเรื่อย ๆ ความสมหวังในชีวิตทั้งปัจจุบันและในอนาคตก็มีมากเป็นทับทวี
Accumulated Merit and Meditation Practice
Everyone must spend each day in a worthwhile manner. The air is quite mild. It is not too hot, not too cool, and not too humid. It is just right for practicing meditation. So, continue practicing. Do not be discouraged or lazy. Just because all one can see is darkness and just because one feels achy and restless, it does not mean that one possesses a small amount of merit and that one will never be able to see the Dhammakaya. The fact is not that one possesses a small amount of merit but rather that one spends little time practicing meditation and a lot of time sleeping.
Keep on practicing and you will definitely see the Dhammakaya. If others can do it, so can you. The only reason you cannot is because you do not practice meditation. Keep on practicing and one day your mind will come to a standstill. If you can do it in the morning, you will see the Dhammakaya in the morning. Whatever time you can do it, you will see the Dhammakaya at that time.
Human beings are like a puppet whose strings are being pulled by merit and demerit. Therefore, it is imperative that one accumulates as much merit as possible. If one possesses a large amount of merit, obstacles in life will gradually disappear. And one will have a much better chance at meeting with wish fulfillment here and now as well as in future existences.
是打坐少而不是功德少
要让这个雨安居过得有价值,天气不错,不冷不热,非常适合修行,要精进的打坐。不要气馁或懒惰,也不要因为酸痛、散乱或一片黑暗,而认为自己功德少,不像别的人那样能看见佛。其实不是因为自己功德少,而是因为打坐少,睡太多。相信师父,如果多打坐,我们也可以获得很好的禅修经验。人家做得到,我们为什么做不到呢?做不到只有一个原因,那就是没有做。经常修习打坐,心总有一天会静下来,没有时间限定。早上入定就早上见,晚上入定就晚上见,什么时候入定就什么时候见,没有时间限定。
人类就像被善业和恶业控制的木偶,以各种各样的角色在剧场里演出。因此,我们要勤修功德。如果功德多,障碍就持续减少,当下和未来的生活会越来越好。
บุญคือพลังงานแห่งความบริสุทธิ์
บุญคือพลังงานแห่งความบริสุทธิ์ที่จะขจัดพลังงานแห่งความไม่บริสุทธิ์ ให้หมดสิ้นออกไปจากกาย วาจา ใจ ธาตุธรรมเห็นจำคิดรู้ของเรา จะได้บุญมากนอกจากทำทานรักษาศีลแล้ว การทำใจหยุดนิ่ง ๆ ตรงกลางกายฐานที่ ๗ ถ้าชัดใสสว่างเมื่อไรแล้วบุญจะมาก หลักอยู่ตรงนี้
Merit is the energy of purity
Merit is the energy of purity which has the power to remove the energy of impurity from one’s body, speech, mind, Dhamma element, sight, memory, thought, and cognizance. Merit can be earned by giving alms, observing the Precepts and keeping one’s mind still and quiet at the seventh base in the center of one’s body. A large amount of merit will be earned if one’s mind is clear and bright. This is how merit works.
功德是清净的能量
功德是一种纯净的能量,可以清除身、口、意中不纯净的能量,以及净化我们的受、想、行、识。除了布施和持戒能获得大功德外,让心静定在体内中心第七点,心透明光亮之时,是非常大的功德。
ใจหยุด ใจใส ใจจะสูง
เราลองสังเกตดูว่า วันหนึ่งตั้งแต่ตื่นนอนกระทั่งเข้านอน ใจเราสูงหรือใจเราไม่สูง โดยวัดดูจากกิจกรรมที่เราทำตั้งแต่ตื่นนอนกระทั่งเข้านอน สิ่งที่ผ่านมาทางความคิด คำพูด การกระทำ ทางกาย ทางวาจา ทางใจ ดูว่ามีความคิดอะไรที่วนเวียนอยู่ในใจของเรา สิ่งที่เราพูดออกมา หรือสิ่งที่เราทำเป็นเครื่องวัดว่าใจเราใสหรือไม่ใส แหล่งที่มาของความคิดเป็นอย่างไร ให้สังเกตตรงนั้น ยิ่งถ้าชาวโลกทั่วไปแล้วใจจะไม่ค่อยใส วัน ๆ คิดแต่เรื่องทำมาหากิน หาเงินหาทอง หาทรัพย์ ใช้ทรัพย์ สนุกสนานเพลิดเพลิน แล้วก็มีหลายสิ่งหลายอย่างที่ทำให้ใจไม่ใส เช่น เหล้า เบียร์ บุหรี่ ยาเสพติด ความสนุกสนานเพลิดเพลิน การพนันบ้าง สารพัด ใจจึงไม่ค่อยใสเท่าไร ใจต้องใสใจจึงจะสูง ตรงนี้สำคัญนะ
When One’s Mind Is Still, It Will Be Clear and Elevated
Try observing your mind to see from the time you get up until the time you go to bed whether or not your mind is elevated. You can measure this by looking at all of your activities, all the things that come out of your thoughts, words, and deeds, and all the thoughts that come to your mind.
What you say or what you do is the tool that can be used to measure whether or not your mind is clear. People in general think mostly about earning a living, earning money, accumulating material wealth, spending money, and the things that they enjoy doing. There are things that prevent their mind from being clear; things like hard liquor, beer, cigarettes, drug, gambling, fun and games, etc. All sorts of things in their life prevent their mind from being clear. One’s mind must be clear for it to be elevated. This is an important point to remember.
清净光亮的心自然志向高远
我们可以试着观察,从早上醒来到晚上入睡,我们的心是否清净明亮。从一整天的行为去衡量,也就是由我们的身、口、意所展现出来的行为、语言和想法。
我们内心的各种想法,所说的话语,或者我们的行为是衡量心是否清净的标准。要留意,我们产生各种想法的原因是什么。特别是世俗的普通人,心难以清净下来。每天想着维持生计,赚钱养家,各种娱乐享受。这其中有许多东西令心无法清净,例如:烟、酒、毒品、夜生活、赌博等等。而只有清净的心,才会志向高远。
สร้างบารมีทุกอนุวินาทีทั้งชาติทุกชาติ
พระรัตนตรัยในตัว คือ พระธรรมกายซึ่งมีอยู่ในตัวของทุก ๆ คนในโลก การได้เข้าถึงพระรัตนตรัยในตัวนี้ จะทำให้ชีวิตของเราสมบูรณ์ มีความปลอดภัยแล้วก็มีชัยชนะ ถือว่าสมหวังในชีวิตในระดับหนึ่ง เพราะพระรัตนตรัยจะนำเราข้ามพ้นวัฏสงสาร ไปสู่ฝั่งพระนิพพานได้ ถ้าหากเรามีเป้าหมายสูงสุดที่จะไปสู่ที่สุดแห่งธรรม ก็จะต้องเริ่มต้นจากพระรัตนตรัยภายใน ต้องได้ตรงนี้ มีพระธรรมกายภายในปรากฏชัดใสแจ่มทั้งหลับตาลืมตา อย่างนี้ชีวิตจึงจะปลอดภัยในสังสารวัฏเพราะการไปสู่ที่สุดแห่งธรรมนั้นยาวนาน จะต้องมีบารมีมาก บารมีน้อย ๆ ไปไม่ได้ บารมีจะมากได้ก็ต้องสร้างให้มาก สร้างกันทุกชาติและทั้งชาติ ตั้งแต่เกิดไปทุกอนุวินาทีจนกระทั่งละโลก
Pursuing Perfections Every Microsecond
of One’s Life throughout Every Existence
The Inner Triple Gem or the Dhammakaya is already there inside everyone’s body. The attainment of the Inner Triple Gem will make one’s life complete, safe, and victorious. It means that one’s life-goal has been achieved to a certain level. The Inner Triple Gem can lead one across the round of rebirth to the shore of Nibbana.
If your ultimate life-goal is to attain the Uttermost of Dhamma, you must begin with the Inner Triple Gem. You must first be able to see the Dhammakaya inside you clearly and brightly at all times. And your life in the round of rebirth will be safe as you continue to work toward the attainment of the Uttermost of Dhamma. It is a very long journey and one needs to possess a high level of Perfections. One must pursue Perfections lifetime after lifetime and every lifetime from the microsecond that one is born to the microsecond that one leaves this world.
生生世世时时刻刻修波罗蜜
内在的三宝即是每个人体内的法身,证入内在的三宝将令我们的人生圆满。因为三宝将引领我们安全的脱离轮回,胜利抵达涅槃彼岸。如果我们的志向是到达法的究竟,也始于证得内在的三宝。无论睁眼或闭眼,内在的法身都能清晰的显现。只有如此,轮回中的我们才会安全。因为我们要历经漫长的时间,才能到达法的究竟,需要具足圆满的波罗蜜,波罗蜜少则无法到达。想圆满波罗蜜,生生世世时时刻刻分分秒秒都要勤修波罗蜜。
ต้องสร้างบารมี ๑๐ ทัศ
การสร้างบารมีทั้งชาติตั้งแต่เกิดกระทั่งตายและทำทุกวัน ฟังดูแล้วไม่น่าจะเป็นไปได้ แต่ความจริงเป็นไปได้ เพราะว่าเราจะต้องสร้างบารมี ๑๐ ทัศ ๓๐ ทัศ ให้บริบูรณ์ ทานบารมี ศีลบารมี เนกขัมมบารมี ปัญญาบารมี วิริยบารมี ขันติบารมี สัจจบารม อธิษฐานบารมี เมตตาบารมี และอุเบกขาบารมี บารมี เบื้องต้น ท่ามกลาง เบื้องปลายให้บริบูรณ์ ซึ่งย่อ ๆ ก็คือ ทาน ศีล ภาวนา นั่นเอง จะต้องมีพื้นฐานใจที่มั่นคง บริสุทธิ์ สะอาด จึงจะได้บุญมาก พื้นฐานของใจที่มั่นคง คือต้องเข้าถึงพระธรรมกายในตัวนั่นเอง
Pursue the Ten Perfections
One may wonder how it is possible to pursue Perfections from the time one is born until the time that one dies. But this is indeed possible. One is required to pursue the Ten Perfections at all three levels. The Ten Perfections include Alms-Giving Perfection, Morality Perfection, Renunciation Perfection, Wisdom Perfection, Endeavor Perfection, Patience Perfection, Truthfulness Perfection, Loving-Kindness Perfection, and Equanimity Perfection. These must be pursued at the basic level, the intermediate level, and the ultimate level. These Perfections can be summarized as alms-giving,Precepts observation, and meditation practice. One’s mind must be steadfast, pure, and clean in order to earn a vast amount of merit. And one’s mind can be steadfast only after one has attained the Dhammakaya.
勤修十波罗蜜
一生勤修波罗蜜,从出生到命终永不停歇,听起来感觉不可能,事实上做得到。因为我们要努力圆满十波罗蜜、三十波罗蜜,包括:布施波罗蜜、持戒波罗蜜、出离波罗蜜、智慧波罗蜜、精进波罗蜜、忍耐波罗蜜、真实波罗蜜、决意波罗蜜、慈波罗蜜、舍波罗蜜等;又可分为普通波罗蜜、中等波罗蜜、究竟波罗蜜。简单地说就是布施、持戒和禅定。而这些的基础就是心的安稳、纯洁、清净,可获得无量功德。而想拥有安稳的心,就要证入内在的法身。
บุญมากมายประมาณมิได้
ถ้าเราทำบุญด้วยใจที่เข้าถึงพระธรรมกายแล้ว ทำน้อยก็ได้มาก ทำมากก็ได้มากยิ่งขึ้นเป็นทับทวี คำว่า “ทำน้อย ได้มาก” มากในระดับขนาดไหน ขนาดทำน้อย ๆ ถ้าทำด้วยพระธรรมกาย ยังได้ในระดับอสงไขยอัปปมาณัง ถ้าทำมากแล้วได้มากกว่านั้นขึ้นไปอีก เพราะฉะนั้นการเข้าถึงพระธรรมกายภายในจึงเป็นหลักสำคัญอย่างยิ่งของการสร้างบารมี หรือการอยู่เป็นสุขในภพนี้หรือภพไหน ๆ
Incalculable merit
If one makes merit after having attained the Dhammakaya, one can earn orders of magnitude more merit than when one has not yet attained the Dhammakaya given the same merit-making activity. In other words, one may earn just a small amount of merit but the fruit will be so great as to be incalculable. If one earns a lot of merit, the fruit can only be that much greater. Therefore, whichever realm of existence rebirth takes place, the attainment of the Dhammakaya is crucially important to one’s pursuit of Perfections.
功德无量
如果我们证得法身后修功德,做少得多,做多得更多,即成几何倍数的效果。“做少得多”,多到什么程度?若在证得法身后修功德,即便做得少,得到的功德也是如阿僧祇一样无法计算的;如果做得多,就会得到更多。因此,证得法身对于修波罗蜜或今生来世的幸福生活都非常重要
ใจที่สว่างใสตลอดเวลาทั้งวัน
ถ้าเราเข้าถึงพระธรรมกายในตัวชัดใสแจ่ม ทั้งหลับตา ลืมตา นั่ง นอน ยืน เดิน นั่งก็สว่าง ยืนก็สว่าง เดินก็สว่าง นอนก็สว่าง หลับตาสว่าง ลืมตาสว่าง จะทำภารกิจอะไรก็สว่างหมด อาบน้ำ ล้างหน้า แปรงฟัน ขับถ่าย สว่าง ตลอดเวลาอย่างนี้ ฐานของใจก็มั่นคง บุญกุศลจะเกิดขึ้นตลอดเวลา จะมีความสุขตลอดในทุกวันที่ผ่านไปตั้งแต่ตื่นนอนกระทั่งเข้านอน เพราะฉะนั้นพรรษานี้จึงได้ให้ชื่อว่าเป็น พรรษาแห่งการบรรลุธรรม ที่เข้าถึงพระ มันมีความจำเป็นอย่างนี้ พระเห็นพระ เณรเห็นพระ โยมเห็นพระ เราจะได้มีบุญกันเยอะ ๆ
Clear and bright mind all day long
If one can attain the Dhammakaya such that one can see Him clearly and brightly whether one is closing or opening one’s eyes, sitting down, lying down, standing, walking, bathing, brushing one’s teeth, being on the toilet, one’s merit will increase all the time. One will be happy all day long from the time one wakes up to the time one goes to bed. This Rains-Retreat is the season for attaining the Dhamma because it is crucially important for everyone to attain the Dhammakaya. It means that the monks can see the Dhammakaya, the novice monks can see the Dhammakaya, and the lay devotees can see the Dhammakaya.
心时时刻刻清净明亮
如果我们证入内在透明光亮的法身,行、立、坐、卧皆光亮,即坐时光亮,行走时光亮,站立时光亮,睡时光亮,醒时光亮。无论在什么状态下都光亮,包括洗澡、洗脸、刷牙、如厕都会光亮。心安定,功德会绵绵不断生起,每天从早到晚都无比快乐。因此,这个雨季安居是一个修行证法的雨安居。出家众得见法身,在家众也得见法身,那么我们必将功德无量。
รหัสผ่านสู่วงบุญพิเศษ
เราได้ศึกษาเรียนรู้ถึงกฎในการเดินทางไปสู่ปรโลกแล้วว่ามันมีรหัสผ่านถ้าจะไปอบายก็ต้องทำบาป เพราะใจเศร้าหมอง ความเศร้าหมองของใจนั่นแหละเป็นรหัสผ่านไปสู่อบาย ถ้าจะไปสู่สุคติโลกสวรรค์ก็ต้องสร้างบุญมาก ๆ ให้ใจผ่องใส ความผ่องใสของใจก็เป็นรหัสผ่านไปสู่สุคติโลกสวรรค์ การที่เราเข้าถึงพระในตัวนั้น ใจเราต้องผ่องใส สะอาด บริสุทธิ์ สว่างไสว เป็นรหัสผ่านไปสู่สุคติ และไปตามภพภูมิที่เราปรารถนาได้ด้วย ถ้าตั้งความปรารถนาจะไปดุสิตบุรี วงบุญพิเศษ ตัวเราก็ต้องให้พิเศษแตกต่างจากปกติของมนุษย์ธรรมดา พิเศษ คือ จะต้องเข้าถึงพระธรรมกาย มีพระธรรมกายปรากฏชัดใสแจ่มอย่างนี้
The Special Code Needed to Enter the Special Merit Zone
You have already learnt that life in the hereafter has special codes. If one wants to be reborn in the States of Unhappiness, then one must commit evil deeds so that one’s mind will be gloomy. And the gloomy mind is the special code needed in order to be reborn in the States of Unhappiness If one wants to be reborn in the States of Happiness, one must earnestly accumulate as much merit as possible so that one’s mind will be bright and clear. And the bright and clear mind is the special code needed in order to be reborn in the States of Happiness.
To attain the Dhammakaya, one’s mind must be bright, clear, clean and pure. Such is the special code needed to be reborn in the States of Happiness and in the realm of one’s wish. If one wishes to be reborn in the Special Merit Zone of the Celestial Realm of Tusita, one must be special, hence, different from ordinary people. Being special here means the ability to attain the clear and bright Dhammakaya.
前往特殊功德圈的通行证
我们透过学习佛法,知道趣向来世需要通行证。如果趣向恶道就造作恶业,因为恶业令心浑浊,浑浊的心是趣向恶道的通行证。如果趣向善道就勤修善业,因为善业令心明亮,明亮的心是趣向善道的通行证。证入内在的法身,心要清净、明亮、纯洁,这是趣向善道的通行证,也可以去往我们所期望到达的境界。如果发愿要趣向特殊功德圈,我们就要有别于常人,努力实现一件特殊之事。这件特殊之事就是证入内在清晰、透明、光亮的法身。
ฝึกใจให้หยุดนิ่งได้ในชีวิตประจำวัน
แม้พระธรรมกายจะมีอยู่ในตัวทุกคน แต่ถ้ายังเข้าไม่ถึง มีก็เหมือนไม่มี เหมือนน้ำใต้ดิน เรารู้ว่ามีน้ำใต้ดิน แต่ถ้าไม่เจาะไม่ขุดไปให้ถึงก็ไม่ได้น้ำมาดื่มมาใช้ พระธรรมกายในตัวก็เช่นเดียวกัน แม้มีอยู่แต่ถ้าหากยังเข้าไปไม่ถึงก็เอามาใช้ไม่ได้ ดังนั้นการเข้าถึงพระธรรมกายจึงเรียกว่าเป็นบุคคลพิเศษ ที่มีรหัสผ่านพิเศษไปสู่วงบุญพิเศษได้ หากตั้งความปรารถนาที่จะไปเพราะฉะนั้น เราจึงจำเป็นต้องเข้มงวดกวดขันตัวเราให้ขวนขวายที่จะฝึกใจให้หยุดนิ่งควบคู่ไปกับการทำภารกิจประจำวัน การทำมาหากิน การครองเรือน หรือการศึกษาเล่าเรียน หรือการทำอะไรที่นอกเหนือจากนี้ เราต้องทำควบคู่กันไป อย่าให้อะไรมาเป็นอุปสรรค มาเป็นข้อแม้ข้ออ้างหรือเงื่อนไขซึ่งเรามักจะใช้คำว่าไม่ว่าง ไม่มีเวลา ที่จริงเวลามีแต่ไม่มีอารมณ์ที่จะทำ
Train your mind to be still and quiet in your daily life
Although the Dhammakaya is inside each human being but if one cannot attain Him, He might as well not be there. It is like underground water, if one knows that there is water underground but one does not dig for it until one can find it, then one cannot make use of the underground water. It is the same way with the Dhammakaya. He is there inside one, but if one cannot attain Him, one will not be able to derive any benefit from Him. Therefore, whoever has the ability to attain the Dhammakaya is considered to be a special person and has the special code to enter the Special Merit Zone of the Tusita Realm if one so wishes.
Therefore, in this Rains-Retreat, it is necessary that you earnestly train your mind to be still and quiet as you go about your daily routine earning a living, looking after the household or going to school or whatever else that you have to do. Do not allow anything to hinder your endeavor. Do not make such excuses as you are busy, you have no time, etc., when actually you have the time but you just don’t feel like practicing meditation.
在日常生活中练习让心静下来
虽然法身存在每个人的体内,但若尚未证得,有也等于没有。这就好像地下的水,我们知道地底下有水资源,但若挖井不够深,也取不到水。同样的道理,虽然法身就在体内,但若尚未证得,也无法利用。因此,证得法身者是极其特殊的人,将如愿获得趣向特殊功德圈的通行证。因此,如果真的想去,我们必须精进修习打坐。我们可以同时兼顾好打坐静心与谋生、照顾家庭、学习或其它的事情。不要让任何事情成为修行的障碍或借口。我们常说自己很忙,没有时间。可事实不是没有时间,而是没有心情修行。
ใจยิ่งสูงก็ยิ่งใกล้พระนิพพาน
วันนี้มืดแต่พรุ่งนี้ไม่แน่ เพราะแม้มืดตื้อมืดมิดก็มีสิทธิ์เข้าถึงธรรมนี่ไม่ใช่คำขวัญหรู ๆ แต่ว่าทุกคนสามารถเข้าถึงได้ ถ้าทำจริง ๆ จัง ๆมีผู้มีบุญท่านหนึ่ง ปฏิบัติธรรมมืดอยู่ ๗ เดือน หลังจากนั้นก็ไม่มืดสว่างมากบ้าง น้อยบ้าง เมื่อท่านทำได้ เราก็ต้องทำได้ ทำได้เมื่อเราได้ทำแล้วก็ต้องทำอย่างสม่ำเสมอ ให้ถูกหลักวิชชา ดังนั้นไม่มีเหตุผลใดเลยที่เราจะไม่ทำหรือทำไม่ได้ ถ้าเราปรารถนาจะสั่งสมบุญเรารู้แล้วว่าเราเกิดมาทำพระนิพพานให้แจ้งและเกิดมาสร้างบารมีสิ่งนี้เป็นหลัก นอกนั้นก็เป็นเรื่องรอง ๆ ลงมา เมื่อเรารู้อย่างนี้เราก็ต้องทำอย่างนี้ จะไปทำนอกเหนือจากนี้ไม่ได้ และเราได้เรียนรู้เพิ่มขึ้นว่าใจยิ่งใสใจก็ยิ่งสูง ใจยิ่งสูงก็ยิ่งใกล้พระนิพพาน ยิ่งใกล้ที่สุดแห่งธรรมเข้าไปเรื่อย ๆ เราก็จะต้องทำใจให้ใสๆ
The more elevated your mind is, the closer you will be to Nibbana.
Today, you may see darkness but it may not be that way tomorrow. Whoever experiences complete darkness still has the opportunity to attain the Dhamma. This is not just a pretty slogan but everyone can attain the Dhamma if only he practices meditation earnestly.
One lay devotee saw only darkness for seven months. But afterward, he was able to experience different levels of brightness, sometimes a low level and sometimes a high level. If he can do it, so can you. You can if you practice meditation regularly, earnestly, and correctly. There is no reason why you should not want to or cannot do it if you wish to accumulate merit.
Now that you know how you are here to make clear the Path and Fruit of Nibbana and pursue Perfections, everything else should take second place. You must endeavor to practice meditation instead of doing something else. And you will learn that the clearer your mind is, the more elevated it will be. The more elevated your mind is, the closer you will be to Nibbana, and the closer you will be to the Uttermost of Dhamma. Therefore, you must endeavor to keep your mind as clear as possible.
心越高尚越接近涅槃
虽然今天打坐时一片黑暗,但明天不一定也是如此。即便一片黑暗,总有一天会证法。这不是一句华而不实的口号,只要精进修习,每个人都可以做到。有一位很有福报的居士,他打坐九个月,一直是一片黑暗。后来,慢慢的光亮起来,时而十分光亮,时而不太光亮。他能做得到,我们也可以,坚持如法地修习,也一定可以做到。所以,如果我们渴望累积功德,就没有理由不做或做不到。
我们知道生来是为了修波罗蜜和证得涅槃。这是人生的主要目标,其他都是次要的。当我们明白这一点后,就不要再浪费时间了。我们进而知道心越清净就越高尚,心越高尚就越接近涅槃,越接近法的究竟。
บุญเป็นบ่อเกิดแห่งความสุขและความสำเร็จ
บุญ คือ พลังงานชนิดหนึ่งที่สะอาดบริสุทธิ์ เป็นบ่อเกิดแห่งความสุขและความสำเร็จในชีวิตทุกระดับ ตั้งแต่ปุถุชนจนกระทั่งเป็นพระอริยเจ้า บุญบันดาล ให้ทุกสิ่งเกิดขึ้น ที่จะทำให้เราสมหวัง พระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ต้องสั่งสมบุญ พระอรหันต์ก็สั่งสมบุญ และก็กลั่นไปเป็นบารมี เป็นรัศมี กำลัง ฤทธิ์ อำนาจ สิทธิ เฉียบขาด ในที่สุดก็สมหวังหลุดพ้นจากกิเลสอาสวะ พ้นจากภพสาม ไปสู่พระนิพพานได้ เราก็จะต้องทำอย่างท่านทำ ท่านทำอย่างไร เราทำอย่างนั้น ท่านเป็นอย่างไร เราก็จะเป็นอย่างนั้น
Merit is the source of happiness and success
Merit is a form of energy and it is pure. It is the source of happiness and success at every level of life from an ordinary person to an Ariya Personage. Merit causes every good thing to happen. Merit enables one’s wishes to be realized. To attain Buddhahood or Arahatship requires the highest levels of accumulated merit which is then condensed into Perfections, aura, strength, supernormal powers, absolute authority and power. Perfections when pursued to the fullest extent enable one to be emancipated from the Three Spheres of Existence and attain Nibbana. All of us must follow in the footsteps of the Lord Buddha and the Arahats. If we do what they do, we will become what they have become.
功德是幸福和成功的源泉
功德是一种纯净的能量,是幸福和成功的源泉,从凡夫到圣人皆如此。功德是一切的基础,可让我们得偿所愿。佛陀和阿罗汉也需要累积功德,然后浓缩为波罗蜜、光芒、力量、神通和权力等,最终解脱烦恼,脱离三界,证入涅槃。他们怎么做,我们就跟着做。他们怎么做到,我们也将那样做到。
เราจะรู้สึกปลอดภัยและอบอุ่นใจเมื่อเข้าถึงธรรมกาย
ถ้าเราเข้าถึงพระในตัวได้เราก็จะมีที่พึ่ง มีความสุขกายสบายใจทันทีที่เข้าถึง เราจะอบอุ่นใจ จะรู้สึกปลอดภัย และพระในตัวนอกจากให้ความสุขทันทีที่ได้เข้าถึงแล้ว ยังเป็นรหัสผ่านไปสู่สุคติโลกสวรรค์ โดยเฉพาะดุสิตบุรีวงบุญพิเศษ ที่เราปรารถนาจะไปกัน ซึ่งจะไปได้นั้นต้องพิเศษแตกต่างจากคนปกติธรรมดาที่เขาไม่มีศีลไม่มีธรรม หรือมัวแต่ทำมาหากิน สนุกสนานเพลิดเพลินวันทั้งวันกายวาจาใจมีแต่เรื่องราวที่เป็นบาปอกุศลผ่านเข้ามาทำให้ใจหมองไม่ผ่องใส มันต้องพิเศษแตกต่างจากนั้น ต้องเข้าถึงพระธรรมกายในตัว ซึ่งมีอยู่แล้วทุกคนในโลก ไม่ว่าจะเชื่อหรือไม่เชื่อ รู้หรือไม่รู้ จะเชื้อชาติ ศาสนา และเผ่าพันธุ์ใดก็ตาม ขึ้นชื่อว่าเป็นมนุษย์แล้วล้วนมีพระธรรมกายทั้งสิ้น ไม่เชื่อก็ต้องลองมาปฏิบัติดู
Attain the Dhammakaya,one will feel safe and secure.
If one can attain the Dhammakaya, one will be instantly happy in both body and mind. One will feel safe and secure. The Dhammakaya besides being the giver of happiness is also the special code needed to be reborn in the Celestial Realm especially the Special Merit Zone of the Tusita Realm. If one wishes to go there, one must be special, hence, different from other people who do not practice righteousness because they are too busily earning a living or having fun. All day long, unwholesomeness passes through their body, speech, and mind such that their mind becomes gloomy, neither bright nor clear. To be special means to attain the Dhammakaya that dwells inside every person whether or not he is aware of Him and regardless of his race and creed. Every human being has the Dhammakaya inside him. If one does not believe in the existence of the Dhammakaya, then one must try to prove His existence by practicing meditation earnestly and correctly.
亲自验证
如果我们证入内在的法身,也就有了依靠。在证入后将感到快乐、温暖和安全。除此之外,他还是趣向天界,特别是趣向特殊功德圈的通行证,这也是我们所期望的。想去到该境界,必须有别于无戒德的凡夫俗子。他们只知道每天忙于生计,沉迷享乐,所想、所说、所做都是恶业,导致心浑浊不清。其实,法身就在每个人的体内,无论相信或不相信,知道或不知道,亦无论是什么国籍、宗教或血统。只要是人类都有法身,不信就去修行验证。
ปัจจัตตัง รู้ได้เฉพาะตน
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงใช้คำว่า เอหิปสฺสิโก เธอจงมาลองทำดูโดยน้อมใจที่แวบไปแวบมาให้เข้ามาในตน โอปนยิโก น้อมเข้ามา ปจฺจตฺตํ รู้ได้เฉพาะตน นี่ก็เป็นเรื่องปกติธรรมดา สมมติเราเอาหัวไปโขกกำแพง จะต้องไปถามคนอื่นไหมว่าผมเจ็บหรือเปล่า ก็ไม่ต้อง กินพริกขี้หนูไป ๑๐ เม็ด ต้องไปถามเขาไหม ผมเผ็ดหรือเปล่า ถ้าไปถามนี่ถือว่าเป็นคนชอบกลนัก มันเป็นปัจจัตตัง รู้ได้เฉพาะตัวเรา พริกไทยเผ็ดแตกต่างจากพริกขี้หนู พริกป่น พริกชี้ฟ้า หรือพริกอะไรก็แล้วแต่ ลองเคี้ยวดูก็รู้เอง เข้าถึงธรรมเหมือนกัน ปฏิบัติธรรมได้เข้าถึงเห็นพระในตัว โอ สุขจังเลย ไม่ต้องไปถามใคร นี่แหละ ปจฺจตฺตํ เวทิตพฺโพ วิญฺญูหิ รู้ได้เฉพาะตัวของเรา
Paccantan: It Has to Be Personally Experienced.
The Lord Buddha uses the term, “Ehipassiko” which means try it, “Opanayiko”, by bringing your mind inside you, “Paccattan”, for it must be personally experienced. This is only logical. Suppose you hit your head against the wall, you need not ask others if it hurts. Suppose you eat ten bird peppers, you need not ask others if it is hot. Such are examples of Paccantan. To find out if different kinds of chili peppers taste differently, you must eat them. The same principle applies to attaining the Dhamma in that one must practice the Dhamma one’s self. Once one can attain the Dhammakaya, one has no need to ask others if one is truly happy. Remember, Paccantan veditabbo vinnuhiti: You yourself will know it.
必须亲身体验
佛陀说透过修行让漂浮不定的心回归内在,才能获得禅定经验,且只有自己才知道那种感受。这很正常,假设自己拿头去撞墙,用得着去问别人:我痛吗。当然不用。自己吃十个辣椒,难道还要去问别人:我感觉辣吗。自己的感受要问人,让人觉得很怪异。自己的感受,自己知道。无论吃胡椒、指天椒还是其他辣椒,自己尝试便知道味道。修行也是一样的道理。只有亲自修习看见内在的法身,才能感受其中的快乐。不用去问别人,需要自己亲自体验。
พระในตัวนั้นสำคัญมาก
ทุกคนจะต้องเห็นพระให้ได้ภายในพรรษานี้ พระในที่นี้ก็คือพระรัตนตรัยในตัว ที่นอกเหนือจากพระรัตนตรัยนอกตัว ซึ่งเราชาวพุทธก็ได้เห็นกันเป็นปกติอยู่แล้ว พระในตัวนั้นสำคัญมาก เพราะท่านอยู่กับเนื้อกับตัวของเรา ถ้าเรา
เข้าถึงท่านยังไม่ได้ ชีวิตยังไม่อบอุ่น ยังไม่ปลอดภัย ถึงแม้จะมีพระนอกตัวให้เคารพกราบไหว้บูชา มันทราบแต่มันยังไม่ซึ้งถึงใจ แต่จะให้ซาบซึ้งถึงใจก็ต้องเข้าถึงพระภายในให้ได้
The Dhammakaya is crucially important
Everyone must be able to see the Dhammakaya within this Rains-Retreat. The Dhammakaya is the Inner Triple Gem whereas the external Triple Gem we can readily see. The Dhammakaya is crucially important because He dwells inside us. For as long as one cannot yet attain the Dhammakaya, one’s life is still unprotected and unsafe. One may pay homage to the external Triple Gem and have head knowledge about them. However, to attain the profound knowledge about the Inner Triple Gem, one must be able to attain the Dhammakaya.
用内在的法身验证业果法则
我们在雨安居期间要精进修行证得内在的佛,即内在的三宝。他比我们用肉眼看见的三宝更加殊胜。内在的佛十分重要,因为他和我们的肉身融合为一,如果还未证得内在的佛,轮回中的生命就尚未安全。虽然可以礼敬供奉外在的佛,这只是浅显的理解。要想深入的体悟,就要证得内在的佛。
พิสูจน์กฎแห่งกรรมด้วยพระในตัว
พระเดชพระคุณหลวงปู่พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ผู้ค้นพบวิชชาธรรมกาย ตอนที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ได้กล่าวเสมอเลยว่า เข้าถึงพระรัตนตรัยในตัวได้เมื่อไร จะไปพิสูจน์เรื่องกฎแห่งกรรมได้ ท่านใช้คำว่า “ไปนรกก็ได้ ไปสวรรค์ก็ได้ ไปจับมือถือแขนพูดจาโต้ตอบกับสัตว์นรก หรือเทวดาบนสวรรค์ก็ได้ พ่อแม่ตายไปอยู่ที่ไหนไปช่วยได้ทั้งในนรกและในสุคติภพ” นี่ท่านพูดเสมอเลยตอนที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ ก็เลยทำให้เรามีกำลังใจ
Proving the Law of Kamma with the Dhammakaya
The Most Venerable Phramonkolthepmuni (Sodh Candasaro), the discoverer of Vijja Dhammakaya used to say often when he was still living that once one can attain the Inner Triple Gem, one will be able to prove the existence of the Law of Kamma. He said that one could then visit the Hell Realm and the Celestial Realm. One could talk to hell beings and celestial beings. One could go and help one’s parents both in the Hell Realm and in the Celestial Realm. Statements like these should serve to motivate and empower us.
以法身验证业果法则
法身法门发掘者帕蒙昆贴牟尼祖师(索٠湛塔萨罗)在世时常说:“何时证得内在三宝,便可以验证业果法则。”祖师的原话是:“可以去地狱或天界,同地狱众生或天界的天人接触交流。如果父母往生了,无论转世到地狱或天界,都可以去帮助他们。”
สักขีพยานในคำสอนของพระเดชพระคุณหลวงปู่
แม้จะไม่ได้เจอองค์ท่าน แต่เราก็เจอคำสอนของท่าน สิ่งที่ท่านได้กล่าวเอาไว้เป็นเครื่องยืนยันในการบรรลุธรรมของท่าน และในยุคนั้นก็มีผู้บรรลุธรรมตามเยอะมาก เป็นพยานในคำสั่งสอนของท่านได้เป็นอย่างดีและสืบทอดกันเรื่อยมากระทั่งถึงปัจจุบันนี้ ที่ไปนรกก็ได้ ไปสวรรค์ก็ได้ จับมือถือแขนพูดจาโต้ตอบสัตว์นรกกับเทวดาได้ พ่อแม่ตายแล้วไม่ว่าจะไปอยู่
ในภพภูมิไหนก็ตามไปช่วยได้ ตรงนี้แหละทำให้เรามีความมั่นใจที่จะทำตามคำสอนของท่าน ต้องการที่จะเข้าถึงสิ่งที่ท่านกล่าวเอาไว้ เพื่อเราจะได้มีที่พึ่งที่ระลึก และจะได้ไปพิสูจน์กฎแห่งกรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสั่งสอนเอาไว้ และจะได้มีโอกาสไปโปรดหมู่ญาติของเราเพราะเหตุนี้ พรรษานี้เราก็ต้องเข้มงวดกวดขันตัวเองให้ดี ปฏิบัติธรรมกันทุกวันให้สม่ำเสมอ โดยไม่ให้สิ่งใดมาเป็นอุปสรรคในความตั้งใจจริงของเราในคราวนี้ ไม่ว่าจะเจ็บ ป่วย ไข้ จะปวดเมื่อย มีภารกิจการงานอะไร จะไม่ให้
สิ่งนี้มาเป็นข้ออ้าง ข้อแม้ เงื่อนไขเหมือนที่ผ่าน ๆ มา
Witness to his teachings
Although one does not have the opportunity to meet Luang Pu in person, one still has his teachings which confirm his attainment of the Dhamma. And in his days, a large number of persons were able to attain the Dhamma and bear witness to his teachings which have been perpetuated to the present time.
He said that one can visit the Hell Realm and the Celestial Realm. One can talk to hell beings and celestial beings. One can go and help one’s parents both in the Hell Realm and in the Celestial Realm. These statements give us the confidence needed to practice his teachings because we wish to attain the Dhamma just as he did so that we can have our own refuge. And we can then prove the existence of the Law of Kamma as taught by the Lord Buddha ourselves. We will have the opportunity to go and help our dearly departed loved ones.
Therefore, one must strive to practice meditation every day and must not allow anything to hinder one’s endeavor. One must not use sickness, achiness and discomfort or anything else as an excuse for not practicing meditation. We will continue to do the countdown so that we can be cognizant of the passing time and of the fact that we must strive to achieve our goal.
见证祖师的教导
即使我们没能见到祖师,但是能够学习祖师留下来的教导。祖师的教导表明祖师已经证悟了,而且那个时代,很多弟子也跟随祖师而证悟。祖师的教导让众弟子证悟,并且流传至今。
基于此因,我们应该更有信心遵循祖师地教导,达到祖师所说的境界,得到真正的依靠,去证实佛陀教诲的业果法则,度化我们的亲人。
因此,这个雨安居我们应当严格要求自己,每天坚持精进打坐,不让任何事情阻挡我们精进的修行。无论是疼痛、酸累或其他事情,都不会成为妨碍修行的借口。
รักษาใจไว้ให้สงบ
ไม่ว่าจะเป็นคนชาติไหนก็ตามล้วนมีพระรัตนตรัยในตัวทั้งสิ้น ซึ่งเป็นที่พึ่งที่ระลึกอย่างแท้จริง สิ่งอื่นที่นอกจากนี้ไม่ใช่ที่พึ่งอันเกษม ไม่ว่าจะเป็นคน เป็นสัตว์เป็นสิ่งของอันใดก็ตามไม่ใช่ที่พึ่งที่ระลึกที่แท้จริง ถ้าจะพึ่งพิงพึ่งพากันชั่วคราวก็คงจะได้ ที่พึ่งที่แท้จริงมีแต่พระรัตนตรัยเท่านั้น
จะเข้าถึงพระรัตนตรัยในตัวได้ก็ด้วยการทำใจหยุดใจนิ่ง ที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ หมายความว่า ปกติของใจเราไม่หยุดไม่นิ่งมักวิ่งไปในอารมณ์ต่าง ๆไปในเรื่องราวต่าง ๆ อยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเรื่องคน สัตว์ สิ่งของ ธุรกิจการงาน ครอบครัว การศึกษาเล่าเรียน หรือเรื่องอะไรที่นอกเหนือจากนี้ เราจึงไม่พบที่พึ่งที่ระลึกที่แท้จริง ไม่พบความสุขที่แท้จริงทั้ง ๆ ที่เราแสวงหา
เรามักเข้าใจว่าความสุขที่แท้จริงอยู่ที่คน ที่สัตว์ ที่สิ่งของ สถานที่ ทรัพย์สิน เงินทอง เป็นต้น แต่ความจริงแล้วไม่ใช่ มันอยู่ในตัว เพราะฉะนั้นเราต้องเอาใจกลับมาหยุดนิ่งอยู่ภายใน ให้ผ่านภาพต่าง ๆ อารมณ์ต่าง ๆ ที่เราเก็บสั่งสมเอาไว้อยู่ในใจ ผ่านไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งไปถึงที่สุดของภาพ ก็จะเข้าถึงภาพแรกภายในที่แท้จริง คือ ดวงปฐมมรรค เมื่อเราเห็นธรรมดวงแรก
ไม่ช้าก็จะเข้าถึงพระตถาคตภายใน ถึงพระรัตนตรัยในตัว
Keeping One’s Mind Quiet
Everyone must be able to see the Dhammakaya. Every person regardless of his race or creed has the Inner Triple Gem as his highest refuge. Nothing else can be whether it is a person, an animal or a thing. One may be able to depend temporarily on some person, animal and thing but one’s true and highest refuge is the Inner Triple Gem.
To attain the Inner Triple Gem, one must be able to keep one’s mind still and quiet at the seventh base in the center of one’s body. Normally, one’s mind is restless and is constantly running here and there towards different things as dictated by one’s emotion. It is running to persons, animals, things, work, business, family, school, etc. As a result, one cannot find one’s true refuge. Neither can one experience the happiness that one longs so much for.
People think that their happiness depends on people, animals, things, places, money, material possessions, etc. But in reality, happiness can be found only inside one’s self. Therefore, one must bring one’s mind to a standstill inside one’s self and allow different images and emotions which have been accumulated in one’s mind to pass by completely until one can see the first true inner image which is the Pathamamagga Sphere. Once one can see this first Dhamma Sphere, in time, one will be able to see the Inner Buddha, the Inner Dhamma and the Inner Sangha.
静定无他
无论是什么国籍,人人体内皆有三宝,即人类真正的依靠和皈依。除此之外的人、动物或其它物品,都不是人类真正的依靠。能依靠也只是暂时的依靠,而内在的三宝才是真正的依靠。只有透过修行打坐,将心静定在体内中心第七点才能证得内在的三宝。平常我们的心总是攀缘执着于各种人、事、物、工作、家庭、学业或其他事情,一直飘忽不定,导致我们找不到苦苦追寻的真正依靠和快乐。
我们认为,真正的快乐存在于人、动物、物品、房子、金钱或财产等。可事实并非如此,真正的快乐是在体内。因此,我们应该让心回归内在。当我们放下心里的种种情景和情绪,历经种种虚相之后,到达内在的第一实相——初道光球。当我们见到第一个光球后,只要持续地深入,就可以证得内在的三宝。
ความสุขที่แท้จริง
พระธรรมกายมีอยู่ในตัวของทุกคนในโลก เป็นที่พึ่งที่ระลึกอย่างแท้จริง สิ่งอื่นที่จะเป็นที่พึ่งที่ระลึกเท่านี้หรือยิ่งกว่านี้ไม่มีอีกแล้ว
เมื่อเข้าถึงพระธรรมกายในตัวได้ ชีวิตของเราจึงจะปลอดภัยและมีชัยชนะ จะมีความสุขทันทีที่ได้เข้าถึง เป็นความสุขที่แท้จริงที่เราปรารถนา และเราสามารถที่จะเรียนรู้เรื่องราวความจริงของชีวิต ซึ่งเป็นความลับมืดมนอนธการสำหรับเรามาตลอดเลย
True happiness
The Inner Triple Gem or the Dhammakaya exists inside every human being. He is our true refuge; nothing can be compared to the Dhammakaya. When one can attain the Dhammakaya, one’s life will be blessed with safety and victory. One will experience true happiness the instant one can attain the Dhammakaya. One can also learn about the reality of Life and all the dark secrets which have deliberately been concealed from one.
揭露生命的真相
每个人体内都有法身,他是人类真正的依靠,是人类究竟的皈依处。我们证得内在的法身之后,轮回中的生命才会安全和快乐。当下获得我们所期望的真正快乐,并能够揭开隐藏极深的生命秘密,如实了解生命的真相。
ความลับจะถูกเปิดเผย
เมื่อเราเข้าถึงพระธรรมกายในตัวได้ สิ่งที่ถูกบดบังก็จะถูกเปิดเผยทำให้เราแจ่มแจ้งในเรื่องราวความเป็นจริงของชีวิต ซึ่งจะทำให้เราดำเนินชีวิตได้ถูกต้อง ไม่ผิดพลาด อย่างน้อยก็มีสุคติเป็นที่ไป หรือมีชีวิตอยู่ในปัจจุบันด้วยความผาสุก ปลอดภัย ตายแล้วก็ไปดี และมีเป้าหมายที่ชัดเจนคือ ทำพระนิพพานให้แจ้ง
The Secret Will Be Unveiled.
When one can attain the Dhammakaya, the concealment of the reality of life will be removed and the Truth will be unveiled such that one will be able to live one’s life correctly and without making any more mistakes. One will know happiness and security here and now and after one dies, one will be reborn in the States of Happiness. One will also penetrate the fact that one is here on earth to make clear the Path and Fruit of Nibbana.
秘密将被揭开
我们证得内在的法身之后,那些被遮蔽的真相将会显露出来。让我们了解生命的真相,如法地生活,不造恶,至少命终后往生善道。今世的生命快乐、安全、善终,并且有明确的人生的目标,即是证得涅槃。
ขจัดกิเลสอาสวะหมดไปพระนิพพานก็แจ่มแจ้งขึ้นมา
พระรัตนตรัยในตัวนั่นแหละ ท่านจะทำพระนิพพานให้แจ้ง หมายถึง พระนิพพานมีอยู่แล้ว แต่กิเลสอาสวะไปบดบัง เหมือนดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ดวงดาวที่มีหมู่เมฆมาบดบัง เมื่อเมฆนั้นผ่านไปความสว่างก็บังเกิดขึ้น กิเลสอาสวะซึ่งไปบดบังพระนิพพานเมื่อหมดไป พระนิพพานก็แจ่มแจ้งขึ้นมา
Removed defilements, Nibbana will naturally appear.
One’s Inner Triple Gem will make clear the Path and Fruit of Nibbana for one, since Nibbana exists within one’s self but it is hidden by defilements in the same way that the sun, the moon, and the stars are hidden by the dark clouds. Once the dark clouds move on, the light of the sun, the moon, and the stars can no longer be hidden. Likewise, once the defilements which keep Nibbana hidden from us can be removed, Nibbana will naturally appear to us.
断尽烦恼,涅槃显现
内在的三宝将会帮助我们证得涅槃,意思是涅槃已经存在,只是被烦恼遮蔽,就如太阳或月亮被云朵遮挡一样。当云飘走,光亮必将重现。涅槃被烦恼遮蔽,如果断尽烦恼,涅槃就会出现。
อย่าให้วันหนึ่งคืนหนึ่งผ่านไปเฉย ๆ
พรรษานี้ คือพรรษาที่เราจะกวดขันตัวของเราเอง เอาจริงเอาจังกับสิ่งเหล่านี้ เพราะฉะนั้นอย่าให้วันหนึ่งคืนหนึ่งผ่านไปเฉย ๆ ให้แต่ละวันผ่านไปด้วยการแสวงหาพระนิพพาน หรืออย่างน้อยให้เห็นพระในตัว โดยไม่มีข้อแม้ ข้ออ้างหรือเงื่อนไขใด ๆ ทั้งสิ้นว่า เราเจ็บ เราป่วย เราไข้ เรามีการงานมากมาย เราเหนื่อย เราเพลีย ขอนอนก่อน พักก่อนอะไรอย่างนั้น ต้องไม่ให้มีข้อแม้ข้ออ้างและการที่จะเข้าถึงพระในตัวก็ไม่ได้ยากอะไร แค่ทำใจของเราให้หยุดนิ่ง ๆ เดี๋ยวก็ดิ่งเข้าไปสู่ภายใน เข้าถึงพระรัตนตรัยในตัวซึ่งมีอยู่แล้ว แล้วหยุดนิ่งนี้เขาก็ทำกันได้เยอะแยะ
Do not allow each day to simply pass by
This is the Rains-Retreat that everyone must endeavor to practice meditation earnestly for the purpose of making clear the Path and Fruit of Nibbana. Do not allow each day to simply pass by. But spend each day endeavoring to make clear the Path and Fruit of Nibbana. Do not try to come up with such excuses as you do not feel well, you are too busy, you are too tired, etc. There must not be any excuses at all when all you have to do is to keep your mind still and quiet. Endeavor to keep your mind still and quiet and the inward journey will take place automatically.
不要让时间白白流逝
我们雨安居期间应认真修行,不要让时间白白流逝。每天为趣向涅槃而精进,至少也要努力看见内在的佛。不要有任何附加条件或借口,不要说今天自己酸痛、生病、事多或疲劳,不如先休息一下,不要拿这些当借口。我们要证入法身并非难事,很多人都能够做到。只要让心静定下来,次第深入内在,便可以证得原本就在体内的法身。
พระธรรมกายอยู่ในตัวของมนุษย์ทุก ๆ คนในโลก
พระธรรมกายอยู่ในตัวของมนุษย์ทุก ๆ คนในโลก ไม่ว่าจะเป็นเชื้อชาติศาสนาหรือเผ่าพันธุ์ใด ต่างแต่ว่าจะรู้หรือไม่รู้เท่านั้น จะรู้หรือไม่รู้ก็มีพระอยู่ในตัวการเข้าถึงพระในตัวได้จะทำให้เราสมหวังในชีวิต เพราะความปรารถนาอันสูงสุดของสรรพสัตว์ทั้งหลายก็คือต้องการความสุขที่แท้จริง ไม่ว่าความสุขนั้นจะเริ่มต้นจากอะไรก็แล้วแต่ อาจจะเริ่มต้นด้วยทรัพย์สินเงินทอง คน สัตว์ สิ่งของ แต่ตอนท้ายก็ไปลงที่ความสุข
The Dhammakaya dwells inside each person on earth
The Inner Triple Gem or the Dhammakaya that dwells inside each person on earth regardless of his race or creed, whether or not he knows about the Dhammakaya, and whether or not he believes in His existence.
The attainment of the Dhammakaya will bless one with wish fulfillment because the ultimate wish of all beings is true happiness. People seek material wealth, people, animals, and things thinking that these things will make them happy.
法身就在每个人的体内
不管是什么宗教或种族,每个人的体内都有法身,不同的只是知道或不知道而已。可无论知道或不知道,法身都在我们体内。如果我们能证入法身,生命就圆满了,因为众生的愿望是找到真正的快乐。无论这种快乐源自于什么,可能源自于人、财富、动物或其它东西,但最终都是为了获得快乐。
สุขทุกข์อยู่ที่ใจ
สุขทุกข์อยู่ที่ใจ ใจนั่นแหละเป็นฐานที่จะรองรับความสุข แต่ความสุขที่แท้จริงนี้มนุษย์ไม่ได้รู้จักมายาวนาน และไม่เข้าใจว่ามีลักษณะอย่างไร มีอาการอย่างไร อยู่ที่ตรงไหน จะเข้าถึงได้ด้วยวิธีการใด ต่างก็แสวงหากันไป เพราะพื้นฐานของชีวิตมีความทุกข์ มนุษย์ก็เบื่อหน่ายเอือมระอากับความทุกข์ อยากจะดับทุกข์ได้ อยากจะเข้าถึงความสุข ก็ค้นหากันไป
บางพวกก็ค้นหาทางวัตถุ บางพวกก็ค้นหาทางใจ บางทีก็บำเพ็ญทุกรกิริยาแสวงหาความสุขด้วยการทรมานตัวเองบ้าง อย่างนี้เป็นต้น มนุษย์จึงไม่พบความสุขเลย และก็ไม่รู้จัก
Happiness or unhappiness comes from one’s mind
Happiness or unhappiness comes from one’s mind. One’s mind is the vessel needed to contain happiness. Unfortunately, human beings have no idea what true happiness is like, what it feels like, where it can be found, and how to find it. People search constantly for happiness because human life is fraught with much unhappiness. People are sick of unhappiness. They wish to remove it. They wish for happiness. And so they go on searching for it. Some think that they can find it in things. Some think that they can find it by thinking. Some think that they can find it by practicing self-mortification. Etc. But they have yet to find or know true happiness.
苦或乐源自于心
苦与乐源自我们的心,心是接收快乐的器皿。可人类却早已不知道什么是真正的快乐,不知道其性质、状态以及在何处,也不知道通过什么方式得到,便漫无目的地寻找。因为人生的本质是苦,人类早已厌倦苦,希望离苦得乐。有的从物质方面去寻找,有的从心灵方面去寻找,有的通过苦行去寻找等等,可是都没有找到真正的快乐,直至佛陀应现世间。
แต่เดิมพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นอดีตมนุษย์เหมือนชาวโลกทั่วไป
จนกระทั่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงบังเกิดขึ้นในโลก แต่เดิมพระองค์ก็เป็นอดีตมนุษย์ที่มีความทุกข์เหมือนชาวโลกทั่วไป ต่างแต่ว่าอยากจะพ้น ทุกข์อย่างแรงกล้า จึงขวนขวายศึกษาหาหนทางพ้นทุกข์ ทรงสละราชสมบัติออกบวช แสวงหาผู้รู้ที่จะสอนได้ว่า ความสุขที่แท้จริงอยู่ที่ไหน พระองค์ใช้เวลาแสวงหานานถึง ๖ ปี แต่ก็ยังไม่ได้เจอความสุขที่สมบูรณ์เลย
The Lord Buddha had been an ordinary person
Formerly, the Lord Buddha had been an ordinary person who had known unhappiness lifetime after lifetime just like other human beings. The only difference was that He had wanted so badly to be emancipated from such suffering. And throughout the countless existences, He had tried to search for the way that would lead him to emancipation. Eventually, in His final rebirth, He decided to abdicate the throne and took up the religious life in order to go in search of true happiness. After six years of practicing extreme self-mortification, He was still nowhere near finding it.
佛陀原先也是一个普通人
佛陀原先也和世人一样在受苦,只是世尊离苦的决心更强烈,从而努力寻找离苦之道,最终舍离世俗剃度出家。四处寻访名师只为了找到真正的快乐,可惜六年过去依旧没有找到。
สุขอื่นนอกจากหยุดจากนิ่งไม่มี
วันหนึ่งเมื่อบารมีเต็มเปี่ยม ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ เมื่อพระองค์สละชีวิต อธิษฐานจิตว่าถ้าไม่เจอความสุขที่แท้จริงจะไม่ลุกจากที่ ถึงเนื้อเลือดจะแห้งเหือดหายไปเหลือแต่กระดูกหนังช่างมัน ไม่ได้ตายเถอะ จะต้องค้นให้พบให้ได้ และในที่สุดพระองค์ก็ทรงค้นพบสิ่งที่ยิ่งใหญ่ที่มนุษย์และเทวดาปรารถนาอยากเจอ นั่นคือความสุขที่แท้จริง ซึ่งพระองค์สรุปว่าความสุขที่แท้จริงอยู่ที่หยุดกับนิ่งมีบาลีรับรองไว้ว่า นตฺถิ สนฺติปรํ สุขํ สุขอื่นนอกจากหยุดจากนิ่งไม่มีหยุดนิ่งเป็นบรมสุข สุขอย่างยิ่ง เมื่อใจหยุดนิ่งก็จะพบสุขที่แท้จริงอย่างนี้ถือว่าสมปรารถนาในชีวิต
No happiness except for the mind which is absolutely still and quiet
Finally, on the day that His Perfections were able to send forth their blessings, which fell on the 15th day of the 6th waxing moon, He sat down under the Bodhi Tree and vowed that He would not get up until He could attain true happiness. It did not matter if His flesh and blood should dry up leaving just skin and bones, He would continue with His meditation practice until He could find what He had been searching for. And He did! The Lord Buddha said that, Natthi santiparan sukhan, there is no happiness except for the mind which is absolutely still and quiet. The still and quiet mind is the source of maximum happiness, hence, the source of wish fulfillment.
静定的快乐胜过其他快乐
世尊波罗蜜圆满后,于六月的月圆日在菩提树下决心舍命精进求法,发誓如果不能证得至上之乐,绝不起身离坐,哪怕血肉干枯,只剩下皮和骨也罢。最终,世尊证得了人天皆梦寐以求的至上之乐。世尊说这种真正的快乐源于静与定,静定的快乐胜过其他快乐。静定是至上之乐,当心静定时才会获得真正的快乐。
หยุดนิ่งเป็นบรมสุข
จะหยุดนิ่งได้ ต้องทิ้งสิ่งที่ทำให้เขยื้อนเคลื่อนไหว ทั้งความคิด คำพูด และการกระทำ ต้องทิ้งสิ่งเหล่านั้นแล้วกลับมาทำในสิ่งตรงกันข้าม คือไม่เขยื้อน ไม่คิด ไม่พูด ไม่ต้องทำอะไรเลย หยุดนิ่งได้ก็จะมีความสุข แล้วปริมาณความสุขก็เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนกระทั่งเข้าถึงความสุขที่แท้จริงอย่างสมบูรณ์ที่เรียกว่า บรมสุข ก็คือการขจัดกิเลสอาสวะให้หมดสิ้น ทำพระนิพพานที่มีอยู่แล้วแต่ถูกบดบังด้วยกิเลสอาสวะให้แจ้งขึ้นมา
Stillness and Quietness Lead to Maximum Happiness.
To keep one’s mind still and quiet, one must stop thinking, saying, and doing things. One must cease to be restless by not moving, not thinking, not saying, and not doing anything at all. When one’s mind is still and quiet, the happiness gained will continue to increase. Maximum happiness is attained once all defilements can be extinguished. And with the removal of defilements, Nibbana will appear.
静定是至上之乐
想让心静定下来,必须远离那些让心散乱的想法、言语、行为,应反其道而行之,即什么都不用做、不用想、不用说。静定下来,快乐就会生起,且越来越快乐,直至收获真正的快乐,称为至上之乐。换言之即是断尽烦恼,证入已存在于体内的涅槃。
ทุกคนมีสิทธิ์ตายเท่ากัน
พระรัตนตรัย อยู่ในตัวของมนุษย์ทุกคนในโลก โดยไม่จำกัดเชื้อชาติ ศาสนา และเผ่าพันธุ์เพราะฉะนั้น พรรษานี้จึงได้ชื่อย่อ ๆ ว่า พระเห็นพระ เณรเห็นพระ โยมเห็นพระ เป็นพรรษาที่ทุกคนต้องเห็นพระ ไม่ใช่ ควร เห็นพระ แต่ ต้อง เห็นพระให้ได้ เพราะเราเหลือเวลาที่จะอยู่ในโลกมนุษย์นี้อีกไม่นาน อย่าคิดเอาเองว่า เราจะมีอายุยืนถึงอายุเฉลี่ยของมนุษย์คือ ๗๕ ปี ซึ่งความจริงอาจไม่ใช่อย่างนั้น อาจจะก่อนนั้น อาจจะเท่านั้น หรือเลยไปกว่านั้น แต่ที่เลยไปกว่านั้นหรือเท่านั้นในปัจจุบันก็มีไม่มาก ส่วนมากมักจะน้อยไปกว่านั้น และยิ่งบางคนร่างกายยังแข็งแรงอยู่ ไม่ได้เจ็บ ไม่ได้ป่วย ไม่ได้ไข้ ไม่ได้ประสบอุบัติเหตุ อยู่ ๆ ก็ปุ๊บปั๊บเดินทางไปก่อนก็มีทุกชีวิต ทุกเพศ ทุกวัย มีสิทธิ์เดินทางไกลไปสู่ปรโลกได้เท่ากันเลยไม่ใช่ว่าคนแก่จะต้องไปก่อน ไม่แน่ บางทีรุ่นเยาว์ไปก่อนคนแก่ก็มี เพราะทุกคนมีสิทธิ์ตายเท่ากัน ดังนั้นที่ใช้คำว่าเรามีเวลาอยู่ในโลกนี้อย่างจำกัด จึงเป็นคำที่ถูกต้อง เพราะฉะนั้นเราจะใช้เวลาอย่างจำกัดนี้อย่างไรให้มีคุณค่าที่สุด ให้ได้กำไรชีวิตมากที่สุด
Death can come to us anytime.
The Dhammakaya can be found inside every human being on earth regardless of his race or creed. This is the Rains-Retreat where the monks can see the Dhammakaya, the novice monks can see the Dhammakaya, and the lay devotees can see the Dhammakaya. This is the season for seeing the Dhammakaya. It does not mean that everyone should see the Dhammakaya, but it means that everyone must see the Dhammakaya. Our time on earth is limited. Although the current average human lifespan is 75 years, but do not think that everyone will live that long. Some may die before then or around then. And some may live longer than 75 years; however, these are few in number. Most people die before they are 75 years old. Some people are still strong and healthy; they are not sick and they are not involved in a fatal accident, yet they can drop dead just like that.
Death can come to us anytime. One does not have to be an old person to die. Some die quite young. Therefore, to say that our time on earth is limited is an accurate statement. It is for this reason that all of us must spend the limited time we have in a worthwhile manner so that we can achieve gain in our life.
人生无常
三宝就在每个人的体内,没有国籍、宗教和种族的限制。所以雨安居期间无论出家人或在家人,人人都要精进证得内在的三宝,不是应该证得,而是必须证得。因为人生短暂,不要认为人人都可以活到七十五岁的平均寿命。有的可能英年早逝,有的刚好活到七十五岁,有的超过七十五岁。但不管刚好或超过七十五岁,这样的人也不多,大部分的人是没有活到七十五岁。死亡没有征兆,有的人身体健康,没有任何疾病,却平白无故地说走就走了。
กำไรหรือขาดทุนชีวิต
กำไรหรือขาดทุนชีวิต ผู้รู้เขาวัดกันที่ใครสั่งสมกุศลธรรมเอาไว้ด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจทุกวันทุกคืนทุกเวลา ผู้นั้นได้ชื่อว่ามีกำไรชีวิต ถ้าใครสั่งสมบาปอกุศล ถือว่าขาดทุนชีวิต นี่คือมาตรฐานของท่านผู้รู้บัณฑิตนักปราชญ์ทั้งหลาย แต่ผู้ไม่รู้ก็ว่ากันไปตามรสนิยม บางคนก็บอกว่าเราจะต้องหากำไรชีวิตด้วยการเมา เพราะเราจะมีโอกาสเมาอย่างประเสริฐนี้ได้สักกี่ครั้ง ฟังแล้วมึนเลย ไม่รู้เมาแบบไหนเมาอย่างประเสริฐ เราจะต้องเล่นการพนัน สนุกสนานเพลิดเพลิน สุรา นารี พาชี กีฬาบัตร ต้องครบถ้วนอย่างนี้ถึงจะเรียกว่าได้กำไรชีวิต นี่คือความเห็นของผู้ไม่รู้ คือไม่รู้อดีต ไม่รู้เรื่องปัจจุบัน แล้วก็ไม่รู้เรื่องอนาคต ไม่รู้เรื่องกฎแห่งกรรม ไม่รู้เรื่องราวชีวิตในสังสารวัฏ หรือความเป็นจริงของชีวิต เขาจึงวัดกำไรขาดทุนชีวิตด้วยวิธีดังกล่าว ซึ่งแตกต่างจากบัณฑิตนักปราชญ์ที่ท่านสรุปมาว่าสิ่งใดที่ยังกุศลธรรมให้บังเกิดขึ้นด้วยกาย วาจา ใจ สิ่งนั้นคือกำไรชีวิต สิ่งใดที่ยังอกุศลธรรมให้บังเกิดขึ้นด้วยกาย วาจา ใจ สิ่งนั้นคือขาดทุนชีวิต
Life’s Gain or Life’s Loss
Life’s gain or life’s loss depends on whether or not a person is constantly accumulating wholesomeness with his body, his words and his thoughts. If he is, then his life is full of gain. But if he is constantly accumulating unwholesomeness, then his life is full of loss. This is how the sages judge a person’s life.
Most people live their lives following the latest trends. Some say that they must live life to the fullest by getting drunk because they have a limited time on earth to get drunk. Some say that gambling is worthwhile. Some say that life is worthwhile only when they can have it all, alcohol, women, gambling, etc. Such are the opinions of those who have no idea why they are here. They have no idea about the past, the present, and the future. They have no idea about the existence of the Law of Kamma, the round of rebirth or the reality of life. It is for this reason the sages say,
Whatever gives rise to wholesomeness physically, verbally, and mentally is considered to be life’s gain. Whatever gives rise to unwholesomeness physically, verbally, and mentally is considered to be life’s loss.
人生的盈亏
智者认为:人生是盈是亏,取决于身口意的造作;如果每天造作善业,人生就盈利;如果每天造作恶业,人生就亏损。而愚痴者根据个人喜好来定义。有的认为,人生过得有价值就要对酒当歌;因为觉得人生有限,要及时行乐。有的人认为,人生过得有价值,就要赌博、酗酒、夜生活等等。这是愚痴者的见解。他们不了解前世、今生和来世的因果,不了解业果法则和生死轮回的危险,更不了解生命的真相,所以才用上述的方式去衡量人生的价值。这与智者的见解大相径庭。智者认为:我们的身口意令善法生起,则人生有价值;我们的身口意令恶法生起,则人生会亏损。
ทำพระในตัวให้บังเกิดขึ้น อย่างนี้จึงจะได้กำไรชีวิต
เวลาที่เราเหลืออยู่อย่างจำกัดนี้ ทำอย่างไรจะให้ได้กำไรชีวิตมากที่สุดก็ต้องสั่งสมกุศลธรรม สั่งสมบารมี ๑๐ ทัศ สั่งสมกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการหรือจำง่าย ๆ ย่อ ๆ ก็คือ ทาน ศีล ภาวนา สามอย่างนี้ง่ายที่สุด ถ้าง่ายกว่านี้เข้าไปอีกก็คือ ทำพระในตัวให้บังเกิดขึ้น กระทั่งเห็นท่านชัดใสแจ่ม ทั้งหลับตา ลืมตา นั่ง นอน ยืน เดิน หกคะเมนตีลังกาก็เห็นพระติดแน่นอยู่กลางกาย อย่างนี้จึงจะได้กำไรชีวิต
Attain the Dhammakaya then one’s life is a life of gain indeed
One must spend the limited time one has on earth doing what one can in order to achieve as much gain as possible. One must accumulate wholesomeness by pursuing the Ten Perfections and by practicing the Tenfold Wholesome Course of Action. In short, one must give alms, observe the Precepts, and practice meditation. One must endeavor to attain the Dhammakaya, to see His clear and bright body at all times whether one is closing or opening one’s eyes, whether one is sitting down, lying down, standing, walking, or doing a somersault. If one can see the Dhammakaya at all times, then one’s life is a life of gain indeed.
证得法身才是有价值的人生
在有限时间里,如何让我们的人生更有价值?应积极累积功德,勤修十波罗蜜与十善业。简单地说就是每天坚持布施、持戒和打坐,令内在的法身生起。无论是睁眼或闭眼,在行立坐卧时皆可清晰地看见法身安住在身体中央,这样才是有价值的人生。
วัตถุประสงค์ของการเกิดมาเป็นมนุษย์
เราเกิดมาในโลกนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทำพระนิพพานให้แจ้ง หรือ อย่างน้อยก็สั่งสมบุญบารมีให้แก่รอบ เพราะฉะนั้นเราก็ต้องทำให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการเกิดมาเป็นมนุษย์ และมรรคผลนิพพานก็อยู่ในตัวไม่ได้อยู่นอกฟ้า ป่าหิมพานต์ ตามป่า ตามเขา ตามห้วยหนองคลองบึงดวงดาวต่าง ๆ แต่อยู่ในตัว เพราะฉะนั้น ที่กล่าวว่าพระนิพพานเป็นสิ่งที่หมดสมัยในการเข้าถึง
นั้นไม่จริงเลย เพราะว่าพระนิพพานไม่ได้อยู่นอกโลก แต่อยู่ในตัวของมนุษย์ทุกคน จึงเป็น อกาลิโก คือเหนือคำว่า สมัย อยู่พ้นกาลเวลาไปแล้ว หมายความว่าถ้าใจหยุดนิ่งได้ถูกส่วนเมื่อไรก็เข้าถึงเมื่อนั้น และไม่ได้ผูกขาดเฉพาะนักบวชหรือเฉพาะพระธุดงค์ ถ้าเป็นฆราวาสก็หมดสิทธิ์ แล้วยิ่งมายุคสมัยนี้ไฮเทคโนโลยี ยิ่งห่างไกลมรรคผลนิพพาน ความจริงไม่ใช่เลย เพราะจะไฮเทคแค่ไหนก็แล้วแต่ มรรคผลนิพพานก็ยังติดตามอยู่ในตัวของมนุษย์ หยุดเมื่อไรก็ เข้าถึงเมื่อนั้น นี่คือวัตถุประสงค์ของการเกิดมาเป็นมนุษย์ จะรู้หรือไม่รู้ จะเชื่อ หรือไม่เชื่อก็ตาม แต่ความจริงเป็นอย่างนี้
Life–goal as a human being
All of us are here to make clear the Path and Fruit of Nibbana. At least, one must continue to pursue Perfections to a greater extent than in previous existences to make one’s life on earth truly worthwhile. The Path and Fruit of Nibbana can be found inside one’s self and not in the sky, in the forest, in the mountain, in a distant star or anywhere else.
It is often said that the time to attain Nibbana is long past. That statement is untrue because Nibbana is not outside of us but it is inside us. Nibbana can be found inside every human being. The attainment of Nibbana is a timeless phenomenon or Akaliko. The instant one’s mind can be kept absolutely still and quiet, one will be able to attain the Dhammakaya. The Dhammakaya, in turn, leads one to Nibbana. Everyone and not just the monks or the monks who undertake Dhutanga (Austerity Practice) has the same opportunity to attain the Dhamma. The statement that the Path and Fruit of Nibbana are untenable in this hi-tech age is not true because however hi-tech it may be, it is still a fact that the Path and Fruit of Nibbana can be found inside each human being. The instant one can bring one’s mind to a complete standstill, one will be able to attain the Dhamma and achieve one’s ultimate life-goal as a human being. This is the truth.
生而为人的目标
我们生而为人的目标是为了证得涅槃,或至少也要累积波罗蜜,要努力实现这个目标。此外,涅槃之道就在体内,不是在外太空或深山老林中,而是在我们体内。
因此,有人说现在无法证入涅槃,这不是事实。因为涅槃之道不是在外在,而是在每个人的体内。它超越时代,它不受时间限制。什么时候心如法入定,那时就能证得涅槃。此外,不是说这仅限于出家人或头陀僧,居士就没有机会,也不是说在科学如此发达的时代,就离涅槃之道越来越远。事实并非如此,因为无论科学多么发达,涅槃之道依然在人类的体内,何时入定就何时证得。不管知道或不知道,相信或不相信,这才是生而为人的目标。
มรรคผลนิพพานไม่จำกัดกาลเวลา
การเข้าถึงพระในตัวได้นั้น ถือว่าประสบความสำเร็จระดับหนึ่งในชีวิตของการเกิดมาเป็นมนุษย์ เพราะเราเกิดมาเพื่อทำพระนิพพานให้แจ้ง อย่างน้อยก็เพื่อการสร้างบารมี มรรคผลนิพพานนั้นอยู่ในตัว จะทำให้แจ้งได้ต้องเข้าถึงพระธรรมกาย ท่านจะทำให้เราพ้นจากความมืด พระนิพพานที่มีอยู่แล้วก็จะแจ่มแจ้งขึ้นมา เหมือนเราลากของที่อยู่ในที่มืดออกมากลางแจ้ง
เพราะฉะนั้น การที่บางท่านเข้าใจผิดกันว่า การบรรลุมรรคผลนิพพานนั้นเป็นสิ่งพ้นสมัย เพราะเลยยุคพุทธกาลมาแล้ว คล้าย ๆ จะผูกขาดเอาว่า ต้องเฉพาะในสมัยพุทธกาลเท่านั้นถึงจะได้บรรลุมรรคผลนิพพาน ถ้าเชื่ออย่างนั้นก็ไปค้านกับคำว่า อกาลิโก ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสเอาไว้ว่า ไม่จำกัดกาลเวลา ถ้าตั้งใจประพฤติดี ปฏิบัติชอบ ฝึกใจให้หยุดนิ่งเมื่อไรก็สามารถบรรลุมรรคผลนิพพานได้ทั้งสิ้น
The Timelessness of the Path and Fruit of Nibbana
The attainment of the Dhammakaya is one level of success as a human being because humans are here on earth in order to make clear the Path and Fruit of Nibbana. At the very least, one is here to pursue Perfections. The Path and Fruit of Nibbana can be found inside each person. To make clear the Path and Fruit of Nibbana, one must first attain the Dhammakaya. He will lead one out of darkness and to the brightness of Nibbana. It is like dragging something from darkness out to the light.
Some people believe that the attainment of the Path and Fruit of Nibbana can happen only during the Lord Buddha’s time. But such a belief is contrary to the term, “Akaliko” or timelessness as expressed by the Lord Buddha about the attainment of the Path and Fruit of Nibbana. If one endeavors to practice righteousness and train one’s mind to come to a standstill, one will be able to attain the Path and Fruit of Nibbana.
道果涅槃不受时间限制
证入内在的法身,可以说人生已经卓有成就。因为我们生来是为了证得涅槃,至少也是为了修波罗蜜。涅槃之道就在体内,想证得涅槃,必须证入法身。因为它将使我们远离黑暗,涅槃就会显现出来,就像是将在黑暗里的东西搬到明亮之处。因此,有的人误以为,现在无法证得道果涅槃。因为现在远离佛陀时代,于是断章取义地认为只有在佛陀时代才能证得道果涅槃。佛陀曾说过“akāliko”,也就是不受时间限制。只要如法精进修行,何时让心深入静定,就能证得道果涅槃。
แม่ชีท่านหนึ่งเห็นพระธรรมกายตอนเรือจะคว่ำ
หยุดกลางวันก็เห็นกลางวัน หยุดกลางคืนก็เห็นกลางคืน และไม่จำกัดสถานที่ด้วย หยุดตรงไหนก็เห็นตรงนั้น หยุดในน้ำก็เห็นในน้ำ หยุดบนบกเห็นบนบก หยุดในอากาศบนท้องฟ้า บนเครื่องก็เห็นบนเครื่องมีแม่ชีท่านหนึ่งท่านนั่งเรือหางยาวมา ปรากฏว่าเรือสวนกัน อีกลำหนึ่งแล่นเร็วมาก คลื่นก็แรง เรือที่ท่านนั่งจะล่ม ตอนนั้นท่านไม่รู้จะหาอะไรเป็นที่พึ่ง ก็เลยหยุดใจภาวนา “สัมมา อะระหัง” แล้วใจก็หยุดจริง ๆ เห็นองค์พระชัดใสแจ่มลอยขึ้นมาเลย เห็นตอนเรือจะคว่ำ
A nun saw the Dhammakaya when the boat was about to capsize.
If one can achieve this during the day, one will see the Dhamma during the day. If one can achieve this during the night, one will see the Dhamma during the night. If one can achieve this on land, one will see the Dhamma on land. If one can achieve this in the water, one will see the Dhamma in the water. If one can achieve this in the air as in an airplane, one will see the Dhamma in the air.
One day, a nun was riding in a long-tail boat while another long-tail boat was passing by at a high speed and creating such high waves that the boat she was riding in was in danger of capsizing. She did not know what else to do except to keep her mind still while chanting “Samma Arahang” and indeed, her mind came to a standstill and she saw the arising of the clear and bright Dhammakaya. She saw the Dhammakaya when the boat was about to capsize.
船只倾覆之际得见法身
白天静定就白天证入,晚上静定就晚上证入。也没有场地的限制,在哪里静定就在那里证入。在水里静定就在水里证入,在陆地上静定就在陆地上证入,在飞机里静定就在飞机里证入。有一位八戒女坐在长尾船上,由于船只开得太快,风浪也很大,船只有倾覆的危险。她不知道该依靠什么,只好静心默念“三玛阿罗汉”。当她的心静定下来后,在船只即将倾覆之际,看见透明的佛像浮现上来。
พระรูปหนึ่งเห็นองค์พระผุดขึ้นมา
อีกท่านหนึ่ง ท่านเป็นพระอยู่วัดอื่นแต่ไปปฏิบัติธรรมที่วัดปากน้ำ ท่านเล่าให้ครูไม่ใหญ่ฟังว่า วันนั้นท่านนั่งรถอยู่ คนขับก็ขับเร็วมากเลี้ยวโค้งตรงวงเวียนใหญ่ พอเลี้ยววื้ด ท่านตกใจรีบภาวนา “สัมมา อะระหัง” ปรากฏว่าใจหยุดลงไปเห็นองค์พระผุดขึ้นมาตอนรถเลี้ยวโค้ง
A monk saw the arising of the Dhammakaya.
A monk went to Wat Paknam in order to practice meditation. He told me that the car he was riding in was going so fast around the Wongwienyai Circle that he became very scared and started chanting “Samma Arahang”. His mind came to a standstill and he saw the arising of the Dhammakaya.
比丘得见法身生起
另外,有一位到北榄寺挂单修行的比丘告诉师父说:有一次他乘车,由于司机开得太快,在大环形交叉路口转弯时他心惊胆战,立刻默念“三玛阿罗汉”;在车急转弯时,内在的佛像浮现上来。还有一个年轻人,他来请师父教打坐,随后就消失了,转头看见他蹲坐在一个舂米的臼里。一个半小时后,他从臼里出来告诉师父说,“什么都没看见,只见佛像而已。”师父也希望梦中梦幼稚园的同学来告诉师父说:“什么都没看见,只见佛像和水晶球。”
หนุ่มน้อยคนหนึ่งบอกว่า “ไม่เห็นมีอะไรเลย มีแต่องค์พระ”
มีหนุ่มน้อยคนหนึ่งมากราบครูไม่ใหญ่ให้สอนสมาธิ แล้วก็หายไป หันไปดูอีกที อ้าว! เห็นลงไปนั่งในครกตำข้าวในท่าคุดคู้ ก้นลงไปอยู่ในครก นั่งไปชั่วโมงครึ่ง ก็ออกมาจากครกบอกว่า “ไม่เห็นมีอะไรเลย มีแต่องค์พระ”ครูไม่ใหญ่ก็อยากให้นักเรียนอนุบาลฝันในฝันวิทยาพูดอย่างนี้บ้าง “ไม่เห็นมีอะไรเลย มีแต่องค์พระกับดวง”
a young man said that he saw nothing but the Dhammakaya.
Once, a young man asked Kru Mai Yai (the name Luang Por Dhammajayo uses to refer to himself when teaching in the Inner Dreams Kindergarten) to teach him meditation practice. Later, Kru Mai Yai found him sitting on his haunches inside a large mortar used for pounding rice grains. He was sitting like that for an hour and a half. When he got out, he said that he saw nothing but the Dhammakaya.
Kru Mai Yai would like to hear all of you say that you can see nothing but the Dhammakaya and the crystal sphere.
一个年轻人说:什么都没见,只见佛像
还有一个年轻人,他来请师父教打坐,随后就消失了,转头看见他蹲坐在一个舂米的臼里。一个半小时后,他从臼里出来告诉师父说,“什么都没看见,只见佛像而已。”师父也希望梦中梦幼稚园的同学来告诉师父说:“什么都没看见,只见佛像和水晶球。”
ทุกคนสามารถเข้าถึงมรรคผลนิพพานได้
มีอยู่คราวหนึ่ง ครูไม่ใหญ่ไปเยี่ยมไข้ที่โรงพยาบาลแห่งหนึ่ง คนป่วยท่านเป็นคนจีน อายุมากแล้วแต่ก็พูดภาษาไทยได้คล่อง ลูกท่านก็ไปเฝ้าอยู่ข้าง ๆเตียง ก็แนะนำให้ท่านทำภาวนา “สัมมา อะระหัง” ท่านก็ทำไป ท่านจะเสียงดังนะ ซึ่งเป็นอัธยาศัยของผู้ที่มีพลังภายในเยอะ ขนาดป่วย ๆ แต่ก็เสียงดังท่านก็เรียกชื่อลูกสาว แล้วก็พูดภาษาชาวบ้านนะ “เฮ้ย ๆ ใครวะ เอาลูกแก้ว
มาใส่ในท้องกู เอาออกหน่อยโว้ย” คือท่านก็ไม่รู้เรื่อง ด้วยความอินโนเซ้นท์ของท่าน นี่ขนาดป่วย ๆ นอนอยู่บนเตียงผู้ป่วยก็เห็นได้เพราะฉะนั้น มรรคผลนิพพานเป็นอกาลิโก ไม่จำกัดกาลเวลา และไม่จำกัดสถานที่ ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ ตั้งแต่เด็กเรื่อยไปเลยจนกระทั่งถึงผู้ป่วยใกล้จะละโลก
The Path and Fruit of Nibbana is attainable by everyone
Once, Kru Mai Yai went to visit an old Chinese man who spoke Thai fluently at a hospital. His children were there attending to him and telling him to chant “Samma Arahang” and so he did and loudly too. All of a sudden, he shouted to his daughter and said, “Hey, who put the crystal ball inside my tummy? You’d better remove it!” You see, he did not know that he was supposed to see a crystal sphere inside him. Even a sick person lying on a hospital bed can see the Dhamma.
Remember that the Path and Fruit of Nibbana are Akaliko. It is not limited by time or place. It is attainable by everyone from a young child to a dying person.
人人皆可证得道果涅槃
有一次,师父到医院看望一个病人。他是华人,虽然年纪很大,但能说一口流利的泰语,儿女一直在旁边悉心照顾。师父就让他默念“三玛阿罗汉”。他就照做。虽然生病了,可声音洪亮,这说明他内在有很强的力量。后来,他把女儿叫到身边,用方言说:“到底是谁呀,把圆球放在我的肚子里,快拿出去。”当时,他对此一无所知,完全不了解状况。生病卧床的老人都可以证入,由此表明,道果涅槃超越时空,不受时间和场地的限制。从年幼的孩童到临终之人,每个人都有机会证入。
เอหิปัสสิโก
พระธรรมกายอยู่ในตัวของมนุษย์ทุกคน ไม่ว่าจะเป็นเชื้อชาติศาสนาและเผ่าพันธุ์ใด จะรู้หรือไม่รู้ จะเชื่อหรือไม่เชื่อ
ก็ตาม ก็มีอยู่ทุกคน แล้วจะรู้ได้อย่างไร ก็ต้อง เอหิปัสสิโก มาลองพิสูจน์ ทำดู เอาใจมาหยุดนิ่งอยู่ที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ หยุดอย่างเดียว โดยไม่ต้องทำอะไรเลย ถ้าใครมีความอยากจะไม่เจอ ต้องมีความหยุด“หยุด” อย่างเดียวจึงจะเจอ ถ้า “อยาก” ไม่เจอ ตรงนี้สำคัญมากถ้าใครจะมาพิสูจน์ต้องทำอย่างนี้ ถ้าไม่ทำอย่างนี้แล้วไม่เจอก็อย่ามาว่ากันนะ เพราะว่าทำผิดวิธีการ ถ้าเราดูพริกไทยอย่างเดียว เราจะไม่มีวันรู้เลยว่ารสเผ็ดมันเป็นอย่างไร ต้องชิมจึงจะรู้ หรือได้ฟังคนอื่นเขาว่าเผ็ดเราแค่เดินผ่านเราก็ไม่เผ็ด ต้องพิสูจน์ ต้องมาชิมดู ธรรมะก็เช่นกัน ต้องทำให้ถูกหลักวิชชา
Ehipassiko
The Dhammakaya can be found inside every human being regardless of his race or creed and whether or not one knows about Him. How can one know this? Ehipassiko! One must prove it, of course! One can prove the existence of the Dhammakaya by keeping one’s mind still and quiet at the seventh base in the center of one’s body. One has no need to do anything else.
Cessation of all thoughts is the key to success. This is the truth that everyone must bear in mind if one wants to succeed.
To prove the existence of the Dhammakaya, one must keep one’s mind absolutely still. When one looks at a chili pepper, one can never know what it tastes like. One may have heard that chili peppers taste hot, still one does not know what it means unless one has tasted them. The same principle applies to the existence of the Dhammakaya. One must prove it by one’s self by practicing accordingly.
来观
每个人的体内都有法身,不管是什么种族、宗教或血统,也不管知道或不知道,相信或不相信。怎么确定呢?当然要来观,亲自体证。什么也不用做,让心静定在体内中心第七点。如果谁心存渴望,就无法证入;唯有心静定下来,才能证入。这一点很重要,谁想证实就要这样做。如果不这样做,不要埋怨说看不见,因为那是你的方法错了。譬如你只盯着胡椒粉,没有亲自品尝,怎么知道它是辣的?或者是道听途说,又怎知它的辣味?所以必须亲自尝试,自己去验证才知道。佛法也一样,需以正确的方法修习体证。
เราสามารถพิสูจน์ได้ว่าพระธรรมกายมีอยู่จริงในตนเอง
ถ้าหากเราปรารถนาที่จะสมหวังในชีวิต อยากพบความสุขที่แท้จริงอยากจะรู้ว่าคนเราเกิดมาทำไม อะไรคือเป้าหมายของชีวิต แล้วจะไปสู่เป้าหมายนั้นได้อย่างไร วิธีอื่นจะพิสูจน์ไม่ได้ จะไปอ่านตำรับตำราหรือจะไปฟังเขา มันเชื่อยาก เพราะไม่เห็น ต้องเห็นเองอย่างเดียว ถ้าอยากเห็นก็ต้องทำ ต้องพิสูจน์ให้เห็นด้วยตาตามหลักวิชชา พระมีอยู่ในตัวเป็นสิ่งที่ต้องทำมันต้องเข้าถึงอย่างเดียว
Prove the fact that the Dhammakaya exists inside one’s self.
If one wishes to meet with fulfillment and true happiness in life, if one wishes to find out why one is here and what one is here to do, if one wishes to find out what one’s life-goal is and how to go about achieving it, one must find the answers one’s self. One must practice meditation accordingly in order to attain the Dhammakaya and prove the fact that He exists inside one’s self.
证实法身就在自己体内
如果我们想成就圆满的人生,想获得真正的快乐,想知道为何生而为人?什么是生命的目标?如何实现该目标?若只透过学习经典或道听途说很难令人信服,因为没有证悟。可是要想证悟,就要自己亲自实践修行。法身就在我们体内,只要如法修行就一定可以证悟。
ใช้เวลาให้คุ้มค่า
เรามีเวลาอยู่ในโลกนี้จำกัด จำกัดเพื่อทำความดี เพื่อสร้างบารมี ถ้าในหนึ่งวันเราแบ่งเวลาเป็นสามช่วง ช่วงละ ๘ ชั่วโมง เราหมดเวลาไปกับการนอนหนึ่งในสามของชีวิต การทำมาหากินอีกหนึ่งในสาม ถ้าใครทำ overtime ก็หนักเข้าไปอีก รับประทานอาหาร อาบน้ำ ล้างหน้า แปรงฟัน สนุกสนาน เพลิดเพลิน ดูทีวี อีกหนึ่งในสาม
Spending One’s Time Wisely
One’s time on earth is limited. Therefore, it must be spent performing wholesome deeds and pursuing Perfections. One’s day can be divided into three parts, each part containing eight hours. One part or one third of one’s day is spent sleeping. One third of one’s day is spent earning a living; and it is more if one has to work overtime. The last third of one’s day is spent doing things like eating, bathing, brushing one’s teeth, watching TV, etc.
充分利用时间
人生的时间有限,行善修波罗蜜的时间有限。如果将一天分为三段,每段八个小时。睡觉就已经用掉人生的三分之一,工作谋生又用掉三分之一,如果有加班还会花更多时间。剩下三分之一的时间,还要用在吃饭、洗漱、看电视、娱乐等方面。
วันหนึ่งเราได้เวลาเท่ากันคือคนละ ๒๔ ชั่วโมง
วันหนึ่งเราได้เวลาเท่ากันคือคนละ ๒๔ ชั่วโมง แต่ได้ไม่เท่ากัน คือได้บุญกุศลไม่เท่ากัน สูญเสียเวลาเท่ากันแต่สิ่งที่ได้มาไม่เท่ากัน แค่นอนเฉย ๆไม่ต้องไปทำความชั่วก็ถือว่าไม่ได้บุญ ถ้าใช้ชีวิตไปกับบาป ไปดื่มเหล้าสูบบุหรี่ เล่นการพนัน เจ้าชู้ เที่ยวกลางคืน ไปบาร์ ไปคลับ อย่างนี้แล้วเราจะเอาอะไรมาเป็นกำไรชีวิต ไม่มีเลย ต้องคิดกันให้ดี ๆ เพราะเราเกิดมาเพื่อทำพระนิพพานให้แจ้งและสร้างบารมี ต้องจับหลักตรงนี้ให้ได้ จับหลักตรงนี้ไม่ได้ชีวิตก็เหลว
Each one of us has the same twenty–four hours a day
Although each one of us has the same twenty-four hours a day, not everyone spends the time he has wisely. To spend time wisely here means to spend time performing wholesome deeds. Sleeping does not earn one merit. Merit has to be earned by performing wholesome deeds. Most people spend their time accumulating deeds of demerit like drinking alcohol, smoking cigarettes, womanizing, going out carousing at night, frequenting bars and pubs. One must be cognizant of the fact that one is here on earth to make clear the Path and Fruit of Nibbana and to pursue Perfections. Otherwise, one will be lost and one’s life will amount to nothing.
每个人每天都有二十四小时
每个人每天都有二十四小时,可收获的功德却不一样。拥有的时间一样,但收获的东西却不一样。即便休息睡觉,不去造作恶业,也没有功德。如果每天造作恶业,养成吸烟、喝酒、赌博、拈花惹草,以及逛夜店、酒吧或风月场所等恶习,又怎能成为人生赢家呢?这一点要清楚,因为我们生来是为了修波罗蜜和证得涅槃,要坚守这个原则,否则人生将失去意义。
คำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นคำสอนที่ถูกต้องนำมาใช้ได้กับทุกคน
หลักนี้เอามาจากไหน ก็จากคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ทรงศึกษาฝึกฝนตนเอง จนกระทั่งบรรลุมรรคผลนิพพาน เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ผู้พ้นแล้วจากกิเลสอาสวะ คำสอนของพระองค์จึงเป็นคำสอนที่ถูกต้อง
The Lord Buddha’sTeachings are true and they apply to every being.
The Lord Buddha had taken countless existences undertaking self-training for the purpose of attaining the Path and Fruit of Nibbana. And He did eventually. The Lord Buddha is all-knowing, fully awake, gloriously joyful, and devoid of defilements. Therefore, His Teachings are true and they apply to every being.
佛陀正确的教诲适用于任何人
这个原则源自哪里?源自于佛陀的教诲。世尊也是经过累世的学习和训练才证得道果涅槃,成为正等正觉的佛陀。世尊是断尽烦恼的智者、觉醒者、喜悦者和解脱者,所以世尊的教诲是正确的教诲。
ได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์หนึ่ง
แต่ละภพแต่ละชาติพระองค์เกิดมาก็จะมาทำพระนิพพานให้แจ้ง เมื่อยังไม่แจ้งก็สั่งสมบ่มบารมีกันไป พอบารมีเต็มเปี่ยมก็ได้บรรจุตำแหน่งเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์หนึ่ง จะเป็นปัญญาธิกพุทธเจ้า ศรัทธาธิกพุทธเจ้า หรือวิริยาธิกพุทธเจ้า ก็แล้วแต่กำลังบุญบารมี แล้วตอนที่พระองค์บรรลุมรรคผลนิพพานในตัวก็เห็นนั่งเฉย ๆ แล้วบรรลุนะ พระองค์ไม่ได้จับจอบ จับเสียม ไม่ได้ขุดดิน ดายหญ้า ไม่ได้ตีกอล์ฟ ไม่ได้อ่านตำรับตำราในห้องสมุด ไม่ได้อยู่ หน้าคอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต ก็เห็นท่านนั่งเฉย ๆ หลับตาขัดสมาธิคู้บัลลังก์ ดำรงสติให้มั่น เอาใจถอนจากความยินดียินร้าย
Attain Self–Enlightenment and became one of the Buddhas
Each of His previous existences was for the purpose of making clear the Path and Fruit of Nibbana and pursuing Perfections. Once His Perfections had been pursued to the fullest extent, he was able to attain Self-Enlightenment and became one of the Buddhas. There are three categories of Buddhas,namely, Pannadhikabuddhas, Saddhadhikabuddhas, and Viriyadhikabuddhas depending on the level of their accumulated merit and Perfections. When it was time for our Bodhisatta to attain the Path and Fruit of Nibbana, He did so by sitting still. He did not use a hoe or a shovel to dig in the garden. He did not play golf. He did not go to the library to read a book. He did not sit in front of a computer using the Internet. All He did was sitting still in a half-lotus position, closing His eyes, maintaining mindfulness, and being completely removed from pleasure and displeasure.
觉悟成佛
菩萨每一生每一世都在为证得涅槃而精进。只要此目标还未达成,就继续勤修波罗蜜,直至波罗蜜圆满而成就佛果。要成为智慧佛、信佛或精进佛,取决于每尊菩萨累积的波罗蜜。当菩萨证得道果涅槃的时候,是静静的打坐禅修,没有拿着锄头除草,没有拿着镐挖地,没有打高尔夫球,没有在图书馆看书,没有在电脑前上网。菩萨是通过闭上双眼盘腿打坐,收摄心念,舍离万缘,深入静定而断尽烦恼。
ให้มีสติรู้ตัวตลอดเวลา
อาตาปี ทำความเพียรให้กลั่นกล้า ยังกิเลสให้เร่าร้อน หมายความว่า ถ้าเราทำความเพียร กิเลสจะเร่าร้อน พอร้อนมันก็ระเหยไปอย่างนั้น นี่อุปมาให้มีสติรู้ตัวตลอดเวลา ถอนใจออกจากความยินดียินร้าย ให้ใจได้สมดุลเหมือนตาชั่งสองข้าง ไม่เอียง ทางยินดี ไม่เอียงทางยินร้าย นิ่ง ๆ พอดี ๆ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับนั่งอยู่ใต้ควงไม้พระศรีมหาโพธิ์ แล้วก็ทำนิ่ง ๆ เฉย ๆ ก็เข้าถึงได้ พระบรมครูของเราเป็นต้นแบบอย่างนี้ เราก็ต้องทำอย่างนั้น
Being fully self–aware
Endeavoring to practice meditation earnestly and burning off defilements. When one endeavors to practice meditation earnestly, one’s defilements will become so hot that they simply evaporate. This is of course just an analogy.
Being fully self-aware and completely removed from pleasure and displeasure. His mind was in complete balance, neither tilted toward pleasure nor displeasure. His mind was quiet and just right. As He sat under the Bodhi Tree and kept His mind still and quiet, He was able to attain Self-Enlightenment and become the Lord Buddha. The Lord Buddha is our best role model and we must follow in His example.
时刻保持正念
菩萨在定中保持正念,放下执着,不悲不喜,中道修行,像天平秤一样不偏不倚。菩萨在菩提树下一直精进修习禅定,如如不动,最终证悟。我们的伟大导师如何做,我们应该也如此。
ยุคเสวยบุญ
แต่เดิมการปฏิบัติธรรมมีหลากหลาย แต่ไม่ได้ระบุชี้ชัดว่า ทำอย่างไรจึงจะได้บรรลุมรรคผลนิพพาน ถึงแม้มีกุศลศรัทธา มีความตั้งใจอย่างแน่วแน่ แต่ไม่รู้วิธีการที่ชัดเจน การปฏิบัติธรรมนั้นจึงทำได้ยาก มาง่ายเมื่อพระเดชพระคุณหลวงปู่ฯ ท่านค้นคว้ากลับคืนมาอีกครั้ง เราก็เลยอยู่ในยุคของผู้เสวย บุญคือได้รับความรู้อันยิ่งใหญ่นี้สืบทอดกันต่อมา ทำให้มั่นใจในการปฏิบัติธรรมมากขึ้น และง่ายต่อการปฏิบัติ อย่างน้อยก็รู้ว่ามรรคผลนิพพานอยู่ในตัว รู้ว่าต้องเริ่มต้นที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ ด้วยวิธีการนำใจกลับมาหยุดนิ่งที่ตรงนี้ แล้วก็หยุดในหยุดอย่างเดียวก็จะเข้าถึงสิ่งที่มีอยู่แล้วในตัว ในเส้ทางพระอริยเจ้า
The Age of Enjoying the Fruit of One’s Merit
There have always been many different meditation practices but there was no indication of the practice which could lead to the attainment of the Path and Fruit of Nibbana. A practitioner might be dedicated to meditation practice but if he did not know the precise practice, it would be impossible for him to attain the Dhamma. But once the Most Venerable Luang Pu had discovered the precise practice and made it available once again, all of us living here and now can be said to be living in an age of enjoying the fruit of our merit. We have learnt about Vijja Dhammakaya Meditation Practice; therefore, we can be confident of our meditation practice and our capability. At least, we know that the Path and Fruit of Nibbana is inside us. We know that it must begin by bringing our mind to a standstill at the seventh base in the center of our body. The level of stillness must continue to increase as our mind journeys inward along the path of the Ariya Personages.
享福报的时代
佛经中记录了多种修行方法有,可是没有具体说明如何证得道果涅槃。修行者即使有坚定的信仰与决心,但不清楚具体的修行方法,也难以证悟佛法。后来,祖师让失传已久的法身法门重现人间,才让修行变得更简单了。我们这代人很有福报,有机会修习和传承法身法门。这让我们对修行更有信心,也让修行变得更加简单。至少让我们明白道果涅槃就在体内,从静定在体内中心第七点开始。让心回归内在,在不断深入静定中进入圣者之道。
การสูญเสียเวลานั้น มันดึงเอาความสดชื่น ความแข็งแรงของร่างกายนี้ไป
เมื่อพรรษานี้เป็นพรรษาแห่งการบรรลุพระธรรมกาย เรามาพิจารณาตัวเราว่า เราทำจริงจังแค่ไหน ได้กี่เปอร์เซ็นต์ ถ้าหากยังไม่ถึง ๑๐๐ เวลาที่เหลืออยู่นี้ ก็ต้องกลับเนื้อกลับตัวกลับใจเสียใหม่ จะต้องเอาจริงเอาจังกันให้ได้ เพราะเราสูญเสียเวลาของชีวิตไปทุก ๆ วัน การสูญเสียเวลานั้น มันดึงเอาความสดชื่น ความแข็งแรงของร่างกายนี้ไป แล้วก็แปรมาเป็นความเสื่อมของร่างกายเรา สิ่งที่เราได้รับกลับคืนมาในแต่ละวันแต่ละคืนนั้นคุ้มค่ากันไหมกับเวลาที่เสียไป นี่ก็เป็นสิ่งที่เราจะต้องนำมาพิจารณา
Know that time is passing by and taking with it one’s youthfulness and one’s strength.
Since this Rains-Retreat is the season for attaining the Dhammakaya, let each of you check to see how earnestly you have been practicing meditation. Have you given it 100% of yourself yet? If not, it is now time to reconsider your situation. You must earnestly practice meditation instead of allowing your time to pass idly by. Know that time is passing by and taking with it one’s youthfulness and one’s strength. One needs to consider if one is gaining what one should be gaining with each passing day and night.
精力和健康随着光阴的流逝而逝去
雨安居是证入法身的季节,我们要省思自己是否精进修行。如果还没达到百分之一百地精进,就应该利用所剩的时间全心全意精进修行。生命的光阴一点一点的流逝,我们的精力和健康也在一点一点的逝去,而我们也在逐渐走向衰老。面对流逝的光阴,我们的收获是否与之匹配。这一点值得大家深思。
ต้องทำความดีเอง
ทุกคนในโลกได้ใช้เวลาวันละ ๒๔ ชั่วโมงเท่ากัน ไม่ว่าเด็ก ผู้ใหญ่ ทุกเพศ ทุกวัย ทุกชาติ ทุกภาษา ทุกศาสนา ทุกคนใช้เวลาเท่ากัน แต่ผลที่ได้กลับคืนมา ไม่เท่ากัน ผู้รู้จะได้ผลกลับคืนมาเป็นกำไรชีวิต แต่ผู้ไม่รู้ผลตอบแทนกลับมาคือขาดทุนชีวิต นี่เป็นสิ่งที่สำคัญจะค้าขายอะไรเราก็หวังกำไร จะใช้ชีวิตเราก็หวังจะได้กำไรชีวิต ไม่มีใครอยากขาดทุน หรือแม้แต่เท่าทุน เพราะเท่าทุนก็คือขาดทุนนั่นเอง เพราะมันเหนื่อย เราอยากจะได้กำไรกันทุกคน แต่จะได้กำไรนี่ ถ้าอยู่เฉย ๆ มันไม่ได้ชีวิตก็เหมือนกัน ถ้าไม่ทำความดี กำไรชีวิตก็ไม่ได้ อยู่เฉย ๆ จะให้ความดีเกิดขึ้น ไม่มี ความดีมันต้องทำ
It is necessary to perform wholesome deeds
Everyone on earth has the same twenty-four hours a day. But what can be gained in a day is not the same for everyone. Those with knowledge of the Dhamma achieve much gain whereas those without knowledge of the Dhamma achieve small gain or they may even suffer loss. This is an important point to bear in mind.
When one is selling something, one hopes to make a profit. Likewise, in life one hopes to live one’s life in such a way as to gain something significant. No one wants to live a life without gaining something significant. But to gain something significant in life, one cannot afford to do nothing. One must endeavor to perform wholesome deeds. One must be willing to put in the time and effort necessary to perform wholesome deeds so that one can gain something significant in life.
要精进行善
任何年龄、性别、国籍、语言或宗教的人都一样,每个人每天都有二十四小时,但每个人的收获却不一样。智者让人生圆满,愚者使人生欠缺。做生意希望获利,因自己努力希望人生圆满。没有人想亏损或刚刚好回本,回本也是亏本,因为我们付出了时间和劳动。想获利,却不想付出,是不可能的。人生也是同样的道理。如果不行善,人生难以圆满。不付出就没有回报,所以需要行善。
สิ่งที่เราต้องทำคือนำความรู้ไปปฏิบัติ
พวกเรามีบุญมากที่รู้วิธีการ คือหยุดนิ่งเฉย ๆ ไม่ต้องไปยืนขาเดียวอ้าปากกินลม นอนบนตะปู หรืออดอาหารบำเพ็ญทุกรกิริยา
เหมือนนักบวชในสมัยพุทธกาล เพื่อจะบรรลุธรรม หรือหาที่พึ่งที่ระลึก เพราะว่ามีผู้ที่สละชีวิตและผ่านประสบการณ์เช่นพระเดชพระคุณหลวงปู่วัดปากน้ำไปค้นมาให้แล้ว เราอยู่ในระดับคว้า โอกาสที่จะคว้ามันมีอยู่แล้ว ถ้าไม่คว้าก็เป็นวิกฤติของชีวิตไป มันต้องไขว่คว้าเอาจึงจะได้
All we have to do is to take the knowledge and run with it.
One knows how to attain the Dhammakaya because one possesses a vast amount of merit. To attain the Dhammakaya, one must keep one’s mind still and quiet. To do anything else like standing on one leg, keeping one’s mouth open all the time, lying on a bed of nails or undergoing prolonged fasting cannot lead one to the Dhammakaya. Luang Pu had put his life on the line in order to discover what it would take for human beings to attain the Dhammakaya. All we have to do is to take the knowledge and run with it.
将知识用于实践
我们很有福报,如是了解静心的方法。而不用像佛陀时代的苦行者,单脚站立、张嘴吃风、睡在钉子上或禁食等行为,来寻找证法之道。因为北榄寺祖师舍身求法,才使得法身法门重现人间。我们只需依照祖师的经验修行,就有机会证入内在的法身。
อยากหยุดต้องหยุดอยาก
พระธรรมกายภายในแม้มีอยู่ แต่ถ้าไม่ถูกหลักวิชาก็เข้าไม่ถึงเพราะฉะนั้น หยุด ตัวเดียว ใจหยุดจึงจะเข้าถึงได้ ถ้าอยากหยุดใจได้ เราต้องหยุดอยาก หยุดความอยากได้ อยากมี อยากเป็นอะไรทั้งหมดเลย หยุดอย่างเดียวจึงจะเข้าถึงได้ เพราะฉะนั้นต้องจำให้ได้ ถ้าอยากหยุด ต้องหยุดอยาก
To Arrive at Stillness, One Must Stop Wanting It So Badly
Remember that although the Dhammakaya is inside every human being, but if one does not have the know-how, one will not be able to attain Him. To attain the Dhammakaya, one must keep one’s mind absolutely still. To arrive at stillness, one must stop wanting it so badly. In fact, one must not want anything at all. One must keep one’s mind absolutely still in order to attain the Dhammakaya. To arrive at stillness, one must stop wanting it so badly.
想静止就要放下渴望
法身就在体内,可是不如法修行就无法证入。静定很重要,只有让心静定下来才能证入。若想让心静定下来,就要放下一切渴望,放下想得到、想看到、想成为,然后持续地静定才能证入法身。因此,若想让心静定下来,就先放下渴望。
ให้ของขวัญลำค่าแก่ตัวเอง
การมีชีวิตต่ออีกหนึ่งวัน ถือเป็นของขวัญล้ำค่าสำหรับชีวิตที่เราเกิดมาแสวงหาพระนิพพาน หรือมาสร้างบารมี ถือว่าเป็นของขวัญที่ดีมาก ๆยิ่งกว่าทรัพย์สินเงินทอง เพราะในหนึ่งวันนั้นเราจะได้โอกาสสำหรับการทำพระนิพพานให้แจ้งเราได้เรียนรู้แล้วว่า มรรคผลนิพพานอยู่ในตัว การจะเข้าถึงได้ก็ต้องนำใจมาหยุดนิ่งอยู่ในศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ หลักวิชชาเรารู้กันหมดทุกคนแล้ว เพราะฉะนั้นได้เพิ่มมาอีกหนึ่งวัน นั่นแหละของขวัญล้ำค่า คือได้โอกาสมาสำหรับการปฏิบัติธรรม
A great gift for yourself
To be alive for another day is a great gift for those who know that they are here to make clear the Path and Fruit of Nibbana and to pursue Perfections. It is a greater gift than money or other kinds of material wealth because one has the opportunity to spend the day making clear the Path and Fruit of Nibbana.
You have already learnt that the Path and Fruit of Nibbana can be found inside you by bringing your mind to a standstill at the seventh base in the center of your body. You have the know-how; it remains for you to practice it earnestly.
送给自己的礼物
我们生来是为了证得涅槃或修波罗蜜,所以多一天的生命也是弥足珍贵的礼物。这比金银财宝更珍贵,因为就算只是一天的时间也有机会证得涅槃。
我们知道道果涅槃就在体内,想要证入就让心静定在体内中心第七点。这个大家都知道,多一天的生命就显得很珍贵,因为有更多的时间来修行打坐。
จัดสรรเวลาให้เป็น
เรามีเวลาเท่ากันทุกคน วันหนึ่ง ๒๔ ชั่วโมง ไม่มีใครเสียเปรียบได้เปรียบทุกชาติ ทุกศาสนา ทุกเพศ ทุกวัย ทุกสาขาอาชีพ ทุกคนมีเวลาในแต่ละวันเท่ากัน ต่างแต่ว่าใครจะใช้เวลาให้เป็นประโยชน์ต่อชีวิตเวลาที่เราสูญเสียไป สิ่งที่ได้กลับคืนมานั้นต้องเป็นกำไรชีวิต เขาวัดตรงที่บุญกุศลที่เกิดขึ้นในทุก ๆ วัน ทั้งทาน ศีล ภาวนา เป็นต้น อย่างนี้จึงเรียกว่า ได้กำไรชีวิต แต่บางคนใช้วันเวลาผ่านไปโดยไม่ได้กำไรชีวิตเลย เพราะเขามักจะมีอยู่คำหนึ่งที่เอาไว้อ้าง เวลาจะไปชวนทำความดี ชวนปฏิบัติธรรมก็จะบอกว่า ไม่ว่าง ไม่มีเวลา จริง ๆ แล้วไม่มีเวลาไม่มีในโลก เพราะทุกคนมีเวลาเท่ากัน ขึ้นอยู่กับว่าใครจะบริหารเวลาหรือจัดสรรเวลาเป็น ถ้าเราจัดสรรเวลา เราจะพบว่าเรามีเวลาเหลือเฟือสำหรับการปฏิบัติธรรม ตัดการคุยโทรศัพท์ที่ไร้สาระ เวลาดูหนัง ดูทีวี เวลาเที่ยวเตร่สนุกสนานเพลิดเพลิน หรือเวลาที่อ่านหนังสือที่ไร้สาระ อย่างนี้ เป็นต้น และถ้าเราเอาเวลาที่จะสูญเสียไปอย่างนั้น เอามานั่งธรรมะ กำไรชีวิตจึงจะเกิดขึ้น
Time Management
Everyone on earth has twenty-four hours a day. What really matters is whether or not one is spending one’s time to gain something significant in one’s life. The time spent must yield what is called life’s gain.
Life’s gain is measured by one’s increasing wholesomeness which can be gained by giving alms, observing the Precepts, practicing meditation, etc. However, some people spend their days without gaining anything significant. They have all kinds of excuses when invited to perform wholesome deeds. They are too busy. They do not have the time when actually they do but it all depends on how they manage their time.
If one knows how to manage one’s time, one will realize how one has plenty of time to practice meditation. If instead of spending time talking on the phone, watching movies, watching TV, reading nonsensical books, having fun, etc., one chooses to spend it practicing meditation then one will have gained something significant in one’s life.
合理利用时间
每个人每天的时间都是二十四小时,任何国籍、宗教、性别、年龄或职业的人都一样。不同的是谁能充分利用时间去做有意义的事情,使人生有价值。至于人生是否有价值,主要取决于是否累积功德,即每天布施、持戒、打坐等。可是有的人却将时间用在无意义的事情上。每当邀请他行善或修行时,他总是借口说自己很忙,没有时间。实际上人人都有时间,因为每个人每天二十四小时,主要取决于是否会合理安排时间。
พึ่งตัวเองได้
การเข้าถึงพระธรรมกายภายใน ได้ชื่อว่าเรามีที่พึ่งที่ระลึกภายใน เราสามารถพึ่งตัวเราเองได้ การพึ่งตัวเองได้เป็นความรู้สึกที่ยิ่งใหญ่อยู่ในตัว เราจะมีปีติและภาคภูมิใจ มีความรู้สึกว่าเราไม่จำเป็นจะต้องไปพึ่งต้นไม้ ภูเขาหรืออะไรก็แล้วแต่เราจะมีความรู้สึกที่ยิ่งใหญ่ ที่เราจะอยู่ตรงไหนก็ได้ทุกหนทุกแห่งในโลกใบนี้ หรือที่ที่ใคร ๆ เขาเหงา แต่เราไม่เหงา อยู่คนเดียวก็สบายใจ ไม่เศร้า ไม่ซึม ไม่เซ็ง ไม่เครียด ไม่เบื่อ ไม่กลุ้ม เพราะเรามีพระในตัวพึ่งตัวเองได้ ไม่จำเป็นจะต้องไปพึ่งเหล้า พึ่งการพนัน พึ่งสิ่งที่ทำให้สนุกสนานเพลิดเพลิน เพราะเราคิดว่าสิ่งเหล่านั้นคงจะช่วยดับทุกข์ได้ เป็นเพื่อนใจให้หายกลุ้ม แต่ความจริงสิ่งเหล่านั้นไม่ได้ช่วยเลย ไปดูหนังก็ทำให้ลืมไปได้ชั่วคราว แต่ถ้าดูนาน ๆ ก็เมื่อย ออกมาก็มึน เพราะฉะนั้นการพึ่งตัวเองได้เป็นความรู้สึกที่ยิ่งใหญ่มากจริง ๆ ไม่เชื่อลองดูก็ได้ ลองเข้าไปพบที่พึ่งภายในสิ
Self–Reliance
To attain the Dhammakaya is synonymous with gaining one’s own refuge. It means that one has achieved true self-reliance. This feat gives the feeling of personal greatness and it makes one feel joyful and proud. One feels that one no longer needs to take refuge in things outside of one’s self.
This feeling of personal greatness makes one feel that one can go and live anywhere on earth without ever feeling lonely. One will never feel sad, depressed, bored, stressed out, or worried because one has the Dhammakaya as one’s refuge. One does not need alcohol, gambling activities or different forms of entertainment to keep one from feeling down and out. These activities can never lift one up or help one in any way. They may help one to forget one’s trouble temporarily but that is all. Nothing can be compared to the attainment of the Dhammakaya who is one’s true refuge. One must try it and see it for one’s self!
以自己为依靠(一)
证得内在的法身即是有了内在的依靠。我们如果能以自己为依靠,那是一种了不起的成就。我们会感到法喜和自豪,今后不用再以树木、山川或其他东西为依靠了,可以在世界上任何地方生存。有的人独处感觉孤独,但我们独处不会感到孤独、悲伤、寂寞、苦闷、紧张或无聊,而是怡然自得。因为我们以内在的法身为依靠,不再依靠酒精、赌博或娱乐。我们原以为这些可以帮助自己排忧解难,但事实并非如此。看电影消遣只是暂时忘记痛苦而已,看久了会疲劳或头晕。因此,如果可以依靠自己,那是一种巨大的成就,不信就去实践,一起努力找到内在的依靠。
ไม่มีความเหงา
ครูไม่ใหญ่เคยถามคุณยายอาจารย์มหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูงว่า “ยายเหงาไหม” ท่านบอกว่า “ไม่เคยเลย ไม่มีใครมาคุย ยายก็คุยกับองค์พระของยายก็ได้ ไปคุยกับเทวดาก็ได้ เทวดามีเป็นล้าน ๆ คุยไม่หมดหรอกยายไม่มีเหงา ยายมีความสุขสบาย”เราก็เห็นว่า ไม่เห็นท่านมีอะไรมากไปกว่าอาสนะผืนหนึ่ง เสื้อผ้าราคาก็ไม่แพงแต่สะอาด เป็นระเบียบ อาหารก็เห็นท่านรับประทานเป็นมื้อ ๆ ก็ไม่ได้เยอะอะไรเท่าไร เพราะตัวท่านก็เล็ก ๆ บาง ๆ แต่ทำไมดูหน้าตาท่านสดชื่นแม้อยู่ในวัยชราแต่หน้ายังตึงเลยนะ เพราะฉะนั้น ผู้ที่เข้าถึงพระธรรมกายภายในแล้วจะมีความรู้สึกที่ยิ่งใหญ่จริง ๆ ลองดูนะ เราต้องพึ่งตัวเองให้ได้แล้วจะสบาย หนังไม่ต้องดูก็ไม่มีปัญหา ทีวีไม่มีก็ไม่มีปัญหา ไม่ได้ไปเที่ยวป่า เที่ยวเขา ไม่ได้ไปชายทะเล ไม่ได้ไปต่างประเทศก็ไม่มีปัญหา หรือไปต่างประเทศตั้งใจว่าจะไปพักผ่อนแต่กลับมาต้องมาพักผ่อนต่อ มันเป็นอย่างนี้นะ
Never lonely
Kru Mai Yai once asked our Master Nun, Khun Yai Chandra Khonnokyoong if she ever felt lonely, and she said that she had never felt lonely, for if she had no one to talk to, she could always talk to her Dhammakaya or to celestial beings. There are millions and millions of celestial beings that she could talk to. She had never felt lonely but she always felt happy and content.
All Khun Yai needed was a seat cushion and inexpensive clothes, but everything she had was clean and tidy. She ate but a little during mealtime because she was tiny. But she looked so lively and happy and her skin even in her advanced age was still tight and firm.
Whoever can attain the Dhammakaya will feel a sense of greatness. Try it and see it for yourself. If you can be self-reliant, you will feel happy and content. You will have no more need to watch movies or TV. You will have no more need to go on a vacation in exotic places.
从不寂寞
师父曾问詹老奶奶:“奶奶寂寞吗?”奶奶说:“不曾有过。没人聊天,奶奶就跟自己的法身聊天,或者跟不计其数的天人聊天。奶奶从不寂寞,只有快乐。”
我们留意到,奶奶生活简朴:常用的坐垫,身上的衣服也不贵,但既整齐又干净,每一餐吃得也不多。虽然奶奶身材瘦小,但精神抖擞。即使上了年纪,但依然神采奕奕。
证得法身的人会有一种殊胜的成就感。我们只有依靠自己才会舒心惬意,不看电影或电视没问题,没有游山玩水或出国旅游也没问题。本以为可以借出国的机会休息,但其实回来后还是要休息,事实就是如此。
แสวงหาความสุขที่แท้จริงจากภายในตัวเรา
พระเดชพระคุณหลวงปู่ฯ ของเรา กลางพรรษาที่ ๑๒ เป็นประวัติศาสตร์ชีวิตอันงดงาม อายุ ๓๓ ปี ท่านได้สละชีวิตปฏิบัติธรรมกระทั่งเข้าถึงที่พึ่งภายใน แล้วก็นำมาแจกจ่ายแบ่งปันมาถึงพวกเราดังนั้น ใครที่ยังไม่ได้ทำจริง ๆ จัง ๆ ต้องรีบลุยกันแล้ว ถ้าไม่รีบลุยก็จะช้าเกินไป เพราะจริง ๆ แล้วชีวิตเราเกิดมาก็เพื่อแสวงหาพระรัตนตรัยในตัวสิ่งอื่นไม่ใช่ รู้ได้อย่างไรว่าไม่ใช่ ก็สังเกตดูความขี้เบื่อของเราสิ คิดว่าอย่างนี้ใช่ ไม่ว่าจะเป็นคนก็ดี สัตว์ก็ดี สิ่งของก็ดี คงใช่มั้ง ใช่เลย ประมาณนี้เลย อยู่กันไปนาน ๆ เบื่ออีกแล้ว บอกไม่ใช่ประมาณนี้ ต้องไปแสวงหาในอุดมคติใหม่ ก็เพราะสิ่งที่เราแสวงหามันไม่ได้อยู่นอกตัว มัวไปหาของนอกตัวก็ไม่เจอ มันไปหาผิดที่ ถ้าถูกที่ถึงจะใช่เลย คำว่า ใช่เลย เขามาใช้ตอนที่เข้าถึงดวงเพราะฉะนั้นก็ต้องทำให้ได้ภายในพรรษานี้
Find true happiness inside one’s self
Our Most Venerable Luang Pu spent the middle of his twelfth year in the monkhood in his 33rd year of life making history by putting his life on the line to practice meditation until he could attain the Dhammakaya. And he has kindly passed on the sacred knowledge to us.
If anyone has not yet endeavored to practice meditation earnestly, now is the time to get started or it will be too late. Always keep in mind that everyone is here on earth to search for the Inner Triple Gem and not something else. One has tried to find happiness in people, animals, and things only to discover that soon enough one grows tired of them and must look for something else or for that ideal person. One will never be able to find true happiness outside of one’s self because true happiness can only be found inside one’s self. One will know it the instant one attains the Dhamma Sphere or the Dhammakaya. This is the season for attaining the Dhammakaya.
找到内心真正的快乐
祖师出家的第十二年,即三十三岁时,是具有纪念意义的一年。祖师舍命精进修行证得法身,并慈悲将法身法门传授给后人。如果谁还没有精进修行,要赶紧努力了。若再不精进,就太晚了。因为我们生来是为了寻找内在的三宝,其他东西都不是我们真正的人生目标。怎么知道不是?从我们对事物的情绪就一目了然。我们认为这个是自己所追寻的,可能是一个人、一个动物或一样物品。可能是吧!就是了!哦,大概是吧!得到之后,过了一段时间,失去了激情。觉得又不是自己所要的,就重新寻找新的目标。因为我们真正要寻找的不是外在的目标,如果方向错了怎么找得到。方向正确,且在证入法球时,就会知道:“对了!”因此,要在这个雨安居证入法身。
พระรัตนตรัยภายในเป็นที่พึ่งที่ระลึกอันสูงสุดของเรา
พระธรรมกายมีอยู่ในตัวของมนุษย์ทุกคนในโลก ไม่ว่าจะเป็นเชื้อชาติศาสนาและเผ่าพันธุ์ใดก็ตาม จะรู้หรือไม่รู้ จะเชื่อหรือไม่เชื่อก็ตาม ล้วนมีพระธรรมกายอยู่ในตัวทั้งสิ้น เราจะรู้ได้อย่างไร จะรู้ได้เมื่อเห็น ถ้าไม่เห็นก็ไม่รู้ แล้วทำอย่างไรถึงจะ
เห็น ก็ต้องทำใจให้หยุดนิ่งที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ ในกลางตัวของเรา เราก็จะเห็นได้ไปตามลำดับ ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ เห็นได้ ดังนั้นพรรษานี้ เราจึงจะต้องกวดขันตัวของเราให้เข้าถึงพระธรรมกายในตัวให้ได้ เพราะพระธรรมกายในตัว คือ พระรัตนตรัยภายในซึ่งเป็นที่พึ่งที่ระลึกอันสูงสุดของตัวเรา สิ่งอื่นที่จะเสมอเหมือนหรือยิ่งกว่านี้ไม่มีอีกแล้วเมื่อเข้าไปถึงแล้ว เราจะมีความรู้สึกอบอุ่น ปลอดภัย พึ่งตัวเองได้ เพราะเราเข้าถึงที่พึ่งภายในตัวของเรา เราหมดความจำเป็นจะต้องไปพึ่งต้นไม้ ภูเขาหรืออะไรที่ใคร ๆ เขาว่าดี ที่อยู่ภายนอก มันหมดความจำเป็นแล้ว
Inner Triple Gem is our highest refuge
The Dhammakaya exists inside every human being on earth regardless of his race or creed and whether or not he knows about the Dhammakaya.
One will know this fact once one can see the Dhammakaya. How does one go about seeing the Dhammakaya? Well, one does so by keeping one’s mind still and quiet at the seventh base in the center of one’s body. Everyone can attain the Dhammakaya. Therefore, everyone must endeavor to practice meditation earnestly during this Rains-Retreat so that the Dhammakaya can be attained. The Dhammakaya is the Inner Triple Gem that serves as our highest refuge. Nothing else except for the Triple Gem can be our refuge.
Once the Dhammakaya can be attained, one will feel safe and secure because one has now achieved true self-reliance. One has no more need to try and search for anything else outside one’s self.
内在三宝是我们最崇高的归依处
世上每个人体内都有法身,无论是什么种族、宗教或血统,亦不管知道或不知道,相信或不相信,全部都有法身。怎么知道呢?证入法身就知道了。如何才能证入呢?如果我们将心静定在体内中心第七点,自然会次第看见。每个人都有机会证入,所以我们要为了证入内在的法身精进修行。内在的法身即是内在的三宝,是我们最崇高的依靠,是无与伦比的。当我们证入法身后,会感到温暖和安全,可以作为自己的依靠。因为我们证入了自己内在的依靠,无需再去依靠树木、山川或其他外在的东西。
ชีวิตยังไม่ปลอดภัย
เราต้องทุ่มเทชีวิตจิตใจปฏิบัติธรรมให้เข้าถึงพระธรรมกายให้ได้ ถ้ายังเข้าไม่ถึงชีวิตก็ยังไม่ปลอดภัย และยังไม่ได้ชื่อว่าสมหวังในชีวิต แม้ว่าเราจะสมบูรณ์ด้วยทรัพย์สินเงินทอง ลาภยศสรรเสริญก็ตาม ก็ยังได้ชื่อว่าชีวิตยังไม่สมบูรณ์ เพราะเราเกิดมาแสวงหาพระรัตนตรัยซึ่งจะนำเราหลุดพ้นจากภพสาม ไปทำพระนิพพานให้แจ้งได้
Life is still unsafe
We must be devoted to meditation practice so that the Dhammakaya can be attained. As long as the Dhammakaya cannot be attained, one’s life is still unsafe and one has still not met with life’s fulfillment even if one is blessed with great material wealth, title and position, and recognition. The reason is that one is here on earth to search for the Inner Triple Gem that can lead one out of the Three Spheres of Existence and into Nibbana.
生命并不安全
我们要精进修行证入内在的法身,若还未实现此目标,生命既不安全,也不圆满。即便我们家财万贯,受人敬仰,人生也算不上圆满。我们生而为人,是为了寻找内在的三宝。他将让我们脱离三界,证入涅槃。
เงินซื้อไม่ได้…ต้องทำเอง
ถ้าเราเกิดมาแล้วเข้าถึงองค์พระภายในอย่างนี้จึงจะเรียกว่าสมหวังในชีวิต ไม่ใช่วัดกันที่มีทรัพย์สินเงินทองมากมาย เพราะเงินไม่สามารถซื้อความรู้เรื่องราวความเป็นจริงของชีวิตได้ จะรู้ได้ต้องมีอุปกรณ์ในการเรียนรู้ อุปกรณ์นี้คือพระธรรมกายภายใน ซึ่งเราต้องปฏิบัติให้เข้าถึงให้ได้ถึงจะไปเรียนรู้ได้ เงินจะไปแลกซื้อเพื่อจะให้เข้าถึงพระธรรมกายก็ไม่ได้ ต้องทำเอง ด้วยสูตรสำเร็จ คือ ฝึกใจให้หยุดนิ่ง เพราะ หยุดเป็นตัวสำเร็จ ถ้าไม่หยุดมันก็ไม่สำเร็จ แล้วหยุดนี่ เขาก็ทำกันได้หลายคนแล้ว เพราะฉะนั้นตั้งใจกันให้ดีนะ
No amount of money can help one to attain the Dhammakaya.
As a human being, life’s fulfillment happens only when one has attained the Dhammakaya. Life’s fulfillment is not measured by one’s material wealth because money cannot buy knowledge about the reality of life. To learn the reality of life or the Truth, one needs a learning tool in the form of the Dhammakaya. To attain the Dhammakaya, one must endeavor to practice meditation earnestly. No amount of money can help one to attain the Dhammakaya. The only way that one can attain the Dhammakaya is by keeping one’s mind still and quiet because stillness is the key to success. No stillness, no success. Many of you have already been able to keep their mind still and quiet. So keep on practicing!
钱买不来法身,只能自己修
如果我们能证入内在的法身,这样才算圆满。而不是拥有富可敌国的财富,因为金钱买不来生命的真相。而寻找真相必须要有工具,这个工具就是内在的法身。我们只有透过自己修行证入法身,而不是金钱可以买来的。成就的方法是,让心静定下来。因为静止是成功之本。很多人都成功了,我们也要加倍精进修行。
ไม่แตกต่าง
พระธรรมกาย ซึ่งมีอยู่ในตัวของพวกเราทุกคนในโลก ไม่ว่าจะเป็นเชื้อชาติศาสนาหรือเผ่าพันธุ์ใดก็ตาม จะเชื่อหรือไม่เชื่อ จะรู้หรือ ไม่รู้ก็ตาม ล้วนมีพระธรรมกายอยู่ภายในด้วยกันทั้งสิ้น พระธรรมกายภายในมีลักษณะที่งดงามมาก ประกอบด้วยลักษณะมหาบุรุษครบถ้วนทุกประการ หน้าตาเหมือนกันหมดเลย ไม่มีความแตกต่างในพระธรรมกาย ไม่เหมือนกายมนุษย์ที่มีความหลากหลายด้วยเชื้อชาติศาสนาและเผ่าพันธุ์ เมื่อไรที่ความเหมือนปรากฏ ความแตกต่างก็จะหมดไป หมายความว่า เมื่อทุกคนได้เข้าไปถึงพระธรรมกาย ได้รู้จักเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันแล้ว เมื่อนั้น ความเหมือนก็ปรากฏ ความแตกต่างที่เชื้อชาติศาสนาเผ่าพันธุ์อะไรต่าง ๆ ก็จะล่มสลายไป
No Difference
The Dhammakaya can be found inside every person on earth regardless of his race or creed and whether or not he knows about the Dhammakaya or believes in His existence. The Dhammakaya is inside every person on earth.
The Dhammakaya is glorious and beautiful because He possesses all the thirty-two special physical attributes of the Perfect Man. Every Dhammakaya looks exactly alike, unlike human beings that look quite different one from another given the different races so on and so forth.
As soon as sameness appears, diversity will disappear. It means that when everyone can attain the Dhammakaya, that is when sameness appears. When that happens, diversity in terms of race, creed and everything else will disappear.
没有不同
每个人的体内都有法身,不管是什么种族、宗教或血统,也不管知道或不知道,相信或不相信,人人体内皆有法身。内在的法身圆满三十二大人相,无比庄严。所有法身外观都一样,没有差异。不像人类那样,不同的种族或血统会有不同的外貌。外相虽异,而其本性则一。当所有人都证入内在的法身,就会明白都是一体的。一体性产生,因种族、宗教或血统产生的差异就会消失。
หมดความแตกต่างเมื่อเข้าถึงธรรม
ทุกคนในโลก ไม่ว่าจะเป็นเชื้อชาติ ศาสนา และเผ่าพันธุ์ใดก็ตามล้วนมีพระธรรมกายทั้งสิ้น ไม่ว่าจะรู้หรือไม่รู้ เชื่อหรือไม่เชื่อก็ตาม ล้วนมีพระธรรมกาย พระธรรมกายภายในมีลักษณะที่งดงามมาก ประกอบด้วยลักษณะมหาบุรุษครบถ้วนทุกประการ หน้าตาเหมือนกันหมด เหมือนเป็นพิมพ์เดียวกันไม่ว่าจะอยู่ในกายมนุษย์ชาติไหนก็ตาม เป็นสิ่งเดียวในโลกที่ทุกคนมีเหมือน
กัน คือพระธรรมกายภายใน ไม่มีความแตกต่างในพระธรรมกาย ไม่เหมือนกายมนุษย์ที่มีความแตกต่างหลากหลายด้วยเชื้อชาติศาสนาและเผ่าพันธุ์เมื่อไรที่ความเหมือนปรากฏ ความแตกต่างก็จะหมดไป หมายความว่า เมื่อทุกคนในโลกได้เข้าถึงพระธรรมกาย ได้รู้จักเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันแล้ว เมื่อนั้นความเหมือนก็ปรากฏ ความรู้สึกแตกต่างกันที่เชื้อชาติศาสนาและ
เผ่าพันธุ์หรืออะไรต่าง ๆ ก็จะหมดไป
Diversity Ends When the Dhammakaya Is Attained
The Dhammakaya can be found inside every human being on earth regardless of his race or creed, whether or not he knows about the Dhammakaya or believes in His existence.
The Dhammakaya is gloriously beautiful because He possesses all the thirty-two special physical attributes of the Perfect Man. Every Dhammakaya looks exactly the same. Everyone’s Dhammakaya looks exactly the same. He is the one thing that every human being has in common with each other. There is no difference among the Dhammakaya unlike human beings that differ as a result of their races.
Whenever sameness appears, diversity will end. It means that when everyone on earth can attain the Dhammakaya, that is the time that diversity in terms of race, creed, etc., will disappear.
证得法身后就没有差异了
不管是什么种族、宗教或血统,也不管知道或不知道,相信或不相信,世上每个人体内都有法身。内在的法身圆满三十二大人相,无比庄严。无论是什么种族的人,所有人体内的法身的模样都一样,没有差异。不像人的色身,因不同种族或血统,而形态各异。当所有人都证入内在的法身,了解万物本一体,一体性生起,因种族或血统生起的差异性会消失。
ไม่มีความเสมอภาค
มียุคหนึ่งเกิดกระแสความเสมอภาคเกิดขึ้น คือ ต้องมีความเสมอภาคซึ่งความจริงแล้วไม่มีที่ไหนในโลกที่มีความเสมอภาค อย่าว่าแต่ในโลกมนุษย์เลย แม้ในเทวโลกก็ยังไม่มีความเสมอภาค บางประเทศเขาพยายามทำให้เสมอภาค โดยให้ทุกคนจนลงมาเหมือน ๆ กัน แต่ก็ยังไม่เสมอภาคอยู่ดีเพราะยังมีชนชั้นปกครองที่รวย หรือแม้จะให้รวยก็ไม่เสมอภาคอีก ก็ยังมีรวยมาก รวยน้อย
There is no equality
With good intention and from time to time, a campaign for equality among men has been waged when in fact equality is not possible anywhere on earth. Not only in the Human Realm, but in the Celestial Realm, there is no equality either. Some countries tried to make everyone equal by keeping everyone one poor. And yet, there was no real equality, since the ruling class was rich. Even if everyone was wealthy, there would still be no equality because there would always be a difference in terms of the level of wealth.
没有平等
曾经出现过平等主义思潮,即要求人人均等。可事实上,世上没有一个地方人人均等。不要说在人间,即使在天界也没有。有的国家在努力实现均等,让每个人同等的生活。可还是没有实现,因为还是有统治阶层;即使让所有人都富起来,但每个人的富裕程度也不一样。
ความรู้สึกแตกต่างนำไปสู่ความแตกแยกและความขัดแย้ง
เพราะฉะนั้น ความรู้สึกว่าแตกต่างจึงมีอยู่ในใจของทุกคนในโลก และเพราะความรู้สึกแตกต่างนี้เองที่นำไปสู่ความแตกแยก เกิดความขัดแย้งขึ้น เมื่อมีความรู้สึกว่า ทำไมเขามี ฉันไม่มี หรือฉันมีแต่ทำไมน้อยกว่าเขา ทำไมเขาหล่อแต่ฉันขี้เหร่ ทำไมผิวพรรณเขาสวย เขาผิวผ่องเราผิวเผือด ทำไมเขาสูงเราต่ำ ทำไมเราอ้วนเขาผอม ทำไมเขามีรถเบ็นซ์ เรามีแค่รถสามล้อ
Diversity leads to division and conflicts.
Therefore, diversity exists in every heart and diversity leads to division and conflicts. Why does he have it and I don’t? Why do I have less than he? Why is he handsome and I am homely? Why is his complexion lovely but mine is not? Why is he tall and I am short? Why am I fat and he is thin? Why does he drive a Mercedes Benz and I drive a Tuk Tuk?
差距导致矛盾和冲突
因此,人与人之间的差异从每个人的内心生起,这种差异又导致了各种矛盾和冲突。觉得:为什么别人有的自己没有,或自己有的为什么比别人少,为什么别人帅而自己丑,为什么别人肤色光亮而自己肤色暗黑,为什么别人身材高大而自己身材矮小,为什么自己胖而别人瘦,为什么别人开奔驰而自己开三轮车。
ทุกคนตกอยู่ภายใต้กฎแห่งกรรม
ความแตกต่างเหล่านี้ทำให้เกิดความแตกแยก ทำให้เกิดความน้อยเนื้อต่ำใจ เกิดความขัดแย้ง ก็เลยเอาสาเหตุเหล่านี้เป็นเหตุผลที่สวยงามว่าจำเป็นต้องทำให้คนเสมอภาค ซึ่งความเสมอภาคจะมีได้อย่างไร ในเมื่อความต้องการของคนไม่เหมือนกัน และทุกคนก็ตกอยู่ภายใต้ Law of Kammaกฎแห่งกรรม เมื่อกระทำไม่เหมือนกัน วิบากก็ไม่เหมือนกัน ความแตกต่างจึงเกิดขึ้น
Everyone is governed by the Law of Kamma
Such diversity causes division, inferiority complex, and conflicts and so some people use these reasons to campaign for equality. But how can there be equality when the wants and needs of people are not the same and everyone is still governed by the Law of Kamma? When the deeds performed by each person are different, the consequences of those deeds will naturally be different. And these differences are the real causes of inequality.
人人受业果法则的支配
这些差异导致了(人与人的)分裂,(有人)感到沮丧,矛盾产生了。将这些作为借口,美其名曰要人人平等。当每个人的需求不同,又都受制于业果法则时,平等从哪里来呢?当行为造作不一致,业报就会不一样,差异也就产生了。
สันติสุขแท้จริงเกิดขึ้น…ความแตกต่างจะถูกขจัดให้หมดสิ้นไป
แต่มีอยู่ที่หนึ่งที่เหมือนกันคือพระธรรมกายภายใน เมื่อเข้าถึงตรงนี้แล้วความรู้สึกว่าแตกต่างก็หมดไป ที่เป็นทุกข์กันก็เพราะรู้สึกว่าแตกต่าง แต่ไม่ได้หมายความว่าคนอ้วนจะเปลี่ยนมาหล่อ หรือคนผอมจะเปลี่ยนมาเป็นหุ่น พระเอกนางเอก ไม่ใช่นะ แต่ความรู้สึกว่าแตกต่างหมดไปจากใจคือ ผู้ที่เข้าถึงพระธรรมกายภายใน ที่เป็นพระอรหันต์ ก็มีทั้งอ้วน ทั้งผอม ทั้งดำ ทั้งขาว ทั้ง
มาจากต่างวรรณะ ต่างตระกูล มาจากตระกูลกษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร จัณฑาล สารพัด แต่ความรู้สึกว่าแตกต่างหมดไป เมื่อเข้าถึงพระธรรมกายคือ ความเหมือนแล้วกิเลสอาสวะซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดของความคิดว่าแตกต่างก็ถูก ขจัดให้หมดสิ้นไป เพราะฉะนั้นความเหมือนจึงมีคุณค่าอย่างนี้ แล้วสันติสุขก็จะเกิดขึ้นกับโลกอย่างแท้จริง
True peace occur,diversity will be eradicated
There is one place where sameness is present. When everyone can attain the Dhammakaya, diversity will automatically disappear. People are unhappy because of diversity. However, it does not mean that having attained the Dhammakaya, a fat person will become handsome or a thin person will become a movie star. What will happen, however, is that any unhappiness which is caused by diversity will completely disappear from one’s mind. Those who have attained the Dhammakaya during the Lord Buddha’s time such as the Arahats came in different sizes, shapes, and looks. Some were fat. Some were thin. Some were dark. Some were fair. Some were members of the Kshatriya Caste. Some were members of the Brahmin Caste. Some were members of the Vaishya Caste. Some were members of the Shudra Caste. Some belonged to the Untouchables. They were all acutely aware of diversity. However, diversity disappeared once they were able to attain the Dhammakaya and the defilements which gave rise to diversity were eradicated. Therefore, sameness has its virtue because it enables true peace to happen on earth.
真正的和平出现时,差异将被根除
有一个共同的地方,那就是内在的法身。当证入法身后,差异性就会消失。人之所以痛苦,也正是因为彼此的差异。(可证入法身)并不意味着外表将由丑变美,由胖变瘦,而是内心的差异感消失了。证入法身的人有胖有瘦,有黑有白,有不同的种族和阶层,如国王、婆罗门、商人、低等阶层的人等等。证入法身让内心的差异感消失,即令人心生差异感之烦恼被完全消除。这就是一体性的价值,那时世界才会实现真正的和平。
อย่าขยักความขยัน
เราจะต้องมีความขยันหมั่นเพียรในการประพฤติปฏิบัติธรรมกันให้เต็มที่ อย่าไปออมมือออมแรง อย่าขยักความขยันเอาไว้ ความขยันต้องปล่อยให้สุดฤทธิ์สุดเดชไปเลย ความขี้เกียจแก้ได้อย่างเดียวคือขยัน ต้องขยัน อย่าขยัก อย่าเขียม ๆ ใช้ อย่างนี้ไม่เอา
Do Not Keep Your Diligence at Bay
You need to be extra diligent in terms of meditation practice. Deploy all of your diligence. Do not keep it at bay. Laziness can be solved by diligence.
勤奋无需犹豫
我们修行要精进努力,全力以赴,无需有所保留或犹豫不定。应该毫无保留地付出,勤奋是克服懒惰的唯一方法,一定要刻苦勤奋,不要松懈怠慢。
อย่าปล่อยเวลาให้ผ่านไปโดยไม่ฝึกสมาธิ
เราจะทำควบคู่กับภารกิจประจำวัน ไม่ว่าจะทำมาหากินจะครองเรือน จะศึกษาเล่าเรียน หรือทำภารกิจอันใดก็ตาม จะไม่ว่างเว้นจากการประพฤติปฏิบัติธรรม เราสำรวจดูตัวเราแล้วและรู้ตัวว่าเราทำกันได้แค่ไหนเหตุที่เราประกอบมันสมควรกับผลที่ได้รับไหม ก็ให้สังเกตดูให้ดี ถ้าใครได้เข้าถึงแล้วก็เป็นสิ่งที่น่าปีติยินดี แต่ถ้าใครยัง นับจากวันนี้ไป เราก็ยังมีเวลาเหลืออีกครึ่งพรรษา จะต้องลุยกันให้สะบั้นหั่นแหลก ไม่ถึงไม่เลิก เอาให้ถึงให้ได้
Do not go a day without practicing meditation
Everyone needs to endeavor to practice meditation earnestly even as one spends time earning a living, going to school, looking after the household or whatever else. Do not go a day without practicing meditation. One needs to check and see if one is doing one’s very best and if one’s effort is bearing any fruit.
Whoever can attain the Dhammakaya deserves our congratulations. For those who cannot yet attain the Dhammakaya, the latter half of this Rains-Retreat must be spent practicing meditation as earnestly as possible.
不要让时间白白流逝而不修行
生活和修行,我们应该学会两者兼顾。养家糊口、照顾家人、上课学习或做其他事情的同时,也要抽空修行打坐。观察自己的修行到什么程度,看看付出与收获是否匹配。证入法身的人可喜可贺,尚未证入法身的人也不要气馁,充分利用时间精进修行,下决心证入法身。
รักตัวเองจริงๆ
คนอื่นเขาทำได้เราก็ต้องทำได้ เพราะเรื่องนี้สำคัญที่ใจ ถ้าเอาใจมาหยุดได้เมื่อไร ก็เข้าถึงเมื่อนั้น หยุดเช้าเห็นเช้า หยุดสายเห็นสาย หยุดตอนไหนเห็นตอนนั้น หยุดวันไหนเห็นวันนั้น ขึ้นอยู่กับหยุดกับนิ่ง แล้วที่เขาหยุดกันได้ก็มีเยอะแยะ ตั้งแต่หยุดในระดับอ่อน ๆ เป็นครั้งเป็นคราว หรือหยุดให้นานขึ้น หรือหยุดจนกระทั่งนิ่งแน่นติดในศูนย์กลางกาย เหมือนเอากาวชั้นดีทาใจ
ติดเอาไว้กับฐานที่ ๗ ก็มี ต้องสำรวจตรวจตรากันให้ดี ต้องรักตัวของเรานะ
Truly love yourself
If others can attain the Dhammakaya, then so can you. The instant you can bring your mind to a complete standstill in the center of your body, that is the instant that you will attain the Dhammakaya. This can happen anytime. Many practitioners have already been able to keep their minds still and quiet starting from occasional stillness and quietness to a longer period of stillness and quietness to a complete standstill in the center of their body at all times as if their mind was glued to the seventh base in the center of their body. If you truly love yourself, you must make the time and effort to practice keeping your mind still and quiet.
好好爱自己
别人做得到,我们也可以,关键是我们的心。心何时静定,就何时证入。早上静定就早上证入,中午静定就中午证入,哪一天静定就哪一天证入,关键是心的静定。很多人都可以做得到:从短暂的静定到长久的静定;或者稳定的静止在身体中心,就像用胶水将心固定在身体中心第七点。因此,我们平常要多努力训练,好好爱自己。
เราต้องช่วยตัวเอง
เรื่องการปฏิบัติธรรม เมื่อเราจะละจากโลกนี้ไปไม่มีใครมาช่วยเราได้ เราต้องช่วยตัวเอง และ ช่วยตัวเองต้องช่วยตั้งแต่ตอนยังแข็งแรงอยู่ พอถึงตอนป่วยหมดเรี่ยว หมดแรงแล้วจะมาฟิตเอาตอนนั้น จะไม่ทันการ ต้องเหมือนนักกีฬาซ้อม
ร้อยวันแพ้ชนะกันวันเดียว นักวิ่งก็ซ้อมวิ่งกันทั้งปี แข่งกันแค่ไม่กี่วินาที เราก็ต้องอย่างนั้น ต้องซ้อมกันให้ดี รักตัวเองให้มากๆ
รักตัวเอง กับ เห็นแก่ตัว ไม่เหมือนกันนะ รักตัวเองคือเราเติมความบริสุทธิ์ให้แก่ตัว ถ้าเห็นแก่ตัวคือเติมความไม่บริสุทธิ์ คำมันจะคล้าย ๆ กันแต่ความหมายไม่เหมือนกัน
One needs to be self–reliant.
When a person dies, no one can help him except himself. One needs to be self-reliant. One needs to learn to be self-reliant while one is still young and healthy. When one is ill and weak, it is hardly the time to endeavor to practice meditation earnestly because one will not be able to do it. One needs to be like a sportsman who has trained for a hundred days or more for the day that he will either win or lose. A runner trains all year long but the race lasts only minutes. Therefore, one needs to train hard if one truly loves one’s self.
Loving one’s self and being selfish are not the same thing. When one loves one’s self, one endeavors to increase one’s purity. But when one is selfish, one endeavors to increase one’s impurity.
我们需要自力更生
当我们临终时,除了我们自己,没人能帮助我们。而且要在身强力壮时就开始,等到年老体弱时,就为时已晚。就像运动员训练百日,可是一天就决出胜负了;短跑运动员训练一整年,比赛却只是几秒钟而已。因此,我们平常要多努力训练,好好爱自己。这里的爱自己并不是自私。爱自己是让自己的心更清净,而自私是让自己的心不清净,意思不一样。
ขึ้นอยู่กับการทำความดี
เวลามาเกิดก็ต่างคนต่างมา แล้วมารวมกันเป็นครอบครัว เป็นพ่อ เป็นแม่ เป็นสามี ภรรยา เป็นลูก เป็นอะไรกันสารพัด แต่เวลาไปต่างคนต่างไป แยกกัน ไปคนละทิศคนละทาง แล้วแต่ว่าใครจะขยันหรือขี้เกียจทำความดี ทำน้อย ก็มีที่ไป ทำปานกลางก็มีที่ไป ทำมากก็มีที่ไป เพราะฉะนั้นพรรษานี้ต้องขวนขวายกันนะ
Depending on the wholesome deeds
When a person is born, he comes to the world alone to become a part of a family and community. When a person dies, he departs the world alone. Members of the same family and community go their separate ways after they die. It all depends on how much or how little time and effort each person makes to perform wholesome deeds. Each person has his own destination in the hereafter depending on the level of his wholesomeness. Therefore, it is important for everyone to make this Rains-Retreat the season for attaining the Dhammakaya.
取决于善业
出生时各自单独来投生,聚在一起成为家人,有父母、夫妻或子女,成为了相互牵挂的亲人。可往生时却各自离开,各奔东西。那时将取决于生前是否勤修善业,少修有其去处,多修有其去处,所以我们必须勤修善业。
หยุดเป็นตัวสำเร็จ
ถ้าทุกคนเข้าถึงพระได้จะเกิดการเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่ คือ ชีวิตจะมีความสุขที่แท้จริง จะมีความเบิกบาน ปลอดภัย อบอุ่น ไม่ว่าจะไปอยู่ที่ตรงไหนก็มีความรู้สึกเป็นสุขตลอดเวลาเลย เราอยู่ในยุคที่มีบุญมาก มาเกิดในยุคที่ปฏิบัติสะดวก บรรลุธรรมได้เร็ว
เพราะเราเกิดความมั่นใจในการปฏิบัติธรรม เพราะพระเดชพระคุณหลวงปู่ฯท่านได้สละชีวิตจนกระทั่งได้บรรลุพระธรรมกาย เป็นพยานแห่งการตรัสรู้ธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และท่านได้สรุปคำสอนในการบรรลุพระธรรมกายภายในว่า หยุดเป็นตัวสำเร็จ
Stillness Is the Key to Success
If everyone on earth can attain the Dhammakaya, huge changes will happen on earth. Everyone will know true happiness. Everyone will feel joyful, safe, and secure. Everyone will feel happy all the time wherever he may be.
We are living in an age of great merit because we are living in the time that meditation can be easily practiced and the attainment of the Dhammakaya can be facilitated. This is the case because our Most Venerable Luang Pu had put his life on the line to attain the Dhammakaya. He has borne witness to the Lord Buddha’s attainment of Self-Enlightenment. Luang Pu has kindly summarized his teachings on the attainment of the Dhammakaya in just a few words: Stillness Is the Key to Success.
静止乃成功之本
如果每个人都证入内在的法身,生命将会发生巨大的改变,会感到愉悦、安全和温暖,无论去哪里都会很快乐。我们生活在现代很有福报,因为这个时代修行方便,易证佛法。祖师曾舍命精进修行发掘法身法门,见证了佛陀的证悟,并将证入内在法身的修行方法总结为:静止乃成功之本。
ทุกชีวิตต้องปฏิบัติธรรม
โดยใจต้องมาหยุดที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ ซึ่งอยู่ในกลางท้อง ในระดับที่เหนือจากสะดือขึ้นมา ๒ นิ้วมือ เมื่อเราทราบอย่างนี้แล้วก็ทำให้เกิดความมั่นใจ ไม่ต้องเสียเวลาไปลองผิดลองถูก หรือกลัวว่านั่งสมาธิแล้วเดี๋ยวเป็นบ้าบ้าง เดี๋ยวไปเห็นภาพที่น่ากลัวบ้าง หรือกลัวนั่งแล้วตายบ้างไม่มีใครตามหลับมา ซึ่งเรามักจะได้ยินสิ่งเหล่านี้มาเรื่อย ๆ จนกระทั่งเราไม่กล้าปฏิบัติธรรม
แล้วมีความเห็นว่าการปฏิบัติธรรมนั้นเป็นเรื่องของพระของเณร แม้พระก็ต้องเป็นพระธุดงค์ที่ท่านปลีกวิเวกไปปฏิบัติธรรมตามป่าเขาลำเนาไพร เพราะคงปฏิบัติยาก ซึ่งเป็นทัศนคติที่ไม่ถูกต้อง หรือถูกต้องไม่สมบูรณ์ ความจริงแล้วการปฏิบัติธรรมมีความจำเป็นสำหรับทุก ๆ ชีวิตในโลกนี้ไม่จำกัดเฉพาะพระธุดงค์เท่านั้น ที่ว่ามีความจำเป็นเพราะเรามีพื้นฐานชีวิต เป็นทุกข์ เราอยากจะดับทุกข์ อยากจะเจอความสุขที่แท้จริง และความสุขที่แท้จริงจะเข้าถึงได้ก็ด้วยการปฏิบัติธรรม
Every Human Being Must Practice Meditation
It means that one must bring one’s mind to a standstill at the seventh base in the center of one’s body at two finger’s width from one’s navel. This Higher Knowledge enables one to practice meditation accordingly without having to go through trial and error. One does not have to fear that one may become insane after practicing meditation. One does not have to fear seeing frightening images. One does not have to fear that one will die during meditation practice. These are the scary stories often associated with meditation practice so much so that people are afraid to practice it. Or one may deem that meditation practice is confined to the monks and novice monks. After all, monks have to undertake Dhutanga by trekking in the forest in order to find the solitude needed to practice meditation. Since meditation is difficult to practice. This kind of attitude is incorrect or not entirely correct.
In actual fact, meditation practice is necessary for every human being on earth and not just for the Dhutanga monks. The reason is that life in general is filled with suffering; therefore, every human being wishes to eradicate suffering and experience true happiness. But true happiness can be gained only by practicing meditation
人人都应该修习禅定
将心静定在体内中心第七点,即肚脐往上提升两指宽的高度。当我们了解清楚后,对修行打坐会更加坚定。不用再浪费时间去测试对错,或者担心打坐后会发疯,会看见恐怖的画面,甚至会死亡。我们可能常听到有人这样描述,使得自己都不敢打坐,然后认为打坐是出家人的事,甚至是专属于在深山老林中修行的头陀僧。
认为打坐很难,这是错误的,或者不完全正确的观念。事实上,打坐对于所有人来说很有必要,并非专属于头陀僧。打坐之所以必要,是因为我们人生的本质是苦,想离苦,想寻找真正的快乐,就必须透过打坐获得。
แหล่งของความสุขที่แท้จริง
เมื่อมีผู้ได้บรรลุธรรมแล้วมาแนะนำเราให้ได้เข้าถึงพระธรรมกาย ซึ่งเป็นแหล่งของความสุข ดับทุกข์ได้ด้วยวิธีหยุดกับนิ่งอย่างนี้
มันก็ทำให้เกิดมั่นใจ แล้วก็ต้องถือว่าเป็นยุคของผู้มีบุญ เพราะฉะนั้นใครว่าเราไม่มีบุญไม่ใช่แล้ว และที่ว่านั่งไม่เห็น ไม่ใช่เพราะบุญน้อย แต่จริง ๆ คือนั่งน้อย
The source of true happiness
When a person who has attained the Dhammakaya teaches us how to attain the Dhammakaya who is the source of true happiness by keeping our mind still and quiet, we can be confident of the teaching. It is the reason why the time we are living in now is considered to be the age of merit-filled persons. If one cannot see the Dhammakaya, it is most definitely not because one possesses a small amount of merit. But it is because one spends very little time practicing meditation.
真正快乐的源泉
如果证悟佛法的人明确告知我们,通过修行打坐可以证入法身,以静定之法离苦,得尝法乐。那么我们对修行必然信心大增,也说明生活在这个时代的我们具足功德福报。因此,有的人说没有福报是不对的。对于打坐没证入的人,不是因为福报少,而是打坐太少。
เป็นคนมีบุญเยอะ
เราบุญเยอะ แต่เราก็มาตีโพยตีพาย นั่งมาตั้ง ๑๐ ปี ๒๐ ปี แต่ยังไม่เข้าถึงกับเขา ก็ควรจะตีโพยตีพายนะ และไม่ควรจะตีแค่นั้น ควรจะตีหัวด้วยมีกี่หัวให้ตีให้หมด ตั้งแต่หัวศีรษะ หัวเข่า หัวแม่มือ หัวแม่เท้า ตีเข้าไป เพราะนั่งน้อยต่างหากจึงไม่ได้เข้าถึง นี่ขนาดมีผู้ค้นมาให้อย่างนี้แล้วแค่คว้า อย่างเดียวแล้วเราไม่ทำ อย่างนี้น่าตี
Merit–filled persons
Some people complain that they have been practicing meditation for ten or twenty years without attaining anything. The question they need to ask themselves is how regularly or how often they do sit down to practice meditation.
有福报的人
我们都很有福报,却总在怨天尤人。打坐十几二十年仍然没有证入。如果要抱怨,不是抱怨他人,要怨就怨自己打坐太少。师父领进门,修行要靠个人。
เราจะต้องเข้าถึงธรรมได้อย่างง่าย ๆ
ยุคนี้เป็นยุคที่เราจะต้องเข้าถึงธรรมได้อย่างง่าย ๆ เหมือนย้อนยุคพุทธกาล แม้เกิดมาไม่ทันพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ตาม แต่เกิดมาทันคำสอน ของพระองค์ ก็เหมือนกับพระองค์ยังทรงมีพระชนม์ชีพอยู่ อีกทั้งยังมีผู้บรรลุธรรมเป็นพยานการตรัสรู้ธรรม แล้วสรุปแนววิธีการปฏิบัติมาให้กับพวกเราพุทธบริษัททั้ง ๔ ฉะนั้นเราสามารถปฏิบัติและก็บรรลุได้ตามกำลังแห่งความเพียร และกำลังบุญของเราที่ได้สั่งสมกันมา ดังนั้นการเข้าถึงพระในตัวจึงอยู่ในวิสัยที่ถ้าใครมีความเพียรแล้วทำถูกหลักวิชชา ต้องเข้าถึงกันอย่างแน่นอน
Everyone can attain the Dhammakaya easily
This is the age where everyone can attain the Dhammakaya easily the way it used to be during the Lord Buddha’s time. We were not born when the Lord Buddha was still living, but we are living in the time when His Teachings are still available to us. Moreover, we have Luang Pu who has attained the Dhammakaya and has borne witness to the Lord Buddha’s attainment of Self-Enlightenment. Luang Pu has left his teachings to us so that we too can endeavor to practice meditation until we can attain the Dhammakaya. Therefore, the attainment of the Dhammakaya is plausible provided that one endeavors to practice meditation earnestly and accordingly.
人人都能轻松证得法身
这个时代如同佛陀时代,是容易证法的时代。虽然无缘遇见佛陀,但佛陀的正法仍广为流传,犹如佛陀依然住世。此外,祖师作为佛陀觉悟的见证者,慈悲将证法的方法传授佛教四众。我们应以所修的功德为助缘,精进打坐证法。只要我们修行方法正确,加上足够精进,就一定可以证法。
อานุภาพพระธรรมกาย
พระภายในตัวของเราและมนุษย์ทุกคนในโลก ซึ่งเป็นที่พึ่งที่ระลึกอันสูงสุดของเราและของสรรพสัตว์ทั้งหลาย สิ่งอื่นที่จะยิ่งไปกว่านี้ไม่มีอีกแล้ว เข้าถึงพระธรรมกายได้เมื่อไร เราก็จะพบความสุขที่แท้จริง แล้วจะมีอุปกรณ์ในการศึกษาเรื่องราวความเป็นจริงของชีวิตได้ เพราะพระธรรมกายมีธรรมจักษุและมีญาณทัสนะที่กว้างไกล เว้นจากกายพระธรรมกายแล้ว กาย
อื่นศึกษาได้ยาก เพราะไม่มีดวงตาเห็นได้รอบตัวเหมือนพระธรรมกาย
The Dhammakaya’s Supernormal Power
The Dhammakaya exists inside every human being on earth. He is every living being’s highest refuge. As soon as one can attain the Dhammakaya, one will meet with true happiness. One will also have the learning tool necessary to study the reality of life because the Dhammakaya possesses the Dhammakaya-Eye which allows Him to see everything in every direction all at once and the extensive Supernormal Insight which allows Him to know everything He sees.
法身的威德力
人类体内的法身是人类最崇高的依靠和皈依,是无与伦比的。当我们证入法身后,不仅会获得真正的快乐,还可以了知生命真相。因为法身具足广阔而深邃的法眼和知见。其他内身很难做到,因为他们没有像法身那样具足知见一切的法眼。
ตรัสรู้ธรรม
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าในวันที่พระองค์ตรัสรู้ธรรม ที่ทรงสละชีวิตไม่ว่าเนื้อเลือดจะแห้งเหือดหายไปเหลือแต่กระดูกหนังช่างมัน ถ้าไม่ได้บรรลุมรรคผลนิพพานแล้วจะไม่ลุกจากที่ ยามต้นพระองค์ได้บรรลุบุพเพนิวาสานุสติญาณก็บรรลุได้ด้วยพระธรรมกาย เมื่อใจของพระองค์หยุดนิ่งได้ถูกส่วนก็ไปเชื่อมโยงกับบารมีภายใน ดึงดูดให้เข้าไปถึงพระธรรมกายภายใน แล้วพระองค์ก็ไปรู้เห็นเรื่องราวชีวิตของพระองค์ตลอดเลย เห็นภาพเป็นเรื่องราวต่อเนื่องกันไปจนกระทั่งจบเรื่อง ไม่ใช่คิดหรือนึกด้วยปัญญา
Self–Enlightenment
On the day that the Lord Buddha attains Self-Enlightenment, He vows to put His life on the line practicing the Middle Way Meditation until He can achieve His goal. During the first watch, He attains the Dhammakaya and the ability to recall His countless previous existences. This happens when the Lord Buddha’s mind comes to a complete standstill in the center of His body and the Perfections which has been pursued to the fullest extent pull His mind inward until He is able to attain the Dhammakaya. It is the Dhammakaya that enables Him to see however many previous existences He wishes. This supernormal feat is not and cannot be accomplished by thinking or imagining.
证悟佛法
世尊在觉悟当天舍命精进修行,发誓若不能证得道果涅槃,绝不起身离坐,哪怕血肉干枯,只剩下皮和骨也罢。后来,世尊初夜依靠法身证得宿命智。当心如法深入静定,连接内在波罗蜜,进而证入了内在的法身。随后,世尊透过法身如实知见众生的宿命,所有东西以图像的形式呈现,而非通过头脑想象出来。
พระธรรมกายสำคัญมาก
เห็นเป็นภาพ เป็นเรื่องราวว่า ทำให้เกิดสังขารอย่างไร เหมือนเห็นภาพเมล็ดพืชว่าพอหยั่งลงดินแล้วรากมันงอกออกมาอย่างไร มีรากแก้ว รากฝอย แล้วก็เติบโตเป็นลำต้น เป็นกิ่งก้าน ใบ ดอก ผล แล้วจากผลต้นนี้เอาไปฝังดิน งอกขึ้นมาอีกแล้ว เป็นอีกต้นหนึ่งในทำนองเดียวกัน ต้นแล้วต้นเล่าไปเรื่อย ๆ อุปมา คล้าย ๆ อย่างนั้น จะเห็นด้วยว่า อวิชชาทำให้เกิดสังขาร สังขารเกิดวิญญาณเห็นกระแสกิเลส ที่เรียกว่า อาสวะ แปลว่า เครื่องหมักดอง ดองด้วยโลภ ด้วยโกรธ ด้วยหลง พระธรรมกายสำคัญมาก เป็นสิ่งที่ทำให้บรมโพธิสัตว์ได้บรรลุอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ และขจัดกิเลสอาสวะให้หมดสิ้นไปเลย
The Dhammakay is truly important
He sees everything as images and learns about what gives rise to mental formations. It is like looking at a seed and sees what happens to it under the ground, how it sprouts roots, primary roots and secondary roots, how it gives rise to the stem, the branches, the leaves, the flowers, and the fruits. And once the fruits are covered by the soil and new trees come into being one after another, so on and so forth. The Lord Buddha sees how Avijja (ignorance) gives rise to mental formations and how mental formations give rise to consciousness. He sees the current of Kilesa (defilements) called Asava (mental intoxication). Asava is the pickling or fermenting process which causes one’s mind to be pickled or fermented in greed, anger, and delusion. The Dhammakay is truly important. The Dhammakaya enabled our Bodhisatta to extinguish all defilements and all mental intoxication such that He could attain Buddhahood.
法身真的很重要
佛陀将一切事物视为图像,并了解诸行是如何生起的。就像看见一粒被埋在地下的种子,知道它如何生根,其中既有主根也有须根,然后再慢慢长出茎、枝、叶、花和果实。如果这棵树的果树掉下来埋在土壤下,不久又会有新的一棵树生长出来,如此将有一棵接一棵的树茁壮成长。由此,佛陀看到无明如何生起行,行如何生起识,并如是知见烦恼之流,即贪嗔痴在一个人心中逐步腌制的过程。因此,法身真的很重要,法身使菩萨成就了三藐三菩提智,并断尽了一切烦恼。
ระดับความละเอียด
พระธรรมกายสำคัญมาก มีอยู่ในตัวของมนุษย์ทุกคนเกิดมาก็เพื่อการนี้คือเพื่อมาทำพระนิพพานให้แจ้ง และจะแจ้งได้ก็ด้วยกายเดียว คือ พระธรรมกายเท่านั้น กายอื่นทำให้แจ้งไม่ได้ เพราะความละเอียดไปไม่ถึง
Level of refinement
The Dhammakaya is crucially important and He can be found inside every human being on earth who is here to make clear the Path and Fruit of Nibbana. And only the Dhammakaya can help a person to penetrate the Path and Fruit of Nibbana. Other Inner Bodies cannot do it because they do not possess the optimum level of refinement.
细腻程度
人体内的法身很重要。生而为人的目标就是为了证入涅槃,可证入涅槃必须先证入法身。其他身无法实现,因为他们不够细腻。
โลกนี้ไม่มีอะไรเป็นสาระแก่นสาร
เมื่อเรารู้วัตถุประสงค์ของชีวิตว่าเกิดมาเพื่อการนี้ เราจึงไม่ควรปล่อยให้วันเวลาผ่านไปโดยเปล่าประโยชน์ พรรษานี้จึงเป็นพรรษาที่ดีมาก เป็นจังหวะชีวิตที่ดีที่สุด ช่วงไหนที่ใครมีความรู้สึกอยากปฏิบัติธรรม มองเห็นโลกว่ามันไม่มีอะไรเป็นสาระแก่นสาร อยากจะหาแก่นสารของชีวิต แล้วลงมือปฏิบัติ
Life on earth lacks real substance
Now that you know the real reason for being here, you should not let your time pass idly by. This Rains-Retreat is a very significant season and a time very conducive to practicing meditation earnestly. You know that life on earth lacks real substance. To find life’s substance, one must practice meditation.
世间没有永恒之物
当我们明了生命的目标是为了证入涅槃后,就不应该虚度光阴,当下就是人生最美好的时光。当我们明了世间无常,想追求生命的真谛,就应该立刻打坐修行。
ช่วงที่ดีที่สุดของชีวิต
แค่ลงมือปฏิบัติแม้ยังไม่ได้พบอะไรเลย ก็ถือว่าเป็นช่วงจังหวะชีวิตที่ดี ถ้าลงมือปฏิบัติแล้วได้ผลจากการปฏิบัติ ได้เข้าถึงพระธรรมกายก็ถือว่าเป็นช่วงที่ดีที่สุดของชีวิต
Best time in your life
Just by sitting down to practice meditation, the time is already being constructively spent. If your meditation practice enables you to attain the Dhammakaya, then you have already arrived at the best time in your life
人生中最美好的时光
如果在修行中没有收获禅修经验,也可以算是难忘的人生经历。如果收获丰富的禅修经验,证入内在的法身,则可以算是人生中最美好的时光。
อย่าปล่อยโอกาสที่ดี
พรรษานี้ที่เรามีความตั้งใจกัน เป็นสิ่งที่ถูกต้องดีงาม เรากำลังเดินตามรอยบัณฑิตนักปราชญ์ในกาลก่อน เพราะฉะนั้นวันเวลาที่เหลืออยู่ ในพรรษานี้จะต้องขวนขวายกันให้เต็มที่ อย่าปล่อยให้โอกาสอันดีอย่างนี้เป็น วิกฤติของชีวิต เพราะเราจะละจากโลกนี้ไปเมื่อไรไม่รู้ ถ้าเรามีความเพียรจริง ๆ และศึกษาหลักวิชชาให้แจ่มแจ้ง ไม่ต้องเสีย เวลาไปลองผิดลองถูก หรือไปค้นหาวิธีการด้วยตัวของตัวเอง เราคว้าเอาเลย
Do not allow great opportunity pass by
Spend the rest of this Rains-Retreat doing what is good and virtuous by endeavoring to practice meditation earnestly. Do not allow this great opportunity to pass you by because you have no idea when your time on earth will expire.
不要浪费大好机会
我们应该追随智者的脚步努力修行,利用人生所剩的时间,加倍精进修行,不要白白浪费人生美好的时光。人生无常,我们不知何时会离开这个世界,所以更应该精进修行,修习法门达至精通,而不是将时间浪费在测试对错上,或独自去寻找修行方法。
วิธีการที่ถูกต้อง
วิธีการที่พระเดชพระคุณหลวงปู่ฯ ท่านได้ค้นมาแล้ว เป็นพยานในการตรัสรู้ธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยการหยุดนิ่งเฉย ๆ อย่างนี้แค่นี้เท่านั้น ความสมหวังก็จะอยู่ในกำมือของเรา เราก็จะเข้าถึงได้อย่างแน่นอน
The correct method
The Most Venerable Luang Pu has already discovered Vijja Dhammakaya Meditation for us. He has saved us from having to spend endless time trying to find the correct method. Luang Pu was able to bear witness to the Lord Buddha’s attainment of Self-Enlightenment simply by keeping his mind still and quiet. All we have to do is to follow Luang Pu’s instruction and we will definitely be able to achieve success in our meditation practice.
正确的方法
祖师是佛陀觉悟的见证者,并将发现的修行方法传授给我们。祖师是佛陀觉悟的见证者,并将发现的修行方法传授给我们。我们只需如法修行,将心静定在体内便可以如愿以偿。机会就在我们的手中,我们一定可以实现目标。
กายตรัสรู้ธรรม เป็นพระรัตนตรัยภายใน
พระธรรมกาย ซึ่งมีอยู่ในตัวของมนุษย์ทุกคนในโลก จะรู้หรือไม่รู้ จะเชื่อหรือไม่เชื่อก็ตาม ล้วนมีพระธรรมกายภายในทั้งสิ้น ซึ่งหน้าตาเหมือนกันหมด ลักษณะก็เหมือนกัน เป็นกายตรัสรู้ธรรม เป็นพระรัตนตรัยภายใน เป็นกายผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานแล้ว เป็นที่พึ่งที่ระลึกของสรรพสัตว์ทั้งหลาย ของมวลมนุษยชาติทั้งปวง
The Dhammakaya represents the Inner Triple Gem
Every human being on earth has the Dhammakaya inside him whether or not he knows about Him and whether or not he believes in His existence. Every person’s Dhammakaya looks exactly alike. The Dhammakaya is the Body Leading to the Attainment of Enlightenment. The Dhammakaya represents the Inner Triple Gem. He is all-knowing, fully awake, and gloriously joyful. He is every living being’s refuge.
法身即是内在的三宝
每个人体内都有法身,不管知道或不知道,相信或不相信,法身都在我们体内。所有法身的形象或特质都一样,乃觉悟之身,乃内在的三宝,乃智者、觉者、喜悦者,乃一切有情的依靠。
เห็นเป็นพระพุทธรูปก็ได้
ถ้าหากว่ายังไม่ได้ถึงพระธรรมกาย อย่างน้อยก็ให้เห็นเป็นพระพุทธรูปก็ได้เมื่อใจยังหยุดได้ไม่สมบูรณ์ หรือหยุดในระดับอ่อน ๆ เราจะเห็นองค์พระหลากหลายทีเดียว บางคนเห็นองค์พระที่ทำด้วยวัสดุที่แตกต่างกัน เป็นโลหะก็มี อิฐ หิน ปูน ไม้ แก้ว รัตนชาติต่าง ๆ หลากหลาย ที่คุ้นเคยกับพระพุทธรูปชาติไหน ก็อาจจะเห็นเป็นองค์พระชาตินั้น ของจีนก็อาจจะเห็นพระพุทธรูปจีน
ของญี่ปุ่นก็อาจจะเห็นพระพุทธรูปของญี่ปุ่น ไต้หวัน ฮ่องกงก็เหมือนกัน เราคุ้นเคยกับองค์ไหนอาจจะเห็นองค์นั้นไปก่อน อย่างนี้ก็ถือว่าใช้ได้ในระดับหนึ่งการที่เห็นองค์พระได้แสดงว่าใจต้องหยุดในระดับหนึ่งแล้ว แม้จะยังไม่สมบูรณ์ แต่ว่า ณ จุดนั้น ถ้าทำความเพียรกันต่อไป ไม่ช้าก็จะเข้าถึงพระธรรมกายในตัวได้
See the Buddha Image
At least one must be able to see the Buddha Image. When one’s mind can be kept still to a certain extent, one will see different Buddha Images made of different materials such as brick, stone, cement, wood, precious stone, etc. A Chinese person may see a Chinese Buddha Image. A Japanese person may see a Japanese Buddha Image, so on and so forth. And that is alright for now.
The fact that one can see a Buddha Image during meditation means that one’s mind has already been kept still to a certain extent. One should continue practicing and in time one will be able to attain the Dhammakaya.
At this level of seeing, one should just assume that what one is seeing is real. It is just that the Buddha Image one sees is a rough model of the real thing.
得见佛像也行
每个人体内都有法身,不管知道或不知道,相信或不相信,法身都在我们体内。所有法身的形象或特质都是一样,乃觉悟之身,乃内在的三宝,乃智者、觉者、喜悦者,乃一切有情的依靠。
如果还没有证入法身,只看见佛像也不错。当心还没有完全入定或不够稳定时,我们会看到各式各样的佛像。有的人看见的佛像由不同材质铸造而成,既有金属材质,也有水泥、木头或玻璃材质。熟悉哪一个国家的佛像,看见的可能就是那个国家的佛像,中国人看见的可能是中国的佛像,日本人看见的可能是日本的佛像。
จิตต้องเลื่อมใสในพระรัตนตรัย
ดังนั้นถ้าเห็นในเบื้องต้นที่แตกต่างหลากหลายอย่างนี้ ก็อย่าเพิ่งไปสงสัยว่า เอ๊ะ! ใช่หรือไม่ใช่ ครูไม่ใหญ่ขอยืนยันว่า ใช่จ้ะ ใช่องค์พระ แต่ก็ยังไม่ใช่พระธรรมกายที่สมบูรณ์ ยังเป็นหุ่นโกลน ๆ ก่อนที่จะสมบูรณ์ เวลาที่เขาปั้นองค์พระ ตอนแรกเขาก็จะทำเป็นโครงโกลน ๆ ขึ้นมาก่อน แล้ว ก็ค่อยมาเก็บรายละเอียดทีหลัง ในที่สุดก็เหมือนกันจนได้ เพราะฉะนั้น เห็นองค์พระแล้วไม่ว่าแบบไหนก็อย่าทิ้ง พอเห็นว่า ไม่ใช่ พระธรรมกาย อย่างนี้ไม่เอา เอาใหม่ ไม่ต้องนะ อย่าคิดอย่างนั้น เห็นพระได้ นี่ก็บุญเหลือหลายแล้ว ขนาดยังไม่เข้าไปถึงพระธรรมกาย เห็นองค์พระอ้วน ๆ ก็ได้ ท้วม ๆ หรือหล่อ ๆ อย่างนี้นะ แค่นั้นก็ปิดประตูอบายแล้ว เพราะใจผ่องใส แสดงว่าจิตต้องเลื่อมใสในพระรัตนตรัยพอสมควร ภาพอย่างนี้จึง เกิดขึ้นได้ การเห็นองค์พระในระดับนี้ก็ยังได้ชื่อว่า เห็นพระแล้วแต่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องจำตรงนี้เอาไว้นะ เพราะฉะนั้นเลิกสงสัยกันได้แล้ว
Believe in the Triple Gem
Stay with the Buddha Image that appears to you. Think yourself fortunate for being able to see the Buddha Image at all, however imperfect it may be. Remember that the mere seeing of the Buddha Image during meditation practice is enough to prevent you from going to the States of Unhappiness. You can see the Buddha Image because you believe in the Triple Gem and your mind is sufficiently bright and clear. Otherwise, you will not be able to see it.
净信三宝
我们熟悉哪一尊佛像,可能就会先看见那尊佛像,达到这个程度也算不错了。能够看见佛像说明我们的心已经静定到一定程度,只是还不够圆满。但若在此基础上继续精进修行,不久就可以证入内在的法身。如果在初始阶段看见各种不同的佛像,不要着急怀疑它是否是法身。不大老师可以证实它就是内在的佛,是尚未圆满的法身。就像塑造一尊佛像,开始先做出一个粗糙的模具,然后再慢慢雕刻,最终才做成完美无瑕的佛像。
因此,看见什么样的佛像都不要舍弃。“看到的不是法身,不行,重新来。”没有必要这样,看见佛像本身就已经是一种福报。就算没有证入法身,能看见庄严的佛像,就已经可以关闭恶道之门。因为只有当心明亮,净信三宝,这种画面才会出现。能看见佛像也算是见佛宝了,只是还不够圆满,所以不要再半信半疑了。
ในท้องมีพระ
มีพระพุทธรูปองค์หนึ่ง ครูไม่ใหญ่เห็นแล้วปลื้ม แต่คนจำนวนมากมองผ่านไปแล้วก็ไม่ได้คิดอะไร แค่คิดว่าเออแปลกดี มีอยู่วันหนึ่งเขาเอาพระพุทธปฏิมากรของจีนมาให้ครูไม่ใหญ่ดู บอกว่าอย่างนี้ในเมืองจีน มีเยอะแยะเลย เป็นองค์พระอ้วน ๆ เขาบอกว่าเป็นพระสังกัจจาย แล้วมือของ ท่านแหวกท้องเอาไว้ และในท้ององค์พระอ้วน ๆ ก็มีองค์พระพุทธรูปที่สวยงามอยู่ นั่นแหละเป็นปริศนาธรรมที่สำคัญมาก คือในยุคที่พระพุทธศาสนากำลังเจริญรุ่งเรืองในเมืองจีน องค์พระนี้ได้ถูกประดิษฐานเอาไว้เป็นปริศนาธรรม คล้าย ๆจะบอกว่าในท้องของทุก ๆ คน มีพระอยู่ คือ พระธรรมกายภายในครูไม่ใหญ่เห็นแล้วปลื้มมากเลย ซาบซึ้งในภูมิปัญญาของบรรพบุรุษชาว พุทธจีนที่มีวิธีการสอนลูกหลานได้ดีมาก
The Dhammakaya Is Inside You
There is one Buddha Image that Kru Mai Yai (the name Luang Por Dhammajayo uses to call himself when teaching in the Inner Dreams Kindergarten) loves to look at, although most people do not pay attention to it thinking it a bit strange. One day, a person showed Kru Mai Yai a Chinese Buddha Image. It was actually the image of Venerable Sankaccaya who was pulling open his abdomen with his hands to reveal a beautiful Buddha Image inside. This is a very significant puzzle. During the time that Buddhism flourished in China, such a Buddha Image was created as a Dhamma puzzle as though to say that inside everyone’s abdomen, there exists the Dhammakaya
Kru Mai Yai just loved looking at this image and was moved by the profound wisdom of ancient Chinese Buddhists who tried to pass down this truth to their posterity. But young people these days are more interested in what’s on TV and in various hi-tech toys. And so they overlook the profound message transmitted by this extraordinary image.
The term “Dhammakaya” used to be well-known in China during the time that Buddhism was at its zenith. With the change of government, Buddhism and the concept of Dhammakaya were completely overlooked. Perhaps now is the time to restore the valuable teachings that have been passed down to us by the ancient Chinese Buddhists, especially the concept of Dhammakaya.
肚子里有佛像
有一尊佛像,师父见后心生欢喜,但很多人见后却觉得它有点奇怪。有一天,有人拿一尊来自中国的佛像给师父看,说这种佛像在中国很多,说是迦旃延尊者。迦旃延尊者用双手撑开腹部,腹中露出一尊美丽的佛像,这有些令人百思不得其解,即佛教在中国十分兴盛的年代,却造了一尊如谜一般的佛像,好像在表明每个人的肚子里都有一尊佛像,也就是法身。师父见后十分欢喜,并被中国古代佛教徒能有这样高明的智慧教导后人而感动。
เข้าถึงพระธรรมกายเป็นสิ่งประเสริฐเลิศสุด
สมัยโบราณ เวลาใครเจ็บป่วยยังเตือนสติกัน ให้นึกถึงพระในตัว แต่เดี๋ยวนี้เวลาไปเยี่ยมไข้เขาไม่พูดอย่างนี้กันแล้ว มีอยู่รายหนึ่ง ท่านเป็นผู้หลักผู้ใหญ่กำลังนอนป่วยอยู่ แล้วก็มีเพื่อน ไปเยี่ยม “อ้าว! ท่าน อย่าทำเป็นสะเงาะสะแงะป่วยอยู่เลย ลุกขึ้นมา นี่เตรียม เอาไวน์มาให้ มาดื่มไวน์กันดีกว่า” นี่สมัยนี้เขาเยี่ยมผู้ป่วยกันแปลก ๆ เหมือนกับช่วยส่งไปอบายเลย แปลกดีเหมือนกัน เราต้องทำให้เข้าถึงพระธรรมกายให้ได้ ถ้าไม่ถึงชีวิตยังไม่ปลอดภัย แม้นมีชีวิตอยู่ก็เหมือนตายแล้ว เพราะว่าไม่ได้พบสิ่งที่ประเสริฐสิ่งที่เลิศ สำหรับการเกิดมาเป็นมนุษย์ในชาติหนึ่ง เสียไปชาติหนึ่งเลย เพราะฉะนั้นอย่าเพิ่งรีบตาย ถ้ายังไม่ได้เข้าถึงพระธรรมกาย
Attained Dhammakaya is the most sublime phenomenon
In the old days when a person was on his deathbed, he would be told to think of the Arahat or the Enlightened One. But this is no longer being practiced today.
One person of some importance was lying in his sickbed when his friend came to visit him with a bottle of fine wine. He proceeded to urge the sick person to get up and drink some wine with him. What an odd way to visit a sick person!
Everyone must endeavor to practice meditation until he can attain the Dhammakaya; otherwise, his life is still unsafe. One may be as good as dead because one has not yet found the most sublime phenomenon in the life of a human being. Therefore, one is to use every breath one has left on earth to endeavor to attain the Dhammakaya.
证入法身最殊胜
以前去探病时,探望的人总会提醒病人应该常忆念内在的佛宝,可如今去探病却不再这样说了。
有一个例子,有个人生病躺在病床上,朋友去探望他时却说:“老兄,别没病装病了,我带了一瓶葡萄酒,起来一起喝酒吧!”这种探望方式有点奇怪,这不是让对方堕入恶道吗?
我们要努力证入法身,否则生命就不安全,人生也就失去了意义。因为今世有幸生而为人,却没有见到最殊胜之物,岂不是白白浪费一生。因此,若还没有证入法身,就不要着急往生。
ไม่มีเวลา ไม่มีในโลก
มักจะอ้างกันว่าไม่มีเวลา จริง ๆ แล้วไม่มีเวลาไม่มีในโลก ทุกคนมีเวลา เท่ากัน ๒๔ ชั่วโมง แต่ใช้เวลาเพื่อให้เกิดกำไรชีวิตเป็นบุญกุศลไม่เท่ากัน และมักจะอ้างว่า ไม่ว่าง มีภารกิจโน่นนี่ทำมากมาย ครั้งหนึ่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงชี้ให้พระอานนท์ดูนักธุรกิจท่านหนึ่ง แล้วตรัสว่า “อานนท์ เธอดูพ่อค้าคนนั้นสิ เขาเก่งในด้านธุรกิจ มีเกวียนบรรทุกสินค้าเป็นร้อย ๆ เล่ม เขามีความฉลาด แต่เขาไม่รู้เลยว่าอีก ๗ วัน เขาจะต้องตาย เขาก็ยังมัวเพลินกับการแสวงหาทรัพย์ภายนอกอยู่เลย”พระอานนท์กราบทูลถามว่า “ข้าพระองค์จะไปบอกเขาได้ไหม” “ได้ อานนท์” พระอานนท์ก็เลยไปทำหน้าที่กัลยาณมิตร เล่าเรื่องราวให้พ่อค้าฟัง
และแนะนำให้พ่อค้าสั่งสมบุญกุศลตลอด ๗ วันที่เหลือ โชคดีที่นักธุรกิจท่านนั้นยังมีบุญเก่าจึงเชื่อพระอานนท์ เชื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และได้นำทรัพย์ที่แสวงหามาได้มาสร้างบุญ สร้างทานกุศล พอครบ ๗ วัน ก็ละโลกตายแล้วก็ไปดีด้วยบุญที่ทำตลอด ๗ วันนั้น ทีนี้สมมติว่า ถ้าไม่ได้พระอานนท์มาเป็นกัลยาณมิตร อะไรจะเกิดขึ้นกับนักธุรกิจท่านนั้น พอตายไปแล้วหมดสิทธิ์ใช้ทรัพย์ที่หามาได้ ถูกริบหมดเลย ทรัพย์นั้นก็ต้องตกเป็นของคนอื่น ไม่ได้เปลี่ยนโลกียทรัพย์เป็นอริยทรัพย์
บุญก็ไม่เกิดขึ้นกับตัว ตายแล้วไปสู่ปรโลกจะต้องไปอยู่ในภูมิที่มีแต่ความทุกข์ทรมาน ชีวิตมันเป็นอย่างนี้แหละ เพราะฉะนั้น คำว่า ไม่ว่าง ไม่มีเวลา อย่าเอามาใช้สำหรับปิดโอกาสตัวเองในการแสวงหาความดี บุญกุศล หรือพระรัตนตรัยในตัว
There Is No Such Thing as Having No Time.
Many people say that they have no time to practice meditation when actually there is no such thing as having no time. Everyone has the same twenty-four hours a day but the time spent accumulating merit is not the same for everyone.
On one occasion, the Lord Buddha pointed at a merchant and said to Venerable Ananda, “Ananda, look at that merchant! He has a great business sense and owns hundreds of wagons. And yet, he has no idea that he will die in a week’s time. He is still busily earning external wealth.”
Venerable Ananda asked the Lord Buddha if he could let the merchant know this fact and the Lord Buddha said that he could.
Venerable Ananda took it upon himself to perform the duty of a virtuous friend by advising the merchant to spend his final seven days on earth accumulating merit. It was fortunate that the merchant possessed enough accumulated merit to believe in Venerable Ananda’s advice and in the Lord Buddha’s Supernormal Insight. He spent the money he had on him accumulating merit for seven consecutive days. And on the seventh day, he died. His rebirth took place in the States of Happiness as a result of his merit accumulation.
What if Venerable Ananda did not take the time to do what he did? What would have happened to the merchant then? The moment he died, he had to leave all of his material wealth behind. If he had not transformed his material wealth into Ariya wealth, no new merit would have been earned. He might have had to spend his hereafter in the States of Unhappiness.
Therefore, there is no such thing as having no time when it comes to accumulating merit and finding the Inner Triple Gem.
怎会没有时间
有些人总是说没有时间,但事实上怎么会没有时间呢?每个人每天都有二十四小时,只是用于行善修功德的时间不一样。常借口说没有空,整天都有忙不完的事情。
有一次,佛陀指着一位商人对阿难说:“阿难,你看那位商人,擅长经商,有数百辆载货马车,头脑聪明。但他不知道自己将在七天后往生,仍在为外在的财富奔波劳累。”阿难请求佛陀说:“世尊,我可以去告知他吗?”佛陀说:“可以,阿难。” 随后,阿难去当商人的善知识,将佛陀的话转告他,并指引他在所剩的七天里勤修功德。好在那位商人很有福报,最终选择相信佛陀,并听从阿难的指引,用自己拥有的财富修大布施。七日之后,因为这七天勤修功德,使他得以往生善道。
假设没有阿难当商人的善知识,就不知道那位商人之后会怎样。他往生后,生前所积累的财富也带不走,也不会转化为来世的财富,只能任由他人使用。若来世转世恶道,还会受尽痛苦的折磨,人生就是如此。因此,不要再将没时间或没有空当作自己行善和修行的借口。
ใจอินโนเซ้นท์
ใครที่นั่งสมาธิแล้วไม่ได้ผลอะไร เพราะทำไม่ถูกหลักวิชชาหรือไม่ถูกวิธีเท่านั้น บางคนก็ตั้งใจมากเกินไป บางคนก็ย่อหย่อนเกินไป ไม่พบความพอดี เพราะฉะนั้นสุขที่เกิดจากสมาธิก็เลยไม่เจอ ไม่เจอก็เลยเบื่อหน่าย หรือบางทีคาดหวัง นั่ง
แล้วต้องให้พบพระกันเลย ซึ่งในแง่การปฏิบัติจริง ๆ แล้วไม่เป็นอย่างนั้น ไม่ค่อยเจอใครที่นั่งปั๊บแล้วเห็นปุ๊บเลย นาน ๆ ก็จะมีมนุษย์พิเศษสักคนหนึ่ง ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นเด็ก ๆ มากกว่าผู้ใหญ่ เหตุที่เด็กกับผู้ใหญ่มีผลการปฏิบัติธรรมได้ผลต่างกันในเวลาเท่ากัน ก็เพราะว่า เด็ก ๆ ใจเขายังไม่ค่อยเอาไปใช้คิดอะไร ยังไม่ได้รับผิดชอบอะไร มากมายนัก แต่ผู้ใหญ่ต้องรับผิดชอบชีวิต มีภารกิจ มีเครื่องกังวลใจมาก เราจึงคุ้นเคยกับระบบความคิด ใช้จินตมยปัญญากันมาก คือต้องคิด ต้องพินิจ
พิจารณากันไป ซึ่งมันสวนทางกับการเข้าถึงพระธรรมกายในตัว การเข้าถึงพระธรรมกายในตัว ใช้ระบบไม่คิด หรือคิดก็คิดเรื่องเดียว เด็ก ๆ จะเข้าใจวิธีการนี้ได้ง่ายกว่าผู้ใหญ่ ทั้ง ๆ ที่ผู้ใหญ่ก็ผ่านการเป็นเด็กมาก่อน แต่ก็หลงลืมอารมณ์ที่ดี ๆ นั้นไป ก็มาใช้วิธีคิดแบบผู้ใหญ่การปฏิบัติธรรมจึงไม่ได้ผลเท่าที่ควร ได้แต่ขันติบารมี ได้บุญกุศลเป็นพลวปัจจัยให้ได้บรรลุมรรคผลนิพพาน แต่ไม่ได้ประสบการณ์ภายในนาน ๆ ก็จะเจอผู้ใหญ่สักคนหนึ่งที่นั่งปั๊บเห็นปุ๊บ แต่ถึงแม้เห็นปุ๊บก็ไม่ค่อยจะชัดเท่าไร ดังนั้นถ้าผู้ใหญ่ทำใจอินโนเซ้นท์ได้เหมือนเด็ก ๆ ไม่คิดอะไรเลย ทำเฉย ๆ นิ่ง ๆ เดี๋ยวก็จะได้ผลดี เพราะฉะนั้นผู้ที่ตั้งใจปฏิบัติกันตั้งแต่
ต้นแล้วมาท้อในภายหลังเพราะไม่ได้ผลนั้น ก็ให้ฟิตขึ้นมาใหม่นะ อย่าให้มันฟุบแฟบลงไป ฟิตกันขึ้นมาใหม่ ไม่ใช่เราบุญน้อย และเราก็ไม่ใช่นั่งน้อยแต่ว่าเราทำไม่ถูกวิธี ใครที่มีบุญมากและนั่งมาก แต่ทำไม่ถูกวิธี มันก็ยังเข้าไม่ถึงสักที
Keeping One’s Mind Innocent
The reason one’s meditation is not progressing well is that one is not practicing it correctly. Some are too intent. Some are too lax. They have not yet found what is optimal for them. Therefore, they have not yet derived any happiness from their meditation practice and so they are beginning to feel bored and discouraged. Or they may expect to see the Dhammakaya as soon as they sit down to practice meditation. That is not the way things happen in reality. It is a rare person who can see the Dhammakaya as soon as he sits down to practice meditation. If it happens at all, it usually happens to children more than to grown-ups.
The reason children have an easier time making good progress in their meditation practice is that their minds are not yet filled with so many thoughts. They have few responsibilities and few concerns. Grown-ups have many responsibilities and many concerns. They are constantly thinking this, that, and various sundry things. And this constant flow of thought runs contrary to attaining the Dhammakaya.
The attainment of the Dhammakaya requires no thinking or thinking about just one thing. Children understand this concept much better than grown-ups despite the fact that grown-ups were once children. And yet they have all forgotten what it feels like to be a child. They apply adult thinking to meditation practice and so all they can gain is Patience Perfection and merit. But they cannot gain inner experiences.
Once in a very great while, a grown-up can see inner images the first time he practices meditation albeit the fact that the images are not sharp. Grown-ups need to emulate children by keeping their mind innocent. Think nothing. Just be still and quiet and progress will come. Those who are beginning to feel discouraged should rekindle their enthusiasm. They should make sure to practice correctly. Even though one can earn a great deal of merit by practicing meditation often, but if one does not practice it correctly, one will not be able to attain the Dhammakaya.
保持心灵纯真
打坐没有进步,可能方法错了。有的人过于专注,有的人过于松弛,没有调到适中的状态,所以体验不到禅定的快乐,从而感觉无聊或失望。事实上修行急不得,不是一坐下来就立刻见佛,久久才有一个与众不同的人可以快速证法,且绝大多数都是小孩子。
在同样的条件下,小孩子的禅修经验往往好过成年人。这是因为小孩子天真无邪,不会想太多,也没有太多责任。但成年人要承担各种责任,工作繁重,还有各种担忧,遇到事情,养成了思索应对方法的习惯,而这与证入法身是背道而驰的。证入内在的法身不需要思考,或只是思考一件事情,这一点孩子做的比成年人要好。大家成年之前也曾是小孩子,只不过长大后忘了曾经天真无邪的心态,而用成年人的方式去修行,所以没有获得应有的禅修经验。这样做得到忍辱波罗蜜,得到证入涅槃的资粮,可却没有得到好的禅修经验。
ผู้ที่มีความพยายามย่อมพบความสำเร็จ
เราเป็นผู้มีบุญมหาศาลที่ไม่ต้องไปเสียเวลาค้นหาทางมรรคผลนิพพานหรือวิธีการปฏิบัติเพื่อให้ได้บรรลุมรรคผลนิพพาน ซึ่งยากยิ่งกว่างมเข็มในมหาสมุทรเพราะไม่รู้เลยว่าอยู่ตรงไหน แต่ท่านค้นมาได้ เรามาอยู่ในช่วงจังหวะชีวิตแค่คว้า เราก็คว้าและก็ไม่ต้องไปแสวงหาวิธีการใหม่ ทำอย่างที่หลวงปู่วัดปากน้ำท่านได้สรุปวิธีการที่จะปฏิบัติให้ได้ผล คือ หยุดเป็นตัวสำเร็จ เราจับหลักตรงนี้ แล้วพยายามฝึกฝนให้ได้ หมั่นสังเกตไปเรื่อย ๆ วันนี้เราได้วิธีการหนึ่งซึ่งมันไม่ได้ผล พรุ่งนี้ได้อีกวิธีการหนึ่งก็ฝึกไปเรื่อยๆ เหมือนนักประดิษฐ์ โทมัส เอดิสัน กว่าจะประดิษฐ์หลอดไฟฟ้าได้ เขาต้องทดลองถึงสองพันกว่าครั้ง แต่เขาไม่ท้อ เขามีวิธีคิดที่แตกต่างจากมนุษย์ทั่วไปเขากล่าวว่า เขาไม่ได้ผิดหวังเลยในสองพันกว่าครั้งที่ยังไม่สมหวัง แต่เขาพบวิธีการถึงสองพันกว่าวิธี และวิธีสุดท้ายคือวิธีที่ทำให้แสงสว่างบังเกิดขึ้นในโลก หลอดไฟฟ้าจึงบังเกิดขึ้น เราก็เพียรปฏิบัติไป วันนี้ได้วิธีหนึ่ง พรุ่งนี้เจออีกวิธี จนกว่าจะได้วิธีที่สมหวัง คือ หยุดเป็นตัวสำเร็จ หลังจากลองไม่หยุดมาแล้วด้วยหลากวิธีการ เราอาจจะเป็นเอดิสันคนที่สองก็ได้ เพราะฉะนั้นให้ใช้วันเวลาที่เหลืออยู่นี้ทำความเพียรให้เต็มที่ ผู้ที่มีความพยายามย่อมพบความสำเร็จ
Success is in the hands of those who are diligent.
All of us can be said to possess a huge amount of merit because we do not have to spend the time looking for the Path and Fruit of Nibbana or the meditation method which can lead to the attainment of the Path and Fruit of Nibbana. Such a feat is more difficult than diving for a needle in the ocean. But our Luang Pu has already discovered the method for us. All we have to do is to take the method and run with it. All we have to do is to practice what Luang Pu has summarized for us, “Stillness Is the Key to Success.”
This is the principle that everyone must endeavor to put into practice. One must be watchful in that if what one is doing today is not working, tomorrow one must try another way. Keep on trying and practicing like the famous inventor, Thomas Edison, who had had to try more than 2,000 different ways before he was finally able to invent the light bulb. He did not become discouraged along the way. His way of thinking was far more different than that of most people. He said that he was not disappointed at all that he had had to try more than 2,000 ways before he finally found the right way. That was because he had discovered more than 2,000 ways which led him eventually to the last way that was the correct way to create his light bulb.
Everyone should endeavor to practice meditation earnestly and regularly. Today, one finds one way, and tomorrow, another so on and so forth until one finally discovers the way for one to truly understand what it means by “Stillness Is the Key to Success”. One may be the second Edison in the making, who knows? Everyone should endeavor to spend the rest of this Rains-Retreat practicing meditation to the fullest extent.Success is in the hands of those who are diligent.
成功掌握在勤奋的人手中
我们是有福报的人,无需再花时间去寻找趣向涅槃之道的方法。寻找的困难大于海底捞针,因为不知道在哪里。如今祖师已经找到方法,我们只需如法遵循,无需再苦苦寻找。只需按照祖师总结的原则:静定是成功之本,就会获得宝贵的禅修经验。
我们一边精进修行,一边持续的留意观察:可能今天的方法没有获得预期的结果,明天就尝试另一个方法。就像发明家托马斯·爱迪生发明电灯。他坚持不懈进行两千多次试验才发明了电灯。遇到失败时,从不气馁,他的想法与众不同。他说从未对两千多次的失败感到失望,因为通过失败知道这些方法行不通,并最终找到了适合的方法发明了电灯,给世人带来光明。
我们一边精进修行,一边寻找方法,最终会发现能让我们如愿的方法是,静止乃成功之本。在尝试了各种方法之后,我们有可能会成为第二个爱迪生。因此,我们应该充分利用时间精进修行,努力是成功的基石。
บุญ ๒ ระดับ
บุญเก่าของเราที่สั่งสมมา เมื่อมาต่อบุญใหม่ ทำให้เรามีชีวิตสะดวกสบายในชาตินี้ ปราศจากปัญหาและแรงกดดัน แถมมาเจอพระพุทธศาสนาวิชชาธรรมกาย และก็ให้โอกาสกับตัวเองไปประพฤติปฏิบัติธรรม รักที่จะแสวงหาความสุขที่เกิดจากความสงบภายใน และก็มีผลแห่งการปฏิบัติธรรมด้วย แบบนี้ถือว่ามีบุญจริง ๆ เลย คนมีบุญ เขาวัดกัน ๒ ระดับ ระดับแรกก็คือมีโลกียทรัพย์หรือทรัพย์ภายนอก ประสบความสำเร็จในชีวิต ในธุรกิจการงาน ถึงพร้อมด้วยลาภ ยศ สรรเสริญ อย่างนี้ถือว่าประสบความสำเร็จในชีวิตระดับหนึ่ง แต่ถ้าในระดับของผู้รู้จะต้องมีอีกชั้น คือ ได้อริยทรัพย์ภายในด้วย คือมีพระธรรมกายปรากฏที่ศูนย์กลางกาย หรืออย่างน้อยก็ได้ดวงธรรมใส ๆ ต้องครบสองชั้นดังกล่าวจึงจะเรียกว่าประสบความสำเร็จในชีวิตที่สมบูรณ์ ๒๐๐ เปอร์เซ็นต์
Two Levels of Wealth
The merit they had accumulated in their previous existences is enabling them to accumulate new merit here and now. They are blessed with few problems and low stress in their lives. Moreover, they have found Buddhism, Vijja Dhammakaya, and they are giving themselves the opportunity to search for the happiness which is derived from inner peace. Moreover, they are making good progress in their meditation practice.
There are two levels of wealth, namely, Lokiya (secular) wealth and Ariya wealth. Lokiya wealth means external wealth which includes success, prosperity, material wealth, title and position, and recognition. This is one level of success in life. Ariya wealth means internal wealth which is gained by seeing the Dhammakaya in the center of one’s body or at the very least, by seeing a crystal clear Dhamma Sphere. Whoever possesses both Lokiya wealth and Ariya wealth can be said to be 200 percent successful.
财富的两个层次
当新功德连接旧功德回报时,让我们在今世过上舒适的生活,远离各种问题和压力,得遇法身法门,并能打坐修行,享受内在平静所带来的快乐,最终获得殊胜的禅修经验,如此便是有大福报的人。
有福报的人分为两个层次:第一个层次是具足世间财富即外在财富,功成名就,事业有成,具足利、誉、称、乐,如此是获得一定程度的成功。
但如果是智者的层次,就要同时具足内在财富,也就是证得内在的法身,至少也要证得清净的法球。只有圆满两个层次,才能称得上是百分之百的成功。
เราสามารถพิสูจน์คำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้
ถ้าเราสามารถทำชีวิตทั้งข้างนอกและข้างใน คือทั้งหาทรัพย์ภายนอกได้ และยังนั่งสมาธิจนได้อริยทรัพย์ภายในแล้ว ได้อย่างนี้ได้ชื่อว่าประสบความสำเร็จในชีวิต ๒๐๐ เปอร์เซ็นต์ ข้างนอก ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ ข้างในอีก ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์
ทีนี้พอเราปฏิบัติเข้าไปถึง ณ ตรงนั้นแล้ว เราเริ่มมีความมั่นใจว่าสิ่งที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสเอาไว้เป็นเรื่องจริงพิสูจน์ได้ ถ้าเราให้โอกาสกับตัวเองขึ้นไปพิสูจน์และปฏิบัติได้เข้าถึง ต่อไปก็เหลืออย่างเดียวคือรักษาเอาไว้ไม่ให้หายไป และทำให้เจริญขึ้น ละเอียดขึ้นไปเรื่อย ๆ เพื่อจะได้ศึกษาวิชชาธรรมกายซึ่งเป็นความรู้ที่มีอยู่ในพระพุทธศาสนา เหมือนพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์บรรลุบุพเพนิวาสานุสติญาณ ก็ด้วยพระธรรมกาย หรือจุตูปปาตญาณ รู้เรื่องกฎแห่งกรรมก็ด้วยพระธรรมกาย กระทั่งทำอาสวกิเลสให้หมดสิ้นไปก็ด้วยพระธรรมกาย
The Lord Buddha’s Teachings can be personally proven
There are two levels of wealth, namely, Lokiya (secular) wealth and Ariya wealth. Lokiya wealth means external wealth which includes success, prosperity, material wealth, title and position, and recognition. This is one level of success in life. Ariya wealth means internal wealth which is gained by seeing the Dhammakaya in the center of one’s body or at the very least, by seeing a crystal clear Dhamma Sphere. Whoever possesses both Lokiya wealth and Ariya wealth can be said to be 200 percent successful.
But once one can arrive at this point in one’s meditation practice, one will begin to feel confident that the Lord Buddha’s Teachings can be personally proven if one takes the opportunity to prove it through meditation practice and the achievement of elevated meditative attainments. Now, one needs to make sure to stay with the experience and to grow it so that it becomes more and more refined. And in time, one will be able to learn Vijja Dhammakaya as taught by the Lord Buddha. The Lord Buddha attained the first branch of Higher Knowledge, Pubbenivasanusatinana, through the Dhammakaya. He attained the second branch and the third branch of Higher Knowledge, Cutupapatanana and Asavakkhayanana also through the Dhammakaya. His Dhammakaya enabled Him to eventually extinguish all defilements
佛陀的教法可以验证
如果我们能够内外兼修,既具足外在的财富也具足内在的圣财,便可以算是拥有圆满的人生,内外皆百分之百的圆满。
当我们修行证入法身后,就可以验证佛陀的觉悟真实不虚。如果我们有机会证入并证实,接下来要做的就是维持下去,并不断增长进步,以方便日后深修佛教的法身法门。佛陀也是透过法身证得宿命智和生死智,最终断尽烦恼。
วิชชาธรรมกายมีอยู่ในพระพุทธศาสนา
มีบางท่านกล่าวว่า วิชชาธรรมกายไม่มีในพระพุทธศาสนา นั่นท่านก็คิดของท่านไปเอง เพราะท่านไม่ได้ลงมือปฏิบัติ บางท่านลงมือปฏิบัติแต่ไม่ถูกหลักวิชชาจึงเข้าไม่ถึงก็ไปสรุปเอาเองว่าไม่มี แต่ผู้ที่เขาเข้าถึงเป็นพยานยืนยันในการตรัสรู้ธรรมนั้นมีอยู่เยอะทีเดียว
Vijja Dhammakaya is Buddhism
Some persons say that Vijja Dhammakaya is not Buddhism. But that is just their personal opinion. They have not yet made the time and effort to practice meditation or if they have, they are not practicing it correctly. And so they prematurely come to the conclusion that there is no such thing as Vijja Dhammakaya. But the fact is so far there have been a large number of successful practitioners who can bear witness to the Lord Buddha’s attainment of Self-Enlightenment, hence the reality of Vijja Dhammakaya.
佛教里有法身法门
有的人认为佛教里没有法身法门,那是他自己的想法,并没有亲自实践过。有的人实践过,可惜方法不正确,无法证得法身,于是就得出结论说没有法身。可事实上,证入法身者大有人在。
สู้กับข้าศึกที่แท้จริงคือกิเลสอาสวะ
ถ้ามนุษย์ทุกคนในโลกเข้าใจเป้าหมายของชีวิต โลกนี้ก็จะเกิดสันติสุขที่แท้จริง เพราะทุกคนจะมุ่งสร้างบารมี เติมความบริสุทธิ์กายวาจาใจให้กับตนเองให้มาก เพื่อจะได้เอาไปสู้กับข้าศึกที่แท้จริงคือกิเลสอาสวะเราก็จะได้ทำพระนิพพานให้แจ้ง โลกก็จะเกิดสันติสุขที่แท้จริงการประชุมเพื่อเรียกร้องสันติภาพยากที่จะสำเร็จได้ เพราะ หนึ่ง เขาไปคุยกันเล่น ๆ เพลิน ๆ ไม่ได้มีความตั้งใจจริงที่จะทำให้เกิดขึ้น และสอง ก็ไม่รู้ว่าจะทำให้เกิดขึ้นได้อย่างไร
Fight with the true enemy(defilements)
If everyone on earth understands his true life-goal, true world peace will happen because everyone will be busily pursuing Perfections and increasing their purity physically, verbally, and mentally. They will be endeavoring to keep their mind inside themselves in order to fight with their true enemy in the form of Kilesa (defilements). Everyone will be endeavoring to make clear the Path and Fruit of Nibbana. Hence, true world peace will happen. Peace conventions cannot bring peace about because people are just talking about peace, but they have no real intention of making it happen. Moreover, they have no idea how to bring about peace.
与真正的敌人(烦恼)战斗
如果人人都了解生命的目标,世界必将实现真正的和平。因为所有人都立志勤修波罗蜜,净化身口意,消灭真正的敌人——内在的烦恼,进而证入涅槃,最终世界也将实现真正的和平。为促进世界和平而举行的各类会议很难获得成功的原因,一是只停留在交流层面,各自目的并不一定在实现和平;二是不知道该如何实现目标。
การเข้าถึงพระธรรมกายเป็นหน้าที่ของเราทุกคน
ถ้าหากว่าเขาได้ทำตามคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าซึ่งเป็นคำสอนสากล มรรคผลนิพพานเป็นของสากลของทุก ๆ คนไม่ไช่ของคนใดคนหนึ่ง ถ้าทำตามนี้ได้ ป่านนี้ก็บรรลุเป้าหมายกันไปนานแล้วเพราะฉะนั้นจึงต้องตกมาเป็นหน้าที่ของพวกเรา เพราะเรารู้ว่าเราเกิดมาทำไม อะไรคือเป้าหมายของชีวิต เราก็จะต้องเร่งขวนขวายไปสู่เป้าหมายของชีวิตให้ได้เราทราบกันแล้วว่ามรรคผลนิพพานอยู่ในตัว ไม่ได้อยู่ที่ไหนแต่การจะไปถึงตรงนั้นได้ต้องมีบุญบารมีมาก ๆ ต้องปฏิบัติธรรมให้เข้าถึงพระรัตนตรัยในตัว และพระรัตนตรัยในตัวนั่นแหละท่านจะพาเราข้ามพ้นวัฏสงสารไปสู่ฝั่งพระนิพพานได้ ก็ต้องเป็นหน้าที่ของพวกเราที่จะต้องรับภารกิจนี้ต่อไป
Attained the Dhammakaya is everyone’s duty
However, if people practiced the Lord Buddha’s Teachings which are all about the Path and Fruit of Nibbana, hence, they apply to everyone on earth, peace would have been realized by now. Therefore, it is up to the Dhammakaya Community to practice the Lord Buddha’s Teachings because we know why we are here and what we are here to do. It is crucially important that we hasten to work towards our life-goal.
Everyone here knows that the Path and Fruit of Nibbana can be found inside himself and nowhere else. But to attain the Path and Fruit of Nibbana requires a tremendous amount of merit and Perfections. It requires one to practice meditation until one can attain the Inner Triple Gem and it is the Inner Triple Gem that will take one across the round of rebirth to the shore of Nibbana. It is one’s duty to carry on with this work as best as one can
证得法身是每个人的责任
佛陀的教诲国际通用,每个人都有证得道果涅槃的权利,非某人专属。如果人人都如法遵循佛陀的教诲,目标早就实现了。所以,这就变成我们的责任,因为我们知道为什么要生而为人,什么是生命的目标。我们就要尽快实现生命的目标。我们都知道道果涅槃不在其他地方,就在体内。但要想证入就必须具足圆满的功德波罗蜜,需要修行证入内在三宝。只有内在三宝能够带我们解脱轮回,到达涅槃彼岸。这是我们之后要继续肩负的责任。
เมื่อเราสว่าง โลกก็สว่างด้วย
คำขวัญที่ว่า เมื่อเราสว่าง โลกก็สว่างด้วย ไม่ใช่ตั้งขึ้นมาให้หรู ๆ ดูดี แต่ตั้งขึ้นมาเพื่อกระตุ้นจิตสำนึกของเราว่า มีภารกิจอันยิ่งใหญ่รอคอยเราอยู่ ภารกิจนั้นจะสำเร็จได้ขึ้นอยู่กับเรา เพราะฉะนั้นเราจะต้องเข้าถึงพระรัตนตรัยในตัวให้ได้เพราะ เมื่อเราสว่างโลกก็สว่างด้วย
The Brightness Attained by One Will Light Up the Entire World.
Slogan which says, the brightness attained by one will light up the entire world, was coined to remind members of our community that we have great good work to do and it is up to us to accomplish it. It is up to each one of us to attain the Inner Triple Gem because the brightness attained by one will light up the entire world.
当我们亮,世界也跟着亮
我们常说当我们亮,世界也跟着亮。并非只是一句华丽的口号,而是起到提醒和激励的作用;让我们意识到,还有一项伟大的任务等我们去完成。而且,这个任务的成功是依靠我们的。因此,我们要精进修行证入内在三宝。如此当我们光亮,世界也跟着光亮。
วางความเชื่อดั้งเดิมไว้ชั่วคราว
พระรัตนตรัยในตัวซึ่งมีอยู่ทุก ๆ คนในโลก ไม่ว่าเชื้อชาติศาสนาหรือเผ่าพันธุ์ใดก็ตาม จะเชื่อหรือไม่เชื่อรู้หรือไม่รู้ก็แล้วแต่ ทุกคนล้วนมีพระรัตนตรัยในตัวไม่ว่าเราจะไปเกิดในครอบครัวที่มีความเชื่อแตกต่างจากชาวพุทธก็ตาม หรือจะปฏิเสธพระแค่ไหน เจอพระพุทธรูปก็ทุบบ้าง ทำลายบ้างไม่อยากเห็นบ้าง หรือให้เอาออกจากห้องก็ตาม แม้จะปฏิเสธแค่ไหนก็ยังมีพระรัตนตรัยอยู่ในตัว แต่เราไม่รู้ เพราะไม่ให้โอกาสตัวเองได้ศึกษาเรื่องราวความเป็นจริงของชีวิตเพิ่มเติมจากความรู้ที่เราเคยได้ยินได้ฟังมาจากบรรพบุรุษ หรือจากครอบครัวที่เขาเล่าสู่กันฟังเราปิดหูปิดตาตัวเอง เหมือนอยู่ในกรอบ อยู่ในเส้นรอบวง แต่ถ้าหากเราตัดเส้นรอบวงออก ลืมไปชั่วคราวว่าเรามีความเชื่ออย่างไร แล้วทำใจให้เป็นอิสระ ทำใจให้เป็นสากล ไม่ว่าความรู้อะไรเราศึกษาทั้งนั้น เหมือนเวลาเราเข้าเรียนในโรงเรียน ตั้งแต่ชั้นประถม มัธยม เตรียมอุดม อุดมศึกษามีความรู้อะไรเราก็ศึกษาทั้งนั้น ความรู้เป็นของสากลเหมือนอากาศที่ทุกคนขาดไม่ได้ เมื่อศึกษาแล้วก็ใช้สติปัญญาพิจารณาเอาว่าควรจะเชื่อหรือไม่เชื่อแค่ไหน ดีกว่าปิดหูปิดตาปิดโอกาสตัวเอง มันต้องเปิดโอกาสให้กับตัวเองได้ศึกษาความรู้อันยิ่งใหญ่และเป็นความรู้ที่แท้จริงจะเชื่อหรือไม่เชื่อก็แล้วแต่ ทุกคนล้วนมีพระรัตนตรัยอยู่ในตัว ไม่เชื่อก็ลองดูสิ ถ้าไม่มีก็เจ๊ากัน เท่าทุน ไม่มีขาดทุน ดังนั้นควรจะมาศึกษา อย่าให้โอกาสเป็นวิกฤติ ตอนนี้ความรู้ที่แท้จริงยังมีอยู่ ยังถูกบันทึกเก็บเอาไว้ และยังมีผู้ที่ได้ศึกษาเรียนรู้ไปถึงในระดับหนึ่งแล้ว เรายังแข็งแรงสดชื่นควรจะให้โอกาสตัวเองได้มาศึกษา ถ้าเราปล่อยจนกระทั่งถึงวัยชรา หรืออยู่บนเตียงผู้ป่วยแล้วก็ไม่ไหวโอกาสก็จะเป็นวิกฤติ ถ้าไม่เตรียมเนื้อเตรียมตัวให้ดีสักวันหนึ่ง ถ้าเราไม่ตายด้วยอุบัติเหตุ เราต้องอยู่บนเตียงผู้ป่วยแน่นอน ไม่ว่าเตียงนั้นจะอยู่ในบ้านหรือนอกบ้านก็ตาม อย่างไรก็ต้องอยู่ถ้าไม่เตรียมตัวไว้ เราไม่พร้อมนะลูกนะ ไม่พร้อมนี่เป็นอันตรายสำหรับชีวิตเพราะว่ามันมีสูตรชีวิตอยู่ สูตรที่จะไปสู่ปรโลกขึ้นอยู่กับความหมองความใสของใจ ถ้าใจผ่องใสไม่เศร้าหมองก็เป็นรหัสผ่านไปสู่สุคติโลกสวรรค์ ถ้าใจหมองไม่ผ่องใสก็เป็นรหัสผ่านไปสู่อบาย ตรงนี้อันตรายสำหรับเราเพราะฉะนั้น เตรียมเนื้อเตรียมตัวของเราให้ดี สักวันหนึ่งเราจะต้องมีสภาพอย่างนั้น มันหมดเรี่ยวหมดแรงเลยนะ แต่ถ้าเราเตรียมตัวอย่างดี แม้อยู่บนเตียงผู้ป่วย ขยับเนื้อขยับตัวไม่ไหว ก็ป่วยอย่างสง่างาม อย่างองอาจไม่หวาดหวั่นในมรณภัย ไม่ตีโพยตีพาย ไม่วิตกกังวลว่าตายแล้วจะไปไหนก็ไม่รู้ บุญกุศลเราก็ไม่ได้ทำเอาไว้ ถ้าเกิดนรกมีจริงเราท่าจะแย่ จะได้ไม่ต้องไปนอนกลุ้มกันตอนนั้น
Putting Away Temporarily One’s Old Beliefs
Everyone on earth has the Dhammakaya inside him whatever his race or creed, and whether or not he knows about or believes in the existence of the Dhammakaya. A person born into a family with a different religious background may try to deny the truth about the Lord Buddha and His Teachings. He may try to destroy a Buddha Image or has no wish to see it. But however much he tries to deny the reality of the Inner Triple Gem, he cannot obliterate the fact that the Inner Triple Gem is inside him. Denial and resistance do not work. But what works is to give one’s self the opportunity to learn about the reality of life in addition to what one has already heard or been taught by one’s family.
It is better that a person breaks out of the box that he is in and puts away his beliefs temporarily. He should free his mind from everything he has ever known like a child just starting school. Knowledge is universal and necessary especially true and noble knowledge. One should give one’s self the opportunity to learn it. And then, one can decide for one’s self whether or not one should believe it.
Regardless of a person’s belief, every human being has inside him the Inner Triple Gem. One has only to prove it to one’s self. What has one got to lose, anyway? One should not turn an opportunity into a crisis. True knowledge is still available and it has already been well recorded. It has been learnt to a certain extent by many already. One should endeavor to learn true knowledge while one is still young and healthy. Once one is old and sick, one can hardly learn it. And then it will be too late.
Death comes to all of us sooner or later. One may die as a result of an accident or an illness. One may die in one’s house or outside it. Whatever the case may be, everyone must be well prepared because unpreparedness is dangerous. It is important to know that there are special codes which determine how one will fare in the hereafter. A dark and gloomy mind is destined for the States of Unhappiness whereas a bright and clear mind is destined for the States of Happiness.
Now is the time to prepare one’s self well. One should never wait until one is old and sick because it will be too late by then. If one has prepared well, even when one is lying in one’s sickbed and can hardly move, one will be dignified and brave. One will not be terrified of death or the hereafter.
暂时放下旧信仰
人人体内皆有法身,无论是什么种族、宗教或血统,亦不管知道或不知道,相信或不相信,全部都有法身。即使出生在不是佛教信仰的家庭,又或者非常排斥佛教,如不想看见佛像,将佛像从房间清理出去,甚至损毁佛像等等,体内也依然有法身。因为没有给自己机会去了解,所以不知道法身。
对生命真相的了解,听闻自我们的长辈或家人。我们因此而作出结论,对其它的观点不见不闻,如同给自己设置一个限制的框架。但如果我们跳出限制的框架,暂时放下自己信奉的东西,放空自己,以平和的心态,无论什么知识都去学习。就像学生时代,从小学、初中、高中到大学,教什么就学什么。知识是通用的,像大家都不可或缺的空气一样。学习知识后,再用正念和智慧省思是否值得相信,好过从一开始就选择视而不见听而不闻。我们应该给自己一个机会去学习生命真相的殊胜知识。不管相信或不相信,每个人体内都有三宝,不信就去实践。如果没有,就放下,也没什么损失。
因此,内在的知识非常值得学习,不要让机会白白流失。现在这种知识还存在,还有据可循,也有人实践到达了一定的程度。我们现在也很健康,应该把握住机会。不然待到年老或躺在病床上时,就来不及了。将丧失机会,危机来临。如果没有做好准备,我们将无法面对死亡。我们可能是因为意外事故而往生,也可能会因病躺在家里或医院的床上。如果我们不事先做好准备,是非常危险的,因为生命有其运行规则。往生后投生来世时,将取决于临终前心的状态。
如果心清净不浑浊,将趣向善道天界。如果心浑浊不清净,将趣向恶道,这是非常危险的。因此,我们要做好准备,因为总有面对死亡的一天,那时我们没有力气了啊!但如果我们万事俱备,就算躺在病床上无法动弹,也可以坦然面对,无所畏惧,不会对往生后不知去往何处而担忧。倘若生前没有累积任何功德,恶道又真实存在,那岂不是为时已晚。
เรามีเวลาจำกัด
เรารู้ตัวเองดีว่า เรามีความเพียรในการนั่งสมาธิขนาดนี้ ได้ทำตามหลักวิชชาอย่างนี้ และมีผลการปฏิบัติธรรมเป็นอย่างไรบ้าง เราก็รู้ได้ด้วยตัวของเราเอง ซึ่งทุกคนที่มีความตั้งใจปฏิบัติธรรม ขวนขวายในการแสวงหาพระในตัวล้วนแต่ได้ผลทั้งสิ้น มากหรือน้อยตามกำลังแห่งความเพียร ให้หมั่นสังเกตว่าเราทำถูกหลักวิชชาไหม แล้วก็ปรับปรุงใจของเราให้ได้ตลอดส่วนใหญ่ก็จะอยู่ในระดับใจโล่ง โปร่ง เบา สบาย มีเป็นส่วนน้อยที่เห็นแสงสว่าง เห็นดวงธรรม เห็นกายภายใน หรือองค์พระ
ถ้าเราตั้งใจทำกันอย่างจริงจังก็ต้องสมหวังกันอย่างแน่นอนวันเวลาที่อยู่ในโลกนี้เหลือจำกัด เหลือน้อยลงเรื่อย ๆ สำหรับการสร้าง บารมีหรือแสวงหาพระรัตนตรัยในตัว ยิ่งใครอายุสังขารมากก็จะรู้ตัวได้ดีกว่า ผู้ที่ยังแข็งแรงอยู่ แต่ความจริงแล้วใครจะแข็งแรงหรืออ่อนแรงมีสิทธิ์เดินทาง ไปสู่ปรโลกเท่ากัน วันไหนเวลาไหนนั้นไม่มีนิมิตหมาย ซึ่งเราก็ได้ยินข่าวคราว ของผู้ที่เดินทางล่วงหน้าไปก่อนหลาย ๆ ท่าน ก็เป็นตัวอย่างให้เราได้เห็นว่า ความตายไม่มีนิมิตหมาย ก็ควรจะรีบขวนขวายในการประพฤติปฏิบัติธรรมกันให้เต็มที่
A Limited Amount of Time
Whoever has endeavored to practice meditation earnestly and correctly is making good progress. One must continue to check and see if one is practicing correctly and if one is constantly adjusting one’s mind.
Most of you have been able to experience spaciousness, lightness, and comfort. A few of you have been able to see brightness, a crystal sphere, an Inner Body or a Buddha Image. You have to practice earnestly which would meet with success.
One’s time on earth, the time one has to pursue Perfections or attain the Inner Triple Gem is decreasing daily. Those of you who are older understand this well. But the fact remains that whether one is young, old, healthy or sick, death can come to one any time. It would behoove one to endeavor to practice meditation to the fullest extent.
生命有限
我们通过观察自己,知道自己是否如法修行,精进的程度,以及取得多大的进步。师父相信大家都在精进修行,努力寻找内在的佛,可是要取得多大进步则取决于自身的精进。应该常常观察自己的修行是否如法,以此来不断的调整进步。
许多人打坐都达到了通透、宽广、轻柔、舒服的程度,也有小部分人能见到光亮、法球、内在的身或佛像。如果我们认真修行,就一定能如愿以偿。人生的时间有限,留给我们修波罗蜜或寻找内在三宝的时间越来越少。年纪大的人比年轻人更能意识到这一点。可无论是年轻人或老人终将都会趣向来世,只是不知道是什么时候,没有任何预兆。我们经常听到有人往生的消息,这说明人生无常,所以我们更应该尽己所能精进修行。
ใจหยุดนิ่งที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗
พระรัตนตรัยภายในสวยงามมาก งามไม่มีที่ติ ประกอบไปด้วยลักษณะมหาบุรุษครบถ้วนทุกประการ เกตุดอกบัวตูม ใสเกินใสยิ่งกว่าความใสใด ๆ ในโลก หน้าตาเหมือนกันหมดเลย ไม่ว่าจะอยู่ในกายของมนุษย์เชื้อชาติศาสนาและเผ่าพันธุ์ใด รูปร่างภายนอกจะสวย จะหล่อ จะขี้เหร่อ้วน ผอม สูง ต่ำ ดำ ขาว ผิวสีอะไรก็แล้วแต่ แตกต่างหลากหลายแต่เพียงภายนอก แต่กายภายในนั้นเหมือนกันหมดเลยแล้วเราจะเชื่อได้อย่างไร ก็ต้องไปทำให้เห็น ซึ่งทุกคนสามารถเห็นได้ด้วยวิธีการฝึกให้ใจหยุดนิ่งที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ ซึ่งเป็นที่อยู่ของท่าน ที่สำคัญอย่าหาผิดที่ ถ้าไปหาที่ปากช่องจมูกก็ไม่เจอ กลางกะโหลกศีรษะไม่เจอ ปลายนิ้วมือก็ไม่เจอ เพราะไม่ใช่ที่อยู่ของท่าน ท่านอยู่กลางกายในตัวของทุกคน ถ้าใจหยุดเมื่อไรแล้วความสว่างก็เกิด เมื่อมองผ่านแสงสว่างไปก็จะเห็นหนทางที่จะเข้าถึงพระธรรมกายในตัว ผ่านดวงธรรมต่าง ๆ กายต่าง ๆเรื่อยไปเลย และกายสุดท้ายที่เลยกายอรูปพรหมไปนั่นแหละ พระธรรมกายจะเหมือนกันหมดเลยแต่ถ้าใจยังหยุดไม่สนิทก็เห็นพระเหมือนกัน แต่รูปร่างไม่เหมือนกันเลย ของญี่ปุ่นเหมือนญี่ปุ่น ไทยเหมือนไทย จีนเหมือนจีน ลาว เขมร เวียดนามพม่า ศรีลังกา จะเห็นไปตามเชื้อชาติหรือตามความคุ้นเคย แต่ถ้าพระธรรมกายของจริงแท้ต้องเหมือนกัน ถ้ายังไม่เหมือนนั่นยังไม่ใช่ แต่ยังไม่ใช่ก็ไม่ควรจะ
เอาไปทิ้ง หรือปล่อยวางไปเลยก็ไม่ใช่ ที่ยังไม่เหมือนก็ไปทำให้เหมือน คือมองต่อไปเรื่อย ๆ แล้วในที่สุดเราก็จะพิสูจน์ได้ เพราะฉะนั้นใครที่ใช้คำว่าพิสูจน์ไม่ได้ จริง ๆ แล้วยังไม่ได้พิสูจน์ ถ้าได้พิสูจน์ก็พิสูจน์ได้กันทุกคน
Complete standstill at the seventh base in the center of one’s body.
The Dhammakaya is the Inner Triple Gem. He is gloriously beautiful because He possesses all the thirty-two special physical attributes of the Perfect Man. He is gloriously clear, clearer than anything on earth. Whatever a person looks like on the outside, he may be beautiful, homely, fat, thin, tall, short, dark, fair, etc. These are external differences but internally there is no difference. Every person’s Dhammakaya looks exactly alike.
To prove this fact requires one to put in the earnest effort to keep one’s mind completely still and quiet at the seventh base in the center of one’s body. The Dhammakaya cannot be found anywhere else inside or outside one’s body. He can be found only at the seventh base in the center of one’s body. Once one can bring one’s mind to a complete standstill in the center of one’s body, one will see a very bright light. When one looks through this bright light, one will find the path leading to the Dhammakaya passing through different Dhamma Spheres and different Inner Bodies all the way to the Refined Non-Form Brahma Body and finally the Dhammakaya.
However, if one’s mind is not yet at a standstill, one can also see a Buddha Image except that each person will see a different looking Buddha Image. For example, a Japanese person will see a Japanese Buddha Image; a Thai person will see a Thai Buddha Image; a Chinese person will see a Chinese Buddha Image, so on and so forth depending on one’s racial background and familiarity. Still, seeing the Buddha Image during meditation, whatever He may look like is still a very good thing. One should continue to stay with the Image and practice keeping one’s mind stiller and quieter until eventually one can see the real Inner Buddha or the Dhammakaya who will look exactly the same for everyone. This truth must be personally proven and it can be proven by anyone.
心静定在体内第七点中心点
内在三宝无比庄严殊胜,圆满三十二大人相,肉髻顶上呈莲花花苞,比世上任何东西都更加晶莹剔透。每个人体内法身的模样都一样,不会因为不同种族、宗教或血统而各有相同。无论人的外表美或丑,身材胖瘦或高矮,肤色黑或白,这只是外表的不同,但是内在法身却一模一样。
我们怎样才会相信?那必须要亲眼所见,只要每个人将心静定在体内第七中心点,就有机会亲眼所见。那是法身的安住处,不要找错地方,在嘴巴、鼻子、头部或手指上找不到,因为那里不是法身的安住处。法身在每个人的体内,只要静下心来,光亮自然会生起,穿过光亮会看见证入内在法身之道,次第证入各种法球和种种身,证入无色梵天人身,最后证入法身,而所有法身都一样。
心未完全静定时也可以看见佛,只是模样不一样。可能泰国人见到的是泰国的佛,日本人见到的是日本的佛,中国人见到的是中国的佛,因为各自熟悉自己国家的佛像。可是真正的法身是一样的,如果不一样就还不是法身。但即便不是法身也不要舍弃或放任不管,只需继续静定地观照,最终一定可以证实法身真实不虚。因此,有的人说无法证实,事实上是没有去证实;如果努力去证实,每个人都可以做得到。
จิตที่บริสุทธิ์
ถ้าเข้าถึงแล้วเราจะยืนยันได้ว่า พระธรรมกายมีจริง และดีจริง ที่ว่าดีจริงนั้นดีอย่างไร ดีที่ว่าพอเข้าถึงแล้วมีความสุข จิตจะบริสุทธิ์เกลี้ยงเป็นกุศลธรรม ซึ่งเกิดมาเรายังไม่เคยเจอเลย แม้เราจะได้ยินได้ฟังคำนี้บ่อย ๆแต่จิตที่เต็มเปี่ยมด้วยกุศลธรรมที่แท้จริงเป็นอย่างไร จิตใจที่มีแต่ความดีล้วน ๆ นั้นให้ความรู้สึกอย่างไร ซึ่งเป็นความรู้สึกที่แตกต่างจากที่เราเคยเป็นเคยมี ความรู้สึกที่ได้เห็น ได้ยิน ดมกลิ่น ลิ้มรส ถูกต้อง สัมผัสต่างๆ นั้นตอนที่ยังเข้าไม่ถึงกับตอนที่เข้าถึงแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง เมื่อกุศลธรรมเกิดขึ้นเราจะเข้าใจอย่างดีเลย และยิ่งจิตบริสุทธิ์มากเท่าไรความสุขก็ยิ่งเพิ่มพูนทับทวี
Pure mind
Once one has attained the Dhammakaya and proven to one’s self that He is real, true, and sublime, one will know true happiness which comes from one’s pure mind. It will be the kind of happiness one has never before experienced. One will come to know what one’s mind is like when it is filled to the brim with wholesomeness and goodness. It will be an experience completely different from the way one has ever felt seeing, hearing, smelling, and touching something previously. The purity of one’s mind will continue to increase, and the level of one’s happiness will also continue to multiply.
纯净的心灵
如果坚持每天练习让心静定在体内中心第七点,不紧不松,适中如法,人人都可以证入内在的法身。我们必须努力证得法身,因为生而为人的目标就是证入涅槃,而法身是证入涅槃的途径。法身拥有法眼和知见,可以知晓一切,能让我们脱离轮回,到达涅槃彼岸。其实涅槃就在我们体内,可以通过让心静定的方式证入,而法身就是重要的连接点。
修行证入法身是人生的目标。法身是清净、善法和真正快乐的聚集处,生命的奥秘将被法身的法眼和知见揭开。因此,这是我们要努力去实现的,并应对比非常非常的重视。
บางสิ่งที่แสวงหา
พระธรรมกายมีจริงดีจริง จะเกิดมากี่ชาติก็แล้วแต่ ทุกครั้งที่เกิดมามีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหาพระในตัว เคยไหมบางครั้งที่เราอยู่คนเดียวเงียบ ๆ แล้วเกิดคำถามขึ้นมาในใจว่า เรากำลังแสวงหาอะไรสักอย่างหนึ่งที่จะทำให้ชีวิตสมบูรณ์ แต่เราก็ตอบไม่ได้ จะว่าเป็นคนหรือ ก็พยายามหาคนในอุดมคติก็ไม่ค่อยเจอ เจอแต่ในอะไรก็ไม่รู้ ก็
ไม่ใช่อีก ก็เปลี่ยนกันไปเรื่อย ๆ หาแมวบ้าง ม้าบ้างในอุดมคติ สัตว์ทั้งหลายก็ไม่ใช่ บางทีคิดว่าเจอแล้ว ใช่แล้ว แต่พักเดียวก็หายเห่อ อยากได้ใหม่อีกแล้ว อยากเปลี่ยนอีกแล้ว หรือว่าจะเป็นสิ่งของ เพชรนิลจินดา ทรัพย์สิน
เงินทองต่าง ๆ เหล่านั้น มันก็ยังไม่ใช่ มันทำให้ใจไม่อิ่มเลย ไม่รู้สึกเพียงพอ รู้สึกว่าได้แล้วก็อยากเปลี่ยน หรืออยากได้อีก อยากได้ไปเรื่อย ๆ นี่บางช่วงของอารมณ์เราจะเป็นอย่างนี้จนกระทั่งเมื่อไรที่เรามาเจอพระธรรมกายในตัว พอเข้าถึงตรงนั้นแล้ว
อ๋อ! รู้แล้ว สิ่งที่เราต้องการแสวงหาอยู่ตรงนี้เอง อยู่ที่พระธรรมกายนี่แหละไม่ใช่ที่ไหนเลย เป็นที่ประชุมรวมความปรารถนาของเราอยู่ตรงนั้น รู้สึกอิ่มรู้สึกพอ แล้วจะเชื่อได้อย่างไร ก็ต้องลองดู เอหิปัสสิโก มาลองดูนะ
Something you’ve been serarching for
The Dhammakaya is real, true, and sublime. In all of the countless existences that one has been born a human being, one’s true objective is to search for the Dhammakaya. Have you ever wondered sometimes when you are completely alone that there is something you’ve been searching for which will make your life complete? And yet, the answer has eluded you. One may think the answer can be found in a person, an ideal person. So one searches and searches for that ideal person, but he or she cannot be found. One may think the answer can be found in an ideal animal, a certain thing or material wealth. And yet, each time that one finds someone or something that may be it, the feeling only lasts so long and one is on the search yet again.
It will not be until one can find the Dhammakaya that one will realize that the Dhammakaya is exactly what one has been searching for all of one’s life. The Dhammakaya meets one’s every wish. He causes one to feel truly fulfilled and contented. Everyone must make the time and effort to prove this truth to one’s self. Ehipassiko! Try it!
一直在寻找的东西
法身真实存在,无论转世为人多少世,生来的目标都是为了寻找内在的佛。大家有过这种感觉吗?有时我们独处时,心里突然冒出一个问题:我们正在追寻什么,一种能让生命圆满的东西。但我们又不知道是什么。可能是一个人,便努力寻找梦想中的人,但却找不到或感觉不符。于是又不断改变目标,如养猫、养狗,可惜到头来也不是。
有时觉得已经找到,可过一段时间又感觉不对,想要其他的。于是,换了新的目标,如追求金银珠宝、各种资产等等。可后来又觉得不是,心一直贪得无厌,不知足,得到后又改变,或者想获得更多。有时心境就是如此。
直至证入法身那一天,才突然醒悟自己苦苦追寻的东西不在别处,不是别的东西,就是法身。它才是我们最终渴望的目标。我们会感到满意和知足。要怎样才会相信?就必须亲自体验,它是可以验证的,尝试体证吧!
พระธรรมกายเป็นจุดเชื่อมโยงที่สำคัญ
ถ้าเราให้โอกาสกับตัวเอง ฝึกใจให้หยุดนิ่งอยู่ที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ ทุก ๆ วันอย่างสม่ำเสมอ ไม่ตึง ไม่หย่อน ให้พอดี ๆ ถูกหลักวิชชาก็จะต้องเข้าถึงกันทุกคน และก็เป็นสิ่งที่จะต้องเข้าถึงให้ได้ด้วยเพราะว่าเป็นวัตถุประสงค์ของการเกิดมาเป็นมนุษย์
เราเกิดมาเพื่อทำพระนิพพานให้แจ้ง ซึ่งจะแจ้งได้ก็ต้องเข้าถึงพระธรรมกายในตัว เพราะพระธรรมกายท่านมีธรรมจักษุและญาณทัสนะ เห็นได้รอบตัว รู้ได้รอบตัว จึงจะทำให้เราข้ามฝั่งวัฏฏะไปสู่ฝั่งพระนิพพาน ไปทำพระนิพพานให้แจ้งได้ แล้วพระนิพพานนั้นก็อยู่ในตัวของเรา เข้าถึงได้ด้วยวิธีการหยุดกับนิ่ง พระธรรมกายจะเป็นจุดเชื่อมโยงที่สำคัญ ดังนั้น การปฏิบัติธรรมเพื่อให้เข้าถึงพระธรรมกายจึงถูกวัตถุประสงค์ ของชีวิต และพระธรรมกายก็เป็นที่ชุมนุมของความบริสุทธิ์ ของกุศลธรรม
ของความสุขที่แท้จริง ความลับของชีวิตจะหมดไป จะถูกเปิดเผยด้วยธรรมจักษุและญาณทัสนะของพระธรรมกาย เพราะฉะนั้นจึงเป็นสิ่งที่เราต้องทำ และให้ความสำคัญกับสิ่งนี้ให้มากๆ
The Dhammakaya acts as one’s bridge
If one gives one’s self the opportunity to train one’s mind to be still and quiet at the seventh base in the center of one’s body every day and regularly by resting one’s mind in just the right way, not too intent and not too lax, in time, one will be able to attain the Dhammakaya. Every human being must attain the Dhammakaya because this is the true objective of being born human.
Each one of us is here to make clear the Path and Fruit of Nibbana. This can happen only after one has attained the Dhammakaya because the Dhammakaya possesses the Dhammakaya-Eye and the Supernormal Insight that enable one to be all-seeing and all-knowing such that one can cross the round of rebirth to the shore of Nibbana. Nibbana can be found inside us. And the means to attain Nibbana is by keeping one’s mind completely still and quiet. The Dhammakaya acts as one’s bridge.
Therefore, one’s life-goal is to practice meditation until one can attain the Dhammakaya. The Dhammakaya is the source of purity, wholesomeness, and true happiness. All the secrets of life will be revealed by the Dhammakaya-Eye and the Dhammakaya’s Supernormal Insight. Therefore, it is necessary for one to make meditation practice one’s priority in life.
法身是重要的桥梁
如果坚持每天练习让心静定在体内中心第七点,不紧不松,适中如法,人人都可以证入内在的法身。我们必须努力证得法身,因为生而为人的目标就是证入涅槃,而法身是证入涅槃的途径。法身拥有法眼和知见,可以知晓一切,能让我们脱离轮回,到达涅槃彼岸。其实涅槃就在我们体内,可以通过让心静定的方式证入,而法身是重要的桥梁。
修行证入法身是人生的目标。法身是清净、善法和真正快乐的聚集处,生命的奥秘将被法身的法眼和知见揭开。因此,这是我们要努力去实现的,并应对比非常非常的重视。
คนเราเกิดมาทำไม
ความปรารถนาของมวลมนุษยชาติมีอยู่อย่างหนึ่งที่ตรงกันคืออยากพบความสุขที่แท้จริง อยากพบความสุขที่แท้
จริงก็ต้องไปถึงพระธรรมกายในตัวตรงศูนย์กลางกายให้ได้เป้าหมายของการเกิดมาเป็นมนุษย์นั้นต้องตอกย้ำซ้ำเดิมบ่อย ๆ
มีเพียงประการเดียว คือ เกิดมาเพื่อทำพระนิพพานให้แจ้ง ถ้ายังไม่แจ้งอย่างน้อยก็ต้องเกิดมาสร้างบารมี เติมบุญ เติมบารมี เติมความดีให้มาก ๆ บารมีก็มี ๑๐ ทัศทานบารมี ศีลบารมี เนกขัมมบารมี ปัญญาบารมี วิริยบารมี ขันติบารมี สัจจบารมี อธิษฐานบารมี เมตตาบารมี และอุเบกขาบารมี บารมี แบ่งเป็น ๓ ระดับ คือ ขั้นธรรมดา ขั้นกลาง และขั้นสูงสุด อย่างละ
๑๐ รวมเป็น ๓๐ ทัศ รวมแล้วเมื่อไรที่ดวงบุญดวงบารมีแต่ละดวงโตเท่ากันได้ เมื่อนั้นความปรารถนาของเราก็สมหวัง พ้นจากการอยู่ในวัฏฏะ ไปสู่พระนิพพานได้
Why Are We Here?
If one practices correctly and earnestly, one will definitely be able to find the Dhammakaya and when that happens, one’s life will be made complete. The reason is that every human being shares the same wish, and that is to find true happiness. True happiness can happen only after one has attained the Dhammakaya.
It must be frequently reiterated that as a human being, one’s real life-goal is to make clear the Path and Fruit of Nibbana. Or at the very least, one is here to accumulate merit and pursue Perfections. There are altogether Ten Perfections. And they include Generosity Perfection, Morality Perfection, Renunciation Perfection, Wisdom Perfection, Endeavor Perfection, Patience Perfection, Truthfulness Perfection, Resolution Perfection, Loving-Kindness Perfection, and Equanimity Perfection.
There are three levels to each Perfection, namely, the basic level, the intermediate level, and the ultimate level. Three levels of ten Perfections become thirty Perfections. Once all of one’s Merit Spheres and all of one’s Perfection Spheres are of the same size, one will be able to attain Nibbana. To go further than Nibbana, more and more Perfections will need to be pursued.
为何生而为人
所有人都渴望获得真正的快乐,但想获得真正的快乐就要证入内在的法身。这一点要反复的强调。生而为人的目标是为了证入涅槃,如果还未证入涅槃,至少也要累积增长波罗蜜。有十种波罗蜜,即布施波罗蜜、持戒波罗蜜、出离波罗蜜、智慧波罗蜜、精进波罗蜜、忍耐波罗蜜、真实波罗蜜、决意波罗蜜、慈波罗蜜和舍波罗蜜。波罗蜜又可分为三级,即初级、中级和高级。每一级有十波罗蜜,总计三十波罗蜜。当所有波罗蜜圆满时,我们就可以如愿脱离轮回,证入涅槃。
การสั่งสมบุญบารมีสำคัญมาก
ถ้าจะให้ยิ่งขึ้นไปอีกก็ต้องสร้างบารมีเพิ่มบารมีนี่สำคัญมาก ต้องสั่งสมให้เยอะ ๆ จะหลุดพ้นไปพระนิพพานได้ก็
ต้องอาศัยบารมี แม้พ้นไปแล้วระดับความสามารถยังไม่เท่ากัน เอตทัคคะของพระอรหันต์แต่ละองค์ไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับว่าใครสั่งสมอะไรมามาก แล้วตั้งความปรารถนาเอาไว้อย่างไร ถึงเวลาที่บรรลุมรรคผลนิพพาน แต่ความสามารถ
พิเศษก็จะแตกต่างกันไป ตามกำลังบารมี พระอัครสาวกก็ต้องเพิ่มเติมบารมี เข้าไปอีก พระปัจเจกพุทธเจ้า พระสัพพัญญูพุทธเจ้าก็ต้องเพิ่มขึ้นไปเรื่อย ๆ
Perfections are crucially important
Perfections are crucially important and must be pursued to the fullest extent in order to be emancipated from the round of rebirth and attain Nibbana. For those personages who have been emancipated, they differ in the level of their ability. For example, each Arahat is different in terms of his foremost virtue. It all depends on which particular virtue he has cultivated and what resolute wish he has made for himself. Chief Discipleship requires more Perfections than an ordinary Arahat. Paccekabuddhahood requires more Perfections than Chief Discipleship. And Buddhahood requires more Perfections than Paccekabuddhahood, so on and so forth.
修波罗蜜非常重要
所有人都渴望获得真正的快乐,但想获得真正的快乐就要证入内在的法身。这一点要反复的强调。生而为人的目标是为了证入涅槃,如果还未证入涅槃,至少也要累积增长波罗蜜。有十种波罗蜜,即布施波罗蜜、持戒波罗蜜、出离波罗蜜、智慧波罗蜜、精进波罗蜜、忍耐波罗蜜、真实波罗蜜、决意波罗蜜、慈波罗蜜和舍波罗蜜。波罗蜜又可分为三级,即初级、中级和高级。每一级有十波罗蜜,总计三十波罗蜜。当所有波罗蜜圆满时,我们就可以如愿脱离轮回,证入涅槃。
ก่อนอื่นต้องทำความสว่างภายในให้เกิดขึ้น
การบรรลุธรรมช้า บรรลุธรรมเร็ว บรรลุยากหรือง่าย ก็ขึ้นอยู่กับการสั่งสมบารมีมา ถ้าสั่งสมบารมีมามากก็ง่าย ถ้าน้อยก็ต้องมีความเพียรหน่อย เพราะฉะนั้นต้องสั่งสมบารมีกันให้เยอะ ๆ เพราะเราเกิดมาอย่างน้อยก็ต้องสร้างบารมีแต่เป้าหมายจริง ๆ คือเกิดมาเพื่อทำพระนิพพานให้แจ้ง พระนิพพานก็อยู่ในตัวของเรา แต่ถูกกิเลสอาสวะบดบังเอาไว้จึงไม่เห็น ต้องทำความสว่างภายในให้เกิดขึ้นแล้วจึงจะเห็นได้ นี่เป็นเรื่องที่สำคัญ
One must first be able to achieve inner brightness.
The length of time it takes to attain Enlightenment or the ease or difficulty in attaining Enlightenment depends on the level of one’s Perfections. The higher the level of one’s Perfections, the quicker and easier it will be for one to attain Enlightenment. The lower the level of one’s Perfections, the slower and harder it will be for one to attain Enlightenment. Therefore, everyone should endeavor to pursue Perfections to the best of one’s ability because Perfections enable one to make clear the Path and Fruit of Nibbana. The Path and Fruit of Nibbana is inside every person but it is hidden by defilements. To see the Path and Fruit of Nibbana, one must first be able to achieve inner brightness.
让内在生起光亮
证法的快或慢,难或易取决于累积的波罗蜜。如果累积的波罗蜜多,则容易证法,如果累积的波罗蜜少则需要更加精进,所以要多累积波罗蜜。我们生而为人至少要勤修波罗蜜,而真正的目标是证入涅槃。涅槃就在我们体内,只因被烦恼遮蔽。因此要让内在光亮,才能证入。这个非常重要。
ทำถูกหลักวิชชาและฝึกบ่อยๆ
เราต้องขวนขวายในการปฏิบัติธรรมกันให้ดี ต้องทำให้ถูกหลักวิชชา เอาเวลาที่ว่างๆ มาปฏิบัติธรรม จะได้เข้าถึง
พระในตัว เป็นพยานในการตรัสรู้ธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อย่างน้อยเราก็จะได้ยืนยันได้ว่า พระธรรมกายหรือพระรัตนตรัยในตัวนั้นมีจริงและก็ดีจริง แต่อยู่เฉย ๆ แล้วจะให้ท่านบังเกิดขึ้นมันไม่ได้ ต้องลงมือทำ ลงมือฝึก
ใจให้หยุดนิ่งถึงจะเข้าถึง ถ้าเอาเวลาไปดูทีวีหรือไปทำอย่างอื่นก็ไม่เห็น น่าเสียดายจังเลย ทีนี้พอเข้าไม่ถึง ใจก็ฟุ้งคิดไปเรื่อยเปื่อย อยู่กันไปไม่มีแก่นสาร อย่างนี้ไม่เกิดประโยชน์อะไร น่าเสียดายสำหรับบางท่านที่ปล่อยเวลาให้ผ่านไปโดยเปล่าประโยชน์
Practice it correctly and as often as possible
Everyone must endeavor to practice meditation earnestly. Practice it correctly and as often as possible so that you can attain the Dhammakaya and bear witness to the Lord Buddha’s attainment of Self-Enligtenment or at least to the fact that the Dhammakaya or the Inner Triple Gem is real, true, and sublime.
Only by practicing keeping your mind still and quiet correctly and earnestly will you be able to meet with success. Householders should not waste too much time watching TV or doing other things. Time is precious and should be spent practicing meditation as much as possible. It is a pity that some monks spend too little time doing their real work which is practicing meditation.
持续如法地修习
我们应该如法精进修行,充分利用空闲的时间打坐以证入内在的法身,成为佛陀觉悟的见证者,至少也可以证实内在的法身或三宝真实不虚。
如果自己什么也不做,却渴望法身自然出现那不现实。只有练习让心静定下来,才能证入法身。每天将时间浪费在看电视或各种琐事上,自然无法证入法身,到头来追悔莫及。如果还未证入法身,心就一直散乱不定,感觉生活无聊,人生失去了意义。真替那些浪费时间的人感到可惜。
พระนิพพานอยู่ในตัว
พระธรรมกาย คือ พระรัตนตรัยในตัว ซึ่งมีอยู่ในกายของมนุษย์ทุก ๆคนในโลก ไม่ว่าจะเชื้อชาติศาสนาและเผ่าพันธุ์ใด จะรู้หรือไม่รู้ เชื่อหรือไม่เชื่อ จะรังเกียจหรือไม่รังเกียจก็แล้วแต่ ล้วนมีหมดทั้งสิ้น มีนะที่เขารังเกียจพระรัตนตรัย เอาปืนไปยิงบ้าง เคลื่อนย้ายองค์พระออกจากห้องบ้าง อะไรต่าง ๆเหล่านี้ โดยเขาไม่รู้เลยในตัวเขานั่นแหละมีสิ่งที่เขารังเกียจอยู่ และเป็นสิ่งที่ดีที่สุดของเขาด้วยสรุปง่าย ๆ ก็คือว่า พระธรรมกายภายในมีอยู่ทุกคนในโลก เป็นที่พึ่งที่ระลึกอันสูงสุด สิ่งอื่นไม่ใช่ สิ่งนี้แหละใช่ อย่างเดียวเท่านั้น สิ่งอื่นจะเสมอเหมือนหรือยิ่งกว่าไม่มี เป็นที่รวมประชุมความปรารถนาของมวลมนุษยชาติทั้งหมดเลย เข้าถึงเมื่อไรก็มีความสุขที่แท้จริง อบอุ่น ปลอดภัย มีกำลังใจที่จะสร้างความดี ละชั่ว ทำดี ทำใจให้ใส เข้าถึงเมื่อไรก็จะเป็นอย่างนี้
Nibbana Is Inside Us.
The Dhammakaya is the Inner Triple Gem that can be found inside every person on earth regardless of his race or creed, whether or not he knows about the Dhammakaya, whether or not he believes in His existence, and whether or not he finds the Triple Gem objectionable. Some persons shoot at the Buddha Image. Some people remove the Buddha Image from a room, etc. They have no idea that what they find objectionable is inside them and is the best thing for them.
The Dhammakaya exists inside every person on earth and He is every person’s highest refuge. Nothing else is. Every person’s life fulfillment can be found in the Dhammakaya. Once one can attain the Dhammakaya, one will know true happiness, safety, and security. One will be motivated to perform wholesome deeds, abstain from unwholesome deeds, and keep one’s mind bright and clear.
涅槃之道就在体内
法身即是内在的三宝,人人体内皆有法身。不管是什么国籍、宗教或血统,亦无论知道或不知道,相信或不相信,厌恶或不厌恶,法身都在我们体内。有的人会厌恶三宝,有清理出家门或拿枪损毁等等。他们却不知道体内就有自己厌恶的东西,却是最能利益自己的。
总而言之,人人体内都有法身。法身是我们最崇高的皈依,其他东西都不是,也无法与之媲美。法身是人类所有善愿的聚集处。证入法身后,真正的快乐会生起,心感觉温暖、安全,更有信心的实践诸恶莫作,众善奉行,自净其意。
ธรรมจักษุของพระธรรมกาย
เราก็รู้ตัวของเราเองว่าเรามีความเพียรมากน้อยแค่ไหน ให้เวลากับชั่วโมงหยุด ชั่วโมงนิ่ง ชั่วโมงกลางมากน้อยแค่ไหน หรืออย่างน้อยผลที่เกิดขึ้นก็เป็นเครื่องบอกว่า เราเอาจริงเอาจังกันแค่ไหน ทำถูกหลักวิชชาไหมเราก็จะต้องขวนขวายปฏิบัติธรรมให้ได้ เพราะเรามาเกิดเพื่อทำพระนิพพานให้แจ้งพระนิพพานจะแจ้งได้ก็ต้องด้วยพระธรรมกาย จะเอาไฟฉายเอาสปอร์ตไลท์
ไปส่องแค่ไหนก็ไม่แจ้ง เพราะพระนิพพานอยู่ภายในตัว จะแจ่มแจ้งจะเห็นได้ด้วยธรรมจักษุของพระธรรมกายเท่านั้น
Dhammakaya’s Supernormal Insight
One knows how much time and effort one has made to practice meditation. It is up to each person to endeavor to practice meditation earnestly knowing that he is here to make clear the Path and Fruit of Nibbana. And the Path and Fruit of Nibbana can be made clear only through the Dhammakaya, the Dhammakaya-Eye and the Dhammakaya’s Supernormal Insight.
法身的法眼
我们可以从禅修经验上知道自己到底有多精进,有多少静定的时间,是否足够认真,方法是否正确?我们必须精进修行,因为生而为人就是为了证入涅槃,而要证入涅槃就必须先证入法身。拿多亮的电筒去照都看不见,因为涅槃在体内,只能通过法身的法眼才能看见。
เราจำเป็นต้องศึกษาคำสอนและคำแนะนำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
พระธรรมกายเป็นที่รวมประชุมของจักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่างรวมประชุมอยู่ในนั้น ด้วยพระธรรมกายอย่างเดียวจึงจะแจ้งได้ นี่คือวัตถุประสงค์ของการเกิดมาเป็นมนุษย์ ไม่ใช่เพื่อการอื่นเลย แต่ว่าเมื่อมาเกิดแล้วก็ลืมเป้าหมายของชีวิตว่า เกิดมาทำไม จะไปสู่เป้าหมายได้อย่างไร มันลืมหมดจะต้องอาศัยผู้รู้ที่มีกำลังบุญกำลังบารมีมาก ๆ อย่างพระบรมโพธิสัตว์ หรือ
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นต้น มาชี้ทางให้เราจึงจะทราบ เพราะฉะนั้นตอนนี้ทราบแล้ว เราก็ต้องขวนขวายกัน
We need the teaching and guidance of the Lord Buddha
The Dhammakaya possesses the Dhammakaya-Eye, Supernormal Insight, Supernormal Wisdom, Supernormal Knowledge, and Supernormal Brightness. These are the reasons that the Dhammakaya can lead us to penetrate the Path and Fruit of Nibbana. All of us are here to make clear the Path and Fruit of Nibbana. It is the only reason that we are here. But the birth process makes us forget why we are really here. It is the reason why we need the teaching and guidance of a great Bodhisatta or . So, let everyone do his very best.
我们需要佛陀的教导和指引
法身集眼、智、慧、明、光于一身,唯有法身才能带领我们证入涅槃。这是我们生而为人的目标,其他的都不是。但许多人出生后却忘记了人生目标,不知道自己为何出生,以及如何实现人生目标。同时也忘记了我们必须依靠智者,如菩萨或佛陀的指引,才能实现人生目标。当我们明了这一切后,应当全力以赴。
ดูละครภายในดีกว่า
ให้ใช้เวลาสำหรับการปฏิบัติธรรม อย่าไปดูทีวี ดูละครอะไรต่าง ๆ เหล่านั้น เราก็ดูกันมาหลายสิบปีแล้ว ก็มีแค่พระเอก นางเอก ผู้ร้าย ผลัดกัน แพ้ ผลัดกันชนะ บางทีก็แฮปปี้เอ็นดิ้งบ้าง บางทีก็ไม่แฮปปี้บ้าง มันก็มีอยู่แค่นี้ ดูละครภายในดีกว่า จะเป็นละครที่เป็นเรื่องจริงของตัวเราไม่ต้องไปดูใครเลย ดูตัวเราให้ได้ แล้วเดี๋ยวอย่างอื่นก็เรื่องเล็ก
Watching the Play Inside Us
You must be spent practicing meditation.Try not to spend the time you have watching plays on TV. After all, you have been watching them for decades now and the stories have been pretty much the same. The stories are all about a hero, a heroine, and a villain interacting with each other, winning, losing, etc. Sometimes a play has a happy ending. Sometimes it does not. It will be so much better to watch the play inside you. There is no need to watch anyone or anything else. Just watch yourself and everything else will be irrelevant by comparison.
观照内在的表演
多利用时间打坐,少看电视或戏剧等等。我们已经看了几十年,剧情都大同小异,不是男女主角的爱恨情仇,就是正反派的争斗,时而输,时而赢,时而快乐,时而痛苦,剧情一般也就如此。不如向内看,那才是我们真实的故事。不必去看别人的,看懂自己后,其他一切皆为小事。
ถ้าปฏิบัติจริงต้องได้ผล
เราจะทุ่มเทชีวิตจิตใจลงมือปฏิบัติธรรม จะเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้า จะเจ็บ จะป่วย จะไข้ มีภารกิจ มีหนี้มีสิน หรือมีอะไรก็แล้วแต่ ไม่ให้สิ่งเหล่านั้นเป็น ข้ออ้าง ข้อแม้ เงื่อนไข จะต้องลุยปฏิบัติธรรมให้เข้าถึงพระในตัวให้ได้ตัวเราเอง จะรู้ตัวของเราดีว่า ผลแห่งการปฏิบัติเป็นอย่างไร ถ้าเราลงมือปฏิบัติจริง ๆ ที่จะไม่ได้ผลเลยเป็นไม่มี มีแต่ดีมากหรือดีน้อย ซึ่งก็จะค่อย ๆ ดีเพิ่มขึ้นทุกวัน ถ้าดีน้อยเราก็ทำให้ดีมาก ถ้าดีมากเราก็ให้มากเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ
Earnest Practice Brings About Success
One must endeavor to practice meditation no matter what and even when one is tired, busy, sick, in debt, or whatever else. One must not try to come up with any excuses for not practicing meditation. The progress made in one’s meditation practice depends on how earnest and diligent one has been. If one is truly diligent and earnest, one is likely to have made some progress, and one’s experience is likely to improve daily. If the level of one’s progress is low, then one must endeavor to increase it. If the level of one’s progress is high, one’s experience will continue to improve that much more.
认真实践迈向成功
我们要一心一意精进修行,不让酸痛、疲劳、疾病、工作或其他事情成为阻碍修行的借口。当我们精进修行证入内在的法身,就会知道修行经验是怎样的。如何我们认真修行,不会没有经验,只是经验多或少,而且一天比一天好。如果经验少,我们就积累经验,不断增加。如果经验多,就让它更多。
ความแตกต่างขององค์พระ
ตั้งใจประพฤติปฏิบัติธรรมกันให้เต็มที่ ให้เข้าถึงพระธรรมกายให้ได้ หรืออย่างน้อยก็เห็นพระภายในซึ่งเป็นพระในระดับที่ยังมีการเปลี่ยนแปลงได้ คือก่อนที่ใจจะหยุดนิ่งได้สมบูรณ์ องค์พระที่เห็นจะยังแตกต่างหลากหลาย ทั้งรูปแบบ ขนาด วัสดุที่ทำ เป็นต้น อย่างนั้นก็ถือว่าใช้ได้
The difference of Buddha Image .
Everyone has been endeavoring to practice meditation earnestly in order to attain the Dhammakaya or at the very least in order to see a Buddha Image which may be different for different people.
不同的佛像
我们要一心一意精进修行,证入内在的法身。至少要看见可能发生变化的内在佛,即在心完全静定前,看见不同外形、大小或材质的佛。达到这个程度也算不错了。
รักษาใจให้ผ่องใสและสั่งสมบุญ
พระรัตนตรัยภายในเป็นที่พึ่งที่ระลึกอย่างสำคัญที่จะทำให้ใจเราใส เป็นทางมาแห่งบุญ และเป็นรหัสผ่านไปสู่สุคติโลกสวรรค์ ตามหลักวิชชาที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสเอาไว้ ถ้าใจผ่องใสไม่เศร้าหมอง สุคติเป็นที่ไป ถ้าเศร้าหมองไม่ผ่องใสทุคติเป็นที่ไป ใสกับหมองก็ขึ้นอยู่กับบุญบาปในตัวที่เรากระทำผ่านมาด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ ถ้าบุญก็ใส ถ้าบาปก็หมอง
Keeps one’s mind clear and earns merit
The Dhammakaya or the Inner Triple Gem is our highest refuge. The quest for the Dhammakaya keeps one’s mind clear and earns one merit. It also provides the special code for rebirth in the States of Happiness as taught by the Lord Buddha: A bright and clear mind is destined for the States of Happiness whereas a sad and gloomy mind is destined for the States of Unhappiness. The state of one’s mind, in turn, is determined by the level of merit and demerit derived from the level of wholesome deeds and unwholesome deeds performed through one’s body, speech, and mind. Merit makes one’s mind clear whereas demerit makes one’s mind gloomy.
保持清净心勤修善业
内在三宝是我们的皈依,可以净化心灵,是功德的来源,也是趣向善道天界的密码。依佛陀开示的修行原则,如果心明亮,必将趣向善道;如果心浑浊,必将趣向恶道。心明亮或浑浊取决于自己过往身口意造作的善业和恶业。如果造作善业心必然明亮,如果造作恶业心必然浑浊。
ต้องสั่งสมบุญบารมี
ตราบใดที่เรายังทำพระนิพพานไม่แจ้ง เรายังต้องเดินทางไกลในสังสารวัฏอีก เราก็ต้องสั่งสมบุญบารมีไปเพื่อจะทำพระนิพพานให้แจ้ง ถ้าไม่ทำพระนิพพานให้แจ้ง เราก็ยังต้องตกอยู่ในกฎแห่งกรรมที่บังคับหมดทุกคนในโลก ไม่จำกัดเชื้อชาติศาสนาและเผ่าพันธุ์ใด จะเชื่อหรือไม่เชื่อจะรู้หรือไม่รู้ก็ตาม ล้วนตกอยู่ในกฎแห่งกรรมทั้งสิ้น จะมาอ้างว่าไม่รู้ไม่ได้จะไม่ยอมไปในสถานที่ที่ไม่อยากไปก็ไม่ได้ เพราะเราได้กระทำอย่างนั้นเอาไว้
Merit and Perfections are needed.
For as long as one cannot yet attain Nibbana, one will still have to undergo a very long journey within the round of rebirth. As provisions for this very long journey, merit and Perfections are needed. Every person on earth, regardless of his race or creed, whether or not he knows about the Inner Triple Gem and whether or not he believes in the Inner Triple Gem, is governed by the Law of Kamma. The claim of ignorance cannot be used to refuse the destination of one’s rebirth.
勤修功德波罗蜜
如果我们还未证入涅槃,就得经历漫长的轮回流转,要继续为证入涅槃累积功德波罗蜜。只要我们还未证入涅槃,就还要受业果法则的控制,没有国籍、宗教或血统之别。无论相信或不相信,知道或不知道,所有人皆受制于业果法则。不能以不知道为借口,而不去自己不想去的地方,这样不行。因为我们造作过什么业,就要承受相应的果报。
ออกแบบสำหรับชีวิตในอนาคต
เมื่อเราจำเป็นต้องอยู่ในสังสารวัฏเพื่อสร้างบารมี เราต้องออกแบบชีวิตให้ดี อย่าให้ชีวิตเราตกต่ำ ให้ชีวิตเราสูงส่งขึ้นไปเรื่อยๆ คือ มีรูปสมบัติ ทรัพย์สมบัติ คุณสมบัติ ไม่ต้องมาลำบากยากจน เพราะฉะนั้นเราจึงจำเป็นต้องเรียนรู้กฎเกณฑ์ของสังสารวัฏ จึงจะทำให้เราออกแบบชีวิตของเราได้สมบูรณ์ อยากจะไปเป็นอะไรต่อไปก็แล้วแต่เรา ตำแหน่งเศรษฐี ยาจก วณิพก คนยากจนคนชั้นกลาง ชั้นสูง จะหล่อ รวย สวย ฉลาด สมปรารถนา ตำแหน่งเหล่านี้เป็นของกลาง ๆ ใคร ๆ ก็สามารถที่จะไปสวมตำแหน่งนี้ได้
Design one’s future existences
Since everyone must undergo the round of rebirth, it is crucially important that one continues to pursue Perfections to the best of one’s ability and to design one’s life in such a way as to ensure that the quality of life is constantly improving. The quality of one’s life is determined by the level of one’s corporeal wealth, material wealth, and favorable attributes. These blessings protect one from a life of poverty and hardship. It is necessary for everyone to learn about the various laws operating in the round of rebirth so that one can be well equipped to design one’s future existences. Whatever a person wants to be, a millionaire, a poor and destitute person, a middle-class person, a high-class person, a handsome person, a beautiful person, a wealthy person, a clever person, so on and so forth; it is all up to him.
设计未来的人生
只要我们还在轮回中修波罗蜜,就要做好人生规划,不要让生命随波逐流,应该步步高升。也就是具足容貌、财富、才能,不再贫穷。因此,我们有必要学习轮回中的法则,这样才能规划完美的人生,成为自己想成为的人。譬如富人、中产阶级、穷人,或者是英俊、美丽、富有、聪明,这些都是中性的,谁都可以成为或拥有。
ระบบการควบคุมของชีวิตมีอยู่ ๓ อย่าง
คนจนที่สุด เราก็มีสิทธิ์เป็นได้ ถ้าเราปรารถนาจะเป็น มันมีวิธีการ อยากจะรวยสุด ๆ ขนาดให้ทรัพย์ของคนรวยที่สุดในโลกนี้ เป็นเศษสตางค์ก็ได้ เหมือนอย่างผู้มีบุญในกาลก่อนที่ได้สมบัติจักรพรรดิตักไม่พร่อง หรือจะเป็นพระเจ้าจักรพรรดิที่ปกครองทวีปทั้ง ๔ หรือโลกทั้ง ๔ ที่อยู่รอบสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกาทั้งที่ยังมีกายมนุษย์อยู่ก็เป็นได้ จนที่สุดก็เป็นได้ ให้รวยก็ได้ หล่อก็ได้ ขี้เหร่ก็ได้ ปากแหว่ง หูแหว่ง จมูกวิ่นก็ได้ ได้ทั้งนั้นมันก็แล้วแต่เรา แต่ทีนี้ทำอย่างไรจะเป็นได้ เราก็ต้องเรียนรู้กฎเกณฑ์ที่จะไปเป็นสิ่งเหล่านั้น ระบบการควบคุมของชีวิตมีอยู่ ๓ อย่าง คือ บุญ บาป และไม่บุญไม่บาป ธรรม ๓ ประการนี้มีฤทธิ์มีอานุภาพมากพอ ๆ กัน เขาจะปรุงแต่งให้ได้ แต่ที่สำคัญคือบุญกับบาปนั่นแหละ ไม่บุญไม่บาปเขาจะอยู่เฉย ๆ บุญบาป
จะปรุงแต่งชีวิตของเราให้เป็นอย่างไร จะให้ราบรื่นตั้งแต่เกิดจนกระทั่งตายก็ได้ จะให้ลำบากตั้งแต่เกิดจนกระทั่งตายก็ได้ จะให้ชีวิตลุ่ม ๆ ดอน ๆ เพื่อความตื่นเต้นของหัวใจให้ชีวิตมีชีวาอย่างนั้นก็ได้
The three major systems which control one’s life
One has the right to be the poorest person such as Mahadugata. One has the right to be the wealthiest person such that all of Bill Gates’ wealth is like small change by comparison. There were persons in the past who possessed inexhaustible wealth. There were Universal Monarchs who had sovereignty over the four Human Worlds. Whatever one wants to be and have in ways that are positive or negative, it is all up to one. If one wants to be blessed with good looks, material wealth, and favorable attributes, one can have them provided that one knows how to go about incorporating them into one’s future existences.
The three major systems which control one’s life are merit, demerit, and neither merit nor demerit. These three systems possess equal powers in designing an individual’s life. But the most important systems are merit and demerit. The last system is neutral. Merit and demerit exert their influences over one’s life from one’s birth to one’s death. They design one’s life to be smooth or filled with vicissitudes.
掌控人生的三个系统
掌控人生的三个系统分别是善、恶与不善不恶,这三个系统拥有同样强大的力量,但重要的是善与恶,不善不恶则是中性的。善与恶造就了我们的一生:可能让我们从出生到死亡一帆风顺,也可能一生举步维艰,或者拥有跌宕起伏的精彩人生。
ผู้รู้ที่แท้จริงคือพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
จะให้สุขล้วน ๆ ตั้งแต่เกิดจนกระทั่งตาย ก็ต้องทำบุญล้วน ๆ ถ้าอยากจะทุกข์ยากลำเค็ญตั้งแต่เกิดจนกระทั่งตายก็ทำบาปล้วน ๆ ถ้าหากอยากให้ชีวิตลุ่ม ๆ ดอน ๆ เดี๋ยวสูง เดี๋ยวต่ำ เดี๋ยวรวย เดี๋ยวจน ก็ทำบุญบ้างบาปบ้างปน ๆ กันไป ประเภทวัดก็เข้าเหล้าก็กินอะไร อย่างนี้ แต่วัดก็เข้าหมายถึงเข้ามาทำบุญนะ ไม่ได้เข้ามาขโมยของในวัดอย่างนี้ไม่ใช่ ซึ่งเราต้องเรียนรู้ระบบเหล่านี้ แล้วจะทำให้ง่ายต่อการดำเนินชีวิตในสังสารวัฏ
แล้วจะเรียนรู้จากใคร ก็ต้องจากผู้รู้ที่เขารู้จริง แล้วต้องเป็นความรู้ที่สมบูรณ์ด้วย ส่วนความรู้ไม่ค่อยสมบูรณ์ รู้กะพร่องกะแพร่ง รู้ไม่จบขั้นตอนหรือไม่ครบวงจร อันนั้นอย่าเพิ่งไปเชื่อ ยกเว้นว่าไม่เจอผู้รู้จริง ๆ เมื่อไม่เจอเรือรบ เจอซากศพ หรือเจอขอนไม้ลอยมา เราจะจมน้ำตายอยู่แล้วก็เกาะ ๆกันไปก่อน แต่ถ้าหากว่าเจอเรือรบลำใหญ่มาก็อย่ามัวไปเกาะซากศพอยู่ล่ะให้ทิ้งซากศพ ทิ้งขอนไม้แล้วก็ขึ้นเรือ เพราะฉะนั้น บุคคลที่เราควรจะเชื่อคือผู้รู้ที่แท้จริงคือพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
The all–knowing personage here means the Lord Buddha.
If one wishes to experience happiness from one’s birth to one’s death, then one must accumulate only merit. If one wishes to experience hardship from one’s birth to one’s death, then one must accumulate only demerit. If one wishes to experience the vicissitudes of life, then one must accumulate a mixture of merit and demerit. For example, one goes to make merit at the temple, yet one is a habitual drinker. Knowledge of such rules will enable one to have an easier time living in the round of rebirth.
One must learn these rules from a personage who is all-knowing and not from individuals who possess partial knowledge about the round of rebirth unless of course the all-knowing personage is not available. One has not yet seen a great warship but one is still floating in the vast ocean. In that case, one may in the meantime hang on to a corpse or a log that is floating by. However, as soon as one sees a great warship, one had better abandon the corpse or the log and climb up on to the ship. The all-knowing personage here means the Lord Buddha.
佛陀是真正的智者
如果渴望人生幸福快乐,就持续勤修善业。如果想人生贫困潦倒,就持续造作恶业。如果想人生跌宕起伏,时而富有时而贫穷,就时而勤修善业,时而造作恶业。譬如那种既进寺院也喝酒的人。进寺院是来修功德,而不是指来寺院偷东西。只有学习了解这些知识,才能在轮回中更好的生活。
那要和谁学习这些知识呢?求教了解生命真相、智慧圆满的智者。对于那些不圆满、不全面、一知半解的人,不要立刻相信,除非还没有遇见真正智慧圆满的智者。如同我们暂时没有遇见大船,先遇见漂流的腐木。为了不被淹死,就先抓着它自救。可如果看见大船,就不要继续抓着腐木。应该舍弃腐木,毅然选择登上大船。因此,值得我们信赖的智者是正等正觉佛陀。
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเป็นต้นบุญต้นแบบที่ดี
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าแต่เดิมพระองค์ก็เป็นมนุษย์ธรรมดาอย่างเรา ๆ นี่แหละ แต่หัวใจท่านยิ่งใหญ่มีความปรารถนาจะเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งที่จะบรรลุธรรมด้วยพระองค์เอง ได้ศึกษาขั้นตอนของวิชาครู กระทั่งได้เป็นพระบรมครู สั่งสอนทั้งมนุษย์และเทวดาให้รู้เห็นตามพระองค์ บอกหมดโดยไม่ปิดบังอำพรางความรู้เลย ไม่มีขยักเลย ที่ขยักก็คือคนฟังนั่นละขยักที่จะทำ ท่านบอกให้ทำให้หมด แต่ก็ขยัก ๆ เอาไว้ในเรื่องการทำความดี
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นต้นบุญต้นแบบที่ดีที่เราจะต้องศึกษาหาความรู้จากพระองค์ แล้วอย่าไปฟังจากผู้ที่ไม่ค่อยจะรู้นะ ผู้ที่ยังแสวงหาความรู้ หาทางหลุดพ้นแต่ความรู้ยังไม่สมบูรณ์อย่างนั้นก็ยังใช้ได้ แต่ส่วนใหญ่ที่เจอมักไม่แสวงหาหนทางหลุดทางพ้น จะแสวงหาทรัพย์เกี่ยวกับเรื่องผลประโยชน์การทำมาหากินเสียส่วนใหญ่ เพราะฉะนั้นคำที่เขาแนะนำก็เพื่อผลประโยชน์ เพื่อการทำมาหากินของเขา
The Lord Buddha is every human being’s role model.
Countless existences earlier, The Lord Buddha was just an ordinary human being, but he possessed an uncommonly stout heart in that he had the aspiration to attain Buddhahood. Having pursued Perfections to the fullest extent for countless existences, in His final rebirth, He was able to attain Self-Enlightenment and became the Lord Buddha. As the Great Teacher of Truth, He has taught humans and celestial beings alike the Higher Knowledge about the reality of life and the round of rebirth without holding anything back.
The Lord Buddha is every human being’s role model. He is every human being’s Great Teacher because He is all-knowing. Do not be fooled by those who have not yet been emancipated from the round of suffering. Do not be fooled by those who seek material gain from others.
佛陀是优秀的榜样
佛陀成佛之前也像我们一样是一个平凡无奇的普通人,但世尊志存高远,立愿要通过自己的努力成就佛果。后来,历经艰辛终成开创佛教的伟大导师,度化无数人类和天人觉悟佛法,倾尽所有,毫无保留。而有所保留的却是听闻佛法的人。佛陀告诉我们行善要全力以赴,可惜有些人听后却三心二意,断断续续地修功德。
佛陀是优秀的榜样,我们应该精进修习佛陀的教法,不要去听从那些一知半解的人的话。那些正在寻找解脱方法的,只是还不够圆满,还是不错的。可是如今大多数人都不是在寻找解脱的方法,多以赚钱谋生为主,所以他们倡导的也只是赚钱谋生而已。
ปฏิบัติตามคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและแก้ไขข้อบกพร่องของตนเอง
ยกตัวอย่าง แค่เราดูทีวี เราจะเห็นเลยว่าเราดูการทำมาหากินของเพื่อนมนุษย์ จะดูข่าว ดูละคร หรือดูอะไรก็แล้วแต่ มันเป็นเรื่องการทำมาหากินของเพื่อนมนุษย์ คนที่มาอ่านข่าวเขาก็ต้องมีรายได้ไปเลี้ยงครอบครัวของเขา เขาก็ต้องให้นักข่าวไปหาข่าว ก็ต้องเลี้ยงครอบครัวของนักข่าว แล้วก็เอามาฉายให้เราดูก็ต้องมีสปอนเซอร์ มันก็เป็นการทำมาหากินของบริษัทห้างร้าน จะดูละครก็เป็นเรื่องการทำมาหากินของชาวบ้านทั้งนั้น เพราะฉะนั้นออกจากบ้านไปเห็นแต่เรื่องการทำมาหากินทั้งสิ้น ไม่ได้มีเรื่องแสวงหาหนทางหลุดพ้นจากกฎแห่งกรรมเลย ไม่ค่อยมีใครคิดอย่างนี้กัน
ถ้าเมื่อไรเราไปเจอผู้รู้ที่รู้เรื่องราวกฎแห่งกรรม ต้องถือว่าเป็นบุญลาภของเรา ให้เชื่อท่านเอาไว้เลย และในที่นี้ก็คือพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะฉะนั้นพระองค์มีพระคุณต่อชาวโลกล้นเหลือ โดยเฉพาะเราชาวพุทธได้มาอยู่ในร่มเงาของพระองค์แล้ว อย่าเป็นพุทธแต่เพียงในทะเบียนบ้าน แต่ว่าให้เป็นพุทธที่แท้จริงด้วย ซึ่งก็ต้องศึกษาคำสอนและนำมาพินิจพิจารณาด้วยสติ ด้วยปัญญา แล้วก็แก้ไขข้อบกพร่องของตัวเรา ชีวิตเราก็จะได้สูงส่งยิ่งขึ้นไปเรื่อยๆ
Follow the Lord Buddha’s teachings and improve our lives
When one watches TV, one can see the different ways that one’s fellow men earn a living. Whatever programs that is on TV, it is all about people earning a living. Newscasters read the news for a living. Reporters go about obtaining the news for a living. Program sponsors advertise their merchandise for their businesses. Actors and actresses work for their living, so on and so forth. None of these people are searching for the way to be emancipated from the round of rebirth and the Law of Kamma. Such a thought cannot be further from their minds
If one happens upon an all-knowing personage like the Lord Buddha who knows all about the Law of Kamma, one can be said to be very fortunate indeed. One should believe in Him and His Teachings which can benefit every person on earth. Buddhists must not be so in name only. But they must be true Buddhists by studying and practicing the Lord Buddha’s Teachings in order to work on their shortcomings and improve themselves in every way so that the quality of their lives can continue to improve.
遵从佛陀的教诲,改善自身的不足
例如我们看电视时,剧情一般都是世人的日常生活。无论我们看的是新闻或电视剧,一般都是在展现世人的赚钱谋生。阅读新闻的人需要有收入来养家糊口,记者也需要去找新闻,赚取收入来养家糊口。影视公司要拍剧来给观众看才有收入,而剧中的剧情也是在展现世人的日常生计。因此,无论是看电视或在现实生活中,一切都是为了赚钱谋生,维持生计,没有为摆脱业果法则而寻找解脱之道。很少有人有这样的想法。
如果有幸遇到一个明了业果法则的人,那真是很幸运,我们应该相信他,这里指的就是佛陀。因此,佛陀对世人有莫大的恩惠,特别是生活在法荫下的佛教徒。我们不应只是名义上的佛教徒,而是要努力成为一名真正的佛教徒。精进修行佛陀的佛法,以正念和智慧亲自体证佛法,改善自我,人生才会越来越好。
พระธรรมกายในตัวเท่านั้น ช่วยเราได้
พระรัตนตรัยภายในตัวของเรา เป็นที่พึ่งที่ระลึกอันสูงสุด สิ่งอื่นไม่ใช่ เพราะสิ่งอื่นช่วยอะไรเราไม่ได้ มีแต่พระธรรมกายในตัวเท่านั้น ช่วยเราได้ ทั้งในปัจจุบัน แม้ละโลกไปแล้ว จนกระทั่งช่วยให้พ้นจากวัฏสงสารก็ได้ เนื่องจากท่านมีธรรมจักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่างรวมประชุมกันอยู่ภายในองค์ท่านและเป็นที่รวมหมวดหมู่แห่งธรรมด้วย ท่านเป็นที่พึ่งที่ระลึกอย่างเดียวเท่านั้น เพราะว่าท่านพ้นจากกฎของไตรลักษณ์ มีอานุภาพที่ไม่มีประมาณ
The Dhammakaya inside us can help us
The Dhammakaya inside us can help us here and now, in the hereafter, and until emancipation from the round of rebirth can be achieved. The reason is that the Dhammakaya possesses the Dhammakaya-Eye, Supernormal Insight, Supernormal Wisdom, Supernormal Knowledge, and Supernormal Brightness. He is also the source of all Dhamma knowledge. He can be our refuge because He is above and beyond the Three Characteristics and He possesses incomparable Supernormal Power.
只有内在的法身可以帮助我们
内在的三宝是我们最高的依靠,其他东西都不是。因为其他东西帮不了我们,只有内在的三宝可以在今生和来世帮助我们,助我们解脱生死轮回。因为内在的三宝具足法眼、智慧、光明,是种种法的聚集地。它是我们唯一的依靠,因为它不受制于三相,拥有无穷无尽的力量。
เวลาเท่ากัน ได้ไม่เท่ากัน
ทุกคน ทุกชาติ ทุกภาษา ทุกศาสนา ทุกเผ่าพันธุ์ ไม่ว่าจะเป็นชนชั้นล่าง ชั้นกลาง ชั้นสูง เศรษฐี มหาเศรษฐี ยาจก วณิพก ทุกคนมีเวลา ๒๔ ชั่วโมง เท่ากันในการสร้างความดี เติมความบริสุทธิ์กายวาจาใจให้กับตัวของเราได้เท่ากัน แต่ว่ามักจะใช้เอามาสร้างความดีได้ไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับว่าใครมีความเข้าใจเป้าหมายของชีวิตแค่ไหน ใครเข้าใจมากก็จะขวนขวายใช้เวลาที่มี
อย่างจำกัดในการสร้างบารมีด้วยกายมนุษย์นี้สร้างบุญสร้างกุศลเติมความบริสุทธิ์กายวาจาใจตลอดเวลาเลย เพราะว่าพอตายแล้วก็หมดสิทธิ์ที่จะสร้างบารมี นอกจากคอยอนุโมทนาบุญกับคนอื่นเขา ถ้าเขาไม่ส่งบุญมาให้เราก็อด
Equal Amount of Time but Different Results
Every person on earth regardless of his race, creed, and economic status, has the same twenty-four hours a day to perform wholesome deeds and to increase his physical, verbal, and mental purity. However, the time spent on performing wholesome deeds is different for different persons. It all depends on how much one understands one’s true life-goal. Those who have a greater understanding tend to spend the limited time they have on earth to actively accumulate merit and pursue Perfections and to increase the level of their physical, verbal, and mental purity. They know that death will take away whatever opportunity they will have to accumulate merit and pursue Perfections. In the hereafter, all one can do is to rejoice in the merit that people on earth are accumulating. A great many deceased humans depend on the merit dedicated to them by those who have survived them; that is, if they are fortunate enough to have anyone dedicate the merit to them.
时间相同但结果不同
不管是什么种族、国籍、语言、宗教或血统,也不管是下层、中层或上层人士,是穷人或富人,每个人每天都有相同的24小时,可用于积德行善或净化身口意。可实际上每个人行善的时间不一样,这取决于对生命目标的了解程度。明确生命目标的人,会利用人身和有限的时间,持续不断地净化身口意和精进累积功德波罗蜜。因为往生后就没有机会亲自累积波罗蜜,只能在别人回向功德时,我们借机随喜功德。如果别人不回向功德给我们,我们自己则无能为力。
ผลลัพธ์ชีวิตหลังความตาย
ชีวิตหลังจากตายแล้วใช้แต่บุญและบาป บาปก็ไปใช้เสวยทุกข์ในนรก บุญก็เอาไปใช้เสวยสุขในโลกสวรรค์ นรกสวรรค์เป็นภพที่มีอยู่ดั้งเดิมมานานแล้ว พระสัมมาสัมพุทธเจ้ากี่พระองค์มาตรัสรู้ก็มีอยู่ก่อนแล้ว พระองค์ไปรู้ไปเห็นแล้วนำมาสั่งสอนเล่าสู่กันฟังด้วยความรักและปรารถนาดีต่อเพื่อนมนุษย์ คนมีบุญมีปัญญาฟังแล้วก็เชื่อ แล้วก็ทำตามท่าน ก็จะได้เป็นอย่างที่ท่านเป็น หรืออย่างน้อยก็เป็นบุญกุศลที่จะเป็นกำลังให้ได้บรรลุมรรคผลนิพพานเช่นเดียวกับพระองค์
The result afterlife
Life in the hereafter depends entirely on one’s accumulated merit and demerit. Accumulated demerit causes one to receive horrific sufferings in the Hell Realm. Accumulated merit causes one to receive celestial bliss in the Celestial Realm. The Hell Realm and the Celestial Realm have always existed. Every Buddha who happened in the past was able to see these extraterrestrial realms and taught them to human beings out of their limitless love, kindness, and compassion. Those who were wise heard their teachings and believed them. They endeavored to practice the Lord Buddha’s Teachings. Many were able to attain Nibbana as a result. Others were able to accumulate as much merit as they could so that they would be able to attain Nibbana in a future existence.
来世生命的果报
来世的生命将建立在善恶果报之上。如果是恶报就投生地狱受苦,善报就投生天界享乐。天界与地狱是存在已久的境界,过去诸佛觉悟前就已经存在。当佛陀觉悟后,带着对世人的大慈大悲之心,决定将所知所见的一切传授世人。有福报的智者听闻后坚信不疑,如法修行而证悟,或者至少所累积的功德资粮可以成为证入涅槃的助缘。
เรียนรู้ความเป็นจริงของชีวิต
เพราะฉะนั้น เรามีเวลาในโลกมนุษย์นี้จำกัด จึงจำเป็นต้องใช้วันเวลาให้มีคุณค่ามากๆ ให้เกิดประโยชน์กับตัวเราให้มากที่สุด เพราะเรามาเกิดเพื่อทำพระนิพพานให้แจ้ง อย่างน้อยก็มาสร้างบารมีของเราให้มากยิ่ง ๆ ขึ้นไปถ้ามีบารมีมาก เราจะเข้าใจเรื่องราวความเป็นจริงของชีวิตได้ง่าย อุปสรรคของชีวิตก็มีน้อย ถ้าบารมีน้อยอุปสรรคก็มาก เราเกิดมาเพื่อการนี้
Learn to understand the reality of life
Our time on earth is limited and it is necessary that everyone spends it in the most worthwhile manner. Since every person is here on earth to make clear the Path and Fruit of Nibbana, and at the very least, to pursue Perfections, it would behoove him to do his very best with the limited time he has on earth. When one has a good understanding of the reality of life, one will endeavor to pursue Perfections to the best of one’s ability. One realizes that a high level of Perfections brings about very few obstacles in life whereas a low level of Perfections brings about many obstacles in life.
学习与了解生命的真相
我们在人世间的时间有限,应该充分利用宝贵的时间,尽可能的让自己受益。因为我们生来是为了证入涅槃,至少也是来累积增长波罗蜜。如果具足波罗蜜,我们将更容易理解生命的真相,生活中的障碍会很少。如果波罗蜜少,障碍就多。
เมื่อผู้มีบุญมาเกิด
ถ้าใครได้สร้างบารมีตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา ต้องถือว่ามีบุญมากเราฟังแล้วอาจจะงงว่า อยู่ในครรภ์มารดาแล้วจะสร้างบารมีได้อย่างไร นั่นก็คือบุญของลูกกับพ่อแม่ต้องรวมกัน โดยเฉพาะเมื่อพ่อส่งให้กายละเอียดของลูกไปอยู่กับแม่แล้วก็เป็นหน้าที่ของแม่ที่ต้องดูแลลูกที่อยู่ในครรภ์ ใจของแม่กับลูกก็ต้องผูกพันเป็นหนึ่งเดียวกัน ถ้าลูกเป็นเด็กมีบุญมาเกิด เวลาอยู่ในครรภ์มารดาก็จะกระตุ้นให้มารดาอยากจะสร้างบารมีตลอดเลย ถ้าจะแพ้ท้องก็แพ้ท้องด้วยกุศลธรรม คือทำให้แม่อยู่เฉยๆไม่ได้ อยากสร้างบุญ พอพ่อแม่สร้างบุญอาการแพ้ท้องนั้นก็ระงับไป เหมือนสายฝนที่โปรยลงมาทำให้เปลวความร้อนระอุที่แผ่นดินในฤดูร้อนระงับไปอย่างนั้น ซึ่งเรื่องราวทำนองนี้ก็มีมาแล้วในพระไตรปิฎก ที่เวลาผู้มีบุญมาเกิดจะทำให้มารดามีความรู้สึกอยากฟังธรรมบ้าง อยากจะกินข้าวก้นบาตรบ้างหรืออยากรักษาศีลบ้าง อยากทำทานบ้าง อยากเป็นผู้นำบุญบ้าง ถ้าหากพ่อแม่ได้ทำบุญหรือได้ไปชวนคนสร้างบุญกุศลแล้วรู้สึกสบายใจ อาการแพ้ท้องก็จะหายไปอย่างนี้ เป็นต้น
The Birth of a Merit–Filled Person
Whoever has the opportunity to pursue Perfections while still in his mother’s womb is considered to possess a high level of merit. One may very well wonder how a fetus can pursue Perfections. It can because of the collective merit possessed by the parents and the child. Once the father passes the child’s Refined Human Body on to the mother, it is now the mother’s duty to nurture the child in her womb. At this point, the mind of the mother and the mind of the child merge as one. If the child possesses a high level of merit, he will motivate the mother to pursue Perfections all the time. Should she suffer morning sickness, it will be the kind that can only be cured by accumulating merit like the rain quenching the heat of the hot ground.
Stories like these can be found in the Tipitaka. One expectant mother was motivated to listen to Dhamma lectures. One expectant mother wanted to eat the food left in a monk’s alms-bowl. One expectant mother was motivated to observe the Precepts. One expectant mother was motivated to give alms. One expectant mother was motivated to be a merit leader because the mother’s morning sickness disappeared once the parents went around inviting people to accumulate merit. Etc.
当有福报的人来投生
如果有人在母亲腹中就开始修波罗蜜,可谓是很有福报。有的人听完可能会疑惑:在母亲腹中怎么可以修波罗蜜呢?这是由于孩子和父母的共业所致。尤其是当父亲和母亲结合有了身孕之后,母亲需要悉心照顾腹中的胎儿,与胎儿的心紧密相连。如果胎儿有福报,在腹中时就会督促母亲去修波罗蜜。有孕辰反应也是因为想修功德的缘故,即不想让母亲安静的呆着,想让母亲去修功德。修完功德孕辰反应就停了,就像倾盆大雨能让夏季酷热的大地降温。
在《三藏经》中就记载有这样的故事,当有福报的人来投生时,就会促使母亲想闻法、布施、持戒,想成为劝人行善的善知识。如果父母去修功德或邀请他人行善,孕辰反应会自然消失。
ทำความดี ๒๔ น.
เวลามันผ่านไปรวดเร็วเหลือเกิน ทุกคนมีเวลาวันละ ๒๔ ชั่วโมงเท่ากันสำหรับการสร้างความดี เพราะเราเกิดมาเพื่อทำพระนิพพานให้แจ้ง หรืออย่างน้อยก็เกิดมาสร้างบารมี นี่เป็นเป้าหมายหลัก แต่ ๒๔ ชั่วโมงต่อวันนี่ได้ไม่เท่ากัน ลองสำรวจตัวเราจะรู้เลยว่า เราทำความดีได้บุญได้บารมีมากน้อยแค่ไหนความดีทำได้ ๓ ทาง คือ ทางกาย ทางวาจา ทางใจ หรือจากความคิด คำพูด และการกระทำ โดยให้เรายึดเอากุศลกรรมบถ ๑๐ ประการเป็นหลัก หรืออย่างน้อยก็ศีล ๕
Performing Wholesome Deeds Twenty–Four Hours a Day
Time is passing by so quickly. Every human being is here on earth to make clear the Path and Fruit of Nibbana or at least to pursue Perfections. Every person has the same twenty-four hours a day but the time spent performing wholesome deeds is different with different persons. One needs to check and see if one is spending one’s time effectively when it comes to performing wholesome deeds.
Wholesome deeds can be performed physically through one’s actions, verbally through one’s speech, and mentally through one’s thoughts by adhering to the Tenfold Wholesome Course of Action or at the very least by observing the Five Precepts.
一天二十四小时行善
时光如白驹过隙,每个人每天都有24小时用于行善。我们生来就是为了证入涅槃,或至少是来修波罗蜜,这是人生主要的目标。但每个人每天行善的时间却不一样,我们应该好好省思自己每天到底累积了多少功德。通过三种方式的善行,即身、口、意,也就是心存善意,口说善言,身行善事。我们应该以十善业为基础,或者至少也要持五戒。
ในแต่ละวันเราจะต้องทำกุศลกรรมบถ ๑๐ ให้ได้ครบถ้วน
กุศลกรรมบถ ๑๐ แบ่งเป็น ทางกาย ๓ คือ ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ประพฤติผิดในกาม ทางวาจา ๔ คือ ไม่โกหก ไม่พูดจาส่อเสียดให้เขาทะเลาะกัน ไม่พูดคำหยาบ ไม่พูดเพ้อเจ้อ พูดเล่นเรื่อยเปื่อย ทางใจ ๓ คือ ใจไม่คิดอยากได้ทรัพย์ของผู้อื่น ไม่ผูกโกรธผูกพยาบาท และไม่เห็นผิด ตรงนี้เป็นสัมมาทิฐิ ซึ่งจะมีรายละเอียดอยู่เยอะทีเดียว ตั้งแต่ต้องเชื่อเรื่องทานทำแล้วมีผล บิดามารดามีคุณ ไม่ใช่มองว่าแค่สนุกแล้วทำให้มีลูกขึ้นมา แต่ว่าเป็นเรื่องหน้าที่ที่สูงส่งเพื่อให้เป็นทางมาเกิดของมนุษย์เพื่อ
มาสร้างบารมี ไม่ใช่มองต่ำ ๆ อย่างนั้น เชื่อเรื่องการเวียนว่ายตายเกิด เรื่องนรกสวรรค์มีจริง สัตว์ที่ไปเกิดในนรกสวรรค์มีจริง ผู้บรรลุธรรมมีจริง อย่างนี้เป็นต้น มีทั้งหมด ๑๐ อย่าง แต่หลัก ๆ ที่เราควรจะจำคือ เชื่อเรื่องกฎแห่งกรรมนั่นละ ถ้าไม่เชื่อก็จะมีความเห็นผิด เพราะฉะนั้น วัน ๆ หนึ่งเราจะต้องทำกุศลกรรมบถ ๑๐ ดังกล่าวให้ได้ หรือถ้าจะดูศีล ๕ ก็ดูว่าครบทั้ง ๕ ข้อไหม ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ประพฤติผิดในกาม ไม่พูดปด ไม่ดื่มสุรา นี่ก็คือข้อสังเกตของเรา แล้วก็ยังมีอบายมุข ๖ ซึ่งเป็นปากทางแห่งความเสื่อม ถ้าใครทำแล้วเสื่อม เสื่อมตั้งแต่คิดจะทำ ลงมือทำยิ่งเสื่อมหนักเข้าไปอีก
It is necessary that one adheres to all ten wholesome courses of action on a daily basis
The Tenfold Wholesome Course of Action includes three physically wholesome courses of action, namely, no killing, no stealing, no sexual misconduct. It includes four verbally wholesome courses of action, namely, no false speech, no divisive speech, no offensive speech, and no nonsensical speech. It includes three mentally wholesome courses of action, namely, no covetousness, no ill-will, and no Wrong View
No Wrong View means having Right View. Having Right View means, for example, the view that alms-giving bears fruit, the view that one owes one’s parents a debt of gratitude because they enable one to be born a human for the purpose of pursuing Perfections, the view that the round of rebirth exists, the view that the Hell Realm and the Celestial Realm exist and rebirth in the Hell Realm and the Celestial Realm is real, Enlightened Personages exist, etc. There are altogether ten right views. But just having the view that the Law of Kamma exists, the rest of the right views will naturally follow. In the same token, whoever does not believe in the Law of Kamma can be said to have Wrong View.
Therefore, it is necessary that one adheres to all ten wholesome courses of action on a daily basis. Or one can choose to observe the Five Precepts immaculately. One makes sure that one does not kill, does not steal, does not commit sexual misconduct, does not lie, and does not consume alcohol or other addictive substances. In addition, there are the Six Courses of Ruin which will bring ruin to anyone that engage in these unwholesome activities.
每天坚持修习十善业
十善业可分为,身三业:不杀生、不偷盗、不邪淫;口四业:不恶口、不两舌、不妄语、不绮语;意三业:不贪、不嗔、不痴。这里的“不痴”就是正见,详细的说就是相信布施有善报,父母有恩德,相信业果法则,相信天界和地狱真实不虚,投生地狱的人真实存在,证悟佛法的人真实存在等等。这十善业中,我们主要应该做的是相信业果法则,如果不相信就容易心生错误的见解。
因此,我们每天都应该修习十善业。或者至少持五戒,即不杀生、不偷盗,不邪淫,不妄语,不饮酒。除此之外,还有六损道,令生命堕落。如果谁从一开始心生念头再到着手去造作,那么将会走向罪恶的深渊。
ฟิต ฝ่อ ฟู
ใครที่ปฏิบัติธรรมแล้วยังไม่ได้ผลเต็มที่ ก็ต้องหันมาพิจารณาดูว่า หนึ่งเรามีความเพียรสม่ำเสมอทุกวันหรือเปล่า สองทำถูกวิธีไหม อย่างน้อยก็สองอย่างนี้ ถ้าหากว่า ใครยังทำความเพียรไม่สม่ำเสมอ ฟิต ฝ่อ ฟู คือ พอเริ่มต้นเข้าพรรษาก็ฟิต กลาง ๆ ก็ฝ่อ พอเชียร์หน่อยก็ฟู ใจฟูขึ้นมาก็ลุยกันทีหนึ่ง ตอนนี้ก็ต้องมาฟิต ฟิต ฟิต แล้วล่ะ ต้องเอาจริงเอาจัง แล้วก็มาดูข้อที่สองว่าทำถูกหลักวิชชาไหม ตรงนี้สำคัญนะ
Inconsistency
Whoever has not been able to make any progress in his meditation practice needs to check and see if he has endeavored to practice meditation correctly and every day.
If anyone is being inconsistent in that one was enthusiastic at the beginning of the Rains-Retreat, then as the season went by, one became demotivated, but towards the end one is enthusiastic again, then one must spend the rest of the Rains-Retreat practicing meditation eagerly and correctly too.
不持之以恒
如果修行没有进步时,我们就要省思自己是否每天都有精进修行,以及修行方法是否正确,至少要省思这两点。如果谁没有持之以恒的精进,刚开始时很努力,不久就退步,鼓励一下又精进一段时间,现在就要持之以恒的精进修行了。同时留意自己的修行方法是否正确,这一点很重要。
หยุดเป็นตัวสำเร็จ
หลักวิชชาก็คือ หยุดเป็นตัวสำเร็จ หมายถึง จะเข้าถึงพระธรรมกายภายในได้นั้นใจต้องหยุด ถ้าใจไม่หยุดจะเข้าถึงไม่ได้เลย ต้องหยุดคิด หยุดพูด หยุดทำอะไรทั้งสิ้นเลย เหมือนไม่ได้ทำอะไร แค่นิ่ง ๆ เฉย ๆ สบาย ๆ เท่านั้น เดี๋ยวเราก็จะเข้าถึงสิ่งที่มีอยู่ในตัวของเรา ซึ่งเป็นแผนผังของชีวิต ตั้งแต่ดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ดวงศีล ดวงสมาธิ ดวงปัญญา ดวงวิมุตติ ดวงวิมุต
ติญาณทัสนะ กายมนุษย์ละเอียด กายทิพย์ กายพรหม กายอรูปพรหม แล้วก็กายธรรมหรือพระธรรมกาย ก็จะเห็นไปตามลำดับต้อง หยุด อย่างเดียวเท่านั้น ไม่หยุดไม่ถึงพระ หยุดจึงเป็นตัวสำเร็จหยุดตรงนั้น หยุดในระดับที่ปลอดความคิด และมีความโปร่งโล่งเบาสบาย ณ ตรงนั้นจะไม่มีความคิดเลย ใจสบาย ๆ ไม่มีจินตนาการหรือบริกรรมนิมิตเราจะใช้ตอนต้น เพื่อที่จะหาหลักยึดของใจ ไม่ให้ใจฟุ้งไปคิดเรื่องอื่น ใจจะได้อยู่กับเนื้อกับตัว เมื่อใดใจกับกายรวมเป็นหนึ่งเดียวกันได้เมื่อนั้นจึงจะเข้าถึงสิ่งที่มีอยู่แล้วในตัวของเรา ต้องให้ใจกลับมาสู่ที่ตั้งดั้งเดิม เพราะฉะนั้นในเบื้องต้นจึงจำเป็นจะต้องมีบริกรรม
นิมิตกับบริกรรมภาวนา
Stillness Is the Key to Success
To attain the Dhammakaya, one’s mind must be brought to a complete standstill. One must stop thinking, stop speaking, and stop doing anything. One simply sits still, yet relaxed and comfortable and then one will see inner images which already exist as the blueprint of life in the center of one’s body. One will see the Pathama Sphere, the Sila Sphere, the Samadhi Sphere, the Panna Sphere, the Vimutti Sphere, and the Vimuttinanadassana Sphere followed by the Refined Human Body, the Coarse and Refined Celestial Bodies, the Coarse and Refined Form Brahma Bodies, the Coarse and Refined Non-Form Brahma Bodies, and eventually the Dhammakaya.
Stillness is the key to attaining the Dhammakaya. It is the stillness characterized by the state of being thought-free, expansive, spacious, light, and comfortable. It is the state which is relaxed, comfortable, and devoid of thought and imagination.
Imagination or a visualized image is deployed only at the beginning in order to anchor one’s mind inside the body and prevent it from scattering. Once one’s mind and body become one, that is when one will be able to access all the things that exist inside one’s self.
静止是成功之本
修行的准则:静止是成功之本,意思是想证入内在的法身,心必须要静止。如果心不能静下来,就无法证入。只有停止想、说和做,就像什么也不做,保持舒服、宁静、安定的状态,我们就可以证入原本就有的内在法身,它是生命的蓝图。首先证入初道光球,然后次第证入戒光球、定光球、慧光球、解脱光球、解脱知见光球、细人身、天人身、梵天人身、无色梵天人身和法身。
必须要静止,否则无法证入法身,静止是成功之本。静止就是没有念想,心通透、轻盈、舒服,没有任何念头或想法。起初观想所缘是为让心有依附的对象,心不散乱,安住体内。当心和身合二为一,我们就可以证入内在的法身。要让心回归原来的位置,开始时有必要观想所缘和默念佛号。
บริกรรมนิมิตกับบริกรรมภาวนา
เพราะฉะนั้นในเบื้องต้นจึงจำเป็นจะต้องมีบริกรรมนิมิต เราจะนึกเป็นภาพองค์พระหรือดวงแก้วก็ได้ แต่ต้องนึกให้เป็น ไม่ใช่ไปเค้นภาพ หรือไปบีบ ไปเค้น ไปเพ่ง ไปจ้อง อย่างนั้นปวดหัวไม่ถูกหลักวิชชา ให้นึกธรรมดา ๆ เหมือนเรานึกถึงดอกกุหลาบ ดอกบัว ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ดวงดาว ถ้าเรานึกเป็นจะไม่ปวดหัวเลย ก็นึกธรรมดา ๆ นึกง่าย ๆ อย่างนี้ ส่วนชัดหรือไม่ชัดนั้นอีกเรื่องหนึ่ง ซึ่งขึ้นอยู่กับใจเรา คุ้นหรือไม่คุ้น ใจคุ้นกับสิ่งใดมากก็นึกง่าย ถ้าไม่คุ้นต่อสิ่งใดก็ยาก อย่างเช่นไม่ค่อยจะสวดมนต์ไหว้พระเลย จะให้นึกพระเท่าไร นึกแทบตาย นึกไม่ออก มันขึ้นอยู่กับคุ้นหรือไม่คุ้น ถ้าคุ้นมากก็ชัดมาก ถ้าคุ้นน้อยก็ชัดน้อย ถ้าใจปลอดโปร่งมากก็ชัดมาก ปลอดโปร่งน้อยก็ชัดน้อย หรือจะไม่นึกคิดอะไรเลยก็ได้
A visualized image and a mantra
To bring one’s mind back to its original dwelling, in the beginning one has the need for a visualized image and a mantra.
A visualized image can be that of the Buddha or a crystal sphere but the visualization must be carried out correctly. One must not be too intent. One must not stare at the image. Otherwise, one will end up with a headache. One needs to visualize the image easily like visualizing a rose, a lotus, the sun, the moon or the star. If one knows how to correctly visualize an image, one will not end up with a headache. Whether the image is sharp or not, that is a different matter. It all depends on whether or not one is used to the visualized object.
Whatever object one is familiar with, one will have an easier time visualizing it. If one has hardly ever chanted in front of the Buddha Image, one will have a difficult time trying to visualize the Buddha Image. If one is familiar with the object, then the visualized object will be quite sharp. If one is not familiar with the object, then the visualized object will be fuzzy. If one’s mind is free of thought, the visualized object will be very sharp. If one’s mind is filled with thoughts, the visualized object will be very fuzzy.
观想所缘与默念佛号
我们观想的所缘可以是佛像或水晶球,但要懂得观想的技巧。不要挤压、凝视或注视图像,否则会头痛,这样做不如法。应该简单自然地观想,就像我们平常忆念玫瑰花、莲花、太阳、月亮、星星一样。如果我们懂得观想,就不会头痛。简单自然的观想,至于清晰或不清晰,则是另外一回事,这取决于我们是否熟悉所缘。
如果心对观想的所缘很熟悉,就容易观想;如果不熟悉,就比较难观想。譬如平常很少诵经礼佛,无论怎么观想佛像,都观想不出来。所以说取决于是否熟悉。如果很熟悉就会很清晰,如果不熟悉就不清晰。如果心通透开阔就很清晰,如果不够通透开阔就不清晰。
如果不想观想,确定心不会散乱,只是静静地坐也行。不必在意当下是黑暗还是光明,有什么看就看什么,持续舒服地看下去,什么都不用想,慢慢勤加练习。
ฝึกต่อไป
ถ้ามั่นใจว่าเราไม่ฟ้งุ นิ่งเฉย ๆ ก็ได้ แต่นิ่ง นั้นก็ต้องไม่คำนึงถึงความมืดหรือสว่าง มีอะไรให้ดูเราก็ดูไป ดูไปเรื่อย ๆ อย่างสบาย ๆ ไม่ต้องคิดอะไรทั้งสิ้น ตรงที่ไม่ต้องคิดอะไรทั้งสิ้น ตรงนี้ไม่ค่อยจะ
เชื่อกัน พอมีอะไรให้ดูสักนิดก็คิดแล้ว เอ๊ะ! ใช่ไหม เอ๊ะ! อย่างนั้น เอ๊ะ! อย่างนี้
เอ๊ะ! มาแล้ว เพราะฉะนั้นไปฝึกกันนะ
Just keep practicing
One may also choose not to visualize any image at all if one is confident that one’s mind will not scatter. One can simply keep still but one must not be concerned about seeing darkness or brightness. One is content to simply be with whatever one sees without thinking anything. But most of you end up questioning whatever appears to you instead. Just keep practicing!
持续练习
如果不想观想,而且确定心不会散乱,那么静静地坐也行。不必在意当下是黑暗还是光明,有什么看就看什么,持续舒服地看下去,什么都不用想。可是却有很多人做不到,当有东西给看的时候,就会生杂念了,东想西想,所以还得勤加练习。
จะซาบซึ้งต้องเข้าถึง
พระเดชพระคุณหลวงปู่ฯผู้ค้นพบวิชชาธรรมกาย ยืนยันว่า พระรัตนตรัยเท่านั้นเป็นที่พึ่งที่ระลึกที่แท้จริง สิ่งอื่นไม่ใช่ พระรัตนตรัย คือ พุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะรวมประชุมอยู่ภายในกลางกายฐานที่ ๗ พุทธรัตนะ ก็คือ พระธรรมกายที่อยู่ในตัว เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานแล้ว มีลักษณะสวยงามมาก ประกอบไปด้วยลักษณะมหาบุรุษครบถ้วนทุกประการ มีเกตุดอกบัวตูม ใสเกินใส สวยเกินสวย ใสกว่าความใสใด ๆ ในโลก ธรรมรัตนะ เป็นดวงใสๆ อยู่ภายในพุทธรัตนะ เป็นคลังปริยัติ ความรู้
๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ รวมบรรจุอยู่ในธรรมรัตนะ ความรู้ที่แท้จริงออกมา จากตรงนั้น สังฆรัตนะ ก็อยู่ในกลางธรรมรัตนะ เป็นพระธรรมกายละเอียดรักษา ธรรมรัตนะเอาไว้ ใสบริสุทธิ์ผุดผ่องทีเดียว สามอย่าง คือ พุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ รวมประชุมอยู่ที่เดียวกันเรียกว่า พระรัตนตรัย สามอย่างนี้เท่านั้นเป็นที่พึ่งที่ระลึกที่แท้จริง
พระธรรมกายภายในเป็นที่ประชุมรวมสิ่งดี ๆ ทุกสิ่งที่เราพึงปรารถนา ท่านมีจักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง รวมประชุมอยู่ในนั้น ท่านจึงเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานแล้ว เมื่อเราได้เข้าถึงท่านแล้วก็จะเปลี่ยนจากสภาวะผู้ไม่รู้มาเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานแล้ว เราจะเข้าใจเรื่องราวความจริงของชีวิตก็ต้องเข้าถึงพระธรรมกายเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ถ้ายังเข้าไม่ถึง ดูเหมือนจะเข้าใจ แม้เราจะฟังคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเพียงไรก็ตาม ได้แค่ทราบแต่มันยังไม่ซึ้ง ถ้าจะให้ซาบซึ้ง ก็ต้องเข้าถึงพระธรรมกายเพียงประการเดียวเท่านั้น
One Will Truly Know only When One Has Attained It
The Most Venerable Luang Pu, the Discoverer of Vijja Dhammakaya confirmed that The Triple Gem or the Three Gems are our true refuge and they include the Buddha Gem, the Dhamma Gem, and the Sangha Gem. These can be found at the seventh base in the center of one’s body.
The Buddha Gem means the Dhammakaya. He is all-knowing, fully awake, and gloriously joyful. He is also gloriously beautiful because He possesses all the thirty-two special physical attributes of the Perfect Man with the addition of a lotus bud on top of His raised crown. He is clearer than clear, more beautiful than beautiful, and clearer than anything on earth.
The Dhamma Gem means the crystal sphere which dwells inside the Buddha Gem. It is the storehouse of all 84,000 topics of Dhamma Knowledge. It is the source of true knowledge.
The Sangha Gem means the Refined Dhammakaya that dwell in the center of the Dhamma Gem. They do the work of preserving the Dhamma Gem. These Three Gems are every human’s true refuge.
The Dhammakaya is the source of every good thing that anyone can ever wish for. He possesses the Dhammakaya-Eye, Supernormal Insight, Supernormal Wisdom, Supernormal Knowledge, and Supernormal Brightness. He is all-knowing, fully awake, and gloriously joyful. When one can attain the Dhammakaya, one’s status will be transformed from being ignorant to being all-knowing, fully awake, and gloriously joyful.
To truly understand the reality of life, one must attain the Dhammakaya. It is the only way. To truly understand the Lord Buddha’s Teachings, one must attain the Dhammakaya.
只有证入才会深刻
降魔尊者——帕蒙坤贴牟尼祖师证实只有三宝才是真正的依靠,其他的都不是。三宝即是安住在体内中心第七点的佛宝、法宝和僧宝。
佛宝即是内在的法身,是智者、觉醒者、喜悦者,外形无比庄严殊胜,圆满三十二大人相,肉髻顶上呈莲花花苞,比世上任何东西都更加晶莹剔透。
法宝即是在佛宝内的透明光球,它是一座宝藏,蕴藏着84000法蕴,生命的真理就来自于此处。
僧宝在法宝内,是细腻的法身,维护着法宝,清澈、洁净、明亮。佛宝、法宝和僧宝聚集一处,名为三宝。只有三宝才是我们真正的依靠。
内在的法身是我们所渴望的一切美好事物的集合。它具足法眼、智慧、光明,它是智者、觉醒者、喜悦者。当我们证入法身后,将由世俗之人变成智者、觉醒者、喜悦者。
我们唯有证入法身才能了知生命的真相。如果还没有证入,就算听闻多少佛陀的教诲,也只是了解表象而已,还没有深入了解本质。如果要想深入了解本质,唯有证入法身这一条道路。
อะไรจะมาสู้ความเพียร
โยมคนหนึ่งเล่าให้ฟังว่า เข้าไปกราบพระเดชพระคุณหลวงปู่ฯ ทีไร ท่านมักจะเล่าเรื่องการปฏิบัติธรรมให้ฟังอยู่เรื่อย ๆ ว่า
“การปฏิบัติธรรมนี่ มันอร่อยจริง ๆ นะ แล้วยิ่งอร่อยเพิ่มขึ้น เหมือนอาหารที่ใส่เถาปิ่นโตที่มีอยู่หลายชั้น รับประทานชั้นแรกว่าอร่อยแล้ว ชั้นถัดไปอร่อยกว่านั้นเข้าไปอีก มันอร่อยจริงๆ”โยมก็ถาม “หลวงพ่อ แล้วเมื่อไรผมจะได้อร่อยบ้างล่ะ”
“เอ้า จะไปยากอะไร อยากได้เมื่อไรล่ะ”
“อยากได้วันนี้เลย ฟังพระเดชพระคุณหลวงพ่อพูดแล้ว อยากได้จังเลย”
“เอ้า ไม่ยาก วันนี้ไปจุดธูปหน้าโต๊ะหมู่บูชา อธิษฐานจิตให้ดี ไม่ได้
ตายเถอะ แล้วนั่งไปเลยหน้าโต๊ะหมู่บูชานั่นละ จนกว่าใจจะหยุดนิ่ง มันไม่ตายหรอก
คนจะตายต้องป่วย เราไม่เจ็บไม่ป่วยแล้วมันจะไปตายทำไม ฉันเอง
สองคราว …” ท่านว่าอย่างนั้นนะ
เอาอีกแล้ว ท่านชอบยกตัวอย่างตรงนี้ เพราะว่าถ้าได้ทำสิ่งที่ยากสัก
ครั้งสองครั้งในชีวิต มันจะปีติและภาคภูมิใจกันไปตลอดชาติเลย ลืมไม่ลง คง
ไม่ลืม ปลื้มทั้งชาติ แล้วก็ปลื้มทุกชาติด้วย
แล้วครูไม่ใหญ่ก็ถาม “แล้วโยมกลับไปทำหรือเปล่า”
ท่านบอกว่า “มันยังใจไม่ถึง”
“โยมงั้นเอาอย่างนี้ก็แล้วกัน ถ้าใจยังไม่ถึงตรงนี้ ก็ค่อย ๆ ทำไป ใจเย็น ๆ ให้
ม่วนอ๊กม่วนใจ๋ สบายอกสบายใจ ฝึกหยุดฝึกนิ่งไปเรื่อยๆ เดี๋ยวก็เข้าถึงเองแหละ”
รู้สึกท่านจะชอบอย่างนี้ ตอนนี้ไม่ทราบว่ายังอยู่หรือเปล่า แต่ว่าท่าน
รู้สึกจะทำอย่างนี้ นี่ก็เป็นเรื่องราวของผู้มีบุญในกาลก่อน ที่เขาตั้งใจประพฤติ
ปฏิบัติธรรมกัน
Nothing Can Beat Endeavor.
There was a lay devotee who was always went to see our Most Venerable Luang Pu, Luang Pu would always tell him things about meditation practice such as…
“Meditation practice is truly delicious and its level of deliciousness will continue to increase. It is like a tiffin box containing many layers. The first layer is delicious, but with each successive layer, the level of deliciousness keeps on increasing.”
So this lay devotee said to our Luang Pu, “In that case, Luang Por, when will I be able to experience such deliciousness?”
“That’s not difficult. When would you like to experience it?”
“Today, please, Luang Por!”
“Alright! All you have to do is to light some incense sticks and go to kneel in front of your altar at home and make a resolute wish that you are willing to die if you cannot attain the Dhammakaya. And then go ahead and practice meditation right there until you can bring your mind to a complete standstill. But fear not, you will not die because to die you must first be seriously ill. Since you are not ill, how then can you die? Take me, for example, I did this twice…” That was what Luang Pu said.
Luang Pu enjoyed telling this story because when one has been able to do what is most difficult once or twice in one’s life, one will feel joyful and proud for the rest of one’s life. And the experience will not be easily forgotten.
And Kru Mai Yai asked the lay devotee if he did as told and the lay devotee said that he did not yet have the courage to do it. And so Kru Mai Yai told him to take it easy and to continue practicing keeping his mind still and quiet and to enjoy doing it, then in time he will be able to attain the Dhammakaya.
修行贵在精进
有位居士告诉师父,每次他去拜见祖师,都会听到关于打坐的故事。祖师说:“打坐真是享受,越坐越享受。就像装在多层饭盒里的食物一样,打开第一层,感觉很好吃;谁知第二层的食物更好吃,真的美味极了。”
居士便问:“师父,什么时候我也可以品尝美味?”
祖师说:“这有什么难的,想什么时候?”
居士说:“就今天吧,听师父说后,就很想品尝。”
祖师说:“不难,今天你就在佛桌前点香,虔诚发愿,舍命修行。然后在佛桌前打坐,直至心静定下来。不会死的,病入膏肓的人才会死。没有任何病痛,怎么会死呢?”
这位居士喜欢分享这个例子,是因为他觉得如果一生中有一两次难忘的经历,那么余生都会充满自豪和快乐,来世也会法喜充满。随后,师父又问:“那你回去打坐了吗?”居士回答:“打坐了,只是心还未达到那个境界。”
师父对他说:“ 那就这样吧,如果心还没有达到那个境界,也不要着急,慢慢来,放轻松,持续的练习,迟早会达到那个境界。”感觉他很喜欢打坐,只是不知道他现在是否还在世。这就是以前有福报的人认真修行的故事。
สั่งสมบุญบารมีอย่างต่อเนื่อง
วันเวลาที่ผ่านไปจึงเติมบุญเติมบารมีกันอยู่ตลอดเวลา ซึ่งก็มีบุญประจำวัน ประจำอาทิตย์ ประจำเดือน ประจำปี ประจำเทศกาลอะไรต่าง ๆ เหล่านั้น เป็นต้น เราก็ทำกันมาอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอบางคนที่ผลุบ ๆ โผล่ ๆ ก็มีเหมือนกันนะ ฟิต ฝ่อ ฟู แรก ๆ ก็ฟิตนาน ๆ ไปก็ฝ่อ พอเชียร์ก็ฟูขึ้นมาหน่อยหนึ่ง พวก ฟิต ฟิต ฟิต ที่ตั้งใจสร้าง บารมีก็มี ยิ่งวันเวลาผ่านไปรู้ตัวว่าเหลือเวลาน้อยลงก็ยิ่งฟิต นี่ก็เป็นสิ่งที่น่าอนุโมทนา
Consistently accumulate Perfections
Everyone is always accumulating merit on a daily basis, a weekly basis, a monthly basis, and an annual basis as well as during important days in Buddhism. Some people are inconsistent in their endeavor. Sometimes they are eager. At other times they slack off. For those who are always eager, they consistently pursue knowing that with each passing day, their time on earth is decreasing. These persons are praiseworthy.
不断累积功德波罗蜜
过去的日子,无时无刻不在累积功德波罗蜜,既又每日和每周要修的功德,也有每个月或每个年度要修的功德,加上在各种节日中要修的功德等等,我们一直在持续不断地修。但也有的人在断断续续地修功德波罗蜜,时而精进,时而放逸。总之,只要精进修习,累积的功德波罗蜜会越来越多。剩下的时间越少越精进修习功德波罗蜜,这种行为值得随喜。
ถ้าไม่มีหลวงปู่ คิดแล้วหนาว
ถ้าไม่มีพระเดชพระคุณหลวงปู่พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ผู้ค้นพบวิชชาธรรมกาย คิดแล้วหวาดเสียว ชีวิตเราคงสะเปะสะปะ เราจะหาใครมายืนยันว่าการปฏิบัติธรรมอย่างนี้ถูกต้องร่องรอยที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสเอาไว้อย่างเป็นขั้นเป็นตอนอย่างนี้หายาก ไม่ค่อยจะมีนะ มีแต่บอกกว้าง ๆ ว่า มี ๔๐ วิธี ที่มีบันทึกไว้ในวิสุทธิมรรค นอกวิสุทธิมรรคก็มีอีก ก็บอกแต่หลักวิธีการเท่านั้น แต่ก็ไม่ได้ให้ความมั่นใจว่าทำอย่างไรจึงจะถูกต้อง และไม่ทราบว่าเวลาติดขัดจะไปถามใคร ก็
เลยต้องยกยอดให้ว่า การปฏิบัติธรรมนั้นผูกขาดเฉพาะพระธุดงค์ เฉพาะผู้มีบุญบารมีมาก ๆ เท่านั้น จนกระทั่งพระเดชพระคุณหลวงปู่ฯ บังเกิดขึ้นมา จึงทำให้เรามีความมั่นใจในการปฏิบัติธรรม เพราะท่านยืนยันว่า มรรคผลนิพพานอยู่ในตัวต้องปฏิบัติธรรมเอาใจหยุดนิ่งให้ถูกส่วนที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ จะเข้าถึงปฐมมรรค แล้วก็พูดไปตามลำดับเลย เห็นดวง เห็นกายในกาย ตั้งแต่กายมนุษย์ละเอียด กายทิพย์ กายพรหม กายอรูปพรหม กายธรรมโคตรภู กายธรรมพระโสดาบัน กายธรรมพระสกิทาคามี กายธรรมพระอนาคามี และกายธรรมพระอรหัตทั้งหยาบละเอียดรวมทั้งหมด ๑๘ กาย เข้าถึงได้ด้วยวิธี หยุดอย่าง
เดียว แล้วแถมยืนยันและขีดเส้นใต้ ใส่เครื่องหมายตกใจหลาย ๆ ตัวด้วยนะต้องอย่างนี้ ผิดจากนี้ไม่ใช่ โอ้โห! อย่างนี้ก็หมูเลยสิ ทำให้ง่ายต่อการปฏิบัติเกิดความมั่นใจว่า หยุดอย่างเดียวเท่านั้นเป็นตัวสำเร็จ ไม่ต้องทำอะไรที่นอกเหนือจากนี้
No Luang Pu, an Unthinkable Thought
If the Most Venerable Luang Pu Phramonkolthepmuni (Sodh Candasaro) did not discover Vijja Dhammakaya, the situation would have been unimaginably dire for everyone. One’s life would have simply drifted along. There would have been no one to confirm the specific and systematic meditation practice as taught by the Lord Buddha which can lead the practitioner to attain the Dhammakaya. There are forty meditation techniques mentioned in the Tipitaka. There are other meditation techniques mentioned in the Visuddhimagga but nothing specific is given. Should one decide to practice a particular technique and get stuck at a certain point, one will be hard pressed to find anyone that can help one to get unstuck. Therefore, meditation practice had been confined to the monks who undertook Dhutanga or those who possessed a high level of Perfections.
It is not until our Most Venerable Luang Pu has discovered Vijja Dhammakaya that one can confidently practice meditation. The reason is that Luang Pu has confirmed that the Path and Fruit of Nibbana can be found inside one’s self by keeping one’s mind completely still and quiet at the seventh base in the center of one’s body. Once one’s mind can be brought to a complete standstill, one will attain the Pathamagga Sphere, other Dhamma Spheres, the different Inner Bodies, namely, the Refined Human Body, the Celestial Bodies, the Form Brahma Bodies, the Non-Form Brahma Bodies, the Gotarabhu Dhammakaya, the Sotapanna Dhammakaya, the Sakidagami Dhammakaya, the Anagami Dhammakaya, and the Arahat Dhammakaya respectively.
ch person has altogether eighteen coarse and refined bodies. All of the Inner Bodies can be attained only when one’s mind has been brought to a complete standstill. Luang Pu has already given us specific details of how to attain the Dhammakaya such that anyone can practice it. All that one has to do is to keep one’s mind still and quiet. There is nothing else that one must do. Stillness Is the Key to Success.
如果没有祖师,细思极恐
如果没有帕蒙坤贴牟尼祖师发掘法身法门,慈悲传授大众,我们的人生可能依然糊里糊涂,不知道找谁来验证这样的修行方法是否也能如佛陀一样证法?祖师教导的修行方法循序渐进、有理有据,非常少见。一般都是泛泛的说,根据《清净道论》的记载,有四十种修行方法。除此之外,其他的也只是泛泛谈及修行的原理而已,并不能确定这样做是否正确,以及遇到问题该去问谁?于是便说修行打坐只适合头陀僧或福报具足的人而已。
直至祖师应现世间,才让我们对修行打坐充满信心,因为祖师证实道果涅槃就在体内。须通过修行将心静定在体内中心第七点,证入初道光球,再次第证入各层光球和身中身,即细人身、天人身、梵天人身、无色梵天人身、种姓者法身、须陀洹法身﹑斯陀含法身﹑阿那含法身和阿罗汉法身。
粗与细,一共十八身,透过静止的方式才能证入。唯有静止才是成功之本,除此之外什么都不用做。
แผนผังของชีวิต
หยุดเป็นตัวสำเร็จ คือต้องเอาใจที่แวบไปแวบมานั้นมาหยุดนิ่งที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ ให้ได้ตลอดเวลาอย่าให้เสียช่วงหรือขาดจังหวะ ในการที่จะหยุดใจไว้ที่ศูนย์กลางกายฐานที่๗ ทำอย่างนี้ แค่นี้ เท่านั้น ไม่ต้องทำอะไรที่นอกเหนือจากนี้ เดี๋ยวใจก็จะหยุดไปเอง พอหยุดแล้วการถูกส่วนก็จะมาเอง พอถูกส่วนเดี๋ยวเราก็เข้าถึงสิ่งที่มีอยู่แล้วในตัวของเรา ซึ่งเป็นแผนผังของชีวิต ตั้งแต่ดวงปฐมมรรค กายมนุษย์ละเอียด กายทิพย์ กายพรหม กายอรูปพรหม กระทั่งถึงกายธรรมโคตรภู กายธรรมพระโสดาบัน กายธรรม พระสกิทาคามี กายธรรมพระอนาคามี กายธรรมพระอรหัต ทั้งหยาบละเอียด รวมทั้งหมด ๑๘ กาย เราก็จะเข้าถึงได้ด้วยหยุดกับนิ่งอย่างเดียว
Life’s blueprint
Stillness Is the Key to Success. It means that one must bring one’s mind which is in the habit of wandering to come to a standstill at the seventh base in the center of one’s body and keep it there at all times. That is all that one has to do and before one knows it, one’s mind will come to a standstill in just the right way.
Once one’s mind has come to a standstill in just the right way, one will be able to access life’s blueprint starting with the Pathamagga Sphere, the Refined Human Body, the Coarse and Refined Celestial Bodies, the Coarse and Refined Form Brahma Bodies, the Coarse and Refined Non-Form Brahma Bodies, the Coarse and Refined Gotarabhu Dhammakaya, the Coarse and Refined Sotapanna Dhammakaya, the Coarse and Refined Sakidagami Dhammakaya, the Coarse and Refined Anagami Dhammakaya, and the Coarse and Refined Arahat Dhammakaya. There are altogether eighteen different coarse and refined bodies. These Inner Bodies can be accessed by keeping one’s mind completely still and quiet.
生命的蓝图
静止是成功之本,就是让飘忽不定的心持续静定在体内中心第七点。不要错失将心静定在中心点的时机。仅此而已,就这么简单,除此之外什么都不用做,不久心自然会静止。当心静止之后,就会自然的入定。
当心正确地入定,就会证入原本就在体内的法,那是生命的蓝图。从初道光球开始,次第证入细人身、天人身、梵天人身、无色梵天人身、种姓者法身、须陀洹法身﹑斯陀含法身﹑阿那含法身和阿罗汉法身。粗与细,一共十八身,透过静止的方式证入。
สูตรสำเร็จ
พระเดชพระคุณหลวงปู่พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ผู้ค้นพบวิชชาธรรมกาย ท่านให้สูตรสำเร็จเอาไว้เป็นสูตรชีวิต ผิดจากนี้ไปไม่ได้ ท่านบอกว่า “หยุดตั้งแต่เบื้องต้น จนกระทั่งเป็นพระอรหันต์ ไม่ต้องไปทำอะไรที่นอกเหนือจากนี้”
ถ้าเราไม่ฟังผ่าน หรือฟุ้งจนลืมฟัง ตรงนี้สำคัญมากนะ ถ้าฟังผ่านก็หลายปีทีเดียวกว่าจะหมดกรรม พอหมดกรรมก็จะมาทำตามแบบที่พระเดชพระคุณหลวงปู่ฯ ท่านแนะนำ ตอนมีกรรมอยู่ก็ทำตามแบบวิธีของตัวเอง ใช้พินิจพิจารณาโดยเข้าใจว่านั่นเป็นสติปัญญา เอามาใช้ในการปฏิบัติธรรม ซึ่งตัวคุ้นเคยกับวิธีการหยาบ ๆ ทางโลก เพราะคิดว่าจะนำมาใช้ได้เหมือนกัน
แล้วผลก็คือมันไม่ได้ผล ไม่ประสบความสำเร็จในการปฏิบัติธรรม
Formula for success
Our Most Venerable Luang Pu Phramonkolthepmuni (Sodh Candasaro), the Discoverer of Vijja Dhammakaya, has already given us the formula for success. He said that only complete stillness is needed from the beginning to attaining Arahatship.
If one pays close attention to Luang Pu’s words, one will endeavor to practice them earnestly instead of trying to come up with one’s own technique. More often than not, a person is familiar with how he can get things done in the secular world but these methods cannot be applied to meditation practice.
成功的秘诀
法身法门发现者——帕蒙坤贴牟尼祖师,希望我们将修行成功的秘诀当作此生的原则;背离此原则,不可能成功。祖师说:“从入门到证入阿罗汉都要静定,除此之外什么都不用做。”
由于业报现前,我们对此充耳不闻,不奉行祖师的教导,会白白浪费多年时间。当业报不再报应,就会按照祖师的教导修行。当业报还在时,就先按照自己思考后总结的方法修行。因为熟悉世俗谋生的方法,且认为同样适用于修行打坐,结果是不可以,修行也没有任何进步。
วิธีหาอริยทรัพย์ภายใน
วิธีแสวงหาทรัพย์ทางโลกกับทางธรรมนั้นกลับตาลปัตรกัน ทางโลกวิธีแสวงหาโลกียทรัพย์ต้องเคลื่อนไหว ต้องศึกษาจากการอ่าน การฟัง จากการเรียนรู้ ต้องไต่ถามผู้รู้ แล้วก็มาใช้จินตมยปัญญา ความรู้เกิดจากการคิด ซึ่งเราจะคุ้นอย่างนั้น นั่นเป็นวิธีการแสวงหาโลกียทรัพย์หรือทรัพย์ภายนอก ทำอย่างนั้นถูกต้อง แต่วิธีการหาอริยทรัพย์หรือทรัพย์ภายใน มีวิธีการที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง กลับตาลปัตรกัน หาอริยทรัพย์ภายในนั้นต้องนิ่ง ต้องไม่เคลื่อนไหว ไม่คิด ไม่พูด ไม่ต้องทำอะไรทั้งสิ้น แค่หยุดนิ่งเฉย ๆ จึงจะเข้าถึงอริยทรัพย์ภายในซึ่งเป็นเครื่องปลื้มใจของพระอริยเจ้าพระอริยเจ้า คือ ผู้ประเสริฐ เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานแล้ว เป็นบัณฑิตนักปราชญ์ที่สมบูรณ์ อริยทรัพย์ ทรัพย์เป็นเครื่องปลื้มใจของผู้รู้ ผู้ห่างไกลแล้วจากกิเลส จากสิ่งไม่ดีเพราะฉะนั้น ที่พระเดชพระคุณหลวงปู่ฯ ท่านเมตตาสอนพวกเราให้หาอริยทรัพย์ภายใน นับว่าเราโชคดีต้องสั่งสมบุญกันมามากทีเดียวจึงมาได้ยินได้ฟังที่พระเดชพระคุณหลวงปู่ฯ ท่านพร่ำสอนอย่างนี้ ถ้าไม่มีบุญอยู่ใกล้ก็เหมือนอยู่ไกล ถ้ามีบุญอยู่ไกลก็เหมือนอยู่ใกล้ จะเข้าใจในการปฏิบัติธรรมของท่านได้อย่างดีทีเดียว
How To Find Ariya Wealth
The search for external wealth and the search for internal wealth are completely opposite. To search for external wealth, activities are required such as reading, listening, studying, asking questions, thinking, gaining knowledge, etc.
But the search for internal wealth or Ariya wealth requires complete stillness. It does not require movement, thinking, speaking or anything else. Stillness and quietness alone will lead one to attain Ariya wealth, the pride and joy of Ariya Personages.
Ariya Personages are sublime beings. They are all-knowing, fully awake, and gloriously joyful. They are the true sages. Ariya wealth is the pride and joy of the personages who are all-knowing, and are distant from defilements and unwholesomeness.
All of us are extremely fortunate to have heard about our Most Venerable Luang Pu’s teachings on how to search for Ariya wealth. Without sufficient merit, being near is like being far. With sufficient merit, being far is like being near. Merit-filled persons can understand Luang Pu’s teachings and his Vijja Dhammakaya meditation practice.
寻找内在圣财的方法
世俗的赚钱谋生与佛门的修行打坐,两者的方法截然不同。在世俗中追求财富需要不停奔波,需要各种各样的学习和历练,需要向智者讨教,需要思考和分析。这是我们所熟悉的,也是追求世俗财富的方式。追求财富就是这样的。
可是寻找内在圣财的方法却截然不同,需要静止。不需要奔波,也不需要想,不需要说,不需要做任何事情。只要静静地、定定的,就能证得内在的令圣人心生欢喜的财富。
圣者是高尚者、智者、觉醒者、喜悦者,是圆满的智者。圣财可令远离烦恼与诸恶的智者心生欢喜。
因此,祖师慈悲教导我们寻找内在圣财的方法,说明说我们有幸积累了很多功德,才有机会听闻祖师的教诲。如果没有福报,就算近在眼前,也犹如远在天边;如果有福报,就算远在天边,也犹如近在眼前,可如实了知祖师的修行方法。
ต้องลงมือปฏิบัติกันให้จริงจัง
พระเดชพระคุณหลวงปู่ได้แนะนำวิธีปฏิบัติธรรมให้จนหมดเปลือกแล้ว เราไม่ต้องค้น แค่คว้าอย่างเดียว เหลือแต่เราจะต้องลงมือปฏิบัติกันให้จริงจัง ทำความเพียรให้กลั่นกล้าให้ เป็นตบะยังกิเลสให้เร่าร้อน ให้มันระเหยออกไปจากใจเราเลย แล้วก็ทำให้ถูกหลักวิชชา ก็คือหยุดตั้งแต่เบื้องต้นจนกระทั่งเป็น
พระอรหันต์ คือ หยุดไป สว่างไป เห็นไป รู้ไป ดูไปเรื่อย ๆ ตามเห็นไปเรื่อย ๆ กาเย กายานุปสฺสี วิหรติ ตามเห็นไป เหมือนดูวิวทิวทัศน์อย่างนั้น แต่เราดูกายภายใน ดูธรรมภายใน ดูไปเรื่อยอย่างสบาย ๆ ไม่ต้องคิดอะไรทั้งสิ้น และตลอดเส้นทางจะมีแต่ความโปร่ง โล่ง เบา สบาย ขยาย ตัวหาย ไร้ตัวตน จนกระทั่งเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับดวงธรรม กับกายภายในกับองค์พระ เราก็ดูเรื่อยไป มีดวงให้ดูก็ดูดวง มีกายให้ดูก็ดูกาย มีองค์พระให้ดูก็ดูองค์พระ ดูไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งถึงจุดหมายปลายทาง มันง่ายเหมือนขับรถบนซูเปอร์ไฮเวย์ที่เป็นทางตรง ๆ นั่นแหละ ใช้เกียร์ออโต้เกียร์หนึ่งเกียร์สองไปเรื่อย ๆ นั่งเฉย ๆ ออโตเมติกไปเลย พอถึงที่หมาย มันก็หยุดของมันเอง ไม่ต้องไปพินิจพิจารณาโน่นนี่นั่นอะไรต่าง ๆ
Practice what Luang Pu teaches correctly and earnestly
Luang Pu has kindly taught us everything. All we have to do is to take it and run with it. All we have to do is to practice what Luang Pu teaches correctly and earnestly in order to burn away all of our defilements.
When one’s mind can be brought to a complete standstill in the center of one’s body, one will be able to see and know everything there is to know about the reality of life. Kaye kayanupassi viharati…One will be able to see brightness, the different Dhamma Spheres, and the different Inner Bodies. It will be like looking at the passing scenery when riding in a car or a train. The entire journey will be filled with spaciousness, expansiveness, lightness, comfort, and relaxation. One’s body seems to have disappeared as one merges with the different Dhamma Spheres and the different Inner Bodies one after another easily and comfortably. It is as easy as driving a car with an automatic transmission on a straight stretch of a superhighway. The car will stop on its own when it has reached its destination. There is absolutely no need whatsoever to think anything or consider anything.
必须认真着手实践
祖师已经将修习禅定的方法倾囊相授,我们无需再去探索,只需要在学习了解后,认真着手去实践,勇猛精进钻研,断除内心的烦恼。同时,在修习的过程中要如法,即从始至终都要保持静定。成就阿罗汉,需要持续的静定、光亮、观照和明了,就像在看风景一样。我们在观内在的身或法时,要持续舒服地观,不要有任何杂念,整个过程只有通透、 宽广、轻柔、舒服、扩大、身体消失,直至与内在的法球、身、佛合二为一。我们就持续地观,有光球就观光球,有身就观身,有佛就观佛,直至到达目的地,就像在笔直的高速公路上开自动挡的汽车一样容易,我们只需静静地坐在里面,当它到达目的地时,会自行停下来,无需任何的思考。
ง่าย…แต่เป็นเช่นนั้นจริงๆ
ฟังดูแล้วไม่น่าเชื่อว่าอะไรมันจะง่ายขนาดนี้ เชื่อเถิด จริง ๆ แล้วทุกอย่างมันง่ายหมดนะ แต่มีบางสิ่งที่ทำให้เราเข้าใจผิดคิดว่ามันยาก เช่น ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ฆ่ามนุษย์นี่ง่าย ไม่ต้องไปลงทุนอะไรเลย ประหยัดสุด ประโยชน์สูงแต่ฆ่าสิยาก ยกตัวอย่าง เรานอนอยู่ดี ๆ กำลังเคลิ้ม ๆ ยุงมันมาชวนคุยวู้ ๆ วี้ ๆข้างหู จะตบยุงก็ต้องเล็งให้ดี พัวะ! อ้าว โดนหูอีกแล้ว แต่ไม่โดนยุง
เพราะฉะนั้น การฆ่ามันยาก หรือไม่ลักทรัพย์ก็ง่าย ไม่ต้องไปหาอุปกรณ์ ไม่ต้องไปศึกษาลู่ทางดูว่าเจ้าของทรัพย์เขาจะอยู่หรือไม่อยู่ตอนไหน ไม่ต้องสะดุ้งกลัวแสงอะไรเลย ไม่ว่าแสงจันทร์ แสงเดือน แสงดาว แสงตะเกียง ไม่ต้องกลัวเลย ไม่ต้องดูดาว
One may find it difficult to believe that it can be that easy, but it really is. But something is misleading one to think that the attainment of the Dhammakaya is a very difficult feat. When one does not kill, it is easy. One does not have to put in any effort or time to kill something or someone. But killing is very difficult process.
One is about to fall asleep when a mosquito shows up and makes an annoying buzzing sound close to one’s ear. One decides to kill it, so one takes a swing at it. One misses and hits one’s ear instead. When one decides not to steal things, one does not have to look for the necessary equipment. One does not have to put in the time and effort to study the way and the time that the homeowner will not be home. One is not startled by any light whether it is the moonlight, the starlight or a torch light. One has no need to be afraid. One does not have to check if the stars are shining too brightly or if the dog has gone to sleep yet.
很简单,但确实如此
修行听起来简单得令人难以置信,但事实确实如此。其实过程很容易,只是有些东西让我们误以为很难,比如不杀生很容易,什么都不必付出,但是杀生却是一个艰难的过程。举一个例子,如果我们睡觉时有一只蚊子突然出现,在耳边发出烦人地嗡嗡声。我们决定拍死它,于是一巴掌下去蚊子没打到,却打了自己一巴掌,所以杀生是一个艰难的过程。或者不偷盗很容易,因为不必寻找设备,研究路线,查看主人是否在家,也不必担心受怕,不会被夜光、星光或手电筒的光吓到,完全没有这个必要。
Easy, but it really is.
ร่างกายที่แข็งแรงเพื่อสร้างบุญบารมีสร้างความดี
ไม่ไปประพฤติผิดในกามในบุตรภรรยาสามีเขา ไม่ต้องไปลงทุนอะไรเลย ทำเฉย ๆ เสีย มันก็จบแล้ว ไม่โกหก ไม่พูดคำหยาบ ไม่พูดเพ้อเจ้อไม่พูดส่อเสียด เราไม่เสียอย่างเดียวก็ง่าย ๆ แค่นั้นเอง ไม่ดื่มสุราเมรัย ไม่สูบบุหรี่ มันง่ายนะ ถ้าเราทำง่าย ๆ คือไม่ผลิตไม่จำหน่ายไม่ดื่มไม่เสพไม่สูบมันก็จบแล้ว เพียงแค่นี้โลกก็น่าอยู่ขึ้นอีกเยอะ ร่างกายเราจะแข็งแรง สดชื่น เบิกบาน เอามาไว้ใช้เติมบุญ เติมบารมี เติมความดีให้กับตัว เพราะร่างกายนี้พ่อแม่ให้มา บุญก็จะได้ไปถึงท่านด้วยการปฏิบัติธรรมก็ง่าย ๆ อย่างนั้น
Use the human body to accumulate merit and pursue Perfections
When one decides not to commit sexual misconduct, not to lie, not to use foul language, not to talk nonsense, not to use divisive speech, not to smoke cigarettes, not to drink alcohol, one simply refuses to do these things and that is all there is to it. If companies refuse to manufacture cigarettes and alcohol, the world will already be a much better place to live. People can enjoy better health. They can use the human body given to them by their parents to accumulate merit and pursue Perfections to the fullest extent. This way, their accumulated merit and Perfections will also benefit their parents.
以健康的身体修波罗蜜
当一个人能够做到不邪淫、不妄语、不两舌、不恶语、不绮语、不吸烟、不喝酒,仅此而已,非常的简单,那么一切也会变得越来越美好,世界也会变得更加宜居。我们也将精神抖擞,神清气爽,拥有健康的身体用于修功德波罗蜜,而这些功德波罗蜜也将利益我们的父母。
หยุดเป็นตัวสำเร็จ
เพราะฉะนั้น ให้เชื่อพระเดชพระคุณหลวงปู่ฯ เถิดว่า หยุดเป็นตัวสำเร็จ หยุดตั้งแต่เบื้องต้นจนกระทั่งเป็นพระอรหันต์ บอกสูตรสำเร็จอย่างนี้แล้ว ไม่ต้องไปทำอะไรเลย นอกจากหยุดจากนิ่งอย่างเดียว เดี๋ยวก็เจอ
Stillness Is the Key to Success
All one needs to do is to practice Luang Pu’s teachings which can be summarized as Stillness Is the Key to Success from the beginning until the attainment of Arahatship.
静止是成功之本
我们要坚定不移的相信祖师的教诲——“静止是成功之本”,从一开始直到证得阿罗汉果都要保持静止。祖师已经把成功的秘诀交给我们,因此除了静止,什么都不用做,最后一定会成功。
อิทธิบาท ๔ ธรรมแห่งความสำเร็จ
ทำความเพียรให้ต่อเนื่อง มีฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา ต้องใช้วิธีการ ๔ ขั้นตอนนี้ เพื่อนำไปสู่ความสำเร็จ ต้องมีความชอบ ต้องมีใจรักอยากจะเข้าถึงพระธรรมกาย มีความเพียรอย่างสม่ำเสมอ ไม่กลัวอุปสรรค ไม่กลัวปวด ไม่กลัวเมื่อย ไม่กลัวเสียเวลาในการทำมาหากิน สนุกสนานเพลิดเพลินดูทีวีละคงละครอะไรอย่างนั้น แล้วก็เอาใจใส่จดจ่อเลย ไม่ว่านั่งนอนยืนเดิน ตรึกไปเรื่อย ๆ ที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ ประคับประคองใจให้หยุดนิ่งพระเดชพระคุณหลวงปู่ฯ ท่านใช้คำว่า ปล้ำใจให้อยู่ เหมือนนักมวยปล้ำมีคู่ต่อสู้คือความอยาก มันจะดึงใจเราให้ออกไปข้างนอก เราต้องดึงใจกลับมาให้มันหยุด สู้กัน และก็หมั่นสังเกตดูว่า เราทำถูกหลักวิชชาไหม หยุดนิ่งเฉย ๆ หรือเปล่า อย่างนี้แค่นี้เท่านั้น เดี๋ยวเราก็สมปรารถนา
Iddhipada–4, the Four Paths of Accomplishment
We should be spent practicing meditation as earnestly as possible by deploying the Four Paths of Accomplishment. These include will, endeavor, attention, and reflection. It means that one must love to attain the Dhammakaya. One must endeavor to practice meditation no matter what happens and in spite of achiness and other concerns. One pays attention by keeping one’s mind at the seventh base in the center of one’s body at all times.
Our Most Venerable Luang Pu told us to wrestle with our mind like a wrestler by keeping our mind still and quiet in the center of our body instead of allowing it to wander everywhere. Last but not least, reflection, it means that one must diligently observe if one is practicing correctly, and if one is keeping one’s mind still and quiet.
四神足乃成功之道
如果想要取得成功,就要精进修习四神足,即欲、勤、心、观。喜欢修行,有一颗渴望证入法身的心;持之以恒,跨越障碍,克服疼痛和酸累,并将谋生、娱乐、看电视或看戏剧的时间用于修行;一心一意专注修行,无论是行、立、坐、卧,都维持心的静定。
用祖师的话说就是,拼尽全力让心静定,就像摔跤手之间的争斗。与对手争斗的欲望,吸引心攀缘外在的事物。我们需要让心回归安住内在。我们竭尽全力的同时,还要观查,是否如法,是否能自然地静定。就是这样,仅此而已。最终我们必定如愿以偿。
ไม่ได้ตายเถอะ
พระเดชพระคุณหลวงปู่ฯ ของเรา ตัดสินใจวันเดียว ลุยวันเดียว ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐ ไม่ได้ตายเถอะ นิ่งไปเลย แล้วก็ได้ค้นพบวิชชาธรรมกาย หวนคืนมาอีกครั้งหนึ่ง และมีอีกประโยคหนึ่งที่ท่านพูด ซึ่งน่าสนใจ ท่านบอกว่า “ไม่ได้ตายเถอะ ไม่ตายสักที” แล้วก็ไม่ใช่ไม่ตายทีเดียว “ฉันเองสองคราว” ครั้งแรกสละชีวิต ไม่ตาย ครั้งที่สองเอาอีก ไม่ตาย ก็ยืนยันว่าไม่ตายจริง ๆ นอกจากไม่ตายแล้วยังได้ด้วย เพราะท่านทำความเพียรอย่างถูกหลักวิชชา ค้นหาพระธรรมกายในตัว คือ มันง่ายกว่าหาน้ำในก้อนหิน “ฉันเองสองคราว” ประโยคนี้น่าคิดนะ ถ้าเราฟังผ่านก็ไม่ได้อะไร แต่ถ้าไม่ฟังผ่านเราจะได้ข้อคิดสะกิดใจ
A Matter of Life and Death
Our Most Venerable Luang Pu made the decision to make history for himself in just one auspicious night on the 15th day of the 10th waxing moon. He had laid down his life for the sake of attaining Enlightenment. As a result, he succeeded in discovering Vijja Dhammakaya which had been lost about 500 years after the Lord Buddha’s attainment of Complete Nibbana. Our Luang Pu had put his life on the line twice and both times he had been victorious because he knew to search for the Inner Triple Gem inside him and he knew how to practice meditation correctly. Luang Pu’s method is easier than trying to squeeze water out of a rock.
We should follow in Luang Pu’s example by putting their lives on the line practicing meditation until they can attain the Dhammakaya. Everyone should endeavoring to wrestle with his mind by keeping his mind still and quiet. After all, according to Luang Pu, many were able to do it.
舍身求法
我们的敬爱祖师决定在十月的月圆日舍身求法,如果无法证得佛陀所证之法,宁死不起座,最终发掘了法身法门。祖师曾说过一句很有意思的话:如果不能证法,宁愿死了算了。可是却没有死,我历经两次冒险,第一次舍身求法没死,第二次同样也没死,后来确定如此修行并不会死,而且非但不死,还证入了法身。这是因为祖师如法修习禅定,终得以证入内在的法身,这比试图从岩石中挤出水更加的容易。这句“我历经两次冒险”真的值得深思,如果我们只当耳边风,就什么也学不到,如果不当耳边风,这句话将让我们受益良多。
หลักวิชชา ๔ ข้อ
หลักวิชชาในการเข้าถึงพระธรรมกายในตัว แค่ทำใจหยุดใจนิ่งที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ อย่างนี้ แค่นี้ เท่านั้น ไม่ต้องทำอะไรที่นอกเหนือจากนี้ เดี๋ยวก็ถูกส่วนเองให้มี ๔ ส. สติ สบาย สม่ำเสมอ และหมั่นสังเกต ทำเพียงแค่นี้ เวลาที่เหลืออยู่ก่อนออกพรรษานี้เหลือเฟือ ต้องตั้งใจประพฤติปฏิบัติธรรมกันให้เต็มที่ ควบคู่กับภารกิจประจำวัน เกี่ยวกับเรื่องการทำมาหากิน ดูแลครอบครัวอะไรต่างๆ
The four principal tenet
The principal tenet of meditation practice leading to the attainment of the Dhammakaya, all one has to do is to keep one’s mind still and quiet at the seventh base in the center of one’s body. That is all.
One is required however to stay mindful, comfortable, consistent, and observant. Everyone whether he is a monk or a lay devotee is encouraged to practice meditation to the fullest extent for the remaining of this Rains-Retreat as one goes about one’s work and one’s life.
四个基本原则
证入内在法身的修行原则:只需让心静定在体内中心第七点,仅此而已,除此之外什么都不用做,会自然的入定。
打坐需保持四个基本原则:正念、舒服、持续和观察,仅此而已。这个雨安居还有充足的时间,希望大家继续一边精进打坐,一边处理日常事务,维持日常生计,照顾家庭等等。
ความเชื่อไว้บนหิ้ง ความจริงต้องพิสูจน์
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า พระธรรมกายมีอยู่ ปัจจุบันนี้ก็มีผู้ปฏิบัติตามได้บรรลุพระธรรมกายก็มีมาก ไม่ว่าจะเป็นเชื้อชาติศาสนาและเผ่าพันธุ์ใดก็ตามที่ใคร่ต่อการศึกษาต่างก็เข้าถึงกันได้ นี่ก็เป็นเครื่องยืนยันว่า ความเชื่อส่วนความเชื่อ ความจริงก็ส่วนความจริง ความเชื่อส่วนความเชื่อ เพราะเราเกิดมาในตระกูลที่เขาเชื่อกันมาอย่างนั้นก็ต้องเชื่อกันไป แต่ความจริงเราต้องมาพิสูจน์ ผู้ใคร่ต่อการศึกษาควรมีใจที่เปิดกว้าง ให้โอกาสตัวเองได้เรียนรู้สิ่งที่เป็นสากลโลกคือ พระธรรมกายในตัวที่เป็นของสากล เหมือนกับดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ดวงดาว ก็เป็นสากลที่ชนทุกชาติทุกภาษาทุกศาสนาทุกเผ่าพันธุ์ก็มองเห็นเหมือนกันหมด เพราะฉะนั้นเมื่อใจเปิดกว้างยอมตนเป็นนักศึกษาก็ย่อมพบพระธรรมกายซึ่งมีอยู่ในตัวของเราได้
The Truth Must Be Proven
The Lord Buddha says that the Dhammakaya exists and presently many persons of different races and creeds have been able to attain the Dhammakaya. Vijja Dhammakaya can be learnt by anyone because it is Truth. It goes to show that one’s belief is one thing, but Truth is another.
One’s beliefs tend to be formed by the family that one is born into. However, the Truth must be proven. A person desiring knowledge must be open-minded enough to give himself the opportunity to learn universal knowledge. The Dhammakaya that exists inside every person on earth is universal in the same way that the sun, the moon, and the stars are.
Every person on earth sees them the same way. Therefore, whoever is open-minded enough to learn about the Dhammakaya will be able to find Him.
暂时忘掉信仰,求证生命真相
佛陀开示,法身真实存在,现在有很多修行者都证得法身。无论是哪个种族、宗教或血统,愿意学习的人都可以证得法身。由此可以确定,信仰归信仰,真相归真相。
信仰归信仰,因为我们出生在一个已有信仰的家庭,所以只能选择随家庭的信仰。可事实上,我们需要去证实。热爱学习的人应该有开放的心态,给自己一个机会去学习和认识法身。法身属于普遍性的存在,像太阳、月亮、星星一样,每个国家、语言、宗教、血统的人都可以证入。因此,当一个人心胸开阔,愿意学习,就能够找到存在于自己体内的法身。
หลักวิชชา๔ ส.
เรารู้หลักวิชชาแล้ว ๔ ส. สติ สบาย สม่ำเสมอ สังเกต ให้มีสติ คือ เอาใจมาอยู่กับตัวของเรา มาหยุดมานิ่งภายในอย่างสบาย ๆ ให้ต่อเนื่องทั้งวันทั้งคืน เหมือนเป็นผู้มีราตรีเดียวทำทั้งวันทั้งคืนเลย แล้วก็สังเกตว่าเราทำถูกหลักวิชชาไหม ตั้งใจมากเกินไปไหม อยากได้มากเกินไปไหม ระวังหรือเกร็งเกินไปไหม หรือว่าเราไปต่อสู้กับความฟุ้งหรือเปล่า ให้สังเกตเดี๋ยวเราจะพบเหตุแห่งความบกพร่อง และช่องทางแห่งความสำเร็จ เดี๋ยวเราก็จะทำความสำเร็จได้อย่าไปกลัวปวด กลัวเมื่อย ปวดเมื่อยก็เป็นกันทุกคน แต่พอเราไม่สน เดี๋ยวมันก็หายไป นั่งปฏิบัติธรรมทำความเพียรกันให้ดี จะได้เห็นหน้าเห็นหลัง เห็นกลาง ๆ เลย เห็นดวงใส ๆ นะ ทำได้ทุกคน
The four keys of practicing meditation
In practicing meditation, the keys are mindfulness, relaxation, consistency, and observation. One is mindful of the fact that one’s mind remains inside one’s self. One keeps one’s mind still and quiet in a relaxed manner all day and all night long. And one is cognizant of whether or not one is practicing correctly, whether one is too intent, whether one is too eager, whether one is uptight, and whether one is restless. One should keep on observing and one will find the things that one is doing wrong so that one can find ways to address them. And in time, one will meet with success.
Do your very best despite aches and pains which are common to everyone. But if you disregard them, they will disappear. Continue to practice meditation to the best of your ability and you will be able to see the crystal clear sphere. You will be able to experience what a 360° vision is like.
四个基本原则
我们打坐需保持四个基本原则:正念、舒服、持续和观察。有正念即是让心回归体内,舒服地让心静定安住内在;不论白天或夜晚,都如此持续不断。然后注意观察:自己的方法是否正确?是否过于专注或期待?是否紧绷?或者是否在与散乱对抗?只要注意观察,我们就会找到需要改善的地方和通往成功的道路,并获得最终的成功。
不要害怕酸痛,每个人都会有酸痛。如果我们不在意,自然会消失。我们应该精进打坐,不久,人人都证入内在透明光球。
๔ ส. ช่วยให้ง่าย
เรามีหลักอยู่ว่า ต้องมีสติ สบาย สม่ำเสมอ แล้วก็สังเกต ๔ ส. นี้ก็จะช่วย ทำให้การปฏิบัติธรรมง่ายเข้า สติ ก็คือให้ใจมาอยู่กับเนื้อกับตัวของเรา อย่าปล่อยใจให้เลื่อนลอยไปในเรื่องราวต่าง ๆ ซึ่งไร้สาระ ไม่เกิดประโยชน์อะไรไม่ได้ทำให้เข้าถึงพระรัตนตรัย หรือเจอความสุขที่แท้จริงเลย ใจต้องอยู่กับเนื้อกับตัวถึงจะเรียกว่า มีสติ
The Four Factors
The four factors that can help one to wrestle with one’s mind are as follows: The first factor is mindfulness, which means keeping one’s mind inside one’s self instead of allowing it to be with things that lack substance and are completely useless. A restless mind cannot lead one to attain the Dhammakaya and true happiness. Keeping one’s mind inside one’s self is what is meant here by mindfulness.
简单容易
如果我们保持四个基本原则:正念、舒服、持续和观察,将让打坐变得更加容易。正念即是让心回归体内,安住内在,不让心攀缘外在。外在无意义之事,对我们证入内在三宝或寻找真正的快乐没有任何帮助。心必须回归体内,安住内在,才是有正念。
ชีวิตที่มีคุณภาพดี
เมื่อไรกายและใจรวมเป็นหนึ่งเดียวกัน ทำงานร่วมกัน เมื่อนั้นจะมีอานุภาพมาก อานุภาพนี้จะทำให้เราเกิดการเปลี่ยนแปลงชีวิตใหม่ ตอนนี้กายกับใจอยู่คนละทิศละทาง ใจไปทาง กายไปทาง มีกายเหมือนไม่มีใจ คือ มีเหมือนไม่มี เพราะไม่ค่อยได้ใช้ประโยชน์ของใจได้เต็มเม็ดเต็มหน่วย มันถูกดึงเอาไป เพราะฉะนั้นคุณภาพของใจก็เลยเสื่อมลง
Good quality of life
Once one’s body and mind can work together as one unit, it will be so powerful that one’s life will be greatly changed. Since one’s mind and body are still going their separate ways, one’s mind is hardly being utilized at all. Therefore, the quality of one’s mind becomes degraded.
良好的生活品质
当身心合一,心随意动,就会产生强大的力量。这种力量会让我们获得新的生命。只是现在身和心在不同的地方,身在一个地方,心在另一个地方。就是身体在,心不在;有也如同没有,因为没有充分发挥心的作用。心被带走了,所以心的品质衰落。
สติ
สติ ก็คือดึงใจกลับมาสู่ที่ตั้งดั้งเดิมคือที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ เป็นจุดเริ่มต้นที่ถูกต้องที่จะทำให้เราเดินทางไปสู่จุดหมายปลายทางคืออายตนนิพพานได้เช่นเดียวกับพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระอรหันต์ทั้งหลาย ท่านเริ่มต้นที่ตรงนี้ เพราะฉะนั้นเราก็ต้องเอาใจมาอยู่กับตัวให้ได้ตลอดเวลาที่เรียกว่า สัมปชัญญะ คือตลอดต่อเนื่องไม่มีขาดตอนเลย
Mindfulness
Mindfulness means bringing one’s mind to the seventh base in the center of one’s body. That is the correct starting point for the journey towards the Path and Fruit of Nibbana as taken by the Lord Buddha and the Arahats. All of them started at this point. Therefore, it is crucially important that one keeps one’s mind at the seventh base in the center of one’s body at all times.
正念
正念就是把心带回到初始位置,即体内中心第七点。这是我们到达最终目的地涅槃的正确起点,就像佛陀和众阿罗汉一样。因此,我们要让心回归体内,一直持续不断安住内在,这就是正知。
สังเกต
หลับตาสบาย ๆ อย่ากดลูกนัยน์ตาไปดู ให้สังเกตว่าเวลาที่เรากดลูกนัยน์ตา ส่วนใหญ่จะไม่เห็นนะ หรือเห็นก็กระด้าง เห็นก็เห็นไปอย่างนั้นๆเห็นแล้วปวดหัว หรือบางคนนั่งตากะพริบปริบ ๆ ดูแล้วราวกับว่ากำลังลงที่จริงกำลังเล็ง เปลือกตาเต้นยิบ ๆ กะพริบเปลือกตาถี่ ๆ นั่นแหละ กำลังเล็งอยู่เอาลูกนัยน์ตากดลงไปดู แต่ไม่รู้ตัว แต่ถ้าสบายจริง ๆ จะเหมือนเราหลับตาตอนนอนหลับ จะไม่ยิบ ๆ ถ้ายิบ ๆ ไม่หลับ ไปลองดูนะ คืนนี้ลองยิบ ๆ ดูสิว่าจะหลับไหม แล้วเวลาเราเห็นภาพภายในตาจะไม่ยิบๆ เราก็ดูธรรมดาเหมือนดูภาพภายนอกอย่างนั้น
Observe
When one closes one’s eyes to practice meditation, one should not press one’s eyes downward to try and peer into one’s abdomen. Some people do not try to press one’s eyes downward but they are blinking them rapidly as they inadvertently try to peer into their abdomen. None of these tricks will work, for course. It only ends up giving one a headache and stresses one out. The thing to do is to close one’s eyes comfortably as if one is about to fall asleep. Should an inner image appear, one needs simply to look at it comfortably with one’s mind in the same way that one looks at a physical object with one’s eyes.
观察
舒服地闭上眼睛,不要挤压眼珠。应注意观察当我们挤压眼珠时,一般是看不到禅相,就算看到禅相,也会感觉头痛。或者有些人在眨眼睛,看起来好像正在瞄准;眼皮跳动或不停地眨,用眼珠往下看,可自己却没有意识到。如果真的很舒服,就像我们睡觉时闭上眼睛一样,不会眯着眼睛。如果眯着眼睛就无法睡着,可以自己尝试一下,看看能不能睡着。但我们看见内在的画面时,眼睛不会眯着;我们会自然地看,像看外在的画面一样。
สบาย
ทำอย่างสบาย ๆ ที่ต้องใช้คำว่า สบาย ๆ เพราะมีหลายคนทำลำบาก ๆปฏิบัติลำบากแล้วก็รู้ยากด้วย แต่ก็ดีหน่อยที่ว่า ได้ขันติบารมี เป็นพลวปัจจัยไปเบื้องหน้า ภพชาติต่อไปจะนั่งทน หลังจากทนนั่งมานาน และถ้ากะพริบชาตินี้ ชาติต่อไปก็ไปกะพริบต่อ เพราะฉะนั้นจะเลิกกะพริบชาตินี้หรือว่าติดใจกะพริบต่อไปดี ดังนั้นจำไว้ว่าต้องสบายทั้งกายและใจ คนเราก็มีแต่กายกับใจนี่แหละ ถ้าสบายทั้งสองอย่างก็เอาล่ะ ถ้ามีกาย ไม่มีใจเขาเรียกว่าศพ มีใจแต่ไม่มีกายเขาเรียกว่าผี มีกายและใจก็เรียกว่าคน
สบายก็ต้องสบายทั้งกายและใจ กายก็ต้องผ่อนคลาย ใจก็เช่นเดียวกัน คือจะหย่อน ๆ หน่อยไม่ตึง นี่ความหมายของคำว่า สบาย
Comfort
The second factor is comfort which means that meditation practice is about comfort as opposed to hardship. If one persists in doing it the hard way, one may be able to pursue Patience Perfection which may help one to practice meditation more easily in future existences. But chances are that if one blinks one’s eyes rapidly here and now, one will likely do so in one’s future existences. Therefore, it is best to stop blinking one’s eyes rapidly here and now. Remember that when practicing meditation one must feel comfortable both in body and mind.
A person is made up of body and mind and both must feel comfortable. A body without a mind is called a corpse. A mind without a body is called a ghost. When practicing meditation, both the mind and body must feel comfortable. The body needs to be relaxed and so does the mind.
舒服
我们要舒服地打坐。之所以要舒服,是因为有些人用障碍自己的方法打坐,进而觉得很难。但好在算是修习忍辱波罗蜜,以成为未来修行的资粮,来世也可以坐得很久。如果今生(打坐)眨眼,来世也会继续眨眼;还是选择这辈子停止眨眼,来世就停止眨眼了。所以,让身与心都要保持舒服。
人类由身和心组成,所以需要身心都舒服。如果有身无心称为尸体,有心无身称为鬼,有身与心称为人。身与心都要放松舒服。即身舒畅,心舒适,不紧绷,这就是舒服的意思。
สม่ำเสมอ
สม่ำเสมอ ก็คือทำให้ได้ทุกวัน ทุกอิริยาบถ นั่ง นอน ยืน เดิน หรือว่ามันมากไปก็เอาแค่ ๒ เวลา หลับตากับลืมตา หรือหายใจเข้าหายใจออกนี่ครูไม่ใหญ่ก็พยายามจะให้มันง่ายเข้ามาเรื่อย ๆ ง่ายกว่านี้ก็ไม่รู้จะว่าอย่างไรแล้ว คือถ้าจับป้อนเข้าไปได้ก็ไม่มีปัญหา แต่มันทำไม่ได้ ได้แต่แนะวิธีการแต่ทำเราต้องทำเอง
Consistency
The third factor is consistency which means that one continues to practice keeping one’s mind still and quiet in the center of one’s body at all times. Kru Mai Yai has tried to make meditation practice as easy as possible for everyone but it is up to you to practice what is being taught.
坚持
持续就是每天坚持修行,每一个姿势动作,即行、立、坐、卧都在修行。如果觉得太多,那就做好这两个时间:睁眼和闭眼,或呼气和吸气。师父也想尽量让它变得容易,但这已经是最简单了。师父只能介绍方法,不能代替大家去做,还是要自己去实践。
สังเกต
อีกทั้งหมั่น สังเกต สังเกตตอนไหน ตอนเลิกนั่ง อย่าไปสังเกตตอนนั่ง เดี๋ยวเอ็นเคร่งเกร็งไปหมด สังเกตตอนเลิกนั่งว่า วันนี้เรานั่งได้ผลดีไหมดีเพราะอะไร ไม่ดีเพราะอะไร ไปทบทวนกันดู
Observation
The fourth factor is observation which means that after the session, one is to think back and reflect on how well or how badly one had done during the session and why.
观察
第四个基本原则是观察,即在打坐结束后进行反思,而是不是在打坐时反思,否则可能会加速紧张。我们应该在结束后反思今天打坐效果好不好,好的原因是什么,不好的原因是什么,如此进行观察反思。
สั่งสมอารมณ์ดี
ถ้าจะให้นั่งได้ดีและเร็ว ต้องหมั่นสะสมอารมณ์ดี อารมณ์ที่เป็นกุศลธรรมที่เป็นบุญเป็นความดีเอาไว้เยอะ ๆ จะมีผลในตอนปฏิบัติธรรม จะได้มีอารมณ์เดียวที่ไม่หงุดหงิด งุ่นง่าน ฟุ้งซ่าน รำคาญใจ ไม่ขัดเคืองขุ่นมัวคนโน้นคนนี้สิ่งนั้นสิ่งนี้ก็ไม่มี มันขึ้นอยู่กับตรงนี้แหละ ต้องสั่งสมนะ สั่งสมตอนไหน ตอนลืมตาตื่นสั่งสมกันเรื่อยมาเลย แล้วไปสิ้นสุดเอาตอนหลับตานอน พอหลับตา ก็เลิกกัน เราก็จะได้มีอารมณ์ดีอารมณ์เดียว อารมณ์ดีเราก็นึกถึงสิ่งที่เป็นกุศลธรรมว่า วันนี้เราทำอะไรบ้าง ตั้งแต่ตื่น
มาตอนเช้าล้างหน้าล้างตา แล้วลุกขึ้นมาสวดมนต์ไหว้พระ ทำภาวนา ถ้าไม่มีเวลาสวดมนต์ก็ไม่เป็นไร กราบพระ ๓ ที นะโม ตัสสะ…ฯ นอบน้อมถึงพระผู้มีพระภาคเจ้าทุกพระองค์เลย แล้วก็ฝึกใจหยุดนิ่ง จะหยอดกระปุก เพื่อทำทานสั่งสมบุญก็ได้
แล้วก็รักษาใจให้ผ่องใส มีแต่เรื่องบุญกับเรื่องพระรัตนตรัยอยู่ในตัว ออกจากบ้านไปก็รักษาใจใส ๆ อย่างนี้เรื่อยไปเลย หรือจะนึกทบทวนย้อนหลังถึงบุญเก่า ๆ ที่เราได้กระทำผ่านมา นึกแล้วใจจะได้ชุ่มชื่น อย่าไปนึกสิ่งที่ทำให้ใจเราขุ่นมัวหรือแหนงใจ ไม่ว่าคน สัตว์ สิ่งของ ที่ทำให้ขุ่นมัว หรือการกระทำของเราด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ ที่นึกแล้วมันแหนงใจ นึกแล้วไม่สบายก็อย่าไปนึก นึกถึงแต่สิ่งที่ทำให้เราสบายใจ ใจใส ใจสะอาด ใจดี อย่างนี้เรียกว่าสั่งสมอารมณ์ดี
Being in a Good Mood
If one wishes to make progress with one’s meditation practice, it is necessary that one learns to be in a good mood all the time. This way, one will be sure not to feel restless, confused, irritated, exasperated, or angry with this person or that person, this thing or that thing.
One should be in a good mood from the time one wakes up to the time one goes to sleep at night. Every minute of every day, one is in a good mood.
When one is always in a good mood, it is easy for one to think about all the wholesome deeds that one has accumulated during the day. One wakes up in the morning, bathes one’s face and eyes, does the morning chanting,practices meditation, offers food to the monks or puts money aside for making merit, etc. When one leaves the house and all day long, one continues to keep one’s mind clear by focusing on one’s accumulated merit and the Triple Gem.
培养良好的情绪
如果想很快获得好的打坐经验,就要培养良好的情绪,即积累有关善业、功德与善行的好情绪。它们将在打坐中发挥积极的作用,就不会有急躁、忧愁、散乱、恼怒的情绪,也不会对这个人或那个人,对这件事或那件事不满意。这要慢慢积累。什么时候积累?早晨起床时就开始,一直到晚上睡觉。如此培养和累积好情绪。
想要心情好,我们就回想今天所做的善行。早上起床刷牙洗脸后,就拜佛、诵经和打坐。如果没有时间诵经也不要紧,向佛陀顶礼三拜,然后静心忆念诸佛的恩德,向存钱罐中投钱修功德也行。要尽量让心保持明亮,心中只有功德和三宝,离开家后也要继续保持清净的心。
另外也可以回顾我们过去所做的功德,让心法喜充满。不要去想让自己心烦意乱或焦躁不安的人、事或物。或者那些通过身口意造作的行为,如果回想起来让心情不好,也不要去想。应该想一些能让心舒服、明亮、清净或欢喜的行为,这样才能培养好情绪。
เอาความหมองทิ้งไป
สมมติกำลังทำงานอยู่เกิดมีบางสิ่งทำให้เราหงุดหงิดอารมณ์เสีย อย่าลืมเอาความหมองทิ้งไป (ลักษณะอาการพ่นลมหายใจออกทางจมูกแรง ๆ ๑ ครั้ง) การสั่งอย่างนั้นก็คือการที่เราไปสะดุดจังหวะ ตอนที่ความหมองกำลังจะต่อเนื่อง เราสกัดกั้นมันเสียก่อน พอเรื่องไม่ดีมันเสียจังหวะ อารมณ์ที่ไม่ดีมันก็ไปต่อไม่ได้ เหมือนโปรแกรมที่ถูกเซ็ตมา แล้วเราก็แค่ไปเปลี่ยนรหัสนิดหน่อย ก็เท่านั้นเอง แล้วอารมณ์นั้นก็จะผ่านไป ไม่ว่าจะเป็นอารมณ์รัก อารมณ์ชังก็ตาม เป็นการขัดจังหวะอารมณ์ที่ไม่ดีนั้นให้มันขาดช่วง พอขาดช่วงปั๊บ สิ่งดี ๆ ก็เข้ามาแทน ใจเราก็จะเฉยๆถ้าเราทำเฉยได้ อารมณ์เราจะดีทั้งวันเลย ใครด่าใครว่าก็เฉย ใครชมก็เฉยอะไร ๆ มากระทบใจก็เฉยๆ
Blowing Gloominess Away
If you are working and something happens to make you feel irritated, do not forget to blow the gloominess away (by exhaling quickly and forcefully just once). This is an effective way to remove irritation. This is a very effective way to change your attitude. Once a bad mood is stumped in
that manner, it will simply disappear. This method works for any arisen feeling designed to pull one’s mind out of the center of one’s body. Once one’s gloominess can be short-circuited, it will be replaced by good thoughts and one’s mind will then become calm.
If one can maintain one’s emotional calmness, one will be in a good mood all day long. One will be able to remain calm in the face of blame and praise alike.
抛开郁闷
如果在工作中发生了一些让自己感觉烦躁郁闷的事情,请不要累积这种郁闷的情绪(深呼一口气)。就在这种郁闷的情绪正要扩散时,我们应当及时阻止,当这种负面的情绪被打断之后,接下来情绪会慢慢的得到缓解。就像要设定一个程序,我们稍微更改一下代码即可。无论是烦躁还是郁闷,这些负面的情绪都会逐渐得到释放,不会再堆积在心里。并且当遇到一些开心的事后,这些负面的情绪将被积极的情绪所代替,我们的心情也将美好一整天。因此,无论面对指责或赞美,我们都应该保持平常心。
ไม่ยินดียินร้าย
การนั่งธรรมะ มืดหรือ? ก็ทำเฉย ๆ สว่างหรือ? เฉย เห็นภาพหรือ? เฉย ไม่เห็นก็เฉย ต้องทำแบบนี้เดี๋ยวดีเอง
ใจเราจะไม่กระเพื่อมเลย เดี๋ยวเดินทางเข้าไปสู่ภายในได้ เพราะฉะนั้นคำว่า หยุดเป็นตัวสำเร็จ ใช้ได้ทั้งทางโลกและทางธรรม คือ จะทำให้ใจเราไม่กระเพื่อม ใจจะได้สมดุล ถ้ามีตาชั่งชั่งใจ ยินดีข้าง ยินร้ายข้าง มันจะเท่ากันเป๊ะเลย ใจเราจะไม่เสียสมดุล ไม่เอียงไปข้างใดข้างหนึ่ง ความสุขก็ได้โอกาสที่จะพรั่งพรูออกมา เหมือนตัวเราเป็นธนาคารของความสุขพรั่งพรูออกมาเลย
Remain calm
The same principle applies with meditation practice. Whether one sees darkness, brightness, or an image, one should continue to remain calm. Once one’s mind can continue to be still and quiet, in time, it will be able to journey inward. Therefore, Stillness Is the Key to Success applies in both the secular world and the spiritual world. When one’s mind can be kept constantly still and quiet, one will not be affected by anything or any person. In that state of mind, happiness will have the opportunity to flood into one’s mind as if one is the storehouse of happiness.
淡然处之
打坐的时候,面对黑暗,淡然处之;面对光亮,淡然处之;看见画面,淡然处之;没有看见画面,依然淡然处之。就是这样,我们的心才不起涟漪,也才能持续向内静定。因此,静止是成功之本。既适用于世俗,也适用于修行。
佛法可以让我们的心不散乱,保持稳定。如果有天平可以称量心,一侧是喜,一侧是悲。心会保持平衡,不向某一侧倾斜,不悲不喜,快乐就有机会迸发出来。我们就像一个快乐喷泉,不断地向外迸发快乐。
วันที่ดีที่สุด
วันที่ดีที่สุดคือ วันที่เราบรรลุพระธรรมกาย ไม่ใช่วันที่ได้เป็นอธิบดีเป็นรัฐมนตรี เป็นประธานาธิบดี หรือจะเป็นมหาเศรษฐีของโลกก็แล้วแต่ ยังไม่ถือว่าเป็นวันที่ดีที่สุด แค่เป็นวันดีวันหนึ่งในชีวิต ซึ่งมันก็ไม่ได้อะไรสักเท่าไร เพราะตำแหน่งมันตัน แต่การบรรลุพระธรรมกายภายในจะทำให้เราได้เข้าถึงความสุขที่แท้จริง เราจะได้ศึกษาเรื่องราวความเป็นจริงของชีวิต หรือคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่มีบันทึกไว้ในพระไตรปิฎก
The best day
The best day of one’s life is the day that one attains the Dhammakaya. It is not the day that one becomes a director, a minister, a President or the richest person on earth. That is just one good day in one’s life. After all, titles and positions cannot guarantee one happiness. But the attainment of the Dhammakaya leads one to true happiness. One will be able to learn about the reality of life as taught by the Lord Buddha.
最美好的一天
最美好的一天是我们证得法身的那一天,而不是成为厅长、部长、总统或亿万富翁的那一天。这都不算是人生最美好的一天,只能算是美好的一天,职位虽好,但证得内在的法身可以让我们获得真正的快乐,并有机会探究生命的真相以及记载于《三藏经》中佛陀的教义。
ไม่มีอะไรง่ายกว่านี้
อย่าไปกลัวปวด กลัวเมื่อย อย่ามีข้อแม้ ข้ออ้าง เงื่อนไข ไม่สบายล่ะ เหนื่อยล่ะ ง่วงล่ะ หิวล่ะ กระหายล่ะ แล้วก็ไม่ทำความเพียรต้องทำความเพียรกันสองเวลา หลับตากับลืมตา หายใจเข้ากับหายใจออก เราโชคดีไม่ต้องไปค้น ไม่ต้องไปแสวงหา แค่คว้าในสิ่งที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ค้นมาแล้ว และมาแนะนำสั่งสอน แล้วมาตอกย้ำซ้ำเดิม ด้วยพระเดชพระคุณหลวงปู่พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ท่านสละชีวิตค้นมาให้แล้ว แล้วก็สรุปว่า หยุดเป็นตัวสำเร็จ คือใจที่แวบไปแวบมาคิดไป
ในเรื่องราวต่าง ๆ เอามาหยุดอยู่ที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ ซึ่งอยู่ในกลางท้องของเรา ในระดับที่เหนือจากสะดือขึ้นมา ๒ นิ้วมือ
หยุดอย่างเดียว โดยจะนึกเป็นภาพหรือไม่นึกก็ได้ ไม่ต้องทำอะไรที่นอก เหนือจากนี้ ไม่ต้องอ่าน ไม่ต้องเขียน ไม่ต้องท่องจำ มันง่ายเหลือเกิน แค่นั่งเฉย ๆ ไม่ต้องคิด ไม่ต้องพูด ไม่ต้องทำอะไรทั้งนั้น หยุดใจอย่างเดียว มันง่ายนะ ง่ายกว่าการไปสละชีวิตเพื่อแสวงหาโดยยังไม่รู้ว่าสิ่งที่กำลังแสวงหานั้นอยู่ตรงไหน อย่างนั้นมันยากยิ่งกว่างมเข็มในมหาสมุทรเสียอีก เพราะฉะนั้น
เมื่อเรามาอยู่ในยุคคว้า ก็แล้วแต่ใครจะไขว่คว้าเอา ถ้าได้ทำก็ทำได้ ต้องทำให้ได้ ต้องเข้าถึงให้ได้
Nothing can be easier
Do not make excuses but do try your very best instead.
Practice keeping your mind still and quiet when you open your eyes, when you close your eyes, when you inhale, and when you exhale. That is all. Practice what our Most Venerable Luang Pu had to put his life on the line
in order to discover, Stillness Is the Key to Success. It means that one is to practice keeping one’s restless mind still and quiet at the seventh base in the center of one’s body.
Be still. One may or may not want to visualize an image. One does not have to do anything else. Nothing can be easier. Our Most Venerable Luang Pu has made this knowledge available to us. All we have to do is to practice what he teaches. If we practice it, then we will meet with success.
没有比这更容易的了
不要害怕疼痛或疲劳,不要借口说因为病了、累了、困了、饿了、渴了,或有任何附加条件而放弃精进修行。应该要这两个时间,即睁眼与闭眼,呼气与吸气中精进修行。我们很幸运,无需再去搜索或寻找修行方法,因为佛陀已经找到并传授给世人,虽然后来失传多年,但祖师舍身求法,使之重现人间,并总结道:静止是成功之本。也就是让漂浮不定、胡思乱想的心回归体内,静定在体内第七中心点,即与肚脐同一水平线的腹部中央往上提升两指宽的高度处。只需要静止,可以观想所缘也可以不观想,除此之外什么都不用做。不用阅读、不用写作,不用背诵,很容易。只要静静地坐,不用想、说和做其他任何事情,就是静心而已,非常的容易。这比舍身去寻找还不知道在哪里的东西更加容易,寻找那些虚无缥缈的东西难过海底捞针。因此,只要我们愿意去做,就肯定可以做得到,一定可以证得内在的法身。
ง่ายเหมือนหายใจเข้าออก
ดวงธรรมภายใน กายภายใน และพระธรรมกายภายใน สิ่งเหล่านี้มีอยู่ในตัวของเรา เช่นเดียวกับที่มีอยู่ในตัวของมนุษย์ทุกคนในโลกเพราะฉะนั้นมันง่าย ถ้าอยู่ดาวดวงอื่น หรืออยู่นอกโลกอย่างนี้ยาก จะต้องนั่งยานอวกาศกันไป ไปหาแล้วจะเจอหรือเปล่าก็ยังไม่รู้ ถ้าบอกว่าสิ่งที่กำลังแสวงหาอยู่ที่ดาวอังคาร ก็ไม่รู้จะไปหาตรงไหน แต่นี่บอกว่าอยู่ในตัวและก็บอกตำแหน่งด้วย อยู่ตรงฐานที่ ๗ แล้วเราก็รู้ตำแหน่งด้วย ง่ายไหมแล้วมีข้อสงสัยก็ยังมีผู้ที่พร้อมจะตอบคำถาม ก็ยิ่งง่ายเข้าไปอีก ในยามท้อก็มี
คนคอยปลอบใจ ให้กำลังใจ คอยชี้ช่องทางอีก เพราะฉะนั้นมันง่ายเหลือเกินง่ายเหมือนหายใจเข้าออกอย่างนี้แหละ
It is as easy as inhaling and exhaling.
The Dhamma Spheres, the different Inner Bodies, and the Dhammakaya already exist inside us. They are not outside of us. They cannot be found in any star or any planet out there. They can be found at the seventh base in the center of our body. Isn’t that easy? Moreover, there are coaches and guides ready to answer whatever questions you may have, ready to encourage you and motivate you. Meditation practice is as easy as
inhaling and exhaling.
就像呼吸一样简单
内在的法球或法身就存在于每个人的体内,所以证入并不难。如果它们在另外一个星球或外太空,想找到就很难。因为需要坐宇宙飞船去找,还不知道能不能找到。如果说要找的东西在火星上,也不知道具体在哪里。但如果说就在体内,也知道位置就在体内中心第七点,这样容易吧!此外,如果有疑惑,就有人解答疑惑。如果感到灰心,就有人安慰鼓励并指点迷津,这就更容易了。所以,真的很容易,就如呼吸一样。
รักษาความตั้งใจที่ดี
เมื่อตั้งใจทำสิ่งที่ดี ๆ แล้วก็ต้องทำให้ได้ตลอดรอดฝั่ง ทำให้ถูกหลักวิชชา อย่าให้ตึงเกินไป หย่อนเกินไป แสวงหาความพอดี ตรงที่เรามีความพึงพอใจนั่นแหละคือความพอดี ร่างกายจะเป็นตัวบอกเรา ระบบประสาทกล้ามเนื้อจะบอกเราว่า อันนี้ตึงเราจะเกร็งจะเครียด ถ้าหากว่าหย่อนมันจะหลับจะฟุ้ง ถ้าพอดีมันจะสบาย ๆ อยากอยู่ตรงนี้นาน ๆ แม้จะไม่มีภาพอะไรมาให้ดู หรือไม่มีแสงสว่างมาปรากฏก็ไม่ได้คำนึงถึง คือใจถูกยกให้สูงเหนือการเห็นหรือไม่เห็น คือเห็นก็ดี ไม่เห็นก็ไม่เป็นไร มันเลยความรู้สึกอยากเห็น หรือไม่อยากเห็น อยู่ในระดับเฉย ๆ แล้วก็อยากจะอยู่ตรงนี้นาน ๆ ไปเรื่อย ๆอย่างนี้ถูกหลักวิชชา
Keep your good intentions
You have intended since the beginning of this Rains-Retreat to practice meditation earnestly, it is good to continue doing it the entire way. When you practice meditation, you should not feel too tight or too lax. Try to find the condition that is just right for you. Everything is just right when you can feel content. Your body will tell you, your nervous system and your muscles will tell you. If it is too tight, you will feel stressed. If it is too lax, you will either fall asleep or your mind will scatter. If it is just right, you will feel comfortable and will want to remain in this state for a long time even if you cannot see any inner images just yet. In fact, you really do not care at all if you see anything because you feel calm and comfortable. This is correct.
保持专注
当我们选择认真修行后,要持之以恒,方法正确,不要太紧绷,也不要太松弛,要刚好合适。我们会因为刚好合适而感到满意。如果太紧绷,我们的身体、肌肉或神经系统会感觉到僵硬或紧张。如果太松弛,会胡思乱想或睡着。如果刚好合适,会感觉舒服,想长久的坐。哪怕没有画面可看,或者没有光亮出现也没关系,心超越了渴望。也就是说无论是否看见都没关系,心一直静静的,想要一直持续这份宁静。这才是正确的方法。
อารมณ์ดีอารมณ์เดียวตลอดเวลา
รักษาอารมณ์ดีอารมณ์เดียวนั้นให้ต่อเนื่องให้ได้ตลอดเวลาในทุกอิริยาบถนั่งนอนยืนเดิน หรือทำกิจกรรมอะไรก็แล้วแต่ ถ้าเรารักษาอารมณ์ณ ตรงนี้เอาไว้ได้ก็จะทำให้เราสมความปรารถนา คือการเข้าถึงพระธรรมกายอย่างที่เราได้ตั้งใจเอาไว้แค่ทำใจให้หยุดนิ่งเฉย ๆ ที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ เท่านั้น จะว่ายากก็ยากไม่มาก จะว่าง่ายก็ง่ายไม่มาก มันพอดี ๆ ยากพอสู้ แล้วก็ง่ายพอมีกำลังใจทำ ทำอย่างนี้แล้วเดี๋ยวก็เข้าถึงจะหัวเราะกิ๊ก ๆ กั๊ก ๆ ทีเดียว เซลล์บนใบหน้าจะผลัดผิวหนังผลัดเซลล์อย่างรวดเร็ว อย่างกะทันหัน
Keep your mood good at all times
You will want to keep your mood good all day long whatever you are doing. If you can keep your mood good at all times, your wish will be realized because you will be able to attain the Dhammakaya.
Just continue to keep your mind still and quiet and calm at the seventh base in the center of your body. This is neither too difficult nor too easy. It is difficult at the level that it can be achieved and it is easy at the level that one feels motivated to do it. Continue practicing and in time you will be laughing with joy. The cells on your face will be rejuvenated and you will look better instantly. All the want, all the hunger, and all the thirst will disappear as soon as one is able to attain the Dhammakaya.
保持适中的情绪
我们在行、立、坐、卧等日常生活中,如果能够一直保持这种不紧、不松、适中的情绪,必将证入法身。将心静定在体内中心第七点,说难也不难,说容易也不容易,难度适中,我们有足够的能力和信心做得到。只要精进实践,就一定可以证得内在的法身。那时,我们将笑容满面,容光焕发,整个人精神抖擞。
ความพอดีและความพอใจ
เคยได้ยินมานานแล้วความสุขที่แท้จริง แต่มันเป็นอย่างไรยังไม่รู้ แล้วถูกหลอกทำให้เข้าใจผิดว่า ตรงนั้นสุข ตรงนี้สุข ความสุขที่ฟังได้ ความสุขที่ดูได้ ความสุขที่ดมได้ แล้วความสุขที่อะไร ๆ อีกตั้งเยอะแยะที่โดนหลอกทำให้เข้าใจผิด จริง ๆ แล้วความสุขมันอยู่ในตัว รวมประชุมอยู่ในพระธรรมกายเมื่อไรเราตั้งใจปฏิบัติธรรมกันอย่างจริงจัง ต้องเข้าถึงกันอย่างแน่นอน ซึ่งมัน
ยากไม่มาก แต่มันก็ง่ายไม่มาก กำลังพอดีๆการเข้าถึงพระธรรมกาย คือ การแสวงหาความพอดี เราจะรู้จักความพอดี ต่อเมื่อเข้าถึงพระธรรมกาย พอไปถึงตรงนั้นแล้ว มันรู้สึกพอ ไม่ต้องการอะไรที่มากไปกว่านี้ อยากจะศึกษาวิชชาธรรมกาย ไม่ปรารถนาสิ่งที่มนุษย์เขาปรารถนากัน คือ ลาภ ยศ สรรเสริญ ทรัพย์สิน เงินทอง คล้าย ๆ กับมันพ้น ระดับนั้นไปแล้ว มันเลื่อนขั้นของชีวิตไปอีกระดับหนึ่งแล้วครูไม่ใหญ่อยากให้ทุกคนเข้าถึงนะ ให้รักการปฏิบัติ อย่าไปท้อแท้ ถ้าตั้งใจประพฤติปฏิบัติธรรมกันจริง ๆ ก็ต้องได้ ไม่ได้ไม่มี ยกเว้นว่า บ้า จิตประสาท หรือเป็นโรคเอ๋อเท่านั้น คนตาบอดแต่กำเนิดยังเห็นเลย คนตาดี
ทำไมจะไม่เห็น มันง่ายๆ
Sufficiency and Contentment
One has heard about true happiness, but one has yet to know what it is like. Everyone has been fooled to think that physical forms, sounds,smells, tastes, etc., can bring about happiness. But nothing can be further from the truth. The truth is that happiness can be found inside one’s self,
specifically in the Dhammakaya. Whoever practices meditation earnestly will definitely be able to attain the Dhammakaya. The attainment of the Dhammakaya is within every earnest practitioner’s reach.
The attainment of the Dhammakaya is synonymous with the quest for sufficiency and contentment because one will truly know sufficiency and contentment once one can attain the Dhammakaya. One will no longer wish for the things that human beings find desirable such as gain, title and
position, recognition, material wealth, money, etc. It is as though one has risen above these things, and one’s life has been elevated to the next level. All one wants now is to study Vijja Dhammakaya.
Kru Mai Yai would like everyone to attain the Dhammakaya. Let everyone practice meditation earnestly. Everyone can do it except for the persons who suffer from insanity, psychosis, and severe mental retardation. There have been cases where individuals blind from birth are able to see the Dhammakaya.
合适与满足
关于真正的快乐,我们听说了很久,可自己却从未体验过,甚至错误的认为色、声、香、味、触就是快乐。其实是我们被骗了,从而产生错误的见解。事实上,快乐就在体内,聚集于法身中。只要我们如法精进修行,就一定可证入法身。这不是很难,但也不容易,难度适中。证入法身就是寻找适中。我们会在证入法身后,真正的认识何谓适中。达到那个境界后,会感到满足,不再渴望,只想修习法身法门。不再像一般人那样渴望财富、地位、赞美、金钱,就像已经超越了,把生命提升到另一个层次。
师父希望每个人都可以证入法身,不气馁,热爱修行。如果认真精进修行,一定可以证入法身。不会无法证入法身,除非是癫疯或有精神病的人。天生失明的人都可以看得见(内在的佛像),眼睛好的人怎么会看不见呢?
การแสวงหาพระธรรมกายในตัวก็คือ การแสวงหาความพอดี
เกิดมาเพื่อทำพระนิพพานให้แจ้ง หรืออย่างน้อยก็มาสร้างบารมี หรือแสวงหาความสุขที่แท้จริง หาที่พึ่งที่ระลึกที่แท้จริงที่ถูกต้อง ซึ่งทั้งหมดที่เราอยากจะหานั้นอยู่ในตัว ไม่ใช่นอกตัวเลยหลักสำคัญก็คือการเข้าถึงพระธรรมกาย ซึ่งเป็นกายตรัสรู้ธรรม เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานแล้ว เป็นพระรัตนตรัยภายใน เป็นที่พึ่งที่ระลึกที่แท้จริงการแสวงหาพระธรรมกายในตัวก็คือ การแสวงหาความพอดี บางทีมีคำถามว่า แค่ไหนพอดี ตอบยากเหมือนกันนะ แค่ไหนพอดี เพราะเราไม่รู้จักพอดีมันอยู่ตรงไหน เมื่อไม่รู้จักดี มันก็เลยไม่รู้จักพอ เมื่อมันไม่พอ มันก็พร่องไปเรื่อย ๆ เพราะเจอแต่ที่มันไม่ดี ถ้าจะให้ดีก็ต้องรู้จักว่าดีอยู่ตรงไหน แล้วก็ต้องวางใจให้ถูกดี แล้วก็ให้ถึงดี ถึงจะได้ดี เพราะว่าเข้าไปถึงความพอดี
The search for the Dhammakaya means the search for sufficiency and contentment
We are here on earth to make clear the Path and Fruit of Nibbana or at least to pursue Perfections or to find true happiness and true refuge. All these things can be found inside one’s self.
The Dhammakaya is the Body Leading to Enlightenment. The
Dhammakaya is all-knowing, fully awake, and gloriously joyful. The
Dhammakaya is the Inner Triple Gem and every human being’s true refuge.
The search for the Dhammakaya means the search for sufficiency and contentment. One will truly know what sufficiency and contentment mean only after one has attained the Dhammakaya.
寻找法身即是寻找合适
生来是为了证得涅槃,至少也是为了修波罗蜜或寻找真正的快乐和依靠。我们要寻找的这些不在体外,而是在我们的体内。
重要的是证入法身。它是觉悟之身,是智者、觉者、喜悦者,是内在的三宝,是真正的依靠。寻找内在的法身就是寻找合适。有人问,多少算合适?似乎很难回答,因为不知道哪里才是合适。当不知道什么是合适,就不知道满足;当不满足,又遇到各种错误,就持续的衰退。如果想要进步,就要知道如何进步,之后适当的静心,才会进步。因为,找到了合适。
พระธรรมกายเป็นแหล่งกำเนิดแห่งความสุขที่แท้จริง
ดีทั้งหมดรวมประชุมอยู่ในพระธรรมกายเท่านั้น พอไปถึงตรงนี้แล้วมันพอ คือไม่อยากจะแสวงหาอะไรที่นอกเหนือจากนี้ ที่ปัจจุบันเขาแสวงหาไปเรื่อย ๆ เพราะไปเจอที่มันไม่ดี มันก็พร่อง ถมเท่าไรก็ไม่รู้จักเต็ม ถอนเท่าไรก็ไม่รู้จักเตียน กระหายอยู่เรื่อย ๆ และชาวโลกมักจะดับความกระหายด้วยน้ำทะเล กระหายทีก็ดื่มน้ำทะเล ดื่มเท่าไรก็ไม่หายกระหาย เพราะมันเค็ม แต่
เมื่อไรเจอน้ำฝน เจอน้ำสะอาด เมื่อนั้นมันถึงจะดับความกระหายได้ความเร่าร้อนในใจเช่นเดียวกัน กระหายที่ทำให้ใจพร่องเป็นนิจ มันจะหมดไปเมื่อเข้าถึงพระธรรมกาย ที่พระธรรมกายดีก็เพราะท่านเป็นของแท้ เป็นแหล่งกำเนิดแห่งความสุขที่แท้จริงไม่มีการเปลี่ยนแปลงเลย เป็นนิรันดร์ แต่ของนอกกายที่แสวงหากัน ไม่ว่าจะเป็นคน สัตว์ สิ่งของ ล้วนตกอยู่ในไตรลักษณ์เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เดี๋ยวก็ผุก็พัง เมื่อมันผุมันพังมันก็ทุกข์ ก็พร่องเข้าไปเรื่อย ๆ พักเดียวก็หายเห่อต้องหาใหม่อีกแล้ว ฉะนั้นที่เราต้องมาแสวงหา พระธรรมกาย ก็คือ ต้องการแสวงหาจุดแห่งความสมดุลของชีวิต คือ ความพอดี เข้าถึงดีแล้วมันพอ รู้จักพอแล้ว หรือความพึงพอใจ ชีวิตเต็มอิ่มเต็มเปี่ยม ไม่ทะลุไม่เหมือนตุ่มก้นรั่วอย่างนั้น
The Dhammakaya is the source of true happiness
Otherwise, one is constantly wanting, hungering, and thirsting after one thing or another. One is never satisfied. One is never content. The situation is akin to trying to quench one’s thirst by drinking seawater. All the want, all the hunger, and all the thirst will disappear as soon as one is able to attain the Dhammakaya.
The Dhammakaya is true. The Dhammakaya is the source of true happiness. The Dhammakaya is eternal. But everything and everyone on earth are governed by the Three Characteristics, namely, impermanence, the inability to remain the same, and the absence of true selfhood. Everyone and everything come into being, exist for time, and come to an end. The search for the Dhammakaya is synonymous with the search for life’s balance which is the point where life is made complete.
法身是真正快乐的源泉
所有的美好都聚集在法身中,证入法身后会感到知足,不想再追求外在的东西。如今世人一直不停寻找,是因为他们所遇到的都不是真正美好的东西,所以一直不满足,获得多少都不知足,一直对外渴求。就好像他们一直在用海水解渴,只要口渴就喝海水,这样不管喝多少海水都无法解渴,因为海水很咸。但如果他们遇到雨水或纯净水,那时他们才能真正的解渴。
内在的焦虑也是一样,让心一直渴求,不知足。只有当我们证入法身,这种状态才会消失。法身如此好,是因为它是真正永恒不变的快乐源泉。但是外在的追求,无论是人、动物或事物皆受三相法则的控制,无时无刻不在变化,不久就衰退。当衰退时,自然就要受苦;然后不断的衰落,最后消失不见,不得不重新寻找新目标。因此,我们证入法身是为了寻求生命的平衡点,即适中和满足。生命从此将无比富足,不再欲壑难填。