หมวด 9 ชีวิตสมณะ
Chapter 9 Monk’s Life
沙门生活
- ชีวิตที่ดีที่สุด
หลวงพ่อขอยืนยันว่า ชีวิตพระเป็นชีวิตที่ดีที่สุด เหมาะสมกับชาวโลกที่สุดเลย เพราะเป็นชีวิตที่ปลอดกังวล มีเวลาสำหรับแสวงหาความรู้ภายในที่เรายังไม่รู้อีกมากมาย มีไว้สำหรับแสวงหาความสุข ที่มีมากกว่าความสุขด้วยลาภ ยศ สรรเสริญ อย่างที่มนุษย์เข้าใจ
7 ตุลาคม พ.ศ. 2544
- The Best Way to Live (When You Don’t Know What to Read 1)
I would like to confirm that being a monk is the best way to live one’s life since it is free of worry and allows one to spend time searching for numerous knowledge that can be attained from inner self and searching for happiness that is more refined than fortune, rank, and praise that people commonly perceive.
October 7, 2001
1.最好的生活
我敢肯定….出家人的生活是最好的生活,也是世人最适合的生活。因为,那是没有担忧的生活。如此,才有时间去探究一切我们所未知。存在于心灵深处的智慧与快乐,就算拥有财产、官衔和赞扬,也比不上这种快乐。
2001年10月7日 ( 佛历2544年10月7日 )
- นิพพานเป็นเยี่ยม
ดูชีวิตของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นตัวอย่าง พระองค์ผ่านชีวิตทุกระดับมาแล้ว แม้แต่การเกิดในอบายภูมิก็เคยเกิด ในสุคติภูมิก็เกิด เป็นมนุษย์ก็เป็นมาทุกระดับ ตั้งแต่พระเจ้าจักรพรรดิ เป็นพระราชาผู้ยิ่งใหญ่ พระราชาธรรมดา พระราชาประเทศราช มหาเศรษฐีผู้ยิ่งใหญ่ กระทั่งเป็นมหาเศรษฐีธรรมดา ไล่เรื่อยมาถึงยาจก วณิพก เคยเป็นมาหมดแล้ว ท่านก็สรุปชีวิตของท่านว่า ไม่มีอะไรที่ยิ่งกว่าพระนิพพาน ควรแสวงหานิพพานอันเป็นเยี่ยม จึงได้สละทรัพย์ทุกอย่าง อวัยวะ แม้กระทั่งชีวิต เพื่อที่จะให้เข้าถึงธรรมภายใน เข้าถึงดวงธรรม เข้าถึงกายในกายภายใน เข้าถึงความจริงของชีวิต นี่เราดูท่านเป็นตัวอย่าง นะลูกนะ
11 สิงหาคม พ.ศ. 2544
- Nibbana is the Greatest (When You Don’t Know What to Read 1)
Let us consider past lives of the Lord Buddha. He was born into different lives in both the unfortunate and fortunate realms. In the human realm, he was an emperor, great king, common king, colonized king, great billionaire, common millionaire, middle-class earner, and even a beggar, basically all kinds of life. He then found out that there is nothing greater than Nibbana and that he better search for the way to attain Nibbana. So, he gave away all his belongings and even his lives in order to attain inner Dhamma, Dhamma Sphere, Inner Bodies, and the truth of life. We all should follow his footsteps.
August 11, 2001.
- 涅槃第一乐
我们要以佛陀的生活为典范。佛陀经历过各种形式的生活,无论善道和恶道,佛陀都经历过。转世为人的时候,佛陀也经历过各种身份:转轮圣王、伟大的皇帝、一般国王、小国国王、大富翁、一般富翁、乃至于贫穷人、(以弹唱行乞的)卖艺人,佛陀都经历过了。
因此,佛陀总结自己的生活,开示道:“涅槃第一乐”。所以佛陀舍弃了所有财产、器官、乃至生命,只是为了证入内在佛法、内在的法球、身中身,以及生命的真义。我们修行就要以佛陀为榜样。
2001年8月11日 ( 佛历2545年8月11日 )
- อยู่อย่างมีเป้าหมาย
บวชมาแล้วต้องมีวัตถุประสงค์เดียวเป็นหลัก คือ… ทำพระนิพพานให้แจ้ง นอกนั้นก็เป็นเรื่องปลีกย่อยรองลงมา สิ่งนี้ต้องอยู่ในใจของลูกทุกรูป ถ้าไม่มีสิ่งนี้ บวชเป็นพระยาก นะลูกนะ
7 ตุลาคม พ.ศ. 2544
- Live with Goal (When You Don’t Know What to Read 1)
Having decided to be a monk, there is one principle goal which is to attain Nibbana. Others are less important. Every monk should keep this in mind. If not, it is difficult to stay in the monkhood.
October 7, 2001.
3.有目标而生活
出家的主要目的,就是…证入涅槃 。除此之外,都是次要的事情。这个目的要存在我们的心里。如果没有这个目的,就不容易成为出家人了。
2001年10月7日 ( 佛历2544年10月7日 )
- 4. อย่าหายใจฟรี
มาอยู่กับหลวงพ่อแล้ว อย่าให้หายใจฟรี ให้ได้อะไรกลับไปบ้าง ให้รู้เรื่องราวของเราไปบ้างหลวงพ่อพยายามหาวิธีที่จะบำรุงสังขาร ขันธ์ ๕ ของลูกทุกคน อาหาร ปัจจัย ๔ สิ่งของจำเป็นต่าง ๆ หวังเพียงให้ลูกทุกคนสนใจการปฏิบัติธรรมอย่างจริงจัง วันคืนล่วงไป ๆ จะได้ไม่สูญไปเปล่า นะลูกนะ
7 ตุลาคม พ.ศ. 2544
- Don’t Just Let Time Go by (When You Don’t Know What to Read 1)
Being a monk at this temple, don’t just let time go by. You should take the opportunity to discover yourself. I try to provide basic needs (food, shelter, clothing, and health care) and other necessities, hoping that everyone would practice Dhamma with fullest effort. As time goes by, it is then not worthless.
October 7, 2001.
4.不要白白地呼吸
既然已经跟我同住,就不要白白地呼吸。总该了解一些事情,一些自己的事情。为了弟子专心地修行,无论是食物、四事(即衣服、饮食、住所、医药)一切生活所需,我都会尽量地去张罗。只希望每位弟子认真修行,如此就不会蹉跎光阴。
2001年10月7日 ( 佛历2544年10月7日 )
- กฎของการถ่ายเท
เราเป็นพระ ให้คิดแบบพระ พูดแบบพระ และทำแบบพระ ทำแค่ 3 อย่างนี้เท่านั้น ไม่ต้องทำอะไรเยอะแยะมากมาย เพียงแค่อย่าให้ใจเราออกนอกเส้นทาง หรือไปคิดในเรื่องที่ไม่เป็นสาระ ไม่ว่าจะยืน เดิน นั่ง นอน กิน ดื่ม ทำ พูด คิด หยุดนิ่ง ลิ้มรส เหยียดแขน คู้แขน กลับหน้า กลับหลัง หรือจะทำภารกิจอันใดก็ตาม
อย่าทำตามลำพัง ให้มีเพื่อนอยู่เสมอ หมายความว่า ต้องมี “พระ” อยู่ในตัว เป็นเพื่อนคู่ใจอยู่ตลอดเวลา ถ้าทำอย่างนี้ เดี๋ยวความรู้สึกว่าเป็น “พระ” จะเกิดขึ้นเอง โดยที่เราไม่ต้องไปเคร่งครัด หรือสำรวมระวังอะไร เพราะความรู้สึกของเราอยู่กับ “พระ” ตลอดเวลา แล้วคุณสมบัติของ “พระ” ก็จะถ่ายทอดมาเป็นคุณสมบัติของเรา
26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2539
- Law of Transfer (When You Don’t Know What to Read 1)
As a monk, you must think like a monk, speak like a monk, and act like a monk. You only need to do these three things, nothing else. You have to keep your mind focused and not think of useless matters while you stand, walk, sit, lie down, eat, drink, act, speak, think, stay still, taste, stretch, or whatever task you do. Don’t do it alone. Do it with a friend. That is to say you must take “Dhammakaya” within you as your best friend at all times. If you can do this, then the feeling of being a monk will arise automatically without having to worry about strict codes of conduct for monks because the characters of monks will be transferred to you as you stay with “Dhammakaya” at all times.
February 26, 1996
5.流通的规则
我们既然身为僧人,身、口、意就都要像个僧人。除此之外,不用想太多事。不要让自己的心念离开正道,或去思想一些无意义的事情。无论:行、住、坐、卧、 吃、喝、做、讲、想、止定、尝味、伸手、曲臂、转过身来、转过身去,或做任何事情,都不要单独完成,必须要有朋友的陪伴。意思就是:随时都要让体内的佛陀,陪伴你的心灵。如果这样,你自然就有感觉到自己是僧人了。无须过于严格、谨慎或特别小心什么事情,因为随时都有自已与佛陀合而为一的感觉。佛陀的品质,就会转换成我们自己的品质了。
1996年2月26日 ( 佛历2539年2月26日 )
6.วิชชาในพระพุทธศาสนา
พระพุทธเจ้าทรงวางหลักสูตร วิชชาที่พระภิกษุสามเณรควรเรียนรู้เอาไว้ คือ วิชชา 7 วิชชา 8 อภิญญา 6 ปฏิสัมภิทาญาณ 4 เรียนแล้วต้องเหาะได้ ต้องมีตาทิพย์ หูทิพย์ ระลึกชาติได้ มีฤทธิ์ทางใจ
แม้เป็นสามเณรยังสามารถเหาะไปสระอโนดาต เที่ยวดยานพาหนะอันใดไปไม่ถึง แต่สามเณรสุมนในสมัยพุทธกาลใช้วิชชาไปถึงได้ นี่… ความรู้ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าต้องการให้พระเณรเรียนอย่างนี้
28 กรกฎาคม พ.ศ. 2545
- Knowledge in Buddhism (When You Don’t Know What to Read 1)
The Lord Buddha laid out the knowledge that monks and novice monks should learn as seven knowledge, eight knowledge, six super knowledge, and four analytic insights. Upon completing the learning, one will be endowed with the ability to fly, celestial sight, celestial hearing, ability to recall past lives, and mind power. Even a novice monk can fly to locations inaccessible by physical vehicles as it already happened during the Buddha life time. The knowledge that the Lord Buddha would like monks and novice monks to know is this kind of knowledge.
July 28, 2002
- 佛教之明
佛陀教导每位出家人,应该学习:三明、八明、六智、四无碍解等等智慧。学了以后就能够拥有飞行、天眼、天耳、宿命、神足等神通;即使是沙弥,也能获得神通,而藉由神足通就无须藉着任何交通工具,就可以到达天界。这就是佛法的智慧,也是出家人的必修学分。
2002年7月28日 ( 佛历2545年7月28日 )
- การบวชทำได้ยาก
สำหรับผู้ที่มีบารมีแก่ ๆ เข้ม ๆ เท่านั้น ถ้าบารมีอ่อน ๆ หรือเจือจางมาไม่ได้
เพราะต้องสวนกระแสกิเลส และคนที่จะสวนกระแสกิเลสได้ในโลกนี้ก็มีไม่มาก เพราะกระแสกิเลสในยุคนี้มากเหลือเกิน มันมากถาโถมถึงระดับทำให้ทำนบพังเลย (ทำนบใจ) เพราะฉะนั้น ผู้ที่จะบวชได้ ต้องมีบารมีแรงมากกว่าจึงจะสวนกระแสกิเลสออกบวชได้ การออกบวชจึงทำได้ยากอย่างนี้
๑๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕
- Staying in the Monkhood is Difficult (When You Don’t Know What to Read 1)
Deserting a worldly life and living as a monk is not easy at all. Monkhood is for those who have already accumulated tremendous “perfections” in the past, not for everyone, because monks have to resist defilements. Since people’s minds are commonly filled with defilements, there are not many people that can resist defilements. People who are ordained as monks are those who have accumulated more “perfections” and are able to resist defilements. Thus, staying in the monkhood is difficult.
February 16, 2012
- 出家不容易
放弃世俗生活,不要以为很容易 ,必须是具足波罗蜜的人才能够做到。若波罗蜜很薄弱是无法来出家的,因为需要战胜烦恼和诱惑。能战胜烦恼和诱惑的人并不多,因为这个时代的烦恼和诱惑太多了,多到溢出烦恼的防波堤(心中烦恼的防波堤)。所以能够来出家的人,必须具足波罗蜜,才能够战胜烦恼和诱惑来出家,这就是为什么出家并不容易。
2012年2月16日
- วัตถุประสงค์และอานิสงส์การบวช
วัตถุประสงค์ของการบวชมีเพียงประการเดียว คือ ทำพระนิพพานให้แจ้ง ไม่ว่าจะบวชสั้น บวชยาว หรือแม้บวชเพียงวันเดียวก็ตาม การบวชเพื่อทำพระนิพพานให้แจ้ง และตั้งใจทำอย่างนั้นจริง ๆ จึงจะได้ชื่อว่าเป็นเนื้อนาบุญ เป็นอายุพระศาสนา ถูกวัตถุประสงค์ของการบวช บวชอย่างนี้จึงจะมีอานิสงส์มากถึง ๖๔ กัป
คือ จะเกิดกี่ครั้งก็แล้วแต่จะปิดประตูอบาย ไม่ต้องไปมหานรกสำหรับตัวเองถึง ๖๔ กัป โยมพ่อโยมแม่ก็ได้ครึ่งหนึ่ง ๓๒ กัป ผู้มาอนุโมทนาลดหย่อนลงไปตามส่วน แต่ถ้าบวชหลาย ๆ รูปก็คูณไปเรื่อย ๆ แล้วแต่ว่าใครปลื้มมาก ปลื้มน้อย นี่ก็เป็นวัตถุประสงค์และอานิสงส์การบวชโดยย่อ
๒๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๗
- Goal and Fruition of Monkhood (When You Don’t Know What to Read 3)
There is only one goal of being a monk, which is to become enlightened. Whether it is for a short or long period of time or even a single day, the purpose of being a monk is to attain enlightenment. If one has a strong determination in achieving so, he will be a field of merit (great person for people to conduct merit upon) and will be able to pass on Buddhism to the future. Such monkhood will bear merits for 64 eons (kalpas), preventing you from being reborn in the Hell realm for 64 eons. Your parents will receive half the merits, 32 eons (kalpas). For those who support or rejoice in the merit of a person being in the monkhood, they will receive different levels of merits for their parts as well. If they support/rejoice in the merits of many monks, the merit multiplies. The amount of merit also depends on the level of delight they have. This is the goal and fruition of monkhood in a nutshell.
24 July 2004
- 出家的目的和果报
出家的目的只有一个,就是究竟涅槃,无论出家多久都一样。出家是为了究竟涅槃,有这样的信念才能称之为福田,才是续佛慧命,才是出家真正的目的。
如此出家才能得到六十四劫的福报,也能关上地狱之门,将于六十四劫当中不堕落地狱。父母将获得一半的利益,也就是三十二劫的福报。来随喜功德的人也能得到一部份福报,如果出家人数众多,福报就乘以人数,功德的多寡在于个人法喜的程度。这就是出家的目的和果报的简况。
2004年7月24日
- ควรบวชแต่หนุ่ม
ชายแมน ๆ ควรรีบบวชตั้งแต่ยังหนุ่ม ไม่ใช่สึกแต่หนุ่ม เพราะร่างกายยังอยู่ในวัยแข็งแรง ความหนุ่ม จะทำให้เราสามารถศึกษาเรียนรู้ และบำเพ็ญสมณธรรมได้อย่างเต็มที่ เต็มกำลัง แต่ถ้าเฒ่าแล้วมันไม่ไหว มันได้เต็มที แต่ไม่ได้เต็มที่ ดังนั้น อย่ามัวประมาทชะล่าใจว่า เรายังหนุ่มแน่นอยู่ ยังมีเวลา อีกนานกว่าเราจะตาย นั่นเราคิดเอาเอง อย่าไปคิดอย่างนั้น เพราะความตายไม่มีนิมิตหมาย ไม่ได้บอกล่วงหน้า และเวลาในโลกนี้ก็เหลือน้อยลงไปทุกที ทั้งความแก่ ความตาย ก็คอยจ้องเล่นงานเราอยู่ตลอดเวลา ตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดาไล่เรื่อยมาจนกระทั่งมาถึง ณ วินาทีนี้ ความแก่ ความชรา ไม่ต้องหา ได้มาฟรี ๆ ไม่เหมือนการสร้างบารมีไม่ได้มาฟรี ๆเราต้องสร้างเอง ต้องลงทุน เพราะฉะนั้นบวชเถิดประเสริฐนัก
๑๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๕
- Men Should Become Monks at Young Age (When You Don’t Know What to Read 3)
Men should become monks when they are still young because they still have strong health, enabling them to learn and practice the Dhamma more effectively. At old age, you can still do these tasks but not as good as when you are still young. Hence, do not take it for granted that you are still young and have plenty of time left. Do not think like this. Death is indeed unforeseeable. As day goes by, we have less and less time left on this world. Aging and death has been constantly attacking us since the day we were in the mothers’ wombs. Aging comes for free, unlike the pursuit of perfections which we have to do for ourselves. Being a monk is a wonderful thing.
March 15, 2012
- 应该要年轻时就出家
男生应该年轻时就出家,而不是年轻就还俗。因为年轻时身体正值健壮的时期,可以很快地学习,可以尽力地去实践佛法,若年老了,想要竭尽所能也有限。所以不要放逸地以为我们还年轻,还有时间,离死亡还很遥远。这是自以为是的想法,不要这样认为,因为死亡没有预兆,也不会事先告知。
在世的时间正在一点一滴地流逝,自从于母胎中直到现在,老死无时无刻地在等着我们。衰老不必去寻找,自然地会到来,与修波罗蜜不同。波罗蜜无法不劳而获,我们必须亲自修。所以来出家吧,出家是很殊胜的!
2012年3月15日
- บวชชาติต่อชาติ
การบวชเป็นการสั่งสมบุญใหญ่ ให้กับตัวเราเองและบุคคลที่เรารัก เมื่อเราบวชแล้ว ก็ควรจะลืมเรื่องราวในอดีต ที่เราเคยทำผิดทำพลาดมาแล้วให้หมด เพราะช่วงเวลาที่ผ่านมา เราไม่เคยได้ศึกษาเรียนรู้เรื่องกฎแห่งกรรม ดังนั้นเมื่อเราได้มาเรียนรู้เรื่องกฎแห่งกรรมแล้ว เราก็ควรที่จะลืมเรื่องที่ไม่ดีให้หมดไปจากใจ จะได้ไม่ฟุ้ง ไม่กังวล แล้วก็เริ่มต้นชีวิตใหม่ ด้วยการสอนและเตือนตัวเองว่า เราจะไม่คิดหวนคืนกลับไปทำในสิ่งที่ไม่ดีเหล่านั้นอีก จากนั้นก็ให้ตั้งใจฝึกฝนอบรมตนเอง ด้วยการฝึกตน ทนหิว บำเพ็ญตบะ เป็นพระแท้ ซึ่งการฝึกฝนอบรมตนเองเช่นนี้ ถือเป็นการฝึกใจเพื่อสวนกระแสกิเลสที่ไหลเชี่ยวกรากอยู่ตลอดเวลา ซึ่งก็อาจจะทำให้เราไม่ได้รับความสะดวกสบาย เหมือนชีวิตตอนเราเป็นคฤหัสถ์ หรืออาจจะได้รับความยากลำบากบ้าง ก็ไม่เป็นไร แต่ยังดีกว่าที่เราจะต้องไปรับทุกข์ทรมานอย่างแสนสาหัส ในนรกอย่างยาวนาน ตกนรกเรายังทนกันได้ เพราะอยู่ตรงนั้นจำต้องทน มีความทุกข์ทรมานทุกอนุวินาทีเลย แล้วก็ทุกส่วนของร่างกาย ตายเกิด ๆ นับครั้งไม่ถ้วน เพราะฉะนั้นบวชชาติต่อชาติ ประเดี๋ยวเดียวเท่านั้น ไม่ลำบากอะไรเลย ถ้าหากเราตั้งใจสั่งสมบุญสร้างบารมีกันอย่างเต็มที่เต็มกำลัง ก็จะทำให้ชีวิตการสร้างบารมีของเรามีแต่ความราบรื่น รุ่งเรือง และมีปีติสุขหล่อเลี้ยงใจไปตราบวันสุดท้ายของชีวิตและผังชีวิตอันดีงามนี้ก็จะติดตามตัวเราไปทุกภพทุกชาติ ตราบกระทั่งถึงที่สุดแห่งธรรม
๑๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๕
- Being a Lifetime Monk (When You Don’t Know What to Read 3)
Living as a monk is a way to accumulate great merit for yourselves and your loved ones. As a monk, you should forget about past mistakes since you did not know the law of Karma at the time. Now, you have learned about the law of Karma, you should forget all the bad things so that your mind is free from distraction and worry. You should start a new life by teaching and reminding yourself that you will never look back and do those bad things again. Then, concentrate on self-cultivation by practicing ascetic life of a monk. This practice is a training for the mind to counter the raging currents of defilements. This may not be as comfortable as your previous living style as a layman. Some may experience a certain level of hardship. That’s fine. It’s better than having to suffer so badly in hell for a long time. While in hell, one has to endure it because there is no escape. There is suffering every second for every part of the body. After one dies, one is resurrected repeatedly countless times. Therefore, being a lifetime monk is in fact a short period of time and there is no hardship at all. If you are strongly determined to accumulate merit in the pursuit of perfection with your best effort, your pursuit of perfection will be smooth, progressive, and joyful until the last day of your life and this good roadmap will be with you in every future life until the Uttermost of Dhamma.
March 15, 2012
- 生生世世出家
出家是为自己和自己所爱的人修大功德,出家之后要忘了过去所犯的错——那些在我们还未了解因果之前做错的事情。所以当我们学习了因果之后,要忘了那些还放在心中的不善的回忆,才不会去意念去担心,才能开始新的人生。教导并提醒自己,不再去回顾以前所造作的恶,从此以后专心地训练自已,以忍受饥饿、修苦行来成为真正的僧伽。
如此修行,是在练习如何快速地战胜烦恼。虽然生活不便、不轻松,但就像是身为一家之主,生活虽有些辛苦也无所谓,总比去承受痛苦要好。到了地狱就必须承受地狱的折磨,因为别无选择。每分每秒都是痛苦,全身都遭受折磨,生了又死,死了又生,次数无法计算。
所以,生生世世出家吧。生命稍纵即逝,若我们竭尽所能地修功德波罗蜜,将使我们的波罗蜜繁茂昌盛,拥有幸福直到生命的尽头。美好的人生蓝图将跟随我们到生生世世,直到法的究竟。
2012年3月15日
- สุขในชีวิตสมณะ
ชีวิตสมณะ ถ้าใช้ชีวิตด้วยการหยุดกับนิ่ง คือทำอย่างที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านสอน ให้ระวังรักษาจิตดวงเดียว ไม่ต้องไปคิดเรื่องคน สัตว์ สิ่งของ เอาใจหยุดนิ่ง ๆ สบาย ๆ ภายใน มันมีความสุขนะแล้วมีเรื่องที่น่าศึกษา ทุกขั้นตอนที่ผ่านไปมันมีความสุข มีทั้งความรู้ มีทั้งความสุข ใจก็เบิกบานอย่างบอกไม่ถูก เหมือนเอาปิ่นโตที่ใส่อาหารมา เราเปิดฝาชั้นแรกว่าอร่อยแล้ว พอยกไปชั้นที่ ๒ อร่อยกว่านั้นเข้าไปอีก ชั้น ๓ ชั้น ๔ ชั้น ๕ เป็นเถา ๆ ยาวเหยียดไปเลย วันนี้หยุดได้แค่นี้ว่าอร่อยแล้ว หยุดหนักเข้าไปอีก หยุดในหยุด อร่อยกว่าเดิมเข้าไปอีกเรื่อย ๆ เลย
๑๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๖
- Happiness in a Monk’s Life (When You Don’t Know What to Read 3)
To follow the Lord Buddha’s teachings, you should keep your mind still and not think about people, animals, or things. Just keep the mind still and relaxed inside. It is joyful in doing so. There is something interesting to learn. Happiness comes in every step that you go through. You will attain both knowledge and unexplainable happiness. It’s like eating food from a pile of dishes. The first dish is already delicious. But next ones are more and more delicious. At present, you may experience joyfulness from a still mind. As your mind becomes more and more still, you will attain more and more joyfulness.
17 May 2003
- 出家人的幸福
出家的生活是清净自在的,以佛陀的教法如法实修,只专注于护持心,不必去想人事、财产和物品,得到内在的平静自在是很幸福的事。
值得注意的是,如法实修的每个阶段,都充满难以言喻的智慧与幸福。像是拿一份便当盒来,打开第一层已经觉得很好吃了,吃第二层时竟然更加美味,第三、四、五层也如是惊喜。今天静定到如此程度已经感到很法喜了,静定之后还能再深入,静中之静,法喜的感觉将一层层地不断增加。
2003年5月17日
- อย่าหาว่าพระขี้เกียจ
บวชเป็นพระ มีความสุขนะ แต่ต้องเข้าใจงานของพระ โยมก็ต้องเข้าใจงานของพระด้วย แต่เดิมพระท่านก็เป็นคฤหัสถ์ มีชีวิตเหมือนชาวโลกทั่วไปที่ต้องทำมาหากิน แต่เพราะเห็นภัยในวัฏสงสารจึงออกบวช เห็นว่าชีวิตครอบครัวมันอึดอัด คับแคบ มีแต่เรื่องกังวลวุ่นวายมีแต่ปัญหา ก็เลยปลีกตัวมาออกบวช แล้วก็มาเรียนรู้เรื่องของพระ มาทำงานแบบพระ ศึกษาฝึกฝนธรรมะ แล้วก็นำไปสั่งสอนเพราะฉะนั้น จะไปหาว่าพระขี้เกียจ เอาเปรียบสังคม ไม่ถูกนะ ก็ท่านเป็นพระ ก็ต้องทำกิจของพระ จะให้ไปทำอย่างฆราวาสไม่ได้ ชาติหนึ่งคนหนึ่ง ทำได้อย่างเดียว ถ้าคฤหัสถ์ก็ต้องทำมาหากิน จะให้มาศึกษาธรรมะถึงขั้นละเอียดลึกซึ้ง มันยาก เพราะฉะนั้นก็ต้องให้โอกาสกับผู้ที่เห็นภัยในวัฏสงสาร หมดความจำเป็นที่จะใช้ชีวิตในเพศคฤหัสถ์ออกบวช เราก็สนับสนุนท่าน ให้ท่านได้ทำความเพียร ท่านก็จะได้เรียนรู้ศึกษาธรรมะให้ละเอียดลึกซึ้ง แล้วก็นำมาถ่ายทอดให้ความรู้แก่ญาติโยม โยมทำงานมาเหนื่อย ๆ ก็จะได้ฟังธรรมจากท่าน พระฝากท้องเอาไว้กับโยม โยมก็ฝากเรื่องจิตใจเอาไว้กับพระ พระฝากกาย โยมฝากใจ ต่างก็เกื้อกูลกัน เพราะฉะนั้นอย่ามองว่า พระขี้เกียจ เอาเปรียบสังคม แต่ท่านทำประโยชน์ให้สังคม โดยทำหน้าที่เป็นครูสอนศีลธรรม เป็นแบบอย่างที่ดีของคนดีที่โลกต้องการและโลกไม่เคยเห็นด้วย และเป็นแหล่งแห่งความรู้ที่สอนเรื่องราวความเป็นจริงของชีวิต เป็นแหล่งแห่งเนื้อนาบุญ ต้องแบ่งหน้าที่กันทำ
เพราะฉะนั้น ใครมองแคบ ๆ ตื้น ๆ ว่า พระเอาเปรียบสังคม เลิกคิดนะ มองใหม่ พระเป็นพระก็ต้องทำแบบพระ โยมเป็นโยมก็ต้องทำแบบโยม และพระเป็นครูสอนศีลธรรมที่ถูกที่สุด ปีหนึ่งมีผ้าแค่ ๓ ผืน เปลี่ยนปีละชุด อาหารวันละมื้อ บางแห่ง ๒ มื้อแค่นั้น
๑๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๖
- Don’t Think That Monks Are Lazy (When You Don’t Know What to Read)
Living as a monk is joyful. However, laymen have to understand a monk’s life. Each monk was a layman who had to make a living like others but he saw the danger in the cycle of rebirths, viewed that family life is uncomfortable, full of worries, chaos, and problems, and decided to be ordained. He has to learn everything about being a monk and work like a monk by studying and practicing the Dhamma and teaching the Dhamma to the public. Therefore, it is not right to say that monks are lazy and take advantage of others.
As a monk, one has to do the work of a monk. He cannot work like a layman. A person can only do job. As a layman, one has to make a living. It is then difficult for him to study the Dhamma to a profound level. Thus, we should give an opportunity to a person who sees the danger in the cycle of rebirths by supporting him to practice the monk’s life, learn the Dhamma thoroughly, and then transfer the knowledge to laypeople. On the other hand, laypeople who get tired from work can listen to the Dharma from monks. As monks rely on laypeople for food, laypeople rely on monks for mind development. Both support one another. Therefore, do not think that monks are lazy and take advantage of others. They do benefits for the society as they are moral teachers and role models that the world needs but has never seen. They are great resources for teaching the truth of life and they are persons whom we should conduct merit upon. Therefore, anyone who has a narrow view that monks take advantage of others, you must think again. As monks, they do monks’ work. As laypeople, people do their work. Monks are the least expensive moral teachers. They wear only three pieces of cloth, receive a new set of cloth only once a year, and eat 1-2 meals a day.
17 May 2003
- 不要认为出家人懒惰
出家为僧是幸福的,但是要知道出家人的职责,在家居士也要了解。
在过去,佛陀也曾是居士,过着一般人的生活,要赚钱谋生,是因为见到生老病死的苦,所以决定出家;也是认为在家的生活充满压抑、限制、担忧、吵吵闹闹和各种问题,才决意出家。出家之后,出家人要学习佛法,做出家人的工作,要如法实修,然后对世人宣讲佛法。所以,认为出家人懒惰,并认为出家人浪费社会资源,是错误的。
身为出家人就要行佛事,不能以世俗的标准来衡量出家人。一个人的一生只能专注于一件事,居士要赚钱谋生,如果又要证入深层的佛法,是很难的。因此要让参透生老病死的人,能够了断俗世的牵挂,前来受戒为僧。我们要支持他,让他能够勤勉修行,他将学习并深入佛法,然后分享佛法予世人。居士工作得很辛苦,然后来听闻佛法。居士护持师父的生活起居,师父照顾居士的心 。师父身体力行,居士诚心护持,彼此互相支持。
所以,不要认为出家人懒惰,浪费社会资源。出家人对社会的帮助是教导佛法。佛法难闻,是世上所有善士渴望的知识,是生命的真相。出家人是人间福田,有着与俗世中人不同的职责。不要肤浅地认为出家人浪费社会资源,放弃这样的想法吧!因为出家人也有出家人的职责,身为居士也有居士的职责。出家人教导正法,一年只有三块布,一年才换一次,一天也只吃一两餐而已。
2003年5月17日
- ธรรมทายาทผู้เป็นแรงบันดาลใจ
การบวช นอกจากจะเป็นทางมาแห่งบุญและเป็นการสืบทอดอายุพระศาสนาแล้ว ยังเป็นกำลังใจให้กับพุทธบุตรผู้ที่ตั้งใจบวชอุทิศชีวิต ให้กับพระพุทธศาสนาอีกด้วย ถ้าหากว่ามีการบวชกันทุก ๆ วัด หลวงปู่ หลวงตา หลวงพ่อ หลวงลุง หลวงน้าทั้งหลาย ท่านก็จะหลับตาลาโลกนี้ไปอย่างสบายใจ เพราะว่ามีผู้ที่จะรับภารกิจอันยิ่งใหญ่ สืบทอดคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ให้เป็นประโยชน์ต่อตนเองและต่อมวลมนุษยชาติแล้ว ยังเป็นแรงบันดาลใจให้แก่พุทธบุตรวัดต่าง ๆ ทั่วสังฆมณฑล ซึ่งตอนนี้เริ่มเกิดความรู้สึกที่ดี ที่มีเป้าหมายเบี่ยงเบนก็เริ่มหันกลับมาสู่ทิศทางที่ถูกต้อง คือบวชอย่างมีเป้าหมายตามแบบอย่างพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
และพระอริยสาวกทั้งหลาย คือ บวชเพื่อทำพระนิพพานให้แจ้ง อย่างน้อยก็แสวงบุญ สร้างบารมี บำเพ็ญเนกขัมมบารมี และบารมีอย่างอื่น ๆ ให้ครบถ้วนบริบูรณ์ วัดที่ค่อย ๆ ทยอยกันร้าง ก็จะค่อย ๆ ทยอยกันรุ่ง และอีกหน่อย ทุก ๆ วัดก็จะเต็มไปด้วยพุทธบุตร ที่บวชอย่างมีเป้าหมายศาสนทายาทก็จะค่อย ๆ ทยอย ๆ มาบวช
๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๗
- Dharmadayada Who Inspires (When You Don’t Know What to Read 3)
Besides being a way to accumulate merit and passing on teachings of the Lord Buddha for future generations, ordination of new monks also provide encouragement to current monks who have devoted their lives to Buddhism. If there is ordination of new monks in every temple, older monks will be able to rest in peace when the time comes as new monks can carry great missions of passing on the teachings of the Lord Buddha for the benefits of themselves and mankind. Such ordination will also inspire monks at various temples throughout the country who now start to feel good and turn into the right direction and goal, following the footsteps of the Lord Buddha and the enlightened disciples, which is to attain enlightenment or at least to accumulate merit in the pursuit of perfections. As such, an increasing number of abandoned temples will turn around to an increasing number of active temples. In no time, every temple will be filled with monks who have a clear goal of ordination as more people are gradually ordained.
2 June 2004
- 佛法薪传者是给予鼓舞的力量
出家,除了修功德和续佛慧命之外,也会对佛教和为佛教奉献一生的佛子给予鼓舞。如果每所寺院都有新人来出家,祖师、师伯、师叔、师父等等就可以安详地圆寂,因为伟大的使命有人接棒。出家是为了弘扬佛陀的法,使自己受益也让全人类受益;同时也是对其他寺院和僧团的鼓舞,造就正面的影响。
若出家的目标出现偏差,就要调整并回到正轨。出家的目标要和佛陀与佛陀的圣声闻弟子一样——出家是为了究竟涅槃。至少也是为了修功德波罗蜜,修出离波罗蜜或圆满各项波罗蜜。这样,渐渐衰退的寺院将渐渐复苏,接下来所有寺院将充满僧人。因为出家的目标明确,佛法薪传者将陆陆续续地来出家。
2004年6月2日
- ที่ตั้งแห่งศรัทธา
ญาติโยมยังมีความเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนาอยู่มาก เขายังมีความศรัทธาเหมือนเดิม แต่ไม่ค่อยมีโอกาสนำศรัทธามาใช้ เพราะว่ายังไม่เห็นว่าจะเอาไปตั้งไว้ตรงไหน คล้าย ๆ ในมือมีธูปอยู่แล้ว แต่ขาดกระถางธูป เพราะฉะนั้นต้องการพุทธบุตรผู้เป็นเนื้อนาบุญ เป็นกระถางธูปเพื่อจุดบูชา
๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕
- Being a Person for Laypeople to Have Faith in (When You Don’t Know What to Read 3)
Laypeople still have a lot of faith in Buddhism. They still have the same faith but rarely have the opportunity to show their faith because they don’t know where to do so. It is like a person holding joss stick in his hands but there is no incense pot to put into. Therefore, there is a need for monks to be a field of merit (great person for people to conduct merit upon), like an incense pot for joss stick.
February 2, 2012
- 信仰之目标
在泰国,大多数的人是佛教徒。他们依旧信仰佛教,但是不知道如何表达信仰心,因为不知道该在哪里表达。就像是手持香,却缺了香炉。所以,需要僧团作为福田,如同香炉一样,供人礼敬。
2012年2月2日
15.เนื้อนาบุญ
เราจะเป็น “เนื้อนาบุญ” ได้ ต้องรู้จักตัวเองก่อน โดยเอาตัวเราเองค้นเข้าไปในตัวเอง ให้เจอตัวของตัวเองภายใน แล้วตัวเองก็จะรู้จักตัวเอง ตัวเองมีสองระดับ คือ ตัวเองระดับที่เกือบจะเป็นตัวเองที่แท้จริง
ตั้งแต่กายมนุษย์ละเอียดที่เหมือนตัวของเราอย่างนี้ แล้วดูการเปลี่ยนแปลงของตัวเองเข้าไปเรื่อย ๆ
จนกระทั่งไปถึงตัวเองที่แท้จริง คือ พระธรรมกายภายใน
๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕
- Field of Merit (When You Don’t Know What to Read 3)
In order to be a field of merit (great person for people to conduct merit upon), we must know ourselves first. This can be achieved by searching into ourselves until finding our inner selves. There are two levels of self: the level that is almost the true self starting from the refined inner human body that looks like our own physical body onwards and the level of true self, which is the Dhammakaya inside.
February 2, 2012
- 福田
成为福田之前,要先有这样的自我认知:出家人要自我探索,要了解内在的自我,就能更认识自己。
自我有两种程度,首先是“接近真实的自我”,自细人身慢慢地转变深入,到最后才是“真实的自我”,也就是内在的法身。
2012年2月2日