อดีตชาติของพระมหากัปปินะ
ในอดีตกาล มีหมู่บ้านช่างหูกหรือช่างทอผ้าแห่งหนึ่งอยู่ไม่ไกลจากกรุงพาราณสี ครั้งหนึ่ง มีพระปัจจเจกพุทธเจ้าประมาณ 1,000 รูป จาริกมาที่หมู่บ้านแห่งนั้นเพื่อหาที่จำพรรษาในช่วงฤดูฝน
วันนั้น ภรรยาของหัวหน้าช่างหูกไปกรุงพาราณสีด้วยกิจบางอย่าง เห็นพระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้น จึงนมัสการแล้วนิมนต์ว่า “ท่านผู้เจริญ ขอท่านทั้งหลายจงรับภัตตาหารของดิฉันในวันพรุ่งนี้”
พระปัจเจกพุทธเจ้ากล่าวว่า น้องหญิง พวกเรามีมาก. หญิงนั้นถามว่า มีประมาณเท่าไร เจ้าข้า. พระปัจเจกพุทธเจ้ากล่าวว่า มีประมาณ 1,000 รูป น้องหญิง. หญิงนั้นกล่าวว่า “ท่านผู้เจริญ พวกดิฉันมีประมาณพันครอบครัวอยู่ในหมู่บ้านนี้ ครอบครัวหนึ่งๆ จะถวายภัตตาหารแก่พระผู้เป็นเจ้ารูปหนึ่งๆ ขอท่านทั้งหลาย จงรับภัตตาหารเถิด พวกดิฉันจักทำแม้ที่อยู่แก่ท่านทั้งหลาย” พระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้นจึงรับนิมนต์
ภรรยาของหัวหน้าช่างหูกนั้นจึงไปป่าวร้องว่า “เราเห็นพระปัจเจกพุทธเจ้าประมาณ 1,000 รูป นิมนต์ไว้แล้วท่านทั้งหลายจงจัดแจงที่ฉัน จงจัดเตรียมอาหารข้าวต้มและข้าวสวย เป็นต้น แด่พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายเถิด” แล้วช่วยกันสร้างปะรำขึ้นท่ามกลางหมู่บ้าน
วันรุ่งขึ้นก็นิมนต์พระปัจเจกพุทธเจ้า 1,000 รูป ให้ฉันภัตตาหารอันประณีต ในเวลาเสร็จภัตกิจ ภรรยาของหัวหน้าช่างหูกพาหญิงทั้งหมดในหมู่บ้านนั้นไปอาราธนาพระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้นให้อยู่จำพรรษาในหมู่บ้านตลอดไตรมาสคือ 3 เดือน แล้วป่าวร้องว่า “แม่และพ่อทั้งหลาย บุรุษคนหนึ่งๆ จากครอบครัวหนึ่งๆ จงนำเครื่องมือคือมีดเป็นต้นแล้วเข้าสู่ป่าตัดต้นไม้เอามาสร้างกุฏิถวายพระผู้เป็นเจ้าทั้งหลาย”
พวกชาวบ้านก็ช่วยกันทำอย่างตั้งใจ บุรุษคนหนึ่งๆ ทำกุฏิหลังหนึ่งๆ มุงด้วยใบไม้ รวมทั้งหมด 1,000 หลัง แล้วอุปัฏฐากพระปัจเจกพุทธเจ้าผู้เข้าจำพรรษาในกุฏิที่ตนสร้างด้วยตั้งใจว่า “เราจักอุปัฏฐากโดยเคารพ เราจักอุปัฏฐากโดยเคารพ”
ในวันออกพรรษา ภรรยาของหัวหน้าช่างหูกชักชวนว่า “ท่านทั้งหลายจงตระเตรียมผ้าจีวรเพื่อถวายแด่พระปัจเจกพุทธเจ้าผู้อยู่จำพรรษาในกุฏิของตนๆเถิด” แล้วได้ถวายจีวร ราคา 1,000 /ผืน แด่พระปัจเจกพุทธเจ้าองค์หนึ่งๆ พระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้นรับจีวรและให้พรแล้วก็จากไป
หลังจากชาวบ้านเหล่านั้นละโลกแล้วได้ไปเกิดบนสวรรค์ มีชื่อกลุ่มว่า “คณะเทวบุตร” ต่อมาได้จุติลงมาสร้างบุญด้วยกันอีกในสมัยพระกัสสปพุทธเจ้าและสมัยพระสมณโคดมพุทธเจ้า โดยหัวหน้าช่างหูกในชาตินั้นได้มาเกิดในราชตระกูล ในกุกกุฏวดีนคร ต่อมาได้เป็นพระราชาพระนามว่า พระเจ้ามหากัปปินะ เพราะบุญที่ได้ทำกับพระปัจเจกพุทธเจ้าและพระกัสสปพุทธเจ้า เป็นต้น
ส่วนภรรยาของหัวหน้าช่างหูกได้เกิดในราชตระกูลในสาคลนคร แคว้นมัททรัฐ พระนางมีพระสรีระดุจสีดอกอังกาบ พระญาติจึงขนานพระนามว่า “อโนชา” เมื่อทรงเจริญวัยแล้วก็ได้เป็นพระมเหสีของพระเจ้ากัปปินะ ทรงพระนามว่า “อโนชาเทวี” เพราะบุพเพสันนิวาส ส่วนชาวบ้านหญิงและชายในหมู่บ้านช่างหูกได้มาเกิดในตระกูลอำมาตย์ ชาย 1,000 คน และหญิง 1,000 คน หญิงชายเหล่านั้นได้พบรักและแต่งงานกันตามคู่ครองเดิมด้วยบุพเพสันนิวาสเช่นกัน
เมื่อพระเจ้ามหากัปปินะและพระนางอโนชาเทวีสละราชสมบัติออกบวช ครอบครัวอำมาตย์ทั้ง 1,000 ครอบครัวที่ได้สร้างบุญมาด้วยกันก็ออกบวชตามและได้บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ทั้งหมด
ข้อคิด และแหล่งอ้างอิง
จากเรื่องนี้จะเห็นว่า ชาวบ้านหญิงชาย 1,000 ครอบครัวนี้ได้สร้างบุญร่วมกัน ละโลกแล้วไปอยู่บนสวรรค์ก็ได้อยู่ร่วมกัน เรียกว่า “คณะเทวบุตร”
เมื่อจุติลงมาเกิดก็จุติพร้อมกันและได้สร้างบุญต่อด้วยกันอีกในสมัยพระกัสสปพุทธเจ้าและสมัยพระสมณโคดมพุทธเจ้า ในที่สุดก็ได้บรรลุธรรมหลุดพ้นเป็นพระอรหันต์ไปด้วยกันทุกคน
ดังนั้น เมื่อมีใครมาแจ้งข่าวบุญอะไร ก็ให้รีบทำบุญและร่วมสร้างบุญกับเขาเถิด แล้วเราจะได้ไปเกิดสุคติและได้ร่วมสร้างบุญด้วยกันอีกในภพชาติต่างๆจนบารมีเต็มเปี่ยม ได้หลุดพ้นเป็นพระอรหันต์ไปด้วยกัน
大迦宾那尊者过去世的因缘
很久以前,在波罗奈城(现称“瓦拉纳西”)附近有一个织布匠村庄。某次,大约有1000位辟支佛游行到该村庄,希望找到一个地方度过雨季安居。
那一天,织布匠村的领袖夫人因事来到波罗奈城,看到这些辟支佛后,便向他们顶礼,并发出邀请:“尊者们,明日请接受我的供养。”
辟支佛回答道:“善女人,我们人数众多。”
夫人问:“尊者们,大约有多少位呢?”
辟支佛答道:“大约有1000位。”
夫人说道:“尊者们,我们村有大约1000户家庭,每户都愿意供养一位辟支佛,请尊者们接受我们的供养吧,我们还会为你们提供住处。”
辟支佛们接受了邀请。
织布匠领袖的夫人便回到村中召集村民,宣布道:“我遇到了大约1000位辟支佛,并已邀请他们。请各位准备用餐的地方,并准备供养的食物,包括粥饭和其他佳肴”于是村民们齐心协力,在村庄中央建起了棚屋。
次日,1000位辟支佛接受了精美的供养。用餐完毕后,织布匠领袖的夫人带领村中所有妇女邀请辟支佛们在村中安居雨季三个月,并呼吁村民:“每户出一名男子,带着工具入林伐木,为辟支佛们建造住所。”
村民们非常用心,每人建造了一间茅屋,共计1000间,并虔诚地照顾在自己建造的小屋里安居的辟支佛,想着:”我们要恭敬地侍奉辟支佛们。”
在雨季结束时,夫人召集村民说:“请大家准备袈裟,供养在自己建造的小屋里安居的辟支佛吧。”之后,他们为每位辟支佛供养了一件价值千金的袈裟。辟支佛们接受供养并赐福后离开。
这些村民在去世后,因功德而转生于天界,被称为“天子团体”。后来,他们再度投生人间,在迦叶佛和释迦牟尼佛时期继续共同行善修福。织布匠领袖投生为古固城的皇族,成为“ 大迦宾那王”。由于他过去对辟支佛和迦叶佛修的功德,他得以享受尊荣。
织布匠领袖的妻子转生为摩陀国沙竭罗城的王族,因肤色如红莲花,被命名为“阿诺迦”。成年后,她嫁给大迦宾那王,成为“阿诺迦王后”。而织布匠村中的其他男女村民,也因因缘的牵引,分别转生为贵族,组成1000对夫妻。
当大迦宾那王和阿诺迦王后舍弃王位出家时,那1000对夫妻也一同出家,最终全部证得阿罗汉果。
启示与参考: 这段故事显示了1000户村民共同积累福德,死后转生天界为天子团体,再投生时在迦叶佛和释迦牟尼佛时期继续行善,最终共同证得阿罗汉果。因此,当有人通知我们有修功德的机会时,应抓住机会参与,未来不仅能共赴善道,还能生生世世一同行善,直至圆满功德,证得阿罗汉。
The Past Lives of Maha Kappina
In ancient times, there was a village of weavers not far from the city of Benares. Once, about 1,000 Pacceka Buddhas arrived at the village while wandering in search of a place to spend the rainy season.
On that day, the wife of the head weaver went to Benares for some business. Seeing those Pacceka Buddhas, she paid homage and invited them, saying, “Venerable sirs, please accept my offering of food tomorrow.”
The Paccekabuddhas replied, “Lady, we are many.” She asked, “How many are you, Venerable Sirs?” They answered, “Approximately 1,000 monks, Lady.” The woman said, “Venerable sirs, we have about a thousand families in this village. Each family will offer food to one of the venerable ones. Please accept our offering. We will also prepare dwellings for you all.” The Pacceka Buddhas then accepted the invitation.
The wife of the head weaver then went and announced, “I have seen and invited about 1,000 Pacceka Buddhas. Let us prepare places for meals and prepare foods like rice gruel and cooked rice for the venerable ones.” Then the villagers worked together to set up a pavilion in the middle of the village.
The next day, they invited the 1,000 Paccekabuddhas and offered them exquisite food. After the meal, the wife of the village headman, along with the women of the village, invited the Paccekabuddhas to stay in the village for the three-month rainy season. She then announced, “Everyone, each family should bring tools, such as knives, to cut wood from the forest and build a hut for the revered ones.”
The villagers helped each other earnestly. Each man built one hut, thatched with leaves, totaling 1,000 huts. They then attended to the Pacceka Buddhas who entered the rainy season retreat in the huts they built, thinking, “We will attend to them with respect, we will attend to them with respect.”
At the end of the rainy season, the wife of the head weaver encouraged the villagers, “All of you, please prepare robes to offer to the Pacceka Buddhas who stayed in your respective huts.” Then they offered robes, each worth 1,000 (units of currency), to each of the Pacceka Buddhas. The Pacceka Buddhas accepted the robes, gave blessings, and then left.
After the villagers passed away, they were reborn in heaven as a group known as the “Deva Assembly.” Later, they were reborn together again and made merit during the times of Kassapa Buddha and Gautama Buddha. The head weaver in that life was reborn in the royal family in Kukkuṭavatī City and later became a king named Maha Kappina, due to the merits made with the Pacceka Buddhas, Kassapa Buddha, and so on.
The wife of the head weaver was reborn in the royal family in Sāketa City, Madda Country. Her body was the color of the Aṅkola flower, so her relatives named her “Anojā”. When she grew up, she became the chief queen of King Kappina, known as “Queen Anojā”, due to their past connection. The 1,000 men and women from the weaver village were reborn in noble families, and they found their respective spouses from past lives and married due to the same karmic bond.
When King Mahākappina and Queen Anojā renounced their royal status to ordain, the 1,000 noble families who had made merit together followed suit, ordaining and ultimately attaining Arahantship.
Conclusion and Reference
From this story, we see that the 1,000 families who made merit together in their past lives continued to stay together in heaven as the “Deva Assembly.” When they were reborn, they continued to make merit together during the time of Kassapa Buddha and Gotama Buddha. Ultimately, they all attained enlightenment and became Arahants.
Therefore, when someone informs us about an opportunity to make merit, we should promptly engage in meritorious deeds and join them in creating good karma. By doing so, we will be reborn in fortunate realms and have the opportunity to make merit together again in various lives until our spiritual perfections are complete, allowing us to attain enlightenment and become arahants together.