อุบาสก 5 คน
ครั้งหนึ่งในสมัยพุทธกาล พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงธรรม มีอุบาสกอยู่ ๕ ท่านมาฟังธรรม พระอานนท์สังเกตว่าขณะถวายงานพัดอยู่ใกล้กับพระพุทธเจ้า
เมื่อพระบรมศาสดาแสดงธรรม อุบาสกคนหนึ่งนั่งหลับ คนที่สองเอามือเขย่าต้นไม้ คนที่สามเอาน้ำเขี่ยไชดิน คนที่สี่แหงนหน้าดูดวงดาวบนท้องฟ้า มีแต่คนที่ห้าที่ตั้งใจฟังธรรม ที่สุดแห่งพระธรรมเทศนามีอุบาสกคนที่ห้าเท่านั้นที่มีดวงตาเห็นธรรม นอกนั้นไม่ได้บรรลุธรรมใด ๆ
หลังจากคนทั้งห้ากลับไปแล้ว พระอานนท์ทูลถามพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า “การแสดงธรรมของพระองค์นั้น ไพเราะในเบื้องต้นท่ามกลางและเบื้องปลาย แต่ธรรมะของพระองค์นั้นไม่สามารถเข้าไปในใจของอุบาสกทั้ง ๕ ท่านได้ มีแต่อุบาสกคนที่ ๕ ตั้งใจฟังธรรม”
พระองค์จึงตรัสตอบว่า “อุบาสกที่นั่งหลับอดีต เคยเกิดเป็นงูมาหลายร้อยชาติ งูมีธรรมชาติก็คือเมื่อกินอิ่มแล้วมันง่วง ไปไหนไม่ไหว เพราะว่าอาหารที่อยู่ในท้องมันมันหนัก อิ่มแล้วก็นอน นิสัยของความเป็นงูยังติดตามมาแม้เกิดเป็นมนุษย์
ส่วนคนที่สองนั้นที่เขย่าต้นไม้เพราะในอดีตเกิดเป็นลิงมาหลายร้อยชาติธรรมชาติของลิงต้องอยู่กับต้นไม้เป็นธรรมดา แล้วการเขย่าต้นไม้ก็เป็นนิสัยของลิงที่ติดตัวมาแม้เกิดเป็นคนแล้ว
ส่วนคนที่สามนั้นฟังธรรมก็เอาน้ำเขี่ยดินไปใช้ดินไปเรื่อย พระองค์ก็ตรัสว่าอุบาสกคนที่สามนี้ในอดีตเคยเกิดเป็นไส้เดือนมาหลายร้อยชาติ ไส้เดือนก็ใช้ชอนดินไปเรื่อย เมื่อเกิดมาเป็นมนุษย์แล้ว อัธยาศัยของความเป็นไส้เดือนก็ยังติดตาม
ส่วนคนที่สี่ที่แหงนหน้ามองดูท้องฟ้าเพราะในอดีตเคยเป็นหมอดูฤกษ์ยามทำนายทายทักโดยอาศัยดวงดาวบนท้องฟ้ามาหลายร้อยชาติ นิสัยเดิม ๆ จากการเป็นหมอดูก็ติดตามในชาตินี้
ส่วนคนสุดท้ายที่มีดวงตาเห็นธรรมนั้น ในอดีตเคยเกิดเป็นพราหมณ์มีการศึกษา ศึกษาจบไตรเพทมาหลายร้อยชาติ มีนิสัยรักการศึกษา ซึ่งนิสัยนี้ติดตัวมาทำให้ตั้งใจฟังธรรมจนได้บรรลุธรรม
五位优婆塞
在佛陀时代,有一次佛陀在说法时,有五位优婆塞前来听法。阿难尊者在为佛陀扇扇子时注意到:
当世尊说法时,第一位优婆塞在打瞌睡,第二位在摇树枝,第三位在用水划地,第四位抬头看天上的星星,只有第五位专心听法。在法会结束时,只有第五位优婆塞开悟见法,其他人都没有任何领悟。
五人离开后,阿难尊者向佛陀请教说:”世尊说法的声音始终优美动听,但为何法义却无法进入这五位优婆塞的心中,只有第五位专心听讲?”
佛陀回答道:“第一位优婆塞听法时打瞌睡,是因为他在过去世中曾转生为蛇,经历了数百世。蛇的天性是吃饱后便感到昏昏欲睡,无法行动。这样的习性虽已转生为人,仍随业而来,影响着他的行为。
第二位优婆塞摇动树木,是因为他在过去世中曾转生为猴子,经历了数百世。猴子的本性是与树木为伴,喜欢摇动树木,这样的习性也延续到了这一世。
第三位优婆塞用水搅拌泥土,是因为他在过去世中曾转生为蚯蚓,经历了数百世。蚯蚓的天性是不断地在土中钻行,这种习性延续到了他转生为人之后。
第四位优婆塞仰望天空看星星,是因为他在过去世中曾转生为占星师,经历了数百世。他以观测星象推算吉凶为业,这种习性也延续到了今生。
至于第五位优婆塞,能够见法开悟,证得法眼清净,是因为他在过去世中多次转生为博学的婆罗门,熟读三吠陀,热爱学习的习性深深植入他的心田。因此,他能够专心听法,最终证得法眼。”
这个故事告诉我们,我们今生的习性往往源于前世的积累,而且能否领悟佛法,除了当下的因缘,还与过去生中的善根福德有关。
The Five Upasakas (Buddhist Laymen)
Once during the Buddha’s time, while the Buddha was giving a Dharma talk, five upasakas came to listen. Venerable Ananda, while fanning the Buddha, observed that:
When the Blessed One was teaching, one upasaka was sleeping, the second was shaking tree branches, the third was drawing in the dirt with water, the fourth was looking up at the stars in the sky, and only the fifth was attentively listening to the Dharma. At the end of the sermon, only the fifth upasaka attained enlightenment, while the others gained no realization.
After the five had left, Venerable Ananda asked the Buddha, “Your teaching is beautiful in the beginning, in the middle, and in the end, but why couldn’t the Dharma enter the hearts of all five upasakas, with only the fifth devotee truly listening with intent?”
The Buddha replied, “The upasaka who fell asleep had been born as a snake for hundreds of lifetimes. The nature of a snake is to feel drowsy and immobile after eating due to the heaviness of its food. This habit from being a snake still lingered even after being born as a human.
The second one who shook the tree branches was born as a monkey for hundreds of lives. The monkey’s natural behavior is to live among trees and shake them, a trait that persisted even in his human existence.
The third one who drew in the dirt with water, the Buddha said, had been an earthworm for hundreds of lives. The earthworm’s nature is to burrow constantly in the soil. This tendency remained ingrained even after being reborn as a human.
The fourth one who looked up at the sky had been an astrologer for hundreds of lives, making predictions by observing the stars in the sky. The old habits of being an astrologer followed him into this life.
The last upasaka who attained enlightenment had been a learned Brahmin for hundreds of lives, mastering the Three Vedas and loving education. This habit followed him into this life, enabling him to listen attentively to the Dharma until achieving enlightenment.”
This story teaches us that our current habits often stem from our past lives’ accumulations, and whether we can realize the Dharma depends not only on present conditions but also on the merit and virtuous roots developed in our past lives.