การสวดสรรเสริญคุณพระรัตนตรัย
念诵赞颂三宝的恩德
พระมหาธรรมสถิต ธมฺมธิโต
ในวันนี้เรามาพูดคุยถึงเรื่องกิจวัตรที่เราจะต้องทำเป็นประจำของช่วงการอบรมกัน สิ่งที่เราทำเป็นประจำ จนคุ้นชิน บางทีเราอาจจะลืมไปว่า เราทำไปทำไม ทำแล้วเกิดประโยชน์หรือบุญกุศลอย่างไร เราทำไปเพราะว่าหมู่คณะเขาทำกัน เราจึงต้องทำเพียงเท่านั้นหรือ
我们今天要讲在培训期间每天必行之事。我们需要经常做,直至养成习惯。有时我们可能会忘记为什么要做,以及做之后带来什么利益或功德。我们之所以要做,是因为团体里每个人都在做,我们也应该要做到。
ถ้าเรารู้ซึ้งถึงสิ่งที่เราทำว่า คืออะไร มีประโยชน์อย่างไร เราจะทำสิ่งเหล่านั้นด้วยความเข้าใจ เต็มใจ และก็มีความสุข ซึ่งย่อมเป็นทางมาแห่งศรัทธา ปัญญา และบุญบารมีของเรา อย่างเช่นในวันนี้ เราจะมาพูดถึงเรื่องของการสวดมนต์ซึ่งเราทำเป็นประจำทุก ๆ วัน ตั้งแต่วันที่เราเริ่มเข้ามาอบรมจนกระทั่งถึงทุกวันนี้ เราจึงควรจะรู้ว่าภาพรวมของการทำวัตรสวดมนต์นั้นเป็นอย่างไร การสวดมนต์ทำวัตรเช้าและทำวัตรเย็น มีสิ่งที่เหมือนหรือต่างกันอย่างไร และทำไมเราจะต้องต้องสวดมนต์กันทุกวัน ทั้งเช้าและเย็น
如果我们知道自己正在做什么,有什么意义?我们就会明白并心甘情愿和快乐地做这些事情,这也正好是信仰、智慧与功德的源泉。今天我们要说的是日常的诵经念佛,这是从培训第一天到现在一直在做的事情。我们需要知道诵经念佛的意义,以及早课与晚课有哪些相同或不同之处?为什么每天早晚都要诵经?
การทำวัตรสวดมนต์หรือการสวดมนต์ทำวัตร พอพูดถึงเรื่องของการทำวัตรสวดมนต์ เราก็จะเห็นว่ามีคำที่แยกกันอยู่ ๒ คำ คือคำว่า ๑) ทำวัตร ๒) สวดมนต์ การทำวัตรสวดมนต์ จึงแบ่งออกเป็น ๒ ส่วนคือ
关于诵经念佛,我们看到由两个词组成,1.诵经;2.念佛。由此,诵经念佛分为两部分:
- การทำวัตร คือการทำกิจวัตรของภิกษุสามเณรและอุบาสกอุบาสิกา เป็นกิจที่ต้องทำเป็นประจำ จนเป็นวัตรปฏิบัติ
1.诵经是比丘、沙弥、优婆塞、优婆夷的日常职责。这是每天都要完成的工作,也是必须履行的职责。
ในการทำวัตรนั้นมีกิจอะไรบ้าง มีกิจดังนี้
这份职责涉及的内容如下:
๑. สวดบูชาสรรเสริญคุณของพระรัตนตรัย
1.念诵供养赞颂三宝的恩德。
๒. สวดพิจารณาปัจจัยที่เราบริโภคทุกวัน
2.念诵省思每天使用的四资具。
๓. สวดแผ่อุทิศส่วนบุญส่วนกุศล หรือในบางทีมีการสวดเจริญกรรมฐาน และสวดอนุโมทนาทานของทายกด้วย นี่คือส่วนของการทำวัตร
3.念诵回向功德、修业处、随喜施主功德,这就是诵经。
๒. การสวดมนต์ การสวดมนต์ในที่นี้ หมายถึงการสวดบทพุทธมนต์ต่างๆ ที่เป็นพระสูตรก็มี ที่เป็นพระปริตร ๗ ตำนาน ๑๒ ตำนาน ก็มี หรือว่าอื่นๆ นอกจากนี้
2.念佛,这里的意思是念诵各种佛经,譬如《经藏》、《救护经》、七记事、十二记事或其他经文。
ดังนั้นก็เรียกการสวดทั้ง ๒ เข้าด้วยกัน จึงเรียกว่า “การทำวัตรสวดมนต์”
如上所述,两个部分合起来称为“诵经念佛”。
คราวนี้เรามาพูดกันถึงเรื่องการทำวัตรเช้ากัน ภาพรวมของการทำวัตรเช้า ถ้าเราดูเนื้อหาโดยรวมๆ จะเห็นว่ามีอยู่ ๕ บทใหญ่ ๆ คือ
接下来我们将解释有关早课的内容。早课的内容分为五个章节,主要如下:
๑. บทบูชาพระรัตนตรัย
1.供养三宝。
๒. บทสรรเสริญคุณของพระรัตนตรัย’
2.赞颂三宝的恩德。
๓. บททบทวนคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ทำให้เราไม่ประมาทในธรรม
3.回顾佛陀的教诲,让我们对佛法不放逸。
๔. บทพิจารณาการบริโภคปัจจัย ๔
4.四资具取用前的省思。
๕. บทแผ่เมตตาและอธิษฐาน
5.散发慈心和发愿
คราวนี้ลองมาดูในรายละเอียด
接下来是详细内容:
1.บทบูชาพระรัตนตรัย มีอยู่ ๓ ตอน คือ
1.供养三宝分为三个部分:
บูชาตอนที่ ๑ เป็นบทบูชาพระโดยพิสดาร เป็นบทขึ้นต้นที่เราเริ่มสวดว่า “โยโส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ..” เป็นการกล่าวคำบูชาสรรเสริญคุณของพระรัตนตรัย โดยเริ่มจากพระพุทธเจ้า พร้อมทั้งพระธรรม และพระสงฆ์ ด้วยความเคารพนอบน้อม รวมทั้งขออ้อนวอนให้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าแม้ว่าดับขันธ์ปรินิพพานนานไปแล้วก็ตาม ขอพระองค์ได้โปรดรับเครื่องสักการบูชาที่เราได้นำมาบูชาด้วยเถิด ทั้งนี้ก็เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่เราตลอดกาลนาน
第一部分是以殊胜的礼赞方式供养三宝,念诵的开头为“โยโส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ”,即带着敬意和谦卑赞颂佛、法、僧三宝的恩德。虽然佛陀般涅槃已久,仍希望可以慈悲接受我们的礼敬,为了我们永远的利益。
นี้เป็นการผูกใจเราไว้กับพระรัตนตรัยในเบื้องต้น ด้วยกิริยาอาการ วาจา ด้วยความเคารพ และเครื่องสักการะมีดอกไม้ของหอมที่เรานำมาบูชา
从一开始就透过礼仪、语言、敬意以及香花供奉三宝,让我们的心与三宝紧密相连。
บูชาตอนที่ ๒ เป็นการกล่าวคำนมัสการ ที่เราเริ่มสวดขึ้นต้นว่า “อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา, พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิฯ“ เป็นต้น นี้เป็นการนอบน้อมบูชากราบไหว้ระลึกในคุณของ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ โดยย่อ
第二部分是顶礼三宝,念诵的开头为“อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา, พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิฯ”,这是对佛、法、僧恩德的礼敬与忆念。
บูชาตอนที่ ๓ เป็นการกล่าวคำนอบน้อมด้วยบท “นะโม” ที่เราสวดว่า นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะฯ คือนอบน้อมต่อพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ผู้เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง บทนี้เป็นบทไหว้ครู ไหว้บรมครูศาสดาของเรา โดยเฉพาะเราเกิดมาในยุคคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระศรีศากยมุณีสมณโคดม สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
第三部分是开经偈,以“นะโม”为开头向佛陀致敬,念诵的偈语为ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะฯ,即皈依礼敬世尊,已离尘垢、圆满正自觉的大阿罗汉。此偈为礼敬伟大导师的偈语,尤其是我们有幸出生在释迦牟尼佛教法的时代。
บทนะโม นี้จึงเป็นเหมือนบทไหว้ครู ไหว้บรมครูศาสดา คือพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเราพระองค์นั้นนั่นแหละ จะเห็นว่าแค่บทบูชาพระรัตนตรัย เรายังสวดบูชาถึง ๓ ตอน แสดงถึงความเคารพอย่างยิ่ง ถ้าเราสวดไป ตรองตรึกไป เราก็จะเห็นถึงคุณของพระรัตนตรัย จะมีความซาบซึ้งในคุณของพระรัตนตรัยไปตามลำดับ ความเคารพ และมีพระรัตนตรัยเป็นอารมณ์ย่อมเกิดขึ้นแก่เราได้
这是一句礼敬老师的偈语,也就是礼拜伟大的导师——佛陀。我们可以通过念诵这三段经文供养礼敬三宝,表达崇高的敬意。如果我们一边念诵,一边忆念,不仅会慢慢了解三宝的恩德,印象也会越来越深刻,让心一直安住于三宝。
๒. บทสรรเสริญ มีอยู่ ๒ ตอนคือ
2.赞颂分为两个部分:
บทสรรเสริญตอนที่ ๑ เป็นการกล่าวสรรเสริญคุณของพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ตามลำดับ ที่เราเรียกว่า พุทธาภิถุติ ธัมมาภิถุติ สังฆาภิถุติ หรือที่มีการกล่าวนำเชิญชวนให้สรรเสริญคุณพระรัตนตรัยว่า หันทะ มะยัง พุทธาภิถุติง กะโรมะ เสฯ เป็นต้น นี้เป็นการสรรเสริญคุณที่มีอยู่จริงอย่างซาบซึ้ง คือ
第一部分是分别对佛、法、僧恩德的赞颂,我们称为พุทธาภิถุติ赞诸佛、ธัมมาภิถุติ赞诸法、สังฆาภิถุติ赞诸僧。领诵者以“หันทะ มะยัง พุทธาภิถุติง กะโรมะ เสฯ”为开头,念诵结束后,我们将牢记三宝的恩德,即:
พุทธคุณ ๙ ประการ คือ ๑. อะระหัง ๒. สัมมาสัมพุทโธ ๓. วิชชาจะระณะสัมปันโน ๔. สุคะโต ๕. โลกะวิทู ๖. อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาราถิ ๗. สัตถา เทวะมนุสสานัง ๘. พุทโธ ๙. ภะคะวา
九种佛德:1.阿罗汉;2.正等觉者;3.明行足;4.善逝;5.世间解;6.无上士调御丈夫;7. 天人师;8.佛;9.世尊。
ธรรมคุณ ๖ ประการ คือ ๑. สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม ๒. สันทิฏฐิโก ๓. อะกาลิโก ๔. เอหิปัสสิโก ๕. โอปะนะยิโก ๖. ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ
六种法德:1.世尊善说之法(世尊善妙详细宣说的法);2.现见(须经学习及奉行才能体会)3.不时(可被奉行,可得成果,不被时空限制);4.来见(请来亲自验证);5.随顺(恭敬学习,返观内照);6.智者应自如(智者皆能亲自验证)。
สังฆคุณ ๙ ประการ คือ ๑. สุปะฏิปันโน ๒. อุชุปะฏิปันโน ๓. ญายะปะฏิปันโน ๔. สามีจิปะฏิปันโน ๕. อาหุเนยโย ๖. ปาหุเนยโย ๗. ทักขิเณยโย ๘. อัญชะลีกะระณีโย ๙. อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสะฯ
九种僧德:1.善向者(僧伽是世尊的弟子,精进地修习奉行佛法的团体);2.直行者(僧伽是世尊的弟子,直接正确地修习奉行佛法的团体);3.如理行者(僧伽是世尊的弟子,修习奉行佛法、为理解佛道脱离苦的团体);4.和敬行者(僧伽是世尊的弟子,已能修习奉行佛法的团体);5.应供养者(应当礼敬供养僧伽);6.应供奉者(应当礼敬接待僧伽);7.受施者(应当向僧伽布施种福);8.应合掌者(应当向僧伽合掌敬礼);9.世间无上福田(僧伽是世间无上的福田)。
บทสรรเสริญตอนที่ ๒ เป็นการกล่าวคำสรรเสริญพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ด้วยบทขึ้นต้นว่า รตนัตตยัปปณามคาถา ในทำวัตรเช้ามีการสวดอุปมาคุณของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ว่า
第二部分是对佛、法、僧的赞颂与礼敬,领诵者以หันทะ มะยัง ระตะนัตต๎ยัปปะณามะคาถาโย เจวะ สังเวคะปะริกิตตะนะปาฐัญจะ ภะณามะเส为开头。在早课中,将佛、法、僧的恩德比作:
พระพุทธเจ้านั้นมีมหากรุณาดุจห้วงมหรรณพ
佛陀慈心大似海。
พระธรรมเป็นแสงสว่างดุจดวงประทีป
佛法犹如一盏光芒明亮的灯。
พระสงฆ์เป็นเนื้อบุญอันยิ่งใหญ่
僧伽是无上福田。
๓. บททบทวนของคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อไม่ให้ประมาทในธรรม
3.回顾佛陀的教诲,让我们对佛法不放逸。
ในบททำวัตรเช้า เรียกว่าบท “สังเวคปริกิตตนปาฐะ” เริ่มต้นตรงที่ อิธะ ตะถาคะโต โลเก อุปปันโน อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ
该章节在早课中被称为“五蕴非我”,开头是“อิธะ ตะถาคะโต โลเก อุปปันโน อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ”。
ที่ว่าทบทวนคำสอนนั้นทบทวนอย่างไร ทบทวนว่าพระพุทธเจ้าทรงอุบัติขึ้นในโลกนี้แล้ว เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ชอบโดยพระองค์เอง ทรงแสดงธรรมที่เป็นเครื่องออกจากทุกข์
如何回顾佛陀的教诲?就是回顾佛陀已应现世间,是圆满正自觉的阿罗汉,宣说了离苦之法。
พวกเราเมื่อได้ฟังธรรมแล้วก็ได้รู้เรื่องของไตรลักษณ์คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ทรงจำแนกทุกข์ให้เราเห็นถึง ๑๑ อย่าง คือชาติ ชรา มรณะ เป็นต้น และอุปทาน ขันธ์ ๕ คือรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อุปทาน ขันธ์ ๕ นี่แหละที่ ไม่เที่ยง(อนิจจัง) เป็นทุกข์(ทุกขัง) และไม่ใช่ตัวตน(อนัตตา)
我们闻法后将明了三相,即无常、苦、无我。世尊将苦分为十一种,即:生、老、死、愁、悲、苦、忧、恼、怨憎会、爱别离、求不得。简言之,五取蕴即是苦。
ในตอนท้ายของบทนี้ เราได้สวดย้ำกับตัวเองว่า
本章节的最后,我们将反复念诵:
เราเป็นผู้ถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ว่าเป็นที่พึ่ง
我们皈依佛、法、僧。
เราจะปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้า เพื่อทำที่สุดแห่งกองทุกข์ให้ได้
我们将如法遵循佛陀的教诲,最终断尽诸苦。
๔. บทพิจารณาบริโภคปัจจัย ๔ เพื่อการมีสติและรู้วัตถุประสงค์ของการบริโภคปัจจัย ๔ อย่างแท้จริง
4.四资具取用前要省思,以具足正念并了解使用四资具的真正目的。
ในการทำวัตรเช้าเรามีสวดอยู่ ๒ บทคือบท ตังขณิกปัจจเวกขณ์ และก็บท ธาตุปฏิกูลปัจจเวกขณ์
在早课中,我们将念诵两个章节,即:资具取用前的省思以及四物元素与身不净的省思。
๕.แผ่เมตตาและบทอธิษฐาน หรือบท ปัตติทานคาถา
5.散发慈心和发愿(回向)
บทแผ่เมตตา ในตอนทำวัตรเช้า เป็นการแผ่เมตตาแบบกว้างๆ คือแผ่ให้ตั้งแต่ ๑) เทวดาในวัดในสถูปเจดีย์ที่ต้นโพธิ์ ๒) ภิกษุ อุบาสกอุบาสิกา ๓) ท่านทานบดี ๔) ชาววัด ชาวบ้าน ชาวเมือง ๕) ผู้เป็นใหญ่อิสระชนทั้งหลาย ๖) สัตว์มีชีวิตทั้งปวง ๗) สัตว์ที่เกิดในภพภูมิต่างๆ ในกำเนิดทั้ง ๔
早课中散发慈心的范围广远,包括:1.居住于寺院、舍利塔、菩提树的天人;2.出家人、优婆塞、优婆夷;3.施主;4.信众;5.民众;6.一切有情;7.出生于不同境界的四生(胎生、卵生、湿生和化生)。
ตอนท้ายของบทแผ่เมตตาจะมีบทอธิษฐาน คืออธิษฐานว่า ๑) ขอให้พระสัทธรรมและผู้ทรงธรรมจงอยู่ยั่งยืนนาน ๒) ขอให้พระสงฆ์จงเป็นผู้พร้อมเพรียงสามัคคี ๓) ข้อให้ธรรมะจงคุ้มครองรักษาพวกเราผู้ประพฤติธรรม และ ๔) คือขอให้พวกเราจงเจริญในธรรมที่พระอริยะเจ้าประกาศไว้ดีแล้วเทอญ
在散发慈心后还有发愿,即愿1.正法久住;2.僧伽和合;3.正法保护修行者;4.我们将在世尊善说之法中取得进步。
นี่คือภาพรวมของการทำวัตรเช้า โดยสรุปคือ ๑) การบูชาพระรัตนตรัย ๒) การสรรเสริญคุณของพระรัตนตรัย ๓) การทบทวนคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ๔) การพิจารณาการบริโภคปัจจัย ๔ ๕) บทแผ่เมตตาและการอธิษฐาน
这就是早课的概述,概括起来包括:1.供养三宝2.赞颂三宝的恩德3.回顾佛陀的教诲。4.四资具取用前的省思。5.散发慈心和发愿。
การสวดมนต์ทำวัตรเย็น ในทำวัตรเย็นมีภาพรวม ดังนี้
晚课的大概内容如下:
๑. บทบูชาพระรัตนตรัย
1.供养三宝。
๒. บทสรรเสริญคุณของพระรัตนตรัย
2.赞颂三宝的恩德。
๓. คือบทขอมอบกายถวายชีวิตต่อพระรัตนตรัย ขอยึดเอาพระพุทธ พระธรรมและพระสงฆ์เป็นที่พึ่ง ไม่มีที่พึ่งอื่นยิ่งไปกว่านี้ และขอขมา พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ด้วยกาย วาจา ใจ
3.奉献身心供养三宝,以佛、法、僧为真正的归依处,并无其他归依处。与此同时,以身、口、意向佛、法、僧请求宽恕。
๔. ก็คือบทพิจารณาการบริโภคปัจจัย ๔
4.四资具取用后的省思
๕. ก็คือบทแผ่เมตตาและก็อธิษฐาน
5.散发慈心和发愿
๑. บทบูชาพระรัตนตรัยนั้นมีอยู่ ๓ ตอน เหมือนทำวัตรเช้าทุกประการ ที่เราขึ้นต้นด้วยบทว่า โยโส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ นั่นแหละ
1.晚课的供养三宝和早课一样都是三个部分,开头也是:โยโส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ นั่นแหละ。
๒. บทสรรเสริญคุณของพระรัตนตรัย ในทำวัตรเย็นมี ๒ ตอนเหมือนกัน
2.晚课赞颂三宝的恩德也是分成两个部分。
สรรเสริญตอนที่ ๑ นั้นโดยเนื้อความเหมือนกับทำวัตรเช้าทุกประการ คือสรรเสริญพุทธคุณ ๙ประการ ธรรมคุณ ๖ ประการ สังฆคุณ ๙ ประการ เหมือนกัน แต่ต่างกันตรงคำนำขึ้นต้น
赞颂的第一部分内容基本上与早课相同,即赞颂九种佛徳,六种法德,九种僧德。
ตอนทำวัตรเช้าเราใช้คำว่า พุทธาภิถุติ ธัมมาภิถุติ สังฆาภิถุติ
在早课中,我们称为พุทธาภิถุติ赞诸佛、ธัมมาภิถุติ赞诸法、สังฆาภิถุติ赞诸僧。
ตอนทำวัตรเย็นเราใช้คำว่า พุทธานุสสติ ธัมมานุสสติ สังฆานุสสติ
在晚课中,我们称为พุทธานุสสติ念佛、ธัมมานุสสติ念法、สังฆานุสสติ念僧。
สรรเสริญตอนที่ ๒ ในทำวัตรเย็นมีบทขึ้นต้นว่า พุทธา ภิคีติ ธัมมาภิคีติ สังฆาภิคีติ เป็นการสรรเสริญพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ด้วยความรู้สึกที่ซาบซึ้ง เหมือนจะขยายความจากบทการสรรเสริญคุณในตอนที่ ๒ ของตอนทำวัตรเช้าคือ
晚课赞颂的第二部分是พุทธาภิคีติ ธัมมาภิคีติ สังฆาภิคีติ,即真挚恳切地赞诸佛、赞诸法和赞诸僧,在早课赞颂的第二部分的基础上进行扩展,即:
ทำวัตรเช้า อุปมาว่า พระพุทธเจ้านั้นมีพระมหากรุณาดุจห้วงมหรรณพ
在早课中的比喻是佛陀慈心大似海。
ทำวัตรเย็น กล่าวว่า พระพุทธเจ้าทรงยังหมู่ชน ให้รู้แจ้งเบิกบานในธรรม ดุจพระอาทิตย์ยังดอกบัวให้บาน
在晚课中的比喻是佛陀具有阿罗汉之崇高美德,是觉醒智者,犹如太阳照耀莲花绽放。
ตอนทำวัตรเช้า อุปมาว่าพระธรรมเป็นแสงสว่างดุจดวงประทีป
在早课中,佛法犹如一盏光芒明亮的灯。
ตอนทำวัตรเย็น กล่าวว่า พระธรรมเป็นสิ่งประเสริฐ ป้องกันบุคคลไม่ให้ตกไปในโลกที่ชั่ว คืออบาย
在晚课中,法具有善妙及详尽的殊胜功德,可以防止护持法者堕入恶道。
ตอนทำวัตรเช้า อุปมาว่า พระสงฆ์เป็นเนื้อนาบุญอันยิ่งใหญ่
在早课中,将僧伽比作无上福田。
ตอนทำวัตรเย็น กล่าวว่า พระสงฆ์คือผู้เกิดโดยพระสัทธรรม ในที่นี่หมายถึง พระอริยบุคคล ๘ จำพวก ผู้ประกอบด้วยคุณความดีมีกายและใจอันประเสริฐอย่างยิ่ง
在晚课中,僧伽是护持法者,是四双八辈者,具备美德,身心高尚。
๓. บทมอบกายถวายชีวิต ต่อพระรัตนตรัยบท ขอยึดเอาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่พึ่ง และขอขมาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
3.奉献身心供养三宝,以佛、法、僧为真正的归依处,以身、口、意向佛、法、僧请求宽恕。
ในทำวัตรเช้าไม่มีตรงนี้ แต่ว่าทำวัตรเย็นนั้นมีอยู่ในตอนท้ายของบทสรรเสริญตอนที่ ๒ คือ เมื่อเรากล่าวสรรเสริญคุณของพระรัตนตรัยด้วยความซาบซึ้ง แล้วจึง
在早课中没有这部分,只是在晚课赞颂的第二部分结尾有,也就是当我们真挚恳切地赞颂三宝的恩德后:
๑. ขอมอบกายถวายชีวิต แก่พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ด้วยบทว่า พุทธัสสาหัสมิ ทาโส วะ พุทโธ เม สามิกิสสะโร เป็นต้น
1.我愿将身心供养佛、法、僧,念诵的是:พุทธัสสาหัสมิ ทาโส วะ พุทโธ เม สามิกิสสะโร等。
๒. ข้อยึดเอา พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่พึ่ง ไม่มีที่พึ่งอื่นยิ่งไปกว่านี้ ด้วยบทสวดว่า นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง พุทโธ เม สะระณัง วะรัง
2.佛法僧是真正的归依处,并无其他归依处。念诵的是นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง พุทโธ เม สะระณัง วะรัง。
๓. บทขอขมา พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ด้วยกายวาจาใจ สวดด้วยบทว่า กาเยนะ วาจายะ วะ เจตะสา วา เป็นต้น
3.以身、口、意向佛、法、僧请求宽恕,念诵的是:กาเยนะ วาจายะ วะ เจตะสา วา等。
๔. บทพิจารณาการบริโภคปัจจัย ๔
4四资具取用后的省思
ในทำวัตรเช้าเราสวด ๒ บท ส่วนในทำวัตรเย็นมี ๑ บท คือ อตีตปัจจเวกขณ์ ระหว่างวัน เราอาจลืมพิจารณาการบริโภคใช้สอย พอตอนทำวัตรเย็น นึกขึ้นมาได้ ก็มาพิจารณาตอนนี้เป็นการแก้ไขตนเอง อย่างน้อยก็มีสติสักการหนึ่ง ไม่อย่างนั้นจะเป็นอิณบริโภค (บริโภคด้วยความเป็นหนี้)
这部分在早课中需要念诵两个章节,晚课只念诵一个章节,即省思过去。我们在白天可能取用四资具时忘记省思,在晚课中想起了这件事,于是当下开始自我反省。至少要有这个意识,否则将成为借用受用(借四资具来使用)。
๕. บทแผ่เมตาและอธิษฐาน ในทำวัตรเช้าเราใช้บท ปัตติทานคาถา ในทำวัตรเย็นเราใช้บท อุททิสสนคาถา
5.在散发慈心和发愿的章节中,早课我们用的是ปัตติทานคาถา(广泛回向),晚课用的是อุททิสสนคาถา(特定回向)。
ในการทำวัตรเย็นนี้เป็นการแผ่โดยเจาะจงในวงใกล้ชิดกว่า ในเบื้องต้นแล้วค่อยๆ แผ่กว้างในตอนท้ายที่เราสวดเริ่มต้นด้วยบทว่า อิมินา ปุญญะกัมเมนะ อุปัชฌายา คุณุตตะรา คือเราแผ่อุทิศให้แก่ ๑)อุปัชฌาย์ อาจารย์ ๒) พ่อแม่ หมู่ญาติ ๓) พระอาทิตย์ พระจันทร์ ๔) พระราชา ๕) ผู้ทำความดี ๖) พรหม พระอินทร์ ๗) เท้าจตุโลกบาล พระยายมราช ๘) มิตรสหาย คนกลาง ๆ คนที่มีเวรต่อกัน และ ๙)แผ่ไปยังสรรพสัตว์ทั้งหลาย
在晚课中,散发慈心的初始对象与自己较为亲密,然后再渐渐广泛散发出去。念诵的是:อิมินา ปุญญะกัมเมนะ อุปัชฌายา คุณุตตะรา。意思是将功德回向给1.戒师、师长;2.父母、亲属;3.太阳、月亮;4.国王;5.德行高尚者;6.梵天、帝释;7.四大天王、阎罗王;8.朋友、冤亲债主或不相识者;9.一切有情众生。
สุดท้ายคือบทอธิษฐาน ตอนทำวัตรเช้า เราจะอธิษฐานแบบกว้าง ๆ แต่ตอนทำวัตรเย็นเราจะอธิษฐานในวงที่แคบเข้ามาใกล้ตัวของเรา คือเราอธิษฐานว่า
最后是发愿,在早课中我们发愿的范围较广,晚课中我们发愿的范围较窄。我们一般发愿说:
๑. ขอให้เราพ้นจากความทุกข์ พบความสุขเข้าถึงพระนิพพาน
1.愿我们离苦得乐,证入涅槃。
๒. ขอให้เราตัดขาดจากตันหา ความชั่วในสันดานจงพินาศไป
2.愿我们远离导致毁灭的爱欲与罪恶。
๓. หากเรายังต้องเวียนว่ายตายอีก เกิดอยู่ในภพชาติใด ๆ ขอให้เราเป็นผู้มีจิตซื่อตรง ฉลาดกล้า กำจัดกิเลสได้
3.如果还要轮回,愿我们生生世世都具足正念、智慧、勇气,能够调伏一切烦恼。
๔. อธิษฐานว่าขออย่าให้หมู่มารได้ช่อง ได้โอกาสเลย
4.发愿不让魔罗有可乘之机。
สรุปการทำวัตรเช้าและทำวัตรเย็น เมื่อเราได้รู้ภาพรวม และความหมายกว้าง ๆ ของการทำวัตรเช้าและทำวัตรเย็นแล้ว เราก็จะเห็นได้ว่า การทำวัตรแต่ละครั้ง
归纳总结,当我们了解早晚课的大概内容后,每一次在做早晚课时:
๑. ได้ฝึกความเคารพต่อพระรัตนตรัยอย่างแน่นแฟ้น ทั้งกาย วาจา ใจ
1.可以训练身口意,对三宝怀有深深的敬意。
๒. ได้ปลูกทั้งศรัทธาและปัญญาไปด้วยกัน เพราะเราได้ตรึกตรองของคุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ อย่างแจ่มชัด
2.可以培育信与慧,因为我们已清楚地思维佛、法、僧。
๓. ได้เตือนสติตัวเองไม่ให้ประมาทในธรรม ได้ความสงบทางใจ
3.提醒自己在修行中不要放逸,让心清净轻安。
๔. ได้เปลื้องมลทินจากการบริโภคปัจจัย ๔ ที่อาจจะลืมพิจารณา
4.排除因可能忘记在使用四资具前进行省思的缺陷。
๕. ได้ยืนยันว่าเรามีพระพุทธ พระธรรมและพระสงฆ์ เป็นที่พึ่ง อย่างอื่นไม่ใช่
5.确定佛、法、僧是我们真正的皈依处,其他都不是。
๖. ได้ขอขมาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ด้วยกาย วาจา ใจ
6.可以以身、口、意向佛、法、僧请求宽恕。
๗. ได้อุทิศส่วนบุญส่วนกุศล
7.可以回向功德善业。
๘. ได้อธิษฐานจิต
8.可以发愿。
๙. การสวดมนต์ทำวัตรโดยรวมก็คือการกล่าวคำนอบน้อมสรรเสริญบูชาคุณของพระรัตนตรัย จึงเหมือนเราได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า ในแต่ละช่วงของวันนั่นเอง เพราะในสมัยพุทธกาลพระภิกษุได้เข้าเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งเช้าและเย็นเพื่อฟังรับฟังโอวาท เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านดับขันธ์ปรินิพพานไปแล้ว ภิกษุทั้งหลายก็ต้องหาโอกาสที่จะให้โอวาทแก่ตัวของตัวเอง ด้วยการสวดมนต์ทำวัตร
9.我们一起诵经念佛赞颂三宝的恩德,就犹如每天在不同的时段拜见佛陀。因为在佛陀时代,僧众也会在早上和晚上来拜见佛陀听闻教诲。佛陀般涅槃后,僧众应找机会通过诵经念佛的方式回顾佛陀的教诲。
การสวดมนต์ทำวัตรจึงมีคุณค่าอย่างที่กล่าวมาอย่างนี้ การสวดมนต์ทำวัตรจะให้ได้ผลต้องทำความรู้สึกเหมือนได้เข้าเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ขณะที่สวดไป ใจของเราตรึกนึกถึงคุณของพระรัตนตรัยไปตามความหมาย เพราะฉะนั้นก่อนนั่งสมาธิถ้าเราได้สวดมนต์ก่อนก็จะดีมาก เพราะจิตของเราจะสงบแล้วก็พร้อมที่จะนั่งสมาธิ
综上所述,诵经念佛意义非凡。想在诵经念佛中生起利益,应让自己感觉就像在佛陀面前听闻教诲一般。在念诵过程中,让心跟随经文的释义思维三宝的恩德。所以,在打坐前先诵经将大有益处,因为我们的心在诵经的过程中会逐渐平静,为接下来的打坐做好准备。