มหาทุคตะ
ในยุคพระกัสสปพุทธเจ้า มีบัณฑิตผู้หนึ่งนิมนต์พระกัสสปพุทธเจ้าและพระภิกษุ 20,000 รูป เพื่อให้ไปฉันภัตตาหารในวันรุ่งขึ้น เมื่อพระพุทธองค์รับนิมนต์แล้วเขาได้เข้าไปในหมู่บ้านแล้วเดินบอกบุญให้ชาวบ้านช่วยกันรับเลี้ยงพระตามกำลังของตน “บางคนก็รับ 10 รูป, บางคนรับ 20 รูป, บางคนรับ 100 รูป, บางคนรับ 500 รูป ฯลฯ” เขาจดไว้ในบัญชีทั้งหมด
ในสมัยนั้นมีชายคนหนึ่งชื่อว่า “มหาทุคตะ” เป็นคนยากจนที่สุดในเมืองนั้น บัณฑิตนั้นบอกเขาว่า “เพื่อนมหาทุคตะ ข้าพเจ้าได้นิมนต์ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธานเพื่อฉันในวันพรุ่งนี้ ชาวเมืองจักถวายทานกัน ท่านจักเลี้ยงภิกษุสักกี่รูป”
มหาทุคตะกล่าวว่า “แม้ข้าวสารเพื่อทำข้าวต้มพรุ่งนี้ของผมยังไม่มี แล้วผมจะเลี้ยงพระได้อย่างไร” บัณฑิตนั้นกล่าวว่า “เพื่อนมหาทุคตะ คนจำนวนมากในเมืองนี้บริโภคอาหารอย่างดี นุ่งผ้าอย่างดี ส่วนท่านทำงานรับจ้างตลอดวันยังไม่ได้อาหารแม้พออิ่มท้อง ท่านยังไม่รู้สึกหรือว่า ‘เพราะตนไม่ได้ทำบุญอะไรๆ ไว้ในอดีต”
มหาทุคตะตอบว่า ผมทราบ. บัณฑิตนั้นกล่าวต่อว่า เมื่อเช่นนั้น ทำไมบัดนี้ท่านจึงไม่ทำบุญเล่า ท่านยังเป็นหนุ่ม มีเรี่ยวแรง ทำงานจ้างแล้วให้ทานตามกำลังจะไม่ควรหรือ ? มหาทุคตะสลดใจแล้วพูดว่า “คุณ จงลงบัญชีภิกษุให้ผมสัก 1 รูป, ผมจะทำงานจ้างสักอย่างแล้วจักถวายภัตตาหารแก่ภิกษุรูปหนึ่ง” บัณฑิตนั้นคิดว่า “พระภิกษุรูปเดียวจะจดลงในบัญชีทำไม ? จึงไม่จดไว้.
มหาทุคตะกลับไปเรือนแล้วพูดกับภรรยาว่า “พรุ่งนี้ ชาวเมืองเขาจัดภัตเพื่อถวายพระสงฆ์, ฉันก็ถูกผู้ชักชวนบอกว่า ‘จงถวายภิกษาแก่ภิกษุรูปหนึ่ง, พวกเราจักถวายภัตตาหารแก่ภิกษุรูปหนึ่ง พรุ่งนี้” ภรรยากล่าวว่า “ดีแล้ว เมื่อก่อนเราไม่ได้ทำบุญไว้ ชาตินี้จึงเกิดเป็นคนยากจน เราทั้งสองคนทำงานรับจ้างแล้วจักถวายภัตแก่ภิกษุรูปหนึ่ง” แล้วทั้งสองคนก็ออกไปหางานทำ
มหาทุคตะไปที่บ้านของมหาเศรษฐีในเมืองนั้น ท่านเศรษฐีกล่าวว่า “พรุ่งนี้ เราจะเลี้ยงภิกษุ 300 รูป เจ้าจงผ่าฟืนเถิด” มหาทุคตะถกเขมรแล้วตั้งใจทำงานอย่างขยันขันแข็ง มหาเศรษฐีพูดว่า “วันนี้ เจ้าขยันทำงานเหลือเกิน มีเหตุอะไรหรือ ?” มหาทุคตะตอบว่า ผมจะเลี้ยงภิกษุรูปหนึ่ง.
เมื่อเศรษฐีฟังคำนั้นแล้ว มีใจเลื่อมใส คิดว่า “มหาทุคตะนี้ทำสิ่งที่ทำได้ยาก เขาไม่คิดว่า ‘เราจน’ แต่พูดว่า ‘จักทำงานรับจ้างแล้วเลี้ยงภิกษุสักรูปหนึ่ง” ส่วนภรรยามหาทุคตะก็ไปช่วยภรรยาเศรษฐีนั้นทำงาน ภรรยาเศรษฐีถามนางว่า “เจ้าทำงานอย่างร่าเริงเหลือเกิน มีเหตุอะไรหรือ ?” นางตอบว่า ดิฉันทำงานจ้างนี้แล้วจักเลี้ยงภิกษุสักรูปหนึ่ง. ภรรยาเศรษฐีฟังคำนั้นแล้วคิดว่า “น่าเลื่อมใส นางทำสิ่งที่ทำได้ยาก.”
ในเวลาที่มหาทุคตะผ่าฟืนเสร็จ เศรษฐีให้ข้าวสาลี 4 ทะนานแล้วพูดว่า “นี้คือค่าจ้างของเธอ” แล้วให้เพิ่มอีก 4 ทะนานเพื่อร่วมบุญเลี้ยงพระด้วย ส่วนภรรยาเศรษฐีได้ให้เนยใสขวดหนึ่ง นมส้มกระปุกหนึ่ง เครื่องเทศและข้าวสารสาลีอย่างทะนานหนึ่ง
สองผัวเมียร่าเริงใจว่า “เราได้ไทยธรรมแล้ว” ลุกขึ้นแต่เช้าตรู่ ภรรยาพูดกับมหาทุคตะว่า “ท่านไปหาผักมาซิ ” เขาไปฝั่งแม่น้ำมีใจร่าเริงว่า” “จักได้ถวายโภชนะแก่พระผู้เป็นเจ้า” ร้องเพลงพลาง เลือกเก็บผักพลาง. ชาวประมงยืนทอดแหอยู่ รู้ว่า “เป็นเสียงของมหาทุคตะ” จึงถามว่า “แกร้องเพลงอย่างอารมณ์ดี มีเหตุอะไรหรือ ?” มหาทุคตะตอบว่า จักเลี้ยงภิกษุสักรูปหนึ่ง. ชาวประมงจึงให้มหาทุคตะช่วยนำปลาไปขายแล้วแบ่งปลาตะเพียนให้เพื่อร่วมบุญด้วย
ในวันนั้น พระกัสสปพุทธเจ้าทรงเห็นมหาทุคตะในข่ายพระญาณ ทรงทราบว่า เขาจะได้ถวายภัตตาหารแก่พระองค์ ขณะเดียวกันเมื่อพระอินทร์ทราบว่า มหาทุคตะจะได้ถวายภัตตาหารแก่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงแปลงกายเป็นมนุษย์แล้วอาสาช่วยปรุงอาหารเลี้ยงพระ
เมื่อถึงเวลามหาทุคตะก็ไปรับพระภิกษุจากบัณฑิตนั้น เมื่อเขาเห็นมหาทุคตะก็นึกขึ้นได้และตกใจมากที่พระภิกษุทั้ง 20,000 รูป ได้จัดให้ชาวบ้านไปหมดแล้ว เหลือเฉพาะพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเท่านั้น บัณฑิตนั้นจึงให้มหาทุคตะไปนิมนต์เอง
มหาทุคตะจึงไปซบศีรษะลงที่ประตูพระคันธกุฎี ถวายบังคมแล้วกราบทูลว่า “ผู้ที่ยากจนกว่าข้าพระองค์ในพระนครนี้ไม่มี พระเจ้าข้า ขอทรงเป็นที่พึ่งแก่ข้าพระองค์เถิด ขอทรงสงเคราะห์แก่ข้าพระองค์เถิด” พระพุทธองค์ทรงเปิดพระทวารพระคันธกุฎี ทรงนำบาตรมาประทานในมือของเขาแล้วเสด็จไปฉันภัตตาหารที่บ้านของมหาทุคตะ
หลังจากเสร็จภัตกิจและพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จกลับไปแล้ว ฝนรัตนชาติ 7 ประการ คือ เพชร และอัญมณีต่างๆตกลงเต็มบ้านของมหาทุคตะ เพราะบุญที่เขาได้ถวายภัตตาหารแก่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งเป็นบุญที่ทำได้ยากเนื่องจากเขามีฐานะยากจนที่สุดในเมือง เมื่อพระราชาทราบจึงตั้งเขาเป็นเศรษฐี
เมื่อเป็นเศรษฐีแล้วมหาทุคตะก็ได้ทำบุญตลอดชีวิต ตายแล้วไปเกิดบนสวรรค์ 1 พุทธันดร แล้วจุติลงมาเกิดในสมัยพระสมณโคดมพุทธเจ้า เมื่ออายุได้ 7 ขวบ ก็ออกบวชและได้บรรลุธรรมเป็นสามเณรอรหันต์มีชื่อว่า บัณฑิตสามเณร
ข้อคิด และแหล่งอ้างอิง
จากเรื่องนี้จะเห็นว่า วิธีการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีที่สุด คือ การสั่งสมบุญ มหาทุคตะเป็นคนที่ยากจนที่สุดในเมือง แต่เป็นเศรษฐีได้เพราะได้ทำบุญกับพระกัสสปพุทธเจ้า และด้วยบุญที่ทำตลอดชีวิตภพชาติต่อมาจึงได้ออกบวชและบรรลุธรรมเป็นสามเณรอรหันต์ตั้งแต่ 7 ขวบ
大穷(Mahāduggata,庞帝达小沙弥的前世)
在迦叶佛时代,有一位智者邀请迦叶佛和两万名比丘,隔天前往他家接受斋饭供养。佛陀应允后,这位智者便走进村庄,向村民们宣扬布施的功德,鼓励大家村民们根据自己的能力供养僧众。“有些人认领供养 10 位比丘,有些人 20 位,有些人 100 位,有些人 500 位等等。”他把所有认领供养的资料都记录在册。
当时,有一个名叫“大穷”(Mahāduggata)的男子,是城里最贫穷的人。那位智者对他说:“大穷朋友,我已邀请以佛陀为首的比丘僧团明天前来接受供养。城里的人都会供养,你打算供养几位比丘呢?”
大穷说:“我连明天煮粥的米都没有,怎么供养比丘呢?” 智者说:“大穷朋友,城里很多人都吃得好、穿得好,而你整天做工,却连填饱肚子的食物都没有,难道你没有意识到,这是因为你过去没有行善布施机累功德吗?”
大穷回答:“我知道。”智者接着说:“既然如此,为何现在不开始行善呢?你还年轻力壮,可以工作赚钱,然后量力而为地布施,这样不好吗?”大穷听了感到惭愧,说道:“请你帮我登记一位比丘,我会找工作,然后供养一位比丘的食物。”智者心想:“只有一位比丘,何须纪录呢?”因此没有帮他登记。
大穷回到家,对妻子说:“明天城里的人要准备食物供养僧团,我被邀请供养一位比丘,我们明天就供养一位比丘的食物吧。”妻子说:“太好了!以前我们没有行善积福,这辈子才会这么贫穷。我们俩一起找工作,然后供养一位比丘吧。”于是两人便出去找工作。
大穷来到城里一位富翁的家。富翁说:“明天我要供养三百位比丘,你帮我噼柴吧。”大穷挽起袖子,扎紧裤子,非常卖力地工作。富翁好奇地问:“今天你工作特别勤奋,有什么原因吗?”大穷回答:“明天我要供养一位比丘。”
富翁听了这话,心生敬佩,心想:“这位大穷做了一件很不容易的事,他没有因为自己穷就放弃,而是想着要工作赚钱,然后供养一位比丘。”大穷的妻子也去帮富翁的妻子做家务。富翁的妻子问她:“你今天工作特别开心,有什么原因吗?”她回答:“我做这份工作是为了供养一位比丘。”富翁的妻子听了这话,心想:“真令人敬佩,她做了一件很不容易的事。”
大穷噼完柴后,富翁给了他四斗米,说:“这是你的工钱。”然后又额外给了他四斗米,作为一起行善布施的供养品。富翁的妻子则给了一瓶酥油、一罐酸奶、一些香料和一篮小麦。
夫妻俩非常高兴,心想:“我们有供养的物品了!” 第二天,他们一大早就起床。妻子对大穷说:“你去弄些蔬菜来吧。”他带着愉快的心情来到河边,边唱歌边採摘蔬菜,心想:“我要供养食物给尊贵的僧侣了。” 一位正在撒网捕鱼的渔夫,听出这是大穷的声音,便问道:“你心情这么好,有什么原因吗?”大穷回答:“我要供养一位比丘。”渔夫便请大穷帮忙把鱼拿去卖,然后分给他一些鲤鱼,作为一起行善布施的供养品。
那天,迦叶佛运用法眼的智慧,看见了大穷,知道他将会来供养自己。同时,当帝释天得知大穷将要供养佛陀时,便化身为人,自愿帮忙准备供养的食物。
时间到了,大穷去智者那里准备迎接比丘。智者大吃一惊,这才想起来还没分配给大穷供养,所有的两万名比丘都已经安排给村民供养了,只剩下佛陀一人。因此,智者请大穷自己去邀请佛陀。
大穷来到佛陀的香室门前,将头伏在门上,顶礼说道:“在这座城市里,没有人比我更贫穷了,世尊,请您做我的依靠,请您怜悯我。”佛陀打开门,将钵交到他手中,然后前往大穷的家接受供养。
用斋完毕佛陀便离开了。过后不久,因为大穷供养佛陀的功德,七宝(钻石和各种宝石)如大雨般落下,装满了他的家。虽然他是城里最穷的人,却努力做了这样不容易的善事,这是非常殊胜难得的功德。国王得知此事后,便封他为富翁。
成为富翁后,大穷一生都在行善布施。死后,他投生到天界一劫的时间。之后,他转世到释迦牟尼佛时代,七岁时出家,证得阿罗汉果,成为一位名叫“庞帝达(意为“智者”)小沙弥”(Paṇḍita Sāmaṇera)的阿罗汉沙弥。
启示
从这个故事可以看出,改善生活品质的最佳方法就是积累功德。大穷是城里最贫穷的人,但因为供养了迦叶佛而成为富翁。而且,由于他从此之后,一生都在积累功德,因此在下辈子七岁时就出家,并证得阿罗汉果。
Mahāduggata
In the era of the Kassapa Buddha, there was a wise man who invited Kassapa Buddha and 20,000 monks to receive alms the following day. After the Buddha accepted, this wise man went into the village and proclaimed the merit of giving to the villagers, asking everyone to contribute according to their ability. “Some people sponsored 10 monks, some sponsored 20, some sponsored 100, some sponsored 500, etc.” He recorded all the sponsors in a ledger.
At that time, there was a man named “Mahāduggata,” who was the poorest man in the city. The wise man said to him, “Friend Mahāduggata, I have invited the Sangha led by the Buddha to receive alms tomorrow. The people in the city will be giving alms. How many monks do you plan to support?”
Mahāduggata said, “I don’t even have rice to make porridge for myself tomorrow, how can I support monks?” The wise man said, “Friend Mahāduggata, many people in this city eat well and dress well, while you work all day and don’t even have enough food to fill your stomach. Don’t you realize that this is because you haven’t done any good deeds in the past?”
Mahāduggata replied, “I know.” The wise man continued, “If that’s the case, why don’t you start doing good deeds and make merit now? You are still young and strong, you can work and earn money, and then give alms according to your ability, wouldn’t that be good?” Mahāduggata felt ashamed and said, “Please register one monk for me. I will find work and then offer food to one monk.” The wise man thought, “What’s the point of registering only one monk?” So he didn’t write it down.
Mahāduggata returned home and said to his wife, “Tomorrow the people in the city are preparing food to offer to the monks, and I was invited too. Let’s offer food to one monk tomorrow.” His wife said, “That’s great! We didn’t make merits in the past, that’s why we are so poor in this life. Let’s both find some work and then offer food to one monk.” So they both went out to find work.
Mahāduggata went to the house of a wealthy man in the city. The wealthy man said, “Tomorrow I will offer food to 300 monks, you could chop wood for me.” Mahāduggata rolled up his sleeves, tightened his pants and worked very diligently. The wealthy man said, “You are working very diligently today, is there any reason?” Mahāduggata replied, “I am going to offer food to one monk.”
When the wealthy man heard this, he was filled with admiration and thought, “This Mahāduggata is doing something difficult to do. He doesn’t think he is poor, but says ‘I will work and earn money and then offer food to one monk.’” Mahāduggata’s wife also went to help the wealthy man’s wife with housework. The wealthy man’s wife asked her, “You are working very happily today, is there any reason?” She replied, “I am doing this work in order to offer food to one monk.” When the wealthy man’s wife heard this, she thought, “Admirable, she is doing something difficult to do.”
After Mahāduggata finished chopping wood, the wealthy man gave him four measures of rice and said, “This is your wage.” Then he gave him an additional four measures of rice as an offering for the alms together. The wealthy man’s wife gave him a jar of ghee, a bottle of yogurt, some spices, and a basket of wheat.
The couple was very happy, thinking, “We have the items for the offering!” They got up at dawn. His wife said to Mahāduggata, “Go and get some vegetables.” He went to the river with a joyful heart, thinking, “I will offer food to the venerable monk.” He sang as he picked vegetables. A fisherman who was casting a net recognized Mahāduggata’s voice and asked, “Why are you in such a good mood?” Mahāduggata replied, “I’m going to offer food to a monk.” The fisherman then asked Mahāduggata to help him sell the fish and then shared some Indian carp with him as an offering for the alms together.
That day, Buddha Kassapa with his divine wisdom-eye, saw the extremely poor man Mahāduggata, and knew he would come to make an offering. Meanwhile, when Sakka, ruler of the Second Heaven, learned Mahāduggata would make an offering to the Buddha, he transformed himself into a human and volunteered to help prepare the food.”
When the time arrived, Mahāduggata went to the wise man to greet the monks. Seeing Mahāduggata, the wise man recalled him and was astonished to realize that the villagers had already arranged to offer food to all 20,000 monks, leaving only the Buddha. Therefore, the wise man asked Mahāduggata to invite the Buddha on his own.
Mahāduggata went to the Buddha’s residence. Prostrating himself at the door, he said, “Lord, there is no one poorer than me in this city. Please be my refuge, have mercy on me.” The Buddha opened the door, placed the bowl in his hands, and proceeded to Mahāduggata’s house to accept the offering.
After the meal, when the Buddha had departed, seven kinds of jewels – diamonds and other gems – rained down upon Mahāduggata’s house, a result of the rare merit he had acquired by offering food to the Buddha, despite being the poorest man in the city. Upon learning of this extraordinary event, the king appointed him a wealthy man.”
Having become a wealthy man, Mahāduggata dedicated his life to performing good deeds and make merits. Upon his death, he was reborn in the heavens for an eon. Thereafter, he was reborn in the era of Gautama Buddha. At the age of seven, he became a monk, attained the state of Arahantship, and was known as the Arahant novice, Paṇḍita Sāmaṇera.
Lessons:
This story illustrates that the most effective way to improve one’s quality of life is through the accumulation of merit. Mahāduggata, once the poorest man in the city, became wealthy through his offering of alms to Kassapa Buddha. Furthermore, due to the merit he accrued throughout his lives, he was ordained in his subsequent life at the age of seven and attained Arahantship.