พระวังคีสเถระ
เอตทัคคะในทางผู้มีปฏิภาณ คือ ความสามารถในการผูกบทกวีคาถา
พระวังคีสะ เกิดในตระกูลพราหมณ์ นครสาวัตถี ได้รับการศึกษาจบไตรเพท จนมี ความชำนาญเป็นที่พอใจของอาจารย์ จึงให้เรียนมนต์พิเศษอีกอย่างหนึ่งชื่อว่า “ฉวสีสมนต์” ซึ่งเป็นมนต์ เครื่องพิสูจน์ศีรษะซากศพมนุษย์ แม้จะตายไปแล้วถึง ๓๐ ปี โดยใช้นิ้วเคาะ หรือดีดที่หัวของศพหรือกะโหลก ก็จะรู้ว่าเจ้าของศีรษะ หรือกะโหลกนั้น ตายแล้วไปเกิดเป็นอะไร เกิดที่ ไหน ท่านมีความเชี่ยวชาญในมนต์นี้มาก จึงได้อาศัยมนต์นี้เป็นเครื่องเลี้ยงชีวิต และเริ่มมีชื่อ เสียงเลื่องลือมากขึ้น
ต่อมา เขาได้ตั้งเป็นคณะมีผู้ร่วมงานทำกันเป็นระบบ มีการโฆษณาชักชวนให้คนมาใช้บริการ และตระเวนทั่วไปตามเมืองต่าง ๆ
ด้วยวิธีการอย่างนี้ ประชาชนได้นำหัวกะโหลก ของญาติที่ตายไปแล้ว มาให้พิสูจน์กันมากมาย ชาวคณะของวังคีสะ ได้รับสิ่งตอบแทนมากขึ้น ซึ่งมีทั้งสิ่งของ อาหาร และเงินจำนวนมาก ทำให้มีฐานะร่ำรวยขึ้น พวกเขาได้ท่องเที่ยวไปตามเมืองต่าง ๆ แล้ว ย้อนกลับมายังเมืองสาวัตถี พักอยู่ในที่ไม่ไกล จากประตูพระเชตะวันมหาวิหารมากนัก ได้เห็นประชาชนถือดอกไม้ และ เครื่องสักการะ ไปยังวัดพระเชตวัน จึงถามว่า
“ท่านทั้งหลายจะไปไหนกัน?”
“พวกเราจะไปฟังเทศน์ที่วัดพระเชตวัน” พุทธบริษัทตอบ
“ท่านทั้งหลายมาหาวังคีสะดีกว่า เพราะท่านสามารถรู้ว่าคนที่ตายไปแล้ว ไปเกิดเป็นอะไร ไปเกิดที่ไหน” พวกคณะของวังคีสะชักชวน
“ในโลกนี้ ไม่มีผู้ใด จะรู้เท่าเทียมพระพุทธเจ้าของพวกเราได้หรอก” พุทธบริษัทแย้งขึ้น
การโต้ตอบ กลายเป็นการโต้เถียงเริ่มรุนแรงขึ้น ไม่เป็นที่ยุติ กลุ่มของวังคีสะ จึงตามไป ที่พระเชตะวันมหาวิหาร เพื่อพิสูจน์ความสามารถว่า ใครจะเหนือกว่ากัน
พระพุทธองค์ ทรงทราบวัตถุประสงค์ของกลุ่มวังคีสะได้ดี จึงรับสั่งให้นำกะโหลกคนตายมา ๕ กะโหลก คือ:-
๑. กะโหลกคนที่ตายไปเกิดในนรก
๒. กะโหลกคนที่ตายไปเกิดในสวรรค์
๓. กะโหลกคนที่ตายไปเกิดเป็นสัตว์ดิรัจฉาน
๔. กะโหลกคนที่ตายไปเกิดเป็นมนุษย์
๕. กะโหลกของพระอรหันต์
เมื่อได้กะโหลกศีรษะมาครบแล้ว ได้มอบให้วังคีสะตรวจสอบดูว่า เจ้าของกะโหลกเหล่านั้นไปเกิดที่ไหน
วังคีสะ เคาะกะโหลกเหล่านั้นมาตามลำดับ และทราบสถานที่ไปเกิดถูกต้องทั้ง ๔ กะโหลก แต่พอมาถึงกะโหลกสุดท้าย ซึ่งเป็นกะโหลกของพระอรหันต์ ไม่สามารถจะทราบได้ ไม่มีเสียงตอบจากเจ้าของกะโหลก ว่าไปเกิดที่ไหน จึงนิ่งอยู่ครู่หนึ่ง
พระพุทธองค์จึงตรัสถามว่า:-
“วังคีสะ เธอไม่รู้หรือ ?”
“ข้าพระพุทธเจ้า ไม่รู้ พระเจ้าข้า”
“วังคีสะ ตถาคตรู้”
“ข้าแต่พระผู้มีพระภาค พระองค์ทรงทราบด้วยมนต์อะไร พระเจ้าข้า”
“ด้วยกำลังมนต์ของตถาคตเอง”
ลำดับนั้น วังคีสะ ได้กราบทูลขอเรียนมนต์นั้น จากพระบรมศาสดา ซึ่งพระพุทธองค์ก็ ทรงรับจะสอนมนต์นั้นให้ แต่มีข้อแม้ว่า ผู้เรียนจะต้องบวช จึงจะสอนให้ วังคีสะ คิดว่า ถ้าเรียน มนต์นี้จบ ก็จะไม่มีผู้เทียมได้เลย จะเป็นประโยชน์แก่อาชีพของตนเป็นอย่างยิ่ง จึงบอกให้ พราหมณ์ร่วมคณะเหล่านั้น รอยู่สัก ๒-๓ วัน เมื่อบวชเรียนมนต์จบแล้ว ก็จะสึกออกไปร่วมคณะ กันต่อไป
เมื่อวังคีสะบวชแล้ว พระบรมศาสดาประทานพระกรรมฐาน มีอาการ ๓๒ เป็นอารมณ์ รับสั่งให้สาธยาย ท่องบริกรรม พร้อมทั้งพิจารณาไปด้วย
ฝ่ายพราหมณ์ที่คอยอยู่ ก็มาถามเป็นระยะ ๆ ว่าเรียนมนต์จบหรือยัง วังคีสะ ก็ตอบว่ากำลังเรียนอยู่ โดยเวลาล่วงไปไม่นานนัก ท่านก็ได้บรรลุพระอรหัตผล เป็นพระอริยบุคคลในพระพุทธศาสนา พวกพราหมณ์เหล่านั้น เห็นว่าท่านไม่หวนกลับสึกออกมา ประกอบอาชีพฆราวาส เช่นเดิมอีกแล้ว จึงได้แยกย้ายกันไปตามอัธยาศัยของ ตน ๆ
พระวังคีสะ เมื่อสำเร็จเป็นพระอรหันต์ แล้วได้เป็นกำลังช่วยเผยแผ่พระพุทธศาสนา และเมื่อเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคครั้งใด ก็จะกล่าวสรรเสริญพระพุทธคุณบทหนึ่งอยู่เสมอ ด้วยเหตุ นี้ พระบรมศาสดาทรงยกย่องท่าน ในตำแหน่งเอตทัคคะเป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย ในทาง ผู้มีปฏิภาณ คือ ความสามารถในการผูกบทกวีคาถา
ท่านดำรงอายุสังขาร สมควรแก่กาลเวลาแล้ว ก็ดับขันธปรินิพพาน
万耆舍尊者:即兴说法第一
万耆舍尊者出生于舍卫城的婆罗门家庭,他精通三吠陀,令导师满意。后来他又学习了一种特殊的咒语,名为“尸头咒”。这种咒语可以通过敲击或弹动已故三十年的人头或头骨来判断死者转世的去处。他非常精通这种咒语,以此为生,名声日益显赫。
后来,他组建了一个团队,系统地开展业务,宣传招揽顾客,并在各个城市巡回。人们纷纷带来亲属的头骨请他鉴定。万耆舍尊者的团队获得了大量的财物、食物和金钱,变得富有起来。
他们游历各地后回到舍卫城,在祇树给孤独园附近停留。看到人们带着鲜花和供品去寺院,他们劝说道:“不如来找万耆舍尊者,他能知道死者转世去处。”但佛教信徒回答说:“世上没有人能比得上我们的佛陀。”双方争论不休,万耆舍尊者一行便跟随前往祇树给孤独园一较高下。
佛陀了解他们的意图,命人取来5个头骨:
- 转世到地狱的人的头骨
- 转世到天界的人的头骨
- 转世为动物的人的头骨
- 转世为人的头骨
- 阿罗汉的头骨
万耆舍尊者正确判断了前4个头骨的去处,但对最后一个阿罗汉的头骨却无法判断。佛陀问道:“万耆舍,你不知道吗?” “我不知道,世尊。” “如来知道。” “世尊,您用什么咒语知道的?” “用如来自己的咒语力量。”
于是,万耆舍尊者请求学习这种咒语。佛陀同意教他,但条件是他必须出家。万耆舍尊者想,如果学会这种咒语,将无人能及,对自己的职业大有益处。他告诉同伴等他几天,学成后会还俗。
出家后,佛陀教导他修习32身分观。同伴们不断来问他是否学成,他总是回答还在学习。不久,万耆舍尊者证得阿罗汉果,成为佛教的圣者。他的同伴们见他不再还俗,便各自离去。
万耆舍尊者成为阿罗汉后,积极协助传播佛法。每当他拜见佛陀时,总是会即兴创作富含智慧的偈颂,吟诵这些偈颂以赞颂佛陀的美德。基于此因,佛陀称赞他为比丘中即兴说法第一。寿满天年之后,万耆舍尊者遂入般涅槃。
The Venerable Vangisa Thera: Declared Etadagga (the foremost) in Spontaneous Sacred Verse Composition
The Venerable Vangisa was born into a Brahmin family in the city of Sāvatthī. Having completed his education in the Three Vedas to his teacher’s satisfaction, he was then taught a special incantation called ‘Chavasisa-manta’ (the skull-tapping mantra). This was a mystical formula for examining human skulls, even those of persons who had been dead for up to 30 years. By tapping or flicking the skull with his fingers, he could discern where the deceased had been reborn and in what form. Having thoroughly mastered this incantation, he made his living by this means, and his fame gradually spread.
Subsequently, he established a systematic organization with associates, promoting their services and traveling from city to city to offer their divination.
Through this practice, numerous people brought the skulls of their deceased relatives for examination. Vangisa’s group received abundant offerings of goods, food, and money, greatly improving their wealth. After traveling through various cities, they returned to Savatthi and stayed near the gate of Jetavana Mahavihara.
Seeing people carrying flowers and offerings toward Jetavana monastery, they inquired, “Where are you all going?”
“We are going to listen to the Dhamma at Jetavana,” the Buddhist followers replied.
”You should come to Vangisa instead,“ his group members urged, ”for he can reveal where and in what form your deceased relatives have been reborn.”
“ In this world, no one can equal our Buddha’s knowledge,” the Buddhist followers countered. The discussion escalated into a heated debate with no resolution. Thus, Vangisa’s group followed them to Jetavana Mahavihara to prove whose abilities were superior.
The Buddha, fully aware of Vangisa’s group’s intentions, commanded that five skulls be brought forth:
- The skull of one reborn in hell (niraya)
- The skull of one reborn in heaven (deva realm)
- The skull of one reborn as an animal (tiracchana)
- The skull of one reborn as a human (manussaloka)
- The skull of an Arahant
When all the skulls were gathered, they were presented to Vangisa to determine where their former owners had been reborn. Vangisa tapped each skull in sequence and correctly discerned the rebirth destinations of the first four skulls. However, upon reaching the final skull—that of the Arahant—he could not determine anything. There was no response from the skull’s former owner indicating where they had been reborn. He remained silent for a moment.
The Buddha then inquired: “Vangisa, do you not know?”
“No, Venerable Sir, I do not know,” replied Vangisa.
“Vangisa, the Tathāgata knows.”
“Blessed One, by what mantra do you know this?”
“By the power of the Tathāgata’s own mantra.”
At that moment, Vangisa requested to learn this mantra from the Supreme Teacher. The Buddha agreed to teach it, but with one condition: the learner must be ordained as a bhikkhu. Vangisa thought that if he mastered this mantra, no one could equal him, and it would greatly benefit his profession. So he told his fellow Brahmins to wait for two or three days, saying that after his ordination and learning the mantra, he would disrobe and rejoin their group.
After Vangisa’s ordination, the Supreme Teacher bestowed upon him a meditation subject on the thirty-two parts of the body (Dvattimsākāra) as the object of contemplation, instructing him to recite and reflect upon it mindfully.
The waiting Brahmins periodically inquired whether he had mastered the mantra. Vangisa would reply that he was still learning. Before long, he attained Arahantship, becoming a Noble One in the Buddha’s dispensation. When those Brahmins saw that he would not disrobe to resume his former lay occupation, they dispersed and went their separate ways.
After attaining Arahantship, Venerable Vangisa devoted himself to propagating the Buddha’s teachings. Whenever he was in the Buddha’s presence, he would invariably recite verses in praise of the Buddha’s virtues. For this reason, the Supreme Teacher declared him the Etadagga (foremost) among all bhikkhus in spontaneous sacred verse composition. Having lived his life to its natural extent, he attained Final Nibbana (parinibbana).