กุมารกัสสปะ เอตทัคคะในด้าน ผู้กล่าวธรรมได้อย่างวิจิตร
บุรพกรรมในสมัยพระปทุมุตตระพุทธเจ้า
ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ปทุมุตตระ ท่านเกิดเป็นบุตรเศรษฐี ในพระนครหงสาวดี วันหนึ่งท่านได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าเพื่อฟังพระธรรมเทศนา ได้ยืนฟังธรรมอยู่ท้ายหมู่พุทธบริษัท ได้แลเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสถาปนาภิกษุรูปหนึ่ง ไว้ในตำแหน่งภิกษุผู้เลิศ แห่งภิกษุผู้กล่าวธรรมได้ วิจิตร ท่านก็ปรารถนาจะได้อยู่ในตำแหน่งเช่นนั้นบ้างในสมัยพระพุทธเจ้าองค์ใดองค์หนึ่งในอนาคต จึงได้นิมนต์พระตถาคตแล้ว ประดับประดามณฑปให้สว่างไสวด้วยรัตนะนานาชนิด ด้วยผ้าอันย้อมด้วยสีต่าง ๆ ถึง ๗ วัน แล้วเอาดอกไม้ที่สวยงามต่าง ๆ ชนิดบูชา แล้วแสดงความปรารถนาในตำแหน่งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพิจารณาแล้วเห็นว่าความปรารถนาของเขาหาอันตรายมิได้ จึงได้ทรงพยากรณ์ดังนี้
“ในกัปที่แสนแต่ภัทรกัปนี้ พระศาสดามีนามว่าโคดม ซึ่งสมภพในวงศ์พระเจ้าโอกากราช จักเสด็จอุบัติขึ้นในโลก ผู้มีจักเป็นธรรมทายาทของพระศาสดาพระองค์นั้น จักได้เป็นสาวกของพระศาสดามีนามว่า กุมารกัสสปะ เพราะอำนาจดอกไม้ และผ้าอันวิจิตรกับรัตนะ เขาจักถึงความเป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย ผู้กล่าวธรรมกถาอันวิจิตร”
จากนั้นเขากระทำกรรมอันเป็นกุศลอยู่เป็นนิจ ครั้นสิ้นชีวิตแล้วก็ท่องเที่ยวอยู่ในภูมิเทวดาและภูมิมนุษย์ทั้งหลาย
บุรพกรรมในสมัยพระกัสสปพุทธเจ้า
ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่ากัสสปะ เขาได้บังเกิดในตระกูลแห่งหนึ่ง ได้ออกบวชหลังจากที่พระผู้มีพระภาคเจ้าปรินิพพานแล้ว ในเวลาต่อมาเมื่อพระศาสนาใกล้จะเสื่อมสิ้นลง เขาและภิกษุอีก ๖ รูป มองเห็นความเสื่อมในการประพฤติของบริษัท ๔ ก็พากันสังเวชสลดใจ คิดว่า ตราบใดที่พระศาสนายังไม่เสื่อมสิ้นไป พวกเราจงเป็นที่พึ่งแก่ตนเองเถิด จึงพากันไปสักการะพระสุวรรณเจดีย์สูงหนึ่งโยชน์ที่มหาชนได้ร่วมกันสร้างเมื่อครั้งพระกัสสปพุทธเจ้าทรงปรินิพพานแล้ว ได้มองเห็นภูเขาสูงชันลูกหนึ่ง จึงชวนกันขึ้นไปปฏิบัติธรรมอยู่บนภูเขาลูกนั้น โดยตั้งใจว่าถ้าไม่สำเร็จมรรคผลอย่างใดอย่างหนึ่งก็จะยอมสิ้นชีวิตอยู่บนนั้น แล้วจึงตัดไม้ไผ่มาทำเป็นพะอง (บันไดไม้) เพื่อปีนป่ายขึ้นไปตามหน้าผาของภูเขานั้น เมื่อทั้งหมดพากันขึ้นไปยังยอดสูงของภูเขาลูกนั้นแล้ว ก็ผลักพะองให้ตกหน้าผาไปเพื่อไม่ให้มีทางกลับลงมาได้ แล้วต่างก็บำเพ็ญสมณธรรมอยู่บนนั้น
ในบรรดาภิกษุทั้ง ๗ รูปเหล่านั้น พระเถระผู้อาวุโสสูงสุด ก็ได้บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยอภิญญา ๖ ในคืนนั้นเอง ครั้นรุ่งเช้าพระมหาเถระจึงไปสู่ หิมวันตประเทศด้วยฤทธิ์ ล้างหน้าที่สระอโนดาต เที่ยวไปบิณฑบาตในอุตตรกุรุทวีป ฉันอาหารเสร็จแล้วได้ไปยังที่อื่นต่อไป ได้ภัตตาหารเต็มบาตรแล้ว เอาน้ำที่ สระอโนดาตล้างหน้าแล้วและเคี้ยวไม้สีฟันชื่อ อนาคลดา แล้วจึงนำภัตและสิ่งของเหล่านั้นมายังพระภิกษุเหล่านั้นที่ยังไม่บรรลุธรรมอันวิเศษ แล้วกล่าวว่า อาวุโส ทั้งหลาย บิณฑบาตนี้ผมนำมาจากแคว้นอุตรกุรุ น้ำและไม้สีฟันนี้นำมาจากหิมวันตประเทศ ท่านทั้งหลายจงฉันภัตตาหารนี้บำเพ็ญ สมณธรรมเถิด ผมจะอุปัฏฐากพวกท่านอย่างนี้ตลอดไป ภิกษุเหล่านั้นได้ฟัง แล้วจึงกล่าวว่า พระคุณเจ้าขอรับ พระคุณเจ้าทำกิจเสร็จแล้ว พวกกระผม แม้เพียงสนทนากับพระคุณเจ้าก็เสียเวลาอยู่แล้ว บัดนี้ ขอพระคุณเจ้าอย่ามาหา พวกกระผมอีกเย.พระมหาเถระนั้นเมื่อไม่สามารถจะให้ภิกษุเหล่านั้นยินยอม ได้โดยวิธีได ๆ ก็หลีกไป
แต่นั้นบรรดาภิกษุเหล่านั้นรูปหนึ่ง โดยล่วงไป ๒-๓ วันได้เป็น พระอนาคามีได้อภิญญา ๕ ภิกษุนั้นก็ได้ทำเหมือนอย่างเช่นที่พระเถระที่บรรลุพระอรหัตทำเหมือนกัน ครั้นถูกภิกษุที่เหลือที่ยังไม่บรรลุธรรมใด ๆ ห้ามก็กลับไปเช่นเดียวกัน.ภิกษุที่เหลือ ๕ องค์นั้น ครั้นถึงวันที่ ๗ จากวันที่ขึ้นไปสู่ภูเขาก็ยังไม่บรรลุคุณวิเศษไร ๆ จึงมรณภาพแล้วก็ไปเกิดในเทวโลก ฝ่ายพระเถระผู้เป็นขีณาสพก็ปรินิพพานในวันนั้นนั่นเอง ท่านที่เป็นพระอนาคามีได้บังเกิดในพรหมชั้นสุทธาวาส เทพบุตรทั้ง ๕ เสวยทิพยสมบัติใน สวรรค์ชั้นกามาวจร ๖ ชั้นกลับไปกลับมา
ในสมัยพระสมณโคดมพุทธเจ้านี้ จุติจากอัตภาพนั้นแล้ว บังเกิดในมนุษยโลก ในบรรดาชน ๕ คนเหล่านั้น คนหนึ่งไปเป็น โอรสเจ้ามัลละนามว่าปุกกุสะ (ต่อมาได้พบพระพุทธองค์ ได้ฟังธรรมและประกาศตนเป็นอุบาสก ผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต) คนหนึ่งชื่อว่า พาหิยทารุจิริยะ คนหนึ่งชื่อว่าทัพพมัลลบุตร (ต่อมาได้ออกบวชและบรรลุเป็นพระอรหันต์เป็นเอตทัคคะเลิศกว่าภิกษุผู้จัดแจงเสนาสนะ ) และคนหนึ่งชื่อว่า สภิยปริพพาชก (ต่อมาได้พบพระพุทธองค์ ทูลขอบรรพชาและได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์รูปหนึ่ง)
อีกคนหนึ่งมาเกิดในกรุงตักกสิลา แคว้นคันธาระ ชื่อว่ากุมารกัสสปะ
ครั้นเมื่อมีอายุครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์ ตามวินัยนิยมแล้ว ได้อุปสมบทเป็นภิกษุ ในพระพุทธศาสนา อุตส่าห์เรียนเอาพระกรรมฐาน ในสำนักพระบรมศาสดา เข้าไปสู่ป่า เพียรพยายาม ก็ไม่ได้บรรลุคุณวิเศษ จึงกลับมาเรียนพระกรรมฐานเพิ่มเติม แล้วไปอยู่ที่อันธวันวิหาร
สหายเก่าผูกปัญหาให้แก้ ๑๕ ข้อ
ครั้งนั้น สหายของท่าน ซึ่งเป็นภิกษุเคยบำเพ็ญสมณธรรมร่วมกัน ในพระศาสนาของพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้บรรลุอนาคามิผล ตายแล้ว ไปบังเกิดในพรหมโลกชั้นสุทธาวาส ได้ลงมาหาท่าน แล้วผูกปัญหาให้ ๑๕ ข้อ บอกว่า คนอื่นนอกจากพระบรมศาสดา ไม่มีใครสามารถจะแก้ปัญหานี้ได้ ท่านจงไปสู่สำนักของพระบรมศาสดา เรียนเอาเนื้อความ แห่งปัญหาเหล่านี้เถิด
ท่านพระกุมารกัสสปะ ก็ไปทำเหมือนอย่างนั้น ครั้นได้ฟังปัญหาพยากรณ์ ๑๕ ข้อแล้ว ในที่สุดแห่งการพยากรณ์ ก็ได้บรรลุพระอรหันต์ พร้อมด้วยปฏิสัมภิทา
เอตทัคคะในทางผู้แสดงธรรมอันวิจิตร
ท่านมีความสามารถแสดงธรรม แก่บริษัทสี่ได้อย่างวิจิตรพิสดาร มีข้ออุปมาอุปไมย พร้อมทั้งเหตุผล ให้ผู้ฟังเข้าใจง่าย ฉลาดในอุบาย สั่งสอนบริษัท โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อท่านแสดงสูตร ประดับด้วยปัญหา ๑๕ ข้อ แก่พระเจ้าปายาสิ จนสามารถทำลายมิจฉาทิฏฐิ ของพระองค์ได้สำเร็จ
鸠摩罗迦叶尊者(童子迦叶):善说妙法第一
在莲花佛时期的前世因缘
在莲花佛时期,他出生为富商之子,居住在鹅城。有一天,他去听佛陀说法,站在信众群的后方。他看到佛陀授记一位比丘为”善说妙法第一”,因此也生起愿望,希望在未来某位佛陀的教法中获得同样的地位。于是他邀请如来,用各种宝石和布料装饰殿堂七天,并以各种美丽的鲜花供养,表达了这个愿望。佛陀观察后见此愿望无有障碍,便为他授记:
“在此贤劫之后十万劫,将有一位名为乔达摩的佛陀出世,生于甘蔗王族。你将成为他的法嗣,名为鸠摩罗迦叶。因为供养这些精美的花朵、布料和宝石的功德,你将成为善说妙法第一的比丘。”
此后他持续行善,命终后在天界和人间轮回。
在迦叶佛时期的前世因缘
在迦叶佛时期,他出生于一个家族中,在迦叶佛涅槃后,他毅然舍俗出家。当佛法渐呈衰微之际,他与其他六位比丘看到四众弟子戒行的弛废,感到悲痛。他们想:”在佛法还未完全衰落前,我们要成为自己的依靠。”于是他们相携至迦叶佛舍利金塔前顶礼,此塔巍峨耸立高达一由旬,乃信众为缅怀佛陀所建。礼塔毕,众人看到一座高山,便决定上山修行。他们立誓若不证得任何圣果就不下山,宁愿死在山上。
他们用竹子做梯子攀登悬崖峭壁,到达山顶后便推掉梯子,使自己无法下山,然后开始修行。在这七位比丘中,最长老的那位在当晚就证得具有六神通的阿罗汉果。第二天早上,这位大长老凭藉神通力前往喜马拉雅山区,在阿耨达池(Anavatapta)洗脸后,前往北俱卢洲托钵,用餐完后前往其他地方。他带着满钵的食物、从阿耨达池取来的水,和无病藤齿木(也稱為楊枝,磨齒刮舌的木片,古代比丘常用的十八僧物之一,功能類似於現代的牙刷),回来供养其他尚未证得殊胜之法的比丘。
大长老说道:”诸位贤友,这些托钵食来自北俱卢洲,水和牙刷来自喜马拉雅山区。请享用餐食后继续修行,我将会一直这样护持你们。”其他比丘听后说:”尊者已完成修行,即便我们只是和您交谈,也会浪费时间。现在,请您不要再来看我们了。”大长老无法说服他们,只好离开。
过了两三天,其中一位比丘证得了阿那含果,并获得了五神通,也像第一位证得阿罗汉果的长老一样想要护持其他人,但同样被拒绝了。剩下的五位比丘到了第七天仍未证得任何殊胜的法,便命终去世并转生到天界。证得阿罗汉果的长老于当天入灭,证得阿那含果的比丘转生于净居天,而其他五位比丘则在欲界六层天中享乐,往返转生于各层天之间。
在释迦牟尼佛时期
在我们的释迦牟尼佛时期,这五人从天界命终后降生人间:一人成为末罗国(Malla)王子布库沙(Pukkusa,后来遇见佛陀,听法并终身皈依);一人名为婆醯陀卢胝利耶(Bāhiya Dāruciriya);一人名为陀骠摩罗子(Dabba Mallaputta,后来出家并证得阿罗汉果,成为安排住处第一);一人名为娑毗耶游方者(Sabhīya,后来遇见佛陀,请求出家并证得阿罗汉);最后一人生于健陀罗国(Gandhāra)的塔克西拉城(Takkasilā),名为鸠摩罗迦叶(kumārakassapa,童子迦叶)。
鸠摩罗迦叶尊者从小出家为沙弥,当满二十岁时,依律受具足戒成为比丘。他在佛陀的教导下努力学习禅修法门,然后进入森林精进修行,但未能证得殊胜之法。于是他回到佛陀处继续学习禅法,后住于安陀林精舍(Andhavana Vihara)。
旧友提出十五道难题
这时,他的一位旧友——在迦叶佛教法中一起修行并证得阿那含果,死后生于净居天的比丘——来访,并出了十五道难题给他,告诉他除了佛陀之外,没有人能够解答这些问题。让他去佛陀那里学习这些问题的含义。
鸠摩罗迦叶尊者依言而行,在听完佛陀对十五个问题的解答后,证得具四无碍解(Paṭisambhidā)的阿罗汉果。
善说妙法第一
鸠摩罗迦叶尊者能以精妙详尽的方式向四众宣讲佛法,运用比喻和推理,使听众易于理解,善巧教导大众。特别是当弊宿王(King Pāyāsi)慕名前来与鸠摩罗迦叶尊者辩论时,他以种种比喻来回答弊宿王的问题,成功破除了弊宿王的邪见,使其叹服,并皈依三宝成为优婆塞。详见《弊宿经》(Pāyāsi Sutta)。
The Venerable Kumārakassapa: Declared Etadagga (the foremost) in Delivering Elegant Dharma Discourses
Past life of Kumārakassapa during the Era of Buddha Padumuttara
During the era of Buddha Padumuttara, he was born the son of a wealthy merchant in the city of Hamsavati. One day, he went to see Lord Buddha to listen to a sermon, standing at the back of the assembly. He witnessed Lord Buddha declare a certain monk the foremost in delivering elegant Dharma discourses. Aspiring to such a distinction in the era of a future Buddha, he invited the Tathagata. For seven days, he adorned a pavilion, making it radiant with jewels and colorful clothes. He then offered beautiful flowers and voiced his aspiration. Seeing no impediment to this wish, Lord Buddha prophesied:
“A hundred thousand eons from this auspicious era, a Teacher named Gotama, born in the lineage of King Okkaka, will appear in the world. This person will become the Dharma heir of that Teacher, will become his disciple named Kumārakassapa, and due to the merit of offering these fine flowers, elegant fabrics and jewels, he will become foremost among monks in delivering elegant Dharma discourses.”
After that, he continued performing meritorious deeds regularly, and after death, he traveled between the realms of devas and humans.
Past life of Kumārakassapa during the Era of Buddha Kassapa
During the era of Buddha Kassapa, he was born into a family. Ordaining after the Buddha’s parinibbāna, he later witnessed the decline of the religion. He and six other monks, deeply moved by the deterioration in the conduct of the four assemblies, resolved that, while the teachings remained, they would strive to be their own refuge. They paid respects to a golden stupa, a yojana in height, erected to commemorate Buddha Kassapa’s parinibbāna. Seeing a steep mountain, they resolved to practice there, vowing to either attain enlightenment or die in the attempt. They crafted a bamboo ladder to ascend the mountain’s cliff face. Upon reaching the summit, they cast the ladder down, severing their path of retreat, and committed themselves to their monastic practices.
That very night, the most senior of the seven monks attained arahantship, realizing abhijñā (the six types of higher knowledge). The next morning, using his psychic powers, the Great Elder traveled to the Himavanta region, washed his face in Lake Anotatta, and went to the Uttarakuru continent to collect alms. After his meal, he obtained another full bowl of food, returned to Lake Anotatta to wash his face, and chewed the Anagalada tooth-cleaning stick. He then brought these items to the monks who had not yet attained enlightenment and said, “Friends, I have brought this alms-food from the Uttarakuru continent, and this water and Anagalada tooth-cleaning stick from the Himavanta region. Please partake of this food and continue your practice. I will always support you in this way.” Having heard this, those monks said, “Venerable sir, you have completed your task. For us, even just conversing with you wastes time. Now, please do not come to see us again.” When the Great Elder could not persuade those monks by any means, he left.
Within a few days, one of the remaining monks attained the state of Non-Returner, realizing abhijñā of five higher knowledges. He, like the Elder who had attained arahantship, performed the same act. When the remaining monks, who had achieved no attainments, forbade him, he too departed. By the seventh day after ascending the mountain, the remaining five monks, having gained no special realizations, passed away and were reborn in the deva realm. On that same day, the Elder who was an arahant attained final nibbana. The Non-Returner was reborn in the Pure Abode heaven. The other five monks cycled through the six levels of sensual heaven, experiencing divine pleasures in each rebirth.
During the Era of Buddha Gotama
Upon their passing, they were reborn into the human realm. Among them were: Prince Pukkusa of the Mallas, who would later meet the Buddha, hear the Dharma, and become a lifelong lay follower; Bahiya Daruciriya; Dabba Mallaputta, who would later ordain, achieve arahantship, and become the foremost of monks in assigning lodgings; and Sabhiya the wanderer, who would also later meet the Buddha, request ordination, and attain arahantship.
Another was born in Takkasila city in the Gandhara kingdom, named Kumārakassapa.
At the age of twenty, following the disciplinary custom, he was ordained as a monk in the Buddha’s religion. He diligently studied meditation under the Teacher, and then went to the forest. Despite his earnest efforts, he did not attain any special realizations. Therefore, he returned to further study meditation and subsequently resided at Andhavana monastery.
Fifteen Questions from an Old Friend
It happened that a friend, a former fellow monk from the era of Buddha Kassapa who had achieved the state of Non-Returner, died and was reborn in the Pure Abode heaven. This friend then descended to visit him. Presenting fifteen questions, the friend asserted that only the Buddha could resolve them and encouraged Kumārakassapa to seek the Buddha’s wisdom. Venerable Kumārakassapa heeded this counsel, and as the Buddha finished explaining the fifteen questions, he achieved arahantship along with the Paṭisambhidā (analytic insight; discriminating knowledge).
Declared Etadagga (the foremost) in Delivering Elegant Dharma Discourses
Venerable Kumārakassapa was able to teach the Dharma to the four assemblies elegantly and in detail, using similes, analogies, and reasoning to make it easily understandable. In particular, when King Pāyāsi, hearing of his reputation, came to debate with Venerable Kumārakassapa, the Venerable answered the king’s questions with a variety of similes. He successfully refuted the king’s wrong views, impressing him and leading him to take refuge in the Triple Gem and become a lay follower (Upāsaka). See the 《Pāyāsi Sutta》 for details.