ประวัติท้าวสักกเทวราช มฆมาณพ
ในสมัยก่อนที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเราจะเสด็จอุบัติขึ้นในโลก ได้มีชายหนุ่มคนหนึ่งชื่อว่ามฆมาณพเป็นคนมีอัธยาศัยดี มีความเสียสละ เวลาไปที่ไหนก็จะทำสถานที่นั้นให้เป็นที่น่าอยู่ น่ารื่นรมย์ เมื่อใครมาขออยู่อาศัยในที่แห่งนั้น เขาก็จะเสียสละให้ด้วยความยินดีแล้วก็ไปทำสถานที่ใหม่ให้น่าอยู่อีก พอทำเสร็จก็มักจะมีคนมาขออยู่อย่างนี้เรื่อย ๆ เขาไม่ได้นึกโกรธเลยแต่กลับมองโลกในแง่ดี คิดว่า “ช่างน่าปีติใจจริง ๆ ที่คนเหล่านี้มาพักอาศัยอยู่ในที่ของเรา เราก็จะได้บุญไปด้วย” พอวันรุ่งขึ้นเขาได้ถือจอบไปที่ลานหมู่บ้านไปดายหญ้าปัดกวาดบริเวณนั้นให้เป็นี่อันน่ารื่นรมย์ ผู้คนที่สัญจรไปมาก็อยากจะมาพักผ่อนที่ตรงนั้น ครั้นฤดูหนาวมาถึง เขาได้หาฟืนมาก่อไฟให้ชาวบ้านพิงกัน พอถึงฤดูร้อนเขาได้หาน้ำดื่มมาตั้งไว้เพื่อให้ผู้คนที่เดินทางผ่านไปมาแถวนั้นได้ดื่มน้ำแก้กระหาย
ต่อมาเขาคิดว่าเราควรจะสร้างศาลาให้แก่คนเดินทางและทำหนทางให้เรียบร้อย ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาเขาก็ได้ออกจากบ้านแต่เช้าตรู่ถือจอบและมีดเที่ยวดายหญ้า ตัดกิ่งไม้ที่รก ๆ แล้วทำหนทางให้ราบเรียบ เพื่อนเดินผ่านมาเห็นเข้าก็ถามว่า “สหายเอ๋ยมาเที่ยวทำอะไรอยู่แถวนี้” มฆมาณพก็ตอบว่า “ฉันจะทำหนทางไปสวรรค์ของฉันน่ะสิ” เพื่อนได้ฟังดังนั้นก็ชื่นชมและเกิดความเลื่อมใสในเจตนาดีของเขา เมื่อเห็นดีเห็นงานด้วย จึงลงมือช่วยเหลือ วันต่อมาก็มีเพื่อนซึ่งมีความคิดตรงกันกับมฆมาณพมาช่วยงานเพิ่มมากขึ้นจาก 1 คน 2 คน 3 คน เพิ่มขึ้นไปเรื่อย ๆ จนรวมเป็น 33 คน ทุกวันพวกเขาจะพากันถือจอบ ถือมีด และอุปกรณ์ต่าง ๆ ออกจากบ้านด้วยใจที่ร่าเริง เบิกบาน แล้วก็ช่วยกันทำถนนหนทางให้ราบเรียบ ทุกคนต่างก็ร่วมแรงร่วมใจกันอย่างสนุกสนาน บุญบันเทิง จนสามารถทำถนนไปได้ไกลถึง 2 โยชน์ หรือประมาณ 32 กิโลเมตร
ผู้ใหญ่บ้านเห็นชายหนุ่มเหล่านั้นกำลังทำความดีกัน ก็เกิดความอิจฉาริษยา แทนที่จะอนุโมทนากลับกลั่นแกล้ง เพราะตนไม่ได้รับผลประโยชน์อะไรด้วย ถ้าคนเหล่านั้นยิงนกตกปลาแล้วซื้อเหล้ามาดื่มกัน เราก็จะได้ไปร่วมด้วย แต่นี่ทำอะไรก็ไม่รู้ เหนื่อยก็เหนื่อย เสียเวลาทั้งวัน
ด้วยนิสัยที่เป็นพาล ผู้ใหญ่บ้านจึงขัดขวางการทำความดีของมานพทั้งหลาย เพราะกลัวว่าหากชาวบ้านเกิดความเลื่อมใสแล้ว ตัวเองก็จะไม่ได้เป็นผู้ใหญ่บ้านอีก อาจจะให้ชายหนุ่มเหล่านี้มาเป็นผู้นำแทน แต่ถึงแม้ผู้ใหญ่บ้านจะขัดขวางอย่างไรก็ตาม ก็ไม่เป็นผลสำเร็จ เขาเหล่านั้นก็ทำความดีกันตามปกติ เพราะธรรมดาของบัณฑิตย่อมไม่หวั่นไหวในการสร้างความดี
ในที่สุดเมื่อผู้ใหญ่บ้านห้ามไม่ฟังจึงเกิดความโกรธแค้น ได้หาอุบายที่จะขจัดมฆมาณพและพวก จึงได้ไปเข้าเฝ้าพระราชา กราบทูลว่า “ข้าพระพุทธเจ้า เห็นพวกโจรเป็นจำนวนมาก กำลังทำความเดือดร้อนให้ชาวบ้าน ขอให้พระองค์ได้ส่งเจ้าหน้าที่ไปจับกุมด้วยเถิดพระเจ้าค่ะ”
พระราชายังไม่ทันได้ทรงพิจารณา จึงสั่งให้ราชบุรุษไปจับโจรแล้วให้ลงโทษด้วยการให้ช้างเหยียบ ช้างแม้เป็นสัตว์เดรัจฉานก็อย่างรู้คุณของมานพเหล่านี้ จึงไม่กล้าเหยียบ มฆมาณพก็ได้บอกแก่เพื่อน ๆ ว่า “สหายทั้งหลาย เว้นเมตตาธรรมเสียแล้ว ที่พึ่งอื่นของเราก็ไม่มี ท่านทั้งหลายอย่าได้ทำความโกรธเคืองในผู้ไม่หวังดีต่อเราเลย จงมีเมตตาจิตต่อพระราชาและช้างที่กำลังจะเหยียบเราเถิด”
แม้ควาญช้างจะไสช้างเข้าไปหลายครั้งก็ตาม แต่ด้วยอานุภาพแห่งความเมตตา ช้างนั้นจึงไม่เหยียบ พระราชาจึงสั่งให้เอาเสื่อลำแพนใสคลุมพวกเขาไว้ เพราะคิดว่า ช้างเห็นคนมากจึงไม่กล้าเหยียบ พอเอาเสื่อลำแพนมาคลุมไว้ ช้างนั้นก็ยังไม่เหยียบอีก กลับเดินถอยหลังออกไป
พระราชาทรงเกิดความสงสัยจึงเรียกชายหนุ่มเหล่านั้นเข้ามา แล้วก็ได้ถามถึงความเป็นไปทั้งหมด ในที่สุดก็ทราบความจริงว่า มฆมาณพและเพื่อนไม่ได้เป็นโจร แต่ได้ตั้งใจทำความดีมาโดยตลอด พระราชารู้สึกซาบซึ้งในคุณธรรมของพวกเขาทั้งหลายจึงทรงขอโทษที่ได้ล่วงเกินไป แล้วได้พระราชทานตำแหน่งผู้ใหญ่บ้านให้มฆมาณพ ส่วนผู้ใหญ่บ้านคนเดิมพร้อมั้งบุตรและภรรยาก็ให้มาเป็นคนรับใช้ของพวกเขา และทรงได้พระราชทานช้างเชือกนั้นให้เป็นรางวัล
เมื่อได้รับการสนับสนุนจากพระราชา มฆมาณพและพวกก็ยิ่งสร้างความดีเพิ่มขึ้น เขาจึงสร้างศาลาขึ้นกลางหมู่บ้านให้เป็นที่พักอาศัยแก่พ่อค้าและคนเดินทาง
ภรรยาคือนายสุธัมมาก็ได้ร่วมบุญด้วยการทำช่อฟ้าศาลา
นางสุนันทาได้สร้างสระโบกขรณีเพื่อให้คนได้ลงอาบแล้วดื่มน้ำอย่างสบาย
นางสุจิตราได้สร้างสวนดอกไม้หอม ทุกคนต่างก็ขวนขวายในบุญอย่างเต็มที่ เมื่อละโลกไปแล้วก็ได้ไปบังเกิดเป็นเทพบุตรเทพธิดาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
มฆมาณพก็ได้เป็นพระอินทร์ผู้เป็นใหญ่ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
ส่วนนางสุชาดาคิดว่าเราเป็นภรรยาของมฆมาณพ เมื่อเขาทำบุญ เราก็คงจะได้บุญด้วย จึงไม่ได้มีส่วนร่วมในการทำอะไรเลย ละโลกแล้วได้ไปเกิดเป็นนกกระยาง
เพราะฉะนั้นใครทำบุญก็ได้บุญ ถ้าไม่ทำบุญก็ไม่เกิด เรื่องบุญบารมีนี้เราต้องสร้างเอาเอง ไม่มีใครทำให้ใครกันได้ พวกเรานักสร้างบารมีก็เช่นเดียวกัน ควรเอาเยี่ยงอย่างบัณฑิตทั้งหลายในกาลก่อน แล้วก็ตั้งใจทำความดีของเราโดยไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคใด ๆ ทั้งสิ้น แม้ใครจะไม่เห็นด้วยกับเราก็ตาม จงอดทนสร้างบารมีกันต่อไป อย่าหวั่นไหว จงมีกำลังใจที่เข้มแข็ง เมื่อตั้งใจจะทำความดีอะไรแล้ว จงทำสำเร็จ อย่าท้อถอย ให้เอาเป้าหมายเป็นหลักแล้วลงมือทำเรื่อยไป จนกว่าจะสำเร็จบรรลุผลในที่สุด
帝释天的故事 – 摩伽青年的传说
在我们的佛陀还未降世之前,有一位名叫摩伽的年轻人,他性格善良,乐于奉献。无论他去到哪里,都会把那个地方打造成宜居舒适的场所。当有人请求在那里居住时,他都会欣然让出,然后再去开辟新的地方。每次完工后,总会有人来请求居住,周而复始。但他并不会因此生气,反而乐观地想:”真是令人欣慰啊,这些人能住在我开辟的地方,我也能因此积累功德。”
第二天,他就带着锄头来到村子的空地上,除草清扫,把那里变成一个令人愉悦的场所。路过的人们都想在那里休息。冬天来临时,他会准备柴火让村民取暖;到了夏天,他又会准备饮用水,供路人解渴。
后来,他想要为路人建造一个休息的凉亭,并修缮道路。从那时起,他每天清晨就带着锄头和刀具出门,清除杂草,修剪杂乱的树枝,把道路修得平坦。当朋友路过看到他时,便问道:”朋友啊,你在这里做什么?”摩伽回答说:”我在修建通往天堂的道路啊。”朋友们听了都很赞赏,被他的善意所感动。
认同他想法的朋友们也开始帮忙,从一个人变成两个人,三个人,渐渐增加到33人。每天,他们都带着工具,怀着欢快的心情出门工作,共同修建道路。大家同心协力,快乐地工作,最终修建了长达两由旬(约32公里)的道路。
村长看到这些年轻人在做好事,却心生嫉妒。他没有随喜功德,反而处处刁难,因为他没有从中得到任何好处。他想:”如果这些人去打猎钓鱼,买酒喝,我还可以跟着喝一杯,可是他们在做什么呢?又累又浪费时间。”
由于村长的恶劣品性,他处处阻挠这些青年行善。他担心如果村民对这些青年产生信任,自己就当不成村长了,这些年轻人可能会取代他的位置。但无论村长如何阻挠,都无法阻止他们行善,因为智者在行善时从不动摇。
最后,当村长发现劝阻无效时,他非常愤怒,就设计陷害摩伽等人。他去见国王,报告说:”臣下发现有一群强盗正在骚扰村民,请派人将他们逮捕。”
国王未经调查就命令士兵抓捕这些”强盗”,并以大象践踏的方式处以极刑。但大象虽是畜生,却感受到这些青年的善良,不愿踩踏他们。摩伽对朋友们说:”诸位朋友,除了慈悲之心,我们别无依靠。请不要对那些对我们不友善的人心生怨恨,要对国王和即将踩踏我们的大象怀有慈悲之心。”
即使象夫多次驱使大象,但在慈悲的力量下,大象始终不肯踩踏。国王命人用席子盖住他们,认为大象是因为看到人多才不敢踩踏。但即使盖上席子,大象仍然后退不前。
国王感到疑惑,就召见这些青年询问实情。最终得知真相:摩伽和他的朋友们并非强盗,而是一直在行善。国王被他们的美德所感动,为自己的错误道歉,并任命摩伽为新的村长。而原来的村长及其家人则成为他们的仆人。国王还把那头大象赏赐给他们作为奖励。
得到国王的支持后,摩伽和朋友们更加积极行善。他们在村子中央建造了一座凉亭,供商人和旅人休息。
他的妻子们也参与行善:
– 须昙摩负责建造凉亭的屋顶装饰
– 须南塔修建了一个供人沐浴饮水的莲池
– 须质多罗建造了一个芳香花园
每个人都全心投入善行。死后,他们都转生到忉利天:
– 摩伽成为统领忉利天的帝释天
– 而他的妻子须阇陀因为只想着”我是摩伽的妻子,他行善我自然也会得到功德”,却从未参与任何善行,死后转生为白鹭鸟。
因此,行善者得善果,不行善则无所得。功德福报必须自己修行,没有人能替别人积累。作为修波罗密者,我们应当效仿古代智者,坚持行善,不畏艰难。即使有人不认同,也要坚持不懈地积累功德,保持坚强的意志。一旦决定行善,就要坚持到底,直到功德圆满。
The Story of Sakka Devaraja – The Tale of Young Magha
Before the appearance of our Lord Buddha in this world, there lived a young man named Magha who was known for his good nature and selflessness. Wherever he went, he would transform places into pleasant and livable spaces. Whenever someone asked to reside in the areas he beautified, he would gladly give them up and move on to develop new areas. This happened repeatedly, he never felt anger but instead took joy in the thought, “How delightful it is that people find shelter in the places I’ve improved; I earn merit through this.”
The next day, he took his hoe to the village square, cleared the grass, and made the area appealing for travelers to rest. In winter, he gathered firewood to build a fire for warmth, and in summer, he provided drinking water for thirsty passersby.
Later, he decided to build a pavilion for travelers and improve the roads. From then on, he would leave home early each morning with his hoe and knife to clear weeds, trim overgrown branches, and level the paths. When friends passed by and saw him, they would ask, “Friend, what are you doing here?” Magha would reply, “I’m building my road to heaven.” His friends were inspired by his noble intent and joined him.
Like-minded friends joined the effort, growing from one to two to three, eventually reaching 33 people. Every day, they would carry their tools and work with cheerful hearts, collaborating to build roads. Together, they worked joyfully and managed to construct a road extending two yojanas (about 32 kilometers).
The village headman, instead of rejoicing in their good deeds, grew envious. Driven by selfishness, he opposed their work because he felt excluded from any benefit. He thought, “If these young men were hunting or drinking, I could join them. But what is this useless toil? It’s exhausting and time-wasting.”
Due to his malicious nature, the headman tried to obstruct the young men’s good works. He feared that if villagers began to trust these young men, he would lose his position as headman, and these youngsters might replace him. However, despite his interference, he couldn’t stop them from doing good, for it is the nature of wise people to remain steadfast in their virtuous actions.
Finally, when the headman found his deterrence ineffective, he became angry and plotted against Magha and his friends. He went to the king and reported, “Your Majesty, I have discovered a group of bandits who are troubling the villagers. Please send officers to arrest them.”
The king, without investigation, ordered the arrest of these “bandits” and sentenced them to be trampled by elephants. However, the elephant, though an animal, recognized the virtue of these young men and refused to trample them. Magha said to his friends, “Friends, except for loving-kindness, we have no other refuge. Let us not harbor anger towards those who wish us ill. Let us maintain loving-kindness towards both the king and the elephant that is meant to trample us.”
Even though the mahout urged the elephant multiple times, through the power of loving-kindness, the elephant would not trample them. The king ordered them to be covered with mats, thinking the elephant wouldn’t trample them because it saw too many people. But even with the mats, the elephant still backed away.
The king, curious about this unusual event, summoned Magha and his group. Upon learning the truth about their virtuous deeds, the king was deeply moved and apologized for the injustice. He appointed Magha as the new headman, while the former headman and his family became their servants. The king also gifted them the elephant as a reward.
With the king’s support, Magha and his friends increased their good works. They built a pavilion in the center of the village for merchants and travelers to rest.
His wives also participated in meritorious deeds:
– Sudhammā contributed by creating the roof ornaments for the pavilion
– Sunandā built a lotus pond for people to bathe and drink
– Sujitrā created a fragrant flower garden
Everyone devoted themselves fully to good works. After death, they were reborn in Tavatimsa Heaven:
– Magha became Sakka, the lord of Tavatimsa Heaven
– However, Suchadā, another wife of Magha, who thought “I am Magha’s wife, so I’ll naturally gain merit from his good deeds” without participating in any good works herself, was reborn as a crane.
Therefore, those who do good receive good results, and those who don’t do good receive nothing. Merit and virtue must be accumulated by oneself; no one can accumulate them for another. As parami practitioners, we should follow the example of ancient wise ones and persist in doing good without fear of obstacles. Even if others disagree, we should persistently accumulate merit and maintain strong determination. Do not waver, but strive continually with strong resolve until your aspirations bear fruit.