บุญกิริยาวัตถุ 10
十福业
การทำบุญในพระพุทธศาสนา สามารถทำได้ 10 วิธีด้วยกัน เรียกว่า “บุญกิริยาวัตถุ 10” ประกอบด้วย
在佛教中,可以通过十种方式修功德,称为“十福业”,包括:
- ทานมัย (บุญสำเร็จจากการให้ทาน)
1.布施(由布施而成就的功德)
ได้แก่ การแบ่งปันสิ่งของ เงินทอง ความรู้ความสามารถ รวมถึงการให้อภัย ด้วยจิตที่บริสุทธิ์โดยไม่หวังสิ่งใดตอบแทน เป็นการลดความเห็นแก่ตัวและกิเลสในใจให้เบาบางลง ผู้ให้ย่อมได้รับความสุข เป็นที่รักของผู้อื่น และยังเป็นทางมาของโภคทรัพย์อีกด้วย
包括:分享物品、金钱、知识才能以及给予宽恕。以清净心去给予,不求任何回报。这是减少自私和内心烦恼的方式,布施者将获得快乐,受他人的爱戴,同时也是财富的来源。
- สีลมัย (บุญสำเร็จจากการรักษาศีล)
2.持戒(由持戒而成就的功德)
ศีล เป็นหลักปฏิบัติเพื่อให้เกิดความเรียบร้อยทางกายและวาจา ด้วยการไม่เบียดเบียนไม่ทำร้าย ทั้งคนหรือสัตว์ อีกทั้งเป็นการละเว้นจากการทำชั่ว มุ่งทำแต่ความดี เป็นการเตรียมความพร้อมทางกายและวาจา เพื่อไปสู่การปฏิบัติธรรมขั้นสูงต่อไป
持戒是一种修行准则,目的为了让身业和口业清净有序。包括:不伤害他人或动物,诸恶莫作,众善奉行。持戒不仅能规范身体和语言行为,也是为了更高层次的修行做准备。
- ภาวนามัย (บุญสำเร็จจากการเจริญภาวนา)
3.禅修(由禅修而成就的功德)
การทำใจให้สงบนิ่ง เช่น การนั่งวิปัสสนา ทำสมาธิ เพื่อพัฒนาจิตใจและปัญญา การสวดมนต์ก็ถือว่าเป็นภาวนามัยเช่นกัน ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจากภายใน จากใจที่สกปรก มืดมัว เร่าร้อน สู่ใจที่สะอาด สว่าง และสงบในที่สุด
通过修习内观或禅定的方式让心平静,目的是开发心智和智慧,诵经念佛也属于禅修。这些修行能带来内在的转变,心将从浑浊、黑暗、烦躁转变为清净、光明、宁静。
- อปจายนมัย (บุญสำเร็จจากการอ่อนน้อมถ่อมตน)
4.恭敬(由恭敬而成就的功德)
หมายถึง การแสดงความอ่อนน้อมถ่อมตนต่อผู้อื่น เช่น ผู้น้อยมีความเคารพต่อผู้ใหญ่ และผู้ใหญ่ก็ให้ความเมตตากับผู้น้อย ช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน ลดความยึดมั่นถือมั่นในตัวตนของเราลง ทำให้ผู้คนในสังคมอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข
指对他人表现出谦逊和恭敬的态度,具体表现为:晚辈尊敬长辈,长辈关爱晚辈,彼此互相帮助和照顾。这么做能减少我执,让社会中的人们能够和谐共处,生活幸福快乐。
- เวยยาวัจจมัย (บุญสำเร็จจากการขวนขวายบำเพ็ญประโยชน์)
5.服务(由服务而成就的功德)
การสละแรงกายเพื่อช่วยเหลืองานต่างๆ เช่น งานในบ้าน ในที่ทำงาน หรือกิจกรรมทางสังคม เช่น ช่วยปรับปรุงทัศนียภาพของวัดหรือสถานที่สาธารณะให้สะอาดเป็นระเบียบเรียบร้อย ทำให้เกิดความเบิกบานใจแก่ผู้กระทำ
指付出体力帮助各种事务,包括:帮忙做家务,在办公室协助同事,参与社会活动。例如,帮忙打扫寺院,维护公共场所的整洁,让环境变得干净有序,同时也能令行善者心生欢喜。
- ปัตติทานมัย (บุญสำเร็จจากการให้ส่วนบุญ)
6.回向功德(由回向而成就的功德)
เป็นการชักชวนให้ผู้อื่นได้มีส่วนร่วมในการสร้างบุญกับเรา และเมื่อบุญสำเร็จแล้ว ก็อุทิศบุญกุศลที่กระทำไว้ดีแล้วนั้น เผื่อแผ่แก่ผู้อื่น ทั้งมนุษย์และอมนุษย์ทั้งปวง ให้ได้รับบุญไปกับเรา ด้วยจิตที่เป็นกุศลอย่างยิ่ง
邀请他人和我们一起修功德,在修完功德后,将功德回向给其他众生,包括人类和非人类,让他们也能获得同样的功德,为众生带来福祉。
- ปัตตานุโมทนามัย (บุญสำเร็จจากการอนุโมทนา)
7.随喜功德(由随喜而成就的功德)
หมายถึงการแสดงความยินดีในบุญที่ผู้อื่นได้ทำ เช่น กล่าวคำว่า “สาธุ” เพื่ออนุโมทนาบุญ แม้ว่าเราอาจไม่มีโอกาสได้ทำเอง แต่การแสดงความรับรู้ด้วยจิตใจที่ปิติยินดี ผลบุญก็จะบังเกิดกับผู้ร่วมอนุโมทนาด้วยเช่นเดียวกัน
指对他人所修的功德表示随喜赞叹,比如说“萨度(善哉)”来随喜。即使我们没有机会亲自修这些功德,但是以欢喜心来认同和赞叹,也会让随喜的人获得功德。
- ธัมมัสสวนมัย (บุญสำเร็จจากการฟังธรรม)
8.听闻佛法(由闻法而成就的功德)
การฟังธรรม ทำให้เกิดปัญญาจากการเข้าใจในหลักธรรมนั้นๆ อย่างถูกต้อง นำไปสู่การปฏิบัติให้เกิดประโยชน์ จิตในขณะที่ฟังธรรมด้วยความตั้งใจนั้นเป็นกุศล อันจะส่งผลบุญแก่ผู้ที่ได้รับฟังอย่างแน่นอน
闻法能让人从正确理解佛法教义中获得智慧,进而引导人们去实践并获益。专注心听闻佛法的心是善好的,必然会给闻法者带来善果。
- ธัมมเทสนามัย (บุญสำเร็จจากการแสดงธรรม)
9.弘扬佛法(由弘法而成就的功德)
หมายถึง การนำหลักธรรมะที่ถูกต้อง หรือข้อคิดดีๆ ที่เราได้ยินหรือฟังมาไปบอกต่อผู้อื่น เพื่อให้เขาได้รู้จักวิธีการดำเนินชีวิตที่ดี เรียกว่า “ธรรมทาน” ซึ่งทำให้เจริญสติปัญญาแก่ผู้ที่ได้รับฟัง และเกิดความศรัทธาเลื่อมใสในธรรม
指将正确的佛法教义或好的见解分享给他人,让他们了解如何过上如法的生活,这被称为“法布施”。它能增长听闻者的正念和智慧,使他们对佛法产生信仰和恭敬心。
- ทิฏฐุชุกรรม (การทำความเห็นให้ตรง)
10.正直己见(由正见而成就的功德)
หมายถึงการทำความเห็นให้ถูกต้องตามหลักธรรม หรือการมีสัมมาทิฐิ ซึ่งเป็นปฐมบทของอริยมรรคมีองค์ ๘ หากเริ่มต้นชีวิตด้วยความเห็นผิด ชีวิตที่เหลือก็จะผิดทั้งหมด เรียกว่า มิจฉาทิฐิ ซึ่งจะนำชีวิตไปสู่ความมืดมิด หาแสงสว่างมิได้
指根据佛法原则拥有正确的见解,也就是正见,这是八正道的基础。如果人生一开始就持有错误的见解,那么余下的人生也会偏离正确的方向,这就是邪见,它会使人生陷入黑暗,找不到光明。
บุญกิริยาวัตถุ 10 ถือเป็นแนวทางอันล้ำค่า เปรียบเสมือนแสงสว่างนำพาชีวิตไปสู่ความสุขและความเจริญ
十福业被视为宝贵的指导原则,犹如照亮人生的明灯,指引我们走向幸福与繁荣。
Ten Bases of Meritorious Action (Puñña-kiriyā-vatthu)
In Buddhism, there are 10 ways to make merit, known as “Ten Bases of Meritorious Action,” consisting of:
- Dāna-maya (Merit acquired by giving)
Includes sharing material possessions, money, knowledge, abilities, and forgiveness with a pure heart without expecting anything in return. This reduces selfishness and mental defilements, bringing happiness to the giver, making them beloved by others, and leading to future prosperity.
- Sīla-maya (Merit acquired by maintaining moral precepts)
Moral conduct is a practice that brings order to body and speech by not harming or hurting either humans or animals. It also involves abstaining from evil and focusing on doing good, preparing body and speech for higher spiritual practices.
- Bhāvanā-maya (Merit acquired by mental development)
The practice of calming the mind through activities like vipassana meditation and concentration to develop the mind and wisdom. Chanting is also considered a form of mental development. This leads to inner transformation, from an impure, clouded, and agitated mind to one that is pure, bright, and peaceful.
- Apacāyana-maya (Merit acquired by humility and respect)
Refers to showing humility and respect to others, such as juniors respecting seniors and seniors showing kindness to juniors, helping and supporting each other. This reduces ego-attachment and helps people in society live together harmoniously.
- Veyyāvacca-maya (Merit acquired by rendering services)
Contributing physical effort to help with various tasks, such as housework, workplace duties, or social activities like maintaining temples or public spaces, keeping them clean and tidy. This brings joy to those who perform such services.
- Pattidāna-maya (Merit acquired by sharing merits)
Inviting others to participate in making merit with us, and when the merit is completed, dedicating and sharing the benefits of these good deeds with all beings, both human and non-human, with the most wholesome intention.
- Pattānumodanā-maya (Merit acquired by rejoicing in others’ merits)
Showing appreciation for the good deeds of others, such as saying “Sadhu” to express rejoicing. Even if we cannot perform the meritorious deed ourselves, by acknowledging it with a joyful heart, we also receive merit.
- Dhammassavana-maya (Merit acquired by listening to the Dhamma)
Listening to Buddhist teachings leads to wisdom through correct understanding of the principles, leading to beneficial practice. The mind during attentive listening is wholesome, which definitely brings merit to the listener.
- Dhammadesanā-maya (Merit acquired by teaching the Dhamma)
Sharing correct Buddhist teachings or good insights we’ve heard with others so they can learn how to live well, known as “Dhamma-dana” (gift of truth). This develops wisdom and faith in those who listen.
- Diṭṭhujukamma (Straightening one’s views)
Making one’s views correct according to Buddhist principles, or having Right View, which is the first factor of the Noble Eightfold Path. If life begins with wrong views, the rest of life will go wrong – this is called Wrong View, which leads life into darkness without light.
These Ten Bases of Meritorious Action are considered invaluable guidelines, like a light guiding life toward happiness and prosperity.