ปาราชิก ๔
四波罗夷(四驱摈)
ปาราชิก คือประเภทของโทษที่เกิดจากการล่วงละเมิดสิกขาบทประเภท อาบัติหนัก ที่เรียกว่า อาบัติปาราชิก
波罗夷是一种因违犯戒律而受到的惩罚,属于重罪,称为波罗夷罪。
คำศัพท์ว่า ปาราชิกนั้น แปลว่า ยังผู้ต้องพ่าย หมายถึง ผู้ต้องพ่ายแพ้ในตัวเองที่ไม่สามารถปฏิบัติในพระธรรมวินัยที่พระพุทธเจ้าทรงประทานไว้ให้ได้
波罗夷意为“失败者”,即失去当比丘的资格,不能继续修持佛陀的法与律。
ปาราชิก มี 4 ข้อ อยู่ใน ศีล 227 ได้แก่
在二百二十七条戒律中,四波罗夷的定义如下:
- ภิกษุเสพเมถุน แม้กับสัตว์เดรัจฉาน (ร่วมสัมพันธ์ทางเพศกับมนุษย์ หรืออมนุษย์ หรือสัตว์ แม้แต่ซากศพก็ไม่ละเว้น)
1.不净行戒,如果比丘行不净行,即便与畜生(包括人、非人、动物或尸体发生性关系),亦犯波罗夷。
- ภิกษุถือเอาทรัพย์ที่เจ้าของไม่ได้ให้ มาเป็นของตน จากบ้านก็ดี จากป่าก็ดี (ขโมย) ได้ราคา 5 มาสก (5 มาสกเท่ากับ 1 บาท)
2.不与取戒(偷盗),如果比丘从村落或森林取走未被给予,价值达五磨沙加之物(五磨沙加约等于一泰币),犯波罗夷。
- ภิกษุพรากกายมนุษย์จากชีวิต (ฆ่าคน) แสวงหาและใช้เครื่องมือกระทำเอง หรือจ้างวานฆ่าคน หรือพูดพรรณาคุณแห่งความตายให้คนนั้น ๆ ยินดีที่จะตาย (โดยมีเจตนาหวังให้ตาย) ไม่เว้นแม้แต่การแท้งเด็กในครรภ์
3.杀人戒,如果比丘故意亲自夺取他人的生命,或雇凶杀人,或赞叹死亡的美好,或煽动对方自杀(带有期望对方死亡的意图),包括流产,犯波罗夷。
- ภิกษุกล่าวอวดอุตริมนุสธรรมที่ไม่จริง อันเป็นความเห็นอย่างประเสริฐ อย่างสามารถ น้อมเข้าในตัวเองว่า เรารู้อย่างนี้ เราเห็นอย่างนี้ (ไม่รู้จริง แต่โอ้อวดความสามารถของตัวเอง)ยกเว้นเข้าใจตัวเองผิด
4.妄说上人法戒,如果比丘谎称自己有超越凡人的法或能力,吹嘘自己知道这样或看见那样的法(事实不是真的知道,而是吹嘘自己的能力),除非是对自己有误解。
อาบัติปาราชิกทั้ง 4 นี้เป็นอาบัติหนักที่เรียกว่า อเตกิจฉา คือแก้ไขไม่ได้เลย
四波罗夷罪属于重罪,称为不可治,即无法化解的罪。
โทษของอาบัติปาราชิก
波罗夷罪的危害
พระภิกษุต้องอาบัติปาราชิกสี่ข้อใดข้อหนึ่ง แม้จะไม่กล่าวลาสิกขาบท ก็ถือว่าขาดจากความเป็นพระภิกษุทันที เมื่อความผิดสำเร็จ เมื่อขาดจากความเป็นพระแล้ว ก็ถือว่าไม่ใช่พระภิกษุอีกต่อไป ไม่สามารถอยู่ร่วมกับภิกษุอื่นหรือคณะหมู่สงฆ์ได้เลย ต้องลาสิกขาบทออกจากเป็นพระภิกษุทันที มิฉะนั้นจะกลายเป็นพวกอลัชชี (แปลว่า ผู้ไม่ละอาย) นอกจากนั้นจะไม่สามารถกลับเข้ามาบวชใหม่ได้เลยตลอดชีวิต แม้จะบวชเข้ามาได้ก็ไม่ใช่พระภิกษุที่ถูกต้องตามพระธรรมวินัย
如果比丘犯任意一条波罗夷罪,即便没有舍戒,也被认为立即失去出家的资格。当犯波罗夷罪失去出家的资格后就不再是比丘,不能与其他比丘或僧团共住,必须立即舍戒还俗,否则将成为无惭者(无耻的人)。除此之外,终身无法重新出家,即便出家也不是依法与律如法出家的比丘。
ปาราชิก สิกขาบทที่ 1 ภิกษุเสพเมถุน แม้กับสัตว์เดรัจฉาน (ร่วมสัมพันธ์ทางเพศกับมนุษย์ หรืออมนุษย์ หรือสัตว์ แม้แต่ซากศพก็ไม่ละเว้น) ถือเป็นปาราชิก
波罗夷第一戒——如果比丘行不净行,即便与畜生(包括人、非人、动物或尸体发生性关系),亦犯波罗夷。
เจตนารมณ์ของสิกขาบทข้อนี้
制戒的目的
สิกขาบทนี้ทรงบัญญญัติไว้เพื่อให้ภิกษุดำรงตนอย่างเป็นอิสระ ไม่ยึดติดกับโลกียสุขแบบชาวโลก ซึ่งต้องยึดติดจนปล่อยวางไม่ได้ทิ้งไม่ได้ต้องเสพเสวยกามโลกีย์ร่ำไป มีทุกข์ร่ำไป หากปล่อยได้วางได้ก็จะเป็นอิสระ เบาสบาย มีสุขภาพกายและใจดีอยู่ตลอดเวลา และการที่ภิกษุสามารถเสพเมถุนได้ก็จะทำให้เกิดเป็นครอบครัวขึ้น ซึ่งต้องเป็นภาระอันหนักสำหรับหัวหน้าครอบครัวต้องดูแลทั้งภรรยาและลูกซึ่งก็เป็นการยากที่จะทำให้ดีได้เพราะภิกษุเป็นนักบวช ไม่อาจประกอบอาชีพอื่นใดได้นอกจากต้องอาศัยคนอื่นเลี้ยงชีพเลี้ยงชีวิตอยู่ได้ไปวันๆ เท่านั้น
佛陀制定此戒是为了让比丘能自由独立的生活,不执着于世俗的欲乐。如果执着或沉迷世俗的情欲,舍不得,放不下,就会一直受苦。如果放得下,便会自由独立,身心健康快乐。倘若比丘行不净行,将因此组建家庭,作为一家之主要同时照顾妻子和孩子,这是沉重的负担,对于一个出家人来说很难做好,因为自己并没有其他谋生方式,只能依靠居士的布施维持生活。
ด้วยเหตุนี้จึงทรงบัญญัติสิกขาบทข้อนี้เข้าไว้ก็ด้วยมีพระพุทธประสงค์ให้ภิกษุงดเว้นจากการเสพเมถุนโดยเด็ดขาด เพื่อมิให้มีความวิตกกังวล มัวเมาลุ่มหลง ดิ้นรนแสวงหากามสุข หรือต้องรับภาระเลี้ยงดูคนอื่นจนไม่มีเวลาบำเพ็ญเพียรประพฤติพรหมจรรย์เพราะการเสพเมถุนนั้นเป็นไปเพื่อมีโทษ คือ
因此,佛陀制定此戒是为了禁止比丘行不净行,从而远离焦虑、不沉迷于情欲,不去寻找欲乐,以及远离因照顾他人而无暇修习梵行的负担。不净行有多种危害:
– เป็นข้าศึกแก่การประพฤติพรหมจรรย์
是梵行的敌人。
– เป็นเหตุให้วุ่นวาย มีภาระมาก เหมือนคนครองเรือน
造成混乱,增加负担,犹如一家之主。
– เป็นไปเพื่อสะสมกิเลสและกองทุกข์
徒增烦恼与痛苦。
– เป็นเหตุให้ลุ่มหลงมัวเมา ไม่รู้จักความจริง
沉迷于其中,不明真相。
อนาปัตติวาร
无罪
อนาปัตติวาร หมายถึงตอนว่าด้วยข้อยกเว้นไม่ต้องอาบัติในเพราะการละเมิดสิกขาบท คือในสิกขาบทแต่ละสิกขาบทท่านได้แสดงลักษณะภิกษุที่แม้จะล่วงละเมิดคือไปทำอย่างนั้นๆ แต่ก็ได้รับยกเว้น ไม่ต้องอาบัติตามสิกขาบทนั้น เพราะสิกขาบทได้ทรงบัญญัตินั้นไว้ทีหลังการทำเช่นนั้น การทำเช่นนั้นก่อนจึงไม่ถือว่าเป็นความผิด คือไม่ต้องอาบัติในเพราะข้อนั้น จึงเรียกว่า อนาบัติ
无罪指犯戒者被免除惩戒,即比丘虽然违犯了戒律,但可以免受责罚,因为是在比丘违犯后才制定该条戒律,所以不视为违犯,无需接受惩罚,称为无罪(不犯)。
ในสิกขาบทนี้ท่านแสดงภิกษุผู้ได้รับยกเว้นไม่ต้องอาบัติไว้คือ
在此戒中,佛陀进一步说明以下状态不属于犯戒:
๑. ภิกษุผู้ไม่รู้ตัว เช่นหลับสนิทจนไม่รู้สึกตัว เมื่อถูกนั่งทับหรือละเมอแล้วทำลงไปโดยไม่รู้สึกตัว
1.不知情的比丘,例如比丘睡得很沉以至于没有察觉被坐在身上或在做梦的情况下发生性关系。
๒. ภิกษุผู้วิกลจริต คือภิกษุบ้าผู้มีความประพฤติหรือกิริยาผิดปกติเพราะไม่มีสติสัมปชัญญะ
2.精神失常的比丘,即比丘发疯或无正念正知的情况下行为异常。
๓. ภิกษุมีจิตฟุ้งซ่าน คือภิกษุผู้มีจิตไม่สงบ พล่านไป ซัดส่ายไปควบคุมตัวเองไม่ได้
3.心散乱的比丘,即比丘内心不安、烦躁、无法控制自己。
๔. ภิกษุผู้กระสับกระส่ายเพราะเวทนา คือภิกษุผู้เร่าร้อนใจทนนิ่งเป็นปกติอยู่ไม่ได้
4.因疼痛而精神错乱的比丘,即比丘内心焦躁,无法平静。
๕. ภิกษุผู้เป็นต้นบัญญัติ คือภิกษุที่กระทำกรรมเป็นครั้งแรก เป็นเหตุให้มีการบัญญัติสิกขาบทข้อนี้ขึ้น จัดเป็นต้นบัญญัติเรียกว่า อาทิกัมมิกะ ในสิกขาบทนี้คือ พระสุทินน์ ซึ่งเสพเมถุนธรรมกับอดีตภรรยาตามคำขอร้องของโยมมารดา เพื่อให้มีบุตรไว้สืบตระกูล
5.第一个犯戒的比丘,即由于出现第一个犯错的比丘才制定了这条戒,被称为最初犯行者。该戒的制戒缘起是须提那比丘被母亲要求传宗接代,从而与前妻发生性关系。
ในสิกขาบทแต่ละข้อ ท่านจะแสดงอนาปัตติวารไว้ สำหรับเป็นหลักวินิจฉัยตัดสินว่าต้องอาบัติหรือไม่ในเมื่อภิกษุไปล่วงละเมิดสิกขาบทหรือไปทำสิ่งที่ชาวบ้านหรือภิกษุด้วยกันเห็นแล้วตำหนิติติงโพนทะนาว่าไม่เหมาะไม่ควรเข้า โดยเฉพาะภิกษุผู้เป็นอาทิกัมมิกะผู้เป็นต้นบัญญัติจะมีในทุกสิกขาบท และได้รับยกเว้นไม่ต้องอาบัติที่ทรงบัญญัติไว้หลังจากนั้นทุกกรณีในทุกสิกขาบท
每一条戒佛陀都说明了无罪的范畴,可作为比丘做了村民或同修认为不妥不宜之事后裁定是否犯戒的依据。每一条戒皆有说明谁为最初犯行者,即第一个犯戒的比丘可免受戒律规定的惩罚。
วินีตวัตถุ
修习事(先行之事)
วินีตวัตถุ คือเรื่องที่พระพุทธองค์ทรงวินิจฉัยแล้ว หมายถึงเมื่อมีการกระทำอันส่อว่าจะเป็นการล่วงละเมิดข้อบัญญัติเกิดขึ้น โดยมีภิกษุไปทำขึ้นและเรื่องนั้นถูกนำขึ้นกราบทูลให้ทรงทราบ ทรงรับสั่งตรัสถามโดยวิธีเดียวกับวิธีการบัญญัติสิกขาบทแต่ละครั้ง แล้วทรงวินิจฉัยว่าเป็นอาบัติหรือไม่เป็นอาบัติ
修习事指佛陀已裁定之事,即当发生违反规定的行为后,也就是佛陀得知比丘做了一件不应行之事后,采用与此前制定戒律相同的方式来发问,最后判定是否犯戒。
วีนีตวัตถุเช่นนี้ถูกบันทึกไว้ในพระไตรปิฎกในเกือบทุกสิกขาบท ซึ่งสามารถนำมาเป็นตัวอย่างเทียบเคียงตัดสินในการปรับอาบัติของพระวินัยธรได้เป็นอย่างดีและได้ปฏิบัติสืบมาจนทุกวันนี้
在《三藏经》中几乎每条戒都记载有修习事,可作为持律师判定罪行的案例依据,一直沿用至今。
ในสิกขาบทนี้มีวินีตวัตถุจำนวนมาก และพระพุทธเจ้าทรงวินิจฉัยตัดสินไว้ด้วยพระองค์เอง เช่น
在该戒中有许多修习事,佛陀亲自做出了裁定,例如:
– ภิกษุรูปหนึ่งเสพเมถุนกับลิงเพศเมีย ทรงตัดสินว่าต้องอาบัติปาราชิกแล้ว
一名比丘与母猴发生性关系,佛陀判定犯波罗夷。
– ภิกษุรูปหนึ่งปลอมตัวเป็นคฤหัสถ์ไปเสพเมถุน ทรงตัดสินว่าต้องอาบัติปาราชิกแล้ว
一名比丘乔装成居士与别人发生性关系,佛陀判定犯波罗夷。
– ภิกษุรูปหนึ่งสอดนิ้วมือเข้าไปในองค์กำเนิดของเด็กหญิงจนเธอสิ้นชีวิต ทรงตัดสินว่าไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
一名比丘将手指插入一名小女孩的生殖器致其死亡,佛陀判定不犯波罗夷,可是犯僧残。
– ภิกษุรูปหนึ่งมีหลังอ่อน ก้มตัวอมองค์กำเนิดของตน ทรงตัดสินว่าต้องอาบัติปาราชิกแล้ว
一名比丘后背软弱,弯腰含自己的生殖器,佛陀判定犯波罗夷。
– ภิกษุรูปหนึ่งมีองค์กำเนิดยาวยกองค์กำเนิดขึ้นอม ทรงตัดสินว่าต้องอาบัติปาราชิกแล้ว
一名比丘提起修长的生殖器放进嘴里含,佛陀判定犯波罗夷。
ภิกษุรูปหนึ่งสอดองค์กำเนิดเข้าไปในองค์กำเนิดของศพ ทรงตัดสินว่าต้องอาบัติปาราชิกแล้ว
一名比丘将生殖器(阴茎)插入尸体的生殖器(阴茎),佛陀判定犯波罗夷。
– ภิกษุรูปหนึ่งใช้องค์กำเนิดเสียดสีกับเครื่องหมายเพศแห่งรูปปั้นทรงตัดสินว่าไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติทุกกฎ
一名比丘拿生殖器(阴茎)去摩擦雕像的生殖器(阴道),佛陀判定不犯波罗夷罪,可是犯恶作。
– ภิกษุรูปหนึ่งใช้องค์กำเนิดเสียดสีกับเครื่องหมายเพศแห่งตุ๊กตาไม้ทรงตัดสินว่าไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติทุกกฎ
一名比丘拿生殖器(阴茎)去摩擦木娃娃的生殖器(阴道),佛陀判定不犯波罗夷,可是犯恶作。
ภิกษุรูปหนึ่งถูกผู้หญิงชวนให้เสพเมถุนกับตน ภิกษุไม่ยอม นางบอกว่าจะพยายามเอง ขอให้อยู่เฉยๆ จึงยอมให้นางเสพเมถุนทรงตัดสินว่าต้องอาบัติปาราชิกแล้ว
一个女人想和一名比丘发生性关系,比丘拒绝,女人说她自己做,只要求比丘保持安静,最终比丘同意与女人发生性关系,佛陀判定犯波罗夷。
– ภิกษุรูปหนึ่งเสพเมถุนกับศพซึ่งส่วนใหญ่ยังสมบูรณ์อยู่ยังไม่ถูกสัตว์กิน ทรงตัดสินว่าต้องอาบัติปาราชิกแล้ว
一名比丘与一具几乎完好无损尚未被动物吃掉的尸体发生性关系,佛陀判定犯波罗夷。
– ภิกษุรูปหนึ่งเสพเมถุนกับศพซึ่งส่วนใหญ่ถูกสัตว์กัดกินแล้ว ทรงตัดสินว่าไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย
一名比丘与一具大部分已被动物吃掉的尸体发生性关系,佛陀判定不犯波罗夷,可是犯偷兰遮。
– ภิกษุรูปหนึ่งเก็บกระดูกของสตรีที่ตนเคยรักซึ่งถูกทิ้งไว้ในป่าช้ามาประกอบกันเข้าจนเป็นรูปร่างแล้วสอดองค์กำเนิดไปตรงช่องเครื่องหมายเพศสตรีทรงตัดสินว่าไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติทุกกฎ
一名比丘在墓地里收集自己曾经爱过的女人的骨头拼成人形,然后将自己的生殖器(阴茎)插入对方的生殖器(阴道),佛陀判定不犯波罗夷,可是犯恶作。
– ภิกษุรูปหนึ่งเสพเมถุนกับนาคเพศเมีย ทรงตัดสินว่าต้องอาบัติปาราชิกแล้ว
一名比丘与一名女性娜迦发生性关系,佛陀判定犯波罗夷。
– ภิกษุรูปหนึ่งเสพเมถุนกับบัณเฑาะก์(กะเทย) ทรงตัดสินว่าต้องอาบัติปาราชิกแล้ว
一名比丘与一名两性人(人妖)发生性关系,佛陀判定犯波罗夷。
– ภิกษุรูปหนึ่งจำวัดอยู่ในป่า สตรีคนหนึ่งเห็นเข้าจึงเปิดผ้าแล้วนั่งทับ ภิกษุรุ้สึกตัวขึ้น ยินดีเมื่อองค์กำเนิดของตนได้สอดเข้าไปในองค์ของนาง ทรงตัดสินว่าต้องอาบัติปาราชิกแล้ว
一名比丘在森林里睡觉,一个女人看见后宽衣解带坐在他的身上,比丘恢复意识后依然乐于与女人发生性关系,佛陀判定犯波罗夷。
– ภิกษุรูปหนึ่งนอนพิงต้นไม้อยู่ในป่าสตรีคนหนึ่งเห็นเข้าจึงเปิดผ้าแล้วเข้าไปนั่งทับ สำเร็จกิจของตนแล้วลุกขึ้นมายืนหัวเราะอยู่ ภิกษุตื่นขึ้นเห็นเข้าจึงถามนางว่าทำอย่างนี้ใช่ไหม นางยอมรับทรงตัดสินว่าเมื่อไม่รู้ตัวก็ไม่ต้องอาบัติ
一名比丘在森林里背靠一棵树睡觉,一个女人看见后宽衣解带坐在他的身上,事后站起来大笑,比丘醒来看见后问女人是不是与其发生了性关系?佛陀判定在不知情的情况下不犯。
– ภิกษุรูปหนึ่งนอนพักอยู่สตรีคนหนึ่งเข้ามานั่งทับองค์กำเนิด ภิกษุรู้สึกตัวขึ้นจึงถีบนางให้พ้นออกไปทรงถามภิกษุว่ายินดีหรือไม่ ทูลว่ามิได้ยินดีจึงทรงตัดสินว่า เมื่อไม่ยินดีก็ต้องไม่อาบัติอะไร
一名比丘正在休息,一个女人过来坐在他的生殖器上,比丘察觉后一脚将她踢开。佛陀问比丘是否乐意,比丘说并非乐意,当并非乐意时则不犯。
– ภิกษุรูปหนึ่งฝันว่าได้เสพเมถุนกับอดีตภรรยาจึงเล่าให้พระอุบาลีฟัง พระอุบาลีติดสินว่า อาบัติไม่มีเพราะความฝัน
一名比丘梦见与前妻发生性关系,随后他将这件事告知优婆离尊者,优婆离尊者判定他不犯,因为是在做梦。
– ภิกษุรูปหนึ่งถูกสตรีนางหนึ่งซึ่งมีศรัทธาอ่อนแนะนำให้เสียดสีองค์กำเนิดในระหว่างขาอ่อนของนางทรงตัดสินว่าไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
一名比丘被一位信仰不坚定的女子劝说用生殖器在她的大腿之间摩擦,佛陀判定不犯波罗夷,但犯僧残。
– ภิกษุรูปหนึ่งถูกสตรีนางหนึ่งซึ่งมีศรัทธาอ่อนชักชวนให้เสียดสีองค์กำเนิดที่สะดือของนาง ทรงตัดสินว่าไม่ต้องอาบัติปาราชิกแต่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
一名比丘被一位信仰不坚定的女子劝诱用生殖器去摩擦她的肚脐,佛陀判定不犯波罗夷,但犯僧残。
– ภิกษุรูปหนึ่งถูกสตรีชักชวนให้เสียดสีองค์กำเนิดที่ง่ามมือของนางทรงตัดสินว่าไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
一名比丘被一位女子劝诱用生殖器去摩擦她的手掌虎口处,佛陀判定不犯波罗夷,但犯僧残。
– ภิกษุรูปหนึ่งถูกสตรีชักชวน ยินยอมให้นางใช้มือจับองค์กำเนิดทำให้น้ำอสุจิเคลื่อนออกมา ทรงตัดสินว่าไม่ต้องอาบัติปาราชิกแต่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
一名比丘被一个女子劝诱,同意她用手紧握比丘的生殖器导致出精,佛陀判定不犯波罗夷,但犯僧残。
– ภิกษุรูปหนึ่งถูกสตรีชักชวน จึงสอดองค์กำเนิดเข้าไปทางช่องหูทรงตัดสินว่าไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
一名比丘被一个女子劝诱将生殖器插入她的耳道,佛陀判定不犯波罗夷,但犯僧残。
– ภิกษุรูปหนึ่งเป็นผู้เฒ่า กลับไปเยี่ยมบ้าน พบอดีตภรรยา นางบังคับให้สึกแล้วเข้าไปยึดตัว ภิกษุนั้นล้มหงายหลังลง นางจึงขึ้นคร่อมนั่งทับองค์กำเนิดของภิกษุ ทรงถามว่ายินดีหรือไม่ ภิกษุทูลตอบว่าไม่ยินดีจึงทรงตัดสินว่า เมื่อไม่ยินดีก็ต้องไม่ต้องอาบัติ
一名年老的比丘回家探望,前妻要求他还俗,在拉扯过程中比丘仰面倒地,前妻跨足坐在他的生殖器上。佛陀问比丘是否乐意,比丘说不乐意,当不乐意时不犯。
– ภิกษุรูปหนึ่งอยู่ในป่า ถ่ายปัสสาวะอยู่ ลูกเนื้อตัวหนึ่งเข้ามาแล้วอมองค์กำเนิดของเธอดื่มน้ำปัสสาวะ ภิกษุนั้นยินดีทรงตัดสินว่าต้องอาบัติปาราชิกแล้ว
一名比丘在林中小便,一只小牛过来含住他的生殖器,喝他的尿液,比丘为此感到乐意,佛陀判定犯波罗夷。
อาจแสดงโดยสรุปได้ว่า
综合结论:
๑. เมื่อภิกษุเสพเมถุนธรรม โดยให้องค์กำเนิดของตนเข้าไปทางทวารหนัก ทวารเบา หรือทางปากของมนุษย์ (ชาย หญิงกะเทย) ของอมนุษย์ คือยักษ์เปรต อสุรกาย ของสัตว์ดิรัจฉานเพศเมีย หรือเป็นพันทางที่ปรากฏเพศชัดเจนว่าเป็นเพศผู้หรือเพศเมีย ต้องอาบัติปาราชิก
1.如果比丘行不净行,将自己的生殖器插入人(男人、女人、人妖)或非人,即夜叉、饿鬼、阿修罗、或畜生或明显显示雌雄的杂交畜生的肛门、尿道或嘴巴,犯波罗夷。
๒. มนุษย์อมนุษย์หรือสัตว์ดิรัจฉานที่เสียชีวิตแล้ว แต่ซากนั้นยังบริบูรณ์หรือแหว่งวิ่นไปบ้างแต่ยังมีอวัยวะที่จะให้สำเร็จกิจในการเสพอยู่ เมื่อไปเสพเข้า ต้องอาบัติปาราชิก
2.已死的人、非人或畜生,但尸体仍完整或已有些腐烂,可仍有能完成性交的器官,如果发生性行为,犯波罗夷。
๓. ภิกษุถูกข่มขืน แต่ยินดีในการสัมผัส ในขณะที่องค์กำเนิดกำลังเข้าไปก็ดีถึงที่แล้วก็ดีหยุดอยู่ก็ดีถอนออกก็ดีต้องอาบัติปาราชิก
3.如果比丘被强奸,且乐意于接触,不管生殖器正在插入、已经插入、停留或退出,皆犯波罗夷。
๔. ภิกษุยอมให้ภิกษุอื่นเสพเมถุนในทวารหนักของตน ต้องอาบัติปาราชิก
4.如果一名比丘允许其他比丘利用他的肛门发生性关系,犯波罗夷。
๕. ภิกษุผู้ก้มลงอมองค์กำเนิดของตนก็ดีผู้สอดองค์กำเนิดที่ยาวของตนเข้าไปทางทวารหนักของตนก็ดีต้องอาบัติปาราชิก
5.比丘弯腰含自己的生殖器(阴茎),或将自己的长生殖器插入自己的肛门,犯波罗夷。
๖.ภิกษุผู้สั่งให้ผู้อื่นพยายามทำเช่นนั้นแก่ตน ก็ต้องอาบัติปาราชิกเหมือนกัน
6.如果比丘命令别人为自己行不净行,一样犯波罗夷。
ปาราชิกสิกขาบทที่ 2
波罗夷第二戒——不与取(偷盗)
อาการที่ขโมยนั้น มีรายละเอียดมาก โดยเฉพาะอาการที่เรียกว่า ขโมย ท่านแสดงรายละเอียดไว้ คือ
偷盗有多种状态,佛陀做了如下详细描述:
(๑) ลัก ได้แก่ การมีไถยจิตคิดเอาไป ยกหรือย้ายทำให้เคลื่อนจากฐาน พอทรัพย์พันจากที่ตั้ง เป็นปาราชิก
1.偷,指有盗心将东西提起或移动而脱离底座,当东西离开原处时,犯波罗夷。
(๒) ชิง หรือ วิ่งราว ได้แก่ การชิงเอาทรัพย์ที่เขาถือ พกพา หรือ ประดับติดตัวอยู่ พอทรัพย์พันจากอวัยวะอันเป็นฐาน เช่น จากมือ จากคอ จากกระเป๋า เป็นปาราชิก
2.抢或劫,指抢劫他人持有、携带或装饰的财物,当财物离开对方的身体,例如离开手、脖子或口袋时,犯波罗夷。
(๓) ลักต้อน ได้แก่ การขับต้อนไป ลากจูงไป อุ้มไป ซึ่งปศุสัตว์ สัตว์ที่ใช้เป็นพาหนะ หรือสัตว์เลี้ยงประดับ เช่น ช้าง ม้า วัว ควาย เป็ด ไก่ แมว ปลา ถ้าเป็นสัตว์สองเท้า เมื่อเท้าที่สองพ้นจากฐาน เป็นปาราชิก ถ้าเป็นสัตว์สี่เท้า เมื่อเท้าที่สี่พันจากฐาน เป็นปาราชิก
3.偷赶,指驱赶、拖拉或运走牲畜或作为交通工具或作为宠物的动物,例如大象、黄牛、水牛、鸭、鸡、猫、鱼等。如果它们是两足动物,当第二只足离开原处时犯波罗夷,如果是四足动物,当第四只足离开原处时犯波罗夷。
(๔) แย่ง ได้แก่ การมีไถยจิตแย่งเอาของซึ่งคนถือทำตกหล่นไว้ พอหยิบของนั้นขึ้นจากที่ เป็นปาราชิก
4.夺取,指有盗心夺取持有者掉落地上的东西,当从地上拾起东西时,犯波罗夷。
(๕) ลักสับ ได้แก่ การมีไถยจิตสลับสลาก โดยหมายจะเอาลาภของผู้อื่นที่ดีกว่า มีราคาดีกว่า หรือสลับของ โดยเอาของราคาน้อยสลับกับของราคามาก เพื่อประโยชน์ส่วนตัว เป็นปาราชิก
5.偷换,指有盗心调包,其目的是为了个人利益夺取他人质量较好或价格较高的东西,或者以低价的东西偷换高价的东西,犯波罗夷。
(๖) ตู่ เช่น การกล่าวตู่เพื่อจะเอาที่ดินของผู้อื่น เจ้าของที่ดินไม่ฉลาดนัก เถียงไม่ขึ้น จึงทอดกรรมสิทธิ์ของตนไป เป็นปาราชิกเมื่อเขาทอดกรรมสิทธิ์
6.冒充,例如为了侵占他人的土地而编造谎言或伪证,由于业主不够精明,没有争取就放弃了所有权,当业主放弃所有权时比丘犯波罗夷。
ถ้าเจ้าของยังไม่ทอดกรรมสิทธิ์ มีการฟ้องร้องเป็นความกันในศาล เมื่อคดีความยังไม่เสร็จสิ้น ยังไม่เป็นปาราชิกก่อน เมื่อคดีถึงที่สุดในระดับศาลชั้นใดชั้นหนึ่ง เจ้าของที่ดินแพ้ ภิกษุเป็นปาราชิก
如果业主没有放弃所有权,向法院提起诉讼,诉讼尚未结束时不犯波罗夷,当法院终审时业主输了官司,则比丘犯波罗夷。
แม้ในกรณีที่ภิกษุฟ้องร้องเองเพื่อตู่เอาที่ดินของคนอื่น เมื่อตนชนะคดี เป็นปาราชิกเหมือนกัน
即便是比丘企图侵占他人土地而起诉对方,当他打赢官司时,同样犯波罗夷。
ภิกษุมีเจตนาเอาที่ดินของคนอื่น จึงปักเขตรุกเข้าไปในที่ดินของเขา เป็นปาราชิกในขณะทำเสร็จ
比丘企图侵占他人土地,便在对方的土地划分界线,当他完成时犯波罗夷。
ถ้ารื้อถอนทรัพย์สินที่เป็นอสังหาริมทรัพย์โดยอ้อม ออกจากที่ เช่นฟัน ถอน หรือรื้ออาคารบ้านเรืยน กำหนดว่าเป็นปาราชิกเมื่อทำให้ทรัพย์นั้นเคลื่อนจากที่สำเร็จ
如果间接拆除原地的不动产,例如砍伐、推倒或拆除建筑物,当该建筑物脱离原地时犯波罗夷。
(๗) ฉ้อ ได้แก่ การที่รับของฝากไว้ แต่มีไถยจิตคิดยึดไว้ เมื่อเจ้าของมาทวงคืน กลับปฏิเสธว่าไม่ได้รับไว้ หรือบอกว่าได้ให้คืนไปแล้ว เมื่อเจ้าของขาดกรรมสิทธิ์ เป็นปาราชิก
7.欺诈,例如比丘替别人保管东西时有盗心占为己有,当主人来索回时,否认自己替对方保管或说已经归还对方,当对方失去东西的所有权时犯波罗夷。
(๘) ยักยอก ได้แก่ การที่ทำหน้าที่เป็นผู้คอยรักษาคลังพัสดุ แต่มีไถยจิตนำสิ่งของที่ต้องการออกไปจากเขตที่ตนรักษา นำออกไปพ้นเขตแล้ว เป็นปาราชิก
8.贪污,例如担任物资仓库的管理员,却有盗心监守自盗,当将东西带离原地时,犯波罗夷。
(๙) ตระบัด ได้แก่ การที่นำของที่ต้องเสียภาษีมา เมื่อผ่านด่านเก็บภาษี ซ่อนของนั้นเสีย หรือของมีมาก นำออกมาเปิดเผยเสียภาษีบางส่วน ซ่อนไว้เสียบางส่วน เมื่อนำของนั้นพ้นด่านภาษีไป เป็นปาราชิก
9.抵赖债务,例如携带应当纳税的东西逃避征税人员的稽查,将东西隐藏起来,或者隐藏一部分,只缴纳一部分税,当将东西带出税务检查站时,犯波罗夷。
ข้อนี้มีข้อยกเว้น คือ ถ้าได้รับอนุญาตจากเข้าหน้าที่เก็บภาษี หรือมีคนช่อนของเสียภาษีไว้ในย่ามหรือในกระเป๋าของภิกษุ โดยที่ตนไม่รู้ อย่างนี้ท่านว่าไม่ต้องอาบัติ
但也有例外,如果获得征税人员的许可,或者在比丘不知情的情况下,有人把纳税的东西藏在比丘的僧袋或口袋里,则不犯波罗夷。
(๑๐) ปล้น ได้แก่ การที่ชวนกันทำโจรกรรม จะลงมือเองก็ตาม มิได้ลงมือก็ตาม เป็นปาราชิกทุกรูป
10.打劫,如果邀请他人实施打劫,无论是亲手或间接打劫,皆犯波罗夷。
(๑๑) หลอกลวง ได้แก่ การที่ทำของปลอม เช่นทำเงินปลอม ทำทองปลอม แล้วนำไปหลอกขายผู้อื่นโดยบอกว่าเป็นของแท้ ได้ราคามาตามที่กำหนด หรือชั่งตวงสิ่งของด้วยเครื่องชั่งโกง ตราชั่งโกง เป็นปาราชิก
11.欺骗,包括制造假货,例如制造假钱、假黄金,然后以真品的价格卖给别人,或者利用作弊秤称量东西,犯波罗夷。
(๑๒) กดขี่ หรือ กรรโชก ได้แก่ การที่ใช้อำนาจข่มเหงเอาทรัพย์ของผู้อื่น หรือขู่ว่าจะทำร้าย ทำให้เจ้าของทรัพย์กลัว จำต้องให้ เป็นปาราชิกเมื่อได้ของมา
12.压迫或勒索,例如利用权力压迫夺取对方的财物,或威胁要伤害对方,使对方不得不放弃财物,当取得财物时犯波罗夷。
(๑๓) ลักซ่อน ได้แก่ การที่เห็นคนทำของตก มีไถยจิตเอาดินกลบเสีย ใช้ใบไม้เป็นต้นปิดบังไว้เสีย หรือเขาเผลอวางของไว้ในที่แห่งหนึ่ง นำไปซ่อนเสียในที่อีกแห่งหนึ่ง โดยเจตนาจะกลับมาเอาในภายหลัง เป็นปาราชิกเมื่อทำเสร็จ
13.偷藏,例如看见别人的东西掉落,有盗心用土或树叶等掩盖东西,或者别人不小心把东西落在一处,便将东西藏在另一个地方,打算稍后再回来取,当成功时犯波罗夷。
เจตนารมณ์ของสิกขาบทข้อนี้
制戒的目的
สิกขาบทนี้ทรงบัญญัติขึ้น เพื่อให้ภิกษุปล่อยวางได้ไม่โลภอยากได้จนเกินเหตุ ให้ดำรงชีวิตอยู่ได้แบบประหยัด ไม่ฟุ่มเฟือย มิใช่อยู่แบบไม่พอเพียง จนถึงกับไปลักไปขโมยสิ่งของของคนอื่นที่เขาไม่อนุญาตให้ อันเป็นการกระทำที่ผิด เป็นการทำความเดือดร้อนให้แก่ผู้อื่น
佛陀制定此戒是为了让比丘学会放下,不生贪欲,生活知足,不铺张浪费。不应贪欲去偷窃、抢劫别人未给予之物,这是不正当的行为,会给别人带来痛苦。
อนึ่ง ทรงบัญญัติสิกขาบทนี้ไว้เพื่อให้ภิกษุเคารพกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินของผู้อื่น ป้องกันมิให้ประพฤติมักง่าย เห็นแก่ได้ เห็นแก่ตัว ไม่คำนึงถึงความทุกข์ของผู้อื่น โดยทำลายความดีงามและศักดิ์ศรีของตัวด้วยการไปถือสิ่งของของผู้อื่นมา หรือเห็นแก่ปากแก่ท้อง ไปเด็ดหรือลักผลไม้ในสวนของชาวบ้านมาขบฉันโดยอิสระ โดยเจ้าของไม่รู้หรือไม่อนุญาต
此外,佛陀制定此戒也是为了要求比丘尊重他人财产的所有权,防止比丘养成草率、自私、唯利是图的本性。不考虑他人的痛苦,以夺取他人的东西来伤害自身的善良与尊严。或者因贪吃便在所有者不知情或未允许的情况下,去对方的菜园里随意摘或偷摘水果吃。
เพราะการถือเอาสิ่งของของผู้อื่นมาด้วยอาการแห่งชโมยนั้น- เป็นการละเมิดกรรมสิทธิ์ของผู้อื่น- เป็นการหาเลี้ยงชีพในทางที่ผิด- เป็นการเห็นแก่ตัว ไม่มองถึงความทุกข์ของผู้อื่น- เป็นการทำลายความดีของตนเอง
因为偷盗别人的东西,属于侵犯他人的财产权,是错误的谋生方式,自私自利且不考虑别人的痛苦,会有损自己的良知。
การต้องอาบัติเพราะสั่ง
因指使而犯
สิกขาบทนี้ต้องปาราชิกเพราะสั่ง กล่าวคือ
此戒也会因指使而犯,即是:
เมื่อภิกษุมีไถยจิตคิดเอาทรัพย์ของผู้อื่น ไม่กล้าลงมือเอง แต่สั่งให้คนอื่นทำโจรกรรมทรัพย์สินนั้น จะสั่งต่อเดียว สั่งเจาะจงทรัพย์ สั่งด้วยการบอกใบ้ เช่น ชี้นิ้ว พยักหน้า สั่งกำหนดเวลา สั่งหลายต่อ หรือสั่งด้วยการใช้สำนวน แต่ผู้ฟังเข้าใจความต้องการ อาการเหล่านี้ จัดเป็นการสั่งทั้งสิ้น
当比丘有盗心企图偷盗他人财物,自己不敢偷,便命令他人去偷,无论是指使一次或多次,明确指定或用手指、点头的方式暗示偷取的东西,又或者指定时间、接连多次指使、用言语暗示使对方明白自己的需求,都属于指使的范畴。
การสั่งเช่นนี้ เป็นเหตุให้เป็นปาราชิกก็มี ไม่เป็นก็มี ดังนี้
这些指使将导致犯波罗夷,也可能不犯,如下:
(๑) ภิกษุสั่งให้ไปทำโจรกรรม ผู้รับสั่งไปทำตามนั้น ได้ของมา จะเป็นวันเวลาใดก็ตาม ผู้สั่งเป็นปาราชิก
1.比丘指使他人去偷盗,当受指使的人在任何时间成功偷到东西,指使者犯波罗夷。
ถ้าสั่งแล้ว ได้สติขึ้นมา จึงห้ามเสียก่อน ก่อนที่ผู้รับสั่งจะไปทำโจรกรรม แต่ผู้รับสั่งไปทำโจรกรรมโดยพลการ แบบนี้ผู้สั่งไม่ต้องอาบัติ
如果比丘在指使后意识到错误而阻止对方去偷,但受指使者依然坚持去偷,那么指使者不犯波罗夷。
(๒) ภิกษุสั่งเจาะจงทรัพย์ เช่น สั่งให้ไปลักจีวร ผู้รับสั่งไปลักจีวรมาได้ตามสั่ง เป็นปาราชิก แต่ถ้าผู้รับสั่งไปลักบาตรมา ภิกษุผู้สั่งไม่ต้องอาบัติ
2.比丘指使他人去偷指定的东西,例如指使他人去偷袈裟,当对方偷到袈裟时犯波罗夷,但如果对方偷的是僧钵,则指使的比丘不犯波罗夷。
(๓) ภิกษุสั่งด้วยทำนิมิตหรือบอกใบ้ เช่น พยักหน้าหรือขยิบตา บอกใบ้ให้หยิบทรัพย์ออกมา เมื่อผู้รับสั่งเข้าใจความหมาย ไปหยิบทรัพย์นั้นออกมาได้สำเร็จ ภิกษุผู้สั่งเป็นปาราชิก
3.比丘以暗示的方式指使,例如通过点头或眨眼指使他人去偷东西,当受指使者明白意思并成功偷到东西时,指使的比丘犯波罗夷。
(๔) ภิกษุสั่งกำหนดเวลา เช่น สั่งให้ไปขโมยของเวลากลางคืน ถ้าผู้รับสั่งไปขโมยของมาได้ในเวลานั้น ภิกษุผู้สั่งเป็นปาราชิก แต่ถ้าไปขโมยของมาได้ในเวลาเช้าหรือในเวลาเย็น ถือว่าผิดเวลา ผู้สั่งไม่ต้องอาบัติ
4.比丘指使他人在指定的时间去偷盗,例如指定他人夜间去偷东西,对方按照指定的时间偷到东西,指使的比丘犯波罗夷,但如果受指使者在早上或下午去偷东西,非指定的时间,则指使的比丘不犯。
(๕) ภิกษุสั่งหลายต่อ เช่น สั่งให้ภิกษุแดงไปบอกภิกษุดำให้ไปทำโจรกรรม เมื่อภิกษุทำโจรกรรมสำเร็จ เป็นปาราชิกทั้งสามรูป แต่ถ้าเกิดลักลั่น เช่น สั่งให้ภิกษุแดงไปบอกภิกษุดำให้ไปทำโจรกรรม แต่ภิกษุแดงกลับไปบอกให้ภิกษุขาวไปทำโจรกรรม อย่างนี้ถือว่าผิดตัว เมื่อภิกษุขาวไปทำโจรกรรมสำเร็จ ภิกษุผู้สั่งไม่เป็นอาบัติ แต่ภิกษุแดงกับภิกษุขาวเป็นปาราชิก
5.比丘接连多次指使,例如A比丘指使B比丘告诉C比丘去偷盗,当C比丘偷盗成功时,三个比丘皆犯波罗夷。但如果出现差错,例如A比丘指使B比丘告诉C比丘去偷盗,但B比丘却告诉D比丘去偷盗,当出现这样的差错,当D比丘偷盗成功时,指使的A比丘不犯波罗夷,但B比丘和D比丘犯波罗夷。
(๖) ภิกษุสั่งด้วยใช้สำนวน เป็นการพูดไม่ตายตัว แต่ก็ชัดเจนพอที่ผู้ฟังเข้าใจความประสงค์ได้ ผู้ฟังจึงไปทำโจรกรรมมาได้ตามประสงค์ อย่างนี้ผู้สั่งเป็นปาราชิก
6.比丘用言语指使,非固定的言辞,但足够让听者理解其意图,然后根据指示去完成偷盗,如此指使者犯波罗夷。
องค์แห่งอาบัติ
构成犯戒的要素
ในพระวินัยปิฎกว่าด้วยสิกขาบทนี้ ท่านแสดง องค์แห่งอาบัติ คือ ข้อกำหนดที่จะเป็นความผิดและโทษเป็นอาบัติเข้าไว้ ถือว่าเป็นแนวปฏิบัติเพื่อป้องกันมิให้เกิดการละเมิด และเป็นแนวการวินิจฉัยตัดสินเมื่อมีการล่วงละเมิดเกิดขึ้น องค์แห่งอาบัตินั้นดังนี้
佛陀在《律藏》中列出了违犯该戒的要素,即犯戒的条件和惩罚。可作为预防犯戒与违犯后的判罚参考,构成违犯该戒的要素如下:
ภิกษุผู้ถือเอาทรัพย์ที่เจ้าของมิได้ให้ ต้องอาบัติปาราชิกด้วยอาการ ๕ อย่าง คือ
比丘拿走主人未给予之物犯波罗夷,构成偷盗的要素有如下五种:
(๑) ทรัพย์มีผู้อื่นครอบครอง
(1)东西有主人。
(๒) มีความสำคัญว่าเป็นทรัพย์ที่มีผู้อื่นครอบครอง
(2)认为东西有主人。
(๓) ทรัพย์มีค่ามาก ได้ราคา ๕ มาสกหรือเกินกว่า ๕ มาสก
(3)东西的价值达到五磨沙加或五磨沙加以上。
(๔) มีไถยจิต (คิดจะลัก) ปรากฏขึ้น
(4)生起盗心(想偷盗)。
(๕) ภิกษุจับต้อง ต้องอาบัติทุกกฎ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ทำให้เคลื่อนจากที่ตั้ง ต้องอาบัติปาราชิก
(5)当比丘接触时犯恶作,摇动时犯偷兰遮,移动位置时犯波罗夷。
อนึ่ง ท่านแสดงองค์แห่งอาบัติในสิกขาบทนี้ไว้อีกนัยหนึ่งว่า
此外,佛陀用另一种方式说明了违犯该戒的要素。
ภิกษุผู้ถือเอาทรัพย์ที่เจ้าของมีได้ให้ ต้องอาบัติปาราชิกด้วยอาการ ๖ อย่าง คือ
比丘满足以下六个要素拿走主人未给予之物犯波罗夷:
(๑) ไม่มีความสำคัญว่าเป็นของของตน
(1)并非以为东西属于自己。
(๒) ไม่ได้ถือเอาด้วยวิสาสะ (ความคุ้นเคย สนิทสนม)
(2)并非因熟悉而拿走东西。
(๓) ไม่ได้ถือเอาเป็นของขอยืม
(3)并非因借用而拿走东西。
(๔) ทรัพย์มีค่ามาก ได้ราคา ๕ มาสกหรือเกินกว่า ๕ มาสก
(4)东西的价值达到五磨沙加或五磨沙加以上。
(๕) มีไถยจิตปรากฏขึ้น
(5)生起盗心。
(๖) ภิกษุจับต้อง ต้องอาบัติทุกกฎ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ทำให้เคลื่อนจากที่ตั้ง ต้องอาบัติปาราชิก
(6)当比丘接触时犯恶作,摇动时犯偷兰遮,移动位置时犯波罗夷。
และในพระวินัยปิฎกนั้นท่านได้แสดงองค์แห่งอาบัติที่ลดหย่อนลงมา คือเป็นถุลลัจจัย เป็นทุกกฎไว้อีกหลายหมวด ซึ่งทำให้เกิดความชัดเจนและเป็นแนวทางสำหรับวินิจฉัยเพื่อปรับโทษหรือเพื่อรู้ความผิดของตัวเมื่อล่วงละเมิดได้ง่ายขึ้น
在《律藏》中,佛陀还说明了多种构成轻罪,即犯偷兰遮或恶作的条件。这不仅更清楚地解释该戒,还可作为判定的依据,以便更容易做出处罚或了解犯戒者的过失。
อนาปัตติวาร
无罪
ในสิกขาบทนี้ ท่านแสดงภิกษุผู้ได้รับยกเว้นไม่ต้องอาบัติไว้ คือ
在这条戒律中,佛陀对有以下状态的比丘判定为无罪:
(๑) ภิกษุผู้มีความสำคัญว่าเป็นของของตน คือไปหยิบของผู้อื่นมาด้วยเข้าใจผิดว่าเป็นของตน เพราะมีลักษณะใกล้เคียงหรือเหมือนกับของตน
(1)比丘以为东西属于自己,即误以为是自己的而拿了别人的东西,因为东西相似或特征一样。
(๒) ภิกษุผู้ถือเอาด้วยวิสาสะ คือไปหยิบใช้หรือหยิบฉันด้วยความคุ้นเคย ด้วยความสนิทสนม ด้วยคิดว่าเป็นกันเอง เจ้าของรู้ก็คงไม่ว่าอะไร
(2)比丘之间因熟悉而拿走东西。即彼此因熟悉、亲密或认为是自己人而拿来用或吃,即便主人知道也不介意。
(๓) ภิกษุผู้ถือเอาเป็นของขอยืม คือนำของของผู้อื่นมาใช้โดยคิดว่าขอยืมมาใช้ โดยไม่บอกเจ้าของ หรือเจ้าของไม่อยู่ เช่น มีด จอบ เสียม กระป๋องน้ำ
(3)比丘因借用而拿走东西,即以借用的方式拿走他人的东西而未告知主人或主人不在场,例如刀、锄头、铁锹、水壶等。
(๔) ภิกษุผู้ถือเอาทรัพย์อันเปรตครอบครอง คือนำสิ่งของที่ถูกทิ้งไว้ตามป่าช้า ข้างถนน เป็นต้นมาใช้
(4)比丘拿走饿鬼持有的东西,即拿遗留在墓地、路边等地方的东西来用。
(๕) ภิกษุผู้ถือเอาทรัพย์อันสัตว์ดิรัจฉานคุ้มครอง คือนำเศษเนื้อหรือกระดูกสัตว์ที่เสือเป็นต้นฆ่าแล้วกินเหลือบางส่วนมาเป็นอาหาร
(5)比丘拿走畜生持有的东西。即拿走老虎吃剩的其中一些动物肉或骨头作为食物。
(๖) ภิกษุผู้มีความสำคัญว่าเป็นของบังสุกุล คือคิดว่าเป็นของที่เขาทิ้งแล้ว ไม่มีเจ้าของ เช่น ผ้าตามกองขยะ ตามชายหาด นำมาทำเป็นจีวรห่ม
(6)比丘以为是粪扫物,即认为该物已被丢弃,没有主人。例如拿被丢弃在海滩或垃圾堆中的布料制成袈裟。
(๗) ภิกษุผู้วิกลจริต คือภิกษุบ้า ชาดสติสัมปชัญญะ
(7)精神失常的比丘,即失去正念正知的疯比丘。
(๘) ภิกษุผู้เป็นต้นบัญญัติ หรือผู้เป็นอาทิกัมมิกะ ได้แก่ พระธนิยะบุตรของช่างปั้นหม้อ
(8)第一个犯戒的比丘或最初犯行者,即陶工之子——檀尼迦比丘。
วินีตวัตถุ
修习事
วินีตวัตถุ เรื่องที่พระพุทธองค์ทรงวินิจฉัยแล้วในสิกขาบทนี้มีจำนวนมาก เช่น
佛陀对与该戒相关的许多事件做出了裁定,例如:
– ภิกษุรูปหนึ่งเห็นผ้าที่ลานตากผ้ามีราคามาก จึงเกิดไถยจิตขึ้น ทรงตัดสินว่าไม่เป็นอาบัติ เพราะเป็นแค่คิด ยังมิได้ลัก
一名比丘看见晾晒的衣服昂贵而生起盗心,佛陀判定这不构成犯戒,因为只是生起念想,还没有偷。
– ภิกษุรูปหนึ่งเห็นผ้าที่ลานตากผ้าสวยงามและมีราคา ไม่มีไถยจิตจับต้องผ้านั้น ทรงตัดสินว่าไม่อาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติทุกกฎ
一名比丘看见晾晒的衣服又贵又漂亮,没有盗心,但触碰了衣服,佛陀判定不犯波罗夷,但犯恶作。
– ภิกษุรูปหนึ่งเห็นผ้าที่ลานตากผ้ามีราคา มีไถยจิตทำผ้านั้นให้ไหวทรงตัดสินว่าไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย
一名比丘看见晾晒的衣服很贵而生起盗心,并晃动那件衣服,佛陀判定不犯波罗夷,但犯偷兰遮。
– ภิกษุรูปหนึ่งเห็นผ้าที่ลานตากผ้า มีไถยจิตทำผ้านั้นให้เคลื่อนจากที่ตั้ง ทรงตัดสินว่าเป็นปาราชิก
一名比丘看见晾晒的衣服而生起盗心,将衣服取离原处,佛陀判定犯波罗夷。
– ภิกษุรูปหนึ่งเห็นทรัพย์ตอนกลางวัน ทำเครื่องหมายไว้ ตอนกลางคืนไปหยิบทรัพย์อื่นมา ทรงตัดสินว่าเป็นปาราชิก
一名比丘在白天见到财物并做了标记,晚上却捡回另外的财物,佛陀判定犯波罗夷。
– ภิกษุรูปหนึ่งนำทรัพย์ของผู้อื่นทูนศีรษะไป มีไถยจิตจับต้องของนั้น ทรงตัดสินว่าไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติทุกกฎ
一名比丘拿他人的财物放在头顶,有盗心且触碰了东西,佛陀判定不犯波罗夷,但犯恶作。
– ภิกษุรูปหนึ่งนำทรัพย์ของผู้อื่นไป มีไถยจิตวางของที่อยู่ในมือนั้นลงที่พื้น ทรงตัดสินว่าเป็นปาราชิก
一名比丘拿走他人的财物,有盗心将手中的东西放到了地上,佛陀判定犯波罗夷。
– ภิกษุรูปหนึ่งเก็บจีวรที่ภิกษุอีกรูปหนึ่งผึ่งไว้กลางแจ้งด้วยหวังดีว่าจีวรจะได้ไม่หาย เจ้าของมาถามว่าใครเอาจีวรของตนไป ภิกษุผู้เก็บจีวรไว้ตอบว่าตนเอาไปเอง เจ้าของบอกว่าท่านมิใช่สมณะแล้ว ทรงตัตสินว่าไม่เป็นอาบัติ เพราะตอบตามคำถามนำ
一名比丘担心另一名比丘晾晒在露天的袈裟丢失,于是将袈裟收回来。拥有袈裟的比丘问谁拿走了自己的袈裟,帮忙收回来的比丘承认是自己拿的。拥有袈裟的比丘却指责对方不再是沙门。佛陀判定不犯,因为只是如实回答对方的问题。
– ภิกษุรูปหนึ่งเห็นผ้าสาฎกถูกลมพัดปลิวไปจึงเก็บไว้ด้วยตั้งใจว่าจักคืนให้เจ้าของ เจ้าของผ้าโจทว่าท่านไม่เป็นสมณะ ทรงตัดสินว่าไม่ต้องอาบัติ เพราะไม่มีไถยจิต
一名比丘看见一块布被风吹走便去捡回收好,打算将它归还失主,可是失主却指责对方不再是沙门。佛陀判定不犯,因为没有盗心。
– พระอานนท์สรงน้ำในเรือนไฟเสร็จแล้วหยิบผ้านุ่งซึ่งเป็นของภิกษุอื่นมานุ่งโดยเข้าใจว่าเป็นของตน เมื่อเจ้าของถามว่าทำไมจึงนำผ้าของตนมานุ่ง พระอานนท์ตอบว่าตนเข้าใจผิด ทรงตัดสินว่า ภิกษุผู้มีความเข้าใจว่าเป็นของตน ไม่ต้องอาบัติ
阿难尊者在浴室沐浴后穿错另一名比丘的袈裟,他以为是自己的袈裟。当那名比丘问为何穿自己的袈裟时,阿难尊者说误以为是自己的袈裟。佛陀判定因误以为是自己的东西从而不犯。
– ภิกษุหลายรูปลงมาจากเขาคิชฌกูฏ พบเนื้ออันเป็นเดนราชสีห์จึงใช้ให้อนุปสัมบันต้มแกงแล้วฉันกัน ทรงตัดสินว่า ไม่เป็นอาบัติเพราะเนื้อเดนราชสีห์
多名比丘从灵鹫山下来看见残余的狮子肉,便让未受具戒者煮汤来吃。佛陀判定因是残余的狮子肉,所以不犯。
– ภิกษุรูปหนึ่ง เมื่อมีการแจกข้าวสุกของสงฆ์อยู่ เข้าไปบอกว่าขอให้ให้ส่วนเพื่อภิกษุรูปอื่นด้วย โดยที่ไม่ได้บอกว่าภิกษุรูปอื่นนั้นคือใคร มีตัวตนจริงหรือไม่ แล้วรับส่วนที่เขาให้นั้นไป ซึ่งเป็นการกล่าวเท็จโดยไม่มีมูล ทรงตัดสินว่า ไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เพราะสัมปชานมุสาวาท (จงใจกล่าวเท็จทั้งรู้ตัวและรู้ความจริงอยู่)
一名比丘在僧团分发米饭时说想拿一些分给其他比丘,却没说那些比丘是谁,是否真实存在,于是多拿了一些米饭,但这是毫无根据的虚假陈述。佛陀判定不犯波罗夷,但犯波逸提,因为故意妄语(明知真相却故意撒谎)。
– ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปยังร้านขายเนื้อ มีไถยจิตลักเนื้อไปเต็มบาตร ทรงตัดสินว่าเป็นปาราชิก
一名比丘走进一家肉店,生盗心偷走满满一僧钵的肉,佛陀判定犯波罗夷。
– ภิกษุรูปหนึ่งเห็นบริขารตอนกลางวัน จึงทำเครื่องหมายไว้ ตั้งใจว่าจะนำของไปตอนกลางคืน พอถึงกลางคืนได้มานำของไปโดยแน่ใจว่าเป็นของชิ้นนั้น แต่เป็นของคนละขึ้นกัน ทรงตัดสินว่าเป็นปาราชิก (เพราะเป็นการลักขโมยของโดยตรง จะเป็นชิ้นที่กำหนดไว้หรือชิ้นอื่นก็เป็นของที่เจ้าของมิได้ให้เหมือนกัน)
一名比丘在中午看见一个资具,于是做好标记想晚上再来拿。晚上他来拿时不确定是不是原先的资具,事实上是另一个资具。佛陀判定犯波罗夷。(因为这属于盗窃,不管是指定的东西或另外的东西都是主人未给予之物。)
– ภิกษุรูปหนึ่งเห็นถุงวางอยู่บนตั่ง คิดว่าถ้าหยิบไปเฉพาะถุงจะเป็นความผิด จึงยกตั่งไปด้วย ทรงตัดสินว่า เป็นปาราชิก
一名比丘看见凳子上放着一个袋子,心想如果只拿走这个袋子会犯戒,于是连同凳子一起拿走,佛陀判定犯波罗夷。
– ภิกษุสองรูปเป็นเพื่อนกัน รูปหนึ่งเข้าไปบิณฑบาต อีกรูปหนึ่งเข้าไปรับอาหารในหอฉันและรับส่วนของเพื่อนมาด้วย รับไปแล้วถือวิสาสะฉันส่วนของเพื่อนไป เพื่อนกลับมาแล้วได้ถามขึ้น ทราบความแล้วโจทภิกษุผู้ฉันอาหารนั้นว่าไม่เป็นสมณะ ทรงตัดสินว่า ไม่เป็นอาบัติ เพราะถือวิสาสะ
两名比丘彼此是朋友,一个人去托钵,另一个人去斋堂打饭,也帮朋友打了一份。随后因彼此是熟悉的朋友便吃了对方的那一份饭。朋友回来询问得知真相后指责吃饭的比丘不再是沙门。佛陀判定说不犯,因为彼此是熟悉的关系。
– ภิกษุรูปหนึ่ง เมื่อเขากำลังแจกของเคี้ยวแก่สงฆ์ในเวลาทำจีวรกันอยู่ได้นำบาตรของภิกษุรูปอื่นไปรับอาหารส่วนของตนมาวางไว้ เจ้าของบาตรสำคัญว่าเป็นอาหารส่วนของตนจึงฉันอาหารนั้น ภิกษุผู้ไปรับแจกมาทราบเข้าจึงโจทว่าไม่เป็นสมณะแล้ว ทรงตัดสินว่า ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้มีความสำคัญว่าเป็นของตน
在分发食物时,一名正在制作袈裟的比丘拿着别人的钵去领取自己的食物并放在一旁,钵的主人认为是自己的食物便吃掉了。领取食物的比丘发现后指责对方不再是沙门。佛陀判定不犯,因为该比丘以为东西属于自己。
– ภิกษุหลายรูป เมื่อพวกโจรลักมะม่วงเขามาแล้วห่อผ้าไว้ เจ้าของติดตามมาจึงทิ้งห่อนั้นแล้วหนีไป จึงหยิบห่อมะม่วงนั้นมาด้วยสำคัญว่าเป็นของบังสุกุล ปราศจากเจ้าของ แล้วเปิดขบฉันกัน เจ้าของมะม่วงมาพบเข้าจึงโจทว่าพวกท่านไม่เป็นสมณะ ทรงตัดสินว่า ภิกษุผู้มีความสำคัญว่าเป็นของบังสุกุลไม่ต้องอาบัติ
有小偷偷了芒果后用布包裹起来,失主一直在后面紧追不舍,小偷只好丢下包裹逃走了。多名比丘捡起包裹以为是没有主人的粪扫物,于是吃了这些芒果。失主看见后指责他们不再是沙门。佛陀判定不犯,因为这些比丘以为东西属于没有主人的粪扫物。
– ภิกษุหลายรูป เมื่อพวกโจรลักมะม่วงเขามาแล้วห่อผ้าไว้ ถูกเจ้าของติดตามมา รีบวิ่งหนีไปโดยทำมะม่วงหล่นจากห่อไว้ตามรายทาง เห็นมะม่วงนั้นเข้าก็มีไถยจิตเกิดขึ้น กลัวว่าเจ้าของมะม่วงจะมาเห็นมะม่วงก่อน จึงรีบเก็บมาฉันกัน เจ้าของมะม่วงจึงโจทว่าท่านไม่เป็นสมณะ ทรงตัดสินว่า ต้องอาบัติปาราชิกแล้ว
有小偷偷了芒果后用布包裹起来,失主一直在后面紧追不舍,小偷在慌忙逃跑中,芒果从包裹里掉出来。多名比丘看见芒果后生起盗心,害怕失主先看见芒果便捡起来吃掉,失主指责他们不再是沙门,佛陀判定犯波罗夷。
– ภิกษุรูปหนึ่งมีไถยจิตลักมะม่วงในวัดอันเป็นของสงฆ์ ทรงวินิจฉัยว่า ต้องอาบัติปาราชิกแล้ว
一名比丘生起盗心偷寺院中属于僧团的芒果,佛陀判定犯波罗夷。
– ภิกษุรูปหนึ่งเดินทางไกลไปกับบุรุษคนหนึ่ง เมื่อจะผ่านด่านเก็บภาษี บุรุษนั้นจึงนำแก้วมณีราคาแพงหย่อนไว้ในย่ามของภิกษุโดยที่ภิกษุไม่รู้ เมื่อพ้นด่านแล้ว บุรุษนั้นได้ขอแก้วมณีคืนจากภิกษุ ทรงตัดสินว่า ภิกษุไม่รู้ตัว ไม่ต้องอาบัติ
一名比丘和一个男子远行,经过税务检查站时,在比丘不知情的情况下,男子将一颗昂贵的宝石放入比丘的僧袋中。通过检查站后,男子又向比丘要回宝石。佛陀判定在不知情的情况下不犯。
– ภิกษุรูปหนึ่งเดินทางไกลไปกับกองเกวียน เมื่อถึงด่านภาษี บุรุษคนหนึ่งเกลี้ยกล่อมภิกษุด้วยอามิสสินจ้าง ขอร้องว่าขอให้ช่วยนำแก้วมณีดวงนี้ผ่านด่านภาษีให้ด้วย แล้วส่งแก้วมณีราคาแพงให้ภิกษุถือไว้ ภิกษุนั้นถือแก้วมณีผ่านด่านภาษีไป ผ่านด่านแล้วบุรุษนั้นก็มาขอแก้วมณีคืน ทรงตัดสินว่า ภิกษุนั้นต้องอาบัติปาราชิกแล้ว
一名比丘坐牛车远行,经过税务检查站时,一个男子以报酬引诱该比丘帮带一颗宝石通过税务检查站,随后将这颗昂贵的宝石交给比丘保管,比丘将宝石带过检查站后,男子又将宝石索回。佛陀判定该比丘犯波罗夷。
วินีตวัตถุในสิกขาบทนี้มีจำนวนมาก มีปรากฏอยู่ในพระวินัยปิฎกสามารถหาอ่านทำความเข้าใจได้ นำบางส่วนมาแสดงพอเป็นตัวอย่างเท่านั้น
佛陀对与该戒相关的许多事件做出了裁定,可以参阅《律藏》详细了解,上述只是列举其中的一部分。
ปาราชิก สิกขาบทที่ ๓
波罗夷第三戒——杀人
“อนึ่ง ภิกษุใดจงใจพรากกายมนุษย์จากชีวิต หรือแสวงหาศัสตราอันจะปลิคชีวิตแก่กายมนุษย์นั้น หรือพรรณนาคุณแห่งความตาย หรือชักชวนเพื่อให้ตายด้วยคำว่า แน่ะนายผู้เป็นชาย จะประโยชน์อะไรแก่ท่านด้วยชีวิตอันแสนลำบากยากแค้นนี้ ท่านตายเสียดีกว่าอยู่ ดังนี้ เธอมีจิตใจอย่างนี้ มีความดำริในใจอย่างนี้พรรณนาคุณแห่งความตายก็ดี ชักชวนเพื่อให้ตายก็ดีโดยปริยายต่างๆ แม้ภิกษุนี้ก็เป็นปาราชิก หาสังวาสมิได้”
若比丘故意夺取人的生命,或为他寻找杀手,或赞叹死亡的美好,或劝勉他死亡,(说):“伙计啊,这苦恶、悲惨的生命于你而言有何益?死了比活着更好。”或以这样的想法、目的,通过种种方便赞美死亡,或鼓动对方去死,该比丘犯波罗夷,不共住。
คำว่า พรรณนาคุณแห่งความตาย ได้แก่ แสดงโทษในความมีชีวิตอยู่ พรรณนาคุณในความตายว่า ท่านทำกาละจากโลกนี้ไป หลังจากตายไปจักเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ จักเพียบพร้อมอิ่มเอิบได้รับปรนเปรอด้วยเบญจกามคุณอันเป็นทิพย์ในสุคติโลกสวรรค์นั้น
“赞叹死亡的美好”即是表达活着的痛苦。称赞死亡比活着更好,描述离开这个世界后将转世善道天界,享受天界五妙欲。
คำว่า ชักชวนเพื่อให้ตาย ได้แก่ ชักชวนว่าจงนำมีดมา จงกินยาพิษ จงแขวนคอตาย หรือจงกระโดดลงไปในบ่อ ในเหว หรือที่ผาชัน
“劝勉死亡”包括劝说他人用刀、服毒、上吊、跳井、跳深渊或跳悬崖等方式而往生。
คำว่า เป็นปาราชิก หาสังวาสมิได้ มีอธิบายดังแสดงไว้แล้วข้างต้น
关于“犯波罗夷,不共住”在上述内容已有解释。
เจตนารมณ์ของสิกขาบทข้อนี้
制戒的目的
สิกขาบทนี้ทรงบัญญัติไว้ เพื่อศักดิ์ศรีของภิกษุว่าเป็นผู้ที่พัฒนาแล้ว มีจิตใจไม่โหดเหี้ยมป่าเถื่อน ฝึกฝนตนเพื่อหลุดพ้นจากกิเลสเป็นหลัก เมื่อหลุดพ้นแล้วก็จะเป็นเนื้อนาบุญอันยอดเยี่ยม เป็นปูชนียบุคคลที่นำผลอานิสงส์มาให้แก่ผู้บูชากราบไหว้ เป็นผู้ประกอบด้วยเมตตากรุณา ช่วยเหลือเกื้อกูลคนอื่นโดยไม่หวังผลตอบแทนใดๆ
佛陀制定此戒是为了比丘的威严,说明比丘经过训练已拥有仁慈非野蛮之心。主要任务是透过自我修行远离烦恼,解脱后作为殊胜的福田,成为给世人带来利益的值得敬佩的人,成为具足慈悲的人,愿意帮助他人而不求任何回报。
สิกขาบทนี้มุ่งให้ภิกษุเห็นอกเห็นใจผู้อื่นซึ่งล้วนรักสุขเกลียดทุกข์เช่นเดียวกับตน แล้วคิดช่วยเหลือเกื้อกูลผู้อื่น โอบอ้อมอารี ไม่เอารัดเอาเปรียบ อยู่ในหมู่คณะได้ทุกแห่งโดยไม่เป็นศัตรูไม่ก่อเวรภัยแก่ใคร เพราะมีจิตใจที่งดงามประกอบด้วยเมตตากรุณาธรรมเป็นหลัก
此戒的目的是希望比丘对那些同样好善嫉恶的人心怀慈悲,助人为乐、慷慨大方、不占便宜,可以与团体和谐共处,不会成为敌人或对任何人造成伤害,因为心地善良,慈悲为怀。
สิกขาบทนี้มุ่งไม่ให้ภิกษุไปฆ่ามนุษย์เองหรือสั่งให้ฆ่า เพราะการฆ่ามนุษย์นั้น
此戒旨在防止比丘亲手杀害和命人杀害。因为杀人:
– เป็นความเหี้ยมโหด
是残暴的行为
– เป็นการขาดเมตตาธรรม
缺乏同情心
– เป็นการแสดงถึงจิตใจที่ป่าเถื่อน ยังมิได้พัฒนา
代表内心野蛮,还未得到开发
อาการที่ฆ่าให้ตาย
致命的方式
สิกขาบทนี้ได้บอกรายละเอียดไว้มากพอสมควร สามารถเข้าใจได้ชัดเจน เช่น การฆ่า ท่านใช้คำว่า พรากเสียจากชีวิต นั่นหมายความว่าบั่นทอนชีวิตให้หมดสิ้นไป ไม่ให้สืบยาวต่อไป และบอกถึงอาการที่จัดว่าฆ่าไว้ ไม่ว่าจะฆ่าเอง หาอาวุธให้ฆ่า พรรณนาคุณของความตายแล้วให้เจ้าของชีวิตฆ่าตัวเอง หรือชักชวนให้ฆ่าตัวตายด้วยการชี้ว่าตายดีกว่าอยู่ ย่อมเป็นอาการแห่งการพรากจากชีวิต มีโทษเป็นปาราชิกทั้งสิ้น
这条戒律的内容已阐述得很详细,从中可以清楚地知道例如杀人,佛陀采用的是夺取人的生命,意味着彻底终结生命,且不会持续太长时间。同时说明了杀人的方式,无论是亲手杀人、安排杀手杀人、赞叹死亡使对方自杀或劝勉死亡使对方自杀都是剥夺生命的手段,这些行为皆触犯波罗夷。
เมื่อกล่าวโดยละเอียดแล้ว ท่านแสดงอาการที่ฆ่าไว้ ๗ แบบ คือ
佛陀做出详细解释后,还说明了致命的七种方式:
(๑) ให้ประหาร ได้แก่ ฆ่าด้วยตนเอง เช่นฟันด้วยมีด แทงด้วยหอก ตีด้วยไม้ หรือทำให้ตายด้วยสิ่งของอื่นๆ หรือไม่ได้ลงมือฆ่าเอง แต่สั่งให้คนอื่นไปฆ่าด้วยวาจาของตัว
(1)本人致死,即亲自杀死,例如用刀砍、用矛刺、用棍棒击打或以其他东西致人死亡,或者非亲手杀,而是通过指令命令别人杀人。
(๒) ซัดไปประหาร ได้แก่ ฆ่าด้วยตนเองโดยใช้เครื่องมือสำหรับฆ่าให้เคลื่อนไปฆ่า เช่น ยิงด้วยปืน ยิงด้วยลูกศร พุ่งด้วยหอก ขว้างด้วยไม้หรือก้อนหิน
(2)投掷致死,即利用工具投掷杀死。例如用枪射、箭射或用矛、棍、石投掷。
(๓) วางไว้ทำร้าย ได้แก่ ใช้เครื่องมือฆ่าที่เป็นอาวุธมีอันตรายทำให้ถึงตายได้วางดักไว้ริมทางเดิน เป็นต้น เช่น ดักขวาก ฝังไม้แหลมไว้ในหลุมพราง วางก้อนหินไว้ให้ตกลงมาทับ วางยาให้ตาย วางระเบิด เป็นต้น
(3)设装置害人,即使用致命武器杀人,在人行道挖陷阱等,比如在陷阱中放置锋利的凶器,或用石头砸下去,或放毒药、炸弹等。
(๔) ทำร้ายด้วยวิชา ได้แก่ เป็นผู้ชำนาญในมนต์วิชาอาคมร่ายมนต์ร่ายอาคมต่างๆ ใช้ภูตใช้ผีไปทำร้ายผู้อื่นถึงตาย
(4)以法术害人,即精通法术,利用各种咒语、巫术或鬼魂来害人致死。
(๕) ทำร้ายด้วยฤทธิ์ ได้แก่ เป็นผู้ชำนาญในฌาน มีฤทธิ์ เช่น มีตาเป็นอาวุธ จ้องดูผู้อื่นเพื่อทำร้ายให้ถึงตาย
(5)以神通害人,即精通禅定,具足神通。例如以眼睛为武器凝视他人而造成死亡。
(๖) แสวงหาศัสตราให้ ได้แก่ หาอาวุธสำหรับฆ่าตัวตายให้ อำนวยความสะดวกในการใช้อาวุธให้
(6)提供武器,即提供武器给对方自杀,为使用武器提供方便。
(๗) พรรณนาคุณแห่งความตาย หรือ ชักชวนเพื่อการตาย
(7)赞叹死亡的美好或劝勉死亡。
การฆ่าที่ทำให้ตายเป็นการพรากจากชีวิตเช่นนี้ จัดเป็นอาการที่ฆ่าทั้งสิ้น หากทำสำเร็จด้วยอาการอย่างอย่างหนึ่ง ถือว่าเป็นการฆ่า มีโทษเป็นอาบัติปาราชิก
杀人致死实为剥夺生命,是一种致命的行为。如果通过某一种方式实施完成都被认为是谋杀,该罪行犯波罗夷。
วัตถุแห่งอาบัติ
犯罪对象
วัตถุแห่งอาบัติ หมายถึงผู้ที่ถูกฆ่า มีทั้งมนุษย์ อมนุษย์ และสัตว์ดิรัจฉาน และมีทั้งการสั่งให้ฆ่า จึงมีข้อกำหนดไว้ดังนี้
犯罪对象,指被杀的目标,包括人、非人或畜生。包含命人杀害,规定如下:
(๑) มนุษย์ เป็นวัตถุแห่งอาบัติปาราชิก ภิกษุฆ่ามนุษย์ต้องอาบัติปาราชิก
(1)人,是犯波罗夷的对象,比丘杀人犯波罗夷。
(๒) อมนุษย์ เช่น เปรต ยักษ์ และสัตว์ดิรัจฉานที่มีฤทธิ์ เป็นวัตถุแห่งถุลลัจจัย ภิกษุฆ่าอมนุษย์ต้องอาบัติถุลลัจจัย
(2)非人,如饿鬼、夜叉、具神通的畜生,是犯偷兰遮的对象,比丘杀非人犯偷兰遮。
(๓) สัตว์ดิรัจฉาน เป็นวัตถุแห่งปาจิตตีย์ ภิกษุฆ่าสัตว์ดิรัจฉานต้องอาบัติปาจิตตีย์
(3)畜生,是犯波逸提的对象,比丘杀畜生犯波逸提。
(๔) ฆ่าตนเอง ยังไม่พบหลักฐานที่แน่นอนว่าเป็นอาบัติอะไร บ้างว่าเป็นอาบัติทุกกฎ บ้างว่าเป็นอาบัติปาราชิก เพราะเป็นการพรากกายมนุษย์จากชีวิตเช่นกัน
(4)自杀,目前尚无明确证据说明犯哪一种罪,有的说犯恶作,有的说犯波罗夷,因为这也是夺取生命的行为。
(๕) พยายามฆ่าสัตว์อื่น ต้องอาบัติตามวัตถุ คือเป็นไปตามผู้ถูกฆ่าว่าเป็นมนุษย์ อมนุษย์ หรือสัตว์ดิรัจฉาน
(5)企图杀害其他动物,需根据对象判定罪行,也就是要看被杀的对象是人、非人或畜生。
(๖) สั่งให้ฆ่า เนื่องจากว่าสิกขาบทนี้เป็นสาณัตติกะ เมื่อภิกษุสั่งให้ฆ่า คือสั่งให้ผู้หนึ่งไปฆ่าอีกผู้หนึ่ง โดยระบุวัตถุคือบุคล ระบุเวลา ระบุโอกาสคือสถานที่ ระบุอาวุธ ระบุอิริยาบถ ระบุวิธีการฆ่าเช่นฟันหรือแทงหรือตี เป็นต้น เมื่อผู้รับสั่งไปฆ่าสำเร็จตามที่ระบุไว้อย่างใดอย่างหนึ่งตามที่สั่ง ภิกษุผู้สั่งต้องอาบัติปาราชิก
(6)命人杀害,若是按照指令实施罪行,即比丘命令一个人杀死另一个人,指定对象是人,指定时间、指定场合、指定武器、指定姿势、指定杀人方法,如砍、刺、击等,当接受命令的人以其中一种指定的方式成功杀害另一个人,那么下令的比丘犯波罗夷。
ถ้าทำผิดคำสั่งที่ระบุ ไม่เป็นไปตามที่สั่ง เช่นสั่งให้ฆ่านายแดง แต่ไปฆ่านายดำ สั่งให้ฆ่าตอนกลางคืน แต่ไปฆ่าตอนเช้า สั่งให้ฆ่าด้วยการใช้ไม้ตี แต่ไปฆ่าตัวยการยิง เช่นนี้ ภิกษุผู้สั่งไม่ต้องอาบัติปาราชิก
若没有按照命令实施罪行,例如下令杀死红先生,却杀死黑先生;下令夜间杀人,却早上杀人;下令用木棍敲死,却开枪射死,这样下令的比丘不犯波罗夷。
สรุปว่า ภิกษุมีเจตนาจงใจฆ่าเองก็ตาม ใช้ให้ผู้อื่นฆ่าก็ตาม ซึ่งมนุษย์ อมนุษย์ สัตว์ดิรัจฉาน ย่อมเป็นอาบัติทุกกรณี แต่ทำให้ผู้อื่นตายโดยไม่จงใจ ไม่มีเจตนา เช่นก่อสร้างอยู่ในที่สูง ทำสิ่งของพลาดหล่นลงมาถูกคนข้างล่างตาย หรือทำให้ไฟฟ้าลัดวงจร เป็นเหตุให้ไฟไหม้กุฏิ มีคนอยู่ในกุฏิสำลักควันตาย ไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่อาจได้รับโทษทางบ้านเมืองฐานทำให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายด้วยความประมาท
综上所述,无论比丘企图亲自或指使他人杀人、非人或畜生,在任何情况下都是犯罪行为。如果是无意、非故意致他人死亡,譬如不小心导致东西从高楼坠落砸死下面的人,或无心造成电路短路导致寮房起火,使寮房里的人窒息而死,不犯波罗夷,但会因过失造成他人死亡而接受国家法律的制裁。
อนาปัตติวาร
无罪
ในพระวินัยปิฎก สำหรับสิกขาบทนี้ มีอนาปัตติวารคือข้อยกเว้นสำหรับภิกษุที่ไม่ต้องอาบัติปาราชิกไว้ ๗ ประเภท คือ
关于这条戒律依《律藏》记载,如果比丘是以下七种状态可判为无罪,不犯波罗夷。
(๑) ภิกษุผู้ไม่จงใจ คือภิกษุที่ไม่มีเจตนา ไม่ได้ตั้งใจ ไม่ใด้คิดว่าการทำการพูดของตนจะทำให้มีการตาย
(1)无意的比丘,即比丘无意、非故意或不认为自己的言行会导致死亡。
(๒) ภิกษุผู้ไม่รู้ คือภิกษุที่ไม่รู้ว่าการทำอย่างนี้จะทำให้คนตายเพราะเป็นการทำไปตามปกติธรรมดา
(2)不知情的比丘,即比丘不知道这样会导致死亡,因为那属于正常行为。
(๓) ภิกษุผู้ไม่ประสงค์จะให้ตาย คือทำไปโดยมีเจตนาต้องการจะสั่งสอน ต้องการให้เข็ดหลาบ หรือต้องการฝึกฝนอบรม แต่เป็นเหตุให้ถึงตายโดยไม่คาดคิด โดยไม่ต้องการให้เหตุการณ์เช่นนั้นเกิดขึ้นเลย
(3)无杀人目的的比丘,即出于教学、训练或引以为戒的目的造成意外死亡,事实上并不希望事情的发生。
(๔) ภิกษุผู้วิกลจริต คือภิกษุบ้า
(4)精神失常的比丘,即比丘发疯。
(๕) ภิกษุมีจิตฟุ้งซ่าน คือภิกษุผู้มีจิตไม่สงบ พล่านไป ซัดส่ายไปควบคุมตัวเองไม่ได้
(5)心散乱的比丘,即比丘内心不安、烦躁、无法控制自己。
(๖) ภิกษุผู้กระสับกระส่ายเพราะเวทนา คือภิกษุผู้เร่าร้อนใจทนนิ่งเป็นปกติอยู่ไม่ได้
(6)因疼痛而精神错乱的比丘,即比丘内心焦躁,无法平静。
(๗) ภิกษุผู้เป็นต้นบัญญัติ คือผู้เป็นอาทิกัมมิกะ ได้แก่พวกภิกษุชาวเมืองเวสาลี
(7)第一个犯戒的比丘,即最初犯行者为来自毗舍离城的比丘。
วินีตวัตถุ
修习事
วินีตวัตถุซึ่งเป็นกรณีที่เกิดขึ้นเกี่ยวเนื่องด้วยสิกขาบทนี้ และพระพุทธองค์ทรงตัดสินแล้วว่าเป็นอาบัติหรือไม่เป็นอาบัติ มีมากเรื่อง ขอยกมาเป็นตัวอย่างบางเรื่องมาแสดงไว้เพื่อการศึกษาเรียนรู้ดังนี้
修习事就是与此戒有关的事件,佛陀已判定是否犯戒,以下列举多个事件以供参考和学习。
– ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธ เพื่อนภิกษุทั้งหลายเห็นเธอเป็นทุกข์เพราะไข้หนัก เกิดความกรุณาขึ้น จึงพรรณนาคุณแห่งความตายเพื่อให้เธอพ้นจากความทุกข์นั้น โดยพรรณนาว่า ท่านเป็นผู้มีศีลจะกลัวตายไปทำไม สวรรค์เป็นที่สำหรับผู้มีศีลจะไปเป็นต้น ภิกษุนั้นจึงอดอาหารและมรณภาพไป ทรงตัดสินว่าภิกษุเหล่านั้นต้องอาบัติปาราชิกแล้ว
一名比丘生病,一些比丘看见他发高烧十分痛苦,便善意向他赞叹死亡的美好,希望让他摆脱痛苦。他们描述道:“如果你是一个具足德行者就不用害怕死亡,有德行的人将往生天界。”随后那名比丘绝食圆寂,佛陀判定那些比丘犯波罗夷。
– ภิกษุผู้เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตรรูปหนึ่ง เดินบิณฑบาตเหนื่อยจึงไปนั่งพักบนตั่งซึ่งมีเด็กชายนอนคลุมโปงอยู่ โดยนั่งทับไปบนเด็กโดยไม่ได้พิจารณา เด็กได้ตายไป ทรงตัดสินว่าไม่ต้องอาบัติปาราชิก เพราะไม่มีเจตนาแล้วตรัสว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่งพวกเธอไม่ได้พิจารณาก่อนแล้วอย่านั่งบนอาสนะ รูปใดนั่ง ต้องอาบัติทุกกฏ”
一名比丘去托钵,由于步行太累就坐在凳子上休息,没有察觉凳子上有一个用布盖着的小孩,最终导致小孩往生。佛陀判定不犯波罗夷,因为并非故意。随后佛陀说:“诸比丘,如果你们没有检视就不能坐在座位上,谁坐下去犯恶作。”
– ภิกษุสองรูปเป็นบุตรและบิดากัน บวชอยู่ด้วยกัน วันหนึ่งเมื่อถึงเวลารับแจกอาหาร ภิกษุผู้บุตรบอกภิกษุบิดาว่าขอให้ไปรับแจก พระสงฆ์คอยอยู่ แล้วดุนหลังผลักไป ภิกษุบิดาเกิดล้มลงและถึงมรณภาพ ทรงตัดสินว่า ภิกษุผู้ไม่มีความประสงค์จะให้ถึงมรณภาพ ไม่ต้องอาบัติ
有一对父子一起出家为比丘,有一天到了分发食物的时间,儿子告诉父亲去领取食物,说僧众正等着,于是推了一下父亲的后背,导致父亲倒地圆寂。佛陀判定不犯,因为比丘无杀人目的。
– ภิกษุรูปหนึ่งกำลังฉันอาหาร เนื้อติดคอ ภิกษุอีกรูปหนึ่งได้ตบคอเธอ เนื้อหลุดออกมาพร้อมกับโลหิต ภิกษุนั้นถึงกับมรณภาพ ทรงตัดสินว่า ภิกษุไม่มีความประสงค์จะให้ถึงมรณภาพ ไม่ต้องอาบัติ
一名比丘正在吃东西,食物卡在喉咙里,另一名比丘帮忙拍他的脖子,结果血随食物一起吐出来,最终该比丘圆寂。佛陀判定不犯,因为比丘无杀人目的。
– ภิกษุรูปหนึ่งไปบิณฑบาต ได้อาหารปนยาพิษมาแล้วนำไปยังโรงฉัน ได้ถวายอาหารนั้นให้ภิกษุอื่นฉันก่อน ภิกษุทั้งหลายฉันอาหารเข้าไปแล้ว ได้ถึงมรณภาพ ทรงตัดสินว่าภิกษุไม่รู้ว่าอาหารมีพิษ ไม่ต้องอาบัติ
一名比丘去托钵得到有毒的食物回到膳堂,将食物供养给其他比丘先吃,众比丘食用后中毒身亡。佛陀判定不犯,因为该比丘并不知道食物有毒。
– ภิกษุรูปหนึ่งประสงค์จะทดลอง ได้ให้ยาพิษแก่ภิกษุอีกรูปหนึ่งฉัน ภิกษุนั้นถึงมรณภาพลง ทรงตัดสินว่า เมื่อมีความประสงค์จะทดลอง ไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย
一名比丘想进行试验,于是给另一名比丘尝试毒药,随后那位比丘因此而圆寂,佛陀判定该比丘的目的是想做试验,所以不犯波罗夷,但犯偷兰遮。
– ภิกษุรูปหนึ่งชาวเมืองอาฬวี สร้างวิหารกันอยู่กับภิกษุอื่น เธอรับก้อนศิลาที่ภิกษุอีกรูปหนึ่งยกส่งขึ้นไป เธอรับไม่ดี ทำให้ก้อนศิลาหลุดมือแล้วตกลงมาทับศีรษะภิกษุที่ส่งศิลาขึ้นไปจนถึงมรณภาพ ทรงตัดสินว่า ภิกษุไม่จงใจ ไม่ต้องอาบัติ
一名来自阿罗毗城的比丘和其他比丘一起建造禅堂,他在接一名比丘送来的石头时没接好,石头从手中滑落砸到送石头的比丘头上,导致那名比丘圆寂。佛陀判定不犯,因为该比丘并非故意。
– ภิกษุรูปหนึ่งมุงหลังคาวิหารเสร็จจะลง ภิกษุอีกรูปหนึ่งมีความประสงค์จะให้เธอตกลงมามรณภาพ จึงได้บอกให้เธอลงมาทางนั้น เธอจึงลงมาตามคำบอก ได้พลัดตกลงมาถึงมรณภาพ ทรงตัดสินว่า เมื่อภิกษุประสงค์จะให้ถึงมรณภาพ ต้องอาบัติปาราชิกแล้ว
一名比丘在修缮完禅堂的屋顶后准备下来,另一名比丘的目的是想让该比丘摔死,便告诉他从另一条路下来,他按照吩咐下来时果然摔死。佛陀判定该比丘以杀人为目的,犯波罗夷。
– ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธ ภิกษุทั้งหลายได้แนะนำให้เธออาบน้ำจะได้หาย ภิกษุนั้นจึงไปอาบน้ำแล้วถึงมรณภาพ ทรงตัดสินว่า ภิกษุไม่มิความประสงค์จะให้ถึงมรณภาพ ไม่ต้องอาบัติ
一名比丘生病后,众比丘建议他去洗澡有助于痊愈,该比丘听从建议去洗澡而圆寂。佛陀判定这些比丘并非以杀人为目的,所以不犯。
– ภิกษุรูปหนึ่งได้รับการขอร้องจากหญิงคนหนึ่งซึ่งเป็นหมันช่วยจัดยาทำให้ครรภ์แท้งให้เพื่อนำไปให้แก่ภรรยาอีกคนของสามี เธอรับปากแล้วจัดยาให้ตามประสงค์ หญิงหมันนำไปให้แก่หญิงมีครรภ์ ทำให้เด็กในครรภ์ถึงแก่ความตาย แต่นางไม่ตาย ทรงตัดสินว่าต้องอาบัติปาราชิกแล้ว
一个不能生育的女人请一名比丘帮忙准备堕胎药,想偷偷给丈夫的另一个怀有身孕的妻子吃。比丘答应后按要求将药给她,后来怀有身孕的女人服用后导致胎儿流产,但是女人没有往生。佛陀判定该比丘犯波罗夷。
– ภิกษุรูปหนึ่งถูกหญิงมีครรภ์คนหนึ่งขอร้องให้บอกยาที่ทำให้ครรภ์แท้ง เธอจึงแนะนำให้นางรีดครรภ์ออก นางได้รีดให้ครรภ์แท้งไปแล้ว ทรงตัดสินว่าต้องอาบัติปาราชิกแล้ว
一个孕妇请求一名比丘告知她可以流产的药物,比丘便建议她终止妊娠,最终导致其流产,佛陀判定该比丘犯波罗夷。
– ภิกษุรูปหนึ่งได้รับการขอร้องจากหญิงคนหนึ่งช่วยบอกยาที่ช่วยให้คลอดบุตรง่าย เธอรับปากแล้วมอบยาให้นาง นางได้ถึงแก่ความตายเพราะยานั้น ทรงตัดสินว่าไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติทุกกฎ
一个女人请求一名比丘告知她有助于分娩的药物,比丘答应后按要求将药给她,后来这个女人因服用该药物而往生,佛陀判定该比丘不犯波罗夷,但犯恶作。
– ภิกษุรูปหนึ่งพรรณนาเรื่องสวรรค์แก่คนผู้ทำความดีไว้มาก เขาฟังแล้วดีใจจนถึงแก่ความตาย ทรงตัดสินว่า เมื่อไม่มีความประสงค์จะให้ตายไม่ต้องอาบัติ
一名比丘向一个乐善好施的人描述天界的美好,对方听后欣喜致死,佛陀判定该比丘并非以杀人为目的,所以不犯。
– ภิกษุรูปหนึ่งพรรณนาเรื่องนรกแก่คนที่สมควรตกนรก ทำให้เขาตกใจถึงตายไป ทรงตัดสินว่า เมื่อไม่มีความประสงค์จะให้ตาย ไม่ต้องอาบัติ
一名比丘向一个会堕入地狱的人描述地狱的恐怖,导致他惊吓而死,佛陀判定该比丘并非以杀人为目的,所以不犯。
– ภิกษุรูปหนึ่งไปที่ตะแลงแกงที่ประหารนักโทษ ได้บอกเพชฌฆาตว่า อย่าให้นักโทษคนนี้ทรมานเลย ขอให้ประหารด้วยการฟันครั้งเดียวเถิด เพชณฆาตได้ทำตามนั้น ทรงตัดสินว่าต้องอาบัติปาราชิกแล้ว
一名比丘走向处决囚犯的绞刑架,告诉刽子手不要让这个囚犯太痛苦,请一刀砍死他,随后刽子手按照比丘的建议去做。佛陀判定该比丘犯波罗夷。
– ภิกษุรูปหนึ่ง ถามพวกญาติที่เลี้ยงดูหลานที่มีมือและเท้าด้วนว่าอยากให้หลานตายบ้างไหม เมื่อพวกญาติตอบว่าอยาก จึงแนะนำว่าถ้าเช่นนั้นก็จงให้ดื่มเปรียง พวกญาติจึงให้หลานดื่มเปรียงเข้าไป เด็กได้ตายไป ทรงตัดสินว่าต้องอาบัติปาราชิกแล้ว
一名比丘询问一个抚养四肢不全的孩子的亲戚,是否希望这个孩子往生,当亲戚回答说想后,他建议亲戚给孩子喝油脂。亲戚照做后导致孩子往生,佛陀判定该比丘犯波罗夷。
วินีตวัตถุในสิกขาบทนี้ที่ท่านบันทึกไว้ในพระไตรปิฎกยังมีอีกมากเรื่อง เมื่อสนใจพึงค้นหามาอ่านเถิด
佛陀对与该戒相关的许多事件做出了裁定,可以参阅《律藏》详细了解。
ปาราชิก สิกขาบทที่๔
波罗夷第四戒——妄说上人法
“อนึ่ง ภิกษุใดไม่รู้เฉพาะอยู่ กล่าวอวดอุตตริมนุสส-ธรรมอันเป็นความรู้ความเห็นอย่างประเสริฐอย่างสามารถ น้อมเข้ามาในตนว่า ข้าพเจ้ารู้อย่างนี้ ข้าพเจ้าเห็นอย่างนี้ ครั้นสมัยอื่นแต่นั้น อันผู้ใดผู้หนึ่งเชื่อก็ตามไม่เชื่อก็ตาม เป็นอันต้องอาบัติแล้ว มุ่งความหมดจดจะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า แน่ะท่าน ข้าพเจ้าไม่รู้อย่างนั้น ได้กล่าวว่ารู้ ไม่เห็นอย่างนั้น ได้กล่าวว่าเห็น ได้พูดพล่อยๆเป็นเท็จ เว้นแต่ได้สำคัญว่าได้บรรลุ แม้ภิกษุนี้ก็เป็นปาราชิก หาสังวาสมิได้”
若比丘未自证却声称证得某种上人法,某种能为圣者的智见,呈现于自身,说:“我如是知,我如是见。”此后无论他被检问或未被检问,某个时候他懊悔而希望清净可能这样说:“贤友们,我未如此知而说我知,未见而说我见,言虚狂妄语。”除增上慢外,亦波罗夷,不共住。
คำว่า มุ่งความหมดจด หมายถึงประสงค์จะเป็นคฤหัสถ์ หรือประสงค์จะเป็นอุบาสก หรือประสงค์จะเป็นอารามิก (คนทำงานวัด) หรือประสงค์จะเป็นสามเณร กล่าวคือเมื่อต้องการจะสละภาวะความเป็นภิกษุ
“希望清净”者,意味着想成为居士,或想成为优婆塞,或想成为净人,或想成为沙弥,也就是想放弃僧人的身份。
คำว่า ได้พูดพล่อยๆ เป็นเท็จ คือ ข้าพเจ้าพูดพล่อยๆ พูดเท็จ พูดไม่จริง พูดสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ข้าพเจ้าไม่รู้ได้พูดไปแล้ว
“言虚狂妄语”即说虚伪、不实、无益之言,不知自己已说。
คำว่า เว้นไว้แต่สำคัญว่าได้บรรลุ คือ เว้นไว้แต่เข้าใจผิดคิดว่าตัวได้บรรลุ
“除增上慢外”即除了误解自己证得增上之法。
คำว่า เป็นปาราชิก หาสังวาสมิได้ มีนัยดังแสดงมาในสิกขาบทข้างต้น
有关“犯波罗夷,不共住”上述已做解释。
เจตนารมณ์ของสิกขาบทนี้
制戒的目的
สิกขาบทนี้ทรงบัญญัติไว้ เพื่อให้ภิกษุรู้สึกสำนึกหลีกเลี่ยงไม่ทำ เพราะการอวดอุตตริมนุสสธรรมเป็นการโกหกหลอกลวงให้หลงเชื่อ เป็นความประพฤตินอกทางของบรรพชิตที่มุ่งความสงบและหลุดพ้นจากกิเลส เป็นความปรารถนาผลประโยชน์ส่วนตัวที่ทำให้หลงใหลฟุ้งเฟ้อร่ำไป ไม่มีทางหลุดพ้นได้ และเป็นเหตุให้คนฟังหมดความเชื่อถือไปหากเขาจับได้และรู้ความจริงว่าเป็นการโกหก แม้จะเป็นจริงอยู่บ้าง ถ้าเขาไม่เชื่อก็หาสาระะไรไม่ได้ ไม่เกิดประโยชน์อะไรแก่ไคร
佛陀制定此戒是为了让比丘避免这些行为,因为妄说上人法,其实就是想用谎言让人误信,这与以追求宁静和远离烦恼为目标的出家人背道而驰。正是对个人利益的渴望,使人变得铺张浪费,无法脱离烦恼。倘若听者知道是谎言,他会失去信任,即便是真的,如果他不相信也没有意义,对任何人都毫无益处。
เจตนารมณ์ของสิกขาบทนี้ก็เพื่อป้องกันมีให้ภิกษุโอ้อวดหรือแสดงว่าได้บรรลุคุณวิเศษอันไม่มีในตน ตัวยปรารถนาต้องการให้ชาวโถกทั้งคฤหัสถ์และบรรพชิตสักการะ เคารพ บูชา นับถือ นอบน้อม แล้วบำรุงด้วยจีวรบ้าง ด้วยบิณฑบาตบ้าง ด้วยเสนาสนะบ้าง ด้วยคิลานเภสัชบ้าง จัดว่าเป็นการโกหกหลอกลวงชาวบ้านอย่างแนบเนียน
制定此戒的目的是为了防止比丘通过夸耀或展示本身并不存在的上人法,来获得在家人或出家人的顶礼、尊敬、供奉、净信或恭敬,从而获得衣、食、住、药的供养,这是一种欺骗他人的行为。
ท่านกล่าวว่าภิกษุผู้อวดอุตตริมนุสสธรรมเช่นนี้เป็นมหาโจรอันดับหนึ่งในโลก เพราะบริโภคก้อนข้าวของราษฎรด้วยอาการแห่งขโมย
佛陀说妄说上人法的比丘是天下第一大盗,因为他以偷窃的行为消耗人民的粮食。
โทษของการอวดคุณพิเศษที่ไม่มีในตนของภิกษุนั้นมีมากและร้ายแรง คือ
比丘妄说上人法会造成严重的危害:
– เป็นเหตุทำให้เสื่อมความศรัทธาเลื่อมใสแก่บุคคลผู้ศรัทธาเลื่อมใส
导致信仰者失去信仰心。
– เป็นเหตุให้ชื่อว่าเป็นโจรปล้นศาสนา เป็นมหาโจรอันดับต้น
盗窃佛教,实为顶级盗贼。
– เป็นเหตุให้พระศาสนาเสื่อมลงและอันตรธานไปในที่สุด
导致佛教衰落并最终灭亡。
ด้วยเหตุนี้ การอวดอุตตริมนุสสธรรมแม้เพียงเล็กน้อย ก็ต้องอาบัติปาราชิกได้แล้ว เว้นไว้แต่จะสำคัญผิดว่าตนได้บรรลุแล้วเท่านั้น คือภิกษุบางรูปคร่ำเคร่งอยู่กับการปฏิบัติธรรมจนจิตอ่อนโยน มั่นคงไม่หวั่นไหว ก็เข้าใจว่าตนได้บรรลุฌานแล้ว ได้เข้าถึงสมาบัติแล้ว ทั้งที่จิตสงบหยุดนิ่งได้เป็นบางขณะเท่านั้น จึงได้บอกให้คนอื่นรู้ เมื่อบอกให้คนอื่นรู้ก็ชื่อว่าอวดเหมือนกัน แต่อวดเพราะเข้าใจผิด จึงไม่ต้องอาบัติถึงที่สุดคือปาราชิก
因此,即便比丘只显露一丝半点的妄说上人法也犯波罗夷,除非是他误以为自己已经证得。也就是有些比丘过于专注禅修,以致心变得柔软、稳定不动摇,便误以为自己证得禅那,已经入定,其实心只能静止一会儿而已,却将此事告知其他人,当他人知道后也属于吹嘘炫耀,但因为是误解而自夸,因此不犯波罗夷。
ลักษณะของการอวดที่เป็นอาบัติ
吹嘘的特征
(๑) พูดอวดตรงๆ คือพูดให้ผู้ฟังเข้าใจใจความว่าตนได้บรรลุคุณวิเศษหรือได้บรรลุธรรมชั้นนั้นชั้นนี้แล้ว ทั้งที่รู้อยู่แก่ใจว่าตนไม่ใด้บรรลุธรรมเช่นนั้นจริง เมื่อพูดอวดตรงๆ อย่างนี้ และผู้ฟังเข้าใจเนื้อความได้ตามนั้น เป็นปาราชิก
(1)直接吹嘘,告诉他人说自己已经证得神通或某个境界的法,尽管他心里清楚自己并没有真正证得。当他直接吹嘘,听者也了解他所说的内容,犯波罗夷。
(๒) ถ้าพูดอวดอย่างนั้น แต่ผู้ฟังไม่เข้าใจเนื้อความตามที่พูด เป็นถุลลัจจัย
(2)如果他吹嘘,但听者不明白他说的内容,犯偷兰遮。
(๓) พูดอวดโดยปริยายคือโดยอ้อม เช่นภิกษุพูดอวดภิกษุอื่นว่าผู้ที่ดูแลโบสถ์ย่อมได้บรรลุถึงอุตตริมนุสสธรรม ซึ่งหมายถึงตนซึ่งเป็นผู้ดูแลโบสถ์อยู่ เช่นนี้ ถ้าผู้ฟังเข้าใจเนื้อความตามที่พูด เป็นอาบัติถุลลัจจัย ถ้าไม่เข้าใจเป็นอาบัติทุกกฎ
(3)含蓄的吹嘘,即间接吹嘘。例如,一名比丘向其他比丘吹嘘看护大雄宝殿的人已证得上人法,而他正好是看护大雄宝殿的人。因此,如果听者明白他说的内容,犯偷兰遮,如果不明白则犯恶作。
เนื่องจากสิกขาบทข้อนี้เป็นสจิตตกะ คือต้องประกอบด้วยเจตนา ดังนั้นหากไม่มีเจตนา เช่นพูดไปด้วยสำคัญว่าตนได้บรรลุ หรือพูดไปลอยๆโดยไม่ประสงค์จะอวดอ้าง เช่นนี้ไม่ต้องอาบัติ
违犯该条戒律的条件是有心,也就是必须是故意,如果不是故意,例如误以为自己已经证得或随口一说,没有故意要吹嘘,如此则不犯。
อนาปัตติวาร
无罪
ในพระวินัยปิฎก ท่านได้แสดงอนาปัตติวารคือข้อยกเว้นสำหรับภิกษุที่ไม่ต้องอาบัติปาราชิกตามสิกขาบทนี้ไว้ ๖ ประเภท คือ
关于这条戒律依《律藏》记载,如果比丘是以下六种状态可判为无罪,不犯波罗夷。
(๑) ภิกษุผู้สำคัญผิดว่าได้บรรลุ
(1)比丘误以为自己已经证得。
(๒) ภิกษุผู้ไม่ประสงค์จะกล่าวอวด คือบอกเล่าแก่เพื่อนภิกษุโดยไม่ประสงค์จะได้ลาภเป็นต้น
(2)比丘无意吹嘘,即告诉同修并非为了求财等等。
(๓) ภิกษุผู้วิกลจริต คือภิกษุบ้า
(3)精神失常的比丘,即比丘发疯。
(๔) ภิกษุผู้มีจิตฟุ้งซ่าน คือภิกษุผู้มีจิตไม่สงบ พล่านไป ซัดส่ายไปควบคุมตัวเองไม่ได้
(4)心散乱的比丘,即比丘内心不安、烦躁、无法控制自己。
(๕) ภิกษุผู้กระสับกระส่ายเพราะเวทนา คือภิกษุผู้เร่าร้อนใจทนนิ่งเป็นปกติอยู่ไม่ได้
(5)因疼痛而精神错乱的比丘,即比丘内心焦躁,无法平静。
(6) ภิกษุผู้เป็นต้นบัญญัติ หรือผู้เป็นอาทิกัมมิกะ ได้แก่พวกภิกษุชาวริมฝั่งแม่น้ำวัดคุมุทา
(6)第一个犯戒的比丘,即最初犯行者为在婆裘河畔结雨安居的众比丘。
วินีตวัตถุ
修习事
วินีตวัตถุ ซึ่งเป็นกรณีที่เกิดขึ้นเกี่ยวเนื่องด้วยสิกขาบทนี้ และพระพุทธองค์ทรงตัดสินแล้วว่าเป็นอาบัติหรือไม่เป็นอาบัติ มีมากเรื่องด้วยกัน ขอแสดงเป็นบางเรื่องเพื่อเป็นตัวอย่างดังนี้
修习事就是与此戒有关的事件,佛陀已判定是否犯戒,以下列举多个事件以供参考和学习。
– ภิกษุรูปหนึ่งอวดอ้างคุณวิเศษว่ามีในตนด้วยสำคัญว่าตนได้บรรลุคุณวิเศษนั้นแล้ว ทรงตัดสินว่า ไม่ต้องอาบัติเพราะสำคัญว่าได้บรรลุ
一名比丘吹嘘自己具足神通,误以为已经证得神通。佛陀判定说因为是误以为自己已经证得,所以不犯。
– ภิกษุรูปหนึ่งอยู่ป่าด้วยตั้งใจว่าผู้คนจักได้ยกย่องนับถือด้วยการทำอย่างนี้ ซึ่งผู้คนก็ได้ยกย่องนับถือจริง ทรงตัดสินว่าไม่ต้องอาบัติปาราชิก และตรัสว่า“ภิกษุไม่พึงอยู่ป่าด้วยตั้งใจเช่นนั้น รูปใดอยู่ป่าด้วย ตั้งใจเช่นนั้น ต้องอาบัติทุกกฎ”
一名比丘住在森林里,希望以此让人们尊敬他,而人们也确实因此尊敬他。佛陀判定不犯波罗夷,并说:“比丘不应怀着这样的意图住在森林里,如果哪位比丘住在森林是为了这个目的,犯恶作。”
– ภิกษุรูปหนึ่งได้กล่าวกับภิกษุอีกรูปหนึ่งว่า พวกภิกษุสัทธิวิหาริกของพระอุปัชฌาย์ของพวกเราล้วนเป็นพระอรหันต์ ทรงตัดสินว่า แม้ประสงค์จะพูดอวด ก็ไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย
一名比丘对另一名比丘说我们戒师的弟子皆为阿罗汉,佛陀判定该比丘想要夸耀,虽不犯波罗夷,但犯偷兰遮。
– ภิกษุรูปหนึ่งเดินจงกรมอย่างแน่วแน่ด้วยตั้งใจว่าผู้คนจักได้ยกย่องนับถือเราด้วยการทำอย่างนี้ ซึ่งผู้คนก็ได้ยกย่องนับถือจริง ทรงตัดสินว่า ไม่ต้องอาบัติปาราชิก และตรัสว่า“ภิกษุไม่พึ่งเดินจงกรมด้วยตั้งใจเช่นนั้น รูปใดเดิน จงกรมด้วยตั้งใจเช่นนั้น ต้องอาบัติทุกกฎ”
一名比丘在精进行禅,希望以此让人们信仰他,而人们也确实因此信仰他。佛陀判定不犯波罗夷,并说:“比丘不应怀着这样的意图行禅,如果哪位比丘行禅是为了这个目的,犯恶作。”
– ภิกษุรูปหนึ่งพูดอวดอุตตริมนุสสธรรมแก่ภิกษุรูปหนึ่ง แม้ภิกษุนั้นก็พูดอวดว่าตนก็ละสังโยชน์ได้แล้วอย่างนั้นเหมือนกัน ทรงตัดสินว่า ต้องอาบัติปาราชิกแล้ว
一名比丘向另一名比丘吹嘘自己已经证得上人法,尽管对方也自诩已经脱离结缚,佛陀依然判定犯波罗夷。
– ภิกษุรูปหนึ่งพูดกับอุบาสกคนหนึ่งว่า ภิกษุผู้อยู่ในวิหารของท่านนั้นเป็นพระอรหันต์ และเธอก็อยู่ในวิหารของอุบาสกนั้น เมื่อทรงไต่ถามภิกษุนั้นว่าคิดอย่างไร ได้กราบทูลว่ามีความประสงค์จะพูดอวด ทรงตัดสินว่า ไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย
一名比丘对一位优婆塞说:“住在我的寺院里的比丘都是阿罗汉,而我也住在寺院里。”佛陀问该比丘为何这样说,他表示自己只是想吹嘘。佛陀判定不犯波罗夷,但犯偷兰遮。
– ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธ ถูกภิกษุทั้งหลายถามว่ามีอุตตริมนุสสธรรมหรือ ได้ตอบว่า การทำอรหัตผลให้แจ้งไม่ใช่ของทำได้ยาก เมื่อทรงไต่ถามภิกษุนั้นว่าคิดอย่างไร ได้กราบทูลว่าไม่มีความประสงค์จะพูดอวด ทรงตัดสินว่า ภิกษุไม่มีความประสงค์จะพูดอวด ไม่ต้องอาบัติ
一名比丘生病后,众比丘问他是否具足上人法,他回答说证阿罗汉果并非难事。佛陀问该比丘为何这样说,他表示自己无意吹嘘。佛陀判定比丘无意吹嘘,所以不犯。
– ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธ ภิกษุทั้งหลายได้กล่าวกับเธอว่าอย่าได้กลัวไปเลย ได้ตอบว่าสำหรับตนไม่กลัวต่อความตาย ทรงไต่ถามภิกษุนั้นว่าคิดอย่างไร ได้กราบทูลว่ามิได้มีความประสงค์จะพูดอวด ทรงตัดสินว่า ภิกษุไม่มีความประสงค์จะพูดอวด ไม่ต้องอาบัติ
一名比丘生病后,众比丘告诉他不要害怕。他回答说自己不怕死,佛陀问该比丘为何这样说,他表示自己无意吹嘘。佛陀判定该比丘因无意吹嘘,所以不犯。
– ภิกษุหลายรูปได้รับนิมนต์ของพราหมณ์คนหนึ่งไว้ เมื่อไปถึงบ้านพราหมณ์กล่าวว่า นิมนต์พระอรหันต์เข้ามาเถิด จึงเกิดความไม่สบายใจว่าพวกตนไม่ได้เป็นพระอรหันต์ แต่พราหมณ์มาเรียกว่าเป็นพระอรหันต์ จะปฏิบัติอย่างไรดี ทรงตัดสินว่า ไม่ต้องอาบัติ ในเพราะคำกล่าวด้วยความเสื่อมใส
众比丘接受一位婆罗门邀请,在到达婆罗门的家门时,婆罗门说:“请众阿罗汉入内。”众比丘因不是阿罗汉而心生不安,但婆罗门却依然称他们为阿罗汉。佛陀判定这是对方出于净信讲的话,所以不犯。
– ภิกษุหลายรูปจำพรรษากันอยู่ในอาวาสแห่งหนึ่ง ตั้งกติกากันไว้ว่าภิกษุใดหลีกไปจากอาวาสนี้ก่อน พวกเราจักเข้าใจภิกษุนั้นว่าเป็นพระอรหันต์ ภิกษุรูปหนึ่งหลีกไปจากอาวาสนั้นก่อนด้วยตั้งใจว่าภิกษุทั้งหลายจะได้เข้าใจว่าเราเป็นพระอรหันต์ ทรงตัดสินว่า ต้องอาบัติปาราชิกแล้ว
众比丘在一座寺院坐雨安居,规定如果哪名比丘先行离开此寺院,其他比丘就认定这名比丘为阿罗汉。一名比丘想让其他比丘认定自己为阿罗汉,所以先行离开寺院,佛陀判定该比丘犯波罗夷。