ภัยสำหรับกุลบุตรผู้บวชในธรรมวินัยนี้
อันเป็นเหตุให้ประพฤติพรหมจรรย์อยู่ได้ไม่ยั่งยืน ต้องลาสิกขาไป
受戒出家比丘面临的危险,
可能导致比丘无法修持梵行,而舍戒还俗。
รู้จัก “ภัย” 4 ประการของนักบวช
了解比丘的4大“危险”
- ภัยจาก”คลื่น” อดทนต่อคำสั่งสอนไม่ได้
1.波浪的怖畏:无法忍受告诫和教导;
ไม่ยอมรับในคำตักเตือนสั่งสอนจากบัณฑิตผู้เป็นกัลยาณมิตร
不接受来自善知识、智者的告诫和教导,
เกิดความคับแค้นข้องใจ เบื่อหน่ายต่อคำตักเตือนพร่ำสอน
心中滋生怨气,厌倦告诫和教导。
- ภัยจาก”จรเข้” อดทนต่อความอยากไม่ได้
2.鳄鱼的怖畏:无法忍受欲望;
เห็นแก่ปากแก่ท้อง เมื่อต้องถูกจำกัดด้วยระเบียบวินัยเกี่ยวกับการบริโภคอาหารรวมไปถึงปัจจัย 4 จึงอดทนไม่ได้
由于受到饮食及四事相关戒律的限制,无法忍受口腹之欲。
- ภัยจาก”น้ำวน” อดทนต่อกามคุณ 5 ไม่ได้
3.漩涡的怖畏:无法忍受五欲;
ลุ่มหลงพะวงอยู่ในกามสุข ไม่สามารถตัดใจจากกามคุณทั้ง 5 คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฎฐัพพะ (สัมผัส)
沉迷于感官之乐,无法断除心中的五欲:色、声、香、味、触。
- ภัยจาก”ปลาร้าย” อดทนต่อมาตุคามไม่ได้
4.鲨鱼的怖畏:无法忍受异性的诱惑;
ภัยจากการมีจิตใจวุ่นวายพัวพันอยู่กับมาตุคาม รักผู้หญิง
หรือเพศตรงข้าม กระทั่งเกิดความปรารถนาทางเพศ
心因女人而烦乱;喜欢女人,或者是异性,直至产生性欲。
“จาตุมสูตร” ที่มาคือขณะพระพุทธองค์ทรงประทับที่หมู่บ้านจาตุมาทรงอบรมภิกษุ 500 รูปโดยเปรียบภัยทั้ง 4 ของผู้ลงไปในน้ำกับภัยของพระภิกษุสงฆ์
《Cātuma Sutta》(中译《车头聚落经》)是佛陀在遮堵玛村时,教导500位比丘,将落水的四种危险与比丘怖畏进行比较。
ที่มา : จาตุมสูตร, พระไตรปิฎก เล่มที่ 13 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 5 มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์
源自:《Cātuma Sutta》,《经藏•中部•车头聚落经》