วิชาวินัย : วินัยบัญญัติ
戒律纲要
กัณฑ์ที่ ๑ อุปสัมปทา
第一章:出家
ตั้งแต่ครั้งโบราณกาลมาจนถึงบัดนี้ ได้มีประเพณีการอุปสมบทเกิดขึ้นโดยมุ่งผล ๒ ประการ คือ
๑. ได้ยังประโยชน์อันยิ่งใหญ่ให้สำเร็จแก่มหาชน
๒. ทำชีวิตของตนไม่ให้ผลเปล่า
从古至今,出家的两个主要目的是:
- 利益大众
- 利益自己
วิธีอุปสมบท
出家方式
วิธีอุปสมบทในพระพุทธศาสนาที่ทราบโดยทั่วไปมี ๓ วิธี คือ
佛教常见的出家方式有三种,分别是:
๑. เอหิภิกขุอุปสัมปทา คือ การอุปสมบทเป็นภิกษุโดยพระพุทธเจ้าเป็นผู้บวชให้โดยการเปล่งพระวาจาว่า ท่านจงเป็นภิกษุมาเถิด พร้อมกับการเปล่งพระวาจานั้น บุคคลนั้นก็สำเร็จเป็นภิกษุโดยสมบูรณ์
1.善来:指仅限佛陀一人为出家者受戒之作法。当佛陀向发心出家者称‘善来比丘’时,此人将具备著袈裟之相,得具足戒。
๒. ติสรณคมนูปสัมปทา คือ การอุปสมบทด้วยเปล่งวาจาถึงไตรสรณคมน์ หมายถึง การอุปสมบทด้วยการเปล่งวาจาขอถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะสามครั้ง เป็นวิธีอุปสมบทที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้พระสาวกบวชกุลบุตรในครั้งพุทธกาล ต่อมาเมื่อทรงอนุญาตการอุปสมบทด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจาแล้วก็ทรงอนุญาตให้เป็นการบวชสำหรับสามเณรสืบมาจนถึงปัจจุบัน
- 三归:指以三皈依的方式受戒,即三说皈依三宝而得具足戒。佛陀住世时,曾允许比丘以此方式为出家者受具足戒,但自从有了白四羯磨后,三归只用于沙弥受戒,并传承至今。
๓. ญัตติจตุตถกัมมอุปสัมปทา คือ การอุปสมบทด้วยญัตติจตุตถกรรม หมายถึงหมู่สงฆ์เป็นผู้บวชให้ด้วยการสวดตั้งญัตติ (คำประกาศให้สงฆ์ทราบเพื่อทำกิจร่วมกัน) ๑ ครั้งและสวดอนุสาวนา (คำสวดประกาศเพื่อขอมติอนุมัติในกิจนั้นๆ จากสงฆ์) ๓ ครั้ง เป็นวิธีอุปสมบทที่ทรงอนุญาตให้สงฆ์กระทำตั้งแต่ครั้งพุทธกาลจนถึงปัจจุบันนี้
3.白四羯磨:指以白四羯磨的方式受戒,羯磨师先诵一白表文(告之僧众共同进行受戒仪式),再诵三羯磨(请求僧众批准受戒之决议),合一度之白与三度之羯磨,故称白四羯磨,并沿用至今。
วิธีการอุปสมบทด้วยญัตติจตุตถกรรม
白四羯磨受戒
การอุปสมบทด้วยญัตติจตุตถกรรม มีข้อกำหนดและระเบียบวิธีในการอุปสมบทสรุปได้ดังนี้
以白四羯磨受戒,需注意以下事项:
สมบัติของการอุปสมบท ๕ ประการ
受戒应具足五种因缘
การอุปสมบทด้วยวิธีญัตติจตุตถกัมมอุปสัมปทาต้องประกอบด้วยองค์ประกอบหรือที่เรียกว่าสมบัติ ๕ ประการ จึงถือว่าเป็นการอุปสมบทที่ถูกต้องสมบูรณ์ ดังนี้
以白四羯磨受戒,必须具足五种因缘,才算是正确的出家方式。
๑. วัตถุสมบัติ หมายถึง คุณสมบัติของผู้อุปสมบท ๕ คือ
๑.๑ ต้องเป็นมนุษย์ผู้ชาย
๑.๒. มีอายุครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์ นับแต่ปฏิสนธิ
๑.๓ ไม่เป็นบุคคลวิบัติ เช่น ถูกตอน แปลงเพศ เป็นต้น
๑.๔ ไม่เคยทำความผิดอย่างร้ายแรงในพระพุทธศาสนา เช่น ฆ่าบิดามารดา ต้องอาบัติปาราชิก เป็นต้น
1.出家者须具备四个条件:
1.1 生为男子。
1.2 年满二十周岁。
1.3 无生理缺陷。例如:不是太监或变性人等。
1.4 不曾违犯佛教的极重罪。例如,杀父母、犯波罗夷罪等。
๒. ปริสสมบัติ คือ ความถึงพร้อมแห่งภิกษุบริษัท หมายถึง ภิกษุผู้ทำการอุปสมบทต้องมีจำนวนครบตามที่กำหนด คือ ในปัจจันตประเทศหรือท้องถิ่นทุรกันดารหาภิกษุยาก อย่างน้อยต้องมีภิกษุ ๕ รูป ในถิ่นที่เจริญอย่างน้อยจะต้องมีพระภิกษุ ๑๐ รูป รวมพระอุปัชฌาย์ด้วย ถ้าขาดหรือหย่อนโดยไม่ครบองค์กำหนดเรียกว่า ปริสวิบัติ มีผลให้การอุปสมบทนั้นไม่สำเร็จ
2.僧众足数:指具足受戒过程中所规定的比丘人数。如果在边陲之国或边远地区,也至少需要五位比丘。如果在繁华的地区,则至少需要包括授戒师在内的十位比丘。若不足或少于规定的人数,称为僧众不足数,将无法进行受戒。
๓. สีมาสมบัติ ความถึงพร้อมแห่งสีมา หมายถึง ในการอุปสมบทนั้น สงฆ์ต้องพร้อมกันทำในเขตที่กำหนดเรียกว่า สีมา คือ สถานที่ประชุมทำสังฆกรรมนั้นต้องได้มาตรฐานถูกต้องตามพระธรรมวินัยได้ขนาดถูกต้องมีนิมิตไม่เสียเป็นต้น
3.划定地界:指僧团须在规定的地界内进行受戒。地界即是僧团集会举行僧羯磨之场所,必须符合戒律中的规定,譬如规格标准等等。
๔. บุพกิจ หมายถึง กิจที่จะต้องทำให้แล้วเสร็จก่อนการอุปสมบทมี ๔ ประการ คือ
๑.๑ ตรวจตราผู้อุปสมบทต้องมีคุณสมบัติครบ
๑.๒ มีอุปัชฌาย์รับรอง หรือชักนำเข้าหมู่
๑.๓ ตรวจดูบริขารที่จำเป็นมีบาตรและจีวรเป็นต้นต้องพร้อม ถ้าขาด ผู้เป็นพระอุปัชฌาย์ต้องจัดหา
๑.๔ ผู้อุปสมบทต้องเปล่งวาจาขออุปสมบทด้วยตนเอง
4.最初事务:指应在举行受戒前完成四项事务,分别是:
1.1 审核受戒人是否符合各项条件。
1.2 有授戒师担保或有人引荐,例如僧团。
1.3 检查资具是否具足,如袈裟和钵等,若缺少应由授戒师负责。
1.4 受戒人要亲口提出受戒之请求。
๕. กรรมวาจาสมบัติ หมายถึง การสวดประกาศรับเข้าหมู่คือเป็นภิกษุ โดยพระกรรมวาจาจารย์จะสวดประกาศให้สงฆ์ฟัง วาจาที่สวดประกาศนั้นเรียกว่า ญัตติจตุตถกรรมวาจา แปลว่า การสวดประกาศในท่ามกลางสงฆ์โดยมีวาจาครบ ๔ รวมทั้งญัตติ คือ ครั้งที่ ๑ สวดญัตติ คือ คำประกาศให้สงฆ์ทราบเพื่อทำกิจของสงฆ์ร่วมกัน อีก ๓ ครั้งเรียกว่าอนุสาวนา แปลว่า วาจาขอความเห็น คือตั้งญัตติแล้วสวดอนุสาวนา ๓ หน ในระหว่างสวดอนุสาวนา ถ้ามีภิกษุรูปหนึ่งคัดค้านขึ้น การให้อุปสมบทนั้นเสียไปทันที ถ้าทุกรูปนิ่งถือว่ายอมรับ การอุปสมบทครั้งนั้นถือว่าสำเร็จ
5.羯磨受戒:受戒过程中,三师之羯磨师向僧众诵出合一度之白与三度之羯磨,即白四羯磨。首先诵白表文,告白僧众共同进行受戒仪式。其次诵三羯磨,请求僧众批准受戒之决议,在这期间,若有一位比丘有异议,则无法进行继续受戒,若无异议,则可成功受戒。
กรรมวาจาสมบัตินี้บางแห่งแยกออกเป็นญัตติสมบัติและอนุสาวนาสมบัติ
有些地方将羯磨受戒分为告白与羯磨。
การบวชด้วยญัตติจตุตถกรรมนี้ หากสมบัติข้อใดข้อหนึ่งบกพร่อง ถือว่าการบวชใช้ไม่ได้ เป็นอุปสมบทวิบัติ
在以白四羯磨受戒时,若缺少其中一项因缘,则无法进行受戒。
อนุศาสน์ ๘ อย่าง
八项教诫
อนุศาสน์ แปลว่า การตามสอน คำพร่ำสอน หมายถึง โอวาทหรือคำสอนที่พระอุปัชฌาย์ต้องสอนแก่ภิกษุใหม่เพื่อให้รู้จักธรรมเนียมปฏิบัติและความเป็นอยู่ของภิกษุและให้รู้จักข้อห้ามที่ภิกษุไม่ควรทำเด็ดขาด ประกอบด้วย นิสัย ๔ อกรณียกิจ ๔
教诫:授戒师给予新比丘的教诲或告诫,让他们了解相关的规定以及出家人的生活准则,禁止行不应行之事,即是四依止与四不应行。
นิสสัย คือ ปัจจัยเครื่องอาศัยของบรรพชิต (ภิกษุ) มี ๔ อย่าง ได้แก่
依止:指出家人(比丘)维生的四种方法,分别是:
๑. เที่ยวบิณฑบาต
๒. นุ่งห่มผ้าบังสุกุล
๓. อยู่โคนไม้
๔. ฉันยาดองด้วยน้ำมูตรเน่า
- 以托钵获取食物。
- 以粪扫衣作为袈裟。
- 以树下作为住所。
- 以发酵的尿作为药物。
อกรณียกิจ คือ กิจที่บรรพชิต (ภิกษุ) ทำไม่ได้ มี ๔ อย่าง คือ
๑. เสพเมถุน (มีเพศสัมพันธ์)
๒. ลักของเขา (ถือเอาสิ่งของที่เขาไม่ให้นำมาเป็นของตนหรือให้ผู้อื่น)
๓. ฆ่าสัตว์ (หมายเอาฆ่ามนุษย์)
๔. พูดอวดคุณวิเศษที่ไม่มีในตน
四不应行:指出家人(比丘)禁止做的四种事情,分别是:
1.不净行(发生性交)。
2.偷盗(取走没有给予他的东西)。
3.杀人(夺取生命)。
4.妄说自得上人法。
กิจ ๔ อย่างนี้ภิกษุไม่ควรทำ ถ้าทำต้องขาดจากความเป็นภิกษุ
比丘禁止做以上四种事情,否则将失去当比丘的资格。
สิกขา ๓
三学
สิกขา หมายถึง ข้อที่ภิกษุจะต้องศึกษาสำหรับฝึกอบรมตน มี ๓ อย่าง คือ ศีล สมาธิและปัญญา
学:指比丘为培养自己而修持的三种学业,即戒、定、慧。
๑. ความสำรวมกาย วาจา ให้เรียบร้อย เรียกว่า ศีล
๒. การฝึกอบรมจิตให้ตั้งมั่น เรียกว่า สมาธิ
๓. ความรอบรู้ในกองสังขาร เรียกว่า ปัญญา
ศีล สมาธิ ปัญญา ทั้ง ๓ นี้ รวมเรียกว่า ไตรสิกขา
1.防护身、口,使之清净,称为戒。
2.调伏心,使之安稳,称为定。
3.如实通晓诸行,称为慧。
สงฆ์ ๒ ประเภท คือ
两种僧
๑. อริยสงฆ์ หมายถึง พระภิกษุผู้เป็นอริยบุคคลตั้งแต่พระโสดาบันจนถึงพระอรหันต์
1.圣僧:称为圣者之比丘,泛指从须陀洹圣者至阿罗汉圣者。
๒. สมมติสงฆ์ หมายถึง ภิกษุตั้งแต่ ๔ รูปขึ้นไปที่สมมติขึ้นเพื่อทำกิจนั้น ๆเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า การกสงฆ์ (พระสงฆ์ผู้ทำกิจ) มี ๔ ประเภท คือ
2.僧众结集:为举行佛事而结集的至少四位或以上之比丘,又可称为进行佛事之僧团。共有四种类型,分别是:
๒.๑ จตุวรรค คือ ภิกษุมีจำนวน ๔ รูป ทำสังฆกรรม ได้ทุกอย่าง ยกเว้นปวารณาให้ผ้ากฐิน อุปสมบท และอัพภาน (จตุ แปลว่า ๔)
2.1四比丘:四位比丘,可行一切僧羯磨,除了赐予功德衣、出家受戒、出罪。
๒.๒ ปัญจวรรค คือ ภิกษุมีจำนวน ๕ รูปขึ้นไป ทำสังฆกรรม คือ ทำปวารณาให้ผ้ากฐิน และให้อุปสมบทในปัจจันตประเทศ ได้ (ปัญจ แปลว่า ๕)
2.2五比丘:五位以上比丘,可行一切僧羯磨,赐予功德衣,可在边陲之国进行受戒。
๒.๓ ทสวรรค คือ ภิกษุมีจำนวน ๑๐ รูปขึ้นไป ทำสังฆกรรมได้ทุกอย่างและให้อุปสมบทในมัธยมประเทศได้ (ทส แปลว่า ๑๐)
2.3十比丘:十位以上比丘,可行一切僧羯磨,可在繁华地区进行受戒。
๒.๔ วีสติวรรค คือ ภิกษุมีจำนวน ๒๐ รูปขึ้นไป ทำสังฆกรรมได้ทุกอย่างและทำอัพภานได้ (วีสติ แปลว่า ๒๐)
2.4二十比丘:二十位以上比丘,可行一切僧羯磨,可行出罪。
อัฏฐวาจิกาอุปสัมปทา (การบวชภิกษุณี)
八法受戒(比丘尼出家)
อัฏฐวาจิกาอุปสัมปทา คือ การอุปสมบทมีวาจา ๘ คือ บวชด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจา๒ ครั้ง จากสงฆ์สองฝ่าย คือ จากภิกษุณีสงฆ์ครั้งหนึ่งจากภิกษุสงฆ์ครั้งหนึ่ง (พระธรรมปิฏก(ป.อ.ปยุตโต) ๒๕๓๘ – ๔๓๑)
八法受戒:指比丘尼依八语而受戒,即出家者需在比丘众和比丘尼众中,各进行一次白四羯磨受戒。
กัณฑ์ที่ ๒ พระวินัย
第二章:戒律
วินัย หมายถึง กฎระเบียบสำหรับฝึกควบคุมหรืออบรมกาย วาจา ซึ่งเป็นเครื่องป้องกันความประพฤติที่ไม่เหมาะสมทางกาย วาจา (ยกเว้นใจ)
戒律:指自制和调伏身心的戒行法规,防止身心造作不正当的行为。
พระวินัยบัญญัติ หมายถึง พุทธบัญญัติ (กฎระเบียบที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้เรียกว่า สิกขาบท戒) และ อภิสมาจาร เกี่ยวกับระเบียบปฏิบัติ ขนบธรรมเนียมประเพณี ของภิกษุสงฆ์และภิกษุณีสงฆ์ ประกอบด้วย
戒律制定:指佛制定(佛陀制定的清规戒律称为戒或学处)和等正行,是有关比丘和比丘尼必须遵循的行为规范和生活习俗。
๑. พุทธบัญญัติ หรือ อาทิพรหมจริยกาสิกขา หมายถึง ข้อบังคับห้ามไม่ให้ทำและทรงวางโทษไว้แก่ผู้ฝ่าฝืน โดยปรับอาบัติหนักบ้าง เบาบ้าง ตามสมควรแก่ความผิด เพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดแก่บุคคล หมู่คณะ และพระพุทธศาสนา ในด้านต่าง ๆ
1.佛制定或初梵行学,指被禁止的行为,违反者将视所触犯戒条之轻重接受相应的惩罚。防止在各方面给众人、僧团及佛教造成损失。
๒. อภิสมาจาร หรือ อภิสมาจาริกาสิกขา หมายถึง ข้อศึกษาเกี่ยวกับขนบธรรมเนียม ประเพณี และมารยาทอันดีงามในการอยู่ร่วมกันของพระสงฆ์ ที่พระพุทธเจ้าทรงตั้งขึ้น เพื่อเป็นแนวทางให้ภิกษุมีความประพฤติดีงาม น่าเลื่อมใส ควรแก่ภาวะของตน เป็นสิกขาบทที่ไม่ได้มาในพระปาติโมกข์ หรือเรียกว่า สิกขาบทนอกพระปาติโมกข์
2.等正行或增上行仪学,指为促进僧众和合安乐而修持的生活习俗和美好行为。佛陀制定的用意是为了让僧众具足威仪、值得净信,以及符合自己的身份。但是这些都不是源自于波罗提木叉,而是属于波罗提木叉以外的戒。
พระวินัยบัญญัติ ๒ ประการ
两种戒律制定
การบัญญัติพระวินัยนั้น พระพุทธองค์จะทรงบัญญัติเมื่อมีภิกษุทำความเสียหายอย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้น ไม่ได้ทรงบัญญัติไว้ล่วงหน้า โดยแบ่งเป็น ๒ ลักษณะ คือ
对于戒律的制定,佛陀是依照僧众出现不如法行为后,才制定出的戒律,并非提前制定。因此,可分为两种类型,分别是:
๑. มูลบัญญัติ หมายถึง ต้นบัญญัติ หรือพระบัญญัติเดิม คือข้อที่ทรงตั้งหรือพระบัญญัติไว้แต่เริ่มแรกหลังจากเกิดเรื่องขึ้น
1.根本制:指最初的规定或原先的规定,也就是出现不如法行为后,佛陀所制定的戒律。
๒. อนุบัญญัติ หมายถึง ข้อบัญญัติที่ทรงเพิ่มเติมขึ้นภายหลัง เพื่อเสริมมูลบัญญัติให้รัดกุมขึ้นหรือผ่อนให้เพลาลงสะดวกแก่การปฏิบัติตามพระบัญญัติ
2.随制:指为增上根本制,使之更加周全严格或放松而增加的戒律。
ที่ทรงยกเอาเรื่องภิกษุประพฤติผิดตั้งเป็นสิกขาบท ห้ามภิกษุประพฤติ เช่นนั้นอีก เช่น สิกขาบทที่ ๑ แห่งปาราชิก พระภิกษุเสพเมถุนกับภรรยาของตนในระหว่างที่บวชอยู่ ชาวบ้านและภิกษุอื่นติเตียน พระพุทธเจ้าจึงทรงบัญญัติไว้ว่า “ก็ภิกษุใดเสพเมถุนธรรมกับมนุษย์ ภิกษุนั้นเป็นปาราชิก หาสังวาสมิได้” จัดเป็นมูลบัญญัติ ต่อมา มีภิกษุเสพเมถุนกับนางลิง จึงทรงบัญญัติเพิ่มเติมขึ้นอีกว่า “อนึ่ง ภิกษุเสพเมถุนธรรม โดยที่สุด แม้กับสัตว์ดิรัจฉานตัวเมีย ภิกษุนั้นเป็นปาราชิก หาสังวาสมิได้” เช่นนี้ จัดเป็นอนุบัญญัติสิกขาบทหนึ่ง ๆ ทรงปรับโทษไว้หนักบ้าง เบาบ้าง ตามสมควรแก่ความผิด เรียกว่า อาบัติ
当僧众出现过失行为后,佛陀会制定出相关的戒条,以防再犯。例如,波罗夷的第一戒,在须提那比丘与前妻发生不净行后,受民众与僧众的责备。于是佛陀规定:“某比丘与人发生不净行,该比丘犯波罗夷,不共住。”后来,有比丘与母猴发生不净行,佛陀又增加规定:“另外,比丘只要从事不净行,即使对象是动物,也犯波罗夷,不共住。”这种归为随制之戒。佛陀还会根据过失,做出轻重不等的惩处,称为罪。
อาบัติ
罪
โทษที่เกิดจากการละเมิดสิกขาบทที่ทรงบัญญัติไว้ เรียกว่า อาบัติ แปลว่า ความต้อง คือ ต้องได้รับโทษหรือถูกปรับโทษตามความหนักเบาแห่งการกระทำผิด พุทธบัญญัตินั้น ๆ
违犯佛陀制定的戒所产生的惩处,称为罪,意思是犯。即因过失行为而违犯佛制定,将接受轻重不等的惩罚或处罚。
อาบัติ กล่าวโดยชื่อมี ๗ อย่าง คือ ปาราชิก สังฆาทิเสส ถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฎิเทสนียะ ทุกกฏ และทุพภาสิต
罪共有七种,即:波罗夷、僧残、偷兰遮、单堕、悔过、恶作、恶说。
อาบัติ กล่าวตามโทษ มี ๓ สถาน คือ
罪按惩罚力度有三种:
๑. โทษอย่างหนัก ต้องเข้าแล้วขาดจากความเป็นภิกษุ ได้แก่ อาบัติปาราชิก
๒. โทษอย่างกลาง ต้องเข้าแล้วต้องอยู่กรรมจึงพ้นได้ ได้แก่ อาบัติสังฆาทิเสส
๓. โทษอย่างเบา ต้องเข้าแล้วต้องแสดงอาบัติต่อภิกษุอื่นจึงพ้นได้ ได้แก่ อาบัติ ๕ อย่างที่เหลือ
1.重罚:违犯者将失去当比丘的资格。例如:波罗夷罪。
2.中罚:违犯者须行别住而出罪。例如:僧残罪。
3.轻罚:违犯者须当其他比丘的面做忏悔。例如:其余五种罪。
ประเภทของอาบัติ
罪的种类
๑. จัดตามวิธีแก้ไข มี ๒ อย่าง คือ
1.按照解决办法划分,共有两种:
๑.๑ อาบัติที่แก้ไขไม่ได้ เรียกว่า อเตกิจฉา ได้แก่ อาบัติปาราชิก
1.1无法化解的罪,即不可治,例如:波罗夷罪。
๑.๒ อาบัติที่แก้ไขได้ เรียกว่า สเตกิจฉา ได้แก่ อาบัติ ๖ อย่างที่เหลือ
1.2可以化解的罪,即可治,例如:其余六种罪。
๒. จัดตามความหนัก – เบา มี ๒ อย่าง คือ
2.按照轻重程度划分,共有两种:
๒.๑ ครุกาบัติ อาบัติหนัก ได้แก่ อาบัติปาราชิกและสังฆาทิเสส
2.1重罪,例如:波罗夷罪和僧残罪。
๒.๒ ลหุกาบัติ อาบัติเบา ได้แก่ อาบัติที่เหลือ
2.2轻罪,例如:其余的五种罪。
๓. จัดตามความชั่วหยาบ มี ๒ อย่าง คือ
3.按照粗恶划分,共有两种:
๓.๑ ทุฎฐุลลาบัติ อาบัติชั่วหยาบ ได้แก่ ปาราชิกและสังฆาทิเสส
3.1麤罪(粗罪),例如:波罗夷罪和僧残罪。
๓.๒ อทุฎฐุลลาบัติ อาบัติไม่ชั่วหยาบ ได้แก่ อาบัติที่เหลือ
3.2非麤罪(非粗罪),例如:其余的五种罪。
众学
สมุฏฐานแห่งอาบัติ
罪的根源
คือ ทางเกิดแห่งอาบัติ โดยตรงมี ๔ คือ
罪产生的途径,共有四种:
๑. ลำพังกาย ๒. ลำพังวาจา
๓. กายกับจิต ๔. วาจากับจิต
1.身
2.口
3.身与意
4.口与意
ในบาลีเพิ่มขึ้นมาอีก ๒ คือ กายกับวาจา ๑ กายกับวาจาและจิต ๑ รวมเป็น ๖
在巴利语中增加了两种,即身与口、身口意,合计为六种。
อาบัติเพ่งโดยเจตนา ๒ อย่าง
罪产生的两个动机
๑. อาบัติที่เกิดจากความตั้งใจ เรียกว่า สจิตตกะ有心 เช่น สิกขาบทว่า ภิกษุแกล้งก่อความรำคาญให้เกิดแก่ภิกษุขึ้น ต้องปาจิตตีย์
1.因故意而生之罪,称为有心,例如:若有比丘故意让比丘忧悔,犯单堕。
๒. อาบัติที่เกิดจากความไม่ตั้งใจ เรียกว่า อจิตตกะ无心
2.因非故意而生之罪,称为无心。
โทษของอาบัติ
罪的惩罚
อาบัติมีโทษ ๒ ทาง คือ
罪的惩罚有两种,分别是:
๑. โลกวัชชะ คือ อาบัติที่มีโทษทางโลก หมายถึง สิกขาบทบางข้อภิกษุต้องเข้าแล้ว มีโทษทางพระบัญญัติด้วย และผิดกฎหมายบ้านเมืองด้วย เช่น ฆ่าคนตาย เป็นต้น หรือไม่ถึงกับผิดกฎหมายบ้านเมือง แต่เมื่อภิกษุทำแล้ว ถูกชาวบ้านติเตียน เช่น ดื่มสุรา เป็นต้น ชื่อว่าโลกวัชชะ
1.世间罪:指受世间惩罚之罪。即有比丘违犯戒律后,除了接受制定惩罚外,还触犯该国法律而接受法律的制裁,例如杀人等。又或者虽然不触犯该国法律,但若有比丘违犯后,受众人指责,例如饮酒等,皆可称为世间罪。
๒. ปัณณัตติวัชชะ คือ อาบัติที่มีโทษทางพระบัญญัติอย่างเดียวภิกษุทำแล้วไม่ผิดกฎหมายบ้านเมือง และไม่ถูกติเตียน เช่น ห่มจีวรที่ไม่พินทุ เก็บอติเรกจีวรไว้เกิน ๑๐ วัน เป็นต้น
2.制定罪:指只受制定惩罚之罪。即有比丘违犯戒律,但并没有触犯该国法律,也没有备受指责,例如穿着未做标记的袈裟,或者持有长衣超过十天等等。
อาการที่ต้องอาบัติ ๖ อย่าง
犯罪的六种状态
๑. ต้องด้วยไม่ละอาย (อลัชชิตา)
๒. ต้องด้วยความไม่รู้ (อัญญาณตา)
๓. ต้องด้วยสงสัยแล้วขืนทำ (กุกกุจจปกตา)
๔. ต้องด้วยเข้าใจว่า ควรทำ ในสิ่งที่ไม่ควรทำ (อกัปปิเย กัปปิยสัญญิตา)
๕. ต้องด้วยเข้าใจว่า ไม่ควรทำในสิ่งที่ควรทำ (กัปปิเย อกัปปิยสัญญิตา)
๖. ต้องด้วยหลงลืมสติ (สติสัมโมสา)
1.因不惭愧而犯(无惭)。
2.因不知道而犯(无知)。
3.生怀疑但被迫而犯(恶行性)。
4.误会而做不该做之事而犯(อกัปปิเย 清净想)。
5.误会而不做该做之事而犯(กัปปิเย 非清净想)。
6.因失去正念而犯(正念丧失)。
หลักการปฏิบัติในการออกจากอาบัติ
出罪的修持原则
๑. เป็นหน้าที่ของภิกษุผู้ล่วงละเมิด จะต้องทำคืนด้วยวิธีนั้น ๆ
๒. เป็นหน้าที่ของภิกษุผู้รู้เห็น จะตักเตือนด้วยจิตเมตตา เมื่อเธอปิดบังไม่ทำคืน
๓. เป็นหน้าที่ของสงฆ์ จะทำตามสมควรแก่ธรรมวินัย ในเมื่อเธอดื้อดึง
1.乃违犯的比丘之责任,应以种种方法出罪。
2.乃知情的比丘之责任,当对方试图掩盖而不除时,应给予善意的提醒。
3.乃僧团之责任,当对方固持己见时,应依照戒律进行处理。
อาการที่ทรงบัญญัติพระวินัย
佛陀制戒的过程
๑. เมื่อมีเรื่องเสียหายเกิดขึ้น ทรงรับสั่งให้ประชุมสงฆ์
๒. ตรัสถามภิกษุผู้ก่อเหตุ ให้ยอมรับตามเป็นจริง
๓. ทรงชี้โทษแห่งการประพฤติเช่นนั้น แล้วจึงแสดงอานิสงส์แห่งการสำรวม
๔. ทรงบัญญัติสิกขาบทห้ามภิกษุทำเช่นนั้นอีก และวางโทษไว้แก่ผู้ล่วงละเมิด หนักบ้าง เบาบ้าง ตามสมควร
1.当有不善行发生,佛陀会召集僧众开会。
2.询问当事人缘由,让所有人了解真相。
3.佛陀指出该不善行的罪恶,并说明自制之功德利益。
4.佛陀制定出相对的戒律,防止僧众再犯,同时制定轻重不等的惩罚制度。
อานิสงส์แห่งการบัญญัติวินัย
制戒的功德善果
ภิกษุผู้เคร่งครัดในพระวินัย รักษาไว้ด้วยดี ย่อมได้รับอานิสงส์ ๓ ประการ คือ
严格持守戒律的比丘,清净受持将获得三种功德利益:
๑. ไม่เกิดวิปฏิสาร คือ ไม่มีความเดือดร้อนใจภายหลัง
๒. ได้รับความแช่มชื่นใจมีจิตใจเบิกบาน เพราะรู้สึกว่าตนได้ประพฤติดีงาม
๓. มีความองอาจในหมู่ภิกษุผู้มีศีลไม่สะทกสะท้านส่วนภิกษุผู้ไม่ปฏิบัติตามพระวินัย ย่อมได้รับผลอันตรายอันตรงกันข้ามดังที่กล่าวมา
1.不生痛苦,即不会过后心生焦虑。
2.令心欢喜,得安乐,因为自身威仪庄严。
3.在僧团中堂堂正正,如法持戒的比丘不会心惊胆战,不如法持戒之比丘将心惊胆战,面临种种危险。
จุดมุ่งหมายของการบัญญัติวินัย ๘ อย่าง
制戒之七种目的
๑. เพื่อป้องกันไม่ให้เป็นคนเหี้ยมโหด เช่น ห้ามฆ่า
๒. เพื่อป้องกันการหลอกผู้อื่นเลี้ยงชีพ
๓. เพื่อป้องกันไม่ให้เป็นคนดุร้าย
๔. เพื่อป้องกันไม่ให้เป็นคนประพฤติเลวทราม
๕. เพื่อป้องกันไม่ให้เป็นคนประพฤติเสียหาย
๖. เพื่อป้องกันไม่ให้เล่นซุกซน
๗. เพื่อให้สอดคล้องกับความนิยมของคนสมัยนั้น
๘. เพื่อให้เป็นธรรมเนียมของภิกษุ
1.防止成为残暴者,例如:不杀生。
2.防止为了谋生而欺骗他人。
3.防止成为凶恶者。
4.防止成为行为卑鄙者。
5.防止行为过失。
6.防止顽皮。
7.为了符合当代人的潮流。
8.符合比丘的惯例规定。
ประโยชน์ของการบัญญัติพระวินัย
制戒的利益
๑. เพื่อความดีงามแห่งสงฆ์
๒. เพื่อความอยู่ผาสุกแห่งสงฆ์
๓. เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก (หน้าด้าน)
๔. เพื่อความผาสุกของภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก
๕. เพื่อกำจัดอาสวะอันจะเกิดขึ้นในปัจจุบัน
๖. เพื่อปิดกั้นอาสวะที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
๗. เพื่อยังผู้ที่ไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส
๘. เพื่อยังผู้ที่เลื่อมใสแล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้น
๙. เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม
๑๐. เพื่อเอื้อเฟื้อแก่พระวินัย
1.为了僧团的利益。
2.为了僧团的和平。
3.为了克制邪恶者。
4.为了使善于自制的比丘得安宁。
5.为了制伏今世诸漏。
6.为了防止来世诸漏。
7.为了令无信者生信。
8.为了令有信者增长信。
9.为了令正法久住。
10.为了戒律的利益。
ข้อ ๑, ๒ ทรงบัญญัติเพื่อประโยชน์แก่หมู่คณะ
ข้อ ๓, ๔ ทรงบัญญัติเพื่อประโยชน์แก่บุคคล
ข้อ ๕, ๖ ทรงบัญญัติเพื่อประโยชน์แก่ความบริสุทธิ์หรือแก่ชีวิต
ข้อ ๗, ๘ ทรงบัญญัติเพื่อประโยชน์แก่ประชาชน
ข้อ ๙, ๑๐ ทรงบัญญัติเพื่อประโยชน์แก่พระศาสนา
制定第一、二项是为了利益僧团;
制定第三、四项是为了利益个人;
制定第五、六项是为了利益生命;
制定第七、八项是为了利益世人;
制定第九、十项是为了利益佛教。
มังสะ (เนื้อ) ๑๐ อย่างที่ห้ามภิกษุฉัน
比丘禁食十种肉
เนื้อสัตว์ที่ทรงบัญญัติห้ามไม่ให้ภิกษุฉัน ๑๐ อย่าง ได้แก่
佛陀禁止比丘食用十种肉,分别是:
๑. เนื้อช้าง ๒. เนื้อม้า ๓. เนื้อสุนัข ๔. เนื้องู ๕. เนื้อราชสีห์ (สิงโต)๖. เนื้อหมี ๗. เนื้อเสือโคร่ง ๘. เนื้อเสือดาว ๙. เนื้อเสือเหลือง ๑๐. เนื้อมนุษย์
1.象肉 2.马肉 3.狗肉 4.蛇肉 5.狮子肉 6.熊肉 7.老虎肉 8.豹肉 9.土狼肉 10.人肉。
ภิกษุฉันเนื้อ ๙ อย่างแรกต้องอาบัติทุกกฏฉันเนื้อมนุษย์ต้องอาบัติถุลลัจจัย อนึ่ง เนื้อสัตว์ดิบและเนื้ออุททิสสมังสะ (เนื้อที่เขาฆา่ เจาะจงเพื่อถวายแกต่น) ภิกษุฉันต้องอาบัติทุกกฏ ถ้าไม่รู้ ไม่เห็น ไม่สงสัย ฉันไม่เป็นอาบัติ
若有比丘食前面的九种肉,犯恶作罪;若食人肉则犯偷兰遮罪。此外,若有比丘吃生肉,以及吃特定为自己宰杀的动物之肉,犯恶作罪;如果没有看到、听到或怀疑,则不犯。
วินัย ๒ ประเภท
戒律的两种类型
วินัยแบ่งเป็นประเภทตามผู้รักษามี ๒ ประเภท คือ
按照受持者的类型划分,戒律可分为两种:
๑. อาคาริยวินัย วินัยสำหรับผู้ครองเรือน ได้แก่ ศีล ๕ ศีล ๘
๒. อนาคาริยวินัย วินัยของนักบวช ได้แก่ ศีล ๑๐ ศีล ๒๒๗ และศีล ๓๑๑
1.在家戒律:指在家居士受持的戒律,例如:五戒、八戒。
2.非在家戒律:指出家人受持的戒律,例如:十戒、两百二十七戒、三百一十一戒。
กัณฑ์ที่ ๓ สิกขาบท
第三章:戒
พระบัญญัติ ได้แก่ มูลบัญญัติและอนุบัญญัติที่ทรงบัญญัติไว้แต่ละข้อ เรียกว่า สิกขาบท หมายถึง ข้อที่ต้องศึกษา บทแห่งการศึกษา หรือส่วนหนึ่งแห่งสิกขา มี ๒ อย่าง คือ
佛制定:指佛陀以根本制和随制的方式所作出的规定,称为戒。也就是必须修持的戒条;学习之章节;或修学的一部分。一共分为两种:
๑. อาทิพรหมจริยกาสิกขา ได้แก่ สิกขาบทที่ทรงบัญญัติเป็นพุทธอาณา สำหรับป้องกันความประพฤติเสียหาย หมายถึง ศีล ๒๒๗ ที่มาในพระปาติโมกข์ ทรงอนุญาตให้สวดในที่ประชุมสงฆ์ทุกกึ่งเดือน
1.初梵行学:佛陀制定之戒。主要防止过失行为,即波罗提木叉之两百二十七条戒,佛陀规定僧众每半月集会一次诵念戒。
๒. อภิสมาจาริกาสิกขา ได้แก่ สิกขาบทที่ทรงบัญญัติเป็นอภิสมาจาร เป็นหลักการศึกษาอบรมในฝ่ายขนบธรรมเนียมที่ชักนำความประพฤติความเป็นอยู่ของสงฆ์ได้ดีงามมีคุณค่ายิ่งขึ้น มีมานอกพระปาติโมกข์
2.增上行仪学:佛陀制定为等正行之戒。即为促进僧众和合安乐以及具足庄严威仪而修习的生活习俗,属于波罗提木叉以外的戒。
สิกขาบทที่มาในพระปาติโมกข์
波罗提木叉之戒
ท่านแสดงไว้ ๒ นัย คือ
佛陀曾开示两种论法:
๑. ตามบาลีพระสูตร ทุติยปัณณาสก์ ติกนิบาต อังคุตตรนิกาย มี ๑๕๐ สิกขาบท คือ ปาราชิก ๔ สังฆาทิเสส ๑๓ นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐ ปาจิตตีย์ ๙๒ ปาฏิเทสนียะ ๔ และอธิกรณ์สมถะ ๗
1.在巴利经典——《增支部》ทุติยปัณณาสก์ ติกนิบาต中,有一百五十条戒,即:四波罗夷(驱摈)、十三僧残、三十舍堕(尼萨耆波逸提)、九十二单堕(波逸提)、四悔过(波罗提提舍尼)和七灭诤。
๒. ในพระปาติโมกข์ที่สวดกันอยู่และในคัมภีร์วิภังค์แห่งสิกขาบทแสดงไว้ มี ๒๒๗ สิกขาบท โดยเพิ่มอนิยต ๒ และเสขิยวัตร ๗๕
2.在常诵的波罗提木叉,以及经典《分别论》中,有两百二十七条戒,增加了二不定和七十五众学(应当学)。
การปรับอาบัติ ๒ อย่าง
两种惩罚
๑. ปรับอาบัติโดยตรง ได้แก่ สิกขาบทที่มาในพระปาติโมกข์ ๔ อย่าง คือ ปาราชิก สังฆาทิเสส ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ
1.直接惩罚:源自波罗提木叉的四种戒,即波罗夷、僧残、单堕和悔过。
๒. ปรับอาบัติโดยอ้อม ได้แก่ สิกขาบทที่มานอกพระปาติโมกข์ ๓ อย่าง คือ ถุลลัจจัย ทุกกฏ ทุพภาสิต
2.间接惩罚:波罗提木叉以外的三种戒,即偷兰遮、恶作和恶说。
การปรับอาบัติโดยตรง จะปรับก็ต่อเมื่อภิกษุละเมิดจนถึงที่สุดแห่งสิกขาบท เช่น ภิกษุแกล้งฆ่ามนุษย์ให้ตาย ต้องปาราชิก การปรับโดยอ้อม จะปรับเมื่อภิกษุละเมิด แต่ยังไม่ถึงที่สุด เช่น แกล้งฆ่ามนุษย์ แต่ไม่ตายเพียงบาดเจ็บ จะปรับอาบัติปาราชิกไม่ได้ ต้องลดโทษลงมาเป็นถุลลัจจัย ทุกกฏ ตามสมควรแก่ความผิด ชื่อว่า ปรับโดยอ้อม
直接惩罚是对彻底违反戒律的比丘之惩处,譬如有比丘故意杀人致死,犯波罗夷。间接惩罚是对未彻底违犯戒律的比丘之惩处,譬如有比丘故意杀人,但对方只是受伤而没有死,则不构成犯波罗夷,视情况而犯较轻的偷兰遮和恶作。
อาบัติโดยอ้อมทั้ง ๓ นั้น เป็นอาบัติที่ลดโทษมาจากอาบัติที่ปรับโดยตรง คือ
比直接惩罚更轻的三种间接惩罚,分别是:
๑. ถุลลัจจัย ทุกกฏ ลดลงมาจากปาราชิกและสังฆาทิเสส
- 比波罗夷和僧残轻的是偷兰遮和恶作。
๒. ทุกกฏอย่างเดียว ลดลงมาจากปาจิตตีย์ (เว้นไว้โอมสวาทสิกขาบท) และปาฏิเทสนียะ
2.比单堕(除骂詈语戒以外)和悔过轻的只有恶作。
๓. ทุพภาสิต ลดลงมาจากปาจิตตีย์ เฉพาะโอมสวาทสิกขาบท ส่วนอนิยตสิกขาบท เป็นสิกขาบทที่แฝงอยู่เหมือนกาฝาก ไม่ได้ปรับอาบัติเหมือนสิกขาบทอื่น ๆ เสขิยวัตรแต่ละข้อ ถ้าไม่เอื้อเฟื้อประพฤติตาม ท่านปรับอาบัติทุกกฏ
3.比单堕轻的是恶说,特指骂詈语戒。至于不定戒,不像犯其他戒那样接受惩罚。对于每一条众学戒,若不如法修习,也视为犯恶作。
อุทเทส
总说
สิกขาบทที่มาในพระปาติโมกข์นั้น จัดเข้าเป็นหมวดหมู่ตามชนิดของอาบัติ เรียกว่าอุทเทส มี ๙ คือ
源自波罗提木叉之戒,若按罪的种类分组,称为总说。共有九种:
๑. นิทานุทเทส วิธีที่ภิกษุผู้ฟังปาติโมกข์ควรปฏิบัติก่อนสวดสิกขาบท
1.序总说:比丘在诵戒前,应该修习的方法。
๒. ปาราชิกุทเทส หัวข้อว่าด้วยปาราชิก ๔
2.波罗夷总说:有关四波罗夷的主题。
๓. สังฆาทิเสสุทเทส หัวข้อว่าด้วยสังฆาทิเสส ๑๓
3.僧残总说:有关十三僧残的主题。
๔. อนิยตุทเทส หัวข้อว่าด้วยอนิยต ๒
4.不定总说:有关二不定的主题。
๕. นิสสัคคิยุทเทส หัวข้อว่าด้วยนิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐
- 舍堕总说:有关三十舍堕的主题。
๖. ปาจิตติยุทเทส หัวข้อว่าด้วยสุทธิปาจิตตีย์ ๙๒
- 单堕总说:有关九十二单堕的主题。
๗. ปาฏิเทสนียุทเทส หัวข้อว่าด้วยปาฏิเทสนียะ ๔
- 悔过总说:有关四悔过的主题。
๘. เสขิยุทเทส หัวข้อว่าด้วยเสขิยวัตร ๗๕
8.众学总说:有关七十五众学的主题。
๙. อธิกรณสมถุทเทส หัวข้อว่าด้วยอธิกรณสมถะ ๗
9.七灭诤:有关七灭诤的主题。
อันตราย ๑๐
十种危险
อันตราย คือ เหตุขัดข้องที่ทรงอนุญาตให้สวดปาติโมกข์ย่อแทน มี ๑๐ อย่าง คือ
๑. พระราชาเสด็จมา ๒. โจรปล้น ๓. ไฟไหม้
๔. น้ำหลากมา ๕. คนมามาก ๖. ผีเข้าภิกษุ
๗. มีสัตว์ร้ายมา ๘. มีงูเลื้อยเข้ามา
๙. มีเรื่องเป็นเรื่องตายเกี่ยวกับภิกษุ
๑๐. มีอันตรายแก่พรหมจรรย์ เช่น มีคนมาจับภิกษุ
危险:指佛陀允许在遇到十种情况时,可酌情诵念精简版的波罗提木叉,分别是:
- 国王莅临。
- 强盗抢劫。
- 发生火灾。
- 爆发洪水。
- 人满为患。
- 鬼附身比丘。
- 猛兽来袭。
- 蟒蛇入侵。
- 比丘遭遇死亡危险。
10.梵行遇险,例如:有人来抓比丘。
กัณฑ์ที่ ๔ ปาราชิก ๔
第四章:四波罗夷
ความหมาย
定义
ปาราชิก แปลว่า ผู้พ่ายแพ้ หาสังวาสมิได้ คือ ไม่มีสิทธิของความเป็นภิกษุในการเข้าร่วมอุโบสถ ปาวารณา และทำสังฆกรรมเหมือนกับภิกษุอื่น จัดเป็น ครุกาบัติ มีโทษร้ายแรงที่สุด เทียบเท่ากับโทษประหารชีวิต ภิกษุล่วงละเมิดเข้าแล้วต้องขาดจากความเป็นภิกษุในทันที แม้เธอจะปกปิดอาบัติไว้ นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ก็ไม่ถือว่าเป็นภิกษุ และเมื่อสึกออกไปแล้วจะกลับมาบวชเป็นภิกษุอีกก็ไม่ได้ แม้ปกปิดแล้วมาบวชใหม่ก็ไม่เป็นภิกษุ
波罗夷:指失败者、不共住。即是失去作为比丘共同布萨和自恣的资格,同时也不能像其他比丘那样行僧羯磨。此罪乃重罪,将受到最重的惩罚,等同于世俗的死刑,违犯的比丘将立刻失去当比丘的资格。即便为了继续身着袈裟而故意覆藏,也不再是比丘,今生永远无法再当具戒比丘。就算故意覆藏而再次出家,也无法成为真正的比丘。
อาบัติปราราชิกนี้ ภิกษุพึงทำการศึกษาให้เข้าใจชัดเจนและพึงระมัดระวังสำรวมให้มากอย่าให้ล่วงละเมิด มีทั้งหมด ๔ สิกขาบท คือ
对于波罗夷罪,比丘应认真学习了解,同时注意防范不得违犯,共有四条戒,分别是:
๑. ภิกษุเสพเมถุน (ร่วมประเวณี มีเพศสัมพันธ์) ต้องปาราชิก
๒. ภิกษุถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขามิได้ให้ ราคาตั้งแต่ ๕ มาสกขึ้นไป ต้องปาราชิก
๓. ภิกษุแกล้งฆ่ามนุษย์ให้ตายต้องปาราชิก
๔. ภิกษุกล่าวอวดอุตตริมนุษสธรรมที่ไม่มีในตนต้องปาราชิก
1.不净行:若有比丘行不净行(发生性交),犯波罗夷。
2.偷盗:若有比丘取走主人未给之物,价值为五磨沙加以上(含五磨沙加),犯波罗夷。
3.杀人:若有比丘故意杀人致死,犯波罗夷。
- 大妄语:若有比丘妄说自得上人法,犯波罗夷。
คำอธิบาย
详解
๑. ภิกษุเสพเมถุน ต้องปาราชิก
1.比丘行不净行,犯波罗夷。
ภิกษุมีเพศสัมพันธ์กับมนุษย์ อมนุษย์ หรือกับสัตว์ดิรัจฉาน อย่างใดอย่างหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นเพศชาย เพศหญิง เป็นอุภโตพยัญชนก หรือเป็นบัณเฑาะก์ ก็ตาม โดยการสอดอวัยวะเพศของตนให้ล้ำเข้าไปในช่องอวัยวะเพศ ทวารหนัก หรือปาก ทางใดทางหนึ่ง เพียงชั่วเมล็ดงาหนึ่ง แม้จะมีอะไรสวมไว้ ไม่ว่าผู้นั้นจะมีชีวิตหรือตายแล้ว ต้องอาบัติปาราชิก
若有比丘与人﹑非人或畜生之任意一种发生不净行,无论对方性别是男性或女性,是两性人或太监,当自己的生殖器官置入对方的生殖器官、肛门或口时,即便只是如芝麻般大小的接触,或是带上避孕套,亦不管对方是生或死,皆犯波罗夷。
ภิกษุถูกลักหลับ รู้สึกตัวขึ้นยินดีในการสัมผัสหรือภิกษุถูกข่มขืน แต่ยินดีการสัมผัสในขณะใดขณะหนึ่ง ต้องปาราชิก ถ้าไม่ยินดีไม่เป็นอาบัติ
若有已眠的比丘被奸污,对接触生乐受;或者有比丘被强奸时,在任何一刹那生乐受,犯波罗夷;若未生乐受,则不犯。
ภิกษุอ้าปากอมอวัยวะเพศของชายอื่น แม้เป็นเด็กต้องปาราชิกภิกษุหลังอ่อนก้มลงอมอวัยวะเพศของตน หรือมีอวัยวะเพศยาวสอดเข้าไปในทวารหนักของตนได้ ต้องปาราชิก
若有比丘用口含其他男性生殖器官,就算对方是小孩,也犯波罗夷。若有比丘弯腰口含自己的生殖器官,或者将长长的生殖器官插入自己的肛门,也犯波罗夷。
อนึ่ง ภิกษุยินยอมให้บุรุษอื่นเสพเมถุนทางทวารหนักหรือช่องปากของตน หรือถูกบุรุษอื่นข่มขืน หรือลักหลับทางทวารหนัก หรือช่องปาก เกิดความยินดีในการสัมผัส ต้องปาราชิก
另外,若有比丘自愿让其他男子与自己的肛门、口发生性交,或被其他男子强奸,或已眠时被通过肛门或口奸污而生乐受,也犯波罗夷。
ภิกษุผู้เป็นอาทิกัมมิกะคือภิกษุผู้เป็นต้นบัญญัติในสิกขาบทนี้ คือ พระสุทิน
该戒的最初犯行者(第一个违犯该戒的比丘)是须提那比丘。
อาการที่ปรับอาบัติรองลงมา
较轻惩罚的形态
ภิกษุเสพเมถุนในทวารทั้ง ๓ ของมนุษย์ อมนุษย์ หรือของสัตว์ดิรัจฉานที่ตายแล้วแต่ทวารนั้นขาดวิ่นเว้าแหว่งไปหมดจนไม่เหลือรูปทรงปรากฏ หรือเสพในอวัยวะเพศของชาย ต้องถุลลัจจัย
若有比丘以三种器官同死人﹑非人或畜生发生不净行,但这三种器官原本已坏,或者与男性器官发生不净行,犯偷兰遮。
เสพในอวัยวะอื่นนอกจากทวารทั้ง ๓ นั้น เช่น สะดือ รักแร้ ซอกคอ เป็นต้น หรือกับสิ่งที่ไม่มีชีวิต เช่น ตุ๊กตา เป็นต้น ต้องทุกกฏ แต่ถ้าเป็นอวัยวะของมนุษย์ผู้หญิง ต้องสังฆาทิเสส เพราะจับต้องกายหญิง
除了同上述三种器官发生性交以外,若同肚脐和腋窝等,或者同无生命的东西,如洋娃娃等发生不净行,犯恶作。但若是人类女性的生殖器官,则犯僧残,因为触碰女性之身。
องค์แห่งการเสพเมถุน
构成不净行的条件
การเสพเมถุน จะถือว่าสำเร็จ คือต้องอาบัติ ประกอบด้วยองค์ ๒ อย่างคือ
构成犯不净行的两个条件,分别是:
๑. มีจิตคิดจะเสพ
๒. ยังมรรคให้ถึงมรรค
- 生起行不净行之欲心。
- 以道入于道。
ผู้ยกเว้นไม่ต้องอาบัติ
不犯的状态
อาบัติในสิกขาบทนี้ เป็นสจิตตกะ ไม่เป็นอาบัติแก่ผู้ไม่มีเจตนา คือ
有心违犯该戒的比丘犯,无心违犯的比丘则不犯,即:
๑. ภิกษุถูกลักหลับ ไม่รู้สึกตัว
๒. ภิกษุถูกข่มขืน แต่ไม่ยินดี
1.比丘在已眠无知觉时被奸污。
2.比丘在非情愿时被强奸。
และภิกษุอีก ๔ ประเภท ที่ไม่เป็นอาบัติ คือ
另外在四种情况下比丘也不犯,即:
๑. ภิกษุวิกลจริต เป็นบ้า
๒. ภิกษุเพ้อจนไม่มีสติ
๓. ภิกษุกระสับกระส่ายเพราะเวทนากล้า (ได้รับความทรมานอย่างแรงกล้า)
๔. ภิกษุผู้เป็นต้นบัญญัติ เรียกว่า อาทิกัมมิกะ
- 比丘精神失常﹑发疯。
- 比丘失正念。
- 受病痛所苦。
- 第一个犯戒的人,即最初犯行者。
ภิกษุ ๔ ประเภทหลังนี้ได้รับยกเว้นไม่ต้องอาบัติทุกสิกขาบท แต่ภิกษุที่เป็นอาทิกัมมิกะได้รับยกเว้นเฉพาะสิกขาบทที่ตนเป็นต้นเหตุเท่านั้น
这四种比丘皆不犯,对于最初犯行者,不犯只是因为他是第一个犯该戒的人。
๒. ภิกษุลักเอาทรัพย์ของผู้อื่น มีราคาตั้งแต่ ๕ มาสก (เท่ากับ ๑ บาท) ขึ้นไปต้องปาราชิก
- 比丘不与而取,价值为五磨沙加以上(含五磨沙加,约等于一泰币),犯波罗夷。
ทรัพย์ในที่นี้มี ๒ ประเภท คือ ทรัพย์ที่เคลื่อนที่ได้ เรียกว่า สังหาริมทรัพย์ และทรัพย์ที่เคลื่อนที่ไม่ได้ เรียกว่า อสังหาริมทรัพย์ โดยตรงหมายเอาที่ดินอย่างเดียว โดยอ้อมหมายเอาสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินด้วย
财产可分为两种,即可移之财产,称为动产。不可移之财产,称为不动产,直接指土地,间接指地面上的建筑物。
ภิกษุผู้เป็นอาทิกัมมิกะในสิกขาบท คือ พระธนิยะ
该戒的最初犯行者是檀尼迦比丘。
สังหาริมทรัพย์ เป็นอาบัติถึงที่สุดเมื่อเคลื่อนจากฐาน
动产:当取离原处时犯。
อสังหาริมทรัพย์ เป็นอาบัติถึงที่สุดเมื่อเจ้าของสละกรรมสิทธิ์
不动产:当转移所有权时犯。
อวหาร ๑๓
十三取
อวหาร ๑๓ คือ อาการที่จัดว่าเป็นการลักทรัพย์ ๑๓ อย่าง ซึ่งมีความหมายและเขตกำหนดใหต้องอาบัติถึงที่สุด ดังนี้
十三取:指十三种偷盗行为,其定义和构成违犯的条件是:
๑. ลัก ภิกษุมีจิตคิดจะลักขโมย ถือเอาทรัพย์นั้น ขณะที่ทำของให้พ้นจากที่ ต้องอาบัติปาราชิก
1.偷:若有比丘生起盗心,将钱财取离原处,犯波罗夷。
๒. ชิง
2.争夺
๓. ลักต้อน
3.围赶
๔. แย่ง
4.抢
๕. ลักสับ
5.盗
๖. ตู่
6.冒领
๗. ขู่ฉ้อ
7.诈取
๘. ยักยอก
8.贪污
๙. ตระบัด
- 侵吞钱财
๑๐. ปล้น
10.打劫
๑๑. หลอกลวง
11.诳骗
๑๒. กรรโชก
12.讹诈
๑๓. ลักซ่อน
13.窃藏
ต้องอาบัติเพราะสั่ง
因指使而犯
สิกขาบทนี้เป็น คือ สั่งให้ผู้อื่นทำก็เป็นอาบัติ ฉะนั้น ภิกษุลักเองก็ดี ใช้ให้ผู้อื่นลักก็ดี ด้วยอวหารอย่างใดอย่างหนึ่ง ตามกำหนดราคาทรัพย์ที่ทำให้ต้องอาบัติ ดังนี้
对于这条戒,若有比丘指使他人去偷取也同样犯。无论是自己或指使他人去偷取,符合限定价值的任何东西,皆视为犯,分别如下:
๑. ถ้าทรัพย์นั้นมีราคาตั้งแต่ ๕ มาสก (เท่ากับ ๑ บาท) ขึ้นไป เมื่อจับต้องเป็นทุกกฏทำให้ไหวต้องถุลลัจจัย ทำให้เคลื่อนที่ต้องปาราชิก
1.如果东西的价值为五磨沙加以上(含五磨沙加,约等于一泰币),会因抓而犯恶作;使之晃动犯偷兰遮;取离原处犯波罗夷。
๒. ถ้าทรัพย์นั้นมีราคาหย่อนกว่า ๕ มาสก แต่มากกว่า ๑ มาสก ภิกษุจับต้องก็ดีทำให้ไหวก็ดี ต้องทุกกฏ ทำให้เคลื่อนจากที่ ต้องถุลลัจจัย
2.如果东西的价值少于五磨沙加,但多于一磨沙加,无论比丘是触碰或使之晃动皆犯恶作,取离原处犯偷兰遮。
๓. ทรัพย์มีราคา ๑ มาสกลงมา จับต้องก็ดี ทำให้ไหวก็ดี ทำให้เคลื่อนจากที่ก็ดีต้องทุกกฏ
- 如果东西的价值少于一磨沙加,无论是抓、使之晃动或取离原处皆犯恶作。
องค์แห่งการลักทรัพย์
构成偷盗的条件
การลักทรัพย์ จะถือว่าผิด ต้องประกอบด้วยองค์ ๕ ประการ คือ
构成偷盗的五个条件,分别是:
๑. ทรัพย์นั้นมีเจ้าของหวงแหน (ปรปริคฺคหณํ)
๒. รู้อยู่ว่าทรัพย์นั้นมีเจ้าของหวงแหน (ปรปริคฺคหิตปญฺญิตา)
๓. ของนั้นมีราคาตามกำหนด (ครุปริกฺขาโร)
๔. ภิกษุมีจิตคิดจะลัก (เถยฺยจิตตํ)
๕. ได้มาด้วยอวหารอย่างใดอย่างหนึ่ง (อวหารณํ)
1.该物有主人。
2.知道该物有主人。
3.该物达到一定的价值。
4.生起盗心。
5.付诸行动。
การถือเอาทรัพย์ที่ไม่ต้องอาบัติ
不犯的状态
อาบัติในสิกขาบทนี้ เป็นสจิตตกะ ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุ ๖ จำพวก คือ
有心违犯该戒的比丘犯,以下六种比丘则不犯,即:
๑. ผู้ถือเอาด้วยสำคัญว่า เป็นของตน
๒. ผู้ถือเอาด้วยวิสาสะ
๓. ผู้ถือเอาด้วยเป็นของขอยืม
๔. ผู้ถือเอาทรัพย์ที่เปรตครอบครอง
๕. ผู้ถือเอาทรัพย์ที่สัตว์ดิรัจฉานครอบครอง
๖. ผู้ถือเอาด้วยเป็นของบังสุกุล
- 以为是自己的东西。
- 两者关系亲密无间。
- 暂时借用。
- 饿鬼持有的东西。
5.畜生持有的东西。
- 以为是别人不要的东西。
๓. ภิกษุแกล้งฆ่ามนุษย์ให้ตาย ต้องปาราชิก
3.比丘故意杀人致死,犯波罗夷。
คำว่า มนุษย์ ในสิกขาบทนี้ หมายเอาตั้งแต่จิตแรกเกิด (ปฏิสนธิจิต) คือ วิญญาณที่ปรากฏขึ้นในครรภ์มารดา จนถึงเวลาตาย ภิกษุมีเจตนาฆ่ามนุษย์เองก็ดี สั่งให้ผู้อื่นฆ่าก็ดี ด้วยการประหาร เช่น ฟัน แทง ก็ดี ด้วยการซัดประหาร เช่น พุ่งหลาว ยิง ก็ดี ด้วยการวาง เช่นวางกับดัก วางยาพิษ ก็ดี ด้วยวิชาอาคม หรือด้วยฤทธิ์ เช่น ปล่อยงูพิษร้ายให้กัดเป็นต้น ก็ดี โดยที่สุดแมก้ารชว่ยหาศัสตราหรือบอกวิธีฆา่ ตัวตาย ตอ้งปาราชิก ถ้าไม่ตายเป็นแต่เพียงบาดเจ็บสาหัส ต้องถุลลัจจัย ไม่ถึงกับบาดเจ็บสาหัส ต้องทุกกฏ ภิกษุมีเจตนาฆ่าอมนุษย์ตาย ต้องถุลลัจจัย ฆ่าสัตว์ดิรัจฉานตายเป็นปาจิตตีย์ ถ้าไม่ตายเพียงบาดเจ็บ และพยายามฆ่าตัวตาย ต้องทุกกฏ
这条戒的人类指从生命中第一个心(结生心),即母亲腹中的灵魂开始,直至死亡为止。若比丘有心亲手杀人;或指使别人杀人;以打、砍、刺的方式,以符咒或法术的方式,如放毒蛇咬等;就算给予对方武器或告知自杀的方法,最终致人死亡,皆犯波罗夷。如果未死而是受重伤,犯偷兰遮;如果没有受重伤,犯恶作。若比丘杀死非人犯偷兰遮;杀死畜生犯单堕;若畜生只是受伤,或者自己自杀未遂,犯恶作。
ภิกษุผู้เป็นอาทิกัมมิกะในสิกขาบทนี้ คือ พระฉัพพัคคีย์
该戒的最初犯行者是六群比丘。
องค์แห่งการฆ่า
构成杀人的条件
การฆ่าจะถือว่าถึงที่สุดนั้น ต้องประกอบด้วย องค์ ๕ ประการ คือ
构成杀人的五个条件,分别是:
๑. ผู้ถูกฆ่าเป็นมนุษย์มีชีวิต
๒. รู้ว่ามีชีวิต
๓. มีจิตคิดจะฆ่า
๔. พยายามฆ่าด้วยวิธีใดวิธีหนึ่ง
๕. มนุษย์นั้นตาย
1.被杀者是有生命的人类。
2.知道对方有生命。
- 生起杀心。
- 付诸行动。
5.对方死亡。
อาการที่ไม่ต้องอาบัติ
不犯的状态
สิกขาบทนี้เป็นสจิตตกะ ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้
有心违犯该戒的比丘犯,以下三种比丘则不犯,即:
๑. ไม่จงใจ คือ ไม่มีเจตนา
๒. ไม่รู้
๓. ไม่ประสงค์จะให้ตาย และภิกษุอีก ๔ ประเภทที่ได้รับการยกเว้นในทุกสิกขาบท
- 无意,即非存心。
- 不小心。
- 没有打算要杀死,以及有如上述四种情况的比丘不犯。
๔. ภิกษุพูดอวดอุตตริมนุสสธรรมที่ไม่มีในตน ต้องปาราชิก
4.比丘妄说自得上人法,犯波罗夷。
อุตตริมนุสสธรรม คือ ธรรมอันยอดยิ่งของมนุษย์ เรียกง่าย ๆ ว่า คุณวิเศษหรือธรรมวิเศษ ได้แก่ ฌาน วิโมกข์ สมาธิ สมาบัติ มรรคผล โดยย่อมี ๒ คือ ฌาน ๔ และโลกุตตรธรรม ๙
上人法:指人类卓越之法,简称殊胜德行或殊胜之法。例如:禅、解脱、三摩地、定力、道果。概括起来有两种,即四禅与九出世间法。
การอวดอุตตริมนุสสธรรม คือ การกล่าวอวดน้อมเข้ามาในตน อวดจัง ๆ ว่า ข้าพเจ้าได้ถึงธรรมอย่างนั้น อย่างนี้ มาแต่ครั้งนั้น ครั้งนี้
妄说自得上人法:指谎称自己具足胜人之法,即吹嘘自己从这时或那时证得这样或那样之法。
ภิกษุพูด โกหกว่า ข้าพเจ้าได้บรรลุธรรมอย่างนั้น อย่างนี้ เมื่อนั้น เมื่อนี้ ถ้าผู้ฟังเข้าใจ คำพูดนั้น แม้คนเดียวจะเชื่อหรือไม่เชื่อก็ตาม ภิกษุนั้นต้องปาราชิก ถ้าผู้ฟังไม่เข้าใจต้องถุลลัจจัย
若有比丘妄说自己从这时或那时证得这样或那样之法,如果闻者明白此言,就算有一人相信或无人相信,该比丘皆犯波罗夷,如果闻者不明白此言,该比丘犯偷兰遮。
ภิกษุพูดอวดโดยอ้อม โดยอ้างรูปพรรณสัณฐาน บริขารหรือสถานที่ เช่นว่า ภิกษุรูปร่าง เช่นนั้น ถือบาตรห่มจีวรเช่นนั้นอาศัยอยู่ในวัดนั้น ได้บรรลุธรรม โดยประสงค์ให้ผู้ฟังเข้าใจว่า คนที่พูดถึงนั้นคือตน ถ้าผู้ฟังเข้าใจ ต้องถุลลัจจัย ถ้าไม่เข้าใจต้องทุกกฏ
若有比丘间接妄说外表、资具或场所,例如:有比丘相貌如此,那样持钵、着袈裟,居住在那个寺院中,具足证法,希望以此言让闻者明白该比丘就是自己。若闻者明白,比丘犯偷兰遮,如果不明白,犯恶作。
ภิกษุอวดอุตตริมนุสสธรรมที่มีในตน อวดแก่ภิกษุไม่เป็นอาบัติ อวดแก่ผู้อื่นที่ไม่ใช่ภิกษุต้องปาจิตตีย์
若有比丘对比丘妄说自得上人法,不犯。但如果妄说的对象非比丘,犯单堕。
ภิกษุผู้เป็นอาทิกัมมิกะ ในสิกขาบทนี้ คือ เหล่าภิกษุอยู่จำพรรษาที่ใกล้ฝั่งแม่น้ำวัคคุมุทา
该戒的最初犯行者是在婆裘河畔结雨安居的诸比丘。
องค์แห่งการอวดอุตตริมนุสสธรรม
构成妄说自得上人法的条件
การอวดอุตตริมนุสสธรรม จะถือว่าเป็นอาบัตินั้น ต้องประกอบด้วยองค์ ๕ ประการ คือ
构成妄说自得上人法的五个条件,分别是:
๑. อวดอุตตริมนุสสธรรมที่ไม่มีในตน
๒. อวดเพื่อหวังลาภ หวังให้เขาสรรเสริญ
๓. พูดระบุถึงตัวเอง ไม่อ้างผู้อื่น
๔. ผู้ฟังเป็นมนุษย์
๕. ผู้ฟังเข้าใจคำพูดนั้น
1.妄说自己具足上人法。
2.妄说为了获利、受人赞叹。
3.指明是自己,不提及他人。
4.闻者是人类。
5.闻者明白此言。
สิกขาบทนี้ เป็นสจิตตกะ ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุ ๒ ประเภท คือ
有心违犯该戒的比丘犯,以下两种比丘则不犯,即:
๑. ผู้พูดด้วยสำคัญว่าได้บรรลุ
๒. ผู้ไม่มีประสงค์จะอวดอ้าง
1.以为自己已证得。
- 没有打算要吹嘘。
สรุปอาบัติปาราชิก
波罗夷罪之总结
๑. อาบัติปาราชิกทั้ง ๔ ช้อนั้น ภิกษุล่วงละเมิดข้อใดข้อหนึ่งแล้ว ย่อมขาดจากความเป็นภิกษุ หาสังวาสมิได้ คือ ไม่มีสิทธิ์เช่นกับภิกษุอื่น
- 这四条波罗夷罪,若比丘违犯其中任何一条,都将失去作为比丘的资格,不共住,即不再拥有如其他比丘相等的权利。
๒. แม้จะอุปสมบทอีก ก็ไม่เป็นภิกษุชอบด้วยพระวินัยตลอดชาติ แต่บรรพชาเป็นสามเณร หรือถือตนเป็นอุบาสกได้
2.若再次受戒出家,也不再是真正的比丘,但可以受戒成为沙弥或皈依成为优婆塞。
๓. อาบัติปาราชิกนี้ เป็นอเตกิจฉา แก้ไขไม่ได้ เป็นอนวเสสา ไม่มีส่วนเหลือ และเป็น มูลเฉท ตัดรากเหง้า ผู้ต้องเข้าแล้วย่อมเป็นดุจตาลยอดด้วน หรือดุจใบไม้เหลืองหลุดจากขั้ว
3.波罗夷罪是不可治,即不可化解之义;是无余,即无有剩余之义;是断根,即斩断根茎之义。违犯者犹如绝嗣者,或犹如离枝的枯叶。
๔. สิกขาบทที่ ๑ ที่ ๔ ทำเองจึงต้องอาบัติ สั่งผู้อื่นทำไม่เป็นอาบัติ สิกขาบทที่ ๒ ที่ ๓ ทำเองก็ต้องอาบัติ สั่งผู้อื่นทำก็ต้องอาบัติ สิกขาบทที่ ๒ ที่ ๓ ที่ ๔ ต้องเพราะพูดด้วย
4.对于第一条戒和第四条戒,如果自己做则犯,指使他人做则不犯。第二条戒和第三条戒,如果自己做则犯,指使他人做亦犯。第二、三、四条戒因说而犯。
๕. อาบัติปาราชิกทั้ง ๔ สิกขาบท เป็น สจิตตกะ ไม่เป็นอาบัติแก่ผู้ไม่มีเจตนา
- 有心违犯四波罗夷戒者犯,无意为之者不犯。
กัณฑ์ที่ ๕ สังฆาทิเสส ๑๓
第五章:十三僧残
ความหมาย
定义
อาบัติสังฆาทิเสสจัดเป็นครุกาบัติ มีโทษหนักรองจากปาราชิก เป็นสเตกิฉา คือ แก้ไขได้สังฆาทิเสส แปลว่า หมวดอาบัติที่ต้องอาศัยสงฆ์ในขั้นตอนการพ้นจากอาบัติ ทั้งในกรรมเบื้องต้นและกรรมเบื้องปลาย หมายความว่า ภิกษุเมื่อต้องอาบัตินี้แล้ว ประสงค์จะทำตนให้บริสุทธิ์ต้องดำเนินการตามขั้นตอนการออกจากอาบัติโดยอาศัยสงฆ์เท่านั้น คือ สงฆ์เป็นผู้ลงโทษให้อยู่กรรมและสงฆ์เองเป็นผู้ระงับอาบัติ มีทั้งหมด ๑๓ สิกขาบท ดังนี้
犯僧残属于重罪,将受仅次于波罗夷之惩罚,属于可治,即可以化解之罪。僧残需依靠僧众而出罪,也就是违犯这种罪的比丘,若想出罪得清净,必须遵循僧众出罪的次第程序。僧众将处罚其行别住,同时僧众也有终止惩罚的权利。共有十三僧残,分别如下:
๑. ภิกษุแกล้งทำให้น้ำอสุจิเคลื่อน ต้องสังฆาทิเสส เว้นไว้แต่ฝัน
1.若比丘故意出精,除了在梦中外,犯僧残。
ภิกษุมีความจงใจให้น้ำอสุจิเคลื่อน ด้วยความพยายามอย่างใดอย่างหนึ่ง น้ำอสุจิมีปริมาณเท่าแมลงตัวเดียวกินอิ่ม ต้องสังฆาทิเสส
若有比丘几经努力而故意出精,精液量等于一只吃饱的昆虫,犯僧残。
ถ้าพยายามแล้วแต่อสุจิไม่เคลื่อน ต้องถุลลัจจัยสิกขาบทนี้ เป็น อนาณัตติกะ ทำเองจึงเป็น สั่งให้ผู้อื่นทำไม่ได้ แต่ถ้าสั่งให้ผู้อื่นทำให้ ไม่พ้นอาบัติ และเป็นสจิตตกะคือไม่เป็นอาบัติแก่ผู้ไม่ตั้งใจทำ
若有比丘几经努力但不出精,犯偷兰遮。自己做则犯,告诉他人做者不犯,指使他人帮自己做则犯,有心为之者犯,无心为之者不犯。
ภิกษุผู้เป็นอาทิกัมมิกะในสิกขาบทนี้ คือ พระอุทายี
该戒的最初犯行者是优陀夷比丘。
๒. ภิกษุมีความกำหนัดอยู่ จับต้องกายหญิง ต้องสังฆาทิเสส
2.若比丘起欲念,与女人的身体相触,犯僧残。
ภิกษุจับต้องกายหญิง แม้เพียงปลายขน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
比丘故意与女人的身体相触,就算是汗毛相触,也犯僧残罪。
หญิง ในสิกขาบทนี้ หมายเอา หญิงมนุษย์โดยที่สุดแม้หญิงทารกที่เกิดในวันนั้น ภิกษุจับต้องกายหญิงโดยรู้อยู่ว่าเป็นหญิง หรือสงสัยว่าเป็นหญิงก็ตาม กายต่อกายสัมผัสกันไว้ เพียงปลายขน ต้องสังฆาทิเสส
该戒中的女人指人类女性,包括当天刚出生的女婴。若有比丘知道或怀疑对方是女人,还故意与其身体相触,就算只是汗毛相触,也视为犯僧残。
ภิกษุมีความกำหนัดจับต้องกายหญิง แต่เข้าใจว่าไม่ใช่ผู้หญิงก็ดี จับต้องด้วยข้างหนึ่งเป็นกาย ข้างหนึ่งเป็นของเนื่องกายก็ดี จับต้องกายบัณเฑาะก์ หญิงอมนุษย์ หรือศพของหญิงมนุษย์ก็ดี ต้องถุลลัจจัย
若有比丘起欲念而与女人的身体相触,但以为不是女人也好;与其身体或身体的穿戴物相触也好;或与太监、非人女性或女人的尸体相触也好,皆犯偷兰遮。
ภิกษุมีความกำหนัดจับต้องกายบัณเฑาะก์ แต่เข้าใจว่าไม่ใช่บัณเฑาะก์ก็ดี จับต้องกายหญิงด้วยของเนื่องกายทั้งสองทางก็ดี จับกายมนุษย์ผู้ชายก็ดี สัตว์ดิรัจฉานตัวผู้หรือตัวเมียก็ดี จะเข้าใจว่าเป็นอะไรก็ตาม ต้องทุกกฏ
若有比丘起欲念而与太监的身体相触,但以为不是太监也好;与女人身体的穿戴物相触也好;与男人也好;与雄性或雌性的畜生也好;误认为是什么都好,皆犯恶作。
ภิกษุจับกายมารดา หรือพี่ – น้องสาว ด้วยความรักต้องทุกกฏ เพราะหญิงเป็นวัตถุอนามาส คือ ผู้ที่ภิกษุไม่ควรจับต้อง
若有比丘出于爱而与母亲或姐妹的身体相触,犯恶作,因为女人属于不该触及之物,即是比丘不应触碰的人。
หญิงจับต้องก่อน แต่ภิกษุยินดีให้สัมผัส ต้องสังฆาทิเสส ถ้าไม่ยินดีไม่เป็นอาบัติ
若有女人先触碰比丘,且比丘生乐受,犯僧残;不生乐受则不犯。
ภิกษุจับผู้หญิงคนเดียว ครั้งเดียว ไม่ปล่อยตลอดเวลาตลอดคืนเป็นอาบัติตัวเดียวถ้าจับแล้วปล่อย เป็นอาบัติเท่าจำนวนครั้งที่จับ ภิกษุจับหญิงหลายคนในขณะเดียวกัน เป็นอาบัติเท่าจำนวนคน
比丘一次抓一个女人一直不放,则犯一个罪;抓了放则按抓的次数而犯;若比丘在同一个时间抓数个女人,则按照抓的人数而犯。
สิกขาบทนี้เป็นสจิตตกะ ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุไม่เจตนา ไม่รู้ และไม่มีความกำหนัด
有心为之者犯,无心、不知以及无欲为之者不犯。
ภิกษุผู้เป็นอาทิกัมมิกะในสิกขาบทนี้ คือ พระอุทายี
该戒的最初犯行者是优陀夷比丘。
๓. ภิกษุมีความกำหนัดอยู่ พูดเกี้ยวหญิง ต้องสังฆาทิเสส
- 若比丘起欲念,对女人说淫秽语,犯僧残。
หญิง ในสิกขาบทนี้ หมายเอา หญิงมนุษย์ผู้รู้เดียงสาพอจะเข้าใจถ้อยคำที่เกี้ยวนั้นได้ ภิกษุมีความใคร่ในกามพูดเกี้ยวหญิง ประเล้าประโลมในเชิงชู้สาว กล่าวคำลามก เกาะแกะถึงทวารหนัก ทวารเบา และกริยาแห่งการร่วมประเวณี (เมถุนธรรม) ต้องสังฆาทิเสส
该戒中的女人指有智之女子,能听明白对方说的淫秽语。若比丘起欲念,对女人说淫秽语;通过抚慰而调情女人;以淫秽语挑逗肛门、阴道,谈及不净行,皆犯僧残。
พูดเกาะแกะถึงอวัยวะตั้งแต่ไหปลาร้าลงมาถึงหัวเข่า ภายในสีข้างทั้งสองเข้าไป เป็นถุลลัจจัย
若有比丘用语言挑逗从锁骨至膝盖,以及臀部之间的器官,犯偷兰遮。
พูดเกาะแกะถึงอวัยวะเหนือไหปลาร้าขึ้นไป ใต้เข่าลงมา และนอกสีข้างทั้งสองออกไปเป็นทุกกฏ
若有比丘用淫秽语挑逗锁骨以上,膝盖以下的器官,犯恶作。
ภิกษุพูดเกี้ยวบัณเฑาะก์ ลวนลามถึงทวารหนัก และกริยาแห่งการร่วมประเวณี เป็นถุลลัจจัย
若有比丘对太监说淫秽语,以淫秽语挑逗肛门和不净行,犯偷兰遮。
เกาะแกะถึงอวัยวะนอกนี้ก็ดี พูดเกี้ยวบุรุษหรือสัตว์เดรัจฉาก็ดี เป็นทุกกฏ
若有比丘用淫秽语挑逗上述以外的器官;对男人或畜生说淫秽语,犯恶作。
พูดเกี้ยวหญิงอมนุษย์ ลวนลามถึงทวารหนักทวารเบา และกริยาแห่งเมถุนธรรม เป็นถุลลัจจัย อวัยวะนอกนั้นเป็นทุกกฏ
若有比丘对非人女性说淫秽语,以淫秽语挑逗肛门和阴道,谈及不净行,犯偷兰遮;以淫秽语挑逗除此以外的器官,犯恶作。
อนึ่ง ภิกษุพูดเกี้ยวหญิง แต่เข้าใจว่าไม่ใช่หญิง เป็นถุลลัจจัย
另外,比丘对女人说淫秽语,但以为不是女人,犯偷兰遮。
ภิกษุพูดเกี้ยวบัณเฑาะก์ แต่เข้าใจว่าไม่ใช่บัณเฑาะก์ เป็นทุกกฏ
比丘对太监说淫秽语,但以为不是太监,犯恶作。
สิกขาบทนี้ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้กล่าวเพื่อมุ่งประโยชน์มุ่งธรรมและมุ่งจะสั่งสอน
为利益佛教和教导他人而说之比丘,则不犯该戒。
๔. ภิกษุมีความกำหนัด พูดล่อให้หญิงบำเรอตนด้วยกาม ต้องสังฆาทิเสส
- 若比丘起欲念,引诱女人行不净行侍奉,犯僧残。
พูดล่อ หมายถึง พูดหว่านล้อมชักชวนหญิงให้ร่วมประเวณีกับตน ถ้าหญิงฟังรู้ความ ต้องสังฆาทิเสส ถ้าฟังไม่เข้าใจไม่ต้องอาบัติ
该戒中的引诱指劝诱邀请女人与自己发生不净行,如果女人听明白意思,犯僧残;如果听不明白意思,则不犯。
คำอธิบายในสิกขาบทนี้ มีนัยเหมือนกับสิกขาบทที่ ๓ ต่างแต่สิกขาบทที่ ๓ เป็นการพูดเกี้ยวพาราสี สิกขาบทนี้เป็นการชวนคล้อยตาม
该戒和上述第三条戒的含义相近,不同的是第三条戒为说淫秽语,该戒为邀请附和。
ภิกษุผู้เป็นอาทิกัมมิกะในสิกขาบทนี้ คือ พระอุทายี
该戒的最初犯行者是优陀夷比丘。
๕. ภิกษุชักสื่อให้ชายหญิงเป็นผัวเมียกัน ต้องสังฆาทิเสส
- 若比丘作媒为男女传达情意,犯僧残。
ภิกษุชักสื่อ คือ ทำตัวเป็นพ่อสื่อให้ชายหญิงเป็นสามี – ภรรยากัน หรือให้ได้เสียกัน ชั่วคราวก็ดี สามีภรรยาหย่าขาดกันแล้วภิกษุชักสื่อให้เขาคืนดีกันก็ดี ต้องสังฆาทิเสส
比丘作媒指比丘作为媒人,撮合男女成为夫妻,或者只是维持短暂的关系,又或者男女分手后,比丘作媒使其复合也好,皆犯僧残。
ภิกษุผู้เป็นอาทิกัมมิกะในสิกขาบทนี้ คือ พระอุทายี
该戒的最初犯行者是优陀夷比丘。
การชักสื่อมี ๓ ลักษณะ คือ
作媒的三种类型,分别是:
๑. ภิกษุรับคำของผูว้าน (ต้องทุกกฏ)
๒. นำความนั้นไปบอกแก่อีกฝ่ายหนึ่ง (เป็นถุลลัจจัย)
๓. กลับมาบอกแก่ผู้วาน (ต้องสังฆาทิเสส)
- 比丘听受委托人的话语。(犯恶作)
2.将委托人的话语传给另一方。(犯偷兰遮)
- 再另一方的回话带回给委托人。(犯僧残)
แต่มติของสมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ กำหนดไว้ ๒ อย่าง คือ
此外,古代先师有两项规定,即是:
๑. ภิกษุถูกเขาวานแล้วรับคำ (เป็นถุลลัจจัย)
๒. นำคำนั้นไปบอกแกอี่กฝ่ายหนึ่ง (เปน็ สังฆาทิเสส)
1.比丘受委托而听受话语。(犯偷兰遮)
- 将委托人的话语传给另一方。(犯僧残)
ภิกษุหลายรูปถูกวานแล้วรับคำ แม้ภิกษุรูปเดียวนำคำนั้นไปบอก ต้องอาบัติสังฆาทิเสสทั้งหมด
若有多位比丘听受委托人的话语,但只要有其中一位比丘将话语传给另一方,那么所有比丘皆犯僧残。
อาบัติในสิกขาบทนี้เป็นสาณัตติกะ สั่งให้ทำต้องอาบัติ เป็นอจิตตกะ แม้ไม่รู้ทำก็เป็นอาบัติ
对于这条戒,无论是指使或无心为之皆犯。
๖. ภิกษุสร้างกุฎีที่ต้องก่อและโบกด้วยปูนหรือดิน ซึ่งไม่มีใครเป็นเจ้าของ จำเพาะเป็นที่อยู่ของตน ต้องทำให้ได้ประมาณ โดยยาว ๑๒ คืบพระสุคต โดยกว้างประมาณ ๗ คืบ วัดในร่วมใน และต้องให้สงฆ์แสดงที่ให้ก่อน ถ้าไม่ให้สงฆ์แสดงที่ให้ก่อนก็ดี ทำให้เกินประมาณก็ดี ต้องสังฆาทิเสส
6.若比丘以石灰或泥土为自己涂抹与建造没有施主的僧舍,应按照如下尺寸而建:长度为十二指距,以佛指距为准,宽度约为七指距。同时,应告知僧众,并带领僧众去指示地点,如果不带领僧众去指示地点,或是超过规定尺寸,犯僧残。
ถ้าภิกษุต้องการจะสร้างกุฎีเป็นที่อยู่ของตน แต่ไม่มีเจ้าภาพสร้างถวาย จึงอยากจะสร้างเอง พึงให้แผ้วถางที่ใดที่หนึ่งที่ตนต้องการ เสร็จแล้วจึงเข้าไปหาสงฆ์ แจ้งความประสงค์ของตน ให้สงฆ์ทราบและขอให้สงฆ์ไปตรวจดูที่นั้น และสวดญัตติประกาศอนุมัติให้แก่ตนเรียกว่า ให้สงฆ์แสดงที่ให้สงฆ์ พึงแสดงหรืออนุมัติที่ที่ไม่มีเจ้าของจับจอง ไม่มีอันตรายเช่น ไม่เป็นที่อยู่ของสัตว์ร้ายเป็นต้น และเป็นที่มีบริเวณรอบ คือเมื่อสร้างกุฎีเสร็จแล้วต้องมีลานรอบกุฎีห่างจากฝาด้านนอกประมาณชั่ววัวเทียมเกวียนเดินวนรอบได้ และกุฎีต้องสร้างให้ได้ขนาดที่กำหนด คือ ด้านยาววัดได้ ๑๒ คืบพระสุคต โดยวัดจากฝาด้านนอก ด้านกว้างวัดได้ ๗ คืบพระสุคต โดยวัดจากฝาด้านใน จุดประสงค์ของการกำหนดประมาณเท่านี้ ก็เพื่อไม่ให้ภิกษุรบกวนชาวบ้านในการขอมากเกินไป และเพื่อให้เหมาะกับสมณะผู้สันโดษ
若有比丘需要为自己建造没有施主的僧舍,应先开辟一处地方,然后告知僧众,说明自己的想法,让僧众了解。同时,应带领僧众去开辟的地方检查,随后僧众诵表白文宣告批准,并且为该比丘指示一个地点,指示或选定的地点应没有主人;不会伤害生命,即不是猛兽的巢穴所在;是可以经行的地点,即僧舍竣工后,周围的宽度应可供牛车通过;僧舍的尺寸要符合规定,即从外部测量的长度为十二指距,以佛指距为准,从内部测量的宽度为七指距。作出如此详细严格的规定,是为了不让比丘对居士有过分的要求,同时符合知足的沙门居住。
สิกขาบทนี้ภิกษุต้องอาบัติสังฆาทิเสสใน ๒ กรณี คือ
对于这条戒,比丘会因两种情况而犯僧残,即是:
๑. ไม่ให้สงฆ์แสดงที่ให้ (ต้องเพราะไม่ทำ)
๒. ทำเกินประมาณ (ต้องเพราะทำ)
- 不带领僧众去指示地点(因不做而犯)。
2.超过规定的尺寸(因超过而犯)。
ภิกษุต้องทุกกฎใน ๒ กรณี คือ
比丘会因两种情况而犯恶作,即是:
๑. ทำในที่มีอันตรายหรือมีเจ้าของ
๒. ไม่มีบริเวณรอบนอก
1.将僧舍建在有危险或有主人的地方。
- 僧舍外围无法经行。
ภิกษุผู้เป็นอาทิกัมมิกะในสิกขาบทนี้ คือ ภิกษุทั้งหลายชาวเมืองอาฬาวี
该戒的最初犯行者是居住在阿罗毘城的众比丘。
๗. ถ้าที่อยู่ที่จะสร้างนั้น มีทายกเป็นเจ้าของ ทำให้เกินประมาณนี้ได้ แต่ต้องให้สงฆ์แสดงที่ให้ก่อน ถ้าไม่ให้สงฆ์แสดงที่ให้ก่อน ต้องสังฆาทิเสส
- 若比丘为自己建有施主的僧舍,超过上述规定的尺寸,但要先带领僧众去指示地点,如果没有先带领僧众去指示地点,犯僧残。
สิกขาบทนี้เหมือนกับสิกขาบทที่ ๖ ต่างกันแต่มีเจ้าภาพสร้างถวายสามารถสร้างเกินประมาณที่กำหนดได้ แต่ต้องให้สงฆ์ตรวจดูที่และสวดญัตติประกาศอนุมัติก่อนจึงสร้างได้
该戒同上述第六条戒相似,不同的是有施主布施的僧舍,可以超过规定尺寸,但要先让僧众去检查,诵表白文宣告批准后才可以建造。
ภิกษุผู้เป็นอาทิกัมมิกะในสิกขานี้คือ พระฉันนะ
该戒的最初犯行者是阐陀比丘。
๘. ภิกษุโกรธเคือง แกล้งโจทภิกษุอื่นด้วยอาบัติปาราชิกไม่มีมูล ต้องสังฆาทิเสส
8.若比丘心怀瞋恨,故意无凭无据地指控比丘犯波罗夷罪,犯僧残。
การโจท คือ การฟ้องกล่าวหากันด้วยเรื่องละเมิดสิกขาบทคืออาบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง จัดเป็นอนุวาทาธิกรณ์ ซึ่งพระพุทธองค์ทรงอนุญาตให้ภิกษุโจทภิกษุได้ในการณ์ที่มีภิกษุดื้อด้าน ต้องอาบัติแล้วไม่ทำคืน (ไม่ยอมปลงอาบัติ ไม่แสดงอาบัติ) แม้ผู้อื่นตักเตือนก็ไม่ฟัง จึงให้โจทฟ้องเธอในท่ามกลางสงฆ์ เพื่อเห็นแก่พระศาสนา เป็นที่มาของการบัญญัติสิกขาบทนี้
指控意思是控告比丘违犯某一条罪,归为非难诤事。佛陀允许比丘告状执迷不悟的比丘,即犯后不知悔改(不愿忏悔,不指示罪),就算别人提醒也不听,便可在僧众中对其进行指控。制定该戒的缘由是为了延长佛教住世的时间。
ภิกษุแกล้งโจท คือ กล่าวใส่ความภิกษุที่ตนเกลียดชังว่าต้องอาบัติปาราชิก โดยไม่มีมูล คือไม่ได้เห็นเอง ไม่มีคนบอก ไม่ได้นึกสงสัยรังเกียจ โจทเองก็ดี สั่งให้ผู้อื่นโจทก็ดี โจทตามคำสั่งของผู้อื่นก็ดี ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทั้งผู้สั่งและผู้โจทก์
比丘故意指控,意思是有比丘因嗔恨而无凭无据地指控某比丘犯波罗夷罪,即自己看见﹑听见﹑怀疑而自己做出指控;指使他人做出指控;受他人命令做出指控;指使者和指控者皆犯僧残。
เรื่องมีมูลหลักฐานย่อหย่อน แต่ภิกษุโจททำให้รัดกุมน่าเชื่อถือขึ้น เช่น ได้ยินเขาพูดมาแต่โจทว่าได้เห็นเอง เช่นนี้ต้องสังฆาทิเสส
证据不足,却有比丘添油加醋增加可信度,例如:听见却故意说是看见而做出指控,如此也犯僧残。
อนึ่ง แม้ภิกษุผู้เป็นจำเลยต้องอาบัติปาราชิกแล้ว แต่ภิกษุไม่รู้ แกล้งโจทเธอด้วยอาบัติปาราชิกไม่มีมูล ต้องสังฆาทิเสสเช่นกัน
另外,有比丘违犯波罗夷罪,但其他比丘不知,却无凭无据的故意指控该比丘犯波罗夷罪,也犯僧残。
ถ้าโจทตามอาการที่ได้เห็นได้ยินหรือนึกสงสัยรังเกียจ ไม่ว่าเรื่องนั้นจะจริงหรือไม่จริงก็ตาม ไม่เป็นอาบัติ
若依照自己看见﹑听见﹑怀疑而做出指控,无论该事是否真实,都不犯。
ภิกษุผู้เป็นอาทิกัมมิกะในสิกขานี้คือ พระเมตติยะ และพระภุมมชกะ
该戒的最初犯行者是慈比丘和地比丘。
๙. ภิกษุโกรธเคือง แกล้งหาเลศโจทภิกษุอื่นด้วยอาบัติปาราชิก ต้องสังฆาทิเสส
- 若比丘心怀瞋恨,故意设计指控比丘犯波罗夷罪,犯僧残。
คำว่า แกล้งหาเลศ หมายถึง เรื่องที่ยกขึ้นอ้างเพื่อกล่าวหาหรือฟ้องภิกษุอื่น แบ่งเป็น ๒ ลักษณะ คือ
设计指控意思是穿凿附会地指控或告状某比丘,分为两种形式,即是:
๑. ยกเอาความผิดของผู้อื่นมาเป็นเลศโจท กล่าวคือ อ้างเอาชาติกำเนิด ชื่อ ตระกูล รูปลักษณ์ อาบัติ บาตร จีวร พระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์ และเสนาสนะ ๑๐ อย่างนี้ อย่างใดอย่างหนึ่ง ของภิกษุอื่นขึ้นมาโจท เช่น ภิกษุผู้โจทก์เห็นภิกษุรูปอื่นต้องอาบัติปาราชิก ครั้นไปพบภิกษุผู้มีชื่อเหมือนกัน มาจากตระกูลเดียวกัน หรือมีรูปร่างเหมือนกัน ก็ยกเอาเรื่องนั้นขึ้นโจทว่า “ข้าพเจ้าได้เห็นภิกษุชื่อนี้ มาจากตระกูลนี้ หรือมีรูปร่างเช่นนี้ ต้องอาบัติปาราชิก” เพื่อทำให้ภิกษุทั้งหลายเข้าใจว่าเป็นเธอเช่นนี้ ต้องสังฆาทิเสส
1.以类似某比丘的过失进行指控,即借以某比丘的出生、名字、姓氏、相貌、罪、钵、袈裟、授戒师、指导法师和住所等十样之一进行指控。例如:指控者看见某比丘犯波罗夷,后来当他看见相同姓名或相貌相似的比丘时,就指控该比丘说:“我看见有这样的姓名或那样的相貌的比丘,犯波罗夷”。让僧众也以为该比丘犯了波罗夷。
๒. ยกเอาความผิดเล็กน้อยที่เธอทำ มาเป็นเลศโจทให้ร้ายแรงถึงปาราชิก เช่น ภิกษุผู้โจทก์เห็นเขาอาบัติปาจิตตีย์ แต่โจทว่าเขาต้องปาราชิกเช่นนี้ ต้องสังฆาทิเสส
2.将某比丘的小过失过分夸大,指控其犯波罗夷。例如:指控的比丘见有比丘犯单堕,却指控他犯波罗夷。
สิกขาบทนี้เป็นสาณัตติกะ สั่งให้ผู้อื่นโจทก็เป็นอาบัติเหมือนกับสิกขาบทที่ ๘
对于这条戒,就算是指使他人去指控,如同上述第八条戒,也同样犯。
ภิกษุผู้เป็นอาทิกัมมิกะในสิกขาบทนี้ คือ พระเมตติยะและพระภุมมชกะ
该戒的最初犯行者是慈比丘和地比丘。
๑๐. ภิกษุพากเพียร เพื่อจะทำลายสงฆ์ให้แตกกัน ภิกษุอื่นห้ามไม่ฟัง สงฆ์สวดกรรมเพื่อให้ละข้อที่ประพฤตินั้น ถ้าไม่ละต้องสังฆาทิเสส
- 若比丘致力于破坏僧团,其他比丘阻止而不听,为了使其放弃该行为,僧团诵羯磨,若还不放弃,犯僧残。
คำว่า สงฆ์ หมายถึง ภิกษุทั้งหมู่ที่อยู่โดยพร้อมเพรียงกันคือ มีสังวาสเสมอกันอยู่ในสีมาเดียวกัน
僧团指由出家僧侣所组成的团体,他们和合共处于一个区域。
ภิกษุใดพยายามก่อเรื่องเพื่อทำให้สงฆ์ตั้งแต่ ๔ รูปขึ้นไป ที่อยู่ในสีมาเดียวกัน แตกแยกกันเป็นฝักฝ่าย ไม่ทำอุโบสถร่วมกันด้วยวิธีการอย่างใดอย่างหนึ่ง ภิกษุอื่นรู้เข้าพึงกล่าวห้ามเสีย(ถ้าไม่ห้ามต้องทุกกฏ) ภิกษุนั้นแม้ถูกภิกษุอื่นห้ามแล้ว ครั้งที่ ๑ ครั้งที่ ๒ ครั้งที่ ๓ เลิกล้มความพยายามเสีย ไม่เป็นอาบัติ ถ้าไม่เลิกต้องอาบัติทุกกฎ
若有比丘致力于破坏和合共处的僧团(四个以上的比丘),以各种形式不共同布萨,众比丘知道后应阻止(若不阻止犯恶作)。若该比丘受众比丘阻止三次后,放弃该行为,则不犯;若不放弃,犯恶作。
จากนั้น ภิกษุทั้งหลายพึงนำตัวเธอเข้าสู่ท่ามกลางสงฆ์ สงฆ์ว่ากล่าวตักเตือนเธอ ๓ ครั้ง ถ้าเธอเลิกเสียไม่เป็นอาบัติ ถ้าไม่เลิกต้องทุกกฏ ต่อจากนั้น สงฆ์พึงสวดสมนุภาสน์แก่เธอ คือ สวดคำประกาศห้ามไม่ให้ดื้อรั้น โดยสวดญัตติ ๑ ครั้ง สวดกรรมวาจา ๓ ครั้ง เมื่อสงฆ์สวดจบญัตติ ยังไม่ละต้องทุกกฏ จบกรรมวาจา ๒ ครั้ง ยังไม่ละต้องถุลลัจจัย จบกรรมวาจา ครั้งที่ ๓ เป็นสังฆาทิเสส
之后,众比丘带领该比丘进入僧团中间,僧团应向该比丘进行三次劝告,若其放弃该行为,则不犯;若不放弃,犯恶作。此后,僧团应向该比丘诵谏告,即宣说禁止其顽固不化之言语,也就是诵一次表白和三次羯磨。当僧团诵完一次表白,该比丘仍未放弃,犯恶作;诵完第两次羯磨,该比丘仍未放弃,犯偷兰遮;诵完第三次羯磨,该比丘仍未放弃,犯僧残。
๑๑. ภิกษุประพฤติตามภิกษุผู้ทำลายสงฆ์นั้น ภิกษุอื่นห้ามไม่ฟัง สงฆ์สวดกรรมเพื่อจะให้ละข้อที่ประพฤตินั้น ถ้าไม่ละ ต้องสังฆาทิเสส
11.若比丘追随破坏僧团的比丘,其他比丘阻止而不听,为了使其放弃该行为,僧团诵羯磨,若还不放弃,犯僧残。
ภิกษุใดเข้าข้าง สนับสนุน สมรู้ร่วมคิด หรือพูดปกป้องภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ ภิกษุนั้นชื่อว่า ประพฤติตามภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ การปรับอาบัติและการสวดสมนุภาสน์ มีอธิบายเหมือนสิกขาบทที่ ๑๐ ต่างแต่ว่า ถ้าภิกษุผู้ประพฤติตามมีหลายรูป คือ ตั้งแต่ ๔ รูป ขึ้นไป สงฆ์ต้องแยกสวดสมนุภาสน์ แก่พวกเธอคราวละไม่เกิน ๓ รูป เพราะสงฆ์ไม่สามารถทำกรรมแก่สงฆ์ได้ ผิดระเบียบพระวินัย
若有比丘偏袒、拥护、合谋或声援维护破坏僧团的比丘,那么该比丘实为追随破坏僧团之比丘。对该比丘的惩罚和诵谏告如同该组的第十条戒,不同的是若有此行为的比丘有四位以上,僧团应将其分组诵谏告,每组的比丘人数不应超过三位,因为僧团不能为违反戒律的僧团。
ภิกษุผู้เป็นอาทิกัมมิกะในสิกขาบทนี้ คือ พระโกกาลิกะ พระกฎโมรกติสสกะ พระขันฑเทวบุตร และพระสมุททัต
该戒的最初犯行者是俱迦梨比丘、迦留罗提舍比丘、赛陀毘耶子比丘和娑勿陀达比丘。
๑๒. ภิกษุว่ายากสอนยาก ภิกษุอื่นห้ามไม่ฟัง สงฆ์สวดกรรมเพื่อที่จะให้ละข้อที่ประพฤตินั้น ถ้าไม่ละ ต้องสังฆาทิเสส
12.若比丘难于教导,其他比丘阻止而不听,为了使其放弃该行为,僧团诵羯磨,若还不放弃,犯僧残。
ภิกษุทำตัวเป็นคนหัวดื้อ ไม่เชื่อฟังคำกล่าวตักเตือนอันชอบด้วยธรรมวินัยของภิกษุอื่นกลับกล่าวยอกย้อนภิกษุทั้งหลายไม่ให้กล่าวสอนตนด้วยประการต่าง ๆ ภิกษุอื่นรู้เข้าพึงห้ามเธอเสีย ถ้าไม่ฟังทรงอนุญาตให้สงฆ์สวดสมนุภาสน์แก่เธอ การปรับอาบัติ และขั้นตอนการสวดสมนุภาสน์เหมือนกับสิกขาบาทที่ ๑๐
若有比丘执迷不悟,不愿听从持戒清净之其他比丘的劝诫,反而告知其他比丘不要给其种种劝诫。但其他比丘如实给该比丘劝诫后不听,佛陀允许僧团为其诵谏告,给予其惩罚,诵谏告的次第和该组第四条戒相同。
ภิกษุผู้เป็นอาทิกัมมิกะในสิกขาบทนี้ คือ พระฉันนะ
该戒的最初犯行者是阐陀比丘。
๑๓. ภิกษุประทุษร้ายตระกูล คือ ประจบคฤหัสถ์ สงฆ์ขับไล่เสียจากวัด กลับว่ากล่าวติเตียนสงฆ์ ภิกษุอื่นห้ามไม่ฟัง สงฆ์สวดกรรมเพื่อจะให้ละข้อประพฤตินั้นเสีย ถ้าไม่ละต้องสังฆาทิเสส
13.若比丘败坏家庭,即奉承在家者;僧团驱逐出寺,反而毁谤僧团;其他比丘阻止而不听,为了使其放弃该行为,僧团诵羯磨,若还不放弃,犯僧残。
คำว่า ประทุษร้ายตระกูล คือ เข้าไปประจบเขาด้วยกิริยาทำตนอย่างคฤหัสถ์ เอาใจเขาต่าง ๆ นานา เช่น ให้ของกำนัลเล็ก ๆ น้อย ๆ หรือยอมให้เขาใช้สอย เพื่อมุ่งให้เขาชอบตนเป็นส่วนตัว เป็นเหตุให้เขาคลายศรัทธาในพระพุทธศาสนา ละเลิกการทำบุญ ภิกษุประพฤติ เช่นนี้ ชื่อว่า ประทุษร้ายตระกูล
败坏家庭指有比丘以种种行为去奉承在家者。例如:为了让对方喜欢自己,赠送小礼物或让其随意花销,这样将会让他们对佛教失去信仰,不再行布施。若比丘有该行为,称之为败坏家庭。
อนึ่ง ภิกษุประพฤติเลวทรามทำตัวไม่ควรแก่สมณเพศ เช่น ทำตัวสุงสิงกับหญิงสาวในตระกูล เล่นพนัน เล่นซุกซน เล่นตลกคะนอง ร้องรำทำเพลงต่าง ๆ ภิกษุประทุษร้ายตระกูลก็ดี ประพฤติเลวทรามเช่นนี้ก็ดี ทรงอนุญาตให้สงฆ์ลงโทษด้วย ปัพพาชนียกรรม คือ ขับไล่ออกจากอาวาส ภิกษุนั้นกลับว่ากล่าวติเตียนสงฆ์ว่า มีอคติ ตัดสินไม่ยุติธรรม ภิกษุอื่นห้ามไม่ฟัง สงฆ์พึงสวดสมนุภาสน์ประกาศห้าม ขั้นตอนการสวดและการปรับอาบัติ เช่นเดียวกับสิกขาบทที่ ๑๐
另外,比丘行为不检,不符合身份。例如:有比丘与女人交往、赌博、玩乐、逗笑、跳舞、唱歌等等,无论该比丘是败坏家庭,还是行此卑劣的行为,佛陀允许僧团将其驱出羯磨,即逐出寺院。可是该比丘却反过来毁谤僧团心存偏袒、裁决不公,其他比丘阻止而不听,僧团将诵谏告阻止其行为,诵念的次第以及惩罚的程度,和该组第十条戒相同。
ภิกษุผู้เป็นอาทิกัมมิกะในสิกขาบทนี้ คือ พวกพระธัสสชิและพระปุนีมสุกะ
该戒的最初犯行者是阿湿婆比丘和富那婆娑比丘。
สรุปอาบัติสังฆาทิเสส
僧残罪之总结
อาบัติสังฆาทิเสสทั้ง ๑๓ ข้อนี้ แบ่งเป็น ๒ ส่วน ดังนี้
十三条僧残罪可分成两组,分别是:
๑. สิกขาบทที่ ๑ – ๙ เรียกว่า ปฐมาปัตติกะ คือ ต้องอาบัติสังฆาทิเสสทันทีในขณะที่ทำเสร็จ
1.第一条戒至第九条戒,即做完的当下犯僧残罪。
๒. สิกขาบทที่ ๑๐-๑๓ เรียกว่า ยาวตติยกา คือ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ต่อเมื่อสงฆ์สวดกรรมวาจาครบ ๓ ครั้ง
2.第十条戒至第十三条戒,即僧团诵三次羯磨完后犯僧残罪。
วุฏฐานวิธี
出罪(复归)的方法
คือ วิธีออกจาอาบัติสังฆาทิเสส มีขั้นตอนดังนี้
出僧残罪的方法,次第如下:
๑. เมื่อภิกษุต้องอาบัติสังฆาทิเสสแล้ว จะต้องแจ้งความนั้นแก่สงฆ์ ๔ รูปขึ้นไป แล้วขอประพฤติวัตร ชื่อ มานัต
1.当比丘犯僧残罪后,须在四位以上比丘僧团(含四位)前请求行摩那埵。
๒. เมื่อสงฆ์อนุญาตแล้ว พึงประพฤติมานัตนั้นให้ถูกต้อง ๖ ราตรี เสร็จแล้วจึงขออัพภานต่อสงฆ์วีสติวรรค (๒๐ รูป) เมื่อสงฆ์สวดอัพภานระงับอาบัติแล้ว ถือเป็นผู้บริสุทธิ์
2.当僧团允许后,应如法行六夜摩那埵,此行完毕,在二十比丘前请求出罪,当僧团做出罪羯磨完毕,该比丘便是清净者。
๓. แต่ถ้าภิกษุต้องอาบัติแล้ว ปกปิดไว้ไม่บอกแก่ภิกษุด้วยกัน ปล่อยให้วันเวลาล่วงไปเท่าใดต้องอยู่ปริวาสประพฤติวัตรต่าง ๆ เท่ากับวันเวลาที่ตนปกปิดอาบัติไว้ (ปริวาส แปลว่าการอยู่ชดใช้ นิยมเรียกว่า การอยู่กรรม) เสร็จแล้วจึงประพฤติวัตรชื่อว่ามานัตนั้นต่อไป ตามที่พระวินัยกำหนด
3.但是若比丘犯后,故意覆藏而不告知其他比丘,那么行别住的期限应等同其覆藏的时间。当别住的期限满后,应继续按照戒律规定行摩那埵。
อาบัติสังฆาทิเสส จัดเป็นครุกาบัติ เพราะเป็นอาบัติหนักแต่สามารถแก้ไขได้ จัดเป็นทุฏฐุลลาบัติ เพราะมีเรื่องหยาบคายอยู่มาก
僧残罪属于重罪,可是虽为重罪,也还是可以化解。亦属于麤罪,因为当中蕴含许多粗鲁之事。
อนิยต ๒
二不定
ความหมาย
定义
อนิยต แปลว่า ไม่แน่นอน กล่าวคือ ไม่แน่ว่าจะปรับอาบัติแก่ภิกษุผู้ล่วงละเมิดด้วย อาบัติปาราชิก สังฆาทิเสส หรือปาจิตตีย์ กันแน่ ทรงบัญญัติไว้เพื่อเป็นหลักวินิจฉัยตัดสินอนุวาทาธิกรณ์ (เรื่องที่โจทกันด้วยอาบัติ) อันไม่แน่นอนเกี่ยวกับผู้ซึ่งเป็นต้นเรื่องที่ต้องให้พระวินัยธรพิจารณาพยาน
不定指不确定,即不确定对犯戒的比丘之惩罚是波罗夷、僧残或单堕。佛陀制定出来是为了应对最初犯行者的不确定性,应交由持律比丘做出判定,也就是决断非难诤事。
เกณฑ์การปรับอาบัติมี ๒ ข้อ คือ
惩罚的标准有两种,分别是:
๑. ภิกษุนั่งในที่ลับตากับหญิงสองต่อสอง ถ้ามีคนที่ควรเชื่อได้มาพูดด้วยธรรม(อาบัติ) ๓ อย่าง คือ ปาราชิก หรือสังฆาทิเสส หรือปาจิตตีย์อย่างใดอย่างหนึ่ง ภิกษุรับอย่างใด ให้ปรับอย่างนั้น หรือเขาว่าจำเพาะธรรม (อาบัติ) อย่างใดให้ปรับอย่างนั้น
- 若比丘单独和女人坐在看不见的地方,被可靠的人告发该比丘犯了有关波罗夷、僧残或单堕三类罪的其中之一。当比丘承认事实后,应该依据事实进行惩罚,或是根据那位可靠的人所说的来惩罚该比丘。
ภิกษุนั่งหรือนอนในที่ลับตากับหญิงตามลำพังสองต่อสอง ถ้ามีคนที่ควรเชื่อได้มากล่าวโทษเธอด้วยอาบัติ ๓ อย่างว่า เธอต้องอาบัติปาราชิก สังฆาทิเสส หรือปาจิตตีย์ อย่างใดอย่างหนึ่งหรือสองอย่าง หรือสามอย่าง ถ้าไม่มีพยานหรือผู้โจทก์มิได้ระบุชัดว่าทำอะไรกันบ้าง พระวินัยธร(ภิกษุผู้ตัดสินทางวินัยสงฆ์ว่าผิดผรือถูก คล้ายกับผู้พิพากษา) ควรปรับอาบัติตามคำยอมรับของภิกษุ ถ้าผู้โจทก์มีพยานหลักฐานและระบุชัดเจนว่า ภิกษุทำอย่างนั้นต้องอาบัตินั้น แม้ภิกษุไม่รับพระวินัยธรก็ควรพิจารณาตามรูปความและฟังคำของพยานแล้วปรับอาบัติตามสมควร
若有比丘单独和女人坐或睡在看不见的地方,被可靠的人发告该比丘犯了有关波罗夷、僧残或单堕三类罪的其中之一、之二或全部。如果没有证人或原告无法阐明事情的经过,持律比丘(依戒律作出判决的比丘,如世俗中的审判长)应依照该比丘承认的事实进行惩罚。如果原告有证人,能够阐明比丘所犯的事实,就算该比丘不接受持律比丘的惩罚,也应该依照案情和证人的证词进行省思,接受相应的惩处。
(การอยู่ในที่ลับตา ภิกษุมีโอกาสที่จะทำได้ ๓ อย่าง เสพเมถุนหรือฆ่า (ปาราชิก) จับต้องกาย พูดเกี้ยว เป็นต้น (สังฆาทิเสส) หรือ ด่า เป็นต้น (ปาจิตตตีย์) ผู้ตัดสินจึงต้องใช้วิจารณญาณในการตัดสินว่าภิกษุนั้นต้องเป็นอาบัติอะไร)
(处于看不见的地方,比丘将有可能做三种事情:不净行或杀人(犯波罗夷);身体相触、说淫秽语等(犯僧残);责骂等(犯波罗夷);判决者应该根据自己的辨别力,对犯戒的比丘做出明确的判罚。)
๒. ภิกษุนั่งในที่ลับหูกับหญิงสองต่อสอง ถ้ามีคนที่ควรเชื่อได้มากล่าวขึ้นด้วยธรรม ๒ อย่าง คือ สังฆาทิเสส หรือปาจิตตีย์ อย่างใดอย่างหนึ่ง ภิกษุยอมรับอย่างใด ให้ปรับอย่างนั้น หรือเขาว่าจำเพาะธรรมอย่างใดให้ปรับอย่างนั้น
2.若比丘单独和女人坐在听不见的地方,被可靠的人告发该比丘犯了有关僧残或单堕二类罪的其中之一。当比丘承认事实后,应该依据事实进行惩罚,或是根据那位可靠的人所说的来惩罚该比丘。
สิกขาบทนี้มีอธิบายเหมือนสิกขาบทแรก ต่างกันแต่นั่งในที่ลับหู และกล่าวโทษเพียงสังฆาทิเสส หรือปาจิตตีย์ เท่านั้น (โอกาสที่จะเสพเมถุนหรือฆ่ามีน้อย จึงไม่มีการกล่าวอ้างว่าเป็นอาบัติปาราชิก)
该戒和同组的第一条戒相似,不同的只是处在听不见的地方,并且只有僧残或单堕两类罪(犯不净行或杀人的几率很小,因此波罗夷罪没有包含在内)。
ภิกษุผู้เป็นอาทิกัมมิกะใน ๒ สิกขาบทนี้ คือ พระอุทายี
这两条戒的最初犯行者都是优陀夷比丘。
สรุปอนิยต
不定罪之总结
ที่ลับ ๒ อย่าง
两个隐秘处
๑. ที่มีวัตถุกำบัง มองไม่เห็น พอจะเสพเมถุนได้ เรียกว่า ที่ลับตา
1.处在有障碍物遮蔽而看不见,可发生不净行的地方。
๒. ที่แจ้ง แต่ห่างกันจนไม่สามารถได้ยินคำที่พูดได้ เรียกว่า ที่ลับหู
2.处在露天,但远至无法听见声音的地方。
วิธีปรับอาบัติ
惩罚的方法
สิกขาบททั้ง ๒ นี้ ไม่ใช่อาบัติแผนกหนึ่ง แต่เป็นแบบสำหรับพิจารณาอธิกรณ์เกี่ยวกับผู้หญิง
这两条戒并非独立成为一组戒,而是针对于女人所产生的诤事之省思。
๑. ถ้าไม่มีผู้อื่นเป็นพยาน ควรปรับอาบัติตามคำให้การของภิกษุ
1.如果没有其他证人,应根据比丘承认的事实进行惩罚。
๒. ถ้ามีพยานหลักฐานพอเชื่อถือได้ แม้ภิกษุจะไม่ยอมรับ ก็ให้ปรับอาบัติตามหลักฐานนั้น ๆ ได้
- 如果有可靠的证人和证据,就算犯戒的比丘不承认,也可以依照证据进行相应的惩罚。
กัณฑ์ที่ ๖ นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐
第六章:三十舍堕
ความหมาย
定义
คำว่า นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ประกอบด้วยคำ ๒ คำ คือ คำว่า นิสสัคคิยะ แปลว่า สิ่งของอันควรสละ และคำว่า ปาจิตตีย์ แปลว่า การละเมิดอันยังกุศลให้ตกไป หมายถึง อาบัติปาจิตตีย์ให้ต้องสละสิ่งของจึงแสดงอาบัติตก กล่าวคือ ภิกษุเมื่อล่วงละเมิดสิกขาบทใดสิกขาบทหนึ่งเข้าแล้ว ก่อนที่จะแสดงอาบัติต่อหน้าสงฆ์ คณะหรือบุคคล ต้องสละสิ่งของที่เป็นเหตุให้ต้องอาบัติเสียก่อน จึงจะแสดงอาบัติตก ทรงบัญญัติขึ้นเพื่อปรับโทษแก่ภิกษุผู้ใช้สอยเครื่องอุปโภคบริโภค เช่น บาตร จีวร ผ้าปูนั่ง เป็นต้น ในทางที่ไม่เหมาะสม จัดเป็น ๓ วรรค วรรคละ ๑๐ สิกขาบท ดังนี้
舍堕由“舍”和“堕”组成,舍指应舍弃之物,堕指违犯后会使善法衰退。整个词义指必须舍去犯戒事物而做忏悔,才能出罪。也就是当比丘违犯其中一条戒后,在僧团、组织或个人面前忏悔前,应先舍去犯戒事物。佛陀制定该戒是为了惩罚那些不合理使用资具,如僧钵、袈裟和垫布的比丘。共分为三品,每品十条戒。
ก. จีวรวรรค หมวดว่าด้วยจีวร ๑๐ สิกขาบท
一、袈裟品,关于袈裟的十条戒:
๑. ภิกษุทรงอติเรกจีวรได้เพียง ๑๐ วัน เป็นอย่างยิ่ง ถ้าล่วง ๑๐ วันไป ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์
1.若比丘持有长衣,最多只能保留十天,如果超过十天,犯舍堕。
อติเรกจีวร คือ ผ้าที่นอกเหนือจากผ้าอธิษฐานเป็นไตรจีวร มีขนาดอย่างต่ำ ยาวประมาณ ๘ นิ้วพระสุคต กว้างประมาณ ๔ นิ้วพระสุคต ภิกษุจะมีครอบครองผ้าอติเรกจีวรไว้ได้เฉพาะในช่วงกาลจีวร คือ ถ้าภิกษุจำพรรษาแล้วไม่ได้กรานกฐิน นับตั้งแต่ แรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ถึงขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ ถ้าได้กรานกฐิน จีวรกาลจะยืดออกไปถึงขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๔ รวม ๕ เดือน
长衣指摄持三衣以外的布,尺寸至少是长约八佛指距,宽约四佛指距。比丘只能在“时衣期限”内持有长衣,如果比丘在雨安居后未受持迦絺那衣,时衣期限为十一月下玄月初一至十二月上玄月十五;若得受持迦絺那衣,时衣期限将延长至四月上玄月十五,长达五个月。
เมื่อพ้นเขตจีวรกาลแล้ว จะเก็บไว้ได้เพียง ๑๐ คืนเท่านั้น หากเก็บไว้เกินกว่านี้ ต้องนิสสัคคิยปา จิตตีย์ เว้นไว้แต่ก่อนจะพ้นเขตกาลจีวรภิกษุได้ทำวิกัปป์ คือ ทำให้เป็นสองเจ้าของ ไม่เป็นอาบัติ
当时衣期限过后,只能再持有十夜,禁止超过该期限,否则犯舍堕。除非在超过时衣期限前行净施(两僧共用),如此将不犯。
การสละมี ๓ วิธี คือ สละแก่สงฆ์ สละแก่คณะ และสละแก่บุคคล
舍弃分为三种,即:舍给僧团、组织或个人。
สิกขาบทนี้เป็นอจิตตกะ แม้นับวันผิดปล่อยให้ล่วง ๑๐ วัน ก็เป็นอาบัติ ถ้าอติเรกจีวรสูญหายหรือพ้นจากการครอบครองของภิกษุก่อนครบ ๑๐ วัน ไม่เป็นอาบัติ
这条戒在无心的情况下,即因算错日期而超过十天才舍弃长衣,也算犯。但如果长衣在满十天之前,从持有比丘的手里遗失或不在管辖范围内,则不犯。
ภิกษุผู้เป็นอาทิกัมมิกะในสิกขาบทนี้ คือ พระอานนท์
该戒的最初犯行者是阿难比丘。
๒. ภิกษุอยู่ปราศจากไตรจีวร แม้เพียงคืนเดียว ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่ได้สมมติ
- 若比丘离开三衣过夜,即便只是一个晚上,除了僧团许可以外,犯舍堕。
ไตรจีวร แปลว่า ผ้า ๓ ผืน คือ อันตรวาสก ผ้านุ่ง (คนไทยเรียกว่า สบง) อุตตราสงค์ผ้าห่ม (จีวร) และสังฆาฏิ ผ้าซ้อนหรือผ้าคลุม (ผ้าพาดบ่า) เป็นผ้าที่ทรงอนุญาตให้ภิกษุอธิษฐานเป็นบริขารประจำตัวตั้งแต่วันบวช เรียกว่า จีวรอธิษฐาน หรือ ไตรครอง ก็ได้กำหนดให้ภิกษุอยู่ปราศจากไตรจีวรได้ คือ ที่อยู่ของภิกษุ เช่น บริเวณวัด ในกุฏิซึ่งอยู่ในภายในสีมา คือ สถานที่ที่อยู่ปราศจากไตรจีวรไม่ได้ ให้เป็นสถานที่ที่อยู่ปราศจากได้ ได้แก่
三衣指安陀会(中着衣)、郁多罗僧(上衣)和僧伽梨(大衣)三片布。这是佛陀允许比丘自出家之日起摄持的日常资具,称为摄持衣或护持衣。佛陀也规定比丘可在居住的范围内离开三衣,例如:寺院的僧舍内,即僧团将“不可离开三衣的场所”,规定为“可离开三衣的场所”,分别如下:
๑. สิ่งปลูกสร้าง ได้แก่ กุฎี วิหาร ศาลา เรือน เป็นต้น ถ้าภิกษุอยู่รูปเดียวกำหนดเอาทั้งหลังเป็นเขตถ้าอยู่ ๒ รูป กำหนดเอาเฉพาะห้องที่เก็บผ้า ถ้าอยู่หลายรูปในห้องเดียว กำหนดเอาหัตถบาส ห่างจากตัวประมาณ ๑ ศอก
1.建筑物:如僧舍、禅堂、凉亭、房子等,如果是一位比丘独处,应以整栋建筑物为界限;如果是两位比丘共处,应以存放三衣的房间为界限;如果是多位比丘共处一屋,应以一手肘宽的距离为界限,即离自己约半米。
๒. โคนต้นไม้ กำหนดเอาเครื่องล้อม ถ้าไม่มีเครื่องล้อม กำหนดเอาบริเวณเงาแดดเวลาเที่ยง ถ้าอยู่ ๒ รูป กำหนดเอาหัตถบาส
2.树根:应以固定的范围为界限,如果没有,即以正午太阳所照之树影为界限,如果是两位比丘共处,应以一手肘宽的距离为界限。
๓. ที่แจ้ง กำหนดเอาหัตถบาส
3.露天处:应以一手肘宽的距离为界限。
เงื่อนไขที่ภิกษุจะอยู่ปราศจากไตรจีวรได้ คือ
比丘可以离开三衣的条件,分别是:
๑. จำพรรษาครบไตรมาส (๓ เดือน ในพรรษา โดยไม่ขาดพรรษา)
๒. ได้กรานกฐินแล้ว
๓. อาพาธหนักได้รับสมมติ (ยกเว้น) จากสงฆ์
๔. ในเขตที่สงฆ์สมมติติจีวราวิปปวาส
1.圆满雨安居(入雨安居满三个月)。
2.具足受持迦絺那衣。
3.身患重疾,僧团允许其例外。
4.僧团规定为可离开三衣的场所。
เมื่ออยู่นอกเขตกาลจีวร และพ้นเขตอานิสงส์แห่งกฐินแล้ว ภิกษุเก็บไตรจีวร ผืนใด ผืนหนึ่งไว้ในที่ใด ต้องกลับเข้าไปในเขตนั้นก่อนอรุณขึ้น ถ้าอรุณขึ้นแล้วกลับเข้ามา ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์ เว้นแต่ได้สมมติ คือ ได้รับการตกลงจากสงฆ์ให้อยู่ปราศจากไตรจีวรได้ในคราวอาพาธหรือพ้นจากกรรมทสิทธิ์ของตนก่อนอรุณขึ้น เช่น ถูกลักขโมยไป หรือภิกษุถอนอธิฐานก่อน ไม่เป็นอาบัติ
当超出时衣期限或受持迦絺那衣的功德期限时,比丘持有三衣中的任何一件,应在黎明前收起来,如果没有在黎明来临前收好,犯舍堕。除非得到僧团允许而例外,即该比丘身患疾病或在黎明前失去所有权,例如:被盗走或者比丘先解除摄持,如此则不犯。
๓. ถ้าผ้าเกิดขึ้นแก่ภิกษุ ภิกษุประสงค์จะทำจีวร แต่ยังไม่พอ ถ้ามีที่หวังว่าจะได้มาอีก พึงเก็บผ้านั้นไว้ได้เพียง ๑ เดือน เป็นอย่างยิ่ง ถ้าเก็บไว้เกิน ๑ เดือนไป แม้ถึงยังมีที่หวังว่าจะได้ผ้าอยู่ ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์
3.若比丘获得一块布,他想用这块布制成袈裟,但是却不够,若他想将不够的部分补足而存放这块布,那么最多只能存放一个月。如果存放超过一个月,即便是为了等待不够的部分,也犯舍堕。
ผ้าที่เกิดขึ้นแก่ภิกษุในสิกขาบทนี้ หมายเอา อกาลจีวร非时衣 ได้แก่ อติเรกจีวรที่ได้มานอกเขตจีวรกาลและนอกเขตอานิสงส์กฐิน ซึ่งปกติภิกษุจะเก็บไว้ได้เพียง ๑๐ วัน (ตามสิกขาบทที่ ๑) ถ้าภิกษุประสงค์จะทำจีวรต้องทำให้เสร็จภายใน ๑๐ วัน ถ้าผ้าที่ได้มานั้นไม่พอที่จะทำไตรจีวรผืนใดผืนหนึ่ง แต่มีหวังว่าจะได้มาเพิ่มอีก ภิกษุพึงเก็บผ้านั้นไว้ได้ไม่เกิน ๑ เดือนเพื่อจะให้ผ้าที่ยังขาดครบบริบูรณ์ ถ้าเก็บไว้เกินกำหนดนี้ แม้มีหวังจะได้มาเพิ่มอีก ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ ยกเว้นก่อนถึงอรุณที่ ๓๑ ภิกษุอธิษฐานวิกัปป์ หรือสละให้แก่ผู้อื่นเสียก่อนไม่เป็นอาบัติ
该戒中比丘所获得的布属于非时衣,即在时衣期限外或者受持迦絺那衣的功德期限外得到的长衣。通常比丘只能持有十天(依照同组第一条戒),如果比丘想制成袈裟,也需要在十天内完成,但若无法制成一件完整的袈裟,想为补足不够的部分而存放,那么存放的时间也不能超过一个月。如果存放超过一个月,即便是为了等待不够的部分,也犯舍堕。除非该比丘在第三十一天的黎明前摄持净施,或者捐给其他人,则不犯。
๔. ภิกษุใช้นางภิกษุณีที่มิใช่ญาติ ให้ซักก็ดี ให้ย้อมก็ดี ให้ทุบก็ดี ซึ่งจีวรเก่าต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์
- 若比丘让非亲戚关系的比丘尼洗、染或捶打旧袈裟,犯舍堕。
คำว่าจีวรเก่า หมายถึง ผ้าที่ใช้นุ่งห่มแล้ว แม้คราวเดียว
旧袈裟指已经穿过的布,一次也算。
คำว่า ญาติ หมายถึง คนที่เกี่ยวเนื่องกันโดยสายเลือดทางบิดาหรือมารดา เจ็ดชั่วโคตรโดยนับลำดับเหนือขึ้นไปจากตัวเองสามชั้น และนับลำดับต่ำลงมาอีกสามชั้น รวมเป็น ๗ ชั้น ส่วนสามี – ภรรยา เขย หรือสะใภ้ ถ้ามิได้เกี่ยวข้องกันด้วยสายเลือด ๗ ชั่วโคตร ไม่นับว่าเป็นญาติ
亲戚指与父亲或母亲有血缘关系的亲属,即从自己这一辈往上追溯三代,往下追溯三代,共为七代。至于丈夫、妻子、女婿或媳妇,若不与七代有血缘关系的人,在此不属于亲戚关系。
ภิกษุใช้นางภิกษุณีที่มิใช่ญาติให้เอาจีวรเก่าไปซัก หรือย้อม หรือทุบ อย่างใดอย่างหนึ่งต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์ ถ้าใช้ให้ทำ ๓ อย่างพร้อมกัน ทำอย่างแรกเสร็จเป็นนิสสัคคีย์ ทำ ๒ อย่างหลังเสร็จ เป็นทุกกฏ ใช้ให้ซักผ้าปูนั่ง ผ้าปูนอน เป็นอาบัติทุกกฎ
若有比丘让没有亲戚关系的比丘尼,以其中一种方式,或洗、或染或捶打旧袈裟,犯舍堕。如果让其三种一起做,完成第一种时,犯舍堕;完成后面两种时,犯恶作;如果让其洗垫布或被单,犯恶作。
ภิกษุใช้ให้ซัก ย้อม หรือทุบจีวรใหม่ หรือบริขารอื่น นอกจากจีวร หรือเขาทำเองภิกษุไม่ได้ใช้ ไม่เป็นอาบัติ
若比丘让其洗、染、捶打新袈裟或其他资具,又或者是其自己所为,则不犯。
ภิกษุผู้เป็นอาทิกัมมิกะในสิกขาบทนี้ คือ พระอุทายี
该戒的最初犯行者是优陀夷比丘。
๕. ภิกษุรับจีวรแต่มือนางภิกษุณีที่ไม่ใช่ญาติ ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์ เว้นแต่แลกเปลี่ยนกัน
- 若比丘从非亲戚关系的比丘尼手中接受衣服,除了相互交换以外,犯舍堕。
สิกขาบทนี้ทรงบัญญัติไว้เพื่อป้องกันไม่ให้ภิกษุเบียดเบียนนางภิกษุณีผู้มีลาภน้อย ถ้าจะรับก็ทรงให้แลกเปลี่ยนด้วยของที่มีราคาเท่ากัน
佛陀制定这条戒是为了防止比丘侵占受供较少的比丘尼,如果要接受也得等价交换。
ภิกษุเป็นอาทิกัมมิกะในสิกขาบทนี้ คือ พระอุทายี
该戒的最初犯行者是优陀夷比丘。
๖. ภิกษุขอจีวรต่อคฤหัสถ์ ผู้ไม่ใช่ญาติ ไม่ใช่ปวารณา (คือไม่ได้บอกให้ขอ) ได้มาต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่สมัยที่จะขอจีวรได้ คือ เวลาภิกษุมีจีวรอันโจรลักไปหรือเวลาที่จีวรฉิบหาย
- 若比丘向非亲戚关系、未作出许诺的在家者索求并得到袈裟,犯舍堕。除非是在适合索求的时候,即比丘的袈裟被盗,或袈裟遭到破坏。
คำว่า ผู้ไม่ใช่ญาติ คือ ผู้มิได้เกี่ยวข้องกันโดยสายเลือด ๗ ชั่วโคตร (มีอธิบายเหมือนสิกขาบทที่ ๔)
非亲戚指没有七代血缘关系的人(含义与该组第四条戒相同)。
คำว่า ไม่ใช่ปวารณา คือ คนที่มิได้ออกปากบอกภิกษุให้ขอว่า “ถ้าพระคุณเจ้า ประสงค์สิ่งใดสิ่งหนึ่ง พึงขอจากข้าพเจ้า”
未作出许诺指该居士未提前告知比丘说:“如果您需要什么可以来跟我索求。”
คำว่า จีวร ในที่นี้ หมายถึง ไตรจีวร (คือ ทั้ง ๓ ผืน ได้แก่ จีวร สบง และสังฆาฏิ) ภิกษุขอต่อคฤหัสถ์ที่ไม่ใช่ญาติ ไม่ใช่ปวารณา ต้องทุกกฏ ทุกครั้งที่ขอ ได้มา เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์
这里的袈裟特指三衣(上衣、内衣、大衣)。若有比丘向非亲戚关系、未作出许诺的在家者索求袈裟,犯恶作;当得到后,犯舍堕。
สิกขาบทนี้เป็นอจิตตกะ ต้องด้วยอาการ ๓ อย่าง เรียกว่า ติกปาจิตตีย์ คือ
这条戒在三种无心的情况下也算犯,即是:
๑. ถ้าเขามิใช่ญาติ รู้อยู่ว่ามิใช่ญาติ
๒. ถ้าเขามิใช่ญาติ แต่สงสัยว่าเป็นญาติ ภิกษุขอได้มาเป็น นิสสัคคิยปาจิตตีย์
๓. ถ้าเขามิใช่ญาติ แต่เข้าใจว่าเป็นญาติ
1.如果对方不是亲戚,也知道对方不是亲戚。
2.如果对方不是亲戚,但怀疑对方是亲戚,索求并得到,犯舍堕。
3.如果对方不是亲戚,但却以为是亲戚。
ถ้าเขาเป็นญาติ แต่เข้าใจหรือสงสัยว่าไม่ใช่ญาติ ขอได้มา เป็นทุกกฏ
如果对方是亲戚,但以为或怀疑不是亲戚,索求并得到,犯恶作。
ภิกษุผู้เป็นอาทิกัมมิกะในสิกขาบทนี้ คือ พระอุปนันทศากยบุตร
该戒的最初犯行者是优波难陀释子比丘。
๗. ในสมัยเช่นนั้น จะขอเขาได้ก็เพียงผ้านุ่งผ้าห่มเท่านั้น ถ้าขอเกินกว่านั้น ได้มาต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์
- 在那种情况下,比丘最多只能向对方索求内衣和上衣,如果索求得到的超过该数量,犯舍堕。
สิกขาบทนี้มีเนื้อความต่อจากสิกขาบทที่ ๖ คำว่า ในสมัยเช่นนั้นก็คือ ในคราวที่ภิกษุถูกลักไตรจีวร หรือไตรจีวรชำรุดเสียหาย ด้วยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง ใช้นุ่งห่มไม่ได้ ทรงอนุญาตให้ขอจากคฤหัสถ์ที่ไม่ใช่ญาติ มิใช่ปวารณาได้ ตามกำหนดดังนี้ คือ ถ้าไตรจีวรหายหรือชำรุด ๓ ผืน ขอได้เพียง ๒ ผืน ถ้าหายหรือชำรุด ๒ ผืน ขอได้ผืนเดียว ถ้าหายหรือชำรุดผืนเดียว ไม่ทรงอนุญาตให้ขอ ถ้าเกินกำหนดนี้ ต้องทุกกฏขณะขอ ได้มา เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์
这条戒承接第六条戒的内容,“在那种情况下”指的是当比丘的袈裟被盗,或袈裟遭到破坏而无法身披。佛陀允许比丘可以向非亲戚关系、未作出许诺的在家者,按如下规定进行索求,即如果三衣或三片布被盗或遭破坏,只能索求两片;如果有两片被盗或遭破坏,只能索求一片;如果有一片被盗或遭破坏,则不能索求,若超出该数量,索求时犯恶作,得到时犯舍堕。
ภิกษุผู้เป็นอาทิกัมมิกะในสิกขาบทนี้ คือ พระฉัพพัคคีย์
该戒的最初犯行者是六群比丘。
๘. ถ้าคฤหัสถ์ที่มิใช่ญาติไม่ใช่ปวารณาเขาพูดว่าเขาจะถวายจีวรแก่ภิกษุชื่อนี้ ภิกษุนั้นทราบความแล้ว เข้าไปพูดให้เขาถวายจีวรอย่างนั้นอย่างนี้ ที่มีราคาแพงกว่า ดีกว่าที่เขากำหนดไว้เดิม ได้มา ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์
8.若非亲戚关系、未作出许诺的在家者说,自己将给叫某法名的比丘供养袈裟,该比丘知道后,指定该在家者供养比原先准备的更贵、更好的袈裟,犯舍堕。
ภิกษุทราบว่าเขาจะถวายจีวรแก่ตน เข้าไปพูดให้ถวายจีวรที่มีราคาแพงกว่า ดีกว่า เขาจ่ายทรัพย์ไปตามคำแนะนำ ต้องทุกกฏ ได้มา เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์ ถ้าเขาปรารถนาจะถวายจีวรที่มีราคามาก พูดให้เขาถวายน้อยลง ไม่เป็นอาบัติ
比丘知道对方要供养袈裟给自己,然后告知对方要供养更贵、更好的袈裟,对方则依比丘的要求支付了等值的金钱,该比丘犯恶作;当该比丘得到后,犯舍堕。但如果对方想供养昂贵的袈裟,比丘却让对方供养较为便宜的袈裟,则不犯。
ภิกษุผู้เป็นอาทิกัมมิกะในสิกขาบทนี้ คือ พระอุปนันทศากยบุตร
该戒的最初犯行者是优波难陀释子比丘
๙. ถ้าคฤหัสถ์ผู้จะถวายจีวรแก่ภิกษุมีหลายคน แต่เขาไม่ใช่ญาติ ไม่ใช่ปวารณาภิกษุไปพูดให้เขารวมทุนเข้าเป็นอันเดียวกันให้ซื้อจีวรที่แพงกว่า ดีกว่า ที่เขากำหนดไว้เดิมได้มา ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์
9.若有多位非亲戚关系、未作出许诺的在家者,要供养袈裟给比丘。受供比丘却让他们将多笔资金合为一笔,购买比原先准备的更贵、更好的袈裟,犯舍堕。
ภิกษุรู้ว่า จะมีคนถวายแก่ตนหลายคน จึงเข้าไปพูดแนะนำให้เขารวมทุนกันจัดซื้อจีวรที่ดีกว่า แพงกว่า ที่เขาตั้งใจไว้ ถ้าเขาทำตาม ต้องทุกกฏ ได้มาเป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์
若有比丘知道有多位在家者要供养自己袈裟,于是要求他们将所有的资金合在一起,去购买比原先他们准备的更贵、更好的袈裟,若他们如实照做,该比丘犯恶作;若该比丘得到想要的袈裟,犯舍堕。
ภิกษุผู้เป็นอาทิกัมมิกะในสิกขาบทนี้ คือ พระอุปนันทศากยบุตร
该戒的最初犯行者是优波难陀释子比丘。
๑๐. ถ้าใคร ๆ นำทรัพย์มาเพื่อจ่ายค่าจีวรแล้วถามภิกษุว่า ใครเป็นไวยาวัจกรของเธอ ถ้าภิกษุต้องการจีวร ก็พึงแสดงคนวัดหรืออุบาสกว่า ผู้นี้เป็นไวยาวัจกรของภิกษุทั้งหลาย ครั้นเขามอบหมายไวยาวัจกรนั้นแล้ว สั่งภิกษุว่า ถ้าต้องการจีวรให้เข้าไปหาไวยาวัจกร ภิกษุนั้น พึงเข้าไปหาเขาแล้วทวงว่า เราต้องการจีวรดังนี้ได้ ๓ ครั้ง ถ้าไม่ได้จีวรไปยืนแต่พอเขาเห็นได้ ๖ ครั้ง ถ้าไม่ได้ ขืนทวงเกิน ๓ ครั้ง ยืนเกิน ๖ ครั้ง ได้มา ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์
10.若有人想拿衣资购买袈裟,于是问比丘说:“谁是您的执事人?”需要衣服的比丘应该指着执事人或优婆塞说:“这一位就是众比丘的执事人。”当这位施主委托给执事人后,他告知该比丘说:“如果您需要袈裟,可以去找执事人。”当比丘来找执事人时,可以三次向执事人讨取说:“我需要袈裟”。如果没有得到袈裟,可以让他看见自己默站六次。如果还是没有得到袈裟,讨取超过三次,默站超过六次而得到,犯舍堕。
ถ้าไปทวงและยืนครบกำหนดแล้วไม่ได้จีวร จำเป็นต้องไปบอกเจ้าของเดิมว่า ของนั้นไม่สำเร็จประโยชน์แก่ตน ให้เขาเรียกเอาของเขาคืนมาเสียในการยืนนั้น ท่านให้ยืนนิ่ง ๆ ให้เขาเห็น ไม่พึงนั่งบนอาสนะ ไม่พึงรับอามิส(ของถวาย) ไม่พึงกล่าวธรรมะ เมื่อเขาถามว่า “มาธุระอะไร” พึงกล่าวว่า “ท่านจงรู้เองเถิด”
如果比丘讨取或默站达到规定的次数后,没有得到袈裟,应去告知原先的施主说:“该东西没有成功利益自己”,让他取回东西。比丘可让施主看见自己默站,比丘此时不应坐在坐垫上,不应接受利养(物品的供养),不应讲经说法,当他问及:“您来干什么?”比丘应说:“您自己知道的。”
ถ้านั่งบนอาสนะ หรือรับอามิส หรือกล่าวธรรม ชื่อว่า ตัดโอกาสแห่งการยืน คือไม่นับว่ายืน
如果比丘做在坐垫上,或接受利养,或讲经说法,则不算做默站。
ภิกษุผู้เป็นอาทิกัมมิกะในสิกขาบทนี้ คือ พระอุปนันทศากยบุตร
该戒的最初犯行者是优波难陀释子比丘。
ทวง ๑ ครั้ง เท่ากับยืน ๒ ครั้ง ยืน ๒ ครั้ง เท่ากับทวง ๑ ครั้ง
讨取一次等于默站两次,默站两次等于讨取一次。
ภิกษุยืนและทวงตามอัตรานี้ ได้มาไม่เป็นอาบัติ ถ้าไม่ได้ต้องบอกแก่เจ้าของเดิม ถ้าไม่บอก ต้องทุกกฏ เพราะ วัตตเภท คือ ละเลยกิจวัตร ถ้ายืนและทวงเกินกำหนด ได้มา ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์
比丘默站和讨取的次数不超过规定而得到袈裟,不犯。如果得不到就应告知原先的施主,如果不告知,犯恶作,因为忽视了日常佛事。如果默站和讨取的次数超过规定而得到,犯舍堕。
ข. โกสิยวรรค หมวดว่าด้วยสันถัตใยไหม ๑๐ สิกขาบท
二、 绢丝品,关于毛丝卧具的十条戒:
๑. ภิกษุหล่อสันถัตด้วยขนเจียมเจือด้วยไหม ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์
1.若比丘以混有丝的毛作卧具,犯舍堕。
สันถัต คือ อาสนะสำหรับรองนั่งชนิดหนึ่งที่ใช้กรรมวิธีการหล่อ ไม่ใช่ทอเหมือนกับผ้าชนิดอื่น คือ นำขนเจียม (ขนสัตว์ประเภทกวาง เช่น ขนเพะ ขนแกะ เป็นต้น) ปูลาดลงแล้วเอาน้ำข้าวหรือของอื่นที่มียางเหนียวพอจะให้ขนเจียมจับกันพรมลงบนขนเจียม แล้วนำขนเจียมมาโรยทับลงอีก เสร็จแล้วใช้เครื่องรีดหรือทับ ทำให้เป็นแผ่นหนาหรือบางตามต้องการ
卧具指以种种工序做成的寝具,不同于织布。即是将毛(动物毛,如山羊毛、绵羊毛等)铺开,然后用米浆或粘稠的东西把毛一层接一层的粘住,再用工具将之熨平或压紧,根据需要做成薄厚不等的卧具。
ภิกษุทำเองก็ดี ใช้ให้ผู้อื่นทำก็ดี ซึ่งสันถัตเจือด้วยไหมตั้งแต่เริ่มทำจนเสร็จ หรือทำค้างไว้แล้วใช้ผู้อื่นทำต่อจนเสร็จ หรือใช้ผู้อื่นให้ทำค้างไว้ตนทำต่อจนเสร็จ เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์ หล่อทำอย่างอื่น นอกจากสันถัต เจือด้วยไหม เป็นทุกกฏ สิกขาบทนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อป้องกันมิให้ตัวไหมต้องถูกต้ม
若有比丘自己做成混有丝之卧具;或者令他人做成;或者自己做未成而令他人继续而做成;或者令人做未成而自己继续而做成;犯舍堕。若做成混有丝的其他东西,而非卧具,犯恶作。佛陀制定该戒是为了保护蚕不被杀。
ภิกษุผู้เป็นอาทิกัมมิกะในสิกขาบทนี้ คือ พระฉัพพัคคีย์
该戒的最初犯行者是六群比丘。
๒. ภิกษุหล่อสันถัตด้วยขนเจียมดำล้วน ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์
2.若比丘以纯黑毛做卧具,犯舍堕。
ภิกษุผู้เป็นอาทิกัมมิกะในสิกขาบทนี้ คือ พระฉัพพัคคีย์
该戒的最初犯行者是六群比丘。
๓. ภิกษุจะหล่อสันถัตใหม่ พึงใช้ขนเจียมดำ ๒ ส่วน ขนเจียมขาวส่วนหนึ่งขนเจียมแดงส่วนหนึ่ง ถ้าใช้ขนเจียมดำให้เกิน ๒ ส่วนขึ้นไป ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์
- 若比丘做新卧具,应该取四分之二纯黑色毛,四分之一白色毛,四分之一褐色毛,如果纯黑毛超过四分之二,犯舍堕。
การที่ทรงห้ามมิให้ใช้สันถัตสีดำ ล้วนหรือมีสีดำเกิน ๒ ส่วน เพราะสีดำเป็นสีที่ไม่เหมาะแก่สมณะ
禁止使用纯黑色或超过一半黑色的卧具,是因为黑色不适用于沙门。
ภิกษุผู้เป็นอาทิกัมมิกะในสิกขาบทนี้ คือ พระฉัพพัคคีย์
该戒的最初犯行者是六群比丘。
๔. ภิกษุหล่อสันถัตใหม่แล้ว พึงใช้ให้ได้ ๖ ปี ถ้ายังไม่ถึง ๖ ปี หล่อใหม่ ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่ได้สมมติ
- 若比丘做新卧具后,应持用六年,如果未满六年而重新做,除了僧团许可以外,犯舍堕。
เว้นไว้แต่สมมติ หมายถึง ให้สงฆ์สมมติการทำสันถัตใหม่แก่ตนได้แม้ยังไม่ถึง ๖ ปี
除了僧团许可以外,指僧团允许为持用卧具未满六年的比丘,制作新卧具。
เว้นแต่ภิกษุผู้อาพาธ ญาติต้องการจะนำตัวไปรักษา นำสันถัตไปด้วยไม่ได้ พึงขอสมมติจากสงฆ์ เพื่อหล่อสันถัตใหม่แทนหรือภิกษุผู้มีสันถัตหายก็สมมติสร้างสันถัตใหม่ได้
除了身患疾病的比丘,亲属需带其就医,而无法携带卧具,如此可以经僧团许可做新卧具,或者卧具遗失,比丘可经僧团许可做新卧具。
๕. ภิกษุจะหล่อสันถัตพึงตัดเอาสันถัตเก่า ๑ คืบ โดยรอบ มาปนลงในสันถัตที่หล่อใหม่ เพื่อทำลายให้เสียสี ถ้าไม่ทำดังนี้ ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์
5.若比丘做坐卧具,为了让颜色与原先的有区别,应从旧坐卧具的边缘取一个佛指距,混合作成新卧具,如果不照此作,犯舍堕。
วิธีทำคือ ให้ตัดสันถัตเก่าเป็นวงกลม หรือรูปสี่เหลี่ยมมีเส้นผ่าศูนย์กลาง ๑ คืบพระสุคต ลาดลงเป็นแผ่นหรือฉีกออกปนกับขนเจียมที่หล่อใหม่ เพื่อไม่ให้วิจิตรเกินไป
制作方法是将旧坐卧具裁剪成圆形,或者一个直径为佛指距的四方形,然后将整片或撕开混合作成新坐卧具,使之不过于华丽。
๖. เมื่อภิกษุเดินทางไกล ถ้ามีใครถวายขนเจียม ต้องการก็รับได้ ถ้าไม่มีใครนำมานำมาเองได้เพียง ๓ โยชน์ ถ้าให้เกิน ๓ โยชน์ไป ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์
6.若比丘远行,有人供养毛,如有需要可以领受,在没有人拿的情况下,自己最多只能拿着行走三由旬,如果超过三由旬,犯舍堕。
(มาตราวัดความยาว ๑ โยชน์ = ๔๐๐ เส้น และ ๒๕ เส้น = ๑ กิโลเมตร ดังนั้น ๔๐๐เส้น = ๑๖ กิโลเมตร)
(一由旬等于十六公里)
ภิกษุถือขนเจียมเองไม่มีคนถือให้ เดินทางได้เพียง ๓ โยชน์ เกิน ๓ โยชน์ ก้าวที่ ๑เป็นทุกกฏ ก้าวที่ ๒ เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์ ทรงบัญญัติสิกขาบทนี้ขึ้น เพราะการถือขนเจียมเดินทางไกล ดูไม่งามสำหรับผู้พบเห็น
在没有人帮拿的情况下,比丘自己最多只能携带行走三由旬,如果携带超过三由旬,迈第一步犯恶作,第二步犯舍堕。佛陀制定该戒是因为携带毛远行,被别人看见不雅观。
๗. ภิกษุใช้นางภิกษุณีที่มิใช่ญาติให้ซักก็ดี ให้ย้อมก็ดี ให้สางก็ดี ซึ่งขนเจียมต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์
- 若比丘让非亲戚关系的比丘尼洗、染或梳毛,犯舍忏。
สิกขาบทนี้ทรงบัญญัติขึ้นเพื่อป้องกันไม่ให้ภิกษุสนิทสนมกับนางภิกษุณีซึ่งล่อแหลม ต่อการละเมิดอาบัติอย่างหนัก และเพื่อมิให้ภิกษุรบกวนการปฏิบัติธรรมของภิกษุณี
佛陀制定该戒是防止比丘与比丘尼太过亲密而违犯重罪,以及为了不让比丘打扰比丘尼修行。
ภิกษุผู้เป็นอาทิกัมมิกะในสิกขาบทนี้ คือ พระฉัพพัคคีย์
该戒的最初犯行者是六群比丘。
๘. ภิกษุรับเองก็ดี ใช้ให้ผู้อื่นรับก็ดี ซึ่งทองและเงิน หรือยินดีทองและเงินที่เขาเก็บไว้เพื่อตน ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์
8.若比丘接受或命人代收金银,或是对他人为自己存放的金银感到乐意,犯舍堕。
ทอง หมายเอา ทองคำแท่งและทองคำที่ทำเป็นรูปพรรณ เช่น ทำเป็นสร้อยคอกำไล แหวน เครื่องประดับต่าง ๆ
金指纯金和金首饰,例如:项链、手链、戒指和各种装饰品。
เงิน หมายเอา เงินแท้ที่ทำเป็นรูปพรรณ หรือยังไม่ทำเป็นรูปพรรณและเงินประเภทต่าง ๆ ที่มีการกำหนดราคาสำหรับใช้จ่ายซื้อขาย ถูกต้องตามกฎหมาย เช่น เงินด้วง เงินเฟื้อง รวมถึงเงินสกุลต่าง ๆ ที่กำหนดใช้ในแต่ละประเทศ แต่ละท้องถิ่น เช่น เงินบาทไทย เงินดอลล่าร์ เงินปอนด์ เงินกีบ เป็นต้น
银指制成或未制成首饰的纯银,以及各种具备合法交易价值的钱财,例如:银子、银币。还包括各个国家和地区所流通的货币,例如:泰币、美元和英镑等等。
ทองและเงินดังที่กล่าวมานี้ ทางวินัยเรียกว่า รูปิยะ จัดเป็นวัตถุอนามาส ภิกษุไม่ควรจับต้อง ถ้าจับต้องเป็นทุกกฏ ภิกษุรับหรือใช้ให้ผู้อื่นรับเอามาเป็นของตน หรือยินดี คือ ถือกรรมสิทธิ์เป็นเจ้าของของนั้นเป็นนิสสัคคีย์ ต้องสละแก่สงฆ์ สงฆ์พึงสละให้แก่คฤหัสถ์ผู้ใดผู้หนึ่ง ถ้าเขาไม่พึง พึงให้เธอช่วยทิ้ง ถ้าเธอไม่ช่วย สงฆ์พึงสมมติภิกษุรูปหนึ่งเป็นผู้ทิ้ง
这些金与银在戒律里称为卢比耶(古币名称),属于不该触及之物,比丘不应触碰,如果触碰将犯恶作。比丘接受或命人代收,又或者乐意,即拥有该物的所有权,犯舍堕。比丘应将之舍给僧团,僧团应舍给在家者,如果对方不接受,应让对方帮忙丢弃,如果对方不愿意帮忙,僧团应委派某位比丘将之丢弃。
อาบัติในสิกขาบทนี้เป็นอจิตตกะ ไม่รู้ก็เป็นอาบัติ ถ้ามีคฤหัสถ์นำรูปิยะมามอบให้แก่ไวยาวัจกร แล้วพูดว่า “จงจัดหาของอันเป็นกัปปิยะ ถวายภิกษุ” ภิกษุยินดีในของที่เขาซื้อถวายไม่เป็นอาบัติ แต่ห้ามยินดีในรูปิยะนั้น ภิกษุพบทองและเงินตกอยู่ในวัด ให้คนอื่นเก็บไว้เพื่อคืนเจ้าของไม่เป็นอาบัติ ถ้าไม่ให้เก็บต้องทุกกฏ
这条戒在无心的情况下也算犯。如果有在家者将金钱交给执事人,并告知说:“寻找购买应当之物,供养比丘!”比丘对供养之物感到乐意,则不会犯,但禁止对金钱感到乐意。此外,比丘看见有金银遗失在寺院中,让他人保管,以便物归原主,则不犯,但如果不让他人保管,则犯恶作。
ภิกษุผู้เป็นอาทิกัมมิกะในสิกขาบทนี้ คือ พระอุปนันทศากยบุตร
该戒的最初犯行者是优波难陀释子比丘。
๙. ภิกษุทำการซื้อขายรูปิยะ คือ ของที่เขาใช้เป็นทองและเงิน ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์
9.若比丘从事买卖卢比耶,即种种金银,犯舍堕。
ทำการซื้อขายรูปิยะ หมายถึง การเอารูปิยะกับรูปิยะแลกเปลี่ยนกันหรือซื้อขายกัน เช่น เอาเงินซื้อทอง หรือเอาทองแลกกับทอง เป็นต้น แต่มติของสมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ หมายถึง การเอารูปิยะจ่ายซื้อกัปปิยบริขาร (ของที่ควรใช้สอย) ต่าง ๆ ก็ดี จ่ายเป็นค่าแรง คนทำงานต่าง ๆ ก็ดี หรือจ่ายเป็นค่าอื่น ๆ ก็ดี ชื่อว่า ทำการซื้อขายด้วยรูปิยะ
从事买卖卢比耶指以卢比耶进行交换或交易。例如:以钱购买金,或用金交换金等等。古代先师主张无论是以卢比耶购买种种应当资具(应购买之物);支付劳动者工资;或者作为其他的支出,都称为买卖卢比耶。
ภิกษุใช้ธนบัตรซื้อของตามร้านค้าจัดเข้าในสิกขาบทนี้ด้วย
比丘用钞票购买商店的商品也同属于该戒。
สิกขาบทนี้ทรงบัญญัติขึ้นเพื่อป้องกันมิให้ภิกษุทำการซื้อ – ขาย และเพื่อป้องกันการทำของปลอมหลอกผู้อื่นเลี้ยงชีพ
佛陀制定该戒是为了防止比丘从事买卖,以及防止比丘为了谋生而欺骗他人。
รูปิยะ หรือของที่ได้มาด้วยการซื้อขายแลกเปลี่ยนเช่นนี้ เป็นนิสสัคคีย์ ต้องสละแก่สงฆ์ วิธีสละเหมือนสิกขาบทที่ ๘
通过买卖或交换所得的卢比耶或东西,犯舍堕。比丘应将之舍给僧团,方法如同该组的第九条戒。
ภิกษุผู้เป็นอาทิกัมมิกะในสิกขาบทนี้ คือ พระฉัพพัคคีย์
该戒的最初犯行者是六群比丘。
๑๐. ภิกษุแลกเปลี่ยนสิ่งของกับคฤหัสถ์ ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์
- 若比丘与在家者从事物品交换,犯舍堕。
คำว่า แลกเปลี่ยนสิ่งของ คือ การแลกเอาหรือรับเอาของเป็นกัปปิยะ ด้วยของเป็นกัปปิยะเหมือนกัน ภิกษุทำการแลกเปลี่ยนของสิ่งใดสิ่งหนึ่งกับคฤหัสถ์ ได้มา เป็นนิสสัคคีย์ต้องสละแก่สงฆ์แก่คณะหรือแก่บุคคลก็ได้
物品交换指以应当之物交换应当之物。若有比丘与在家者从事物品交换,获得时犯舍堕,应舍给僧团、组织或个人。
ภิกษุผู้เป็นอาทิกัมมิกะในสิกขาบทนี้ คือ พระอุปนันทศากยบุตร
该戒的最初犯行者是优波难陀释子比丘。
๓. ปัตตวรรค หมวดว่าด้วยบาตร ๑๐ สิกขาบท
三、僧钵品,关于钵的十条戒:
๑. บาตรนอกจากบาตรอธิฐาน เรียกว่า อติเรกบาตร长钵 อติเรกบาตรนั้น ภิกษุเก็บไว้ได้เพียง ๑๐ วัน เป็นอย่างยิ่ง ถ้าให้ล่วง ๑๐ วันไป ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์
- 摄持钵以外的钵称为长钵。对于长钵,比丘最多可存放十天,如果超过十天,犯舍堕。
บาตรที่ทรงอนุญาตให้ใช้มี ๒ ชนิด คือ บาตรเหล็กและบาตรดินเผา มี ๓ ขนาด คือ
佛陀规定比丘可以使用的钵有两种,即铁钵和泥钵,有三种型号,分别是:
๑. ขนาดเล็ก ใส่ข้าวเต็มบาตร ภิกษุรูปเดียวฉันอิ่ม
๒. ขนาดกลาง จุข้าวเต็มบาตร ภิกษุ ๒ รูป ฉันอิ่ม หรือใส่ผ้าสังฆาฏิได้
๓. ขนาดใหญ่ จุข้าวเต็มบาตร ภิกษุ ๔ รูป ฉันอิ่ม
1.小钵:装满食物,可供一位比丘吃饱。
2.中钵:装满食物,可供两位比丘吃饱,或者可存放僧伽梨。
3.大钵:装满食物,可供四位比丘吃饱。
บาตรทรงอนุญาตให้อธิษฐานมีได้ใบเดียว เรียกว่า บาตรอธิษฐาน นอกนั้นจัดเป็นอติเรกบาตร ทรงอนุญาตให้เก็บไว้ได้ ๑๐ วัน เกิน ๑๐ วันไป เป็นนิสสัคคีย์ ยกเว้นแต่ได้วิกัปป์หรือบาตรนั้นหาย หรือภิกษุขาดกรรมสิทธิ์ก่อนครบ ๑๐ วัน ไม่เป็นอาบัติ
佛陀规定比丘只能持有一个摄持的钵,称为摄持钵,除此之外皆属于长钵。对于长钵,佛陀规定比丘最多可存放十日,如果超过十日,犯舍堕。如果是行净施、遗失或者在满十日前失去所有权,则不犯。
ภิกษุเป็นอาทิกัมมิกะในสิกขาบทนี้ คือ พระฉัพพัคคีย์
该戒的最初犯行者是六群比丘。
๒. ภิกษุมีบาตรร้าวยังไม่ถึง ๑๐ นิ้ว ขอบาตรใหม่ต่อคฤหัสถ์ที่มิใช่ญาติมิใช่ปวารณา ได้มา ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์
- 若比丘以不到十寸补缀的钵,向非亲戚关系、未作出许诺的在家者,换取新钵,犯舍堕。
บาตรมีรอยร้าวยาว ๒ นิ้วขึ้นไป จัดเป็นหนึ่งแผล ภิกษุมีบาตรร้าวหลายแผลรวมกันได้๑๐ นิ้วขึ้นไป ขอบาตรใหม่ได้ ถ้าไม่ถึง ขอบาตรใหม่ ได้มา เป็นนิสสัคคีย์ ต้องสละแก่สงฆ์
钵的补缀超过两寸,归为一个伤痕。如果比丘的钵之补缀,合计达十寸以上,可以更换新钵。如果没有达到而换取新钵,犯舍堕,应舍给僧团。
วิธีสละ คือ สงฆ์พึงสมมติภิกษุรูปหนึ่งผู้ไม่มีอคติและรู้จักวิธีทำ ให้นำบาตรใหม่นั้นถวายพระเถระ เอาบาตรของพระเถระถวายพระรูปที่ ๒ เปลี่ยนเลื่อนลงมาโดยนัยนี้ จนถึงรูปสุดท้ายแล้ว รับเอาบาตรของรูปสุดท้ายนั้นมอบให้แก่เธอ
舍弃的方法:僧团应指定某位无偏袒心以及了解方法的比丘,将新钵供养给长老比丘,然后将长老比丘的钵供养给另一位比丘,如此次第交换,直至最后一位比丘。之后,可将最后一位比丘的钵,供养给得新钵的比丘。
ภิกษุผู้เป็นอาทิกัมมิกะในสิขาบทนี้ คือ พระฉัพพัคคีย์
该戒的最初犯行者是六群比丘。
๓. ภิกษุรับประเคนเภสัชทั้ง ๕ คือ เนยใน เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย แล้วเก็บไว้ฉันได้เพียง ๗ วัน เป็นอย่างยิ่ง ถ้าล่วง ๗ วันไป ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์
3.若比丘获赠五种药物,即酥油、奶油、油、蜂蜜、甘蔗汁,最多可以储存食用七天,如果超过七天,犯舍堕。
เภสัชทั้ง ๕ นั้น ถ้าเก็บไว้นานเกินไปจะกลายเป็นของเสีย เมื่อนำมาบริโภคแล้วจะทำให้ท้องเสีย แม้ไม่บริโภคเก็บไว้ก็จะมีกลิ่นหืน ทำให้ที่อยู่สกปรกเปรอะเปื้อน ไม่น่าอยู่ ด้วยเหตุนี้จึงทรงบัญญัติห้ามมิให้เก็บเภสัชไว้เกิน ๗ วัน เภสัชที่เป็นนิสสัคคีย์ภิกษุสละแล้ว มีผู้นำกลับมาถวายอีก ไม่ทรงอนุญาตให้ฉัน แต่นำไปทำอย่างอื่น เช่น ใช้เป็นเชื้อไฟทาแผล เป็นต้น ไม่ทรงห้าม
这五种药物存放太久会坏掉,食用时会导致腹泻。就算不食用,放着也会产生臭味,导致住所肮脏,不宜居住。基于此因,佛陀禁止比丘存放药物超过七天。当比丘将犯舍堕的药物舍弃后,有人再拿来供养,不允许再食用,但可以做其他用途,例如:作为生火疗伤的材料等。
อนึ่ง เภสัชทั้ง ๕ นั้น ถ้าภิกษุรับประเคนไว้เพื่อบริโภคเก็บไว้ได้ ๗ วัน เกินนั้นเป็นนิสสัคคีย์ ถ้ารับเพื่อทำอย่างอื่น เก็บไว้เกินกว่านั้นไม่เป็นอาบัติ
另外,若有比丘获赠这五种药物,最多储存食用七天,如果超过七天,犯舍堕。但接受是为了其他用途,存放超过七天则不犯。
ภิกษุผู้เป็นอาทิกัมมิกะในสิกชาบทนี้ คือ พระปิลันทวัจนะ
该戒的最初犯行者是毕陵伽婆蹉比丘。
๔. เมื่อฤดูร้อนยังเหลืออยู่อีก ๑ เดือน คือ ตั้งแต่แรม ๑ ค่ำ เดือน ๗ จึงแสวงหาผ้าอาบน้ำฝนได้ เมื่อฤดูร้อนยังเหลืออยู่อีกกึ่งเดือน คือ ตั้งแต่ขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๘ จึงทำนุ่งได้ ถ้าแสวงหรือทำนุ่งให้ล้ำกว่ากำหนดนั้นเข้ามา ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์
4.当夏季还剩一个月时,即七月下玄月初一起寻求雨浴衣,当夏季还剩半个月时,即八月上玄月初一起作好备用,若在此期限前寻求或作好备用,犯舍堕。
ผ้าอาบน้ำฝนนั้น จัดเป็นบริขารพิเศษชั่วคราวของภิกษุที่ทรงอนุญาตให้อธิษฐานใช้ได้ตลอด ๔ เดือน ของฤดูฝน ถ้าพ้นฤดูฝนไปแล้วต้องวิกัปป์
雨浴衣是佛陀规定在四个月的雨季中,比丘暂时必备的资具,雨季过后应作净施。
ภิกษุผู้เป็นอาทิกัมมิกะในสิกขาบทนี้ คือ พระฉัพพัคคีย์
该戒的最初犯行者是六群比丘。
กำหนดเวลาเกี่ยวกับผ้าอาบน้ำฝน ดังนี้
关于雨浴衣的规定如下:
– ตั้งแต่แรม ๑ ค่ำ เดือน ๗ ถึง ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ (๓๐ วันก่อนถึงฤดูฝน) เป็นเขตแสวงหา
从七月下玄月初一至八月上玄月十五(雨季前三十天)是寻求雨浴衣的期限。
– ตั้งแต่ขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๘ ถึง ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ (๑๕ วันก่อนถึงฤดูฝน) เป็นเขตให้ทำนุ่ง หมายถึง การเย็บ ย้อม พินทุ นุ่ง แต่ยังอธิษฐานเป็นผ้าอาบน้ำฝนไม่ได้
从八月上玄月初一至八月上玄月十五(雨季前十五天)是制作的期限,也就是缝制、染色、做标记、穿着,但还不能摄持为雨浴衣。
– ตั้งแต่แรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ ถึง ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ ตลอดฤดูฝน ให้อธิฐานใช้พ้นจากนี้ให้วิกัปป์
从八月下弦月初一至十二月上玄月十五,整个雨季都可以摄持使用,之后应行净施。
สิกขาบทนี้เป็นอจิตตกะ ภิกษุสำคัญว่าถึงแล้วด้วยนับพลาดไป แสวงหาผ้าอาบน้ำฝนในที่อยู่ของคฤหัสถ์ที่มิใช่ญาติมิใช่ปวารณา แม้เช่นนี้ก็เป็นอาบัติ
这条戒在无心的情况下,即比丘误认为时间已到,而去向非亲戚关系、未作出许诺的在家者寻求雨浴衣,也算犯。
๕. ภิกษุให้จีวรแก่ภิกษุอื่นแล้ว โกรธ ชิงเอาคืนมาเองก็ดี ใช้ให้ผู้อื่นชิงมาก็ดี ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์
- 若比丘将袈裟送给其他比丘后,愤怒、不悦,自己拿回或命人拿回袈裟,犯舍堕。
การชิงเอาจีวรคืนเช่นนี้ ไม่จัดเป็นอวหาร การลักขโมยเพราะภิกษุชิงเอาด้วยสกสัญญา คือสำคัญว่าเป็นของของตน และท่านถือว่าภิกษุรูปเดิมนั้น ยังมีกรรมสิทธิ์ครอบครองอยู่
这种拿回袈裟的方式不属于偷盗,因为该比丘认为那是自己的东西而取回,佛陀认为原来的比丘还拥有该物的所有权。
หากจีวรที่ชิงเอานั้นมีราคาเกิน ๕ มาสก ก็คงเป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์ ไม่เป็นปาราชิก ภิกษุให้บริขารอย่างอื่นนอกจากจีวรแล้ว ชิงเอาคืนก็ดี ชิงเอาของที่ตนให้ทุกประเภทจากอนุปสัมบันก็ดี เป็น ทุกกฏ
如果拿回的袈裟超过五磨沙加,犯舍堕,而非犯波罗夷。如果比丘送其他比丘除袈裟以外的资具后,又拿回来也好;或拿回给予未受具戒者之物也好,皆犯恶作。
ภิกษุเป็นอาทิกัมมิกะในสิกขาบทนี้ คือ พระอุปนันทศากยบุตร
该戒的最初犯行者是优波难陀释子比丘。
๖. ภิกษุขอด้ายต่อคฤหัสถ์ที่ไม่ใช่ญาติ ไม่ใช่ปวารณา เอามาให้ช่างหูกทอจีวร ได้มาต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์
- 若比丘向非亲戚关系、未作出许诺的在家者求纱线,让织工裁制袈裟,犯舍堕。
ภิกษุผู้เป็นอาทิกัมมิกะในสิกขาบทนี้ คือ พระฉัพพัคคีย์
该戒的最初犯行者是六群比丘。
๗. ถ้าคฤหัสถ์ที่ไม่ใช่ญาติ ไม่ใช่ปวารณาสั่งให้ช่างหูกทอจีวร เพื่อถวายแก่ภิกษุ ถ้าภิกษุไปกำหนดให้เขาทำให้ดีขึ้นด้วยจะให้รางวัลแก่เขา ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์
- 若非亲戚关系、未作出许诺的在家者,命织工织袈裟供养比丘。如果比丘赠送礼物给织工,要求织工裁制得更精美些,犯舍堕。
ภิกษุผู้เป็นอาทิกัมมิกะในสิกขาบทนี้ คือ พระอุปนันทศากยบุตร
该戒的最初犯行者是优波难陀释子比丘。
๘. ถ้าอีก ๑๐ วันจะถึงวันปวารณา คือ ตั้งแต่ขึ้น ๖ ค่ำ เดือน ๑๑ ถ้าทายกรีบจะถวายผ้าจำนำพรรษาก็รับเก็บไว้ได้ แต่ถ้าเก็บไว้เกินกาลจีวรไป ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์
8.若还有十天到自恣日,即十一月上玄月初六起,有施主急着要供养守夏衣,比丘可以领受,但存放的时间如果超过时衣期限,犯舍堕。
กาลจีวรนั้น ดังนี้ ถ้าจำพรรษาแล้ว ไม่ได้กรานกฐิน นับแต่วันปวารณาไปเดือนหนึ่ง คือ ตั้งแต่แรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ถึงกลางเดือน ๑๒ ถ้าได้กรานกฐิน นับแต่วันปวารณาไป ๕เดือน คือ ตั้งแต่แรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ถึงกลางเดือน ๔
时衣期限的意思是如果雨安居后,未受持迦絺那衣,从自恣日起往后一个月,即十一月下玄月初一至十二月上玄月十五。若得受持迦絺那衣,从自恣日起往后五个月,即十一月下玄月初一至四月上玄月十五。
ผ้าจำนำพรรษา คือ ผ้าที่ทายกถวายแก่ภิกษุผู้จำพรรษาครบไตรมาสแล้วในช่วงจีวรกาล เรียกว่า ผ้าวัสสาวาสิกา
守夏衣指在时衣期限供养给圆满雨安居的比丘之布,亦称为安居施布。
ผ้าจำนำพรรษาหรือผ้าวัสสาวาสิกา ถ้าหากทายกมีความจำเป็น เช่น จะไปทัพ จะย้ายที่อยู่ เจ็บไข้ เป็นต้น จะถวายแก่ภิกษุก่อนจะถึงก่อนวันออกพรรษา ๑๐ วัน ทรงอนุญาตให้รับก่อนได้ เรียกว่า อัจเจกจีวร คือ จีวรเร่งด่วนหรือผ้าที่เขาด่วนถวาย
对于守夏衣或安居施布,如果施主有必要,例如:去参军、搬家、患病等,在出雨安居前十天,就要供养袈裟给比丘。佛陀允许比丘可以先领受,称之为特施衣,即施主匆忙供养的袈裟。
อัจเจกจีวรนี้ ภิกษุเก็บไว้ได้ตลอดกาลจีวร โดยไม่ต้องวิกัปป์ ถ้าพ้นเขตกาลจีวรแล้วไม่วิกัปป์ ผ้านั้นเป็นนิสสัคคีย์ ต้องสละเสีย
比丘可以在整个时衣期限存放特施衣,无需作为净施,但超过时衣期限后,不行净施,犯舍堕,必须舍弃。
๙. ภิกษุจำพรรษาในเสนาสนะป่าซึ่งเป็นที่เปลี่ยว ออกพรรษาแล้วอยากจะเก็บไตรจีวรผืนใดผืนหนึ่งไว้ในบ้าน เมื่อมีเหตุเก็บไว้ได้เพียง ๖ คืน เป็นอย่างยิ่ง ถ้าเก็บไว้เกินกว่านั้น ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่ได้สมมติ
9.若比丘在僻静的丛林住处雨安居,当安居结束后,他可以将三衣的其中一件存放在居士家里。当该比丘有原因而存放该衣,最多可以存放六夜,如果存放的时间超过该期限,除了僧团许可以外,犯舍堕。
เสนาสนะป่า คือ เสนาสนะที่ตั้งอยู่ห่างไกลจากบ้าน ๕๐๐ ชั่วธนู เท่ากับ ๒๕ เส้น(๑ กิโลเมตร) จัดเป็นเขตป่าในวินัยสงฆ์
丛林住处指距离居士家约一公里远的住处,属于戒律中的丛林区域。
ภิกษุที่อยู่ในป่าเช่นนี้ มักถูกโจรปล้น ฉะนั้น จะทรงอนุญาตให้ภิกษุใดเก็บไตรจีวรผืนใดผืนหนึ่ง ในบ้าน ๖ ราตรี ซึ่งตามปกติ ภิกษุจะอยู่ปราศจากไตรจีวรได้เพียงราตรีเดียว(ตามสิกขาบทที่ ๒ จีวรวรรค) และสิกขาบททรงอนุญาตเฉพาะเมื่อมีเหตุจำเป็นเท่านั้น ถ้าเก็บไว้หรือปราศจากเกิน ๖ ราตรี ผ้านั้นเป็นนิสสัคคีย์ ต้องสละเสีย
比丘住在这样的丛林中,常常被抢劫,因此,佛陀允许比丘可以将三衣的其中一件存放在居士家里六夜。通常情况下,比丘不能离开三衣过夜(袈裟品第二条戒),佛陀制定该戒的前提是要有适当的理由。如果存放或离开超过六夜,犯舍堕,必须舍弃。
๑๐. ภิกษุรู้อยู่ น้อมลาภที่เขาจะถวายสงฆ์มาเพื่อตน ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์
- 若比丘将明知是僧团的利养,却占为己有,犯舍堕。
ปัจจัย ๔ คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ เภสัช และกัปปิยภัณฑ์ (ของใช้สอย) อื่น ๆ ชื่อว่า ลาภ ภิกษุรู้อยู่ว่าลาภนั้นเขาตั้งใจนำถวายแก่สงฆ์ น้อม คือ เอ่ยปากขอตรง ๆ ก็ดีพูดเลียบเคียงให้เขาเปลี่ยนใจถวายตนแทนก็ดี ในขณะที่พูดเป็นอาบัติทุกกฎ ถ้าได้ลาภนั้นมาต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์
四事即袈裟、饮食、卧具、药物,以及其他应当物品(应购买之物),称之为利养。比丘明知是对方供养僧团的利养,却直接开口或以试探的口气,让对方改变心意,变成自己的利养,在说时犯恶作,在获得所得物后犯舍堕。
ภิกษุน้อมลาภเช่นนั้นให้แก่ภิกษุอื่น เป็นปาจิตตีย์ (ตามสิกขาบทที่ ๑๒ สหธรรมมิกวรรคปาจิตตีย์) น้อมลาภเช่นนี้ ให้สงฆ์แก่หมู่อื่นหรือแก่เจดีย์ เป็นทุกกฏ
如果比丘占有利养后供养其他比丘,犯单堕(遵循如法品的第十二条戒);在占有利养后,供养其他僧团或佛塔,犯恶作。
น้อมลาภที่ถวายเจดีย์หรือถวายแก่บุคคลให้สับกันเสีย เป็นทุกกฏ สิกขาบทนี้เป็นสจิตตกะ ไม่เป็นอาบัติแก่ผู้ไม่รู้ ถ้าสงสัยแล้วขืนทำเป็นอาบัติทุกกฎ เขาปรึกษาให้คำแนะนำไม่เป็นอาบัติ
将供养佛塔的利养与供养个人的利养互换,犯恶作,有心者犯,无心者不犯。如果心生疑虑而做犯恶作,给予建议的人不犯。
ภิกษุผู้เป็นอาทิกัมมิกะในสิกขาบทนี้ คือ พระฉัพพัคคีย์
该戒的最初犯行者是六群比丘。
นิสสัคคียปาจิตตีย์ ๓๐ สิกขาบทนี้ ท่านจัดเป็น ๓ หมวด คือ
佛陀将三十舍堕分成三组,即:
หมวดที่๑ เป็นนิสสัคคีย์โดยวัตถุ ต้องสละแก่สงฆ์ และสละเสียแล้ว จะนำมาใช้อีกไม่ได้
第一组:因物品而犯舍堕,需舍给僧团,当舍弃后,不可以再拿来使用。
หมวดที่ ๒ เป็นนิสสัคคีย์ โดยอาการของภิกษุ
第二组:因比丘的状态而犯舍堕。
หมวดที่ ๓ เป็นนิสสัคคีย์โดยล่วงเวลา
第三组:因超过时间期限而犯舍堕。
ของที่เป็นนิสัคคีย์ โดยอาการ และโดยล่วงเวลา สละแก่คณะหรือแก่บุคคลก็ได้ เมื่อสละแล้ว นำกลับมาใช้อีกได้ ยกเว้นสิกขาบทที่ ๒ แห่งปัตวรรค บาตรที่ขอต่อคนที่ไม่ใช่ญาติ ไม่ใช่ปวารณา ต้องสละแก่สงฆ์ ของที่เป็นนิสสัคคีย์ แต่สูญหายไป ภิกษุแสดงแต่อาบัติก็พ้นได้
因状态或超时的物品而犯舍堕,可以将物品舍给僧团或个人。当舍弃之后,可以再次拿来使用,除了僧钵品的第二条戒,向非亲戚关系、未作出许诺的在家者换取新钵,需舍给僧团。因物品而犯舍堕,若物品遗失,比丘只需忏悔就可出罪。
กัณฑ์ที่ ๗ ปาจิตตีย์ ๙๒
第七章:九十二单堕
ความหมาย
定义
คำว่า ปาจิตตีย์ แปลว่า การล่วงละเมิดที่ทำกุศลจิต กล่าวคือ กุศลธรรมของผู้จงใจล่วงละเมิดให้ตกไป หมายถึง สิ่งที่ทำให้จิตใจตกต่ำ เมื่อจิตใจตกต่ำก็ทำให้ดำเนินทางผิดต่ออริยมรรค
单堕指违犯后会使善法衰退,即让心堕落之事。如果心堕落,必将远离圣道。
ปาจิตตีย์จัดเป็นอาบัติที่มีสิกขาบทมากที่สุดในบรรดาอาบัติทั้งหลาย จัดเป็นลหุกาบัติ มีโทษเบา และจัดเป็นสเตกิจฉา ยังแก้ไขได้ ภิกษุต้องเข้าแล้ว ต้องแสดงอาบัติต่อหน้าสงฆ์ต่อหน้าคณะ หรือบุคคลอย่างใดอย่างหนึ่งก็พ้นได้ ไม่ต้องสละสิ่งของเรียกชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า สุทธิกปาจิตตีย์ แปลว่า ปาจิตตีย์ล้วน ๆ ไม่เกี่ยวด้วยสิ่งของ มีทั้งหมด ๙ วรรค ๙๒ สิกขาบท ดังนี้
单堕是诸品中拥有最多戒条的一品,属于轻罪,惩罚较轻,也属于可治之罪。若有比丘犯戒,可通过在僧团、组织或个人面前忏悔而出罪,无需舍去犯戒事物。又译作波逸提,即经忏悔可得清净,不必舍去事物。有九十二条戒,共分为九品,分别是:
๑. มุสาวาทวรรค หมวดว่าด้วยพูดปด มี ๑๐ สิกขาบท
一、妄语品,关于妄语的十条戒:
๑. ภิกษุพูดปด ต้องปาจิตตีย์
1.若比丘说谎,犯单堕。
คำว่า พูดปด หมายถึง การกล่าวเท็จทั้งที่รู้ตัวอยู่ มี ๒ ลักษณะ คือ
说谎在此指比丘故意撒谎,具有两个特征,即是:
๑. เรื่องจริงแต่ภิกษุจงใจพูด เขียน หรือแสดงท่าทางอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ส่ายหรือผงกศีรษะ เป็นต้น ให้เขาเข้าใจคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง ชื่อว่า พูดปด ในสิกขาบทนี้
1.事情真实,但比丘故意以说、写或行为姿势,如摇头或点头等,让对方对事实产生偏离。
๒. ภิกษุรับคำของผู้อื่นด้วยความจริงใจ ภายหลังทำไม่ได้ตามที่พูด เรียกว่า“ปฏิสสวะ” ฝืนคำที่รับปากเขาไว้ ปรับทุกกฏ ภิกษุพูดพลั้ง คือ พูดไปโดยไม่ทันยั้ง (ไม่ทันคิด) พูดพลาด คือ พูดด้วยความเข้าใจผิดไม่เป็นอาบัติ
2.真心答应他人,后来言而无信。违背原先的承诺,犯恶作。失言指无心而说;口误指误解而说。
ภิกษุผู้เป็นอาทิกัมมิกะในสิกขาบทนี้ คือ พระหัตถกศากยบุตร
该戒的最初犯行者是诃陀伽释迦子比丘。
๒. ภิกษุด่าภิกษุ ต้องปาจิตตีย์
2.若比丘辱骂比丘,犯单堕。
คำด่า หรือ โอมสวาท คือ คำพูดที่เสียดแทงให้ผู้อื่นเกิดความเจ็บใจ ซึ่งมีลักษณะ๒ อย่างคือ
辱骂或骂詈语指让人家感到痛心的言辞,具有两个特征,即是:
๑. แกล้งพูดยกยอประชดประชัน
1.故意奉承、讽刺挖苦。
๒. พูดเหยียดหยามกดให้ต่ำลง ด้วยคำหยาบ
2.以粗话侮辱,贬低对方。
อักโกสวัตถุ คือ เรื่องสำหรับยกขึ้นด่า มี ๑๐ อย่าง คือ
辱骂的事情有十种,分别是:
๑. ชาติกำเนิด
๒. ชื่อ
๓. โคตร
๔. การงาน
๕. ศิลปะ
๖. โรค
๗. รูปพรรณ
๘. กิเลส
๙. อาบัติ
๑๐. คำสบประมาทต่าง ๆ
1.出身
2.名
3.姓
4.行业
5.技艺
6.疾病
7.相貌
8.欲念
9.罪
10.卑下
ภิกษุด่าภิกษุโดยเจาะจงตัวเป็นปาจิตตีย์ ไม่เจาะจงตัวเป็นทุกกฏ ด่าแต่มุ่งจะล้อเล่นเป็นทุพภาสิต (อาบัติทุพภาสิตนี้มีมาในสิกขาบทนี้เท่านั้น)
比丘辱骂比丘特指犯单堕,而非犯恶作,出于开玩笑而辱骂犯恶说(恶说罪只出现在该戒)。
ภิกษุผู้เป็นอาทิกัมมิกะในสิกขาบทนี้ คือ พระฉัพพัคคีย์
该戒的最初犯行者是六群比丘。
๓. ภิกษุพูดส่อเสียดภิกษุ ต้องปาจิตตีย์
3.若比丘离间比丘,犯单堕。
ภิกษุจงใจพูดยุแหย่ให้ผู้อื่นแตกคอกัน เช่น นำคำของฝ่ายหนึ่งไปพูดให้อีกฝ่ายหนึ่งฟังแล้วนำคำของฝ่ายหลังกลับไปพูดให้ฝ่ายแรกฟัง จนทำให้เขาแตกสามัคคี ชื่อว่า พูดส่อเสียดภิกษุส่อเสียดภิกษุกับภิกษุให้แตกคอกัน เป็นปาจิตตีย์ ถ้าฝ่ายหนึ่งเป็นภิกษุ อีกฝ่ายหนึ่งไม่ใช่ภิกษุ หรือไม่ใช่ภิกษุทั้ง ๒ ฝ่าย เป็นทุกกฏ พูดโดยไม่ได้ตั้งใจจะให้เขาแตกแยกกันไม่เป็นอาบัติ
比丘故意挑拨使他人分裂,例如:将甲方的话告知乙方,然后将乙方的话告知甲方,破坏双方的和合,称之为离间。若有比丘离间比丘,使之产生分裂,犯单堕。如果一方为比丘,另一方非比丘,或双方非比丘,犯恶作。无意之说而使之产生分裂,则不犯。
ภิกษุผู้เป็นอาทิกัมมิกะในสิกขาบทนี้ คือ พระฉัพพัคคีย์
该戒的最初犯行者是六群比丘。
๔. ภิกษุสอนธรรมแก่อนุปสัมบัน ถ้าให้เขาว่าพร้อมกัน (กับตน) ต้องปาจิตตีย์
- 若比丘教未受具戒者法,让其(与自己)逐句同诵,犯单堕。
อนุปสัมบัน คือ ผู้ที่ไม่ได้รับการอุปสมบทเป็นพระภิกษุหรือภิกษุณี ได้แก่ สามเณร สามเณรี และอุบาสก อุบาสิกา ทั้งชายหญิงภิกษุสอนอนุปสัมบันให้กล่าวธรรมเป็นบท ๆ พร้อมกับตนไม่ว่าจะว่าพร้อมกันทั้งบทหรือว่าพร้อมกันบางส่วน คือ ว่าพร้อมกันหนึ่งอักขระ หรือหนึ่งพยัญชนะ ต้องปาจิตตีย์
未受具戒者指没有受具足戒而成为比丘或比丘尼者,例如:沙弥、沙弥尼、优婆塞、优婆夷。当比丘或比丘尼教授未受具戒者逐句同诵法,无论是同诵整章或同诵某一节,亦无论同诵的是文字或字母,犯单堕。
ภิกษุเป็นอาทิกัมมิกะในสิกขาบทนี้ คือ พระฉัพพัคคีย์
该戒的最初犯行者是六群比丘。
๕. ภิกษุนอนในที่มุงที่บังอันเดียวกับอนุปสัมบันเกิน ๓ คืน ต้องปาจิตตีย์
- 若比丘与未受具足戒者同宿超过三夜,犯单堕。
คำว่า นอนร่วม หมายถึง นอนในเครื่องลาดอันเดียวกัน หรือนอนในห้องเดียวกัน ซึ่งสามารถมองเห็นกันได้ในเวลานอน
同宿指睡在同一张床或房间。即在睡觉时,可以相互看见对方。
สิกขาบทนี้ ทรงบัญญัติขึ้นเพื่อไม่ให้อนุปสัมบันเห็นกิริยาอันน่าเกลียดของภิกษุในขณะนอนหลับ เบื้องต้น ทรงห้ามเด็ดขาดแต่เนื่องจากว่าสิกขาบทนี้ทำให้สามเณรราหุลไม่มีที่นอนจนต้องเข้าไปนอนในห้องน้ำของพระพุทธเจ้า ภายหลังจึงทรงผ่อนผันให้นอนร่วมได้ไม่เกิน ๓ คืนถ้านอนเกินกว่านี้ คือ แสงอรุณของวันที่ ๔ ขึ้นไป ต้องปาจิตตีย์ ถ้าออกไปก่อนสว่างและกลับมาเมื่อสว่างแล้ว ไม่เป็นอาบัติ
佛陀制定该戒是为了不想让未受具足戒者,看见比丘熟睡的丑态等。佛陀此前曾完全禁止,但出于罗睺罗沙弥为此而睡在佛陀的卫生间中,于是佛陀慈悲通融给予同睡,但不得超过三夜,如果超过期限,即在第四天黎明后离开,犯单堕。但如果在黎明前离开,天亮时回来则不犯。
สิกขาบทนี้เป็นอจิตตกะ แม้นับราตรีพลาดก็เป็นอาบัติ
这条戒在无心的情况下,即因算错夜晚而超时也算犯。
อนุปสัมบันในสิกขาบทนี้หมายเอาเฉพาะผู้ชายเท่านั้น
未受具足戒者在该戒中特指男人。
ภิกษุผู้เป็นอาทิกัมมิกะในสิกขาบทนี้ คือ ภิกษุชั้นนอกเมื่องอานังวี
该戒的最初犯行者是在阿罗毗城的比丘。
๖. ภิกษุนอนในที่มุงที่บังอันเดียวกับผู้หญิง แม้คืนแรก ต้องปาจิตตีย์
- 若比丘与女人同宿,就算是首夜,犯单堕。
หญิงในสิกขาบทนี้ หมายเอาหญิงมนุษย์ ตั้งแต่แรกเกิด ภิกษุนอนร่วมกับผู้หญิงไม่ว่าจะนอนพร้อมกันก็ดี นอนคนละครั้งก็ดี นอนแล้วลุกขึ้น แล้วกลับมานอนก็ดี ต้องปาจิตตีย์
该戒中的女人指从出生时便是人类女子。若有比丘与女人同睡;同床不同时;睡醒起身离开再回来睡,犯单堕。
ภิกษุเป็นอาทิกัมมิกะในสิกขาบทนี้ คือ พระอนุรุทธะ
该戒的最初犯行者是阿那律比丘。
๗. ภิกษุแสดงธรรมแก่หญิงเกิน ๖ คำขึ้นไป ต้องปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่มีบุรุษผู้รู้เดียงสาอยู่ด้วย
- 若比丘对女人说法超过六句,除了有智之男人在场以外,犯舍堕。
หญิงในที่นี้หมายเอาหญิงมนุษย์ผู้รู้เดียงสาพอรู้เข้าใจเนื้อความได้
该戒中的女人指有智之女子,能听明白对方的话。
วรรค行หนึ่ง ๆ เรียกว่า ๑ บาท小节(二行), ๑ บาท = ๑ คำ词, ๔ บาท หรือ คำ เป็นหนึ่งคาถา ภิกษุแสดงธรรมเกิน ๖ คำ คือ เกิน ๖ บาท (เกิน ๑ คาถา章节 กับ ๒ บาท) แก่หญิงคนเดียวหรือหลายคนที่ไม่มีผู้ชายรู้เดียงสาอยู่ด้วย ต้องปาจิตตีย์
๘. ภิกษุบอกอุตตริมนุสสธรรมที่มีจริงแก่อนุปสัมบัน ต้องปาจิตตีย์
- 若比丘真正具有上人法,而告诉未受具戒者,犯单堕。
สิกขาบทนี้ มีอธิบายคล้ายกับสิกขาบทที่ ๔ แห่งปาราชิก ต่างกันแต่อวดอุตตริมนุสสธรรมที่ตนไม่มี เป็นปาราชิก อวดอุตตริมนุสสธรรมที่ตนมี เป็นปาจิตตีย์ เพราะท่านถือว่าการโอ้อวดเป็นมลทินแห่งพรหมจรรย์
该戒的意思与波罗夷组的第四条戒相近,不同的只是如果自己不具有上人法,犯波罗夷,如果自己具有上人法,犯单堕。因为佛陀认为炫耀是梵行的缺点。
ภิกษุเป็นอาทิกัมมิกะในสิกขาบทนี้ คือ ภิกษุวัคคุมุทา
该戒的最初犯行者是婆裘摩的比丘。
๙. ภิกษุบอกอาบัติชั่วหยาบของภิกษุอื่นแก่อนุปสัมบัน ต้องปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่ได้สมมติ
- 若比丘将其他比丘犯粗罪之事,告诉未受具足戒者,除了僧团许可以外,犯单堕。
อาบัติชั่วหยาบในสิกขาบทนี้ ได้แก่ อาบัติปาราชิกและสังฆาทิเสส ทรงบัญญัติไว้เพื่อป้องกันไม่ให้ภิกษุเอาความเสียหายของภิกษุด้วยกันไปประจานแก่ผู้อื่น บอกอาบัติชั่วหยาบเป็นปาจิตตีย์ บอกอาบัตินอกนี้ เป็นทุกกฏ
粗罪指波罗夷罪和僧残罪。佛陀制定该戒是防止不让比丘,将其他比丘的罪状告诉他人。将粗罪告诉他人,犯单堕,将粗罪以外的罪告诉他人,犯恶作。
อนึ่ง แม้ภิกษุผู้ได้รับสมมติให้บอก ก็บอกได้เฉพาะเท่าที่สงฆ์กำหนดเท่านั้น คือ สงฆ์มอบหมายให้บอกอย่างไร บอกแก่ใคร ต้องบอกอย่างนั้น แก่คนนั้น ถ้าบอกเกินที่มอบหมายเป็นปาจิตตีย์เช่นกัน
另外,就算比丘得到同意可以告诉他人,也只能告诉僧团所规定的部分,即僧团规定可以说什么内容,可以告诉谁,就应该遵照规定而做。如果超过规定的内容,也犯舍堕。
ภิกษุผู้เป็นอาทิกัมมิกะในสิกขาบทนี้ คือ พระฉัพพัคคีย์
该戒的最初犯行者是六群比丘。
๑๐. ภิกษุขุดเองก็ดี ใช้ให้ผู้อื่นขุดก็ดี ซึ่งแผ่นดิน ต้องปาจิตตีย์
- 若比丘挖掘或命人挖掘土地,犯舍堕。
สมัยหนึ่ง ภิกษุเมืองอาฬวีทำการก่อสร้างกุฏิ จึงขุดดินเองบ้าง ใช้ผู้อื่นให้ขุดบ้างชาวบ้านมาพบเข้าจึงพากันตำหนิ ประกอบกับสมัยนั้นคนมีความเชื่อว่า แผ่นดินเป็นของมีชีวิตจึงทรงบัญญัติห้ามมิให้ภิกษุขุดดิน ในคัมภีร์วิภังค์จำแนกแผ่นดินไว้ ๒ ประเภท คือ
昔日,阿罗毗城的比丘为了修建讲堂,自己挖掘土地,也叫别人挖掘土地,因而受居士的批评。因为当时的人认为土地是有生命的,于是佛陀禁止比丘挖掘土地。在经典《分别论》中,土地可以分为两个种类,即是:
๑) แผ่นดินแท้ (ชาตปฐพี) ได้แก่ ดินล้วน ไม่มีกรวด หิน ทราย หรือของอื่นปนหรือมีบ้างก็เพียงบางส่วน
(1)真正的土地(生地):纯土壤的土地,没有砾、石、砂或其他东西,就算有也是一小部分。
๒) แผ่นดินไม่แท้ (อชาตปฐพี) ได้แก่ หิน ทราย หรือ กรวดล้วน ๆ หรือมีดินปนนิดหน่อย
(2)非真正的土地(非生地):纯石、纯砂、纯砾,或混合有一些土壤。
ภิกษุขุดชาตปฐพีจึงเป็นอาบัติ ขุดอชาตปฐพีไม่เป็นอาบัติ
比丘挖掘生地则犯,挖掘非生地不犯。
๒. ภูตคามวรรค หมวดว่าด้วยการพรากภูตคาม ๑๐ สิกขาบท
二、草木品,关于伐草木的十条戒:
๑. ภิกษุพรากของเขียวซึ่งเกิดอยู่กับที่ ให้หลุดจากที่ ต้องปาจิตตีย์
1.若比丘砍伐绿色植物,犯单堕。
ของเขียวในสิกขาบทนี้ เรียกชื่อว่า ภูตคาม หมายเอา ต้นไม้และพืชพันธุ์ต่างๆที่เกิดอยู่กับที่ ๕ ชนิด คือ
该戒中的绿色植物指草木,分别有五类种生:
๑) พืชที่ขยายพันธุ์ด้วยเหง้าหรือหัว เช่น ขมิ้น ขิง ข่า เป็นต้น
(1)根种:姜黄、生姜、良姜属等。
๒) พืชที่ขยายพันธุ์จากลำต้น ด้วยการตอนกิ่งหรือนำกิ่งไปปลูกได้ เช่น ต้นโพธิ์ ต้นไทร ต้นมะเดื่อ
(2)茎种:菩提树、榕树、无花果树等。
๓) พืชที่ขยายพันธุ์ด้วยตา หรือข้อ เช่น อ้อย มันสำปะหลัง ไม้ไผ่ เป็นต้น
(3)节种:甘蔗、木薯、竹子等。
๔) พืชที่ขยายพันธุ์ด้วยยอด เช่น ผักบุ้งล้อม แมงลัก กะเพรา เป็นต้น
(4)枝种:空心菜、罗勒、零陵香等。
๕) พืชที่ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด เช่น ข้าว ถั่ว งา เป็นต้น
(5)种子种:禾苗、豆子、芝麻等。
คำว่า พราก คือ ขุด ถอนรากหรือเหง้า ตัดกิ่ง เด็ดยอด ถอนทั้งต้น ของภูตคามที่เกิดอยู่กับที่เองก็ดี ใช้คนอื่นพรากก็ดี ต้องปาจิตตีย์ พรากพีชคาม คือ พืชพันธุ์อันถูกพรากจากที่แล้วแต่ยังจะปลูกได้อีก เป็นทุกกฏ
砍伐指无论是自己或让他人挖、斩茎或根;断枝干;采摘芽尖;砍伐整棵植物,皆犯单堕。离植物,即如果被砍伐的植物还可以再次栽种,则犯恶作。
สิกขาบทนี้เกิดจากภิกษุชาวเมืองอาฬวีเที่ยวตัดต้นไม้มาสร้างกุฎีเบียดเบียนเทวดา ที่สถิตย์อยู่ตามต้นไม้ ภายหลังเทวดามาฟ้องพระพุทธเจ้าถึงความเดือนร้อนของตนและตำหนิ การตัดต้นไม้ของภิกษุว่าไม่สมควร จึงทรงบัญญัติสิกขาบทข้อนี้ขึ้น
昔日,阿罗毗城的比丘为了修建僧舍而伐树,侵扰树居天人。后来,树居天人来到佛陀前诉苦,认为比丘不应伐树,这便是制戒的因缘。
ภิกษุผู้เป็นอาทิกัมมิกะในสิกขาบทนี้ คือ ภิกษุชาวเมืองอาฬวี
该戒的最初犯行者是阿罗毗城的比丘。
๒. ภิกษุประพฤติอนาจาร สงฆ์เรียกตัวมาถาม แกล้งพูดกลบเกลื่อนก็ดี นิ่งเสียไม่พูดก็ดี ถ้าสงฆ์สวดประกาศห้ามข้อความนั้นจบ ต้องปาจิตตีย์
2.若比丘行不正行,僧团询问时,试图找借口掩盖或沉默不语,当僧团为禁止不正行而诵完羯磨时,犯单堕。
คำว่า ภิกษุประพฤติอนาจาร คือ ประพฤติไม่ดีไม่งาม ไม่หมาะสมแก่สมณเพศ แยกเป็น ๓ ประเภท คือ
比丘行不正行,指非庄严之威仪,不符合沙门的身份,分为三种:
๑. การเล่นต่าง ๆ เช่น เล่นเหมือนเด็ก
1.各种玩耍:如小孩一般耍闹。
๒. การร้อยดอกไม้
2.编串花朵。
๓. การเรียนดิรัจฉานวิชา เช่น ใบ้หวย ทำเสน่ห์ เป็นต้น
3.修持畜生明:暗示彩票开彩号码、施迷魂术等。
ภิกษุประพฤติอนาจารแล้ว ถูกชักถามในท่ามกลางสงฆ์ไม่ให้การตามตรง กลับพูดเรื่องอื่นกลบเกลื่อนเสีย ทรงอนุญาตให้สงฆ์สวดอัญญาวาทกรรมหรือวิเสสกกรรม“已知论羯磨”或“别论羯磨”แก่เธอ อีกอย่างหนึ่ง เมื่อถูกซักถามแล้วกลับนิ่งเสียไม่พูด ทรงอนุญาตให้สวดอเวหสกรรมแก่เธอ ถ้าสงฆ์สวดประกาศอย่างใดอย่างหนึ่งจบ เป็นปาจิตตีย์
当比丘行不正行而被僧团询问时,找借口试图不承认,佛陀允许僧团向其诵อัญญาวาทกรรมหรือวิเสสกกรรม。另外,如果比丘被询问却沉默不语,佛陀允许僧团向其诵อเวหสกรรม,当僧团诵完任何一种时,犯单堕。
ภิกษุประพฤติอนาจาร แต่สงฆ์ยังไม่ได้สวดกรรม เป็นทุกกฏ
比丘行不正行,但僧团还未诵羯磨,犯恶作。
สิกขาบทนี้ทรงบัญญัติขึ้น เพื่อเป็นแบบสำหรับไต่สวนอธิกรณ์ ที่จำเลยให้การโยกโย้หรือนั่งนิ่ง ทำให้สงฆ์ผู้พิจารณาลำบากในการสอบสวน
佛陀制定该戒是为询问诤事规定程序,以防被告者说话反复无常或沉默不语,使僧团在询问过程中困难重重。
ภิกษุเป็นอาทิกัมมิกะในสิกขาบทนี้ คือพระฉันทะ
该戒的最初犯行者是阐陀比丘。
๓. ภิกษุติเตียนภิกษุอื่นที่สงฆ์สมมติ (แต่งตั้ง) ให้เป็นผู้ทำการกสงฆ์ ถ้าเธอทำโดยชอบ ติเตียนเปล่า ๆ ต้องปาจิตตีย์
3.若比丘批评受僧团选任办事之比丘,如果办事者如法行事,却被平白无故的批评,犯单堕。
ภิกษุอื่นที่สงฆ์สมมติ หมายถึง ภิกษุผู้มีความสามารถที่สงฆ์สมมติ คือ ลงมติแต่งตั้งให้ทำกิจสงฆ์ซึ่งเป็นธรรมเนียมของสงฆ์ที่จะแต่งตั้งให้ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งรับทำกิจของสงฆ์ เช่น แต่งตั้งให้เป็นภัตตุทเทสก์มีหน้าที่จัดแจงเรื่องกิจนิมนต์เป็นต้น ถ้าภิกษุผู้ได้รับสมมตินั้นทำหน้าที่ได้ถูกต้องชอบธรรมแล้ว แต่ภิกษุบางรูปไม่พอใจ ติเตียนเธอต่อหน้าภิกษุอื่นหรือบ่นว่าแต่ผู้เดียว ต้องปาจิตตีย์
僧团选任办事之比丘指依照僧团惯例,会指定一位有能力的比丘,处理僧团的日常事务。例如选任某位比丘为管斋人,负责管理日常的受邀事宜等等。如果被选任的比丘如法行事,却有些比丘不满意,在其他比丘面前进行批评或抱怨,犯单堕。
ถ้าติเตียนหรือบ่นว่าต่อหน้าอนุปสัมบัน ต้องทุกกฏ ติเตียนภิกษุผู้ทำหน้าที่ไม่ชอบธรรมจริง ๆ ไม่เป็นอาบัติ
如果当未受具戒者的面批评或抱怨,犯恶作;批评不如法行事的比丘,则不犯。
ภิกษุผู้เป็นอาทิกัมมิกะในสิกขาบทนี้ คือ พระเมตติยะและพระภุมมชกะ
该戒的最初犯行者是慈比丘和地比丘。
๔. ภิกษุเอาเตียง ตั่ง ฟูก เก้าอี้ ของสงฆ์ไปตั้งในที่แจ้งแล้ว เมื่อหลีกไปจากที่นั้น ไม่เก็บเองก็ดี ไม่ใช้ให้ผู้อื่นเก็บก็ดี ต้องปาจิตตีย์
4.若比丘在露天处铺设僧团的床、凳子、床垫、椅子,当他离开时没有收,或没有令人帮收,犯单堕。
สิกขาบทนี้ทรงบัญญัติขึ้นเพื่อให้ภิกษุรู้จักรับผิดชอบ และช่วยกันดูแลของสงฆ์ไม่ให้ เสียหาย (ภาษาเดิมใช้คำว่า ฉิบหาย ซึ่งมีความหมายว่า เสียหาย แต่ไม่ใช่คำด่าหรือคำอุทานที่ใช้กันอยู่ในปัจุบัน) ภิกษุนำของอื่นที่มิใช่ของสงฆ์ หรือวัตถุอื่นจากที่ระบุไว้ ออกไปแล้วไม่เก็บต้องทุกกฏ ภิกษุนั่งอยู่ก่อน มีผู้อื่นมานั่งภายหลัง ภิกษุลุกไปแล้ว แต่เธอยังนั่งอยู่ก็ดี เกิดเหตุฉุกเฉินต้องรีบไปกะทันหันก็ดี ไม่เป็นอาบัติ
佛陀制定该戒是为了让比丘负起责任,共同维护僧团的财产,使之不被损坏。如果比丘将非僧团的东西或除上述以外的物品,拿到外面铺设而不收回,犯恶作;如果比丘先坐,后有比丘来坐,后来的比丘先行离开,但该比丘还坐在原地也好;或者有紧急事情而离开也好,皆不犯。
๕. ภิกษุเอาที่นอนของสงฆ์ปูนอนในกุฎีสงฆ์แล้ว เมื่อหลีกไปจากที่นั่น ไม่เก็บเองก็ดี ไม่ใช้ให้ผู้อื่นเก็บก็ดี ไม่มอบหมายแก่ผู้อื่นก็ดี ต้องปาจิตตีย์
- 若比丘在僧舍中铺设卧具睡觉,当他离开时没有收;没有令人帮收;也没有委托别人代收,犯单堕。
ที่นอน ในที่นี้หมายถึง ฟูก เสื่อ ผ้าปูนอน และของอย่างอื่นที่ใช้ในการนอน ถ้าเป็นของสงฆ์ ปูนอนในกุฎีสงฆ์แล้วไม่เก็บเป็นปาจิตตีย์ ปูนอนในกุฎีของบุคคลอื่นเป็นทุกกฏ ปูนอนในกุฎีของตนไม่ต้องอาบัติ
卧具在此指床垫、席子、被单或其他相关的东西。如果卧具属于僧团,比丘在僧舍中铺设卧具睡觉而不收,犯单堕。在他人的僧舍中铺设卧具睡觉犯恶作,在自己的僧舍中铺设卧具睡觉则不犯。
ภิกษุผู้เป็นอาทิกัมมิกะในสิกขาบทนี้ คือ พระสัตตรสวัคคีย์ (มีพวก ๑๗ รูป)
该戒的最初犯行者是十七群比丘。
๖. ภิกษุรู้อยู่ว่ากุฎีนี้มีผู้อยู่ก่อน แกล้งไปนอนเบียด ด้วยหวังจะให้ผู้อยู่ก่อนคับแคบใจเข้า ก็จะหลีกไปเอง ต้องปาจิตตีย์
6.若比丘明知僧舍中已有比丘入住,却故意挤进去同住,以此期望先入住之比丘生郁闷而自动离去,犯单堕。
ภิกษุรู้อยู่ว่ากุฎีหรือวิหารนั้นเป็นของสงฆ์ และมีภิกษุแก่กว่าหรือมีภิกษุไข้เข้าอยู่ก่อนเข้าไปนอนเบียด หรือนอนแทรกแซงใกล้เตียงหรือตั่ง หรือใกล้ทางเข้าออก โดยไม่มีเหตุอย่างอื่นเป็นปาจิตตีย์ นอนเบียดในที่ของบุคคลที่ไม่ใช่ของตน เป็นทุกกฏ ถ้ามีเหตุจำเป็น เช่น ป่วยไข้ไม่สบาย หรือมีอันตรายหรือนอนเบียดในที่อยู่ของตนไม่เป็นอาบัติ
如果有比丘明知僧舍或禅堂属于僧团,同时有年长的比丘或患病的比丘先入住,却故意挤进去同睡;或靠近床、凳子而睡;或靠近出入口而睡;没有其它理由,犯单堕。挤睡在属于他人而非自己的位置,犯恶作。如果有适当的理由,例如:患病、有危险或挤睡在自己的位置,则不犯。
ภิกษุผู้เป็นอาทิกัมมิกะในสิกขาบทนี้ คือ พระฉัพพัคคีย์
该戒的最初犯行者是六群比丘。
๗. ภิกษุโกรธเคืองภิกษุอื่น ฉุดคร่าออกจากกุฎีสงฆ์ ต้องปาจิตตีย์
7.若有比丘愤怒其他比丘,而将其驱赶出僧舍,犯单堕。
ภิกษุทำเองหรือใช้ให้ผู้อื่นทำ เป็นปาจิตตีย์ ขนเอาเฉพาะบริขารออกไปเป็นทุกกฏ ถ้าฉุดคร่าสัทธิวิหาริกหรืออันเตวาสิกผู้ประพฤติชั่วหยาบ หรือฉุดคร่าภิกษุผู้ไม่สมควรจะให้อยู่ออกจากสำนักของตน ไม่เป็นอาบัติ
无论是比丘自己驱赶还是命人驱赶,皆犯单堕;只是将资具搬出,犯恶作。如果将行为不检的剃度徒弟或依止徒弟,或者不配居住的一般比丘,强行驱赶出去,则不犯。
ภิกษุผู้เป็นอาทิกัมมิกะในสิกขาบทนี้ คือ พระฉัพพัคคีย์
该戒的最初犯行者是六群比丘。
๘. ภิกษุนั่งทับก็ดี นอนทับก็ดี บนเตียงก็ดี บนตั่งก็ดี อันมีเท้าไม่ได้ตรึงให้แน่น ซึ่งเขาวางไว้บนร่างร้าน (สองชั้น) ที่เขาเก็บของในกุฎี ต้องปาจิตตีย์
8.若比丘在僧舍的阁楼上,坐或躺在脱脚床或脱脚凳子上,犯单堕。
สมัยก่อนจะนิยมทำร่างร้าน ๒ ชั้น ไว้นวิหารสงฆ์ชั้นบนจะไม่ปูพื้น แต่ทำคานไว้ เวลาจะใช้ภิกษุจะนำเอาเตียงขึ้นพาดทำเป็นพื้น เตียงนั้นมีหลายชนิด แต่ในสิกขาบทนี้หมายเอาเตียงชนิด อาหัจจบาท คือ มีขาเสียบติดไว้กับแม่แคร่ไม่มีสลักยึดสามารถถอดได้ เมื่อนำไปพาดบนคาน ขาทั้ง ๔ ก็จะพ้นลงมาด้านล่าง ถ้านั่งกระแทกแรง ๆ ขาเตียงก็จะหล่นลงมาถูกภิกษุที่อยู่ชั้นล่าง ฉะนั้น เพื่อป้องกันอันตรายแก่ภิกษุที่อยู่ชั้นล่าง จึงทรงบัญญัติสิกขาบทนี้ไว้
以前阁楼上未铺地板,只是一个框架而已。在使用时,比丘会搬床上去当作地板。床有很多种类型,但在该戒中指脱脚床,即插有四个脚的床,无插梢,可以拆开。当搬上阁楼后,如果用力坐上去,床的四支脚会脱落而掉下来,砸到下面的比丘。因此,为防止住在下面的比丘发生危险,佛陀制定了该戒。
๙. ภิกษุจะเอาดินหรือปูนโบกหลังคากุฎี พึงโบกได้เพียง ๓ ชั้น ถ้าโบกเกินกว่านั้นต้องปาจิตตีย์
9.若比丘用土或水泥盖僧舍的屋顶,只能盖三层,如果超过限定,犯单堕。
ภิกษุสร้างกุฎีเอาดินหรือปูนโบกหลังคากุฎีมากเกินไป จะทำให้กุฎีรับน้ำหนักไม่ไหวเสี่ยงต่ออันตราย จึงทรงห้ามด้วยสิกขาบทนี้
如果有比丘用土或水泥盖僧舍的屋顶超过三层,会让僧舍无法负荷而倒塌,从而带来种种危险,这也是佛陀制定该戒的缘起。
ภิกษุผู้เป็นอาทิกัมมิกะในสิกขาบทนี้ คือ พระฉันนะ
该戒的最初犯行者是阐陀比丘。
๑๐. ภิกษุรู้อยู่ (ว่า) น้ำมีตัวสัตว์ เอารดหญ้าหรือดิน ต้องปาจิตตีย์
10.若比丘明知道水中有生物,却将水倾倒在草或土上,犯单堕。
น้ำมีตัวสัตว์ หมายถึง น้ำนั้นมีสัตว์เล็ก ๆ เช่น ลูกน้ำ ภิกษุรู้อยู่ว่าน้ำนั้นมีตัวสัตว์รดเองหรือใช้ให้คนอื่นรดหญ้าหรือดิน ต้องปาจิตตีย์ สิกขาบทนี้เป็นสจิตตกะ แม้น้ำมีตัวสัตว์ภิกษุสำคัญว่าไม่มี รดน้ำลงไป ไม่เป็นอาบัติ
水中有生物指水中的微生物,如蚊子的幼虫。如果比丘明知道水中有生物,却自己或命人将水倾倒在草或土上,犯单堕。有心违犯的比丘犯,如果水中有生物,但比丘以为没有而倾倒,则不犯。
ภิกษุเป็นอาทิกัมมิกะในสิกขาบทนี้ คือ พวกภิกษุชาวเมืองอานังวี
该戒的最初犯行者是在阿罗毗城的比丘。
๓. โอวาทวรรค หมวดว่าด้วยเรื่องสั่งสอนภิกษุณี ๑๐ สิกขาบท
三、 教诫品,关于教导比丘尼的十条戒:
๑. ภิกษุที่สงฆ์ไม่ได้สมมติ (ไม่ได้แต่งตั้ง) สั่งสอนนางภิกษุณี ต้องปาจิตตีย์
- 若有比丘未经僧团选任而教诫比丘尼,犯单堕。
ภิกษุที่ยังไม่ได้รับสมมติจากสงฆ์ คือ ผู้ที่สงฆ์ยังไม่ได้สวดแต่งตั้งด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจา สั่งสอนครุธรรม ๘ ประการ แก่นางภิกษุณี ต้องปาจิตตีย์ สั่งสอนธรรมอย่างอื่น ต้องทุกกฏ สั่งสอนภิกษุณีที่อุปสมบทในสงฆ์ฝ่ายเดียว ต้องทุกกฏ
未经僧团选任的比丘指未经过僧团以诵白四羯磨而委任之比丘,却教诫比丘尼八敬法,犯单堕。教诫其他法,犯恶作,只有比丘僧团或比丘尼僧团的其中一方教诫比丘尼,犯恶作。
ภิกษุผู้เป็นอาทิกัมมิกะในสิกขาบทนี้ คือ พระฉัพพัคคีย์
该戒的最初犯行者是六群比丘。
คุณสมบัติของภิกษุผู้ที่ควรได้รับสมมติให้สอนนางภิกษุณี ดังนี้
可教诫比丘尼之比丘应具备八法,分别是:
๑. เป็นผู้มีศีลสำรวมในพระปาติโมกข์
1.依波罗提木叉之律仪,摄身而住者。
๒. เป็นพหูสูต มีความรู้ดี
2.博学多闻者。
๓. รู้พระปาติโมกข์ทั้งของภิกษุ และของภิกษุณี โดยแจ่มแจ้ง
3.清楚明了比丘及比丘尼之波罗提木叉者。
๔. เป็นผู้มีวาจาเรียบร้อย
4.具足威仪者。
๕. เป็นผู้ที่ภิกษุณีชื่นชอบในการแสดงธรรม
5.使比丘尼闻法而生欢喜者。
๖. เป็นผู้สามารถสอนนางภิกษุณีได้
6.有能力教导比丘尼者。
๗. เป็นผู้ไม่เคยมีความสัมพันธ์ฉันชู้สาวกับภิกษุณี และไม่เคยล่วงครุธรรมกับนางภิกษุณี
7.不曾与比丘尼有暧昧关系。
๘. มีพรรษาไม่น้อยกว่า ๒๐ พรรษาขึ้นไป
8.出家戒腊不少于二十年者。
๒. แม้ภิกษุที่สงฆ์สมมติแล้ว ตั้งแต่อาทิตย์อัสดง (ตกดิน) ไปสอนภิกษุณี ต้องปาจิตตีย์
- 虽是被选任的比丘,但若日落后还在教诫比丘尼,犯单堕。
ภิกษุผู้เป็นอาทิกัมมิกะในสิกขาบทนี้ คือ พระจูฬปันถกเถระ
该戒的最初犯行者是周罗半托迦长老比丘。
๓. ภิกษุเข้าไปสอนภิกษุณีถึงในที่อยู่ ต้องปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่ภิกษุณีป่วยไข้
- 若比丘前往比丘尼的住处教诫比丘尼,除非比丘尼患病,犯单堕。
ภิกษุผู้เป็นอาทิกัมมิกะในสิกขาบทนี้ คือ พระฉัพพัคคีย์
该戒的最初犯行者是六群比丘。
๔. ภิกษุติเตียนภิกษุอื่นว่า สอนภิกษุณีเพราะเห็นแก่ลาภ ต้องปาจิตตีย์
- 若比丘如是说:“长老比丘是为了利养而教诫诸比丘尼”,犯单堕。
ภิกษุผู้เป็นอาทิกัมมิกะในสิกขาบทนี้ คือ พระฉัพพัคคีย์
该戒的最初犯行者是六群比丘。
๕. ภิกษุให้จีวรแก่นางภิกษุณีที่มิใช่ญาติ ต้องปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่แลกเปลี่ยนกัน
- 若比丘送袈裟给非亲戚关系的比丘尼,除了相互交换以外,犯单堕。
๖. ภิกษุเย็บจีวรของนางภิกษุณีที่ไม่ใช่ญาติเองก็ดี ใช้ให้ผู้อื่นเย็บก็ดี ต้องปาจิตตีย์
- 若比丘缝制或命人缝制袈裟给非亲戚关系的比丘尼,犯单堕。
ภิกษุผู้เป็นอาทิกัมมิกะในสิกขาบทนี้ คือ พระอุทายี
该戒的最初犯行者是优陀夷比丘。
๗. ภิกษุชวนนางภิกษุณีเดินทางด้วยกัน แม้สิ้นระยะบ้านหนึ่ง ต้องปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่ทางเปลี่ยว
- 若比丘约比丘尼同道而行,即使是在村落之间,除了偏僻之路以外,犯单堕。
๘. ภิกษุชวนนางภิกษุณีลงเรือลำเดียวกัน ขึ้นน้ำก็ดี ล่องน้ำก็ดี ต้องปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่ข้ามฟาก
- 若比丘约比丘尼搭乘同一条船,往上航行或往下航行,除了横渡河面以外,犯单堕。
ภิกษุผู้เป็นอาทิกัมมิกะ ในสิกขาบทนี้ คือ พระฉัพพัคคีย์
该戒的最初犯行者是六群比丘。
๙. ภิกษุรู้อยู่ฉันของเคี้ยวของฉันที่นางภิกษุณีแนะนำให้คฤหัสถ์เขาถวาย ต้องปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่คฤหัสถ์เขาเริ่มไว้ก่อน
- 若比丘明知是比丘尼去周旋在家者供养之嚼食或噉食,除了在家者事先预备以外,犯单堕。
คำว่า แนะนำให้ถวาย คือ เขาไม่ประสงค์จะถวาย แต่นางภิกษุณีไปพูดจาหว่านล้อมหรือบังคับให้เขาถวาย ภิกษุรับภัตตาหารเช่นนี้ เป็นทุกกฏ ถ้าบริโภคเป็นปาจิตตีย์ทุก ๆ คำกลืน เว้นไว้แต่ของนั้นเขาตั้งใจจะถวายภิกษุนั้นอยู่แล้ว
周旋供养指在家者并非想要供养,而是比丘尼说服或强迫在家者供养,如果比丘接受这样得来的食物,犯恶作;如果食用食物,咽下每一口都犯单堕。除非那些食物,是在家者自愿供养的。
ภิกษุผู้เป็นอาทิกัมมิกะในสิกขาบทนี้ คือ พระเทวทัต
该戒的最初犯行者是提婆达多比丘。
๑๐. ภิกษุนั่งก็ดี นอนก็ดี ในที่ลับสองต่อสองกับภิกษุณี ต้องปาจิตตีย์
- 若比丘和比丘尼单独坐在或睡在隐密处,犯单堕。
สิกขาบทในโอวาทวรรคนี้ทรงบัญญัติขึ้นเพื่อป้องกันความประพฤติเสียหายของภิกษุ อันจะเกิดจากการวางตนไม่สมควรต่อนางภิกษุณี
佛陀制定该戒是为了防止比丘有过失行为,在比丘尼面前威仪不庄严。
ภิกษุผู้เป็นอาทิกัมมิกะในสิกขาบทนี้ คือ พระอุทายี
该戒的最初犯行者是优陀夷比丘。
ข้อควรรู้เพิ่มเติม
备注:
๑. ภิกษุณีรูปแรกในพระพุทธศาสนา คือ พระนางปชาบดีโคตรมี
1.佛教首位比丘尼:波阇波提比丘尼。
๒. การบวชนางภิกษุณีนั้นต้องบวชด้วยสงฆ์สองฝ่าย เรียกว่า อัฏฐวาจิกาอุปสัมปทา
- 女众出家需在比丘众和比丘尼众双方受戒,称为八法受戒。
๓. ภิกษุณีผู้ได้รับอุปสมบทในภิกษุสงฆ์ฝ่ายเดียว หรือในภิกษุณีฝ่ายเดียว เรียกว่า เอกโตอุปสัมปันนา ถ้าบวชครบสงฆ์สองฝ่าย เรียกว่า อุภโตอุปสัมปันนา
- 出家者若只在比丘众或比丘尼众一方受戒,称为:一方受戒,如果双方受戒则称为两方受戒。
๔. ผู้หญิงที่ได้รับการบรรพชาเป็นสามเณร เรียกว่า สามเณรี
- 受沙弥戒之女子,称为沙弥尼。
๕. สามเณรีที่อยู่ระหว่างการอบรมตน สมาทานศีล ๖ ข้อ เป็นเวลา ๒ ปี เพื่ออุปสมบทเป็นนางภิกษุณี กล่าวคือ ผู้ที่จะบวชเป็นนางภิกษุณีนั้น จะต้องให้ภิกษุสงฆ์สวดให้สิกขาสมมติ คือ สวดให้สมาทานศีล ๖ คือ ตั้งแต่ ข้อ ๑ ปาณาติปาตา เวรมณี จนถึง ข้อ ๖ วิกาลโภชนา เวรมณี ให้รักษาเคร่งครัดไม่ให้ขาดเป็นเวลา ๒ ปีเต็ม ถ้าล่วงละเมิดข้อใดข้อหนึ่งต้องสมาทาน ตั้งต้นนับใหม่ เมื่อครบ ๒ ปีแล้ว จึงขออุปสมบทเป็นภิกษุณีได้ ในระหว่างที่สมาทานสิกขาบท ๖ ประการ เคร่งครัดอยู่นี้ เรียกว่า สิกขมานา
5.沙弥尼在学法受训期间,须受持六法戒两年,才能进受比丘尼戒。即要受戒成为比丘尼的女众,需先让比丘众受六法戒,从第一条不杀生戒直至第六条不非时食。必须在两年内受持六法不犯,若在两年中,犯其中一法,需重新再受持六法两年,才可请求受比丘尼戒。在两年受持六法戒期间,称为式叉摩那,义译为学法女。
๖. ภิกษุณีถือศีลทั้งหมด ๓๑๑ ข้อ
6.比丘尼须受持三百一十一条戒。
๔. โภชนวรรค หมวดว่าด้วยการฉันอาหาร ๑๐ สิกขาบท
四、 食物品,关于饮食的十条戒:
โภชนะ ๕ อย่าง คือ
五种正食,分别是:
๑. ข้าวสุก ได้แก่ ธัญชาติทุกชนิดที่หุงสุกแล้ว
1.饭:成熟的各种谷物。
๒. กุมมาส ได้แก่ ขนมสดทุกชนิด เก็บไว้นานจะเสีย
2.饼:各种新鲜糕点,久存会变坏。
๓. สัตตุ ได้แก่ ขนมแห้งทุกชนิด เก็บไว้นานจะเสีย
3.面:各种干点心,久存会变坏。
๔. ปลา ได้แก่ ปลา และสัตว์น้ำทุกชนิด
4.鱼:鱼类以及水中的各种生物。
๕. เนื้อ ได้แก่ เนื้อสัตว์บกทุกชนิด
5.肉:各种陆地动物的肉。
ส่วนผลไม้ หัวหรือเหง้าของพืชต่าง ๆ เช่น เผือก มัน เป็นต้น เรียกว่า ขาทนียะ ของขบเคี้ยว ไม่จัดเป็นโภชนะ แต่จัดเป็นอาหารเหมือนกัน
至于水果,即各种植物的根茎,例如:芋头、番薯等,称为咀嚼的食物,不归为正食,但也属于食物。
๑. อาหารในโรงทานที่ทั่วไปไม่นิยมบุคคล ภิกษุไม่เจ็บไข้ ฉันได้แต่เพียงวันเดียวแล้ว ต้องหยุดเสียในระหว่าง ต่อไปจึงฉันได้อีก ถ้าฉันติด ๆ กันตั้งแต่ ๒ วันขึ้นไป ต้องปาจิตตีย์
1.无病比丘只能在施食处取食一天,必须相隔而取食,若接连两天以上(含两天)取食,犯单堕。
อาหารในสิกขาบทนี้ ท่านหมายเอาโภชนะทั้ง ๕ ข้างต้น ที่เขาจัดเตรียมไว้ในโรงทาน เพื่อบริการแก่สาธารณชน ภิกษุเข้าไปฉันอาหารในโรงทานนี้ได้เพียงวันเดียว ถ้าฉันติดต่อกัน ๒ วันขึ้นไป ต้องปาจิตตีย์ ฉันวันเว้นวันเรื่อยไป ไม่เป็นอาบัติ
该戒的食物特指五正食。施主在施食处备好食物,是为了提供民众,比丘只能在这种施食处取食一天,如果连续两天以上(含两天)取食,犯单堕,相隔一天取食则不犯。
ภิกษุผู้เป็นอาทิกัมมิกะในสิกขาบทนี้ คือ พระฉัพพัคคีย์
该戒的最初犯行者是六群比丘。
๒. ถ้าทายกเขามานิมนต์ ออกชื่อโภชนะทั้ง ๕ อย่างใดอย่างหนึ่ง ถ้าไปรับของนั้นมาหรือฉันของนั้น พร้อมกันตั้งแต่ ๔ รูปขึ้นไป ต้องปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่สมัย คือเป็นไข้อย่างหนึ่ง หน้าจีวรกาลอย่างหนึ่ง เวลาทำจีวรอย่างหนึ่ง เดินทางไกลอย่างหนึ่งไปทางเรืออย่างหนึ่ง อยู่มากด้วยกันบิณฑบาตไม่พอฉันอย่างหนึ่ง โภชนะเป็นของสมณะอย่างหนึ่ง
- 若有施主来邀请,并说出供养五正食之任何一食的名称,如有四位以上(含四位)比丘一起接受或一起食用,除了正确的时候以外,即生病时,施衣时,作衣时,旅行时,乘船时,大众集会时,沙门施食时,犯单堕。
สิกขาบทนี้ทรงห้ามไม่ให้ภิกษุฉันคณโภชน์ คือ ฉันรวมกันเป็นหมู่ โดยการนั่งล้อม โภชนะฉันกล่าวคือ ภิกษุตั้งแต่ ๔ รูปขึ้นไป รับนิมนต์ที่เขาออกชื่อโภชนะทั้ง ๕ อย่างใดอย่างหนึ่งแล้วไปรับมาฉันหรือไปฉันโภชนะนั้นพร้อมกัน เป็นปาจิตตีย์ (มติของสมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯการนั่งล้อมโภชนะฉัน เรียกสั้น ๆ ว่า ฉันเข้าวง ชื่อว่า ฉันเป็นหมู่ เว้นไว้แต่สมัย ๗ อย่างมีภิกษุเป็นไข้เป็นต้น เขานิมนต์ฉันร่วมกันเป็นหมู่ได้)
佛陀制定该戒是为了防止比丘结伴而食,即聚集一起而食。如果施主供养并说明五正食之任何一食的名称,有四位或四位以上比丘一起受供领回而食,或一起去食用,犯单堕。(佛陀禁止比丘围坐而食或集体而食,除非处在七种正确的时候,即有比丘生病时等,可受邀集体而食。)
ภิกษุผู้เป็นอาทิกัมมิกะในสิกขาบทนี้ คือ พระเทวทัตและบริวาร
该戒的最初犯行者是提婆达多比丘及追随者。
๓. ภิกษุรับนิมนต์แห่งหนึ่ง ด้วยโภชนะทั้ง ๕ อย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว ไม่ไปฉันในที่นิมนต์ ไปฉันเสียที่อื่น ต้องปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่ยกส่วนที่รับนิมนต์ไว้ก่อนนั้นให้แก่ภิกษุอื่นเสีย หรือหน้าจีวรกาลและเวลาทำจีวร
3.若有一处供养五正食之任何一食,比丘接受邀请后却不食,反而去其他地方而食,除了让其他比丘代替受邀,或者处于施衣时和作衣时以外,犯单堕。
ในสิกขาบทนี้ ทรงบัญญัติห้ามไม่ให้ภิกษุฉันปรัมปรโภชนะคือโภชนะที่รับนิมนต์ซ้ำซ้อนกัน กล่าวคือ ภิกษุรับนิมนต์ในที่แห่งหนึ่งแล้ว ครั้นได้เวลา กลับไปฉันในอีกที่หนึ่งที่ตนรับนิมนต์ไว้ทีหลังเช่นนี้ เป็นปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่วิกัปป์ คือ ยกให้แก่ภิกษุอื่น หรือในช่วงที่ได้รับอานิสงส์การจำพรรษา และอานิสงส์กฐิน (จีวรกาล) และในเวลาที่ทำจีวร ภิกษุฉันปรัมปรโภชนะได้ ไม่เป็นอาบัติ
佛陀制定该戒是为了防止比丘数数食,即接受重复的邀请。也就是当比丘接受一个地方的邀请后,还接受另外一个地方的邀请而食,犯单堕。除非行净施,即让其他比丘代替,或者处于雨安居之利益时、施衣时和作衣时,比丘可数数食而不犯。
๔. ภิกษุเข้าไปบิณฑบาตในบ้าน ทายกเขาเอาขนมมาถวายเป็นอันมาก จะรับได้เป็นอย่างมากเพียง ๓ บาตรเท่านั้น ถ้ารับเกินกว่านั้น ต้องปาจิตตีย์ และของที่รับมามากเช่นนั้นต้องแบ่งให้ภิกษุอื่น
4.若比丘入施主家托钵,施主供养过多的糕点,比丘最多只能接受三钵,如果接受超过该量,犯单堕,同时要将得来的糕点分给其他比丘。
ขนม หมายถึง ขนมสดและข้าวสัตตุผง
糕点指新鲜点心或米制食品。
สิกขาบทนี้ ทรงบัญญัติไว้เพื่อจะให้ภิกษุรู้จักประมาณในการรับและเพื่อป้องกันไม่ให้ทายกสิ้นเปลืองจนเกินไป ขนมที่ภิกษุรับมานั้น ต้องแบ่งให้ภิกษุอื่น ถ้าไม่แบ่งเป็นทุกกฏ
佛陀制定该戒是为了让比丘在受供时懂得知量,不让施主过于花费。比丘要将得来的饼分给其他比丘,否则犯恶作。
๕. ภิกษุฉันค้างอยู่มีผู้เอาโภชนะทั้ง ๕ อย่างใดอย่างหนึ่ง เข้ามาประเคน ห้ามเสียแล้ว ลุกจากที่นั่งนั้นแล้ว ฉันของเคี้ยวของฉันซึ่งไม่เป็นเดนภิกษุไข้ หรือไม่ได้ทำวินัยกรรม ต้องปาจิตตีย์
5.比丘在用餐时,有人以五正食之任何一食作供养,已不再进食、已起身离座(的比丘),若还食非有病比丘剩余之嚼食或噉食,或未如律业之食物,犯单堕。
คำว่า ห้ามเสียแล้ว คือ ห้ามโภชนะที่เขาประเคน ต้องพร้อมด้วยลักษณะที่ท่านแสดงไว้ ๕ ประการ คือ
已不再进食指不再食对方供养之食物,需同时具备以下五种条件,即:
๑) กำลังฉันอาหารอยู่
(1)比丘正在用餐。
๒) เขาเอาโภชนะมาถวายอีก
(2)还有人要供养食物。
๓) เขาอยู่ในหัตถบาส
(3)(吃饱的比丘)相距一手肘宽。
๔) เข้าน้อมถวาย
(4)对方躬身做供养。
๕) ภิกษุห้ามเสียภิกษุผู้ฉันเสร็จและห้ามเสียแล้วเช่นนี้ จะฉันได้เฉพาะของเป็นเดนซึ่ง
มี ๒ อย่างคือ(๑) ของภิกษุไข้ฉันเหลือ(๒) ของที่ภิกษุทำให้เป็นเดน
(5)已吃饱的比丘拒绝再进食,如此只能食用两种食物,即:生病比丘吃剩的食物;其他比丘吃剩的食物。
เหตุที่ทรงบัญญัติห้ามไม่ให้ภิกษุฉันอีก หลังจากที่บอกไม่รับอาหารที่ทายกเขาประเคนในเรือน เพราะต้องการให้รักษาน้ำใจของทายกผู้มีศรัทธา เว้นไว้แต่จะฉันของที่เป็นเดนของภิกษุไข้และของที่ทำวินัยกรรม คือ ภิกษุอื่นรับประเคนโภชนะอย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว ตักเอาพอประมาณแล้วยกส่งให้ภิกษุผู้ห้ามอาหารที่นั่งอยู่ในระยะหัตถบาส พร้อมกับบอกว่า “พอแล้ว” การทำเช่นนี้ชื่อทำวินัยกรรม ภิกษุผู้ห้ามภัตสามารถฉันได้อีก โดยไม่ต้องอาบัติ
佛陀制定该戒是想让已吃饱的比丘,不应再接受施主的供养,要懂得体谅心怀净信之施主的心意。除非是吃生病比丘剩下的食物,或者如律业的食物,即当其他比丘接受食物的供养,盛好足够量后,送给相距一手肘宽已饱之比丘,并且说“已足够”,如此行为称为如律业,那么已吃饱的比丘可以再进食而不犯。
๖. ภิกษุรู้อยู่ว่า ภิกษุอื่นห้ามข้าวแล้ว คิดจะยกโทษ เธอแกล้งเอาของเคี้ยวของฉันที่ไม่เป็นเดนภิกษุไข้ไปล่อให้เธอฉัน ถ้าเธอฉันแล้ว ต้องปาจิตตีย์
- 若比丘知道其他比丘已吃饱,但出于期待别人犯错,而故意拿非有病比丘剩余之嚼食或噉食给对方食,当对方食用时,犯单堕。
ความมุ่งหมายสิกขาบทนี้ เพื่อห้ามภิกษุผู้มีเจตนาไม่ดีแกล้งหลอกภิกษุอื่นให้สำคัญผิดไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้สำคัญผิด
制戒的目的是为了禁止有不良动机的比丘,故意欺骗其他比丘,对于受欺骗的比丘则不犯。
๗. ภิกษุฉันของเคี้ยวของฉันที่เป็นอาหารในเวลาวิกาล คือ ตั้งแต่เที่ยงแล้ว ไปจนถึงวันใหม่ ต้องปาจิตตีย์
7.若比丘于非时食(正午以后至翌日明相)嚼食或噉食,犯单堕。
ของเคี้ยว ได้แก่ ผลไม้ เผือก มัน เป็นต้น
嚼食(硬食):水果、芋头、番薯等。
ของฉัน ได้แก่ โภชนะทั้ง ๕ รวมถึงของที่บริโภคเป็นอาหารด้วย
噉食(软食):五正食以及可食用的食物。
ภิกษุผู้เป็นอาทิกัมมิกะในสิกขาบทนี้ คือ พระสัตตรสวัคคีย์
该戒的最初犯行者是十七群比丘。
๘. ภิกษุฉันของ เคี้ยวของฉันที่เป็นอาหารซึ่งรับประเคนไว้ค้างคืน ต้องปาจิตตีย์
8.若比丘食受供过夜之嚼食或噉食,犯单堕。
การเก็บอาหารไว้ค้างคืนเช่นนี้ เรียกว่า สันนิธิ แปลว่า การสั่งสม ภิกษุฉันของ ที่เป็นสันนิธิ เป็นปาจิตตีย์ทุก ๆ คำกลืน
存储受供过夜的食物称为蓄藏,译为累积。如果有比丘吃蓄藏之物,咽下每一口都犯单堕。
สิกขาบทนี้ทรงบัญญัติเพื่อป้องกันไม่ให้ภิกษุบริโภคของเสียซึ่งจะทำให้ท้องเสีย
佛陀制定该戒是为了防止比丘吃坏食物而导致腹泻。
ภิกษุผู้เป็นอาทิกัมมิกะในสิกขาบทนี้ คือ พระเวพัฏฐสีสะ
该戒的最初犯行者是毘拉陀施沙比丘。
๙. ภิกษุไม่ใช่ผู้อาพาธ ขอโภชนะอันประณีต คือ ข้าวสุกระคนด้วยเนยใส เนยข้นน้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย ปลา เนื้อ นมสด นมส้ม ต่อคฤหัสถ์ที่ไม่ใช่ญาติ ไม่ใช่ปวารณาเอามาฉัน ต้องปาจิตตีย์
- 若无病比丘向非亲戚关系、未作出许诺的在家者求取美味的食物,如:酥油、奶油、油、蜂蜜、甘蔗汁、鱼、肉、乳、酪,犯单堕。
ภิกษุผู้ไม่อาพาธขอโภชนะอันประณีตทั้ง ๙ อย่าง คือ เนยใส เนยข้น น้ำมันน้ำผึ้ง น้ำอ้อย ปลา เนื้อ นมสด นมส้ม อย่างใดอย่างหนึ่ง ต่อผู้ไม่ใช่ญาติไม่ใช่ปวารณาได้มาฉัน ต้องปาจิตตีย์ เมื่อภิกษุอาพาธขอมาเพื่อตน ภิกษุผู้ไม่อาพาธฉันด้วยก็ดี ภิกษุไม่อาพาธขอต่อ คฤหัสถ์คนใดคนหนึ่ง เพื่อภิกษุผู้อาพาธก็ดี ไม่เป็นอาบัติ
若有无病比丘向非亲戚关系、未作出许诺的在家者求取九种美味的食物,如:酥油、奶油、油、蜂蜜、甘蔗汁、鱼、肉、乳、酪,犯单堕。当有病比丘为自己求取,而无病比丘一起食用;或无病比丘为有病比丘向任何一位在家者求取,皆不犯。
ภิกษุผู้เป็นอาทิกัมมิกะในสิกขาบทนี้ คือ พระฉัพพัคคีย์
该戒的最初犯行者是六群比丘。
๑๐. ภิกษุกลืนกินอาหารที่ไม่มีผู้ให้ คือ ยังไม่ได้ประเคนให้ล่วงทวารปากเข้าไปต้องปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่น้ำและไม้สีฟัน
- 若比丘将不与之食物拿来吃,即将未做供养的食物放进口中,除了水和齿木以外,犯单堕。
คำว่า อาหาร ในสิกขาบทนี้ หมายเอา กาลิก คือ ของที่จะพึงกลืนกินทั่วไป ๔ อย่าง คือ
该戒中的食物指“药”,即应定时食用的四种东西,分别是:
๑. ยาวกาลิก คือ ของที่รับประเคนไว้และฉันได้ชั่วเวลาเช้าถึงเที่ยงวันของวันนั้น ได้แก่ โภชนะทั้ง ๕ และผักผลไม้ต่าง ๆ
1.时药:接受供养后,应在当天早上至中午食用完。例如:五正食和各种蔬菜水果。
๒. ยามกาลิก คือ ของที่รับประเคนไว้แล้วฉันได้ชั่ววันหนึ่งกับคืนหนึ่ง คือ ก่อนอรุณขึ้น ได้แก่ น้ำปานะ (น้ำคั้นผลไม้ที่ทรงอนุญาต)
2.时分药:接受供养后,应在一天一夜,即在黎明前食用完。例如:饮料(在佛陀规定内的水果汁)。
๓. สัตตาหกาลิก คือ ของที่รับประเคนไว้แล้ว ฉันได้ภายใน ๗ วัน ได้แก่ เภสัชทั้ง ๕ คือ เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย
3.七日药:接受供养后,应在七日内食用完。例如:五种药物,即酥油、奶油、油、蜂蜜、甘蔗汁。
๔. ยาวชีวิก คือ ของที่รับประเคนไว้แล้ว ฉันได้ตลอดไปไม่จำกัดเวลา ได้แก่ของที่ใช้ปรุงเป็นยา นอกจากกาลิกทั้ง ๓ ข้างต้น เช่น ขมิ้น ขิง ข่า เป็นต้น
4.尽形寿药:接受供养后,可长期食用,无时间限制。例如:制成药品的东西,除了姜黄、生姜、良姜属等以外。
กาลิกทั้ง ๔ นั้น ต้องประเคนเสียก่อน จึงฉันได้ แม้ถ้ารับประเคนแล้ว มีผู้อื่นแตะต้องก็ต้องประเคนใหม่
这四种药必须先供养才可以食用,但就算已经供养,若有人触及,还得重新供养。
ลักษณะของการประเคน ๕ อย่าง
供养物之特征:
๑) ของนั้นไม่ใหญ่ หรือหนักเกินไป คนเดียวยกได้
1.东西不宜过大或过重,一个人可以抬起。
๒) ผู้ประเคนอยู่ในหัตถบาส คือ ห่างไม่เกิน ๑ ศอก
- 供养者应在一手肘宽的距离内。
๓) เขาน้อมเข้ามาถวาย
3.供养者躬身做供养。
๔) เขายื่นถวายด้วยมือ หรือของเนื่องด้วยกาย
4.供养者亲手供养或间接供养。
๕) ภิกษุรับด้วยมือ หรือรับด้วยผ้า หรือของอย่างอื่น
5.比丘以亲手、黄布或借助其他东西接受供养。
ภิกษุฉันของที่ยังไม่ได้ประเคน เป็นปาจิตตีย์ น้ำและไม้ชำระฟัน ไม่ต้องประเคน ก็ฉันได้ น้ำในที่นี้หมายถึงน้ำเปล่า ภิกษุอาพาธหนักเข้าขั้นอันตราย ฉันของที่เป็นยาที่ไม่ได้รับประเคน เช่น ถูกงูพิษกัด จะถือเอายามหาวิกัติ ๔ อย่าง คือ มูตร คูถ เถ้า ดิน ฉันไม่เป็นอาบัติ
比丘食用未经供养的食物,犯单堕。水(白开水)和齿木无需供养也可以食用。身患重疾的比丘,取用未经供养的药,例如:被毒蛇咬伤,可自行取尿、屎、灰、土治疗,不犯戒。
๕. อเจลกวรรค หมวดว่าด้วยให้อาหารแก่นักบวชนอกศาสนา
五、裸形外道品,关于向外道施食的十条戒:
อเจลกวรรค แปลว่า สิกขาบทหมวดที่ว่าด้วยนักบวชนอกศาสนา ตั้งชื่อตามเนื้อหาของสิกขาบทแรก ที่เกี่ยวกับการให้อาหารแก่นักบวชเปลือย วรรคนี้มีทั้งหมด ๑๐ สิกขาบทดังนี้
裸形外道品是有关施食给外道修行者的戒条。按照该品第一条戒的内容,即向裸形者布施食物而取名。该品共有十条戒,分别如下:
๑. ภิกษุให้ของเคี้ยวของฉัน แก่นักบวชนอกศาสนาด้วยมือของตน ต้องปาจิตตีย์
1.若比丘亲手将嚼食或噉食施与外道修行者,犯单堕。
นักบวชนอกศาสนา หมายถึง นักบวชในศาสนาอื่นนอกจากพุทธศาสนา เช่น อเจลกะ(พวกชีเปลือย) ปริพาชก เป็นต้น ภิกษุให้ของเคี้ยวของฉันด้วยมือของตนเป็นปาจิตตีย์ ถ้าใช้ให้คนอื่นให้หรือวางให้ หรือให้ของอย่างอื่นนอกจากของกิน ไม่เป็นอาบัติ
外道修行者指佛教以外的其他出家修行者,例如:裸形者、遍行者等。如果比丘亲手将嚼食或噉食施与他们,犯单堕。如果托人给;放一旁非亲手给;给予食物以外的其他东西,则不犯。
สิกขาบทนี้ทรงบัญญัติเพื่อไม่ให้ผู้อื่นมองว่า ภิกษุยอมตัวเป็นคนรับใช้หรือนับถือเขา
佛陀制定该戒是为了不让他人误认为比丘是外道的侍从或净信者。
ภิกษุผู้เป็นอาทิกัมมิกะในสิกขาบทนี้ คือ พระอานนท์
该戒的最初犯行者是阿难比丘。
๒. ภิกษุชวนภิกษุอื่นไปเที่ยวบิณฑบาตด้วยกัน หวังจะประพฤติอนาจาร ไล่เธอกลับมาเสีย ต้องปาจิตตีย์
- 若比丘邀请其他比丘一起去托钵,因渴望行不正行而令其离去,犯单堕。
หวังจะประพฤติอนาจาร คือ ภิกษุมีความคิดอยากจะสนุกสนานจะนั่งในที่ลับกับหญิง หรือประพฤติสิ่งไม่ดีไม่งามอย่างใดอย่างหนึ่ง ไล่เธอกลับก่อน เพื่อปกปิดความชั่วของตน เช่นนี้ เป็นปาจิตตีย์ บอกให้กลับด้วยเหตุอื่น เช่น บาตรเต็มบอกให้กลับ ไม่เป็นอาบัติ
渴望行不正行指比丘想与女子坐在隐蔽处,或者做其他任何一种不良的行为,而先将同伴驱赶回来,企图掩盖自己的恶行,犯单堕。如果以其他理由,如钵已装满食物,而令其先返回,则不犯。
ภิกษุผู้เป็นอาทิกัมมิกะในสิกขาบทนี้ คือ พระอุปนันทศากยบุตร
该戒的最初犯行者是优波难陀释子比丘。
๓. ภิกษุสำเร็จการนั่งแทรกแซง ในสกุลที่เขากำลังบริโภคอาหารอยู่ ต้องปาจิตตีย์
3.若比丘成功进入正在用餐的居士家中就坐,犯单堕。
การเข้าไปนั่งพูดคุยในบ้านของคฤหัสถ์ที่กำลังรับประทานอาหารกันอยู่ ถือเป็นการเสีย
มารยาท และไม่เหมาะสม จึงทรงบัญญัติสิกขาบทนี้ห้ามไว้
进入正在用餐的居士家中就坐聊天,被看作是一种不礼貌亦非合适之行为,这是佛陀制戒之因缘。
ภิกษุผู้เป็นอาทิกัมมิกะในสิกขาบทนี้ คือ พระอุปนันทศากยบุตร
该戒的最初犯行者是优波难陀释子比丘。
๔. ภิกษุนั่งในที่ลับกับผู้หญิง ไม่มีผู้ชายอยู่เป็นเพื่อน ต้องปาจิตตีย์
4.若比丘和女人一起坐在隐蔽处,无男人陪同,犯单堕。
ภิกษุนั่งหรือนอนในที่ลับตากับผู้หญิงคนเดียว หรือหลายคนก็ตาม ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ถ้ายืนหรือเดินหรือมีผู้ชายอยู่ด้วยไม่เป็นอาบัติ
如果有比丘与一个或多个女人坐或睡在隐蔽处,犯单堕。如果是站立、行走或有男人陪同,则不犯。
ภิกษุผู้เป็นอาทิกัมมิกะในสิกขาบทนี้ คือ พระอุปนันทศากยบุตร
该戒的最初犯行者是优波难陀释子比丘。
๕. ภิกษุนั่งในที่แจ้งกับหญิงสองต่อสอง ต้องปาจิตตีย์
- 若比丘和女人单独坐在露天处,犯单堕。
ที่แจ้ง คือ ที่สามารถมองเห็นได้ แต่ไม่ได้ยินเสียงพูดคุยกัน ภิกษุนั่งหรือนอนกับหญิงสองต่อสองในที่แจ้ง ต้องปาจิตตีย์ ถ้ามีคนอื่นอยู่ด้วยจะเป็นชายหรือหญิงไม่เป็นอาบัติ
露天处指可以看见对方,却无法听见谈话声。如果有比丘和女人单独坐或睡在露天处,犯单堕。如果有其他的男人或女人陪同,则不犯。
สิกขาบทที่ ๔ และ ๕ นี้ ปรับอาบัติตามแนวการวินิจฉัยที่วางไว้ในอนิยต ๒ ดังที่กล่าวมาแล้ว เพื่อป้องกันความเสียหายอันจะเกิดจากผู้หญิง
若犯第四和第五条戒,将依照上述的二不定作出相应惩罚,以便防止因女人而造成过失。
ภิกษุผู้เป็นอาทิกัมมิกะในสิกขาบทนี้ คือ พระอุปนันทศากยบุตร
该戒的最初犯行者是优波难陀释子比丘。
๖. ภิกษุรับนิมนต์ด้วยโภชนะทั้ง ๕ แล้ว จะไปในที่อื่นจากที่นิมนต์นั้นในเวลาก่อนฉันก็ดี ฉันกลับมาแล้วก็ดี ต้องลาภิกษุที่มีอยู่ในวัดก่อนจึงจะไปได้ ถ้าไม่ลาก่อน เที่ยวไปต้องปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่สมัย คือ จีวรกาล และเวลาทำจีวร
- 若比丘已经被邀请受供五正食,却在用餐前或用餐后拜访其他地方,如此应事先告知寺中比丘,如果不事先告知而离去,犯忏悔。除了正确时候,即:施衣时和作衣时。
ที่ห้ามไปที่อื่นก่อนเวลาฉัน เพื่อป้องกันไม่ให้ไปช้า หรือตามตัวไม่พบ ที่ห้ามไปที่อื่นหลังฉันเพื่อไม่ให้ถือโอกาสเที่ยวไปและอาจมีผู้ต้องการพบในเวลากลับ ฉะนั้น ถ้าจำเป็นจะไปก็ให้บอกแก่ภิกษุรูปอื่นไว้ก่อน เมื่อมีใครถามหาจะได้บอกได้ถูก ถ้าเที่ยวไปในสมัยจีวรกาลหรือเวลาทำจีวร ไม่ต้องอาบัติ
在用餐前禁止去其他地方,是为了迟到或找不见人。用餐后禁止去其他地方,是为了防止借机去别处,或可能有人要在返回前与其相见。因此,如果有必要离开,应事先告知其他比丘,当有人寻找时,可以说明其去向。如果是在施衣时和作衣时去别处,则不犯。
ภิกษุผู้เป็นอาทิกัมมิกะในสิกขาบทนี้ คือ พระอุปนันทศากยบุตร
该戒的最初犯行者是优波难陀释子比丘。
๗. ถ้าเขาปวารณาด้วยปัจจัย ๔ เพียง ๔ เดือน พึงขอเขาได้เพียงกำหนดนั้นเท่านั้น ถ้าขอให้เกินกำหนดนั้นไป ต้องปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่เขาปวารณาอีก หรือปวารณาเป็นนิตย์
7.若施主自愿供养四个月的四事,比丘就只能照此而接受,如果接受超过限定,除了施主再次供养或长期供养以外,犯单堕。
ปัจจัย ๔ ได้แก่ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และเภสัช ท่านแบ่งการปวารณาไว้ในคัมภีร์วิภังค์ ๔ ประเภท คือ
四事指袈裟、饮食、卧具、药物。在经典《分别论》中,佛陀阐述了四种因缘,分别是:
๑. ปวารณากำหนดปัจจัย คือ ระบุชื่อ จำนวน ราคา และขนาด ของปัจจัยที่จะให้ขอ
1.资具限定:求取的东西之名称、数量、价格、尺寸。
๒. ปวารณากำหนดกาล คือ กำหนดระยะเวลาที่จะใหข้อ
2.时间限定:求取的时间限制。
๓. ปวารณากำหนดทั้งปัจจัยและกาล คือ ระบุปัจจัยและกำหนดเวลาด้วย
3.资具与时间限定:资具限定与时间限定。
๔. ปวารณาไม่กำหนดทั้งปัจจัยและกาล ข้อนี้แม้ทายกจะไม่กำหนดกาล แต่ทรงอนุญาตให้ขอได้เพียง ๔ เดือน เท่านั้น เกินนี้ไม่ได้ (การปวารณาในสิกขาบทนี้ หมายเอาการปวารณาเช่นนี้)
- 资具与时间无限定:即便施主没有限定时间,但佛陀只允许比丘接受四个月的四事,不得超过该期限。
ทายกเขาปวารณากำหนดอย่างไร พึงให้ขออย่างนั้น ถ้าขอให้เกินกำหนดนั้น ถือเป็น การขอเกินศรัทธา ทำให้เขาลำบากได้มาต้องปาจิตตีย์
施主自愿供养多少,比丘就应照此接受,如果接受超过限定,就会加重施主负担,使其陷入困难,当比丘接受时,犯单堕。
ภิกษุผู้เป็นอาทิกัมมิกะในสิกขาบทนี้ คือ พระฉัพพัคคีย์
该戒的最初犯行者是六群比丘。
๘. ภิกษุไปดูกระบวนทัพ ซึ่งเขายกไปเพื่อจะรบกัน ต้องปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่มีเหตุ
- 若比丘前往观看出征的军队,除了适当的理由以外,犯单堕。
เหตุที่ได้รับยกเว้น คือ ไปเห็นโดยเหตุจำเป็นอย่างอื่น มิใช่ไปเพื่อจะดูเล่น เช่น ไปเพื่อเยี่ยมญาติที่เป็นไข้แล้วเห็นหรือไปเห็นโดยบังเอิญ หรือถูกจับเป็นเชลย ไม่เป็นอาบัติ ถ้าตั้งใจจะไปดูต้องปาจิตตีย์
适当的理由指因其它原因而看见,非故意去观看。例如:探望患病亲戚的途中无意看见;偶然碰见;被抓为俘虏;皆不犯,如果是故意去观看,则犯单堕。
ภิกษุผู้เป็นอาทิกัมมิกะในสิกขาบทนี้ คือ พระฉัพพัคคีย์
该戒的最初犯行者是六群比丘。
๙. ถ้ามีเหตุที่จะต้องไปมีอยู่ พึงไปอยู่ในกองทัพได้เพียง ๓ วัน ถ้าอยู่ให้เกินกำหนดนั้น ต้องปาจิตตีย์
9.若比丘有原因而前往军中,他只能在军中留宿三天,如果超过该期限,犯单堕。
การนับวันนั้น นับเอาเวลาที่ตะวันตกดินเป็น ๑ วัน ถ้าอยู่ถึงวันที่ ๔ พอตะวันตกดินเป็นปาจิตตีย์ ถ้าอยู่ ๓ วันเว้นหนึ่งวัน กลับมาอยู่ใหม่อีก ๓ วัน เช่นนี้ก็ดี มีเหตุจำเป็นออกไปไม่ได้ก็ดีไม่เป็นอาบัติ
如果以日落为一天,那么留宿至第四天日落时,犯单堕。如果住满三天后离开一天,然后再回来留宿三天,或者有适当的理由而没有离开,皆不犯。
ภิกษุผู้เป็นอาทิกัมมิกะในสิกขาบทนี้ คือ พระฉัพพัคคีย์
该戒的最初犯行者是六群比丘。
๑๐. ในเวลาที่อยู่ในกองทัพตามกำหนดนั้น ถ้าไปดูเขารบกันก็ดี หรือไปดูเขาตรวจพลก็ดี ดูเขาจัดกระบวนทัพก็ดี ดูหมู่เสนาที่จัดเป็นกระบวนแล้วก็ดี ต้องปาจิตตีย์
- 若比丘在军中留宿的三天里,前往观看演习﹑阅兵集合﹑布署,犯单堕。
ภิกษุผู้เป็นอาทิกัมมิกะในสิกขาบทนี้ คือ พระฉัพพัคคีย์
该戒的最初犯行者是六群比丘。
๖.สุราปานวรรค หมวดว่าด้วยดื่มน้ำเมา ๑๐ สิกขาบท
六、饮酒品,关于饮酒的十条戒:
๑. ภิกษุดื่มน้ำเมา ต้องปาจิตตีย์
1.若比丘饮酒,犯单堕。
คำว่า น้ำเมา เรียกตามศัพท์บาลีว่า มัชชะ แปลว่า น้ำอันยังผู้ดื่มให้เมา หมายเอา
酒在巴利语中称为“Majja”,意指可令人生醉之水。
๑) น้ำเมรัย คือ น้ำเมาที่ยังไม่ได้กลั่นหรือน้ำเมาที่เกิดจากการหมัก เช่น สาโท เป็นต้น
(1)面罗耶酒:未发酵的酒或经浸泡而酿制的酒。
๒) สุรา คือ เมรัยที่กลั่นแล้ว
(2)须罗酒:经发酵的面罗耶酒。
ภิกษุรู้หรือไม่รู้ก็ตาม ดื่มน้ำเมาเข้าไป ต้องปาจิตตีย์ ถ้าเจือปนในน้ำแกง เพื่อชูรสเล็กน้อย ไม่ถึงกับเมา ไม่เป็นอาบัติ ฝิ่น เฮโรอีน กัญชา ยาเสพติดให้โทษ ทุกชนิด จัดเข้าในสิกขาบทนี้ด้วย (พระศรีวิสุทธิญาณ (อุบล นนฺทโก ป.ธ.๙). ๒๕๓๕ : ๕๑)
不管比丘有意或无意饮酒,皆犯单堕。如果在菜汤中放少许酒以调味,不至于产生醉意,则不犯。罂粟、海洛因、大麻、等种类的毒品也包含在内。
ภิกษุผู้เป็นอาทิกัมมิกภักษุในสิกขานี้คือ พระสาคตะ
该戒的最初犯行者是沙伽陀比丘。
๒. ภิกษุจี้ภิกษุ ต้องปาจิตตีย์
2.若比丘胳肢比丘,犯单堕。
จี้คนอื่นนอกจากภิกษุ ต้องทุกกฏ
如果胳肢除比丘以外的其他人,犯恶作。
ภิกษุผู้เป็นอาทิกัมมิกะในสิกขานี้คือ พระฉัพพัคคีย์
该戒的最初犯行者是六群比丘。
๓. ภิกษุว่ายน้ำเล่น ต้องปาจิตตีย์
- 若比丘在水中嬉戏,犯单堕。
ลักษณะแห่งอาบัติคือ ว่ายน้ำเล่น ดำลง ผุดขึ้น ว่ายไปในที่ลึก พอที่จะดำได้มิดตัวเป็นปาจิตตีย์ เล่นอย่างอื่น เช่น เอามือวักน้ำ พายเรือเล่น เป็นต้น เป็นทุกกฏ
犯戒的特征是在水中嬉戏;或沉;或浮;或游向深水,全身浸入水中;皆犯单堕。其他如用手舀水,划船玩等,犯恶作。
ภิกษุผู้เป็นอาทิกัมมิกะในสิกขาบทนี้ คือ พระสัตตรสวัคคีย์
该戒的最初犯行者是十七群比丘。
๔. ภิกษุแสดงความไม่เอื้อเฟื้อในวินัย ต้องปาจิตตีย์
4.若比丘有轻侮之态度,犯单堕。
ความไม่เอื้อเฟื้อในวินัย มี ๒ อย่าง คือ
轻侮有两种,分别是:
๑. ไม่เอื้อเฟื้อในบุคคล กล่าวคือ เมื่อภิกษุอื่นกล่าวตักเตือนด้วยพระวินัย แล้วไม่เชื่อฟังโต้เถียง ดูหมิ่น ด้วยประการต่าง ๆ
1.轻侮人:当其他比丘依戒律规劝他时,他不但不听,还以各种形式进行争论或轻蔑。
๒. ไม่เอื้อเฟื้อในข้อบัญญัติ กล่าวคือ แสดงอาการที่ไม่เคารพ เช่น อ่านหนังสือ คุยกันเล่นกัน ในขณะที่ภิกษุอื่นอธิบายบทบัญญัติในพระวินัย
2.轻侮法:显出不尊敬的态度,例如当其他比丘正向他解释戒律规定时,他反而看书、聊天或玩耍。
สิกขาบทนี้ทรงบัญญัติไว้ เพื่อป้องกันไม่ให้ภิกษุเป็นคนหัวดื้อ ไม่เคารพในกฎข้อบังคับของหมู่คณะ
佛陀制定该戒是为了防止比丘成为顽固者,即对僧团的规章制度不恭敬。
ภิกษุผู้เป็นอาทิกัมมิกะในสิกขาบทนี้ คือ พระฉันนะ
该戒的最初犯行者是阐陀比丘。
๕. ภิกษุหลอนภิกษุให้กลัวผี ต้องปาจิตตีย์
- 若比丘吓唬其他比丘,犯单堕。
ภิกษุหลอน คือ พูดก็ดี แสดงท่าทางก็ดี ขู่ให้ผู้อื่นตกใจกลัวก็ดี ผู้ถูกหลอนจะตกใจหรือไม่ก็ตาม ถ้าหลอนภิกษุด้วยกัน เป็นปาจิตตีย์ หลอนผู้อื่นที่มิใช่ภิกษุเป็นทุกกฏ ไม่ตั้งใจหลอน ไม่เป็นอาบัติ
比丘吓唬指以言词或行为恐吓其他比丘,无论对方是否受惊吓,犯单堕。如果吓唬非比丘者,犯恶作,非故意吓唬则不犯。
ภิกษุผู้เป็นอาทิกัมมิกะในสิกขานี้คือ พระฉัพพัคคีย์
该戒的最初犯行者是六群比丘。
๖. ภิกษุไม่เป็นไข้ ติดไฟให้เป็นเปลวเองก็ดี ใช้ให้ผู้อื่นติดก็ดี เพื่อจะผิง ต้องปาจิตตีย์ ติดเพื่อเหตุอื่น ไม่เป็นอาบัติ
- 若比丘无病而想要取暖,生火或命人生火,除了适当的理由以外,犯单堕。
เหตุที่ทรงห้ามก่อไฟในสิกขาบทนี้ ก็เพื่อป้องกันไฟไหม้กุฎีที่มุงด้วยหญ้า ถ้าก่อไฟในที่สำหรับผิงไฟ หรือก่อเพื่อเหตุอื่นที่ไม่ใช่เพื่อผิง เช่น ติดเพื่อต้มน้ำ เป็นต้น ไม่เป็นอาบัติ
佛陀制定该戒是为了防止火烧茅草僧舍。如果在合适的地方或有适当的理由而生火,例如为了烧开水等,则不犯。
๗. ภิกษุอยู่ในมัชฌิมประเทศ คือ จังหวัดกลางแห่งประเทศอินเดีย ๑๕ วันจึงอาบน้ำได้หนหนึ่ง ถ้ายังไม่ถึง ๑๕ วัน อาบน้ำ ต้องปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่มีเหตุจำเป็นในปัจจันตประเทศ เช่น ประเทศไทย อาบน้ำได้เป็นนิตย์ ไม่เป็นอาบัติ
7.位于中印度的比丘,半个月可以沐浴一次,若不到半个月而沐浴者,除了适当的理由以外,犯单堕。位于边陲之国,如泰国可以常沐浴而不犯。
สิกขาบทนี้ ทรงบัญญัติห้ามเฉพาะในถิ่นทุรกันดาร ขาดแคลนน้ำ ถ้าอยู่ในประเทศที่มีน้ำอุดมสมบูรณ์ไม่ทรงห้าม ถ้ามีเหตุจำเป็น เช่น ร่างกายเลอะเทอะเปื้อนมากอาบได้
佛陀针对干旱的地区而制戒,如果处在水资源丰富的地区,则不受禁止。如果有适当的理由,例如身体非常肮脏,则可以沐浴。
๘. ภิกษุได้จีวรใหม่ ต้องพินทุด้วยสี ๓ อย่างคือ เขียวคราม โคลน ดำคล้ำอย่างใดอย่างหนึ่งก่อน จึงนุ่งห่มได้ ถ้าไม่ทำพินทุก่อนแล้วนุ่งห่ม ต้องปาจิตตีย์
- 比丘获得新袈裟时,应以三种颜色,即青色、泥色、黑褐色的其中之一做标记,才可以穿着。若比丘穿着未做标记的新袈裟,犯单堕。
การทำพินทุ หรือ พินทุกัปปะ คือ การทำจุดกลม ๆ อย่างใหญ่เท่าแววตานกยูงอย่างเล็กเท่าหลังตัวเรือดไว้ที่มุมจีวร ด้วยสีเขียวคราม โคลน หรือสีดำคล้ำ จุดประสงค์เพื่อทำจีวรให้เสียสี หรือมีตำหนิ และเป็นเครื่องหมายให้จำจีวรของตนได้ไม่หลงกับผู้อื่นวิธีพินทุ ให้ใช้สีตามกำหนด (ปากกาหรือดินสอก็ได้) จุดทำวงกลมดำเต็มวง ๓ จุด พร้อมกับกล่าวคำว่า อิมัง พินทุกัปปัง กะโรมิ (๓ ครั้ง)
做标记或点净指用青色、泥色、黑褐色的其中之一,在新袈裟上点小圆圈,大如孔雀的眼珠,小如臭虫。目的是为了使袈裟成为坏色或有标记,作为一种标记而不与他人混淆。应使用规定的颜色(钢笔或圆珠笔皆可),在袈裟上点三个小圆圈,同时念三遍:อิมัง พินทุกัปปัง กะโรมิ。
๙. ภิกษุวิกัปป์จีวรแก่ภิกษุ หรือสามเณรแล้ว ผู้รับยังไม่ได้ถอน นุ่งห่มจีวรนั้นต้องปาจิตตีย์
- 若比丘净施袈裟给其他比丘或沙弥后,对方还未归还便使用,犯单堕。
วิกัปป์ คือ การทำให้เป็นของสองเจ้าของ เป็นวิธีการทางวินัย เพื่อป้องกันอาบัติตามสิกขาบทที่ว่าด้วยการเก็บอติเรกจีวรหรืออติเรกบาตรไว้เกิน ๑๐ วัน เพราะหากภิกษุต้องการเก็บอติเรกจีวรหรืออติเรกบาตรไว้เกิน ๑๐ วัน โดยไม่ต้องอาบัติ ต้องทำการวิกัปป์จีวรหรือบาตรให้ผู้อื่นร่วมเป็นเจ้าของ
净施指两人对物品皆有使用权。以此防止比丘因持有长衣或存放长钵超过十日而犯戒。如果比丘想持有长衣或存放长钵超过十日而不犯戒,必须净施长衣或长钵。
วิธีกัปป์นั้นมี ๒ อย่าง คือ
净施的两种方式,分别是:
๑. วิกัปป์ต่อหน้า คือ วิกัปป์ต่อหน้าผู้รับ
1.对面净施:当受者的面净施。
๒. วิกัปป์ลับหลัง มีอธิบายไว้ ๒ อย่างคือ วิกัปป์ให้แก่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง ผู้ไม่อยู่ในที่นั้น โดยเปล่งวาจาวิกัปป์ออกชื่อภิกษุนั้น ต่อหน้าภิกษุอื่น เช่น ภิกษุ ก ต้องการวิกัปป์จีวรให้ภิกษุ ข แต่ภิกษุ ข ไม่อยู่ ภิกษุ ก จึงทำการวิกัปป์กับภิกษุ ค โดยออกชื่อภิกษุ ข เป็นผู้รับ นี้อย่างหนึ่ง อีกอย่างหนึ่งหมายถึง ภิกษุเอาอติเรกจีวรฝากให้ภิกษุรูปอื่นช่วยวิกัปป์กับอีกรูปหนึ่ง
2.展转净施:蕴含两种意思,一种是向某一位比丘行净施,但是对方不在,只能在说净施语时,在另外的比丘面前讲出对方的名字。例如:甲比丘净施袈裟给乙比丘,可惜已比丘不在,于是甲比丘就向丙比丘行净施,但以乙比丘为受者。另外,比丘将长衣交给其他比丘,让他与另一位比丘行净施。
จีวรที่ภิกษุวิกัปป์แล้ว ต้องให้ผู้รับกล่าวคำถอนเสียก่อนจึงใช้ได้ ถ้าผู้รับยังไม่ได้ถอนนำมาใช้สอย เป็นปาจิตตีย์
比丘净施袈裟之后,需让受者说归还语才可以使用,如果受者未说归还语而拿来使用,犯单堕。
ภิกษุเป็นอาทิกัมมิกะในสิกขาบทนี้ คือ พระอุปนันทศากยบุตร
该戒的最初犯行者是优波难陀释子比丘。
๑๐. ภิกษุซ่อนบริขาร คือ บาตร จีวร ผ้าปูนั่ง กล่องเข็ม ประคดเอวสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ของภิกษุอื่น ด้วยคิดจะล้อเล่น ต้องปาจิตตีย์
- 若比丘藏匿其他比丘的资具,即钵、袈裟、垫布、针筒、腰带的其中之一,即便是开玩笑,也犯单堕。
ซ่อนบริขารอย่างอื่นนอกจากที่ระบุไว้ข้างต้นก็ดี ซ่อนบริขารของสามเณรก็ดี เป็นทุกกฏ ไม่มีเจตนาจะล้อเล่น เห็นของวางไม่ดี ช่วยเก็บไว้ให้ไม่เป็นอาบัติ ซ่อนไว้ด้วยคิดจะลักเอา ปรับอาบัติตามราคาของ
如果有比丘藏匿上述规定以外的资具;藏匿沙弥的资具;皆犯恶作。无心开玩笑,只是见东西摆放不齐而帮忙收拾,则不犯。如果是想通过藏匿而盗取者,则依东西的价值做出相应的惩罚。
ภิกษุผู้เป็นอาทิกัมมิกะในสิกขาบทนี้ คือ พระฉัพพัคคีย์
该戒的最初犯行者是六群比丘。
วิธีวิกัปป์ต่อหน้า
对面净施的方法
ภิกษุนำจีวรที่จะวิกัปป์ วางไว้ในหัตถบาสระหว่างผู้ให้กับผู้รับ นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวคำบาลี พร้อมคำแปลว่า “อิมํ จีวรํ ตุยฺหํ วิกปฺเปมิ ข้าพเจ้าขอวิกัปป์จีวรนี้ แก่ท่าน”
将净施的袈裟放在施者与受者的一手肘宽之间,跪坐在脚跟上,双手合十,诵读巴利语及其意译:อิมํ จีวรํ ตุยฺหํ วิกปฺเปมิ,我请求将此袈裟净施予您。
ถ้ามีจีวรหลายผืนให้เปลี่ยน คำว่า อิมํ จีวรํ เป็น อิมานิ จีวรานิ
如果有多件袈裟,应将อิมํ จีวรํ改为อิมานิ จีวรานิ。
วิธีวิกัปป์ลับหลัง
展转净施的方法
ทำเหนือนกับการวิกัปป์ต่อหน้า เปลี่ยนคำวิกัปป์เป็น อิมํ จีวรํ จนฺทสารสฺส๑
ภิกฺขุโน วิกปฺเปมิ ข้าพเจ้าขอวิกัปป์จีวรนี้ แก่ภิกษุชื่อว่า จันทสาระ
方式如上所述,只是将净施语改为:อิมํ จีวรํ จนฺทสารสฺส๑
ภิกฺขุโน วิกปฺเปมิ,我请求将此袈裟净施给名为จันทสาระ的比丘。
ถ้าผู้นั้นแก่กว่าเปลี่ยนจนฺทสารสฺส ภิกฺขุโน เป็น อายสฺสมโต จนฺทสารสฺส
如果对方较为年长,应将จนฺทสารสฺส ภิกฺขุโน改为อายสฺสมโต จนฺทสารสฺส。
คำถอนวิกัปป์
净施归还词
ถ้าแก่กว่าให้ว่า “อิมํ จีวรํ มยฺหํ สนฺตกํ ปริภุญฺช วิสชฺเชหิ วา ยถาปจฺจยํ วา กโรหิ จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า ท่านจงใช้สอย จงสละ หรือจงทำตามแต่สมควรเถิด”
如果是较为年长者,则说:“อิมํ จีวรํ มยฺหํ สนฺตกํ ปริภุญฺช วิสชฺเชหิ วา ยถาปจฺจยํ วา กโรหิ,我的这件袈裟,请您使用,或施舍,或随缘处理吧!”
ถ้าอ่อนกว่าให้เปลี่ยนคำว่า ปริภุญฺช เป็น ปริภุญฺชถ วิสชฺเชหิ เป็น วิสชฺเชถ กโรหิ เป็น กโรถ
如果是较为年轻者,应将ปริภุญฺช改为ปริภุญฺชถ;将วิสชฺเชหิ改为วิสชฺเชถ;将กโรหิ改为กโรถ。
การวิกัปป์นี้ เมื่อภิกษุเข้าใจดีแล้ว จะกล่าวคำวิกัปป์เป็นภาษาไทยก็ได้
当比丘对净施充分了解后,可以只说泰文版的净施词。
๗. สัปปาณวรรค หมวดว่าด้วยฉันน้ำมีตัวสัตว์ ๑๐ สิกขาบท
七、有虫水品,关于饮用有生物之水的十条戒:
๑. ภิกษุแกล้งฆ่าสัตว์ดิรัจฉาน ต้องปาจิตตีย์
1.若比丘故意夺取畜生之命,犯单堕。
แกล้งฆ่า คือ จงใจฆ่าสัตว์ดิรัจฉานทุกชนิด ไม่ว่าเล็กหรือใหญ่อยู่ในไข่หรือในท้องแม่สัตว์ตาย เป็นปาจิตตีย์ ไม่ตาย แต่บาดเจ็บ เป็นทุกกฏ ถ้าฆ่าโดยไม่ตั้งใจ ไม่เป็นอาบัติ
故意夺取指蓄意杀害畜生的生命,无论该畜生的体型是大或小,在卵中或胎中,皆犯单堕。
ภิกษุผู้เป็นอาทิกัมมิกะในสิกขาบทนี้ คือ พระอุทายี
该戒的最初犯行者是优陀夷比丘。
๒. ภิกษุรู้อยู่ว่าน้ำมีตัวสัตว์ บริโภคน้ำนั้น ต้องปาจิตตีย์
2.若比丘知水中有虫而饮用,犯单堕。
คำว่า “บริโภค” ในสิกขาบทนี้ หมายถึง ดื่ม อาบ หรือใช้ทั่วไป ถ้ารู้แล้วบริโภคเป็นปาจิตตีย์ ถ้าไม่รู้ ไม่เป็นอาบัติ
该戒中的饮用特指喝、沐浴、或一般的使用。如果有比丘明知道水中有虫还继续饮用,犯单堕。如果不知道,则不犯。
ภิกษุผู้เป็นอาทิกัมมิกะในสิกขาบทนี้ คือ พระฉัพพัคคีย์
该戒的最初犯行者是六群比丘。
๓. ภิกษุรู้อยู่ว่า อธิกรณ์นี้สงฆ์ทำแล้วโดยชอบ เลิกถอนเสียกลับทำใหม่ (รื้อฟื้นใหม่) ต้องปาจิตตีย์
- 若比丘明知诤事已如法裁决,还提出再次羯磨来扰乱,犯单堕。
อธิกรณ์ คือ เรื่อง (คดีความ) ที่เกิดขึ้นแล้วในหมู่สงฆ์ และสงฆ์จะต้องพิจารณาตัดสิน หรือดำเนินการให้เรียบร้อย มี ๔ เรื่อง คือ
诤事指当僧团中发生案件,僧团将会如法裁决或依法进行处理。有四种诤事,分别为:
๑. วิวาทาธิกรณ์ เรื่องถกเถียงกันเกี่ยวกับเรื่องธรรมวินัย
1.争论诤事:关于法律的争论。
๒. อนุวาทาธิกรณ์ เรื่องการโจทหรือกล่าวหากันด้วยอาบัติ
2.非难诤事:关于对罪状的控告或指控。
๓. อาปัตตาธิกรณ์ เรื่องการต้องอาบัติ การปรับอาบัติ การแก้ไขให้พ้นจากอาบัติ
3.罪过诤事:关于犯戒、惩罚和出罪之事宜。
๔. กิจจาธิกรณ์ เรื่องกิจธุระต่าง ๆ ที่สงฆ์ต้องทำ เช่น ให้อุปสมบท
4.义务诤事:关于比丘应行之种种事宜,例如:受戒。
ภิกษุรู้อยู่ว่า อธิกรณ์นั้น สงฆ์ตัดสินและดำเนินการถูกต้องชอบธรรมแล้ว กลับรื้อฟื้นอธิกรณ์นั้นขึ้นมาเพื่อให้สงฆ์พิจารณาใหม่ ก่อความลำบากแก่สงฆ์ ต้องปาจิตตีย์ ถ้าไม่รู้ หรือรื้อฟื้นด้วยเห็นว่าอธิกรณ์นั้นตัดสินไม่เป็นธรรมจริง ๆ ไม่เป็นอาบัติ
如果有比丘明知僧团对诤事已如法裁决和处理后,为让僧团再次羯磨而重提该诤事,以致扰乱僧团,犯单堕。如果不知道或发现诤事未如法裁决而重提,则不犯。
ภิกษุผู้เป็นอาทิกัมมิกะในสิกขาบทนี้ คือ พระฉัพพัคคีย์
该戒的最初犯行者是六群比丘。
๔. ภิกษุรู้อยู่ แกล้งปกปิดอาบัติชั่วหยาบของภิกษุอื่น ต้องปาจิตตีย์
- 若比丘知道某比丘的粗罪,而故意覆藏,犯单堕。
คำว่า อาบัติชั่วหยาบ หมายถึง ปาราชิก ๔ และสังฆาทิเสส ๑๓ ปิดไว้ด้วยเกรงว่าตนจะยุ่งยาก พอทอดธุระว่าจะไม่บอก ต้องปาจิตตีย์ ปกปิดอาบัตินอกนี้ ต้องทุกกฏ ไม่ตั้งใจจะปกปิด แต่มีเหตุขัดข้อง ไม่สามารถบอกแก่ผู้หนึ่งได้ ไม่เป็นอาบัติ
粗罪指四波罗夷和十三僧残,担心麻烦、不重视而故意隐瞒,犯单堕。隐瞒除此以外的罪,犯恶作。如果不是故意隐瞒,是有不得已的苦衷而无法告知另一个人,则不犯。
ภิกษุผู้เป็น อาทิกัมมิกะในสิกขาบทนี้ คือ พระอุปนันทศากยบุตร
该戒的最初犯行者是优波难陀释子比丘。
๕. ภิกษุรู้อยู่ เป็นอุปัชฌายะอุปสมบทกุลบุตรผู้มีอายุหย่อนกว่า ๒๐ ปี ต้องปาจิตตีย์
5.若比丘明知善男子未满二十岁,还作为授戒师为其受具足戒,犯单堕。
ภิกษุทั้งหลายต่างก็รู้อยู่ว่า กุลบุตรที่จะอุปสมบทให้นั้นมีอายุไม่ถึง ๒๐ ปี แต่ยังฝืนอุปสมบทให้ พระอุปัชฌาย์ต้องอาบัติปาจิตตีย์ พระคู่สวดและพระนั่งอันดับทั้งหมดต้องอาบัติ ทุกกฏ กุลบุตรที่อุปสมบทให้นั้น ก็ไม่เป็นภิกษุ เป็นเพียงสามเณรเท่านั้น การนับอายุนั้น
ท่านให้นับวันเกิดเป็นหลัก แต่ก็ให้นับรวมในครรภ์อีก ๙ เดือนได้
众比丘明知受戒之善男子未满二十岁,还为其受具足戒,则授戒师犯单堕,其余在场的比丘犯恶作。受戒的善男子无法成为比丘,只能成为沙弥。岁数以出生日期为准,但在母胎中的九个月也可以包括在内。
๖. ภิกษุรู้อยู่ ชวนพ่อค้าผู้ซ่อนภาษีเดินทางด้วยกัน แม้สิ้นระยะบ้านหนึ่ง ต้องปาจิตตีย์
6.若比丘明知而与违法商队相约同路而行,即便走在村落间,也犯单堕。
พ่อค้าผู้ซ่อนภาษี คือ ผู้ลักซ่อนของต้องห้าม หรือของเถื่อนเข้ามาถ้าภิกษุชักชวนกันเดินในหมู่บ้าน หรือในเขตชุมชน เดินทางสิ้นระยะจากบ้านหลังหนึ่งสู่บ้านหลังหนึ่ง หรือชั่วระยะไก่บินตก เป็นปาจิตตีย์ ทุก ๆ ระยะ ถ้าเดินในป่า เป็นอาบัติทุก ๆ กึ่งโยชน์
违法商队指逃税或走私非法商品的商队。如果有比丘与其相约同行于村落或社区之间,即便是从一户人家到另一户人家,或如鸡跳跃的距离,每走一段皆犯单堕。如果行走于丛林中,每半由旬犯单堕。
๗. ภิกษุชวนหญิงเดินทางด้วยกัน แม้สิ้นระยะบ้านหนึ่ง ต้องปาจิตตีย์
- 比丘与女人相约同路而行,即便走在村落间,也犯单堕。
ในที่นี้ หมายเอาเฉพาะหญิงมนุษย์ผู้รู้เดียงสา ส่วนการกำหนดระยะทางเหมือนกับสิกขาบทที่ ๖
该戒中的女人指有智之女子,至于路程的限制如同上述第六条戒。
๘. ภิกษุกล่าวคัดค้านธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้า ภิกษุอื่นห้ามไม่ฟัง สงฆ์สวดประกาศข้อความนั้นจบ ต้องปาจิตตีย์
8.若比丘反对世尊宣说之法,其他比丘制止却不听,当僧团进行宣告完,犯单堕。
ภิกษุอวดดี กล่าวคัดค้านคำสอนของพระพุทธเจ้า ว่าไม่ถูกต้อง ก่อให้เกิดความสับสนในหมู่ภิกษุ ภิกษุอื่นที่รู้พึงห้ามปราม (ถ้าไม่ห้ามต้องทุกกฏ) เธอไม่ฟัง สงฆ์พึงสวดประกาศห้ามถ้าเธอเลิกเสียถือว่าดี ถ้าไม่เลิกสงฆ์สวดประกาศจบ เป็นปาจิตตีย์ และจะต้องถูกสงฆ์ขับออกจากหมู่ (ลงอุกเขปนียกรรม) จัดเป็นอุกขิตตกบุคคล ภายหลังเมื่อเธอเลิกเสีย หันมาประพฤติดีสงฆ์สวดประกาศระงับโทษจึงเข้าสมาคมอีกได้
如果有自以为是的比丘,反对并宣称世尊所说之法不正确,使僧团产生混乱。知此事的其他比丘应予以制止(如果不制止则犯恶作),该比丘却不听,僧团应给予劝告,如果该比丘舍弃成见则很好。如果仍然固执己见,当僧团劝告完时,该比丘犯单堕,并被僧团排斥(举罪羯磨),归为被举罪者。当他忏悔后,僧团将停止对其惩罚,可以再次回归僧团。
ภิกษุผู้เป็นอาทิกัมมิกะในสิกขาบทนี้ คือ พระอริฏฐะ
该戒的最初犯行者是阿梨吒比丘。
๙. ภิกษุคบภิกษุเช่นนั้น (ผู้กล่าวคัดค้านธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้า) คือ ร่วมกินก็ดี ร่วมอุโบสถสังฆกรรมก็ดี ร่วมนอนก็ดี ต้องปาจิตตีย์
9.若比丘与被举罪者(反对世尊宣说之法者)共食、共事、共宿,犯单堕。
ภิกษุใดคบกับภิกษุที่เป็นอุกขิตตกบุคคล คือ ผู้ที่สงฆ์ยกออกจากหมู่ เพราะกล่าวคัดค้านคำสอนของพระพุทธเจ้า ด้วยอาการ ๓ อย่าง คือ
如果有比丘与被举者,即因反对世尊宣说之法而被僧团排斥者,进行以下三种行为,分别是:
ร่วมกิน ได้แก่ การคบด้วยอาการ ๒ อย่าง คือ
共事有两种,分别是:
๑. อามิสสมโภค คบหาด้วยอามิส
1.食共事:一起用餐。
๒. ธัมมสมโภค คบหาด้วยการเรียนธรรมสอนธรรม
2.法共事:一起学习佛法或教授佛法。
ร่วมอยู่ คือ ร่วมทำอุโบสถ ร่วมสังฆกรรม ร่วมปวารณา
共住:一起布萨、作僧羯磨、自恣。
ร่วมนอน คือ นอนในที่มุงที่บังอันเดียวกัน
共宿:卧于同一覆盖处。
คบด้วยอาการอย่างใดอย่างหนึ่ง ต้องปาจิตตีย์ ถ้าคบภิกษุผู้ที่สงฆ์ยกโทษแล้ว ไม่อาบัติ
共同进行上述任何一种行为,皆犯单堕。如果同已经被僧团赦罪的比丘交往,则不犯戒。
ภิกษุผู้เป็นอาทิกัมมิกะในสิกขาบทนี้ คือ พระฉัพพัคคีย์
该戒的最初犯行者是六群比丘。
๑๐. ภิกษุเกลี้ยกล่อมสามเณรที่ภิกษุอื่นให้ฉิบหายแล้ว เพราะโทษที่กล่าวคัดค้านธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้า ให้เป็นอุปัฏฐากก็ดี ร่วมนอนก็ดี ร่วมกินก็ดี ต้องปาจิตตีย์
10.若比丘抚慰因反对世尊宣说之法而被摈治之沙弥,并照顾他,与其共宿、共事,犯单堕。
สามเณรที่กล่าวคัดค้านคำสอนของพระพุทธเจ้า ผู้อื่นห้ามไม่ฟัง ทรงอนุญาตให้นาสนะ๑ เสีย และห้ามไม่ให้ภิกษุรับมาอุปถัมภ์ ภิกษุใดฝ่าฝืน ต้องปาจิตตีย์
沙弥反对世尊宣说之法,他人制止而不听劝,佛陀允许对其进行摈治,并禁止比丘照顾他。违犯之比丘,犯单堕。
ภิกษุผู้เป็นอาทิกัมมิกะในสิกขาบทนี้ คือ พระฉัพพัคคีย์
该戒的最初犯行者是六群比丘。
——————————————————————-
๑ นาสนะ ให้ฉิบหาย คือ การลงโทษบุคคลผู้ไม่สมควรถือเพศ มี ๓ อย่าง คือ
摈治:惩治不符合出家人身份之人,分别有三种:
๑. ลิงคนาสนา ให้ฉิบหายจากเพศคือให้สึกเสีย
摈出:让其还俗。
๒. ทัณฑกรรมนาสนา ให้ฉิบหายด้วยการลงโทษ
默摈:对其惩罚。
๓. สังวาสนาสนา ให้ฉิบหายด้วยการให้พ้นจากอาวาส (พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). ๒๕๓๕
灭摈:驱逐出寺。
๘. สหธรรมิกวรรค หมวดว่าด้วยสหธรรมิก มี ๑๒ สิกขาบท
八、如法品,关于如法的十二条戒:
๑. ภิกษุประพฤติอนาจาร ภิกษุอื่นตักเตือน พูดผัดเพี้ยนว่ายังไม่ได้ถามท่านผู้รู้ก่อน ข้าพเจ้าจักไม่ศึกษาในสิกขาบทนี้ ต้องปาจิตตีย์ ธรรมดาภิกษุผู้ศึกษา ยังไม่รู้สิ่งใด ควรรู้สิ่งนั้น ควรไต่ถามไล่เลียงท่านผู้รู้ ภิกษุประพฤติไม่สมควร ถูกภิกษุอื่นกล่าวตักเตือน ด้วยสิกขาบท ในพระวินัยที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้ กลับกล่าวโต้ตอบว่าผมจะไม่เชื่อ จนกว่าจะได้ถามท่านผู้รู้ก่อน ต้องปาจิตตีย์
- 若比丘行不正行,其他比丘给予劝告时,拖延说:“我还未询问具足智慧的持律者,我将不学此戒。”犯单堕。通常学戒之比丘,应明了未知之事,应询问智者。若比丘行为不当,其他比丘以佛所制之戒给予劝告,该比丘却回击说自己不相信,要先去询问具足智慧的持律者,犯单堕。
สิกขาบทนี้ทรงบัญญัติขึ้นเพื่อป้องกันมิให้ภิกษุเป็นคนหัวดื้อให้ใส่ใจศึกษาในพระวินัยทุก ๆ สิกขาบท
佛陀制定该戒是为了防止比丘成为固持己见者,应虚心学习每一条戒。
ภิกษุผู้เป็นอาทิกัมมิกะในสิกขาบทนี้ คือ พระฉันนะ
该戒的最初犯行者是阐陀比丘。
๒. ภิกษุอื่นท่องปาติโมกข์อยู่ ภิกษุแกล้งพูดให้เธอคลายอุตสาหะ ต้องปาจิตตีย์
- 若其他比丘在诵波罗提木叉时,有比丘故意让其减少精进心,犯单堕。
ภิกษุผู้เป็นอาทิกัมมิกะในสิกขาบทนี้ คือ พระฉัพพัคคีย์
该戒的最初犯行者是六群比丘。
๓. ภิกษุต้องอาบัติแล้ว แกล้งพูดว่า ข้าพเจ้าเพิ่งรู้เดี๋ยวนี้เองว่า ข้อนี้มาในพระปาติโมกข์ ถ้าภิกษุอื่นรู้อยู่ว่า เธอเคยรู้มาก่อนแล้ว แต่แกล้งพูดกับเขา พึงสวดประกาศข้อความนั้น เมื่อสงฆ์สวดประกาศแล้ว แกล้งทำไม่รู้อีก ต้องปาจิตตีย์
3.若比丘犯戒后,故意说:“我现在才知道在波罗提木叉中有这条戒”。如果其他比丘知道他本来就知道,却故意如此说。僧团应对其进行劝告,当劝告结束时还故意装作不知道,犯单堕。
ภิกษุทำไขสือ คือ รู้แล้วแต่แกล้งทำเป็นไม่รู้ แสร้งพูดขึ้นในขณะฟังปาติโมกข์ ว่าข้าพเจ้าเพิ่งรู้ว่าการทำอย่างนี้ เป็นอาบัติ ถ้าภิกษุอื่นรู้อยู่ว่า ภิกษุรูปนั้นเคยฟังพระปาติโมกข์มาก่อน เช่นนี้ ภิกษุนั้นต้องอาบัติตามสิกขาบทที่ตนละเมิด และสงฆ์พึงสวด “โมหาโรปนกรรม” คือ สวดประกาศเพิ่มโทษปรับอาบัติปาจิตตีย์ แก่เธออีก โทษฐานเพราะแกล้งไขสือ
比丘装糊涂指明知道却故意装作不知道。故意在僧团听波罗提木叉时,说自己刚刚知道这样做是犯戒。如果其他比丘知道该比丘曾听过波罗提木叉,那么该比丘会因所犯的戒而受惩罚。同时,因为该比丘装糊涂,僧团还会对其追加惩罚。
ภิกษุผู้เป็นอาทิกัมมิกะในสิกขาบทนี้ คือ พระฉัพพัคคีย์
该戒的最初犯行者是六群比丘。
๔. ภิกษุโกรธ ให้ประหารแก่ภิกษุอื่น ต้องปาจิตตีย์
4.若比丘因愤怒而殴打其他比丘,犯单堕。
ให้ประหาร คือ การทำร้ายร่างกายด้วยอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย โดยวิธีการอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ ชกด้วยกำปั้น ตีด้วยไม้ ขว้างด้วยก้อนหิน เป็นต้น ด้วยความโกรธทำเองหรือใช้ให้ผู้อื่นทำก็เป็นอาบัติเช่นกัน
殴打指以各种形式伤害对方的身体,例如:以拳头打,以木头敲击或扔石头等。无论是因为愤怒而自己做或指使他人做,皆犯单堕。
ภิกษุผู้เป็นอาทิกัมมิกะในสิกขาบทนี้ คือ พระฉัพพัคคีย์
该戒的最初犯行者是六群比丘。
๕. ภิกษุโกรธ เงื้อมือดุจให้ประหารแก่ภิกษุอื่น ต้องปาจิตตีย์
- 若有比丘因愤怒而举手作势打比丘,犯单堕。
เงื้อมือดุจให้ประหาร คือ เงื้อมือ เงื้อไม้ทำท่าจะชกหรือด้วยกิริยาท่าทางของคนโกรธทำแก่ภิกษุ เป็นปาจิตตีย์ ทำแก่บุคคลอื่นนอกจากภิกษุ เป็นทุกกฏ ถ้าทำโดยไม่โกรธ ไม่เป็นอาบัติ
举手作势打指因愤怒而对比丘做举手或举木棍击或打的姿势,犯单堕。对除了比丘以外的其他人,犯恶作。如果不是因愤怒而做,则不犯。
ภิกษุผู้เป็นอาทิกัมมิกะในสิกขาบทนี้ คือ พระฉัพพัคคีย์
该戒的最初犯行者是六群比丘。
๖. ภิกษุโจทฟ้องภิกษุอื่นด้วยอาบัติสังฆาทิเสสไม่มีมูล (คือ ไม่ได้เห็นเอง ไม่ได้ฟังมา และไม่ได้สงสัย) ต้องปาจิตตีย์
- 若比丘无凭无据(不见、不闻亦无嫌疑)地毁谤比丘犯僧残,犯单堕。
โจทด้วยอาบัติสังฆาทิเสสไม่มีมูล ต้องปาจิตตีย์ ตามสิกขาบทนี้ แต่ถ้าโจทด้วยอาบัติอย่างอื่นที่ต่ำกว่าสังฆาทิเสสไม่มีมูลความจริง ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เพราะพูดมุสา (ตามสิกขาบทที่ ๑ มุสาวาทวรรค)
对于该戒而言,无凭无据地毁谤比丘犯僧残,犯单堕。但如果无凭无据地毁谤比丘犯比僧残更轻之罪,也犯单堕(遵照妄语品第一条戒)。
ภิกษุผู้เป็นอาทิกัมมิกะในสิกขาบทนี้ คือ พระฉัพพัคคีย์
该戒的最初犯行者是六群比丘。
๗. ภิกษุแกล้งก่อความรำคาญให้เกิดแก่ภิกษุอื่น ต้องปาจิตตีย์
7.若比丘故意使其他比丘忧悔,犯单堕。
คำว่า แกล้งก่อความรำคาญ คือ หาเรื่องแกล้งพูดให้เขาเกิดความกังวลใจ อยู่ไม่เป็นสุข เช่น พูดว่า ในเวลาที่ท่านอุปสมบท ท่านแน่ใจได้อย่างไรว่า การอุปสมบทนั้นถึงพร้อมด้วยสมบัติทุกประการ ถ้าขาดหรือบกพร่องไปอย่างเดียว ท่านก็ไม่เป็นพระแล้ว ทำให้ภิกษุนั้นเกิดความกังวลสงสัยเช่นนี้ เป็นปาจิตตีย์
故意使比丘忧悔指故意找事挑唆使比丘心烦,没有快乐。例如,故意对出家比丘说:“你如何能确定出家时已具足一切因缘,如果缺少一样,你就不是比丘了。”如此使得对方心生忧愁,犯单堕。
ภิกษุผู้เป็นอาทิกัมมิกะในสิกขาบทนี้ คือ พระฉัพพัคคีย์
该戒的最初犯行者是六群比丘。
๘. เมื่อภิกษุวิวาทกันอยู่ ภิกษุไปแอบฟังความ เพื่อจะได้รู้ว่า เขาว่าอะไรตนหรือพวกของตน ต้องปาจิตตีย์
- 若比丘偷听发生争吵的比丘之谈话,想知道对方在说些什么,犯单堕。
การแอบฟังความลับของผู้อื่น ทางโลกถือว่า เป็นกิริยาที่ไม่เหมาะสม เป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล จึงทรงบัญญัติห้ามไว้ด้วยสิกขาบทนี้
偷听对方的秘密,在世俗中属于错误的行为,因为那是个人的隐私,这就是佛陀制戒的因缘。
ภิกษุแอบฟังความที่ภิกษุวิวาทกัน เพื่อเก็บมาเป็นเครื่องโต้เถียง เพื่อหาโทษใส่กันหรือเพื่อเป็นเครื่องมือยุยงให้แตกกัน ต้องปาจิตตีย์ ถ้าไม่ได้ตั้งใจแอบฟัง ไม่ต้องอาบัติ
如果有比丘偷听发生争吵的比丘之谈话,为了拿来谈论,为了诬陷,为了使僧团分裂,犯单堕。如果是无心听见谈话,则不犯。
ภิกษุผู้เป็นอาทิกัมมิกะในสิกขาบทนี้ คือ พระฉัพพัคคีย์
该戒的最初犯行者是六群比丘。
๙. ภิกษุให้ฉันทะ คือ ความยอมให้ทำสังฆกรรมที่เป็นธรรมแล้ว ภายหลังกลับติเตียนสงฆ์ผู้ทำสังฆกรรมนั้น ต้องปาจิตตีย์
- 若比丘委托(其他比丘)而同意如法僧羯磨,可事后又批评举行僧羯磨的僧团,犯单堕。
การทำสังฆกรรมนั้น ทรงอนุญาตให้ภิกษุทุกรูปประชุมทำพร้อมกันในเขตสีมา ถ้าภิกษุบางรูปไม่สามารถเข้าร่วมสังฆกรรมได้ ให้นำฉันทะของภิกษุนั้นมา หากไม่นำมา สังฆกรรมที่สงฆ์ทำนั้นใช้ไม่ได้
佛陀允许僧团在地界内集会举行僧羯磨,如果有比丘不能来一起行僧羯磨,可委托其他比丘,倘若不作委托,僧团所举行的僧羯磨则无效。
ภิกษุให้ฉันทะมาแล้ว ภายหลังกลับติเตียนสังฆกรรมที่สงฆ์ทำถูกต้องแล้ว เป็นปาจิตตีย์ ติเตียนสังฆกรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ไม่เป็นอาบัติ
当比丘委托其他比丘,可事后又批评僧团的如法僧羯磨,犯单堕。如果批评非如法羯磨,则不犯。
ภิกษุผู้เป็นอาทิกัมมิกะในสิกขาบทนี้ คือ พระฉัพพัคคีย์
该戒的最初犯行者是六群比丘。
๑๐. เมื่อสงฆ์กำลังประชุมกันตัดสินข้อความข้อหนึ่ง ภิกษุใดอยู่ในที่ประชุมนั้นจะหลีกไปในขณะที่ตัดสินข้อนั้นยังไม่เสร็จ ไม่ให้ฉันทะ ลุกเสียก่อน ต้องปาจิตตีย์
10.若比丘在集会中,当僧团提议时,尚未表决,亦不委托,便起座离去,犯单堕。
ลุกไปเพื่อต้องการจะให้กรรมเสีย พอละหัตถบาสไป ต้องปาจิตตีย์ ลุกไปเพราะเหตุอย่างอื่น เช่น ลุกไปเพราะสงฆ์ทำกรรมไม่เป็นธรรม เพราะเกรงจะเกิดการทะเลาะวิวาท ปวดปัสสาวะ อุจจาระ ลุกไปโดยตั้งใจจะกลับมาอีก หรือภิกษุเป็นไข้นั่งต่อไปไม่ไหว เป็นต้น ไม่เป็นอาบัติ
为了使羯磨无效而起座离去,离开一手肘宽的距离时,犯单堕。如果因其他理由而离开,例如:因为不如法羯磨而离开;因为担心发生争吵、内急而暂时离开,会再次返回;或因为生病而无法坚持等,则不犯。
ภิกษุผู้เป็นอาทิกัมมิกะในสิกขาบทนี้ คือ พระฉัพพัคคีย์
该戒的最初犯行者是六群比丘。
๑๑. ภิกษุพร้อมกับสงฆ์ให้จีวรเป็นบำเหน็จแก่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งแล้ว ภายหลังกลับติเตียนภิกษุอื่นว่า ให้เพราะเห็นแก่หน้ากัน ต้องปาจิตตีย์
- 当和合的僧团施与(某比丘)袈裟,事后有比丘批评僧团说:“(比丘们)是依照交情的深浅做施与。”犯单堕。
มีธรรมเนียมอยู่ว่า เมื่อลาภเกิดขึ้นแก่สงฆ์ ไม่สามารถที่จะแจกให้ทั่วถึงกันได้ ถ้าเป็นบิณฑบาตหรือเภสัช เก็บไว้นานจะเสีย ทรงอนุญาตให้แจกตามลำดับ ถ้าเป็นของที่เก็บไว้ได้เช่น จีวร เป็นต้น ทรงอนุญาตให้เก็บไว้จนกว่าจะครบจำนวนภิกษุ จึงแจกกันได้ ถ้าจีวรแจกกันแล้ว เหลือเศษหรือจีวรน้อยไม่พอแจกทรงอนุญาตให้สงฆ์อปโลกน์ยกให้ภิกษุผู้ทำกิจสงฆ์เช่น ผู้จัดการเสนาสนะ เป็นต้น ในสิกขาบทนี้ หมายเอาการให้จีวรเป็นบำเหน็จ
按照规定,对于僧团的财物,如果是无法久存的食物或药物,无法平均分配至每个人,佛陀允许次第分配。如果是可以久存的东西,如袈裟等,佛陀允许先存储至足够的数量再做分配。对于分配后剩下的袈裟或不够分配的袈裟,佛陀允许僧团宣告指派管理僧伽事务的比丘负责,例如管理卧具的比丘等。在该戒中,将袈裟当作一种奖励来施与。
ภิกษุผู้เป็นอาทิกัมมิกะในสิกขาบทนี้ คือ พระฉัพพัคคีย์
该戒的最初犯行者是六群比丘。
๑๒. ภิกษุรู้อยู่ น้อมลาภที่ทายกเขาตั้งใจจะถวายสงฆ์ มาเพื่อบุคคล ต้องปาจิตตีย์
- 若比丘明知而将施主虔诚供养给僧团的利养,转施与个人,犯单堕。
กิริยาการน้อมลาภ มีอธิบายแล้วในสิกขาบทที่ ๑๐ แห่ง ปัตตวรรค นิสสัคคิยปาจิตตีย์
对于占有利养的行为,在僧钵品的第十条戒已做解释,将犯舍堕。
ภิกษุผู้เป็นอาทิกัมมิกะในสิกขาบทนี้ คือ พระฉัพพัคคีย์
该戒的最初犯行者是六群比丘。
ข้อควรรู้เพิ่มเติม
备注:
อปโลกน์ คือ การสวดประกาศให้สงฆ์รับทราบ เพื่อลงมติร่วมกันยกของสงฆ์(สังฆทาน) ให้แก่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง
宣告指通过宣布让众僧伽了解并一起决议,指派某位比丘负责管理僧团的布施品。
คำอปโลกน์สังฆทาน (ในปัจจุบัน)
布施品宣告词(现代)
ยัคเฆ ภันเต สังโฆ ชานาตุ ขอพระสงฆ์ทั้งปวงจงฟังคำข้าพเจ้า
ยัคเฆ ภันเต สังโฆ ชานาตุ 请众比丘听我言:
บัดนี้ ทายก ทายิกา ผู้มีจิตศรัทธาได้น้อมนำมาซึ่งภัตตาหาร มาถวายเป็นสังฆทานแก่พระภิกษุสงฆ์ อันว่าสังฆทานนี้ ย่อมมีอานิสงส์อันยิ่งใหญ่ สมเด็จพระพุทธองค์จะได้จำเพาะเจาะจงว่าเป็นของภิกษุรูปหนึ่งรูปใดก็หามิได้ เพราะเป็นของได้แก่สงฆ์ทั่วทั้งมณฑล พระพุทธองค์ตรัสว่า ให้แจกกันตามบรรดาที่มาถึง
现在,净信的男施主或女施主虔诚向僧团供养布施品,这个布施功德无量,世尊没有指定非某位比丘莫属,因为这是属于整个僧团的财产,世尊说要施与在场的众比丘。
ฉะนั้น บัดนี้ ข้าพเจ้าจะสมมติตนเป็นผู้แจกของสงฆ์ พระสงฆ์ทั้งปวงจะเห็นสมควรหรือไม่เห็นสมควร ถ้าเห็นว่าไม่เป็นการสมควรแล้วไซร้ ขอจงได้ทักท้วงขึ้นในท่ามกลางสงฆ์อย่าได้เกรงใจ ถ้าเห็นว่าเป็นการสมควรแล้ว ก็จงเป็นผู้นิ่งอยู่ (หยุดนิดหนึ่ง) บัดนี้ พระสงฆ์ทั้งปวงนิ่งอยู่ ข้าพเจ้าจักรู้ได้ว่าเป็นการสมควรแล้ว จะได้ทำการแจกของสงฆ์ต่อไป ณ กาลบัดนี้
因此,现在我将假定自己是分配者,众比丘看是否合适,如果认为不合适,可以到僧团中央反驳,请不要客气。如果认为合适,就请静默不语。现在,众比丘都静默不语,我知道你们都已经认可,接下来将分配僧团的东西。
อะยัง ปะฐะมะภาโค มะหาเถรัสสะ ปาปุณาติ ส่วนที่ ๑ ย่อมถึงแก่พระเถระผู้ใหญ่ผู้อยู่เหนือข้าพเจ้า
อะยัง ปะฐะมะภาโค มะหาเถรัสสะ ปาปุณาติ,首先分配给戒腊在我之上的长老比丘。
อะวะเสสา ภาคา อัมหากัง ปาปุณันติ ส่วนที่เหลือจากพระเถระผู้ใหญ่แล้วย่อมถึงแก่พวกเราทั้งหลาย ตามบรรดาที่มีถึงพร้อมกันทุก ๆ รูป (ตลอดถึงสามเณรด้วย) เทอญ ฯ
อะวะเสสา ภาคา อัมหากัง ปาปุณันติ,分配给长老之后,余下的将分配给在座的每位比丘。
หมายเหตุ : มะหาเถรัสสะ เปลี่ยนเป็น เถรัสสะ บ้าง มัชฌิมัสสะ บ้างตามฐานะของหัวหน้าในที่นั้น ถ้าไม่มีสามเณรอยู่ด้วย ก็ไม่ต้องว่า ตลอดถึงสามเณร คำอปโลกน์นี้เป็นหน้าที่ของรูปที่ ๒ หรือที่ ๓ ก็ได้ (มนต์พิธี พร้อมคำแปล. พระครูสังฆกิจวิสุทธิ์. ๒๕๓๔ :๒๗๘)
注解:按照在座长老的地位,有时要将มะหาเถรัสสะ改为เถรัสสะ或มัชฌิมัสสะ。如果现场没有沙弥,则不用谈及沙弥,宣告者可以是现场戒腊第二高或第三年高的长老。
๙. รตนวรรค หมวดว่าด้วยรัตนะ ๑๐ สิกขาบท
九、宝品,关于珠宝的十条戒:
๑. ภิกษุไม่ได้รับอนุญาตก่อน เข้าไปในห้องที่พระเจ้าแผ่นดินเสด็จอยู่กับพระมเหสี ต้องปาจิตตีย์
1.若比丘未经允许,进入国王及王后所在的寝室,犯单堕。
ภิกษุผู้เป็นอาทิกัมมิกะในสิกขาบทนี้ คือ พระอานนท์
该戒的最初犯行者是阿难比丘。
๒. ภิกษุเห็นเครื่องบริโภคของคฤหัสถ์ตกอยู่ ถือเอาเป็นของเก็บได้เองก็ดี ให้ผู้อื่นถือเอาก็ดี ต้องปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่ของนั้นตกอยู่ในวัด หรือในที่อาศัย ต้องเก็บไว้ให้เจ้าของ ถ้าไม่เก็บ ต้องทุกกฏ
2.若比丘看见在家者遗失的物品,自己捡拾或命人捡拾,皆犯单堕。除非是物品遗失在寺院或住处内,应捡拾归还失主,如果不捡拾则犯恶作。
เครื่องบริโภคของคฤหัสถ์ในสิกขาบทนี้ ท่านหมายเอา รัตนะ คือ ของมีราคา ๑๐ ประการ ได้แก่ แก้วมุกดา มณี ไพฑูรย์ สังข์ ศิลา ประพาฬ เงิน ทอง ทับทิม โมรา รวมถึงของมีราคาอย่างอื่น ภิกษุเก็บเอง หรือใช้ให้ผู้อื่นเก็บเอาของเช่นนั้น ในที่นอกเขตวัด ต้องปาจิตตีย์ ภายในเขตวัดเก็บไม่ต้องอาบัติ ไม่เก็บเป็นทุกกฏ
该戒中在家者所遗失的物品特指珠宝,即有价值的十种物品:珍珠、宝珠、猫眼石、贝玉、岩石、珊瑚、银、金、红宝石、玛瑙,同时还包括其他价值连城的物品。如果是在寺院外,比丘自己捡拾或命人捡拾,犯单堕。如果是在寺院内捡拾则不犯,不捡拾则犯恶作。
๓. ภิกษุไม่บอกลาภิกษุอื่นที่มีอยู่ในวัดก่อน เข้าไปในบ้านในเวลาวิกาล ต้องปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่มีกิจด่วน
- 若比丘没有事先告知寺中的比丘,在非时进入村庄,除了有紧急事情以外,犯单堕。
เวลาวิกาล ในสิกขาบทนี้ คัมภีร์วิภังค์กำหนดเอาตั้งแต่เที่ยงวันไปจนถึงรุ่งอรุณของอีกวัน เหมือนกับสิกขาบทที่ว่าด้วยการฉันภัตตาหารในเวลาวิกาลในโภชนวรรค
在经典《分别论》中,非时指正午至翌日黎明的时间段,如同上述食物品中的非时食戒。
มีกิจด่วน เช่น ไฟไหม้วัด งูพิษกัด เข้าไปเพื่อหาคนมาช่วย เป็นต้น ไม่เป็นอาบัติ
紧急事情:寺院发生火灾、被毒蛇咬,进村是为了寻找他人帮助等,则不犯。
ภิกษุผู้เป็นอาทิกัมมิกะในสิกขาบทนี้ คือ พระฉัพพัคคีย์
该戒的最初犯行者是六群比丘。
๔. ภิกษุทำกล่องเข็ม ด้วยกระดูกก็ดี ด้วยงาก็ดี ด้วยเขาก็ดี ต้องปาจิตตีย์ ต้องต่อยกล่องนั้นเสียก่อน จึงแสดงอาบัติตก
- 若有比丘以骨﹑牙或角制作针筒,犯单堕,必须将筒打碎,才可以出罪。
สิกขาบทนี้ทรงบัญญัติขึ้นเพื่อป้องกันไม่ให้ภิกษุยึดติดในของสวยงาม ซึ่งจะเป็นการพอกพูนกิเลสแก่ตน
佛陀制定该戒是为了防止比丘执着于精美之物,导致自己增长烦恼。
สิกขาบทนี้ มีชื่อเรียกว่า เภทนกปาจิตตีย์ คือ อาบัติปาจิตตีย์ที่ต้องต่อย (ทุบทิ้งหรือทำลาย) วัตถุให้แตกเสียก่อน จึงจะแสดงอาบัติตก มีสิกขาบทนี้สิกขาบทเดียว ใช้กระดูกงา หรือเขาทำบริขารอย่างอื่นใช้สอย เป็นทุกกฏ
该戒又称为破损单堕,即必须将东西击碎或毁坏,才可以出罪,仅该戒有此规定。如果以骨﹑牙或角制作其他资具,犯恶作。
๕. ภิกษุจะทำเตียงหรือตั่ง พึงทำให้มีเท้าเพียง ๘ นิ้วพระสุคต เว้นไว้แต่แม่แคร่ ถ้าทำให้เกินกำหนดนี้ ต้องปาจิตตีย์ ต้องตัดให้ได้ประมาณเสียก่อน จึงแสดงอาบัติตก
- 若比丘制作椅子或床时,应依八佛指距而制,除了其四方形支架以外。如果超过规定的尺寸,犯单堕,必须切断(过长的部分),才可以出罪。
ขนาด ๑ นิ้วพระสุคต เท่ากับ ๓ นิ้วของคนปานกลางในบัดนี้ (พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย เล่ม ๒. ๒๕๓๙ : ๑๐๘) ภิกษุทำเองก็ดีใช้ให้ผู้อื่นทำก็ดี ให้เกินประมาณ เป็นปาจิตตีย์ ถ้าผู้อื่นนำมาถวายแล้วใช้สอย เป็นทุกกฏ
一佛指距的长度等于现代中等身材者的中指之三倍(泰国僧伽大学出版的泰文版《三藏经》“2539年第二册108”有记载),无论是比丘自己或命人制作,超过规定的尺寸,犯单堕。如果是施主拿来供养,那么在使用时犯恶作。
สิกขาบทนี้ มีชื่อเรียกว่า เฉทนกปาจิตตีย์ คือ อาบัติปาจิตตีย์ที่ต้องตัดวัตถุเสียก่อนจึงแสดงอาบัติตก
该戒又称为截断单堕,即切断过长的部分,才可以出罪。
ภิกษุผู้เป็นอาทิกัมมิกะในสิกขาบทนี้ คือ พระอุปนันทศากยบุตร
该戒的最初犯行者是优波难陀释子比丘。
๖. ภิกษุทำเตียงหรือตั่งหุ้มนุ่น ต้องปาจิตตีย์ ต้องรื้อเสียก่อนจึงแสดงอาบัติตก
- 若比丘在制作的椅子或床上铺棉花,犯单堕,应该拿掉。
สิกขาบทนี้ มีชื่อเรียกว่า อุททาลนกปาจิตตีย์ คือ อาบัติปาจิตตีย์ที่ต้องรื้อถอนนุ่น เสียก่อน จึงแสดงอาบัติตก
该戒又称为取出单堕,即拿掉铺设的棉花,才可以出罪。
ทำใช้เอง เป็นปาจิตตีย์ ทำให้ผู้อื่น เป็นทุกกฏ ทำอย่างอื่นอกจากเตียงและตั่งเป็นทุกกฎเช่นกัน
为自己制作,犯单堕;为他人制作,犯恶作;制作除了床和凳子以外的东西,同样犯恶作。
ภิกษุผู้เป็นอาทิกัมมิกะในสิกขาบทนี้ คือ พระฉัพพัคคีย์
该戒的最初犯行者是六群比丘。
๗. ภิกษุทำผ้าปูนั่ง垫布 (ผ้านิสีทนะ坐布) พึงทำให้ได้ประมาณ ประมาณนั้นยาว ๒ คืบพระสุคต กว้างคืบครึ่ง ชายคืบหนึ่ง ถ้าทำให้เกินกำหนดนี้ ต้องปาจิตตีย์ ต้องตัดให้ได้ประมาณเสียก่อนจึงแสดงอาบัติตก
7.若比丘制作垫布(坐布),应按照规定尺寸而制,即(以佛指距为准)长二佛指距,宽一个半佛指距,边缘宽一佛指距,如果超过规定的尺寸,犯单堕。必须剪掉(过长的部分),才可以出罪。
ผ้าปูนั่ง เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ผ้านิสีทนะ เบื้องต้นทรงอนุญาตให้ทำขนาดยาว ๒ คืบพระสุคต กว้าง ๑ คืบครึ่งพระสุคตเท่านั้น ต่อมา ปรากฏขนาดที่ทรงกำหนดนั้นไม่พอนั่งสำหรับภิกษุตัวใหญ่ จึงทรงอนุญาตให้ต่อชายได้อีกคืบหนึ่ง
垫布又称为坐布,起初佛陀只允许制作长二佛指距,宽一佛指距的垫布,后来发现该尺寸对于身材高大的比丘来说不够坐,后来决定边缘可加宽一佛指距。
ภิกษุผู้เป็นอาทิกัมมิกะในสิกขาบทนี้ คือ พระฉัพพัคคีย์
该戒的最初犯行者是六群比丘。
๘. ภิกษุทำผ้าปิดแผลพึงทำให้ได้ประมาณ ประมาณนั้นยาว ๔ คืบพระสุคตกว้าง ๒ คืบ ถ้าทำให้เกินกำหนดนี้ต้องปาจิตตีย์ ต้องตัดให้ได้ประมาณเสียก่อน จึงแสดงอาบัติตก
8.若比丘制作覆疮衣,应按照规定的尺寸而制,即(以佛指距为准)长四佛指距,宽二佛指距,如果超过规定的尺寸,犯单堕。必须剪掉(过长的部分),才可以出罪。
ผ้าปิดแผลหรือผ้าสำหรับปิดแผลนี้ ทรงอนุญาตสำหรับผู้อาพาธคือ เป็นโรคอีสุกอีใสโรคมีน้ำหนอง หรือโรคฝีดาษ ใช้เพื่อปิดบาดแผลภิกษุต้องทำให้ได้ประมาณตามกำหนด หากทำให้เกิน ต้องปาจิตตีย์ ต้องตัดให้ได้ประมาณเสียก่อน จึงแสดงอาบัติตก
对于覆疮衣,佛陀只允许患病的比起使用,即在患水痘、流浓水或天花病时,可以用覆疮衣来遮掩伤口。比丘制作覆疮衣,应按照规定尺寸而制,如果超过规定的尺寸,犯单堕。必须剪掉(过长的部分),才可以出罪。
ภิกษุผู้เป็นอาทิกัมมิกะในสิกขาบทนี้ คือ พระฉัพพัคคีย์
该戒的最初犯行者是六群比丘。
๙. ภิกษุทำผ้าอาบน้ำฝน พึงทำให้ได้ประมาณ ประมาณนั้นยาว ๖ คืบพระสุคตกว้าง ๒ คืบครึ่ง ถ้าทำให้เกินกำหนดนี้ ต้องปาจิตตีย์ ต้องตัดให้ได้ประมาณเสียก่อน จึงแสดงอาบัติตก
- 若比丘制作雨浴衣,应按照规定的尺寸而制,即(以佛指距为准)长六佛指距,宽二佛指距,如果超过规定的尺寸,犯单堕。必须剪掉(过长的部分),才可以出罪。
ภิกษุผู้เป็นอาทิกัมมิกะในสิกขาบทนี้ คือ พระฉัพพัคคีย์
该戒的最初犯行者是六群比丘。
๑๐. ภิกษุทำจีวรให้เท่าจีวรพระสุคต (จีวรของพระพุทธเจ้า) ก็ดี เกินกว่านั้นก็ดีต้องปาจิตตีย์ ประมาณจีวรของพระสุคตนั้น ยาว ๙ คืบพระสุคต กว้าง ๖ คืบ ต้องตัดให้ได้ประมาณเสียก่อน จึงแสดงอาบัติตก
- 若比丘在制作袈裟时,和佛衣(佛陀的袈裟)的尺寸相等或超过,犯单堕。佛衣的尺寸:长九佛指距,宽六佛指距,必须剪掉(过长的部分),才可以出罪。
ภิกษุผู้เป็นอาทิกัมมิกะในสิกขาบทนี้ คือ พระนันทะ
该戒的最初犯行者是难陀比丘。
สิกขาบทตั้งแต่ ๗ – ๑๐ จัดเป็น เฉทนกปาจิตตีย์ ต้องตัดให้ได้ประมาณเสียก่อนจึงจะแสดงอาบัติตก
该品中的第七至第十条戒属于截断单堕,必须剪掉(过长的部分),才可以出罪。
สรุปปาจิตตีย์
单堕罪之总结
การละเมิดสิกขาบทในปาจิตติยกัณฑ์นี้ ให้ต้องอาบัติปาจิตตีย์เสมอกัน แต่มีความเสียหายเกิดขึ้นยิ่งหย่อนกว่ากัน ดังนี้
对于违犯单堕罪,所受的惩罚是相同的,但会造成轻重不等的损失,有如:
หมวดที่ ๑ ล่วงเข้าแล้วทำให้เป็นคนเลว เช่น พูดปด พูดส่อเสียด ดื่มสุราเมรัย
第一组:违犯后被视为恶劣者,例如:妄语;离间;饮酒。
หมวดที่ ๒ ล่วงเข้าแล้วทำให้เป็นคนดุร้าย เช่น ด่า ให้ประหารเงื้อมือดุจประหารฆ่าสัตว์ดิรัจฉาน
第二组:违犯后被视为凶恶者,例如:责骂;举手打或杀畜生。
หมวดที่ ๓ ล่วงเข้าแล้วทำให้เสียหาย เช่น นอนร่วมในเขตหลังคาเดียวกันกับหญิงนั่งที่ลับกับหญิง เดินทางกับผู้ซ่อนภาษี
第三组:违犯后被视为行为败坏,例如:和女人单独坐在或睡在隐密处;与违法商队相约同路而行。
หมวดที่ ๔ ล่วงเข้าแล้วส่อให้เห็นว่าเป็นคนซุกซน เช่น ว่ายน้ำเล่น หลอนให้กลัวซ่อนของเพื่อนล้อเล่น แกล้งพูดให้เกิดความรำคาญ
第四组:违犯后被视为顽皮者,例如:在水中嬉戏;吓唬他人;以藏匿他人资具来开玩笑;故意使其他比丘忧悔。
หมวดที่ ๕ ล่วงเข้าแล้วส่อให้เสียกิริยา เช่น น้อมลาภ ฉันปรัมปรโภชนะ เข้าไปนั่งแทรกแซงในบ้านที่เขากำลังบริโภคอาหาร ใช้จีวรที่ไม่ได้ถอนวิกัปป์ ติเตียนพระที่ทำกิจสงฆ์ เป็นต้น
第五组:违犯后被视为不礼貌,例如:占有利养;数数食;进入正在用餐的居士家中就坐;使用未净施的袈裟;批评如法行事之比丘等。
หมวดที่ ๖ ล่วงเข้าแล้วส่อให้เห็นความสะเพร่า เช่น เอาของสงฆ์ไปใช้แล้วไม่เก็บเอาน้ำมีตัวสัตว์รดหญ้า บริโภคน้ำมีตัวสัตว์
第六组:违犯后被视为马虎大意,例如:拿僧团的东西去用后不收拾;将有生物的水倾倒在草或土上;饮用有生物的水。
หมวดที่ ๗ ล่วงเข้าแล้วทำให้เสียธรรมเนียม เช่น นอนร่วมกับอนุปสัมบัน ขุดดินพรากภูตคาม ฉันอาหารในเวลาวิกาล
第七组:违犯后被视为违背风俗,例如:与未受具足戒者同宿;挖掘土地;砍伐植物;非时食。
กัณฑ์ที่ ๘ ปาฏิเทสนียะ ๔
第八章:四悔过
ความหมาย
定义
ปาฏิเทสนียะ แปลว่า อาบัติที่ต้องแสดงคืน เป็นเชื่อของอาบัติที่ภิกษุต้องเข้าแล้วจะต้องแสดงคืน จัดเป็นลหุกาบัติ มีโทษเบา เป็นสเตกิจฉา สามารถแก้ไขได้ด้วยการแสดงอาบัติต่อหน้าภิกษุอื่น มีทั้งหมด ๔ สิกขาบท ดังนี้
悔过指忏悔罪过之意,即若比丘有罪过,则必须要忏悔。属于轻罪,惩罚较轻,即可治之罪,可以在其他比丘面前做忏悔。共有四条戒,分别是:
๑. ภิกษุรับของเคี้ยวของฉันแต่มือนางภิกษุณี ผู้ไม่ใช่ญาติ ด้วยมือของตนมาบริโภค ต้องปาฏิเทสนียะ
- 若比丘从非亲戚关系的比丘尼手中,亲手接受嚼食或噉食而食,犯悔过。
ของเคี้ยว ได้แก่ ของที่จัดเป็นยามกาลิก สัตตาหกาลิก ยาวชีวิก ภิกษุรับประเคนไว้ด้วยตั้งใจว่าจะฉัน เป็นทุกกฏ ฉันเข้าไปเป็นปาฏิเทสนียะทุก ๆ คำกลืน
嚼食:时分药、七日药、尽形寿药。如果有比丘想食用而接受供养,犯恶作;每咽下一口都犯忏悔。
สิกขาบทนี้ทรงบัญญัติไว้เพื่อไม่ให้ภิกษุเบียดเบียนนางภิกษุณีผู้มีลาภน้อย ห้ามเฉพาะการรับจากมือโดยตรง ถ้านางภิกษุณีใช้ให้ผู้อื่นถวาย รับได้ ไม่เป็นอาบัติ
佛陀制定该戒是为了防止比丘侵占受供较少的比丘尼。只是规定不能亲手接受供养,如果是比丘尼命人供养,比丘则可以接受而不犯戒。
๒. ภิกษุฉันอยู่ในที่นิมนต์ ถ้ามีนางภิกษุณีมาสั่งทายกให้เอาสิ่งนั้นสิ่งนี้มาถวายเธอพึงไล่นางภิกษุณีนั้นให้ถอยออกไปเสียถ้าไม่ไล่ ต้องปาฏิเทสนียะ
- 若比丘受邀(在居士家)用餐,假如有一位比丘尼在旁指示施主拿这样或那样的食物来供养,比丘应将该比丘尼驱赶出去,如果没有驱赶,犯悔过。
สิกขาบทนี้ทรงบัญญัติเพื่อป้องกันไม่ให้ภิกษุถูกตำหนิ เพราะการที่นางภิกษุณีทำตัวเจ้ากี้เจ้าการให้ทายกถวายของอย่างนั้นอย่างนี้ แก่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง ย่อมจะทำให้คนมองไม่ดีและเข้าใจผิดว่าภิกษุกับนางภิกษุณีมีอะไรกันแบบชู้สาว
佛陀制定该戒是为了防止比丘受人非议。因为好管闲事的比丘尼指使施主供养各种食物给某位比丘,除了看起来不妥以外,还会让见者误解比丘与比丘尼有不正当关系。
๓. ภิกษุไม่เป็นไข้ เขาไม่ได้นิมนต์ รับของเคี้ยวของฉันในสกุลที่สงฆ์สมมติ(ยอมรับร่วมกัน) ว่าเป็นเสขะ มาบริโภค (ฉัน) ต้องปาฏิเทสนียะ
3.若比丘无病,也未受到邀请,在被认定为有学之家族,接受嚼食或噉食而食,犯悔过。
ตระกูลที่ได้รับสมมติว่า เสขะ ท่านหมายเอาตระกูลที่มีศรัทธามาก แต่บริจาคทรัพย์ทำบุญหมดสิ้น ประสบปัญหาทางเศรษฐกิจยากจน ได้รับความลำบากในการกิน การอยู่ ตระกูลเช่นนี้ทรงบัญญัติห้ามภิกษุบิณฑบาต เว้นไว้แต่เขานิมนต์หรือภิกษุอาพาธ รับได้เพราะไม่ต้องการให้เบียดเบียนเขาให้ลำบากซ้ำลงไปอีก
被认定为有学之家族,指该家族无比净信,乐善好施,但是经济困难,家境贫穷。像这样的家族,佛陀禁止比丘去托钵,除非对方邀请或比丘患病,才可以接受。因为不应该让对方的家境变得越来越困难。
๔. ภิกษุอยู่ในเสนาสนะป่าเป็นที่เปลี่ยว ไม่เป็นไข้ รับของเคี้ยวของฉันที่ทายกไม่ได้แจ้งความให้ทราบก่อนด้วยมือของตนมาบริโภค (ฉัน) ต้องปาฏิเทสนียะ
- 若比丘住在僻静的丛林,没有患病,也没有提前告知,而亲手接受施主供养的嚼食或噉食而食,犯悔过。
สิกขาบทนี้ทรงบัญญัติไว้เพื่อความปลอดภัยของภิกษุผู้อยู่ในเสนาสนะป่า เพราะภิกษุรับของเคี้ยวของฉันมา อาจถูกโจรแย่งชิงเอาของที่เขาทำบุญไปเสีย และโจรอาจทำร้ายภิกษุก็ได้แต่ถ้าทายกบอกล่วงหน้ารับได้ เพราะเขาจะได้เตรียมการป้องกันให้แก่ภิกษุ ไม่ให้ได้รับอันตรายจากโจร
佛陀制定该戒是为了保证居住在僻静丛林的比丘之安全。因为比丘受供的食物有可能会被强盗抢劫,而且还会遭遇生命危险。但如果施主事先告知,比丘则可以接受,因为他可以为比丘提供安全保障,不受强盗的威胁。
กัณฑ์ที่ ๙ เสขิยวัตร ๗๕
第九章:七十五众学
ความหมาย
定义
เสขิยวัตร คือ วัตรหรือข้อปฏิบัติที่ภิกษุจะต้องศึกษา ถือเป็นธรรมเนียมสำหรับฝึกฝนกิริยามารยาทของภิกษุ ให้ดูเรียบร้อยงดงาม สมกับภาวะของสมณะ ยังความเลื่อมใสให้เกิดแก่ผู้พบเห็น ไม่เป็นชื่อของอาบัติ แต่ปรับอาบัติทุกกฎแก่ผู้ไม่ปฏิบัติตามในทุก ๆ สิกขาบทเว้นแต่ไม่ได้ตั้งใจ เผลอ ไม่รู้ตัว และอาพาธหนัก ไม่อาจทำกิจวัตรได้ มีทั้งหมด ๗๕ สิกขาบท แบ่งเป็น ๔ หมวดดังนี้
众学指比丘应当学习的义务或学处。即是比丘应修习的行为礼貌,从而具足符合沙门身份的威仪,使善信生净信。它非罪之名称,但不如法修习,也会受到相应的惩罚,除非是无意者、无念者、无知者、患病者。共有七十五条戒,分成九组,分别是:
หมวดที่ ๑ ชื่อว่า สารูปะ ว่าด้วยกิริยามารยาที่ควรประพฤติในเวลาเข้าไปในหมู่บ้าน เริ่มตั้งแต่การนุ่งห่ม การสำรวมระวังอิริยาบถ การพูดคุย ให้อยู่ในอาการที่เหมาะสมมี ๒๖ สิกขาบท
第一组称为“适宜”:进入村落时,应修习的行为礼貌,包括穿着、威仪和交流,应适当如法,共有二十六条戒。
หมวดที่ ๒ ชื่อว่า โภชนปฏิสังยุต ว่าด้วยกิริยามารยาทที่ควรประพฤติในการรับบิณฑบาต และการฉันภัตตาหาร มี ๓๐ สิกขาบท
第二组称为“โภชนปฏิสังยุต”:在托钵和用餐时,应修习的行为礼貌,共有三十条戒。
หมวดที่ ๓ ชื่อว่า ธัมมเทสนาปฏิสังยุต ว่าด้วยกิริยามารยาทในการแสดงธรรมแก่ผู้อื่น มี ๑๖ สิกขาบท
第三组称为“ธัมมเทสนาปฏิสังยุต”:在讲经说法时,应修习的行为礼貌,共有十六条戒。
หมวดที่ ๔ ชื่อว่า ปกิณณกะ ว่าด้วยกิริยามารยาท ในการถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะและบ้วนน้ำลาย มี ๓ สิกขาบท
第四组称为“杂”:在排便、排尿、吐痰时,应修习的行为礼貌,共有三条戒。
เสขิยวัตรทั้ง ๗๕ สิ กขาบทนี้ ทรงกำหนดให้สามเณรศึกษาและปฏิบัติตามด้วย
必须牢记的威仪共有七十五条,佛陀规定沙弥也应当学习和实践。
หมวดที่ ๑ สารูป ว่าด้วยข้อประพฤติในเวลาเข้าบ้าน
第一组:适宜,即进入村落时,应修习的行为。
ในสารูปหมวดที่ ๑ มีทั้งหมด ๒๖ สิกขาบท จัดเป็นคู่ ๆ ได้ ๑๓ คู่ ดังนี้
在第一组适宜中,有二十六条戒,两两为一对,共有十三对,分别如下:
คู่ที่ ๑ (๑ – ๒) ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักนุ่งห่มให้เรียบร้อย ไป – นั่งในบ้าน
第一对(1-2):前往或坐在居士家时,我衣着包覆整齐,应当学。
นุ่งให้เรียบร้อย ได้แก่ นุ่งสบงให้ได้ปริมณฑล เบื้องบนสูงเพียงเอวให้ปิดสะดือชายเบื้องล่างให้อยู่ระดับประมาณครึ่งแข้ง ห่มให้เรียบร้อย ได้แก่ ห่มจีวรให้ได้ปริมณฑล ทำมุมผ้าทั้ง ๒ ให้เสมอกัน ไม่ปล่อยให้ผ้าเลื้อยหน้าเลื้อยหลัง
包覆整齐指穿着内衣时包裹整齐,上边高至腰部,遮住肚脐,下边低至小腿的一半。上衣也要包覆整齐,两件衣服都要保持平行一致,不应前后下垂。
ธรรมเนียมในปัจจุบัน ถ้าอยู่ในบริเวณวัด ให้ห่มเฉวียงบ่า โดยปิดบ่าและแขนซ้ายเปิดบ่าข้างขวา ถ้าออกนอกวัด ให้ห่มคลุมปิดบ่าและแขนทั้ง ๒ ข้าง สูงปิดหลุมคอ ชายอยู่ระหว่างครึ่งแข้ง
依当代风俗,如果在寺院内,应覆盖左肩,偏袒右肩。如果外出,则覆盖双肩,上盖颈部,下盖小腿的一半。
คู่ที่ ๒ (๓ – ๔) ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักปิดกายด้วยดี ไป – นั่ง ในบ้าน
第二对(3-4):前往或坐在居士家时,我衣着包覆全身,应当学。
เมื่อนุ่งห่มเรียบร้อยแล้ว เวลายืน เดิน นั่งในบ้านต้องระมัดระวัง อย่าให้ผ้าเลื่อนลง ต้องคอยซักปกปิดอวัยวะที่กำหนดให้ปิด
包覆全身后,当站立、行走或端坐在居士家时,要小心谨慎,不要让上衣滑落,要按照规定包裹各个部位。
คู่ที่ ๓ (๕ – ๖) ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจัดระวังมือเท้าด้วยดี ไป – นั่ง ในบ้าน
第三对(5-6):前往或坐在居士家时,我威仪端正,应当学。
คือ ห้ามเล่นมือ เล่นเท้าขณะอยู่ในบ้าน เช่น กระดิกมือ กระดิกเท้าเล่น เป็นต้น ซึ่งส่อให้เห็นการไม่สำรวม ใช้มือและเท้าทำอย่างอื่น ไม่ใช่เพื่อเล่น ท่านอนุญาต
在前往或坐于居士家时,禁止用手足玩耍,例如:摇手摆足等,看似不懂得自制。如果用手足做其他的事情,而不是为了玩耍,则是被允许的。
คู่ที่ ๔ (๗ – ๘) ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักมีตาทอดลง ไป – นั่ง ในบ้าน
第四对(7-8):前往或坐在居士家时,我垂目而视,应当学。
คือ ทอดสายตาต่ำลงห่างตัวประมาณหนึ่งวา มิให้สอดส่ายสายตาหันมองโน่นมองนี่เหมือนขโมย ซึ่งไม่เหมาะกับกิริยาของผู้สำรวม
垂目而视约两米远,禁止如盗贼一般左顾右盼,那非自制者之行为。
คู่ที่ ๕ (๙ – ๑๐) ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่เวิกผ้า ไป – นั่ง ในบ้าน
第五对(9-10):前往或坐在居士家时,我不拉高袈裟,应当学。
การเวิกผ้า คือการถกชายจีวรขึ้นพาดบ่า เปิดให้เห็นสีข้างดูไม่งาม
拉高袈裟指:将袈裟拉高至肩部,看见右肩而不雅观。
คู่ที่ ๖ (๑๑ – ๑๒) ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่หัวเราะ ไป – นั่ง ในบ้าน
第六对(11-12):前往或坐在居士家时,我不大笑,应当学。
การหัวเราะเฮฮา หรือการกระซิกกระซี้เพื่อให้ครื้นเครงเป็นการเสียสังวร
兴高采烈的嘻哈大笑或轻轻地笑,会破坏六根清净。
คู่ที่ ๗ (๑๓ – ๑๔) ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่พูดเสียงดัง ไป – นั่ง ในบ้าน
第七对(13-14):前往或坐在居士家时,我不高声交谈,应当学。
พูดเสียงปกติธรรมดา คือ นั่งห่างกัน ๖ ศอก ได้ยินชัดเจนไม่ให้เปล่งเสียงดังหรือตะโกน พูดไมค์ออกเสียงเพื่อแสดงธรรมไม่ผิด
以正常的音量交谈指双方距离约三米,可清晰听见对方的声音。禁止大声说话或喧哗,为开示佛法而使用麦克风不违犯。
คู่ที่ ๘ (๑๕ – ๑๖) ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่โคลงกาย ไป – นั่ง ในบ้าน
第八对(15-16):前往或坐在居士家时,我不晃动身体,应当学。
ห้ามไม่ให้โคลงกายไปมา เวลาเดิน ยืน หรือนั่ง ต้องตั้งตัวให้ตรง แต่มิใช่นั่งเบ่งตัวเพื่ออวดตัวเอง
如果不让身体晃动,在行走、站立或坐着的时候,应昂首挺胸,而不是为了装腔作势。
คู่ที่ ๙ (๑๗ – ๑๘) ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ไกวแขน ไป – นั่ง ในบ้าน
第九对(17-18):前往或坐在居士家时,我不挥动手臂,应当学。
ห้ามกางแขนออกแกว่งไกว เพื่อแสดงตนให้ดูดี หรือเพื่อแสดงลีลานวยนาด ให้ห้อยแขนแนบลำตัวตามปกติ ถ้ากางแขนออกเพราะจำเป็น ไม่ต้องอาบัติ
为了自身的威仪或展现庄严的姿态,禁止摇摆挥动手臂,应自然的摆动手臂。如果因需要而挥动手臂,则不犯。
คู่ที่ ๑๐ (๑๙ – ๒๐) ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่สั่นศีรษะ ไป – นั่ง ในบ้าน
第十对(19-20):前往或坐在居士家时,我不摇头晃脑,应当学。
ห้ามไม่ให้เดินหรือนั่งคอพับ เอียงไปข้างใดข้างหนึ่ง ต้องตั้งศีรษะให้ตรง การพยักหน้าในขณะพูด ก็จัดเป็นการสั่นศีรษะเหมือนกัน
在行走或坐着时禁止头歪,斜向一侧,应端正头部。在交谈时点头,也同样属于摇头晃脑。
คู่ที่ ๑๑ (๒๑ – ๒๒) ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่เอามือค้ำกาย ไป – นั่งในบ้าน
第十一对(21-22):前往或坐在居士家时,我不用手支撑身,应当学。
ห้ามไม่ให้เอามือเท้าสะเอว ไม่นั่งเท้าแขน ไม่เท้าศอกบนโต๊ะ หรือนั่งค้ำคาง เป็นต้น เพราะดูไม่งาม
禁止双手叉腰、跷二郎腿、在桌上撑胳膊肘或撑下巴等,看着不雅观。
คู่ที่ ๑๒ (๒๓ – ๒๔) ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่เอาผ้าคลุมศีรษะ ไป – นั่งในบ้าน
第十二对(23-24):前往或坐在居士家时,我不用布盖头,应当学。
ห้ามไม่ให้เอาผ้าคลุม โพกหรือมัดศีรษะเหมือนฆราวาส
禁止像居士那样用布来盖、裹或缠头。
ข้อที่ ๒๕ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่เดินกระโหย่งเท้าไปในบ้าน
第二十五条戒:前往居士家时,我不踮起脚走路,应当学。
คือห้ามเดินเขย่งเท้า ทำตัวให้สูง รวมถึงการเดินอย่างอื่น ที่ไม่ใช่การเดินเหยียบตามปกติ เช่น การเดินตะแคงเท้า การเดินลากส้น เป็นต้น
禁止撑起脚尖行走,使自己看似高大的样子。包括其他不正常的行走姿势,例如:侧脚行走、托脚后跟行走等。
ข้อที่ ๒๖ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่นั่งรัดเข่าในบ้าน
第二十五条戒:坐在居士家时,我不抱住膝盖而坐,应当学。
ห้ามมิให้นั่งยอง ๆ เอามือรัดเข่าหรือเอาผ้ารัดรอบ เพราะดูไม่งาม
禁止蹲着用手或腰带抱住膝盖,看着不雅观。
ข้อ ๑ – ๒ ต้องถือปฏิบัติทั้งในวัดและในบ้าน ตั้งแต่ข้อ ๓ – ๒๖ ต้องถือปฏิบัติเคร่งครัดในบ้าน แต่ถ้าเขาจัดที่พักแรมในบ้านภิกษุจะปฏิบัติตนเหมือนอยู่ในวัดก็ได้
第一和第二条戒无论是在寺院或居士家时,都应如法修习。从第三条戒至二十六条戒,在居士家时要严格修习,如果居士安排比丘留家过夜,则应如同在寺院中一般。
หมวดที่ ๒ โภชนปฏิสังยุต ว่าด้วยการรับและฉันภัตตาหาร
第一组:โภชนปฏิสังยุต,即关于接受食物和用餐的行为。
มีทั้งหมด ๓๐ สิกขาบท ดังนี้ คือ
共有三十条戒,分别如下:
๑. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักรับบิณฑบาตโดยเคารพ คือ รับบิณฑบาตด้วยความเต็มใจ ไม่แสดงอาการดูหมิ่นดูแคลน
- 我恭敬接受食物,应当学。即心甘情愿的受食,不轻视或鄙视对方。
๒. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เมื่อรับบิณฑบาตเราจักดูแลแต่ในบาตร คือ ในขณะที่รับบิณฑบาต ห้ามมองดูหน้าทายก หรือมองไปทางอื่น ให้มองดูแต่ในบาตรเท่านั้น
- 我接受食物时注视钵,应当学。即受食时不要望着施主的脸或左顾右盼,专心注视自己的钵。
๓. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักรับแกงพอควรแก่ข้าวสุก เวลารับบิณฑบาต ท่านห้ามรับแต่รายที่มีกับข้าว โดยผ่านทายกผู้ใส่แต่ข้าวเปล่าไปเสีย และเวลารับกับข้าวก็ให้รับแต่พอดีกับข้าวสุก รับอาหารมากกว่าข้าว ไม่ควร
- 我接受和米饭适量的菜,应当学。即受食时不能只接受菜,越过施米饭的施主。同时,在接受食物时,接受适量的米饭,而接受的菜不应多过米饭。
๔. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักรับบิณฑบาตแต่พอเสมอขอบปากบาตร ขอบบาตรนั้น หมายเอาขอบล่าง ภิกษุรับเอาเกินขอบปากบาตร เพราะโลภเป็นอาบัติ ถ้ารับด้วยอาการรักษาศรัทธา หรือเพื่ออนุเคราะห์ด้วยเมตตา ไม่ถือว่าวผิด
- 我接受平钵口的食物,应当学。平钵指平下钵口。若比丘因贪心受食而溢出钵口,则犯戒;但若出于护持净信或为了慈悲援助而溢钵受食,则不犯。
๕. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักฉันบิณฑบาตโดยเคารพ คือ ฉันเพื่อยังชีพให้เป็นอยู่ ไม่แสดงอาการรังเกียจว่าเป็นของที่ไม่ดี ไม่อร่อย ไม่ชอบ
- 我恭敬用餐,应当学。即饮食是为了维持生命,不应厌恶而说食物不精致、不美味或不喜欢。
๖. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เมื่อฉันบิณฑบาต เราจักแลดูแต่ในบาตร คือขณะฉันห้ามแลดูสิ่งอื่น เพราะการมองดูโน่นดูนี่ ขณะกำลังเคี้ยวอยู่ในปาก เป็นกิริยาที่ไม่งาม
- 我用餐时注视钵,应当学。即在用餐期间,禁止东张西望,因为在咀嚼食物时左顾右盼的行为不雅观。
๗. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ขุดข้าวสุกให้แหว่ง คือ ห้ามไม่ให้หยิบข้าวในที่เดียว จนเป็นหลุมลึกลงไป
- 我次第取食,应当学。即不应往同一处舀饭,而使之形成一个深洞。
๘. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักฉันแกงพอสมควรแก่ข้าวสุก คือ ห้ามไม่ให้ฉันเฉพาะแกง ให้ฉันข้าวกับอาหารพอ ๆ กัน และไม่ฉันแบบตะกละตะกลาม
- 我食用和米饭适量的菜,应当学。即不应只吃菜,而是吃和米饭等量的菜,不应嘴馋。
๙. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ฉันขยุ้มข้าวสุกแต่ยอดลงไป คือ เมื่อมีข้าวพูนเป็นยอดต้องเกลี่ยให้เสมอกันแล้วจึงฉัน
- 我不从顶端揉捏食物而食,应当学。即当饭菜积成一堆时,应将之摊平再食用。
๑๐. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่กลบแกงหรือกับข้าวด้วยข้าวสุก เพราะอยากได้มาก คือ เมื่อไปฉันในกิจนิมนต์ทายกจะคอยอังคาส คือ เติมของฉันถวาย ห้ามมิให้เอาข้าวสุกกลบแกง
- 我不应为了获得更多的菜,而用饭将菜覆盖起来,应当学。即受邀用餐时,施主会次第施食,此时比丘不应用米饭将菜覆盖。
๑๑. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราไม่เจ็บไข้ จักไม่ขอแกงหรือข้าวสุก เพื่อประโยชน์แก่ตนมาฉัน ถ้าขอกับญาติหรือผู้ปวารณาได้ หรือขอมาให้ภิกษุผู้อาพาธก็ได้เช่นกัน
- 我无病时,不会为了自己的利益而要求取菜或饭来食用,应当学。如果是向亲戚取用;居士自愿邀请;替患病比丘求取皆不犯。
๑๒. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ดูบาตรของผู้อื่นด้วยคิดจะยกโทษ คือ ไม่แลดูบาตรของภิกษุสามเณรอื่นด้วยคิดจะตำหนิว่าฉันมาก ฉันมูมมาม เป็นต้น ถ้าแลดูด้วยคิดจะให้ของฉันที่เขายังไม่มี ควรอยู่
- 我不会存心不满而注视别人的钵,应当学。即不会认为比丘或沙弥多食、满脸都是饭菜等而注视对方的钵。如果注视是为了给予对方所没有的食物,则允许。
๑๓. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ทำคำข้าวให้ใหญ่นัก ของอย่างอื่นที่ไม่ใช่ข้าวก็ห้าม ไม่ให้ทำคำใหญ่ เพราะทำให้ดูไม่งาม
- 我不做过大的饭团 ,应当学。除了饭以外的其他食物,也禁止做得过大,因为看着不雅观。
๑๔. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักทำคำข้าวให้กลมกล่อม คือ ทำให้เป็นคำขนาดพอดีปาก
- 我要做圆的饭团,应当学。应做成大小合适入口的饭团。
๑๕. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เมื่อคำข้าวยังไม่ถึงปาก จักไม่อ้าปากไว้คอยท่า คือไม่ให้อ้าปากไว้ก่อนส่งข้าวเข้าปาก เมื่อยกคำข้าวมาจ่อที่ปากแล้วจึงอ้ารับได้ และขณะที่เคี้ยวอยู่ห้ามอ้าปาก ให้หุบปากเคี้ยว
- 当食物未送至口边时,我不张口待食,应当学。即不应在饭团未近口边时就张口待食,而应等饭团送至口边时才张口。同时在咀嚼时,不应张开嘴巴,应合嘴嚼食。
๑๖. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่าเมื่อฉันอยู่ เราจักไม่เอามือสอดเข้าปาก คือ ห้ามเอานิ้วมือล้วงเข้าไปในปาก หรือดูดเลียนิ้วมือ เพราะทำให้ดูสกปรก
- 用餐时,我不将手塞入口中,应当学。禁止将手指塞入口里,或舔手指,因为看起来很肮脏。
๑๗. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เมื่อคำข้าวยังอยู่ในปาก เราจักไม่พูด ขณะที่เคี้ยวอาหารอยู่ ห้ามพูด เพราะจะทำให้เห็นอาหารที่อยู่ในปาก และอาหารอาจร่วงจากปาก ดูน่าเกลียด
17.我不口含饭团说话,应当学。即正在咀嚼时禁止说话,因为会看见口中的食物,以及食物可能从口中掉出来,看着讨人憎恶。
๑๘. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่โยนคำข้าวเข้าปาก คือ ไม่โยนคำข้าวแล้วอ้าปากรับ เพราะเป็นกิริยาที่ซุกซน
18.我不用投掷的方式送饭团入口,应当学。即不要投掷饭团,然后张嘴接,因为那是一种顽皮且不雅之行为。
๑๙. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ฉันกัดคำข้าว กัดของอื่น เช่น ขนมแข็งหรือผลไม้ ไม่ห้าม ข้อนี้บัญญัติเพื่อมิให้ฉันมูมมาม
19.我不将饭团咬断来吃,应当学。咬断如面包、水果等食物则被允许。制定该戒是为了在用餐时,不要吃得满脸都是食物。
๒๐. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ฉันทำกระพุ้งแก้มให้ตุ่ย ห้ามฉันอมไว้มาก ๆจึงเคี้ยว เพราะเวลาเคี้ยวจะทำให้แก้มตุ่ยออกมา ดูไม่งาม
20.我不大口地吃,应当学。不要含着过多的食物然后再咀嚼,因为咀嚼时会掉落出来,看着不雅观。
๒๑. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ฉันพลางสะบัดมือพลาง ข้อนี้ท่านห้ามสะบัดมือ เมื่อมีข้าวสุกติดมือให้ล้างด้วยน้ำ
21.我不一边吃一边甩手,应当学。即当有米饭粘手时,应以水冲洗而不应甩手。
๒๒. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ฉันโปรยเมล็ดข้าว คือ ห้ามไม่ให้ทำข้าวหก__ลงในบาตรหรือบนพื้น
22.我不散落饭粒地吃,应当学。即不应让饭粒散落于钵内或地板上。
๒๓. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ฉันแลบลิ้น เพราะเป็นกิริยาที่น่าเกลียด
23.我不吐舌地吃,应当学。因为这是一种讨人憎恶的行为。
๒๔. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ฉันดังจับ ๆ
24.我不咀嚼出声地吃,应当学。
๒๕. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ฉันดังซูด ๆ ขณะซดน้ำ
25.我不吸食出嘶嘶声,应当学。
๒๖. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ฉันเลียมือ คือแลบลิ้นเลียอาหารที่ติดมือหรือติดซ้อนส้อมเข้าปาก
- 我不舔手地吃,应当学。即伸舌头舔粘在手、勺子、叉子上的食物,然后送进口中。
๒๗. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ฉันขอดบาตร ข้าวเหลือน้อยไม่พอคำ ห้ามไม่ให้ตะล่อมรวมเข้าฉัน
- 我不舔钵地吃,应当学。当剩下不够一口饭时,禁止舔食。
๒๘. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ฉันเลียริมฝีปาก หากเปื้อนให้ใช้ผ้าเช็ด หรือใช้น้ำล้าง
- 我不舔嘴唇地吃,应当学。如果弄脏的话,应用纸巾擦拭或用水清洗。
๒๙. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่เอามือที่เปื้อนจับภาชนะน้ำ เพราะจะทำให้ภาชนะเปื้อนไปด้วย
- 我不用拿过食物的手拿饮水瓶,应当学。因为会使水瓶变得肮脏。
๓๐. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่เอาน้ำล้างบาตร ที่มีเมล็ดข้าวเทในบ้านแม้ไม่มีเมล็ดข้าวก็ไม่ควรเท
- 我不将混有饭粒的洗钵水倒在居士家,应当学。即便是没有饭粒也不应该倒。
หมวดที่ ๓ ธัมมเทสนาปฏิสังยุต ว่าด้วยการแสดงธรรม
第三组:ธัมมเทสนาปฏิสังยุต,即开示佛法。
มี ๑๖ สิกขาบท ดังนี้
共有十六条戒,分别如下:
๑. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้มีร่มในมือ
- 我不对无病而拿伞的人说法,应当学。
๒. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้มีไม้พลองในมือ
- 我不对无病而拿拐杖的人说法,应当学。
๓. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้มีอาวุธในมือ
- 我不对无病而拿武器的人说法,应当学。
๔. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้มีศัสตราในมือ
- 我不对无病而拿刀的人说法,应当学
๕. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้สวมเขียงเท้าคือ สวมรองเท้ามีส้น
- 我不对无病而穿(有根)凉鞋的人说法,应当学。
๖. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้สวมรองเท้า
- 我不对无病而穿拖鞋的人说法,应当学。
๗. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ผู้ไปในยาน คืออยู่ระหว่างเดินทางด้วยยานพาหนะ ถ้านั่งในรถ หรือเรือลำเดียวกัน แสดงได้ แต่ถ้าไม่ได้นั่งในยานเดียวกัน ห้ามแสดง
- 我不对无病而坐在车上的人说法,应当学。即是在出行乘坐交通工具时,如果同坐在车或船中可以说法。如果不是同坐一辆车,则不能说法。
๘. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้อยู่บนที่นอน
- 我不对无病而躺在床上的人说法,应当学。
๙. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้นั่งรัดเข่า
- 我不对无病而抱住膝盖坐着的人说法,应当学。
๑๐. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้พันศีรษะ
- 我不对无病而缠头巾的人说法,应当学。
๑๑. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้คลุมศีรษะ
11.我不对无病而盖头巾的人说法,应当学。
๑๒. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้นั่งบนอาสนะ
- 我不对无病而坐在位子上的人说法,应当学。
๑๓. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้นั่งบนอาสนะสูง
- 我不对无病而坐在高位子上的人说法,应当学。
๑๔. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้นั่งอยู่
- 我不对无病而坐着的人说法,应当学。
๑๕. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ผู้เดินไปข้างหน้า
- 我不对无病而走在前面的人说法,应当学。
๑๖. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ผู้ไปอยู่ในทาง
- 我不对无病而走在路上的人说法,应当学。
ทั้ง ๑๖ สิกขาบทนี้ เป็นข้อห้ามไม่ให้ภิกษุแสดงธรรมแก่ผู้ไม่ทำเคารพในพระธรรมภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ต้องอาบัติทุกกฎในทุกสิกขาบท
这十六条戒是为了禁止比丘向不恭敬佛法的人讲法,如果比丘有轻侮之态度,犯恶作。
หมวดที่ ๔ ปกิณกะ ว่าด้วยเรื่องเบ็ดเตล็ด
第四组:杂,即琐碎之事。
มี ๓ สิกขาบท ดังนี้
共有三条戒,分别如下:
๑. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราไม่เป็นไข้ จักไม่ยืนถ่ายอุจจาระ ถ่ายปัสสาวะ
- 我无病时,不站着大小便,应当学。
๒. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราไม่เป็นไข้ จักไม่ยืนถ่ายอุจจาระ ถ่ายปัสสาวะ บ้วนเขฬะ (เสมหะหรือเสลด, น้ำลาย) ลงในของเขียว
- 我无病时,不站着在绿色植物上大小便﹑吐唾(痰或口水),应当学。
ของเขียวในสิกขาบทนี้ ได้แก่ พืช ผัก หญ้า หรือข้าวกล้า เป็นต้น ที่เขาปลูกไว้เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ ของเขียวที่คนไม่ต้องการ ไม่จัดเข้าในสิกขาบทนี้
该戒的绿色植物指根茎、菜、草或稻秧等。即对于人有利用价值的植物,对于人无利用价值的植物,则不归在该戒中。
๓. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราไม่เป็นไข้ จักไม่ยืนถ่ายอุจจาระ ถ่ายปัสสาวะ บ้วนเขฬะ ลงในน้ำ
- 我无病时,不在水上大小便﹑吐唾,应当学。
น้ำในที่นี้ หมายเอา น้ำที่เขาต้องใช้สอย น้ำที่ไม่มีคนใช้ ไม่เป็นอาบัติ
该戒的水指人所使用的水,对于不是人所使用的水,则不犯。
กัณฑ์ที่ ๑๐ อธิกรณสมถะ ๗
第十章:七灭诤
ความหมาย
定义
อธิกรณสมถะ คือ ธรรมเครื่องระงับอธิกรณ์ ธรรมที่ยังอธิกรณ์ให้สงบ หรือวิธีระงับอธิกรณ์
灭诤指止灭诤事之法;裁断诤事之法或平息诤事之方法。
อธิกรณ์ คือ เรื่องที่เกิดขึ้นแล้ว สงฆ์จะต้องดำเนินการให้เรียบร้อย แบ่งเป็น ๔ประเภท คือ
诤事:当案件产生时,僧团会依法进行裁决,一共有四种类型,分别是:
๑. วิวาทาธิกรณ์ คือ เรื่องที่ภิกษุโต้เถียงกันเกี่ยวกับพระธรรมวินัย ว่าถูกหรือผิดใช่หรือไม่ใช่
- 争论诤事:关于法律之对错与否的争论。
วิวาทธิกรณ์นี้เมื่อเกิดขึ้นแล้ว สงฆ์ต้องประชุมตัดสินชี้ขาดว่าจริงหรือไม่จริง ถูกหรือผิดเพื่อให้ภิกษุมีความเข้าใจและนำไปปฏิบัติเป็นแนวเดียวกัน
当争论诤事产生时,僧团将会集会商议裁决真假对错,以便让众比丘有统一的认识并实践一致。
๒. อนุวาทาธิกรณ์ คือ เรื่องที่ภิกษุโจท (หรือกล่าวหา) กันด้วยอาบัติ
2.非难诤事:关于对罪状的控告或指控。
การโจทกันด้วยอาบัตินี้ พระพุทธองค์ทรงอนุญาตให้ทำแก่ภิกษุผู้ไม่มียางอาย คือ ต้องอาบัติแล้ววางเฉยเสีย เพื่อให้สงฆ์วินิจฉัยปรับโทษตามอาบัติ อนุวาทาธิกรณ์นี้ เมื่อเกิดขึ้นแล้ว สงฆ์จะต้องวินิจฉัยว่าจริงตามที่โจทหรือไม่
佛陀允许对不知羞耻的比丘之罪状进行控告,即当比丘犯戒后却若无其事,这时僧团应对其犯的戒作出相应的惩罚。当非难诤事产生时,僧团必须根据事实真相决定是否作出控告。
๓. อาปัตตาธิกรณ์ คือ เรื่องที่ว่าด้วยการต้องอาบัติ
3.罪过诤事:关于犯戒、惩罚和出罪之事宜。
การปรับอาบัติ และวิธีการออกจากอาบัติ เป็นเรื่องที่ภิกษุผู้ต้องอาบัติจะต้องทำคืนกล่าวคือ ทำตัวเองให้พ้นจากอาบัติ โดยการแสดงอาบัติบ้าง อยู่กรรมบ้าง ลาสิกขาบ้าง ตามโทษแห่งอาบัติที่ตนล่วงละเมิด
对于犯戒的比丘必须经历惩罚和出罪的过程。即为了出罪,比丘会根据自己所违犯的戒,接受忏悔、羯磨或还俗的惩罚。
๔. กิจจาธิกรณ์ คือ เรื่องที่เกี่ยวกับกิจต่าง ๆ ของพระสงฆ์ เช่น การให้อุปสมบทการกรานกฐิน การลงอุโบสถ เป็นต้น
4.义务诤事:关于比丘应行之种种事宜,例如:受戒、受持迦絺那衣、举行布萨等。
กิจจาธิกรณ์นี้ เมื่อเกิดขึ้นแล้ว สงฆ์จะต้องทำให้เสร็จ
当义务诤事产生时,僧团要妥善处理好。
อธิกรณ์ทั้ง ๔ นี้ เมื่อเกิดขึ้นแล้ว เป็นหน้าที่ของสงฆ์ที่ต้องจัดต้องทำแก้ไขให้เรียบร้อยและให้ถูกต้องตามหลักที่พระพุทธองค์ทรงบัญญัติไว้ ที่เรียกว่า อธิกรณสมถะ ๗ ประการ ดังนี้
当上述四种诤事发生后,僧团应遵循佛陀制定的戒律进行妥善处理。至于七灭诤,分别如下:
๑. สัมมุขาวินัย คือ วิธีระงับในที่พร้อมหน้า ได้แก่ การระงับที่พร้อมด้วยองค์ ๔ประการ คือ
1.现前毘尼:当面止灭之方法,即具足四个条件而止灭,分别是:
๑) สงฆ์ประชุมกันครบกำหนด (พร้อมหน้าสงฆ์)
(1)僧团按规定集会(僧团当面)
๒) บุคคลที่เกี่ยวข้องในเรื่องนั้น (พร้อมหน้าบุคคล)
(2)与事情相关的人员(人员当面)
๓) ยกเรื่องที่เกิดขึ้นแล้วมาวินิจฉัย (พร้อมหน้าวัตถุ)
(3)对产生的事情进行裁决(证据当面)
๔) ผลการวินิจฉัยถูกต้องตามพระธรรมวินัย (พร้อมหน้าธรรม)
(4)裁决的结果如法(法与律当面)
สัมมุขาวินัยใช้ระงับอธิกรณ์ได้ทุกเรื่อง
现前毘尼可以止灭种种诤事。
๒. สติวินัย คือ วิธีระงับโดยยกสติขึ้นเป็นหลัก
2.忆念毘尼:以正念而止灭之方法。
กล่าวคือ สวดประกาศให้สมมติแด่พระอรหันต์ว่าเป็นผู้มีสติสมบูรณ์ เป็นผู้ได้รับการยกเว้นจากอาบัติทุก ๆ อย่าง เพื่อระงับอนุวาทาธิกรณ์ในกรณีที่มีผู้โจทด้วยอาบัติที่เธอล่วงละเมิดในขณะเป็นบ้า
宣布阿罗汉是具足正念者,可以远离一切罪,以此来止灭非难诤事。例如,有精神错乱的比丘控告阿罗汉犯戒。
๓. อมูฬหวินัย คือ วิธีระงับโดยการสวดประกาศสมมติให้แก่ภิกษุผู้หายเป็นบ้าแล้ว
3.不痴毘尼:宣告远离精神错乱的比丘无过之方法。
เพื่อระงับอนุวาทาธิกรณ์ในกรณีที่มีผู้โจทด้วยอาบัติที่เธอล่วงละเมิดในขณะเป็นบ้า
为了止灭因比丘精神错乱而犯戒被举罪,所产生的非难诤事。
๔. ปฏิญญาตกรณะ คือ วิธีระงับตามคำรับสารภาพของจำเลย กล่าวคือ จำเลยยอมรับสารภาพว่าต้องอาบัติเช่นใด ก็ให้ปรับอาบัติตามที่รับ การปลงอาบัติ忏悔 จัดเป็น
4.自言毘尼:依照被告者的供词进行止灭之方法。
ปฎิญญาตกรณะด้วยวิธีนี้ ใช้ระงับเฉพาะอาปัตตาธิกรณ์
自言毘尼只适用于止灭罪过诤事。
๕. เยภุยยสิกา คือ วิธีระงับด้วยถือเสียงข้างมาก คือ ตัดสินตามเสียงข้างมาก(ระบบประชาธิปไตย) สงฆ์จะใช้วิธีนี้ในกรณีที่บุคคลหลายฝ่ายมีความเห็นไม่ตรงกัน
5.多人语毘尼:服从多数的止灭方法。即当僧团中的比丘意见不合时,采取少数服从多数的原则进行裁决(民主制度)。
๖. ตัสสปาปิยสิกา คือ กิริยาที่ลงโทษแก่ผู้ผิด หรือ วิธีระงับด้วยการลงโทษแก่ผู้ทำผิดจริง ซึ่งเบื้องต้น ไม่ยอมรับ ต่อเมื่อพิจารณาตัดสินแล้วจึงยอมรับ เป็นวิธีเพิ่มโทษแก่ภิกษุผู้ประพฤติผิดอีกโสดหนึ่งจากความผิดเดิม เช่นเดียวกับคนทำความผิดหลายครั้ง ต้องรับโทษเพิ่มตามกฎหมายของบ้านเมือง
6.觅罪相毘尼:对犯错者进行惩罚之行为,或对犯错者的惩罚而止灭之方法。起初犯戒比丘不承认错误,但经省思裁决后承认错误,这是对错上加错的比丘加重惩罚之方法,同屡教不改者必须按照国家法律,接受数罪并罚是同样的道理。
๗. ติณวัตถารกวินัย คือ ระเบียบดังกลบไว้ด้วยหญ้า หรือ วิธีระงับดุจใช้หญ้ากลบไว้ในลักษณะแบบประนีประนอม ได้แก่ กิริยาที่ให้ประนีประนอมกันทั้งสองฝ่ายไม่ต้องชำระสางหาความเดิม วิธีนี้สำหรับใช้ในเรื่องที่ยุ่งยากและเป็นเรื่องสำคัญอันจะเป็นเครื่องกระทบกระเทือนไปทั่ว เช่น เรื่องภิกษุชาวเมืองโกสัมพีแตกสามัคคีกันเป็นตัวอย่าง
7.如草覆地毗尼:如同用草来覆盖或像用草遮掩而得止灭之方法。即使双方妥协,不再追究该诤事的一种行为。该方法主要使用于棘手并造成较大影响的事件上,例如:以桥赏弥城的比丘失和合之事件为例。
อธิกรณสมถะ ๗ อย่างนี้ ท่านกำหนดให้ใช้ระงับอธิกรณ์ ๔ อย่างได้ ดังนี้
佛陀对以七种方法止灭四诤事的规定,分别是:
สัมมุขาวินัย ใช้ระงับอธิกรณ์ได้ทั้ง ๔ อย่าง
现前毘尼可以止灭四种诤事。
สติวินัย อมูฬหวินัย และตัสสปาปิยสิกา ใช้ระงับเฉพาะอนุวาทาธิกรณ์
忆念毘尼、不痴毘尼和觅罪相毘尼只能止灭非难诤事。
ปฏิญญาตกรณะ และติณวัตถารกวินัย ใช้ระงับอาปัตตาธิกรณ์และอนุวาทาธิกรณ์
自言毘尼和如草覆地毗尼,可以止灭罪过诤事和非难诤事。
เยภุยยสิกา ใช้ระงับเฉพาะวิวาทาธิกรณ์
多人语毘尼只能止灭争论诤事。
กัณฑ์ที่ ๑๑ มาตรา
第十一章:计量
ความหมาย
定义
กิริยากำหนดประมาณ เรียกว่า มาตรา ในพระวินัยบัญญัติมีบางสิกขาระบุถึงมาตราไว้ ซึ่งในวินัยมุขท่านแจกเป็น ๕ ประเภท คือ
计量指实现单位统一、量值准确可靠的活动。在戒律中,有些戒条会涉及计量单位,而佛陀则将计量分为五种,分别是:
๑) มาตราเวลา
(1)时间计量
๒) มาตราวัด
(2)长度计量
๓) มาตราตวง
(3)容器计量
๔) มาตราชั่ง
(4)重量计量
๕) มาตรารูปิยะ
(5)卢比耶(金钱)计量
มาตราเวลา : หลักแห่งมาตรา กำหนดเอาการเวียนแห่งพระอาทิตย์รอบโลก ครั้งหนึ่งเป็นวันหนึ่ง นับตั้งแต่เห็นแสงอาทิตย์เรื่อ ๆ ซึ่งเรียกว่า อรุณ มีทั้งวิธีกระจายออก
และวิธีผนวกเข้า จะกล่าวเฉพาะวิธีหลังกำหนดตามโคจรแห่งพระจันทร์ ดังนี้
时间计量:地球自转一周的时间是一天,即曙光渐明,天空露白之状,称为明相。以下主要说明月亮公转的周期,即是:
๑๕ วันบ้าง ๑๔ วันบ้าง เป็น ๑ ปักษ์
十五天或十四天,称为半月。
๒ ปักษ์ เป็น ๑ เดือน
两个半月,称为一个月。
๔ เดือน เป็น ๑ ฤดู
四个月称为一个季节。
๓ ฤดู เป็น ๑ ปี
三个季节称为一年。
คำอธิบาย
详解
พระจันทร์โคจรรอบโลก ๑ หน ใน ๒๙ วันครึ่ง จะนับ ๒๙ วันเป็น ๑ เดือนก็หย่อนไป จะนับ ๓๐ วันเป็นเดือนก็ยิ่งไป จึงต้องนับ ๕๙ วัน เป็น ๒ เดือน แล้วแบ่งเดือนหนึ่งให้มี ๓๐ วัน อีกเดือนหนึ่งให้มี ๒๙ วัน เพราะเหตุนั้น ปักษ์หนึ่งจึงมี ๑๕ วันบ้าง ๑๔ วันบ้าง
月球绕地球公转的周期是二十九天半,若算作二十九天则少,算作三十天则多。应以五十九天为两个月,一个月三十天,另一个月二十九天。基于此因,半个月有时为十五天,有时为十四天。
ในชั่วพระจันทร์โคจรรอบโลกนั้น ถึงจักรราศีห่างจากพระอาทิตย์ออกเพียงใด ก็ยิ่งสว่างขึ้นเพียงนั้น จนแลเห็นสว่างเต็มดวง เรียกว่า พระจันทร์เพ็ญ วันที่พระจันทร์สว่างเต็มดวง เรียกว่า วันปุรณมี หรือ วันเพ็ญ满月 ส่วนปักษ์ที่พระจันทร์โคจรห่างจากพระอาทิตย์ เรียก ศุกลปักษ์阴历上玄 แปลว่า ซีกมืด
月球绕地球公转时,天体轨道离太阳越远,月球就会越亮,随即形成明亮的圆月,称为满月。也就是当整个月亮被照亮,形状似圆时的月相称为“望月”或“满月”。当月亮有一半被太阳照亮,形如半圆,称为阴历上弦。
๒ ปักษ์นับเป็น ๑ เดือน
2.
เดือนนั้น ตั้งชื่อตามดาวฤกษ์ ที่ว่าพระจันทร์โคจรถึงวันเพ็ญเวลาเที่ยงคืน ดังนี้
เดือนทั้ง ๑๒ มีชื่อเรียกอย่างนี้
月亮公转至满月之半夜时,依星星的名称取名,十二个月份分别如下:
มาคสิรมาส เดือน ๑ (อ้าย) ปุสสมาส เดือน ๒ (ยี่)
阴历一月(正月) 阴历二月
มาฆมาส เดือน ๓ ผัคคุณมาส เดือน ๔
阴历三月 阴历四月
จิตตมาส เดือน ๕ เวสาขมาส หรือวิสาขมาส เดือน ๖
阴历五月 阴历六月
เชฏฐมาส เดือน ๗ อาสาฬหมาส เดือน ๘
阴历七月 阴历八月
สาวนมาส เดือน ๙ ภัททปทมาส เดือน ๑๐
阴历九月 阴历十月
อัสสยุชมาส หรือปฐมกัตติกมาส เดือน ๑๑ กัตติกมาส เดือน ๑๒
阴历十一月 阴历十二月
ฤดู ๓ มีชื่ออย่างนี้
三个季节,分别是:
๑. เหมันตฤดู ฤดูหนาว นับแต่เดือนมาคสิระ (แรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๒)
1.冬季:从阴历一月开始。(十二月下玄月初一)
๒. คิมหฤดู หรือคิมหันตฤดู ฤดูร้อน นับแต่เดือนจิตตะ (แรม ๑ ค่ำ เดือน ๔)
2.夏季:从阴历五月开始。(四月下玄月初一)
๓. วัสสานฤดู หรือวัสสนันตฤดู ฤดูฝน นับแต่เดือนสาวนะ (แรม ๑ ค่ำ เดือน ๘)
3.雨季:从阴历九月开始。(八月下玄月初一)
ขึ้นต้นปี เมื่อถึงเดือนมาคสิระต้นฤดูหนาว ไม่ได้นับศก เป็นแต่สังเกตฤดูฝน เช่น การอุปสมบท ล่วงฤดูฝนได้เท่าใด ก็นับว่าได้เท่านั้นฝน คือ พรรษา นับกาลตามลำพังจันทรคติไม่ได้ เพราะความเป็นไปแห่งธรรมดา เช่น ฝนชุก แห้งผาก ผลไม้เผล็ด อิงสุริยคติทั้งนั้น ถ้านับตามจันทรคติเสมอไป ฝนตกก็ดี ว่างฝนก็ดี ผลไม้เผล็ดก็ดี ย่อมจะโย้ไม่ตรงฤดูเพราะฉะนั้น จึงต้องนับจันทรคติให้อิงสุริยคติด้วย
每当年初阴历一月冬季时,不是按照纪元进行计算,例如受戒出家,当雨季何时结束,即可算作一个戒腊。也不是按照阴历进行计算,因为有时自然现象,例如:多雨、干旱、水果成熟等是按照阳历进行计算。但如果只按照阴历计算,无论是多雨、干旱或水果成熟,都可能不遵循季节变化,所以应以阴历结合阳历进行计算。
พระจันทร์โคจรรอบโลกได้ ๑๒ รอบ จัดว่าปี ๑ คือ ๑๒ เดือน นับวันได้ ๓๕๔ วันโลกโคจรรอบพระอาทิตย์ ๑ รอบ จัดว่าปี ๑ ได้วัน ๓๖๕ วัน ๖ นาฬิกาเศษ ผิดกัน ๑๑ วันเศษ ๓ ปีเหลื่อมกันกว่าเดือน เพื่อจะไม่ให้เคลื่อนคลาดกันมากไป จึงต้องเติมเดือนพระจันทร์ขึ้น ๑ เดือน ในปีที่ ๓ บ้าง ที่ ๒ บ้าง รวมเป็น ๑๓ เดือน เดือนที่เติมขึ้นนี้เรียก อธิกมาส ในรอบหนึ่ง คือ ๑๙ ปี คงเติมอธิกมาส ๗ ครั้ง
月球绕地球公转十二圈为一年,即十二个月,三百五十四天。地球绕太阳公转一圈是三百六十五天六小时,相差十一天,三年后则相差至一个月。因此,在两年或三年时增加一个月,即一年会有十三个月,而增加的月份称为闰月。在十九年间,应该会增加七个闰月。
มาตราวัด : สำหรับกำหนดระยะ คือ ห่าง ชิด สูง ต่ำ ยาว สั้น กว้าง แคบเดิมคงใช้นิ้วเป็นหลัก ในวิธีกระจายออกไป จับเอาเล็ดข้าวเป็นหลัก ดังนี้
长度计量:对于距离的规定,即远、近、高、低、长、短、宽、窄。起初以手指为主进行测量,后来以米粒进行测量,分别如下:
๗ เมล็ดข้าว เป็น ๑ นิ้ว ๑๒ นิ้ว เป็น ๑ คืบ
๒ คืบ เป็น ๑ ศอก ๔ ศอก เป็น ๑ วา
๒๕ วา เป็น ๑ อุสภะ ๘๐ อุสภะ เป็น ๑ คาวุต
๔ คาวุต เป็น ๑ โยชน์
七颗米粒等于一泰寸(约2.08厘米)
十二泰寸等于半泰尺(约25厘米)
两个半泰尺等于一泰尺(约50厘米)
四泰尺等于一泰丈(约2米)
二十五泰丈等于一勒沙婆(古代长度单位)
八十勒沙婆等于一伽浮他
四伽浮他等于一由旬
อีกอย่างหนึ่งกำหนดดังนี้ ๔ ศอก เป็น ๑ ธนู / ๕๐๐ ธนู เป็น ๑ โกสะ / ๔ โกสะ เป็น ๑ คาวุต / ๔ คาวุต เป็น ๑ โยชน์
另有一种分法:四泰尺等于一塔奴;五百塔奴等于一拘卢舍;四拘卢舍等于一伽浮他;四伽浮他等于一由旬。
ประโยชน์ของการศึกษามาตรานี้ ก็เพื่อเป็นอุปการะในทางวินิจฉัยวินัย มาตราที่เหลือคือ มาตราตวง มาตราชั่ง และมาตรารูปิยะ รวมถึงมาตราพิเศษ นักศึกษาผู้ต้องการความพิสดารและความเป็นผู้ฉลาดในพระวินัย พึงศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมในหนังสือวินัยมุขเล่ม ๑ เถิด
学习计量是为了更好的援助用戒律做出的判决。剩下的容器计量、重量计量、卢比耶(金钱)计量或其他计量单位,对于有兴趣或想精通戒律者,可以继续研习相关的书籍。
จบ วิชาวินัย นักธรรมชั้นตรี