การดูแลรักษาและบริหารปัจจัย ๔
维护和管理四事
ปัจจัย ๔ คือ สิ่งจำเป็นสำหรับชีวิต ๔ ประการ สำหรับพระภิกษุสามเณร ได้แก่ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ หรือ ที่พักอาศัย และยารักษาโรค เป็นเครื่องหล่อเลี้ยงชีวิตขั้นต่ำสุด ในการบริโภคใช้สอยนั้น หากสิ่งใดสิ่งหนึ่งขาดหรือน้อยเกินไปก็ตาม มากเกินไปก็ตาม หรือคุณภาพของสิ่งที่ใช้ดีเกินไปหรือด้อยเกินไปก็ตาม ย่อมมีผลกระทบต่อสุขภาพพลานามัย ชีวิต การประพฤติปฏิบัติธรรมของพระภิกษุ ความรู้สึกของประชาชนและเพื่อนสหธรรมมิกดังนั้น จึงควรพิจารณาตั้งแต่การหา (การรับ) การใช้ และการดูแลรักษา จึงมีความจำเป็นต้องดูแลรักษาและบริหารปัจจัย ๔ ได้อย่างถูกต้องและติดเป็นนิสัย
四事指出家人(比丘和沙弥)日常所需的四种资具,分别为袈裟、托钵、卧具或住所与医药。这是维持生活基本的必需品,如果缺乏或过剩,质量太好或太差都会对出家人的健康与修行,以及信众与道友的感受产生影响。因此,在寻找(接受)、使用与维护时要省思,正确维护和管理四事并养成习惯。
มัตตัญญู แปลว่า รู้จักประมาณ หมายถึง รู้จักความพอดี และความเหมาะสม ในทุกเรื่องราว ทุกสิ่งทุกอย่างที่เข้าไปเกี่ยวข้อง โดยในขั้นต้นพระพุทธองค์ทรงเน้นให้รู้จักประมาณในการรับปัจจัย ๔ คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ไว้เพื่อบริโภคใช้สอยให้เพียงพอต่อการดำรงชีวิตและการประพฤติปฏิบัติธรรมของพระภิกษุเป็นการป้องกันและบังคับใจตั้งแต่ต้น ไม่ให้ตกไปเป็นทาสแห่งกิเลส คือ ความอยากในรูปแบบต่างๆ กัน
知量指懂得节制,即对涉及的一切事情或东西懂得刚刚好与恰当。佛陀强调对于袈裟、托钵、卧具与医药的使用要懂得节制,以维持出家人的日常生活与修行,从源头开始对心起到保护的作用,不成为烦恼的奴隶。
อธิบายความ
释义
การที่คนจะคิด พูด ทำ ในทุกเรื่องราวที่เกี่ยวข้อง ได้อย่างพอดีและเหมาะสม คือ ไม่มากไป แต่ก็ไม่น้อยไป ไม่ขาด แต่ก็ไม่เกิน ไม่แข็งกร้าว แต่ก็ไม่เหยาะแหยะ ไม่ยืดยาด แต่ก็รู้จักยืดหยุ่น ฯลฯ คือไม่ตกอยู่ภายใต้อำนาจกิเลสได้นั้น เรียกว่า เป็นผู้รู้จักประมาณ
在想、说和做各种事情时要懂得刚刚好与恰当,即不多也不少,不缺也不余,不强硬也不软弱,不拖延而是保持弹性等等。也就是不被烦恼束缚,成为懂得节制的人。
การที่จะประมาณอะไรได้อย่างพอเหมาะพอดี ไม่สามารถชั่ง ตวง วัด ได้ด้วยเครื่องมือใดๆ ในโลก เพราะว่าความพอดีในแต่ละคน แตกต่างกันออกไป ขึ้นกับปัจจัยหลายอย่าง เช่นเรื่องอาหาร คนที่ตัวโตกว่าย่อมต้องการอาหารมากกว่าคนที่ตัวเล็กกว่า เป็นต้น หรือไม่ในคนๆ เดียวกัน ของชนิดเดียวกัน แต่ต่างวาระ ก็ยังต้องการไม่เท่ากันอีก เช่น เสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มในฤดูร้อน เปรียบเทียบกับในฤดูหนาว ชนิดและปริมาณที่ต้องการก็ต่างกัน
想要准确估量一件事,很难透过各种工具进行称量或测量,因为每个人的恰当程度不同,取决于多种因素。比如食物方面,食量大的人比食量小的人需要更多食物。或者同一个人,同一件东西在不同场合的需求也不相同,比如夏天与冬天所需衣物的类型与数量也不尽相同。
เพราะฉะนั้น ความพอดีจึงต้องประมาณเอาด้วยใจ มีความยืดหยุ่นได้ตามความจำเป็นและจะต้องอยู่ในกรอบที่ถูกต้องด้วย เพราะถ้ายืดหยุ่นมากเกินไป ก็กลายเป็นความยืดยาด หละหลวม ก่อให้เกิดผลเสียต่อการปฏิบัติธรรม ทำให้กามกำเริบ แต่ถ้าเคร่งตึง บังคับตนเองมากเกินไป ก็จะเป็นการทรมานตนเองเกินควร ทำให้เสียหายทั้งคู่ จึงต้องประมาณให้พอดี คือ พอแล้วดี ไม่ใช่คิดว่าพอ แต่จริงๆ แล้วเกิน หรือ คิดว่าพอแต่จริงๆ แล้วขาด
因此,要用心估量使之刚刚好。在合理的范围内根据需要保持弹性,但如果弹性过大也会造成疏忽大意,对修行造成负面影响,倘若过于严苛,太勉强自己,也是折磨自己,两者都有害无益。要懂得适量,即恰到好处,而不是过剩或短缺。
ใจที่จะประมาณอะไรได้ถูกต้องนั้น จะต้องเป็นใจที่ไม่ถูกครอบงำด้วยอำนาจกิเลส ซึ่งมักแสดงออกในรูปของ ความอยาก ความเบื่อ ความกลุ้ม ความเซ็ง ตรงกันข้าม กลับมีแต่ความผ่องใส ความมั่นคง สมบูรณ์พร้อมด้วยสติและปัญญา
懂得正确估量的心,是不被烦恼束缚的心,常表现为明亮、安定、具正念与智慧,而不是贪心、厌烦、忧愁、乏味。
ทำอย่างไรจึงจะฝึกสติปัญญา และฝึกความผ่องใสของใจ เพื่อจะได้สามารถประมาณอะไรได้ถูกต้องในทุกๆ เรื่อง คำตอบก็คือ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงมีบทฝึกที่ปัจจัย ๔ โดยทรงให้เริ่มต้นฝึกจาก ความรู้จักประมาณในการรับปัจจัย ๔
如何训练心具足正念、智慧与明亮,从而对每件事做出正确的估量?答案就是佛陀教导的首先要懂得合理使用四事。
วัตถุประสงค์ในการฝึกประมาณในการรับปัจจัย ๔ ก็เพื่อควบคุมใจ ไม่ให้ตกเป็นทาสแห่งความอยาก โดยเป็นการป้องกันตั้งแต่ต้น คือตั้งแต่การรับ เพราะโดยธรรมชาติแล้วมนุษย์มักจะตามใจตนเอง จึงต้องควบคุมความทะยานอยากเอาไว้ มิให้กำเริบเสิบสาน โดยในขณะรับปัจจัย ๔ ต้องใช้สติปัญญาเต็มที่ คือต้องใช้ “สติ” ควบคุมใจให้รู้จักความพอดี ไม่ยอมให้ความอยากเข้าครอบงำใจ โดยการควบคุมความต้องการของตนเอง ไม่ให้ขยายตัวเป็นความอยากไปจนถึงกลายเป็นความอยากอย่างไม่มีที่สิ้นสุด ควบคู่ไปกับการใช้ “ปัญญา” พินิจพิจารณาให้ถี่ถ้วนว่า ปัจจัยนั้น มีความเหมาะสมหรือไม่ ทั้งชนิดคุณภาพ วิธีการได้มา วิธีการใช้ และวัตถุประสงค์ในการใช้ เมื่อไม่ตกอยู่ในความทะยานอยากที่เป็นกิเลสเสียตั้งแต่ต้น เช่นนี้แล้ว ใจก็จะผ่องใสขึ้นมาเอง
训练合理使用四事的目的是为了调伏心,不做欲望的奴隶,从接受供养开始就做好预防。因为人类天生倾向于随心所欲,所以要控制心中的渴望,不让它肆意妄为。接受四事时应具足正念与智慧,也就是利用正念掌控心,懂得适可而止,不让欲望控制心,而是通过心调伏欲望,不让欲望增长,直至变成永无止尽的欲望。与此同时,用智慧省思接受的东西在种类、质量、获得的方式、使用的方法与使用的目的方面是否符合自己的身份和地位。如果从一开始就没有陷入贪爱的烦恼中,那么心自然就清净明亮。
ปัจจัย ๔ คืออะไร
什么是四事
ปัจจัย ๔ คือ สิ่งจำเป็นสำหรับชีวิต ๔ ประการ สำหรับพระภิกษุสามเณร ได้แก่
四事是出家人生活所必需的四种资具,分别为:
๑) จีวร ๒) บิณฑบาต ๓) เสนาสนะหรือที่พักอาศัย และ ๔) ยารักษาโรค ปัจจัย ๔ ยังเป็นเครื่องหล่อเลี้ยงชีวิตขั้นต่ำสุด ในการบริโภคใช้สอยนั้น หากสิ่งใดสิ่งหนึ่งขาดหรือน้อยเกินไปก็ตาม มากเกินไปก็ตาม หรือคุณภาพของสิ่งที่ใช้ดีเกินไปหรือด้อยเกินไปก็ตาม ย่อมมีผลกระทบต่อ
1.袈裟、2.托钵、3.卧具或住所、4.医药,这四种资具是维持生活基本的必需品。在使用过程中,如果哪一种资具缺乏或过剩,质量太好或太差都会对以下几个方面产生影响。
๑) สุขภาพพลานามัย
1.健康
๒) ชีวิต
2.生活
๓) การประพฤติปฏิบัติธรรมของพระภิกษุ
3.修行
๔) ความรู้สึกของประชาชนและเพื่อนสหธรรมมิก
4.信众与道友的感受
นอกจากนี้ ปัจจัย ๔ ยังหมายรวมถึง สิ่งของเครื่องใช้อื่นๆ ที่เนื่องด้วยปัจจัย ๔ เช่น
四事除了上述四种资具外,还包括:
๑) สิ่งของที่เนื่องด้วยจีวร เช่น เครื่องนอน เครื่องห่ม เข็ม ด้าย เป็นต้น
1.与袈裟相关的物品:如床上用品、被子、针、线等。
๒) สิ่งของที่เนื่องด้วยบิณฑบาต เช่น ภาชนะ ถ้วย ชาม ช้อน เป็นต้น
2.与托钵相关的物品:如容器、杯子、碗、勺子等。
๓) สิ่งของที่เนื่องด้วยเสนาสนะ เช่น ตู้ โต๊ะ เตียง ตั่ง เก้าอี้ เป็นต้น
3.与卧具相关的物品:如柜子、桌子、床、凳子、椅子等。
๔) สิ่งของที่เนื่องด้วยยารักษาโรค เช่น เครื่องมือปรุงยา อุปกรณ์การแพทย์ การพยาบาล เป็นต้น
4.与医药相关的物品:如配药容器、医用器材、护理器械等。
ทำไมจึงใช้ปัจจัย ๔ ฝึกการประมาณ
为何要利用四事训练知量
เหตุที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงใช้ปัจจัย ๔ เป็นเครื่องมือฝึกความพอดี และความเหมาะสมนั้น ก็เพราะ
佛陀之所以以四事为工具训练出家人,使其懂得知量(刚好与恰当)是因为:
๑. ปัจจัย ๔ เป็นเครื่องหล่อเลี้ยงชีวิต ถ้าขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ชีวิต
ที่จะดำเนินไปได้โดยราบรื่น เป็นผลเสียต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิต ถ้ามากเกินไป ก็เป็นที่มาแห่งความเดือดร้อนโรคภัย และเป็นภาระในการดูแลรักษา พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงทรงสอนให้ควบคุมการรับปัจจัย ๔ ตั้งแต่ต้น เพราะการที่ใครคนหนึ่ง จะบรรลุธรรมได้ ทั้งสุขภาพกาย สุขภาพจิต ต้องสมบูรณ์ ทัศนคติต้องตรงซึ่งต้องเริ่มต้นจากทัศนคติพื้นฐานในเรื่องปัจจัย ๔ ต้องตรงก่อน เมื่อ
ปัจจัยพื้นฐานลงตัวแล้ว การปฏิบัติเพื่อการบรรลุธรรมไปตามลำดับ ย่อมเป็นไปโดยสะดวก
1.四事是维持生活的必需品,如果缺乏任何一种,生活会变得十分窘迫,不利于身心健康;如果过剩会成为疾病的根源,维护起来也很麻烦,所以佛陀教导弟子从接受四事开始要学会节制。任何渴望证悟佛法的人,身心要健康,要想树立正确的观念,需先端正使用四事的态度。当端正态度后,自然就方便循序渐进的修行证法。
๒. ปัจจัย ๔ เป็นความจำเป็นพื้นฐาน ที่ชาวโลกพยายามหาว่าอะไร คือ ความจำเป็นของมนุษย์ แต่ก็มักจะขาดๆ เกินๆ ถ้าพระมมาสัมพุทธเจ้าไม่บอกไว้ก็ไม่มีผู้ใดรู้จริงว่า จริงๆแล้ว อะไรคือสิ่งจำเป็น ที่ถ้ามากไปหรือน้อยไป จะเกิดความเดือดร้อน
2.四事是基本的必需品。之前,世人一直在探寻什么是人类真正的必需品,在这过程中时而缺乏时而过剩。如果不是佛陀告知,没有人知道什么是真正的必需品,缺乏或过剩都会带来麻烦。
๓. การที่พระภิกษุมาบวช ตามพุทธนิยมก็เพื่อมารบกับกิเลส ก่อนจะไปรบกับกิเลสก็ต้องรู้ว่า ชีวิตของตนอยู่ได้ด้วยอะไร สภาพร่างกายและจิตใจอย่างไร ที่จะสมบูรณ์พอที่จะต่อกรกับกิเลส และสภาพที่สมบูรณ์นั้นจะเกิดขึ้นหรือถูกบ่อนทำลายได้ด้วยอะไร เมื่อทราบว่าสภาพพื้นฐานเหล่านั้น เกี่ยวข้องกับปัจจัย ๔ โดยตรงเพราะปัจจัย ๔ เป็นสิ่งที่เนื่องด้วยชีวิต จึงต้องให้ความสำคัญในการศึกษาเรื่องปัจจัย ๔ ให้ละเอียด
3.按照佛教的说法,出家为僧是为了修行断除烦恼,而在与烦恼斗争前,要先了解如何维持自己的生活?如何完善身心与烦恼作斗争?完善的状态如何实现或被破坏?而后知道这些基本状态与四事直接相关,因为四事与生活息息相关,所以要重视,认真学习有关四事的知识。
๔. ถ้าหากได้ฝึกจนประสบผลสำเร็จในการรู้ประมาณในการรับปัจจัย ๔ แล้ว จิตใจของพระภิกษุจะละเอียดอ่อน บรรลุความก้าวหน้าในการเจริญภาวนา และไม่ว่าจะหยิบจะจับจะทำสิ่งใด ย่อมพอดีลงตัวไปหมด เพราะรู้ความพอดีในสรรพสิ่งที่เข้าไปเกี่ยวข้องได้โดยอัตโนมัติ
4.作为出家人如果能透过训练养成合理使用四事的习惯,心将变得越来越细腻,修行也会进步,无论做什么事都恰如其分,因为已经养成知量的习性。
๕. การฝึกความเป็นผู้รู้ประมาณในการรับ มิใช่แค่เพียงมุ่งความประหยัด หรือฝึกสติเพียงเท่านั้น แต่เป็นบทฝึกนิสัย เพื่อพัฒนาตนเองให้สมบูรณ์พร้อมทั้งสติและปัญญาทำให้มีสติรู้เท่าทันตนเองในแต่ละวาระจิต และทำให้มีปัญญามองทะลุสรรพสิ่งต่างๆ ตามความเป็นจริง เมื่อมีสติปัญญามองทะลุถึงความพอดีและเหมาะสมในการใช้ปัจจัย ๔ ได้ ก็ย่อมเป็นจุดเริ่มต้นของสติปัญญา ที่จะเข้าใจธรรมะที่ละเอียดลึกซึ้ง เช่น เรื่องการเวียนว่ายตายเกิด กฎแห่งกรรม และมรรคผลนิพพาน ได้ง่าย
5.通过培训成为在接受东西时懂得知量的人,不只是为了训练节约或正念,更是为了培养习性,提升自身圆满正念与智慧。让自己时刻具足正念,具足如实知见一切的智慧。当透过正念和智慧恰当地使用四事时,就能够以此为起点,轻松了解更为精深的佛法,例如生死轮回、业果法则与道果涅槃。
๖. ปัจจัย ๔ แต่ละประเภท ล้วนเกิดขึ้นจากบุญ คือ เกิดจากบุญที่ตนเองสั่งสมมาและบุญของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ปักหลักพระพุทธศาสนาไว้ ดังนั้น ทุกครั้งที่ใช้ปัจจัย ๔ ต้องระลึกว่า กำลังใช้บุญอยู่ หากใช้สุรุ่ยสุร่าย ใช้ล้างผลาญ ใช้อย่างไม่ระมัดระวัง ก็หมายถึงกำลังล้างผลาญบุญของตนเอง และบุญของพระนิพพานอยู่ตลอดเวลาด้วยเช่นกัน
6.四事皆源自于功德,即自身累积的功德,以及创立佛教的佛陀的功德。所以,使用四事也就是在使用功德,如果铺张浪费,不小心谨慎,也就意味着在浪费自己和涅槃的功德。
เมื่อได้พิจารณาในการใช้สอยปัจจัย ๔ โดยแยบคายและเข้มงวดกวดขันกับตนเองเช่นนี้แล้ว ย่อมทำให้พระภิกษุมีความเข้มแข็ง ทรหดอดทนที่จะฟาดฟันกับกิเลสภายในให้พินาศสิ้นไป ทั้งจะทำให้เกิดความรอบคอบ ความละเอียดละออ ในทุกอย่างที่คิด ทุกสิ่งที่ทำ ทุกคำที่พูด อย่างมุ่งตรงต่อหนทางพระนิพพานในที่สุด
如果能够以谨慎严格的态度省思使用四事,那么自己将具备坚定的意志与忍耐力同内在的烦恼斗争,在思考、言语和行为方面养成心思细腻、思虑周全的品质,成为趣向涅槃的助力。
วัตถุประสงค์ของการใช้ปัจจัย ๔
使用四事的目的
เพื่อให้วางแผนการใช้สอยปัจจัย ๔ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีคุณธรรมควบคู่ไปด้วย จำเป็นที่จะต้องรู้วัตถุประสงค์ที่แท้จริงของปัจจัย ๔ เป็นเบื้องต้นเสียก่อน โดยพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสแสดงไว้ ดังนี้
为了有效规划使用四事,培养自身的德行,需先了解四事的真正目的。佛陀的规定如下:
๑. จีวร มีวัตถุประสงค์ คือ
1.袈裟(衣)的目的:
๑.๑ เพียงเพื่อบำบัดหนาว
(1)为了抵御寒冬。
๑.๒ เพียงเพื่อบำบัดร้อน
(2)为了抵御酷暑。
๑.๓ เพียงเพื่อบำบัดสัมผัสแห่งเหลือบยุง ลมแดดและสัตว์เลื้อยคลาน
(3)为了防御蚊虫、风、阳光及其他爬行动物。
๑.๔ เพียงเพื่อปกปิดอวัยวะอันทำให้เกิดความละอาย
(4)为了遮掩身体,防止外露心生羞愧。
๒. บิณฑบาต มีวัตถุประสงค์ คือ
2.托钵(食)的目的:
๒.๑ ไม่ใช่เพื่อเล่น ไม่ใช่เพื่อมัวเมา ไม่ใช่เพื่อประดับ ไม่ใช่เพื่อตกแต่งร่างกายให้สวยงาม
2.1不是为了玩耍、迷恋、装饰与打扮。
๒.๒ เพียงเพื่อให้กายดำรงอยู่ได้
2.2为了维持生存。
๒.๓ เพียงเพื่อให้กายเป็นไปได้
2.3为了消除疲倦。
๒.๔ เพียงเพื่อให้ความลำบากสงบ
2.4为了减轻痛苦。
๒.๕ เพื่ออนุเคราะห์การประพฤติพรหมจรรย์ ด้วยคิดว่า เราจักบรรเทาเวทนาเก่าคือความหิวเสียได้ และจักป้องกันไม่ให้เวทนาใหม่เกิดขึ้นด้วยประการดังนี้ ความเป็นไปแห่งชีวิต ความไม่มีโทษ และความอยู่สบายจักมีแก่เรา
2.5为了助力梵行,减轻饥饿带来的苦,防止生起新的苦。基于此因,我们不再造作恶业,过清净的生活。
๓. เสนาสนะ มีวัตถุประสงค์ คือ
3.卧具(住)的目的:
๓.๑ เพียงเพื่อบำบัดหนาว
3.1为了抵御寒冬。
๓.๒ เพียงเพื่อบำบัดร้อน
3.2为了抵御酷暑。
๓.๓ เพียงเพื่อบำบัดสัมผัสแห่งเหลือบยุง ลมแดดและสัตว์เลื้อยคลาน
3.3为了防御蚊虫、风、阳光及其他爬行动物。
๓.๔ เพียงเพื่อบรรเทาอันตรายอันเกิดจากฤดูกาล
3.4为了减轻季节带来的危险。
๓.๕ เพื่อความเป็นผู้ยินดีในการหลีกเร้นเพื่อเจริญภาวนา
3.5为了清净修行。
๔. ยารักษาโรค มีวัตถุประสงค์ คือ
4.医药(药)的目的:
๔.๑ เพียงเพื่อกำจัดเวทนาอันเกิดจากโรคต่างๆ ที่เกิดขึ้น
4.1为了消除各种疾病带来的痛苦。
๔.๒ เพื่อความไม่ลำบากกาย
4.2为了不让身体受苦。
พอดีคืออย่างไร
什么是适合
พอดี คือ พอแล้วดี มิใช่คิดว่าพอ แต่จริงๆ ขาด หรือคิดว่าพอ แต่จริงๆ เกิน ในแง่ของการบริโภคปัจจัย ๔ คือ
刚好即是足够,不是以为足够,但事实上却短缺或过剩。在使用四事方面:
๑. ไม่น้อยเกินไป จนเป็นการทรมานตนเองมากเกินไปโดยใช่เหตุ
1.不应短缺:导致无故的过度折磨自己。
๒. ไม่มากเกินไป จนเป็นการพอกพูนกิเลส เป็นผลร้ายต่อการประพฤติปฏิบัติธรรม ทำให้กลายเป็นคนเห็นแก่ปากแก่ท้องและเป็นการทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมไปมากโดยใช่เหตุ
2.不应过剩:导致烦恼增长,成为修行打坐的障碍,变成一个铺张浪费的人,也是对自然资源与环境的无故破坏。
ผู้ที่รู้จักความพอดีในการบริโภคปัจจัย ๔ จะสามารถแยกแยะได้ระหว่าง
懂得适量拥有四事的人,能够分清楚以下几项:
๑. ความจำเป็น คือขาดไม่ได้หากขาดแล้วมีผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่อย่างมาก
(1)必要即是不可或缺,如果缺失会对生活造成严重影响。
๒. ความต้องการ คือ ถ้าได้ก็ดี ถ้าไม่มีไม่ต้อง ถ้าได้สิ่งนั้นมาก็จะมีความสะดวกขึ้นกว่าเดิม แต่ถ้าไม่ได้ก็ไม่ถึงกับเดือดร้อน
(2)需要即是有也好,没有也行。如果得到将比之前更便利,没得到也不会更艰苦。
๓. ความอยาก คือ ถึงได้มากหรือไม่ได้มา ก็ไม่ได้กระทบกระเทือน หรือเกิดประโยชน์ต่อชีวิตนัก แต่ที่อยากได้ ก็เพราะตกอยู่ในอำนาจความอยากอันเป็นกิเลส
(3)渴望获得即是得到或没有得到都不会受影响或对生活有益,但想得到是因为受烦恼诱惑而生起的渴望。
นอกจากแยกแยะได้แล้ว ยังมีสติคอยควบคุมใจ ไม่ยอมให้ตนเองตกเป็นทาสของความอยากอีกด้วย
除了分清这些以外,还应当以正念保护心,不让自己沦为渴望的奴隶。
เหมาะสม คืออย่างไร
什么是恰当
เหมาะสม คือ สมควรแก่ฐานะ และเพศภาวะของตนเองทั้งในแง่
恰当即是符合自己的身份与地位。
๑. ชนิด
1.种类
๒. คุณภาพ
2.质量
๓. วิธีการได้มา
3.获得的方式
๔. วิธีการใช้
4.使用的方法
๕. วัตถุประสงค์ในการใช้
5.使用的目的
ของบางชนิดพระภิกษุรับได้ แต่ต้องระมัดระวังของที่มีคุณภาพดีเกินไปไม่เหมาะกับคุณธรรมของตนเอง เมื่อรับมาแล้ว นอกจากจะเพิ่มภาระในการดูแลรักษาแล้ว ยังทำให้จิตใจฟุ้งซ่าน การปฏิบัติธรรมย่อมไม่ก้าวหน้า และยังขัดต่อความรู้สึกของประชาชนและเพื่อนสหธรรมิกอีกด้วย
出家人可以接受某些物品,但要小心过于精致的物品是否符合自身的德行。接受后除了增加维修负担外,还会导致心散乱,修行没有进步,甚至给信众和道友带来不好的感受。
ทำอย่างไรจึงจะพอดีและเหมาะสม
如何做到刚好和恰当
เพื่อให้สามารถควบคุมปัจจัย ๔ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นการตัดไฟเสียตั้งแต่ต้นลม พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงทรงให้เริ่มควบคุมตั้งแต่การรับ เพราะโดยธรรมชาติแล้วมนุษย์มักจะตามใจตนเอง เพื่อให้พอดี จึงทรงให้กุศโลบาย ในการรับปัจจัย ๔ แต่ละครั้งให้พอดีจริงๆ กำจัดความทะยานอยากและความหลงใหลในปัจจัยเหล่านั้นเสียตั้งแต่แรก จึงทรงให้พระภิกษุพิจารณาในความเป็นธาตุ และเป็นปฏิกูลของปัจจัย ๔ และผู้ใช้ปัจจัย ๔ ว่า
为了有效管理四事,从源头上防微杜渐,佛陀告诫弟子们从接受供养开始就做好预防,因为人类天生倾向于随心所欲。为了在使用四事时真正做到恰如其分,佛陀巧妙地告知使用四事的弟子要从源头开始摆脱对四事的渴望与执着,省思界(地水火风)的本质与四种资具的不净。
ปัจจัยนั้นๆ เป็นเพียงธาตุ เป็นไปตามปัจจัยปรุงแต่ง คือ เป็นของที่ผสมรวมกันของธาตุ ๔ ในปริมาณต่างๆ กัน ปรุงแต่งให้เป็นปัจจัยแต่ละประเภท บุคคลผู้ใช้ปัจจัยนั้น ก็เป็นเพียงธาตุ ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่ชีวิต ว่างเปล่าจากความเป็นตัวตน
这些资具只是界,由加工而成,即资具由不同量的四界混合加工而成。使用资具的人也只是界而已,不是动物,不是生命,实为无我。
ปัจจัย ๔ คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารทั้งปวงนี้ เดิมเป็นของสะอาด ครั้นมาถูกต้องกับร่างกายอันเปื่อยเน่านี้แล้ว ก็กลับกลายเป็นของน่ารังเกียจทันที
四事即袈裟、托钵、卧具与医药原本都是干净之物,但当它们被人类不净的身体使用后,会立刻变成令人厌恶的东西。
เพราะปัจจัย ๔ ก็เป็นเพียงธาตุ และผู้ใช้ก็เป็นเพียงธาตุเหมือนกันแต่เป็นธาตุที่ยังเป็นๆ อยู่ การใช้ปัจจัย ๔ จึงเป็นเพียงการเอาธาตุตาย มาหล่อเลี้ยงธาตุเป็น แต่ธาตุเป็นนั้นมีการเปื่อยเน่าอยู่ตลอดเวลา เพราะว่าประกอบด้วยเซลล์ ที่มีการเกิดการตายอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นถ้าใช้ปัจจัย ๔ มากไปก็ไปเพิ่มความเปื่อยเน่า ถ้าน้อยไปก็ไปเร่งให้เกิดความเปื่อยเน่าเร็วขึ้นอีก
因为四事与使用者都只是界而已,但人是一个活着的界,使用四事只是为了以一个死亡的界来滋养一个活着的界,但这个活着的界也会不断腐烂,因为他是由细胞组成,而细胞又在不断生灭,过度或缺乏使用四事都会加速腐烂。
เมื่อพิจารณากันตั้งแต่การรับเช่นนี้ ก็จะไม่ตกเป็นทาสของความทะยานอยาก หรือความหลงใหลโดยขาดสติปัญญาที่รอบคอบ ซึ่งเป็นผลร้ายต่อตนเอง ดังในอดีต มีพระภิกษุผู้ใช้ปัจจัย ๔ โดยไม่พิจารณา ทำให้ต้องได้รับความลำบาก
从接受供养开始省思,就不会成为欲望的奴隶。如果迷恋四事会缺少正念与智慧,这实际是害了自己。以前,有的出家人在使用四事时不加以省思,导致处境十分艰难。
สรุป
总结
ปัจจัย ๔ ถือเป็นเครื่องยังชีพขั้นพื้นฐาน มีไว้ให้พระภิกษุบริโภคใช้สอยนั้น เพื่อเป็นการบริหารสิ่งของและร่างกายอันเป็นส่วนหนึ่งของกิจวัตรประจำวันแห่งสงฆ์ หากบริโภคอย่างไม่สมดุล คือ ขาดความพอดี ย่อมมีผลกระทบต่อสุขภาพและความเป็นอยู่ของเหล่าพระภิกษุ ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องหมั่นพิจารณาฝึกฝนการบริหารปัจจัย ๔ ให้พอเหมาะจนเกิดเป็นนิสัยประจำตัวอันประณีตติดตามข้ามภพข้ามชาติ ตราบกระทั่งถึงที่สุดแห่งธรรม
四事作为生活的基本必需品可供出家人使用,而管理事物与身体作为出家人日常生活的一部分倘若失衡,即缺乏节制,那么将对出家人的健康和生活产生影响。因此,出家人在使用四事的过程中要常省思,使之合理恰当,并养成好习性,随自己生生世世直至法的究竟。