วิธีสอนสมาธิแบบวัดพระธรรมกาย (Th En Ch)

0
114

วิธีสอนสมาธิแบบวัดพระธรรมกาย

Meditation Techniques at Wat Phra Dhammakaya

入法身之方法

More than a 100 years ago, the Great Master Phramongkolthepmuni (Sodh Candasaro), also known as Luangpu Wat Paknam Bhasicharoen, dedicated his entire life to practicing meditation until he re-discovered the Dhammakaya Knowledge at Wat Bote-bon Bangkuvieng in Nonthaburi Province, Thailand. Through his extensive research and investigation, he found that the Triple Gem, which is made up of the Buddha, Dhamma, and Sangha, exists inside every human being.

เมื่อ100 กว่าปีที่ผ่านมา หลวงปู่วัดปากน้ำ ภาษีเจริญพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ท่านได้อุทิศชีวิตปฏิบัติธรรมจนค้นพบวิชชาธรรมกาย ณ วัดโบสถ์บน* บางคูเวียงจ.นนทบุรี แล้วท่านก็ได้ศึกษาค้นคว้าวิชชาธรรมกายจนพบว่า ในกลางกายของมนุษย์ทุกคนมีพระรัตนตรัยอยู่ภายใน นั่นคือ พุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ และสังฆรัตนะ

一百多年前,北榄寺帕蒙坤贴牟尼祖师在暖武里府挽粿县芒库威区博奔寺的大雄宝殿内,通过舍命精进使法身法门重现人间。随后,祖师在深修法身法门过程中发现,每个人的体内皆有三宝,即佛宝、法宝和僧宝。

The Buddha, the first gem, is the Dhammakaya—the body of the one who knows, is awakened, and is happy. This Dhamma body exists inside all of us. In the Tipitaka of the Theravada, Mahayana, and Vajrayana traditions, you can find evidence to support this truth. However, the Tipitaka does not mention anything about the characteristics of the Dhammakaya.

พุทธรัตนะ คือ ธรรมกายเป็นกายผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานแล้ว มีอยู่ภายในตัวของมนุษย์ทุกคน มีคำยืนยันเป็นหลักฐานเอาไว้ในพระไตรปิฎก ทั้งฉบับของเถรวาท มหายาน วัชรยานแต่ในพระไตรปิฎกไม่ได้กล่าวไว้ว่า ธรรมกายมีลักษณะเป็นอย่างไร

佛宝是成就智者、觉者、喜悦者之法身,它存在于每个人的体内。在上座部、大众部和金刚乘版本的《三藏经》中皆有明确的记载为证,但在《三藏经》中并没有说明法身的具体特征。

Until the Great Master Luangpu Wat Paknam attained this knowledge and revealed that the Dhammakaya’s features are similar to those of a Buddha image, a representation of the Buddha, but are far more refined. The Dhammakaya is a pure and radiant crystal Buddha with a lotus bud on His top knot and bears all the marks of the Perfect Man. This is the Dhammakaya.

จนกระทั่งหลวงปู่วัดปากน้ำท่านได้เข้าถึง และบอกว่าธรรมกายมีลักษณะคล้ายๆ กับพระพุทธรูป หรือพระพุทธปฏิมากร ที่จำลองออกมา แต่งดงามกว่ามาก เป็นพระแก้วใสบริสุทธิ์ มีเกตุดอกบัวตูม ประกอบด้วยลักษณะมหาบุรุษครบถ้วนทุกประการ นั่นแหละคือ พระธรรมกาย

直至北榄寺祖师证入法身后方才解释道:法身与佛像十分相似,可是更加庄严,外形如一尊纯净透明的佛像,肉髻顶上呈莲花苞状,具足三十二大人相,这就是法身。

How can we be certain that the Dhammakaya resides within us? We will know once we have attained it and see it for ourselves. All doubts will vanish. How do we attain it? We must give ourselves the chance to study this knowledge. We must stay objective and resist being easily persuaded by everything we hear or being too stubborn to accept anything as true. We need to be like a scientist or scholar and offer ourselves the opportunity to truly practice and study the Dhamma.

เราจะรู้ได้อย่างไรว่า มีพระธรรมกายอยู่ภายใน จะรู้ได้ต่อเมื่อเข้าถึงแล้วก็ไปเห็น เมื่อไปเห็นก็รู้ เมื่อรู้ก็หายสงสัยแล้วเราจะเข้าถึงได้อย่างไร จะเข้าถึงได้ก็ต้องให้โอกาสตัวเองที่จะศึกษาสิ่งเหล่านี้ โดยทำใจให้เป็นกลาง ไม่ใช่เชื่ออย่างงมงาย หรือไม่เชื่อจนดื้อรั้น ให้ทำตัวทำใจเหมือนนักวิทยาศาสตร์ เหมือนผู้รู้ บัณฑิตนักปราชญ์ทั้งหลายคือ ให้โอกาสตัวเรามาปฏิบัติธรรม มาศึกษาอย่างแท้จริง

我们如何知道体内有法身的存在?当然只有证入后才会看见,看见后才会知道,知道后才会消除疑惑。我们又如何才能证入呢?想证入就要让自己有机会修习相关的知识,通过让心保持中道,不要迷信或固执不信,要让自己像一个科学家,一个智者,一个知识渊博的人,给自己一个修行的机会,认真深入的研究。

By stilling your mind and being above belief and disbelief, and allowing the wandering mind to be still at the correct position—the seventh base, at the center of the body, which is the beginning of the noble path. It is also the starting point of the Middle Way used by all the Buddhas and Arahants to attain Nibbana.

โดยวางใจเฉยๆ เหนือความเชื่อและความไม่เชื่อ ดึงใจที่แวบไปแวบมาให้กลับมาหยุดนิ่งอยู่ภายใน ในตำแหน่งที่ถูกต้อง คือ ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ อันเป็นจุดเริ่มต้นแห่งอริยมรรค เป็นจุดเริ่มต้นของการเดินทางสายกลางที่จะนำไปสู่อายตนนิพพาน ทางที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระอรหันต์ทั้งหลายท่านเสด็จไป

让心如如不动,不用执着于信或不信,而是将漂浮不动的心牵引回归体内,安住在正确的位置,即体内第七中心处。这是圣道的起点,是趣向涅盘的中道的起始点,而中道正是成就佛果和成就阿罗汉之道。

You must allow your naturally wandering mind to rest at this location at all times. Once everything is in order, the mind will turn inwards. In the Pali language, they describe this using the word kamana, which means turning inward to the Triple Gem—the inner gems. Therefore, training the mind to come to a standstill will enable us to confirm the attainment of the Dhammakaya.

ต้องนำใจที่มีปกติซัดส่ายไปมาให้มาอยู่ ณ ตำแหน่งตรงนี้ตลอดเวลาจนกระทั่งถูกส่วน พอถูกส่วนใจก็จะเคลื่อนเข้าไปสู่ภายใน ภาษาบาลีเขาใช้คำว่า คมน (คะ-มะ-นะ)แปลว่า เคลื่อนเข้าไป แล่นเข้าไป ไตรสรณคมน์ ก็คือเคลื่อนใจแล่นเข้าไปหารัตนะภายใน เพราะฉะนั้นการเข้าถึงพระธรรมกาย พิสูจน์ได้ด้วยการฝึกใจให้หยุดนิ่ง

我们应该让飘忽不定的心安住在这个位置,当正确入定时,心将深入内在,巴利文称作ka-ma-na,意思是深入、进发。三皈依就是移动心深入向内在的三宝。因此,可以通过静心来证入法身。

How can we be sure that we are practicing the beginning steps properly so that we are able to reach the Triple Gem within ourselves? You will know you are on the right track when your mind is completely still and the first Dhamma sphere arises, confirming that you are. If we continue, we will reach the desired destination.

แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่า เราทำถูกวิธีในเบื้องต้นแล้วเพื่อจะได้ปฏิบัติกันต่อไปให้เข้าถึงรัตนะทั้งสาม ภายในกายของเรา เราจะรู้ได้โดยเมื่อใจหยุดนิ่งดีแล้ว จะมีดวงธรรมเบื้องต้นบังเกิดขึ้น ซึ่งเป็นเครื่องยืนยันว่า เรามาถูกทางแล้วถ้าเดินทางต่อไปก็จะถึงที่หมาย

我们怎么知道自己一开始的方法是正确的,以便可以继续修习而证入三宝呢?当我们的心静定后自然会知道,那时将有最初的法球生起,这足以证明我们的方法是正确的,继续前进就会到达目的地。

There are endless techniques for stilling the mind at the seventh base, but the book Visuddhimagga (Path of Purification) condenses them to 40 techniques. We can freely choose any technique to still the mind.

วิธีทำใจให้หยุดมาสู่ที่ตั้งตรงฐานที่ ๗ มีเป็นล้านวิธีคือ นับวิธีไม่ถ้วน แต่ย่อลงมาเหลือเพียงแค่ ๔๐ วิธี ที่มีในวิสุทธิมรรค ให้เลือกเอาว่า จะเอาวิธีไหนก็ได้ ที่จะฝึกใจให้หยุดนิ่ง

原先让心静定在体内中心第七处的方法有百万种,如今根据《清净道论》的记载只剩下四十种方法,无论选择哪一种方法,目的都是为了静心。

For example, you could reflect on a corpse;

เช่น เราจะเริ่มต้นพิจารณาอสุภะ (ซากศพ) ก็ได้

例如,我们可以从观想尸体开始。

or concentrate on the breath by mentally reciting the word “Buddh” with each in breath

หรือกำหนดลมหายใจ หายใจเข้าภาวนาว่า “พุท”

或者通过控制呼吸,吸气时默念“Bud”,

and “dho” on the outbreath. This is called Anapanasati.

หายใจออกภาวนาว่า “โธ” ที่เขาเรียกว่า อานาปานสติอย่างนี้ก็ได้

呼气时默念“dho”,称为入出息念。

Sometimes people just like to sit still without thinking of anything.

หรือบางคนชอบทำใจนิ่งๆ เฉยๆ ไม่อยากคิดอะไรก็ได้

或者有些人喜欢让心放空,如如不动,不想任何事情。

Some reflect on how immaculately they are observing the Precepts. This is yet another way to attain the Dhammakaya.

หรือบางคนจะระลึกนึกถึงศีลที่ตนรักษาได้บริสุทธิ์บริบูรณ์ อย่างนี้ก็เข้าถึงได้เหมือนกัน

或者有些人观想自己持戒清净,这样也可以证入。

No matter which technique you choose, with consistent practice, the mind will turn inward once it is at ease and still. The inner Dhamma spheres will appear for you to see. Gently continue to maintain the stillness of the mind, and you will attain the inner Triple Gem as well.

ไม่ว่าเราจะเลือกปฏิบัติในวิธีใดก็ตาม เมื่อปฏิบัติไปเรื่อยๆ พอใจสบาย ใจหยุดถูกส่วนเข้าก็หล่นวูบเข้าไปสู่ภายใน พบดวงธรรมภายใน ถ้าดำเนินจิตไปเรื่อยๆ ก็จะเข้าถึงพระรัตนตรัยเช่นเดียวกัน

无论我们采用哪一种修行方法,只要我们持之以恒地修习,当心舒服,正确的静定后,就会深入内在,看见内在的法球。只要持续维护心,最终同样可以证入三宝。

The Triple Gem can be reached in countless ways, but they all have one thing in common: you must feel good, be at ease, and be still. The habitually wandering mind must be coaxed back to being still within the body. This is a feature shared by all the techniques, with the only distinction being in the external actions taken. When the mind comes to a standstill, it will swoop inwards until it reaches the inner Triple Gem—the highest refuge for all of us.

เพราะฉะนั้น วิธีที่จะเข้าถึงพระรัตนตรัยนั้นมีหลายวิธีแต่ทุกวิธีมีอารมณ์เดียว คือ ต้องอารมณ์ดี อารมณ์สบายแล้วก็ต้องหยุดนิ่ง ใจที่ปกติชอบแวบไปแวบมา ต้องนำกลับมาหยุดนิ่งอยู่ภายใน ทุกวิธีเหมือนกันตรงนี้ แตกต่างกันแต่เพียงวิธีการภายนอก พอหยุดถูกส่วนก็วูบเข้าไปจนกระทั่งเข้าถึงพระรัตนตรัยภายในอันเป็นที่พึ่งที่ระลึกสูงสุดของพวกเราทุกคน

因此,证入三宝的方法有许多种,但每一种方法都是为了获得良好、舒服、安定的情绪。要牵引平常飘忽不定的心回归安住内在,所有方法都是为了这个目的,只是操作的方式不一样,只要心正确的静定就会深入内在,证入我们每个人最高的依靠——内在的三宝。

“One of the techniques to attain Dhammakaya” uses the mantra “Samma Arahang.” After that, allow the mind to remain neutral and still, or you could visualize a crystal ball or Buddha image as a way to anchor the mind. When the mind is completely still at the seventh base, it no longer matters whether you use the mantra or visualization. The mind will arrive at the same location: the seventh base at the center of the body. It will turn inward. The Dhamma spheres will emerge and you will see bodies within bodies until finally reaching the Dhammakaya.

“วิธีเข้าถึงธรรมกาย” ใช้คำภาวนาว่า “สัมมาอะระหัง” แล้วฝึกใจให้หยุดนิ่งเฉยๆหรือจะกำหนดนิมิตเป็นดวงแก้ว เป็นองค์พระ เพื่อเป็นกุศโลบายให้ใจมีที่ยึดที่เกาะ เมื่อไปถึง ณ ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ ที่แท้จริง พอใจหยุดนิ่งถูกส่วนแล้วจะภาวนาหรือไม่ภาวนาอะไรเลย จะกำหนดหรือไม่กำหนดอะไรก็แล้วแต่พอไปสู่เบ้าหลอมเดียวกัน คือ ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ ก็ตกศูนย์วูบลงไป แล้วก็เข้าถึงดวงธรรม เห็นกายในกาย จนกระทั่งเข้าถึงพระธรรมกายในที่สุด

“入法身之方法”,默念的佛号是“三玛阿啦杭”。在修习过程中,练习让心自然的静定,或者观想水晶球、佛像为所缘,为的是让心有一个专注的对象。当心到达身体中心第七点,正确的静定后,可以继续默念佛号,也可以停止默念,可以继续观想,也可以停止观想。当心安住在目的地,即体内第七中心处后,心会自然坠入中心,然后证入法球,得见身中身,直至最终证入法身。

The Great Master attained the Dhammakaya in this manner. Then he realized that the Dhammakaya, the Buddha, and the Tatthataga are all one and the same. He further discovered that attaining Nibbana is the cessation of the Five Aggregates in the human, celestial, Brahma, and Arupa Brahma bodies. All the aggregates cease. As you go deeper and deeper, layer after layer is stripped away until only the Dhammakaya remains in Nibbana.

หลวงปู่วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ ท่านเข้าไปถึงอย่างนี้พอเข้าถึงธรรมกายแล้ว ท่านจึงรู้ว่า ธรรมกายเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับคำว่า “ตถาคต” หรือคำว่า “พระพุทธเจ้า”แล้วท่านก็ค้นพบต่อไปอีกว่า การดับขันธปรินิพพาน คือดับขันธ์ ๕ ในกายมนุษย์ กายทิพย์ กายพรหม กายอรูปพรหม ขันธ์ทั้งหลายดับหมด ถอดออกหมดเป็นชั้นๆ เข้าไปเหลือแต่ธรรมกายปรากฏอยู่ในอายตนนิพพาน

当北榄寺祖师证入法身后,明白法身即“如来”,也就是“佛陀”。在祖师继续深修中发现人身、天人身、梵天人身、无色梵天人身中的五蕴最终全会灭尽,一层接一层的被断除,只留下法身显现于涅盘中。

This is the part that sparks debate. The Great Master left it to the scholars to study it to determine whether it is true or not. If you use the proper technique and practice earnestly, you will attain the Dhammakaya. If you don’t, then you won’t.

ตรงนี้ล่ะ ที่เป็นข้อถกเถียงกัน ซึ่งหลวงปู่จะค้างเอาไว้สำหรับให้บัณฑิตนักปราชญ์ได้ไปศึกษา ไปค้นคว้าว่ามีจริงหรือไม่จริง ถ้าเราทำถูกวิธี และทำจริงจังก็ต้องเจอ  ถ้าทำไม่ถูกวิธี หรือทำไม่จริงไม่จัง  ก็ไม่เจอ

对于这一点还存在争议,祖师希望将它留给博学之士去考究,看看是真是假。但如果我们精进修习,而且方法正确,就一定可以找得到。可如果方法不正确,也不精进修习,就无法找得到。

The words “didn’t encounter it” and “it doesn’t exist” are not the same.

คำว่า “ไม่เจอ” กับคำว่า “ไม่มี” นั้นไม่เหมือนกัน

“找不到”和“没有”这两个词不是一回事。

You didn’t attain it because you did it improperly. If done properly, you will definitely attain it.

ไม่เจอเพราะเราทำไม่ถูก ถ้าทำถูกก็ต้องเจอ

找不到是因为我们做得不对,如果做对了就一定可以找得到。

5 September 1999

๕ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๒

1999 年 9 月 5 日