การฝึกใจ และสิ่งที่เกื้อหนุนการปฏิบัติธรรม (Th En Ch)

0
86

การฝึกใจ และสิ่งที่เกื้อหนุนการปฏิบัติธรรม

ใจต้องฝึกฝน และทำให้เจริญให้มาก ๆ ฝึกมากแล้วจะทำประโยชน์ให้ตนเองได้เป็นอย่างยิ่ง จะเปลี่ยนจากปุถุชนให้เป็นอารยชนได้ ยกตัวอย่าง คนเหมือนกัน คนหนึ่งไม่โกรธ ใจดี มีเมตตาย่อมเป็นที่อยากเข้าใกล้ของคนทั่วไป และถ้าใจรักษาคุณธรรมนี้ไว้มาก ๆ อาจทำให้น่ากราบไหว้ เป็นที่เคารพบูชา เพียงไม่โกรธอย่างเดียวยังได้คุณวิเศษถึงเพียงนี้ ถ้าไม่โลภด้วยจะยิ่งดีมากกว่านี้หลายเท่า สมดังภาษิตที่ว่า ความสุข

 

Cultivating the Mind and Things to Aid Your Meditation Practice

 

The mind must be developed constantly and allowed to evolve. A cultivated mind will benefit oneself immensely because it can transform one from an average person to an enlightened one. For instance, a person who does not easily get angry and who is kind and compassionate is the type of person others want to be around. And if this virtue continues to be nurtured, one may eventually win the respect of others. A lot of wonderful things can happen merely from controlling one’s anger. It would be exponentially better if one could eliminate greed as well. As a Thai proverb says, “Happiness and prosperity originate from the mind.”

 

สิ่งที่เกื้อหนุนการปฏิบัติธรรม ให้ใจเราหยุดนิ่งได้เร็วขึ้น

ประการแรก ต้องหัดเป็นคนมองโลกไปตามความเป็นจริง ไม่ใช่หมายความว่า ให้มองโลกในแง่ดีหรือแง่ร้าย แต่ให้มองโลกไปตามโลกธรรม 8 คือ มีลาภเสื่อมลาภ มียศเสื่อมยศ มีคนสรรเสริญมีคนนินทา มีสุขมีทุกข์ ธรรม 8 ประการนี้ จะวนเวียนในชีวิตประจำวันของเราอยู่ตลอดเวลา เมื่อมันมากระทบ เราจะต้องไม่หวั่นไหว ทำใจให้เป็นกลางๆ

 

Things that improve your meditation practice and quickly bring your mind to a standstill

Firstly, you have to train yourself to view the world in its truest light, not with pessimism or optimism but according to the eight vicissitudes, which are gain and loss, fame and disrepute, praise and blame, and pleasure and pain. These eight conditions are always circulating in our daily life. Just remain firm and keep your mind neutral when dealing with them.

ประการที่ 2 ทำใจให้เบิกบนแช่มชื่นอยู่เสมอ ใครที่เป็นคนขี้หงุดหงิด ฉุนเฉียว เจ้าอารมณ์ ใจร้อน เจ้าแง่แสนงอน ต้องทิ้งไปให้หมด แล้วทำใจของเราให้ผ่องใส ให้เยือกเย็น สบายๆ

ประการที่ 3 มองทุกคนเป็นเพื่อนร่วมทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ไม่ว่าจะเป็นใครก็ตาม จะเป็นสามีภรรยา พ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย บุตรธิดา หรือเป็นเพื่อนร่วมงาน มองทุกคนเสมอเหมือนกันหมด และมีความปรารถนาดีให้กับเพื่อนเราทุกๆคน เมื่อเรามองอย่างนี้ ใจเราจะสบาย ไม่หงุดหงิดง่าย จะนั่งนอนยืนเดิน มีความรู้สึกเหมือนมีเพื่อนอยู่รอบตัวเรา เมื่อทำบ่อยๆ ความรู้สึกนี้จะเกิดขึ้นมาเอง

 

Secondly, always maintain a cheerful and positive mind. If you are someone who’s irritable, cranky, moody, quick tempered, and pouty, quickly get rid of them and make your mind bright, calm, and relaxed instead.

Thirdly, view everyone as a friend who shares the same suffering of being born, aging, sickness, and death, whether they are your husband or wife, parent, grandparents, child, or colleague. View everyone the same and extend good wishes towards all of your friends. If you have this kind of perspective, whether you are sitting, standing, walking, or sleeping, you will feel happy, at ease, and will not be easily agitated. You will feel like you have friends all around you. If you do this regularly, this feeling will come naturally.

 

ประการที่ 4 มองโลกให้ว่างเปล่า ไม่มีอะไรเป็นแก่นสาร จะทำมาหากินหรือทำภารกิจอันใด เราก็ทำอย่างเต็มที่ แต่ไม่ติดใจอะไร มีความรู้สึกเฉยๆ ให้นำสิ่งแวดล้อมต่างๆในชีวิตประจำวัน ตั้งแต่ตื่นนอนกระทั่งเข้านอนมาเป็นอุปกรณ์ในการฝึกใจ เวลาเรานั่งสมาธิจะง่าย เพราะใจมันสบาย เนื่องจากเราไม่ติดเรื่องจุกจิก เรื่องปลีกย่อย มุ่งแต่เรื่องหลักใหญ่ คือ เราจะทำพระนิพพานให้เกิดขึ้น เรื่องย่อยๆ ที่ทำให้ใจเราขุ่นมัวก็หมดไป เมื่อใจสบาย ใจเราก็เบิกบาน พอถึงเวลานั่งสมาธิ ยังไม่ทันนั่งสมาธิ ยังไม่ทันปิดเปลือกตา ใจก็หยุดนิ่งลงไปเลย จำไว้ว่า… ธรรมกายคือเป้าหมายของชีวิต นอกนั้นเป็นเครื่องประกอบกันมา จับหลักตรงนี้ให้ได้ แล้วจะมีความสุข

 

Fourthly, look at the world as being empty, where nothing is permanent. Give your full effort when working or engaging in other activities, but do not become attached to them. You feel neutral. Try to take various surroundings in your daily life, from the time you awake to going to bed as tools to train the mind. When you meditate, it will be easy to concentrate because the mind is at ease, free from trifling and trivial matters, and focused on the most important thing—to attain enlightenment. Little matters that make your mind cloudy will disappear. Your mind is cheerful when it is at ease. You can achieve stillness very easily, even before you start meditating or closing your eyes. Remember that attaining the Dhammakaya is the goal of life. Other than that, it is just supplemental. If you can understand these points, you will be happy.

 

เมื่อเปลี่ยนแปลงใจให้ดีแล้ว สิ่งดี ๆ หลายอย่าง เช่น ทรัพย์สมบัติ คุณสมบัติลาภ ยศ สิ่งดี ๆ ทั้งหลาย ย่อมเป็นผลพลอยได้ตามมาด้วย ฉะนั้น ใจเป็นต้นเหตุของความสุขความเจริญทั้งมวล ในชีวิตนี้ควรฝึกฝนใจ และให้เป็นสิ่งสำคัญที่สุดในชีวิต เพราะนอกจากเป็นแหล่งที่มาของบุญแล้ว ยังนำมงคลทั้งหลายมาสู่ตนด้วย

 

When you train your mind for the better, many wonderful things like wealth, virtues, and recognition will come as byproducts. Since the mind is the source of all happiness and prosperity, we should cultivate it. Cultivating the mind is the most important thing in life because, besides being a source of merit, it also brings blessings to us as well.

修心和有助于打坐修行之事

 

持之以恒地训练心,使之不断提升,最终利益自己,由凡夫变为圣人。举一个例子,有的人没有瞋恨,慈悲善良,人人都喜欢亲近他。如果能继续发扬此美德,将倍受众人敬仰和爱戴。只是没有瞋恨就能有如此殊胜的功德,倘若心中也无贪,那功德必将更加殊胜。常言道:一切快乐与繁荣,都是源自于内心。

 

有助于打坐修行之事

第一项:如实知见认知世界;不以好或坏的角度去认知世界,而是以八风去认知世界,即利、衰、誉、毁、称、讥、乐、苦,此八项将在我们的日常生活中如影相随,当遇到之时,我们不为之动摇,而保持平常心。

第二项:保持一颗乐观向上的心;如果谁是急躁、易怒、任性、喜怒无常之人,就应该改善直到去除这些不良习性,让我们的心一直保持透明、清净与舒服的状态。

第三项:将世人看成患难与共的朋友;无论对方是妻子、父母、爷爷、奶奶,或是外公、外婆、儿女或同事,以慈爱、平等的心看待每一个人。

当我们如此做的时候,我们的心就会感觉舒服,而不会轻易地急躁,无论是行、住、坐、卧,都感觉有朋友伴随左右,当反复的发慈悲心,这种感觉就会自然地产生。

第四项:将世界看成空白、没有任何实质的东西;要维持生计或做什么事情的时候,我们要全力以赴,但不要去执着,应以平常心对待,将日常生活看成是锻炼心的工具,打坐时就会变得很容易,因为心很舒服。

当我们不再执着琐碎之事,而只专注证得涅槃,那些让心浑浊的琐事就会消失。心舒服,心情愉悦,到了打坐的时候,还没闭上眼睛,心就已经静止了。要记得法身是生命的目标,其他的都是次要的,把握住这个重点,人就会快乐。

心改变之后,必然好事连连,例如:财富、德行、运气和地位等会随之而来。因此,心是一切快乐的源泉。人生要修心,这是最重要的事情,因为它不仅是功德的源泉,也让我们的生活吉祥如意。