ศิลปะการอยู่ร่วมกัน (Th Ch)

0
20

ศิลปะการอยู่ร่วมกัน

共住的艺术

วัตถุประสงค์

目的

๑. เพื่อให้เป็นแนวทางในการประพฤติปฏิบัติ และเป็นวัฒนธรรมอันดีงามของพระภิกษุ อันจะนำมาซึ่งความเสื่อมใสศรัทธาแห่งมหาชน

1.规范行为准则,建立如法的出家人文化,否则会影响信众的信仰。

๒. เพื่อให้เกิดความผาสุกในการอยู่ร่วมกัน การประพฤติพรหมจรรย์ และการสร้างบารมีเป็นหมู่คณะ

2.有助于大家和谐相处,勤修梵行,作为一个团体共修波罗蜜。

๓. เพื่อเป็นที่ตั้งแห่งความเสื่อมใสศรัทธาของสมาชิกและสาธุชน

3.有助于增长僧信的信仰。

๔. เพื่อเป็นต้นแบบทางด้านวัฒนธรรมของพุทธบริษัทสืบไป

4.成为后辈佛弟子的文化典范。

๕. เพื่อธำรงรักษาไว้ซึ่งวิชชาธรรมกาย

5.有助于护持与传承法身法门。

บทนำ

导言

มนุษย์เป็นสัตว์สังคม อยู่กันเป็นกลุ่ม ต้องเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันอยู่ตลอดเวลา  ทั้งกาย วาจา และใจ ถ้าหากไม่สามารถจะบริหารความสัมพันธ์ได้ ความสงบสุขในในการอยู่ร่วมกันก็ไม่สามารถบังเกิดขึ้นถึงแม้ว่าทุกคนต่างก็มีข้อบกพร่องในตน แต่ถ้าหากรู้จักหลักการ  หรือศิลปะในการอยู่ร่วมกัน และได้ปฏิบัติตามหลักการนั้นแล้ว ก็จะสามารถอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข รักใคร่ปรองดอง สามัคคีพร้อมเพรียงกัน ยังผลให้จิตใจสงบสบายไม่ขุ่นมัว  สามารถรักษาใจให้หยุดนิ่งที่ศูนย์กลางกายได้อย่างต่อเนื่องตลอดทั้งวัน

人是社会性动物,作为群体共同居住生活,彼此在身体、语言和思想上始终紧密相连。如果处理不好彼此关系,就无法实现和谐共处。虽然每个人都有缺点,但如果了解共同居住的原则并严格遵守就能和谐共处。此外,还有助于净化心灵,让心清净不浑浊,持续安住在身体中央。

๑.หลักแห่งการอยู่ร่วมกับ (สาราณียธรรม)

1.共住原则(六和敬)

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงหลักแห่งการอยู่ร่วมกันไว้ในสาราณียธรรม คือ ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งการระลึกกันไว้ดังนี้

佛陀在六和敬中阐述了共住的原则,内容如下:

๑.๑ เมตตากายกรรม ช่วยเหลือกิจธุระของผู้ร่วมหมู่คณะด้วยความเต็มใจ เคารพนับถือกัน

1.1慈身业(身和同住):乐于相互帮忙处理事务,相互尊重与包容。

๑.๒ เมตตาวจีกรรม ช่วยบอกแจ้งสิ่งที่เป็นประโยชนั สั่งสอนแนะนำตักเตือนด้วยความหวังดี

1.2慈口业(口和无诤):相互告知有益之事,能善意地劝导或提醒对方。

๑.๓ เมตตามโนกรรม ตั้งจิตปรารถนาดี คิดทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่กัน มองกันในแง่ดี ไม่เพ่งโทษกัน

1.3慈意业(意和同悦):彼此心怀善意,思行互惠互利之事,看到对方的优点,不相互指责。

๑.๔ สาธารณโภคี ได้ของมาโดยชอบธรรมแบ่งปันให้ใด้ใช้สอยบริโภคทั่วกัน

1.4同受用(利和同均):如法获得的利益应共同分享。

๑.๕ สีลสามัญญตา มีศีลบริสุทธิ์เสมอกัน มีความประพฤติสุจริตดีงาม ถูกต้องตามระเบียบไม่ทำตนให้เป็นที่น่ารังเกียจของหมู่คณะ

1.5同持戒(戒和同修):持戒清净,行为诚实如法,不成为被团体厌恶的人。

๑.๖ ทิฏฐิสามัญญตา มีทิฏฐิดีงามเสมอกัน มีความเห็นชอบร่วมกันในข้อที่เป็นหลักการสำคัญที่จะขจัดปัญหา นำไปสู่ความหลุดพ้นสิ้นทุกข์

1.6同见解(见和同解):保持相同的见解,对离苦之道有共识。

๒. หลักแห่งการสงเคราะห์กัน (สังคหวัตถุ)

2.互惠原则(四摄法)

พระสัมมาสัมพุทรเจ้าทรงแสดงหลักแห่งการสงเคราะห์กันไว้ในสังคหวัตถุ คือ ธรรมเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวนำใจกันดังนี้

佛陀在四摄法中阐述了互惠的原则,内容如下:

๒.๑ ทาน คือ การให้ความรู้และวัตถุสิ่งของ พระภิกษุแม้ไม่สามารถให้วัตถุสิ่งของต่างๆ เป็นการแสดงน้ำใจอย่างคนทางโลกได้ แต่เมื่อมาอยู่รวมกัน ก็ต้องอาศัยกันและกันในการอนุเคราะห์ช่วยเหลือ ประคับประคองกันให้ดำรงตนได้อย่างมีความสุข อย่างเช่น การรู้จักแบ่งปันข้าวของเครื่องใช้ที่ได้มาโดยชอบ การให้ความรู้ในสิ่งที่ตนเองรู้ ตลอดจนการให้ธรรมะเพื่อสนับสนุนและตักเตือนกัน และเมื่อมีข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้น ก็พร้อมที่จะให้อภัย ช่วยกันหาทางป้องกัน แก้ไขต่อไป อีกทั้งจะต้องรู้จักหัดปรับปรุง หัดรักษามารยาทของตนเองด้วย เพื่อป้องกันการกระทบกระทั่งที่อาจเกิดขึ้นได้

2.1布施:即给予他人东西或知识。虽然僧人不能像世俗的人那样经常施与东西表达善意,但过团体生活要懂得相互分享、支持和帮助,这样才会和合安乐。例如,将如法获得的东西分享给大家,或者分享自己掌握的知识,以佛法相互支持或提醒对方。当发生摩擦时应相互谅解,想办法预防和解决问题,并懂得加以改进。此外,自己要谨言慎行,防止矛盾进一步恶化。

๒.๒ ปิยวาจา คือ มีวาจาอันเป็นที่รัก รู้จักการใช้คำพูดกลั่นกรองคำพูดให้ดีก่อนที่จะพูดออกไป อย่างเช่น แนะนำประโยชน์ แนะให้เกิดกำลังใจ แนะให้เกิดความร่วมมือร่วมใจกัน ว่ากล่าวตักเตือนในเวลาที่เหมาะสม

2.2爱语:即口出善言,说话前要三思,例如讲有意义的事或鼓励的话,进而能够同心合力做事情,当需要进行劝告时也要合时宜。

หากจะต้องตักเตือนใคร ให้ปฏิบัติตามหลัก ๕ ประการ ดังนี้

劝告他人时,应遵循五点原则:

๑) เลือกจังหวะให้เหมาะสม จังหวะในที่นี้ คือ เวลาและอารมณ์ โดยเวลาต้องเหมาะสม ไม่เตือนต่อหน้าธารกำนัล ควรเตือนเฉพาะตัว อารมณ์ต้องเหมาะสม ไม่เตือนขณะอารมณ์ไม่ดี มีอารมณ์โกรธ

(1)合时宜,包括场合和时间,也就是要在恰当的场合,切勿在大庭广众之下劝告他人。此外时间也要恰当,不要在对方生气或心情不佳时进行劝告。

๒) ชมก่อนแล้วค่อยเตือน ก็เพื่อให้เขามั่นใจว่า การเตือนครั้งนี้ เราทำด้วยความเมตตาปรารถนาดี ไม่ใช่เพื่อการแกลังด่า แกล้งตำหนิ

(2)先赞后劝,让对方觉得我们是心怀善意地劝说,不是责备或咒骂对方。

๓) ยิ้มก่อนติ เพื่อให้ผู้ถูกติ มีความมั่นใจว่า สิ่งที่เรากล่าวนั้น ไม่ใช่การจับผิดแต่ทำด้วยความปรารถนาดี

(3)劝前微笑,让对方相信我们不是找在他的缺点,而是处于善意地提醒。

๔) ต้องเป็นเรื่องจริง เรื่องที่กล่าวต้องแนใจว่าเป็นเรื่องจริง ไม่ใช่เราเข้าใจผิดซึ่งต้องสอบให้แน่ใจก่อน

(4)事情真实,即确保我们所说的事情真实不虚,并非误解,所以要先了解事情的真相。

๕) เป็นเรื่องที่เกิดประโยชน์ เรื่องนั้น ต้องเห็นว่าจะเกิดประโยชน์ต่อไปในภายภาคหน้า

(5)受益良多,即劝告后能让对方在未来获益。

เมื่อเราได้รับการตักเตือนจากใครแล้ว พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแนะนำไว้ว่า ให้มองผู้ที่เตือนเราเหมือนเป็นผู้ชี้ขุมทรัพย์ให้ คือผู้ที่บอกข้อบกพร่องของเราให้ทราบ เพราะว่าเรามักมองข้อบกพร่องของตนเองได้ยาก และเมื่อเราทราบข้อบกพร่องแล้ว เราก็จะได้ปรับปรุงแก้ไขตัวเองได้ทัน

当他人劝告我们之后,佛陀说让我们将告知缺点的人当作指引宝藏的人,因为自己往往很难看到自身的缺点。当了解自身的缺点后,应该及时改正并提升自己。

๒.๓ อัตถจริยา คือ การบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ ตั้งแต่การใช้กำลังกายช่วยเหลือกันในกิจกรรมต่างๆ การใช้กำลังความรู้ที่มีนำออกมาใช้อย่างเต็มที่ ไม่ปิดบัง ไม่นิ่งดูดาย การใช้กำลังความสามารถที่ตนเองมีให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด

2.3利行:即充分发挥自身的价值,譬如出力帮忙举办各种活动;或者将自己具备的知识倾囊相授,充分发挥自己的能力以产生最大的利益。

ในการอยู่ร่วมกันพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสอนเรื่องของการบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ ด้วยการฝึกเรื่องต่างๆ ดังนี้

在集体生活中,佛陀教导我们可以透过以下几点训练自己:

๑) ให้หมั่นปรับปรุง คือ ให้พัฒนาความรู้ความสามารถของเราให้ยิ่งๆ ขึ้นไปตลอดเวลา เป็นการเพิ่มพลังเก็บเอาไว้ในตัวเอง

(1)精进不懈,即持续不断地提升自己的知识与能力,让自己变得越来越强大。

๒) ใจกว้าง ไม่เป็นคนแล้งน้ำใจ เปิดใจให้กว้าง พร้อมที่จะนำพลังเหล่านั้นเอามาช่วยทุกๆคนที่เขาเดือดร้อน ไม่เกี่ยงให้คนอื่นทำความดีกับเราก่อน นอกจากนั้นสำหรับพระภิกษุ ยังหมายรวมไปถึงทางธรรม การให้ธรรมะหรือการสั่งสอนอบรมสาธุชนให้อยู่ในความดีและศีลธรรม ให้ตั้งมั่นอยู่ในพระรัตนตรัยอันเป็นที่พึ่งและที่ระลึกอันสูงสุด

(2)心胸宽广,不应成为心胸狭窄的人,应宽宏大量,充分利用自身的能力去帮助深陷困境的人,不要对他人的善意不以为然。此外,作为出家人还要传授佛法,教导信众行善积德以及培育德行,让他们皈依三宝这一殊胜的归依处。

๒.๔ สมานัตตตา คือ วางตัวให้เหมาะสมกับภาวะของตนในบุคคลนั้นๆ  ต้องรู้และเข้าใจบทบาทของตนเอง และปฏิบัติถูกต้องตามบทบาทของตนเอง เคารพกติกากฎระเบียบของหมู่คณะสำหรับพระภิกษุก็ต้องทำหน้าที่ของตนเองให้เหมาะสมอย่างพระภิกษุ

2.4同事:即摆正自己的位置,认清自己的角色,根据自己的角色如法修行,遵守僧团的规章制度,正确履行出家人的职责。