เสขิยวัตร หมวดโภชนปฏิสังยุต ตอนที่ ๑
应学法之用餐礼仪
พระครูวินัยธรไพบูลย์ ธมฺมวิปุโล
เสขิยวัตร คือ มารยาทอันงดงามของพระภิกษุ เรื่องมารยาทนี้ มีประโยชน์อยู่ ๒ ข้อ
应学法是关于比丘稳重得体的行为举止,此礼仪有两个益处:
๑. ปกปิดความไม่งามของตัวเอง เพราะว่าสิ่งใด ๆ ก็ตามที่เป็นธาตุหยาบที่ออกจากร่างกายของเรา จะเป็นของแข็ง ของเหลว หรือ ก๊าซ ออกทางทวารทุกทวาร ตั้งแต่ตาของเรา หู จมูก ปาก ทวารหนัก ทวารเบา หรือผิวหนัง ทั้งของแข็ง ของเหลว ก๊าซ ออกมาแล้ว ไม่มีอะไรงาม น่ารังเกียจทั้งนั้น มารยาทนั้นมีหน้าที่ปกปิดความไม่งามเหล่านี้
一、遮蔽我们身体肮脏的一面。因为从我们身体排出的各种物质,如从眼睛、耳朵、鼻子、嘴巴、肛门、皮肤所排出的各种固态、液态、气态的废弃物,都是让人厌恶的。得体的礼仪就能遮蔽肮脏的这一面。
๒. มารยาทนั้นเป็นเหมือนลมในยาง ป้องกันการกระทบกระทั่งในการอยู่ร่วมกันของคนหมู่มาก
และการฝึกมารยาทเหล่านี้ เสขิยวัตรเหล่านี้ เนื่องจากว่าเป็นของใกล้ตัว มันเป็นเรื่องที่เราต้องใช้ทุกวัน การนุ่งห่ม การแต่งกายใช้ทุกวัน การขบฉันภัตตาหารใช้ทุกวัน การแสดงธรรมใช้เป็นประจำ การขับถ่ายใช้เป็นประจำ เนื่องจากเราใช้เป็นประจำ ถ้าเราฝึกอยู่เป็นประจำ นั้นก็คือ นิสัยของเราจะถูกขัดเกลาจากความหยาบ ความกระด้าง เป็นความละเอียด ความประณีต ซึ่งสิ่งที่ติดตัวเราไปได้มี ๒ อย่าง สิ่งที่ดีอย่างแรก ก็คือ บุญกุศลที่เราทำ อย่างที่ ๒ คือ นิสัยที่ดี ดังนั้น ถ้าตั้งใจฝึกมารยาทตามเสขิยวัตรแล้ว เราก็จะได้นิสัยดีๆ ติดตัวข้ามชาติไปเลย อันนี้เป็นอานิสงส์ได้นิสัยดี ๆ ติดตัวข้ามชาติไป เป็นนิสัยที่ประณีต ที่ละเอียด ที่มีสติไม่หยาบ ไม่กระด้าง ประการต่อมา ก็คือ คนที่ไม่เลื่อมใสเห็นแล้วก็เลื่อมใส ประการต่อมาคนที่เลื่อมใสแล้วก็รักษาศรัทธาให้มั่นคงยิ่งขึ้น ได้ชื่อว่าเราได้เปิดหนทางสวรรค์ หนทางนิพพานให้กับเขา และประการที่สำคัญสุดท้าย ก็คือ ตัวเองก็ชื่นใจว่าวันเวลาที่ผ่านไป ไม่ผ่านไปเปล่า ผ่านไปพร้อมกับนิสัยดีที่เราปลูกขึ้นมา โดยอาศัยเสขิยวัตรและพระธรรมวินัยของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โภชนปฏิสังยุต ว่าด้วยเรื่องการรับบิณฑบาต การขบฉัน และการดูแลความสะอาดของอุปกรณ์บริโภค ว่าด้วยหมวดรับประทานอาหารหรือหมวดโภชนปฏิสังยุตนี้ มีทั้งหมดมี ๓๐ ข้อ ดังนี้
二、礼仪就如同轮胎中的气体一样,预防团体生活中的碰撞摩擦。因为这些礼仪、应学法就是我们生活的一部分,每天都会遇到的,如着装礼仪、用餐礼仪、开示佛法、大小便。因为我们常常做,如果我们也如法练习,结果就是:我们的习性,就会从粗鲁、粗犷,变得细腻、得体。我们往生之后,可以带走的有两样:首先是我们所修的功德;第二就是好的习性。因此,当我们如法的训练自己的行为举止,好的习性,如稳重、得体、细腻的习性就会随着我们到未来世。接下来就是,让那些没有信仰心的人因此而升起信仰,具足信仰的人更加坚定。可以说是,帮助他们进入了通往天界的道路,通往涅槃的道路。还有一点,也是最重要的:随着时间的流逝,我们没有白白浪费生命;我们按照佛陀的法与律,如应学法中关于托钵、用餐、清洁用具等等来训练自己,养成好的习性。应学法中关于用餐礼仪,或是用斋礼仪共有三十条:
ข้อ ๑. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่าเราจักรับบิณฑบาตด้วยความเคารพ
เวลาพระภิกษุไปรับบิณฑบาตอย่ามองแต่ว่ารับบาตรไปบิณฑบาต แม้เป็นโรงทาน ไปฉันมีถาดหลุม มีจานรับอาหาร ก็ชื่อว่ารับบิณฑบาตเหมือนกัน บิณฑบาตแปลว่า ข้าวที่ตกลงมา ภิกษุพึงให้ความเคารพในบิณฑบาตนั้น
ความเคารพในที่นี้ แบ่งออกเป็น ๒ ประเด็น ประเด็นแรก ก็คือ เคารพในผู้ให้ทาน คือ รับด้วยอาการเคารพ ประการที่ ๒ ก็คือ เคารพในของที่เขาเอามาทำทาน คือ ไม่แสดงอาการรังเกียจในของที่ถวายทาน แม้ไม่ประณีต ก็ไม่แสดงท่าทีหรือทำความรู้สึกให้ผู้ถวายทานรู้สึกว่ารับอาหารของเขาไปแล้วจะไม่ฉันหรือนำไปเททิ้ง ต้องไม่เกิดอาการเหล่านั้น นี้เป็นการให้ความเคารพในทาน ในของที่เขาให้มา ผู้ที่ให้ทานมาแต่ละท่าน ท่านมีศรัทธากับเรา ทำอย่างไรจะตอบแทนให้คุ้มกับค่าอาหาร พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงตรัสสอนว่า ข้อแรกภิกษุพึงรับบิณฑบาตด้วยความเคารพ เวลาเรารับบิณฑบาต ถ้ามีโยมผู้หญิงเขามาใส่บาตร โดยเฉพาะเวลาวางดอกไม้ ให้ปิดฝาบาตร แล้ววางบนฝาบาตร อย่ารับจากมือเหมือนอุบาสก ถ้าเขามาถวายของตอนอยู่ที่วัด เวลาปูผ้ารับประเคน ให้ปูทั้ง ๒ มือ ปลายมือของเราจับผ้า หงายมือขึ้นทั้ง ๒ มือ เอานิ้วโป้งบีบผ้าไว้ แล้วก็รับไทยธรรมนั้น แล้วก็ไม่ควรใช้ผ้าเช็ดหน้า หรือผ้าขนหนู นั้นคือการแสดงความไม่เคารพในทานอย่างยิ่ง ถ้าระมัดระวังแบบนี้ ก็เป็นการรักษาศรัทธาของญาติโยม ให้ความเคารพในทาน ให้ความเคารพในของที่ญาติโยมนำมาทำทาน
- 我要恭敬接受食物,应当学。
比丘接受食物,不仅仅只是外出化缘,即使在斋堂,居士准好的食物,也是受施。化缘的意思是,饭团落下来。比丘应该恭敬的接受食物。
这里的“恭敬”有两层含义:第一次含义是,对于供养者的尊重,即恭敬的接受食物;第二层含义是,对于供养品德的尊重;即使供养品不够精致,也不表露出不屑,没有让供养者觉得比丘不会吃这些食物,或者会丢掉。一定不能有这些动作,这是对布施的尊重。每一位供养者,都有着对佛教的信仰,怎么做才能让他们获得最大的利益。佛陀曾开示,第一步,比丘要恭敬的接受食物。托钵化缘的时候,如果有女居士供钵,供养鲜花,要先将钵盖上,让女居士将鲜花放在钵盖上,不要用手去接。如果居士到寺院供养,铺放供养布时,掌心向上,两只手抓住供养布的末端,大拇指和食指握住供养布,之后再接受供养。不应使用黄色的手帕或毛巾,那是对布施的极不尊重。如果这样谨慎仔细,维护了居士的信仰心,是对布施的尊重,对供养品的尊重。
เสขิยวัตร หมวดโภชนปฏิสังยุต ตอนที่ ๒ ข้อที่ ๒-๘
应学法之用餐礼仪
พระครูวินัยธรไพบูลย์ ธมฺมวิปุโล
ข้อ ๒. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่าเราจักแลดูแต่ในบาตรขณะรับบิณฑบาต
2.我接受食物时注视钵,应当学。
๑. มีสติ ไม่ลอกแลก ไม่สำรวม แสดงถึงความฟุ้งซ่านในใจ
2.1 有正念,没有左顾右盼,没有表现出心散乱;
๒. ขอทานต่างจากภิกษุ ขอทานแสดงความน่าสงสาร แต่ภิกษุไปด้วยอาการนิ่งสงบ อาการสำรวมแบบอริยะ
2.2 比丘不同于乞丐,乞丐是乞求他人的怜悯,但是比丘收摄身心,以清净之心托钵乞食。
๓. มีเรื่องตลกของคนญี่ปุ่น เห็นพระรับบิณฑบาตแล้วหัวเราะ ว่าคนให้ยังต้องไหว้คนรับ เป็นการมองแบบวัตถุนิยม เตือนสติพระให้เคารพในทาน ให้ธรรมะตอบแทนอาหาร ให้ธรรมทานซึ่งเหนือกว่าการให้ทั้งปวง
2.3 一个有趣的故事,日本人看到比丘接受供养,感到好笑:给予食物的人还要礼敬接受食物的人。这是从物质的角度去看,也是提醒比丘要尊重居士的布施。比丘以法布施回报居士供养的食物,法布施胜于一切施。
๔. สรุป ตรึกนึกถึงองค์พระดวงแก้วขณะบิณฑบาต
2.4 总结,在托钵化缘之时一直观想水晶球或佛像。
ข้อ ๓. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่าเราจักรับแกงพอสมควรแก่บิณฑบาต
- 我要接受和米饭等量的菜,应当学。
๑. ป้องกันภิกษุแสดงความละโมบเห็นโยมให้แต่ข้าว บิณฑบาตข้ามไปรับโยมที่ใส่กับข้าว
3.1 防止比丘表现出贪心,看到居士只供养米饭,就绕过此居士去接受其他居士供养的菜;
๒. ไม่ตุนกับข้าวไว้เฉพาะตน โดยไม่แบ่งให้เพื่อน มีวิธีการโดยนำมารวมกันแล้วแบ่งกัน
3.2 不让比丘囤积食物,而不分享;解决的方法就是将托钵食物集中起来,一起享用;
๓. อนุโลมในกรณีเจ้าภาพเลี้ยงอาหารต่างประเทศ เช่น ขนมปัง เป็นต้น
3.3 允许居士供养外来食物,如面包;
๔. สรุป แบ่งปันกับข้าวกันฉัน และให้นึกถึงลูกศิษย์ ฝึกนิสัยแบ่งปันไม่แสดงอาการละโมบ
3.4 总结:照顾师弟,和大家一起分享食物;不贪心,养成分享的好习惯。
ข้อ ๔. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่าเราจักรับบิณฑบาตเสมอขอบบาตร
- 我要接受食物(只)齐钵缘(内),应当学。
๑. ส่อความโลภ
4.1 防范贪婪;
๒. ทางป้องกัน หาภาชนะถ่ายบาตร
4.2 解决的方法:找餐具将食物倒出来;
๓. ฝึกพระภิกษุให้รู้ประมาณในการฉันภัตตาหาร
– ไม่ควรฉันอย่าฉัน ไม่สะอาด
– รสจัดเกินไป
– ฉันให้เป็นเวลา ฉันเพื่อมีชีวิตอยู่บำเพ็ญสมณกิจทางพระพุทธศาสนา
– ไม่เอ่ยปากขออาหารถูกปากราคาแพง
4.3 训练比丘在食物方面知量:
- 不该吃的,不要吃;
- 味道太重的不要吃;
- 按时吃饭,吃是为了修行,为了证入佛法;
- 不为了口腹之欲而求贵的食物;
๔. ในการประมาณการฉันอีก ๔-๕ คำ ถ้าจะอิ่มแล้วให้หยุด
4.4 知量而食,知道再吃4-5口饱了,就停下来。
ข้อ ๕. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่าเราจักฉันบิณฑบาตโดยเคารพ
- 我要恭敬的用餐,应当学。
๑. อาหารจากบิณฑบาตถ้าไม่เป็นโทษต่อสุขภาพพยายามฉลองศรัทธาทุกอย่าง
5.1 居士供养的食物,如果对健康无害,应该每样都吃;
๒. รู้จักประมาณตักมาแล้วต้องฉันให้หมด ไม่เหลือทิ้ง
5.2 食知量,同时也将食物吃完,没有剩余;
๓. วิธีฝึกความเคารพในวงฉัน
– พระพรรษาน้อยตักอาหารแจก
– ให้พระพรรษามากตักกับข้าวก่อน
– สังเกตกับข้าวช้อนแรกที่ตักของแต่ละรูปคือของโปรด จัดสลับให้เหมาะสมถ้าอยู่ไกล
5.3 多人同桌用餐,训练尊重的方法:
- 戒腊低的僧人服务(盛饭、倒水);
- 戒腊高的僧人先拿菜;
- 留意每位的第一勺菜,都是各自喜欢的;如果食物距离较远,可以变换食物的位置;
๔. ตักกับข้าวแล้วแต่งอาหารให้เป็นทรงกลมไม่กระจัดกระจาย เหมือนไก่เขี่ย
5.4 一边吃饭,一边将盘里的饭堆成圆塔形,不散乱;
๕. ฉันไปสังเกตไป คอยส่งน้ำ กระดาษ
5.5 一边吃,一边留意,服务师兄,递水、送纸;
๖. หันก้นช้อนเข้าหากลางวงเสมอ
5.6 始终将公勺转向桌子中心,便于其他人使用。
ข้อ ๖. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่าเมื่อฉันบิณฑบาต เราจักแลดูแต่ในบาตร
- 我用餐时注视钵,应当学。
๑. ป้องกันนิสัยริษยา
๒. ฝึกนิสัยสันโดษ ยินดีพอใจในสิ่งที่ตนมี ในสิ่งที่ตัวเองได้
๓. ยกเว้นดูเพื่อแบ่งปัน เช่น เรามีมาก แต่เขาไม่มี จึงแบ่งให้
6.1 防止嫉妒;
6.2 学会知足,知足常乐;
6.3 如果我们有很多食物,而同伴没有,可以看,为了将食物分享给同伴。
ข้อ ๗. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่าเราจักไม่ขุดข้าวสุกให้แหว่ง
- 我要顺序(不挑东挑西)地用餐,应当学。
เวลาตักข้าว ไม่ขุดข้าวให้แหว่ง ควรค่อย ๆ ตะล่อมข้าวขอบ ๆ แต่งให้กลม ข้าวกองพูนกลมตลอดเวลา ไม่กระจัดกระจายเกลื่อนเป็นไก่เขี่ย
用餐的时候,一边吃,一边将饭团做成圆形,而没有像鸡吃食一样散乱。
ข้อ ๘. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่าเราจักฉันแกงพอสมควรกับข้าวสุก
- 我吃和米饭同量的菜,应当学。
๑. ฝึกนิสัยไม่ให้กินกับเติบ
๒. สร้างนิสัยแบ่งปันให้กับข้าวเหลือถึงคนสุดท้ายในกรณีบุฟเฟ่ต์
๓. ถ้าฉันวง กับข้าวถูกปากอยู่ใกล้ตัว ต้องส่งให้เพื่อนฝั่งตรงข้ามบ้าง
8.1 养成吃菜也适量的习性;
8.2 如果是自助餐,要想到最后一位是否可以拿到菜;
8.3 如果是同桌吃饭,喜欢的菜也要送给对面的朋友享用。
เสขิยวัตรหมวดโภชนปฏิสังยุตตอนที่ ๓ ข้อที่ ๙-๒๓
พระครูวินัยธรไพบูลย์ ธมฺมวิปุโล
ข้อ ๙. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่าเราจักไม่ขยุ้มข้าวสุกแต่ยอดลงไป
- 我不(将钵内食物做成塔形而)从顶端揉捏食物来吃,应当学。
๑. ไม่ตักอาหารตรงกลางเป็นแบบขนมโดนัท
๒. ให้ตักเกลี่ยข้าวให้พูน ๆ สวยงาม
9.1不从中间挖食物,挖得像甜甜圈一样;
9.2 一边吃,一边把盘子里的米饭摊平,整理得漂亮;
ข้อ ๑๐. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่าเราจักไม่กลบแกงหรือกับข้าวด้วยข้าวสุก เพราะอยากจะได้มาก
- 我不用饭盖住菜或佐料,以求更多的(菜或佐料),应当学。
๑. รู้ว่าภูมิธรรม การฝึกตัวของเราก้าวหน้าแค่ไหน นิสัยเอาเปรียบเจ้าเล่ห์หายไปได้แค่ไหน ดูตรงนี้
10.1 想了解训练后,我们的德行提升到哪里了,狡猾自私的习性消除了吗,看下一条;
๒. มีอาหารพิเศษ น้ำปานะอร่อย อาหารอร่อยเป็นถ้วย ๆ เก็บถ้วยเยอะไว้กับตัว ส่งถ้วยน้อย ๆ ไปให้เพื่อน
10.2 有美味的食物、饮料,将好吃的、大碗的食物留给自己,量少的给朋友。
ข้อ ๑๑. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่าถ้าเราไม่เจ็บไข้จักไม่ขอแกงหรือข้าวสุกเพื่อประโยชน์แก่ตนมาฉัน
- 无病时,我不要为了自己的需要(主动)要求菜或饭来吃,应当学。
๑. ฝึกให้พระภิกษุเป็นคนเลี้ยงง่าย ไม่เอ่ยปากขออะไร ยกเว้นอาพาธ
๒. แม้เขาปวารณาก็ต้องดูฐานะภารกิจและเวลาของเขา
11.1 训练比丘成为少量、知足的人,不会主动求什么,除非是生病;
11.2 即使居士愿意供养,也要看对方的经济能力和时机。
ข้อ ๑๒. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่าเราจักไม่ดูบาตรของผู้อื่นด้วยคิดจะยกโทษ
- 我不心存不满而注意别人的钵,应当学。
๑. เมื่อฉันบิณฑบาตเราจักดูแต่ในบาตรของตัวเอง
12.1 用餐时,我们应只注意自己的钵;
๒. ไม่นำตัวเองไปเทียบกับคนอื่น ถ้าเราดีกว่า เหนือกว่า ต้องระมัดระวัง ต้องไม่ดูถูกคน
ถ้าจะเทียบให้เทียบกับตัวเอง เพื่อป้องกันนิสัยอิจฉาริษยา
12.2 不与他人做比较;如果比他人强,更要小心,不要小看他人。如果要比较,就和过去的自己比较,避免产生嫉妒的心理。
๓. คำว่ายกโทษในที่นี้ ไม่ใช่ให้อภัย แต่คือการจับผิดขึ้นมาวิจารณ์ ทำให้มีความรุ่มร้อน กระวนกระวายใจ
12.3 “心存不满”,这里是指发现不平均而批评,从而引起急躁、焦虑。
ข้อ ๑๓. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่าเราจักไม่ทำคำข้าวให้ใหญ่นัก
- 不做过大的饭团,应当学。
๑. ป้องกันนิสัยมูมมาม ทำอะไรไม่รู้จักประมาณ ทำงานหยาบได้ แต่ทำงานประณีตละเอียดไม่ได้
13.1 防止养成狼吞虎咽、不知量的习性;可以做粗重的活,但不能做细致的活;
๒. โรคทางเดินอาหารจะถามหาเพราะเคี้ยวย่ำ ๆ ลำไส้ทำงานหนัก เพราะอาหารหยาบ
13.2 容易患消化道方面的疾病,因为只是随便咀嚼,食物没有充分消化,肠胃的负担很重;
๓. ข้าวคำใหญ่ ปากก็ใหญ่ไปด้วย เป็นแบบฮิปโปหรือจระเข้ ไม่งาม
13.3 饭团大,口也要张得大,如同河马或鳄鱼一样,不庄严。
ข้อ ๑๔. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่าเราจักทำคำข้าวให้กลมกล่อม
- 要做圆的饭团,应当学。
๑. ข้าวกลมกล่อมพอดีคำ
14.1 饭团做得大小刚刚好;
๒. ถ้ามีน้ำแกงให้ใช้ส้อมกวาดก้นช้อน เพื่อไม่ให้หกเรี่ยราดระหว่างใส่ปาก
14.2 如果有汤汁,用叉子刮一下饭勺的底部,在将食物送到嘴里时,就不会有汤汁掉落下来;
๓. ฝึกนิสัยเป็นคนทำอะไรระมัดระวัง ประณีต
14.2 训练细腻、谨慎的习性。
ข้อ ๑๕. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เมื่อคำข้าวยังไม่ถึงปาก เราจักไม่อ้าปากไว้ท่า
- 不张口待食,应当学。
๑. นึกถึงเด็กเวลาพ่อแม่ป้อนข้าว อ้าปากรอ หรือเหมือนลูกนก พ่อนกแม่นกป้อนเหยื่ออ้าปากรอ
15.1 这就如同父母给小孩子喂食物时,小孩子张口等;或者是大鸟给小鸟喂食,小鸟张开嘴巴,等待食物。
ข้อ ๑๖. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เมื่อฉันอยู่ เราจักไม่เอานิ้วมือสอดเข้าปาก
- 用餐时,不将手塞入口中,应当学。
๑. เศษอาหารแข็ง ๆ ติดเหงือก ติดฟัน เอานิ้วเข้าไปแคะดูไม่งาม
16.1 有食物残渣粘在牙龈、或者牙齿上,用手指去抠,不庄严;
ข้อ ๑๗. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เมื่อข้าวอยู่ในปาก เราจักไม่พูด
- 不口含饭团说话,应当学。
๑. กินไปคุยไป อาหารไม่ละเอียด
17.1 一边用餐,一边聊天,食物没有被充分咀嚼;
๒. เห็นอาหารในปากขณะคุยมันไม่งาม หมดความเป็นพระ
17.2 边吃边聊,可能看到嘴里的食物,有失僧人的庄严;
๓. เศษอาหารกระเด็นออกมาลงจานข้าวส่วนกลาง
17.3 食物的碎末可能飞溅到食物上;
๔. เสียงพูดก็ไม่ชัด
17.4 话也说得不清楚;
๕. เพื่อนที่นั่งด้วยกันต้องนั่งรอ ฉันข้าวไปคุยไป มัวแต่โม้
17.5 一起用餐的朋友只好坐着等,因为只顾着吹牛。
ข้อ ๑๘. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่าเราจักไม่โยนคำข้าวเข้าปาก
- 不用投掷的方式送食入口,应当学。
๑. อาหาร เม็ดถั่ว โยนขึ้นไปแล้วอ้าปากไล่งับ ไม่เหมาะสมกับสมณสารูป
18.1 坚果类的食物,以投掷的方式,张嘴入口,不应该是出家人的行为。
ข้อ ๑๙. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่าเราจักไม่ฉันกัดคำข้าว
- 不咬断饭团来吃,应当学。
๑. อาหารชิ้นใหญ่ รูปทรงยาว เช่น กล้วย ไส้กรอกต้องตัดให้พอดีคำ ใช้ซ่อมตัดแล้วจิ้มฉัน พอดีปาก ไม่งับ กัดแบบลิงกินกล้วย บะหมี่ ก๋วยเตี๋ยว ไม่งับกัด ให้ตัดสั้น ๆ แล้วตักฉัน
19.1 对于比较大,或是长的食物,如香蕉、香肠,必须先切成小块,如用叉子、勺子切好后再吃。如果切得大小合适,就不用咬断。不要如同猴子吃香蕉、面条一样咬,而是应该切得小小的,再吃。
ข้อ ๒๐. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่าเราจักไม่ฉันทำกระพุ้งแก้มให้ตุ่ย
- 不大口吃东西,应当学。
๑. เวลาลิงแย่งอาหารกัน มันจะจับยัดใส่ปากอมไว้จนแก้มตุ่ย แล้ววิ่งหนีไปไกล ๆ แล้วค่อย ๆ คายออกมาทยอยกิน
20.1 当猴子争抢食物时,先将食物塞进嘴巴里,直到脸颊鼓起来,然后跑远了,再吐出来,慢慢的吃;
๒. ศัพท์ในการบริโภคอาหารมีหลายระดับ
20.2 “用餐”的词语也分为不同的层次:
พระ ฉัน
出家人 过堂
กษัตริย์ เสวย
帝王 进膳
คนที่ได้รับการฝึก รับประทาน
训练有素的人 用餐
ชาวบ้าน กิน
普通人 吃饭
ลิงที่ยัด ๆ อาหารจนแก้มตุ่ย ไม่ได้เรียกว่ารับประทานอาหาร
如同猴子一样将食物塞进嘴里,不能称之为用餐。
๓. ระวังพวกอาหารชิ้นโต ให้ตัดให้พอดี พวกเงาะลูกโต ๆ ไม่อมไว้ที่กระพุ้งแก้ม
20.3 留意大块的食物,切成小块再吃;如红毛丹,不应直接一口吞下。
ข้อ ๒๑. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่าเราจักไม่ฉันพลางสะบัดมือพลาง
- 用餐时不甩手,应当学。
๑. ในกรณีที่ใช้มือหยิบข้าวเหนียว แกะส้ม หรือเศษอาหารติดมือให้ใช้กระดาษ ผ้าเช็ดมือ
21.1 如果手上粘了糯米、食物残渣,用纸巾、或是手帕擦;
๒. กรณีใช้ช้อนส้อม อาหารติดช้อนส้อม อย่าเคาะ ใช้น้ำแกงจืดราดแล้วค่อย ๆ เขี่ยเบา ๆ
21.2 如果食物残渣粘在餐具上,切勿敲打餐具,过一下汤水,再慢慢的清理;
๓. เมื่อเริ่มฉันควรตักน้ำแกงจืดราดขอบจานโดยรอบ ให้ข้าวไม่ติดก้นจาน ไม่ติดช้อน
21.3 开始用餐时,应该先将汤汁浇在盘子中饭的边缘,使饭粒不会粘在盘子和勺子上;
๔. เอาน้ำแกงจืดราดช้อนส้อมให้เปียก ตักข้าวก็จะไม่ติดช้อนส้อม
21.4 用汤汁将餐具淋湿,米饭就不会粘在餐具上;
๕. บางกรณีอาหารติดช้อนส้อม ใช้ลิ้นเลีย ไม่งาม เหมือนเด็กเลียไอศกรีม ไม่ควรทำ
21.5 如果米饭粘在餐具上,不能用舌头去舔,不庄重,如同小孩舔冰淇淋一样,不应该如此。
ข้อ ๒๒. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่าเราจักไม่ฉันโปรยเมล็ดข้าวให้ตกลงในบาตรหรือในที่นั้น ๆ
- 用餐时不散落饭粒,应当学。
๑. ถ้าตักข้าวจนล้นช้อน ไม่แต่งให้กลมกล่อม ยกขึ้นก็ไม่ระวัง ข้าวก็ร่วงกราวลงพื้น
ศรัทธาญาติโยมเลยตกไปพร้อมเมล็ดข้าว
22.1 如果勺子里的饭太多,也没有整理好,举起勺子时也没有在意,米饭掉到地上;居士的信仰心也随之掉落了。
ข้อ ๒๓. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่าเราจักไม่ฉันแลบลิ้น
- 用餐时不吐舌,应当学。
๑. ไม่แลบลิ้นออกมารองคำข้าว เหมือนกบแลบลิ้นกินแมลงวัน
23.1 不要伸出舌头来等食物,如同青蛙用长舌头吃苍蝇;
๒. ไม่แลบลิ้นเลียปาก ให้ใช้กระดาษ หรือผ้าเช็ดปากแทน
23.2 不用伸出舌头来舔嘴唇,而是用纸巾、手帕擦嘴。