องค์วินิจฉัยศีลและโทษหนักเบา
องค์วินิจฉัยศีล
การฆ่าสัตว์ต้องประกอบด้วยองค์ ๕ คือ
๑. สัตว์นั้นมีชีวิต
๒. รู้อยู่ว่าสัตว์นั้นมีชีวิต
๓. มีจิตคิดจะฆ่าสัตว์นั้น
๔. มีความพยายามฆ่าสัตว์นั้น
๕. สัตว์ตายด้วยความพยายามนั้น
การลักทรัพย์ต้องประกอบด้วยองค์ ๕ คือ
๑. ทรัพย์หรือสิ่งของนั้นมีเจ้าของหวงแหน
๒. รู้อยู่ว่าทรัพย์นั้นมีเจ้าของหวงแหน
๓. มีจิตคิดจะลักทรัพย์นั้น
๔. มีความพยายามลักทรัพย์นั้น
๕. ลักทรัพย์ได้ด้วยความพยายามนั้น
การประพฤติผิดในกามต้องประกอบด้วยองค์ ๔ คือ
๑. หญิงหรือชายที่ไม่ควรละเมิด
๒. มีจิตคิดจะเสพเมถุน
๓. ประกอบกิจในการเสพเมถุน
๔. ยังอวัยวะเพศให้ถึงกัน
การพูดเท็จต้องประกอบด้วยองค์ ๔ คือ
๑. เรื่องไม่จริง
๒. มีจิตคิดจะพูดให้ผิดไปจากความจริง
๓. พยายามที่จะพูดให้ผิดไปจากความจริง
๔. คนฟังเข้าใจความหมายตามที่พูดนั้น
การดื่มน้ำเมาต้องประกอบด้วยองค์ ๔ คือ
๑. น้ำที่ดื่มเป็นน้ำเมา
๒. มีจิตคิดจะดื่ม
๓. พยายามดื่ม
๔. น้ำเมานั้นล่วงพ้นลำคอลงไป
จากความรู้ในเรื่อง องค์วินิจฉัยศีล เราจะสามารถตอบข้อสงสัยได้ว่า การกระทำใดเป็นการกระทำที่ผิดศีล ทำให้ศีลขาด
ตัวอย่างเช่น การที่เราไล่ยุง แล้วบังเอิญทำให้ยุงตายโดยที่เรามิได้มีจิตคิดจะฆ่ายุงเลย อย่างนี้เรียกว่ายังไม่ผิดศีล ศีลยังไม่ขาด เพราะเป็นการกระทำที่ไม่ครบองค์ ๕ ของการฆ่าสัตว์
ส่วนการกระทำใด ๆ ที่แม้จะไม่ครบองค์วินิจฉัยศีล เช่น การฆ่ามีองค์ ๕ แต่ทำไปแค่องค์ ๔ อย่างนี้เรียกว่าศีลทะลุ และถ้าลดหลั่นลงมาอีก ก็จะเรียกว่า ศีลด่าง ศีลพร้อย ตามลำดับ
นอกจากนี้ พระอรรถกถาจารย์ ยังได้แสดงหลักสำหรับวินิจฉัยว่า การละเมิดศีลแต่ละข้อจะมีโทษมากหรือน้อยนั้น ขึ้นอยู่กับสิ่งต่อไปนี้
การฆ่าสัตว์ มีโทษมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับ
๑. คุณ การฆ่าสัตว์ที่มีคุณมาก จะมีโทษมากกว่าการฆ่าสัตว์ที่มีคุณน้อยหรือไม่มีคุณ เช่น ฆ่าพระอรหันต์ มีโทษมากกว่าฆ่าปุถุชน ฆ่าสัตว์ที่ช่วยงานมีโทษมากกว่าฆ่าสัตว์ดุร้าย เป็นต้น
๒. ขนาดกาย สำหรับสัตว์ดิรัจฉานจำพวกที่ไม่มีคุณเหมือนกัน การฆ่าสัตว์ใหญ่มีโทษมากกว่าการฆ่าสัตว์เล็ก
๓. ความพยายาม มีความพยายามในการฆ่ามาก มีโทษมาก มีความพยายามน้อย มีโทษน้อย
๔. กิเลสหรือเจตนา กิเลสหรือเจตนาแรง มีโทษมาก กิเลสหรือเจตนาอ่อน มีโทษน้อย เช่น การฆ่าด้วยโทสะหรือความเกลียดชัง มีโทษมากกว่าการฆ่าเพื่อป้องกันตัว
การลักทรัพย์ มีโทษมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับ
๑. คุณค่าของทรัพย์สินสิ่งของนั้น
๒. คุณความดีของผู้เป็นเจ้าของทรัพย์นั้น
๓. ความพยายามในการลักทรัพย์นั้น
การประพฤติผิดในกาม มีโทษมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับ
๑. คุณความดีของผู้ที่ถูกละเมิด
๒. ความแรงของกิเลส
๓. ความเพียรพยายามในการประพฤติผิดในกามนั้น
การพูดเท็จ มีโทษมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับ
๑. ความเสียหายที่เกิดขึ้นว่ามากน้อยเพียงใด
๒. คุณความดีของผู้ที่ถูกละเมิด
๓. ผู้พูดนั้นเป็นใคร เช่น
– คฤหัสถ์ที่โกหกว่า “ไม่มี” เพราะไม่อยากให้ของ ๆ ตนอย่างนี้มีโทษน้อย แต่การเป็นพยานเท็จมีโทษมาก
– บรรพชิต พูดเล่นมีโทษน้อย แต่การพูดว่าตน “รู้เห็น” ในสิ่งที่ตนไม่รู้ไม่เห็น มีโทษมาก
การดื่มน้ำเมา มีโทษมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับ
๑. อกุศลจิต หรือกิเลสในการดื่ม
๒. ปริมาณที่ดื่ม
๓. ผลที่เกิดจากการกระทำผิดพลาด ชั่วร้าย ที่ตามมาจากการดื่มน้ำเมา
อย่างไรก็ตาม การละเมิดศีลในทุกระดับ ไม่ว่าจะเป็นศีลขาด ศีลทะลุ ศีลด่าง หรือศีลพร้อย ก็ล้วนแต่เป็นการทำลายคุณภาพใจให้เสื่อมลง หรือที่เราเรียกว่า บาป นั่นเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากละเมิดศีลในกรณีที่เกิดโทษมาก เป็นบาปมาก คุณภาพใจจะยิ่งถูกทำลายให้เศร้าหมองมืดมนมากขึ้นด้วย
เราจึงควรศึกษาในเรื่องเหล่านี้ เพื่อให้การรักษาศีลของเราเป็นไปด้วยความรู้ความเข้าใจ อันจะนำมาซึ่งการรักษาคุณภาพใจได้อย่างบริสุทธิ์ สะอาด สุขสบาย ไม่เดือดเนื้อร้อนใจในภายหลัง
ไม่รักษาศีลแล้วเกิดโทษอย่างไร
ในขณะที่อานิสงส์แห่งศีลนั้น พรั่งพร้อมด้วยความดีมากมายจนมิอาจบรรยายได้หมดสิ้น ทำนองเดียวกัน โทษทัณฑ์แห่งการผิดศีล ก็ส่งผลทำลายล้างทุกสิ่งทุกอย่างได้มากมายเช่นกัน และในโลกนี้คงจะไม่มีใครกล้าผิดศีล หากได้รู้ซึ้งถึงความหายนะที่จะตามมา เพราะผู้ที่ผิดศีลนั้นย่อมมิใช่เพียงแค่เบียดเบียนรังแกผู้อื่นเท่านั้น หากแต่ยังได้ชื่อว่า เป็นผู้ที่ทำร้ายตนเองอย่างรุนแรงที่สุดด้วย
เมื่อผิดศีล ความผิดปกติย่อมจะเกิดขึ้นทันที ใจที่เคยใสสะอาด จะเศร้าหมองขุ่นมัว ยิ่งผิดศีลมากเท่าใด ใจจะยิ่งเสื่อมคุณภาพลงไปมากเท่านั้น ทุกข์ภัยทั้งหลายก็จะเข้ามาในชีวิต และติดจามล้างผลาญอย่างไม่ยอมเลิกรา ไม่ว่าชาตินี้ ชาติหน้า หรือชาติไหนๆ ก็ตาม
เรื่องสำคัญต่อชีวิตเช่นนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสั่งสอนเราด้วยความเมตตา ทรงชี้ให้เห็นว่าคนทุศีลนั้น ไม่มีวันรอดพ้นจากความเสื่อมได้เลย
ผู้ที่ผิดศีล ๕ ย่อมมีโทษหนักและเบาตามลำดับ คือทำให้เกิดเป็นสัตว์นรก เปรต และสัตว์ดิรัจฉาน
โดยที่โทษอย่างเบาที่สุดของการฆ่าสัตว์ คือ ทำให้เกิดเป็นมนุษย์ผู้มีอายุสั้น ต้องพบกับโรคภัย ทำให้เสียชีวิตก่อนวัยอันควร
โทษอย่างเบาที่สุดของการลักขโมย คือ ทำให้เกิดเป็นมนุษย์ผู้ยากจนขัดสน หากเคยทำทานมามาก เกิดมามั่งมีเงินทอง แต่ในที่สุดทรัพย์เหล่านั้นก็จะต้องพินาศไปด้วยภัยต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นภัยจากน้ำ จากไฟ จากโจรผู้ร้าย หรือคนคดโกง
.
โทษอย่างเบาที่สุดของการประพฤติผิดในกาม คือ ทำให้เกิดเป็นมนุษย์ผู้มีศัตรูคู่เวรมาก ยากจะหาความสงบสุขในชีวิต
โทษอย่างเบาที่สุดของการพูดโกหก คือ ทำให้เกิดเป็นมนุษย์ผู้ถูกกล่าวหาด้วยเรื่องไม่จริง บางคนถูกใส่ร้ายป้ายสีจนเสียผู้เสียคน บางคนก็อาจถึงขั้นฆ่าตัวตาย
โทษอย่างเบาที่สุดของการพูดส่อเสียด คือ ทำให้เกิดเป็นมนุษย์ผู้ที่มักจะมีเรื่องแตกร้าวกับมิตรสหาย ต้องทะเลาะเบาะแว้งกับผู้อื่นอยู่เสมอ
โทษอย่างเบาที่สุดของการพูดคำหยาบ คือ ทำให้เกิดเป็นมนุษย์ผู้ที่มักจะได้ยินเสียงอันไม่น่าพอใจ ไม่น่าฟัง แม้ต่อมาตนเองจะเป็นคนอ่อนน้อม ไม่ด่าว่าใคร แต่ด้วยผลกรรมนั้นทำให้ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน ก็จะได้ยินแต่เสียงด่าทอ ทะเลาะวิวาทให้ร้อนหูอยู่เสมอ
โทษอย่างเบาที่สุดของหารพูดเพ้อเจ้อ คือ ทำให้เกิดเป็นมนุษย์ผู้ที่ไม่มีใครเชื่อถือ ทำอะไรก็มักจะไม่ประสบความสำเร็จ
โทษอย่างเบาที่สุดของการดื่มสุราเมรัย คือ ทำให้เกิดเป็นมนุษย์ผู้มีจิตใจเลื่อนลอย ขาดสติ หรือเป็นบ้า เพราะได้สั่งสมความประมาทขาดสติให้แก่ตนเองด้วยการดื่มน้ำเมาเสมอมา
The Components of Sīla
The act of killing consists of the following five components.
- The animal is alive.
- One knows that the animal is alive.
- One thinks about killing the animal.
- One tries to kill the animal.
- The animal is dead as a result of one’s effort.
The act of stealing consists of the following five components.
- The object belongs to a possessive owner.
- One knows that the object belongs to a possessive owner.
- One thinks about stealing the object.
- One tries to steal the object.
- One succeeds in stealing the object.
Sexual misconduct consists of the following four components.
- The person involved has already been spoken for.
- One thinks about having sexual intercourse with the person.
- Sexual activities have taken place.
- Sexual intercourse has occurred.
The act of lying consists of the following four components.
- The story is not true.
- One has the intention to mislead others.
- One tries to mislead others.
- One succeeds in misleading others.
Alcohol consumption consists of the following four components.
- It is an alcoholic drink.
- One thinks about drinking it.
- One tries to drink it.
- One succeeds in drinking it.
The information above allows us to evaluate whether or not our action has caused us to transgress
any of the Five Precepts.
For example, in chasing a mosquito, one inadvertently causes it to die. In this case, one has not transgressed the First Precept because all five components have not been met.
However, if four of the five components are met, it means that one’s Sīla practice has been pierced.
If three components or less are met, it means that one’s Sīla practice has been discolored or tainted.
In the Commentary, it is said that the level of retribution for the transgression of each Precept depends on the following factors.
Killing: The level of the retribution for killing depends on…
- Virtue: Killing a living being that possesses a greater level of virtue incurs a higher level of retribution than killing a living being that possesses a lower level of virtue. For example, killing an Arahat incurs a higher level of retribution than killing an ordinary person. Killing a working animal incurs a higher level of retribution than killing a ferocious animal. Etc.
- Size: For all the animals which are devoid of virtue, killing a large animal incurs a higher level of retribution than killing a small animal.
- Effort: The greater the effort spent in killing an animal, the higher the level of retribution is incurred.
- Intention: A strong intention incurs a higher level of retribution than a weak intention. For example, killing a living being out of anger or hatred incurs a higher level of retribution than killing for self-defense.
Stealing: The level of the retribution for stealing depends on…
- The value of the object.
- The virtue of its owner.
- The effort spent in stealing the object.
Sexual Misconduct: The level of the retribution for sexual misconduct depends on…
- The virtue of the person being transgressed against.
- The level of defilements involved.
- The effort spent in committing sexual misconduct.
Lying: The severity of the retribution for lying depends on…
- The level of the damage caused.
- The virtue of the person being transgressed against.
- The person who does the lying, for example,
– A householder that lies by saying, “No”, because he does not want to share what he has incurs a low level of retribution. But bearing false witness incurs a high level of retribution.
– A Buddhist monk speaking in jest incurs a low level of retribution. But a Buddhist monk who boasts about supernormal insight when he does not actually possess it incurs a high level of retribution.
Alcohol Consumption: The level of the retribution for alcohol consumption depends on…
- The desire to drink.
- The amount consumed.
- The misdeeds committed as a result of having consumed alcohol.
At whatever level of Sīla transgression, be it broken, pierced, discolored or tainted, the retribution incurred works to destroy the quality of our mind. When Sīla transgression gives rise to grave misdeeds, it causes the mind to become gloomy.
Therefore, it behooves every one of us to understand Sīla practice and to practice it in such a way as to keep our mind pure, clean, and happy.
戒的判定
具五缘破杀生戒:
- 活的生命
- 知此是生命
- 存有杀心
- 付出努力
- 由此而死
具五缘破偷盗戒:
- 属于他人之物
- 明知为他人所有
- 存有盗心
- 付出努力
- 盗取成功
具四缘破邪淫戒:
- 不应侵犯的对象
- 起性交的想法
- 发生性交行为
- 性器官相接触
具四缘破妄语戒:
- 不真的事态
- 起欺骗的想法
- 努力使人相信
- 闻者信以为真
具四缘破饮酒戒:
- 食品为酒类
- 起迷醉之心
- 付出努力
- 酒类入喉
上述内容清晰地说明,怎样的行为属于破戒譬如,我们驱赶蚊子时,凑巧致其死亡,但因乃无心之举,所以不算破戒,因为未具足破戒之五缘。
对于没有完全达到各项条件的行为,例如:需圆满五项条件才算破杀生戒,但若只是达到其中四项,则称为“穿戒”,若少于此则称为“染戒”或“缺戒”。
除此之外,先师还进一步说明破戒的轻重,取决于以下条件。
杀生罪业之轻重,取决于:
1.恩德:杀害具大恩德之动物的罪业,重于杀害具小恩德或无恩德之动物的罪业。例如:杀阿罗汉的罪业,重于杀凡夫俗子;杀劳作之动物的罪业,重于杀毒蛇猛兽等。
2.体型:对于同样无恩德的畜生,杀害大体型畜生的罪业,重于杀害小体型畜生的罪业。
3.努力程度:在杀害过程中,付出的努力多,则罪业重,反之则少。
4.烦恼或动机:若烦恼和动机强,则罪业重,烦恼和动机弱,则罪业轻。例如:因愤怒和仇恨而杀害的罪业,重于因自卫而杀害的罪业。
偷盗罪业之轻重,取决于:
1.财物的价值程度
2.财物主人的德行
3.盗取的努力程度
邪淫罪业之轻重,取决于:
1.被侵犯者的德行
2.烦恼的深重程度
3.邪淫的努力程度
妄语罪业之轻重,取决于:
1.导致损失的程度
2.被欺骗者的德行
3.欺骗者为何许人
- 居士因不想施与而欺骗说“没有”,这样的人罪业轻,但作伪证者的罪业重。
- 出家人开玩笑罪业轻,但谎称自己已觉悟真理,有悖于事实,这样则罪业重。
饮酒罪业之轻重,取决于:
1.饮酒时的邪念或烦恼
2.饮酒的数量
3.酒后过失所产生的影响
不管如何,每一种犯戒,无论是破戒、穿戒、染戒或缺戒,对于心灵都是有害而无益,也就是所谓的“罪恶”。特别是因破戒所生之大罪恶,会导致心灵品质受到严重的伤害。
对于上述的知识,我们应学以致用,有理有据的持戒,使心灵趋向于纯洁、清净和愉悦,不生急躁的情绪。