การฝึกตนให้มีคุณสมบัติของผู้บรรลุธรรมได้ง่าย (Th En Ch)

0
108

การฝึกตนให้มีคุณสมบัติของผู้บรรลุธรรมได้ง่าย

修行者应具备的美德

The virtues of a practitioner

การที่ใครจะเข้าถึงธรรมได้นั้น คนๆนั้นต้องปฏิบัติมรรคมีองค์ 8 ได้ถูกส่วนอย่างทุ่มชีวิตเป็นเดิมพัน แต่ว่าการที่ใครปฏิบัติมรรคมีองค์ 8 แล้ว จะสามารถเข้าถึงธรรมได้ช้าหรือเร็ว ยากหรือง่าย หยาบหรือละเอียดนั้น ขึ้นอยู่กับผลการฝึกตนของคน ๆ นั้นว่าสามารถบ่มเพาะคุณสมบัติ 5 ประการของผู้บรรลุธรรมให้เกิดขึ้นในตนได้มากน้อยเพียงใด

修行之人要证悟佛法,必须如法修习八正道。此外,证法的快与慢、难与易、粗与细,还取决于修行者是否具备五种美德。

To realise the Dhamma, a man of practice must practice the Eightfold Path accordingly. In addition, the speed or slowness, difficulty or easiness, and roughness or fineness of attaining the dhamma, also depend on whether the practitioner possesses the five virtues.

พูดง่าย ๆ ก็คือ ผู้ที่จะบรรลุธรรมได้โดยง่าย ต้องปฏิบัติมรรคมีองค์ 8 ด้วยความมีศรัทธา มีสุขภาพดี มีนิสัยไม่โอ้อวด ไม่มีมารยา มีนิสัยปรารภความเพียร และมีนิสัยเพิ่มพูนปัญญา นั่นเอง

简单地说,修行者应在心怀信仰;身体健康;不炫耀不作假;勇猛精进;在增上智慧的基础上修习八正道。

To put it in a simple term, the practitioner should faith; good health; unpretentious, unfeigned; be brave and progressive; Practice the Eightfold Path on the basis of gaining wisdom.

นี่คือเหตุผลว่า ทำไมปฏิบัติมรรคมีองค์ 8 เช่นเดียวกัน แต่กลับได้ความคืบหน้าไม่เท่ากันและเป็นการยืนยันว่า ธรรมะทุกคำของพระองค์นั้นสามารถพาคนไปพระนิพพานได้ หากใครดูเบาไปเพียงคำครึ่งคำ จะมีผลต่อการบรรลุธรรมทันที

这就是为什么同样修习八正道,可是进步程度却不一样。可以确定的是,佛陀的教法能度人入涅槃,可若有人轻视一言半语,也会对修行产生不利的影响。

This is why the same way of practice of the Eightfold Path, but not the same level of progress. It is certain that the Teachings of the Buddha will lead one to nirvana, but if one neglects a word, it will have an adverse effect on the practice.

  1. การเพิ่มพูนศรัทธาให้ตนเอง

1.增长自身的信仰

  1. Grow your faith

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า คุณสมบัติข้อแรกของผู้บรรลุธรรมได้ง่าย ก็คือ ต้องมีศรัทธา

佛陀说修行之人应具备的第一种美德是心怀信仰。

The Buddha said that the first virtue for a practitioner is to have faith.

คนมีศรัทธา คือ คนที่เชื่อปัญญาตรัสรู้ธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่าเพราะการตรัสรู้นั้นทำให้พระองค์เป็นพระอรหันต์ ผู้ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เป็นผู้เสด็จไปดี เป็นผู้รู้แจ้งโลก เป็นสารถีผู้ฝึกคนได้เป็นเยี่ยม เป็นบรมครูของทั้งมนุษย์และเทวดา

心怀信仰:即净信佛陀觉悟的智慧,净信觉悟之世尊乃阿罗汉、正自觉者、明行足、善逝、世间解、调御丈夫、天人师。

Have faith: that is, pure belief in the wisdom of Buddha’s enlightenment, pure belief in the enlightenment of the Buddha is the arahant (Bali: arahaṃ), the Perfectly self-enlightened (Bali: sammā-sambuddho), Perfected in knowledge and conduct (Bali: vijjā-caraṇa-sampanno), Well gone (Bali: Sugato), Knower of the world (Bali:  lokavidū ), Unsurpassed leader of persons to be tamed (Bali: anuttaro purisa-dammasārathi); Teacher of the gods and humans (Bali: satthā deva-manussā-naṃ).

ศรัทธา เป็นคำภาษาบาลี ในที่นี้ หมายถึง ความเชื่อมั่นที่เปียมล้นด้วยความมั่นใจอันเกิดจากความสิ้นสงสัยในพระปัญญาตรัสรู้ธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วโดยสิ้นเชิง

信仰:彻底消除对佛陀觉悟的智慧之疑虑,充满坚信不疑的信仰心。

Faith: complete elimination of doubts about the wisdom of Buddha’s enlightenment, full of faith.

ศรัทธามี 2 ประเภท

有两种信仰

Two types of faith

ประเภทที่ 1 ศรัทธาหัวเต่า คือ ความศรัทธาที่ยังไม่มั่นคง ยังง่อนแง่นคลอนแคลนแปรเปลี่ยนกลับไปกลับมาได้ เปรียบเหมือนเต่าที่ทำหัวผลุบ ๆ โผล่ ๆ จากกระดอง เอาแน่เอานอนไม่ได้ เพราะยังมีความลังเลสงสัยในพระปัญญาการตรัสรู้ธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่าจริงหรือไม่จริง

第一种:摇摆不定的信仰;即信仰不坚定,仍不断摇摆和变化,犹如不停伸缩脑袋的乌龟。难以坚定是因为依然对佛陀觉悟的智慧将信将疑。

The first is a wavering belief; That is, the belief is not firm, but still constantly rocking and changing, like a turtle retracting its head. It is difficult to be firm because there is still doubt about the Buddha’s enlightened wisdom.

ประเภทที่ 2 ตถาคตโพธิศรัทธา คือ ความศรัทธาที่เกิดจากการบำเพ็ญเพียรภาวนาจนกระทั่งเข้าถึงพระรัตนตรัยภายในตัว ทำให้มีความมั่นใจในทุกคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่าเป็นความจริงไม่เสื่อมคลาย เพราะได้พิสูจน์ให้รู้เห็นด้วยตนเองแล้วว่า การตรัสรู้ธรรมนั้นมีจริง ทุกคนในโลกสามารถบรรลุธรรมนั้นได้จริง ทุกคำสอนนั้นสามารถนำพาชาวโลกให้พ้นทุกข์ พ้นกิเลสไปพระนิพพานได้จริง

第二种:坚定不移的信仰;即精进修行而证入内在三宝后生起的信仰。对佛陀的教法坚信不疑,因为亲自体证之后,相信证法的真实不虚,且每个人都能够做到。佛陀的教法能度化世人离苦得乐,断尽烦恼,证入涅槃。

Second: unwavering faith; That is, the faith born from attain the inner Triple Gem. Having faith in the Teachings of the Buddha, because after witnessing for yourself, believe that the dhamma is true and that everyone can do it. The Teachings of the Buddha can transform people from suffering to happiness, from suffering to nirvana.

ศรัทธาเกิดขึ้นและเพิ่มพูนขึ้นได้อย่างไร ?

如何生起和增长信仰

How to create and grow faith

คนที่จะมีศรัทธาที่เกิดขึ้นและเพิ่มพูนขึ้นได้นั้น อย่างน้อยที่สุด เขาต้องผ่านการฝึกตนมาตามขั้นตอนต่อไปนี้

渴望生起和增长信仰,至少有几个方面要学习:

There are at least a few things to learn from the desire and grow of faith:

  1. ต้องศึกษา ประวัติการสร้างบารมี ทุกขั้นตอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้ชัดเจนมิฉะนั้น จะขาดข้อมูลสำคัญในการเกิดมาเป็นมนุษย์ได้พบพระพุทธศา นา

1.学习佛陀修波罗蜜的历史,否则,就失去了生而为人并遇见佛教的意义。

  1. Study the history of the Buddha’s practice of Paramita, otherwise you lose the meaning of being human and meeting Buddhism.
  2. ต้องศึกษา การปฏิบัติมรรคมีองค์ 8 ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจนกระทั่งตรัสรู้ธรรมให้ชัดเจน มิฉะนั้น จะแยกแยะไม่ออกว่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแตกต่างจากปุถุชนคนธรรมดาได้อย่างไร

2.学习佛陀如何通过修习八正道觉悟成佛的经历,否则,难以理解佛陀与凡夫俗子的区别。

  1. Learn about how the Buddha became a Buddha by practicing the Eightfold Path. Otherwise, it is difficult to understand the difference between the Buddha and ordinary people.
  2. ต้องปฏิบัติมรรคมีองค์ 8 จนกระทั่ง มีผลการปฏิบัติธรรมในระดับหนึ่ง มิฉะนั้นจะไม่มีเครื่องรับรองว่า ตนเองจะไม่ทิ้งธรรมไปทำความชั่ว หรือสร้างความหมองมัวให้แก่พระพุทธศาสนา

3.必须修习八正道,取得一定程度的修行经验。否则,很难保证自己不会舍弃佛法去造作恶业,或者给佛教带来不必要的麻烦。

  1. It is necessary to practice the Eightfold path and gain some experience from the practicing. Otherwise, it is difficult to guarantee that one will not abandon the Dhamma, develop bad karma, or bring unnecessary trouble to Buddhism.

เพราะฉะนั้น คนที่จะมีศรัทธาเกิดขึ้นได้ก็ต้องทั้งศึกษาและปฏิบัติมรรคมีองค์ 8 ตามมาจนกระทั่งเกิดความเข้าใจถูกในการตรัสรู้ธรรมอย่างชัดเจน และการที่มรรคมีองค์ 8 จะเกิดขึ้นได้ครบถ้วนทั้งแปดพร้อมกันนั้น ก็มีเพียงอย่างเดียว คือต้องบำเพ็ญภาวนาอยู่เป็นประจำ

因此,人要想生起信仰,必须依次第学习和实践八正道,正确了解觉悟之道。同时,要令全部的八正道生起,必须坚持修行。

Therefore, if a person wants to develop faith, he must study and practice the eightfold way accordingly, and correctly understand the way of enlightenment. At the same time, to give rise to all the eightfold path together, and must persist in practice.

ศรัทธาถูกรักษาไว้ได้อย่างไร ?

如何维护信仰

How to maintain the faith

ความศรัทธาถูกทำลายได้ง่าย ๆ ด้วยความไม่สะอาดของสิ่งแวดล้อมแม้เพียงนิดเดีย ยกตัวอย่าง เช่น วันนี้เป็นวันคล้ายวันเกิด โยมมีศรัทธาเต็มที่อยากจะไปทำบุญที่วัดซึ่งเป็นความเข้าใจที่ถูกต้อง จัดเป็นสัมมาทิฏฐิ โยมตื่นแต่เช้ามืด ลุกขึ้นมาเตรียมข้าวปลาอาหารอย่างดี คิดจะเอาไปทำบุญที่วัดเป็นความคิดถูก จัดเป็นสัมมาสังกัปปะ

信仰很容易受不良因素的破坏。举一个例子,有一位具足净信的居士,想在生日当天去寺院修功德,这属于正确的见解,视为正见。于是他清晨醒来就着手准备各种美食,打算带去寺院供养斋僧,这属于正确的想法,视为正思惟。

Beliefs are easily undermined by bad influence factors. For example, there is a layman with pure faith who wants to go to a temple to practice merit on his birthday. This is a correct view and is regarded as the Right View. So he woke up early in the morning to prepare a variety of food, planning to take to the temple to offer the Sangha, this is a correct idea, regarded as the Right Thinking.

จากนั้น ชักชวนคนในบ้านไปทำบุญด้วยกัน เป็นการพูดถูก จัดเป็นสัมมาวาจา แล้วทุกคนทั้งบ้านก็ช่วยกันหิ้วปินโตขึ้นรถ แล้วโยมก็ขับรถขนคนทั้งบ้านตรงไปทำบุญที่วัด เป็นการทำถูก จัดเป็นสัมมากัมมันตะแต่ทันทีที่เปิดประตูลงรถที่หน้าวัดปุบ ขาก็เหยียบกองอุจจาระที่สุนัขขับถ่ายไว้ ความคิดไม่ดีที่เกิดขึ้นทันทีก็คือ “วันนี้แย่จริงๆ เหยียบกองอุจจาระฉลองวันเกิดแต่เช้า”เพียงสิ่งปฏิกูลกองเดียวที่อยู่หน้าวัด กัดสัมมาสังกัปปะให้หลุดจากใจทันที

随后,他邀请家人同行,这属于正确的言语,视为正语。一切准备就绪后,他开车带家人前往寺院,这属于正确的行为,视为正业。可是在寺院门口停车下来时,不小心踩到狗屎,当下便生起不善之念:今天真倒霉,一大早就踩到狗屎。仅是一个不善的念想,便令正思惟从心中消失得无影无踪。

Later, he invited his family to accompany him, which is the correct language and is regarded as the Right Speech. When everything was ready, he drove his family to the temple, which was the correct way to do and considered as Right Action. But when parking the vehicle at the gate of the temple, accidentally stepped on the dog excrement, the moment will not be a good one to read: “Today really unlucky, early in the morning to step on the dog excrement.” Just a rise of a bad thought will make the Right thinking disappear from the mind without a trace.

เมื่อเริ่มความคิดไม่ดี คำพูดไม่ดีก็ตามมา อาจจะว่าคน หรือว่าใครเพราะความหงุดหงิดก็ตามสัมมาวาจาหลุดจากใจทันที ถ้าความหงุดหงิดเพิ่มขึ้น การจับผิดเพราะความโกรธก็จะรุนแรงขึ้นตามมา แล้วจะว่าไปถึงพระทั้งวัด ว่าพระวัดนี้ไม่ดูแลรักษาวัดให้สะอาดเรียบร้อย จึงพบเห็นสิ่งปฏิกูลที่หน้าวัดตั้งแต่วันนี้ไปจะไม่มาทำบุญที่วัดนี้อีกแล้ว และก็ห้ามทุกคนในบ้านมาทำบุญที่วัดนี้ด้วย

倘若心怀不善念,不善语也脱口而出,有时针对事,有时针对人,情绪也开始随着言语变得急躁起来。如果情绪越发急躁,就会越来越恼火。随后开始指责僧人,说该寺的僧人不打扫寺院,才使得自己在寺院门口踩到狗屎。从今往后,自己不再来修功德,也禁止家人来此寺院修功德。

If the mind read bad thought, bad speech will also be blurted out, sometimes toward issues, sometimes toward people, the mood began to become impatient with the words. The more irritable you become, the more irritated you would be. He then blamed the monks for not cleaning the temple so that he stepped in dog excrement at the gate. From now onward, he will not come to the temple to perform good deed, and his family members is also forbidden to come to the temple to do good deeds.

จากความตั้งใจที่จะทำบุญในตอนเช้า เตรียมข้าวปลาอาหารมาถึงวัดแล้ว แต่มรรคมีองค์ 8 ทั้งระบบ ต้องล้มลงทั้งหมดเพราะพบเห็นสิ่งปฏิกูล ความศรัทธาต่อวัดนั้นก็พลันหมดลงไปทันที นี่เป็นตัวอย่างให้เห็นง่าย ๆ ว่า ความศรัทธาในพระพุทธศาสนาถูกทำลายได้ง่าย ๆ ด้วยความไม่สะอาดของวัด เพราะฉะนั้น หัวใจของการเกิดศรัทธา คือ ต้องเริ่มต้นที่ความสะอาดภายนอกที่นำไปสู่ความสะอาดภายใน นี่คือหลักการสร้างและรักษาความศรัทธาให้มั่นคงต่อพระพุทธศาสนาและเป็นเหตุผลว่าทำไมคำสอนในพระพุทธศาสนาจึงเริ่มต้นที่ศีล แล้วจึงสมาธิ แล้วตามด้วยปัญญานั่นเอง

原本满心欢喜要供养斋僧,却因为遭遇令人厌恶之事,使得修习八正道的信心退减,对该寺院的虔诚也随之退转。这个例子充分说明,仅仅只是寺院不够干净,就能轻易地破坏内心对佛教的信仰。因此,一个人的信仰,应从外在的清洁逐渐转为内在的清净,这既是对佛教生起和增长信仰的关键,也是佛教教诲始于戒,进而为定和慧的原因。

He was happy to offer food to the monks, but because of the abomination, his faith in practicing the Eightfold Path was reduced, and his devotion toward the temple changed. This is a good example of how easy it is to destroy faith in Buddhism simply because the temple is not clean. Therefore, one’s belief should gradually change from external cleanliness to internal purity, which is not only the key to the birth and growth of Faith in Buddhism, but also the reason why Buddhism teachings start from precepts and then follow by stillness and wisdom.

  1. การมีสุขภาพดี

2.保持身体健康

2.Keep Healthy

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า คุณสมบัติข้อที่ 2 ของผู้บรรลุธรรมได้ง่าย ก็คือ ต้องมีสุขภาพดี

佛陀说修行之人应具备的第二种美德是保持身体健康。

The Lord Buddha said that the second virtue a practitioner should have is to keep healthy.

คนมีสุขภาพดี คือ คนที่ร่างกายแข็งแรง ไม่เจ็บไข้ได้ป่วยง่าย ซึ่งประกอบด้วย

身体健康指人身体安康,极少患病,包括:

Physical health refers to a person who is in good health with minimal disease, including:

  1. มีอาพาธน้อย คือ มีโรคน้อย

1.少生病。

  1. Sick less often
  2. มีโรคเบาบาง คือ ไม่มีโรคร้ายแรงเรื้อรังประจำตัว

2.无严重疾病。

  1. No serious illness.
  2. มีไฟธาตุในการย่อยอาหารที่สม่ำเสมอ ไม่เย็นจัด ไม่ร้อนจัด เป็นปานกลางควรแก่การบำเพ็ญเพียร คือ ไม่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบการย่อยอาหาร เพราะวิถีชีวิตพระต้องอยู่ง่ายกินง่าย

3.无消化系统问题,维持简单的生活方式。

  1. Maintain a simple lifestyle without digestive problems.

ทำไมต้องมีสุขภาพดี ?

为什么要保持身体健康

Why must keep healthy

ชีวิตของมนุษย์นั้นต้องพึ่งบุญเป็นหลัก แต่การสร้างบุญนั้น เราจะต้องทำด้วยตนเองคนอื่นไม่สามารถสร้างบุญแทนเราได้

生命需要依靠功德,功德需要自己累积,别人无法代替。

Our Life need to depend on merits, merits need to be accumulated by ourselves not others.

ยิ่งกว่านั้นก็คือ ร่างกายนี้คือที่สถิตของธรรมะภายใน หากแตกดับลงไป โอกาสที่จะเข้าถึงธรรมในชาตินี้ย่อมดับวูบลงไปด้วย

此外,内在之法原本就在体内,若体弱多病,今世证法的机会也将越来越少。

Moreover, the inner dhamma is already in the body, and if you are weak and ill, you will have fewer and fewer opportunities to attain the dhamma within in this life.

ร่างกายจึงเป็นอุปกรณ์สำคัญในการสร้างบุญบารมีเพียงอย่างเดียว ที่ไม่มีอะไหล่ซ่อมแซมได้ เราจึงต้องรู้จักถนอมดูแลรักษาสุขภาพให้ดี เพื่อให้ร่างกายแข็งแรงใช้สร้างบุญได้นาน ๆ ไม่ปล่อยให้ผุพังง่าย ไม่ถล่มทลายจนสังขารทรุดโทรมก่อนเวลาอันควร

身体是修波罗蜜的重要工具,其他东西无法替代。我们要爱惜身体,以健康的身体长久修波罗蜜,不让身体未老先衰。

Our body is the most important tool in the process of accumulate paramita. Nothing else can replace it. We should take good care of our bodies and keep them healthy for a long time so as not to get old before their time.

ทำอย่างไรจึงมีสุขภาพดี ?

如何保持健康

How to keep Healthy?

1) ต้องรู้จักวิธีรักษาสุขภาพ

1.了解健康护理的方法

1.Understand about health care

ร่างกายของคนเรานั้นแตกดับง่าย เพียงแค่หายใจเข้าแล้วไม่หายใจออกก็ตายเพียงแค่หายใจออกแล้วไม่เข้าก็ตาย อีกทั้งยังเป็นรังแห่งโรคอีกด้วย เพราะทันทีที่ทุกคนเกิดมาก็มีโรคแฝงอยู่ในยีนส์ แฝงอยู่ในเนื้อเยื่อแล้ว รอแต่วันกำเริบเท่านั้น ร่างกายของแต่ละคนจึงไม่ต่างจากเรือไม้ผุ ๆ ที่รอวันพัง

我们的身体容易衰老,有呼吸便活着,没呼吸这辈子就过去了。此外,身体也是疾病的巢穴,一出生疾病就已潜伏体内,只是在伺机爆发。人的身体无异于朽木,都在等待毁坏的那一天。

Our bodies age easily. We live when we breathe, but we die when we don’t breathe. In addition, the body is also the nest of disease, which is latent in the body from birth, just waiting for the opportunity to erupt. The human body is like deadwood, waiting for the day of destruction.

การใช้ร่างกายของเราสร้างบุญบารมี ก็ต้องใช้อย่างทะนุถนอม คือต้องหมั่นรักษาสุขภาพให้ดี ไม่หักโหมใช้งานโดยไม่ดูแล ในคราวป่วยไข้ก็ต้องรีบไปพบแพทย์ อย่าได้นิ่งนอนใจเพราะหากพลาดพลั้งไปมีโรคแทรกระหว่างนั้น จะแก้ไขไม่ทัน

我们利用身体修波罗蜜,所以要爱惜身体,保持健康,不是一味使用而不照顾它。生病时及时就医,不要疏忽大意,不然病情加重会更加难治。

We use the body to accumulate paramita, so we need to take good care of the body, keep healthy, not just use it without taking care of it. When sick, we should timely attend for medical treatment, do not neglect, or the aggravation of the illness which it will be more difficult to treat later.

การที่ใครจะรู้จักวิธีดูแลสุขภาพ ก็ต้องมีนิสัยไม่ประมาท คือ

懂得护理身体的人,需具备不放逸的性格:

People who know how to take care of their health need to have the character of conscientious:

1.1 ต้องหมั่นศึกษาให้ทราบธรรมชาติแท้จริงของร่างกาย

1.1学习和了解身体的自然本能。

1.1 Learn and understand the body’s natural instincts.

1.2 ต้องหมั่นศึกษาวิธีดูแล วิธีใช้งาน วิธีซ่อมบำรุงร่างกายนี้ให้คงทน

1.2学习和了解身体的护理、使用和保养方法。

1.2 Learn and understand the methods of body care, use and maintenance.

1.3 ต้องหมั่นศึกษาถึงวิธีการนำร่างกายนี้ไปประกอบคุณงามความดีให้คุ้มค่าเพื่อให้เกิดบุญบารมีติดตัวไปภายภาคหน้า จะได้เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยรูปสมบัติ ทรัพย์สมบัติ และคุณสมบัติที่เหมาะแก่การเข้าถึงธรรม

1.3学习和了解充分利用身体行善的方法,为来世累积功德波罗蜜,具足容貌财、财富、德行财等证法的资粮。

1.3 Learn and understand the ways to make full use of the body to do good, accumulate merit and virtue for the afterlife, with good appearance, wealth, virtue, and the necessary supports for the attainment of enlightenment.

แต่การที่ใครจะไม่ประมาทนั้น ก็ต้องตระหนักในพุทธดำรัสของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอยู่เสมอว่าการได้เกิดในสภาพร่างกายที่เป็นมนุษย์เป็นเรื่องยาก การได้พบพระพุทธศาสนาเป็นเรื่องยาก การได้ฟังคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นเรื่องยากการได้โอกาสบรรลุธรรมก็เป็นเรื่องยาก”

不放逸者应时常以佛陀之教诲省思:人身难得,佛教难遇,佛法难闻,正法难悟。

Those who live heedlessly should always reflect on the teachings of the Lord Buddha: human body are difficult to obtain, Buddhism is hard to find, the Dhamma is hard to know, and the Dhamma is hard to understand.

ความยาก 4 ประการนี้ บัดนี้เราต่างก็ได้ครอบครอง 3 ประการแรกไว้แล้ว ยังเหลือแต่เพียงสมบัติประการสุดท้าย ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยร่างกายที่มีสุขภาพดีเป็นอุปกรณ์สำคัญในการบำเพ็ญภาวนา จึงจะมีทางสำเร็จได้

如今这四种难得,我们已经具备前面三项,只剩下最后一项。想圆满成就,必须拥有健康的身体精进修习禅定。

These four that are hard to come by, and we already have the first three and only left the last. To be successful, one must have a healthy body and practice meditation.

 

2) ต้องมีความสามารถในการรักษาสุขภาพ

2.健康护理的能力

  1. Capacity for health care

การมีความรู้เรื่องสุขภาพดี ยังไม่แน่ว่าจะรักษาสุขภาพได้ดี เพราะความสามารถนี้ต้องฝึกให้เกิดเป็น “นิสัยรักษาสุขภาพ”

了解健康护理的方法后,仍不足以拥有健康的身体,还应将方法转化为能力,养成爱护健康的好习惯。

After understanding the way of health care, it is still not enough to have a healthy body, but also should be transformed into the ability to develop a good habit of caring for health.

2.1) สาเหตุแห่งการเกิดโรคภัยไข้เจ็บ

2.1疾病产生的原因

2.1 Causes of diseases

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่าสาเหตุร้ายที่ทำให้ร่างกายเกิดโรคภัยขึ้นนั้น มี 8 ประการ

佛陀说身体出现疾病源于八个因素:

The Lord Buddha said that there are eight factors that cause diseases in the body:

1) โรคเกิดแต่ดีให้โทษ

1.由胆囊引起疾病。

  1. Disease caused by the gallbladder.

2) โรคเกิดแต่เสมหะให้โทษ

2.由痰引起疾病。

2 .Diseases are caused by sputum.

3) โรคเกิดแต่ลมให้โทษ

3.由气引起疾病。

  1. Diseases caused by gas (“Qi”)

4) โรคเกิดแต่ดี เสมหะ ลมให้โทษ

4.由胆、痰和气共同引起疾病。

 4.Diseases are caused by gallbladder, sputum and gas(“Qi”).

5) โรคเกิดแต่ฤดูแปรปรวน

5.由季节变化引起疾病。

  1. Diseases caused by seasonal changes.

6) โรคเกิดแต่การผลัดเปลี่ยนอิริยาบถไม่สม่ำเสมอ

6.由错误姿势引起疾病。

  1. Diseases caused by bad posture.

7) โรคเกิดแต่ความเพียรเกินกำลัง

7.由疲劳过度引起疾病。

  1. Illness caused by excessive fatigue.

8) โรคเกิดแต่วิบากกรรม

8.由业报引起疾病。

  1. Illness caused by bad karma

หากมองแต่เพียงผิวเผิน แม้เป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในการรักษาโรคร้าย ก็ยากจะเห็นความวิเศษของการตรัสแดงเหตุร้ายทั้ง 8 ประการนี้ แต่ถ้าสาวหาสาเหตุที่มาที่ไปกันให้ดีจะพบว่าพระองค์ทรงแตกฉานการดูแลสุขภาพอย่างยิ่ง และไม่ทรงปิดบังหวงแหนแต่อย่างใด เพราะต้องการให้ชาวโลกนำไปใช้ป้องกันและรักษาสุขภาพให้ดี จะได้มีเรี่ยวแรงปฏิบัติธรรมสามารถบรรลุธรรมตามพระองค์ไป

如果只看表面,就算是妙手回春的名医,也很难完全明白引起疾病的八个因素。可若深究来龙去脉,就会发现佛陀非常精通护理身体,而且不会占为己有。相反,佛陀希望世人能善加学习,更好地护理自己的身体,精进修行证法。

If we only look at the surface, it is difficult for even a skilled doctor to fully understand the eight factors that cause disease. But if you look into the context, you will find that the Lord Buddha was very good at taking care of the body, and he did not take it for himself. Instead, the Lord Buddha wanted people to learn better, take better care of their bodies, to improve their practices toward attain enlightenment.

นี่คือน้ำใจของพระองค์ท่านที่ทำให้เราต้องศึกษาเรื่องนี้ด้วยความเคารพ และห้ามประมาทดูเบาอย่างยิ่ง และนำไปฝึกให้เป็นนิสัยรักษาสุขภาพให้จงได้

这是佛陀对世人的慈悲,我们应以尊敬心修习,不可轻视,直至养成护理身体的好习惯。

This is the Buddha’s compassion for the world, and we should practice it with respect, not contempt, until we develop a good habit of taking care of our bodies.

 

2.2) นิสัยรักษาสุขภาพ

2.2健康护理的习惯

2.2 Habits of health care

จากสาเหตุร้าย 8 ประการที่ก่อให้เกิดโรคดังกล่าวนั้น เมื่อนำไปศึกษาอย่างดีแล้วก็จะพบว่า เราจำเป็นต้องฝึกตนให้มีนิสัยรักษาสุขภาพ 5 ประการ คือ

学习导致身体患病的八个因素后,我们应该培养五个健康护理的好习惯。

After learning about the eight factors that cause physical illness, we should develop five health care habits :

(1) ต้องฝึกนิสัยใช้ปัจจัย 4 ที่ไม่เป็นโทษต่อสุขภาพ

(1)合理使用四事“衣、食、住、药”

(1) Rational use of the four things(Clothing, Diet, Premises, Medicine for Monks)

สิ่งที่ทำให้คนเราพบอาการผิดปกติในขั้นต้นว่าเจ็บไข้ได้ป่วยหรือไม่ ก็คือสาเหตุร้าย 4 ประการแรกที่ทำให้เกิดโรค ได้แก่ อาการดีผิดปกติให้โทษบ้าง เสมหะผิดปกติให้โทษบ้างลมในตัวที่ผิดปกติให้โทษบ้าง เช่น ลมหายใจเข้าออก ลมในกระเพาะ ลมในลำไส้ ลมในอวัยวะต่าง ๆ เป็นต้น

我们身体早期出现异常症状,主要由上述前四个因素引起,最终导致身体出现疾病。即胆囊现异常,痰出现异常,气出现异常,例如:呼气、吸气、胃肠等器官中的气出现异常。

Our body early abnormal symptoms, mainly caused by the first four factors, eventually lead to the body disease. Namely gallbladder appears abnormal, phlegm appears abnormal, gas appears abnormal, for example: the gas (“Qi”) in the organ such as expiratory, inspiratory, gastrointestinal appears abnormal.

ความผิดปกติเหล่านี้หากยังปล่อยปละละเลย ไม่สนใจค้นหาสาเหตุให้เจอ ก็จะกลายเป็นความประมาทที่นำไปสู่การเกิดอาการเจ็บไข้ได้ป่วยเรื้อรัง และเป็นโรคร้ายแรงอื่น ๆ แทรกซ้อนตามมาได้

若对这些异常置之不理,不寻找病因,久而久之就会转变为慢性疾病,甚至转为危及生命的重疾。

If these abnormalities are left unchecked and the cause is not found, over time they will turn into chronic diseases, or even life-threatening serious diseases.

อาการผิดปกติของดี เสมหะ ลมในตัวนั้น แท้จริงแล้วมีสาเหตุหลักมาจากการไม่รู้จักระมัดระวัง และไม่รู้จักประมาณในการใช้สอยปัจจัย 4 ซึ่งหากบริโภคใช้สอยไม่ถูกวัตถุประสงค์หรือเกินพอดี ก็จะนำโรคภัยไข้เจ็บมาให้แก่ผู้นั้นได้

体内的胆、痰和气出现异常,主要是没有合理使用四事的结果,若使用的目的不当或过量,就容易引起各种疾病。

The gallbladder, phlegm and gas (“Qi”) in the body are abnormal, which is mainly the result of the unreasonable use of the four things. If the purpose of use is improper or excessive, it is easy to cause various diseases.

แม้ปัจจุบันจะมีการค้นพบว่าต้องระมัดระวังในเรื่องอาหาร เพราะโรคต่าง ๆ ที่เกิดจากการตามใจปากตามใจท้องนั้นเห็นได้ชัดที่สุด จึง รุปกันออกมาว่า “You are what you eat” แต่จริงแล้ว ปัจจัยที่เหลืออีก 3 อย่าง หากใช้สอยด้วยความประมาทมักง่าย ดูเบา ก็เป็นสาเหตุให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บตามมาด้วย

虽然如今大家都很注意饮食,因为发现不健康的饮食会导致身体患上各种疾病。可如果疏忽四事中的另外三项,身体也容易患病。

Nowadays, people pay much attention to their diet, because it is found that unhealthy diet will cause the body to suffer from various diseases. But if you neglect the other three of the four things, the body is also prone to disease.

เพราะฉะนั้น นิสัยแรกที่ต้องฝึกในการดูแลสุขภาพ ก็คือ นิสัยไม่ประมาทในการใช้ปัจจัย 4 นั่นเอง

因此,第一个要培养的健康护理习惯是:合理使用四事。

Therefore, the first health care habit to develop is: rational use of the four things.

(2) ต้องฝึกนิสัยรู้เท่าทันฤดูกาลแปรปรวน

(2)及时预防季节变化

(2) Timely prevention of seasonal changes

สาเหตุโรคประการที่ 5 คือ โรคเกิดแต่ฤดูกาลแปรปรวน คนที่ป่วยเป็นโรคประเภทนี้บ่อย ๆ หากเจาะลึกลงไปก็จะพบว่า

身体出现疾病的第五个因素:由季节变化引起疾病。常因此患病的人,若深入研究会发现:

The fifth factor that causes diseases in the body: diseases caused by seasonal changes. People who often suffer from it, if you look more closely,

1) ไม่สนใจศึกษาธรรมชาติร่างกายของตนเองให้มากพอว่ามีผลกระทบจากการเปลี่ยนแปรของฤดูกาลอย่างไรหรือไม่ จึงประมาทว่าร่างกายนี้จะคงทนราวกับหินผา ไม่ได้ประกอบขึ้นมาจากเลือดเนื้อ

(2.1)关于季节变化对身体自然性的影响了解得不够充分,误认为身体五毒不侵,自己非血肉之躯。

(2.1) Insufficient understanding of the impact of seasonal changes on the body’s natural nature, they mistakenly believe that the body is immune to the five poisons and that they are not made of flesh and blood.

2) ไม่ระมัดระวังในการเลือกใช้ปัจจัย 4 ให้เหมาะสมกับฤดูแปรปรวน ทำให้เจ็บไข้ได้ป่วยเพราะอากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย ๆ โดยไม่ทันรู้ตัว

(2.2)没有依季节变化合理使用四事,最终使身体患病,因为气候常在不知不觉中来回变化。

(2.2) Failure to properly use the four things according to seasonal changes will eventually make the body ill, because the climate often changes back and forth unconsciously.

เพราะฉะนั้น นิสัยที่สองที่ต้องฝึกในการดูแลสุขภาพ ก็คือ นิสัยรู้เท่าทันธรรมชาติของร่างกายและความแปรปรวนในแต่ละฤดูกาล นั่นเอง

因此,第二个要培养的健康护理习惯是:了解身体的自然性,同时及时预防季节的变化。

Therefore, the second health care habit to develop is to understand the nature of the body and prevent seasonal changes in time.

(3) ต้องฝึกนิสัยบริหารอิริยาบถ 4 ให้สมดุล

(3)平衡管理四个姿势

(3) Balance management of the four postures

การอยู่ในอิริยาบถเดียวนานเกินไป ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคได้ เพราะร่างกายนั้นมีชื่อเต็ม ๆ ว่าสรีรยนต์ เครื่องยนต์ไม่ว่าชนิดใด ๆ จำเป็นต้องมีการเคลื่อนไหวไปในทิศทางต่าง ๆ ตามที่กำหนด หากเคลื่อนไหวค้างนานไว้จนผิดธรรมชาติที่กำหนด ย่อมเกิดอาการเกินกำลังของอิริยาบถนั้น เช่น ปวดเอว ปวดขา ปวดคอ ปวดหลัง เป็นต้น แล้วก็จะนำมาซึ่งความเสื่อมโทรมที่นำไปสู่การเจ็บไข้ได้ป่วยโดยง่าย

过久维持同一个姿势,身体也容易患病。因为身体如同一台机械,按照指定操作向不同方向转动,但在同一个方向停滞时间过长,就容易发生故障。如果不经常调换姿势,身体机能容易发生紊乱,出现腰痛、腿痛、颈部和背部疼痛等症状,久而久之情况会越来越严重。

If you stay in the same position for too long, your body is susceptible to disease, because the body is like a machine, according to the specified operation in different directions of rotation, but in the same direction for too long, prone to failure. If you don’t change your position frequently, your body is prone to disorders, such as lumbago, leg pain, neck and back pain, which will become more and more serious over time.

เพราะฉะนั้น นิสัยที่สามที่ต้องฝึกในการดูแลสุขภาพ ก็คือ นิสัยออกกำลังกายให้อิริยาบถ 4 สมดุล นั่นเอง ซึ่งก็ต้องศึกษาท่ากายบริหาร จำนวนครั้ง และระยะเวลาให้ดี เพราะหากทำมากเกินไป ก็กลายเป็นโทษได้เช่นกัน

因此,第三个要培养的健康护理习惯是:平衡管理四个姿势,多变换姿势,合理安排运动的方式、次数和时长,若过多或过长也会适得其反。

(4) ต้องฝึกนิสัยไม่ใช้ร่างกายหักโหมเกินกำลัง

(4)不让身体过度疲劳

(4) Do not let the body over fatigue

การใช้ร่างกายหักโหมเกินไป ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บได้ โรคชนิดนี้ไม่เกิดกับคนเกียจคร้าน แต่เกิดกับคนขยัน เป็นอาการอ่อนล้าของร่างกายที่สู้จิตใจที่มุ่งมั่นไม่ไหวโดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นผู้มีปัญญาเห็นภัยในวัฏสงสารด้วยแล้ว ยิ่งเร่งปรารภความเพียรบำเพ็ญภาวนา เพราะหวังกำจัดกิเลสให้สิ้นเชื้อไม่เหลือเศษโดยเร็ว จึงเผลอใช้ร่างกายหักโหมเกินกำลังบ้าง เกินอายุบ้าง เพราะต้องการสร้างบุญแข่งกับเวลา

身体过度疲劳也容易患病。可是这种情况一般不会出现在懒惰的人身上,而是出现在勤奋的人身上,特别是已经意识到轮回之危险的智者身上。他们精进修行,只为了尽快断除烦恼,因要与时间赛跑,所以时而过度精进,导致身体过度疲劳。

Overfatigue of the body is also prone to disease. But this is not usually seen in the lazy, but in the industrious, especially in the wise, who are aware of the dangers of reincarnation. They practice hard in order to get rid of their troubles as soon as possible. Because they have to race against time, they sometimes practice so hard that their bodies become overtired.

แม้ว่าการปรารภความเพียรเป็นเรื่องที่ควรแก่การอนุโมทนา แต่ว่าหากหักโหมเกินไปก็เป็นโทษ การบริหารเวลาให้ลงตัว และการได้กัลยาณมิตรไว้คอยสะกิดเตือนกันบ้าง ย่อมพอให้แก้ไขนิสัยเผลอหักโหมงานนี้ได้

虽然勇猛精进值得赞许,但过度也不好。如果懂得合理安排时间,身边有善知识善意提醒,应该可以改正这个习惯。

While valor is commendable, but excessive is not. If you know how to manage your time properly and have good and wise friend (Bali: Kalyāṇa-mitta [-tā]) around you, you can correct this habit.

เพราะฉะนั้น นิสัยที่สี่ที่ต้องฝึกในการดูแลสุขภาพเป็น ก็คือ นิสัยไม่หักโหมเกินกำลังคนที่จะทำได้ก็ต้องบริหารเวลาให้ลงตัว และต้องหมั่นสังเกตธรรมชาติของร่างกายในแต่ละวัยด้วยจึงจะสามารถรู้ถึงความพอดีได้

因此,第四个要培养的健康护理习惯是:不让身体过度疲劳,懂得合理安排时间。同时观察各个时段的身体状况,尽量做到劳逸结合。

Therefore, the fourth health care habit to develop is: don’t overstrain the body, know how to manage your time. At the same time, observe the physical condition of each period, try to combine work and rest.

(5) ต้องฝึกนิสัยป้องกันแก้ไขโรคจากวิบากกรรมเก่า

(5)预防因业报而生疾病

(5) Prevention of diseases arising from bad krama

โรคที่เกิดจากวิบากกรรมเก่า คือโรคที่เกิดจากผลกรรมชั่วในอดีตที่ตนเคยทำไว้ตามมาทัน จึงนำความเจ็บไข้ได้ป่วยมาให้ โรคประเภทนี้ หากเกิดขึ้นกับผู้ใดแล้ว ก็ยากจะแก้ไขใด ๆ ทั้งสิ้น เพราะเป็นสิ่งที่เราทำไว้เอง แต่ถึงกระนั้น ก็ใช่ว่าจะหมดทางเสียทีเดียว พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงชี้ทางผ่อนหนักเป็นเบาไว้ให้ คือ

由业报引起疾病,即因过去世自己造作的恶业报应而患病。无论这类疾病发生在谁身上都很难化解,因为那是自己种下的业因。可即便如此,也并非完全没有解决方法。佛陀指出了重业轻报的方法:

Disease that caused by the retribution of karma, because of the bad karma that create in our past life and get sick. This kind of disease is difficult to resolve no matter who is the creator because it is self-inflicted. But even so, solutions are not entirely lacking. The Buddha pointed out the method by diluting the karma reaction.

1) เมื่อยังทำอะไรไม่ได้ ให้เร่งทำใจยอมรับความจริงว่า โรคภัยไข้เจ็บนี้เป็นเพราะเราทำตัวของเราเอง ห้ามโทษใครอื่นเด็ดขาด พร้อมทั้งหักห้ามใจจะไม่ทำกรรมชั่วเช่นนั้นอีก

5.1当自己无能为力时,应鼓励自己接受事实,这种疾病是自己造作的结果,不要去埋怨他人,更不要再造作恶业。

5.1 When you are powerless, encourage yourself to accept the fact that this disease is the result of your own creation. Don’t blame others, and don’t repeat the bad deeds.

2) เมื่อยอมรับผลแห่งอกุศลกรรมแล้ว ก็ให้ตั้งใจสร้างบุญใหม่ทุกชนิดให้เต็มกำลังความสามารถ และด้วยอำนาจของผลบุญใหม่นี้ หากอกุศลกรรมไม่รุนแรงนัก โรคภัยไข้เจ็บย่อมหายได้ หรือถ้าไม่หายก็ผ่อนคลายทุกขเวทนาให้เบาลงได้ แม้ที่สุด หากต้องตาย ถึงคราวตายก็ไปดี มีสุคติเป็นที่ไป

5.2接受恶业报应的事实后,就尽力勤修各种功德。依靠这些新功德的力量,若恶报不重,疾病可以痊愈,即便不能痊愈也会减轻痛苦。就算最后要死,也会往生善道。

5.2 After accepting the fact of karma, try to accumulate all kinds of merits. By the power of these new merits, if the krama is not severe, the disease can be cured, even if not cured, the suffering will be alleviated. Even if I die, I will be toward the good in the afterlife.

เพราะฉะนั้น นิสัยที่ห้าที่ต้องฝึกในการดูแลสุขภาพ ก็คือ นิสัยป้องกันแก้ไขโรคจากวิบากกรรมเก่า แม้วันนี้ร่างกายยังไม่เจ็บไข้ได้ป่วย แต่ก็ประมาทไม่ได้ เพราะถ้านำร่างกายไปก่อกรรมชั่วใหม่เพิ่ม ก็จะกลายเป็นช่องทางให้วิบากกรรมเก่าตามมาทัน ก่อให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บขึ้นมากะทันหันได้ จึงต้องรู้จักป้องกันและผ่อนหนักเป็นเบาด้วยการสร้างบุญไว้ตลอดเวลา

因此,第五个要培养的健康护理习惯是:预防因业报而生疾病。即便当下没有生病,也不能疏忽大意,因为若再造作新恶业,就可能吸引旧恶业来报应,最终导致身体患病。所以不仅要懂得预防,还要勤修功德,使旧恶业由重变轻。

Therefore, the fifth health care habit to develop is: prevention of krama-related diseases. Even if you are not sick at the moment, you should not be negligent. If you develop new bad karma, you may attract the old bad karma retribution toward you and eventually cause illness of the body. Therefore, we should not only know how to prevent, but also accumulate merits frequently, so that the old bad karma would be retribute from heavy toward light manner.

จากที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ ก็สรุปได้ว่า ผู้ที่จะมีสุขภาพดีเป็นต้นทุนในการบำเพ็ญเพียรภาวนาให้เข้าถึงธรรมได้ดียิ่งนั้น จำเป็นต้องไม่ประมาทในการศึกษาหาความรู้ในการดูแลสุขภาพโดยต้องเข้าใจทั้งธรรมชาติ การดูแลรักษา และการใช้สร้างบุญบารมี อีกทั้งยังต้องนำความรู้นั้นมาฝึกฝนให้เป็นนิสัยรักษาสุขภาพ 5 ประการดังกล่าวมาแล้วอีกด้วย จึงจะมี รีรยนต์ที่มีสุขภาพพลามัยที่ มบูรณ์แข็งแรง ไม่เจ็บไข้ได้ป่วยง่าย ไว้ใช้สร้างบุญไปนาน ๆ

综上所述,想在修行中拥有健康身体的人,必须认真学习和了解健康护理知识。明白身体的自然性,护理身体的方法,以及合理利用身体勤修波罗蜜,通过不断实践,养成五个健康护理的好习惯。最终,拥有一个健康强壮、不轻易患病的身体,长久累积功德波罗蜜。

To sum up, one who wants to have a healthy body in the practice must seriously study and understand health care knowledge. And understand the nature of the body, the way to take care of the body, and the proper use of the body to accumulate paramita, through continuous practice, develop the five good health care habits. In the end, possess a healthy, strong, disease-free body and able to accumulates merit and paramita for a long time.

  1. การไม่โอ้อวดและไม่มีมารยา

3.不炫耀不作假

  1. Don’t show off or fake

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า คุณสมบัติข้อที่ 3 ของผู้บรรลุธรรมได้ง่าย คือ ไม่โอ้อวดไม่มีมารยา ทำตนให้เปิดเผยความจริงในศา ดาหรือเพื่อนพรหมจรรย์ผู้รู้ทั้งหลาย

佛陀说修行之人应具备的第三种美德是不炫耀不作假。做一个堂堂正正、真实可信的人。

The Lord Buddha said that the third virtue for a man of practice is not to show off and not to pretend. Be a dignified, authentic person.

คนโอ้อวด คือ คนที่ชอบยกตนข่มท่าน ชอบเย้ยหยันและหาทางเอารัดเอาเปรียบคนที่อ่อนด้อยกว่า มีโลกทัศน์คับแคบ หิวคำชม ถือดีในความรู้ความสามารถของตน ใครเตือนไม่ได้

喜好炫耀的人,常会抬高自己去嘲笑和贬低他人,而且心胸狭隘,喜欢被赞美,自以为是,不听人劝告。

Those people that like to show-off and often elevate themselves to mock and belittle others, and are narrow-minded, fond of praise, self-righteous, and unwilling to listen to advice.

คนมีมารยา คือ คนที่พึ่งตนเองไม่ได้ จึงมีเล่ห์เหลี่ยมกลโกง เสแสร้งแกล้งทำคดในข้องอในกระดูก เพื่อหาทางเอาตัวรอดแต่ลำพัง

喜好作假的人是不可靠之人,为了独善其身常以阴谋诡计弄虚作假。

A deceitful man is an unreliable man, and often deceives in order to get away from himself.

ดังนั้นในทางตรงกันข้าม คนไม่โอ้อวดและไม่มีมารยา คือ คนที่ตั้งใจแก้ไขปรับปรุงนิสัยของตนเองด้วยความจริงจังและจริงใจ เป็นคนเปิดเผยตามความจริง ไม่เป็นคนลวงโลก มีความอ่อนน้อมถ่อมตนยินดีรับฟังคำตักเตือนสั่งสอนของผู้รู้ มุ่งตรงสู่เป้าหมายคือการทำพระนิพพานให้แจ้ง

相反,不炫耀不作假的人会认真省察自身的行为,看是否有需要改正的地方,有则改之无则加勉。努力做一个诚实谦恭的人,虚心接受智者的教诲,为趣向涅槃而精进。

On the other hand, people who don’t show off and don’t fake will carefully examine their behavior to see if there is anything that needs to be amend. Strive to be an honest and humble person, humbly accept the teachings of the wise, with the aim to attain nirvana and self-enhancement.

ทำไมจึงเป็นคนโอ้อวด?

为什么爱炫耀

Why like to show-off

คนที่มีนิสัยโอ้อวดนั้น ย่อมถือดีในตน แต่โดยภูมิหลังของชีวิตมักเคยถูกเลี้ยงดูหรือตกอยู่ใน ถานการณ์ที่ถูกเอารัดเอาเปรียบ ขาดความเป็นธรรม หรือมีความลำเอียงสูง

一般喜好炫耀的人都自命清高,自小缺乏教育,常被人占便宜,没有得到公平的对待,或者被人偏袒。

People who like to show off are arrogant and uneducated, and they are often taken advantage of, not treated fairly, or favored by others.

พวกหนึ่งมีความสามารถพอพึ่งตนเองได้ แต่ถูกกดขี่เหยียดหยามอย่างหนัก จนกระทั่งเกิดปมด้อย มีความคับแค้นใจง่าย มองโลกในแง่ร้าย หากมีโอกาสเมื่อไร จะต้องยกตนข่มผู้อื่นทันที หรือหาทางปัดแข้งปัดขาผู้อื่นให้ล้มลงจนได้ หรือเรียกว่า โอ้อวดเพราะปกปิดปมด้อย

有一种人有自食其力的能力,但常受到压迫和侮辱而产生自卑感,心胸狭窄,属于悲观主义者。如果找到机会,就会立刻抬高自己贬低他人,或者找机会排挤他人,让对方栽跟头,这是为了掩盖自身的自卑而炫耀。

There is a kind of person has the ability to stand on one’s own two feet, but often be oppressed and insulted and produce inferiority complex, narrow-minded, belong to pessimist. If they find an opportunity, they will immediately elevate themselves and belittle others, or find an opportunity to exclude others and let them stumble, which is to hide their inferiority and show off.

อีกพวกหนึ่งมีความสามารถพอพึ่งตนเองได้เช่นกัน ไม่ได้ถูกกดขี่ แต่ถูกชมจนเหลิงถูกตามใจจนเคย ถูกยกจนลอยเกินความจริง จนกระทั่งเกิดปมเขื่อง หิวคำชม ทนเห็นใครดีกว่าตนหรือเท่ากับตนไม่ได้ จะต้องหาเรื่องจับผิดกดขี่ให้เขาแย่กว่าตน หรือหาทางปัดแข้งปัดขาผู้อื่นให้ล้มลงจนได้ หรือเรียกว่า โอ้อวดเพราะหิวคำชม

另外一种人也有自食其力的能力,没有受到压迫,却常被过度的夸奖和抬高,从而心存优越感。渴望被赞美,见不得他人比自己好,老是找对方的不足来贬低或排挤对方。这是为了渴望赞美而炫耀。

Another kind of people also have the ability to earn their own living, not oppressed, but often excessively praised and elevated, thus feel superior. Eager to be praised, cannot see others better than themselves, always find each other’s shortcomings to belittle or exclude each other. It’s showing off for the sake of wanting praise.

เพราะเหตุนี้ คนโอ้อวดจึงยากที่จะมีวินิจฉัยถูกต้องตรงตามความเป็นจริง ยากที่จะคบหาใครด้วยความจริงใจ ยากที่จะมีน้ำใจช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ด้วยความบริสุทธิ์ใจ และยากจะฝึกให้มีความก้าวหน้าในความดีได้ยาก เพราะเขายังไม่ยอมทิ้งทิฏฐิมานะนั่นเอง

这就是为什么喜好炫耀的人很难做出正确的判断,很难真诚对人,很难以清净心助人为乐,很难在行善方面有进步,因为他们固持己见。

This is why show-off people find it difficult to make sound judgments, to be honest with people, to be quiet and helpful, to make progress in performing good deeds, because they cling to their own opinions.

ทำไมจึงเป็นคนมีมารยา ?

为什么爱作假

Why like to behave fake

คนมีมารยานั้น มักเป็นคนที่พึ่งพาความสามารถของตนเองไม่ได้ จึงเกิดปมด้อย ทำให้มีมารยา หาอุบายคดในข้องอในกระดูก ฉกฉวยผลประโยชน์มาให้ตนในทางที่ผิด

喜欢作假的人因没有自食其力的能力,所以心生自卑,喜欢弄虚作假,利用阴谋诡计的错误方式为自己谋取利益。

People like to cheat because there is no ability to stand on their own feet, so the heart of inferiority, like fraud, using the wrong way of conspiracy for their own interests.

ภูมิหลังชีวิตของคนมีมารยานั้น มักไม่เคยถูกฝึกให้รับผิดชอบตนเองและส่วนรวมซึ่งเกิดจากการเลี้ยงดูที่ผิดพลาด แบ่งออกเป็นสามลักษณะใหญ่

喜欢作假的人,可能在成长过程中被灌输错误的观念,没有养成对自己和集体的责任心。主要分为三大类:

People who like to cheat may grow up with wrong ideas and fail to develop a sense of responsibility for themselves and the group. It is mainly divided into three categories:

ลักษณะแรก คือ ถูกเลี้ยงดูให้เป็นคนรักสบาย เกียจคร้านการงาน

第一类:从小养成喜好舒适,好吃懒做的恶习。

The first type: from childhood develop be fond of comfortable, good to eat lazy habits.

ลักษณะที่สอง คือ ถูกตามใจจนเสียคน ไม่รู้จักถูก ผิด ดี ชั่ว

第二类:因溺爱而变坏,不知善恶对错。

The second type: spoiled and bad, do not know right and wrong.

ลักษณะที่สาม คือ ถูกปล่อยปละละเลย ขาดคนเหลียวแล

第三类:被放任不管,缺乏照顾。

The third type: being left alone and lacking in care.

ครั้นเมื่อตกอยู่ในสถานการณ์ลำบาก จึงพึ่งตนเองไม่ได้ และขาดความอดทนที่จะพัฒนาตน จึงคิดแก้ปัญหาแบบมักง่าย ด้วยการประจบประแจงบ้าง ฉ้อโกงผู้อื่นบ้าง ใส่ร้ายป้ายสีผู้อื่นบ้าง

每当身处困境,无法自食其力,同时缺少提升自己的耐心,于是就想通过阿谀奉承、欺骗舞弊、诬蔑陷害的方式,草率的解决问题。

Whenever in a difficult situation, unable to support themselves and lack the patience to improve themselves, they try to solve the problem in a hasty way through flattery, cheating and slander.

เพราะฉะนั้น คนที่มีมารยาจึงเป็นคนที่ยากจะมีสัจจะต่อหน้าที่สัจจะต่อการงานสัจจะต่อวาจาสัจจะต่อบุคคล และสัจจะต่อศีลธรรม เป็นบุคคลที่ฝึกให้ดีได้ยาก

因此,喜欢弄虚作假的人对工作缺乏责任感,待人不真诚,言而无信,违背道义,是很难教养的人。

Therefore, people who like fraud lack sense of responsibility for their work, treat people insincerely, break their word and violate morality, and are difficult to educate.

ทำอย่างไรจึงจะไม่โอ้อวดและไม่มีมารยา

如何成为不炫耀不作假的人

How to be a person who does not show off and does not fake

1) ฝึกพึ่งตนเอง

1.自力更生

  1. Self-Reliance

คนที่จะไม่โอ้อวดและไม่มีมารยาต้องเป็นคนพึ่งตนเองได้ แต่คนที่จะพึ่งตนเองได้ จำเป็นต้องได้ครูดีเป็นต้นแบบ และตัวของเขาเองก็ต้องตั้งใจฟังคำครูให้ชัด ตรองคำครูให้ลึก ทำตามคำครูให้ครบ จึงจะสามารถรับการถ่ายทอดความรู้และนิสัยดีจากครูมาสู่ตัวของเขาได้ และจึงจะสามารถพึ่งความรู้และนิสัยดีของตนเองได้เหมือนกับครู ไม่จำเป็นต้องโอ้อวด มีมารยา

要成为不炫耀不作假的人,必须能够自力更生。而想实现自力更生,就得有一位好老师。同时自己要虚心听从老师的教诲,牢记在心且如法遵循,如此才能更好的传承老师的学识与美德,成为像老师一样优秀的人,不炫耀虚荣,不弄虚作假。

To be an unpretentious person, one must be able to stand on one’s own feet. And to be self-reliant, you need a good teacher. At the same time, I should listen to the teacher modestly, keep in mind and follow the law, so as to better inherit the teacher’s knowledge and virtue, become an excellent person like the teacher, do not show off vanity, do not cheat.

2) ฝึกรักษาสุขภาพ

2.实践健康护理

  1. Practice health care

หลังจากศึกษาหาความรู้ในการดูแลสุขภาพแล้ว ก็ต้องฝึกให้เป็นนิสัย การที่ความรู้จะกลายเป็นนิสัยได้ ก็ต้องฝึกตนให้เป็นคนมีวินัยอย่างน้อย 5 ประการ

学习健康护理的理论知识后,应通过实践变成习惯,要养成良好的习惯,必须遵守五个准则。

After learning the theory of health care, it should become a habit through practice. To develop good habits, five principles must be observed.

2.1) วินัยต่อคำพูด คือ พูดอย่างไรก็ทำอย่างนั้น ทำอย่างไรก็พูดอย่างนั้น เพื่อป้องกันการเป็นคนโกหกพกลม อันเป็นสาเหตุของการเป็นโรคความจำเสื่อม

2.1言辞准则:通过言行一致,实事求是来预防谎言,因为那是患健忘症的原因。

2.1 Rule of Speech: Prevent lies by matching words with deeds and telling the truth, because that is the   cause of amnesia. To form good habits, five principles must be observed.

2.2) วินัยต่อเวลา คือ กินเป็นเวลา นอนเป็นเวลา ตื่นเป็นเวลา ทำงานเป็นเวลา และออกกำลังกายเป็นเวลา

2.2时间准则:按时吃饭、睡觉、起床、工作和运动。

2.2 Time rule: Eat, sleep, wake up, work and exercise on time.

2.3) วินัยต่อความสะอาด คือ รู้จักดูแลความสะอาดของร่างกายและการใช้ปัจจัย 4

2.3清洁准则:懂得清洁身体,合理使用四事。

2.3 Cleaning rules: know how to clean the body and use the four things reasonably.

2.4) วินัยต่อความเป็นระเบียบ คือ รู้จักประมาณในการใช้ปัจจัย 4 รู้จักทำงานเป็นขั้นตอน และรู้จักเก็บรักษาปัจจัย 4 ให้เป็นระเบียบเรียบร้อย

2.4守纪准则:使用四事要知量,有秩序的工作,懂得维护四事,使之整齐有序。

2.4 Rules of discipline: we should know how to use the four things, work in order, and know how to maintain the four things in order.

2.5) วินัยต่อการสร้างบุญ คือ รู้จักสร้างบุญอย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันวิบากกรรมเก่าตามมาตัดรอนโอกาสในการสร้างบุญ

2.5行善准则:持之以恒地行善积德,以防止业障报应而失去行善的机会。

2.5 Rule of doing good: do good consistently, so as to prevent karma karma and lose the opportunity to do good.

คนที่ฝึกตนให้มีวินัยย่อมมีสุขภาพดี ไม่มีปมเขื่อง ไม่มีปมด้อย รับผิดชอบตนเองได้จึงไม่จำเป็นต้องโอ้อวดมีมารยา

守纪律的人自然有健康的身体,没有优越感,没有自卑情结,有责任心,也就不会炫耀和作假了。

Disciplined people naturally have a healthy body, no sense of superiority, no inferiority complex, a sense of responsibility, and will not show off and cheat.

3) ฝึกความรับผิดชอบต่อศีลธรรม

3.培养道德责任心

  1. Cultivate moral responsibility

คนที่จะมีความรับผิดชอบต่อศีลธรรม ต้องเป็นคนมีสัมมาทิฏฐิ 10 ประการ คือมีความเข้าใจโลกและชีวิตตามความเป็นจริงว่า

有道德责任心的人,应具备十种正见,即如实认知世间和生命。

A morally responsible person should possess ten positive views, namely, to know the world and life as they really are.

  1. ชีวิตอยู่ได้ด้วยการแบ่งปัน

1.生活中要学会分享。

  1. Learn to share in life.
  2. อย่าปล่อยให้ใครตกทุกข์ได้ยากโดยไม่เหลียวแล

2.见人痛苦应施以援手。

  1. Help someone when they’re suffering.
  2. สังคมเจริญก้าวหน้าด้วยการยกย่องคนทำความดี

3.弘扬美德促进社会进步。

  1. Promote virtue and promote social progress.
  2. ห้ามดำเนินชีวิตด้วยความลำเอียง

4.生活中不应偏心。

  1. Don’t practice bias in your life.
  2. ต้องใช้ปัญญาเจาะลึกหาเหตุผลแห่งความจริงในชีวิตปัจจุบันให้ชัดเจนและครบวงจร

5.以智慧清晰完整的了解生命的真相。

  1. Understand the truth of life with wisdom, clarity and wholeness.
  2. ต้องใช้ปัญญาพิจารณาผลดีผลร้ายที่จะเกิดกับชีวิตในอนาคตได้ตรงตามความจริง

6.以智慧如实省思未来人生的善果和恶果。

  1. Reflect wisely on the good and bad consequences of your future life.
  2. แม่ คือ ต้นแบบของความรู้ความสามารถความดีในชีวิต

7.母亲是人生美好的典范。

  1. Mothers are the epitome of good life.
  2. พ่อ คือ ต้นแบบของความรู้ความสามารถความดีในชีวิต

8.父亲是人生美好的典范。

  1. Fathers are the epitome of good life.
  2. ภพภูมิต่าง ๆ มีอยู่จริง พึงระแวงภัยที่ควรระแวง พึงแก้ไขป้องกันภัยที่ควรระวัง

9.各境界真实不虚,警惕该警惕的危险,预防该预防的危险。

  1. All realms are true. Be alert to the dangers that should be alert to and prevent the dangers that should be prevented.
  2. พระอรหันต์ คือต้นแบบศีลธรรมที่สมบูรณ์ ต้องฝึกตนไปตามเส้นทางนี้ จึงจะนำพาชีวิตตนได้รอดปลอดภัยจากอันตรายในวัฏสงสาร

10.阿罗汉是圆满德行的典范,应追随他们的脚步,远离轮回的危险。

  1. Arhats are paragons of perfect virtue. Follow in their footsteps and stay away from the dangers of reincarnation.

คนที่มีสัมมาทิฏฐิ 10 ประการคือ คนที่มองออกว่า ชีวิตนี้ตกอยู่ภายใต้ “กฎแห่งกรรม”และหลักการดำเนินชีวิตที่หลุดพ้นจากกฎแห่งกรรมได้ ก็คือ

具备十正见的人,清楚的知道生命受制于业果法则,而生命要想摆脱业果法则的控制,必须:

Those who possess the ten right views that mentioned above, clearly understand that life is subject to the law of karma, and that life must escape from the law of karma if it:

  1. ต้องทุ่มชีวิตละเว้นความชั่ว

1.诸恶莫作

1.Do no evil

  1. ต้องทุ่มชีวิตทำความดี

2.众善奉行

  1. Do all good practices
  2. ต้องทุ่มชีวิตกลั่นใจให้ผ่องใส

3.自净其意

  1. Clear your mind

เพราะเหตุนี้ จึงต้องหาทางเอาชนะกฎแห่งกรรมด้วยการฝึกตนให้เป็นคนมีความรับผิดชอบต่อศีลธรรม ซึ่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงกำหนดไว้เป็นมาตรฐานคนดี 4 ประการนั่นคือ

因此,我们应通过培养道德责任心,找到战胜业果法则的方法。佛陀规定善人应具备四个基本条件:

Therefore, we should find a way to overcome the law of karma by cultivating moral responsibility. The Lord Buddha stipulated that a good person should have four basic requirements:

3.1) คนดีต้องมีนิสัยรับผิดชอบต่อศีลธรรมของตนเองด้วยการไม่ทำบาปกรรม 4 ประการ ได้แก่ ไม่ฆ่า ไม่ลัก ไม่เจ้าชู้ ไม่พูดปด

3.1善人应对自己有道德责任心,不造作四种恶业,分别是:不杀生,不偷盗,不邪淫、不妄语。

3.1 A good person should have a moral responsibility to refrain from the four kinds of bad karma, which are: no killing, no stealing, no sexual misconduct, and no lying.

3.2) คนดีต้องมีนิสัยรับผิดชอบต่อศีลธรรมของสังคมด้วยการไม่ทำสิ่งใดด้วยความมีอคติ 4 ได้แก่ ลำเอียงเพราะรัก ลำเอียงเพราะชัง ลำเอียงเพราะโง่ ลำเอียงเพราะกลัว

3.2善人应对社会有道德责任心,具足四不应行,分别是:贪不应行;嗔不应行;痴不应行;怖不应行。

3.2 Good people should have a moral responsibility to the society, there are the four behaviours that should not do, respectively: don’t be greed; don’t be anger; don’t be ignorance; don’t be fear.

3.3) คนดีต้องมีนิสัยรับผิดชอบต่อศีลธรรมของเศรษฐกิจด้วยการไม่ยุ่งเกี่ยวกับอบายมุข 6 ได้แก่ ไม่ดื่มสุรา ไม่เที่ยวกลางคืน ไม่หมกมุ่นในสิ่งบันเทิงเริงรมย์ ไม่เล่นการพนันไม่คบคนชั่วเป็นมิตร ไม่เกียจคร้านการงาน

3.3善人应对经济有道德责任心,不迈入六损道,分别是:不饮酒、不过夜生活、不沉迷玩乐、不赌博、不结交损友、工作不懒散。

3.3 A good person should have a moral sense of economic responsibility and should not step into the six harmful paths, which are: no drinking, no nightlife, don’t indulge in fun, don’t gambling, don’t mix with bad friends, and don’t lazy at work.

3.4) คนดีต้องมีนิสัยรับผิดชอบทั้งต่อบุคคลแวดล้อมและสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติด้วยการทำหน้าที่ประจำทิศ 6

3.4善人应对周围的人和环境有道德责任心,履行六方的责任。

3.4 A good person should be morally responsible to the people and environment around him and fulfill the responsibilities towards the six parties.

คนที่ฝึกตนให้มีความรับผิดชอบต่อศีลธรรม ย่อมมองโลกและชีวิตตรงตามความเป็นจริงดำเนินชีวิตด้วยปัญญา เป็นต้นแบบที่ดีงามให้แก่สังคม ทำประโยชน์เพื่อส่วนรวมได้เต็มที่ จึงไม่จำเป็นต้องโอ้อวด มีมารยา

具备道德责任心的人,必然如实了知世间和生命的真相,以智慧谋生,成为社会的典范,全心全力利益团体,不炫耀和作假。

A person with a sense of moral responsibility must know the truth of the world and life truthfully, make a living with wisdom, become a model of society, devote himself to the interests of the community, and do not show off or cheat.

  1. การปรารภความเพียร

4.勇猛精进

  1. Be Brave and Diligence

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า คุณสมบัติข้อที่ 4 ของผู้บรรลุธรรมได้ง่าย คือ ต้องเป็นผู้ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อให้กุศลธรรมที่เกิดมีความเข้มแข็ง มีความบากบั่น ไม่ทอดธุระในกุศลธรรมทั้งหลาย

佛陀说修行之人应具备的第四种美德是勇猛精进。不仅是为了断除不善业,也是为了稳固已有的善业,勤奋修行,累积福报。

 

The Lord Buddha said that the fourth virtue for a practitioner be brave and diligence. Not only to get rid of bad karma, but also to consolidate existing good karma, practice diligently, and accumulate blessings.

กล่าวโดยย่อก็คือ การปรารภความเพียร หมายถึง การบำเพ็ญภาวนา

简单的说,勇猛精进就是精进修行。

To put it simply, intrepid progress is to practice.

ผู้ที่จะบำเพ็ญภาวนาได้ดี ต้องรู้จักบริหารเวลา

修行好的人应是懂得合理安排时间的人。

A good practitioner is one who knows how to manage his time well.

เวลาเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่ามากที่สุดของมนุษย์ เพราะช่วงเวลาที่มนุษย์แต่ละคนได้รับย่อมหมายถึงช่วงชีวิตของผู้นั้น นั่นคือ เวลาที่ผ่านไปแต่ละอนุวินาที ได้นำเอาชีวิต นำเอากำลังวังชาของผู้นั้นไปด้วยทุกขณะ แล้วยังหยิบยื่นความแก่ ความเจ็บ ความตายมาให้ในเวลาเดียวกันอีกด้วย แม้จะไม่มีผู้ใดปรารถนาก็ตาม

时间是人类最宝贵的财富,因为时间就是生命,每当流逝一秒钟,生命和体力也会随之逝去,即便没有人渴望老、病、死,但它们依然悄无声息的向我们走来。

Time is the most precious wealth of human beings, because time is life, every time a second passes, life and physical strength will also pass away, even if no one long for old, sick, death, but they are still quietly coming to us.

ดังนั้น เวลาจึงถือได้ว่าเป็นทรัพยากรที่เนื่องด้วยชีวิต และมีอยู่อย่างจำกัด ดังที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า

因此,时间是人生的财富,而人生是有限的,一如佛陀言:

Therefore, time is the treasure of life, and life is finite, as the Lord Buddha said:

“วันคืนย่อมล่วงไป ชีวิตย่อมหมดไป อายุของสัตว์ย่อมสิ้นไป เหมือนน้ำในลำธารน้อย ๆ ที่กำลังเหือดแห้งใกล้หมดไปฉันนั้น”

随着日夜更替,生命悄然逝去,众生皆有终老,犹如小溪流水,正在慢慢枯竭。

With the change of day and night, life quietly passes away, all living beings have an end, like a stream, is slowly drying up.

สำหรับชีวิตพระภิกษุนั้น การบริหารเวลาที่คุ้มค่าที่สุด คือการจัด รรเวลาให้กับกิจสำคัญของการฝึกตน 4 ประการเป็นอันดับแรก ได้แก่

最佳的管理时间应将时间用在有助于提升自我的四个方面。

The best way to manage your time is to use it in four ways that help you improve yourself.

1) การศึกษาค้นคว้าพระธรรมคำสอน

(1)学习钻研佛法

1) Learn and Study the Dharma

2) การสอบถามสนทนาธรรม

(2)询问交流佛法

2) Inquiry and Exchange the Dhamma

3) การปฏิบัติสมาธิภาวนาประจำวัน

(3)每天坚持打坐

3) Meditate every day

4) การหลีกออกเร้น เพื่อปฏิบัติสมาธิภาวนา

(4)寻僻静处打坐

4) Find a quiet place to meditate

ที่จะมีความก้าวหน้าในการฝึกตนนั้น ต้องบริหารเวลาใน 4 เรื่องนี้ ร่วมกับปฏิบัติกิจวัตร 10 ให้ลงตัวอย่าง ม่ำเสมอ ย่อมได้ชื่อว่าเป็นผู้ปรารภความเพียร และเป็นสุดยอดของการบำเพ็ญตนให้เป็นกัลยาณมิตรของตนเอง

想在提升自我方面取得长足的进步,就要利用时间坚持修习这四个方面和十项日常事务。这样的人既可以称作勇猛精进,又是自身的优秀善知识。

To make significant progress in improving yourself, take the time to practice these four areas and ten daily tasks. Such a man may be called both brave and diligence, and be a good and wise friend of oneself.

การบริหารเวลาที่ผิดพลาด ย่อมเป็นการปล่อยโอกาสที่จะได้ทำสิ่งสำคัญที่มีคุณค่าที่สุดในชีวิต นั่นคือ การปราบกิเลสในตน ให้หลุดลอยไปอย่างน่าเสียดาย

错误的时间管理将让自己失去生命中最重要的一个使命,即断除自身的烦恼。

Wrong time management will deprive you of the most important mission in life, which is to get rid of  your own defilements.

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสอนชาวโลกว่า เวลาชีวิตเป็นของมีน้อย ไม่ได้ยืนยาวเป็นเดือนเป็นปีอย่างที่ชาวโลกเข้าใจ แต่แท้จริงนั้น เวลาชีวิตนั้นแสนสั้นเพียงแค่ช่วงระยะลมหายใจเข้าออกเท่านั้น นั่นย่อมหมายถึงว่า ความตายได้รุกคืบเข้าหาชีวิตแต่ละคนอยู่ทุกขณะจิต การดำเนินชีวิตทุกอย่างในโลกนี้จึงแข่งกับระเบิดเวลา หรือนาฬิกาแห่งความตายของตนเอง

佛陀教导世人:人生短暂,并非像大家所理解的长达数十年。事实上,生命的长度只在一呼一吸之间。即死亡没有征兆,它随时会降临在每个人身上。所有的生命都要和时间赛跑,因为它犹如一枚炸弹,随时都可能会引爆。

The Lord Buddha taught that life is short, not decades as people understand it. In fact, the length of life is only between a breath of in and out. Death comes to us all without warning. All life is a race against time, because it is like a bomb, can be detonated at any time.

ยิ่งกว่านั้นสิ่งที่ต้องตระหนักให้มากก็คือ อัตภาพร่างกายที่เป็นมนุษย์ นี้เท่านั้นที่เหมาะแก่การละเว้นความชั่ว ทำความดี กลั่นใจให้ผ่องใสเพราะไม่ว่าจะเป็นอัตภาพใด ๆ ที่ต่ำกว่า ได้แก่สัตว์นรก เปรต อสุรกายสัตว์เดรัจฉาน หรืออัตภาพใดๆ ที่สูงกว่า ได้แก่ เทวดา พรหม อรูปพรหม ก็ยังมีโอกาสทำความดีได้น้อยกว่าอัตภาพที่เป็นมนุษย์

与此同时,要知道只有人类的身份才适合修习诸恶莫作,众善奉行,自净其意。因为如果是其他身份,譬如地狱众生、饿鬼、阿修罗、畜生,又或者是天人、梵天、无色梵天,他们行善积德的机会都少于人类。

At the same time, know that only human beings are fit to practice the way of doing no bad, perform all good and purify the mind of oneself. Because if they were other beings, such as hell beings, hungry ghosts, Asura, beasts, or celestial beings of Desire Realm, Brahman of Form Realm, Brahman of Formless Realm, they would have less opportunity to perform good deeds than human beings.

เพราะฉะนั้น ภารกิจสำคัญของนักสร้างบารมีก่อนที่จะไปทำอย่างอื่น ก็คือ ต้องแบ่งเวลานั่งสมาธิภาวนาการบำเพ็ญสมาธิภาวนามีความจำเป็นอย่างยิ่งในการกำจัดกิเลส เพราะจิตที่ฝึกดีแล้วย่อมหยุดนิ่งตั้งมั่นเป็นสัมมาสมาธิ ไม่หวั่นไหวไปตามอำนาจกิเลส ไม่ยึดติดยินดีในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมณ์ ที่ใจเกาะติดอยู่ภายใน จึงเกิดปัญญาภายในจากอำนาจสมาธิ

因此,作为修行者最主要的任务是每天坚持打坐,这是消除烦恼的必经之路。因为通过打坐,让心安稳入定,不受烦恼束缚,不沉迷于色声香味触法,安住于内在,由定生慧。

Therefore, as a practitioner the most important task is to meditate every day, which is the way to eliminate defilements. Because through meditation, the mind become still and calm, not fetter by the defilements, not clinging to visual objects, sounds, smells, tastes, touches and sensations that come into contact with, such as beauty or ugliness, the mind still within us. Hence, inner wisdom arises from the stillness of mind.

หากนักสร้างบารมีขาดการแบ่งเวลาฝึกสมาธิเสียแล้ว จิตย่อมขาดความสำรวมระมัดระวัง จิตย่อมซัดส่าย วุ่นวาย ฟุ้งซ่านแบบชาวโลก เมื่อมีสิ่งใดมากระทบจิต ก็จะส่งผลให้จิตปรุงแต่ง เกิดเป็นความยินดียินร้ายในอารมณ์นั้น กิเล อย่างต่ำอันมีโลภะ โทสะ โมหะ ก็จะเข้าครอบงำจิตใจ ทำให้กายและวาจาขาดความสำรวม มีโอกาสก่อบาปทางกาย วาจา และใจได้ง่าย แม้จะโดยเจตนาหรือไม่เจตนาก็ตาม แต่ย่อมส่งผลให้ศีลธรรมในตนตกต่ำลงไปอีก และทำให้เกิดความเสื่อมศรัทธาต่อผู้พบเห็นอีกด้วย

作为一个修行者,如果不精进打坐,心会缺乏谨慎自制,容易散乱,常胡思乱想。当遇到事情时,心容易生烦恼。如果心被贪、嗔、痴烦恼控制,身体和语言也难以自制,导致身口意容易造下恶业。无论是故意或非故意,都会对自身的德行产生不良的影响,也会令所见之人感到失望。

As a practitioner, if you do not meditate well, your mind will lack of prudent and self-control, easily disorganized, and often having wild thoughts. When encountering issues, the mind is easy to get upset. If the mind is controlled by greed, anger and delusion, the body and speech cannot be controlled easily, resulting bad karma arisen easily through our actions, speech and thoughts. Whether intentionally or unintentionally, all of these will have a bad effect on our own virtue and disappointed by those who see it.

นอกจากนี้ การหลีกออกเร้นเพื่อทำภาวนาอย่างต่อเนื่องก็เป็นสิ่งสำคัญ เช่น 7 วันบ้าง 1 เดือนบ้าง 1 พรรษาบ้าง หรือ 1 ปี หรือหลาย ๆ ปี เป็นต้น

此外,找机会到僻静之处,连续修行打坐一个星期、一个月、或一年,甚至更长。

Also, find a quiet place to practice and meditate continuously for a week, a month, a year, or even longer.

การทำสมาธิภาวนาอย่างต่อเนื่องเป็นหัวใจของการบรรลุธรรมเพราะการบรรลุธรรมนั้นจิตต้องหลุดพ้นจากพันธนาการภายนอก มาหยุดนิ่งตั้งมั่นอยู่ภายในกาย เมื่อหยุดนิ่งถูกส่วน จิตก็รวมดิ่งเข้าสู่ภายในไม่ถอนถอย จนจิตเกิดเป็นสมาธิขั้นสูงที่เรียกว่า “ปัญญา” และใช้ปัญญาพิจารณาเห็นกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม ทำให้ตรัสรู้ไปตามลำดับ

坚持精进打坐是证法的必经之道,因为心要脱离外在的监狱,静定于内在。当心正确静定后,会深入内在不退缩,直至证得高级禅定,称为“智慧”,通过智慧观身中身、受中受,心中心,法中法,如此次第的证悟。

Persisting in intensive meditation is the only way to attain enlightenment, because the mind needs to be freed from the external prison and calm down within. After the mind could still correctly, the mind will enter deep within and not shrink back until it reaches the higher level of deep meditation, which called the inner “wisdom”, through it which we could visualize the body within body, the feeling within feeling, the mind within mind, the dhamma within dhamma, and so on.

การปฏิบัติธรรมตามกิจวัตรประจำวันนั้น เป็นการประคับประคองใจเพื่อไม่ให้ศีลธรรมในใจตกต่ำลงไปกว่าเดิม แต่ยังไม่เพียงพอจะทำให้ใจหลุดจากการยึดเกาะกับวัตถุภายนอกได้หมดจดสิ้นเชิง

每天坚持打坐,是为了护持心,不让内在的德行降低,但这并不足以让心完全脱离对外境的攀缘。

The purpose of daily meditation is to protect the mind from the degradation of our internal virtue, but this is not enough to completely break away from the mind attachment toward the external world.

ในระหว่างวัน ใจย่อมเข้า ๆ ออก ๆ บางครั้งก็อยู่กับตัว บางครั้งก็เผลอไปคิดเรื่องนอกตัว ดังนั้น ถ้าจะให้ได้บรรลุคุณวิเศษใด ๆ แล้ว จำเป็นต้องหลีกออกเร้น ทุ่มเวลาตลอดทั้งวันในการฝึกจิตตนเองด้วยการเจริญสมาธิภาวนาอย่างต่อเนื่อง และนานมากพอที่จะทำให้จิตแล่นเข้าสู่ภายใน จนพบกับดวงสว่างที่เรียกว่า “ปฐมมรรค” อันเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์ภายในและเป็นหนทางเบื้องต้นที่จะทำให้เข้าถึงธรรมะอันเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์ภายในที่ละเอียด ประณีตลึกซึ้งยิ่งขึ้น เป็นการมุ่งตรงต่อหนทางพระนิพพาน ตามที่พระภิกษุปฏิญาณไว้ต่อหน้าพระอุปัชฌาย์ว่า

在一天当中,心总会进进出出,时而安定于内在,时而散乱攀缘于外在。如果想证入殊胜的境界,必须离开人群,寻找一个僻静之地,充分利用时间打坐。当心持续深入内在,就有机会证得初道光球。它是内在的清净自然,是证入内在细腻清净之法的初始之道,是趣向涅槃之道。有如出家比丘在戒师面前所发的誓言:

During the course of a day, the mind goes in and out, sometimes settled within, sometimes disorderly and climbing external. If you want to attain the realm of excellence, you must get away from the crowd, find a quiet place, and make the most of your time to meditate. As the mind able continues to go deep within, there is a chance of attain “the sphere of the path of initial toward enlightenment” .It is the inner purity of nature, is the initial way to prove the dhamma of inner delicacy and purity, towards Nirvana. Like the oath of a new monk takes before the preceptor:

“สัพพะทุกขะนิสสรณะ นิพพานะสัจฉิกะระณัตถายะ

ข้าพเจ้าขอบวชเพื่อสลัดออกจากกองทุกข์ทั้งปวง และทำพระนิพพานให้แจ้ง”

“为了断尽诸苦,证得涅槃,本人请求出家。”

“In order to end all suffering and attain nirvana, I request to become a monk.”

นี่คือความสำคัญของการบริหารเวลาปรารภความเพียรที่ต้องแบ่งเวลาให้กับการหลีกออกเร้นทำสมาธิในระยะยาวด้วย แม้หากชาตินี้ไม่ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ ก็จะเป็นอุปนิสัยแห่งมรรคผลนิพพาน ติดตัวไปภพชาติเบื้องหน้า

这是合理分配时间,利用较长的时间在僻静处精进打坐的重要性。即便今世无缘证得阿罗汉,也是在为来世趣向道果涅槃累积资粮。

This is the importance of allocating your time wisely and using longer periods of time to practice meditation in quiet places. Even if you have no chance to become an arhant in this life, you are accumulating the wealth for the next life.

เพราะฉะนั้นอย่าประมาทในชีวิต ให้ความสำคัญกับการบริหารเวลา และอย่าดูถูกเวลาแม้เพียงเล็กน้อยว่าจะไม่ให้ผลอะไร เพราะเวลาแม้เพียงชั่วครู่ หากตั้งอยู่ในความไม่ประมาทแม้เพียงครู่เดียว ก็ยังได้รับผลเป็นอัศจรรย์

因此,生活中不要放逸,重视对时间的管理,不要轻视时间,不要误认为在短时间内修行没有效果。其实,如果在片刻的时间里精进不放逸,也会获得意想不到的结果。

Therefore, be heedful in life, pay attention to the management of time, do not underestimate time, do not mistaken that the practice in a short period of time has no effect. In fact, if you work hard for a moment, you can get unexpected results.

ดังที่พระภิกษุหนุ่มรูปหนึ่ง จำพรรษาในวัดป่ากับเพื่อนภิกษุจำนวน 30 รูป วันหนึ่งถูกเสือคาบไปเพื่อจะกิน ภิกษุอื่นถือไม้เท้าและคบเพลิงตามไปหมายจะให้เสือปล่อย แต่เสือหนีไปทางเขาขาดที่พระภิกษุทั้งหลายตามมาไม่ได้ ภิกษุนั้นจึงนอนอยู่ในปากเสือ ข่มเวทนาเจ็บปวด แล้วเจริญวิปั นาอย่างอุทิศชีวิต ตอนที่เสือกินถึงข้อเท้าได้เป็นพระโสดาบัน กินไปถึงหัวเข่าได้เป็นพระสกทาคามี กินไปถึงท้องได้เป็นพระอนาคามี เมื่อเสือกินไปยังไม่ถึงหัวใจ ก็บรรลุเป็นพระอรหันต์พร้อมด้วยปฏิสัมภิทาอยู่ในปากเสือนั่นเอง

从前,有位年轻的比丘和三十位同修在深山里修行。有一天,年轻的比丘突然被老虎叼走,同修立刻拿棍棒和火把前去营救,只可惜最终还是被老虎逃脱。年轻比丘躺在虎口前,全身伤痕累累,但他还是强忍疼痛,利用最后片刻的时间修习止观。当老虎吃到踝关节时,他证得须陀洹果;老虎吃到膝盖时,他证得斯陀含果;老虎吃到肚子时,他证得阿那含果;当老虎准备吃到心脏时,他证得阿罗汉果和四无碍解。

Once upon a time, there was a young monk with 30 fellow monks who were practicing deep in the mountains. One day, the young bhikkhu was suddenly carried away by a tiger. The initiates immediately went to rescue him with sticks and torches, but the tiger finally escaped. The young bhikkhu lay in front of the tiger, his body covered with bruises, but he tried to endure the pain and spent the last few moments practicing meditation. When the tiger ate the ankle, he had attained the fruit of Sotāpanna (stream-enterer); When the tiger eats to the knee, he attained the fruit of Sakadāgāmin (once-returner). When the tiger was in his stomach, he attained the fruit of Anāgāmi (Non-returner). When the tiger was ready to eat the heart, he attained the fruit of arahant and Patisambhida-bana.

ก่อนปรินิพพาน ท่านได้เปล่งอุทานว่า

入涅槃前,他大声喊道:

Before entering Nirvana, he cried out:

“เรามีศีล ถึงพร้อมด้วยวัตร มีปัญญา มีใจมั่นคงดีแล้ว อาศัยความไม่ประมาทครู่หนึ่ง ทั้งมีใจไม่คิดร้ายต่อเสือ ขณะถูกเสือกินถึงกระดูกและเอ็นก็ตาม เราจักทำกิเลให้สิ้นไป จักสัมผั วิมุตติ”

“我持戒、修定、证慧,心安稳,安住不放逸片刻,不思老虎之邪恶,即便被它啃食筋骨也罢,一心只为断尽烦恼。”

“I keep precepts, meditate, attain wisdom. My mind is still and be heedful. I do not think about the bad and evil of the tiger, even if it had eaten my bones and muscles. Only care about eradicated all defilements.

และนี่คือความสำคัญของการปรารภความเพียรด้วยความไม่ประมาทและมั่นคงในศีลแม้เพียงครู่เดียว ก็สามารถทำให้พระภิกษุนั้นบรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ได้

这就是安住于戒,精进不放逸的重要性,即便是片刻时间,该年轻比丘也能证得阿罗汉果。

This is the importance of abide in precepts, enhancement and no laxity. Even for a moment, the young bhikkhu can attain the fruit of arahant.

  1. การเพิ่มพูนปัญญาให้ตนเอง

5.增长自己的智慧

  1. Grow your wisdom

คุณสมบัติข้อที่ 5 ของผู้บรรลุธรรมได้ง่าย คือ หมั่นเพิ่มพูนปัญญาให้ตนเองพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงวางมาตรฐานการมีปัญญาไว้ชัดเจนว่า เป็นผู้มีปัญญาเป็นเครื่องพิจารณาเห็นทั้งความเกิดดับอันเป็นอริยะ

佛陀说修行之人应具备的第五种美德是增长自己的智慧。佛陀对具足智慧有一个明确的标准,即具足智慧者应如实知见生灭之法。

The Lord Buddha said that the fifth virtue for those who practice is to grow their wisdom. The Lord Buddha had a clear criterion for fulfilled wisdom, that is one who has fulfilled wisdom should truly know and see the dharma of birth and death.

ปัญญามี 3 ประเภท

智慧有三种:

There are three kinds of wisdom:

  1. สุตมยปัญญา คือ ปัญญาที่เกิดจากการฟัง

闻所成慧:通过听闻生智慧。

Wisdom gain from learning : wisdom gain through listening ,reading, etc.

  1. จินตมยปัญญา คือ ปัญญาที่เกิดจากการคิด

思所成慧:通过思惟生智慧。

Wisdom gain from thinking: wisdom gain through reflection.

  1. ภาวนามยปัญญา คือ ปัญญาที่เกิดจากการทำภาวนา

修所成慧:通过修行生智慧。

Wisdom gain from practicing: wisdom gain through practice.

เพราะฉะนั้น ปัญญาที่ใช้เป็นเครื่องพิจารณาเห็นทั้งความเกิดดับอันเป็นอริยะนั้นเป็นได้อย่างเดียว คือ ภาวนามยปัญญา ไม่ใช่ปัญญาจากการท่องจำ ไม่ใช่ปัญญาจากการตีความ

因此,通过思惟如实知见生灭之法的智慧是修所成慧,非背诵而生的智慧,亦非释义而生的智慧。

Therefore, the wisdom of knowing and seeing the dhamma of birth and death through thought is the wisdom of practice, not the wisdom of recitation, nor the wisdom of interpretation.

ภาวนามยปัญญานั้น เกิดจากการบำเพ็ญภาวนาจนกระทั่ง “ใจหยุดนิ่ง” เป็น “สัมมาสมาธิ” ไปตามลำดับ ๆ ๆ ๆส่งผลให้ “เห็นธรรม” ที่ซ่อนอยู่ในตัวมนุษย์ไปตามลำดับ ๆ ๆ จึงเกิดเป็น “ภาวนามยปัญญา” ที่ลุ่มลึกไปตามลำดับ ๆ ๆ ๆ

修所成慧是通过修行打坐,使心入定,在次第具足正定后,将次第见法,此为次第深入修所成慧。

Enlightenment is achieved through practice meditation, so that the mind could achieve the right concentration. After the first step of right concentration, the dhamma will be appear again. This is the enlightenment achieved in the second step of deeper meditation level.

เพราะฉะนั้น ใจยิ่งเป็น “สัมมาสมาธิ” มากเท่าไร “ภาวนามยปัญญา” ที่เกิดขึ้นย่อมมีความบริสุทธิ์บริบูรณ์มากเท่านั้น ผลสุดท้าย ย่อมเป็นผู้รู้แจ้งแทงตลอดในวิชชา 3 วิชชา 8 มรรค 4 ผล 4 นิพพาน 1 ที่บริสุทธิ์บริบูรณ์มากขึ้นไปตามลำดับ ๆ ๆ

因此,心的“正定”程度决定了“修所成慧”的清净圆满程度。最终证得三明、八明、四向、四果和一涅槃。

Therefore, the degree of ” right concentration ” of the mind determines the degree of purity and completeness of “enlightenment”. The final achievement is: Threefold knowledges, Eight Supernormal knowledges, Four Paths & Fruitions and Nirvana.

 

Threefold knowledges: 1. reminiscence of past lives; 2. knowledge of the decease and rebirth of beings;3. knowledge of the destruction of mental intoxication(defilements).-Page.100-[106] Dictionary of Buddhism

Eight Supernormal knowledges: 1. insight-knowledge;2. mind-made magical power; 3. supernormal powers;4. divine ear; 5. penetration of the mind of others; 6. remembance of former existence; 7. divine eye; 8. knowledge of the exhaustion of mental intoxicants. -Page.217&218-[297] Dictionary of Buddhism

Four Paths & Fruitions: 1.the Path & Fruition of Stream Entry; 2.the Path & Fruition of Stream Entry; 3.the Path & Fruition of Non-Returning; 4.the Path & Fruition of Arahantship. – Page.245-[332] Dictionary of Buddhism

Nirvana: Attain Nirvana. Page.245-[332] Dictionary of Buddhism

 

ตรงนี้เองที่เป็นที่มาของธรรมะ 84,000 พระธรรมขันธ์ ซึ่งประชุมรวมกันในมรรคมีองค์ 8 ที่มีเป้าหมาย คือ พระนิพพาน โดยสามารถเขียนเป็นรูปภาพสรุปภาพรวมพระธรรมคำสอนได้ดังนี้

这就是八万四千法门的由来,聚集成八正道,最终的目标就是涅槃。如图概述:

This is the origin of the 84,000 methods, gathered into the Eightfold path with the ultimate goal of Nirvana. Figure overview:

图表概述八万四千法门(施命大师)

Diagram Overview of 84,000 Methods (Luangpor Dattajivo)

(1)律(两万一千种)——戒(增上戒学)——正语,正业,正命——诸恶莫作——不放逸——涅槃

(1) Vinaya Pitika (21,000 kinds) – Precepts (attain higher state of precepts) – Right Speech, Right Action, Right Livehood – refrain from doing evil – Appamada – Nirvana

(2)经(两万一千种)——定(增上心学)——正精进,正念,正定——众善奉行

(2) Sutra Pitika (21,000 kinds) – concentration (attain higher state of mind ) – Right Effort, Right Mindfulness, and Right Concentration – the practice of all good

(3)论(四万两千种)——慧(增上慧学)——正见,正思惟——自净其意

(3) Abhidharma Pitika (42,000 kinds) — wisdom (attain higher state of wisdom) — Right View, Right Thought — self-purification of mind

และเพราะธรรมะ 84,000 พระธรรมขันธ์ มีความเชื่อมโยงกับมรรคมีองค์ 8 ที่มีเป้าหมายคือพระนิพพาน ในลักษณะนี้เอง จึงทำให้คำว่า “ธรรมะ” ถูกแบ่งออกเป็น 3 ระดับดังที่เคยกล่าวไว้ก่อนหน้านี้

由于八万四千法门与八正道密不可分,以趣向涅槃为目标,因此“佛法”又分为三层意思,分别是:

Since the 84,000 methods are inseparable from the eightfold path, aiming toward Nirvana, “the teachings of Lord Buddha ” is divided into three level of meanings, which are:

ระดับที่ 1 ธรรมะ คือ ธรรมชาติบริสุทธิ์ในตัวมนุษย์ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ด้วยการบำเพ็ญเพียรภาวนาตามหลักมรรคมีองค์ 8 อย่างทุ่มชีวิตเป็นเดิมพันจนกระทั่งหมดทุกข์ หมดกิเลสหมดความไม่รู้อย่างถาวรส่งผลให้หลุดพ้นจากการกักขังจองจำเหนี่ยวรั้งปิดบังจากการเวียนว่ายตายเกิดในวัฏสงสารได้อย่างถาวร

第一层:佛法指人类内在的清净自然。佛陀就是遵循八正道精进修行而觉悟,永久断尽诸苦,解脱烦恼,断除无明,脱离生死轮回的束缚。

1st Level : Dhamma refers to the pure nature within human beings. The Lord Buddha follows the eightfold path of practice and enlightenment, permanently ending all suffering, freeing himself from troubles, ignorance and the bondage of the cycle of life and death.

ระดับที่ 2 ธรรมะ คือ คำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่มุ่งสอนประชาชนให้ทุ่มเทกับการขจัดทุกข์ ขจัดกิเลสขจัดความไม่รู้ในตนให้หมดสิ้นตามพระองค์ไป

第二层:佛法指佛陀的教诲。它教导世人追随佛陀的脚步,精进断除自身的无明,断尽诸苦,解脱烦恼。

2nd Level : Dhamma refers to the teachings of Lord Buddha.It teaches the world to follow in the footsteps of the Lord Buddha, to get rid of their own ignorance, to put an end to all suffering and to free themselves from troubles.

ระดับที่ 3 ธรรมะ คือ นิสัยดีที่เกิดจากการปฏิบัติมรรคมีองค์ 8 ด้วยการละเว้นความชั่ว ทำความดี กลั่นใจให้ผ่องใสอย่างทุ่มชีวิตเป็นเดิมพันตามคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

第三层:佛法指修习八正道而生起的美德。即以舍身求法的精神遵循佛陀的教诲,修习诸恶莫作,众善奉行,自净其意。

3rd Level: Dhamma refers to the virtues arising from the practice of the eightfold path. That is, to follow the teachings of the Lord Buddha in the spirit of sacrificing oneself for dharma, to practice refrain from doing all evil, to practice all good, and to purify oneself.

นั่นก็หมายความว่า การที่ตัวของเราจะเข้าถึงธรรมได้หรือไม่นั้น การที่บุคลากรในพระพุทธศาสนาจะมีคุณภาพมากน้อยเพียงไรนั้นการที่อายุพระพุทธศาสนาจะยืนยาวได้มากน้อยเพียงไรนั้นก็ตามล้วนขึ้นอยู่กับการฝึกฝนอบรมตนเองให้มีคุณสมบัติทั้ง 5 ประการของผู้เข้าถึงธรรมได้ง่ายทั้งสิ้น

这意味着我们证法与否,品行的高低,佛教住世的时间长短,在一定程度上,取决于我们是否能够培育和具备这五种美德。

What this means is that whether or not we practice the teaching of Lord Buddha , how well we conduct ourselves, and how long we live as Buddhists depend, to some extent, on whether or not we cultivate and possess these five virtues.

เริ่มตั้งแต่ตนเองต้องมีศรัทธามั่นคง มีสุขภาพดี มีนิสัยดี มีการปรารภความเพียรดีและมีปัญญาตรัสรู้ โดยมีมรรคมีองค์ 8 เป็นหลักปฏิบัติ และมีผลลัพธ์คือการทำพระนิพพานให้แจ้งเป็นเป้าหมายสูงสุดนั่นเอง

从自身做起,具备坚定的信仰,健康的身心,良好的性格,以及精进和智慧,在此基础上修习八正道,实现最高的目标——证得涅槃。

Start with yourself, with a firm faith, a healthy body and mind, good character, as well as strength and wisdom, on the basis of which to practice the Eightfold Path and achieve the highest goal – attaining Nirvana.