ประวัติความเป็นมาของการทอดผ้าป่า
ในสมัยพุทธกาล เมื่อครั้งที่พระบรมศาสดายังมิได้ทรงอนุญาตให้พระภิกษุทั้งหลายรับ คฤหบดีจีวร คือ จีวรที่ชาวบ้านถวายโดยเฉพาะ พระภิกษุที่ต้องการใช้ผ้าจึงต้องเที่ยวเก็บผ้าห่อศพ หรือผ้าเปรอะเปื้อนที่ชาวบ้านไม่ต้องการนำมาทิ้งไว้ เมื่อรวบรวมผ้าชิ้นเล็กชิ้นน้อยพอแก่ความต้องการแล้ว จึงนำมาซักทำความสะอาด ตัด เย็บ ย้อม เพื่อทำเป็นจีวร สบง หรือสังฆาฏิ ผืนใดผืนหนึ่ง ทั้งนี้ การทำจีวรของพระภิกษุในสมัยพุทธกาล ค่อนข้างยุ่งยากมากอีกด้วย จึงถือเป็นความลำบากอย่างหนึ่งของพระภิกษุเลยทีเดียว
History of the Robe Offering
During the Buddhist era, when the Buddha had not yet permitted monks to receive householder’s robes—the ones specifically donated by the villagers, monks who needed cloth had to look for and collect shrouds, scraps, or soiled cloth that people discarded. Once enough cloth was collected, the monks would clean, wash, cut, sew, and dye it to make either a robe or the inner and outer garments. It was quite a time consuming process. Therefore, it was seen as one of the challenges of being a monk.
供养袈裟的由来
佛陀时代初期,佛陀不允许比丘接受居士衣,即居士特地供养的袈裟。想要使用布料的比丘需四处收集裹尸布,或者居士舍弃不用的肮脏布。当收集到足够的小块布后清洗干净,然后裁剪、染色、缝制成上衣、内衣或僧伽梨。在佛陀时代,缝制袈裟相当麻烦,所以也算是出家人的一种艰辛。
ผู้ที่เป็นบุคคลในประวัติศาสตร์แห่งการทอดผ้าป่าหรือทอดผ้าบังสุกุลท่านแรกนั้นคือ เทพธิดาที่อยู่บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ที่มีนามอันไพเราะว่า “เทพธิดาชาลินี”
The first person in history to offer robes was a female celestial being by the angelic name of “Chalini” in Tavatimsa Heaven .
历史上第一个供养袈裟或粪扫衣的人是居住在忉利天的女天人阇利仁。
เรื่องมีอยู่ว่า ในวันหนึ่ง “พระอนุรุทธะเถระ” ผู้มีจีวรเก่า กำลังเที่ยวแสวงหาเศษผ้าจากกองหยากเยื่อต่างๆ เพื่อเอาไปทำจีวร เนื่องจากในสมัยนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังไม่ทรงมีพระบรมพุทธานุญาตให้พระภิกษุรับผ้าจีวรจากคฤหบดีที่มาถวายโดยตรง
As the story goes, one day Ven. Anuruddha Thera, who possessed an old robe, was combing through several mounds of pulp looking for rags to make a robe. At that time, the Buddha had not allowed for monks to accept robes directly from the householders.
根据经典故事记载,有一天,身着旧袈裟的阿那律长老正在垃圾堆里寻找缝制袈裟的废弃碎布。因为当时佛陀还未允许比丘直接接受居士供养的袈裟。
ซึ่งในขณะที่พระอนุรุทธเถระกำลังเที่ยวแสวงหาเศษผ้าอยู่นั้น เทพธิดาชาลินีก็ได้ไปเห็นเข้า เธอจึงตั้งใจว่าจะเอาผ้าทิพย์ 3 ผืน ยาว 13 ศอก กว้าง 4 ศอก น้อมถวายแด่ท่าน แต่แล้วเธอก็กลับฉุกคิดในใจได้ว่า “ถ้าเราจะถวายโดยตรงพระเถระก็จะไม่รับ” เนื่องจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังไม่ทรงมีพระบรมพุทธานุญาตให้รับ
Chalini happened to see that Ven. Anuruddha searching for rags. So she made the intention to offer three pieces of robes, 13 cubits long and 4 cubits wide. But then she suddenly thought, “The senior monk would not accept them if I offer them directly to him” because the Buddha had not yet authorized monks to receive robes.
阿那律长老正在寻找碎布时,刚好遇见阇利仁天女。她想要供养三块长13肘,宽4肘的天布,可是转念一想:如果我直接供养,长老应该不会接受,因为佛陀尚未允许比丘直接接受居士供养的袈裟。
ดังนั้นเทพธิดาชาลินีจึงได้น้อมนำเอาผ้าทิพย์ของเธอไปใส่ไว้ในกองหยากเยื่อ ซึ่งอยู่บริเวณที่พระอนุรุทธเถระท่านจะต้องเดินผ่าน ซึ่งขณะที่นำผ้าทิพย์ไปใส่นั้น เธอก็ตั้งใจให้ชายผ้าทิพย์โผล่พ้นออกมาให้ดูเห็นง่ายๆ และในที่สุดพระอนุรุทธเถระท่านก็ได้ไปเห็นผ้าทิพย์ดังกล่าวจริงๆ จากนั้น ท่านก็จับที่ชายผ้าแล้วดึงออกมาเพื่อนำกลับไปทำจีวรต่อไป
Chalini brought her celestial robe and set it in a mound of pulp located in an area where Ven. Anurudha will have to walk pass. When she placed the robe down, she made sure that the hem stuck out so it could be seen readily. And Ven. Anuruddha did notice the celestial robe. He grabbed the edge and pulled it out to take it back to make it into a robe.
因此,阇利仁天女将天布放在一堆草垛上,那里正好是阿那律长老的必经之路。她将天布放下后,为了容易被看见特意露出一角。后来,阿那律长老果真看见了天布,便将布带回去缝制成袈裟。
จากเหตุการณ์นี้เอง จึงกลายมาเป็นจุดเริ่มต้น ที่ทำให้ผู้ใจบุญในสมัยพุทธกาลเกิดความคิดที่จะทำตามแบบเทพธิดาชาลินี โดยการจงใจนำผ้าไปไว้ตามที่ต่างๆ เช่น ที่ต้นไม้, ตามกองขยะในป่า หรือตามข้างทาง เป็นต้น ซึ่งเป็นที่ที่ผู้ใจบุญคิดแล้วว่าพระภิกษุสงฆ์จะต้องเดินผ่าน โดยทำทีเป็นเหมือนว่า “ผ้านี้ทิ้งแล้ว” เมื่อมีพระภิกษุเดินไปพบท่านก็จะหยิบและนำผ้าดังกล่าวไปทำเป็นจีวร เพราะถือว่าเป็นผ้าที่ไม่มีเจ้าของ
This incident was the starting point that inspired other generous benefactors during the time of the Buddha to follow Chalini’s example of generosity. They would purposely leave fabric at various locations, such as on trees, trash piles in the woods, or the side of the road, etc. The givers believed that the monks would pass over these regions thinking, “This cloth has been abandoned.” It no longer belongs to anybody, therefore if a monk comes upon it, he will take it and use it to make a robe.
基于此因缘,后来开始有很多善信大德效仿阇利仁天女,特意将布放置在各个地方,如树上、林中的垃圾堆或马路上等等。这些地方都是比丘们的必经之路,将布放置在这些地方就好像被丢弃一样。当比丘们看见后会捡起来,带回去缝制成袈裟,因为这些都是已经没有主人的布。
ครั้นพระพุทธศาสนาแพร่หลายมากขึ้น หมอชีวกโกมารภัจ ซึ่งเป็นพุทธศาสนิกชนที่สำคัญและเคร่งครัดมากผู้หนึ่ง ท่านเป็นทั้งหมอหลวงประจำราชสำนักของพระเจ้าพิมพิสาร พระเจ้าแผ่นดินแห่งมคธรัฐ และเป็นหมอที่เคยถวายการรักษาพระพุทธเจ้าด้วย ครั้งหนึ่ง หลังจากที่รักษาอาการประชวรของพระเจ้าจัณฑปัชโชต แห่งกรุงอุชเชนี แคว้นอวันตี จนหายเป็นปกติดีแล้ว ได้รับพระราชทานรางวัลเป็นผ้าเนื้อสีทองอย่างดีสองผืน จากแคว้นกาสี ซึ่งเป็นผ้าเนื้อละเอียดมาก ซึ่งคนธรรมดาไม่มีโอกาสได้ใช้ผ้าเช่นนี้นอกจากพระเจ้าแผ่นดินเท่านั้น แต่หมอชีวกท่านคิดว่า ผ้าเนื้อดีอย่างนี้ไม่สมควรที่ตนจะใช้สอย เป็นของสมควรแก่พระบรมศาสดาหรือพระมหากษัตริย์ จึงได้น้อมนำผ้านั้นไปถวายแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า
During the period when Buddhism flourished, there was a devout Buddhist and prominent doctor by the name of Jivaka Komarabhacca. He was both a royal physician to King Bimbisara of Maghada’s royal court and a physician to the Buddha. Jivaka was given two magnificent gold fabrics from Kasi Kingdom, which are extremely fine, exquisite fabrics reserved for monarchs that ordinary people would not have access to, as a royal prize after tending to Lord Chandapajchot’s afflictions until he recovered. Jivaka believed that such exquisite fabric was more appropriate for the Buddha or the monarch and not for himself. As a result, he offered the cloth to the Blessed One.
随着佛教的发展壮大,有一位名为耆婆童子的医生,他是一位既重要又严谨的佛教徒,他不仅是频毘娑罗王的御医,还曾经医治过佛陀。有一次,他在阿般提国首都邬阇衍那治好频毘娑罗王的病后,获得国王赏赐两匹精美的金色布匹。除了国王以外,普通人一般没有机会使用这种布。耆婆童子认为自己不适合穿着这种布料,只是佛陀或国王才适合,因此决定拿这匹布去供养佛陀。
ก่อนที่จะถวายได้กราบทูลขอพรว่า “ขอให้ภิกษุรับคฤหบดีจีวรได้” และพระพุทธองค์ประทานอนุญาตให้ตามที่ขอ การที่หมอชีวกได้พิจารณาเรื่องจีวรของพระภิกษุ เนื่องจากแต่ก่อนพระภิกษุใช้สอยแต่ผ้าบังสุกุลที่เก็บมาจากกองหยากเยื่อ ไม่สามารถรับผ้าที่ชาวบ้านถวาย ท่านเห็นความลำบากของพระภิกษุสงฆ์ในเรื่องนี้ จึงกราบทูลขอ และถือได้ว่าหมอชีวกได้เป็นผู้ถวายเป็นคนแรกในพระพุทธศาสนา
Before offering it, he asked: “May the monks be permitted to accept this householder’s robe,” and the Buddha obliged. Jivaka reflected that in the past, monks had to collect cloth from mounds of pulp and couldn’t accept the cloth offered by the villagers. Jivaka recognized the challenges that monks had to face, and so made such a request. Therefore, it can be said that Jivaka was the first person to offer cloth in Buddhism.
在供养前,他恳请佛陀:希望比丘能接受在家居士供养的袈裟,而佛陀允许了这个请求。因为他看到比丘只能从垃圾堆中捡他人丢弃的布来缝制袈裟,而不能直接接受居士供养的布,非常同情比丘生活的艰辛。随后,他还恳求佛陀希望自己能成为佛门中第一个供养布的居士
การทำบุญทอดผ้าป่าถือเป็นบุญใหญ่ เป็น “มหาสังฆทาน” คือ เป็นการถวายทานที่ไม่เฉพาะเจาะจงแก่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง ซึ่งบุญที่จัดว่าเป็นสังฆทานนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า “มีอานิสงส์มากกว่าการถวายทานจำเพาะเจาะจงแด่พระพุทธองค์เสียอีก”
Offering robes is regarded as a significant merit because the offering is not made to any one particular monk. The Buddha explained that any meritorious actions classified as outstanding Sanghadana have even greater positive consequences than offering to a specific Buddha.”
供养袈裟是大功德,即大布施,没有特别指定供养给某位比丘,这是大布施之一。佛陀曾说:“这比指定供养给某位比丘的功德还大。”
นอกจากนั้น การทำบุญทอดผ้าป่า ถือเป็นบุญที่ไม่ถูกจำกัดด้วยกาล คือ สามารถทำได้ทุกฤดูกาล และที่สำคัญ วัดๆ หนึ่งจะจัดให้มีการทำบุญทอดผ้าป่าต่อปีกี่ครั้งก็ได้
In addition, the kind offering of robes is a deed not bound by time—that is, it can be conducted in any season and most importantly, a temple is free to organize the robe offering ceremony as often as it chooses.
除此之外,供养袈裟也没时间季节的限制,每个季节都可以供养。更重要的是,每个寺院每年可以举行数次供养袈裟活动。
ถ้าฟังดูแล้วก็อาจทำให้คิดว่าเราจะหาบุญนี้ทำได้แบบง่ายๆ แต่หากคิดอย่างผู้มีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลแล้ว เราจะรู้ว่าการทอดผ้าป่านั้นไม่ง่ายเลย เพราะบุญทอดผ้าป่า เป็นบุญที่มีเฉพาะในพระพุทธศาสนาเท่านั้น และยังเป็นการลดเวลา ลดความลำบากของพระภิกษุในการหาผ้ามาทำจีวร ซึ่งจะทำให้ท่านมีเวลาในการปฏิบัติภารกิจของสงฆ์ได้มาก ถือเป็นการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา และได้บุญใหญ่อีกด้วย
After listening to this, one might view that this noble deed can be completed easily. But if we look far into the future, we would recognize that offering the robe is really not simple. Because this practice is unique to Buddhism, it saves monks time and makes it easier for them to locate material to make robes. The robe offering allows monks more time to pursue their monastic responsibilities and practices of being monks. It is seen as the preservation of Buddhism and results in enormous positive consequences.
看到这里,可能有人会认为这些功德很容易修,但具足远见者深知供养一次袈裟不容易。因为供养袈裟只存在于佛门中,而且还能减少比丘缝制袈裟的时间与寻找布料的艰难,使得比丘有更多的时间精进修行。这也算是在护持佛教,必将功德无量。
อานิสงส์ของการทอดผ้าป่า
The fruits of merit from offering robes
供养袈裟的功德果报
- เป็นการสงเคราะห์พระสงฆ์ให้สะดวกด้วยปัจจัยสี่ จะทำให้ผู้ถวายเกิดมามีทรัพย์สมบัติมาก อุดมสมบูรณ์ด้วยปัจจัย 4
1. By facilitating the monks in acquiring the four requisites, benefactors will be blessed with great wealth and the basic life necessities.
1.援助僧团,令僧团四事方便,也让供养者自出生起便获得无穷的财富,四事具足。
- เป็นการช่วยเหลือทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา เพราะเมื่อพระสงฆ์ได้รับความสะดวกตามสมควรก็จะได้ เป็นกำลังสืบต่ออายุพระพุทธศาสนา
2. Benefactors are providing the monks with the energy and resources to preserve the longevity of Buddhism.
2.护持佛教,因为当僧团得到适当的四事支持,将更加便于传承与弘扬佛教。
- ได้ชื่อว่าเป็นการถวายทานแด่ท่านผู้ทรงศีล ซึ่งนับเป็นการบูชาท่านผู้ทรงศีล-บูชาท่านผู้ควรบูชา และเป็นทานที่มีคุณค่าสูง ทำให้เป็นผู้มีพร้อมไปด้วย เสื้อผ้า อาภรณ์ เมื่อถึงคราวออกบวชจะมีผู้สนับสนุน มีผ้าไตรจีวรให้การบวชเกิดขึ้นอย่างสะดวกสบาย อย่างง่ายดาย
3. By offering generosity to monks who are earnestly observing the Monastic Code of Discipline, you are honoring those worthy of honor. You will be replete with clothes and apparel. When it comes time to ordain, people will support your decision and robes will be readily available.
3.布施持戒者,即布施具足德戒的福田,供养值得供养的人,这是一种高级的布施。让布施者获得精美的布料与无穷的财富。当剃度出家时,将获得众人的支持以及容易获取袈裟。
4.เป็นการอบรมจิตใจของผู้บริจาคให้มีการเสียสละเพื่อประโยชน์ส่วนรวม คือ พระพุทธศาสนา ทำให้ประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานได้โดยง่าย หากเมื่อต้องพบเจออุปสรรคจะสามารถผ่านพ้นไปได้ด้วยดี
- In giving, it is training donors to appreciate the significance of making sacrifices for the benefit of the community, namely Buddhism. This will lead to prosperity in your work, as well as the ability to overcome challenges that arise.
4.这能够培育布施者的心,养成舍己为公的奉献精神,功德福报也将令其事业有成,障碍易除。
- เป็นการส่งเสริมความมีสามัคคีธรรมของหมู่คณะ เกิดมาในตระกูลที่ดี มีสัมมาทิฐิ มีเกียรติยศ มีชื่อเสียงที่ดีงาม
5. By supporting unity in the monastic community, you will be reborn to a good, honorable, and well-respected family with Right View.
5.利于团体的团结,将出生在高贵的家族,具足正见,声名远扬。
6.มีร่างกายที่ได้คุณลักษณะที่งดงามสมส่วน สุขภาพร่างกายแข็งแรง ไม่เจ็บป่วยจะเกิดมามีผิวพรรณงดงาม เปล่งปลั่งผ่องใส ปราศจากธุลี
- You will be endowed with lovely features, a perfectly proportioned body, good health, and clean and radiant complexion.
6.五官端正,身材匀称,身体健康,无病无灾,肤色洁白。
7.สามารถตัดบาปออกจากจิตใจกำจัดกิเลสคือความโลภความตระหนี่ถี่เหนียวให้บรรเทาเบาบาง
- Able to eliminate greed and stinginess as well as purge unwholesome thoughts and deeds from your mind.
7.远离罪恶,断除内心的贪嗔痴烦恼。
8..ทำให้มีจิตใจตั้งมั่นเป็นสมาธิและเข้าถึงธรรมได้โดยง่าย
- Have right concentration and effortlessly attain the inner Dhamma.
8.心易入定,速证法身。