วันพระ Buddhist Holy Day
วันพระ หรือ วันธรรมสวนะ หมายถึง วันประชุมของพุทธศาสนิกชนเพื่อปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนาในพระพุทธศาสนาประจำสัปดาห์ ได้แก่วันถือศีล ฟังธรรม ละชั่ว ทำดี ทำใจให้ผ่องใส โดยวันพระเป็นวันที่มีกำหนดตามปฏิทินจันทรคติ โดยมีเดือนละ 4 วัน ได้แก่ วันขึ้น 8 ค่ำ, วันขึ้น 15 ค่ำ (วันเพ็ญ), วันแรม 8 ค่ำ และวันแรม 15 ค่ำ (หากเดือนใดเป็นเดือนขาด ถือเอาวันแรม 14 ค่ำ)
Buddhist Holy Day is the day where Buddhists gather to perform virtuous activities during the week. On these days, they observe the Precepts, listen to Dhamma teachings, abstain from bad deeds, do good deeds, and purify their minds. There are four Buddhist Holy Days every month that are dictated by the lunar calendar and correspond to the new moon, full moon, and quarter moon days.
佛日
佛日又称闻法日,是指佛教徒每周在佛门中进行宗教活动的聚会日,是斋戒、闻法,修习诸恶莫作、众善奉行、自净其意的日子。根据泰国历法规定,每个月有四天佛日,即阴历上半月的第八日和第十五日(月圆日),阴历下半月的第八日和第十五日。(如果逢小月,则下半月改为第十四日)
ความเป็นมาของวันพระ
วันพระนั้นเดิมเป็นธรรมเนียมของปริพาชกอัญญเดียรถีย์ (นักบวชนอกพระพุทธศาสนา) ที่จะประชุมกันแสดงธรรมทุก ๆ วัน 8 ค่ำ 15 ค่ำ ซึ่งในสมัยต้นพุทธกาล พระพุทธเจ้ายังคงไม่ได้ทรงวางระเบียบในเรื่องนี้ไว้ ต่อมาพระเจ้าพิมพิสารได้เข้าเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และกราบทูลพระราชดำริของพระองค์ว่านักบวชศาสนาอื่นมีวันประชุมสนทนาเกี่ยวกับหลักธรรมคำสั่งสอนในศาสนาของเขา แต่ว่าพุทธศาสนายังไม่มี พระพุทธองค์จึงทรงอนุญาตให้มีการประชุมพระสงฆ์ในวัน 8 ค่ำ 15 ค่ำ และอนุญาตให้พระภิกษุสงฆ์ประชุมสนทนาและแสดงธรรมเทศนาแก่ประชาชนในวันดังกล่าว
หลังจากนั้น พุทธศาสนิกชนจึงถือเอาวันดังกล่าวเป็นวันธรรมสวนะสืบมา โดยจะเป็นวันสำคัญที่พุทธศาสนิกชนจะไปประชุมกันฟังพระธรรมเทศนาจากพระสงฆ์ที่วัด
History of the Buddhist Holy Day
It was customary for wandering ascetics to gather on quarter and half moon days to listen to the teachings. During the Buddha’s time, He had not established any rules pertaining to this matter. Later, King Bimbisara had an audience with the Buddha and informed Him that ascetics of other religions set dates to meet to discuss the tenets of their religion but Buddhism did not. Afterwards, the Buddha permitted monks to congregate on quarter and full moon days to discuss the Dhamma and deliver Dhamma teachings to the lay Buddhists. Subsequently, Buddhists acknowledged these days as Buddhist Holy Days, or important days during which people would visit the temple to listen to Dhamma lectures.
佛日的由来
佛日原本是遍行外道(外道修行者)的习俗,他们会在上下半月的第八日和第十五日聚在一起开示教义。在佛陀时代早期,佛陀尚未在这方面佛事有任何规定。后来,频婆娑罗王来拜见佛陀时建议说,其他宗教的修行者会在固定的日子聚会开示其宗教教义,可惜佛教尚未有此规定。于是借此因缘,佛陀规定上下半月的第八日和第十五日,僧众要聚集一处复习戒律,为信众讲经说法。
在那之后,佛教徒便将这些日子视为闻法之日。对佛教徒来说,佛日是一个重要的日子,大家会前往寺院听闻僧众讲经说法。
ความสำคัญของวันพระ
- ทำให้เกิดความสามัคคีเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของคณะสงฆ์ ด้วยระเบียบปฏิบัติที่หมั่นทบทวนและเตือนตนด้วยการแสดงการยอมรับในสิ่งที่ตนละเมิด เพื่อแก้ไขต่อไป
- เป็นโอกาสให้พุทธศาสนิกชนได้มาทบทวนฟังธรรม และปฏิบัติสมาธิอย่างสม่ำเสมอ ทำให้พระธรรมคำสอนไม่คลาดเคลื่อน เลือนหายและทำให้หมู่คณะจรรโลงพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบันนี้
The importance of the Buddhist Holy Day
- It encourages unity within the Sangha when they assemble to listen to the recitation of the Monastic Code of Discipline and admit any transgressions in an effort to improve.
- It gives lay Buddhists an opportunity to listen to the Dhamma teachings and practice meditation together consistently. This aids in the preservation and unaffected transmission of the Buddha’s teachings. As a result, Buddhists have been able to support and preserve Buddhism to this day.
佛日的重要性
1.令僧团和合安乐,通过定期复习修持的戒律以及省思自身的过失,进而不断改善。
2.定期给佛教徒提供闻法与禅修的机会,令佛教教义得以继续传承而不至于衰落,并有助于僧团将佛教发扬光大。
กิจกรรมของพระภิกษุและสาธุชน
ในสมัยพุทธกาลนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประชุมเหล่าภิกษุสงฆ์เพื่อทรงแสดงพระปาฏิโมกข์ ในช่วงเข้าพรรษา การประชุมสงฆ์ซึ่งเป็นสาวกของพระพุทธองค์นั้นก็ได้นัดหมายกันไปในที่ประชุม ต้องมีพระภิกษุสงฆ์รูปหนึ่งเป็นองค์สวดพระปาฏิโมกข์ พระภิกษุสงฆ์ที่ร่วมเข้าฟังพระปาฏิโมกข์ ก็จะพร้อมเพรียงกันสำรวมกาย วาจา และตั้งใจฟังจนกระทั่งสวดจบ เป็นอันเสร็จพิธี
Ceremony on a Buddhist Holy Day
During the Lent season, the Buddha would gather the monks to hear Him expound on the Patimokkha (Monastic Code of Discipline). The meetings, scheduled by the members of the Sangha, must have one monk lead the Patimokkha recitation while the congregation listens attentively together to the Patimokkha until the chanting and ceremony are complete.
僧众与信众的活动
在佛陀时代,佛陀会在入雨安居时与僧众聚集一堂,宣说诵波罗提木叉。作为佛弟子,在聚会中将由一位比丘代表诵出波罗提木叉,其他比丘则在一旁收摄身口意,专心聆听直至仪式结束。
ทางด้านศาสนพิธีของชาวบ้านนั้น พระพุทธศาสนาก็ได้กำหนดให้มีพิธีต่างๆ มีการร่วมทำบุญตักบาตร ถวายภัตตาหารแด่พระภิกษุสงฆ์ และก็สมาทานศีล (รับศีล) และฟังพระธรรมเทศนาที่วัด ตามลำดับ
The lay Buddhists would visit the temple and take part in a number of ceremonies such as offering morning alms and food to the monks, undertaking the Precepts, and listening to Dhamma sermons, respectively.
在信众方面也设有各种活动,譬如在寺院举行供钵、斋僧、持戒与闻法等活动。
ดังนั้น ทุกๆวันพระ จึงเป็นโอกาสที่พุทธศาสนิกชนจะได้มาวัดเพื่อ ละชั่ว ทำดี ทำจิตใจให้ผ่องใส ซึ่งเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา ที่แสดงออกเป็นรูปธรรมด้วยการทำทาน รักษาศีล เจริญภาวนา ร่วมกันจรรโลงคุณธรรมความดีงามเพื่อดำรงพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองสืบต่อไปตราบนานเท่านาน
Every Buddhist Holy Day is a golden opportunity for Buddhists to visit the temple in order to refrain from wrongdoings, perform good deeds, and purify the mind—this is the heart of Buddhism. These actions can be expressed in the form of giving generosity, keeping the Precepts, and meditating. Together, everyone is cultivating their virtues and ensuring that Buddhism endures and flourishes for as long as possible.
因此,每个佛日是佛教徒来寺院修习诸恶莫作,众善奉行,自净其意的机会,而这正是佛教的核心。具体表现在布施、持戒、打坐以及共同维护美好的德行,使佛教得以继续繁荣昌盛,长久住世。