ทางเดินของใจทั้งหมด ๗ ฐาน(Th En Ch)

ทางเดินของใจทั้งหมด ๗ ฐาน ต่อจากนี้ไปให้ตั้งใจให้แน่แน่ว  มุ่งตรงต่อหนทางพระนิพพานกันทุกๆคน   ให้นั่งขัดสมาธิ โดยเอาขาขวาทับขาซ้าย มือขวาทับมือซ้าย ให้นิ้วชี้ของมือข้างขวาจรดนิ้วหัวแม่มือข้างซ้าย วางไว้บนหน้าตักพอสบายๆ  หลับตาของเราเบาๆ  หลับตาเบาๆ พอสบายๆ คล้ายกับตอนที่เราใกล้จะหลับ อย่าไปบีบเปลือกตา อย่ากดลูกนัยน์ตา แล้วก็ทำใจของเราให้เบิกบาน ให้แช่มชื่น ให้สะอาดบริสุทธิ์ผ่องใส ไร้กังวลในทุกสิ่ง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอะไรก็ตาม ให้ปลด ให้ปล่อย ให้วาง ให้ทำใจว่างๆ                                                                                                                        ทีนี้เราก็สมมุติว่าภายในร่างกายของเราปราศจากอวัยวะภายใน ไม่มีมันสมอง ไม่มีปอด ตับ ม้าม ไต หัวใจ เป็นต้น   สมมุติว่าเป็นที่โล่งๆว่างๆ  เป็นปล่อง เป็นช่อง เป็นโพลง กลวงภายใน  คล้ายๆท่อแก้วท่อเพชรใสๆ  สมมุติให้เป็นปล่อง เป็นช่อง เป็นโพลง กลวงภายใน คล้ายท่อแก้ว ท่อเพชรใสๆสติ จะต้องระลึกนึกถึงสิ่งที่ครูบาอาจารย์ท่านแนะนำสั่งสอน  ถ้าของหลวงปู่วัดปากนํ้า ท่านให้กำหนดบริกรรมนิมิตเป็นดวงใสกับบริกรรมภาวนา สัมมา อะระหัง จะต้องไม่เผลอจากบริกรรมทั้งสอง  อย่างนี้เรียกว่า มีสติ แต่วิธีการกำหนดสตินั้นต้องทำอย่างสบายๆ  ตรงนี้สำคัญ…

สติกับสบาย(Th En Ch)

สติกับสบาย ต่อจากนี้ไปตั้งใจเจริญสมาธิภาวนากันนะ ให้น้อมใจตามเสียงของหลวงพ่อไปทุกๆคนนะ  ให้นั่งขัดสมาธิ โดยเอาขาขวาทับขาซ้าย มือขวาทับมือซ้าย ให้นิ้วชี้ของมือข้างขวาจรดนิ้วหัวแม่มือข้างซ้าย วางไว้บนหน้าตักพอสบายๆ หลับตาของเราเบาๆ หลับพอสบายๆ คล้ายๆ กับเรานอนหลับ อย่าไปบีบหัวตาอย่ากดลูกนัยน์ตา ขยับเนื้อขยับตัวของเราให้ดี กะคะเนให้เลือดลมในตัวเดินได้สะดวก เราจะได้ไม่ปวดไม่เมื่อย ความสบายนี้เป็นหัวใจของการปฏิบัติธรรม สติกับสบายจะต้องไปคู่กัน ไม่ว่าเราจะปฏิบัติธรรมด้วยวิธีการอย่างไร จะปฏิบัติแบบไหนก็ตาม หลักมีอยู่ว่าจะต้องให้สติกับสบายไปคู่กัน สติ จะต้องระลึกนึกถึงสิ่งที่ครูบาอาจารย์ท่านแนะนำสั่งสอน  ถ้าของหลวงปู่วัดปากนํ้า ท่านให้กำหนดบริกรรมนิมิตเป็นดวงใสกับบริกรรมภาวนา สัมมา อะระหัง จะต้องไม่เผลอจากบริกรรมทั้งสอง  อย่างนี้เรียกว่า มีสติ แต่วิธีการกำหนดสตินั้นต้องทำอย่างสบายๆ  ตรงนี้สำคัญ อย่าฟังผ่านกันนะ สติกับสบายทั้งสองจะต้องไปคู่กันตลอดเส้นทาง  ตั้งแต่เบื้องต้นจนกระทั่งถึงที่หมายปลายทาง ถ้าไปด้วยกันเมื่อไรจะทำให้ใจเราหยุดนิ่งได้ง่าย และหลังจากใจหยุดแล้วก็จะเข้าถึงดวงธรรมภายใน หลักก็มีอยู่อย่างนี้นะ เพราะฉะนั้น สติกับสบายจะต้องไปคู่กันอย่างสม่ำเสมอ  ทำอารมณ์ของเราให้สม่ำเสมอ  ด้วยใจที่ใส  ใจที่เยือกเย็น อย่านั่งแบบขุ่นมัวเร่าร้อนหรือนั่งแบบฮึดฮัดอย่างนี้ไม่ได้ผล จะต้องทำอารมณ์ให้สบาย ๆ  อารมณ์ที่สบายนั้น ของใครของมันนะ สำหรับท่านที่มาใหม่ ให้ขยับเนื้อขยับตัวกันให้ดี สำหรับท่านั่งที่กล่าวไปเบื้องต้นนั้น เป็นท่านั่งมาตรฐานของการปฏิบัติธรรม ซึ่งหลวงปู่วัดปากนํ้า ภาษีเจริญ ท่านถอดแบบมาจากผู้รู้ภายใน…