มาณพหนุ่มช่างทอง (Th Ch En)

มาณพหนุ่มช่างทอง ครั้งหนึ่ง พระโพธิสัตว์เกิดในตระกูลช่างทอง เติบโตขึ้นเป็นชายหนุ่มรูปงาม มีความเฉลียวฉลาด ฝึกฝนจนเป็นช่างทองฝีมือเยี่ยม มีชื่อเสียงเป็นที่เลื่องลือตั้งแต่วัยหนุ่ม เศรษฐีใหญ่ในเมือง ถึงกับว่าจ้างให้มาทำเครื่องประดับแก่ธิดาของตนเป็นพิเศษ เพื่อเข้าพิธีแต่งงานกับบุตรของเศรษฐีผู้มีตระกูลเสมอกัน เมื่อเศรษฐีได้เห็นลักษณะอันงามชวนหลงใหลของช่างทอง ก็เกรงว่าธิดาคนสวยของตน จะไปหลงรักช่างทองผู้มีตระกูลต่ำกว่า ไม่คู่ควรกัน เศรษฐีจึงสั่งให้คนงาน กั้นฝาผนังระหว่างคนทั้งสอง เจาะช่องเพียงให้มือและเท้าลอดไปได้เท่านั้น ธิดาเศรษฐีเกิดความสงสัย จึงลอบมองออกไปตามช่องไม้ เมื่อได้เห็นรูปอันงามของช่างทองก็หลงใหลรักใคร่ ลงมือเขียนจดหมายทิ้งลงเบื้องหน้าชายหนุ่ม ความว่า “ช่างทองผู้เป็นที่รัก หากท่านมีใจรักใคร่ในตัวเรา ขอจงมาพบเราที่ต้นไม้ใหญ่หลังบ้านในคืนวันนี้เถิด” ช่างทองอ่านจดหมายด้วยความยินดี เขารอจนเวลาค่ำลอบมานั่งรออยู่บนต้นไม้ใหญ่นั้น แต่ด้วยความตรากตรำกรำงานมาทั้งวัน จึงเกิดอาการง่วงนอน เผลอตัวเอนหลับไปกับกิ่งไม้นั่นเอง เมื่อคนในบ้านหลับกันหมดแล้ว ธิดาเศรษฐีจึงแอบจัดอาหารแล้วออกมาพบกับช่างทอง นางเห็นเขาหลับสนิท จะปลุกให้ตื่นก็เกรงต่อความเชื่อที่ว่า ผู้ใดปลุกคนอื่นให้ตื่นขึ้นจากการนอนหลับ ผู้นั้นจะได้รับบาปตกนรกนานถึงหนึ่งกัป เมื่อนางรออยู่ครู่ใหญ่ ชายหนุ่มก็ยังหลับสนิทเช่นเดิม นางได้แต่วางขันทองไว้ตรงหน้าเขาแล้วหันหลังกลับไป วันต่อมาธิดาเศรษฐีแอบทิ้งจดหมายนัดพบอีก พร้อมกับย้ำให้เขาอดทน อย่าหลับใหลเหมือนเมื่อวาน ช่างทองได้ไปรอที่เดิม แต่กลับเผลอหลับไปอีก ธิดาเศรษฐีก็ได้แต่วางอาหารไว้ให้ แล้วเดินกลับไป วันที่สามเหตุการณ์ยังเป็นเช่นเดิม ธิดาเศรษฐีเสียใจที่มิได้อยู่ใกล้ชิดกับชายคนรัก คิดปลงว่ามิได้สร้างสมบุญร่วมกันมา จึงต้องแคล้วคลาดกันเช่นนี้ ฝ่ายชายหนุ่มก็แค้นเคืองตนเองที่เผลอสติหลับไปถึงสามครั้ง เขาเดินกลับด้วยความเสียดายโอกาสยิ่งนัก เช้าวันรุ่งขึ้นเมื่อถึงกำหนดแต่งงานของธิดาเศรษฐี ช่างทองยังคงเฝ้าคิดถึงนางอย่างผูกพันไม่คลาย จึงคิดหาอุบายจัดทำเครื่องประดับอันงดงามประณีตไปถวายพระมหาอุปราช…

ประวัติท้าวสักกเทวราช มฆมาณพ (Th En Ch)

ประวัติท้าวสักกเทวราช มฆมาณพ   ในสมัยก่อนที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเราจะเสด็จอุบัติขึ้นในโลก ได้มีชายหนุ่มคนหนึ่งชื่อว่ามฆมาณพเป็นคนมีอัธยาศัยดี มีความเสียสละ เวลาไปที่ไหนก็จะทำสถานที่นั้นให้เป็นที่น่าอยู่ น่ารื่นรมย์ เมื่อใครมาขออยู่อาศัยในที่แห่งนั้น เขาก็จะเสียสละให้ด้วยความยินดีแล้วก็ไปทำสถานที่ใหม่ให้น่าอยู่อีก พอทำเสร็จก็มักจะมีคนมาขออยู่อย่างนี้เรื่อย ๆ เขาไม่ได้นึกโกรธเลยแต่กลับมองโลกในแง่ดี คิดว่า “ช่างน่าปีติใจจริง ๆ ที่คนเหล่านี้มาพักอาศัยอยู่ในที่ของเรา เราก็จะได้บุญไปด้วย” พอวันรุ่งขึ้นเขาได้ถือจอบไปที่ลานหมู่บ้านไปดายหญ้าปัดกวาดบริเวณนั้นให้เป็นี่อันน่ารื่นรมย์ ผู้คนที่สัญจรไปมาก็อยากจะมาพักผ่อนที่ตรงนั้น ครั้นฤดูหนาวมาถึง เขาได้หาฟืนมาก่อไฟให้ชาวบ้านพิงกัน พอถึงฤดูร้อนเขาได้หาน้ำดื่มมาตั้งไว้เพื่อให้ผู้คนที่เดินทางผ่านไปมาแถวนั้นได้ดื่มน้ำแก้กระหาย   ต่อมาเขาคิดว่าเราควรจะสร้างศาลาให้แก่คนเดินทางและทำหนทางให้เรียบร้อย ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาเขาก็ได้ออกจากบ้านแต่เช้าตรู่ถือจอบและมีดเที่ยวดายหญ้า ตัดกิ่งไม้ที่รก ๆ แล้วทำหนทางให้ราบเรียบ เพื่อนเดินผ่านมาเห็นเข้าก็ถามว่า “สหายเอ๋ยมาเที่ยวทำอะไรอยู่แถวนี้” มฆมาณพก็ตอบว่า “ฉันจะทำหนทางไปสวรรค์ของฉันน่ะสิ” เพื่อนได้ฟังดังนั้นก็ชื่นชมและเกิดความเลื่อมใสในเจตนาดีของเขา เมื่อเห็นดีเห็นงานด้วย จึงลงมือช่วยเหลือ วันต่อมาก็มีเพื่อนซึ่งมีความคิดตรงกันกับมฆมาณพมาช่วยงานเพิ่มมากขึ้นจาก 1 คน 2 คน 3 คน เพิ่มขึ้นไปเรื่อย ๆ จนรวมเป็น 33 คน ทุกวันพวกเขาจะพากันถือจอบ ถือมีด และอุปกรณ์ต่าง ๆ ออกจากบ้านด้วยใจที่ร่าเริง เบิกบาน แล้วก็ช่วยกันทำถนนหนทางให้ราบเรียบ…

อดีตชาติของพระมหากัปปินะ (Th En Ch)

อดีตชาติของพระมหากัปปินะ ในอดีตกาล มีหมู่บ้านช่างหูกหรือช่างทอผ้าแห่งหนึ่งอยู่ไม่ไกลจากกรุงพาราณสี ครั้งหนึ่ง มีพระปัจจเจกพุทธเจ้าประมาณ 1,000 รูป จาริกมาที่หมู่บ้านแห่งนั้นเพื่อหาที่จำพรรษาในช่วงฤดูฝน   วันนั้น ภรรยาของหัวหน้าช่างหูกไปกรุงพาราณสีด้วยกิจบางอย่าง เห็นพระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้น จึงนมัสการแล้วนิมนต์ว่า “ท่านผู้เจริญ ขอท่านทั้งหลายจงรับภัตตาหารของดิฉันในวันพรุ่งนี้”   พระปัจเจกพุทธเจ้ากล่าวว่า น้องหญิง พวกเรามีมาก. หญิงนั้นถามว่า มีประมาณเท่าไร เจ้าข้า. พระปัจเจกพุทธเจ้ากล่าวว่า มีประมาณ 1,000 รูป น้องหญิง. หญิงนั้นกล่าวว่า “ท่านผู้เจริญ พวกดิฉันมีประมาณพันครอบครัวอยู่ในหมู่บ้านนี้ ครอบครัวหนึ่งๆ จะถวายภัตตาหารแก่พระผู้เป็นเจ้ารูปหนึ่งๆ ขอท่านทั้งหลาย จงรับภัตตาหารเถิด พวกดิฉันจักทำแม้ที่อยู่แก่ท่านทั้งหลาย” พระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้นจึงรับนิมนต์   ภรรยาของหัวหน้าช่างหูกนั้นจึงไปป่าวร้องว่า “เราเห็นพระปัจเจกพุทธเจ้าประมาณ 1,000 รูป นิมนต์ไว้แล้วท่านทั้งหลายจงจัดแจงที่ฉัน จงจัดเตรียมอาหารข้าวต้มและข้าวสวย เป็นต้น แด่พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายเถิด” แล้วช่วยกันสร้างปะรำขึ้นท่ามกลางหมู่บ้าน   วันรุ่งขึ้นก็นิมนต์พระปัจเจกพุทธเจ้า 1,000 รูป ให้ฉันภัตตาหารอันประณีต ในเวลาเสร็จภัตกิจ ภรรยาของหัวหน้าช่างหูกพาหญิงทั้งหมดในหมู่บ้านนั้นไปอาราธนาพระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้นให้อยู่จำพรรษาในหมู่บ้านตลอดไตรมาสคือ 3 เดือน…

โกสิยะ เศรษฐีผู้ตระหนี่ (Th En Ch)

โกสิยะ เศรษฐีผู้ตระหนี่ เศรษฐีคนหนึ่ง ชื่อโกสิยะ อาศัยในนิคมสักกะ ไม่ไกลจากกรุงราชคฤห์ มีนิสัยตระหนี่ มีสมบัติ ๘๐โกฏิ ซึ่งสมบัติเหล่านั้นเขาไม่เคยให้ใคร ทั้งตนเอง บุตร ภรรยา สมณะและพราหมณ์ทั้งหลายก็ไม่เคยได้ประโยชน์จากทรัพย์เหล่านั้น วันหนึ่งเศรษฐีไปเข้าเฝ้าพระเจ้ามคธ ระหว่างกลับบ้าน ได้เห็นชาวบ้านคนหนึ่งกำลังกินขนมเบื้อง จึงเกิดอยากกินขนมเบื้องเป็นอย่างยิ่ง เมื่อกลับถึงบ้านคิดว่า ถ้าตนบอกว่าอยากกินขนมเบื้องก็จะมีคนอีกมากอยากกินด้วย ซึ่งจะทำให้สิ้นเปลืองวัตถุในการทำ มีงา ข้าวสาร เนยใส น้ำอ้อย เป็นอันมาก จึงตัดสินใจไม่บอกใคร เพราะกลัวเสียเงิน แต่เมื่อผ่านไปหลายวัน เขาก็ยังอยากกิน จนร่างกายผอมลง มีเส้นเอ็นปรากฏ   ภรรยาเศรษฐีเห็นความเปลี่ยนแปลงของสามีแล้ว จึงเข้าไปถามเพื่อหาสาเหตุ ท้ายที่สุดเศรษฐีจึงบอกภรรยาว่าตนอยากกินขนมเบื้อง และให้ภรรยาทอดขนมเบื้องเพียงพอเฉพาะตนคนเดียวเท่านั้น เพราะไม่ต้องการแบ่งให้ผู้อื่นแม้แต่ภรรยาของตน แล้วให้ภรรยาใช้ข้าวสารหัก จัดเตรียมน้ำนม เนยใส น้ำผึ้ง และน้ำอ้อยหน่อยหนึ่ง ขึ้นไปทอดขนมเบื้องที่ชั้นบนของปราสาท ๗ ชั้น โดยเศรษฐีได้ปิดประตูใส่ลิ่มและสลักทุกประตูตั้งแต่ประตูชั้นแรกจนถึงประตูชั้นที่ ๖ แล้วขึ้นไปยังชั้นที่ ๗ ปิดประตู เพื่อไม่ให้ใครเห็น หลังเสด็จออกจากสมาบัติ พระศาสดาทรงตรวจดูหมู่สัตว์ที่พอแนะนำในการตรัสรู้ได้ ทรงเห็นอุปนิสัยโสดาปัตติผลของเศรษฐีพร้อมทั้งภรรยา…

บุญกิริยาวัตถุ 10 (Th En Ch)

บุญกิริยาวัตถุ 10 十福业  การทำบุญในพระพุทธศาสนา สามารถทำได้ 10 วิธีด้วยกัน เรียกว่า “บุญกิริยาวัตถุ 10” ประกอบด้วย 在佛教中,可以通过十种方式修功德,称为“十福业”,包括: ทานมัย (บุญสำเร็จจากการให้ทาน) 1.布施(由布施而成就的功德) ได้แก่ การแบ่งปันสิ่งของ เงินทอง ความรู้ความสามารถ รวมถึงการให้อภัย ด้วยจิตที่บริสุทธิ์โดยไม่หวังสิ่งใดตอบแทน เป็นการลดความเห็นแก่ตัวและกิเลสในใจให้เบาบางลง ผู้ให้ย่อมได้รับความสุข เป็นที่รักของผู้อื่น และยังเป็นทางมาของโภคทรัพย์อีกด้วย 包括:分享物品、金钱、知识才能以及给予宽恕。以清净心去给予,不求任何回报。这是减少自私和内心烦恼的方式,布施者将获得快乐,受他人的爱戴,同时也是财富的来源。 สีลมัย (บุญสำเร็จจากการรักษาศีล) 2.持戒(由持戒而成就的功德) ศีล เป็นหลักปฏิบัติเพื่อให้เกิดความเรียบร้อยทางกายและวาจา ด้วยการไม่เบียดเบียนไม่ทำร้าย ทั้งคนหรือสัตว์ อีกทั้งเป็นการละเว้นจากการทำชั่ว มุ่งทำแต่ความดี เป็นการเตรียมความพร้อมทางกายและวาจา เพื่อไปสู่การปฏิบัติธรรมขั้นสูงต่อไป 持戒是一种修行准则,目的为了让身业和口业清净有序。包括:不伤害他人或动物,诸恶莫作,众善奉行。持戒不仅能规范身体和语言行为,也是为了更高层次的修行做准备。 ภาวนามัย (บุญสำเร็จจากการเจริญภาวนา) 3.禅修(由禅修而成就的功德) การทำใจให้สงบนิ่ง เช่น การนั่งวิปัสสนา ทำสมาธิ เพื่อพัฒนาจิตใจและปัญญา การสวดมนต์ก็ถือว่าเป็นภาวนามัยเช่นกัน ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจากภายใน จากใจที่สกปรก มืดมัว เร่าร้อน สู่ใจที่สะอาด สว่าง และสงบในที่สุด 通过修习内观或禅定的方式让心平静,目的是开发心智和智慧,诵经念佛也属于禅修。这些修行能带来内在的转变,心将从浑浊、黑暗、烦躁转变为清净、光明、宁静。…

อุบาสก 5 คน (Th En Ch)

อุบาสก 5 คน ครั้งหนึ่งในสมัยพุทธกาล พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงธรรม มีอุบาสกอยู่ ๕ ท่านมาฟังธรรม พระอานนท์สังเกตว่าขณะถวายงานพัดอยู่ใกล้กับพระพุทธเจ้า เมื่อพระบรมศาสดาแสดงธรรม อุบาสกคนหนึ่งนั่งหลับ คนที่สองเอามือเขย่าต้นไม้ คนที่สามเอาน้ำเขี่ยไชดิน คนที่สี่แหงนหน้าดูดวงดาวบนท้องฟ้า มีแต่คนที่ห้าที่ตั้งใจฟังธรรม ที่สุดแห่งพระธรรมเทศนามีอุบาสกคนที่ห้าเท่านั้นที่มีดวงตาเห็นธรรม นอกนั้นไม่ได้บรรลุธรรมใด ๆ หลังจากคนทั้งห้ากลับไปแล้ว พระอานนท์ทูลถามพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า “การแสดงธรรมของพระองค์นั้น ไพเราะในเบื้องต้นท่ามกลางและเบื้องปลาย แต่ธรรมะของพระองค์นั้นไม่สามารถเข้าไปในใจของอุบาสกทั้ง ๕ ท่านได้ มีแต่อุบาสกคนที่ ๕ ตั้งใจฟังธรรม” พระองค์จึงตรัสตอบว่า “อุบาสกที่นั่งหลับอดีต เคยเกิดเป็นงูมาหลายร้อยชาติ  งูมีธรรมชาติก็คือเมื่อกินอิ่มแล้วมันง่วง ไปไหนไม่ไหว เพราะว่าอาหารที่อยู่ในท้องมันมันหนัก อิ่มแล้วก็นอน นิสัยของความเป็นงูยังติดตามมาแม้เกิดเป็นมนุษย์ ส่วนคนที่สองนั้นที่เขย่าต้นไม้เพราะในอดีตเกิดเป็นลิงมาหลายร้อยชาติธรรมชาติของลิงต้องอยู่กับต้นไม้เป็นธรรมดา แล้วการเขย่าต้นไม้ก็เป็นนิสัยของลิงที่ติดตัวมาแม้เกิดเป็นคนแล้ว ส่วนคนที่สามนั้นฟังธรรมก็เอาน้ำเขี่ยดินไปใช้ดินไปเรื่อย พระองค์ก็ตรัสว่าอุบาสกคนที่สามนี้ในอดีตเคยเกิดเป็นไส้เดือนมาหลายร้อยชาติ ไส้เดือนก็ใช้ชอนดินไปเรื่อย เมื่อเกิดมาเป็นมนุษย์แล้ว อัธยาศัยของความเป็นไส้เดือนก็ยังติดตาม ส่วนคนที่สี่ที่แหงนหน้ามองดูท้องฟ้าเพราะในอดีตเคยเป็นหมอดูฤกษ์ยามทำนายทายทักโดยอาศัยดวงดาวบนท้องฟ้ามาหลายร้อยชาติ นิสัยเดิม ๆ จากการเป็นหมอดูก็ติดตามในชาตินี้ ส่วนคนสุดท้ายที่มีดวงตาเห็นธรรมนั้น  ในอดีตเคยเกิดเป็นพราหมณ์มีการศึกษา ศึกษาจบไตรเพทมาหลายร้อยชาติ มีนิสัยรักการศึกษา ซึ่งนิสัยนี้ติดตัวมาทำให้ตั้งใจฟังธรรมจนได้บรรลุธรรม   五位优婆塞 在佛陀时代,有一次佛陀在说法时,有五位优婆塞前来听法。阿难尊者在为佛陀扇扇子时注意到:…

วิธีทบทวนบุญของตัวเอง (Th En Ch)

วิธีทบทวนบุญของตัวเอง “How to Reflect on Your Own Merit “如何复习自己的功德   วิธีที่จะระลึกนึกถึงบุญ หรือทบทวนบุญ ให้บังเกิดขึ้นกับเรานะ เรามีตัวตั้ง มีบารมี 10 ทัศ มีบุญกิริยาวัตถุ 10 อย่างนี้นะ เป็นตัวเทียบเคียง แล้วเราก็เอาสิ่งที่เรากระทำ เช่นทำด้วยตัวเอง อันนี้เข้าข้อไหน ไปชวนคนอื่นมาทำด้วย เข้าอยู่ในข้อไหน แล้วเราจะปลื้มนะ Here’s how to recall and reflect on the merit you’ve accumulated. We have guidelines – the 10 Perfections (Paramis) and 10 Meritorious Actions as references. We can gauge…

เส้นทางการสร้างบารมีของพระโคดมพุทธเจ้า (Th Ch)

เส้นทางการสร้างบารมีของพระโคดมพุทธเจ้าในอดีต 佛陀在过去世修波罗蜜之道 ภพชาติแรกที่ตั้งความปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้า 初次发愿成佛 เกิดเป็นชายหนุ่มยากจน 转世为贫苦的年轻人 ชายหนุ่มยากจน ทำงานรับจ้างบนเรื่อ พาแม่ไปด้วย วันหนึ่งเรือล่ม ทุกคนต่างพยายามเอาตัวรอด 一位出身贫苦的年轻人带着母亲在一艘船上做雇工。有一天,船突然沉没,船上所有的人都在努力求生。 ชายหนุ่มเห็นผู้คนเหล่านั้นประสบทุกข์ในชีวิตอย่างมากจึงเกิดมหาเมตตา ตั้งความปรารถนาขณะที่ตนเองก็ประสบทุกข์อยู่ด้วยว่า“ในอนาคตกาล หากเราตรัสรู้แล้วจะให้ผู้อื่นตรัสรู้ด้วย เราพ้นแล้วจะให้ผู้อื่นพ้นด้วย เราข้ามได้แล้วจะให้ผู้อื่นข้ามได้ด้วย” 这位年轻人见众人遭受苦难,顿时心生悲悯,当下发愿道:“若我在未来能够觉悟,必将普度众生使之觉悟,我脱离后,也将助众生脱离,我解脱后,也将助众生解脱。” ———————————————————— ภพชาติแรกเปล่งวาจา ให้ผู้อื่นรู้ว่าตนจะเป็นพระพุทธเจ้า 初次向他人宣示自己未来要成佛 เกิดเป็นพรหมกุมาร 转世为梵天童子 พรหมกุมาร ออกบวชและเข้าป่า เป็นอาจารย์มีศิษย์500คน วันหนึ่งขณะที่ทุกคนออกหาผลไม้ มองลงไปที่เชิงเขาเห็นแม่เสือพร้อมกับลูกน้อย แม่เสือหิวมาก 梵天童子出家后,进入深山修行,门下有500名弟子。有一天,大家一起外出采集水果,他俯瞰山谷看见一头非常饥饿的母虎和幼崽。 พระโพธิสัตว์เห็นแล้วก็รู้ว่าแม่เสือนั้นจะกินลูก พลันคิดขึ้นว่า “บัดนี้ เราจักให้ร่างกายของเรากับทั้งชีวิตนี้เป็นทานแก่เเม่เสือตัวนั้น” 梵天童子看见后知道母虎要吃自己的幼崽,突然心生一念:不如将自己这副身躯布施给母虎! แล้วได้ตั้งจิตอธิษฐานว่า “ด้วยอานุภาพแห่งบุญที่ข้าพเจ้าได้ทำในบัดนี้ ขอให้ข้าพเจ้าได้ตรัสรู้ธรรมเป็นเครื่องพ้นจากทะเลแห่งทุกข์ในอนาคต ขอให้ข้าพเจ้าได้ช่วย สรรพสัตว์ให้หลุดพ้นจากวัฏสงสาร และได้เปล่งวาจาว่า ”ข้าแต่ทวยเทพทั้งหลาย ผู้สถิตอยู่ ณ ทั่วทุกแห่งหน ขออัญเชิญมาประชุมรวมกัน ณ สถานที่แห่งนี้ เพื่อเป็นพยานแห่งการตรัสรู้ธรรมของข้าพเจ้าในภายภาคหน้าด้วยเถิด” จากนั้นพระโพธิสัตว์ก็ทิ้งตัวลงจากยอดเขา เเม่เสือเห็นร่างพระโพธิสัตว์ที่ตกลงบนพื้นแล้ว ก็กระโจนเข้ามากินร่างที่บริจาคเป็นทาน ของท่าน   ส่วนพระโพธิสัตว์ผู้ละโลกแล้วก็ได้ไปบังเกิดในเทวโลกด้วยกุศลกรรมนั้นเอง…

ธรรมะให้พี่เลี้ยงเล่าตอนเข้าแถว (Th Ch)

学会谅解别人 当有人做了令我们不满意的事,或者曾经和对方发生摩擦,事后两三年我们仍耿耿于怀,不愿意原谅对方。当见到对方时内心依然愤愤不平,将对方视为囚禁在自己内心的囚犯。 因此,当我们内心住着许多囚犯,就会导致思绪紊乱。在打坐时,这些囚就会一个接一个地冒出来,而这都是自己一手造成的。 จงให้อภัยเพื่อปล่อยนักโทษในใจ เวลาใครทำอะไรให้เราไม่พอใจในบางเรื่อง หรือกระทบกระทั่งกับใครแล้ว ผ่านมา ๓ ปี ๕ ปี แล้วเราก็ยังจำ ยังไม่ให้อภัยเขา พอเจอหน้าทีไรแล้วอารมณ์กรุ่นขึ้นมาทุกที นั่นแหละคือ “เราทำให้คนๆ นั้นเป็นนักโทษขังเอาไว้ในใจเรา” เพราะฉะนั้นในใจเราจึงมีแต่นักโทษรกๆ อยู่ในนั้นเยอะเลย แล้วก็ทำให้จัดระเบียบความคิดได้ยาก เมื่อจัดระเบียบความคิดได้ยาก มันก็มาปรากฏตอนนั่งสมาธิ เดี๋ยวคนโน้นก็ผุด เดี๋ยวคนนี่ก็ผุดขึ้นมา นั่นแหละนักโทษที่เราขังลืมผุดขึ้นมาครับ จำไว้อาการนี้ ————————————— 利人利己 ———————-(施命大师) 做任何事情,若损人不利己就不要做,若损人利己也不要做,或者损己利人也不要做,这些都是百害而无一利。但如果所做之事利人利己,那就做吧,因为那是善行。 เย็นเขาเย็นเรานั้นดีแน่ ถ้าทำสิ่งใดแล้ว ร้อนเขา ร้อนเรา ก็อย่าทำ ร้อนเขาเย็นเรา ก็อย่าทำ หรือเย็นเขาร้อนเราก็อย่าทำ สิ่งเหล่านี้เป็นความชั่วทั้งนั้น แต่ว่าถ้าทำแล้วเย็นทั้งเขาเย็นทั้งเรา จงทำเถิดเพราะเป็นความดี ————————————–  顶礼是一种表示尊敬的行为 ———————-(施命大师) 顶礼是一种表示尊敬的行为,说明我们真心敬重对方。期望通过顶礼的方式表示尊重,然后尝试学习对方的善举,随对方一起行善。 若从小不会顶礼,长大后容易固持己见和自命清高,忽视别人的优点,眼里只有别人的缺点,总是捉着别人的错误不放。如今,我们经常看见人与人之间总是试图挑对方的毛病,学生和老师相互挑毛病,长辈和晚辈相互挑毛病,同事之间相互挑毛病,却很少提及对方的优点,就是因为看不见。如果形成一种不良风气,久而久之社会道德败坏的现象会越来越严重。因此,人与人之间要学会相互尊重。 การกราบการไหว้ เป็นการแสดงความเคารพ เป็นเครื่องหมายแสดงว่า เราตระหนักในความดีของคนๆ นั้น หรือสิ่งนั้นมากจริงๆ จนนิ่งเฉยอยู่ไม่ได้ ต้องเข้าไปแสดงอาการเคารพคือกราบไหว้ จากนั้นก็พยายามเรียนรู้…

ผ้าสีสุดท้าย (Th Ch)

ชีวิตนักบวช 出家人的生活 ชีวิตของนักบวช ผู้ครองผ้ากาสาวพัสตร์ เป็นชีวิตที่ประเสริฐ เป็นชีวิตที่มีคุณค่ายิ่งต่อมวลมนุษยชาติ เพราะต้องใช้กำลังใจ และความเสียสละอย่างมาก ที่ต้องละทิ้งความสะดวกสบายในทางโลก มาฝึกฝนอบรมกาย วาจา ใจ ศึกษาพระธรรมคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อให้เข้าถึงพระรัตนตรัยภายใน ซึ่งเป็นที่พื่งที่ระลึกอันสูงสุดแล้วประพฤติปฏิบัติตนให้เป็นแบบอย่างของชาวโลก เพื่อนำพาสรรพสัตว์ทั้งหลายให้ค้นหาความจริงของชีวิตและพ้นภัยในวัฏสงสาร 身披袈裟的出家人,他们的生活是一种崇高的生活,对世人具有深远的意义。因为他们不仅要有坚定的意志,付出巨大的牺牲,还要放弃世俗舒适的生活,入佛门训练身、口、意,学习佛陀的教法,以证得内在三宝。进而以身作则,为世人树立榜样,带领众生寻找生命的真谛,脱离生死轮回的危险。 ———————— เครื่องเตือนสติของพระภิกษุ 时刻提醒比丘 ผ้าไตรจีวรเป็นเครื่องป้องกันความน่าละอาย ปกป้องความร้อน ความหนาว ปกป้องแมลงและสัตว์มีพิษ ทั้งยังเป็นองค์ประกอบสำคัญ ที่ทำให้ผู้บวชสําเร็จความเป็นพระภิกษุตามพระธรรมวินัย ตราบที่ผ้าไตรจีวรยังห่อหุ้มกาย ย่อมเป็นเครื่องเตือนสติให้พระภิกษุสามเณร ระลึกถึงความเป็นสมณะ เป็นสาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นสัญลักษณ์ของการดำรงอยู่ของพระพุทธศาสนา และการบำเพ็ญบุญกุศลของสาธุชนทั้งหลาย เป็นแบบอย่างการดำเนินชีวิตอันสูงสุด เป็นผ้าชุดสุดท้ายก่อนหลุดพ้นจากวัฏสงสาร 袈裟不仅是为了蔽体防止羞耻,抵御严寒和炎热,防御昆虫和有毒的动物,也是依律受戒成为比丘后的重要资具。 比丘和沙弥只要身披袈裟,就要时刻提醒自己是一位出家人,是佛陀的弟子,是佛教住世的象征。同时既是信众修习功德和崇高生活的典范,也是解脱轮回前的最后一身衣服。 ———————————- ชีวิตที่ประเสริฐที่สุด 最崇高的生活 ชีวิตนักบวช เป็นชีวิตที่ประเสริฐที่สุด วิเศษที่สุด ถูกต้องที่สุดไม่มีชีวิตใดจะเสมอเหมือนไต้เลย ดังจะเห็นไต้จากบัณฑิต นักปราชญ์ทั้งหลายในกาลก่อน ไม่ว่าจะเป็นพระราชา มหากษัตริย์ เศรษฐี มหาเศรษฐี ทุกชนชั้น ต่างละทิ้งความสะดวก สบายทางโลก มาครองเพศสมณะ ผ้าชุดสุดท้าย สีสุดท้าย…