พระวังคีสเถระ (Th Ch En)

พระวังคีสเถระ เอตทัคคะในทางผู้มีปฏิภาณ คือ ความสามารถในการผูกบทกวีคาถา พระวังคีสะ เกิดในตระกูลพราหมณ์ นครสาวัตถี ได้รับการศึกษาจบไตรเพท จนมี ความชำนาญเป็นที่พอใจของอาจารย์ จึงให้เรียนมนต์พิเศษอีกอย่างหนึ่งชื่อว่า “ฉวสีสมนต์” ซึ่งเป็นมนต์ เครื่องพิสูจน์ศีรษะซากศพมนุษย์ แม้จะตายไปแล้วถึง ๓๐ ปี โดยใช้นิ้วเคาะ หรือดีดที่หัวของศพหรือกะโหลก ก็จะรู้ว่าเจ้าของศีรษะ หรือกะโหลกนั้น ตายแล้วไปเกิดเป็นอะไร เกิดที่ ไหน ท่านมีความเชี่ยวชาญในมนต์นี้มาก จึงได้อาศัยมนต์นี้เป็นเครื่องเลี้ยงชีวิต และเริ่มมีชื่อ เสียงเลื่องลือมากขึ้น ต่อมา เขาได้ตั้งเป็นคณะมีผู้ร่วมงานทำกันเป็นระบบ มีการโฆษณาชักชวนให้คนมาใช้บริการ และตระเวนทั่วไปตามเมืองต่าง ๆ ด้วยวิธีการอย่างนี้ ประชาชนได้นำหัวกะโหลก ของญาติที่ตายไปแล้ว มาให้พิสูจน์กันมากมาย ชาวคณะของวังคีสะ ได้รับสิ่งตอบแทนมากขึ้น ซึ่งมีทั้งสิ่งของ อาหาร และเงินจำนวนมาก ทำให้มีฐานะร่ำรวยขึ้น พวกเขาได้ท่องเที่ยวไปตามเมืองต่าง ๆ แล้ว ย้อนกลับมายังเมืองสาวัตถี พักอยู่ในที่ไม่ไกล จากประตูพระเชตะวันมหาวิหารมากนัก ได้เห็นประชาชนถือดอกไม้ และ เครื่องสักการะ ไปยังวัดพระเชตวัน จึงถามว่า “ท่านทั้งหลายจะไปไหนกัน?”…

มหาทุคตะ (Th Ch En)

มหาทุคตะ ในยุคพระกัสสปพุทธเจ้า มีบัณฑิตผู้หนึ่งนิมนต์พระกัสสปพุทธเจ้าและพระภิกษุ 20,000 รูป เพื่อให้ไปฉันภัตตาหารในวันรุ่งขึ้น เมื่อพระพุทธองค์รับนิมนต์แล้วเขาได้เข้าไปในหมู่บ้านแล้วเดินบอกบุญให้ชาวบ้านช่วยกันรับเลี้ยงพระตามกำลังของตน “บางคนก็รับ 10 รูป, บางคนรับ 20 รูป, บางคนรับ 100 รูป, บางคนรับ 500 รูป ฯลฯ” เขาจดไว้ในบัญชีทั้งหมด ในสมัยนั้นมีชายคนหนึ่งชื่อว่า “มหาทุคตะ” เป็นคนยากจนที่สุดในเมืองนั้น บัณฑิตนั้นบอกเขาว่า “เพื่อนมหาทุคตะ ข้าพเจ้าได้นิมนต์ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธานเพื่อฉันในวันพรุ่งนี้ ชาวเมืองจักถวายทานกัน ท่านจักเลี้ยงภิกษุสักกี่รูป” มหาทุคตะกล่าวว่า “แม้ข้าวสารเพื่อทำข้าวต้มพรุ่งนี้ของผมยังไม่มี แล้วผมจะเลี้ยงพระได้อย่างไร”  บัณฑิตนั้นกล่าวว่า “เพื่อนมหาทุคตะ คนจำนวนมากในเมืองนี้บริโภคอาหารอย่างดี นุ่งผ้าอย่างดี ส่วนท่านทำงานรับจ้างตลอดวันยังไม่ได้อาหารแม้พออิ่มท้อง ท่านยังไม่รู้สึกหรือว่า ‘เพราะตนไม่ได้ทำบุญอะไรๆ ไว้ในอดีต” มหาทุคตะตอบว่า ผมทราบ. บัณฑิตนั้นกล่าวต่อว่า เมื่อเช่นนั้น ทำไมบัดนี้ท่านจึงไม่ทำบุญเล่า ท่านยังเป็นหนุ่ม มีเรี่ยวแรง ทำงานจ้างแล้วให้ทานตามกำลังจะไม่ควรหรือ ? มหาทุคตะสลดใจแล้วพูดว่า “คุณ จงลงบัญชีภิกษุให้ผมสัก 1 รูป, ผมจะทำงานจ้างสักอย่างแล้วจักถวายภัตตาหารแก่ภิกษุรูปหนึ่ง”…

กุมารกัสสปะ (Th Ch En)

กุมารกัสสปะ  เอตทัคคะในด้าน ผู้กล่าวธรรมได้อย่างวิจิตร บุรพกรรมในสมัยพระปทุมุตตระพุทธเจ้า ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ปทุมุตตระ ท่านเกิดเป็นบุตรเศรษฐี ในพระนครหงสาวดี วันหนึ่งท่านได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าเพื่อฟังพระธรรมเทศนา ได้ยืนฟังธรรมอยู่ท้ายหมู่พุทธบริษัท ได้แลเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสถาปนาภิกษุรูปหนึ่ง ไว้ในตำแหน่งภิกษุผู้เลิศ แห่งภิกษุผู้กล่าวธรรมได้ วิจิตร ท่านก็ปรารถนาจะได้อยู่ในตำแหน่งเช่นนั้นบ้างในสมัยพระพุทธเจ้าองค์ใดองค์หนึ่งในอนาคต จึงได้นิมนต์พระตถาคตแล้ว ประดับประดามณฑปให้สว่างไสวด้วยรัตนะนานาชนิด ด้วยผ้าอันย้อมด้วยสีต่าง ๆ ถึง ๗ วัน แล้วเอาดอกไม้ที่สวยงามต่าง ๆ ชนิดบูชา แล้วแสดงความปรารถนาในตำแหน่งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพิจารณาแล้วเห็นว่าความปรารถนาของเขาหาอันตรายมิได้ จึงได้ทรงพยากรณ์ดังนี้ “ในกัปที่แสนแต่ภัทรกัปนี้ พระศาสดามีนามว่าโคดม ซึ่งสมภพในวงศ์พระเจ้าโอกากราช จักเสด็จอุบัติขึ้นในโลก ผู้มีจักเป็นธรรมทายาทของพระศาสดาพระองค์นั้น จักได้เป็นสาวกของพระศาสดามีนามว่า กุมารกัสสปะ เพราะอำนาจดอกไม้ และผ้าอันวิจิตรกับรัตนะ เขาจักถึงความเป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย ผู้กล่าวธรรมกถาอันวิจิตร” จากนั้นเขากระทำกรรมอันเป็นกุศลอยู่เป็นนิจ ครั้นสิ้นชีวิตแล้วก็ท่องเที่ยวอยู่ในภูมิเทวดาและภูมิมนุษย์ทั้งหลาย บุรพกรรมในสมัยพระกัสสปพุทธเจ้า ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่ากัสสปะ เขาได้บังเกิดในตระกูลแห่งหนึ่ง ได้ออกบวชหลังจากที่พระผู้มีพระภาคเจ้าปรินิพพานแล้ว ในเวลาต่อมาเมื่อพระศาสนาใกล้จะเสื่อมสิ้นลง เขาและภิกษุอีก ๖ รูป มองเห็นความเสื่อมในการประพฤติของบริษัท ๔ ก็พากันสังเวชสลดใจ คิดว่า ตราบใดที่พระศาสนายังไม่เสื่อมสิ้นไป พวกเราจงเป็นที่พึ่งแก่ตนเองเถิด…

เรื่องชน 3 กลุ่ม (Th Ch En)

เรื่องชน 3 กลุ่ม ทำกรรมไม่ดีไว้แต่อดีตชาติ และมาเสวยผลกรรมในปัจจุบัน เรื่องนี้เป็น กฎแห่งกรรม ที่ใครไม่สามารถหลบหลีกได้ ในมิติ อปราปริยเวทนียกรรม(กรรมให้ผลในภพต่อมา) เป็นเรื่องเกิดขึ้นเมื่อคราวที่พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตะวัน ทรงปรารภชน 3 คน ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า อนฺตลิกฺเข น สมุทฺทมชฺเฌ เป็นต้น เรื่องมีอยู่ว่า มีภิกษุ 3 กลุ่มมีประสบการณ์ไปพบเห็นที่แตกต่างกัน คือ ภิกษุกลุ่มที่หนึ่งจะเดินทางมาเข้าเฝ้าพระศาสดา ในระหว่างทางได้ไปแวะพักอยู่ที่หมู่บ้านแห่งหนึ่ง ขณะที่พวกชาวบ้านกำลังตระเตรียมปรุงอาหารบิณฑบาตถวายพระสงฆ์อยู่นั้น มีบ้านหลังหนึ่งเกิดไฟไหม้ และมีเสวียนไฟ (ลักษณะเป็นวงกลม) ปลิวขึ้นสู่ท้องฟ้า และมีอีกาตัวหนึ่งบินสอดคอเข้าไปในวงเสวียนไฟตกลงมาตายที่กลางหมู่บ้าน ภิกษุทั้งหลายเห็นอีกาบินสอดคอเข้าไปในเสวียนตกลงมาตายเช่นนั้น ก็กล่าวว่า จะมีก็แต่พระศาสดาเท่านั้นที่จะทรงทราบกรรมชั่วที่ส่งผลให้อีกาตัวนี้ต้องมาประสบชะตากรรมเสียชีวิตอย่างสยดสยองครั้งนี้ ภิกษุกลุ่มที่สอง โดยสารเรือจะไปเฝ้าพระศาสดา เมื่อเรือลำนั้นเดินทางมาถึงกลางมหาสมุทร เกิดการหยุดนิ่งอยู่กับที่ พวกผู้โดยสารมากับเรือต่างปรึกษาหารือกันถึงสาเหตุที่ทำให้เรือหยุด เห็นว่าในเรือน่าจะมีคนกาลกัณณี จึงได้ทำสลากแจกให้แต่ละคนจับเพื่อค้นหาคนกัณณีคนนั้น ปรากฏว่าสลากคนกาลกัณณีนั้น ภรรยาของนายเรือจับได้ถึงสามครั้ง นายเรือจึงกล่าวขึ้นว่า คนทั้งหลายจะมาตายเพราะหญิงกาลกัญณีคนนี้ไม่ได้ จึงจับภรรยาของนายเรือ ใช้กระสอบทรายมัดที่คอแล้วผลักตัวลงไปในน้ำทะเล เมื่อหญิงภรรยาของนายเรือถูกจับถ่วงน้ำไปแล้ว เรือก็สามารถเคลื่อนตัวได้อย่างปาฏิหาริย์ เมื่อภิกษุเหล่านั้นเดินทางถึงจุดหมายปลายทางแล้ว ก็ขึ้นฝั่งจะเดินทางต่อไปเฝ้าพระศาสดา พระกลุ่มนี้ตั้งใจว่าจะทูลถามว่า หญิงผู้นี้ทำกรรมชั่วอะไรไว้…

มหาทุคตะ (Th Ch En)

มหาทุคตะ ในยุคพระกัสสปพุทธเจ้า มีบัณฑิตผู้หนึ่งนิมนต์พระกัสสปพุทธเจ้าและพระภิกษุ 20,000 รูป เพื่อให้ไปฉันภัตตาหารในวันรุ่งขึ้น เมื่อพระพุทธองค์รับนิมนต์แล้วเขาได้เข้าไปในหมู่บ้านแล้วเดินบอกบุญให้ชาวบ้านช่วยกันรับเลี้ยงพระตามกำลังของตน “บางคนก็รับ 10 รูป, บางคนรับ 20 รูป, บางคนรับ 100 รูป, บางคนรับ 500 รูป ฯลฯ” เขาจดไว้ในบัญชีทั้งหมด ในสมัยนั้นมีชายคนหนึ่งชื่อว่า “มหาทุคตะ” เป็นคนยากจนที่สุดในเมืองนั้น บัณฑิตนั้นบอกเขาว่า “เพื่อนมหาทุคตะ ข้าพเจ้าได้นิมนต์ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธานเพื่อฉันในวันพรุ่งนี้ ชาวเมืองจักถวายทานกัน ท่านจักเลี้ยงภิกษุสักกี่รูป” มหาทุคตะกล่าวว่า “แม้ข้าวสารเพื่อทำข้าวต้มพรุ่งนี้ของผมยังไม่มี แล้วผมจะเลี้ยงพระได้อย่างไร”  บัณฑิตนั้นกล่าวว่า “เพื่อนมหาทุคตะ คนจำนวนมากในเมืองนี้บริโภคอาหารอย่างดี นุ่งผ้าอย่างดี ส่วนท่านทำงานรับจ้างตลอดวันยังไม่ได้อาหารแม้พออิ่มท้อง ท่านยังไม่รู้สึกหรือว่า ‘เพราะตนไม่ได้ทำบุญอะไรๆ ไว้ในอดีต” มหาทุคตะตอบว่า ผมทราบ. บัณฑิตนั้นกล่าวต่อว่า เมื่อเช่นนั้น ทำไมบัดนี้ท่านจึงไม่ทำบุญเล่า ท่านยังเป็นหนุ่ม มีเรี่ยวแรง ทำงานจ้างแล้วให้ทานตามกำลังจะไม่ควรหรือ ? มหาทุคตะสลดใจแล้วพูดว่า “คุณ จงลงบัญชีภิกษุให้ผมสัก 1 รูป, ผมจะทำงานจ้างสักอย่างแล้วจักถวายภัตตาหารแก่ภิกษุรูปหนึ่ง”…

สุเมธดาบส (Th Ch En)

สุเมธดาบสได้รับพยากรณ์ จะได้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต ในพระชาติที่พระองค์ ได้ไปบังเกิดเป็นสุเมธดาบส และได้รับพุทธพยากรณ์จากพระทีปังกรสัมมาสัมพุทธเจ้า เรื่องก็มีอยู่ว่า…ในพระชาตินั้น พระองค์ได้ไปบังเกิดอยู่ในตระกูลพราหมณ์ที่มีฐานะร่ำรวยเป็นอย่างมาก เป็นสุขุมาลชาติ นอกจากจะร่ำรวยแล้ว พระองค์ยังเป็นบุคคลผู้คงแก่เรียน กล่าวคือ เรียนจบศาสตร์ต่างๆหลายแขนง เมื่อโตเป็นหนุ่ม บิดามารดาของพระองค์ก็ได้ถึงแก่กรรม พระองค์จึงได้รับมรดกทั้งหมดที่บิดาและมารดาของพระองค์ได้สั่งสมมาตลอดเจ็ดชั่วโคตร ซึ่งถือเป็นจำนวนเงินหลายร้อยโกฏิ หลังจากที่พระองค์ได้รับมรดกมาแล้ว พระองค์ได้มีความคิดว่า “คนในตระกูลของเราสั่งสมทรัพย์ไว้มากมาย แต่เมื่อตายไปแล้ว…ทรัพย์แม้กหาปณะหนึ่งก็เอาติดตัวไปไม่ได้ เราควรกระทำเหตุให้ทรัพย์นี้ติดตัวเราข้ามภพข้ามชาติไปได้” พร้อมกันนั้น พระองค์ก็ได้เห็นการเกิด การแก่ การเจ็บ และการตาย ว่ามันเป็นทุกข์แสนสาหัส พระองค์จึงมีความปรารถนาที่จะออกไปจากภพ กล่าวคือ เลิกการเวียนเกิดเวียนตายเสียที จากนั้นพระองค์ก็ได้คิดต่ออีกว่า “เมื่อทุกข์มี…สุขก็ต้องมีฉันใด เมื่อมีภพ…ก็ต้องมีทางออกจากภพได้ฉันนั้น” ดังนั้น พระองค์จึงตัดสินใจสละทรัพย์สมบัติทั้งหมดออกบวชเป็นดาบสหรือฤษี เมื่อออกบวชเป็นดาบสแล้ว พระองค์ก็ตั้งใจบำเพ็ญเพียร จนสามารถบรรลุอภิญญา 5 สมาบัติ 8 และมีความสุขอยู่ในฌานสมาบัติที่พระองค์ได้เข้าถึง และในกาลนั้นเอง…ได้มีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้นกับพระองค์ ในกาลนั้นเอง…พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่า “ทีปังกร” พร้อมกับเหล่าพระอรหันต์ขีณาสพ ได้เสด็จมาที่รัมมนคร และเสด็จประทับอยู่ ณ สุทัสสนมหาวิหาร เมื่อชาวเมืองทราบข่าว ต่างก็ดีอกดีใจที่พระพุทธองค์พร้อมกับเหล่าพระอรหันต์ขีณาสพ ได้เสด็จเดินทางผ่านมาที่เมืองของพวกตน ด้วยเหตุนี้…

พระเถระโปรดเจ้าปายาสิให้พ้นจากมิจฉาทิฏฐิ

พระเถระโปรดเจ้าปายาสิให้พ้นจากมิจฉาทิฏฐิ เรื่องที่พระเถระทรมานเจ้าปายาสิ ปรากฏอยู่ในปายาสิราชัญญสูตร ซึ่งเป็นพระสูตรที่มีความสำคัญอีกสูตรหนึ่งเกี่ยวกับ ความเห็นผิดว่า ชาติหน้าไม่มี ผลบุญบาปกรรมไม่มี ฯ เป็นพระสูตรที่พระเถระใช้วิธีแต่งนิทานอุปมาอุปไมยเปรียบเทียบให้เข้าใจ ซึ่งวิธีดังกล่าวได้เป็นแบบอย่างให้แก่พระอรรถกถาจารย์ในรุ่นหลัง ได้นำแบบอย่างมาใช้ขยายความในพระสูตรในกาลต่อมา เช่น ในมิลินท์ปัญหา เป็นต้นฯ พระสูตรนี้ไม่ค่อยมีใครรู้จักชื่อสูตรเท่าไร แต่มีความสำคัญน่าศึกษาเป็นอย่างมาก ซึ่งกล่าวถึงพระกุมารกัสสปได้แสดงแก่พระเจ้าปายาสิซึ่งครองเสตัพยนคร ดังมีความย่อดังนี้ สมัยหนึ่ง ท่านพระกุมารกัสสปเที่ยวจาริกไปในโกศลชนบท พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ประมาณ ๕๐๐ รูป เมื่อถึงนครแห่งชาวโกศลชื่อเสตัพยะ ท่านพระกุมารกัสสปก็ได้พักอยู่ ณ ป่าไม้สีเสียดด้านเหนือนครเสตัพยะ ก็สมัยนั้น เจ้าปายาสิ ผู้ครองเสตัพยนครซึ่งคับคั่งด้วยประชาชน และหมู่สัตว์ สมบูรณ์ด้วยพืชพันธุ์ธัญญาหาร ซึ่งเป็นราชสมบัติอันพระเจ้าปเสนทิโกศล พระราชทานปูนบำเหน็จให้ เจ้าปายาสินั้นมีความเห็นอันผิด ๆ ว่า โลกหน้าไม่มี เหล่าสัตว์ผู้ผุดเกิดขึ้นไม่มี ผลวิบากของกรรมที่สัตว์ทำดี ทำชั่วไม่มี ฯ พราหมณ์และคฤหบดีชาวนครเสตัพยะ ซึ่งเคยได้ยินกิตติศัพท์อันงามของท่านกุมารกัสสปองค์นั้นว่า เป็นบัณฑิต เฉียบแหลม มีปัญญา เป็นพหูสูต มีถ้อยคำอันวิจิตร มีปฏิภาณดี เป็นพระอรหันต์ เมื่อได้ทราบข่าวว่า ท่านพระกุมารกัสสปะ สาวกของพระสมณโคดม เที่ยวจาริกมาถึงนครเสตัพยะพักอยู่…

มาณพหนุ่มช่างทอง (Th Ch En)

มาณพหนุ่มช่างทอง ครั้งหนึ่ง พระโพธิสัตว์เกิดในตระกูลช่างทอง เติบโตขึ้นเป็นชายหนุ่มรูปงาม มีความเฉลียวฉลาด ฝึกฝนจนเป็นช่างทองฝีมือเยี่ยม มีชื่อเสียงเป็นที่เลื่องลือตั้งแต่วัยหนุ่ม เศรษฐีใหญ่ในเมือง ถึงกับว่าจ้างให้มาทำเครื่องประดับแก่ธิดาของตนเป็นพิเศษ เพื่อเข้าพิธีแต่งงานกับบุตรของเศรษฐีผู้มีตระกูลเสมอกัน เมื่อเศรษฐีได้เห็นลักษณะอันงามชวนหลงใหลของช่างทอง ก็เกรงว่าธิดาคนสวยของตน จะไปหลงรักช่างทองผู้มีตระกูลต่ำกว่า ไม่คู่ควรกัน เศรษฐีจึงสั่งให้คนงาน กั้นฝาผนังระหว่างคนทั้งสอง เจาะช่องเพียงให้มือและเท้าลอดไปได้เท่านั้น ธิดาเศรษฐีเกิดความสงสัย จึงลอบมองออกไปตามช่องไม้ เมื่อได้เห็นรูปอันงามของช่างทองก็หลงใหลรักใคร่ ลงมือเขียนจดหมายทิ้งลงเบื้องหน้าชายหนุ่ม ความว่า “ช่างทองผู้เป็นที่รัก หากท่านมีใจรักใคร่ในตัวเรา ขอจงมาพบเราที่ต้นไม้ใหญ่หลังบ้านในคืนวันนี้เถิด” ช่างทองอ่านจดหมายด้วยความยินดี เขารอจนเวลาค่ำลอบมานั่งรออยู่บนต้นไม้ใหญ่นั้น แต่ด้วยความตรากตรำกรำงานมาทั้งวัน จึงเกิดอาการง่วงนอน เผลอตัวเอนหลับไปกับกิ่งไม้นั่นเอง เมื่อคนในบ้านหลับกันหมดแล้ว ธิดาเศรษฐีจึงแอบจัดอาหารแล้วออกมาพบกับช่างทอง นางเห็นเขาหลับสนิท จะปลุกให้ตื่นก็เกรงต่อความเชื่อที่ว่า ผู้ใดปลุกคนอื่นให้ตื่นขึ้นจากการนอนหลับ ผู้นั้นจะได้รับบาปตกนรกนานถึงหนึ่งกัป เมื่อนางรออยู่ครู่ใหญ่ ชายหนุ่มก็ยังหลับสนิทเช่นเดิม นางได้แต่วางขันทองไว้ตรงหน้าเขาแล้วหันหลังกลับไป วันต่อมาธิดาเศรษฐีแอบทิ้งจดหมายนัดพบอีก พร้อมกับย้ำให้เขาอดทน อย่าหลับใหลเหมือนเมื่อวาน ช่างทองได้ไปรอที่เดิม แต่กลับเผลอหลับไปอีก ธิดาเศรษฐีก็ได้แต่วางอาหารไว้ให้ แล้วเดินกลับไป วันที่สามเหตุการณ์ยังเป็นเช่นเดิม ธิดาเศรษฐีเสียใจที่มิได้อยู่ใกล้ชิดกับชายคนรัก คิดปลงว่ามิได้สร้างสมบุญร่วมกันมา จึงต้องแคล้วคลาดกันเช่นนี้ ฝ่ายชายหนุ่มก็แค้นเคืองตนเองที่เผลอสติหลับไปถึงสามครั้ง เขาเดินกลับด้วยความเสียดายโอกาสยิ่งนัก เช้าวันรุ่งขึ้นเมื่อถึงกำหนดแต่งงานของธิดาเศรษฐี ช่างทองยังคงเฝ้าคิดถึงนางอย่างผูกพันไม่คลาย จึงคิดหาอุบายจัดทำเครื่องประดับอันงดงามประณีตไปถวายพระมหาอุปราช…