วิชชาธรรมกาย วิชชาพระพุทธเจ้า (Th En Ch)

หมวด 8 วิชชาธรรมกาย วิชชาพระพุทธเจ้า ของเก่านำมาเป่าฝุ่นใหม่ Chapter 8 Vijja Dhammakaya, Knowledge of the Lord Buddha Rediscovered 佛陀的法门:法身法门 ——复旧如新的法门   วิชชาธรรมกาย (เมื่อไม่รู้จะอ่านอะไร 3)             “วิชชาธรรมกาย” แปลว่า ความรู้แจ้งที่เกิดจากการเห็นแจ้งด้วย พระธรรมกาย ต้องเรียนรู้ด้วย พระธรรมกาย จะเรียนรู้ด้วยกายอื่นไม่ได้ เพราะว่าเป็นเรื่องลึกซึ้งนัก วิชชาธรรมกาย เรียนเพื่อขจัดกิเลสอาสวะ ตั้งแต่ระดับภาคโปรด…กระทั่งถึงภาคปราบ ถ้าภาคโปรดก็ขจัดแค่กิเลสในตัวของเรา…เหมือนดับไฟทีละดวง ถ้าภาคปราบก็ไปขจัดต้นตอของผู้ส่งกิเลส จะไปให้ถึงต้นตอของแหล่งโรงงานผลิตกิเลสกันเลย  อย่างนี้เขาเรียกว่า “วิชชาธรรมกาย” ๑๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕   “Vijja Dhammakaya” (When You Don’t Know What to Read 3) “Vijja…

ข้อควรปฏิบัติชาวพุทธ (Th En Ch)

หมวด 7 ข้อควรปฏิบัติชาวพุทธ Chapter 7 Buddhist practices 佛教徒的习俗   ใส่บาตร (เมื่อไม่รู้จะอ่านอะไร 3) ทุกเช้าให้ลุกขึ้นมาเตรียมอาหารใส่บาตรพระ เป็นการสั่งสมบุญประจำวันของเรา และสืบทอดอายุพระพุทธศาสนา รักษาธรรมเนียมที่ดีนี้ไว้ ให้มหาชนพุทธบริษัทเขาได้เห็น เขาจะได้ทำตาม พระพุทธศาสนาจะได้เจริญรุ่งเรือง เป็นที่พึ่งแก่ชาวโลกต่อไป ๑๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๕   Alms offering (When you don’t know what to read 3) Every morning, get up and prepare food for the monks. It is our daily accumulation of merit and is continuing…

ใช้ชีวิตให้คุ้มค่า เราเกิดมาสร้างบารมี (Th En Ch)

หมวด 6 ใช้ชีวิตให้คุ้มค่า เราเกิดมาสร้างบารมี Chapter 6 Make life worth living, we were born to pursue perfection 要不枉此生,生而为人是为了修功德波罗蜜   กายมนุษย์เท่านั้นสร้างบารมีได้ (เมื่อไม่รู้จะอ่านอะไร 3) เราเกิดมาสร้างบารมีก็ต้องสร้างกันให้เต็มที่เต็มกำลัง  อย่าไปขยักขย่อน เพราะชีวิตมนุษย์สั้นนัก ไม่ช้าเดี๋ยวเราก็ตายจากโลกนี้ไปแล้ว การเวียนว่ายในสังสารวัฏนี้ กายมนุษย์เท่านั้นที่สร้างบารมีได้ กายอื่น ภพอื่น ทำได้ยาก นาน ๆ จึงจะมีปรากฏสักครั้งหนึ่ง ซึ่งถือเป็นกรณียกเว้น อย่างท้าวสักกเทวราชกับนางสุชาดาที่ได้ถวายทานกับพระอรหันต์ เราอย่าไปคิดทำอย่างนั้น เพราะมันเกิดขึ้นได้ยากมาก ๆ ตอนนี้เรายังมีกายมนุษย์ ยังมีชีวิตอยู่ มีเรี่ยวมีแรงแค่ไหนก็สร้างบารมีกันให้เต็มที่เต็มกำลัง เมื่อไรที่บุญส่งผล เราจะปลื้ม ๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๗   Only the human body can pursue perfection.…

ศีล (วัตถุประสงค์+ประเภท+อานิสงส์) (Th En Ch)

ศีล…เป็นที่ตั้งแห่งความดีงาม Sila, the Basis of Goodness 戒——善美的基础 ศีล  คือ  อะไร คำว่า  ศีล  นั้น มาจากคำศัพท์อันไพเราะ  และลึกซึ้งอย่างที่เราคาดไม่ถึงเลยทีเดียว  กล่าวคือ ศีล  มาจากคำว่า  สิระ  ซึ่งแปลว่า  ศีรษะ  หรือ  ยอด  เพราะผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็นยอดคนนั้น  แท้จริงหาใช่อยู่ที่การมีทรัพย์สิน  อำนาจ  หรือความรู้ความสามารถเหนือกว่าผู้อื่นไม่  หากแต่อยู่ที่ความบริสุทธิ์แห่งศีล  อันเป็นที่ยอมรับยกย่องของบัณฑิตว่า  ผู้มีศีลย่อมประเสริฐที่สุด ศีล  มาจากคำว่า  สีละ  ซึ่งแปลว่า  ปกติ  เพราะปกติของคนเรานั้นย่อมรักชีวิตของตน  และเห็นคุณค่าชีวิตของคนอื่น  เมื่อมีความรู้สึกเช่นนี้  จึงยินดีในการรักษาศีล  เพราะไม่ปรารถนาจะเบียดเบียนซึ่งกันและกัน  การรักษาศีลจึงเป็นการนำไปสู่ความเป็นคนที่ปกติสมบูรณ์             ศีล  มาจากคำว่า  สีตะละ  ซึ่งแปลว่า  เย็น  เพราะผู้ที่รักษาศีล  จะมีความเย็นกาย เย็นใจ  ดุจดังบุคคลผู้อาบน้ำชำระกายหมดจดดีแล้ว  นั่งพักอยู่  ณ  ร่มไม้ใหญ่  ความสงบเยือกเย็นนี้ …

บางสิ่งที่แสวงหา (หนังสือ) (Th En Ch)

บางสิ่งที่แสวงหา 一直在寻找的东西 Something You’ve Been Searching For   ลองฝึกด้วยตัวเอง เคยไหม…บางครั้งที่เราอยู่คนเดียวเงียบๆ แล้วเกิดคำถามขึ้นมาในใจว่า เรากำลังแสวงหาอะไรสักอย่างหนึ่งที่จะทำให้ชีวิตสมบูรณ์ แต่เราก็ตอบไม่ได้ว่าสิ่งนั้นคืออะไร จะว่าเป็นคนหรือ ก็พยายามหาคนในอุดมคติแต่ก็ไม่ค่อยเจอ เจอแต่ในอะไรไม่รู้ ก็ไม่ใช่อีก ก็เปลี่ยนกันไปเรื่อยๆ หาแมวบ้าง ม้าบ้าง ในอุดมคติ สัตว์ทั้งหลายก็ไม่ใช่ บางครั้งคิดว่า เจอแล้ว ใช่แล้ว แต่พักเดียว ก็หายเห่อ อยากได้ใหม่อีกแล้ว อยากเปลี่ยนอีกแล้ว หรือจะเป็นสิ่งของ เพชรนิลจินดา ทรัพย์สินเงินทอง ลาภยศสรรเสริญต่างๆ เหล่านั้นก็ยังไม่ใช่ มันทำให้ใจไม่อิ่มเลย ไม่รู้สึกเพียงพอ รู้สึกว่าได้แล้วก็อยากเปลี่ยนหรืออยากได้อีกไปเรื่อยๆ บางช่วงของอารมณ์เราจะเป็นอย่างนี้นะ   จนกระทั่งเมื่อไรที่เราเข้าถึงพระธรรมกายในตัว พอถึงตรงนั้นแล้วอ๋อ! รู้แล้วว่า สิ่งที่เราต้องการแสวงหาอยู่ตรงนี้เอง อยู่ที่พระธรรมกายนี่แหละ ไม่ใช่ที่ไหนเลย เป็นที่ประชุมรวมความปรารถนาของเราอยู่ตรงนั้น ทำให้เรารู้สึกอิ่ม รู้สึกพอแล้ว จะเชื่อได้อย่างไร ก็ต้องลองดู เอหิปัสสิโก มาลองดูนะ   Practice it…